หน้า 5 จากทั้งหมด 5

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 18, 2005 10:31 am
โดย Oh+
พอดีเมื่อวานเพื่อนได้แวะไปอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล เลยถ่ายรูปมาฝาก

รูปภาพ

เค้าบอกว่าน้ำเหลือน้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดของอ่าง

ผมดูรูปแล้วก็งง ๆ นึกว่าอ่างจะลึก แต่จริงๆ แล้วมันไม่ได้ลึกมากเท่าไหร่ เพราะตัวอ่างมันกว้างมากครับ

รูปภาพ

ตอนนี้ได้มีการนำรถแม็คโครมาขุดตรงบริเวณก้นอ่างเพื่อให้น้ำที่มีอยู่มารวมกันตรงก้นอ่าง

รูปภาพ

เท่าที่ได้รับฟังข่าวมา ดูเหมือนโครงการต่าง เช่นการขุดบ่อบาดาล การเชื่อมต่อระบบน้ำจากแม่น้ำประแสร์และแม่น้ำระยอง กำลังดำเนินการอยู่ ถ้าโครงการเชื่อมต่อสำเร็จก็น่าจะมีน้ำพอใช้ครับ ตอนนี้ก็คงต้องลุ้นกันต่อไปครับ

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 18, 2005 4:05 pm
โดย nanchan
EASTW เร่งวางท่อแล้วเสร็จ 60% มั่นใจมีน้ำจ่ายให้อุตสาหกรรมได้อย่างเพียงพอ

ตามที่ East Water ได้ลงทุนวางท่อส่งน้ำแม่น้ำระยอง-ทับมา-มาบข่า
จังหวัดระยอง และท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี นั้น ขณะนี้งาน
ก้าวหน้ากว่า 60 % จะแล้วเสร็จต้นเดือนสิงหาคม เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้แก่พื้นที่
ระยองได้เพิ่มอีก 200,000 ลบ.ม. ต่อวัน และพื้นที่ชลบุรีอีก 50,000 ลบ.ม.ต่อวัน

นายวันชัย หล่อวัฒนตระกูล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท จัดการและพัฒนา
ทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ กล่าวว่า บริษัทฯ ได้เร่งงานวางท่อ
ส่งน้ำดิบ เส้นทางแม่น้ำระยอง-ทับมา-มาบข่า ในจังหวัดระยอง ระยะทาง 18 กิโลเมตร ขณะนี้
โครงการได้ก้าวหน้าไปกว่า 60% แล้ว ซึ่งเมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะสามารถนำน้ำจากแม่น้ำ
ระยองไปช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในระบบท่อจ่ายน้ำของบริษัทฯ ได้ 100,000 ลบ.ม. ต่อวัน
นอกจากนี้ โครงการวางท่อนำน้ำจากอ่างเก็บน้ำบางพระ เพื่อเสริมปริมาณน้ำให้ประปา
พัทยา ระยะทาง 4 กิโลเมตร ขณะนี้ก็ได้ก้าวหน้าไปกว่า 65% แล้ว ซึ่งจะสามารถสูบจ่ายน้ำได้อีก
50,000 ลบ.ม. ต่อวัน
นายวันชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้น้ำในอ่างเก็บน้ำดอกกรายและอ่างเก็บน้ำหนองปลา
ไหล มีปริมาณน้ำประมาณ 26.0 ล้านลบ.ม. คาดว่าจะเพียงพอไปจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมหากไม่มี
ฝนตกเลย แต่ที่ผ่านมาฝนตกทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำทั้งสองอ่าง ในอัตราเฉลี่ยวัน
ละ 200,000 ลบ.ม.
ขณะที่ในพื้นที่มาบตาพุด มีความต้องการใช้น้ำประมาณ 300,000 ลบ.ม. ต่อวัน และ
ในส่วนของชลบุรีประมาณ 200,000 ลบ.ม. ต่อวัน ดังนั้นเมื่อโครงการวางท่อจากแม่น้ำระยอง
และอ่างเก็บน้ำบางพระ รวมกับโครงการที่จังหวัดวางท่อจากคลองน้ำหูแล้วเสร็จ จะมีปริมาณน้ำ
เสริมอีกประมาณ 250,000 ลบ.ม. ต่อวัน ก็จะทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเพียงพอไปจนถึงต้น
ปี 2549 จากนั้นก็จะเร่งนำน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์มา ตลอดจนการผันน้ำจากแม่น้ำบางปะกง
ไปอ่างเก็บน้ำบางพระมาเสริมอีก ในอัตราวันละ 500,000 ลบ.ม. ต่อวัน
ดังนั้น ขณะนี้บริษัทฯ ยังคงส่งน้ำตามปกติ และมั่นใจว่าโครงการต่างๆ ที่อยู่ในความรับ
ผิดชอบของบริษัทฯ จะแล้วเสร็จทันตามกำหนดอย่างแน่นอน

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 18, 2005 4:05 pm
โดย tummeng
กระทรวงอุตฯเตรียมชงแผนวางท่อส่งน้ำตามแนวถนนให้ทักษิณตัดสินสัปดาห์
นี้

วัฒนาเตรียมเสนอแผนวางท่อส่งน้ำตามแนวถนนให้ทักษิณพิจารณาภาย
ในสัปดาห์นี้ ตัดปัญหาความล่าช้าจากการเวนคืนที่ดิน ระบุวิกฤติน้ำที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยว
ข้องกระทรวงอุตฯ ชี้อีสต์วอเตอร์-กรมชลฯต้องรับผิดชอบ เหตุเป็นผู้จัดสรรน้ำ ส่วน
อุตฯแค่คนซื้อน้ำใช้เท่านั้น ด้านเอกชนโวยสุดทนรัฐไม่ยอมรับความจริง

นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงความ
คืบหน้าการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในภาคตะวันออกว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวง
อุตสาหกรรมได้หารือร่วมกับผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ประกอบ
ด้วย บริษัทในกลุ่ม ปตท.และกลุ่มปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งได้เสนอที่จะให้การสนับสนุน
ภาครัฐ ในส่วนของการวางระบบท่อส่งน้ำ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอแนว
ทางให้มีการวางท่อส่งน้ำตามแนวถนนของกรมทางหลวง ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้การ
ดำเนินการแล้วเสร็จได้เร็วขึ้น เนื่องจากไม่ต้องติดปัญหาเรื่องความล่าช้าจากการเวน
คืนที่ดินจากประชาชน
โดยภายในสัปดาห์นี้จะนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อพ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบ ก่อนจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
ในการประชุม ครม.สัญจรเพื่อพิจารณาการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในภาคตะวัน
ออก ที่จะมีขึ้นที่ จ.จันทบุรี ในต้นเดือน ส.ค.นี้
แนวทางที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ คือ ให้วางท่อส่งน้ำตามแนวถนน
ซึ่งที่ผ่านมากรมทางหลวงไม่เห็นด้วย โดยอ้างว่าแรงกดทับอาจจะทำให้ท่อแตกและ
ต้องเสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายในการขุดซ่อม ซึ่งในเรื่องนี้ผมคิดว่าด้วยความสามารถทาง
ด้านวิศวกรรมไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่เรื่องนี้กรมทางหลวงจะยินยอมหรือไม่ต้องให้
รัฐบาลเป็นผู้สั่งการ ซึ่งผมจะเสนอแนวทางดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรีภายในสัปดาห์
นี้ นายวัฒนา กล่าว
นายวัฒนา กล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำ รวมถึงการประท้วงของ
ประชาชนที่เกรงว่าการผันน้ำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมอาจส่งผลกระทบต่อภาค
เกษตรว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตสาหกรรม ต้องให้อีสต์วอเตอร์และกรม
ชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะมีหน้าที่ในการจัดสรรน้ำและมีรายได้จากการขาย
น้ำ ส่วนอุตสาหกรรมเป็นเพียงผู้ใช้น้ำเท่านั้น
นอกจากนี้ยังเห็นว่าควรจะต้องมีการพิจารณาว่าการที่ให้บริษัท อีสต์วอเตอร์
เป็นผู้จัดการน้ำเพียงรายเดียวในภาคอุตสาหกรรมภาคตะวันออกนั้น จะส่งผลกระทบ
ต่อการจัดสรรน้ำในภาคอุตสาหกรรมอย่างไรหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขาด
แคลนน้ำเช่นนี้อีกในอนาคต
สำหรับแนวทางที่เอกชนยื่นข้อเสนอที่จะให้การสนับสนุนภาครัฐ โดยยินยอม
ที่จะออกค่าใช้จ่ายในการวางระบบส่งน้ำให้ก่อน เพื่อให้การดำเนินการแล้วเสร็จได้เร็ว
ขึ้นนั้น ในเรื่องดังกล่าวติดปัญหาเรื่องการกำหนดราคากลางว่าค่าใช้จ่ายควรจะอยู่ที่
เท่าใดซึ่งคงต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้ง เนื่องจากหากมีการดำเนินการ
ไปก่อนอาจถูกตำหนิได้ เพราะหลายฝ่ายอาจมองว่าหากใช้วิธีประมูลจะทำให้ได้
ราคาที่ต่ำกว่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่ภาคเอกชนได้ยื่นข้อเสนอด่วนต่อรัฐบาลในการ
สนับสนุนเพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเนื่องจากต้องการให้การแก้ไขปัญหาแล้ว
เสร็จได้เร็วขึ้น เพราะหากปล่อยให้เป็นไปตามแผนที่รัฐบาลวางไว้ โดยกำหนดให้การ
วางท่อส่งน้ำเพื่อผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่มายังอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล
แล้วเสร็จภายใน 60-70 วัน และผันน้ำจากแม่น้ำบางปะกงมายังอ่างเก็บน้ำบางพระ
กำหนดแล้วเสร็จในเดือนมิ.ย.49 นั้น อาจจะไม่ทันการณ์ เนื่องจากปริมาณน้ำทั้งใน
อ่างเก็บน้ำดอกกรายและหนองปลาไหล ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 20 กว่าล้านลูกบาศ์ก
เมตร ซึ่งหากในช่วงนี้ไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้ง 2 แห่งจะมีน้ำ
ใช้ไปได้อีกเพียง 30 วันเท่านั้น
แหล่งข่าวจากบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด(มหาชน)หรือ EGCOMP กล่าวว่า
ขณะนี้ยังไม่การหารือร่วมกับหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำในภาค
อุตสาหกรรม แต่ในส่วนของบริษัทเองก็มีการจัดการด้วยตนเองอยู่แล้วทำให้ไม่มี
ปัญหาเหมือนกับโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ
สำหรับเรื่องดังกล่าวหากไม่รีบแก้ไขอย่างเร่งด่วนและรอเพียงให้ฝนตกเข้าอ่าง
เก็บน้ำดอกกรายจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ซึ่งไม่เข้า
ใจว่าทำไม่รัฐบาลไม่ยอมรับความจริงว่ามีปัญหาการขาดแคลนน้ำเกิดขึ้น โดยผู้ที่ต้อง
รับผิดชอบรายแรกคือ อีสวอเตอร์ในฐานะที่เป็นผู้จัดหาน้ำและจำหน่ายให้กับโรงงาน
เอกชน นอกจากนี้ยังมีกรมชลประทานและกระทรวงอุตสาหกรรมที่จะต้องรับผิดชอบ
ในฐานะหน่วยงานที่ที่ดูแล
ไม่เข้าใจว่าทำไมรัฐบาลถึงไม่ยอมรับความจริงว่าขณะนี้มีปัญหาขาดแคลน
น้ำ ซึ่งถ้าหากในช่วงนี้มีฝนตกมาก็ดี เพราะน้ำในอ่างจะได้ไม่ขาด และเพียงพอกับ
ปริมาณการใช้ของโรงงานอุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้เข้าใจว่ารัฐบาลคงกลัวว่าจะมีผล
กระทบต่อตลาดหุ้นและเศรษฐกิจจึงต้องเสนอข่าวออกมาในลักษณะที่ว่าน้ำไม่ขาด
แคลน'แหล่งข่าวกล่าว

