อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
-
- Verified User
- โพสต์: 87
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 61
สวัสดีคุณ humdrum ครับ
อยากสอบถามครับว่าหนังสือเกี่ยวกับ Chalie Munger นอกจาก
Damn Right Poor Charlie's Almanack สองเล่มนี้
ยังมีเล่มอื่นอีกไหมครับ
แล้วในไทยมีคนแปลออกมาเป็นเล่มบ้างไหมครับ
ขอบคุณครับ
อยากสอบถามครับว่าหนังสือเกี่ยวกับ Chalie Munger นอกจาก
Damn Right Poor Charlie's Almanack สองเล่มนี้
ยังมีเล่มอื่นอีกไหมครับ
แล้วในไทยมีคนแปลออกมาเป็นเล่มบ้างไหมครับ
ขอบคุณครับ
" ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา....
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินให้ไปถึงฝัน เท่านั้นพอ"
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินให้ไปถึงฝัน เท่านั้นพอ"
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 62
นอกจากสองเล่มที่กล่าวถึง ผมได้อ่าน seeking wisdom เล่มนี้พี WEB ให้มาครับ
copied แจกให้สมาชิกในไทวิอ่านไปแล้วสามท่าน
ถ้าหาในอเมซอนจะเห็นอีกเล่ม on success แต่ไม่เคยอ่านครับ
ผมไม่เคยเห้นมีแปลเป็นไทยนะครับ
มีที่ผมแปลเองเก็บไว้อ่านเองที่เป็นตัวหนาครับ
ที่ Perth น่าจะเริ่มหนาวแล้วซิครับ
เดือนหน้าผมต้องย้ายไปทำงานที่ซิดนีย์แล้ว
1. Harvard School Commencement June 13, 1986
2."A Lesson in Elementary, Worldly Wisdom as It Relates to Investment Management and Business", University of Southern California Marshall School of Business, April 14, 1994
3."A Lesson in Elementary, Worldly Wisdom, Revisited", Stanford Law School, April 19, 1996
4."Practical Thought About Practical Thought", July 20, 1996
5."The Need for More Multidisciplinary Skills from Professionals: Educational Implications Harvard Law School Class of 1948, April 24, 1998
6."Investment Practices of Leading Charitable Foundations", Foundation Financial Officers Group, October 14, 1998
7.Breakfast Meeting of the Philanthropy Roundtable, November 10, 2000
8."The Great Financial Scandal of 2003", Summer 2000
9."Academic Economics: Strengths and Faults after Considering Interdisciplinary Needs", University of California, Santa Barbara, October 3, 2003
10.The Psychology of Human Misjudgment
copied แจกให้สมาชิกในไทวิอ่านไปแล้วสามท่าน
ถ้าหาในอเมซอนจะเห็นอีกเล่ม on success แต่ไม่เคยอ่านครับ
ผมไม่เคยเห้นมีแปลเป็นไทยนะครับ
มีที่ผมแปลเองเก็บไว้อ่านเองที่เป็นตัวหนาครับ
ที่ Perth น่าจะเริ่มหนาวแล้วซิครับ
เดือนหน้าผมต้องย้ายไปทำงานที่ซิดนีย์แล้ว
1. Harvard School Commencement June 13, 1986
2."A Lesson in Elementary, Worldly Wisdom as It Relates to Investment Management and Business", University of Southern California Marshall School of Business, April 14, 1994
3."A Lesson in Elementary, Worldly Wisdom, Revisited", Stanford Law School, April 19, 1996
4."Practical Thought About Practical Thought", July 20, 1996
5."The Need for More Multidisciplinary Skills from Professionals: Educational Implications Harvard Law School Class of 1948, April 24, 1998
6."Investment Practices of Leading Charitable Foundations", Foundation Financial Officers Group, October 14, 1998
7.Breakfast Meeting of the Philanthropy Roundtable, November 10, 2000
8."The Great Financial Scandal of 2003", Summer 2000
9."Academic Economics: Strengths and Faults after Considering Interdisciplinary Needs", University of California, Santa Barbara, October 3, 2003
10.The Psychology of Human Misjudgment
-
- Verified User
- โพสต์: 258
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 63
คุณ humdrum ครับ ผมเพิ่งจะเริ่มศึกษานะครับ ไม่คิดจะว่าตัวเองจะไปช่วยอธิบายใครได้นะครับhumdrum เขียน:ในไทวิไม่มีใครเหมาะสมที่แปลต่อเท่าคุณไอซ์ ที่เหลือของ Human Misjudge ต้องดูว่าคุณไอซ์จะว่างแปลต่อให้ไหมนะครับ
ผมมาลงทะเบียนเรียนกับคุณ humdrum ดีกว่าครับ
มีอีกเล่มครับ Seeking wisdom from darwin to mungersorageol46 เขียน: อยากสอบถามครับว่าหนังสือเกี่ยวกับ Chalie Munger นอกจาก
Damn Right Poor Charlie's Almanack สองเล่มนี้
ยังมีเล่มอื่นอีกไหมครับ
ส่วนที่จะแปลเป็นภาษาไทยมีนะครับ Damn Right! สำนักพิมพ์ ฟิเดลิตี้ เค้าซื้อลิขสิทธิ์มาแล้ว
แต่จะแปลเมื่อไร ไม่ทราบเหมือนกันนะครับ ต้องสอบถามไปที่สำนักพิมพ์เอง
ถ้าต้องการฉบับภาษาอังกฤษ Damn Right! ร้าน kinokuniya น่าจะมีครับ ผมเองก้ซื้อเล่มนี้ที่ร้าน
ไม่แน่ใจว่า ห้องสมุดมารวยที่ตลาดหลักทรัพย์ มีด้วยรึเปล่า ถ้าไม่อยากเสียตังค์ ไปอ่านที่นั้นแหละครับ
เมื่อก่อนผมไปนั่งอ่านทั้งวัน
-
- Verified User
- โพสต์: 87
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 64
ขอบคุณ คุณ humdrum และ คุณ iceberg
ที่แน่ะนำ หนังสือผมต้องไปทำลิตส์จัดหามาเพิ่มครับ
ตอบคุณhumdrum ตอนนี้ ที่เพิร์ท อากาศเริ่มเย็นลงละครับ
อุณหภมูิ ประมาณ 21-14 น่ะครับ
บางวันต้องเริ่มใส่เเจ็คเก็ดมาใส่ครับ
ว่าแต่จะย้ายมาทำงานที่ Sydney มาอยู่นานไหมครับ
ที่แน่ะนำ หนังสือผมต้องไปทำลิตส์จัดหามาเพิ่มครับ
ตอบคุณhumdrum ตอนนี้ ที่เพิร์ท อากาศเริ่มเย็นลงละครับ
อุณหภมูิ ประมาณ 21-14 น่ะครับ
บางวันต้องเริ่มใส่เเจ็คเก็ดมาใส่ครับ
ว่าแต่จะย้ายมาทำงานที่ Sydney มาอยู่นานไหมครับ
" ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา....
