กลุ่มธุรกิจการเกษตรและอาหาร
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news08/01/08
โพสต์ที่ 121
กดดันรง.ประกันราคาผัก
โพสต์ทูเดย์ กรมการค้าภายใน กดดันโรงงานอาหารสำเร็จรูป ร่วมทำสัญญาประกันราคาสินค้า ป้องกันเอาเปรียบเกษตรกร
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ได้เตรียมขยายการส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารสำเร็จรูป และผัก-ผลไม้บรรจุกระป๋อง เข้าร่วมโครงการตลาดข้อตกลง ทำสัญญาข้อตกลงซื้อขายสินค้าร่วมกับเกษตรกรผู้ปลูก เพื่อเป็นหลักประกันราคา และแก้ปัญหาการกดราคาพืชผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อมานาน
สัญญาข้อตกลงซื้อขายสินค้าเกษตรดังกล่าว เป็นสัญญาที่เป็นทางการ และมีผลทางกฎหมาย คู่ค้าจะเก็บสัญญาไว้ฝ่ายละ 1 ฉบับ และกรมการค้าภายในจะเก็บสัญญาไว้อีก 1 ฉบับ ในฐานะคนกลางที่สามารถควบคุม และกำกับสัญญาได้ หากแต่ละฝ่ายไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะถือว่ากระทำผิด และมีบทลงโทษตามกฎหมาย
ในสัญญาจะประกันราคาขั้นต่ำให้กับพืชผัก แต่หากราคาสูงเกินกว่าที่กำหนดก็ให้ยึดตามราคาตลาด
สินค้าที่เริ่มทำสัญญาไปบ้างแล้ว ได้แก่ มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง และข้าวโพดหวาน ในพื้นที่ภาคอีสาน ภาคเหนือตอนบน และภาคกลาง
ในปีนี้ตั้งเป้ายอดการทำสัญญาสูงกว่าปีก่อนอีก 15% และจะขยายไปส่งเสริมให้มีการทำสัญญาซื้อพริกสำหรับทำซอสพริก เมล็ดกาแฟ และข้าวอินทรีย์
อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า โรงงานส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการทำสัญญา เพราะเกรงว่าจะขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตสินค้า หากโรงงานไม่ยินยอมทำสัญญา เกษตรกรจะเปลี่ยนไปปลูกพืชอย่างอื่นแทน
นอกจากนี้ ยังมีแผนจะส่งเจ้าหน้าที่เดินสายชักชวนโรงงานให้เข้าร่วมโครงการ โดยเห็นว่าหากทุกพื้นที่มีโรงงานเข้าร่วมเพียงแห่งเดียวก็เป็นต้นแบบที่ดีได้
สำหรับการส่งออกผัก-ผลไม้ จะเดินหน้าส่งเสริมให้เกิดตลาดกลางที่มีบริการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อให้สามารถกระจายสินค้าได้ รวดเร็ว และยังทำให้ระบบการ ส่งออกสินค้าเกษตรมีมาตรฐาน เป็นที่น่าเชื่อถือ ขณะเดียวกันยัง ช่วยให้ผัก-ผลไม้ส่งออกมีดัชนีราคาที่ชัดเจน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=213290
โพสต์ทูเดย์ กรมการค้าภายใน กดดันโรงงานอาหารสำเร็จรูป ร่วมทำสัญญาประกันราคาสินค้า ป้องกันเอาเปรียบเกษตรกร
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ได้เตรียมขยายการส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารสำเร็จรูป และผัก-ผลไม้บรรจุกระป๋อง เข้าร่วมโครงการตลาดข้อตกลง ทำสัญญาข้อตกลงซื้อขายสินค้าร่วมกับเกษตรกรผู้ปลูก เพื่อเป็นหลักประกันราคา และแก้ปัญหาการกดราคาพืชผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อมานาน
สัญญาข้อตกลงซื้อขายสินค้าเกษตรดังกล่าว เป็นสัญญาที่เป็นทางการ และมีผลทางกฎหมาย คู่ค้าจะเก็บสัญญาไว้ฝ่ายละ 1 ฉบับ และกรมการค้าภายในจะเก็บสัญญาไว้อีก 1 ฉบับ ในฐานะคนกลางที่สามารถควบคุม และกำกับสัญญาได้ หากแต่ละฝ่ายไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะถือว่ากระทำผิด และมีบทลงโทษตามกฎหมาย
ในสัญญาจะประกันราคาขั้นต่ำให้กับพืชผัก แต่หากราคาสูงเกินกว่าที่กำหนดก็ให้ยึดตามราคาตลาด
สินค้าที่เริ่มทำสัญญาไปบ้างแล้ว ได้แก่ มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง และข้าวโพดหวาน ในพื้นที่ภาคอีสาน ภาคเหนือตอนบน และภาคกลาง
ในปีนี้ตั้งเป้ายอดการทำสัญญาสูงกว่าปีก่อนอีก 15% และจะขยายไปส่งเสริมให้มีการทำสัญญาซื้อพริกสำหรับทำซอสพริก เมล็ดกาแฟ และข้าวอินทรีย์
อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า โรงงานส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการทำสัญญา เพราะเกรงว่าจะขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตสินค้า หากโรงงานไม่ยินยอมทำสัญญา เกษตรกรจะเปลี่ยนไปปลูกพืชอย่างอื่นแทน
นอกจากนี้ ยังมีแผนจะส่งเจ้าหน้าที่เดินสายชักชวนโรงงานให้เข้าร่วมโครงการ โดยเห็นว่าหากทุกพื้นที่มีโรงงานเข้าร่วมเพียงแห่งเดียวก็เป็นต้นแบบที่ดีได้
สำหรับการส่งออกผัก-ผลไม้ จะเดินหน้าส่งเสริมให้เกิดตลาดกลางที่มีบริการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อให้สามารถกระจายสินค้าได้ รวดเร็ว และยังทำให้ระบบการ ส่งออกสินค้าเกษตรมีมาตรฐาน เป็นที่น่าเชื่อถือ ขณะเดียวกันยัง ช่วยให้ผัก-ผลไม้ส่งออกมีดัชนีราคาที่ชัดเจน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=213290
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news08/01/08
โพสต์ที่ 122
น้ำมันพืชเบนเข็มโกยส่งออก ขายเมืองไทยไม่คุ้ม-ขู่ใน ปท.ขาดแคลน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 8 มกราคม 2551 09:40 น.
น้ำมันรำข้าวคิง ชี้ตลาดน้ำมันพืชปีหนู ผู้ประกอบการบ่ายหน้าส่งออกน้ำมันพืชโกยรายได้ทดแทน หลังตลาดภายในประเทศขายไม่ได้ราคา ลั่นน้ำมันพืชภายในประเทศอาจขาดแคลน ระบุ หากราคาน้ำมันโลกทะลุ 130-140 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โอกาสราคาน้ำมันพืชปรับเพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 50 บาทต่อขวด น้ำมันพืชทิพ รุกปั้นทิพไวส์ เจาะกลุ่มนิชมาร์เก็ต
นายประวิทย์ สันติวัฒนา กรรมการบริหาร บริษัท น้ำมันบริโภคไทย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันรำข้าวคิง เปิดเผยว่า แม้ว่ากรมการค้าภายในได้อนุมัติให้ผู้ประกอบการน้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง ปรับขึ้นราคาได้ในอัตรา ขวดละ 5.50 บาท แต่ทยอยปรับเป็น 2 ช่วง คือ 3 บาท ในเดือนธันวาคม และปรับอีก 2.50 บาท ในเดือนมกราคม โดยราคาน้ำมันปาล์มเป็นขวดละ 43.50 บาท น้ำมันถั่วเหลือง 45.50 บาท ซึ่งราคาที่ปรับขึ้น ถือว่าเป็นราคาที่ชนเพดาน ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการมีรายได้ลดลง
ดังนั้น มีโอกาสที่กลุ่มผู้ประกอบการจะหันมามุ่งเน้นส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพตลาดน้ำมันพืชต่างประเทศปรับราคาขึ้นตามการผันผวนของน้ำมัน ซึ่งขณะนี้ประมาณ 98 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล การส่งออกจึงมีรายได้ที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่น้ำมันพืชจะขาดแคลนบ้างภายในประเทศ หรือหากราคาน้ำมัน 130-140 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล โอกาสที่ราคาน้ำมันพืชจะเพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 50 บาทต่อขวดมีสูง ขณะที่ปัจจุบันราคาเฉลี่ยไม่เกิน 46 บาทต่อขวด แต่ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับการอนุมัติของกรมการค้าภายในด้วย
สำหรับสภาพตลาดน้ำมันพืชมูลค่า 7,500 ล้านบาท ในปีนี้คาดว่าเติบโต 3-5% ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ส่วนแนวโน้มการแข่งขันจะไม่มีความรุนแรงมากนัก เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น โดยน้ำมันพืชถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น 70-80% เป็นต้น ผู้ประกอบการต้องควบคุมการใช้งบการตลาด ทั้งนี้คาดว่าตลาดน้ำมันถั่วเหลืองมูลค่ากว่า 1,800 ล้านบาท และน้ำมันปาล์มกว่า 4,800 ล้านบาท เติบโตไม่มากนัก เพราะราคาใกล้เคียงกับน้ำมันรำข้าวมาก อีกทั้งกระแสสุขภาพมาแรง มีโอกาสที่ผู้บริโภคจะหันมาใช้น้ำมันรำข้าวเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ตลาดน้ำมันรำข้าวมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท เติบโต 10-15%
คิงเน้นส่งออกโกยรายได้ทดแทน
นายประวิทย์ กล่าวถึงแผนการตลาดของบริษัท ว่า ปีนี้มุ่งเน้นขยายตลาดต่างประเทศในเชิงรุก ซึ่งตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการส่งออก 55% เป็น 60% และภายในประเทศเหลือจาก 45 % เป็น 40% ส่วนการทำตลาดภายในประเทศ ไม่เพิ่มงบการตลาดโดยใช้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา 10 ล้านบาท สำหรับผลประกอบการปีนี้ตั้งเป้าเติบโต 10-15% หรือมีรายได้เกือบ 700 ล้านบาท จากในปีที่ผ่านมามีรายได้ 600 ล้านบาท เติบโต 20% ขณะที่ส่วนแบ่งน้ำมันรำข้าวคิง 8% เท่าปีที่ผ่านมา
ทิพเดินเกมเจาะตลาดพรีเมียม
นายสาธิต จิตตนิคม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทิพอินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำมันพืชทิพ เปิดเผยว่า แผนการตลาดในปีนี้ของบริษัทฯจะมุ่งเน้นภายใต้แบรนด์ ทิพไวส์ หรือน้ำมันพืชแบ่งแยกตามการปรุงอาหาร เจาะตลาดนิชมาร์เก็ต ประกอบด้วย การเปิดตัวน้ำมันพืชใหม่ 2 ประเภท ได้แก่ น้ำมันเมล็ดฝ้าย เหมาะสำหรับทอด และน้ำมันถั่วเหลืองผสมน้ำมันปาล์ม สำหรับทอดและผัด ซึ่งเซ็กเมนต์นี้คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นมากนัก นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับกระแสสุขภาพที่กำลังมาแรง สำหรับภาวะตลาดน้ำมันพืชบรรจุขวดมูลค่า 7,500 ล้านบาท ในปีนี้คาดว่ามีอัตราการเติบโต 7-8%
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000002166
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 8 มกราคม 2551 09:40 น.
น้ำมันรำข้าวคิง ชี้ตลาดน้ำมันพืชปีหนู ผู้ประกอบการบ่ายหน้าส่งออกน้ำมันพืชโกยรายได้ทดแทน หลังตลาดภายในประเทศขายไม่ได้ราคา ลั่นน้ำมันพืชภายในประเทศอาจขาดแคลน ระบุ หากราคาน้ำมันโลกทะลุ 130-140 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โอกาสราคาน้ำมันพืชปรับเพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 50 บาทต่อขวด น้ำมันพืชทิพ รุกปั้นทิพไวส์ เจาะกลุ่มนิชมาร์เก็ต
นายประวิทย์ สันติวัฒนา กรรมการบริหาร บริษัท น้ำมันบริโภคไทย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันรำข้าวคิง เปิดเผยว่า แม้ว่ากรมการค้าภายในได้อนุมัติให้ผู้ประกอบการน้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง ปรับขึ้นราคาได้ในอัตรา ขวดละ 5.50 บาท แต่ทยอยปรับเป็น 2 ช่วง คือ 3 บาท ในเดือนธันวาคม และปรับอีก 2.50 บาท ในเดือนมกราคม โดยราคาน้ำมันปาล์มเป็นขวดละ 43.50 บาท น้ำมันถั่วเหลือง 45.50 บาท ซึ่งราคาที่ปรับขึ้น ถือว่าเป็นราคาที่ชนเพดาน ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการมีรายได้ลดลง
ดังนั้น มีโอกาสที่กลุ่มผู้ประกอบการจะหันมามุ่งเน้นส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพตลาดน้ำมันพืชต่างประเทศปรับราคาขึ้นตามการผันผวนของน้ำมัน ซึ่งขณะนี้ประมาณ 98 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล การส่งออกจึงมีรายได้ที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่น้ำมันพืชจะขาดแคลนบ้างภายในประเทศ หรือหากราคาน้ำมัน 130-140 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล โอกาสที่ราคาน้ำมันพืชจะเพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 50 บาทต่อขวดมีสูง ขณะที่ปัจจุบันราคาเฉลี่ยไม่เกิน 46 บาทต่อขวด แต่ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับการอนุมัติของกรมการค้าภายในด้วย
สำหรับสภาพตลาดน้ำมันพืชมูลค่า 7,500 ล้านบาท ในปีนี้คาดว่าเติบโต 3-5% ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ส่วนแนวโน้มการแข่งขันจะไม่มีความรุนแรงมากนัก เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น โดยน้ำมันพืชถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น 70-80% เป็นต้น ผู้ประกอบการต้องควบคุมการใช้งบการตลาด ทั้งนี้คาดว่าตลาดน้ำมันถั่วเหลืองมูลค่ากว่า 1,800 ล้านบาท และน้ำมันปาล์มกว่า 4,800 ล้านบาท เติบโตไม่มากนัก เพราะราคาใกล้เคียงกับน้ำมันรำข้าวมาก อีกทั้งกระแสสุขภาพมาแรง มีโอกาสที่ผู้บริโภคจะหันมาใช้น้ำมันรำข้าวเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ตลาดน้ำมันรำข้าวมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท เติบโต 10-15%
คิงเน้นส่งออกโกยรายได้ทดแทน
นายประวิทย์ กล่าวถึงแผนการตลาดของบริษัท ว่า ปีนี้มุ่งเน้นขยายตลาดต่างประเทศในเชิงรุก ซึ่งตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการส่งออก 55% เป็น 60% และภายในประเทศเหลือจาก 45 % เป็น 40% ส่วนการทำตลาดภายในประเทศ ไม่เพิ่มงบการตลาดโดยใช้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา 10 ล้านบาท สำหรับผลประกอบการปีนี้ตั้งเป้าเติบโต 10-15% หรือมีรายได้เกือบ 700 ล้านบาท จากในปีที่ผ่านมามีรายได้ 600 ล้านบาท เติบโต 20% ขณะที่ส่วนแบ่งน้ำมันรำข้าวคิง 8% เท่าปีที่ผ่านมา
ทิพเดินเกมเจาะตลาดพรีเมียม
นายสาธิต จิตตนิคม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทิพอินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำมันพืชทิพ เปิดเผยว่า แผนการตลาดในปีนี้ของบริษัทฯจะมุ่งเน้นภายใต้แบรนด์ ทิพไวส์ หรือน้ำมันพืชแบ่งแยกตามการปรุงอาหาร เจาะตลาดนิชมาร์เก็ต ประกอบด้วย การเปิดตัวน้ำมันพืชใหม่ 2 ประเภท ได้แก่ น้ำมันเมล็ดฝ้าย เหมาะสำหรับทอด และน้ำมันถั่วเหลืองผสมน้ำมันปาล์ม สำหรับทอดและผัด ซึ่งเซ็กเมนต์นี้คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นมากนัก นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับกระแสสุขภาพที่กำลังมาแรง สำหรับภาวะตลาดน้ำมันพืชบรรจุขวดมูลค่า 7,500 ล้านบาท ในปีนี้คาดว่ามีอัตราการเติบโต 7-8%
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000002166
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news09/01/08
โพสต์ที่ 123
น้ำมันพืช+ปลากระป๋อง เริ่มขาดตลาดแล้ว แต่เทสโก้ ยืนยัน น้ำมันพืชยี่ห้อ เทสโก้ ไม่มีขาดตลาดแน่
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Wednesday, January 09, 2008
หลังจากเมื่อวาน ที่กระทรวงพาณิชย์ ส่งสัญญาณว่า พร้อมอนุมัติให้ปรับขึ้นราคาน้ำมันพืชขวด 1 ลิตรขึ้นอีก 5.50 บาท ในปีนี้ ทั้งที่เพิ่งอนุมัติการปรับขึ้นราคาขึ้นมาในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยเตรียมนัดหารือกับผู้ประกอบการวันศุกร์นี้ เพื่อหารือรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับเงื่อนเวลาในการปรับเพิ่มราคาขายปลีกแบบเป็นระลอก ๆ ตลอดจนเจรจาต่อรองให้ผู้ประกอบการหาวิธีป้องกันไม่ให้มีการกักตุนสินค้า
ล่าสุด มีประชาชนมาจับจ่ายซื้อน้ำมันพืชกันอย่างคึกคัก จนทำให้น้ำมันพืชบางยี่ห้อเริ่มขาดแคลน ซึ่งจากการตรวจสอบตลาด ผ่านห้างเทสโก้ โลตัส มีการติดป้ายประกาศให้ประชาชนได้รับทราบว่า น้ำมันพืชบางยี่ห้ออาจขาดแคลน รวมถึงปลากระป๋องที่ระบุว่าจะให้ปรับขึ้นราคาอีก 1 - 2 บาทด้วย
อย่างไรก็ตาม นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส เทสโก้ โลตัส เปิดเผยว่า จากที่ได้รับข้อมูลจากสาขาต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยังไม่พบว่า มีการไปซื้อเพื่อกักตุนสินค้าอย่างผิดปกติแต่อย่างใด แต่ยอมรับว่า มีประชาชนบางส่วนที่เข้ามาซื้อในปริมาณ ๆ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพราะคนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นร้านค้ารายย่อยซึ่งซื้อมากเป็นประจำ
พร้อมกันนี้ เขายังยืนยันด้วยว่า จะบริหารสต๊อกสินค้าให้มีกระจายไปทั่วถึงผู้บริโภค ผ่านสาขาทั่วประเทศ และพร้อมดูแลไม่ให้น้ำมันพืช แบรนด์ " เทสโก้ " เอง ขาดแคลน โดยห้างเทสโก้ จะพยายามรักษาระดับราคาให้ต่ำกว่าท้องตลาด เพราะสินค้าของเทสโก้ ไม่มีต้นทุนสูงในเรื่องของประชาสัมพันธ์
http://www.moneychannel.co.th/BreakingN ... fault.aspx
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Wednesday, January 09, 2008
หลังจากเมื่อวาน ที่กระทรวงพาณิชย์ ส่งสัญญาณว่า พร้อมอนุมัติให้ปรับขึ้นราคาน้ำมันพืชขวด 1 ลิตรขึ้นอีก 5.50 บาท ในปีนี้ ทั้งที่เพิ่งอนุมัติการปรับขึ้นราคาขึ้นมาในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยเตรียมนัดหารือกับผู้ประกอบการวันศุกร์นี้ เพื่อหารือรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับเงื่อนเวลาในการปรับเพิ่มราคาขายปลีกแบบเป็นระลอก ๆ ตลอดจนเจรจาต่อรองให้ผู้ประกอบการหาวิธีป้องกันไม่ให้มีการกักตุนสินค้า
ล่าสุด มีประชาชนมาจับจ่ายซื้อน้ำมันพืชกันอย่างคึกคัก จนทำให้น้ำมันพืชบางยี่ห้อเริ่มขาดแคลน ซึ่งจากการตรวจสอบตลาด ผ่านห้างเทสโก้ โลตัส มีการติดป้ายประกาศให้ประชาชนได้รับทราบว่า น้ำมันพืชบางยี่ห้ออาจขาดแคลน รวมถึงปลากระป๋องที่ระบุว่าจะให้ปรับขึ้นราคาอีก 1 - 2 บาทด้วย
อย่างไรก็ตาม นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส เทสโก้ โลตัส เปิดเผยว่า จากที่ได้รับข้อมูลจากสาขาต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยังไม่พบว่า มีการไปซื้อเพื่อกักตุนสินค้าอย่างผิดปกติแต่อย่างใด แต่ยอมรับว่า มีประชาชนบางส่วนที่เข้ามาซื้อในปริมาณ ๆ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพราะคนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นร้านค้ารายย่อยซึ่งซื้อมากเป็นประจำ
พร้อมกันนี้ เขายังยืนยันด้วยว่า จะบริหารสต๊อกสินค้าให้มีกระจายไปทั่วถึงผู้บริโภค ผ่านสาขาทั่วประเทศ และพร้อมดูแลไม่ให้น้ำมันพืช แบรนด์ " เทสโก้ " เอง ขาดแคลน โดยห้างเทสโก้ จะพยายามรักษาระดับราคาให้ต่ำกว่าท้องตลาด เพราะสินค้าของเทสโก้ ไม่มีต้นทุนสูงในเรื่องของประชาสัมพันธ์
http://www.moneychannel.co.th/BreakingN ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news11/01/08
โพสต์ที่ 124
ลุ้นอ้อยขั้นต้น ทะลุ800บาท อิงตลาดโลก
โพสต์ทูเดย์ แนวโน้มอ้อยขั้นต้นฤดูผลิตปี 51/52 มีสิทธิ์ถึง 800 บาท/ตัน รับอานิสงส์ราคาน้ำตาลตลาดโลกพุ่ง
นายวิบูลย์ ผาณิตวงศ์ รองประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย กล่าวว่า ราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิต 2551/52 จะได้ไม่ต่ำกว่า 800 บาท/ตัน เนื่องจากขณะนี้ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกเริ่มปรับตัวสูงขึ้น
ราคาขายล่วงหน้าปี 2552-2553 อยู่ที่ 13 เซนต์/ปอนด์ เมื่อรวมค่า พรีเมียมทำมีให้ราคากว่า 14 เซนต์/ปอนด์ เป็นการปรับเพิ่มขึ้นจาก ช่วงปี 2549 แม้ว่าเงินบาทจะแข็งค่าไปอยู่ที่ 31-32 บาท/เหรียญสหรัฐ ก็ตาม ราคาอ้อยขั้นต้นปี 2551/52 ยังคงเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ โดยจะมีอ้อยประมาณ 70 ล้านตัน
นายวิบูลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปีนี้ผู้ประกอบการได้ขายน้ำตาลล่วงหน้าไปแล้ว 82% ของปริมาณน้ำตาลทรายทั้งหมด 8 แสนตัน ซึ่งตอนทำสัญญาล่วงหน้าค่าเงินอยู่ที่ 34 บาท/เหรียญสหรัฐ แต่เมื่อส่งมอบน้ำตาลค่าเงินอยู่ที่ 33.10 บาท ทำให้เม็ดเงินหายไปจากระบบประมาณ 5 พัน ล้านบาท
ด้านนายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอล กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ออกกฎหมายว่าด้วยเอทานอล ให้ ผู้เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมและจัดการเรื่องเอทานอลอย่างจริงจัง กำหนดนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถแข่งในตลาดโลกได้ ตั้งแต่การ ผลิตไปจนถึงการใช้ประโยชน์ให้เหมาะสม
สำหรับราคาซื้อขายเอทานอลรอบใหม่ไตรมาส 1/2551 อ้างอิงอยู่ที่ระดับ 17.50 บาทต่อลิตร แต่ราคาซื้อขายจริงอยู่ที่ระดับ 14 บาทกว่าต่อลิตร เนื่องจากปริมาณเอทานอลเกินความต้องการในปัจจุบัน แต่หากมีการยกเลิกใช้เบนซิน 95 ก็จะทำให้กำลังผลิตพอดี
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=213953
โพสต์ทูเดย์ แนวโน้มอ้อยขั้นต้นฤดูผลิตปี 51/52 มีสิทธิ์ถึง 800 บาท/ตัน รับอานิสงส์ราคาน้ำตาลตลาดโลกพุ่ง
นายวิบูลย์ ผาณิตวงศ์ รองประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย กล่าวว่า ราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิต 2551/52 จะได้ไม่ต่ำกว่า 800 บาท/ตัน เนื่องจากขณะนี้ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกเริ่มปรับตัวสูงขึ้น
ราคาขายล่วงหน้าปี 2552-2553 อยู่ที่ 13 เซนต์/ปอนด์ เมื่อรวมค่า พรีเมียมทำมีให้ราคากว่า 14 เซนต์/ปอนด์ เป็นการปรับเพิ่มขึ้นจาก ช่วงปี 2549 แม้ว่าเงินบาทจะแข็งค่าไปอยู่ที่ 31-32 บาท/เหรียญสหรัฐ ก็ตาม ราคาอ้อยขั้นต้นปี 2551/52 ยังคงเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ โดยจะมีอ้อยประมาณ 70 ล้านตัน
นายวิบูลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปีนี้ผู้ประกอบการได้ขายน้ำตาลล่วงหน้าไปแล้ว 82% ของปริมาณน้ำตาลทรายทั้งหมด 8 แสนตัน ซึ่งตอนทำสัญญาล่วงหน้าค่าเงินอยู่ที่ 34 บาท/เหรียญสหรัฐ แต่เมื่อส่งมอบน้ำตาลค่าเงินอยู่ที่ 33.10 บาท ทำให้เม็ดเงินหายไปจากระบบประมาณ 5 พัน ล้านบาท
ด้านนายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอล กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ออกกฎหมายว่าด้วยเอทานอล ให้ ผู้เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมและจัดการเรื่องเอทานอลอย่างจริงจัง กำหนดนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถแข่งในตลาดโลกได้ ตั้งแต่การ ผลิตไปจนถึงการใช้ประโยชน์ให้เหมาะสม
สำหรับราคาซื้อขายเอทานอลรอบใหม่ไตรมาส 1/2551 อ้างอิงอยู่ที่ระดับ 17.50 บาทต่อลิตร แต่ราคาซื้อขายจริงอยู่ที่ระดับ 14 บาทกว่าต่อลิตร เนื่องจากปริมาณเอทานอลเกินความต้องการในปัจจุบัน แต่หากมีการยกเลิกใช้เบนซิน 95 ก็จะทำให้กำลังผลิตพอดี
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=213953
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news11/01/08
โพสต์ที่ 125
รัฐเผยสต็อกน้ำมันพืชขาดตลาด ขู่ห้ามส่งออก-นำเข้าจาก ตปท
พาณิชย์เตือนหากยังมีปัญหาการกักตุนน้ำมันปาล์มและถั่วเหลือง จะห้ามส่งออกและเปิดให้นำเข้าน้ำมันพืชทั้ง 2 ชนิดจากต่างประเทศทันที ยืนยันปริมาณน้ำมันพืชที่มีอยู่เพียงพอต่อการบริโภค หากไม่มีการกว้านซื้อหรือกักตุนสินค้า ทั้งนี้สั่งตรวจเข้มสต็อกหลังพบข้อมูลพ่อค้ารายใหญ่แอบกักตุนจนขาดแคลนตลาดอย่างหนัก ด้าน "เทสโก้ฯ" เผยยังมีสินค้าตุนไว้เพียบไม่มีขาด
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ยืนยันว่า ปริมาณปาล์มน้ำมันและน้ำมันพืชมีเพียงพอต่อการบริโภค เพราะขณะนี้สต็อกน้ำมันปาล์มดิบและถั่วเหลืองมีกว่า 120,000 ตัน และนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทน แต่สาเหตุที่ทำให้น้ำมันทั้ง 2 ประเภทขาดแคลน เนื่องจากผู้ประกอบการหรือผู้ค้าปลีกค้าส่งต้องการส่วนต่างราคา เพราะเห็นว่ากรมฯ จะอนุมัติให้ปรับราคาขายน้ำมัน และผู้บริโภคหวั่นวิตกว่าจะซื้อน้ำมันพืชและถั่วเหลืองในราคาสูงขึ้น จึงได้ซื้อเก็บไว้ปริมาณมาก ซึ่งได้สั่งการให้กรมการค้าภายในหารือกับผู้ผลิตและสมาคมน้ำมันพืชและน้ำมันถั่วเหลืองพรุ่งนี้ เพื่อหาทางออกไม่ให้มีการกักตุนหรือขาดแคลน ซึ่งคาดว่าผลการหารือน่าจะพอใจ
นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า วันที่ 16 มกราคมนี้ จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการ เพื่อแก้ไขปัญหาผลปาล์มดิบ ซึ่งจะมีการทบทวนและดูรายละเอียดต่างๆ หากสถานการณ์น้ำมันพืชและน้ำมันถั่วเหลืองยังมีการกักตุนหรือขาดแคลน กระทรวงพาณิชย์อาจใช้มาตรการระงับการส่งออกทั้งน้ำมันพืชและน้ำมันถั่วเหลือง และอาจให้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลืองจากต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ยังไม่ต้องการนำมาตรการดังกล่าวมาใช้ เนื่องจากอาจจะกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม แต่หากมีความจำเป็นก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้
อยากจะขอวิงวอนประชาชน อย่าเร่งซื้อหรือนำไปกักตุนไว้ เพราะจากปริมาณน้ำมันดิบที่มีกว่า 120,000 ตัน ถือว่าเพียงพอและมากกว่าเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา และเมื่อกรมการค้าภายในหารือกับสมาคมต่างๆพรุ่งนี้แล้ว ก็จะดำเนินการให้กรมฯ ออกตรวจเช็กสต็อกปริมาณน้ำมันปาล์มดิบว่ามีมากน้อยเพียงใด และปรับราคาขึ้นอย่างสมเหตุสมผลหรือไม่ หากทุกฝ่ายซื้อปกติไม่มีการกักตุนจะทำให้ปริมาณน้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลืองเพียงพอ นายศิริพล กล่าว
ด้านนายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ฯ ออกตรวจตราสต็อกสินค้าน้ำมันพืชทั้งในส่วนโรงงานและผู้ค้าทั่วประเทศ หลังพบข้อมูลและการร้องเรียนว่า มีการแอบกักตุนจนสินค้าขาดตลาด หลายยี่ห้อไม่มีวางจำหน่ายแล้ว โดยวันเสาร์ที่ 13 ม.ค.และวันอาทิตย์ที่ 14 ม.ค.นี้ จะออกตรวจสต็อกสินค้าในโรงงานน้ำมันพืชกลุ่มน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์มอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการกักตุนสินค้าจนเกิดเป็นสาเหตุให้สินค้าขาดตลาดในขณะนี้
โดยสาเหตุที่สินค้าขาดตลาด เบื้องต้นคาดว่า มาจากผู้ผลิตหันไปจำหน่ายน้ำมันพืชแบบปี๊บมากกว่าที่จะผลิตขายแบบขวดขนาด1 ลิตรเนื่องจากแบบปี๊บไม่มีราคาเพดานกำหนดไว้ ขณะที่น้ำมันพืชแบบขวดมีข้อจำกัดเรื่องราคาจำหน่ายไม่ให้เกินที่อนุญาตคือ น้ำมันถั่วเหลืองขาดละ 45.50 บาท และน้ำมันปาล์มขวดละ 43.50 บาท
ขณะเดียวกัน นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เทสโก้ โลตัส ระบุว่า จากข้อมูลที่รายงานจากสาขาของเทสโก้ทั่วประเทศ ไม่พบว่ามีการไปซื้อเพื่อกักตุนสินค้าอย่างผิดปกติแต่อย่างใด ส่วนประชาชนที่มาซื้อทีละจำนวนมากๆนั้น ส่วนใหญ่เป็นร้านค้ารายย่อยซึ่งซื้อมากเป็นประจำ และยืนยันว่าจะบริหารให้สินค้าที่มีในสต๊อกกระจายไปถึงผู้บริโภคผ่านสาขาของเทสโก้ โลตัส ทั่วประเทศ ขณะที่ยืนยันว่า น้ำมันพืชแบรนด์เทสโก้นั้นจะไม่ขาดแคลน และจะยังรักษาระดับราคาต่ำกว่าท้องตลาด เพราะสินค้าของเทสโก้ไม่มีต้นสูงในเรื่องของประชาสัมพันธ์
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... egoryId=16
พาณิชย์เตือนหากยังมีปัญหาการกักตุนน้ำมันปาล์มและถั่วเหลือง จะห้ามส่งออกและเปิดให้นำเข้าน้ำมันพืชทั้ง 2 ชนิดจากต่างประเทศทันที ยืนยันปริมาณน้ำมันพืชที่มีอยู่เพียงพอต่อการบริโภค หากไม่มีการกว้านซื้อหรือกักตุนสินค้า ทั้งนี้สั่งตรวจเข้มสต็อกหลังพบข้อมูลพ่อค้ารายใหญ่แอบกักตุนจนขาดแคลนตลาดอย่างหนัก ด้าน "เทสโก้ฯ" เผยยังมีสินค้าตุนไว้เพียบไม่มีขาด
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ยืนยันว่า ปริมาณปาล์มน้ำมันและน้ำมันพืชมีเพียงพอต่อการบริโภค เพราะขณะนี้สต็อกน้ำมันปาล์มดิบและถั่วเหลืองมีกว่า 120,000 ตัน และนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทน แต่สาเหตุที่ทำให้น้ำมันทั้ง 2 ประเภทขาดแคลน เนื่องจากผู้ประกอบการหรือผู้ค้าปลีกค้าส่งต้องการส่วนต่างราคา เพราะเห็นว่ากรมฯ จะอนุมัติให้ปรับราคาขายน้ำมัน และผู้บริโภคหวั่นวิตกว่าจะซื้อน้ำมันพืชและถั่วเหลืองในราคาสูงขึ้น จึงได้ซื้อเก็บไว้ปริมาณมาก ซึ่งได้สั่งการให้กรมการค้าภายในหารือกับผู้ผลิตและสมาคมน้ำมันพืชและน้ำมันถั่วเหลืองพรุ่งนี้ เพื่อหาทางออกไม่ให้มีการกักตุนหรือขาดแคลน ซึ่งคาดว่าผลการหารือน่าจะพอใจ
นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า วันที่ 16 มกราคมนี้ จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการ เพื่อแก้ไขปัญหาผลปาล์มดิบ ซึ่งจะมีการทบทวนและดูรายละเอียดต่างๆ หากสถานการณ์น้ำมันพืชและน้ำมันถั่วเหลืองยังมีการกักตุนหรือขาดแคลน กระทรวงพาณิชย์อาจใช้มาตรการระงับการส่งออกทั้งน้ำมันพืชและน้ำมันถั่วเหลือง และอาจให้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลืองจากต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ยังไม่ต้องการนำมาตรการดังกล่าวมาใช้ เนื่องจากอาจจะกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม แต่หากมีความจำเป็นก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้
อยากจะขอวิงวอนประชาชน อย่าเร่งซื้อหรือนำไปกักตุนไว้ เพราะจากปริมาณน้ำมันดิบที่มีกว่า 120,000 ตัน ถือว่าเพียงพอและมากกว่าเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา และเมื่อกรมการค้าภายในหารือกับสมาคมต่างๆพรุ่งนี้แล้ว ก็จะดำเนินการให้กรมฯ ออกตรวจเช็กสต็อกปริมาณน้ำมันปาล์มดิบว่ามีมากน้อยเพียงใด และปรับราคาขึ้นอย่างสมเหตุสมผลหรือไม่ หากทุกฝ่ายซื้อปกติไม่มีการกักตุนจะทำให้ปริมาณน้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลืองเพียงพอ นายศิริพล กล่าว