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 18, 2005 10:38 pm
โดย Stock Broker
ถึงป่านนี้ข้อมูลก็ยังสับสนแบ่งเป็น 2 ค่าย คือ ค่ายรัฐบาลและสมุน กับค่ายผู้ประกอบการและการนิคมฯ

ที่ผ่านมารัฐบาลปิดบังข้อมูลจนฉิบหาย (หยาบไปป่าว?) มาหลายเรื่องแล้ว แต่เรื่องนี้ผมคงต้องภาวนาช่วยรัฐบาลขอฝนให้รอดพ้นภัยพิบัติช่วง 2 เดือนนี้ให้ได้ (ตามสถิติแล้ว ปริมาณน้ำในอ่างฯ จะเพิ่มขึ้นมากในช่วง ก.ย.เป็นต้นไป) เพราะแค่ปัจจัยลบเท่าที่มีนี้ ตลาดหุ้นก็จะแย่อยู่แล้ว

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 19, 2005 10:21 pm
โดย โป้ง
น้ำตอนนี้วิกฤติหนักๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
น้ำบาดาลที่นำมาใช้มีค่าซับเฟอร์มากเกินไป

ข้อมูลผมรับรองไม่สับสนครับ ( ณ.วันที่ 19/07/2005 ครับ )

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 19, 2005 10:37 pm
โดย tummeng
แต่นี่ยังนั่งยัน นอนยันอยู่นั่นน่ะครับ

*************************

ยงยุทธซัดสภาอุตาหกรรมปล่อยข่าวน้ำไม่พอใช้ คุณภาพต่ำ พึ่งรัฐไม่ได้

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 19 กรกฎาคม 2548 13:09 น.


"ยุงยุทธ"ซัดสภาอุตฯ ปล่อยข่าวน้ำไม่พอ คุณภาพต่ำทำลายความเชื่อมั่นนักลงทุน ยืนยันหากพัฒนาบ่อน้ำเสร็จภายใน 2 อาทิตย์จะมีน้ำมันถึง 2 หมื่นลูกบาศก์เมตร พร้อมระบุน้ำที่ได้ค่าคคลอไรด์ยังต่ำกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยกำหนดไว้สามารถนำไปใช้ได้แน่นอน

นายยงยุทธ ติยะไพรัช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุม ครม.ถึงกรณีที่สภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกระบุว่าน้ำยังไม่พอใช้แม้ว่ากระทรวงทรัพย์ฯ จะไปเจาะบ่อบาดาลเป็นการชั่วคราวแล้วว่าตัวแทนของสภาอุตาสาหกรรมที่กำลังจะหมดวาระได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหา จากนั้นสื่อมวลชนก็ได้เสนอข่าวว่าการตั้งคณะทำงานขึ้นมาครั้งนี้เพราะพึ่งพารัฐไม่ได้แล้ว

วันนี้ฝนตกลงมาปีหนึ่งประมาณ 1000 มิลลิเมตรเศษแต่ไปตกอยู่ในป่าเขตจันทบุรีและตราดประมาณ 4000 มิลิเมตร การกักเก็บและต่อท่อให้นำมาใช้แถบมาบตาพุดและเกาะสีชังเป็นเป้าหมายที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน ส่วนภัยแล้งเฉพาะหน้า ผมได้ส่งหน่วยเจาะบ่อบาดาลไปแล้วเกือบ 100 ชุด และภายในไม่เกิน15 วันเราจะได้บ่อบาดาล 7-8 หมื่นบ่อ แต่ข่าวที่ออกมาว่าได้น้ำแค่ 2000 ลูกบาศก์เมตรแต่ความเป็นจริงเรายังไม่ได้พัฒนาบ่อยังได้น้ำถึง 1 หมื่นกว่าลูกบาศก์เมตร ถ้าพัฒนาบ่อแล้วเราก็จะได้ถึง 2 หมื่นลูกบาศก์เมตร และไม่เกินสองสัปดาห์นี้เราจะได้ถึงสองเท่านายยงยุทธกล่าว

นายยงยุทธกล่าวอีกว่า หากน้ำที่เจาะแล้วต่อเข้าท่อ มันช้าไป เราจะเจาะบ่อข้างโรงงาน หากโรงงานนั้นมีปัญหาเรื่องน้ำแล้วติดตั้งมิเตอร์ให้ หรือเจาะข้างนิคมอุตสาหกรรมให้ตามหลักวิชาการ แต่ก็ยังมีข่าวว่าคลอไรด์ในน้ำมีสูงมากจนไม่สามารถใช้น้ำได้ คุณภาพน้ำต่ำ ตนก็เอาน้ำจากทุกบ่อไปทำแล็ปเทสต์ ก็พบว่าบางบ่อก็แค่ 6-7 พีพีเอ็ม แต่องค์การอนามัยโลกบอกว่าถ้าค่าคลอไรด์ไม่เกิน 200 พีพีเอ็มเป็นน้ำที่ใช้ได้

ข่าวที่ออกไปผมไม่อยากให้ไปทำลายขีดความสามารถและความมั่นใจของนักลงทุนหายไป และอยากให้ทุกฝ่ายมาร่วมมือกัน ตอนนี้ประเทศไทยเสียหาย อยากให้หยุดความขัดแย้ง และหากเกิดภาวะวิกฤติอะไรอย่างไรก็ค่อยๆแก้ไข แต่ผมไม่อยากพูดว่าเรื่องมันเกิดมาจากอะไร แต่วาระของสภาอุตาสหกรรมใกล้หมดแล้ว ไม่อยากใช้เวทีนี้เป็นเวทีของการหาเสียง ต้องขอโทษเพราะผมไม่อยากกล่าวร้ายหรือโจมตีใคร แต่ตอนนี้ใครก็อยากแสดงความหวังดีต่อเพื่อนในสภาอุตสาหหรรมมากจนลืมประเทศไทยนายยุงยุทธกล่าว

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 19, 2005 10:53 pm
โดย naris
100 ชุด และภายในไม่เกิน15 วันเราจะได้บ่อบาดาล 7-8 หมื่นบ่อ
ต้องเจาะวันละ46บ่อ-54บ่อ/1ชุด
เสกเอาหรือไงครับ
ไม่รู้ใครต้มใคร :( เ .....กรรมจริงๆเลย

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 30, 2005 4:55 pm
โดย Stock Broker
ตอนแรกนึกว่าคลี่คลายแล้วนะ ที่ไหนได้...

"ทักษิณ"ระบุรัฐช่วยเร่งดูแลปัญหาน้ำภาคตะวันออกอย่างเต็มที่
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 30 กรกฎาคม 2548 16:19 น.

