*** "อิฐมวลเบา"ดัมพ์ราคาแข่งเดือด ***
-
- Verified User
- โพสต์: 185
- ผู้ติดตาม: 0
*** "อิฐมวลเบา"ดัมพ์ราคาแข่งเดือด ***
โพสต์ที่ 1
"อิฐมวลเบา"ดัมพ์ราคาแข่งเดือด สี่แสง-รวมนคร-ซีซีพี"ชักธงรบ"
"อิฐมวลเบา" เทรนด์ใหม่ของวงการก่อสร้าง ถึงยุคแข่งเดือดซัพพลายทะลัก-ผู้ผลิตงัดกลยุทธ์ราคาขย่ม เร่งกระชากแรงซื้อเหลือตารางเมตรละ 130 บาท จากเดิมขายอยู่ 180-200 บาท เผยสี่แสงการโยธาเพื่อนสนิท "บรรหาร" รวมนครฯแตกไลน์กระโจนเข้าตลาดชิงแชร์ 2 รายใหญ่ "คิวคอน-ซุปเปอร์บล๊อก" ซีซีพีดึงอดีตเอ็มดี "คอนวูด" นั่งบริหารสู้ศึก
แหล่งข่าวจากวงการวัสดุ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ตลาดคอนกรีตมวลเบา (อิฐมวลเบา) เข้าสู่ยุคการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น เนื่องจากซัพพลายทะลักและผู้ผลิตที่มีอยู่ไม่กี่รายในตลาดรวมต่างหันมาใช้กลยุทธ์ด้านราคาเป็นแรงจูงใจเพื่อสร้างยอดขายกันมากขึ้น
ทำให้ราคาซื้อขายในตลาดปัจจุบันเหลือแค่ตารางเมตรละ 130-140 บาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 150 บาทต่อตารางเมตร จากเดิมเคยขายกันในราคาสูงถึง 180-200 บาทต่อตารางเมตร สิ่งเหล่านี้กำลังเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเฉือนเนื้อทำกำไร ขณะที่ต้นทุนการผลิตจากต้นน้ำถึงปลายน้ำดีดตัวสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมัน และค่าแรงงานที่สูงขึ้น
"ตอนนี้ตลาดแข่งกันแรงมาก เกือบทุกเจ้าหันมาดัมพ์ราคากันหมด เห็นมาตั้งแต่ต้นปี 2548 และจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อผู้ผลิตรายใหม่กระโจนเข้าตลาดเต็มตัว ช่วง 2 ไตรมาสสุดท้ายเราจะเห็นบรรยากาศแบบสนุกๆ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน" แหล่งข่าวกล่าวและยอมรับว่า
แม้ผู้ประกอบการจะแข่งกันเหนื่อย แต่กลับเป็นผลดีต่อตลาดรวมและผู้บริโภคที่สามารถซื้ออิฐมวลเบาได้ในราคาที่ถูกลงยามเศรษฐกิจขาลง ยิ่งโครงการจัดสรรที่สั่งซื้อเป็นวอลุ่มหรือในปริมาณที่มากพอจะได้ส่วนลดติดปลายนวมด้วย
"การกระตุ้นให้ประชาชนเร่งประหยัดพลังงานของภาครัฐ ก็ส่งผลให้ตลาดวัสดุนี้โตขึ้นตามเทรนด์กระแสโลกซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภครุ่นใหม่ อิฐมวลเบาจึงมีอัตราการใช้ที่สูงขึ้นและแทรกตลาดอิฐมอญได้สำเร็จ"
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ล่าสุด 2 รับเหมาชื่อดังคือ บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด และบริษัท รวมนครก่อสร้าง จำกัด ได้แตกไลน์หันมาผลิตสินค้าอิฐมวลเบาแล้ว เช่นเดียวกับบริษัท ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี จำกัด (มหาชน) หรือ CCP ที่ลงทุนกับพันธมิตรธุรกิจประมาณ 600 ล้านบาทผ่านบริษัทลูก "ออโตเครป แอเรทเต็ด คอนกรีตโปรดัก" หรือ AACP เพื่อมุ่งผลิตสินค้าประเภทนี้โดยเฉพาะ
"ทั้ง 3 เจ้ากำลังวอร์มตัวเอง คาดว่าคงจะเข้ามาแชร์ตลาดนี้ได้ประมาณ 10-20% ซึ่งถือว่าไม่มาก แต่เจ้าใหญ่ก็ประมาทไม่ได้" แหล่งข่าวกล่าวและว่า
เพราะ new comer ต่างเป็นที่รู้จักกันดีในวงการก่อสร้างอย่างสี่แสงฯของเสี่ยสี่ หรือนายสิโรจน์ วงศ์สิโรจน์กุล เจ้าของสี่แสงการโยธา ก็เป็นเพื่อนสนิทของนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย โดยทุ่มทุน 600 ล้านบาทสร้างโรงงานใหม่ย่านปทุมธานี มีธนาคารกรุงเทพให้สินเชื่อ กำลังการผลิต 2.5 ล้านตารางเมตร ผลิตในนามบริษัท ไทยไล้ท์บล็อกแอนด์แพเนล จำกัด ใช้ยี่ห้อว่า "ไทยคอน"
รวมนครฯของนายบุญมี สุขประพฤติ ซึ่งเคยขายหุ้นโรงปูนแก่ บมจ.อิตาเลียนไทยฯ ก่อนหน้านี้ได้สร้างโรงงานอิฐมวลเบาในสิงห์บุรีผ่านบริษัทลูก และใช้ชื่อแบรนด์ว่า "แอโรกรีต" กำลังการผลิตน้อยสุด เฉลี่ยเดือนละ 60,000 ตารางเมตรหรือปีละ 70,000 ตารางเมตร
"ส่วน CCP มีคอนเน็กชั่นที่ดีกับ บมจ.ซิโน-ไทยฯซึ่งดวงกำลังขึ้นในรัฐบาลไทยรักไทย และมีแนวโน้มว่ากลุ่มนี้จะป้อนอิฐมวลเบาแก่เมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้าใต้ดินในอนาคต"
ขณะที่บริษัท ควอลิตี้ คอนสตรัคชั่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) (คิวคอน) ในเครือแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ยังเป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาดอิฐมวลเบาสูงสุดถึง 60% ด้วยกำลังการผลิตจาก 4 โรงงานใหญ่ประมาณ 12 ล้านตารางเมตร และบุกตลาดลูกค้าใหม่ได้มากที่สุดนอกเหนือจากการป้อนสินค้าเข้าสู่โครงการในเครือแลนด์ฯ
"กลยุทธ์คิวคอนคือเร่งสร้างฐานและเจาะตลาดลูกค้าใหม่ต่อเนื่องด้วยการลดราคาจูงใจ แต่ปีหน้าราคาอาจไม่เหมือนเดิม"
ส่วนผู้บุกตลาดอิฐมวลเบาเจ้าแรกบริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) ยังครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 2 ในสัดส่วน 30-40% ของตลาดรวม เพื่อเสริมศักยภาพค่ายนี้ที่ได้ระดมทุนประมาณ 100 ล้านบาทสร้างโรงงานใหม่ในพังงาเพื่อเจาะภาคใต้โดยเฉพาะ จากฐานเดิมมีโรงงานใหญ่ที่สิงห์บุรี