ด้านนายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ฯ ออกตรวจตราสต็อกสินค้าน้ำมันพืชทั้งในส่วนโรงงานและผู้ค้าทั่วประเทศ หลังพบข้อมูลและการร้องเรียนว่า มีการแอบกักตุนจนสินค้าขาดตลาด หลายยี่ห้อไม่มีวางจำหน่ายแล้ว โดยวันเสาร์ที่ 13 ม.ค.และวันอาทิตย์ที่ 14 ม.ค.นี้ จะออกตรวจสต็อกสินค้าในโรงงานน้ำมันพืชกลุ่มน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์มอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการกักตุนสินค้าจนเกิดเป็นสาเหตุให้สินค้าขาดตลาดในขณะนี้
โดยสาเหตุที่สินค้าขาดตลาด เบื้องต้นคาดว่า มาจากผู้ผลิตหันไปจำหน่ายน้ำมันพืชแบบปี๊บมากกว่าที่จะผลิตขายแบบขวดขนาด1 ลิตรเนื่องจากแบบปี๊บไม่มีราคาเพดานกำหนดไว้ ขณะที่น้ำมันพืชแบบขวดมีข้อจำกัดเรื่องราคาจำหน่ายไม่ให้เกินที่อนุญาตคือ น้ำมันถั่วเหลืองขาดละ 45.50 บาท และน้ำมันปาล์มขวดละ 43.50 บาท
ขณะเดียวกัน นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เทสโก้ โลตัส ระบุว่า จากข้อมูลที่รายงานจากสาขาของเทสโก้ทั่วประเทศ ไม่พบว่ามีการไปซื้อเพื่อกักตุนสินค้าอย่างผิดปกติแต่อย่างใด ส่วนประชาชนที่มาซื้อทีละจำนวนมากๆนั้น ส่วนใหญ่เป็นร้านค้ารายย่อยซึ่งซื้อมากเป็นประจำ และยืนยันว่าจะบริหารให้สินค้าที่มีในสต๊อกกระจายไปถึงผู้บริโภคผ่านสาขาของเทสโก้ โลตัส ทั่วประเทศ ขณะที่ยืนยันว่า น้ำมันพืชแบรนด์เทสโก้นั้นจะไม่ขาดแคลน และจะยังรักษาระดับราคาต่ำกว่าท้องตลาด เพราะสินค้าของเทสโก้ไม่มีต้นสูงในเรื่องของประชาสัมพันธ์
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... egoryId=16
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news11/01/08
โพสต์ที่ 126
แห่ทิ้งนาปลูกมันสำปะหลัง-รง.ซื้อไม่อั้น กระแสผลิต"เอทานอล"บูมตลาดอีสาน
กระแสเอทานอลบูมอีสาน ชาวบ้านแห่ทิ้งนาปลูกมัน อ้างกำไรเห็นๆ บ.อุบลเกษตรพลังงาน ของเครือข่ายตระกูลโควสุรัตน์ เตรียมรับซื้อไม่อั้น คาดเดินเครื่องภายใน 2 ปี ขณะที่นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังโคราชบอกกำลังซื้อพุ่ง วัตถุดิบขาดตลาด จี้รัฐช่วยเหลือด่วน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดอุบลราชธานีว่า ภายหลังการมาตั้งโรงงานผลิตเอทานอลของบริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด ซึ่งมีกำลังผลิตถึง 600,000 ลิตร/วัน ในพื้นที่กว่า 1,700 ไร่ ได้เกิดกระแสข่าวว่าโรงงานดังกล่าวต้องการหัวมันสำปะหลังจำนวนมาก ทำให้ชาวบ้านหันมาปลูกมันสำปะหลังส่งโรงงานมากขึ้น อีกทั้งยังเชื่อว่าราคาหัวมันจะพุ่งตามความต้องการของตลาด จึงทำให้ราคาท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง (ท่อนพันธุ์ยาวประมาณ 1-1.50 เมตร) พุ่งจากลำละ 0.50 บาท เป็น 1-2.5 บาท ในบางพื้นที่ของอำเภอเดชอุดมและพิบูลมังสาหาร และกิ่งอำเภอสว่างวีระวงศ์ ขณะที่โรงงานแห่งดังกล่าวใกล้เปิดดำเนินการ
นายสุรเชษฐ์ ยิ้มเกิด ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอลในพื้นที่บ้านหนองแปน ตำบลนาดี กิ่งอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี ว่า มีความคืบหน้ามากกว่า 90% โรงงานมีเนื้อที่กว่า 1,700 ไร่ แบ่งออกเป็นโกดัง ลานมัน โรงงานผลิตเอทานอล บ้านพัก พนักงาน เจ้าหน้าที่ รวมทั้งโรงงานบำบัดน้ำเสีย ตรงนี้มีความคืบหน้าไปมาก เหลือเป็นเพียงเก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ส่วนเครื่องจักรได้ปรับพื้นที่สำหรับรอการติดตั้ง คาดว่าจะเดินเครื่องได้ภายใน 2 ปี
นายสุรเชษฐ์เปิดเผยว่า โรงงานแห่งนี้เป็นมิตรกับวิ่งแวดล้อม คือในสายพานการผลิตจะไม่มีขยะเหลือใช้ ทุกอย่างจะนำกลับมาใช้อีก เช่น กาก น้ำเสีย จะนำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ในโรงงาน แม้แต่น้ำหยดสุดท้ายของสายพานการผลิตยังนำหมุนวนมาใช้ในพื้นที่โรงงาน ไม่มีของเสียหลุดลอดออกจากโรงงาน และไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อม
ส่วนความพร้อมในการรับซื้อหัวมันสดจาก ชาวบ้านนั้น คาดว่าจะเป็นกลางปีนี้ หรือประมาณเดือนพฤษภาคม เพราะเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวหัวมันของชาวบ้าน เรื่องราคาเป็นไปตามตลาด ทางองค์การคลังสินค้า (อคส.) กำหนดไว้ ปีนี้อยู่ที่ 1.70 บาท/ก.ก. ขณะที่ตลาดทั่วไปจะอยู่ที่ 1.50-1.60 บาท/ก.ก.เท่านั้น
"ส่วนหัวมันพันธุ์ห้วยบง 60 ที่ไปแนะนำชาวบ้านปลูกและที่บริษัททดลองปลูกในพื้นที่กว่า 2 หมี่นไร่ เป้าหมายมากกว่า 2 แสนไร่รอบโรงงาน ประสบผลสำเร็จมาก คือ ได้หัวมันโตกว่าปลูกในแหล่งอื่น เชื่อว่าตามเป้าหมายแล้วน่าจะเพียงพอกับความต้องการของโรงงาน เป้าหมายคือ 5,000 ตัน/วัน เอทานอล 600,000 ลิตร/วัน" นายสุรเชษฐ์กล่าว
แหล่งข่าวจากบริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด เปิดเผยว่า วัตถุดิบที่ใช้ในโรงงานมาจาก 2 ส่วน คือ โรงงานปลูกเอง ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วกว่า 2.5 หมื่นไร่ และมาจากชาวบ้านที่ปลูกหลังฤดูทำนาในพื้นที่จังหวัดอุบลฯ และจังหวัด ข้างเคียง เช่น ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ มุกดาหาร
นายอุดม พิณทอง ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองแปน เปิดเผยว่า การเข้ามาตั้งโรงงานผลิตเอทานอลของบริษัท อุบลเกษตร พลังงาน จำกัด ห่างจากโรงเรียนประมาณ 1.5 กิโลเมตร เจ้าหน้าที่จากโรงงานมาอธิบายว่ามีระบบการป้องกันและบำบัดของเสียแบบรีไซเคิล ไม่มีของเหลือจากการผลิตหลุดออกมาจากโรงงาน ยกเว้นอาจจะมีกลิ่นของหัวมันบ้าง แต่ไม่มากไม่มีผลกระทบ
อย่างไรก็ตามทราบว่าทางบริษัทได้เข้ามากว้านซื้อที่ดิน ที่สวน ที่ไร่ ที่นา จากชาวบ้านไปกว่า 80% บางรายเหลือเพียงที่ปลูกเรือนในหมู่บ้านเท่านั้น ชาวบ้านที่ขายนาแล้วส่วนหนึ่งจะผันตัวเองเข้าไปรับจ้างปลูกและดูแลมันให้กับบริษัท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด จดทะเบียนวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 ทุน 250 ล้านบาท ประกอบกิจการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร ที่ตั้งเลขที่ 299 หมู่ที่ 9 ตำบลนาดี กิ่งอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี มีนางสาวน้ำฝน เขตนิมิตร เป็นกรรมการ
นางสาวน้ำฝนเป็นกรรมการอีก 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท ส.เขมราฐอินดัสตรี้ จำกัด รับเหมาก่อสร้าง มีคนตระกูลโควสุรัตน์ถือหุ้นใหญ่ และบริษัท อุบลธัญชาติ จำกัด กิจการโรงสีข้าว
ด้าน จ.นครราชสีมา นายสมชัย ศรีตระกูล นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปีนี้ราคามันสำปะหลังค่อนข้างราคาดี ช่วงนี้มัน สำปะหลังออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูการเพาะปลูก และมีโรงงานผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงแล้ว 1 แห่ง คือ บริษัท เคไอ เอทานอล จำกัด ผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาล เดินเครื่องเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2550 มีกำลังการผลิต 100,000 ลิตรต่อวัน และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 1 แห่ง คือ บริษัท ที พี เค เอทานอล จำกัด ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงาน มีกำลังการผลิต 340,000 ลิตรต่อวัน นอกจากนี้ยังมียื่นขอรับการสนับสนุนจากศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 นครราชสีมา อีกประมาณ 5 ราย
"ตอนนี้โรงงานเอทานอลต้องเตรียมวัตถุดิบที่จะป้อนเข้าไปในโรงงาน แต่วันนี้มีปัญหาวัตถุดิบมันสำปะหลังไม่พอต่อความต้องการของตลาด ใช้ได้จริงๆ 50% ของเครื่องจักร วัตถุดิบไม่พอต่อความต้องการของตลาดไม่ว่าจีน ยุโรป มีความต้องการจากไทยค่อนข้างสูง ดังนั้นรัฐบาลควรเข้ามาเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน" นายสมชัยกล่าว
นายทศพล ตันติวงษ์ ประธานกรรมการ บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์มันสำปะหลังในปัจจุบันวัตถุดิบยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เกษตรกรถอนมันไม่ทันซึ่งราคาสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 2 บาท สำหรับการแย่งชิงลูกค้าหน้าลานมันนั้นยังไม่มีเหตุการณ์ขึ้น เพราะถ้าให้ราคาสูงเกษตรกรก็จะนำเข้ามาเอง ใครให้ราคาดีเกษตรกรจะนำมาขายให้กับรายนั้นๆ ปัจจุบันผู้ประกอบการจะต่างคนต่างขาย ขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้ประกอบการเอง
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0211
กระแสเอทานอลบูมอีสาน ชาวบ้านแห่ทิ้งนาปลูกมัน อ้างกำไรเห็นๆ บ.อุบลเกษตรพลังงาน ของเครือข่ายตระกูลโควสุรัตน์ เตรียมรับซื้อไม่อั้น คาดเดินเครื่องภายใน 2 ปี ขณะที่นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังโคราชบอกกำลังซื้อพุ่ง วัตถุดิบขาดตลาด จี้รัฐช่วยเหลือด่วน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดอุบลราชธานีว่า ภายหลังการมาตั้งโรงงานผลิตเอทานอลของบริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด ซึ่งมีกำลังผลิตถึง 600,000 ลิตร/วัน ในพื้นที่กว่า 1,700 ไร่ ได้เกิดกระแสข่าวว่าโรงงานดังกล่าวต้องการหัวมันสำปะหลังจำนวนมาก ทำให้ชาวบ้านหันมาปลูกมันสำปะหลังส่งโรงงานมากขึ้น อีกทั้งยังเชื่อว่าราคาหัวมันจะพุ่งตามความต้องการของตลาด จึงทำให้ราคาท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง (ท่อนพันธุ์ยาวประมาณ 1-1.50 เมตร) พุ่งจากลำละ 0.50 บาท เป็น 1-2.5 บาท ในบางพื้นที่ของอำเภอเดชอุดมและพิบูลมังสาหาร และกิ่งอำเภอสว่างวีระวงศ์ ขณะที่โรงงานแห่งดังกล่าวใกล้เปิดดำเนินการ
นายสุรเชษฐ์ ยิ้มเกิด ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอลในพื้นที่บ้านหนองแปน ตำบลนาดี กิ่งอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี ว่า มีความคืบหน้ามากกว่า 90% โรงงานมีเนื้อที่กว่า 1,700 ไร่ แบ่งออกเป็นโกดัง ลานมัน โรงงานผลิตเอทานอล บ้านพัก พนักงาน เจ้าหน้าที่ รวมทั้งโรงงานบำบัดน้ำเสีย ตรงนี้มีความคืบหน้าไปมาก เหลือเป็นเพียงเก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ส่วนเครื่องจักรได้ปรับพื้นที่สำหรับรอการติดตั้ง คาดว่าจะเดินเครื่องได้ภายใน 2 ปี
นายสุรเชษฐ์เปิดเผยว่า โรงงานแห่งนี้เป็นมิตรกับวิ่งแวดล้อม คือในสายพานการผลิตจะไม่มีขยะเหลือใช้ ทุกอย่างจะนำกลับมาใช้อีก เช่น กาก น้ำเสีย จะนำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ในโรงงาน แม้แต่น้ำหยดสุดท้ายของสายพานการผลิตยังนำหมุนวนมาใช้ในพื้นที่โรงงาน ไม่มีของเสียหลุดลอดออกจากโรงงาน และไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อม
ส่วนความพร้อมในการรับซื้อหัวมันสดจาก ชาวบ้านนั้น คาดว่าจะเป็นกลางปีนี้ หรือประมาณเดือนพฤษภาคม เพราะเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวหัวมันของชาวบ้าน เรื่องราคาเป็นไปตามตลาด ทางองค์การคลังสินค้า (อคส.) กำหนดไว้ ปีนี้อยู่ที่ 1.70 บาท/ก.ก. ขณะที่ตลาดทั่วไปจะอยู่ที่ 1.50-1.60 บาท/ก.ก.เท่านั้น
"ส่วนหัวมันพันธุ์ห้วยบง 60 ที่ไปแนะนำชาวบ้านปลูกและที่บริษัททดลองปลูกในพื้นที่กว่า 2 หมี่นไร่ เป้าหมายมากกว่า 2 แสนไร่รอบโรงงาน ประสบผลสำเร็จมาก คือ ได้หัวมันโตกว่าปลูกในแหล่งอื่น เชื่อว่าตามเป้าหมายแล้วน่าจะเพียงพอกับความต้องการของโรงงาน เป้าหมายคือ 5,000 ตัน/วัน เอทานอล 600,000 ลิตร/วัน" นายสุรเชษฐ์กล่าว
แหล่งข่าวจากบริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด เปิดเผยว่า วัตถุดิบที่ใช้ในโรงงานมาจาก 2 ส่วน คือ โรงงานปลูกเอง ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วกว่า 2.5 หมื่นไร่ และมาจากชาวบ้านที่ปลูกหลังฤดูทำนาในพื้นที่จังหวัดอุบลฯ และจังหวัด ข้างเคียง เช่น ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ มุกดาหาร
นายอุดม พิณทอง ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองแปน เปิดเผยว่า การเข้ามาตั้งโรงงานผลิตเอทานอลของบริษัท อุบลเกษตร พลังงาน จำกัด ห่างจากโรงเรียนประมาณ 1.5 กิโลเมตร เจ้าหน้าที่จากโรงงานมาอธิบายว่ามีระบบการป้องกันและบำบัดของเสียแบบรีไซเคิล ไม่มีของเหลือจากการผลิตหลุดออกมาจากโรงงาน ยกเว้นอาจจะมีกลิ่นของหัวมันบ้าง แต่ไม่มากไม่มีผลกระทบ
อย่างไรก็ตามทราบว่าทางบริษัทได้เข้ามากว้านซื้อที่ดิน ที่สวน ที่ไร่ ที่นา จากชาวบ้านไปกว่า 80% บางรายเหลือเพียงที่ปลูกเรือนในหมู่บ้านเท่านั้น ชาวบ้านที่ขายนาแล้วส่วนหนึ่งจะผันตัวเองเข้าไปรับจ้างปลูกและดูแลมันให้กับบริษัท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด จดทะเบียนวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 ทุน 250 ล้านบาท ประกอบกิจการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร ที่ตั้งเลขที่ 299 หมู่ที่ 9 ตำบลนาดี กิ่งอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี มีนางสาวน้ำฝน เขตนิมิตร เป็นกรรมการ
นางสาวน้ำฝนเป็นกรรมการอีก 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท ส.เขมราฐอินดัสตรี้ จำกัด รับเหมาก่อสร้าง มีคนตระกูลโควสุรัตน์ถือหุ้นใหญ่ และบริษัท อุบลธัญชาติ จำกัด กิจการโรงสีข้าว
ด้าน จ.นครราชสีมา นายสมชัย ศรีตระกูล นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปีนี้ราคามันสำปะหลังค่อนข้างราคาดี ช่วงนี้มัน สำปะหลังออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูการเพาะปลูก และมีโรงงานผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงแล้ว 1 แห่ง คือ บริษัท เคไอ เอทานอล จำกัด ผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาล เดินเครื่องเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2550 มีกำลังการผลิต 100,000 ลิตรต่อวัน และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 1 แห่ง คือ บริษัท ที พี เค เอทานอล จำกัด ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงาน มีกำลังการผลิต 340,000 ลิตรต่อวัน นอกจากนี้ยังมียื่นขอรับการสนับสนุนจากศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 นครราชสีมา อีกประมาณ 5 ราย
"ตอนนี้โรงงานเอทานอลต้องเตรียมวัตถุดิบที่จะป้อนเข้าไปในโรงงาน แต่วันนี้มีปัญหาวัตถุดิบมันสำปะหลังไม่พอต่อความต้องการของตลาด ใช้ได้จริงๆ 50% ของเครื่องจักร วัตถุดิบไม่พอต่อความต้องการของตลาดไม่ว่าจีน ยุโรป มีความต้องการจากไทยค่อนข้างสูง ดังนั้นรัฐบาลควรเข้ามาเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน" นายสมชัยกล่าว
นายทศพล ตันติวงษ์ ประธานกรรมการ บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์มันสำปะหลังในปัจจุบันวัตถุดิบยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เกษตรกรถอนมันไม่ทันซึ่งราคาสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 2 บาท สำหรับการแย่งชิงลูกค้าหน้าลานมันนั้นยังไม่มีเหตุการณ์ขึ้น เพราะถ้าให้ราคาสูงเกษตรกรก็จะนำเข้ามาเอง ใครให้ราคาดีเกษตรกรจะนำมาขายให้กับรายนั้นๆ ปัจจุบันผู้ประกอบการจะต่างคนต่างขาย ขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้ประกอบการเอง
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0211
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news11/01/08
โพสต์ที่ 127
พาณิชย์ไฟเขียวให้นำเข้าน้ำมันปาล์มจากมาเลย์6หมื่นตัน แก้ปัญหาขาดแคลนในปท.
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กรมฯได้หารือกับผู้ค้าน้ำมันพืชและเห็นชอบร่วมกันว่าให้เปิดให้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มสกัดจากประเทศมาเลเซียจำนวน 6 หมื่นตัน โดยให้องค์การคลังสินค้า(อคส.)นำเข้าครั้งละ 2 หมื่นตัน 3ช่วงเวลาตามความเหมาะสม เพื่อเติมเต็มปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มให้พอเพียงกับความต้องการใช้ภายในประเทศ
นายรรยงกล่าวต่อว่า จากการเช็กสต็อกล่าสุดมีปริมาณน้ำมันปาล์มในสต็อกเพียง 8 หมื่นตัน ขณะที่สต็อกที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ 1.4-1.5 แสนตัน ดังนั้นจึงต้องเสนอให้มีการนำเข้า โดยจะนำความเห็นนี้เสนอคณะกรรมการนโยบายพืชน้ำมันที่มีนายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พิจารณาให้ความเห็นชอบอีกครั้ง
http://matichon.co.th/prachachat/news_title.php?id=1143
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กรมฯได้หารือกับผู้ค้าน้ำมันพืชและเห็นชอบร่วมกันว่าให้เปิดให้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มสกัดจากประเทศมาเลเซียจำนวน 6 หมื่นตัน โดยให้องค์การคลังสินค้า(อคส.)นำเข้าครั้งละ 2 หมื่นตัน 3ช่วงเวลาตามความเหมาะสม เพื่อเติมเต็มปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มให้พอเพียงกับความต้องการใช้ภายในประเทศ
นายรรยงกล่าวต่อว่า จากการเช็กสต็อกล่าสุดมีปริมาณน้ำมันปาล์มในสต็อกเพียง 8 หมื่นตัน ขณะที่สต็อกที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ 1.4-1.5 แสนตัน ดังนั้นจึงต้องเสนอให้มีการนำเข้า โดยจะนำความเห็นนี้เสนอคณะกรรมการนโยบายพืชน้ำมันที่มีนายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พิจารณาให้ความเห็นชอบอีกครั้ง
http://matichon.co.th/prachachat/news_title.php?id=1143
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news11/01/08
โพสต์ที่ 128
ธุรกิจจัดทัพรับสินค้าเกษตรรุ่ง "เงินผ่อน-ประกัน"ปูพรมรากหญ้า
ธุรกิจลุ้น ราคาพืชผลเกษตร โดยเฉพาะกลุ่มพืชพลังงานพุ่งทะยานต่อตลอดปี 2551 ปลุกกำลังซื้อระดับรากหญ้ากระเตื้อง ซิงเกอร์-อิออน เชื่อลูกค้าเริ่มฟื้น พร้อมดันกิจกรรมตลาดช่วยหนุนความมั่นใจ ค่ายเมืองไทยประกันชีวิตเดินหน้าลุยตลาดระดับล่างต่อ ราคาปาล์มน้ำมันยังวิ่งทำสถิติใหม่หลังไบโอดีเซลบูมไม่หยุด
"ซิงเกอร์" โหม ตจว.
นายบุญยง ตันสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เศรษฐกิจปีนี้แม้ว่าจะไม่ดีมากนักแต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าดีขึ้นกว่าปีก่อน เพราะมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่ส่งสัญญาณที่เป็นบวก
ทั้งการเลือกตั้งที่ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ และเอื้อต่อการลงทุน หรือเข้ามาทำกิจกรรมทางการตลาดของธุรกิจต่างๆ รวมทั้งปัจจัยภายในประเทศเองที่ปีนี้แนวโน้มของราคาพืชผลทางการเกษตรที่มีราคาดีขึ้น อาทิ ข้าว ยางพารา หรือแม้แต่มันสำปะหลัง ที่มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นจากกระแสการผลิตแก๊สโซฮอล์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนน้ำมัน
เมื่อเทียบกับการทำตลาดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ที่ผู้บริหารซิงเกอร์มองว่าปีนี้เป็นโอกาสที่ดีของธุรกิจสินเชื่อเงินผ่อน เพราะยิ่งภาวะตลาดไม่ดีเท่าไร ลูกค้าจะมองหาสินค้าที่ราคาไม่สูงนักและสามารถผ่อนชำระได้นานมากขึ้น
"ภาพเศรษฐกิจโดยรวมแม้ว่ากำลังซื้อในภาคการเกษตรจะดี แต่ในส่วนของโรงงานและอุตสาหกรรมต่างๆ ยังไม่ดีมากนัก เพราะค่าเงินบาทที่แข็งตัวทำให้การแข่งขันในตลาดส่งออกไม่ดีนัก แรงงานส่วนใหญ่ก็กลับไปบ้านเกิดหรือท้องถิ่น ซึ่งตรงนี้เป็นโอกาสสำหรับซิงเกอร์"
นายบุญยงกล่าวว่า แนวทางหลักของซิงเกอร์ต่อจากนี้ไป คือ การกลับมาให้ความสำคัญที่ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก และตั้งเป้าที่จะเพิ่มทีมขายขึ้นมาอีกเท่าตัว จากปัจจุบันมีพนักงานขายแล้ว 5,000 คนทั่วประเทศ โดยบริษัทจะเพิ่มสวัสดิการและเงื่อนไขที่จูงใจให้คนเข้ามาร่วมทีมกับบริษัทในการขยายธุรกิจ
นอกจากนี้ ยังได้วางสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละภูมิภาค ซึ่งภาคอีสานยังคงเป็นฐานลูกค้าที่ทำรายได้หลักให้กับบริษัท โดยสินค้าที่คาดว่าจะมีความต้องการมากที่สุดในกลุ่มต่างจังหวัดที่เป็นฐานหลักของซิงเกอร์ คือ เครื่องซักผ้า และตู้เย็น
อิออนลุ้นราคาพืชผลดี-ผู้บริโภคมั่นใจ
ขณะที่นายอภิชาติ นันทเทิม กรรมการบริหาร บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แม้จะเห็นสัญญาณที่ดีในแง่ของราคาพืชผลทางการเกษตรหลายอย่างที่ดีขึ้น และจะทำให้เกษตรกรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมีรายได้และมีกำลังซื้อที่สูงขึ้น แต่โดยส่วนตัวยังมองว่าจะยังไม่มีผลโดยตรงกับธุรกิจคอนซูเมอร์ไฟแนนซ์ โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อหรือเงินผ่อน เนื่องจากการที่ผู้บริโภคจะจับจ่ายใช้สอยเพิ่มนั้น สิ่งสำคัญที่จะต้องเกิดขึ้นก่อนก็คือ เรื่องของความั่นใจ แต่ตอนนี้หากพิจารณาลงไปในรายละเอียดจะเป็นว่า ขณะที่มีปัจจัยบวกเข้ามาดังกล่าว แต่ก็ยังมีปัจจัยลบรวมอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลที่ยังไม่ลงตัว หรือราคาน้ำมันในตลาดที่ยังมีทิศทางการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตรงนี้สิ่งที่จะตามมาก็คือ ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
"หลังจากที่รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ และเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณได้คล่องตัวขึ้น หรือมีการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ มีการแก้กฎหมายเพื่อดึงดูดหรือจูงใจการลงทุนจากต่างประเทศ ฯลฯ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้เกิดความมั่นใจ และกว่าจะเกิดตรงนี้ได้ก็คาดว่าน่าจะผ่านครึ่งปีไปแล้ว" นายอภิชาติกล่าว
ประกันชีวิตสบช่องบุกรากหญ้า
นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงการทำตลาดประกันชีวิตในกลุ่มลูกค้ารากหญ้าในปีนี้ว่า บริษัทจะเน้นขายกรมธรรม์คล้ายฌาปนกิจสงเคราะห์ โดยมีระดับทุนประกันให้เลือกตั้งแต่ 50,000-150,000 บาท โดยบริษัทคำนวณมูลค่าความคุ้มครองจากความสามารถในการจ่ายเบี้ยของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งเห็นว่าเมื่อลูกค้ามีรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะมีความสามารถในการซื้อประกันในวงเงินทุนประกันที่สูงขึ้นได้เช่นกัน โดยปีนี้บริษัทได้ขยายวงเงินของทุนประกันเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่กำหนดระดับ 50,000-100,000 บาท
"การทำตลาดรากหญ้าจะเน้นที่ความคุ้มครองเป็นส่วนใหญ่ และมีประเภทออมเป็นส่วนน้อย ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้จะมีค่าใช้จ่ายจำกัด และแต่ละพื้นที่ก็จะมีความสามารถชำระต่างกัน บางพื้นที่อาจมีกำลังจ่ายเบี้ยในระดับที่ได้ทุนประกันเพียง 100,000 บาท แต่ถ้าเป็นพื้นที่หรือช่วงเวลาที่ผลผลิตได้ราคาดี ลูกค้าก็จะมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ทุนประกันก็จะสูงขึ้นได้ ทางบริษัทจึงต้องจัดเป็นช่วงของทุนประกันเอาไว้ให้ลูกค้าเลือก" นายสาระกล่าว
เกษตรฯฟันธงพืชพลังงานแจ่ม
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานข่าวการสัมมนา "สถานการณ์แนวโน้มสินค้าเกษตรที่สำคัญปี 2551" โดยนายพินิจ กอศรีพร รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวถึงทิศทางราคาสินค้าเกษตรปีนี้ จะมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น เนื่องจากกลุ่มพืชพลังงานทดแทนมีความต้องการใช้มากขึ้น อาทิ กลุ่มข้าวโพด, ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, มันสำปะหลัง, อ้อย และปาล์มน้ำมัน
การปรับราคาขึ้นของกลุ่มพืชพลังงานทดแทน เป็นผลโดยตรงจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ปรับขึ้นถึง 100 เหรียญ/บาร์เรล และทรงตัวอยู่ในเกณฑ์สูงมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกษตรกรมีทางเลือกในการปลูกพืชสำหรับผลิตพลังงานทดแทน ทั้งมันสำปะหลัง อ้อย และน้ำมันปาล์ม มากขึ้น
"ในส่วนของน้ำมันปาล์มนั้น จะต้องใช้เวลาในการปลูก 4 ปีกว่าจะได้ผลผลิต ขณะนี้ราคาผลปาล์มดิบปรับสูงขึ้นถึงระดับ 5-6 บาท จากเดิมที่เคยอยู่เพียง 2-3 บาท เมื่อราคาผลปาล์มสูงขึ้นก็ต้องมีการปรับราคาน้ำมันปาล์มสำหรับการบริโภคด้วย ซึ่งผู้บริโภคต้องยอมรับ ในส่วนกระทรวงเกษตรฯได้เร่งวางแผนร่วมกับกระทรวงพลังงานในการเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยมีแผนจะเพิ่มพื้นที่ 400,000-500,000 ไร่/ปี เป็นระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้ได้พื้นที่ปลูก 2.5 ล้านไร่ เพื่อให้สามารถครอบคลุมความต้องการสำหรับการผลิตไบโอดีเซล ตามแผน B 2 ของกระทรวงพลังงาน" นายพินิจกล่าว
เตือนต้นทุนเพิ่มทุกด้าน
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กระทรวงเกษตรฯเป็นห่วงก็คือ ปัญหาค่าครองชีพ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากราคาน้ำมัน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าต่างๆ เพิ่มขึ้น รวมถึงวัสดุทางการเกษตร โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี ซึ่งจะมีผลทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการเพาะปลูกลดลง แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรจะเพิ่มขึ้น
ประกอบกับการคาดการณ์ระดับ "เงินเฟ้อ" ของกระทรวงพาณิชย์ในปีนี้อยู่ที่ระดับ 3% ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของเกษตรกร แม้ราคาสินค้ากลุ่มพืชพลังงานจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ต้นทุนการผลิตก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทั้งราคาปุ๋ย-วัสดุทางการเกษตร ก็จะกระทบกับราคาอาหารสัตว์ ซึ่งอาจจะจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาเช่นกัน
สำหรับแนวโน้มสินค้าปาล์มน้ำมันปีนี้ คาดว่าทั่วโลกจะผลิตได้ 40.20 ล้านตัน จาก 37.02 ล้านตัน ความต้องการใช้ทั่วโลก 39.53 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.13 จากปีก่อน ซึ่งมี 36.90 ล้านตัน การส่งออกทั่วโลก 29.11 สต๊อกคงเหลือ 2.98 ล้านตัน โดยราคาในตลาดโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 3,000-3,100 ริงกิต/ตัน เพราะมาเลเซีย-อินโดนีเซีย มีข้อจำกัดในเรื่องการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยในส่วนของไทย ผลิตได้ 8.35 ล้านตัน มีความต้องการใช้เพื่อการบริโภค 920,000 ตัน และเป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล 370,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.06 และร้อยละ 164.29 ทำให้ราคาผลปาล์มดิบคาดว่าจะอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 4 บาทต่อ/กิโลกรัม
ด้านแหล่งข่าวจากวงการน้ำตาลทรายให้ความเห็นว่า ไทยควรเพิ่มสัดส่วนพื้นที่ปลูกพืชพลังงาน โดยเฉพาะอ้อย กับปาล์มน้ำมัน โดยปรับลดสัดส่วนพื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคกลางบางจุดลงประมาณ 2 ไร่ และหันมาปลูกปาล์มน้ำมันแทน เพราะพื้นที่ส่วนนี้มีความเหมาะสมในการปลูกปาล์มน้ำมัน และลดสัดส่วนพื้นที่ปลูกข้าวทางนาดอนในภาคเหนือและภาคอีสานบางจุดลง เพื่อเพิ่มสัดส่วนการปลูกอ้อย ทำให้มีพื้นที่ปลูกปาล์มเพิ่มขึ้น 2 ล้านไร่ และอ้อย 8 ล้านไร่ จะส่งผลให้ไทยมีปริมาณพืชสำหรับใช้ผลิตพลังงานทดแทนเบนซินได้ 100%
"อ้อยไม่ใช้วัตถุดิบสำหรับผลิตน้ำตาลเป็นอาหารอย่างเดียวแล้ว อย่างในบราซิล มีการปลูกอ้อย 460 ล้านตัน ซึ่งสัดส่วนร้อยละ 50 ของผลผลิตนำไปใช้ผลิตเอทานอล และมีแนวโน้มจะเพิ่มถึงร้อยละ 55 ในด้านรายได้ของเกษตรกร อ้อย 700 บาท ได้เอทานอล 15 บาท/ลิตร ถ้าอ้อย 800 บาท ได้ 18 บาท/ลิตร หากไทยใช้ผลิตเอทานอลได้ประมาณร้อยละ 50 ของการขนส่งเหมือนบราซิลจะช่วยประหยัดเงิน 1.5 แสนล้านบาทต่อปี"
ด้านนายเจน วงศ์บุญสิน นายกสมาคมผู้ค้ามันสำปะหลัง กล่าวว่า ขณะนี้ราคามันสำปะหลังสดอยู่ที่ 2 บาทเศษ/กิโลกรัม ส่วนราคามันสำปะหลังสดในปีนี้เฉลี่ยทั้งปีจะไม่ต่ำกว่า 1.50 บาท/กิโลกรัม เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้มันสำปะหลังเพิ่มขึ้นทั้งการผลิตเป็นมันเม็ด/มันเส้นส่งออก กับการนำมันไปผลิตเป็นเอทานอล โดยในปีนี้จะมีผลผลิตประมาณ 30 ล้านตัน มากกว่าปริมาณผลผลิตในปีก่อนที่ 26.9 ล้านตัน
โดยเฉพาะในด้านพลังงาน หากปีนี้มีโรงงานเอทานอลเปิดเพิ่มขึ้นเป็น 4 โรง จะส่งผลให้ความต้องการมันสำปะหลังปลายปีเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านตัน ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้น เพราะอาร์เจนตินาประสบปัญหาภัยแล้งทำให้ราคาข้าวโพด ถั่วเหลือง เพิ่มขึ้น และในตลาดสหภาพยุโรปไทยมีโควตาส่งออกผลิตภัณฑ์มันเม็ดมันเส้นปีละ 5 ล้านตัน เป็นเวลา 4 ปี แต่ปีก่อนไทยส่งออกตามโควตาได้เพียง 1.6 ล้านตัน
"ปัจจัยเสี่ยงของการส่งออกมันยังคงอยู่ที่อัตราแลกเปลี่ยน หากเงินบาทปรับแข็งค่า 30 บาท/เหรียญสหรัฐ จะทำให้รายได้หายไปร้อยละ 10 ส่วนการที่ปีก่อนไทยได้ราคามันสำปะหลังดีเพราะราคาธัญพืชมีราคาสูงขึ้น" นายเจนกล่าว
ปัจจัยเสี่ยงบาทแข็ง-น้ำมันแพง