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินให้ไปถึงฝัน เท่านั้นพอ"
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินให้ไปถึงฝัน เท่านั้นพอ"
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 66
ผมจะเล่่าให้ฟัง จำเรื่องที่มังเกอร์บอกสาวในงานเลี้ยงได้ไหมครับ ที่ว่าสาวถามเขาว่าคุณสมบัติอะไรที่ทำให้เขารวยขนาดนี้ เขาตอบว่า "rational" ผมสงสัยทันทีว่ามังเกอร์เป็นคนที่ตรงข้ามกับที่เขาพูด เขาเป็นคนที่ emotional ต่างหาก คนที่มีแขนจะไม่เคยพูดถึงความสำคัญของแขน คนที่มีศีลธรรมจะไม่เคยพูดถึงศึลธรรม คนที่มีเหตุผลจะไม่เคยพูดถึงความมีเหตุผล มังเกอร์เคยเป็นคนที่มีอคติส่วนตัวมาก อคติของเขาพาเข้าไปอยู๋ในสถานการณ์ที่ตกอับทางการเงินและครอบครัวหย่าร้าง ไม่อย่างนั้นเขาไม่มาสนใจเรื่อง Human Misjudge แต่ตอนนี้เขาเก็บ emotional ของเขาเก็บไว้ใส่ตู้เซฟอย่างดีแล้วiceberg เขียน:คุณ humdrum ครับ ผมเพิ่งจะเริ่มศึกษานะครับ ไม่คิดจะว่าตัวเองจะไปช่วยอธิบายใครได้นะครับhumdrum เขียน:ในไทวิไม่มีใครเหมาะสมที่แปลต่อเท่าคุณไอซ์ ที่เหลือของ Human Misjudge ต้องดูว่าคุณไอซ์จะว่างแปลต่อให้ไหมนะครับ
ผมมาลงทะเบียนเรียนกับคุณ humdrum ดีกว่าครับ
จำประโยคนี้ได้ไหมครับ the rustic's saying "I wish I knew where I was going to die, and then I 'd would never go there." ผมจะเปลี่ยนเป็นประโยคใหม่ครับ I wish I knew what my biases are and then I'd never make human misjudgements.
มันสำคัญมากสำหรับมังเกอร์ขนาดที่เขาแนะนำน้องๆที่จบใหม่ว่าถ้าอยากมีชีวิตที่ตกอับก็ให้ละเลยและอย่าสนใจประโยคที่เขาจะพูดต่อไปนี้ สิ่งที่เขาพูดคือ
"I wish I knew where I was going to die, and then I 'd would never go there."
มังเกอร์กล่าวประโยคนี้ครั้งแรกในงานสุนพจน์ที่ Harvard เมื่อปี 1986 ตอนนั้นเขาอายุประมาณ 62 ปี ครับ เป็นวันที่ 13 มิถุนายน 1986 อาจารย์ ชาลี มังเกอร์ กล่าวสุนทรพจน์ให้กับบัณฑิตจบใหม่ในวันรับปริญญาซึ่งเป็นประเพณีประจำมหาวิทยาลัย Harvard มารายสิบปี ในหัวข้อ
“วิธีตายทั้งเป็น ใครทำตามแล้ว รับประกันชีวิตจะตกทุกข์ได้ยากประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน”
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 68
วันที่ 13 มิถุนายน 1986
CHARLES T. MUNGER
HARVARD SCHOOL COMMENCEMENT SPEECH.
JUNE 13, 1986.
Prescriptions for Guaranteed Misery in Life
ปีนี้ ท่านอธิบดีเบอร์ริสเฟริดได้เชิญบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติทั้งแก่ที่สุดและทั้งอยู่ทนที่สุดในตำแหน่ง trustee ของมหาวิทยาลัยนี้เป็นผู้กล่าวสุนทรพจน์ ซึ่งก็คือผมเอง
ตอนนี้น้องๆ คงอยากรู้ว่า หนึ่ง ทำไมผู้พูดถึงต้องเป็นผม และ สอง ที่สำคัญกว่า ผมจะพูดนานหรือปล่าว
ผมจะตอบคำถามว่า ทำไมท่านอธิบดีที่นั่งอยู่ตรงนี้ถึงเลือกผม
สำหรับ Harvard ท่านอธิบดีมีชื่อเสียงมายาวนานในการคัดเลือกนักเรียนและอาจารย์ที่เยี่ยมยอดเข้ามาที่นี่ ท่านมองขาด สายตาท่านเฉียบคมเปรียบเหมือนท่านกำลังคัดเลือกม้า แต่ม้าของท่านไม่ธรรมดา ไม่เหมือนคนอื่น ม้าของท่านเป็นม้าที่สามารถนับหนึ่งถึงเจ็ดได้ และ วันนี้ผมก็เป็นม้าตัวนั้นเช่นกัน
CHARLES T. MUNGER
HARVARD SCHOOL COMMENCEMENT SPEECH.