"จริงๆ ซุปเปอร์บล๊อกเป็นออริจินอลในวัสดุเทรนด์ใหม่ แต่เขามาเร็วเกินไป จังหวะอาจสู้คิวคอนไม่ได้ แต่มาร์เก็ตแชร์ถือว่าโอเค ยิ่งมีทุนใหม่จากตระกูล "โลจายะ" เข้ามาโอกาสขยายตลาดน่าจะไปได้ดี" แหล่งข่าววิเคราะห์
นายชาคริต ทีปกรสุขเกษม กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายปฏิบัติงาน บริษัท ผลิต ภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี จำกัด (มหาชน) หรือ CCP เปิดเผยว่า การที่ "คิวคอน" ได้ตัดสินใจลดราคาลงมาก่อนหน้านี้ยอมรับว่ามีผลกระทบกับการตั้งราคาขายคอนกรีตมวลเบาที่เตรียมวางตลาด จากเดิมที่คาดว่าจะตั้งราคาขายประมาณก้อนละ 20 บาท ก็คงต้องเซตราคากันใหม่
"ส่วนการก่อสร้างโรงงานขณะนี้คืบหน้าไปแล้วกว่า 90% พร้อมกับได้ตัวกรรมการผู้จัดการ บริษัท AACP เป็นที่เรียบร้อย จะมีการแถลงข่าวเปิดตัวเดือนกรกฎาคมนี้"
แหล่งข่าวจาก บมจ.ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี เปิดเผยว่า ผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมผู้จัดการ บริษัท AACP คือ ดร.วิชชุกร ประพันธศิริ อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัทคอนวูด ในกลุ่มปูนซีเมนต์นครหลวง และบริษัทไทยน๊อคซ์ สเตนเลส ซึ่งเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญในวงการวัสดุก่อสร้าง
นายขุมทรัพย์ โลจายะ กรรมการรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายคอนกรีตมวลเบาเกรด 4 "ซุป เปอร์บล๊อก" เปิดเผยว่า ซุปเปอร์บล๊อกได้ตัดสินใจลดราคาสินค้าลงเพื่อรักษาช่องว่างของราคาให้สูงกว่าคิวคอนไม่เกินตารางเมตรละ 5-10 บาทเท่าเดิม
ขณะที่นายกิตติ สุนทรมโนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ควอลิตี้ คอนสตรัคชั่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายคอนกรีตมวลเบา "คิวคอน" เปิดเผยว่า การที่คิวคอนตัดสินใจลดราคาสินค้าในช่วงไตรมาส 2 ลงอีก 5-10% เหลือก้อนละ 17 บาท (ขนาด 20x60x7.5 เซนติเมตร) จากเดิมราคา 18.50 บาท เพื่อต้องการขยายตลาดทดแทนการใช้อิฐมอญและรองรับกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านตารางเมตรในปีนี้ และส่งผลให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้น
"อิฐมวลเบา" เทรนด์ใหม่ของวงการก่อสร้าง ถึงยุคแข่งเดือดซัพพลายทะลัก-ผู้ผลิตงัดกลยุทธ์ราคาขย่ม เร่งกระชากแรงซื้อเหลือตารางเมตรละ 130 บาท จากเดิมขายอยู่ 180-200 บาท เผยสี่แสงการโยธาเพื่อนสนิท "บรรหาร" รวมนครฯแตกไลน์กระโจนเข้าตลาดชิงแชร์ 2 รายใหญ่ "คิวคอน-ซุปเปอร์บล๊อก" ซีซีพีดึงอดีตเอ็มดี "คอนวูด" นั่งบริหารสู้ศึก
แหล่งข่าวจากวงการวัสดุ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ตลาดคอนกรีตมวลเบา (อิฐมวลเบา) เข้าสู่ยุคการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น เนื่องจากซัพพลายทะลักและผู้ผลิตที่มีอยู่ไม่กี่รายในตลาดรวมต่างหันมาใช้กลยุทธ์ด้านราคาเป็นแรงจูงใจเพื่อสร้างยอดขายกันมากขึ้น
ทำให้ราคาซื้อขายในตลาดปัจจุบันเหลือแค่ตารางเมตรละ 130-140 บาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 150 บาทต่อตารางเมตร จากเดิมเคยขายกันในราคาสูงถึง 180-200 บาทต่อตารางเมตร สิ่งเหล่านี้กำลังเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเฉือนเนื้อทำกำไร ขณะที่ต้นทุนการผลิตจากต้นน้ำถึงปลายน้ำดีดตัวสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมัน และค่าแรงงานที่สูงขึ้น
"ตอนนี้ตลาดแข่งกันแรงมาก เกือบทุกเจ้าหันมาดัมพ์ราคากันหมด เห็นมาตั้งแต่ต้นปี 2548 และจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อผู้ผลิตรายใหม่กระโจนเข้าตลาดเต็มตัว ช่วง 2 ไตรมาสสุดท้ายเราจะเห็นบรรยากาศแบบสนุกๆ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน" แหล่งข่าวกล่าวและยอมรับว่า
แม้ผู้ประกอบการจะแข่งกันเหนื่อย แต่กลับเป็นผลดีต่อตลาดรวมและผู้บริโภคที่สามารถซื้ออิฐมวลเบาได้ในราคาที่ถูกลงยามเศรษฐกิจขาลง ยิ่งโครงการจัดสรรที่สั่งซื้อเป็นวอลุ่มหรือในปริมาณที่มากพอจะได้ส่วนลดติดปลายนวมด้วย
"การกระตุ้นให้ประชาชนเร่งประหยัดพลังงานของภาครัฐ ก็ส่งผลให้ตลาดวัสดุนี้โตขึ้นตามเทรนด์กระแสโลกซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภครุ่นใหม่ อิฐมวลเบาจึงมีอัตราการใช้ที่สูงขึ้นและแทรกตลาดอิฐมอญได้สำเร็จ"
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ล่าสุด 2 รับเหมาชื่อดังคือ บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด และบริษัท รวมนครก่อสร้าง จำกัด ได้แตกไลน์หันมาผลิตสินค้าอิฐมวลเบาแล้ว เช่นเดียวกับบริษัท ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี จำกัด (มหาชน) หรือ CCP ที่ลงทุนกับพันธมิตรธุรกิจประมาณ 600 ล้านบาทผ่านบริษัทลูก "ออโตเครป แอเรทเต็ด คอนกรีตโปรดัก" หรือ AACP เพื่อมุ่งผลิตสินค้าประเภทนี้โดยเฉพาะ
"ทั้ง 3 เจ้ากำลังวอร์มตัวเอง คาดว่าคงจะเข้ามาแชร์ตลาดนี้ได้ประมาณ 10-20% ซึ่งถือว่าไม่มาก แต่เจ้าใหญ่ก็ประมาทไม่ได้" แหล่งข่าวกล่าวและว่า