นายกรัฐมนตรีระบุเร่งแก้ปัญหาน้ำภาคตะวันออกอย่างเต็มที่ ไม่เคยชี้ว่าน้ำจะไม่แล้ง ด้านภาคเอกชนระบุน้ำก้นอ่างมีตะกอนเริ่มมีปัญหาต่อการผลิต หวั่นปัญหาลากยาวถึงปีหน้า เตรียมแผนลดกำลังผลิตที่กระทบต่อรายได้ต่ำสุดก่อน หวั่นอีสท์ วอเตอร์ อาจฉวยโอกาสขึ้นค่าน้ำแพงลิบลิ่ว หลังโครงการวางท่อเสร็จ ร้องภาครัฐเข้ามาดูแลให้เกิดความเป็นธรรม

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในเรื่องน้ำภาคตะวันออกนั้น ไม่เคยกล่าวว่าน้ำไม่แล้ง เพียงแต่ระบุว่าดูแลได้ และช่วยกันดูแลเต็มที่ โดยรัฐพยายามผันน้ำไปช่วย เพราะฉะนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่รัฐไม่วิตก แต่ไม่ต้องการให้ประชาชนวิตกมากเกินไป เพราะรัฐบาลกำลังดูแลอย่างใกล้ชิด

นายพีระวัฒน์ รุ่งเรืองศรี ผู้จัดการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด กล่าวว่า ขณะที่ทุกฝ่ายได้เร่งจัดทำแผนทั้งระยะสั้น-กลาง-ยาว ในการเร่งแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ ซึ่งจากที่ฝนเริ่มตกจึงคาดว่าการผลิตของโรงงานต่างๆ จะสามารถเดินเครื่องได้เต็มที่ ซึ่งกรณีชาวบ้านระยองออกมาคัดค้านการผันน้ำจากแม่น้ำระยอง เป็นหน้าที่ของทางจังหวัดระยองที่จะชี้แจงให้ชาวบ้านเข้าใจข้อเท็จจริงว่า เรื่องนี้ไม่ได้เป็นการแย่งน้ำ แต่เป็นการนำน้ำเหลือใช้มาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

รายงานข่าวจากภาคเอกชนภาคตะวันออกระบุว่า ขณะนี้ภาคเอกชนได้พยายามช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด ด้วยการซื้อน้ำมาใช้เอง ซึ่งทำให้ชาวบ้านในจังหวัดระยอง มีรายได้ดีขึ้นจากการจำหน่ายน้ำ และโรงงานทุกแห่งกักเก็บน้ำเองด้วยการขุดบ่อ หรือนำถังผลิตภัณฑ์มาบรรจุน้ำ ซึ่งภาคเอกชนต่างพอใจที่ภาครัฐเข้ามาแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ แต่ก็ยังเป็นห่วงว่าขั้นตอนการดำเนินการอาจล่าช้ากว่าแผนจนอาจจะทำให้จัดสรรน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะช่วงฝนทิ้งช่วง น้ำต้นทุนเหลือน้อย จนอาจทำให้มีเหลือใช้ไปถึงประมาณเดือนมกราคม หลังจากนั้น ก็จะเกิดปัญหาด้านการผลิต ซึ่งหลายโรงอาจต้องหยุดหรือลดกำลังผลิตในช่วงดังกล่าวโดยเลือกในส่วนที่มีผลกระทบต่อรายได้น้อยที่สุดหยุดเดินเครื่องก่อน เช่น เครือไทยออยล์ ได้วางแผนว่า หากจำเป็นอาจหยุดการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าไอพีทีกำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ ที่ใช้น้ำถึง 14,000 ลูกบาศก์เมตร เป็นต้น

น้ำที่ บมจ.จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก (อีสท์ วอเตอร์) ส่งให้ขณะนี้เป็นน้ำก้นอ่าง ที่เริ่มมีตะกอน ที่โรงงานต่างๆ ต้องบำบัดก่อนใช้ โดยเมื่อวันก่อน โรงไฟฟ้าโกลว์ก็เกิดปัญหาจากน้ำจนเกือบหยุดผลิต และที่หลายฝ่ายหวั่นเกรงขณะนี้ คือ หลังจากที่รัฐเร่งให้อีสท์ วอเตอร์ แก้ปัญหาแล้ว มีการวางท่อน้ำต่างๆ อาจจะมีการผลักดันต้นทุนทั้งหมดมาคิดค่าน้ำเพิ่มขึ้นในอัตราที่แพงมาก และส่งผลต่อต้นทุนการผลิต ซึ่งอาจไม่เป็นธรรมต่อผู้ใช้ จึงขอให้ภาครัฐเข้ามาดูแลด้วยแหล่งข่าวระบุ

แต่ก็ยังดีที่เป็น "แหล่งข่าวระบุ" ความน่ากลัวก็ลดลงไปหน่อยนึง

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 31, 2005 12:49 am
โดย SecondBoy
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
ฉบับที่ 2 (12/2548 )
เรื่อง พายุโซนร้อน วาชิ

พายุดีเปรสชั่นในทะเลจีนใต้ตอนบนได้ทวีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อน วาชิ แล้ว เมื่อเวลา 01.00 น.วันนี้(30 ก.ค.48 ) มีศูนย์กลางอยู่บริเวณชายฝั่งทางตะวันออกของเกาะไหหลำ หรือที่ละติจูด 19.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 111.2 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้เคลื่อนตัวทางตะวันตกค่อนทางเหนือ ด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่า จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน วันที่ 31 กรกฎาคม 2548 ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน มีฝนเพิ่มมากขึ้นในวันนี้(30 ก.ค.48 ) ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและน้ำท่วมฉับพลัน โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยไว้ด้วย อนึ่ง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้


ประกาศ ณ วันที่ 30/07/2548
ออกประกาศเวลา 06:00


***************************************************
ไม่รู้น้ำฝนจากพายุวาชิ จะช่วยเรื่องน้ำได้บ้างไม๊

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 31, 2005 10:58 am
โดย โป้ง
โซนร้อน"วาชิ"ขึ้นฝั่งเวียดนามเย็นนี้ เตือนอีสาน-เหนือระวังน้ำท่วมฉับพลัน

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 31 กรกฎาคม 2548 09:39 น.


กรมอุตุฯออกประกาศเตือนภัยพายุโซนร้อน"วาชิ"เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งเวียดนามเย็นนี้(31) เตือนภาคอีสาน-เหนือ ระวังน้ำท่วมฉับพลัน

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือน ฉบับที่ 3 (13/2548)เรื่องพายุโซนร้อน วาชิ บริเวณทะเลจีนใต้ได้เคลื่อนตัวผ่านเกาะไหหลำลงสู่อ่าวตังเกี๋ยแล้ว เมื่อเวลา 01.00 น.วันนี้ (31 ก.ค.) มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม ห่างประมาณ 250 กิโลเมตร หรือที่ละติจูด 19.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 107.8 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกค่อนทางเหนือ ด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่า จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในเย็นวันนี้ (31 ก.ค.) ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมาก และอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่เสี่ยงภัยของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระมัดระวังภัยจากน้ำท่วมในระยะ 1-2 วันนี้

อนึ่ง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ ประกาศ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ออกประกาศเวลา 06.00 น.

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 31, 2005 5:16 pm
โดย tummeng
3ภาคธุรกิจทิ้งบอมบ์ ไม่เชื่อรัฐแก้วิกฤติน้ำ

เหยื่อวิกฤติน้ำแล้งภาคตะวันออก เฉ่งรัฐบาลยับ กลางวงเสวนาโต๊ะกลม ในหัวข้อ"กู้วิกฤติน้ำแล้งภาคตะวันออก" นายกสมาคมนักธุรกิจท่องเที่ยวเมืองพัทยา กุมขมับท่องเที่ยวไทยหนีคลื่นสึนามิแต่มาเจอน้ำขาด! ระบุพัทยาเจอปัญหามาแล้ว3เดือนยังแก้ไม่ได้ ภาคปศุสัตว์วิตกหนัก 1 เดือนถ้าฝนไม่ตกส่งออกไก่เจ็บตัวซ้ำ ส่วนภาคอุตฯยอมรับ "เจโทร" ห่วงกระทบความเชื่อมั่นกลุ่มทุนใหม่ญี่ปุ่นทีจ่อเข้ามาลงทุนไทย! กรมชล-อีสต์วอเตอร์ ถูกกดดันทุกประตู "ปราโมทย์"อัดยับมาตรการรัฐล้มเหลวทุกมาตรการ

สืบเนื่องจาก วิกฤตน้ำแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออก ได้รับผลกระทบไม่เฉพาะพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในเขตอีสเทิร์นซีบอร์ด แต่ได้ขยายวงกว้างลุกลามไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร-ปศุสัตว์ รวมถึงภาคกาเท่องเที่ยว อย่างที่ "ฐานเศรษฐกิจ"ได้รายงานและเกาะติดปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน

ล่าสุด เมื่อวานนี้ (29 ก.ค.2548) ได้จัดเสวนาโต๊ะกลมในหัวข้อ"กู้วิกฤตน้ำแล้งตะวันออก" โดยระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการปัญหาน้ำแล้ง โดยส่วนแรกประกอบด้วยกรมชลประทานและอีสต์ วอเตอร์ ส่วนที่สองเป็นภาคอุตสาหกรรม ,การท่องเที่ยวและภาคเกษตร-ปศุสัตว์ และสุดท้ายเป็นมุมมอง-ข้อเสนอแนะของคนกลางที่เคยมีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำมาก่อน

-ห่วงท่องเที่ยวหนีสึนามิมาเจอน้ำขาด!