JUNE 13, 1986.
Prescriptions for Guaranteed Misery in Life
ปีนี้ ท่านอธิบดีเบอร์ริสเฟริดได้เชิญบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติทั้งแก่ที่สุดและทั้งอยู่ทนที่สุดในตำแหน่ง trustee ของมหาวิทยาลัยนี้เป็นผู้กล่าวสุนทรพจน์ ซึ่งก็คือผมเอง
ตอนนี้น้องๆ คงอยากรู้ว่า หนึ่ง ทำไมผู้พูดถึงต้องเป็นผม และ สอง ที่สำคัญกว่า ผมจะพูดนานหรือปล่าว
ผมจะตอบคำถามว่า ทำไมท่านอธิบดีที่นั่งอยู่ตรงนี้ถึงเลือกผม
สำหรับ Harvard ท่านอธิบดีมีชื่อเสียงมายาวนานในการคัดเลือกนักเรียนและอาจารย์ที่เยี่ยมยอดเข้ามาที่นี่ ท่านมองขาด สายตาท่านเฉียบคมเปรียบเหมือนท่านกำลังคัดเลือกม้า แต่ม้าของท่านไม่ธรรมดา ไม่เหมือนคนอื่น ม้าของท่านเป็นม้าที่สามารถนับหนึ่งถึงเจ็ดได้ และ วันนี้ผมก็เป็นม้าตัวนั้นเช่นกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 69
คำถามที่สอง ผมจะพูดนานแค่ไหน ตอนนี้ผมหันมองหน้าตาน้องๆ แล้วเหมือนดอกไม้ที่เบ่งบานเต็มไปด้วยแววตาที่กระตือรือร้นและความคาดหวังที่สดใสในชีวิต ผมอยากจะเห็นบรรยากาศแววตาเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขอย่างนี้ตลอดทั้งงาน ดังนั้นผมจะขอเก็บคำตอบข้อที่สองไว้กับตัวเองน่าจะดีกว่า
ตอนแรกที่ผมทราบว่าได้รับเชิญนั้น ผมดีใจมากครับ แถบตัวลอยเลย แต่ก็อดวิตกคิดไม่ได้ว่า สุนทรพจน์ของผมจะนานแค่ไหนดีถึงจะเหมาะสม ผมคิดวนไปวนมาถึงเรื่องนี้ว่าสุนทรพจน์จะใช้เวลานานเท่าไหร่ดี จนมันเกือบกลายเป็นหัวข้อในสิ่งที่ผมจะพูดซะแล้ว
“อาจารย์ ชาลี มังเกอร์ กล่าวสุนทรพจน์ให้กับบัณฑิตจบใหม่ในวันรับปริญญาซึ่งเป็นประเพณีประจำมหาวิทยาลัย Harvard มาหลายสิบปี ในหัวข้อหัวเรื่อง “สุนทรพจน์นานแค่ไหนดี”
ตอนแรกที่ผมทราบว่าได้รับเชิญนั้น ผมดีใจมากครับ แถบตัวลอยเลย แต่ก็อดวิตกคิดไม่ได้ว่า สุนทรพจน์ของผมจะนานแค่ไหนดีถึงจะเหมาะสม ผมคิดวนไปวนมาถึงเรื่องนี้ว่าสุนทรพจน์จะใช้เวลานานเท่าไหร่ดี จนมันเกือบกลายเป็นหัวข้อในสิ่งที่ผมจะพูดซะแล้ว
“อาจารย์ ชาลี มังเกอร์ กล่าวสุนทรพจน์ให้กับบัณฑิตจบใหม่ในวันรับปริญญาซึ่งเป็นประเพณีประจำมหาวิทยาลัย Harvard มาหลายสิบปี ในหัวข้อหัวเรื่อง “สุนทรพจน์นานแค่ไหนดี”
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 70
ผมไม่มีสายดำประสบการณ์พูดต่อหน้าสาธารณะ ผมมีแต่สายดำในเรื่องของความทะลึงตึงตัง ฮีโร่ของผมคือ Cicero นักพูดโรมันก่อนคริสกาล และฮี่โร่ของ Cicero คือ Demosthens ถ้าใครย้อนเวลาไปถาม Cicero ว่าสุนทรพจน์อันไหนของ Demosthens ที่เขาประทับใจที่สุด เขาจะตอบว่า “อันที่นานที่สุด ยิ่งนานยิ่งดี”
สุนทรพจน์ที่ยิ่งนานยิ่งดี แต่เป็รตอนนั้นผมบังเอิญคิดถึง Samuel Johnson พอดี ตอนที่เขาพิจารย์บทกวีของ Milton ที่ชื่อ “Paradise Lost” และบอกว่า “พอทีเถอะ ไม่มีใครอยากให้บทกวีนี้ยาวกว่านี้อีกแล้ว”
แล้วผมก็เลยเกิดคำถามผุดขึ้นมาทันทีว่า ในรอบยี่สิบปีที่ผ่านมา คำกล่าวสุนพจน์ในอดีตที่ Harvard มีอันไหนที่ผมฟังแล้ว ไม่สะใจเลย อยากให้เนื้อหาที่พูดในวันนั้นมันน่าจะยึดเวลานานกว่านั้นไปอีกสักหน่อย มันจะมีไหมนะ มีจริงๆ ครับ มีอยู่ปีเดียวครับ ผู้พูดในปีนั้นคือ Johny Carson ในหัวข้อเรื่อง “ วิธีตายทั้งเป็น ใครทำตามแล้วรับประกันชีวิตจะตกทุกข์ได้ยากประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน” ผมชอบเรื่องนี้ น่าสนใจครับ ผมตกลงจะพูดเรื่องนี้ แต่จะเพิ่มเติมบางส่วนของผมเข้าไป
สุนทรพจน์ที่ยิ่งนานยิ่งดี แต่เป็รตอนนั้นผมบังเอิญคิดถึง Samuel Johnson พอดี ตอนที่เขาพิจารย์บทกวีของ Milton ที่ชื่อ “Paradise Lost” และบอกว่า “พอทีเถอะ ไม่มีใครอยากให้บทกวีนี้ยาวกว่านี้อีกแล้ว”