เพราะ new comer ต่างเป็นที่รู้จักกันดีในวงการก่อสร้างอย่างสี่แสงฯของเสี่ยสี่ หรือนายสิโรจน์ วงศ์สิโรจน์กุล เจ้าของสี่แสงการโยธา ก็เป็นเพื่อนสนิทของนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย โดยทุ่มทุน 600 ล้านบาทสร้างโรงงานใหม่ย่านปทุมธานี มีธนาคารกรุงเทพให้สินเชื่อ กำลังการผลิต 2.5 ล้านตารางเมตร ผลิตในนามบริษัท ไทยไล้ท์บล็อกแอนด์แพเนล จำกัด ใช้ยี่ห้อว่า "ไทยคอน"
รวมนครฯของนายบุญมี สุขประพฤติ ซึ่งเคยขายหุ้นโรงปูนแก่ บมจ.อิตาเลียนไทยฯ ก่อนหน้านี้ได้สร้างโรงงานอิฐมวลเบาในสิงห์บุรีผ่านบริษัทลูก และใช้ชื่อแบรนด์ว่า "แอโรกรีต" กำลังการผลิตน้อยสุด เฉลี่ยเดือนละ 60,000 ตารางเมตรหรือปีละ 70,000 ตารางเมตร
"ส่วน CCP มีคอนเน็กชั่นที่ดีกับ บมจ.ซิโน-ไทยฯซึ่งดวงกำลังขึ้นในรัฐบาลไทยรักไทย และมีแนวโน้มว่ากลุ่มนี้จะป้อนอิฐมวลเบาแก่เมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้าใต้ดินในอนาคต"
ขณะที่บริษัท ควอลิตี้ คอนสตรัคชั่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) (คิวคอน) ในเครือแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ยังเป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาดอิฐมวลเบาสูงสุดถึง 60% ด้วยกำลังการผลิตจาก 4 โรงงานใหญ่ประมาณ 12 ล้านตารางเมตร และบุกตลาดลูกค้าใหม่ได้มากที่สุดนอกเหนือจากการป้อนสินค้าเข้าสู่โครงการในเครือแลนด์ฯ
"กลยุทธ์คิวคอนคือเร่งสร้างฐานและเจาะตลาดลูกค้าใหม่ต่อเนื่องด้วยการลดราคาจูงใจ แต่ปีหน้าราคาอาจไม่เหมือนเดิม"
ส่วนผู้บุกตลาดอิฐมวลเบาเจ้าแรกบริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) ยังครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 2 ในสัดส่วน 30-40% ของตลาดรวม เพื่อเสริมศักยภาพค่ายนี้ที่ได้ระดมทุนประมาณ 100 ล้านบาทสร้างโรงงานใหม่ในพังงาเพื่อเจาะภาคใต้โดยเฉพาะ จากฐานเดิมมีโรงงานใหญ่ที่สิงห์บุรี
"จริงๆ ซุปเปอร์บล๊อกเป็นออริจินอลในวัสดุเทรนด์ใหม่ แต่เขามาเร็วเกินไป จังหวะอาจสู้คิวคอนไม่ได้ แต่มาร์เก็ตแชร์ถือว่าโอเค ยิ่งมีทุนใหม่จากตระกูล "โลจายะ" เข้ามาโอกาสขยายตลาดน่าจะไปได้ดี" แหล่งข่าววิเคราะห์
นายชาคริต ทีปกรสุขเกษม กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายปฏิบัติงาน บริษัท ผลิต ภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี จำกัด (มหาชน) หรือ CCP เปิดเผยว่า การที่ "คิวคอน" ได้ตัดสินใจลดราคาลงมาก่อนหน้านี้ยอมรับว่ามีผลกระทบกับการตั้งราคาขายคอนกรีตมวลเบาที่เตรียมวางตลาด จากเดิมที่คาดว่าจะตั้งราคาขายประมาณก้อนละ 20 บาท ก็คงต้องเซตราคากันใหม่
"ส่วนการก่อสร้างโรงงานขณะนี้คืบหน้าไปแล้วกว่า 90% พร้อมกับได้ตัวกรรมการผู้จัดการ บริษัท AACP เป็นที่เรียบร้อย จะมีการแถลงข่าวเปิดตัวเดือนกรกฎาคมนี้"
แหล่งข่าวจาก บมจ.ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี เปิดเผยว่า ผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมผู้จัดการ บริษัท AACP คือ ดร.วิชชุกร ประพันธศิริ อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัทคอนวูด ในกลุ่มปูนซีเมนต์นครหลวง และบริษัทไทยน๊อคซ์ สเตนเลส ซึ่งเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญในวงการวัสดุก่อสร้าง
นายขุมทรัพย์ โลจายะ กรรมการรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายคอนกรีตมวลเบาเกรด 4 "ซุป เปอร์บล๊อก" เปิดเผยว่า ซุปเปอร์บล๊อกได้ตัดสินใจลดราคาสินค้าลงเพื่อรักษาช่องว่างของราคาให้สูงกว่าคิวคอนไม่เกินตารางเมตรละ 5-10 บาทเท่าเดิม
ขณะที่นายกิตติ สุนทรมโนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ควอลิตี้ คอนสตรัคชั่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายคอนกรีตมวลเบา "คิวคอน" เปิดเผยว่า การที่คิวคอนตัดสินใจลดราคาสินค้าในช่วงไตรมาส 2 ลงอีก 5-10% เหลือก้อนละ 17 บาท (ขนาด 20x60x7.5 เซนติเมตร) จากเดิมราคา 18.50 บาท เพื่อต้องการขยายตลาดทดแทนการใช้อิฐมอญและรองรับกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านตารางเมตรในปีนี้ และส่งผลให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 185
- ผู้ติดตาม: 0
*** "อิฐมวลเบา"ดัมพ์ราคาแข่งเดือด ***
โพสต์ที่ 3
สินค้าไม่มีความแตกต่างมากนัก
จะใช้Q-CON LCON SUPERBLOCK ได้ทั้งนั้น
ว่าที่จริงพวกนี้มันก็สินค้าโภคภัณฑ์แบบหนึ่งเอง
จะใช้Q-CON LCON SUPERBLOCK ได้ทั้งนั้น
ว่าที่จริงพวกนี้มันก็สินค้าโภคภัณฑ์แบบหนึ่งเอง
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 358
- ผู้ติดตาม: 1
*** "อิฐมวลเบา"ดัมพ์ราคาแข่งเดือด ***
โพสต์ที่ 4
อิฐมวลเบานี่เข้าข่าย คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ หากผมซื้อบ้านในโครงการ ถ้าใช้อิฐมวลเบาก็คงอยากให้ใช้ qcon แต่เจ้าของโครงการคงจะซื้ออะไรก็ได้ที่ถูกที่สุดเพราะหน้าตาแต่ละยี่ห้อก็เหมือนกัน