ทั้งนี้ หากประเมินภาพรวมในเวทีเสวนาดังกล่าว ได้ข้อสรุปตรงกันจากฟากเอกชนที่ได้รับผลกระทบ สรุปตรงกันว่าจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีความเชื่อมั่นในมาตรการ การแก้ไขปัญหาของรัฐบาล โดยไม่เชื่อว่าทางออกในเวลานี้จะแก้ปัญหาวิกฤตน้ำได้ และมีความเป็นห่วงว่าวิกฤตนี้มันจะบานปลายไปกันใหญ่

อย่างที่นายธเนศ ศุภรสหัสรังสี นายกสมาคมนักธุรกิจและการท่องเที่ยวเมืองพัทยา กล่าวว่าปัญหาดังกล่าวเริ่มส่งสัญญาณให้เห็นมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว ที่เป็นห่วงมากคือฤดูกาลท่องเที่ยวที่จะถึงนี้ ก่อนที่จะมีวิกฤตน้ำโรงแรมส่วนใหญ่ในพื้นที่ชลบุรี มองว่าภาคการท่องเที่ยวภาคตะวันออกจะบูมแน่ๆ เพราะชายทะเลฝั่งอันดามันได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิ แต่เมื่อเมืองพัทยายังเผชิญกับวิกฤตขาดน้ำอยู่แบบนี้ จึงทำให้ไม่มีความเชื่อมั่นว่าวิกฤติดังกล่าวจะคลี่คลายลงได้ แม้วันนี้ทางอีส วอเตอร์ หรือกรมชลประทานจะออกมาบอกว่ารับมือได้ แต่ทำไมน้ำในเมืองพัทยาขาดแคลนมาอย่างต่อเนื่อง2-3 เดือนแล้ว

"ทุกวันนี้กลุ่มผู้ประกอบกา หาทางออกโดยซื้อน้ำจากรถที่ขายน้ำขายคิวละ 100 บาทขณะที่น้ำที่เคยซื้ออยู่ที่ 10-20บาท/คิว เฉพาะเมืองพัทยาที่เดียว เราใช้น้ำกันวันละ 120,000ลบ.ม. แต่ได้น้ำใช้เพียง 80,000 ลบ.ม./วัน ที่สำคัญการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา ก็มองว่าเป็นเพียงมาตรการระยะกลางกับระยะยาว มากกว่า ไม่ใช่มาตรการรับมือระยะสั้น"นายธเนสกล่าวและว่า ถ้าปัญหายังเป็นอยู่อย่างนี้ เชื่อว่าจะส่งผลถึงนักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งขอเงินคืนจากบริษัททัวร์เพื่อยกเลิกเดินทางมาเที่ยวเที่ยวในแถบนี้ โดยอ้างว่าน้ำที่ใช้จากโรงแรมไม่มีคุณภาพ ซึ่งเรื่องนี้น่าเป็นห่วงมาก เพราะช่วงปลายปีนี้เป็นฤดูท่องเที่ยวพอดี

นายธเนส กล่าวย้ำอีกว่า นอกจากนี้ยัง เป็นห่วงในเรื่องของภาพพจน์การลงทุน ที่ปัจจุบันมีการสร้างตึก อพาร์ทเม้นต์และโรงงานขึ้นเป็นจำนวนมาก ตลอดจนมีโรงแรมระดับอินเตอร์เข้ามาเช่น โซฟิเทล เชอราตัน ในส่วนนี้ถ้าภาครัฐบาลไม่สามารถเสริมสร้างความมั่นใจในเรื่องการแก้ปัญหาน้ำได้ ก็จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนของนักลงทุนชาวต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนและสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวให้ประเทศไทยแน่นอน

-ปศุสัตว์วิตกฝนไม่ตกอีกเดือนใครจะช่วย

ด้านนางฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มปศุสัตว์ที่เข้าร่วมเสวนาโต๊ะกลมครั้งนี้ด้วย กล่าวด้วยสีหน้าค่อนข้างวิตกว่า น้ำในอ่างที่เห็นในเวลานี้บางแห่งมีปริมาณน้ำแห้งขอดติดสันดรแล้ว ดังนั้นถ้าภายใน 1 เดือนนับจากนี้ ถ้าฝนไม่ตกตามฤดูกาล จะทำอย่างไร! ใครจะช่วย เวลานี้ผู้ประกอบการในภาคปศุสัตว์ที่อยู่ในจังหวัดชลบุรีจะไปใช้น้ำในอ่างเก็บน้ำหนองค้อก็ไม่ได้ เพราะประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ไม่ยอมให้ใช้น้ำ

"ขอพูดชัดๆอีกครั้งว่า การเลี้ยงไก่ทั้งระบบวันนี้ เจอมรสุมรอบด้าน ไล่ตั้งแต่ไข้หวัดนก มายันวิกฤตน้ำแล้ง จนเป็นเหตุให้ชลอการเลี้ยงไก่ลงมาแล้ว จากที่เคยผลิตได้สัปดาห์ละ 25 ล้านตัว ก็ลดลงเหลือเพียง 15 ล้านตัว ยกตัวอย่างที่เห็นกันชัดๆ โรงงานที่ใช้ไก่ชำแหละก็ลดลงการชำแหละเพราะการใช้น้ำลดลง ทำให้เราวุ่นวาย เดือดร้อนกันไปหมด แม้ว่าบางรายจะออกมาแก้ปัญหาเอง แต่ก็ยังช่วยไม่ได้มาก อย่าง ฉวีวรรณ กรุ๊ปส์ ซึ่งธุรกิจเลี้ยงไก่ส่วนตัวของดิฉันที่ทำอยู่ ก็มีการลงทุนในเรื่องระบบน้ำเกือบ100 ล้านบาท ก็ยังเจอปัญหาเช่นกัน"

นอกจากนี้เขายังชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกไก่เป็นอันดับ3 ของโลก มีการผลิตสัตว์เลี้ยงประเภทไก่เพื่อส่งออก 1,000 ล้านตัว/ปี มีวงเงินหมุนเวียนเป็นแสนๆ ล้าน เกษตรกรที่เลี้ยงไก่มีเป็นล้านล้านครอบครัว ดังนั้นถ้าอุตสาหกรรมนี้มีปัญหาเรื่องน้ำจะทำให้ผู้บริโภคแคลงใจได้โดยเฉพาะการส่งออก

-สูญเสียภาพพจน์ลงทุน! น้ำไม่พอรับภาคผลิต

ขณะที่นายทวิช เตชะนาวากุล เลขาธิการสมาคมนิคมอุตสาหกรรมไทย กล่าวในฐานะตัวแทนภาคการผลิตที่ตั้งโรงงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรม และสวนอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออก ยอมรับว่าหนักใจ เนื่องจากเวลานี้ทั้งรัฐบาลและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการดึงทุนจากญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอีกละลอก ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่า จะมีทุนใหม่จากญี่ปุ่นไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก หลังจากกลุ่มทุนญี่ปุ่นเริ่มไม่เชื่อมั่นในการเข้าไปลงทุนในจีน หลังจากที่มีข้อพิพาทระหว่างจีนและญี่ปุ่นเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ โดยภาครัฐเองก็หวังว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนในปีนี้มากถึง700,000 ล้านบาท ซึ่งภาคเอกชนกลุ่มนิคมฯ-เขตอุตฯหรือสวนอุตฯก็ดีใจมีการเข้าไปคุยกับองค์การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่นหรือเจโทรไปก่อนหน้าที่จะมีข่าวน้ำขาดในอีสเทิร์นซีบอร์ด แต่หลังจากมีข่าวเกิดขึ้นทำให้ความเชื่อมั่นหายไปหมดเลย

"ทางเจโทรถามผมว่า เกิดอะไรขึ้น ผมเองในฐานะที่นั่งอยู่ในสมาคมนิคมอุตสาหกรรมไทยก็อยากจะให้เกิดการลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น จึงตอบไปว่าฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล ภาครัฐบาลเองก็ให้ความสนใจในการแก้ปัญหาอยู่ในขณะนี้"

นายทวิชกล่าวย้ำอีกว่า อยากให้ภาครัฐบาลมองเห็นความสำคัญของปัญหาน้ำให้มากและมองให้ออก เพราะในช่วงที่ผ่านมาอีสเทิร์นซีบอร์ดบูม เกิดโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก แต่มีแหล่งน้ำจำกัด จะเห็นว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้วมีแหล่งน้ำอยู่แค่ไหนตอนนี้ก็ยังมีอยู่เท่าเดิม ซึ่งพื้นที่ที่จังหวัดชลบุรีกับระยองมีมากถึง 100,000 ไร่ มีนิคมอุตฯ เขตอุตฯ สวนอุตสาหกรรมประมาณ 30 แห่ง เพิ่งใช้พื้นที่ไป50% ดังนั้นในแต่ละปีมีโรงงานใหม่เกิดขึ้นอีกเท่าไหร่ และปริมาณน้ำที่รองรับมีอยู่แค่ไหน!

-กรมชลฯยอมรับผิด-รับแรงกดดันหนัก

ส่วนทางด้านตัวแทนภาครัฐ นายละเอียด สายน้ำเขียว รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวยอมรับว่าเป็นความผิดของกรมชลประทานที่ไม่สามารถจัดหาน้ำให้ผู้ใช้ได้เพียงพอ แต่ต้องขอเรียนว่ารัฐบาลไม่ได้ทอดทิ้ง โดยเฉพาะในพื้นที่อีสเทิร์นซีบอร์ด รัฐบาลมีแผนที่จะจัดน้ำไปให้อย่างเพียงพอ ซึ่งทางกรมชลประทานเองก็มีการวางแผนจัดหาน้ำไว้ล่วงหน้าแล้วเช่นกัน โดยมีแผนระยะยาวมา ตั้งแต่เริ่มมีโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดเกิดขึ้น ทางกรมชลประทานก็มีการสร้างอ่างเก็บน้ำดอกกราย และหนองปลาไหล และล่าสุดอ่างเก็บน้ำประแสร์ และหนองไหญ่ที่เคยเป็นแผนมาเมื่อ 20 ปีก่อนก็กำลังจะแล้วเสร็จในเร็วๆนี้

อย่างไรก็ดี มีอยู่เรื่องหนึ่ง ที่อยากให้ผู้ใช้น้ำมีความเข้าใจว่า ที่ผ่านมากรมชลประทานเป็นหน่วยงานเดียวที่โดนต่อต้านจากทุกฝ่าย เช่นจะสร้างอ่างเก็บน้ำ แต่ละครั้งก็มีเรื่องสิ่งแวดล้อม มีเรื่องป่าไม้ เรื่องอุทยานและอีกสารพัดเรื่อง เพราะเวลาที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำ หรือสร้างเขื่อนมันจะต้องสูญเสียป่าส่วนหนึ่งไป พอเกิดภัยแล้ง เกิดน้ำท่วม ก็โฟกัสมาที่ว่าทำไมกรมชลประทานไม่แก้ปัญหาจัดหาน้ำให้เพียงพอ หรือน้ำท่วมก็บอกว่าทำไมไม่กักเก็บน้ำ ซึ่งปัญหาการหาแหล่งน้ำแม้แต่รัฐบาลเองก็ไม่กล้าลงมาสนับสนุน