แล้วผมก็เลยเกิดคำถามผุดขึ้นมาทันทีว่า ในรอบยี่สิบปีที่ผ่านมา คำกล่าวสุนพจน์ในอดีตที่ Harvard มีอันไหนที่ผมฟังแล้ว ไม่สะใจเลย อยากให้เนื้อหาที่พูดในวันนั้นมันน่าจะยึดเวลานานกว่านั้นไปอีกสักหน่อย มันจะมีไหมนะ มีจริงๆ ครับ มีอยู่ปีเดียวครับ ผู้พูดในปีนั้นคือ Johny Carson ในหัวข้อเรื่อง “ วิธีตายทั้งเป็น ใครทำตามแล้วรับประกันชีวิตจะตกทุกข์ได้ยากประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน” ผมชอบเรื่องนี้ น่าสนใจครับ ผมตกลงจะพูดเรื่องนี้ แต่จะเพิ่มเติมบางส่วนของผมเข้าไป
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 71
ถ้าจะเทียบอายุตอนที่ Carson มาพูดที่ Harvard กับอายุผมตอนนี้ ผมแก่กว่าเขามาก ผมทั้งล้มเหลวมากกว่า ทั้งตกอับมามากกว่า ผมมีคุณสมบัติที่จะพูดในหัวข้อนี้ดีกว่าเขาอย่างแน่นอน
Carson เป็นนักพูดที่มีเสน่ห์เต็มไปด้วยอารมณ์ขัน แต่สิ่งที่เขาพูดในวันนั้น ไม่ใช่ “ทำอย่างไรให้ชีวิตมีความสุข” แต่เป็น “ทำอย่างไรให้ชีวิตตกอับ” และมีใบรับประกันด้วยว่าถ้าทำตามที่เขาพูดรับรองไม่ผิดหวัง เพราะเขาได้ลองภาคสนาม ลองทดสอบทฤษฎีของเขาและปฏิบัติจริงมาหมดแล้ว ผลก็คือ ชีวิตของเขาตกอับสมดั่งใจปราถนาทุกประการ รับประกันสรรพคุณได้ว่าใช้แล้วได้ผลจริง บทข้อสรุป สิ่งที่เขาแนะนำก็คือ จงเป็นคน…หนึ่งขี้เหล้าเมายา สอง จงเป็นคนขี้อิจฉาตาร้อนเข้าไว้ และสามให้เป็นคนขี้หงุดหงิดโกรธง่ายโมโหเร็ว มีทั้งสามข้อครบ รับรองเห็นผลเร็วทันตาภายในสามวันเจ็ดวัน จะไม่มีใครคบด้วย
Carson เป็นนักพูดที่มีเสน่ห์เต็มไปด้วยอารมณ์ขัน แต่สิ่งที่เขาพูดในวันนั้น ไม่ใช่ “ทำอย่างไรให้ชีวิตมีความสุข” แต่เป็น “ทำอย่างไรให้ชีวิตตกอับ” และมีใบรับประกันด้วยว่าถ้าทำตามที่เขาพูดรับรองไม่ผิดหวัง เพราะเขาได้ลองภาคสนาม ลองทดสอบทฤษฎีของเขาและปฏิบัติจริงมาหมดแล้ว ผลก็คือ ชีวิตของเขาตกอับสมดั่งใจปราถนาทุกประการ รับประกันสรรพคุณได้ว่าใช้แล้วได้ผลจริง บทข้อสรุป สิ่งที่เขาแนะนำก็คือ จงเป็นคน…หนึ่งขี้เหล้าเมายา สอง จงเป็นคนขี้อิจฉาตาร้อนเข้าไว้ และสามให้เป็นคนขี้หงุดหงิดโกรธง่ายโมโหเร็ว มีทั้งสามข้อครบ รับรองเห็นผลเร็วทันตาภายในสามวันเจ็ดวัน จะไม่มีใครคบด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 72
เรื่องติดเหล้าเมายาสูตรสำเร็จตกอับของ Carson ผมยืนยันว่าได้ผลจริง หลักฐานจากเพื่อนสนิทผมสามคนสมัยเด็กๆ ทั้งสามคนทั้งเรียนเก่งและนิสัยดี พวกเขาเติบโตมาจากพื้นฐานครอบครัวที่ปลูกฝังเรื่องจริยธรรมเป็นอย่างดี ถ้าดูจากวัยเด็กก็เดาไม่ออกเลยว่า ชีวิตพวกเขาจะลงเอยอย่างนี้ ตอนนี้คนแรกกำลังเป็นโรคแอลกอฮอลิค มัวเมาในอบายมุขกินเหล้าไม่พัก เมาสรวลเสเฮฮาตลอดรายการ ทุกวัน ทุกเดือน ทุกเวลา อีกสองคนไม่ต้องพูดถึง เพราะตับแข็งตายไปนานแล้ว น้องๆ ที่นั่งตรงนี้ ขอให้ลองเถอะ ขอให้ได้เริ่มก่อน ไม่ต้องห่วงเลย ไม่ต้องห่วงว่าจะเลิกได้ง่ายๆ ชีวิตจะหาความสงบไม่ได้ ขาดสติ ขาดปัญญา การปฏิบัติของท่านในข้อแรกรับประกันเหมือนตายทั้งเป็นอย่างแน่นอน ชีวิตตกอับสมความมุ่งมาดปรารถนาทุกประการ
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 73
ข้อสอง ฝึกให้เกิดสันดานขี้อิจฉาเป็นพื้นฐานของจิตน้องๆ ให้มากๆ ต้องกำหนดความขี้อิจฉาทุกอริยาบถ ความขี้อิจฉานี้เป็นสูตรสำเร็จไปสู๋ความหายนะตั้งแต่ครั้งโบราณกาลก่อนที่จะมีบัญญัติ 10 ประการของโมเสสซะอีก มันจะปิดบังปัญญาของน้องเอาไว้และรับประกันชีวิตที่ทุกข์แสนสาหัสอย่างแน่นอน ถ้าอยากหาประวัติคนดังๆ ที่ขี้อิจฉา ลองอ่านประวัติฮิตเลอร์ หรือไม่ก็ลองดูเองเลยจากประสบการณ์จริง จะได้รู้เองว่าเป็นคนขี้อิจฉาแล้วตกอับขนาดไหน ไม่ต้องรู้ตามประวัติคนอื่นมาบอกเล่าอีกที