อย่าง dcon บอกว่าลงทุนในโรงงานอิฐมวลเบา 70 ล้าน ขณะที่ 1 line ของ qcon ใช้เงินลงทุน 700 ล้าน แถมผู้บริหาร dcon ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าคุณภาพของ dcon ดีกว่า ผมอ่านแล้วมึนไปเลยครับเพราะถ้าจริงถือว่าผู้บริหาร dcon เป็น vi ตัวจริงเพราะสามารถหาเทคโนโลยีที่ดีในราคาถูกจริงๆ
ดังนั้นผมคิดว่าหุ้น qcon คงยังไม่ถึง bottom มั้งครับ
อย่าง dcon บอกว่าลงทุนในโรงงานอิฐมวลเบา 70 ล้าน ขณะที่ 1 line ของ qcon ใช้เงินลงทุน 700 ล้าน แถมผู้บริหาร dcon ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าคุณภาพของ dcon ดีกว่า ผมอ่านแล้วมึนไปเลยครับเพราะถ้าจริงถือว่าผู้บริหาร dcon เป็น vi ตัวจริงเพราะสามารถหาเทคโนโลยีที่ดีในราคาถูกจริงๆ
ดังนั้นผมคิดว่าหุ้น qcon คงยังไม่ถึง bottom มั้งครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 185
- ผู้ติดตาม: 0
*** "อิฐมวลเบา"ดัมพ์ราคาแข่งเดือด ***
โพสต์ที่ 5
ตามพื้นฐานภายในและสภาวะการณ์ภายนอกบริษัท
ผมว่ายังลงได้อีกพอสมควรครับ
ผมว่ายังลงได้อีกพอสมควรครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
*** "อิฐมวลเบา"ดัมพ์ราคาแข่งเดือด ***
โพสต์ที่ 7
เห็นครั้งแรก ผมเดาว่ากำลังผลิตไม่เท่ากัน แต่ก็ไม่ได้ดูต่อ ...Invisible hand เขียน: อย่าง dcon บอกว่าลงทุนในโรงงานอิฐมวลเบา 70 ล้าน ขณะที่ 1 line ของ qcon ใช้เงินลงทุน 700 ล้าน แถมผู้บริหาร dcon ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าคุณภาพของ dcon ดีกว่า ผมอ่านแล้วมึนไปเลยครับเพราะถ้าจริงถือว่าผู้บริหาร dcon เป็น vi ตัวจริงเพราะสามารถหาเทคโนโลยีที่ดีในราคาถูกจริงๆ
โรงงานแบบนี้น่าไปเยี่ยมชมนะครับ ทั้ง DCON QCON จะได้เปรียบเที่ยบกัน
- Muffin
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 874
- ผู้ติดตาม: 0
aac
โพสต์ที่ 8
คอนกรีตมวลเบา ก็คือ Autoclaved aerated concrete (AAC) นะครับ
ปรกติไม่ได้หมายรวมถึงแค่อิฐเท่านั้นนะครับ
หาข้อมูลได้ไม่ยากใน internet นะครับ
ข้อได้เปรียบหลักๆจะเป็นด้านประหยัดพลังงาน และการทำให้โครงสร้างเบาลง ซึ่งจะเป็นข้อได้เปรียบที่จะส่งผลกระทบต่อตึกสูงเป็นหลักครับ บ้านจะไม่มีผลกระทบมาก ส่วนด้านราคา คงยังต้องลงไปอีกครับ ถ้าจะทำให้การนำมาใช้ในบ้านสามารถแข่งกับอิฐมอญ (ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านศาลพระภูมิทั่วไป)ได้นะครับ ในแง่ค่าก่อสร้างต่อตารางเมตร ปรกติราคาก่ออิฐ ก็สามารถไปดูได้ใน BoQ ครับซึ่งจะรวมไว้แล้วทั้งค่าของ(หลักๆคืออิฐกับปูน)และค่าแรงครับ
http://www.alliedfoamtech.com/Appconc.htm
ปรกติไม่ได้หมายรวมถึงแค่อิฐเท่านั้นนะครับ
หาข้อมูลได้ไม่ยากใน internet นะครับ
ข้อได้เปรียบหลักๆจะเป็นด้านประหยัดพลังงาน และการทำให้โครงสร้างเบาลง ซึ่งจะเป็นข้อได้เปรียบที่จะส่งผลกระทบต่อตึกสูงเป็นหลักครับ บ้านจะไม่มีผลกระทบมาก ส่วนด้านราคา คงยังต้องลงไปอีกครับ ถ้าจะทำให้การนำมาใช้ในบ้านสามารถแข่งกับอิฐมอญ (ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านศาลพระภูมิทั่วไป)ได้นะครับ ในแง่ค่าก่อสร้างต่อตารางเมตร ปรกติราคาก่ออิฐ ก็สามารถไปดูได้ใน BoQ ครับซึ่งจะรวมไว้แล้วทั้งค่าของ(หลักๆคืออิฐกับปูน)และค่าแรงครับ
http://www.alliedfoamtech.com/Appconc.htm
- HI.ผมเอง
- Verified User
- โพสต์: 811
- ผู้ติดตาม: 0
*** "อิฐมวลเบา"ดัมพ์ราคาแข่งเดือด ***
โพสต์ที่ 9
ต้องใช้สว่านเจาะฝังพุกพลาสติก เหมือนงานinteriorครับchatchai เขียน:พูดถึงอิฐมวลเบาแล้ว ใครพอมีความรู้บ้างครับ
เคยมีคนพูดว่าถ้าใช้อิฐมวลเบาแล้ว เวลาจะติดรูปภาพอะไรให้ระวัง เพราะค่อนในอิฐเป็นรูพรุน
รูพรุนข้างในไม่เชื่อมโยงต่อกันเพื่อป้องกันความร้อน
จริงๆแล้วก็คือคอนกรีต+ผงฟู(สูตรเยอรมัน)
บ.ที่เยอรมันที่ขายเทคโนโลยี่การผลิตให้ซุปเปอร์บล็อคถือว่าเป็นบ.ใหญ่ที่นั่นเมือ่เทียบกับบ.ที่เยอรมันที่ขายเทคโนโลยี่การผลิตให้q-con
แต่ไหง superกลับขายถูกกว่า
มาร์จิ้นยืดหยุ่นได้แบบนี้ผู้ถือหุ้นคงไม่ชอบแน่
เห็นประชุมผู้ถือหุ้นที่ผ่านมา กรรมการท่านหนึ่งบอกว่าอาจมีการปรับราคาเพื่อรับน้องใหม่
สงสัยที่ที่ผ่านมากำไรมากไปมั๊ง
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 358
- ผู้ติดตาม: 1
*** "อิฐมวลเบา"ดัมพ์ราคาแข่งเดือด ***
โพสต์ที่ 10
กำลังการผลิตของ dcon คือ 3 ล้าน ตร.ม. ครับ เท่ากับ 1 line ของ qcon เลยครับ แต่เงินลงทุนน้อยกว่า 10 เท่า
วันนี้อ่านประชาชาติเห็นผู้บริหาร dcon บอกว่าจะตั้งราคาแพงกว่าคนอื่นอีกด้วยครับเพราะคุณภาพดีกว่า
วันนี้อ่านประชาชาติเห็นผู้บริหาร dcon บอกว่าจะตั้งราคาแพงกว่าคนอื่นอีกด้วยครับเพราะคุณภาพดีกว่า
- มือเก่าหัดขับ
- Verified User
- โพสต์: 1112
- ผู้ติดตาม: 0
*** "อิฐมวลเบา"ดัมพ์ราคาแข่งเดือด ***
โพสต์ที่ 11
ผมรู้สึกเรื่องนี้มานานแล้ว เมื่องบฯ ของ Q-con ออกมาตอนแรกๆ
ยิ่งวันหนึ่ง ได้ไปนั่งทานข้าวกับเพื่อน และคุยกันเรื่องโรงงานที่เปิดใหม่ที่ชลบุรี (หรือ
ไงนี่จำไม่ได้แน่) ซึ่งทำอิฐมวลเบาเหมือนกัน...