"อย่างความล่าช้าของอ่างเก็บน้ำประแสร์กับคลองใหญ่ อ่างนี้เพิ่งก่ออสร้างเสร็จ ที่ล่าช้าเพราะสู้กันเรื่องสิ่งแวดล้อม ความจริงจะแล้วเสร็จปีที่แล้วแต่ก็ล่าช้ามา" รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าวทิ้งท้าย

-วอนสังคมอย่าสับสนบทบาทอีสต์วอเตอร์

ต่อมานายวันชัย หล่อวัฒนะตระกูล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรืออีสต์ วอเตอร์ กล่าวว่า ปัญหาที่ผ่านมาเกิดจากการเข้าใจในภารกิจของแต่ละคนที่ต่างกัน แม้กระทั่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ยังคิดว่าทางอีสต์ วอเตอร์ ได้จ่ายน้ำให้กับการเกษตร ซึ่งความจริงแล้วตามมติรัฐมนตรีได้มีคำสั่งตั้งให้อีสต์ วอเตอร์ ดูการขนส่งน้ำสายหลัก ให้แก่ผู้บริโภคและอุตสาหกรรมเท่านั้น

"ตรงนี้ทำให้ข่าวสับสน โดยในพื้นที่ภาคตะวันออกเราจ่ายน้ำไม่ถึง 50 % เช่นทางพัทยาไม่ได้ใช้น้ำจากบริษัทเราเลย เพราะเขามีอ่างเก็บน้ำทางกรมชลประทานสร้างให้ 4 อ่าง แต่พอมีการเติบโตด้านท่องเที่ยวเราก็วางท่อส่งน้ำไปให้เส้นหนึ่งส่งน้ำให้ 40,000 ลบ.ม./วัน ในขณะที่พัทยาใช้ประมาณ 100,000 ลบ.ม./วันซึ่งก็คงไม่เพียงพอ คาดว่าสิ้นเดือนนี้เราคงเอาจากอ่างเก็บน้ำบางพระมาช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นอีก"

สำหรับอีสต์ วอ เตอร์เองเป็นฝ่ายที่เติมให้ แต่กลับเป็นจำเลย เพราะฉะนั้นส่วนอื่นต้องออกมาช่วยกัน ส่วนการประปาส่วนภูมิภาคต้องมาดูในส่วนของแหล่งน้ำของตัวเองด้วยว่าขาดหรือไม่ ซึ่งทางเราเองก็เพิ่งเริ่มส่งน้ำให้เมื่อต้นปี 2548 และพยายามต่อท่อไปช่วยในเวลาที่น้ำไม่เพียงพอแล้ว" นายวันชัย กล่าวและว่า

"สถานการณ์น้ำปีนี้คิดว่าไม่น่าเป็นห่วง แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องมีน้ำจากแม่น้ำบางปะกงและอ่างเก็บน้ำประแสร์มาเพิ่มให้ทันในฤดูแล้งหน้า ส่วนความเป็นห่วงเรื่องการขาดน้ำจากภาคเอกชนและเกษตรกรรมนั้นทางอีส วอเตอร์ เองนั้นมีวิธีการนำน้ำมาเสริมและมีการเชื่อมโยงกันในระดับหนึ่ง เช่นในกรณีของพัทยานั้นถ้าทางอีส วอเตอร์ ไม่วางท่อน้ำมาให้นั้นจะถือว่าน่าเป็นห่วงแต่การที่เราส่งน้ำไปเสริมอย่างเป็นเน็ทเวิร์คนั้นจะทำให้สถานการณ์การขาดแคลนน้ำที่จะเกิดขึ้นนั้นสามารถแก้ไขได้"

"ปราโมทย์"ซัดรัฐหลงทางแก้ปัญหาน้ำ

สำหรับความเห็นของนายปราโมทย์ ไม้กลัด ส.ว. กรุงเทพฯ และอดีตอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำคนหนึ่ง กล่าวว่าปัญหาวิกฤติน้ำ ที่เป็นอยู่ในเวลานี้ ถามว่า รัฐมีความเข้าใจปัญหาดังกล่าวดีหรือยัง ได้แก้ไขปัญหามาถูกทางหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วไม่เคยคาดคิดว่าจะเกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นกับภาคตะวันออก แต่วันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือน้ำต้นทุน(คือน้ำสะสมเดิมในอ่าง)มีจำกัด และที่น่าห่วงที่สุดคือน้ำที่เหลืออยู่ในอ่างเก็บน้ำดอกกรายเมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างเดือนมกราคมปี2548 เทียบกับช่วงเดียวกันในปี2549ปริมาณน้ำจะเหลือน้อยลง ตรงนี้ภาคที่เกี่ยวข้อง ต้องจัดโต๊ะกลมคุยกัน โดยมีรัฐเป็นแกนนำไม่ใช่แก้ปัญหาไม่ได้เอะอะแต่จะนำเรื่องเข้าครม.

ดังนั้นในหลายวิธีการที่รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขุดบ่อบาดาล ที่ผมกล้าฟันธงว่าไม่ได้ผลในขณะนี้ หรือวิธีการผันน้ำจากแหล่งน้ำเข้ามายังอ่างเก็บน้ำต่างๆ นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อน้ำนั้นมีแหล่งน้ำเหลือ แต่จะต้องชี้แจงประชาชนก่อน ไม่อย่างนั้นจะเกิดเรื่องโกลาหลขึ้นได้ หรือวิธีการต่อท่อเชื่อมเข้าสู่อ่างเก็บน้ำบางพระเหล่านี้ผมมองว่าวิธีการโอเค แต่ทั้งหมดคือแผนทางวิศวกรรม เพราะในทางปฏิบัติแล้วในเรื่องกระบวนการบริหารจัดการเรื่องน้ำนั้น ละเอียดอ่อนมาก ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนก่อนเป็นอันดับแรก เพราะแหล่งน้ำในแต่ละพื้นที่ก็มีชุมชนใช้ อย่างเวลานี้ที่เห็นชัดเจนชัดแล้ว

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2031 31 ก.ค. - 03 ส.ค. 2548

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 15, 2005 2:14 pm
โดย โป้ง
ขนาดฝนตกมาหลายวัน อ่างเก็บน้ำในภาคตะวันออกยังอยู่ในขั้นวิกฤติ ตอนนี้หนักกว่าเดิมเสียอีก

อ่างเก็บน้ำ บางพระ คลองสียัด หนองปลาไหล ปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้ได้หมดอ่างแล้ว

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 15, 2005 7:07 pm
โดย tummeng
"สุริยะ" มั่นใจปริมาณน้ำในอุตฯตะวันออกเพียงพอใช้ไปอีก 2 เดือน

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 15 สิงหาคม 2548 18:34 น.


      ปริมาณน้ำอ่างดอกกราย-หนองปลาไหล งวดลงทุกขณะ ฝนตกไม่ลงอ่าง หากไม่มีน้ำเข้า จะเหลือน้ำใช้ได้ 20 วันเท่านั้น รัฐ-เอกชนภาวนาให้เกิดลมมรสุมเพื่อให้น้ำตกลงอ่างให้มากที่สุด สุริยะ เชื่อมั่นจะมีปริมาณน้ำผ่านพ้นวิกฤติ 2 เดือนข้างหน้าไปได้ พร้อมรับจะหาแนวทางทุกด้านช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อให้โรงงานต่างๆ สามารถเดินเครื่องได้เต็มที่
     
      วันนี้ (15 ส.ค.) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์น้ำภาคตะวันออกที่อ่างดอกกรายและหนองปลาไหล และพบปะกับผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งล่าสุดปริมาณน้ำในอ่างทั้ง 2 แห่ง เหลือเพียง 17 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ซึ่งหากไม่มีน้ำไหลเข้าอ่างก็จะเหลือใช้เพียง 20 วันข้างหน้า หรืออย่างช้าจะมีใช้ไปถึงวันที่ 22 กันยายน 2548 อย่างไม่มีปัญหา
     
      นายสุริยะ กล่าวว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล อีสต์ วอเตอร์ ได้รายงานปริมาณน้ำ ซึ่งยอมรับว่าน่าเป็นห่วงเพราะเหลือน้ำที่จะสามารถใช้ได้จริงประมาณ 10 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ในขณะที่ความต้องการน้ำโดยรวมมีประมาณ 400,000-500,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน แต่มีน้ำไหลเข้า ซึ่งเกิดจากการทำฝนเทียมและฝนตกตามฤดูกาล ประมาณ 100,000-200,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ประกอบกับโครงการผันน้ำจากแม่น้ำระยองของอีสต์ วอเตอร์ เริ่มส่งได้แล้ว 100,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และนับจากนี้ไปเข้าช่วงมรสุมที่ปกติจะมีน้ำฝนตกหนักในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม จึงเชื่อมั่นว่าปริมาณน้ำจะมีเพียงพอให้ใช้ได้อย่างน้อย 2 เดือนข้างหน้า แต่ที่น่าเป็นห่วงคือปีนี้น้ำต้นทุนเหลือน้อยมาก จึงอาจจะทำให้น้ำไม่เพียงพอในปีนี้ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลได้ทำโครงการเร่งด่วนหลายโครงการ เช่น การวางท่อน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ การเดินท่อน้ำจากแม่น้ำบางปะกง รวมทั้งการศึกษาการวางท่อน้ำเครือข่ายเชื่อมโยงในหลายพื้นที่ จึงเชื่อมั่นว่าจะสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน
     