ล่าสุดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้คาดการณ์สถานการณ์และแนวโน้มสินค้าเกษตรปี 2551 จากผลกระทบที่กรณีราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกปรับสูงขึ้นระหว่าง 30-32 บาท/ลิตร ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรต่อไร่เพิ่มขึ้นทุกกลุ่มสินค้า ประกอบไปด้วย 1)ข้าวนาปี จาก 305 บาท/ไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 360-384 บาท/ไร่ ข้าวนาปรัง เพิ่มขึ้นจาก 433 บาท/ไร่ เป็น 510-544 บาท/ไร่ หรือหากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็นลิตรละ 30 บาท จะทำให้รายได้ของเกษตรกร "ลดลง" 135 บาท
2)ข้าวโพด ส่วนที่เป็นน้ำมันต้นทุนไร่ละ 267-285 บาท/ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 9-10 ทำให้มีราคาเฉลี่ยประมาณ 7 บาท/กิโลกรัม 3)ถั่วเหลือง ผลผลิตลดลงด้วย และได้รบผลกระทบจากราคาน้ำมันทำให้ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4.8 ราคาที่เกษตรกรได้ระหว่าง 10.58-11.62 บาท/กิโลกรัม 4)อ้อย ทั้งต้นทุนและพื้นที่ปลูกลดลงด้วย ทำให้ผลผลิตปี 2551/2552 มีประมาณ 66-70 ล้านตัน ราคาเฉลี่ยประมาณ 700 เหรียญสหรัฐ และ 5)มันสำปะหลังมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจาก 246 บาท/ไร่ เป็น 289-310 บาท/ไร่
นอกจากนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรยังได้ประเมินผลกระทบต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตร กรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนปรับแข็งค่าขึ้น พบว่าหากอัตราแลกเปลี่ยนปรับแข็งค่าขึ้น 1 บาท จะทำให้ราคาส่งออกข้าวในรูปเงินบาท "ลดลง" ร้อยละ 1.45 และกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันจนอาจจะทำให้การส่งออกข้าวไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้ที่ 8.75 ล้านตัน มูลค่า 3,325 ล้านบาท
ส่วนมันสำปะหลัง จะมีรายได้ลดลงร้อยละ 3 หากบาทแข็งจาก 37 บาท เป็น 34 บาท และอ้อยจะมีรายได้ลดลงประมาณ 5 พันล้านบาท จาก 4.7 หมื่นล้านบาท เหลือ 4.3 ล้านบาท เป็นต้น
ปาล์มน้ำมันราคาพุ่งไม่หยุด
นายวิศาล จันทร์ทิพย์ ผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้ราคาผลปาล์มน้ำมันได้มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา ราคาได้ปรับตัวไปอยู่ที่กิโลกรัมละ 6.20 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงที่สุดในประวัติการณ์ และอาจจะมีการปรับราคาสูงขึ้นไปอีก โดยสาเหตุหลักในขณะนี้ คือ ความต้องการใช้น้ำมันมีเพิ่มสูงขึ้น โดยพืชน้ำมันทุกชนิดได้ปรับราคาสูงขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันถั่วเหลือง ที่ขณะนี้ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท ส่วนน้ำมันปาล์มปี๊บราคาอยู่ที่ 36 บาทต่อกิโลกรัม
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของไบโอดีเซล ที่ขณะนี้ผู้จำหน่ายน้ำมันรายใหญ่อย่าง ปตท. และบางจากฯ เริ่มลงพื้นที่ติดต่อซื้อน้ำมันปาล์มดิบเพื่อเริ่มกระบวนการผลิตไบโอดีเซลในช่วงเดือนเมษายน 2551 ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบขยับสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาผลปาล์มปรับตัวขึ้นไป นอกจากนั้นก็มีผลมาจากการที่ผู้ประกอบการจำหน่ายน้ำมันพืชปรุงอาหารขอปรับราคาขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี 2551 ซึ่งสูงขึ้นถึงขวดละ 6 บาท สิ่งเหล่านี้ทำให้ราคาผลปาล์มน้ำมันปรับราคาสูงขึ้น
นายวิศาลกล่าวอีกว่า แม้ราคาผลปาล์มจะมีการปรับราคาสูงขึ้น แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงหลังจากนี้คือ ราคาที่อาจร่วงลงมาอย่างมาก หากมีการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศ เพราะราคาน้ำมันปาล์มที่ประเทศมาเลเซียถูกกว่าไทยถึงกิโลกรัมละ 4 บาท อย่างไรก็ตาม แม้ราคาปาล์มจะสูงแต่สิ่งที่ตามมาในขณะนี้คือราคาปุ๋ย เป็นต้นทุนที่สูงขึ้นตามมา เช่น ปุ๋ยปาล์มที่นิยมกัน ในปีที่ผ่านมามีราคากระสอบละ 500-600 บาท แต่ขณะนี้เพิ่มขึ้นเป็น 1,000-1,200 บาท
"โคราช" ดี๊ด๊ามันสำปะหลังราคาพุ่ง
นายพงษ์ศิริ กุสุมภ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า จังหวัดนครราชสีมามีสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรเป็นแกนหลักของจังหวัด มีพื้นที่การเพาะปลูกมากกว่า 13 ล้านไร่ แบ่งเป็นมันสำปะหลัง 2.5 ล้านไร่ อ้อย 3 ล้านไร่ ข้าว 4.5 ล้านไร่ และข้าวโพด 3 ล้านไร่ ในแต่ละปีทำมูลค่ามหาศาลให้เกษตรกร โดยเฉพาะช่วงนี้ราคาสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมันสำปะหลังที่มีราคาสูงถึง 2.20 บาท ทำให้อนาคตของพืชเกษตรและพืชเศรษฐกิจของนครราชสีมาแจ่มใสมากขึ้น ดังนั้นจึงควรผลักดันให้เกษตรกรไม่แต่ในนครราชสีมารวมกลุ่มจังหวัดที่มียุทธศาสตร์อยู่แล้ว เช่น กลุ่มนครชัยบุรินทร์ ประกอบด้วยนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ให้มียุทธศาสตร์เดียวกันในการพัฒนาสินค้า
ด้านนายยงยุทธ ไชยปัญหา พาณิชย์จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผย ประชาชาติธุรกิจ ว่า ปัจจุบันภาวะสินค้าเกษตรมีราคาที่สูงขึ้นทุกประเภท โดยเฉพาะมันสำปะหลัง เนื่องจากกลุ่มประเทศในแถบยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ไม่สามารถผลิตพืชเกษตรได้ทัน และยังต้องการมันสำปะหลังอีกกว่า 26 ล้านตัน แต่ปัจจุบันนครราชสีมาไม่สามารถเพิ่มผลผลิตได้ตามที่ตลาดโลกและตลาดในประเทศต้องการ ทั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมาเป็นหน่วยงานหลักในการตั้งกลุ่มคลัสเตอร์มันสำปะหลัง ซึ่งขณะนี้โรงงานแป้งมันสามารถเดินเครื่องได้เพียง 50% เท่านั้น เนื่องจากวัตถุดิบไม่เพียงพอ
และในต้นปีนี้จะมีโรงงานเอทานอลเกิดขึ้นใหม่อีก 1 แห่ง ชื่อบริษัท ทีพีเคเอทานอล จำกัด ใช้เงินลงทุนมากกว่า 4,000 ล้านบาท กำลังการผลิต 100,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งต้องใช้มันสำปะหลังเป็นจำนวนมากจะทำให้เกิดการแย่งชิงสินค้ามากขึ้น และราคาแพงขึ้นด้วย
ตลาดวัสดุภูธรยังทรงตัว
นายอภิรัตน์ ศิริพรพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายขายห้างหุ้นส่วนจำกัดพุเตยก่อสร้าง ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างในอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า นับตั้งแต่ช่วงปีใหม่การขายวัสดุก่อสร้างในจังหวัดเพชรบูรณ์ยังคงทรงตัว
แม้ว่าในภาพรวมมีการคาดการณ์กันว่าการเก็บเกี่ยวพืชผลการเกษตรได้มากขึ้นในปี 2550 จะกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายเงินเพื่อปรับปรุงซ่อมแซม เพราะราคาพืชผลการเกษตรหลักๆ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ไม่ได้ดีขึ้น ได้แก่ ราคารับซื้อขายอ้อยจากปีที่ผ่านมาตันละกว่า 800 บาท ปัจจุบันลดเหลือตันละกว่า 600 บาท ส่วนข้าวก็เก็บเกี่ยวได้ไม่ดีนัก ยกเว้นข้าวโพดที่ราคาดีขึ้นบ้าง ส่วนกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการก็ไม่ได้มียอดรายได้ดีขึ้น เนื่องจากนับตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาราคาวัสดุก่อสร้างหลักบางตัว ได้แก่ เหล็กเส้น ปูนซีเมนต์ ปรับตัวสูงขึ้นมากทำให้ผู้รับเหมาไม่ค่อยกล้าเสนอราคาในการประมูลงาน
จับตา กนง.ประชุมเงินเฟ้อ 16 ม.ค.นี้
ในวันที่ 16 ม.ค.นี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะประชุมเพื่อพิจารณาภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะต่อไป เพื่อกำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม พร้อมกับทบทวนสมมติฐานที่มีผลต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในอีก 8 ไตรมาสข้างหน้า โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ผันผวน เพื่อออกรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือน ม.ค.2551
สำหรับรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อล่าสุดเดือน ต.ค.2550 คณะกรรมการได้ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไว้ที่ 4.5-6% ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะขยายตัว 1.5-2.8% และเงินเฟ้อพื้นฐาน 1-2%
โดยมีสมมติฐานที่สำคัญ คือ ได้ประเมินผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาก๊าซในเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา และที่จะทยอยปรับเพิ่มขึ้นอีกในเดือน ม.ค.2551 รวมถึงราคาสินค้าที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปีนี้ด้วย ซึ่ง ธปท.คาดว่าไม่น่ามีผลกระทบต่อเงินเฟ้อมาก เนื่องจากราคาก๊าซมีน้ำหนักในตะกร้าสินค้าที่คำนวณเงินเฟ้อน้อยมากไม่ถึง 1% ส่วนราคาสินค้าอื่นๆ ที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นหลังจากอั้นราคามานานนั้น ก็ดำเนินการช้ากว่าที่ ธปท.คาดการณ์ไว้
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0201
ธุรกิจลุ้น ราคาพืชผลเกษตร โดยเฉพาะกลุ่มพืชพลังงานพุ่งทะยานต่อตลอดปี 2551 ปลุกกำลังซื้อระดับรากหญ้ากระเตื้อง ซิงเกอร์-อิออน เชื่อลูกค้าเริ่มฟื้น พร้อมดันกิจกรรมตลาดช่วยหนุนความมั่นใจ ค่ายเมืองไทยประกันชีวิตเดินหน้าลุยตลาดระดับล่างต่อ ราคาปาล์มน้ำมันยังวิ่งทำสถิติใหม่หลังไบโอดีเซลบูมไม่หยุด
"ซิงเกอร์" โหม ตจว.
นายบุญยง ตันสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เศรษฐกิจปีนี้แม้ว่าจะไม่ดีมากนักแต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าดีขึ้นกว่าปีก่อน เพราะมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่ส่งสัญญาณที่เป็นบวก
ทั้งการเลือกตั้งที่ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ และเอื้อต่อการลงทุน หรือเข้ามาทำกิจกรรมทางการตลาดของธุรกิจต่างๆ รวมทั้งปัจจัยภายในประเทศเองที่ปีนี้แนวโน้มของราคาพืชผลทางการเกษตรที่มีราคาดีขึ้น อาทิ ข้าว ยางพารา หรือแม้แต่มันสำปะหลัง ที่มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นจากกระแสการผลิตแก๊สโซฮอล์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนน้ำมัน
เมื่อเทียบกับการทำตลาดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ที่ผู้บริหารซิงเกอร์มองว่าปีนี้เป็นโอกาสที่ดีของธุรกิจสินเชื่อเงินผ่อน เพราะยิ่งภาวะตลาดไม่ดีเท่าไร ลูกค้าจะมองหาสินค้าที่ราคาไม่สูงนักและสามารถผ่อนชำระได้นานมากขึ้น
"ภาพเศรษฐกิจโดยรวมแม้ว่ากำลังซื้อในภาคการเกษตรจะดี แต่ในส่วนของโรงงานและอุตสาหกรรมต่างๆ ยังไม่ดีมากนัก เพราะค่าเงินบาทที่แข็งตัวทำให้การแข่งขันในตลาดส่งออกไม่ดีนัก แรงงานส่วนใหญ่ก็กลับไปบ้านเกิดหรือท้องถิ่น ซึ่งตรงนี้เป็นโอกาสสำหรับซิงเกอร์"
นายบุญยงกล่าวว่า แนวทางหลักของซิงเกอร์ต่อจากนี้ไป คือ การกลับมาให้ความสำคัญที่ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก และตั้งเป้าที่จะเพิ่มทีมขายขึ้นมาอีกเท่าตัว จากปัจจุบันมีพนักงานขายแล้ว 5,000 คนทั่วประเทศ โดยบริษัทจะเพิ่มสวัสดิการและเงื่อนไขที่จูงใจให้คนเข้ามาร่วมทีมกับบริษัทในการขยายธุรกิจ
นอกจากนี้ ยังได้วางสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละภูมิภาค ซึ่งภาคอีสานยังคงเป็นฐานลูกค้าที่ทำรายได้หลักให้กับบริษัท โดยสินค้าที่คาดว่าจะมีความต้องการมากที่สุดในกลุ่มต่างจังหวัดที่เป็นฐานหลักของซิงเกอร์ คือ เครื่องซักผ้า และตู้เย็น
อิออนลุ้นราคาพืชผลดี-ผู้บริโภคมั่นใจ
ขณะที่นายอภิชาติ นันทเทิม กรรมการบริหาร บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แม้จะเห็นสัญญาณที่ดีในแง่ของราคาพืชผลทางการเกษตรหลายอย่างที่ดีขึ้น และจะทำให้เกษตรกรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมีรายได้และมีกำลังซื้อที่สูงขึ้น แต่โดยส่วนตัวยังมองว่าจะยังไม่มีผลโดยตรงกับธุรกิจคอนซูเมอร์ไฟแนนซ์ โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อหรือเงินผ่อน เนื่องจากการที่ผู้บริโภคจะจับจ่ายใช้สอยเพิ่มนั้น สิ่งสำคัญที่จะต้องเกิดขึ้นก่อนก็คือ เรื่องของความั่นใจ แต่ตอนนี้หากพิจารณาลงไปในรายละเอียดจะเป็นว่า ขณะที่มีปัจจัยบวกเข้ามาดังกล่าว แต่ก็ยังมีปัจจัยลบรวมอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลที่ยังไม่ลงตัว หรือราคาน้ำมันในตลาดที่ยังมีทิศทางการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตรงนี้สิ่งที่จะตามมาก็คือ ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
"หลังจากที่รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ และเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณได้คล่องตัวขึ้น หรือมีการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ มีการแก้กฎหมายเพื่อดึงดูดหรือจูงใจการลงทุนจากต่างประเทศ ฯลฯ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้เกิดความมั่นใจ และกว่าจะเกิดตรงนี้ได้ก็คาดว่าน่าจะผ่านครึ่งปีไปแล้ว" นายอภิชาติกล่าว
ประกันชีวิตสบช่องบุกรากหญ้า
นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงการทำตลาดประกันชีวิตในกลุ่มลูกค้ารากหญ้าในปีนี้ว่า บริษัทจะเน้นขายกรมธรรม์คล้ายฌาปนกิจสงเคราะห์ โดยมีระดับทุนประกันให้เลือกตั้งแต่ 50,000-150,000 บาท โดยบริษัทคำนวณมูลค่าความคุ้มครองจากความสามารถในการจ่ายเบี้ยของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งเห็นว่าเมื่อลูกค้ามีรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะมีความสามารถในการซื้อประกันในวงเงินทุนประกันที่สูงขึ้นได้เช่นกัน โดยปีนี้บริษัทได้ขยายวงเงินของทุนประกันเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่กำหนดระดับ 50,000-100,000 บาท
"การทำตลาดรากหญ้าจะเน้นที่ความคุ้มครองเป็นส่วนใหญ่ และมีประเภทออมเป็นส่วนน้อย ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้จะมีค่าใช้จ่ายจำกัด และแต่ละพื้นที่ก็จะมีความสามารถชำระต่างกัน บางพื้นที่อาจมีกำลังจ่ายเบี้ยในระดับที่ได้ทุนประกันเพียง 100,000 บาท แต่ถ้าเป็นพื้นที่หรือช่วงเวลาที่ผลผลิตได้ราคาดี ลูกค้าก็จะมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ทุนประกันก็จะสูงขึ้นได้ ทางบริษัทจึงต้องจัดเป็นช่วงของทุนประกันเอาไว้ให้ลูกค้าเลือก" นายสาระกล่าว
เกษตรฯฟันธงพืชพลังงานแจ่ม
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานข่าวการสัมมนา "สถานการณ์แนวโน้มสินค้าเกษตรที่สำคัญปี 2551" โดยนายพินิจ กอศรีพร รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวถึงทิศทางราคาสินค้าเกษตรปีนี้ จะมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น เนื่องจากกลุ่มพืชพลังงานทดแทนมีความต้องการใช้มากขึ้น อาทิ กลุ่มข้าวโพด, ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, มันสำปะหลัง, อ้อย และปาล์มน้ำมัน
การปรับราคาขึ้นของกลุ่มพืชพลังงานทดแทน เป็นผลโดยตรงจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ปรับขึ้นถึง 100 เหรียญ/บาร์เรล และทรงตัวอยู่ในเกณฑ์สูงมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกษตรกรมีทางเลือกในการปลูกพืชสำหรับผลิตพลังงานทดแทน ทั้งมันสำปะหลัง อ้อย และน้ำมันปาล์ม มากขึ้น
"ในส่วนของน้ำมันปาล์มนั้น จะต้องใช้เวลาในการปลูก 4 ปีกว่าจะได้ผลผลิต ขณะนี้ราคาผลปาล์มดิบปรับสูงขึ้นถึงระดับ 5-6 บาท จากเดิมที่เคยอยู่เพียง 2-3 บาท เมื่อราคาผลปาล์มสูงขึ้นก็ต้องมีการปรับราคาน้ำมันปาล์มสำหรับการบริโภคด้วย ซึ่งผู้บริโภคต้องยอมรับ ในส่วนกระทรวงเกษตรฯได้เร่งวางแผนร่วมกับกระทรวงพลังงานในการเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยมีแผนจะเพิ่มพื้นที่ 400,000-500,000 ไร่/ปี เป็นระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้ได้พื้นที่ปลูก 2.5 ล้านไร่ เพื่อให้สามารถครอบคลุมความต้องการสำหรับการผลิตไบโอดีเซล ตามแผน B 2 ของกระทรวงพลังงาน" นายพินิจกล่าว
เตือนต้นทุนเพิ่มทุกด้าน
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กระทรวงเกษตรฯเป็นห่วงก็คือ ปัญหาค่าครองชีพ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากราคาน้ำมัน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าต่างๆ เพิ่มขึ้น รวมถึงวัสดุทางการเกษตร โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี ซึ่งจะมีผลทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการเพาะปลูกลดลง แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรจะเพิ่มขึ้น
ประกอบกับการคาดการณ์ระดับ "เงินเฟ้อ" ของกระทรวงพาณิชย์ในปีนี้อยู่ที่ระดับ 3% ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของเกษตรกร แม้ราคาสินค้ากลุ่มพืชพลังงานจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ต้นทุนการผลิตก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทั้งราคาปุ๋ย-วัสดุทางการเกษตร ก็จะกระทบกับราคาอาหารสัตว์ ซึ่งอาจจะจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาเช่นกัน
สำหรับแนวโน้มสินค้าปาล์มน้ำมันปีนี้ คาดว่าทั่วโลกจะผลิตได้ 40.20 ล้านตัน จาก 37.02 ล้านตัน ความต้องการใช้ทั่วโลก 39.53 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.13 จากปีก่อน ซึ่งมี 36.90 ล้านตัน การส่งออกทั่วโลก 29.11 สต๊อกคงเหลือ 2.98 ล้านตัน โดยราคาในตลาดโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 3,000-3,100 ริงกิต/ตัน เพราะมาเลเซีย-อินโดนีเซีย มีข้อจำกัดในเรื่องการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยในส่วนของไทย ผลิตได้ 8.35 ล้านตัน มีความต้องการใช้เพื่อการบริโภค 920,000 ตัน และเป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล 370,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.06 และร้อยละ 164.29 ทำให้ราคาผลปาล์มดิบคาดว่าจะอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 4 บาทต่อ/กิโลกรัม
ด้านแหล่งข่าวจากวงการน้ำตาลทรายให้ความเห็นว่า ไทยควรเพิ่มสัดส่วนพื้นที่ปลูกพืชพลังงาน โดยเฉพาะอ้อย กับปาล์มน้ำมัน โดยปรับลดสัดส่วนพื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคกลางบางจุดลงประมาณ 2 ไร่ และหันมาปลูกปาล์มน้ำมันแทน เพราะพื้นที่ส่วนนี้มีความเหมาะสมในการปลูกปาล์มน้ำมัน และลดสัดส่วนพื้นที่ปลูกข้าวทางนาดอนในภาคเหนือและภาคอีสานบางจุดลง เพื่อเพิ่มสัดส่วนการปลูกอ้อย ทำให้มีพื้นที่ปลูกปาล์มเพิ่มขึ้น 2 ล้านไร่ และอ้อย 8 ล้านไร่ จะส่งผลให้ไทยมีปริมาณพืชสำหรับใช้ผลิตพลังงานทดแทนเบนซินได้ 100%
"อ้อยไม่ใช้วัตถุดิบสำหรับผลิตน้ำตาลเป็นอาหารอย่างเดียวแล้ว อย่างในบราซิล มีการปลูกอ้อย 460 ล้านตัน ซึ่งสัดส่วนร้อยละ 50 ของผลผลิตนำไปใช้ผลิตเอทานอล และมีแนวโน้มจะเพิ่มถึงร้อยละ 55 ในด้านรายได้ของเกษตรกร อ้อย 700 บาท ได้เอทานอล 15 บาท/ลิตร ถ้าอ้อย 800 บาท ได้ 18 บาท/ลิตร หากไทยใช้ผลิตเอทานอลได้ประมาณร้อยละ 50 ของการขนส่งเหมือนบราซิลจะช่วยประหยัดเงิน 1.5 แสนล้านบาทต่อปี"
ด้านนายเจน วงศ์บุญสิน นายกสมาคมผู้ค้ามันสำปะหลัง กล่าวว่า ขณะนี้ราคามันสำปะหลังสดอยู่ที่ 2 บาทเศษ/กิโลกรัม ส่วนราคามันสำปะหลังสดในปีนี้เฉลี่ยทั้งปีจะไม่ต่ำกว่า 1.50 บาท/กิโลกรัม เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้มันสำปะหลังเพิ่มขึ้นทั้งการผลิตเป็นมันเม็ด/มันเส้นส่งออก กับการนำมันไปผลิตเป็นเอทานอล โดยในปีนี้จะมีผลผลิตประมาณ 30 ล้านตัน มากกว่าปริมาณผลผลิตในปีก่อนที่ 26.9 ล้านตัน
โดยเฉพาะในด้านพลังงาน หากปีนี้มีโรงงานเอทานอลเปิดเพิ่มขึ้นเป็น 4 โรง จะส่งผลให้ความต้องการมันสำปะหลังปลายปีเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านตัน ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้น เพราะอาร์เจนตินาประสบปัญหาภัยแล้งทำให้ราคาข้าวโพด ถั่วเหลือง เพิ่มขึ้น และในตลาดสหภาพยุโรปไทยมีโควตาส่งออกผลิตภัณฑ์มันเม็ดมันเส้นปีละ 5 ล้านตัน เป็นเวลา 4 ปี แต่ปีก่อนไทยส่งออกตามโควตาได้เพียง 1.6 ล้านตัน
"ปัจจัยเสี่ยงของการส่งออกมันยังคงอยู่ที่อัตราแลกเปลี่ยน หากเงินบาทปรับแข็งค่า 30 บาท/เหรียญสหรัฐ จะทำให้รายได้หายไปร้อยละ 10 ส่วนการที่ปีก่อนไทยได้ราคามันสำปะหลังดีเพราะราคาธัญพืชมีราคาสูงขึ้น" นายเจนกล่าว
ปัจจัยเสี่ยงบาทแข็ง-น้ำมันแพง
ล่าสุดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้คาดการณ์สถานการณ์และแนวโน้มสินค้าเกษตรปี 2551 จากผลกระทบที่กรณีราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกปรับสูงขึ้นระหว่าง 30-32 บาท/ลิตร ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรต่อไร่เพิ่มขึ้นทุกกลุ่มสินค้า ประกอบไปด้วย 1)ข้าวนาปี จาก 305 บาท/ไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 360-384 บาท/ไร่ ข้าวนาปรัง เพิ่มขึ้นจาก 433 บาท/ไร่ เป็น 510-544 บาท/ไร่ หรือหากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็นลิตรละ 30 บาท จะทำให้รายได้ของเกษตรกร "ลดลง" 135 บาท
2)ข้าวโพด ส่วนที่เป็นน้ำมันต้นทุนไร่ละ 267-285 บาท/ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 9-10 ทำให้มีราคาเฉลี่ยประมาณ 7 บาท/กิโลกรัม 3)ถั่วเหลือง ผลผลิตลดลงด้วย และได้รบผลกระทบจากราคาน้ำมันทำให้ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4.8 ราคาที่เกษตรกรได้ระหว่าง 10.58-11.62 บาท/กิโลกรัม 4)อ้อย ทั้งต้นทุนและพื้นที่ปลูกลดลงด้วย ทำให้ผลผลิตปี 2551/2552 มีประมาณ 66-70 ล้านตัน ราคาเฉลี่ยประมาณ 700 เหรียญสหรัฐ และ 5)มันสำปะหลังมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจาก 246 บาท/ไร่ เป็น 289-310 บาท/ไร่
นอกจากนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรยังได้ประเมินผลกระทบต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตร กรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนปรับแข็งค่าขึ้น พบว่าหากอัตราแลกเปลี่ยนปรับแข็งค่าขึ้น 1 บาท จะทำให้ราคาส่งออกข้าวในรูปเงินบาท "ลดลง" ร้อยละ 1.45 และกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันจนอาจจะทำให้การส่งออกข้าวไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้ที่ 8.75 ล้านตัน มูลค่า 3,325 ล้านบาท
ส่วนมันสำปะหลัง จะมีรายได้ลดลงร้อยละ 3 หากบาทแข็งจาก 37 บาท เป็น 34 บาท และอ้อยจะมีรายได้ลดลงประมาณ 5 พันล้านบาท จาก 4.7 หมื่นล้านบาท เหลือ 4.3 ล้านบาท เป็นต้น
ปาล์มน้ำมันราคาพุ่งไม่หยุด
นายวิศาล จันทร์ทิพย์ ผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้ราคาผลปาล์มน้ำมันได้มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา ราคาได้ปรับตัวไปอยู่ที่กิโลกรัมละ 6.20 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงที่สุดในประวัติการณ์ และอาจจะมีการปรับราคาสูงขึ้นไปอีก โดยสาเหตุหลักในขณะนี้ คือ ความต้องการใช้น้ำมันมีเพิ่มสูงขึ้น โดยพืชน้ำมันทุกชนิดได้ปรับราคาสูงขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันถั่วเหลือง ที่ขณะนี้ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท ส่วนน้ำมันปาล์มปี๊บราคาอยู่ที่ 36 บาทต่อกิโลกรัม
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของไบโอดีเซล ที่ขณะนี้ผู้จำหน่ายน้ำมันรายใหญ่อย่าง ปตท. และบางจากฯ เริ่มลงพื้นที่ติดต่อซื้อน้ำมันปาล์มดิบเพื่อเริ่มกระบวนการผลิตไบโอดีเซลในช่วงเดือนเมษายน 2551 ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบขยับสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาผลปาล์มปรับตัวขึ้นไป นอกจากนั้นก็มีผลมาจากการที่ผู้ประกอบการจำหน่ายน้ำมันพืชปรุงอาหารขอปรับราคาขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี 2551 ซึ่งสูงขึ้นถึงขวดละ 6 บาท สิ่งเหล่านี้ทำให้ราคาผลปาล์มน้ำมันปรับราคาสูงขึ้น
นายวิศาลกล่าวอีกว่า แม้ราคาผลปาล์มจะมีการปรับราคาสูงขึ้น แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงหลังจากนี้คือ ราคาที่อาจร่วงลงมาอย่างมาก หากมีการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศ เพราะราคาน้ำมันปาล์มที่ประเทศมาเลเซียถูกกว่าไทยถึงกิโลกรัมละ 4 บาท อย่างไรก็ตาม แม้ราคาปาล์มจะสูงแต่สิ่งที่ตามมาในขณะนี้คือราคาปุ๋ย เป็นต้นทุนที่สูงขึ้นตามมา เช่น ปุ๋ยปาล์มที่นิยมกัน ในปีที่ผ่านมามีราคากระสอบละ 500-600 บาท แต่ขณะนี้เพิ่มขึ้นเป็น 1,000-1,200 บาท
"โคราช" ดี๊ด๊ามันสำปะหลังราคาพุ่ง
นายพงษ์ศิริ กุสุมภ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า จังหวัดนครราชสีมามีสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรเป็นแกนหลักของจังหวัด มีพื้นที่การเพาะปลูกมากกว่า 13 ล้านไร่ แบ่งเป็นมันสำปะหลัง 2.5 ล้านไร่ อ้อย 3 ล้านไร่ ข้าว 4.5 ล้านไร่ และข้าวโพด 3 ล้านไร่ ในแต่ละปีทำมูลค่ามหาศาลให้เกษตรกร โดยเฉพาะช่วงนี้ราคาสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมันสำปะหลังที่มีราคาสูงถึง 2.20 บาท ทำให้อนาคตของพืชเกษตรและพืชเศรษฐกิจของนครราชสีมาแจ่มใสมากขึ้น ดังนั้นจึงควรผลักดันให้เกษตรกรไม่แต่ในนครราชสีมารวมกลุ่มจังหวัดที่มียุทธศาสตร์อยู่แล้ว เช่น กลุ่มนครชัยบุรินทร์ ประกอบด้วยนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ให้มียุทธศาสตร์เดียวกันในการพัฒนาสินค้า
ด้านนายยงยุทธ ไชยปัญหา พาณิชย์จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผย ประชาชาติธุรกิจ ว่า ปัจจุบันภาวะสินค้าเกษตรมีราคาที่สูงขึ้นทุกประเภท โดยเฉพาะมันสำปะหลัง เนื่องจากกลุ่มประเทศในแถบยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ไม่สามารถผลิตพืชเกษตรได้ทัน และยังต้องการมันสำปะหลังอีกกว่า 26 ล้านตัน แต่ปัจจุบันนครราชสีมาไม่สามารถเพิ่มผลผลิตได้ตามที่ตลาดโลกและตลาดในประเทศต้องการ ทั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมาเป็นหน่วยงานหลักในการตั้งกลุ่มคลัสเตอร์มันสำปะหลัง ซึ่งขณะนี้โรงงานแป้งมันสามารถเดินเครื่องได้เพียง 50% เท่านั้น เนื่องจากวัตถุดิบไม่เพียงพอ
และในต้นปีนี้จะมีโรงงานเอทานอลเกิดขึ้นใหม่อีก 1 แห่ง ชื่อบริษัท ทีพีเคเอทานอล จำกัด ใช้เงินลงทุนมากกว่า 4,000 ล้านบาท กำลังการผลิต 100,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งต้องใช้มันสำปะหลังเป็นจำนวนมากจะทำให้เกิดการแย่งชิงสินค้ามากขึ้น และราคาแพงขึ้นด้วย
ตลาดวัสดุภูธรยังทรงตัว
นายอภิรัตน์ ศิริพรพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายขายห้างหุ้นส่วนจำกัดพุเตยก่อสร้าง ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างในอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า นับตั้งแต่ช่วงปีใหม่การขายวัสดุก่อสร้างในจังหวัดเพชรบูรณ์ยังคงทรงตัว
แม้ว่าในภาพรวมมีการคาดการณ์กันว่าการเก็บเกี่ยวพืชผลการเกษตรได้มากขึ้นในปี 2550 จะกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายเงินเพื่อปรับปรุงซ่อมแซม เพราะราคาพืชผลการเกษตรหลักๆ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ไม่ได้ดีขึ้น ได้แก่ ราคารับซื้อขายอ้อยจากปีที่ผ่านมาตันละกว่า 800 บาท ปัจจุบันลดเหลือตันละกว่า 600 บาท ส่วนข้าวก็เก็บเกี่ยวได้ไม่ดีนัก ยกเว้นข้าวโพดที่ราคาดีขึ้นบ้าง ส่วนกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการก็ไม่ได้มียอดรายได้ดีขึ้น เนื่องจากนับตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาราคาวัสดุก่อสร้างหลักบางตัว ได้แก่ เหล็กเส้น ปูนซีเมนต์ ปรับตัวสูงขึ้นมากทำให้ผู้รับเหมาไม่ค่อยกล้าเสนอราคาในการประมูลงาน
จับตา กนง.ประชุมเงินเฟ้อ 16 ม.ค.นี้
ในวันที่ 16 ม.ค.นี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะประชุมเพื่อพิจารณาภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะต่อไป เพื่อกำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม พร้อมกับทบทวนสมมติฐานที่มีผลต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในอีก 8 ไตรมาสข้างหน้า โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ผันผวน เพื่อออกรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือน ม.ค.2551
สำหรับรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อล่าสุดเดือน ต.ค.2550 คณะกรรมการได้ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไว้ที่ 4.5-6% ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะขยายตัว 1.5-2.8% และเงินเฟ้อพื้นฐาน 1-2%
โดยมีสมมติฐานที่สำคัญ คือ ได้ประเมินผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาก๊าซในเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา และที่จะทยอยปรับเพิ่มขึ้นอีกในเดือน ม.ค.2551 รวมถึงราคาสินค้าที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปีนี้ด้วย ซึ่ง ธปท.คาดว่าไม่น่ามีผลกระทบต่อเงินเฟ้อมาก เนื่องจากราคาก๊าซมีน้ำหนักในตะกร้าสินค้าที่คำนวณเงินเฟ้อน้อยมากไม่ถึง 1% ส่วนราคาสินค้าอื่นๆ ที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นหลังจากอั้นราคามานานนั้น ก็ดำเนินการช้ากว่าที่ ธปท.คาดการณ์ไว้