ทำให้รู้สึกได้ว่า ต่อไปอีกไม่นาน กรณีนี้จะเป็นตัวอย่างคลาสสิคอีกอันหนึ่งของ
- การไม่มีตรายี่ห้อ ใช้อะไรก็เหมือนๆ กันนั่นแหละ สุดท้าย คนซื้อบ้านก็ไม่ได้ดูที่อิฐ
แต่ดูที่อย่างอื่นมากกว่า เช่นราคาโดยรวม แบบบ้าน ความหรูหรา ตำแหน่งที่ตั้ง
เพื่อนบ้าน สาธารณูปโภคภายในโครงการ ฯลฯ
- การเป็นสินค้าที่อยู่ในตำแหน่ง Star ในตลาด จึงมีผู้มา "ขอเอี่ยว" ด้วย แหม.. ก็เล่น
กินส่วนแบ่งตลาดเสียโฉ่งฉ่างแบบนั้น แถม margin ก็ไม่น้อยนะ 33% น่ะ ใครๆ เห็น
ก็ "ตาลุกวาว"
- การที่ใครๆ ที่มีเงินก็สามารถซื้อเครื่องจักรมาผลิตได้ และเครื่องจักรนั้น เมื่อมี
ขนาดเล็ก Capacity น้อยๆ มันก็ไม่คุ้ม ต้องทำให้เครื่องใหญ่หน่อย ผลิตได้มากๆ
- ยิ่งเมื่อมีสินค้าคงเหลือเยอะ ก็ยิ่งต้องพยายามขายออกไปให้ได้มากๆ จึงส่งผลให้เกิด
การแข่งขันทางด้านราคา
- ต่อไปนี้ ราคาหรือกำไร จะขึ้นอยู่กับ demand/supply โดยรวมของตลาดครับ
ก.ล. (กระทู้ลงท้าย)
เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวเท่านั้น
ยิ่งวันหนึ่ง ได้ไปนั่งทานข้าวกับเพื่อน และคุยกันเรื่องโรงงานที่เปิดใหม่ที่ชลบุรี (หรือ
ไงนี่จำไม่ได้แน่) ซึ่งทำอิฐมวลเบาเหมือนกัน...
ทำให้รู้สึกได้ว่า ต่อไปอีกไม่นาน กรณีนี้จะเป็นตัวอย่างคลาสสิคอีกอันหนึ่งของ
- การไม่มีตรายี่ห้อ ใช้อะไรก็เหมือนๆ กันนั่นแหละ สุดท้าย คนซื้อบ้านก็ไม่ได้ดูที่อิฐ
แต่ดูที่อย่างอื่นมากกว่า เช่นราคาโดยรวม แบบบ้าน ความหรูหรา ตำแหน่งที่ตั้ง
เพื่อนบ้าน สาธารณูปโภคภายในโครงการ ฯลฯ
- การเป็นสินค้าที่อยู่ในตำแหน่ง Star ในตลาด จึงมีผู้มา "ขอเอี่ยว" ด้วย แหม.. ก็เล่น
กินส่วนแบ่งตลาดเสียโฉ่งฉ่างแบบนั้น แถม margin ก็ไม่น้อยนะ 33% น่ะ ใครๆ เห็น
ก็ "ตาลุกวาว"
- การที่ใครๆ ที่มีเงินก็สามารถซื้อเครื่องจักรมาผลิตได้ และเครื่องจักรนั้น เมื่อมี
ขนาดเล็ก Capacity น้อยๆ มันก็ไม่คุ้ม ต้องทำให้เครื่องใหญ่หน่อย ผลิตได้มากๆ
- ยิ่งเมื่อมีสินค้าคงเหลือเยอะ ก็ยิ่งต้องพยายามขายออกไปให้ได้มากๆ จึงส่งผลให้เกิด
การแข่งขันทางด้านราคา
- ต่อไปนี้ ราคาหรือกำไร จะขึ้นอยู่กับ demand/supply โดยรวมของตลาดครับ
ก.ล. (กระทู้ลงท้าย)
เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวเท่านั้น
คนอื่นเขาสะสมอย่างอื่น เราขอสะสมความดี, ความรู้, ประสบการณ์, เงินทอง, กับหุ้นก็แล้วกัน
http://www.muegao.blogspot.com หุ้น การเงิน การลงทุน ธุรกิจ
http://www.muegao.blogspot.com หุ้น การเงิน การลงทุน ธุรกิจ
- เพื่อน
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1832
- ผู้ติดตาม: 0
*** "อิฐมวลเบา"ดัมพ์ราคาแข่งเดือด ***
โพสต์ที่ 12
ตอนนี้มีรายเล็ก รายกลาง เพิ่มมาอีกหลายยี่ห้อครับ
เท่าที่ไปเห็นมาในงานสถาปนิกสยาม เมื่อเร็วๆนี้ เห็นมาเปิดบู้ทกันหลายห้องอยู่ ที่น่าสนใจกว่าคือมีเทคโนโลยี่ที่แตกต่างกว่าของQcon และ Supper เห็นเป็นก้อนสีเทาๆ เค้าว่าต้นทุนถูกกว่าและการซึมน้ำน้อยกว่า ผมยังสนใจจะลองใช้อยู่เลย
เดี๋ยวนี้จะเห็นเริ่มมีขายแฟรนไชส์ในการเปิดโรงงานผลิตแล้วด้วยสิ
อนาคตของอิฐมวลเบาดูสดใสขึ้นเมื่อเทียบกับการแข่งขันกับอิฐมอญและอิฐบล๊อค น่าจะมีจำนวนการสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน แต่คงอนาคตไม่ค่อยดีสำหรับผู้ประกอบการรายแรกๆนะครับ
เท่าที่ไปเห็นมาในงานสถาปนิกสยาม เมื่อเร็วๆนี้ เห็นมาเปิดบู้ทกันหลายห้องอยู่ ที่น่าสนใจกว่าคือมีเทคโนโลยี่ที่แตกต่างกว่าของQcon และ Supper เห็นเป็นก้อนสีเทาๆ เค้าว่าต้นทุนถูกกว่าและการซึมน้ำน้อยกว่า ผมยังสนใจจะลองใช้อยู่เลย
เดี๋ยวนี้จะเห็นเริ่มมีขายแฟรนไชส์ในการเปิดโรงงานผลิตแล้วด้วยสิ
อนาคตของอิฐมวลเบาดูสดใสขึ้นเมื่อเทียบกับการแข่งขันกับอิฐมอญและอิฐบล๊อค น่าจะมีจำนวนการสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน แต่คงอนาคตไม่ค่อยดีสำหรับผู้ประกอบการรายแรกๆนะครับ
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
*** "อิฐมวลเบา"ดัมพ์ราคาแข่งเดือด ***
โพสต์ที่ 13
ผ่าสมรภูมิตลาดอิฐมวลเบา เมื่อ "บิ๊กเพลเยอร์" หั่นราคาท้ารบ
อาจกล่าวได้ว่าวันนี้ "สงครามราคา" กำลังเกิดขึ้นกับตลาดคอนกรีตมวลเบา (อิฐมวลเบา) แล้ว เมื่อ "คิวคอน" ในฐานะบิ๊กเพลเยอร์ ตัดสินใจหั่นราคาอิฐมวลเบาในช่วงไตรมาส 2 ลงอีก 5-10%
ทำให้ "ซุปเปอร์บล๊อก" ผู้ผลิตอันดับ 2 ต้องยอมลดราคาตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อรักษาช่องว่างราคาทิ้งห่างกันมากเกินไป ราคาอิฐมวลเบาที่เคยขายกันอยู่ก้อนละ 22-23 บาท จึงลดลงมาเหลือเพียง 17-18 บาท
"เราไม่ได้ทำสงครามราคา ไม่ได้ต้องการแข่งกันเอง เพราะตอนนี้ตลาดอิฐมวลเบายังเล็กอยู่ เพียงแต่เราต้องการเข้าไปกินแชร์เพิ่มในตลาดอิฐมอญจึงได้ลดราคาลงมา" กิตติ สุนทรมโนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ควอลิตี้ คอนสตรัคชั่นโปรดัคส์ จำกัด (มหาชน) บอกถึงจุดยืนที่ "คิวคอน" ปรับราคาก่อนหน้านี้
แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการดัมพ์ราคาเพื่อชิงตลาดอิฐมอญ กระทบกับผู้ผลิตอิฐมวลเบารายอื่น รวมถึงบริษัท ออโตเครป แอเรทเต็ด คอนกรีตโปรดัก จำกัด หรือ AACP ในเครือ บมจ.ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี new comer ที่เตรียมเปิดตลาดเต็มตัวในไม่ช้าด้วยกำลังผลิต 3 ล้าน ตร.ม.ต่อปี ก็ออกมายอมรับต้องมีการเซตราคาขายกันใหม่จากที่เคยตั้งไว้ก้อนละ 20 กว่าบาท
การที่คิวคอนต้องยอม "เฉือนเนื้อ" เป็นผลมาจากการทุ่มเงิน 1,300 ล้าน ขยายโรงงานอีก 3 แห่ง ทำให้กำลังผลิตเพิ่มแบบก้าวกระโดดจากเดิมปีละ 3 ล้าน ตร.ม. เป็น 12 ล้าน ตร.ม. (โรงงานละ 3 ล้าน ตร.ม.)