ข้อสาม ทางเชิงปฏิบัติการแล้ว ขี้หงุดหงิดผมแนะนำไม่ผิดหวัง รับรองน้องๆ จะมีแต่ความเศร้าหมองใจตลอดเวลา อธิบายเชิงวิชาการละเอียดกว่านี้ ไม่ยากเลย เก็บความโกรธเข้าไว้กับตัว จิตมีแต่โทสะ จิตมีแต่ผูกเวรผูกพยาบาท น้องๆ จะมีแต่ปัญหาในชีวิตแน่นอน
ข้อสาม ทางเชิงปฏิบัติการแล้ว ขี้หงุดหงิดผมแนะนำไม่ผิดหวัง รับรองน้องๆ จะมีแต่ความเศร้าหมองใจตลอดเวลา อธิบายเชิงวิชาการละเอียดกว่านี้ ไม่ยากเลย เก็บความโกรธเข้าไว้กับตัว จิตมีแต่โทสะ จิตมีแต่ผูกเวรผูกพยาบาท น้องๆ จะมีแต่ปัญหาในชีวิตแน่นอน
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 77
สวัสดีครับ ผมแปลอ่านเอง สำนวนคาดเคลื่อนไปมาก แนะนะอ่านฉบับจริงประกอบ
อมงคลชีวิตสามข้อของ Carson อาจารย์มังเกอร์ได้บรรยายไปแล้ว
ต่อไปเป็นสี่ข้ออกุศลวิบากของอาจารย์มังเกอร์ท่านเองครับ
สุนทรพจน์ของท่านเป็นคุณประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังอย่างมหาศาล
ผู้ด้อยปัญญาอย่างผมขอน้อมคาราวะต่อท่านทั้งสอง
และกราบขออนุญาตแปลสุนทรพจน์ต่อ ณ บัดนี้ครับ
อมงคลชีวิตสามข้อของ Carson อาจารย์มังเกอร์ได้บรรยายไปแล้ว
ต่อไปเป็นสี่ข้ออกุศลวิบากของอาจารย์มังเกอร์ท่านเองครับ
สุนทรพจน์ของท่านเป็นคุณประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังอย่างมหาศาล
ผู้ด้อยปัญญาอย่างผมขอน้อมคาราวะต่อท่านทั้งสอง
และกราบขออนุญาตแปลสุนทรพจน์ต่อ ณ บัดนี้ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 78
เพียงพอสำหรับคำแนะนำชีวิตที่มึดมนจาก Carson ต่อไปเป็นของผมเอง ผมมีทั้งหมดสี่ข้อ
ข้อแรก อย่ามีสัจจะ เป็นคนไม่รักษาคำพูดทั้งกายวาจาใจ ทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น พูดอย่างไรก็ไม่ทำตาม ทำอย่างไรก็พูดอีกอย่าง
ผมชอบเปรียบคนที่มีนิสัยอย่างนี้เหมือนกระต่ายในเรื่องกระต่ายกับเต่า ไม่ว่าเต่าตัวไหนแม้กระทั้งเต๋าขาเป๋ถือไม้เท้ากะโผลกกะเผลกก็ยังสามารถแซงกระต่ายอย่างนี้ได้
ผมขอยกตัวอย่างเพื่อน roommate ของผมที่มหา'ลัย เขาเป็นเด็กออทิสติก อาการค่อนข้างรุนแรง แต่เขาเป็นคนที่มีสัจจะ ซื่อสัตย์ต่อตัวเองและต่อคนอื่น อาจจะมากที่สุดในบรรดาคนที่ผมเคยรู้จักในโลกนี้ ทุกวันนี้มีครอบครัวที่ดี ลูกที่ดี และอาชีพการงานที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง คำแนะนำผม ขอเตือนอีกครั้ง ถ้าใครคิดอยากมีชีวิตที่บัดซบ อย่าพลาดข้อนี้อย่างเด็ดขาด สมหวังอย่างแน่นอน แล้วชีวิตน้องๆ จะดับมืดสนิทในปีนี้ ปีหน้า และต่อไปจนกระทั่งตาย
ข้อแรก อย่ามีสัจจะ เป็นคนไม่รักษาคำพูดทั้งกายวาจาใจ ทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น พูดอย่างไรก็ไม่ทำตาม ทำอย่างไรก็พูดอีกอย่าง
ผมชอบเปรียบคนที่มีนิสัยอย่างนี้เหมือนกระต่ายในเรื่องกระต่ายกับเต่า ไม่ว่าเต่าตัวไหนแม้กระทั้งเต๋าขาเป๋ถือไม้เท้ากะโผลกกะเผลกก็ยังสามารถแซงกระต่ายอย่างนี้ได้
ผมขอยกตัวอย่างเพื่อน roommate ของผมที่มหา'ลัย เขาเป็นเด็กออทิสติก อาการค่อนข้างรุนแรง แต่เขาเป็นคนที่มีสัจจะ ซื่อสัตย์ต่อตัวเองและต่อคนอื่น อาจจะมากที่สุดในบรรดาคนที่ผมเคยรู้จักในโลกนี้ ทุกวันนี้มีครอบครัวที่ดี ลูกที่ดี และอาชีพการงานที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง คำแนะนำผม ขอเตือนอีกครั้ง ถ้าใครคิดอยากมีชีวิตที่บัดซบ อย่าพลาดข้อนี้อย่างเด็ดขาด สมหวังอย่างแน่นอน แล้วชีวิตน้องๆ จะดับมืดสนิทในปีนี้ ปีหน้า และต่อไปจนกระทั่งตาย
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 79