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0201
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news11/01/08
โพสต์ที่ 129
บาททุบซ้ำภาคเกษตร + ทำนิวไฮรอบ 6 เดือน/แบงก์ชาติขยับดูแล/สมาคมข้าวจับตาใกล้ชิด
เปิดศักราชปีหนู ภาคส่งออกไทยออกสตาร์ทไม่สวย สัปดาห์แรกของปีเงินบาทกลับมาแข็งค่าสุดในรอบ 6 เดือนที่ 33.27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซ้ำยังเคลื่อนไหวเร็ว ขณะที่ค่าเงินในภูมิภาคทั้งเปโซฟิลิปปินส์ และดอลลาร์สิงคโปร์ต่างพากันทำสถิติแข็งค่าสุด คาดเงินทุนไหลเข้าแน่ พ่อค้าตัดใจโค้ดราคาแตะ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐลดความเสี่ยง ติงแบงก์ชาติอยู่เฉยไม่ได้ หากแข็งค่ากว่านี้กระทบวงกว้างถึงรากหญ้าแน่ สศก.วิเคราะห์ค่าเงินบาทแข็งค่าถึง 30 บาท รายได้เกษตรกรวูบ
ปัญหาเสถียรภาพของค่าเงินบาทที่ผู้ส่งออกกังวลมากที่สุด เริ่มกระทบตั้งแต่ต้นปี 2551 ซึ่งผ่านมาเพียงสัปดาห์เดียว ( 2-8 มกราคม 2551) ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก็ทำสถิตินิวไฮในรอบ 6 เดือน โดยเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2551 เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 33.31-33.34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 33.27-33.29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือแข็งค่าขึ้นจากเมื่อต้นปีมาแล้วประมาณ 40 สตางค์ (จากที่เปิดตลาดเมื่อวันที่ 2 มกราคมที่ระดับ 33.69-33.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 33.59-33.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) ท่ามกลางการคาดการณ์ของนักบริหารในตลาดเงิน ที่มองแนวโน้มค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง และมีโอกาสหลุดระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ไปอยู่ที่ระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551
สาเหตุสำคัญของเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นดังกล่าว มาจากแนวโน้มของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่า และเศรษฐกิจสหรัฐที่เข้าสู่ภาวะชะลอตัว ประกอบกับสถานการณ์ซับไพร์มที่ยังส่งผลกระทบไม่สิ้นสุด ทำให้นักลงทุนเทขายดอลลาร์เพื่อลดความเสี่ยง ขณะเดียวกันก็หันไปลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์อื่น เช่น น้ำมัน และทองคำ แทนการถือดอลลาร์ ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลก และราคาทองคำ หลังจากที่เปิดปี 2551 ได้ปรับราคาทำนิวไฮ โดยราคาน้ำมันทะลุ 100ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2551 และราคาทองคำสูงสุดในรอบ 28 ปีที่ระดับ 865 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2551
+++บาทแข็งค่าตามสกุลเงินภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาคเอเชีย ยังเป็นการปรับตัวแข็งค่าขึ้นในทิศทางเดียวกันทั้งภูมิภาค โดยหากนับจากปลายปี 2550 จนถึงปัจจุบันเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นประมาณ 1.17% ดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าขึ้น 0.43% ริงกิตของมาเลเซียแข็งค่าขึ้น 1.07% เงินเปโซของฟิลิปินส์ แข็งค่าขึ้น 1.55% และเยนเทียบดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น 1.68% ขณะที่เงินหยวนของจีนแข็งค่าขึ้นเพียง 0.48 % อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 8 มกราคม ซึ่งค่าเงินบาทต่อดอลลาร์เคลื่อนไหวแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 เดือนนั้น ค่าเงินเปโซของฟิลิปปินส์ ก็ปรับแข็งค่าสุดในรอบ 7 ปีครึ่งเช่นกัน เงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าสุดในรอบ 10 ปี
นักบริหารเงินของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐที่ปรับตัวแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 เดือน เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่ามาก และนักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจหลังตัวเลขการจ้างงานที่ออกมาเพิ่มเพียง 18,000 ตำแหน่ง และอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น 5% หรือสูงสุดในรอบ 2ปี ทำให้มีการเทขายดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ค่าเงินบาทและค่าเงินในภูมิภาคปรับตัวแข็งค่าขึ้นทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีรายงานข่าวว่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศ (ออฟชอร์ ) มีการซื้อขายกันที่ระดับ 29.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
+++คาดเงินลงทุนตรงไหลเข้า
นายวรภัค ธันยาวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเจพี มอร์แกน เชส และบริษัทหลักทรัพย์(บล.)เจ.พี มอร์แกน (ประเทศไทย ) จำกัด กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่านั้น เป็นผลจากสัญญาณที่ เฟด จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ทำให้ส่งผลต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งบทวิเคราะห์ บล.เจ.พี. มอร์แกนฯ มีมุมมองว่าเฟด จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงถึง 0.75 % ในช่วงไตรมาสแรกนี้ เพื่อพยุงเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเฟดอยู่ที่ระดับ 3.5 %
ส่วนอีกสาเหตุที่คาดว่าทำให้เงินบาทแข็งค่าทำสถิตินิวไฮที่ 33.27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คือ มีเงินไหลเข้าที่เป็นเงินลงทุนโดยตรงของผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เมื่อปีที่ผ่านมา และยังมีในส่วนที่ไม่ได้ลงทุนอีกหลายแสนล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งจะมีการทยอยลงทุนในปีนี้ ดังนั้นการแข็งค่าของค่าเงินบาทจึงเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น
ทั้งนี้บล.เจ.พี มอร์แกน คาดว่า ในปี 2551 จีดีพีของไทยมีอัตราการเติบโตที่ระดับ 4.8 % และคาดว่าค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวที่ระดับ 32.5 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยยังไม่ได้รวมปัจจัยการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30 %
++พ่อค้าโค้ด32บาทต่อดอลล์
จากความเคลื่อนไหวของค่าเงินที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องนายโรจน์ บุรุษรัตนพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ริเวอร์แคว อินเตอร์เนชั่นแนลอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด ผู้ส่งออกข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องรายใหญ่ กล่าวว่า มีผลให้บริษัทประสบความยากลำบากในการทำธุรกิจมากขึ้นทุกขณะ ล่าสุดบริษัทโค้ดราคาขายลูกค้าใหม่สำหรับคำสั่งซื้อส่งมอบไม่เกิน 6 เดือนข้างหน้า ที่อัตราแลกเปลี่ยนที่ 32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนลูกค้าเก่าโค้ดที่อัตราแลกเปลี่ยน 32 บาท/ดอลลาร์บางส่วน ทั้งนี้เพื่อประกันความเสี่ยงที่อาจขาดทุนจากเงินบาทที่มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเหนือระดับ 33 บาทในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งได้ทำประกันความเสี่ยงค่าเงิน(ฟอร์เวิร์ด)ไว้เช่นกัน
จากการโค้ดราคาดังกล่าวมีผลให้ลูกค้าได้เจรจาต่อรองกับบริษัทมากขึ้น เพราะสินค้ามีราคาสูงขึ้น ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่เข้าใจ แต่ในรายที่มองว่าราคาสูงก็จะพิจารณาหาซื้อจากแหล่งอื่นโดยเปรียบเทียบราคาและคุณภาพอาทิ เทียบกับจีน และเวียดนาม แต่จีนมีปัญหาเรื่องคุณภาพและปริมาณไม่เพียงพอ เพราะผลิตป้อนตลาดในประเทศเป็นหลัก ส่วนเวียดนามยังผลิตได้น้อยทำให้ไทยยังมีอำนาจต่อรองค่อนข้างมาก
"ปีที่ผ่านมาบริษัทประสบปัญหาค่าเงินบาทแข็ง โดยรายได้ของบริษัทรูปเงินบาทหายไปประมาณ 70-80 ล้านบาท ที่สำคัญเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ราคากระป๋องจะขอปรับขึ้นอีก 10% ถือเป็นภาระต้นทุนที่ต้องเจรจากับลูกค้าต่อไป ที่สำคัญ หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่ระดับ 30-31 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ บริษัทรวมถึงธุรกิจส่งออกอื่นๆ คงอยู่ไม่ได้อาจถึงขั้นต้องปิดโรงงานเพราะไม่รู้จะบริหารอย่างไร เนื่องจากได้ปรับตัวทุกวิถีทางแล้ว"
++ลูกค้าเผ่นซื้อจากคู่แข่ง
นายสมพงษ์ กิตติเรียงลาภ ประธานกรรมการบริษัท พงษ์ลาภ จำกัด กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าทำให้ต้องประสบปัญหาขาดทุน โดยเฉพาะการประมูลซื้อข้าวจากรัฐบาลช่วงปลายปี ได้ไปรับออเดอร์จากลูกค้าคำนวณค่าเงินบาทที่ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันค่าเงินอยู่ที่ 33.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือหายไปประมาณ 70 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าหายไปมากทำให้ต้องขาดทุน แต่ยังโชคดีตรงที่ซื้อข้าวจากรัฐบาลทำให้ไม่เจ็บตัวมากจนเกินไป แต่ถ้าต้องซื้อข้าวในท้องตลาดอ่วมแน่ ส่วนออเดอร์ใหม่มีลูกค้าจากมาเลเซียเข้ามาติดต่อซื้อโค้ดราคาที่ 33.50 ดอลลาร์สหรัฐ ลูกค้ายังไม่ตัดสินใจคาดว่าจะหันไปซื้อจากเวียดนาม
นายหลักชัย กิตติพล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้บริษัทต้องโค้ดราคาสินค้าในราคาที่ค่าเงินแข็งค่ากว่าปัจจุบันประมาณ 10-15 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐ เพื่อป้องกันความเสี่ยง ขณะเดียวกันมีการทำประกันความเสี่ยงไว้ และเมื่อรับเงินดอลลาร์เข้ามาจะแปลงเป็นเงินบาททันที ซึ่งจากค่าเงินบาทของไทยที่แข็งค่า ทำให้การค้ามีความเสียเปรียบลูกค้า เพราะเวลานี้ค่าเงินของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนามอ่อนกว่า ลูกค้าจึงหันไปซื้อจากประเทศดังกล่าว
ปัญหาค่าเงินบาทแข็ง แบงก์ชาติจะต้องเข้ามาดูแล ถ้าไม่ดูแลจะกระทบกับภาคส่งออกอย่างมากและจะเป็นลูกโซ่ถึงเกษตรกร เพราะจะขายสินค้าได้ราคาถูกลง
++สิ่งทอ-รองเท้าแค่ประคองตัว
นายสมบูรณ์ เจือเสถียรรัตน์ กรรมการบริหาร บริษัท ไทยการ์เมนต์เอ็กซปอร์ต จำกัด ผู้ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปรายใหญ่ กล่าวว่า แม้เงินบาทจะแข็งค่าขึ้น บริษัทยังไม่ชะลอการรับคำสั่งซื้อแต่ประการใดยังคงรับคำสั่งซื้อตามศักยภาพที่สามารถผลิตได้ ไม่รับเกินตัว ทั้งนี้เพื่อควบคุมการผลิตและการส่งมอบให้ตรงเวลา สำหรับการโค้ดราคาขายปัจจุบันโค้ดราคาเฉลี่ยที่ 33.50-34.00 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ หากค่าเงินบาทแข็งค่าไปมากกว่านี้ก็จะปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์
"ในปี 2549-2550 เราได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทค่อนข้างมาก แต่การที่จะขอปรับราคาสินค้ารวมถึงความคาดหวังที่เงินบาทจะอ่อนค่าลงเป็นสิ่งที่ยากมาก ทางรอดคือบริษัทได้มุ่งเน้นการลดต้นทุนในทุกส่วนขององค์กร การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้นและส่งมอบสินค้าให้ตรงเวลา ซึ่งจะมีผลให้บริษัทสามารถรักษาฐานลูกค้าไว้ได้ในระยะยาว"
นายธำรง ธิติประเสริฐ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 33 บาทต้นๆ ต่อดอลลาร์สหรัฐฯในเวลานี้บริษัทสมาชิกของกลุ่มซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่มีอยู่ประมาณ 50 บริษัทยังสามารถปรับตัวในการทำธุรกิจได้แต่ผู้นำเข้าได้เจรจาต่อรองราคามากขึ้น ซึ่งหากแข็งค่ามากขึ้นกว่านี้คงขายของลำบาก ปัจจุบันผู้ประกอบการในกลุ่มรองเท้าส่วนใหญ่โค้ดราคาขายที่อัตราแลกเปลี่ยน 33-34 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทำฟอร์เวิร์ดไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยง ขณะที่ผู้ที่รับคำสั่งซื้อไว้ช่วงปลายปี และส่งมอบสินค้าต้นปีนี้บางส่วนได้ประสบภาวะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทยังไม่สามารถประเมินได้ เพราะขึ้นกับปัจจัยทั้งในและนอกประเทศ เฉพาะอย่างยิ่งยังไม่เห็นหน้าตารัฐบาลใหม่ และนโยบายที่จะมากำกับดูแลค่าเงินบาท
++กระทบซัพพลายเออร์แล้ว
ดร.ขัติยา ไกรกาญจน์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนที่เป็นซัพพลายเออร์ของโรงงานผู้ผลิตและส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศ เพราะการส่งออกมีรายได้รูปเงินบาทลดลง ทำให้ต้องมาลดราคารับซื้อวัตถุดิบเพื่อลดต้นทุน ส่วนผู้ผลิตเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำเข้าวัตถุดิบส่วนใหญ่จากต่างประเทศได้รับผลดีจากการนำเข้าที่ถูกลง อย่างไรก็ตามจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ มีผลให้ไทยได้หันเหการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปยังตลาดสหภาพยุโรป(อียู)เพิ่มมากขึ้น ทำให้เวลานี้อียูได้กลายเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 แทนญี่ปุ่นซึ่งหล่นไปอยู่อันดับ 3 ส่วนอันดับหนึ่งยังเป็นตลาดสหรัฐฯ
"การซื้อขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หากเป็นบริษัทใหญ่จะเป็นสัญญาส่งมอบระยะยาว 6 เดือนถึง 1 ปี บริษัทเล็กๆ ส่งมอบ 2-3 เดือน ในปีที่แล้วเฉลี่ยเราโค้ดราคากันที่ 35-36 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ พอปลายปีเหลือ 33 บาท/ดอลลาร์ทำให้ขาดทุนกันถ้วนหน้า เวลานี้เราโค้ดกันที่ 33-34 บาท/ดอลลาร์ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้ออเดอร์ เพราะคู่ค้าได้หันไปนำเข้าจากจีนซึ่งค่าเงินไม่แข็งเหมือนเรา และราคายังถูกกว่ามากขึ้น หากแข็งค่ามากกว่านี้เราจะยิ่งแย่"
++เกาะติดใกล้ชิดค่าเงิน
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน)หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟไม่ได้รับผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นแต่อย่างใด แม้จะรับคำสั่งซื้อล่วงหน้าไว้ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปีก็มี(แล้วแต่สัญญา) ที่ไม่กระทบเนื่องจากพอรับคำสั่งแล้วจะทำฟอร์เวิร์ดโดยฟิคส์เรตล่วงหน้าไว้ทันที เช่นฟิคส์ไว้ที่ 34 บาท/ดอลลาร์ หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นก็ไม่กระทบ ทางกลับกันบริษัทสามารถบาลานช์(สร้างความสมดุล)จากการนำเข้าสินค้าที่ได้รับผลดีจากเงินบาททำให้มีต้นทุนที่ต่ำลง
"แนวโน้มค่าเงินบาทขึ้นกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเวลานี้เศรษฐกิจสหรัฐไม่ดี ดอลลาร์จึงอ่อนทำให้ค่าเงินบาทและเงินสกุลอื่นๆ แข็งค่าขึ้น ปลายเดือนนี้สหรัฐส่งสัญญาณจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกเพื่อพยุงเศรษฐกิจอาจมีผลให้การอ่อนตัวของเงินดอลลาร์ชะลอลงได้ ซึ่งต้องติดตามว่าจะมีผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากน้อยแค่ไหน"
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวว่าปัญหาค่าเงินต้องติดตามอย่างใกล้ชิด นักวิเคราะห์บางคนชี้ว่าค่าเงินบาทอาจทะลุ 31-30 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากเพราะเศรษฐกิจสหรัฐมีแต่ลบไม่มีบวกทำให้เงินดอลล์อ่อนสวนทางบาทที่จะแข็งค่าขึ้น ไตรมาสที่สองของปีนี้ค่าเงินบาทจะเห็นภาพชัดว่าจะไปทางไหน
++บาทแข็งกระทบเกษตรกร
แหล่งข่าวในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วิเคราะห์ว่าปัจจัยที่จะกระทบเชิงลบต่อสินค้าเกษตรในปี 2551 ที่สำคัญคือราคาน้ำมันและค่าเงินบาท โดยค่าเงินต่อผลกระทบราคาข้าวนั้นหากแข็งค่าขึ้นทุกๆ 1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จะทำให้รายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหายไป 0.21% ราคายางพาราจะลดลง 2.24 บาทต่อกิโลกรัม กุ้งลดลง 2.53 บาทต่อกิโลกรัม มันสำปะหลังลดลง 0.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็นต้น
http://www.thannews.th.com/detialNews.p ... issue=2286
เปิดศักราชปีหนู ภาคส่งออกไทยออกสตาร์ทไม่สวย สัปดาห์แรกของปีเงินบาทกลับมาแข็งค่าสุดในรอบ 6 เดือนที่ 33.27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซ้ำยังเคลื่อนไหวเร็ว ขณะที่ค่าเงินในภูมิภาคทั้งเปโซฟิลิปปินส์ และดอลลาร์สิงคโปร์ต่างพากันทำสถิติแข็งค่าสุด คาดเงินทุนไหลเข้าแน่ พ่อค้าตัดใจโค้ดราคาแตะ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐลดความเสี่ยง ติงแบงก์ชาติอยู่เฉยไม่ได้ หากแข็งค่ากว่านี้กระทบวงกว้างถึงรากหญ้าแน่ สศก.วิเคราะห์ค่าเงินบาทแข็งค่าถึง 30 บาท รายได้เกษตรกรวูบ
ปัญหาเสถียรภาพของค่าเงินบาทที่ผู้ส่งออกกังวลมากที่สุด เริ่มกระทบตั้งแต่ต้นปี 2551 ซึ่งผ่านมาเพียงสัปดาห์เดียว ( 2-8 มกราคม 2551) ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก็ทำสถิตินิวไฮในรอบ 6 เดือน โดยเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2551 เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 33.31-33.34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 33.27-33.29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือแข็งค่าขึ้นจากเมื่อต้นปีมาแล้วประมาณ 40 สตางค์ (จากที่เปิดตลาดเมื่อวันที่ 2 มกราคมที่ระดับ 33.69-33.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 33.59-33.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) ท่ามกลางการคาดการณ์ของนักบริหารในตลาดเงิน ที่มองแนวโน้มค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง และมีโอกาสหลุดระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ไปอยู่ที่ระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551
สาเหตุสำคัญของเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นดังกล่าว มาจากแนวโน้มของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่า และเศรษฐกิจสหรัฐที่เข้าสู่ภาวะชะลอตัว ประกอบกับสถานการณ์ซับไพร์มที่ยังส่งผลกระทบไม่สิ้นสุด ทำให้นักลงทุนเทขายดอลลาร์เพื่อลดความเสี่ยง ขณะเดียวกันก็หันไปลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์อื่น เช่น น้ำมัน และทองคำ แทนการถือดอลลาร์ ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลก และราคาทองคำ หลังจากที่เปิดปี 2551 ได้ปรับราคาทำนิวไฮ โดยราคาน้ำมันทะลุ 100ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2551 และราคาทองคำสูงสุดในรอบ 28 ปีที่ระดับ 865 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2551
+++บาทแข็งค่าตามสกุลเงินภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาคเอเชีย ยังเป็นการปรับตัวแข็งค่าขึ้นในทิศทางเดียวกันทั้งภูมิภาค โดยหากนับจากปลายปี 2550 จนถึงปัจจุบันเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นประมาณ 1.17% ดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าขึ้น 0.43% ริงกิตของมาเลเซียแข็งค่าขึ้น 1.07% เงินเปโซของฟิลิปินส์ แข็งค่าขึ้น 1.55% และเยนเทียบดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น 1.68% ขณะที่เงินหยวนของจีนแข็งค่าขึ้นเพียง 0.48 % อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 8 มกราคม ซึ่งค่าเงินบาทต่อดอลลาร์เคลื่อนไหวแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 เดือนนั้น ค่าเงินเปโซของฟิลิปปินส์ ก็ปรับแข็งค่าสุดในรอบ 7 ปีครึ่งเช่นกัน เงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าสุดในรอบ 10 ปี
นักบริหารเงินของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐที่ปรับตัวแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 เดือน เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่ามาก และนักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจหลังตัวเลขการจ้างงานที่ออกมาเพิ่มเพียง 18,000 ตำแหน่ง และอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น 5% หรือสูงสุดในรอบ 2ปี ทำให้มีการเทขายดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ค่าเงินบาทและค่าเงินในภูมิภาคปรับตัวแข็งค่าขึ้นทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีรายงานข่าวว่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศ (ออฟชอร์ ) มีการซื้อขายกันที่ระดับ 29.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
+++คาดเงินลงทุนตรงไหลเข้า
นายวรภัค ธันยาวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเจพี มอร์แกน เชส และบริษัทหลักทรัพย์(บล.)เจ.พี มอร์แกน (ประเทศไทย ) จำกัด กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่านั้น เป็นผลจากสัญญาณที่ เฟด จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ทำให้ส่งผลต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งบทวิเคราะห์ บล.เจ.พี. มอร์แกนฯ มีมุมมองว่าเฟด จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงถึง 0.75 % ในช่วงไตรมาสแรกนี้ เพื่อพยุงเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเฟดอยู่ที่ระดับ 3.5 %
ส่วนอีกสาเหตุที่คาดว่าทำให้เงินบาทแข็งค่าทำสถิตินิวไฮที่ 33.27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คือ มีเงินไหลเข้าที่เป็นเงินลงทุนโดยตรงของผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เมื่อปีที่ผ่านมา และยังมีในส่วนที่ไม่ได้ลงทุนอีกหลายแสนล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งจะมีการทยอยลงทุนในปีนี้ ดังนั้นการแข็งค่าของค่าเงินบาทจึงเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น
ทั้งนี้บล.เจ.พี มอร์แกน คาดว่า ในปี 2551 จีดีพีของไทยมีอัตราการเติบโตที่ระดับ 4.8 % และคาดว่าค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวที่ระดับ 32.5 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยยังไม่ได้รวมปัจจัยการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30 %
++พ่อค้าโค้ด32บาทต่อดอลล์
จากความเคลื่อนไหวของค่าเงินที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องนายโรจน์ บุรุษรัตนพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ริเวอร์แคว อินเตอร์เนชั่นแนลอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด ผู้ส่งออกข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องรายใหญ่ กล่าวว่า มีผลให้บริษัทประสบความยากลำบากในการทำธุรกิจมากขึ้นทุกขณะ ล่าสุดบริษัทโค้ดราคาขายลูกค้าใหม่สำหรับคำสั่งซื้อส่งมอบไม่เกิน 6 เดือนข้างหน้า ที่อัตราแลกเปลี่ยนที่ 32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนลูกค้าเก่าโค้ดที่อัตราแลกเปลี่ยน 32 บาท/ดอลลาร์บางส่วน ทั้งนี้เพื่อประกันความเสี่ยงที่อาจขาดทุนจากเงินบาทที่มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเหนือระดับ 33 บาทในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งได้ทำประกันความเสี่ยงค่าเงิน(ฟอร์เวิร์ด)ไว้เช่นกัน
จากการโค้ดราคาดังกล่าวมีผลให้ลูกค้าได้เจรจาต่อรองกับบริษัทมากขึ้น เพราะสินค้ามีราคาสูงขึ้น ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่เข้าใจ แต่ในรายที่มองว่าราคาสูงก็จะพิจารณาหาซื้อจากแหล่งอื่นโดยเปรียบเทียบราคาและคุณภาพอาทิ เทียบกับจีน และเวียดนาม แต่จีนมีปัญหาเรื่องคุณภาพและปริมาณไม่เพียงพอ เพราะผลิตป้อนตลาดในประเทศเป็นหลัก ส่วนเวียดนามยังผลิตได้น้อยทำให้ไทยยังมีอำนาจต่อรองค่อนข้างมาก
"ปีที่ผ่านมาบริษัทประสบปัญหาค่าเงินบาทแข็ง โดยรายได้ของบริษัทรูปเงินบาทหายไปประมาณ 70-80 ล้านบาท ที่สำคัญเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ราคากระป๋องจะขอปรับขึ้นอีก 10% ถือเป็นภาระต้นทุนที่ต้องเจรจากับลูกค้าต่อไป ที่สำคัญ หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่ระดับ 30-31 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ บริษัทรวมถึงธุรกิจส่งออกอื่นๆ คงอยู่ไม่ได้อาจถึงขั้นต้องปิดโรงงานเพราะไม่รู้จะบริหารอย่างไร เนื่องจากได้ปรับตัวทุกวิถีทางแล้ว"
++ลูกค้าเผ่นซื้อจากคู่แข่ง
นายสมพงษ์ กิตติเรียงลาภ ประธานกรรมการบริษัท พงษ์ลาภ จำกัด กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าทำให้ต้องประสบปัญหาขาดทุน โดยเฉพาะการประมูลซื้อข้าวจากรัฐบาลช่วงปลายปี ได้ไปรับออเดอร์จากลูกค้าคำนวณค่าเงินบาทที่ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันค่าเงินอยู่ที่ 33.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือหายไปประมาณ 70 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าหายไปมากทำให้ต้องขาดทุน แต่ยังโชคดีตรงที่ซื้อข้าวจากรัฐบาลทำให้ไม่เจ็บตัวมากจนเกินไป แต่ถ้าต้องซื้อข้าวในท้องตลาดอ่วมแน่ ส่วนออเดอร์ใหม่มีลูกค้าจากมาเลเซียเข้ามาติดต่อซื้อโค้ดราคาที่ 33.50 ดอลลาร์สหรัฐ ลูกค้ายังไม่ตัดสินใจคาดว่าจะหันไปซื้อจากเวียดนาม
นายหลักชัย กิตติพล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้บริษัทต้องโค้ดราคาสินค้าในราคาที่ค่าเงินแข็งค่ากว่าปัจจุบันประมาณ 10-15 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐ เพื่อป้องกันความเสี่ยง ขณะเดียวกันมีการทำประกันความเสี่ยงไว้ และเมื่อรับเงินดอลลาร์เข้ามาจะแปลงเป็นเงินบาททันที ซึ่งจากค่าเงินบาทของไทยที่แข็งค่า ทำให้การค้ามีความเสียเปรียบลูกค้า เพราะเวลานี้ค่าเงินของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนามอ่อนกว่า ลูกค้าจึงหันไปซื้อจากประเทศดังกล่าว
ปัญหาค่าเงินบาทแข็ง แบงก์ชาติจะต้องเข้ามาดูแล ถ้าไม่ดูแลจะกระทบกับภาคส่งออกอย่างมากและจะเป็นลูกโซ่ถึงเกษตรกร เพราะจะขายสินค้าได้ราคาถูกลง
++สิ่งทอ-รองเท้าแค่ประคองตัว
นายสมบูรณ์ เจือเสถียรรัตน์ กรรมการบริหาร บริษัท ไทยการ์เมนต์เอ็กซปอร์ต จำกัด ผู้ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปรายใหญ่ กล่าวว่า แม้เงินบาทจะแข็งค่าขึ้น บริษัทยังไม่ชะลอการรับคำสั่งซื้อแต่ประการใดยังคงรับคำสั่งซื้อตามศักยภาพที่สามารถผลิตได้ ไม่รับเกินตัว ทั้งนี้เพื่อควบคุมการผลิตและการส่งมอบให้ตรงเวลา สำหรับการโค้ดราคาขายปัจจุบันโค้ดราคาเฉลี่ยที่ 33.50-34.00 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ หากค่าเงินบาทแข็งค่าไปมากกว่านี้ก็จะปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์
"ในปี 2549-2550 เราได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทค่อนข้างมาก แต่การที่จะขอปรับราคาสินค้ารวมถึงความคาดหวังที่เงินบาทจะอ่อนค่าลงเป็นสิ่งที่ยากมาก ทางรอดคือบริษัทได้มุ่งเน้นการลดต้นทุนในทุกส่วนขององค์กร การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้นและส่งมอบสินค้าให้ตรงเวลา ซึ่งจะมีผลให้บริษัทสามารถรักษาฐานลูกค้าไว้ได้ในระยะยาว"
นายธำรง ธิติประเสริฐ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 33 บาทต้นๆ ต่อดอลลาร์สหรัฐฯในเวลานี้บริษัทสมาชิกของกลุ่มซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่มีอยู่ประมาณ 50 บริษัทยังสามารถปรับตัวในการทำธุรกิจได้แต่ผู้นำเข้าได้เจรจาต่อรองราคามากขึ้น ซึ่งหากแข็งค่ามากขึ้นกว่านี้คงขายของลำบาก ปัจจุบันผู้ประกอบการในกลุ่มรองเท้าส่วนใหญ่โค้ดราคาขายที่อัตราแลกเปลี่ยน 33-34 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทำฟอร์เวิร์ดไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยง ขณะที่ผู้ที่รับคำสั่งซื้อไว้ช่วงปลายปี และส่งมอบสินค้าต้นปีนี้บางส่วนได้ประสบภาวะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทยังไม่สามารถประเมินได้ เพราะขึ้นกับปัจจัยทั้งในและนอกประเทศ เฉพาะอย่างยิ่งยังไม่เห็นหน้าตารัฐบาลใหม่ และนโยบายที่จะมากำกับดูแลค่าเงินบาท
++กระทบซัพพลายเออร์แล้ว
ดร.ขัติยา ไกรกาญจน์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนที่เป็นซัพพลายเออร์ของโรงงานผู้ผลิตและส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศ เพราะการส่งออกมีรายได้รูปเงินบาทลดลง ทำให้ต้องมาลดราคารับซื้อวัตถุดิบเพื่อลดต้นทุน ส่วนผู้ผลิตเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำเข้าวัตถุดิบส่วนใหญ่จากต่างประเทศได้รับผลดีจากการนำเข้าที่ถูกลง อย่างไรก็ตามจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ มีผลให้ไทยได้หันเหการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปยังตลาดสหภาพยุโรป(อียู)เพิ่มมากขึ้น ทำให้เวลานี้อียูได้กลายเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 แทนญี่ปุ่นซึ่งหล่นไปอยู่อันดับ 3 ส่วนอันดับหนึ่งยังเป็นตลาดสหรัฐฯ