ล่าสุดโรงงานแห่งที่ 2-3 ได้เดินเครื่องจักรเต็มสูบแล้ว คาดว่าปีนี้คิวคอนจะมีตัวเลขการผลิตอยู่ที่ 8 ล้าน ตร.ม. ส่วนโรงงานแห่งที่ 4 ในจังหวัดระยอง จะแล้วเสร็จช่วงไตรมาส 3 นี้ ส่วนหนึ่งจะใช้ในการส่งออก ตลาดใหม่ที่กำลังเล็งอยู่คือเวียดนาม ออสเตรีย และเขมรเพื่อเปิดตลาด จากปัจจุบันที่ส่งออกไปยังสิงคโปร์
พลิกกลับไปดูข้อมูลเดิมปรากฏว่า ออร์เดอร์ในปีนี้ราว 1.5 ล้าน ตร.ม. มีลูกค้าขาประจำบริษัทมหาชน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ 1 ในผู้ถือหุ้นของคิวคอนจองไว้แล้ว แต่นั่นหมายความว่ายังมีกำลังผลิตอีกร่วม 6.5 ล้าน ตร.ม.ที่ต้องหาตลาดใหม่มา รองรับ ซึ่งเป็น "งานหิน" พอสมควร
แต่ถ้าทำได้คิวคอนจะมียอดขายในปีนี้ 1,200 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากปีก่อน 50% นำมาสู่การอัดงบฯทำโฆษณาทีวีเพื่อโปรโมตอิฐมวลเบา "คิวคอน" ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา ตามติดด้วยการจัดโปรโมชั่นลดราคา จากที่เคยขายกัน ตร.ม. ละ 180 ก็ลดลงเหลือ 160 บาท จากก้อนละ 18.5 บาท ก็ลดเหลือ 17 บาท โดยยอมเฉือนกรอส มาร์จิ้นจาก 46% ลงเหลือ 35-40% ซึ่งเป็นไปตามสเต็ปที่วางไว้
ขณะที่ในใจลึกๆ ของคิวคอนต้องการยืนราคาขายนี้ต่อไปอย่างน้อยก็ถึงสิ้นปี หากว่าน้ำมันดีเซลไม่ปรับราคาขึ้นไปกว่านี้มากนักจนทำให้ต้นทุนเปลี่ยน การแข่งขันด้านราคาก็น่าจะยืดเยื้อแน่
คู่แข่งปรับแผนสู้
ด้าน "ซุปเปอร์บล๊อก" ของตระกูลโลจายะ ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 2 ด้วยกำลังผลิต 4.6 ล้าน ตร.ม. ในฐานะผู้ผลิตอิฐมวลเบารายแรก ก็ยอมรับว่าต้องมีการปรับแผนปรับราคาเพื่อรับมือการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นเช่นกัน
"เราจะหันมาขายพรีเมี่ยมโปรดักต์มากขึ้น จะเพิ่มให้ได้ถึง 35-40% จากปัจจุบันอยู่ที่ 15% จากยอดขายรวม" ขุมทรัพย์ โลจายะ กรรมการรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) บอกถึงแผนการทำตลาด โดยโฟกัสไปที่สินค้าจำพวกคานทับหลัง แผ่นผนังเสริมเหล็ก เจาะตลาดงานก่อสร้างที่ต้องการความทนทานแข็งแรงเป็นพิเศษ ขณะเดียวกันก็รุกเข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ในภาควิชางานก่อสร้างตามมหาวิทยาลัยต่างๆ
ล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ยังได้แตกไลน์ธุรกิจจัดตั้งบริษัทใหม่ในเครือที่มีชื่อว่า"ซุปเปอร์สปีด คอนสตรัคชั่น" ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท เป้าหมายคือรุกตลาดรับเหมาก่อสร้าง แต่เน้นหนักไปที่งานโครงการที่ใช้อิฐมวลเบาเป็นวัสดุก่อสร้าง
ซุปเปอร์บล๊อกยังอยู่ระหว่างหาซื้อที่ดินขนาด 10-15 ไร่ เพื่อก่อสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ตามแผน โดยมี 2 จังหวัดตัวเลือกในใจคือ "พังงา-สุราษฎร์ธานี" เพื่อใช้เป็นฐานในการทำตลาดภาคใต้ ซึ่งจะทำให้ได้เปรียบเรื่องต้นทุนค่าขนส่ง
คาดว่าโรงงานแห่งนี้จะเริ่มผลิตได้ในปีหน้า เมื่อนั้นซุปเปอร์บล๊อกจะมีกำลังผลิตรวมเป็น 5.75 ล้าน ตร.ม. ขณะที่ในแง่ของมาร์จิ้น ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมามียอดขายทั้งสิ้น 97 ล้าน กำไรสุทธิ 35 ล้าน หรือมีอัตรากำไรสุทธิเท่ากับ 36%
นั่นอาจหมายความได้ว่าหากคิวคอนตัดสินใจดัมพ์ราคาต่อไป ซุปเปอร์บล๊อกก็พร้อมยืนระยะสู้ด้วย !
ส่วนความเคลื่อนไหวของ บมจ.ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี หรือ CCP หลังจากได้ซื้อหุ้นในบริษัท ออโตเครป แอเรทเต็ด คอนกรีตโปรดัก จำกัด (AACP) คืนจาก บมจ.ซิโนไทยฯ ล่าสุดได้ทยอยซื้อหุ้นคืนจากกลุ่มผู้ร่วมทุนอีก 3 ราย คือ เนชั่นแนลยูเนี่ยน เพอร์เพชวลพรอสเพอร์ตี้ และ DJT โดยให้เหตุผลในการซื้อหุ้นคืนครั้งนี้ว่าเป็นเพราะมีความพร้อมในการบริหารงานทำให้ปัจจุบันเหลือผู้ถือหุ้นใน AACP เพียง 2 ราย คือ CCP ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 80% กับ "เสรี จุลศักดิ์ศรีสกุล" ที่ถือในนามส่วนตัวอีก 20% ผลก็คือ CCP จะมีสิทธิในการออกมติพิเศษได้
ล่าสุดยังได้ดึงตัว "ดร.วิชชุกร ประพันธศิริ" เข้ามานั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการ ที่มีประสบการณ์ในแวดวงวัสดุก่อสร้างกับกลุ่มปูนซีเมนต์นครหลวงมานานกว่า 10 ปี เข้ามาช่วยวางแผนการตลาดให้ ทำให้ผู้ผลิตรายอื่นจะประมาทค่ายนี้ไม่ได้เช่นกัน
"ดีคอน" ไม่หวั่นสงครามราคา
ขณะที่บริษัท ดีคอนโปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะ new comer รายล่าสุดก็ประกาศว่าพร้อมผลิตสินค้าบุกตลาดได้เต็มตัวในปีหน้าอย่างแน่นอน ล่าสุดอยู่ระหว่างรอติดตั้งเครื่องจักรสำหรับ ตัดอิฐมวลเบามูลค่า 70 ล้าน ที่สั่งตรงจากประเทศเยอรมนี คาดว่าจะมาถึงช่วงกลางเดือนธันวาคมนี้ มีกำลังผลิตปีละ 3 ล้าน ตร.ม.