      ทั้งนี้ ในระหว่างพบปะผู้ประกอบการต่างแสดงความเป็นห่วงถึงโครงการระยะสั้นที่ไม่ค่อยมั่นใจนัก เพราะปริมาณฝนตกน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา จึงเตรียมการช่วยเหลือตนเอง เช่น การซื้อน้ำจากประชาชน การกลั่นน้ำทะเลเป็นน้ำจืด การขนส่งน้ำทางเรือจากแม่น้ำเจ้าพระยา การรีไซเคิลน้ำ และเสนอให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือ เช่น การยกเว้นค่าธรรมเนียมท่าเรือเพื่อขนถ่ายน้ำ การยกเว้นข้อกำหนดด้านมลพิษเกี่ยวกับน้ำทิ้ง เพื่อจะได้นำน้ำไปรีไซเคิลใช้ใหม่ การอนุญาตให้นำเรือจากต่างประเทศมาขนส่งน้ำ การขอเพิ่มจุดน้ำจืดใหม่เพิ่มเติมในแม่น้ำระยอง โดยในระหว่างประชุม นายสุริยะ ยอมรับว่าปริมาณน้ำบาดาลที่จะขุดเจาะมาใช้ 180,000 ลูกบาศก์เมตร อาจจะนำมาใช้เพื่ออุตสาหกรรมได้น้อยมาก
     
      ภาครัฐพร้อมให้การช่วยเหลือเอกชนทุกอย่างเพื่อให้มีน้ำใช้ได้อย่างเพียงพอ เพียงแต่เอกชนเสนอมาเพราะหากโรงงานปิดหรือลดกำลังผลิตก็จะกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์น้ำแล้งไม่ได้เกิดขึ้นในเมืองไทยเพียงแห่งเดียว เมื่อ 15-16 ปีก่อน ที่ญี่ปุ่นก็เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ จนถึงขั้นปันน้ำกัน แต่ทุกอย่างก็ผ่านพ้นไปด้วยดีไม่กระทบต่อภาวะการลงทุน นายสุริยะ กล่าว
     
      นายอภิพร ภาษวัธน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทซิเมนต์ไทย เคมีภัณฑ์ ในเครือซิเมนต์ไทย กล่าวว่า ขณะนี้ห่วงปัญหาน้ำแล้งในปีหน้า ทุกฝ่ายต่างภาวนาให้เกิดฝนตกหนักในจังหวัดระยอง และน้ำลงอ่างในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมปีนี้ ในขณะเดียวกันขอให้ภาครัฐเร่งรัดโครงการวางเครือข่ายท่อน้ำจากอ่างประแสร์มาใช้ โดยการใช้งบพิเศษเพื่อเร่งรัดโครงการให้เสร็จได้ในต้นปี 2549 ตามที่รัฐประกาศไว้ ซึ่งนายสุริยะ ก็ได้รับที่จะดำเนินการ

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 16, 2005 8:39 pm
โดย Stock Broker
ภาคเหนือน้ำท่วม

ภาคตะวันออกกลับไม่มีน้ำใช้

อนิจจา ประเทศไทยไร้ซึ่งคนมีอำนาจที่มีความสามารถแล้วหรือ?

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 16, 2005 8:43 pm
โดย hot
ถ้ามีท่อต่อจากที่น้ำท่วมที่น้ำแห้งก็ดีซิ

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2005 3:00 pm
โดย Monet
Update ข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในภาคตะวันออกครับ
หลักทรัพย์ EASTW  
 หัวข้อข่าว ชี้แจงข่าวการลดปริมาณการส่งจ่ายน้ำของบริษัทฯ  
 วันที่/เวลา 18 ส.ค. 2548 13:43:55  
 
 
 
 



ที่ จพอ. 06/1631
 
                                             18  สิงหาคม  2548

เรื่อง  ชี้แจงข่าวการลดปริมาณการส่งจ่ายน้ำของบริษัทฯ
เรียน  กรรมการและผู้จัดการ
      ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

        ตามที่ปรากฏข่าวในหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 18 สิงหาคม 2548  อ้างถึง บริษัท จัดการและ
พัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) ได้ลดปริมาณการส่งจ่ายน้ำลงร้อยละ 50  ส่งผล
ให้การประปาบ้านฉาง ไม่สามารถผลิตน้ำประปาได้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของผู้บริโภค นั้น
        บริษัทฯ ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทราบว่า  ตั้งแต่มีข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์การขาดแคลน
น้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก   บริษัทฯ ยังคงส่งจ่ายน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำโดยมิได้มีการลดปริมาณการส่งจ่าย
น้ำลงแต่อย่างใด     สำหรับกรณี การประปาบ้านฉาง ซึ่งได้รับน้ำลดลงนั้น มีสาเหตุจาก ในช่วงวันที่
15-17 สิงหาคม 2548   บริษัทฯ ได้เชื่อมต่อและทดสอบระบบท่อสูบน้ำจากแม่น้ำระยองเพื่อส่งเข้า
ระบบท่อหลักของบริษัทฯ เป็นผลให้แรงดันน้ำและปริมาณน้ำของผู้ใช้น้ำบางรายซึ่งอยู่ปลายท่อลดลงใน
ช่วงดังกล่าว     ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ประสานแจ้งข้อมูลดังกล่าวแก่ผู้ใช้น้ำทราบล่วงหน้าแล้ว  และใน
ปัจจุบันบริษัทฯ ได้ส่งจ่ายน้ำแก่ผู้ใช้น้ำทุกรายรวมถึงการประปาบ้านฉางในปริมาณปกติแล้วเช่นกัน
        อนึ่ง บริษัทฯ ได้จัดทำรายงานความคืบหน้าโครงการแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำอย่างต่อ
เนื่อง โดยสามารถเข้าชมข้อมูลดังกล่าวในเวบไซต์ของบริษัทฯ (www.eastwater.com)

        จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ


                                        ขอแสดงความนับถือ


                                         ธิดารัชต์     ไกรประสิทธิ์
                               ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายการเงินและทรัพยากรบุคคล

ฝ่ายพัฒนาธุรกิจต่อเนื่อง
โทร. 02-940-9974-6  ต่อ 106, 129

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ส.ค. 21, 2005 8:17 am
โดย คัดท้าย
คุณ Zionism โพสต์ไว้ที่สินธร ครับ เลยขอเอามา update ที่นี่ด้วยครับ

ดูแล้วผมว่าปีหน้านี่ เหนื่อยทั้งประเทศแน่ๆครับ เรื่องน้ำ


ของภาคตะวันออก นี่ สงสัย สูบโคลนมาใช้กันแล้ว

รูปภาพ

รูปภาพ

ส่วนอื่นๆของประเทศก็หนาวววครับ  

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 22, 2005 3:26 pm
โดย MO101
ดูจากกราฟ น้ำหมดแล้วนี่ครับ
แล้วที่ใช้ๆ อยู่นี่มันน้ำอะไรกันครับ
เป็นโคลนหรือยัง ช่วยตอบด้วย

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 23, 2005 7:47 am
โดย โป้ง
กรมชลฯเตรียมระงับการใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล -ดอกกราย  

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 23 สิงหาคม 2548 00:54 น.
     
แหล่งข่าวระดับสูงจากกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ขณะนี้น้ำในอ่างเก็บน้ำดอกกรายและหนองปลาไหลอยู่ที่จุดต่ำสุดทั้ง 2 อ่าง ส่วนน้ำที่สูบไปใช้นั้นเป็นน้ำก้นอ่าง ขณะนี้ที่อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 13.50 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะใช้ได้อีกเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นก็จะถึงที่ระดับ 6.75 ล้านลูกบาศก์เมตรจากปัจจุบันที่มีน้ำในอ่างจำนวนเพียง 9.88 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น
     
      ส่วนอ่างดอกราย อยู่ที่ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันมีน้ำในอ่างประมาณ 5.68 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะสามารถใช้น้ำอีกประมาณ 4 ล้านลูกบาศก์เมตร เพราะหากใช้เกินกว่าที่กำหนดอาจจะส่งผลกระทบต่อตัวเขื่อน ดังนั้น หากในช่วงนี้ไม่มีฝนตกลง หรือไม่มีน้ำอื่นมาช่วยเพื่อปริมาณน้ำในอ่างได้เมื่อถึงจุดนั้นก็ต้องเลิกใช้อย่างเด็ดขาด เพราะตัวเขื่อนอาจร้าวหรือแตกได้
     
      นายบุญสม ยุติธรรมภิญโญ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำบางพระว่า ขณะนี้มีน้ำเก็บเพียง 13.35 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น จากความจุทั้งหมดประมาณ 117 ล้านลูกบาศก์เมตร หากไม่มีน้ำมาเพิ่ม ปริมาณน้ำในอ่างจะมีน้ำได้ถึงแค่ประมาณสิ้นเดือนสิงหาคมนี้เท่านั้น หลังจากนั้นจะต้องนำน้ำจากก้นอ่างมาใช้ ซึ่งก็จะใช้ได้ถึงแค่เดือนตุลาคมนี้เท่านั้น
     
      ในช่วงนี้คาดว่าจะมีฝนตกลงมาช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในอ่าง แต่หากไม่มีฝนตกก็จะเกิดปัญหาแน่นอน เนื่องจากโครงการผันน้ำจากแม่น้ำบางปะกง มาลงที่อ่างเก็บน้ำบางพระ จะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2549

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 29, 2005 9:16 pm
โดย tummeng
ศึกชิงน้ำภาคตะวันออกระเบิด!  
 