"การซื้อขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หากเป็นบริษัทใหญ่จะเป็นสัญญาส่งมอบระยะยาว 6 เดือนถึง 1 ปี บริษัทเล็กๆ ส่งมอบ 2-3 เดือน ในปีที่แล้วเฉลี่ยเราโค้ดราคากันที่ 35-36 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ พอปลายปีเหลือ 33 บาท/ดอลลาร์ทำให้ขาดทุนกันถ้วนหน้า เวลานี้เราโค้ดกันที่ 33-34 บาท/ดอลลาร์ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้ออเดอร์ เพราะคู่ค้าได้หันไปนำเข้าจากจีนซึ่งค่าเงินไม่แข็งเหมือนเรา และราคายังถูกกว่ามากขึ้น หากแข็งค่ามากกว่านี้เราจะยิ่งแย่"
++เกาะติดใกล้ชิดค่าเงิน
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน)หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟไม่ได้รับผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นแต่อย่างใด แม้จะรับคำสั่งซื้อล่วงหน้าไว้ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปีก็มี(แล้วแต่สัญญา) ที่ไม่กระทบเนื่องจากพอรับคำสั่งแล้วจะทำฟอร์เวิร์ดโดยฟิคส์เรตล่วงหน้าไว้ทันที เช่นฟิคส์ไว้ที่ 34 บาท/ดอลลาร์ หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นก็ไม่กระทบ ทางกลับกันบริษัทสามารถบาลานช์(สร้างความสมดุล)จากการนำเข้าสินค้าที่ได้รับผลดีจากเงินบาททำให้มีต้นทุนที่ต่ำลง
"แนวโน้มค่าเงินบาทขึ้นกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเวลานี้เศรษฐกิจสหรัฐไม่ดี ดอลลาร์จึงอ่อนทำให้ค่าเงินบาทและเงินสกุลอื่นๆ แข็งค่าขึ้น ปลายเดือนนี้สหรัฐส่งสัญญาณจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกเพื่อพยุงเศรษฐกิจอาจมีผลให้การอ่อนตัวของเงินดอลลาร์ชะลอลงได้ ซึ่งต้องติดตามว่าจะมีผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากน้อยแค่ไหน"
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวว่าปัญหาค่าเงินต้องติดตามอย่างใกล้ชิด นักวิเคราะห์บางคนชี้ว่าค่าเงินบาทอาจทะลุ 31-30 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากเพราะเศรษฐกิจสหรัฐมีแต่ลบไม่มีบวกทำให้เงินดอลล์อ่อนสวนทางบาทที่จะแข็งค่าขึ้น ไตรมาสที่สองของปีนี้ค่าเงินบาทจะเห็นภาพชัดว่าจะไปทางไหน
++บาทแข็งกระทบเกษตรกร
แหล่งข่าวในสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วิเคราะห์ว่าปัจจัยที่จะกระทบเชิงลบต่อสินค้าเกษตรในปี 2551 ที่สำคัญคือราคาน้ำมันและค่าเงินบาท โดยค่าเงินต่อผลกระทบราคาข้าวนั้นหากแข็งค่าขึ้นทุกๆ 1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จะทำให้รายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหายไป 0.21% ราคายางพาราจะลดลง 2.24 บาทต่อกิโลกรัม กุ้งลดลง 2.53 บาทต่อกิโลกรัม มันสำปะหลังลดลง 0.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็นต้น
http://www.thannews.th.com/detialNews.p ... issue=2286
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news14/01/08
โพสต์ที่ 130
ราคาน้ำมันปาล์มพุ่ง
โดย Post Digital วันที่ 14 มกราคม 2551
น้ำมันปาล์มมาเลเซียพุ่งแตะระดับสูงสุด หลังผลผลิตตกต่ำ,สต็อคร่วง
ราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดล่วงหน้ามาเลเซียทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันนี้ (14 ม.ค.) หลังจากข้อมูลของรัฐบาลมาเลเซียระบุว่า น้ำมันปาล์มสำรองในเดือนธ.ค.ร่วงลงเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน เนื่องจากผลผลิตที่ตกต่ำลง
ทั้งนี้ ณ เวลา 11.01 น.ตามเวลาประเทศไทยในวันนี้ สัญญาน้ำมันปาล์มส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 38 ริงกิต แตะระดับ 3,318 ริงกิตต่อตัน (1 ดอลลาร์ = 3.25 ริงกิต) หลังจากทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 3,342 ริงกิต
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันถั่วเหลืองที่ตลาด CBOT ในนิวยอร์ก ส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดเพิ่มขึ้น 1.39 เซนต์สหรัฐ ปิดที่ 52.66 เซนต์ต่อปอนด์
ดอนนี คอร์ นักวิเคราะห์จากธนาคารโอเอสเค อินเวสท์เมนท์ กล่าวว่า "นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาน้ำมันปาล์มล่วงหน้าอย่างคับคั่งเนื่องจากความกังวลที่ว่าผลผลิตอาจลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะอุปทานตึงตัว"
คณะกรรมการน้ำมันปาล์มมาเลเซียรายงานว่า น้ำมันปาล์มสำรองในเดือนธ.ค.ลดลง 7% แตะระดับ 1.68 ล้านตันจากระดับในเดือนธ.ค. เนื่องจากความต้องการในต่างประเทศฟื้นตัวขึ้นและผลผลิตตกต่ำลง
ขณะที่ผลผลิตน้ำมันปาล์มซึ่งรวมถึงน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มแปรรูป ลดลง 15.4% ในเดือนธ.ค. ขณะที่ยอดส่งออกเพิ่มขึ้น 9%
นายไอวี อึ้ง นักวิเคราะห์จากซีไอเอ็มบี อินเวสท์เมนท์ แบงค์ กล่าวว่า "เราคาดว่าผลผลิตน้ำมันจะลดลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้เนื่องจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภัยธรรมชาติ โดยในเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุน้ำท่วมในพื้นที่บางส่วนของมาเลเซีย ซึ่งอาจทำให้การเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมันลดลงด้วย" สำนักข่าวธอมสัน ไฟแนนเชียลรายงาน
http://www.posttoday.com/topstories.php?id=214516
โดย Post Digital วันที่ 14 มกราคม 2551
น้ำมันปาล์มมาเลเซียพุ่งแตะระดับสูงสุด หลังผลผลิตตกต่ำ,สต็อคร่วง
ราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดล่วงหน้ามาเลเซียทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันนี้ (14 ม.ค.) หลังจากข้อมูลของรัฐบาลมาเลเซียระบุว่า น้ำมันปาล์มสำรองในเดือนธ.ค.ร่วงลงเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน เนื่องจากผลผลิตที่ตกต่ำลง
ทั้งนี้ ณ เวลา 11.01 น.ตามเวลาประเทศไทยในวันนี้ สัญญาน้ำมันปาล์มส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 38 ริงกิต แตะระดับ 3,318 ริงกิตต่อตัน (1 ดอลลาร์ = 3.25 ริงกิต) หลังจากทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 3,342 ริงกิต
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันถั่วเหลืองที่ตลาด CBOT ในนิวยอร์ก ส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดเพิ่มขึ้น 1.39 เซนต์สหรัฐ ปิดที่ 52.66 เซนต์ต่อปอนด์
ดอนนี คอร์ นักวิเคราะห์จากธนาคารโอเอสเค อินเวสท์เมนท์ กล่าวว่า "นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาน้ำมันปาล์มล่วงหน้าอย่างคับคั่งเนื่องจากความกังวลที่ว่าผลผลิตอาจลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะอุปทานตึงตัว"
คณะกรรมการน้ำมันปาล์มมาเลเซียรายงานว่า น้ำมันปาล์มสำรองในเดือนธ.ค.ลดลง 7% แตะระดับ 1.68 ล้านตันจากระดับในเดือนธ.ค. เนื่องจากความต้องการในต่างประเทศฟื้นตัวขึ้นและผลผลิตตกต่ำลง
ขณะที่ผลผลิตน้ำมันปาล์มซึ่งรวมถึงน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มแปรรูป ลดลง 15.4% ในเดือนธ.ค. ขณะที่ยอดส่งออกเพิ่มขึ้น 9%
นายไอวี อึ้ง นักวิเคราะห์จากซีไอเอ็มบี อินเวสท์เมนท์ แบงค์ กล่าวว่า "เราคาดว่าผลผลิตน้ำมันจะลดลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้เนื่องจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภัยธรรมชาติ โดยในเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุน้ำท่วมในพื้นที่บางส่วนของมาเลเซีย ซึ่งอาจทำให้การเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมันลดลงด้วย" สำนักข่าวธอมสัน ไฟแนนเชียลรายงาน
http://www.posttoday.com/topstories.php?id=214516
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news15/01/08
โพสต์ที่ 131
อาหารสัตว์จ่อขึ้นราคารอบสอง
โพสต์ทูเดย์ ผู้ค้าอาหารสัตว์ส่งสัญญาณเตรียมปรับขึ้นราคาอีกรอบ 2 ไม่น้อยกว่า 5% ระบุต้นทุนวัตถุดิบพุ่งไม่หยุด
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ค้าอาหารสัตว์ กล่าวว่า ในเร็วๆ นี้ อาจจะต้องปรับราคาอาหารสัตว์ขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ปรับขึ้นไปแล้ว 1 ครั้ง เฉลี่ยชนิดละ 10% ทั้งอาหารไก่ไข่ เป็ด และสุกร เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบทุกชนิดเพิ่มสูงขึ้นกว่า 20-50% ทั้งราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ปลาป่น และปลายข้าว โดยเฉพาะข้าวสาลีที่ปรับขึ้น 50-70%
ขณะที่สต๊อกวัตถุดิบที่ซื้อได้ในราคาเดิมก็เริ่มหมดไปแล้ว ทำให้มีความจำเป็นต้องขอปรับขึ้นราคา เพื่อให้ครอบคลุมกับต้นทุนใหม่ที่เกิดขึ้นจริง
ก่อนหน้านี้ผู้ค้าอาหารสัตว์พยายามตรึงราคาอาหารสัตว์ไว้ตามที่ทุกฝ่ายเรียกร้อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้บริโภค แต่ราคาวัตถุดิบไม่สามารถควบคุมได้นาน เพราะเป็นราคาที่ปรับขึ้นทั่วโลก เพียงแต่ต้องพยายามบีบไม่ให้ขึ้นมากจนเกินไป ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าคงปรับขึ้นเฉลี่ยไม่เกิน 5%
เราพยายามตรึงราคาจนถึงที่สุดแล้ว อย่างอาหารกุ้งรอบแรกก็ไม่ได้ขึ้น แต่ตอนนี้คงไม่สามารถตรึงต่อไปได้ ดังนั้น จะพยายามช่วยเหลือโดยขึ้นราคาช้าๆ ไม่ใช่ขึ้นรวดเดียว คงจะทยอยขึ้น เพื่อไม่ให้เดือดร้อนกันมาก นายพรศิลป์ กล่าว
ทั้งนี้ ยังไม่สามารถกำหนดเวลาที่แน่นอนว่าจะขึ้นราคาอาหารสัตว์เมื่อใด เนื่องจากต้องขออนุมัติจากกรมการค้าภายใน ซึ่งขณะนี้เข้มงวดกับการควบคุมราคาสินค้าทุกชนิด ทั้งวัตถุดิบ และอาหารสำเร็จรูป เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อน
นายกสมาคมผู้ค้าอาหารสัตว์ยอมรับว่า รู้สึกลำบากใจในการประกาศขึ้นราคา เพราะผู้ค้าอาหารสัตว์อยู่ตรงกลางระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภค แต่ต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นยังมีค่าขนส่ง และน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับเพิ่มขึ้นด้วย ถือว่าเป็นภาระต้นทุนส่วนเพิ่มของผู้ประกอบการเช่นเดียวกัน หากยังต้องแบกภาระต่อไปจนประสบผลขาดทุน หรือต้องปิดกิจการ คงต้องส่งตัวแทนเข้าเจรจากับกระทรวงพาณิชย์เหมือนผู้ผลิตสินค้าอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ ออกมาระบุว่า ยังไม่มีแผนขึ้น ราคาไข่ไก่ แม้ว่าต้นทุนอาหาร สัตว์จะปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจะใช้วิธีปรับแผนการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพ
สำหรับราคาอาหารสัตว์ของกรมการค้าภายใน สำรวจ ณ วันที่ 14 ม.ค. พบว่า ถั่วเหลืองเกรดผลิตอาหารสัตว์ กก.ละ 19-20 บาท ปลาป่นโปรตีนร้อยละ 60 เบอร์ 3 กก.ละ 24.10 บาท กากถั่วเหลืองนำเข้าโปรตีนร้อยละ 42-45 กก.ละ 16.60-16.80 บาท รำข้าวขาว กก.ละ 795-800 บาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=214674
โพสต์ทูเดย์ ผู้ค้าอาหารสัตว์ส่งสัญญาณเตรียมปรับขึ้นราคาอีกรอบ 2 ไม่น้อยกว่า 5% ระบุต้นทุนวัตถุดิบพุ่งไม่หยุด
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ค้าอาหารสัตว์ กล่าวว่า ในเร็วๆ นี้ อาจจะต้องปรับราคาอาหารสัตว์ขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ปรับขึ้นไปแล้ว 1 ครั้ง เฉลี่ยชนิดละ 10% ทั้งอาหารไก่ไข่ เป็ด และสุกร เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบทุกชนิดเพิ่มสูงขึ้นกว่า 20-50% ทั้งราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ปลาป่น และปลายข้าว โดยเฉพาะข้าวสาลีที่ปรับขึ้น 50-70%
ขณะที่สต๊อกวัตถุดิบที่ซื้อได้ในราคาเดิมก็เริ่มหมดไปแล้ว ทำให้มีความจำเป็นต้องขอปรับขึ้นราคา เพื่อให้ครอบคลุมกับต้นทุนใหม่ที่เกิดขึ้นจริง
ก่อนหน้านี้ผู้ค้าอาหารสัตว์พยายามตรึงราคาอาหารสัตว์ไว้ตามที่ทุกฝ่ายเรียกร้อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้บริโภค แต่ราคาวัตถุดิบไม่สามารถควบคุมได้นาน เพราะเป็นราคาที่ปรับขึ้นทั่วโลก เพียงแต่ต้องพยายามบีบไม่ให้ขึ้นมากจนเกินไป ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าคงปรับขึ้นเฉลี่ยไม่เกิน 5%
เราพยายามตรึงราคาจนถึงที่สุดแล้ว อย่างอาหารกุ้งรอบแรกก็ไม่ได้ขึ้น แต่ตอนนี้คงไม่สามารถตรึงต่อไปได้ ดังนั้น จะพยายามช่วยเหลือโดยขึ้นราคาช้าๆ ไม่ใช่ขึ้นรวดเดียว คงจะทยอยขึ้น เพื่อไม่ให้เดือดร้อนกันมาก นายพรศิลป์ กล่าว
ทั้งนี้ ยังไม่สามารถกำหนดเวลาที่แน่นอนว่าจะขึ้นราคาอาหารสัตว์เมื่อใด เนื่องจากต้องขออนุมัติจากกรมการค้าภายใน ซึ่งขณะนี้เข้มงวดกับการควบคุมราคาสินค้าทุกชนิด ทั้งวัตถุดิบ และอาหารสำเร็จรูป เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อน
นายกสมาคมผู้ค้าอาหารสัตว์ยอมรับว่า รู้สึกลำบากใจในการประกาศขึ้นราคา เพราะผู้ค้าอาหารสัตว์อยู่ตรงกลางระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภค แต่ต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นยังมีค่าขนส่ง และน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับเพิ่มขึ้นด้วย ถือว่าเป็นภาระต้นทุนส่วนเพิ่มของผู้ประกอบการเช่นเดียวกัน หากยังต้องแบกภาระต่อไปจนประสบผลขาดทุน หรือต้องปิดกิจการ คงต้องส่งตัวแทนเข้าเจรจากับกระทรวงพาณิชย์เหมือนผู้ผลิตสินค้าอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ ออกมาระบุว่า ยังไม่มีแผนขึ้น ราคาไข่ไก่ แม้ว่าต้นทุนอาหาร สัตว์จะปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจะใช้วิธีปรับแผนการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพ
สำหรับราคาอาหารสัตว์ของกรมการค้าภายใน สำรวจ ณ วันที่ 14 ม.ค. พบว่า ถั่วเหลืองเกรดผลิตอาหารสัตว์ กก.ละ 19-20 บาท ปลาป่นโปรตีนร้อยละ 60 เบอร์ 3 กก.ละ 24.10 บาท กากถั่วเหลืองนำเข้าโปรตีนร้อยละ 42-45 กก.ละ 16.60-16.80 บาท รำข้าวขาว กก.ละ 795-800 บาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=214674
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news16/01/08
โพสต์ที่ 132
ธ.ก.ส.หนุนตลาดค้าส่งกุ้งในประเทศ - ข่าว 18.00 น.
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Wednesday, January 16, 2008
นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) บอกว่า ในแต่ละปีไทยสามารถส่งออกกุ้งถึงปีละ 500,000 ตัน โดยคิดเป็นสัดส่วนการส่งออก 90% และการบริโภคในประเทศเพียง 10% เท่านั้น และเมื่อตลาดต่างประเทศมีความผันผวนจากมาตรการกีดกันทางการค้า และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จึงทำให้เกิดภาวะกุ้งล้นตลาด และราคาตกต่ำ จนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งต้องประสบปัญหาขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง และแก้ปัญหาการส่งออกในระยะยาว ธ.ก.ส.จึงได้สนับสนุนชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทย จัดตั้งตลาดกลางขายส่งสินค้ากุ้ง เพื่อเป็นแหล่งกระจายสินค้า โดยตั้งอยู่ที่ศูนย์พัฒนาธุรกิจสหกรณ์ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
นอกจากนี้ ธ.ก.ส.จะพิจารณาปล่อยสินเชื่อรวม 10 ล้านบาท เพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตให้กับสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้ง 4 แห่ง วงเงิน 1-2 ล้านบาทต่อราย และจะชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่สหกรณ์ในอัตราไม่เกิน 3% ต่อปีด้วย
ด้านนายภิญโญ เกียรติภิญโญ ประธานชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทย บอกว่า ขณะนี้คนไทยมีสัดส่วนการบริโภคกุ้งน้อยมาก เพียง 800 กรัมต่อคนต่อปีเท่านั้น ดังนั้น ตลาดกุ้งในประเทศยังมีช่องว่างที่จะขยายตัวได้อีก โดยในปีนี้ชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุมีเป้าหมายอยู่ที่ 6,000 ตัน และในแต่ละปีจะเพิ่มเปอร์เซ็นต์การขยายตลาดในประเทศปีละประมาณ 5-10% ซึ่งการจัดตั้งตลาดกลางขึ้นมากระจายสินค้าจากเกษตรผู้เลี้ยงส่งให้ผู้โดยบริโภคโดยตรง จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันตลาดผู้บริโภคภายในประเทศได้เพิ่มขึ้น และไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางอีกด้วย
สำหรับตลาดกลางขายส่งสินค้ากุ้ง จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 มกราคมนี้ โดยในวันดังกล่าว จะมีการจัดขบวนคาราวานส่งกุ้งกระจายไปจังหวัดต่าง ๆ 8 เส้นทาง ทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ และอีสาน กว่า 200 จุดทั่วประเทศด้วย
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Wednesday, January 16, 2008
นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) บอกว่า ในแต่ละปีไทยสามารถส่งออกกุ้งถึงปีละ 500,000 ตัน โดยคิดเป็นสัดส่วนการส่งออก 90% และการบริโภคในประเทศเพียง 10% เท่านั้น และเมื่อตลาดต่างประเทศมีความผันผวนจากมาตรการกีดกันทางการค้า และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จึงทำให้เกิดภาวะกุ้งล้นตลาด และราคาตกต่ำ จนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งต้องประสบปัญหาขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง และแก้ปัญหาการส่งออกในระยะยาว ธ.ก.ส.จึงได้สนับสนุนชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทย จัดตั้งตลาดกลางขายส่งสินค้ากุ้ง เพื่อเป็นแหล่งกระจายสินค้า โดยตั้งอยู่ที่ศูนย์พัฒนาธุรกิจสหกรณ์ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
นอกจากนี้ ธ.ก.ส.จะพิจารณาปล่อยสินเชื่อรวม 10 ล้านบาท เพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตให้กับสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้ง 4 แห่ง วงเงิน 1-2 ล้านบาทต่อราย และจะชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่สหกรณ์ในอัตราไม่เกิน 3% ต่อปีด้วย
ด้านนายภิญโญ เกียรติภิญโญ ประธานชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทย บอกว่า ขณะนี้คนไทยมีสัดส่วนการบริโภคกุ้งน้อยมาก เพียง 800 กรัมต่อคนต่อปีเท่านั้น ดังนั้น ตลาดกุ้งในประเทศยังมีช่องว่างที่จะขยายตัวได้อีก โดยในปีนี้ชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุมีเป้าหมายอยู่ที่ 6,000 ตัน และในแต่ละปีจะเพิ่มเปอร์เซ็นต์การขยายตลาดในประเทศปีละประมาณ 5-10% ซึ่งการจัดตั้งตลาดกลางขึ้นมากระจายสินค้าจากเกษตรผู้เลี้ยงส่งให้ผู้โดยบริโภคโดยตรง จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันตลาดผู้บริโภคภายในประเทศได้เพิ่มขึ้น และไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางอีกด้วย
สำหรับตลาดกลางขายส่งสินค้ากุ้ง จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 มกราคมนี้ โดยในวันดังกล่าว จะมีการจัดขบวนคาราวานส่งกุ้งกระจายไปจังหวัดต่าง ๆ 8 เส้นทาง ทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ และอีสาน กว่า 200 จุดทั่วประเทศด้วย
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news16/01/08
โพสต์ที่ 133
กระทรวงพาณิชย์ลดการนำเข้าปาล์มเหลือ 3 หมื่นตัน
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน บอกภายหลังเป็นประธานการประชุมอนุกรรมการแก้ไขปาล์มน้ำมันอย่างเป็นระบบ ว่า ที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม โรงสกัดน้ำมันปาล์ม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ มีมติให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) เป็นผู้แทนนำเข้า "น้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์" (CRUDE OLEIN) ปริมาณไม่เกิน 30,000 ตัน โดยกำหนดให้นำเข้าให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 29 ก.พ.นี้ เพื่อให้การนำเข้าไม่มาชนกับผลผลิตภายในประเทศ ที่จะออกมาสู่ตลาดในช่วงเดือนมี.ค. และมีผลทำให้ราคาผลปาล์มของเกษตรกรตกต่ำลง
ก่อนหน้านี้ อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้หารือกับผู้ค้า โรงกลั่น โรงสกัดน้ำมันปาล์มและได้ตรวจสต็อกน้ำมันปาล์มแล้ว มีความต้องการนำเข้าถึง 6 หมื่นตัน เพื่อแก้ปัญหาน้ำมันพืชขาดแคลน
ทั้งนี้ได้มอบหมายให้สมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม เป็นผู้จัดสรรโควตา โดยกำหนดให้ใช้ปริมาณการรับซื้อปาล์มดิบในประเทศของผู้ประกอบการแต่ละรายเป็นเกณฑ์รับจัดสรรน้ำมันปาล์มที่นำเข้า โดยคาดว่าจะนำเข้ามาจากประเทศในอาเซียน เช่น มาเลซีย และ อินโดนีเซีย ที่จะเข้ากรอบอัตราภาษีเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) ที่การนำเข้าโดย อคส. จะเสียภาษี 5%
การเปิดให้นำเข้าน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบภายในประเทศ ที่ล่าสุดปริมาณสต็อกที่มีอยู่ (เวิร์คกิ้ง สต็อก) ตามโรงกลั่นต่างๆ มีเพียง 83,000 ตัน ซึ่งเสี่ยงต่อการขาดแคลน จึงกำหนดให้นำเข้าเพื่อให้แน่ใจว่ามีวัตถุดิบเดินเครื่องกลั่นได้และมีสินค้าป้อนตลาดในที่สุด
อย่างไรก็ตาม การนำเข้าอาจไม่มีผลในด้านการลดต้นทุนผู้ประกอบการ โดยราคาตลาดโลก (มาเลเซีย) ขณะนี้อยู่ที่ 35 บาทต่อกิโลกรัม โดยน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ที่จะนำเข้าจะมีราคาสูงกว่าอีก 1.50 บาท เมื่อรวมภาษีนำเข้าอีก 5% โดยราคาปาล์มน้ำมันดิบในประเทศขณะนี้อยู่ที่ 37 บาทต่อกิโลกรัม
นายกฤษดา ชวนะนันท์ นายกสมาคมโรงสกัดน้ำมันปาล์มแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การนำเข้าน้ำมันปาล์มจะมีผลในเชิงจิตวิทยาที่จะให้แน่ใจว่าจะต้องมีวัตถุดิบที่ผลิตสินค้าป้อนสู่ตลาดได้อย่างแน่นอน ทำให้ภาวะตึงตัวของสินค้าน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ขณะนี้ลดลงได้ สำหรับกระบวนการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศ คาดว่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์ จึงต้องการให้เร่งดำเนินการ ซึ่งวันนี้ (16 ม.ค.) คณะกรรมการแก้ไขปาล์มน้ำมันอย่างเป็นระบบ ที่มี รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน จะประชุมเพื่อพิจารณาและอนุมัติการนำเข้าต่อไป
นายกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบผู้ค้าปลีก ค้าส่งบริเวณตลาดท่าเตียน ไม่พบว่าสินค้าขาดตลาด และมีสินค้าในสต็อกเป็นจำนวนมาก แต่จากการสอบถามผู้ค้าส่งถึงสาเหตุว่าทำไมถึงมีสต็อกอยู่เป็นจำนวนมาก ก็ได้รับคำตอบว่าขายสินค้าไม่ได้ และมีการสั่งซื้อลดลง เพราะราคาสูงขึ้น โดยคนส่วนใหญ่จะหันไปซื้อน้ำมันพืชในห้างสรรพสินค้าแทน
ขณะที่การตรวจสอบร้านค้าปลีก ค้าส่งอื่นๆ พบในลักษณะเดียวกัน คือ มีสินค้าอยู่ในสต็อกเป็นจำนวนมาก และผู้ค้าปลีก ค้าส่ง ระบุในลักษณะเดียวกัน คือ ขายไม่ออก ทำให้กระทรวงพาณิชย์ไม่สามารถดำเนินการเอาผิดในข้อหากักตุนสินค้าได้ ที่สำคัญยังพบอีกว่าร้านค้าปลีก ค้าส่ง หลายๆ ร้าน ได้มีการนำน้ำมันปาล์มบรรจุปี๊บมาจำหน่ายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากน้ำมันปี๊บไม่ได้มีการควบคุมราคา
ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.มีมติอนุมัติร่างระเบียบนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ พ.ศ. .... เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มปี 2551-2555 โดยคณะกรรมการมีบทบาทในการกำหนดนโยบาย แผนงานการบริหารและพัฒนาปาล์มน้ำมันของประเทศ ให้สามารถดำเนินการอย่างเป็นระเบียบและต่อเนื่อง
ทั้งนี้ คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจและหน้าที่ คือ กำหนดนโยบายการใช้ประโยชน์จากน้ำมันปาล์ม และเสนอให้ ครม.รับทราบ หรือพิจารณา เพื่อให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม กำหนดมาตรการและพื้นที่ส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมัน ส่งเสริมอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันครบวงจร และการใช้ประโยชน์จากของที่เหลือใช้จากปาล์มน้ำมัน อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันทั้งระบบ โดยคณะกรรมการมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกฯ ที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธาน และมีกรรมการอื่นๆ เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นต้น และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกฯ แต่งตั้ง จำนวนไม่เกิน 10 คน และต้องมาจากผู้แทนเกษตรกร 3 คน
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน บอกภายหลังเป็นประธานการประชุมอนุกรรมการแก้ไขปาล์มน้ำมันอย่างเป็นระบบ ว่า ที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม โรงสกัดน้ำมันปาล์ม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ มีมติให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) เป็นผู้แทนนำเข้า "น้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์" (CRUDE OLEIN) ปริมาณไม่เกิน 30,000 ตัน โดยกำหนดให้นำเข้าให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 29 ก.พ.นี้ เพื่อให้การนำเข้าไม่มาชนกับผลผลิตภายในประเทศ ที่จะออกมาสู่ตลาดในช่วงเดือนมี.ค. และมีผลทำให้ราคาผลปาล์มของเกษตรกรตกต่ำลง
ก่อนหน้านี้ อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้หารือกับผู้ค้า โรงกลั่น โรงสกัดน้ำมันปาล์มและได้ตรวจสต็อกน้ำมันปาล์มแล้ว มีความต้องการนำเข้าถึง 6 หมื่นตัน เพื่อแก้ปัญหาน้ำมันพืชขาดแคลน
ทั้งนี้ได้มอบหมายให้สมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม เป็นผู้จัดสรรโควตา โดยกำหนดให้ใช้ปริมาณการรับซื้อปาล์มดิบในประเทศของผู้ประกอบการแต่ละรายเป็นเกณฑ์รับจัดสรรน้ำมันปาล์มที่นำเข้า โดยคาดว่าจะนำเข้ามาจากประเทศในอาเซียน เช่น มาเลซีย และ อินโดนีเซีย ที่จะเข้ากรอบอัตราภาษีเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) ที่การนำเข้าโดย อคส. จะเสียภาษี 5%
การเปิดให้นำเข้าน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบภายในประเทศ ที่ล่าสุดปริมาณสต็อกที่มีอยู่ (เวิร์คกิ้ง สต็อก) ตามโรงกลั่นต่างๆ มีเพียง 83,000 ตัน ซึ่งเสี่ยงต่อการขาดแคลน จึงกำหนดให้นำเข้าเพื่อให้แน่ใจว่ามีวัตถุดิบเดินเครื่องกลั่นได้และมีสินค้าป้อนตลาดในที่สุด
อย่างไรก็ตาม การนำเข้าอาจไม่มีผลในด้านการลดต้นทุนผู้ประกอบการ โดยราคาตลาดโลก (มาเลเซีย) ขณะนี้อยู่ที่ 35 บาทต่อกิโลกรัม โดยน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ที่จะนำเข้าจะมีราคาสูงกว่าอีก 1.50 บาท เมื่อรวมภาษีนำเข้าอีก 5% โดยราคาปาล์มน้ำมันดิบในประเทศขณะนี้อยู่ที่ 37 บาทต่อกิโลกรัม
นายกฤษดา ชวนะนันท์ นายกสมาคมโรงสกัดน้ำมันปาล์มแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การนำเข้าน้ำมันปาล์มจะมีผลในเชิงจิตวิทยาที่จะให้แน่ใจว่าจะต้องมีวัตถุดิบที่ผลิตสินค้าป้อนสู่ตลาดได้อย่างแน่นอน ทำให้ภาวะตึงตัวของสินค้าน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ขณะนี้ลดลงได้ สำหรับกระบวนการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศ คาดว่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์ จึงต้องการให้เร่งดำเนินการ ซึ่งวันนี้ (16 ม.ค.) คณะกรรมการแก้ไขปาล์มน้ำมันอย่างเป็นระบบ ที่มี รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน จะประชุมเพื่อพิจารณาและอนุมัติการนำเข้าต่อไป
นายกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบผู้ค้าปลีก ค้าส่งบริเวณตลาดท่าเตียน ไม่พบว่าสินค้าขาดตลาด และมีสินค้าในสต็อกเป็นจำนวนมาก แต่จากการสอบถามผู้ค้าส่งถึงสาเหตุว่าทำไมถึงมีสต็อกอยู่เป็นจำนวนมาก ก็ได้รับคำตอบว่าขายสินค้าไม่ได้ และมีการสั่งซื้อลดลง เพราะราคาสูงขึ้น โดยคนส่วนใหญ่จะหันไปซื้อน้ำมันพืชในห้างสรรพสินค้าแทน
ขณะที่การตรวจสอบร้านค้าปลีก ค้าส่งอื่นๆ พบในลักษณะเดียวกัน คือ มีสินค้าอยู่ในสต็อกเป็นจำนวนมาก และผู้ค้าปลีก ค้าส่ง ระบุในลักษณะเดียวกัน คือ ขายไม่ออก ทำให้กระทรวงพาณิชย์ไม่สามารถดำเนินการเอาผิดในข้อหากักตุนสินค้าได้ ที่สำคัญยังพบอีกว่าร้านค้าปลีก ค้าส่ง หลายๆ ร้าน ได้มีการนำน้ำมันปาล์มบรรจุปี๊บมาจำหน่ายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากน้ำมันปี๊บไม่ได้มีการควบคุมราคา
ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.มีมติอนุมัติร่างระเบียบนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ พ.ศ. .... เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มปี 2551-2555 โดยคณะกรรมการมีบทบาทในการกำหนดนโยบาย แผนงานการบริหารและพัฒนาปาล์มน้ำมันของประเทศ ให้สามารถดำเนินการอย่างเป็นระเบียบและต่อเนื่อง
ทั้งนี้ คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจและหน้าที่ คือ กำหนดนโยบายการใช้ประโยชน์จากน้ำมันปาล์ม และเสนอให้ ครม.รับทราบ หรือพิจารณา เพื่อให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม กำหนดมาตรการและพื้นที่ส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมัน ส่งเสริมอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันครบวงจร และการใช้ประโยชน์จากของที่เหลือใช้จากปาล์มน้ำมัน อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันทั้งระบบ โดยคณะกรรมการมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกฯ ที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธาน และมีกรรมการอื่นๆ เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นต้น และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกฯ แต่งตั้ง จำนวนไม่เกิน 10 คน และต้องมาจากผู้แทนเกษตรกร 3 คน