ข้อสอง ข้อนี้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเลย ยึดมั่นในตัวเอง เรียนรู้ทุกอย่างด้วยตัวเอง จดจำไว้ในส่วนลึกของดวงใจน้องๆ ว่า "ข้าเก่งคนเดียว" คุณสมบัติขอนี้อกุศลอย่างแน่นอน ต้องท่องให้ได้ อย่าไปฟังคำแนะนำจากคนอื่น ไม่อย่างนั้นแล้วเห้นทีจะมีชีวิตที่ตกอับได้ยากมาก อย่าไปเรียนรู้ความสำเร็จและความล้มเหลวจากคนอื่น ผมขอพูดด้วยความตื้นตันว่า ชีวิตน้องๆ จะประทับใจกับความยากลำบากในชีวิตจนสะอื้นไห้ถ้ามีนิสัยข้อนี้ ถ้าน้องๆทำดังที่ผมแนะนำแล้ว รับรองได้ผลทุกคน
ผมเคยอ่านประวัติของผู้ชายคนหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าเขาอาจเป็นคนที่ฉลาดที่สุดในโลกก็เป็นไปได้ เขากล่าวว่างานของเขาแตกต่างจากงานคนอื่นตรงที่ เขาศึกษาความคิดจากคนอื่นแล้วนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น เขาบอกว่า "ไม่มีใครฉลาดพอที่จะเรียนรู้ทุกอย่างใหม่หมดด้วยตัวเอง" ชายคนนั้นชื่อว่า ไอแซก นิวตัน
ผมเคยอ่านประวัติของผู้ชายคนหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าเขาอาจเป็นคนที่ฉลาดที่สุดในโลกก็เป็นไปได้ เขากล่าวว่างานของเขาแตกต่างจากงานคนอื่นตรงที่ เขาศึกษาความคิดจากคนอื่นแล้วนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น เขาบอกว่า "ไม่มีใครฉลาดพอที่จะเรียนรู้ทุกอย่างใหม่หมดด้วยตัวเอง" ชายคนนั้นชื่อว่า ไอแซก นิวตัน
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 80
ข้อสาม อย่าลืมเด็ดขาดครับ เป็นคนล้มแล้วไม่ลุกขึ้นมาสู้ใหม่ เก็บข้อนี้ไว้ในเรือนใจของน้องๆ ปลูกฝังสันดานท้อถอยต่อปัญหาให้มากๆ ต้องทำให้ถูกจุดนี้ รับรองชีวิตจะไม่ราบรื่น ขอย้ำไว้ซ้ำข้อนี้ เน้นหลักข้อนี้ไว้ให้มาก มันมีประโยชน์ต่อน้องๆ ที่เอาไปปฏิบัติในกิจประจำวันให้ชีวิตตกอับอย่างดีที่สุด
ผมขอยกคำพูดของ เจมส์ คอร์เบต นักมวยอมเริกันระดับแชมเปี้ยนตำนานของโลก ที่เคยกล่าวไว้ว่า “สู้อีกยก เมื่อไม่ไหวจนต้องลากขากลับไปชกกางเวทีใหม่ ก็ต้องสู้อีกยก เมื่อแขนยกไม่ขึ้น ก็ต้องสู้อีกยก เมื่อเลือดไหลออกจมูก ตาเริ่มเบลอ จนอยากให้ฝ่ายตรงข้ามชกเราให้น๊อคสลบนับสิบไปเลย จะได้ไม่ต้องลุกขึ้นมาใหม่ ก็ต้องสู้ต่ออีกสักยก จงจำไว้ คนที่มักสู้ต่ออีกยก เป็นผู้ที่ไม่เคยโดนน๊อค”
อย่าทำอย่าง เจมส์ คอร์เบต อย่างเด็ดขาด ถ้าน้องๆ อยากมีชีวิตที่ตกอับ
ผมขอยกคำพูดของ เจมส์ คอร์เบต นักมวยอมเริกันระดับแชมเปี้ยนตำนานของโลก ที่เคยกล่าวไว้ว่า “สู้อีกยก เมื่อไม่ไหวจนต้องลากขากลับไปชกกางเวทีใหม่ ก็ต้องสู้อีกยก เมื่อแขนยกไม่ขึ้น ก็ต้องสู้อีกยก เมื่อเลือดไหลออกจมูก ตาเริ่มเบลอ จนอยากให้ฝ่ายตรงข้ามชกเราให้น๊อคสลบนับสิบไปเลย จะได้ไม่ต้องลุกขึ้นมาใหม่ ก็ต้องสู้ต่ออีกสักยก จงจำไว้ คนที่มักสู้ต่ออีกยก เป็นผู้ที่ไม่เคยโดนน๊อค”
อย่าทำอย่าง เจมส์ คอร์เบต อย่างเด็ดขาด ถ้าน้องๆ อยากมีชีวิตที่ตกอับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 81
ข้อสี่สุดท้าย
“I wish I knew where I was going to die, and then I’d never go there.”
ส่วนใหญ่ได้ยินแล้วก็จะหัวเราะเหมือนน้องๆ ตอนนี้ แต่ถ้าอยากตกอับจนหัวเราะไม่ออก ก็ให้น้องๆ รีบๆ ลืมประโยคนี้ครับ สิ่งที่ Carson ต้องการบอกน้องๆ กับกับประโยคที่ผมพึ่งกล่าวไปนั้นเหมือนกันครับ ตรงที่ถ้าน้องๆ อยากมีความสุขก็ให้น้องๆ หาทางว่าวิธีใดทำให้มีความทุกข์บ้างและหลีกเหลี่ยงสิ่งเหล่านั้นไป เหมือนนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลกที่ชื่อว่า จาค๊อปบี้ เขาเคยกล่าวว่า ปัญหาที่ยากๆ ผมจะตีโจทย์ออกได้ก็ต่อเมื่อผมคิดถึงปัญหาจากหลังไปหน้าเท่านั้น
“I wish I knew where I was going to die, and then I’d never go there.”