เชื้อปะทุน้ำขอดอ่างหนองปลาไหล-ดอกกราย ระเบิดสงครามแย่งน้ำในภาคตะวันออกขึ้นแล้ว! ยักษ์ปิโตรเคมี "วีนิไทย,ไบเออร์,และปตท." อาศัยทุนหนากว่าลุยทำสัญญาซื้อน้ำผูกมัดข้ามปี กับเจ้าของบ่อน้ำหลายจุดทั่วระยอง ดักหน้ารายอื่น เจ้าของบ่อดินหน้าบาน ถูกหวย 2 เด้ง 3เด้ง ราคาที่ดินราคาขายน้ำพุ่งเกือบเท่าตัว

จากที่ทีมข่าว"ฐานเศรษฐกิจ"เกาะติดสถานการณ์วิกฤตน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี2548 จนกระทั่งล่าสุดนำเสนอข่าว "10วันน้ำหมดอีสเทิร์น ไบเออร์บินด่วนเช็กอ่าง"ลงในฉบับที่ 2,038 ระหว่างวันที่ 25-27 สิงหาคม หลังจากที่ภาคเอกชนจากโรงงานอุตสาหกรรมส่งสัญญาณว่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสำคัญอย่างอ่างเก็บน้ำดอกกราย และอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลเริ่มนับถอยหลังแล้ว! เมื่อระดับน้ำจากอ่างเก็บน้ำขอดอ่าง หากไม่มีฝนตก และระบบการผันน้ำจากแหล่งอื่นเข้ามายังไม่สามารถดำเนินการได้เต็มที่

-ทุนรายใหญ่เชื้อปะทุสงครามชิงน้ำ

ล่าสุด"ฐานเศรษฐกิจ"ลงสำรวจพื้นที่อีกครั้ง พบว่าโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดยังคง วิ่งหาน้ำมาป้อนในโรงงานอุตสาหกรรมกันอย่างไม่ลดละในช่วง1เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากไม่สามารถฝากความหวังกับสัญญาลมๆแล้งๆจากภาครัฐได้ ดังนั้นในแต่ละรายจึงต้องดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อให้มีน้ำมาป้อนในกระบวนการผลิตที่ต้องเดินเครื่องอยู่ตลอด24 ชั่วโมง

เมื่อต่างคนต่างต้องการ แต่ปริมาณน้ำมีอยู่อย่างจำกัด สงครามแย่งน้ำในภาคตะวันออกจึงระเบิดขึ้น

แหล่งข่าวระดับสูงรายหนึ่งจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี กล่าวยอมรับว่า ขณะนี้มีบริษัทใหญ่ๆ เช่น ธุรกิจปิโตรเคมีกลุ่มปตท. ,บริษัท ไบเออร์ไทย , และบริษัท วีนิไทย และบริษัทอื่นๆอีกจำนวนมาก ที่ตั้งโรงงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ได้วิ่งทำสัญญาเช่าซื้อน้ำในบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำอยู่ในระดับที่สูบขึ้นมาใช้ในการผลิตได้ โดยวิ่งซื้อน้ำจากชาวบ้าน เกษตรกร หรือเจ้าของที่ดิน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ผ่านร่องรอยการตักหน้าดินไปขายก่อนหน้านี้ จนทำให้บ่อดินมีความลึกมากและมีปริมาณน้ำขังอยู่เป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ฝ่ายผู้ขายน้ำและผู้ซื้อน้ำได้ทำสัญญา พร้อมกำหนดเงื่อนไขต่อกันไว้ บางรายซื้อน้ำจนถึงสิ้นปีนี้ บางรายก็ทำสัญญาผูกขาดการใช้น้ำในบ่อน้ำยาวถึงสิ้นเดือนธันวาคม2549 โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าผู้ขายน้ำและผู้ขนส่งน้ำ ส่งน้ำเข้าโรงงานไม่ทัน จะถูกโรงงานปรับเท่ากับราคาน้ำที่ขายให้กับโรงงานอุตสาหกรรม และกรณีถ้าโรงงานไม่ซื้อน้ำจากผู้ขายน้ำตามราคาน้ำและปริมาณน้ำที่ทำสัญญากันไว้ล่วงหน้าก็จะถูกปรับตามราคาน้ำเช่นกัน

" โดยโรงงานอุตสาหกรรมบางรายได้ทำสัญญาผูกขาดใช้น้ำแบบเหมาบ่อรายเดียว ทำให้บริษัทอื่นไม่สามารถใช้น้ำในร่วมในบ่อเดียวกันได้ "

-วีนิไทย -ไบเออร์ฮุบบ่อน้ำข้ามปี

จากกรณีดังกล่าวทีมข่าว"ฐานเศรษฐกิจ"ได้สังเกตการณ์พบว่า ตลอดทั้งวันจะมีรถขนส่งน้ำวิ่งเข้า-ออกอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดวันละหลายรอบ มีตั้งแต่รถส่งน้ำของหจก.ทอง ทรานสปอร์ต, บ.บูรพา ทรานสปอร์ต. บ.ทรัพย์ยืนยงขนส่งและ หจก.เดชไพศาล เป็นต้น

ทั้งนี้รถขนส่งน้ำจำนวนหนึ่งโดยเฉพาะรถขนน้ำจากหจก.ทอง ทรานสปอร์ต จะวิ่งไปยังบ่อน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ต.ทับมา จ.ระยอง รอบๆบ่อน้ำล้อมไปต้นยางพารา โดยรถขนส่งน้ำดังกล่าวจะจอดรอคิวสูบน้ำใส่ถังขนาดความจุ 30 คิว เพื่อมุ่งกลับไปสู่โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกพีวีซีของบริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน)หมุนเวียนกันวันละหลายเที่ยว

ซึ่งได้รับการเปิดเผยจากหนึ่งในผู้ร่วมทำธุรกิจค้าน้ำดิบ จากบ่อเก็บน้ำดังกล่าวในต.ทับมา กล่าวว่า ธุรกิจขายน้ำนี้ เกิดขึ้นจากการร่วมทุนกันระหว่างหจก.ทอง ทรานสปอร์ตในฐานะผู้ขนส่งน้ำกับเจ้าของโรงงานน้ำปลารายหนึ่งในจังหวัดระยอง และรองนายกเทศมนตรีท่านหนึ่งในมาบตาพุด ซึ่งบ่อเก็บน้ำที่เห็นหลายจุดนั้นส่วนหนึ่งเป็นโรงงานน้ำปลาจะเก็บไว้ใช้สำหรับผลิตน้ำปลา ส่วนบ่อน้ำที่เหลือบริษัท วีนิไทยได้ทำสัญญาใช้น้ำแบบเหมาอ่างไว้แล้ว โดยสัญญาแรกมีระยะเวลา 3 เดือนนับจากเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม2548 ซื้อน้ำจำนวน 300,000คิว และล่าสุดเพิ่งมีการต่อสัญญาอีก 1 ล้านคิว จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม2549 จากสัญญาดังกล่าวทำให้บริษัทไม่สามารถขายน้ำให้กับบริษัทอื่นได้อีก ซึ่งก่อนหน้านั้นก็มีบริษัททุนเท็กซฯเข้ามาติดต่อขอใช้น้ำ แต่ก็ต้องปฏิเสธไป เพราะกังวลว่าปริมาณน้ำจะไม่พอส่งให้กับบริษัท วีนิไทยที่จะต้องส่งน้ำให้ตั้งแต่ 3,200 คิวไปถึง 4,000-5,000 คิว/วัน

"เวลานี้มีโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาติดต่อขอซื้อน้ำจำนวนมาก แต่ก็ต้องดูสัญญาและเงื่อนไข ซึ่งส่วนใหญ่บริษัทใหญ่ๆ ที่ใช้น้ำมาก จะให้ข้อเสนอที่ดี เช่นราคาดี ที่ขณะนี้ราคาขายน้ำมีตั้งแต่ 120-150 บาท/คิวขึ้นไป

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า เวลานี้นอกจากที่บ่อเก็บน้ำในต.ทับมาแล้ว ยังมีบ่อเก็บน้ำส่วนบุคคลที่อยู่ในต.มาบข่าอีก โดยขายน้ำให้กับบริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด เป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกอีกรายที่ตั้งโรงงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งบริษัทดังกล่าวทำสัญญาแรกซื้อน้ำจำนวน 300,000คิว มีกำหนดตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนถึงวันที่ 31 ธันวาคม2548 และอยู่ระหว่างเจรจาต่อสัญญาซื้อน้ำอีก 1 ล้านคิวจนถึงปลายปี2549

-ปลุกที่ดินบ้านค่ายขยับขึ้นเท่าตัว

อย่างไรก็ตามเวลานี้สถานการณ์ภัยแล้งยังน่าเป็นห่วงอยู่ และมั่นใจว่าจะเจอวิกฤตภัยแล้งยาวไปถึงปีหน้า ทำให้ต้องประกันความเสี่ยงไว้ก่อน กรณีไม่มีน้ำส่งมอบได้ตามสัญญาที่มีต่อลูกค้า ต้องการ ล่าสุดจึงตัดสินใจซื้อที่ดินที่มีบ่อน้ำไว้เพิ่มอีกจำนวน 21 ไร่ที่ต.บ้านค่าย มีปริมาณน้ำมากถึง 400,000 คิว โดยราคาที่ดินดังกล่าวขณะนี้พุ่งสูงขึ้นจาก 150,000บาท/ไร่ เพิ่มเป็น 300,000 บาท/ไร่

"เวลานี้ยอมรับว่าได้รับโชค 2ชั้น เพราะก่อนหน้านั้นตัดหน้าดินไปขาย แต่ละปีก็มีฝนตกชุกมีน้ำไหลลงบ่อดินจำนวนมากจนกลายเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ ก็ไม่ได้มีการขายน้ำเกิดขึ้น เพราะน้ำมีพอเพียง แต่ปีนี้เป็นหน้าแล้งมาก ขนาดปริมาณน้ำมีไม่มากก็ยังเป็นที่จับจองจากโรงงานอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำมาก ขณะที่โรงงานขนาดเล็ก หรือบางบริษัทที่ใช้น้ำไม่มากต้องเสียโอกาสไปเพราะแหล่งน้ำถูกจับจองไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว"