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news16/01/08
โพสต์ที่ 134
เกษตรฯสบช่องรณรงค์บริโภคน้ำมันรำข้าวแทนปาล์ม
16 มกราคม พ.ศ. 2551 15:50:00
กระทรวงเกษตรฯสบช่องหันรณรงค์บริโภคน้ำมันรำข้าว หลังน้ำมันปาล์ม และถั่วเหลืองแพง แถมขาดแคลน จี้พาณิชย์นำเข้าน้ำมันปาล์มในระยะเวลาที่กำหนดหวั่นกระทบราคาปาล์มดิบ
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เปิดเผยว่า จากที่น้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดมากที่สุด มีราคาสูงขึ้น และเกิดภาวะขาดแคลน ในปัจจุบัน ทางกระทรวงเกษตรจึงเห็นว่าน่าจะเป็นโอกาสดีสำหรับนำมันรำข้าว ที่ควรจะเร่งขยายเพื่อเพิ่มสัดส่วนการตลาดให้สูงขึ้นจากปัจจุบันที่มีมีอยู่ประมาณ 5 % เท่านั้น โดยน้ำมันรำข้าว ถือว่ามีคุณค่าทางอาหารมาก ต้นทุนต่ำกว่า แต่ได้รับความนิยมน้อย ดังนั้นจึงมอบให้กรมการข้าว เร่งประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งของนโยบายเรื่องการแปรรูปเพิ่มมูลค่า ของข้าว ด้วย
น้ำมันปาล์ม กับถั่วเหลืองมีสัดส่วนการตลาดในประเทศสูงถึง 60 % เมื่อเกิดการขาดแคลน จึงส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อนมาก ดังนั้น ควรสนับสนุน ให้หันไปบริโภคน้ำมันชนิดอื่น โดยเฉพาะ น้ำมันรำข้าว ที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ หากมีการกระตุ้นการบริโภคของประชาชนให้หันมาบริโภคน้ำมันรำข้าวเพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันรำข้าวซึ่งมีศักยภาพเพียงพอต่อการรองรับความต้องการของตลาด ขณะนี้ราคาน้ำมันรำข้าวปัจจุบันอยู่ที่ 42 บาท/ลิตร ซึ่งมีราคาใกล้เคียงกับราคาน้ำมันปาล์มซึ่งอยู่ที่ 41 บาท/ลิตร นายธีระ กล่าว
สำหรับนโยบายการนำเข้าน้ำมันปาล์ม ของกระทรวงพาณิชย์ จำนวน 3 หมื่นตัน ซึ่งจะต้องนำเข้าภายในเดือนมกราคม นี้ คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับราคาปาล์มน้ำมันที่จะออกสู่ตลาดในต้นเดือนมีนาคม นี้ แต่กระทรวงพาณิชย์จะต้องดูแลการนำเข้าอย่างเข็มงวด ไม่ให้เกินระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ เพราะจะส่งผลให้ราคาปาล์มดิบตกต่ำแน่ ขณะนี้ราคาปาล์มดิบอยู่ที่กิโลกรัมละ 6.05 บาท
มาตรการนำเข้าปาล์มถือเป็นการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันปาล์มที่ขาดแคลน แต่ควรจะมีการนำเข้าเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น จึงไม่น่าจะกระทบต่อผลผลิตปาล์มและราคาน้ำมันปาล์มของเกษตรกร นายธีระ กล่าว
http://www.bangkokbiznews.com/2008/01/1 ... sid=220759
16 มกราคม พ.ศ. 2551 15:50:00
กระทรวงเกษตรฯสบช่องหันรณรงค์บริโภคน้ำมันรำข้าว หลังน้ำมันปาล์ม และถั่วเหลืองแพง แถมขาดแคลน จี้พาณิชย์นำเข้าน้ำมันปาล์มในระยะเวลาที่กำหนดหวั่นกระทบราคาปาล์มดิบ
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เปิดเผยว่า จากที่น้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งมีสัดส่วนการตลาดมากที่สุด มีราคาสูงขึ้น และเกิดภาวะขาดแคลน ในปัจจุบัน ทางกระทรวงเกษตรจึงเห็นว่าน่าจะเป็นโอกาสดีสำหรับนำมันรำข้าว ที่ควรจะเร่งขยายเพื่อเพิ่มสัดส่วนการตลาดให้สูงขึ้นจากปัจจุบันที่มีมีอยู่ประมาณ 5 % เท่านั้น โดยน้ำมันรำข้าว ถือว่ามีคุณค่าทางอาหารมาก ต้นทุนต่ำกว่า แต่ได้รับความนิยมน้อย ดังนั้นจึงมอบให้กรมการข้าว เร่งประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งของนโยบายเรื่องการแปรรูปเพิ่มมูลค่า ของข้าว ด้วย
น้ำมันปาล์ม กับถั่วเหลืองมีสัดส่วนการตลาดในประเทศสูงถึง 60 % เมื่อเกิดการขาดแคลน จึงส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อนมาก ดังนั้น ควรสนับสนุน ให้หันไปบริโภคน้ำมันชนิดอื่น โดยเฉพาะ น้ำมันรำข้าว ที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ หากมีการกระตุ้นการบริโภคของประชาชนให้หันมาบริโภคน้ำมันรำข้าวเพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันรำข้าวซึ่งมีศักยภาพเพียงพอต่อการรองรับความต้องการของตลาด ขณะนี้ราคาน้ำมันรำข้าวปัจจุบันอยู่ที่ 42 บาท/ลิตร ซึ่งมีราคาใกล้เคียงกับราคาน้ำมันปาล์มซึ่งอยู่ที่ 41 บาท/ลิตร นายธีระ กล่าว
สำหรับนโยบายการนำเข้าน้ำมันปาล์ม ของกระทรวงพาณิชย์ จำนวน 3 หมื่นตัน ซึ่งจะต้องนำเข้าภายในเดือนมกราคม นี้ คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับราคาปาล์มน้ำมันที่จะออกสู่ตลาดในต้นเดือนมีนาคม นี้ แต่กระทรวงพาณิชย์จะต้องดูแลการนำเข้าอย่างเข็มงวด ไม่ให้เกินระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ เพราะจะส่งผลให้ราคาปาล์มดิบตกต่ำแน่ ขณะนี้ราคาปาล์มดิบอยู่ที่กิโลกรัมละ 6.05 บาท
มาตรการนำเข้าปาล์มถือเป็นการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันปาล์มที่ขาดแคลน แต่ควรจะมีการนำเข้าเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น จึงไม่น่าจะกระทบต่อผลผลิตปาล์มและราคาน้ำมันปาล์มของเกษตรกร นายธีระ กล่าว
http://www.bangkokbiznews.com/2008/01/1 ... sid=220759
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news16/01/08
โพสต์ที่ 135
เกษตรฯวาง 6 ยุทธศาสตร์ ดันสินค้าสู่มาตรฐานสากล
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์วาง 6 ยุทธศาสตร์ ดันสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยสู่มาตรฐานสากล ทั้ง พืช ปศุสัตว์และสัตว์น้ำ ตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่การผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ได้ 200,000 ไร่ ภายในปี 2552
นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่มาตรฐานสากล ปี 2551-2552 เพื่อเป็นแนวทางในการผลักดันเพิ่มการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน และได้รับการยอมรับในระดับสากล
ทั้งนี้ มีเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่การผลิตเกษตรอินทรีย์ทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ และสัตว์น้ำ ได้แก่ ข้าว ผัก ผลไม้ สมุนไพร กุ้ง ปลา เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นมและไข่ รวมเป็น 200,000 ไร่ ภายในปี 2552
สำหรับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่มาตรฐานสากล ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านมาตรฐานและระบบการรับรอง พัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานการผลิตและการตลาดเกษตรอินทรีย์ พัฒนาระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์ให้เข้าสู่มาตรฐานสากล
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการส่งเสริม สนับสนุนเกษตรกรและเครือข่าย เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตและการสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านระบบเชื่อมโยงการผลิต การแปรรูป และการตลาด จัดทำข้อตกลงล่วงหน้าในการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร การเพิ่มช่องทางตลาดสินค้า การจัดระบบการรวบรวมและกระจายสินค้า
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การตลาด ทำแผนประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ให้เหมาะสมกับทุกกลุ่มเป้าหมาย การจัดงานแสดงสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งในและนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการวิจัยและพัฒนา ร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนในการวางแผนแนวทางการวิจัยเพื่อใช้เป็นกรอบการศึกษาวิจัย และนำผลไปสู่การปฏิบัติเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านนโยบายและการบริหารจัดการ ตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการ รวมทั้งแต่งตั้งหน่วยงานประสานงานเพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายของคณะกรรมการระดับชาติ
ทั้งนี้ นายยุคล คาดว่าการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะช่วยยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยให้มีความน่าเชื่อถือและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้มีปริมาณการบริโภคภายในประเทศและปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... egoryId=16
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์วาง 6 ยุทธศาสตร์ ดันสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยสู่มาตรฐานสากล ทั้ง พืช ปศุสัตว์และสัตว์น้ำ ตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่การผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ได้ 200,000 ไร่ ภายในปี 2552
นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่มาตรฐานสากล ปี 2551-2552 เพื่อเป็นแนวทางในการผลักดันเพิ่มการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน และได้รับการยอมรับในระดับสากล
ทั้งนี้ มีเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่การผลิตเกษตรอินทรีย์ทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ และสัตว์น้ำ ได้แก่ ข้าว ผัก ผลไม้ สมุนไพร กุ้ง ปลา เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นมและไข่ รวมเป็น 200,000 ไร่ ภายในปี 2552
สำหรับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่มาตรฐานสากล ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านมาตรฐานและระบบการรับรอง พัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานการผลิตและการตลาดเกษตรอินทรีย์ พัฒนาระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์ให้เข้าสู่มาตรฐานสากล
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการส่งเสริม สนับสนุนเกษตรกรและเครือข่าย เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตและการสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านระบบเชื่อมโยงการผลิต การแปรรูป และการตลาด จัดทำข้อตกลงล่วงหน้าในการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร การเพิ่มช่องทางตลาดสินค้า การจัดระบบการรวบรวมและกระจายสินค้า
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การตลาด ทำแผนประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ให้เหมาะสมกับทุกกลุ่มเป้าหมาย การจัดงานแสดงสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งในและนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการวิจัยและพัฒนา ร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนในการวางแผนแนวทางการวิจัยเพื่อใช้เป็นกรอบการศึกษาวิจัย และนำผลไปสู่การปฏิบัติเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านนโยบายและการบริหารจัดการ ตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการ รวมทั้งแต่งตั้งหน่วยงานประสานงานเพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายของคณะกรรมการระดับชาติ
ทั้งนี้ นายยุคล คาดว่าการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะช่วยยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยให้มีความน่าเชื่อถือและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้มีปริมาณการบริโภคภายในประเทศและปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... egoryId=16
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news18/01/08
โพสต์ที่ 136
ปัจจัยด้านอุตสาหกรรม
กลุ่มธุรกิจเกษตร
ประเด็นข่าว : กระทรวงพาณิชย์สั่งกรมการค้าภายในศึกษาการปล่อย ลอยตัว ราคาน้ำมันพืช
ความเห็นและคำแนะนำ : หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ใช้นโยบายการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบที่ 30,000 ตัน เพื่อแก้ไขปัญหาแก้ปัญหาระยะสั้นเรื่องน้ำมันพืชขาดตลาด ได้มีการสั่งให้กรมการค้าภายในศึกษาระบบการลอยตัวน้ำมันพืช เพื่อให้สะท้อนราคาต้นทุนที่แท้จริงและเป็นไปตามกลไกตลาด ทั้งนี้ SCIBS มองว่าในระยะยาวจะมีผลกระทบเชิงลบต่อผู้บริโภคและการขยายตัวของเศรษฐกิจเนื่องจากปัญหาที่แท้จริงคือวัตถุดิบที่ใช้ผลิตน้ำมันพืชขาดตลาด ในขณะที่ผลผลิตปาล์มในประเทศไทยมีเพียงพอเพื่อการบริโภคแต่ยังขาดอุปทานสำหรับการใช้เพื่อผลิตไบโอดีเซล ดังนั้นหากมีการแก้ไขโดยการลอยตัวราคาน้ำมันพืชซึ่งเป็นสินค้าจำเป็น SCIBS มองว่าจะมีผลทำให้มีการขอปรับขึ้นราคาของราคาสินค้าเพื่อการบริโภครายการอื่นๆตามมาและเกิดภาวะเงินเฟ้อในสินค้าเพื่อการบริโภค ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมให้ชะลอตัวลงได้ อย่างไรก็ตามหากมีการใช้ระบบลอยในราคาน้ำมันพืช จะส่งผลบวกในระยะสั้นต่อผู้ผลิตน้ำมันพืช เช่น TVO UPOIC UVAN LST CPI ทั้งนี้ในปี 2551 SCIBS ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อ TVO เนื่องจากรายได้จากน้ำมันพืชขายปลีกคิดเป็น 10%ของรายได้รวมเท่านั้น ในขณะที่มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งด้านธุรกิจกากถั่วเหลืองบวกกับการเติบโตของธุรกิจในประเทศจีนที่คาดว่าจะเติบโตถึง 30% yoy และคาดว่าจะให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลในระดับสูงคือ 9.38% ดังนั้น SCIBS จึง แนะนำ ซื้อ ราคาเหมาะสมปี 2551 19.37 บาท/หุ้น
http://www.thunhoon.com/home/
กลุ่มธุรกิจเกษตร
ประเด็นข่าว : กระทรวงพาณิชย์สั่งกรมการค้าภายในศึกษาการปล่อย ลอยตัว ราคาน้ำมันพืช
ความเห็นและคำแนะนำ : หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ใช้นโยบายการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบที่ 30,000 ตัน เพื่อแก้ไขปัญหาแก้ปัญหาระยะสั้นเรื่องน้ำมันพืชขาดตลาด ได้มีการสั่งให้กรมการค้าภายในศึกษาระบบการลอยตัวน้ำมันพืช เพื่อให้สะท้อนราคาต้นทุนที่แท้จริงและเป็นไปตามกลไกตลาด ทั้งนี้ SCIBS มองว่าในระยะยาวจะมีผลกระทบเชิงลบต่อผู้บริโภคและการขยายตัวของเศรษฐกิจเนื่องจากปัญหาที่แท้จริงคือวัตถุดิบที่ใช้ผลิตน้ำมันพืชขาดตลาด ในขณะที่ผลผลิตปาล์มในประเทศไทยมีเพียงพอเพื่อการบริโภคแต่ยังขาดอุปทานสำหรับการใช้เพื่อผลิตไบโอดีเซล ดังนั้นหากมีการแก้ไขโดยการลอยตัวราคาน้ำมันพืชซึ่งเป็นสินค้าจำเป็น SCIBS มองว่าจะมีผลทำให้มีการขอปรับขึ้นราคาของราคาสินค้าเพื่อการบริโภครายการอื่นๆตามมาและเกิดภาวะเงินเฟ้อในสินค้าเพื่อการบริโภค ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมให้ชะลอตัวลงได้ อย่างไรก็ตามหากมีการใช้ระบบลอยในราคาน้ำมันพืช จะส่งผลบวกในระยะสั้นต่อผู้ผลิตน้ำมันพืช เช่น TVO UPOIC UVAN LST CPI ทั้งนี้ในปี 2551 SCIBS ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อ TVO เนื่องจากรายได้จากน้ำมันพืชขายปลีกคิดเป็น 10%ของรายได้รวมเท่านั้น ในขณะที่มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งด้านธุรกิจกากถั่วเหลืองบวกกับการเติบโตของธุรกิจในประเทศจีนที่คาดว่าจะเติบโตถึง 30% yoy และคาดว่าจะให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลในระดับสูงคือ 9.38% ดังนั้น SCIBS จึง แนะนำ ซื้อ ราคาเหมาะสมปี 2551 19.37 บาท/หุ้น
http://www.thunhoon.com/home/
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news18/01/08
โพสต์ที่ 137
ปัจจัยลบยังรุม ส่งออกอาหาร ปีนี้โตแค่7.2%
โพสต์ทูเดย์ ประเมินส่งออกอาหารปีนี้โตแค่ 7.2% เหตุปัจจัยลบยังไม่คลี่คลาย ทั้งบาทแข็งค่า เศรษฐกิจโลกไม่กระเตื้อง
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ปี 2551 คาดว่าการส่งออกอาหารจะขยายตัว 7.2% จากปีที่แล้ว โดยจะมีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 6.64 แสนล้านบาท โดยสมมติฐานค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.50 บาท/เหรียญสหรัฐ
สาเหตุที่ในปีนี้การส่งออกอาหารขยายตัวต่ำกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ประกอบการประสบปัญหาเงินบาทแข็งค่า แม้ว่าส่งออกในปริมาณเท่าเดิมแต่ได้รับเงินบาทน้อยลง
ทั้งนี้ เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1 บาท ทำให้มูลค่าในการส่งออกสินค้าอาหารหายไป 1.6 หมื่นล้านบาท
ขณะเดียวกัน ในปีนี้ผู้ประกอบการจะเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และผลกระทบจากภาวะโลกร้อน วัตถุดิบจะน้อยลง
รวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัวทำให้กำลังซื้อลดลง โดยเฉพาะสหรัฐที่เป็นตลาดหลักในการส่งออกอาหารและสินค้าเกษตร นอกจากนี้ยังมีปัญหากีดกันทางการค้าข้อที่มิใช่ภาษี (NTBs) ที่นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า หากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทอยู่ที่ 32.50 บาท/เหรียญสหรัฐ การส่งออกจะขยายตัวเพียง 4.6% หรือมีมูลค่า 6.48 แสนล้านบาท และถ้าเงินบาทแข็งค่าไปอยู่ที่ 30 บาท/เหรียญสหรัฐ จะทำให้การส่งออกอาหารลดลง 1.9% หรือมีมูลค่าเพียง 6.083 แสนล้านบาทเท่านั้น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=215378
โพสต์ทูเดย์ ประเมินส่งออกอาหารปีนี้โตแค่ 7.2% เหตุปัจจัยลบยังไม่คลี่คลาย ทั้งบาทแข็งค่า เศรษฐกิจโลกไม่กระเตื้อง
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ปี 2551 คาดว่าการส่งออกอาหารจะขยายตัว 7.2% จากปีที่แล้ว โดยจะมีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 6.64 แสนล้านบาท โดยสมมติฐานค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.50 บาท/เหรียญสหรัฐ
สาเหตุที่ในปีนี้การส่งออกอาหารขยายตัวต่ำกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ประกอบการประสบปัญหาเงินบาทแข็งค่า แม้ว่าส่งออกในปริมาณเท่าเดิมแต่ได้รับเงินบาทน้อยลง
ทั้งนี้ เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1 บาท ทำให้มูลค่าในการส่งออกสินค้าอาหารหายไป 1.6 หมื่นล้านบาท
ขณะเดียวกัน ในปีนี้ผู้ประกอบการจะเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และผลกระทบจากภาวะโลกร้อน วัตถุดิบจะน้อยลง
รวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัวทำให้กำลังซื้อลดลง โดยเฉพาะสหรัฐที่เป็นตลาดหลักในการส่งออกอาหารและสินค้าเกษตร นอกจากนี้ยังมีปัญหากีดกันทางการค้าข้อที่มิใช่ภาษี (NTBs) ที่นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า หากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทอยู่ที่ 32.50 บาท/เหรียญสหรัฐ การส่งออกจะขยายตัวเพียง 4.6% หรือมีมูลค่า 6.48 แสนล้านบาท และถ้าเงินบาทแข็งค่าไปอยู่ที่ 30 บาท/เหรียญสหรัฐ จะทำให้การส่งออกอาหารลดลง 1.9% หรือมีมูลค่าเพียง 6.083 แสนล้านบาทเท่านั้น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=215378
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/01/08
โพสต์ที่ 138
น้ำมันปาล์มขวดสุดอั้น! ขยับขึ้นพรวดเดียว 4 บาท/ลิตร มีผลตั้งแต่ 25 ม.ค.นี้
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 28 มกราคม 2551 18:27 น.
พาณิชย์ ยอมไฟเขียวน้ำมันปาล์มชนิดขวด ปรับราคาอีก 4 บาท/ขวดลิตร โดยมีผลตั้งแต่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาขยับขึ้นจากขวดละ 43.50 บาท เป็นขวดละ 47.50 บาท ในทันที "พาณิชย์" ยอมรับสุดอั้น ผู้ผลิตแบกต้นทุนอ่วม ขอปรับขึ้น 8.50 บาท แต่ยอมให้แค่ครึ่งเดียว
วันนี้ (28 ม.ค.) นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวยอมรับว่า ตนเองได้อนุมัติให้ผู้ประกอบการน้ำมันปาล์มชนิดบรรจุขวด 1 ลิตร ปรับราคาเพิ่มขึ้นอีก 4 บาท ไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา จากที่ยื่นขอปรับราคาเพิ่มขึ้นขวดละ 8.50 บาท เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตปรับตัวสูงขึ้น
กรมฯ อนุมัติให้ผู้ประกอบการน้ำมันปาล์มบรรจุขวดปรับขึ้นราคาเพิ่มขึ้นอีกลิตรละ 4 บาท หรือจากขวดละ 43.50 บาท เป็นขวดละ 47.50 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา
เนื่องจากพบว่า น้ำมันปาล์มดิบ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 34 บาท โดยการปรับขึ้นราคาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 จากที่ก่อนหน้านี้กรมการค้าภายในเคยอนุมัติให้ขึ้นราคาไปแล้วถึงขวดละ 5.50 บาท ตั้งแต่กลางเดือน ธ.ค.2550 ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มขวดสูงกว่าราคาน้ำมันถั่วเหลืองซึ่งอยู่ที่ขวดละ 45.50 บาทเป็นครั้งแรก จากปกติน้ำมันถั่วเหลืองจะแพงกว่าน้ำมันปาล์มขวดละ 2-3 บาท
ตอนนี้ราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวสูงขึ้นมาก ที่ผ่านมาขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 37 บาท หากกรมฯไม่อนุญาตให้นำเข้าน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ 30,000 ตัน คาดว่า ราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศคงทะลุ 39-40 บาทไปแล้ว นายยรรยง กล่าว
นอกจากน้ำมันปาล์มแล้ว กรมการค้าภายในยังไม่ได้อนุมัติให้สินค้าใดปรับขึ้นราคา โดยสินค้าที่อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับราคา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นม วัสดุก่อสร้าง เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็ก ซึ่งขณะนี้ได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าขาดแคลน ซึ่งจะส่งเจ้าหน้าออกไปตรวจสอบสตอกปูนซีเมนต์ และเหล็ก เพื่อไม่ให้เกิดการกักตุนสินค้า จากการรอพิจารณาปรับขึ้นราคาใหม่เพื่อเก็งกำไร
สำหรับมาตรการดูแลค่าครองชีพขณะนี้ กรมการค้าภายในได้ร่วมกับห้างค้าปลีก โดยล่าสุดร่วมมือกับบิ๊กซีจัดเทศกาลตรุษจีนธงฟ้าราคาประหยัด ระหว่างวันที่ 31 ม.ค.-6 ก.พ.นี้ เพื่อจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคและเครื่องใช้จำเป็นในเทศกาลตรุษจีนในราคาถูกกว่าท้องตลาด 5-30% ส่วนราคาอาหารสำเร็จรูปในฟู้ดคอร์ท พบว่า ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลได้ให้ความร่วมมือลดราคาอาหารในฟู้ดคอร์ท ลงมาไม่เกินจานละ 30 บาทแล้ว
ด้าน นายเศรษฐสรร เศรษฐการุณย์ นายกสมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว กล่าวว่า สมาคมได้ยื่นหนังสือขอปรับราคาขายน้ำมันถั่วเหลืองบรรจุขวดเช่นกัน เพราะได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาถั่วเหลือที่เพิ่มขึ้นจากต้นปี 2550 มาอยู่ที่กิโลกรัมละ 10 บาท เป็นกิโลกรัมละ 19 บาท แต่ราคาเพดานขายน้ำมันถั่วเหลืองบรรจุขวดยังเป็นเท่าเดิม จึงจำเป็นต้องปรับราคาขาย แต่ขณะนี้กรมการค้าภายในอยู่ระหว่างการพิจารณา
แม้ราคาน้ำมันปาล์มดิบจะสูงกว่าน้ำมันถั่วเหลือง จนอาจทำให้น้ำมันถั่วเหลืองมียอดขายเพิ่มขึ้น แต่ในความเป็นจริง ผู้ประกอบการยังได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งราคาวัตถุดิบมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามทิศทางความต้องการพืชน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แต่ปริมาณผลผลิตไม่ได้เพิ่มในสัดส่วนเดียวกับความต้องการ
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000011512
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 28 มกราคม 2551 18:27 น.
พาณิชย์ ยอมไฟเขียวน้ำมันปาล์มชนิดขวด ปรับราคาอีก 4 บาท/ขวดลิตร โดยมีผลตั้งแต่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาขยับขึ้นจากขวดละ 43.50 บาท เป็นขวดละ 47.50 บาท ในทันที "พาณิชย์" ยอมรับสุดอั้น ผู้ผลิตแบกต้นทุนอ่วม ขอปรับขึ้น 8.50 บาท แต่ยอมให้แค่ครึ่งเดียว
วันนี้ (28 ม.ค.) นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวยอมรับว่า ตนเองได้อนุมัติให้ผู้ประกอบการน้ำมันปาล์มชนิดบรรจุขวด 1 ลิตร ปรับราคาเพิ่มขึ้นอีก 4 บาท ไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา จากที่ยื่นขอปรับราคาเพิ่มขึ้นขวดละ 8.50 บาท เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตปรับตัวสูงขึ้น
กรมฯ อนุมัติให้ผู้ประกอบการน้ำมันปาล์มบรรจุขวดปรับขึ้นราคาเพิ่มขึ้นอีกลิตรละ 4 บาท หรือจากขวดละ 43.50 บาท เป็นขวดละ 47.50 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา
เนื่องจากพบว่า น้ำมันปาล์มดิบ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 34 บาท โดยการปรับขึ้นราคาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 จากที่ก่อนหน้านี้กรมการค้าภายในเคยอนุมัติให้ขึ้นราคาไปแล้วถึงขวดละ 5.50 บาท ตั้งแต่กลางเดือน ธ.ค.2550 ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มขวดสูงกว่าราคาน้ำมันถั่วเหลืองซึ่งอยู่ที่ขวดละ 45.50 บาทเป็นครั้งแรก จากปกติน้ำมันถั่วเหลืองจะแพงกว่าน้ำมันปาล์มขวดละ 2-3 บาท
ตอนนี้ราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวสูงขึ้นมาก ที่ผ่านมาขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 37 บาท หากกรมฯไม่อนุญาตให้นำเข้าน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ 30,000 ตัน คาดว่า ราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศคงทะลุ 39-40 บาทไปแล้ว นายยรรยง กล่าว
นอกจากน้ำมันปาล์มแล้ว กรมการค้าภายในยังไม่ได้อนุมัติให้สินค้าใดปรับขึ้นราคา โดยสินค้าที่อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับราคา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นม วัสดุก่อสร้าง เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็ก ซึ่งขณะนี้ได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าขาดแคลน ซึ่งจะส่งเจ้าหน้าออกไปตรวจสอบสตอกปูนซีเมนต์ และเหล็ก เพื่อไม่ให้เกิดการกักตุนสินค้า จากการรอพิจารณาปรับขึ้นราคาใหม่เพื่อเก็งกำไร
สำหรับมาตรการดูแลค่าครองชีพขณะนี้ กรมการค้าภายในได้ร่วมกับห้างค้าปลีก โดยล่าสุดร่วมมือกับบิ๊กซีจัดเทศกาลตรุษจีนธงฟ้าราคาประหยัด ระหว่างวันที่ 31 ม.ค.-6 ก.พ.นี้ เพื่อจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคและเครื่องใช้จำเป็นในเทศกาลตรุษจีนในราคาถูกกว่าท้องตลาด 5-30% ส่วนราคาอาหารสำเร็จรูปในฟู้ดคอร์ท พบว่า ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลได้ให้ความร่วมมือลดราคาอาหารในฟู้ดคอร์ท ลงมาไม่เกินจานละ 30 บาทแล้ว
ด้าน นายเศรษฐสรร เศรษฐการุณย์ นายกสมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว กล่าวว่า สมาคมได้ยื่นหนังสือขอปรับราคาขายน้ำมันถั่วเหลืองบรรจุขวดเช่นกัน เพราะได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาถั่วเหลือที่เพิ่มขึ้นจากต้นปี 2550 มาอยู่ที่กิโลกรัมละ 10 บาท เป็นกิโลกรัมละ 19 บาท แต่ราคาเพดานขายน้ำมันถั่วเหลืองบรรจุขวดยังเป็นเท่าเดิม จึงจำเป็นต้องปรับราคาขาย แต่ขณะนี้กรมการค้าภายในอยู่ระหว่างการพิจารณา
แม้ราคาน้ำมันปาล์มดิบจะสูงกว่าน้ำมันถั่วเหลือง จนอาจทำให้น้ำมันถั่วเหลืองมียอดขายเพิ่มขึ้น แต่ในความเป็นจริง ผู้ประกอบการยังได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งราคาวัตถุดิบมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามทิศทางความต้องการพืชน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แต่ปริมาณผลผลิตไม่ได้เพิ่มในสัดส่วนเดียวกับความต้องการ
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000011512
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news29/01/08
โพสต์ที่ 139
ราคาข้าวในปท.ผันผวนหนัก ปลายข้าวพุ่งทะลุ13,000บาท
สุดช็อก "ปลายข้าวหอมมะลิ" ราคาแพงกว่า "ข้าวขาว" เหตุวัตถุดิบอาหารสัตว์ขาดหนัก ต่างชาติแห่กว้านซื้อปลายข้าว จนราคาในประเทศทะลุ 13,000 บาท/ตัน ด้านข้าวหอมมะลิพุ่งไม่หยุด 21,900 บาท/ตัน ข้าวขาว 100% 13,500 บาท/ตัน ข้าวขาว 5% 12,600 บาท/ตัน ด้านผู้ส่งออกหวั่นราคาสูงแต่เสี่ยง หากรับออร์เดอร์วันนี้ พอถึงวันส่งมอบจริงราคาขึ้นไม่หยุดถึงขั้นขาดทุนทั้งลอต
สถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะราคาข้าวหอมมะลิ เมื่อวันที่ 23 มกราคม ราคาได้ปรับขึ้นไปถึง 710 เหรียญสหรัฐ/ตัน จากเดือนธันวาคม 2550-กลางเดือนมกราคม 2551 ราคาอยู่ที่ตันละ 660-680 เหรียญสหรัฐ ส่วนข้าวขาว 100% อยู่ที่ 396 เหรียญสหรัฐ/ตัน และคาดว่าราคาข้าวหอมมะลิจะปรับตัวขึ้นไปสูงกว่า 400 เหรียญสหรัฐต่อตัน
ส่วนราคาข้าวภายในประเทศก็ปรับสูงขึ้นไม่แพ้กัน โดยข้าวสารหอมมะลิตันละ 21,000-21,900 บาท ข้าวขาว 100% ตันละ 13,500-13,600 บาท ส่วนข้าวขาว 5% ตันละ 12,600-12,650 บาท นอกเหนือจากข้าวแล้ว ปรากฏว่าทั้งรำข้าวกับปลายข้าว ต่างปรับราคาสูงขึ้นตามกัน