ส่วนใหญ่ได้ยินแล้วก็จะหัวเราะเหมือนน้องๆ ตอนนี้ แต่ถ้าอยากตกอับจนหัวเราะไม่ออก ก็ให้น้องๆ รีบๆ ลืมประโยคนี้ครับ สิ่งที่ Carson ต้องการบอกน้องๆ กับกับประโยคที่ผมพึ่งกล่าวไปนั้นเหมือนกันครับ ตรงที่ถ้าน้องๆ อยากมีความสุขก็ให้น้องๆ หาทางว่าวิธีใดทำให้มีความทุกข์บ้างและหลีกเหลี่ยงสิ่งเหล่านั้นไป เหมือนนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลกที่ชื่อว่า จาค๊อปบี้ เขาเคยกล่าวว่า ปัญหาที่ยากๆ ผมจะตีโจทย์ออกได้ก็ต่อเมื่อผมคิดถึงปัญหาจากหลังไปหน้าเท่านั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 82
ผมจะยกอีกตัวอย่าง ครั้งหนึ่ง นักวิทยาศาตร์ที่เก่งๆ ของโลกมารวมตัวกัน พวกเขาเอาทฤษฏีของ Maxwell มาตรวจสอบกับทฤษฎีของ นิวตัน แล้วดูว่าของ Maxwell ขัดแย้งกับนิวตันหรือไม่ แต่มีนักฟิสิกส์ท่านหนึ่งทำไม่เหมือนคนอื่น เขากลับทำตรงข้าม เอาทฤษฎีของนิวตันมาตรวจสอบกับของ Maxwell และเขาก็ค้นพบทฤษฎีที่ชื่อว่า Relativity เขาชื่อ แอลเบริด ไอสไตน์ นักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก
ไอสไตน์บอกว่าชีวิตของเขาประสบความสำเร็จได้เพราะเขามีนิสัยที่กระตือรือร้น มุ่งมั่น อดทนต่อปัญหา และจับผิดตนเอง และการจับผิดตนเองหมายถึงเขาพยามพิสูจน์ว่าทฤษฎีของเขานั้นใช้ไม่ได้จริง น่าแปลกที่เหมือนนักชีววิทยาที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอย่าง ชาร์ล ดาวิน ที่ใช้เวลาในบั้นปลายชีวิตโดยจับผิดทฤษฎีต่างๆ ที่เขาค้นพบ
ไอสไตน์บอกว่าชีวิตของเขาประสบความสำเร็จได้เพราะเขามีนิสัยที่กระตือรือร้น มุ่งมั่น อดทนต่อปัญหา และจับผิดตนเอง และการจับผิดตนเองหมายถึงเขาพยามพิสูจน์ว่าทฤษฎีของเขานั้นใช้ไม่ได้จริง น่าแปลกที่เหมือนนักชีววิทยาที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอย่าง ชาร์ล ดาวิน ที่ใช้เวลาในบั้นปลายชีวิตโดยจับผิดทฤษฎีต่างๆ ที่เขาค้นพบ
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 83
ผมพบว่า ทำไมชีวิตบรรดาบุคคลในประวัติศาสตร์ ไม่ว่าอาชีพนักวิทยาศาสตร์ นักชีวิวิทยา นักสำรวจ นักกีฬา นักธุระกิจนักลงทุน ที่ประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงถึงจับผิดตนเองอย่างนั้น
ความจริงที่แสนจะธรรมดาก็คือ อุปสรรคมีทุกที่ ความสำเร็จก็คือการตัดทิ้งความไม่สำเร็จออก อุปสรรคจะมีอยู๋ทุกหนทางในชีวิต ยอมรับมัน ยอมรับตั้งแต่อายุยังน้อยๆอย่างนี้ และให้มั่นใจว่าความพากเพียรและความอดทนเท่านั้นที่ชนะพวกมันได้
ผมขอจบสุนทรพจน์ของผมโดยเอาประโยคที่ควรพูดขึ้นต้นตั้งแต่แรกมาเป็นประโยคลงท้าย
สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีทุกท่าน ขอให้ชีวิตทุกท่านเจริญรุ่งเรืองขึ้นไปสู่ที่สูง ด้วยการใช้ชีวิตทุกวันมองไปสิ่งที่ทำให้ชีวิตท่านไหลลงสู่ที่ต่ำ
โชคดีและสวัสดีครับ
ความจริงที่แสนจะธรรมดาก็คือ อุปสรรคมีทุกที่ ความสำเร็จก็คือการตัดทิ้งความไม่สำเร็จออก อุปสรรคจะมีอยู๋ทุกหนทางในชีวิต ยอมรับมัน ยอมรับตั้งแต่อายุยังน้อยๆอย่างนี้ และให้มั่นใจว่าความพากเพียรและความอดทนเท่านั้นที่ชนะพวกมันได้
ผมขอจบสุนทรพจน์ของผมโดยเอาประโยคที่ควรพูดขึ้นต้นตั้งแต่แรกมาเป็นประโยคลงท้าย
สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีทุกท่าน ขอให้ชีวิตทุกท่านเจริญรุ่งเรืองขึ้นไปสู่ที่สูง ด้วยการใช้ชีวิตทุกวันมองไปสิ่งที่ทำให้ชีวิตท่านไหลลงสู่ที่ต่ำ
โชคดีและสวัสดีครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 84