ด้านนายจักรรินทร์ แสงหิรัญรัตนา ผู้ประกอบการรถขนส่งที่ร่วมขนส่งน้ำกับ หจก.ทอง ทรานสปอร์ต เปิดเผยว่า ตนมีรถขนส่งน้ำขนาด 15 ลูกบากศก์เมตรจำนวน 5 คัน ได้เข้ามาร่วมขนส่งน้ำกับทาง หจก.ทรานสปอร์ต ที่มีรถบรรทุกน้ำไม่เพียงพอ ซึ่งทางบริษัท วีนิไทย ได้เซ็นสัญญาแรกซื้อจากบ่อน้ำที่มีการตักหน้าดินไปขายบริเวณหมู่บ้าน หนองผักหนาม ตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ในปริมาณ 3 แสนลูกบาศก์เมตร เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยมีการขนน้ำเข้าโรงงานวินิไทยที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดในปริมาณวันละ 3,200 ลูกบาศก์เมตร เป็นอย่างต่ำตั้งแต่เวลา 8.00 21.00 น. ซึ่งได้ดำเนินการมากว่า 1 เดือนแล้ว

ส่วนการที่บริษัท วีนิไทย ต้องซื้อน้ำจากบ่อแห่งนี้ เนื่องจากน้ำจากบ่อนี้มีคุณภาพดีกว่าเมื่อเทียบกับน้ำที่บริษัท อีสต์วอเตอร์ ส่งให้กับโรงงาน ที่ต้องการน้ำคุณภาพสูง ประกอบกับน้ำในอ่างหนองปลาไหลและดอกกรายกำลังแห้งลงทุกที่ ทำให้ทางวีนิไทย ต้องเร่งหาน้ำป้อนกำลังการผลิตของตนเอง และผูกขาดซื้อน้ำจากบ่อน้ำแห่งนี้ไปไม่มีกำหนดจนกว่าน้ำจะหมดจากบ่อ

-ผู้ค้าน้ำเปิดศึกเก็งราคาน้ำดิบ

นายจักรรินทร์ กล่าวอีกว่า จากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น ทำให้โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ได้มีการติดต่อขอซื้อน้ำเข้ามาเป็นจำนวนมาก จนทำให้เวลานี้บ่อน้ำที่มีอยู่ไม่สามารถรองรับกับความต้องการของโรงงานได้เพียงพอ เพราะแต่ละโรงงานใช้น้ำในปริมาณมากทั้งนั้น ทำให้เวลานี้มีผู้ประกอบการขนน้ำรายใหม่ที่มีรถกว่า 40-50 เข้ามาทำธุรกิจนี้มากขึ้นไม่ต่ำกว่า 10 ราย โดยยังไม่รวมรายเล็กๆ ที่ขนน้ำทั่วไป ส่งผลให้เกิดการตั้งราคาน้ำแข่งกันขาย จนบางรายที่ได้ลงทุนต่อถังบรรทุกน้ำไปก่อนหน้านี้ต้องเลิกกิจการไปก็มี ซึ่งกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่เข้าไปเสนอขายน้ำให้กับโรงงานเอง แต่ในส่วนของ หจก.ทองทรานสปอร์ตนั้น ทางโรงงานจะเข้ามาติดต่อเอง เนื่องจากเป็นผู้ประกอกการรายใหญ่ มีรถในสังกัดเป็นจำนวนมากทำให้โรงงานมีความมั่นใจที่จะส่งน้ำป้อนได้ไม่ขาดระยะ จึงทำให้รายได้ที่ได้กลับมาเป็นที่น่าพอใจ

ด้านแหล่งข่าวจากบริษัท ทุนเท็กซ์ ปิโตรเคมิคอลล์(ประเทศไทย)กล่าวยอมรับว่า ก่อนหน้านี้มีการวิ่งซื้อน้ำจากบ่อน้ำส่วนบุคคลในจังหวัดระยอง หลายแห่งก็ตั้งราคาขายน้ำสูงเกิน 110 บาท/คิว ซึ่งบริษัทมองว่ามันคือต้นทุนที่สูงก็ต้องวิ่งหาซื้อบ่อน้ำในที่ใหม่ ซึ่งล่าสุดเจรจาได้แล้ว 2 แห่งที่ต.มาบข่ากับที่บ้านค่าย ทำสัญญาระยะ 3 6 เดือน รับน้ำจำนวน 3,000 คิว/วัน โดยได้ราคา 100-110 บาท/คิว ซึ่งถูกกว่าจากที่วิ่งเจรจาก่อนหน้านั้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการรับมือน้ำขาดในช่วงระยะสั้นไปถึงต้นปีหน้านี้ โดยทุนเท็กซ์ฯจะต้องใช้น้ำต่อวันประมาณ 10,000 คิว ซึ่งมาจากระบบจ่ายน้ำปกติที่มาจากอ่างเก็บน้ำดอกกรายและหนองปลาไหลและจากที่ซื้อน้ำจากบ่อน้ำส่วนบุคคล

อนึ่งปริมาณน้ำที่วัดจากอ่างเก็บน้ำดอกกรายเมื่อวานนี้( 26 ส.ค.48)อยู่ที่ 6.520 ล้านลบ.ม. เทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่แล้วที่มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 52.1ล้านลบ.ม. ส่วนอ่างเก็บน้ำดอกกรายปริมาณน้ำอยู่ที่ 10.135 ล้านลบ.ม. ลดลงมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 88.557 ล้านลบ.ม.

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2039   28 ส.ค.  - 31 ส.ค. 2548

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 29, 2005 10:19 pm
โดย por_jai
8) ทางผู้บริหารของบริษัทปิโตร พวกนี้
    เขาคงสงสัยเหมือนกันนะครับว่า
    กูเสียภาษีเยอะๆทำไมวะ
    ถึงเวลามีปัญหา กูก็ต้องพึ่งตัวเองอยู่ดี
    สงสัยพวกรับผิดชอบ ที่จะต้องดูแลเรื่องน้ำ
    ไปยุ่งๆเรื่องค่าเวนคืนที่เขื่อนป่าสักอยู่เลยไม่ว่าง
    (ประชดนะโว๊ย ครับ)

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 29, 2005 10:24 pm
โดย โป้ง
หน้าเหลี่ยม บอก ใช้น้ำไปเลยเต็มที่ (เอาน้ำที่ไหนล่ะ?????)

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 29, 2005 10:36 pm
โดย pong
เห็นวันนี้ทาง กรมอุตุฯ แจ้งว่า จะมีพายุ(หรือหย่อมความกดอากาศประมาณนี้) เข้าทางภาคตะวันออก อยากให้ไปตกหนักที่ระยองจัง ไม่รู้ตอนนี้ที่นั่นฝนตกรึเปล่านี่

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 30, 2005 1:45 am
โดย Zionism
เว็บระดับน้ำโดยอุ้ม 555

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 30, 2005 8:37 am
โดย Oh+
มาให้ข้อมูลครับ เมื่อวานฝนตกเกือบทั้งวันแต่ไม่แรงมากครับ

ส่วนเมื่อคืนก็ตกครับ ตลอดคืนเลย

เช้านี้ดูท่าว่าจะตกอีก ครับ ครึ้ม ๆ อยู่

ขอให้ไปตกในอ่างด้วยน่ะครับ  :)

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 30, 2005 10:06 am
โดย pong
ขอบคุณ Oh+ สำหรับข้อมูลครับ

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ผมไปปากช่อง เห็นน้ำในเขื่อนลำตะคองแล้วตกใจ ร้านค้าที่เคยตั้งอยู่ริมน้ำ ไฉนกลายเป็นริมหญ้าได้  :?
แต่ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ นั่งกินข้าวเที่ยงที่สวนเมืองพรซักพัก  ฝนตกหนักมากๆ ชาวบ้านแถวนั้นเอาถัง กะละมังมารองน้ำกันวุ่นวาย และที่สำคัญ ฝนตกลงเขื่อนลำตะคอง  ถึงแม้เราไม่เห็นระดับน้ำที่เพิ่ม แต่ก็ดีใจกับชาวโคราช ที่แล้งน้ำมานานด้วยครับ
และก็ภาวนาให้ตกต่อเนื่องด้วยเถอะ ทั้งระยองและโคราช

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 30, 2005 10:11 am
โดย kla
ตอนมีอีกพายุ 2 ลูก อยู่ในทะเลจีนใต้ ทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ ลูกแรกเป็นพายุใต้ฝุ่นชื่อตาลิม อีกลูกเป็นพายุโซนร้อนชื่อนาบี คาดว่าจะเริ่มมีผลกระทบต่อไทยในอีก 7 วันข้างหน้า ขอภาวนาให้มาทางภาคตะวันอกสักลูกเถอะ

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 30, 2005 10:18 am
โดย Tongue
เมื่อเช้าได้ยินข่าวจากรายการคุณสรยุทธว่า จะลดโครงการเมกกะโปรเจค มาช่วยเรื่องน้ำแล้วนี่ครับ
เห็นว่า สายสีม่วง หรือ สายไหน ถ้าคนขึ้นไม่ถึง 10000 คนต่อชั่วโมง จะไม่สร้าง
เอาเงินมาช่วยเรื่องน้ำ
รับสภาพแล้วจะช่วยอะไรทันไหมเนี่ย

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 31, 2005 7:08 am
โดย SomJook
จริงๆแล้วงบเรื่องวางท่อประปาทั่วประเทศ 2 แสนล้านมันออกมาตั้งแต่ต้นปีงบประมาณปีนี้แล้วนี่ค่ะ..... ถ้าเอามาใช้ตามแผนตั้งแต่งบออก......ปัญหาเรื่องน้ำคงไม่รุนแรงขนาดนี้

Update สถานการณ์นําภาคตะวันออก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ย. 29, 2005 9:52 pm
โดย Dech
up มาให้ดูกัน

http://water.rid.go.th/flood/flood/eastdam.htm

ผมใส่รูปบ่เป็นครับ