ด้วยกระบวนการผลิตในระบบ cellular light weight concrete (CLC) ทำให้อิฐมวลเบาดีคอนสามารถใช้ปูนฉาบทั่วไปก่อได้ ต่างจากระบบ autoclaved aerated concrete (AAC) ที่ต้องปูนสูตรพิเศษเฉพาะในการก่อเท่านั้น
เป็นจุดแข็งที่ทำให้ดีคอนมั่นใจอย่างมากว่าไม่จำเป็นต้องกระโจนลงไปร่วมวง "สงครามราคา" กลับกันยังคิดจะตั้งราคาให้สูงกว่าอิฐมวลเบาในตลาดสูงกว่า 20-30% แต่สิ่งที่เป็นคำถามก็คือว่าเมื่ออิฐมวลเบาระบบ CLC ดีกว่าทำไมจึงไม่มีคนผลิต ?
"จริงๆ อิฐมวลเบาระบบ CLC มีคนผลิตอยู่ร่วม 10 ราย แต่เป็นรายเล็กๆ เพราะต้องใช้แม่แบบหล่อทำให้ผลิตเป็นแมสไม่ได้ การหล่อแล้วใช้เครื่องจักรตัดจะควบคุมคุณภาพได้ยาก แต่เราถือเป็นรายแรกที่แก้ปัญหาตรงนี้ได้" วิทวัส พรกุล ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ดีคอนฯ บอกถึงเหตุผล
ก่อนหน้านี้ดีคอนยังได้ตัดสินใจเปลี่ยนแผนลงทุนขยายโรงงานแห่งที่ 2 โดยย้ายฐานจากภาคใต้ มาลงทุนก่อสร้างโรงงานในจังหวัดลำพูน ใช้งบประมาณ 50 ล้าน เพื่อเจาะตลาดภาคเหนือแทน ด้วยกำลังผลิต 1 ล้านตารางเมตรต่อปี หลังจากเห็นว่า "ซุปเปอร์บล๊อก" วางแผนสร้างโรงงานในภาคใต้เช่นกัน
เมื่อทุกค่ายต่างรุกหนักเพื่อหวังขยายตลาดให้ทันกับซัพพลายที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ตลาดอิฐมวลเบาแข่งกันเข้มข้นขึ้นอีกแน่
อาจกล่าวได้ว่าวันนี้ "สงครามราคา" กำลังเกิดขึ้นกับตลาดคอนกรีตมวลเบา (อิฐมวลเบา) แล้ว เมื่อ "คิวคอน" ในฐานะบิ๊กเพลเยอร์ ตัดสินใจหั่นราคาอิฐมวลเบาในช่วงไตรมาส 2 ลงอีก 5-10%
ทำให้ "ซุปเปอร์บล๊อก" ผู้ผลิตอันดับ 2 ต้องยอมลดราคาตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อรักษาช่องว่างราคาทิ้งห่างกันมากเกินไป ราคาอิฐมวลเบาที่เคยขายกันอยู่ก้อนละ 22-23 บาท จึงลดลงมาเหลือเพียง 17-18 บาท
"เราไม่ได้ทำสงครามราคา ไม่ได้ต้องการแข่งกันเอง เพราะตอนนี้ตลาดอิฐมวลเบายังเล็กอยู่ เพียงแต่เราต้องการเข้าไปกินแชร์เพิ่มในตลาดอิฐมอญจึงได้ลดราคาลงมา" กิตติ สุนทรมโนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ควอลิตี้ คอนสตรัคชั่นโปรดัคส์ จำกัด (มหาชน) บอกถึงจุดยืนที่ "คิวคอน" ปรับราคาก่อนหน้านี้
แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการดัมพ์ราคาเพื่อชิงตลาดอิฐมอญ กระทบกับผู้ผลิตอิฐมวลเบารายอื่น รวมถึงบริษัท ออโตเครป แอเรทเต็ด คอนกรีตโปรดัก จำกัด หรือ AACP ในเครือ บมจ.ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี new comer ที่เตรียมเปิดตลาดเต็มตัวในไม่ช้าด้วยกำลังผลิต 3 ล้าน ตร.ม.ต่อปี ก็ออกมายอมรับต้องมีการเซตราคาขายกันใหม่จากที่เคยตั้งไว้ก้อนละ 20 กว่าบาท
การที่คิวคอนต้องยอม "เฉือนเนื้อ" เป็นผลมาจากการทุ่มเงิน 1,300 ล้าน ขยายโรงงานอีก 3 แห่ง ทำให้กำลังผลิตเพิ่มแบบก้าวกระโดดจากเดิมปีละ 3 ล้าน ตร.ม. เป็น 12 ล้าน ตร.ม. (โรงงานละ 3 ล้าน ตร.ม.)