จบแล้วนะครับ Harvard School Commencement สุนทรพจน์ของอาจารย์ชาลี มังเกอร์ให้กับบัณฑิตจบใหม่ในวันรับปริญญาที่ Harvard เมื่อวันที่ June 13, 1986 หรือประมาณ เมื่อ 26 ปีก่อนโน้น ผมจบแล้วเช่นกันครับ ไว้แล้วเจอกันใหม่อีกประมาณ 26 วันข้างหน้า ต้นเดือน June ครับ
ขอให้ทุกท่านมีความสุขทั่วหน้ากัน สวัสดีครับ
ขอให้ทุกท่านมีความสุขทั่วหน้ากัน สวัสดีครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 86
ผมไม่ชอบอ่านหนังสือแปลเลยนะครับ อันที่จริงนะครับ หนังสือแปลของอาจารย์ผมไม่เคยอ่านเลยสักเล่ม ไม่ใช่หนังสืออาจารย์แปลไม่ดี แต่หนังสือที่แปลแล้วเหมือนอาหารที่สุกแล้ว เอาไปทำเมนูอื่นได้ค่อนข้างจำกัดแล้ว ถ้ามาแบบยังไม่แปล เหมือนกุ้งดิบๆ เอามาทำเมนูได้เป็นสิบเลย มาอ่านกี่ครั้ง ผมแปลไม่เหมือนกันสักครั้ง เพราะการแปลมันขึ้นกับประสบการณ์ของเราที่เปลี่ยนไป และถ้าลงทุนด้วยแล้ว ประสบการณ์การในตลาดทุนมันมีวิวัฒนาการทุกวัน ผมเรียนสิ่งใหม่ทุกวัน การอ่านหนังสือภาษาอังกฤษจึงมีประโยชน์มากกว่า เสน่ห์มันอยู๋ตรงนั้น หนังสืออังกฤษแต่ละเล่มที่ผมมี ผมจึงอ่านมากกว่าร้อยครั้งครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 87
ผมมีคำแนะนำให้คุณไอซ์ ไม่ใช่คุณไอซ์เข้าใจไม่ดี แต่คุณไอซ์ขาด Human Misjudge บางอย่างไป ผมจะอธิบายให้ฟังครับ เวลาแปลไทยไว้อ่านเอง เปรียบเทียบกับเวลาแปลให้คนอื่นมัน ไม่เหมือนกัน ข้อนี้พี่ WEB น่าจะทราบดีที่สุด แปลให้คนอื่นมันต้องมีความรับผิดชอบมากกว่า ความตั้งใจมันก็เลยมากกว่า ความเข้าใจมันก็ลึกซึ้งกว่า
คุณไอซ์คงทราบดีว่า นี่คือสิ่งที่มังเกอร์เรียกใน Human Misjudge ว่า
"Commitment"
คุณไอซ์คงทราบดีว่า นี่คือสิ่งที่มังเกอร์เรียกใน Human Misjudge ว่า
"Commitment"
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 88
มันไม่ได้มีโทษอย่างเดียว ข้อดีของมันก็มีมาก ถ้าใครขาด commitment แล้วชีวิตจะสำเร็จได้อย่างไร ผมเอาเทคนิค commitment นี้เอาไปปรับใช้กับเทรดเดอร์ทีี่ทำงาน เวลาต้นปีก็ให้ลูกน้องเขียนเป้าหมายกำไรไว้ที่หน้าห้องประชุมให้คนอื่นเห็น คนที่เขียนตอนนี้เขาทำผลงานที่ดีกว่าจริงๆ ครับ เวลาเขาบอกคนอื่นว่าเขาจะทำได้แค่ไหน ก็เหมือนกับเขากำลัง "สัญญา" ต่อหน้าคนอื่น และโดยธรรมของคนแล้ว ไม่มีใครอยาก "เป็นคนไม่มีสัจจะ" ซึ่งเป็นอีกข้อหนึ่งของมังเกอร์ที่พูดในงานรับปริญญาที่ Harvrad ในหัวข้อ "วิธีทำให้ชีวิตตกอับ" จำได้ไหมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 89
ถ้าลูกน้องผมอยากโฟกัสไปที่ Human Misjudge ในเรื่องการลงทุนอย่างเดียว ผมจะเอาหนังสือเล่มหนึ่งให้อ่าน ราคามันปรับขึ้นทุกปี ผมจะไม่แนะนำให้เป็นหนังสือเล่มแรกที่อ่าน แต่ถ้าเขามีความตั้งใจที่จะจับผิดตัวเองอย่างจริงจัง ผมจะแนะนำให้อ่านข้างล่างเล่มนี้ นี่เป้นหนังสือที่ลงรายละเอียด Human Misjude ของนักลงทุนได้อย่างดีเยี่ยม มีเคสจริงของเทรดเดอร์จริงๆ ประกอบเรียน และมีวิธีบำบัดในเชิงจิตวิทยาประกอบอีกด้วย คนแต่งชื่อ Ari Kiev คนเขียนท่านได้เสียจากโลกนี้ไปแล้วครับ ผมขอให้วิญญาณอาจารย์ Ari Kiev ไปสู่สุขติครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
โพสต์ที่ 90
เมื่อวานลูกสาวผมถามผมว่า "นอกจากขาของคนแล้ว มีส่วนไหนของร่างกายที่วิ่งได้"
ผมตอบว่า "เออ ไม่รู้"
ลูกสาวเฉลยว่า "จมูก ไงพ่อ"
ผมถามว่า "ทำไมละลูก"
"ก็ Running nose ไงพ่อ"
ภาษาอังกฤษมีเสน่ห์ตรงนี้ละครับคุณไอซ์ 555555555
ผมตอบว่า "เออ ไม่รู้"
ลูกสาวเฉลยว่า "จมูก ไงพ่อ"
ผมถามว่า "ทำไมละลูก"
"ก็ Running nose ไงพ่อ"
ภาษาอังกฤษมีเสน่ห์ตรงนี้ละครับคุณไอซ์ 555555555