ล่าสุดโรงงานแห่งที่ 2-3 ได้เดินเครื่องจักรเต็มสูบแล้ว คาดว่าปีนี้คิวคอนจะมีตัวเลขการผลิตอยู่ที่ 8 ล้าน ตร.ม. ส่วนโรงงานแห่งที่ 4 ในจังหวัดระยอง จะแล้วเสร็จช่วงไตรมาส 3 นี้ ส่วนหนึ่งจะใช้ในการส่งออก ตลาดใหม่ที่กำลังเล็งอยู่คือเวียดนาม ออสเตรีย และเขมรเพื่อเปิดตลาด จากปัจจุบันที่ส่งออกไปยังสิงคโปร์
พลิกกลับไปดูข้อมูลเดิมปรากฏว่า ออร์เดอร์ในปีนี้ราว 1.5 ล้าน ตร.ม. มีลูกค้าขาประจำบริษัทมหาชน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ 1 ในผู้ถือหุ้นของคิวคอนจองไว้แล้ว แต่นั่นหมายความว่ายังมีกำลังผลิตอีกร่วม 6.5 ล้าน ตร.ม.ที่ต้องหาตลาดใหม่มา รองรับ ซึ่งเป็น "งานหิน" พอสมควร
แต่ถ้าทำได้คิวคอนจะมียอดขายในปีนี้ 1,200 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากปีก่อน 50% นำมาสู่การอัดงบฯทำโฆษณาทีวีเพื่อโปรโมตอิฐมวลเบา "คิวคอน" ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา ตามติดด้วยการจัดโปรโมชั่นลดราคา จากที่เคยขายกัน ตร.ม. ละ 180 ก็ลดลงเหลือ 160 บาท จากก้อนละ 18.5 บาท ก็ลดเหลือ 17 บาท โดยยอมเฉือนกรอส มาร์จิ้นจาก 46% ลงเหลือ 35-40% ซึ่งเป็นไปตามสเต็ปที่วางไว้
ขณะที่ในใจลึกๆ ของคิวคอนต้องการยืนราคาขายนี้ต่อไปอย่างน้อยก็ถึงสิ้นปี หากว่าน้ำมันดีเซลไม่ปรับราคาขึ้นไปกว่านี้มากนักจนทำให้ต้นทุนเปลี่ยน การแข่งขันด้านราคาก็น่าจะยืดเยื้อแน่
คู่แข่งปรับแผนสู้
ด้าน "ซุปเปอร์บล๊อก" ของตระกูลโลจายะ ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 2 ด้วยกำลังผลิต 4.6 ล้าน ตร.ม. ในฐานะผู้ผลิตอิฐมวลเบารายแรก ก็ยอมรับว่าต้องมีการปรับแผนปรับราคาเพื่อรับมือการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นเช่นกัน
"เราจะหันมาขายพรีเมี่ยมโปรดักต์มากขึ้น จะเพิ่มให้ได้ถึง 35-40% จากปัจจุบันอยู่ที่ 15% จากยอดขายรวม" ขุมทรัพย์ โลจายะ กรรมการรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) บอกถึงแผนการทำตลาด โดยโฟกัสไปที่สินค้าจำพวกคานทับหลัง แผ่นผนังเสริมเหล็ก เจาะตลาดงานก่อสร้างที่ต้องการความทนทานแข็งแรงเป็นพิเศษ ขณะเดียวกันก็รุกเข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ในภาควิชางานก่อสร้างตามมหาวิทยาลัยต่างๆ
ล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ยังได้แตกไลน์ธุรกิจจัดตั้งบริษัทใหม่ในเครือที่มีชื่อว่า"ซุปเปอร์สปีด คอนสตรัคชั่น" ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท เป้าหมายคือรุกตลาดรับเหมาก่อสร้าง แต่เน้นหนักไปที่งานโครงการที่ใช้อิฐมวลเบาเป็นวัสดุก่อสร้าง
ซุปเปอร์บล๊อกยังอยู่ระหว่างหาซื้อที่ดินขนาด 10-15 ไร่ เพื่อก่อสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ตามแผน โดยมี 2 จังหวัดตัวเลือกในใจคือ "พังงา-สุราษฎร์ธานี" เพื่อใช้เป็นฐานในการทำตลาดภาคใต้ ซึ่งจะทำให้ได้เปรียบเรื่องต้นทุนค่าขนส่ง
คาดว่าโรงงานแห่งนี้จะเริ่มผลิตได้ในปีหน้า เมื่อนั้นซุปเปอร์บล๊อกจะมีกำลังผลิตรวมเป็น 5.75 ล้าน ตร.ม. ขณะที่ในแง่ของมาร์จิ้น ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมามียอดขายทั้งสิ้น 97 ล้าน กำไรสุทธิ 35 ล้าน หรือมีอัตรากำไรสุทธิเท่ากับ 36%
นั่นอาจหมายความได้ว่าหากคิวคอนตัดสินใจดัมพ์ราคาต่อไป ซุปเปอร์บล๊อกก็พร้อมยืนระยะสู้ด้วย !
ส่วนความเคลื่อนไหวของ บมจ.ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี หรือ CCP หลังจากได้ซื้อหุ้นในบริษัท ออโตเครป แอเรทเต็ด คอนกรีตโปรดัก จำกัด (AACP) คืนจาก บมจ.ซิโนไทยฯ ล่าสุดได้ทยอยซื้อหุ้นคืนจากกลุ่มผู้ร่วมทุนอีก 3 ราย คือ เนชั่นแนลยูเนี่ยน เพอร์เพชวลพรอสเพอร์ตี้ และ DJT โดยให้เหตุผลในการซื้อหุ้นคืนครั้งนี้ว่าเป็นเพราะมีความพร้อมในการบริหารงานทำให้ปัจจุบันเหลือผู้ถือหุ้นใน AACP เพียง 2 ราย คือ CCP ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 80% กับ "เสรี จุลศักดิ์ศรีสกุล" ที่ถือในนามส่วนตัวอีก 20% ผลก็คือ CCP จะมีสิทธิในการออกมติพิเศษได้
ล่าสุดยังได้ดึงตัว "ดร.วิชชุกร ประพันธศิริ" เข้ามานั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการ ที่มีประสบการณ์ในแวดวงวัสดุก่อสร้างกับกลุ่มปูนซีเมนต์นครหลวงมานานกว่า 10 ปี เข้ามาช่วยวางแผนการตลาดให้ ทำให้ผู้ผลิตรายอื่นจะประมาทค่ายนี้ไม่ได้เช่นกัน
"ดีคอน" ไม่หวั่นสงครามราคา
ขณะที่บริษัท ดีคอนโปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะ new comer รายล่าสุดก็ประกาศว่าพร้อมผลิตสินค้าบุกตลาดได้เต็มตัวในปีหน้าอย่างแน่นอน ล่าสุดอยู่ระหว่างรอติดตั้งเครื่องจักรสำหรับ ตัดอิฐมวลเบามูลค่า 70 ล้าน ที่สั่งตรงจากประเทศเยอรมนี คาดว่าจะมาถึงช่วงกลางเดือนธันวาคมนี้ มีกำลังผลิตปีละ 3 ล้าน ตร.ม.
ด้วยกระบวนการผลิตในระบบ cellular light weight concrete (CLC) ทำให้อิฐมวลเบาดีคอนสามารถใช้ปูนฉาบทั่วไปก่อได้ ต่างจากระบบ autoclaved aerated concrete (AAC) ที่ต้องปูนสูตรพิเศษเฉพาะในการก่อเท่านั้น
เป็นจุดแข็งที่ทำให้ดีคอนมั่นใจอย่างมากว่าไม่จำเป็นต้องกระโจนลงไปร่วมวง "สงครามราคา" กลับกันยังคิดจะตั้งราคาให้สูงกว่าอิฐมวลเบาในตลาดสูงกว่า 20-30% แต่สิ่งที่เป็นคำถามก็คือว่าเมื่ออิฐมวลเบาระบบ CLC ดีกว่าทำไมจึงไม่มีคนผลิต ?
"จริงๆ อิฐมวลเบาระบบ CLC มีคนผลิตอยู่ร่วม 10 ราย แต่เป็นรายเล็กๆ เพราะต้องใช้แม่แบบหล่อทำให้ผลิตเป็นแมสไม่ได้ การหล่อแล้วใช้เครื่องจักรตัดจะควบคุมคุณภาพได้ยาก แต่เราถือเป็นรายแรกที่แก้ปัญหาตรงนี้ได้" วิทวัส พรกุล ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ดีคอนฯ บอกถึงเหตุผล
ก่อนหน้านี้ดีคอนยังได้ตัดสินใจเปลี่ยนแผนลงทุนขยายโรงงานแห่งที่ 2 โดยย้ายฐานจากภาคใต้ มาลงทุนก่อสร้างโรงงานในจังหวัดลำพูน ใช้งบประมาณ 50 ล้าน เพื่อเจาะตลาดภาคเหนือแทน ด้วยกำลังผลิต 1 ล้านตารางเมตรต่อปี หลังจากเห็นว่า "ซุปเปอร์บล๊อก" วางแผนสร้างโรงงานในภาคใต้เช่นกัน
เมื่อทุกค่ายต่างรุกหนักเพื่อหวังขยายตลาดให้ทันกับซัพพลายที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ตลาดอิฐมวลเบาแข่งกันเข้มข้นขึ้นอีกแน่