แหล่งข่าวจากสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้นอกจากราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากแล้ว ในส่วนของรำข้าว กับกับปลายข้าว ได้ปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ "ปลายข้าวหอมมะลิ" ราคาส่งออกปรับขึ้นเป็น 423 เหรียญสหรัฐ/ตัน ส่วนราคาในประเทศอยู่ที่ 13,000-13,200 บาท/ตัน ส่วนราคาปลายข้าวขาว ส่งออกปรับขึ้นเป็น 378 เหรียญสหรัฐ/ตัน ราคาในประเทศอยู่ที่ 11,500 บาท/ตัน
"ซึ่งเป็นราคาที่สูงมากแบบไม่เคยเห็นมาก่อน ทั้งที่โดยปกติแล้วราคาปลายข้าวจะต่างจากราคาข้าวประมาณ 2,000 บาทต่อตัน แต่ตอนนี้เหลือเพียง 200-300 บาทต่อตัน"
ดังนั้นแนวทางที่รัฐบาลใหม่ควรจะต้องดำเนินการต่อจากนี้ไปก็คือ การเร่งระบายสต๊อกข้าวขาว 25% ออกมาสำหรับใช้ภายในประเทศก่อน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน เพราะข้าว 25% จะมีสัดส่วนปลายข้าวถึง 55% หากรัฐบาลระบายออกมาประมาณ 100,000 ตัน จากสต๊อกข้าว 25% ที่มีอยู่ประมาณ 300,000 ตัน ก็จะช่วยได้มากและต้องกำหนดระยะเวลาการระบายไม่เกิน 1 เดือนด้วย
ส่วนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ส่งออกปลายข้าว ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 2-3 ราย ก็คือ ราคาขายปลายข้าวจะต้องสูงขึ้น อาจจะทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถยอมรับราคาได้ โดยการส่งออกปลายข้าวในปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.87 มูลค่า 439.40 ล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศที่มีการนำเข้าปลายข้าวขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก อาทิ เซเนกัล เพิ่มขึ้นร้อยละ 137.49, กินี ร้อยละ 49,103.23, เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 578.31, ออสเตรเลีย ร้อยละ 344.79 และกานา เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.70
ดังนั้นการส่งออกปลายข้าวในปีนี้ผู้ส่งออกต้องแข่งกันซื้อในราคาที่สูงขึ้น นอกจากนี้ปลายข้าวยังถูกนำไปใช้ในการอุตสาหกรรมการผลิตเส้นบะหมี่-เส้นก๋วยเตี๋ยว ซึ่งต่างได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
นางสาวกอบสุข เอี่ยมสุรีย์ เลขาธิการ สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวว่า ขณะนี้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นอย่างชนิดที่เรียกว่า "ร้อนแรง" ทั้งข้าว ปลายข้าว และรำข้าว ซึ่งปรับราคาสูงขึ้นจาก 3 บาท เป็น 9 บาท ส่งผลให้ผู้ส่งออกยังไม่สามารถกำหนดราคาส่งออกได้ แม้ว่าจะมีความต้องการและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ
โดยล่าสุดกรณีที่ฟิลิปปินส์พิจารณาซื้อข้าวขาวจากเวียดนามไปในราคาประมาณ 345 เหรียญสหรัฐต่อตัน "ต่ำกว่า" ราคาที่ผู้ส่งออกไทยเสนอ จึงทำให้เวียดนามชนะการประมูลไป 430,000 ตัน แต่ขณะนี้เวียดนามยังไม่ได้ส่งออก เพราะขาดทุนประมาณ 5-10 เหรียญสหรัฐต่อตัน จากความผันผวนของราคาข้าวและต้นทุนราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น
"ผู้ส่งออกข้าวจึงต้องระมัดระวังการส่งออก เพราะราคาข้าวภายในประเทศไต่ระดับทุกวัน ออร์เดอร์เต็มก็จริง แต่ราคาพุ่งสูง หากซื้อของไม่ได้ หรือซื้อได้ราคาแพงก็เสี่ยง เพราะยังมีปัจจัยค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างไม่มีเสถียรภาพ จึงมีปัญหาในการโค้ดราคา โดยราคาข้าวขาวกำลังขยับขึ้นสูงกว่า 400 เหรียญสหรัฐต่อตันแล้ว" นางสาว กอบสุขกล่าว
แหล่งข่าวจากวงการข้าว เปิดเผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์คนใหม่ควรเข้ามาดูแลเสถียรภาพราคาข้าวและวางแผนแนวทางการสร้างบรรทัดฐานข้าวไทย โดยจะต้องเน้นให้สอดคล้องกับกลไกตลาดเหมือนกับการดำเนินนโยบายของ นายเกริกไกร จีระแพทย์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่กำหนดราคารับจำนำข้าวอิงกลไกตลาด ซึ่งส่งผลดีกับระบบข้าวในระยะยาว เพราะราคาข้าวเจ้า 7,000 บาทต่อตัน ชาวนาเห็นว่าเหมาะสมสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต ในขณะที่ผู้ส่งออกข้าวก็อยู่ได้
ด้านนายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคม การค้าส่ง-ปลีกไทย กล่าวว่า นอกจากวัตถุดิบทั้งน้ำมันปาล์ม แป้งสาลี แป้งข้าวเจ้า แป้งมัน รวมทั้งน้ำตาล จะมีการปรับขึ้นราคาไปหลายรอบ โดยเฉลี่ยขณะนี้ต่อกิโลกรัมราคาปรับขึ้นไปแล้วเกือบ 1 บาท ที่เหลือก็เป็นน้ำมันพืชที่มีการปรับราคาขึ้นไปก่อนหน้านี้แล้ว
ดังนั้นสินค้าที่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบเหล่านี้เป็นหลักจะได้รับผลกระทบสูง อาทิ กลุ่มขนมหวาน กับขนมขบเคี้ยว
"เรื่องแป้งข้าวเจ้า เป็นผลมาจากปี 2549 ที่ราคาข้าวเหนียวปรับสูงขึ้น ทำให้ปีที่แล้วเกษตรกรจำนวนมากหันไปปลูกข้าวเหนียว ซึ่งส่งผลให้แป้งข้าวเจ้าขาดตลาดในขณะนี้ ขณะที่ปีนี้ราคาของข้าวเหนียวปีนี้คงตัว"
สำหรับกรณีของปลายข้าว ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการทำเส้นก๋วยเตี๋ยว กับโจ๊กกึ่งสำเร็จรูปจะปรับตัวสูงขึ้นไปมาก
"ผมเชื่อว่าสถานการณ์ยังไม่ถึงขั้นผู้ประกอบการโจ๊กสำเร็จรูปจะปรับขึ้นราคา เพราะหากดูจากปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ยังไม่มากนัก น่าจะยังสามารถบริหารต้นทุนได้ และราคาที่ปรับขึ้นยังไม่เหมือนกับแป้งสาลีและน้ำมันปาล์ม ที่ปรับสูงขึ้นเป็นเท่าตัว" นายสมชายกล่าว
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0201
สุดช็อก "ปลายข้าวหอมมะลิ" ราคาแพงกว่า "ข้าวขาว" เหตุวัตถุดิบอาหารสัตว์ขาดหนัก ต่างชาติแห่กว้านซื้อปลายข้าว จนราคาในประเทศทะลุ 13,000 บาท/ตัน ด้านข้าวหอมมะลิพุ่งไม่หยุด 21,900 บาท/ตัน ข้าวขาว 100% 13,500 บาท/ตัน ข้าวขาว 5% 12,600 บาท/ตัน ด้านผู้ส่งออกหวั่นราคาสูงแต่เสี่ยง หากรับออร์เดอร์วันนี้ พอถึงวันส่งมอบจริงราคาขึ้นไม่หยุดถึงขั้นขาดทุนทั้งลอต
สถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะราคาข้าวหอมมะลิ เมื่อวันที่ 23 มกราคม ราคาได้ปรับขึ้นไปถึง 710 เหรียญสหรัฐ/ตัน จากเดือนธันวาคม 2550-กลางเดือนมกราคม 2551 ราคาอยู่ที่ตันละ 660-680 เหรียญสหรัฐ ส่วนข้าวขาว 100% อยู่ที่ 396 เหรียญสหรัฐ/ตัน และคาดว่าราคาข้าวหอมมะลิจะปรับตัวขึ้นไปสูงกว่า 400 เหรียญสหรัฐต่อตัน
ส่วนราคาข้าวภายในประเทศก็ปรับสูงขึ้นไม่แพ้กัน โดยข้าวสารหอมมะลิตันละ 21,000-21,900 บาท ข้าวขาว 100% ตันละ 13,500-13,600 บาท ส่วนข้าวขาว 5% ตันละ 12,600-12,650 บาท นอกเหนือจากข้าวแล้ว ปรากฏว่าทั้งรำข้าวกับปลายข้าว ต่างปรับราคาสูงขึ้นตามกัน
แหล่งข่าวจากสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้นอกจากราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากแล้ว ในส่วนของรำข้าว กับกับปลายข้าว ได้ปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ "ปลายข้าวหอมมะลิ" ราคาส่งออกปรับขึ้นเป็น 423 เหรียญสหรัฐ/ตัน ส่วนราคาในประเทศอยู่ที่ 13,000-13,200 บาท/ตัน ส่วนราคาปลายข้าวขาว ส่งออกปรับขึ้นเป็น 378 เหรียญสหรัฐ/ตัน ราคาในประเทศอยู่ที่ 11,500 บาท/ตัน
"ซึ่งเป็นราคาที่สูงมากแบบไม่เคยเห็นมาก่อน ทั้งที่โดยปกติแล้วราคาปลายข้าวจะต่างจากราคาข้าวประมาณ 2,000 บาทต่อตัน แต่ตอนนี้เหลือเพียง 200-300 บาทต่อตัน"
ดังนั้นแนวทางที่รัฐบาลใหม่ควรจะต้องดำเนินการต่อจากนี้ไปก็คือ การเร่งระบายสต๊อกข้าวขาว 25% ออกมาสำหรับใช้ภายในประเทศก่อน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน เพราะข้าว 25% จะมีสัดส่วนปลายข้าวถึง 55% หากรัฐบาลระบายออกมาประมาณ 100,000 ตัน จากสต๊อกข้าว 25% ที่มีอยู่ประมาณ 300,000 ตัน ก็จะช่วยได้มากและต้องกำหนดระยะเวลาการระบายไม่เกิน 1 เดือนด้วย
ส่วนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ส่งออกปลายข้าว ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 2-3 ราย ก็คือ ราคาขายปลายข้าวจะต้องสูงขึ้น อาจจะทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถยอมรับราคาได้ โดยการส่งออกปลายข้าวในปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.87 มูลค่า 439.40 ล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศที่มีการนำเข้าปลายข้าวขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก อาทิ เซเนกัล เพิ่มขึ้นร้อยละ 137.49, กินี ร้อยละ 49,103.23, เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 578.31, ออสเตรเลีย ร้อยละ 344.79 และกานา เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.70
ดังนั้นการส่งออกปลายข้าวในปีนี้ผู้ส่งออกต้องแข่งกันซื้อในราคาที่สูงขึ้น นอกจากนี้ปลายข้าวยังถูกนำไปใช้ในการอุตสาหกรรมการผลิตเส้นบะหมี่-เส้นก๋วยเตี๋ยว ซึ่งต่างได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
นางสาวกอบสุข เอี่ยมสุรีย์ เลขาธิการ สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวว่า ขณะนี้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นอย่างชนิดที่เรียกว่า "ร้อนแรง" ทั้งข้าว ปลายข้าว และรำข้าว ซึ่งปรับราคาสูงขึ้นจาก 3 บาท เป็น 9 บาท ส่งผลให้ผู้ส่งออกยังไม่สามารถกำหนดราคาส่งออกได้ แม้ว่าจะมีความต้องการและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ
โดยล่าสุดกรณีที่ฟิลิปปินส์พิจารณาซื้อข้าวขาวจากเวียดนามไปในราคาประมาณ 345 เหรียญสหรัฐต่อตัน "ต่ำกว่า" ราคาที่ผู้ส่งออกไทยเสนอ จึงทำให้เวียดนามชนะการประมูลไป 430,000 ตัน แต่ขณะนี้เวียดนามยังไม่ได้ส่งออก เพราะขาดทุนประมาณ 5-10 เหรียญสหรัฐต่อตัน จากความผันผวนของราคาข้าวและต้นทุนราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น
"ผู้ส่งออกข้าวจึงต้องระมัดระวังการส่งออก เพราะราคาข้าวภายในประเทศไต่ระดับทุกวัน ออร์เดอร์เต็มก็จริง แต่ราคาพุ่งสูง หากซื้อของไม่ได้ หรือซื้อได้ราคาแพงก็เสี่ยง เพราะยังมีปัจจัยค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างไม่มีเสถียรภาพ จึงมีปัญหาในการโค้ดราคา โดยราคาข้าวขาวกำลังขยับขึ้นสูงกว่า 400 เหรียญสหรัฐต่อตันแล้ว" นางสาว กอบสุขกล่าว
แหล่งข่าวจากวงการข้าว เปิดเผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์คนใหม่ควรเข้ามาดูแลเสถียรภาพราคาข้าวและวางแผนแนวทางการสร้างบรรทัดฐานข้าวไทย โดยจะต้องเน้นให้สอดคล้องกับกลไกตลาดเหมือนกับการดำเนินนโยบายของ นายเกริกไกร จีระแพทย์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่กำหนดราคารับจำนำข้าวอิงกลไกตลาด ซึ่งส่งผลดีกับระบบข้าวในระยะยาว เพราะราคาข้าวเจ้า 7,000 บาทต่อตัน ชาวนาเห็นว่าเหมาะสมสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต ในขณะที่ผู้ส่งออกข้าวก็อยู่ได้
ด้านนายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคม การค้าส่ง-ปลีกไทย กล่าวว่า นอกจากวัตถุดิบทั้งน้ำมันปาล์ม แป้งสาลี แป้งข้าวเจ้า แป้งมัน รวมทั้งน้ำตาล จะมีการปรับขึ้นราคาไปหลายรอบ โดยเฉลี่ยขณะนี้ต่อกิโลกรัมราคาปรับขึ้นไปแล้วเกือบ 1 บาท ที่เหลือก็เป็นน้ำมันพืชที่มีการปรับราคาขึ้นไปก่อนหน้านี้แล้ว
ดังนั้นสินค้าที่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบเหล่านี้เป็นหลักจะได้รับผลกระทบสูง อาทิ กลุ่มขนมหวาน กับขนมขบเคี้ยว
"เรื่องแป้งข้าวเจ้า เป็นผลมาจากปี 2549 ที่ราคาข้าวเหนียวปรับสูงขึ้น ทำให้ปีที่แล้วเกษตรกรจำนวนมากหันไปปลูกข้าวเหนียว ซึ่งส่งผลให้แป้งข้าวเจ้าขาดตลาดในขณะนี้ ขณะที่ปีนี้ราคาของข้าวเหนียวปีนี้คงตัว"
สำหรับกรณีของปลายข้าว ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการทำเส้นก๋วยเตี๋ยว กับโจ๊กกึ่งสำเร็จรูปจะปรับตัวสูงขึ้นไปมาก
"ผมเชื่อว่าสถานการณ์ยังไม่ถึงขั้นผู้ประกอบการโจ๊กสำเร็จรูปจะปรับขึ้นราคา เพราะหากดูจากปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ยังไม่มากนัก น่าจะยังสามารถบริหารต้นทุนได้ และราคาที่ปรับขึ้นยังไม่เหมือนกับแป้งสาลีและน้ำมันปาล์ม ที่ปรับสูงขึ้นเป็นเท่าตัว" นายสมชายกล่าว
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0201
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news04/02/08
โพสต์ที่ 140
ข้าวเหนียว...มีอนาคต ถ้า...วางแผนผลิต-ตลาดให้ดี
"ข้าวเหนียวพุ่งแซงหอมมะลิ" เป็นข่าวพาดหัวข่าวหน้า 1 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 19-22 สิงหาคม 2550 ที่ผ่านมา เพราะเป็นปรากฎการณ์ที่เป็นประวัติการณ์ที่ประเทศไทยต้องบันทึก เมื่อราคาข้าวเหนียวแพงกว่าข้าวหอมมะลิ เพราะแต่ไหนแต่ไรมาข้าวขาวดอกมะลิ105 ซึ่งเป็นข้าวเกรดพรีเมียมสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยไปทั่วโลก เนื่องเพราะมีคุณสมบัติพิเศษปลูกได้เฉพาะบนผืนแผ่นดินไทยเท่านั้น จึงเป็นข้าวราคาสูงที่ผู้บริโภคทั่วโลกยอมรับ แต่อยู่มาวันหนึ่งราคาข้าวหอมมะลิกลับตกเป็นรองข้าวเหนียว ช่วงเดือนสิงหาคม 2550 ข้าวเปลือกเหนียวที่เกษตรกรขายได้สูงถึงตันละ 12,500-13,500 บาท แต่ข้าวเปลือกหอมมะลิอยู่ที่ตันละ 8,900-9,200 บาท นั่นคือความจริงที่เกิดขึ้น จนเกิดคำถามตามมามากมายว่าเกิดอะไรขึ้นกับข้าวเหนียวไทย
คำตอบคือปี 2549 ชาวนาหันไปปลูกข้าวหอมมะลิกันมากตามนโยบายของแต่ละจังหวัดที่เล็งเห็นข้าวหอมมะลิมีแนวโน้มสูง จึงทำให้พื้นที่ปลูกข้าวเหนียวนาปีลดลง เนื่องจากเป็นพื้นที่ทับซ้อนกันทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเหตุให้ปริมาณข้าวเหนียวในท้องตลาดลดลง ประกอบกับเป็นช่วงที่สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้ามาซื้อข้าวเหนียวจากไทยปี 2549 เพิ่มกว่าทุกปีถึง 50,000 ตัน ด้วยเหตุผลผลผลิตข้าวเหนียวจีนลดลง และส่วนหนึ่งต้องซื้อไปสต๊อกเพื่อแปรรูปรับงานมหกรรมโอลิมปิกที่จีนจะเป็นเจ้าภาพเดือนสิงหาคมปีนี้ ปริมาณที่ลดลงแต่ความต้องการเพิ่มขึ้น จึงดันราคาให้ข้าวเหนียวทั้งข้าวเปลือกและข้าวสารสูงกว่าข้าวหอมมะลิตั้งแต่ปลายปี 2549 จนถึงกลางปี 2550
อย่างไรก็ดีผลพวงจากราคาข้าวเหนียวที่สูงกว่าข้าวหอมมะลิ ได้เกิดแรงจูงใจให้ชาวนาหันมาปลูกข้าวเหนียวกันมากขึ้น ซึ่งเป็นธรรมชาติของพืชผลเกษตรที่ชนิดไหนราคาดีเกษตรกรจะแห่ปลูกพืชชนิดนั้น เช่นเดียวกับกรณีข้าวเหนียวทำให้ฤดูปลูกนาปีปี 2550 ชาวนาหันมาปลูกข้าวเหนียวกันมาก ถึงขั้นหลายพื้นที่เลิกปลูกหอมมะลิไปเลย จนเกิดปัญหาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียว แต่เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิขายไม่ออก พื้นที่ปลูกที่เพิ่มขึ้นย่อมส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย จึงทำให้ลูกค้าชะลอการสั่งซื้อ เพราะทั่วโลกรับรู้ว่าปีนี้ผลผลิตข้าวเหนียวของไทยเพิ่มขึ้น ในที่สุดผลที่ตามมาคือราคาข้าวเหนียวอ่อนตัวลงดังที่เห็นอยู่ ณ วันนี้ โดยราคาข้าวเปลือกเหนียวเหลือเพียงตันละ 8,200-8,600 บาท
ข้าวเหนียวไทยจะเป็นอย่างไร ยังมีอนาคตอยู่หรือไม่ อนาคตการผลิต การค้า จะเป็นอย่างไร เป็นคำถามคาใจของกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานรับผิดชอบชีวิตของเกษตรกร เพราะหากไม่ส่งเสริมปลูกเลยแต่ตลาดมีความต้องการขึ้นมาชาวนาไทยก็จะเสียโอกาส ตรงกันข้ามหากส่งเสริมปลูกไม่มีตลาดรองรับผลกระทบจะเกิดกับชาวนาอีก วันที่ 31 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา กรมการข้าว จึงได้จัดสัมมนาหัวข้อ "ข้าวเหนียว:อนาคตการผลิต และการค้า"
ในงานสัมมนาดังกล่าวดร.วราทัศน์ วงศ์สุรไกร รองประธานกรรมการบริหารบริษัท โรงเส้นหมี่ชอเฮง จำกัด ผู้ผลิตแป้งแปรรูปรายใหญ่ส่งออกจำหน่ายกว่า 30 ประเทศ ชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันเกือบทุกประเทศบริโภคข้าวเหนียวและผลิตภัณฑ์เช่นจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น และแต่ละประเทศมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมาก หากจะเจาะตลาดข้าวเหนียวต้องทำการศึกษาประเทศใดผลิตผลิตภัณฑ์ใด หากประเทศไทยทำการศึกษาและเจาะตลาดให้ถูกเชื่อว่ายังมีตลาดรองรับ อย่างไรก็ดี ดร.วราทัศน์แนะว่าอัตราการเติบโตของตลาดข้าวเหนียวจะไม่รวดเร็วเพราะต่างประเทศไม่ได้รับประทานข้าวเหนียวและผลิตภัณฑ์เป็นอาหารหลัก จะนำไปทำเป็นอาหารว่างหรือของหวานเท่านั้น อัตราการเติบโตของข้าวเหนียวแค่ 5-10% ต่อปีถือว่าทำได้ดีแล้ว
"จากการที่ญี่ปุ่นไปลงทุนตั้งโรงงานแปรรูปแป้งข้าวเหนียวในจีน แม้ในอนาคตอาจจะเป็นคู่แข่งของไทย แต่อีกด้านหนึ่งสะท้อนได้ว่าตลาดแป้งข้าวเหนียวยังมีโอกาสเติบโต ประกอบกับเศรษฐกิจของจีนเติบโตสูง การบริโภคสูง มีผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวที่หลากหลายมากขึ้นกล้าลงทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ และปีนี้จีนจะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเชื่อว่าจีนน่าจะยังสั่งซื้อข้าวเหนียวและผลิตภัณฑ์ โดยจีนนอกจากจะเป็นผู้ผลิตแล้วยังเป็นผู้นำเข้าด้วย การที่จีนซื้อเพิ่มหรือลดการซื้อลงจึงมีผลต่อราคาข้าวเหนียวของไทย"
ดร.วราทัศน์ กล่าวด้วยว่าเพื่อไม่ให้ชาวนาได้รับผลกระทบราคาตกต่ำ รัฐบาลควรดูแลเรื่องต้นทุนการผลิต ควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำ เพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น แต่ไม่ควรขยายพื้นที่จนไปแย่งพื้นที่ข้าวหอมมะลิหรือข้าวขาว เพราะข้าวสองชนิดตลาดรองรับกว้างกว่าอยู่แล้ว ส่วนข้าวเหนียวสามารถปลูกได้แต่ใช้พื้นที่เดิม มุ่งเพิ่มผลผลิตรองรับความต้องการของตลาดแทน
ด้านนายวิชาญ เที่ยงธรรม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าว จังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า จากการที่จังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่ผลิตข้าวเหนียวได้คุณภาพดี ทางจังหวัดจึงได้จัดทำยุทธศาสตร์ข้าวเหนียวอินทรีย์ ซึ่งได้รับความสนใจจากนักธุรกิจทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเมื่อเร็วๆ นี้ได้มีโอกาสต้อนรับนักธุรกิจจากยุโรปที่มีความสนใจและได้มาเยี่ยมชมพื้นที่ปลูกข้าวรวมทั้งโรงสีในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งนักธุรกิจยุโรปรับว่าหากไทยผลิตข้าวเหนียวอินทรีย์ได้จริงยินดีที่จะรับซื้อทั้งหมด
ขณะที่นายวิชัย อ่อนคำ ประธานศูนย์ข้าวชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า ช่องทางตลาดข้าวเหนียวอีกช่องทางคือผลิตแอลกอฮอลล์ ซึ่งเวลานี้รัฐบาลมีความต้องการเอทานอลไปผสมในน้ำมันเบนซิน โดยเอทานอลใช้วัตถุดิบจากมันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย แอลกอฮอลล์จากข้าวเหนียวสามารถไปผสมกับเบนซินได้ เพียงแต่อยากให้กระทรวงพลังงานได้กำหนดมาตรฐานของแอลกอฮอลล์ออกมาให้ชัดเจนและกำหนดจุดรับซื้อ เหมือนกับที่กระทรวงเกษตรฯกำหนดจุดรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกร หากมีความมั่นใจด้านการตลาดว่ากระทรวงพลังงานรับซื้อย่างแน่นอน เกษตรกรมีความพร้อมที่จะผลิตป้อนให้ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาราคาข้าวเหนียวตกต่ำและเป็นช่องทางตลาดของข้าวเหนียวด้วย
จากเวทีสัมมนาพอจะสรุปทิศทางข้าวเหนียวได้ว่ายังเป็นสินค้าที่มีอนาคต ตลาดยังมีความต้องการ แต่อัตราการเติบโตจะไม่หวือหวา เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่ได้บริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก แต่การบริโภคในรูปของข้าวเหนียวแปรรูปหรือผลิตภัณฑ์จากข้าวเหนียวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และต้องศึกษาต่อไปว่าตลาดใดต้องการผลิตภัณฑ์ใดเพื่อสนองตอบตลาดนั้นๆ ส่วนพื้นที่ปลูกยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มจากปัจจุบันที่มีพื้นที่ปลูกทั่วประเทศประมาณ 18 ล้านไร่ ผลผลิตประมาณ 7 ล้านตันต่อปี เพราะหากเทียบกับข้าวขาวและข้าวหอมมะลิ ตลาดข้าวเหนียวยังแคบกว่า ใช้วิธีลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตต่อไร่ น่าจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรมากที่สุด
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2293
"ข้าวเหนียวพุ่งแซงหอมมะลิ" เป็นข่าวพาดหัวข่าวหน้า 1 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 19-22 สิงหาคม 2550 ที่ผ่านมา เพราะเป็นปรากฎการณ์ที่เป็นประวัติการณ์ที่ประเทศไทยต้องบันทึก เมื่อราคาข้าวเหนียวแพงกว่าข้าวหอมมะลิ เพราะแต่ไหนแต่ไรมาข้าวขาวดอกมะลิ105 ซึ่งเป็นข้าวเกรดพรีเมียมสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยไปทั่วโลก เนื่องเพราะมีคุณสมบัติพิเศษปลูกได้เฉพาะบนผืนแผ่นดินไทยเท่านั้น จึงเป็นข้าวราคาสูงที่ผู้บริโภคทั่วโลกยอมรับ แต่อยู่มาวันหนึ่งราคาข้าวหอมมะลิกลับตกเป็นรองข้าวเหนียว ช่วงเดือนสิงหาคม 2550 ข้าวเปลือกเหนียวที่เกษตรกรขายได้สูงถึงตันละ 12,500-13,500 บาท แต่ข้าวเปลือกหอมมะลิอยู่ที่ตันละ 8,900-9,200 บาท นั่นคือความจริงที่เกิดขึ้น จนเกิดคำถามตามมามากมายว่าเกิดอะไรขึ้นกับข้าวเหนียวไทย
คำตอบคือปี 2549 ชาวนาหันไปปลูกข้าวหอมมะลิกันมากตามนโยบายของแต่ละจังหวัดที่เล็งเห็นข้าวหอมมะลิมีแนวโน้มสูง จึงทำให้พื้นที่ปลูกข้าวเหนียวนาปีลดลง เนื่องจากเป็นพื้นที่ทับซ้อนกันทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเหตุให้ปริมาณข้าวเหนียวในท้องตลาดลดลง ประกอบกับเป็นช่วงที่สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้ามาซื้อข้าวเหนียวจากไทยปี 2549 เพิ่มกว่าทุกปีถึง 50,000 ตัน ด้วยเหตุผลผลผลิตข้าวเหนียวจีนลดลง และส่วนหนึ่งต้องซื้อไปสต๊อกเพื่อแปรรูปรับงานมหกรรมโอลิมปิกที่จีนจะเป็นเจ้าภาพเดือนสิงหาคมปีนี้ ปริมาณที่ลดลงแต่ความต้องการเพิ่มขึ้น จึงดันราคาให้ข้าวเหนียวทั้งข้าวเปลือกและข้าวสารสูงกว่าข้าวหอมมะลิตั้งแต่ปลายปี 2549 จนถึงกลางปี 2550
อย่างไรก็ดีผลพวงจากราคาข้าวเหนียวที่สูงกว่าข้าวหอมมะลิ ได้เกิดแรงจูงใจให้ชาวนาหันมาปลูกข้าวเหนียวกันมากขึ้น ซึ่งเป็นธรรมชาติของพืชผลเกษตรที่ชนิดไหนราคาดีเกษตรกรจะแห่ปลูกพืชชนิดนั้น เช่นเดียวกับกรณีข้าวเหนียวทำให้ฤดูปลูกนาปีปี 2550 ชาวนาหันมาปลูกข้าวเหนียวกันมาก ถึงขั้นหลายพื้นที่เลิกปลูกหอมมะลิไปเลย จนเกิดปัญหาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียว แต่เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิขายไม่ออก พื้นที่ปลูกที่เพิ่มขึ้นย่อมส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย จึงทำให้ลูกค้าชะลอการสั่งซื้อ เพราะทั่วโลกรับรู้ว่าปีนี้ผลผลิตข้าวเหนียวของไทยเพิ่มขึ้น ในที่สุดผลที่ตามมาคือราคาข้าวเหนียวอ่อนตัวลงดังที่เห็นอยู่ ณ วันนี้ โดยราคาข้าวเปลือกเหนียวเหลือเพียงตันละ 8,200-8,600 บาท
ข้าวเหนียวไทยจะเป็นอย่างไร ยังมีอนาคตอยู่หรือไม่ อนาคตการผลิต การค้า จะเป็นอย่างไร เป็นคำถามคาใจของกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานรับผิดชอบชีวิตของเกษตรกร เพราะหากไม่ส่งเสริมปลูกเลยแต่ตลาดมีความต้องการขึ้นมาชาวนาไทยก็จะเสียโอกาส ตรงกันข้ามหากส่งเสริมปลูกไม่มีตลาดรองรับผลกระทบจะเกิดกับชาวนาอีก วันที่ 31 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา กรมการข้าว จึงได้จัดสัมมนาหัวข้อ "ข้าวเหนียว:อนาคตการผลิต และการค้า"
ในงานสัมมนาดังกล่าวดร.วราทัศน์ วงศ์สุรไกร รองประธานกรรมการบริหารบริษัท โรงเส้นหมี่ชอเฮง จำกัด ผู้ผลิตแป้งแปรรูปรายใหญ่ส่งออกจำหน่ายกว่า 30 ประเทศ ชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันเกือบทุกประเทศบริโภคข้าวเหนียวและผลิตภัณฑ์เช่นจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น และแต่ละประเทศมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมาก หากจะเจาะตลาดข้าวเหนียวต้องทำการศึกษาประเทศใดผลิตผลิตภัณฑ์ใด หากประเทศไทยทำการศึกษาและเจาะตลาดให้ถูกเชื่อว่ายังมีตลาดรองรับ อย่างไรก็ดี ดร.วราทัศน์แนะว่าอัตราการเติบโตของตลาดข้าวเหนียวจะไม่รวดเร็วเพราะต่างประเทศไม่ได้รับประทานข้าวเหนียวและผลิตภัณฑ์เป็นอาหารหลัก จะนำไปทำเป็นอาหารว่างหรือของหวานเท่านั้น อัตราการเติบโตของข้าวเหนียวแค่ 5-10% ต่อปีถือว่าทำได้ดีแล้ว
"จากการที่ญี่ปุ่นไปลงทุนตั้งโรงงานแปรรูปแป้งข้าวเหนียวในจีน แม้ในอนาคตอาจจะเป็นคู่แข่งของไทย แต่อีกด้านหนึ่งสะท้อนได้ว่าตลาดแป้งข้าวเหนียวยังมีโอกาสเติบโต ประกอบกับเศรษฐกิจของจีนเติบโตสูง การบริโภคสูง มีผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวที่หลากหลายมากขึ้นกล้าลงทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ และปีนี้จีนจะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเชื่อว่าจีนน่าจะยังสั่งซื้อข้าวเหนียวและผลิตภัณฑ์ โดยจีนนอกจากจะเป็นผู้ผลิตแล้วยังเป็นผู้นำเข้าด้วย การที่จีนซื้อเพิ่มหรือลดการซื้อลงจึงมีผลต่อราคาข้าวเหนียวของไทย"
ดร.วราทัศน์ กล่าวด้วยว่าเพื่อไม่ให้ชาวนาได้รับผลกระทบราคาตกต่ำ รัฐบาลควรดูแลเรื่องต้นทุนการผลิต ควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำ เพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น แต่ไม่ควรขยายพื้นที่จนไปแย่งพื้นที่ข้าวหอมมะลิหรือข้าวขาว เพราะข้าวสองชนิดตลาดรองรับกว้างกว่าอยู่แล้ว ส่วนข้าวเหนียวสามารถปลูกได้แต่ใช้พื้นที่เดิม มุ่งเพิ่มผลผลิตรองรับความต้องการของตลาดแทน
ด้านนายวิชาญ เที่ยงธรรม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าว จังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า จากการที่จังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่ผลิตข้าวเหนียวได้คุณภาพดี ทางจังหวัดจึงได้จัดทำยุทธศาสตร์ข้าวเหนียวอินทรีย์ ซึ่งได้รับความสนใจจากนักธุรกิจทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเมื่อเร็วๆ นี้ได้มีโอกาสต้อนรับนักธุรกิจจากยุโรปที่มีความสนใจและได้มาเยี่ยมชมพื้นที่ปลูกข้าวรวมทั้งโรงสีในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งนักธุรกิจยุโรปรับว่าหากไทยผลิตข้าวเหนียวอินทรีย์ได้จริงยินดีที่จะรับซื้อทั้งหมด
ขณะที่นายวิชัย อ่อนคำ ประธานศูนย์ข้าวชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า ช่องทางตลาดข้าวเหนียวอีกช่องทางคือผลิตแอลกอฮอลล์ ซึ่งเวลานี้รัฐบาลมีความต้องการเอทานอลไปผสมในน้ำมันเบนซิน โดยเอทานอลใช้วัตถุดิบจากมันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย แอลกอฮอลล์จากข้าวเหนียวสามารถไปผสมกับเบนซินได้ เพียงแต่อยากให้กระทรวงพลังงานได้กำหนดมาตรฐานของแอลกอฮอลล์ออกมาให้ชัดเจนและกำหนดจุดรับซื้อ เหมือนกับที่กระทรวงเกษตรฯกำหนดจุดรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกร หากมีความมั่นใจด้านการตลาดว่ากระทรวงพลังงานรับซื้อย่างแน่นอน เกษตรกรมีความพร้อมที่จะผลิตป้อนให้ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาราคาข้าวเหนียวตกต่ำและเป็นช่องทางตลาดของข้าวเหนียวด้วย
จากเวทีสัมมนาพอจะสรุปทิศทางข้าวเหนียวได้ว่ายังเป็นสินค้าที่มีอนาคต ตลาดยังมีความต้องการ แต่อัตราการเติบโตจะไม่หวือหวา เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่ได้บริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก แต่การบริโภคในรูปของข้าวเหนียวแปรรูปหรือผลิตภัณฑ์จากข้าวเหนียวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และต้องศึกษาต่อไปว่าตลาดใดต้องการผลิตภัณฑ์ใดเพื่อสนองตอบตลาดนั้นๆ ส่วนพื้นที่ปลูกยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มจากปัจจุบันที่มีพื้นที่ปลูกทั่วประเทศประมาณ 18 ล้านไร่ ผลผลิตประมาณ 7 ล้านตันต่อปี เพราะหากเทียบกับข้าวขาวและข้าวหอมมะลิ ตลาดข้าวเหนียวยังแคบกว่า ใช้วิธีลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตต่อไร่ น่าจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรมากที่สุด
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2293
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news06/02/08
โพสต์ที่ 141
เร่งยกระดับผัก/ผลไม้ไทย
โพสต์ทูเดย์ ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพสินค้าเกษตรไทย หรือ ThaiGAP เทียบชั้นมาตรฐานโลก
นายชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ รองประธานคณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประ เทศไทย กล่าวว่า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสมาคมผู้ประกอบการพืชผักผลไม้ไทย มีแผนพัฒนามาตรฐานคุณภาพและความปลอด ภัยของผลผลิตทางการเกษตรของไทย หรือ ThaiGAP ให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้นในตลาดส่งออกต่างประเทศ
ทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมาการส่งออกสินค้าผักและผลไม้มีอัตราการขยายตัวไม่มากนัก เมื่อเทียบกับคู่แข่งจากประเทศจีน เวียดนาม และฟิลิปปินส์ เพราะมาตรฐานการดูแลสินค้าเกษตรยังไม่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศเท่าที่ควร จึงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการค้า
อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนต้อง การยกระดับสินค้าเกษตรให้อยู่ ในระดับเดียวกันกับมาตรฐาน GLOBALGAP ที่ใช้ในยุโรป แอฟริกา และละตินอเมริกา เพราะจะช่วย ให้เกษตรกรรายย่อยของประเทศสามารถเข้าถึงตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงทั่วโลกได้
นายชูศักดิ์ กล่าวว่า จะมีการ จัดกิจกรรมนำร่องการทดสอบมาตรฐาน GLOBALGAP รวมทั้งให้การศึกษาแก่เกษตรกรรายย่อย เพื่อให้ปฏิบัติตามมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารและการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
มั่นใจว่าหากสามารถดูแลมาตรฐานสินค้าเทียบเท่ากับมาตรฐานระดับโลก ก็จะช่วยให้สินค้าเกษตรไทยมีโอกาสเติบโตในต่างประเทศ นายชูศักดิ์ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=219190
โพสต์ทูเดย์ ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพสินค้าเกษตรไทย หรือ ThaiGAP เทียบชั้นมาตรฐานโลก
นายชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ รองประธานคณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประ เทศไทย กล่าวว่า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสมาคมผู้ประกอบการพืชผักผลไม้ไทย มีแผนพัฒนามาตรฐานคุณภาพและความปลอด ภัยของผลผลิตทางการเกษตรของไทย หรือ ThaiGAP ให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้นในตลาดส่งออกต่างประเทศ
ทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมาการส่งออกสินค้าผักและผลไม้มีอัตราการขยายตัวไม่มากนัก เมื่อเทียบกับคู่แข่งจากประเทศจีน เวียดนาม และฟิลิปปินส์ เพราะมาตรฐานการดูแลสินค้าเกษตรยังไม่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศเท่าที่ควร จึงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการค้า
อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนต้อง การยกระดับสินค้าเกษตรให้อยู่ ในระดับเดียวกันกับมาตรฐาน GLOBALGAP ที่ใช้ในยุโรป แอฟริกา และละตินอเมริกา เพราะจะช่วย ให้เกษตรกรรายย่อยของประเทศสามารถเข้าถึงตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงทั่วโลกได้
นายชูศักดิ์ กล่าวว่า จะมีการ จัดกิจกรรมนำร่องการทดสอบมาตรฐาน GLOBALGAP รวมทั้งให้การศึกษาแก่เกษตรกรรายย่อย เพื่อให้ปฏิบัติตามมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารและการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
มั่นใจว่าหากสามารถดูแลมาตรฐานสินค้าเทียบเท่ากับมาตรฐานระดับโลก ก็จะช่วยให้สินค้าเกษตรไทยมีโอกาสเติบโตในต่างประเทศ นายชูศักดิ์ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=219190
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news08/02/08
โพสต์ที่ 142
ไทยรับอานิสงส์พายุหิมะถล่มจีน พืชเกษตรพังยับ ดันข้าว-น้ำตาลราคาพุ่ง
ไทยรับอานิสงส์หลังพายุหิมะถล่มจีน ส่งผลพืชเกษตรจีนเสียหายหนัก ดันราคาอ้อย แป้งสาลี ข้าวพุ่งไม่หยุด คาดต้องหันมาสั่งนำเข้าจากไทย-เวียดนาม
จากกรณีที่พื้นที่ตอนกลาง ตอนใต้ และฝั่งตะวันออกของจีน เผชิญสภาพอากาศเลวร้ายมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งนับได้ว่าเป็นสภาพอากาศที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปีนั้น
นายเจน วงศ์บุญสิน นายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย กล่าวว่า เบื้องต้นพายุหิมะจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวสาลี, เรฟซีด และอ้อย ซึ่งจะทำให้สินค้ากลุ่มนี้มีราคาสูงขึ้น มีเพียง "ข้าวโพด" ที่ไม่ได้รับผลกระทบเพราะจะเริ่มปลูกในเดือนพฤษภาคม
"ผลผลิตได้รับความเสียหายทำให้ราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาแป้งและอ้อยจะปรับสูงขึ้นอย่างแน่นอน และที่สำคัญราคาอ้อยในจีนจะส่งผลกระทบต่อราคาอ้อยในตลาดโลก รวมถึงราคาธัญพืชอื่น จึงเกิดผลดีต่อราคาแป้งมันสำปะหลังซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวที่มีการส่งออกในช่วงนี้ อย่างไรก็ตามต้องประเมินสถานการณ์อีกครั้งหลังจากช่วงตรุษจีน ซึ่งจะหยุดการดำเนินธุรกิจ"
สำหรับสถานการณ์ส่งออกมันสำปะหลังในเดือนมกราคมปีนี้ มีปริมาณ 80,000-90,000 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีประมาณ 700,000 ตัน เนื่องจากระดับราคาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทุกชนิดปรับสูงขึ้นเป็นเท่าตัว ตามภาวะราคาธัญพืชในตลาดโลก อาทิ มันเส้นราคา 167-170 เหรียญสหรัฐต่อตัน จากปีก่อน 110 เหรียญสหรัฐต่อตัน และแป้งมันสูงขึ้น 340-390 เหรียญสหรัฐต่อตัน จากเดิม 200 เหรียญสหรัฐต่อตัน
โดยราคาหัวมันสดเฉลี่ยอยู่ที่ 2.50-2.60 บาท/ก.ก. "สูงกว่า" ราคารับจำนำที่เดือนกุมภาพันธ์กำหนดไว้ที่ 1.75 บาท/ก.ก. และสูงกว่าราคารับจำนำในเดือนเดียวกันของปีก่อนที่กำหนดไว้ 1.30 บาท/ก.ก. ทำให้เกษตรกรมีกำไรเฉลี่ยไร่ละ 2,000-3,000 บาท
"ดีมานด์โดยเฉพาะตลาดส่งออกไม่มีปัญหา มีแต่ราคาสูงจนผู้ซื้อชะลอการสั่งซื้อโดยเฉพาะจีน ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนนโยบายภายใน อาทิ ลดการให้การสนับสนุน (subsidy) สินค้าแอลกอฮอล์ ส่งผลให้มีการปิดโรงงานแอลกอฮอล์ไปหลายโรง กระทบต่อความต้องการใช้มันเส้นและนโยบายการเพิ่มภาษีส่งออกข้าวโพดเป็นร้อยละ 5 ส่งผลให้ราคาข้าวโพดในประเทศจีนปรับลดลง โรงงานเอทานอลหันไปใช้ข้าวโพดมากขึ้น แต่ต้องรอดูเดือนหน้าจะเป็นอย่างไรสำหรับผลกระทบด้านพื้นที่เกษตร ส่วนการสั่งซื้อภาพรวมจะกลับมาสูงอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนนี้" นายเจนกล่าว
อย่างไรก็ตามคาดว่าปริมาณผลผลิตในปีนี้มีเพียง 26-27 ล้านตันหัวมันสด ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้ภายในและส่งออก คาดว่าจะมีปริมาณมันเม็ด 4.8 ล้านตัน และแป้ง 2.3 ล้านตัน เป็นเหตุให้เกษตรกรหันไปเร่งขุดหัวมันสดอายุน้อย 6-7 เดือนออกมา ทั้งที่ยังไม่โตเต็มที่ แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการคือการเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่จาก 3.5 ตันต่อไร่ ให้เป็น 5 ตันต่อไร่โดยเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการใช้ในอนาคตที่มีแนวโน้มจะปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้านนายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวว่า พื้นที่ในส่วนตอนกลางและตอนใต้ของจีนที่ประสบกับพายุหิมะนั้นเป็นพื้นที่ปลูกข้าวสำคัญของจีน อาจต้องติดตามสถานการณ์ว่าจีนจะหยุดส่งออกข้าวหรือไม่ เพราะจีนเป็นผู้ส่งออกข้าวขาวปีละ 1 ล้านตัน หากดีมานด์ในตลาดโลกขาดแคลน ผู้ซื้อจำเป็นต้องหันกลับมาสั่งซื้อที่ไทย เวียดนาม จึงเป็นโอกาสให้อุปสงค์ข้าวไทยเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีปัจจัยบวกในด้านการส่งออก แต่คาดว่าการส่งออกข้าวไทยในช่วงไตรมาส 2 น่าจะปรับลดลงเหลือเพียงเดือนละ 400,000-500,000 ตันเท่านั้น เพราะผู้ส่งออกเริ่มรับออร์เดอร์น้อยลง หลังจากราคาข้าวในประเทศปรับสูงขึ้นอย่างรุนแรง และมีความผันผวนมาก โดยในแต่ละวันราคาข้าวปรับสูงขึ้นถึง 30-40 เหรียญสหรัฐ/กระสอบ ดังนั้นเพื่อไม่ให้ขาดทุนจึงต้องลดรับคำสั่งซื้อ นอกจากราคาข้าวในประเทศสูงแล้วยังมีปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นอย่างมากจนแตะระดับ 32.88 บาท/เหรียญสหรัฐแล้ว
http://matichon.co.th/prachachat/news_d ... 64&catid=1
ไทยรับอานิสงส์หลังพายุหิมะถล่มจีน ส่งผลพืชเกษตรจีนเสียหายหนัก ดันราคาอ้อย แป้งสาลี ข้าวพุ่งไม่หยุด คาดต้องหันมาสั่งนำเข้าจากไทย-เวียดนาม
จากกรณีที่พื้นที่ตอนกลาง ตอนใต้ และฝั่งตะวันออกของจีน เผชิญสภาพอากาศเลวร้ายมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งนับได้ว่าเป็นสภาพอากาศที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปีนั้น
นายเจน วงศ์บุญสิน นายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย กล่าวว่า เบื้องต้นพายุหิมะจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวสาลี, เรฟซีด และอ้อย ซึ่งจะทำให้สินค้ากลุ่มนี้มีราคาสูงขึ้น มีเพียง "ข้าวโพด" ที่ไม่ได้รับผลกระทบเพราะจะเริ่มปลูกในเดือนพฤษภาคม
"ผลผลิตได้รับความเสียหายทำให้ราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาแป้งและอ้อยจะปรับสูงขึ้นอย่างแน่นอน และที่สำคัญราคาอ้อยในจีนจะส่งผลกระทบต่อราคาอ้อยในตลาดโลก รวมถึงราคาธัญพืชอื่น จึงเกิดผลดีต่อราคาแป้งมันสำปะหลังซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวที่มีการส่งออกในช่วงนี้ อย่างไรก็ตามต้องประเมินสถานการณ์อีกครั้งหลังจากช่วงตรุษจีน ซึ่งจะหยุดการดำเนินธุรกิจ"
สำหรับสถานการณ์ส่งออกมันสำปะหลังในเดือนมกราคมปีนี้ มีปริมาณ 80,000-90,000 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีประมาณ 700,000 ตัน เนื่องจากระดับราคาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทุกชนิดปรับสูงขึ้นเป็นเท่าตัว ตามภาวะราคาธัญพืชในตลาดโลก อาทิ มันเส้นราคา 167-170 เหรียญสหรัฐต่อตัน จากปีก่อน 110 เหรียญสหรัฐต่อตัน และแป้งมันสูงขึ้น 340-390 เหรียญสหรัฐต่อตัน จากเดิม 200 เหรียญสหรัฐต่อตัน
โดยราคาหัวมันสดเฉลี่ยอยู่ที่ 2.50-2.60 บาท/ก.ก. "สูงกว่า" ราคารับจำนำที่เดือนกุมภาพันธ์กำหนดไว้ที่ 1.75 บาท/ก.ก. และสูงกว่าราคารับจำนำในเดือนเดียวกันของปีก่อนที่กำหนดไว้ 1.30 บาท/ก.ก. ทำให้เกษตรกรมีกำไรเฉลี่ยไร่ละ 2,000-3,000 บาท
"ดีมานด์โดยเฉพาะตลาดส่งออกไม่มีปัญหา มีแต่ราคาสูงจนผู้ซื้อชะลอการสั่งซื้อโดยเฉพาะจีน ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนนโยบายภายใน อาทิ ลดการให้การสนับสนุน (subsidy) สินค้าแอลกอฮอล์ ส่งผลให้มีการปิดโรงงานแอลกอฮอล์ไปหลายโรง กระทบต่อความต้องการใช้มันเส้นและนโยบายการเพิ่มภาษีส่งออกข้าวโพดเป็นร้อยละ 5 ส่งผลให้ราคาข้าวโพดในประเทศจีนปรับลดลง โรงงานเอทานอลหันไปใช้ข้าวโพดมากขึ้น แต่ต้องรอดูเดือนหน้าจะเป็นอย่างไรสำหรับผลกระทบด้านพื้นที่เกษตร ส่วนการสั่งซื้อภาพรวมจะกลับมาสูงอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนนี้" นายเจนกล่าว
อย่างไรก็ตามคาดว่าปริมาณผลผลิตในปีนี้มีเพียง 26-27 ล้านตันหัวมันสด ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้ภายในและส่งออก คาดว่าจะมีปริมาณมันเม็ด 4.8 ล้านตัน และแป้ง 2.3 ล้านตัน เป็นเหตุให้เกษตรกรหันไปเร่งขุดหัวมันสดอายุน้อย 6-7 เดือนออกมา ทั้งที่ยังไม่โตเต็มที่ แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการคือการเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่จาก 3.5 ตันต่อไร่ ให้เป็น 5 ตันต่อไร่โดยเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการใช้ในอนาคตที่มีแนวโน้มจะปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้านนายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวว่า พื้นที่ในส่วนตอนกลางและตอนใต้ของจีนที่ประสบกับพายุหิมะนั้นเป็นพื้นที่ปลูกข้าวสำคัญของจีน อาจต้องติดตามสถานการณ์ว่าจีนจะหยุดส่งออกข้าวหรือไม่ เพราะจีนเป็นผู้ส่งออกข้าวขาวปีละ 1 ล้านตัน หากดีมานด์ในตลาดโลกขาดแคลน ผู้ซื้อจำเป็นต้องหันกลับมาสั่งซื้อที่ไทย เวียดนาม จึงเป็นโอกาสให้อุปสงค์ข้าวไทยเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีปัจจัยบวกในด้านการส่งออก แต่คาดว่าการส่งออกข้าวไทยในช่วงไตรมาส 2 น่าจะปรับลดลงเหลือเพียงเดือนละ 400,000-500,000 ตันเท่านั้น เพราะผู้ส่งออกเริ่มรับออร์เดอร์น้อยลง หลังจากราคาข้าวในประเทศปรับสูงขึ้นอย่างรุนแรง และมีความผันผวนมาก โดยในแต่ละวันราคาข้าวปรับสูงขึ้นถึง 30-40 เหรียญสหรัฐ/กระสอบ ดังนั้นเพื่อไม่ให้ขาดทุนจึงต้องลดรับคำสั่งซื้อ นอกจากราคาข้าวในประเทศสูงแล้วยังมีปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นอย่างมากจนแตะระดับ 32.88 บาท/เหรียญสหรัฐแล้ว
http://matichon.co.th/prachachat/news_d ... 64&catid=1
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news08/02/08
โพสต์ที่ 143
วิกฤติข้าวลามโลก! + กลไกตลาดช็อก ดีมานด์-ราคาพุ่งไม่หยุด ส่งออกไทย-โรงสีควานหาเหตุ
ข้าว"โอเวอร์ฮีท"แถมหาของไม่ได้ทั้งที่เป็นต้นฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ผู้ส่งออกงงข้าวหายโยนกลองโรงสีเบี้ยว ขณะที่สมาคมโรงสีโวยข้าวพุ่งไม่หยุดไม่มีเงินซื้อมาตุนได้ อินเดีย-อียิปต์สั่งขาดห้ามส่งออก ส่วนจีนไม่ห้ามแต่คุมเข้ม ผู้ซื้อวิ่งกันควั่กกว้านซื้อข้าว ไทยหวั่นข้าวในประเทศไม่พอบริโภคแล้วจะเกิดปัญหาเงินเฟ้อ
สืบเนื่องจากขณะนี้ราคาข้าวไทยเกือบทุกชนิดสูงเป็นประวัติการณ์ ทั้งที่เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี จนผู้ส่งออก โรงสี ต้องประสบปัญหาขาดทุนกันถ้วนหน้า ขณะที่ผู้ซื้อต่างประเทศมีความต้องการสั่งซื้อแต่ผู้ส่งออกสามารถส่งมอบให้ได้เฉพาะลูกค้าขาประจำเท่านั้น และโค้ดราคาให้ได้เฉพาะล๊อตเล็กสัญญาสั้นๆ เพราะหากรับออเดอร์ไว้ราคาภายในขึ้นก็ขาดทุน ซึ่งคนวงการค้าข้าวมองว่าภาวะการณ์เช่นนี้ไม่ปกติ
++สถานการณ์ข้าวผิดปกติ:
ผู้ส่งออกหลายรายให้ความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ข้าวในช่วงนี้ในทิศทางที่สอดคล้องกันว่าอยู่ในภาวะไม่ปกติ โดยนายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่าสถานการณ์ข้าวในประเทศของไทยขณะนี้เรียกได้ว่าอยู่ในภาวะการณ์ไม่ปกติ เพราะว่าราคาข้าวขยับสูงขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ทั้งที่เป็นต้นฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปี แม้ผู้ส่งออกจะได้ตั้งราคาขายให้กับผู้ซื้อต่างประเทศในราคาที่สูงแล้ว (ดูรายละเอียดในตารางประกอบ) แต่เมื่อหันกลับมาซื้อข้าวในประเทศกลับแพงขึ้นกว่าที่ไปตกลงซื้อขายกับลูกค้าไว้ จนทำให้ผู้ส่งออกต้องขาดทุนไปตามๆ กัน
เช่นเดียวกับนางสาวกอบสุข เอี่ยมสุรีย์ เลขาธิการสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวทำนองเดียวกันว่าเคยคิดว่าปีนี้เป็นปีทองของข้าวไทย เพราะหลายประเทศหยุดส่งออกชั่วคราว ก่อนหน้านี้เวียดนามหยุดส่งออกและเพิ่งจะมาเริ่มส่งออกต้นปีนี้ อินเดียหยุดส่งออกตั้งแต่ปีที่แล้วและยังไม่มีการส่งออก เพราะฉะนั้นเป็นโอกาสของข้าวไทยที่จะขายได้ราคาสูงขึ้น เกษตรกรจะได้มีรายได้ที่มากขึ้น แต่ไม่คาดคิดว่าราคาจะร้อนแรงถึงขนาดนี้ เพราะราคาข้าวสารขึ้นกระสอบละ 30-40 บาทต่อวันเป็นราคาที่ขึ้นเร็วและแรงเกินไป
++ส่งออกหยุดรับออเดอร์:
ในฐานะประธานบริษัท กมลกิจ จำกัด นางสาวกอบสุข กล่าวจากปัญหาที่เกิดขึ้น เวลานี้ผู้ส่งออกเกือบทุกรายหยุดรับออเดอร์ใหม่กันแล้ว ไม่มีการโค้ดราคาใหม่ให้กับผู้ซื้อ อย่างของบริษัท กมลกิจฯมีออเดอร์ข้าวนึ่งล่วงหน้าที่ต้องส่งมอบถึงเดือนเมษายน เห็นอยู่แล้วว่าต้องขาดทุนเพราะราคาภายในขึ้นวันละ 30-40 บาทต่อกระสอบ จะไปรับออเดอร์ใหม่มีแต่ความเสี่ยง
"การมีออเดอร์ยาวๆ ถ้าเป็นเมื่อก่อนเป็นสิ่งที่ดี เพราะเท่ากับว่าเราเป็นโรงงานผลิตมีออเดอร์ยาวๆ เท่ากับว่าเรามีงานทำ มั่นใจที่จะไปซื้อข้าวและโดยทั่วไปถ้าเรามีออเดอร์ 3 เดือนล่วงหน้าไม่มีไครซื้อไว้ทันที จะทยอยซื้อพอใกล้เวลาส่งมอบค่อยออกไปซื้อ เพราะเชื่อว่าราคาผันแปรไม่มากอาจสูงขึ้นแต่ไม่มาก แต่สถานการณ์วันนี้ไม่ได้เป็นอย่างนั้นกลายเป็นว่าออเดอร์ที่รับไว้ขาดทุนและไม่ใช่เล็กน้อยตันละ 50-70 ดอลลาร์สหรัฐ กว่าจะถึงเดือนเมษายนไม่ทราบว่าจะขาดทุนเท่าไร เพราะฉะนั้นออเดอร์ใหม่ต้องเบรกไว้ก่อน"
นายสมบัติ เฉลิมวุฒินันท์ กรรมการบริหารบริษัท เอเชียโกลเด้นไรซ์ จำกัด ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ กล่าวว่าเชื่อว่าราคาข้าวจะขึ้นแต่ไม่คิดว่าจะเร็วขนาดนี้เช่น ข้าวขาว100% วันนี้อยู่ที่ตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าขึ้นเร็วเกินไป ราคาที่เป็นอย่างนี้ถือว่าไม่ปกติ
ในส่วนของบริษัท เอเชียโกลเด้นไรซ์ จะรับเฉพาะออเดอร์ที่ส่งมอบช่วงสั้นๆ และปริมาณไม่มาก ถ้าเป็นออเดอร์ยาวและจำนวนมากจะไม่โค้ดราคาให้เลยในช่วงนี้
+++ไล่บี้โรงสีเบี้ยวส่งมอบข้าว:
สำหรับข่าวว่าโรงสีมีการกักตุนข้าวนั้น นายชูเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่าหลังจากที่ราคาข้าวขยับสูงขึ้นทุกวัน ได้รับแจ้งจากสมาชิกหลายบริษัทว่าขณะนี้เริ่มประสบปัญหาโรงสีไม่ส่งมอบข้าวให้ เพราะราคาที่ได้ตกลงซื้อขายกันก่อนหน้านี้ถูกกว่าราคาท้องตลาดปัจจุบัน ซึ่งโรงสีอาจนำข้าวไปขายให้เจ้าอื่นที่เพิ่งจะเริ่มซื้อและซื้อในราคาที่สูงกว่า ผลกระทบที่ตามมาคือผู้ส่งออกที่มีเรือมารับมอบข้าวต้องไปซื้อใหม่เพื่อส่งมอบให้กับลูกค้าในราคาที่แพงกว่าที่ไปรับออเดอร์ไว้มาก บางรายถึงขั้นนอยู่ระหว่างเจรจากับลูกค้าขอชำระเป็นเงินสดแทนตามราคาข้าวที่ตกลงกันไว้ เพราะจะลดการขาดทุนได้มากกว่าไปหาซื้อข้าวใหม่ในท้องตลาดมาส่งมอบ
++โรงสียันไม่กักตุนไม่เบี้ยว:
จากการตั้งข้อสงสัยของผู้ส่งออกข้าวว่าเป็นช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยวแต่ทำไมข้าวสารออกสู่ตลาดน้อยรวมถึงปัญหาโรงสีเบี้ยวส่งมอบข้าวให้กับผู้ส่งออก นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล ประธานชมรมโรงสีข้าวจังหวัดพิจิตร กล่าวว่าปัญหาการกักตุนข้าวเชื่อว่าโรงสีส่วนใหญ่ไม่มีการกักตุนเพราะภาวการณ์ที่ราคาข้าวเปลือกสูงขนาดนี้ โดยช่วงสัปดาห์นี้ข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ราคาอยู่ที่ตันละ 8,500 บาท โรงสีคงไม่มีเงินทุนที่จะไปซื้อข้าวมาเก็บตุนไว้อย่างแน่นอน ที่สำคัญคือราคารำข้าว ปลายข้าวขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ไม่มีโรงสีตุนข้าวเปลือกให้เสียดอกเบี้ยแน่ สีข้าวขายได้ทั้งต้นข้าว ปลายข้าวและรำข้าวราคาแพงดีกว่า วันนี้รำข้าวกก.ละ 9 บาท ปลายข้าวกก.ละ13 บาท ส่วนสาเหตุที่ข้าวขาดตลาด เนื่องจากผลผลิตข้าวที่เก็บเกี่ยวช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ประสบกับอากาศหนาวเย็นผลผลิตได้รับความเสียหายจึงออกสู่ตลาดน้อยลงกว่าปกติ
"จากการที่ข้าวเปลือกออกสู่ตลาดน้อยและราคาแพง ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาคือโรงสีหาซื้อข้าวไม่ได้ จึงมีการชะลอส่งมอบข้าวให้กับผู้ส่งออก คงไม่ถึงกับเบี้ยวส่งมอบ" นายบรรจงกล่าวและว่าไม่เฉพาะผู้ส่งออกที่ขาดทุนจากการรับออเดอร์ล่วงหน้าจากลูกค้าต่างประเทศราคาสูงแล้วต้องมาซื้อข้าวสารในประเทศราคาแพงกว่าวันนี้โรงสีประสบปัญหาเดียวกันคือรับคำสั่งซื้อจากผู้ส่งออกราคาถูกแต่ต้องมาซื้อข้าวเปลือกราคาแพง โรงสีหลายโรงเวลานี้ก็ขาดทุนเช่นเดียวกัน
++สัญญาณโลกขาดแคลนข้าว:
สำหรับความต้องการสั่งซื้อข้าวของลูกค้าในต่างประเทศนั้นในฐานะเลขาธิการสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ นางสาวกอบสุข ระบุว่าในเวลานี้ยังมีหลายประเทศที่มีความต้องการข้าว ดังจะเห็นได้จากลูกค้าทั้งโบรกเกอร์และผู้ซื้อโดยตรงยังเดินทางเข้ามาสั่งซื้อถึงประเทศไทย โดยสาเหตุเพราะผลผลิตของหลายประเทศลดลง อันเนื่องมาจากสภาวะความแห้งแล้งผลผลิตได้รับความเสียหาย และส่วนหนึ่งพื้นที่เพาะปลูกข้าวถูกนำไปปลูกพืชพลังงานทดแทนซึ่งกำลังได้รับความนิยม ทำให้พื้นที่ปลูกลดลงและผลผลิตลดลงไปในที่สุด
"ตอนนี้ถ้าจะพูดไปก็เหมือนกับทั่วโลกเกิดปัญหาขาดแคลนข้าว เพราะลูกค้าหลั่งไหลเข้ามาที่ประเทศไทยมาสั่งซื้อข้าวจากไทย แต่ผู้ส่งออกไม่สามารถที่จะขายให้กับทุกรายได้ ขณะนี้เรียกได้ว่าลูกค้าขาจรหมดสิทธิ์จะได้ไปเฉพาะลูกค้าประจำเท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อมีคนต้องการข้าวแต่ไม่ได้ข้าวไป อย่างนี้ก็เรียกว่าขาดแคลน แต่เพราะประเทศไทยเราเป็นประเทศผู้ปลูกข้าวคนไทยจึงไม่รู้สึกว่าเกิดการขาดแคลน แต่คนที่เขาต้องการแต่ไม่ได้ของเขาจะรู้สึกว่าขาดแคลน บังคลาเทศเปิดประมูลซื้อหลายครั้งแต่ยังไม่ได้ข้าว"
ทั้งนี้กระทรวงเกษตรสหรัฐ รายงานสต๊อกข้าวโลกปี 2550/51 ว่าจะมีทั้งสิ้น 74.11 ล้านตัน ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2549/50 ที่มีสต๊อก 77.18 ล้านตัน ส่วนการค้าข้าวของโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 28.7ล้าน ตันในปี 2549/50 เป็น 29.6ล้าน ตัน ในปี 2550/51 ขณะที่ผลผลิตข้าวของโลกปี 2550/51 จะมีทั้งสิ้น 42.11ล้าน ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2549/50 ที่มีผลผลิต 41.80 ล้านตัน
++อินเดีย-อียิปต์หยุดส่งออก:
แหล่งข่าวในวงการข้าว กล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า นอกจากนี้หลายประเทศเริ่มหยุดส่งออกข้าว โดยประเทศอินเดียได้ประกาศหยุดตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ขณะนี้เขารอดูผลผลิตข้าวสาลีที่จะออกสู่ตลาดฤดูใหม่เดือนมีนาคมนี้ หากผลผลิตออกไม่มากอินเดียอาจจะไม่มีการส่งออกข้าว ซึ่งอินเดียมีการส่งออกข้าวปีละ 3 ล้านตันเท่ากับว่าตลาดข้าวจะหายไป 3 ล้านตัน นอกจากนี้เมื่อเร็วๆ นี้ประเทศอียิปต์ได้ประกาศหยุดส่งออกข้าว เพราะรัฐบาลอียิปต์หวั่นว่าข้าวที่ผลิตในประเทศจะไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภค หากเกิดปัญหาข้าวขาดแคลนและราคาแพงจะเกิดปัญหาเงินเฟ้อในประเทศได้จึงให้หยุดส่งออกโดยประเทศอียิปต์ส่งออกข้าวปีละ 1 ล้านตัน ขณะนี้ยังมีการส่งออกบ้างเล็กน้อยจากพันธะเดิมของผู้ส่งออกที่มีอยู่ แต่เชื่อว่าปริมาณจากอียิปต์จะหายไปประมาณ 5-6 แสนตันอย่างแน่นอน
ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่ได้ประกาศห้ามการส่งออกอย่างเป็นทางการแต่จากความต้องการใช้ธัญพืชในประเทศจำนวนมากรวมทั้งข้าวด้วยนั้น มีความเป็นไปได้สูงที่ปริมาณการส่งออกข้าวของจีนอาจจะไม่มีในปีนี้
++ส่งออกข้าวม.ค.ทุบสถิติ:
สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ รายงานถึงการส่งออกข้าวของไทยเดือนมกราคม 2551 ว่าเพิ่มขึ้นถึง 25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และถือว่าปริมาณการส่งออกข้าวรายเดือนสูงสุดในรอบ 5 ปี ส่วนใหญ่ส่งออกได้เดือนละ 600,000 ตัน แต่เดือนมกราคมปีนี้ส่งออกได้มากว่า 800,000 ตัน ส่วนราคาข้าวสารส่งออกเพิ่มขึ้นเกือบ 20% และถือว่าเป็นราคาที่สูงเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกัน
ด้านนายนิมิต วิทย์ศลาพงษ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ฟิวเจอร์อกริเทรด จำกัด โบรกเกอร์ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า กล่าวว่าราคาซื้อขายข้าวขาว 5% ซึ่งเป็นรายการหลักที่ซื้อขายกันช่วงเปิดตลาดต้นปีใหม่ซื้อขายกันเฉลี่ยที่กก.ละ 11.30 บาท ล่าสุด ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 เฉลี่ยที่กก.ละ 13.72 บาท หรือขยับขึ้นมาอีก 2.42บาท จากราคาข้าวขาวที่เคลื่อนไหวในทิศทางที่สูงขึ้นทำให้มีคนเข้ามาเก็งกำไรในตลาดกันค่อนข้างคึกคัก
http://www.thannews.th.com/detialNews.p ... issue=2294
ข้าว"โอเวอร์ฮีท"แถมหาของไม่ได้ทั้งที่เป็นต้นฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ผู้ส่งออกงงข้าวหายโยนกลองโรงสีเบี้ยว ขณะที่สมาคมโรงสีโวยข้าวพุ่งไม่หยุดไม่มีเงินซื้อมาตุนได้ อินเดีย-อียิปต์สั่งขาดห้ามส่งออก ส่วนจีนไม่ห้ามแต่คุมเข้ม ผู้ซื้อวิ่งกันควั่กกว้านซื้อข้าว ไทยหวั่นข้าวในประเทศไม่พอบริโภคแล้วจะเกิดปัญหาเงินเฟ้อ
สืบเนื่องจากขณะนี้ราคาข้าวไทยเกือบทุกชนิดสูงเป็นประวัติการณ์ ทั้งที่เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี จนผู้ส่งออก โรงสี ต้องประสบปัญหาขาดทุนกันถ้วนหน้า ขณะที่ผู้ซื้อต่างประเทศมีความต้องการสั่งซื้อแต่ผู้ส่งออกสามารถส่งมอบให้ได้เฉพาะลูกค้าขาประจำเท่านั้น และโค้ดราคาให้ได้เฉพาะล๊อตเล็กสัญญาสั้นๆ เพราะหากรับออเดอร์ไว้ราคาภายในขึ้นก็ขาดทุน ซึ่งคนวงการค้าข้าวมองว่าภาวะการณ์เช่นนี้ไม่ปกติ
++สถานการณ์ข้าวผิดปกติ:
ผู้ส่งออกหลายรายให้ความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ข้าวในช่วงนี้ในทิศทางที่สอดคล้องกันว่าอยู่ในภาวะไม่ปกติ โดยนายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่าสถานการณ์ข้าวในประเทศของไทยขณะนี้เรียกได้ว่าอยู่ในภาวะการณ์ไม่ปกติ เพราะว่าราคาข้าวขยับสูงขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ทั้งที่เป็นต้นฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปี แม้ผู้ส่งออกจะได้ตั้งราคาขายให้กับผู้ซื้อต่างประเทศในราคาที่สูงแล้ว (ดูรายละเอียดในตารางประกอบ) แต่เมื่อหันกลับมาซื้อข้าวในประเทศกลับแพงขึ้นกว่าที่ไปตกลงซื้อขายกับลูกค้าไว้ จนทำให้ผู้ส่งออกต้องขาดทุนไปตามๆ กัน
เช่นเดียวกับนางสาวกอบสุข เอี่ยมสุรีย์ เลขาธิการสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวทำนองเดียวกันว่าเคยคิดว่าปีนี้เป็นปีทองของข้าวไทย เพราะหลายประเทศหยุดส่งออกชั่วคราว ก่อนหน้านี้เวียดนามหยุดส่งออกและเพิ่งจะมาเริ่มส่งออกต้นปีนี้ อินเดียหยุดส่งออกตั้งแต่ปีที่แล้วและยังไม่มีการส่งออก เพราะฉะนั้นเป็นโอกาสของข้าวไทยที่จะขายได้ราคาสูงขึ้น เกษตรกรจะได้มีรายได้ที่มากขึ้น แต่ไม่คาดคิดว่าราคาจะร้อนแรงถึงขนาดนี้ เพราะราคาข้าวสารขึ้นกระสอบละ 30-40 บาทต่อวันเป็นราคาที่ขึ้นเร็วและแรงเกินไป
++ส่งออกหยุดรับออเดอร์:
ในฐานะประธานบริษัท กมลกิจ จำกัด นางสาวกอบสุข กล่าวจากปัญหาที่เกิดขึ้น เวลานี้ผู้ส่งออกเกือบทุกรายหยุดรับออเดอร์ใหม่กันแล้ว ไม่มีการโค้ดราคาใหม่ให้กับผู้ซื้อ อย่างของบริษัท กมลกิจฯมีออเดอร์ข้าวนึ่งล่วงหน้าที่ต้องส่งมอบถึงเดือนเมษายน เห็นอยู่แล้วว่าต้องขาดทุนเพราะราคาภายในขึ้นวันละ 30-40 บาทต่อกระสอบ จะไปรับออเดอร์ใหม่มีแต่ความเสี่ยง
"การมีออเดอร์ยาวๆ ถ้าเป็นเมื่อก่อนเป็นสิ่งที่ดี เพราะเท่ากับว่าเราเป็นโรงงานผลิตมีออเดอร์ยาวๆ เท่ากับว่าเรามีงานทำ มั่นใจที่จะไปซื้อข้าวและโดยทั่วไปถ้าเรามีออเดอร์ 3 เดือนล่วงหน้าไม่มีไครซื้อไว้ทันที จะทยอยซื้อพอใกล้เวลาส่งมอบค่อยออกไปซื้อ เพราะเชื่อว่าราคาผันแปรไม่มากอาจสูงขึ้นแต่ไม่มาก แต่สถานการณ์วันนี้ไม่ได้เป็นอย่างนั้นกลายเป็นว่าออเดอร์ที่รับไว้ขาดทุนและไม่ใช่เล็กน้อยตันละ 50-70 ดอลลาร์สหรัฐ กว่าจะถึงเดือนเมษายนไม่ทราบว่าจะขาดทุนเท่าไร เพราะฉะนั้นออเดอร์ใหม่ต้องเบรกไว้ก่อน"
นายสมบัติ เฉลิมวุฒินันท์ กรรมการบริหารบริษัท เอเชียโกลเด้นไรซ์ จำกัด ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ กล่าวว่าเชื่อว่าราคาข้าวจะขึ้นแต่ไม่คิดว่าจะเร็วขนาดนี้เช่น ข้าวขาว100% วันนี้อยู่ที่ตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าขึ้นเร็วเกินไป ราคาที่เป็นอย่างนี้ถือว่าไม่ปกติ
ในส่วนของบริษัท เอเชียโกลเด้นไรซ์ จะรับเฉพาะออเดอร์ที่ส่งมอบช่วงสั้นๆ และปริมาณไม่มาก ถ้าเป็นออเดอร์ยาวและจำนวนมากจะไม่โค้ดราคาให้เลยในช่วงนี้
+++ไล่บี้โรงสีเบี้ยวส่งมอบข้าว:
สำหรับข่าวว่าโรงสีมีการกักตุนข้าวนั้น นายชูเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่าหลังจากที่ราคาข้าวขยับสูงขึ้นทุกวัน ได้รับแจ้งจากสมาชิกหลายบริษัทว่าขณะนี้เริ่มประสบปัญหาโรงสีไม่ส่งมอบข้าวให้ เพราะราคาที่ได้ตกลงซื้อขายกันก่อนหน้านี้ถูกกว่าราคาท้องตลาดปัจจุบัน ซึ่งโรงสีอาจนำข้าวไปขายให้เจ้าอื่นที่เพิ่งจะเริ่มซื้อและซื้อในราคาที่สูงกว่า ผลกระทบที่ตามมาคือผู้ส่งออกที่มีเรือมารับมอบข้าวต้องไปซื้อใหม่เพื่อส่งมอบให้กับลูกค้าในราคาที่แพงกว่าที่ไปรับออเดอร์ไว้มาก บางรายถึงขั้นนอยู่ระหว่างเจรจากับลูกค้าขอชำระเป็นเงินสดแทนตามราคาข้าวที่ตกลงกันไว้ เพราะจะลดการขาดทุนได้มากกว่าไปหาซื้อข้าวใหม่ในท้องตลาดมาส่งมอบ
++โรงสียันไม่กักตุนไม่เบี้ยว:
จากการตั้งข้อสงสัยของผู้ส่งออกข้าวว่าเป็นช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยวแต่ทำไมข้าวสารออกสู่ตลาดน้อยรวมถึงปัญหาโรงสีเบี้ยวส่งมอบข้าวให้กับผู้ส่งออก นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล ประธานชมรมโรงสีข้าวจังหวัดพิจิตร กล่าวว่าปัญหาการกักตุนข้าวเชื่อว่าโรงสีส่วนใหญ่ไม่มีการกักตุนเพราะภาวการณ์ที่ราคาข้าวเปลือกสูงขนาดนี้ โดยช่วงสัปดาห์นี้ข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ราคาอยู่ที่ตันละ 8,500 บาท โรงสีคงไม่มีเงินทุนที่จะไปซื้อข้าวมาเก็บตุนไว้อย่างแน่นอน ที่สำคัญคือราคารำข้าว ปลายข้าวขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ไม่มีโรงสีตุนข้าวเปลือกให้เสียดอกเบี้ยแน่ สีข้าวขายได้ทั้งต้นข้าว ปลายข้าวและรำข้าวราคาแพงดีกว่า วันนี้รำข้าวกก.ละ 9 บาท ปลายข้าวกก.ละ13 บาท ส่วนสาเหตุที่ข้าวขาดตลาด เนื่องจากผลผลิตข้าวที่เก็บเกี่ยวช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ประสบกับอากาศหนาวเย็นผลผลิตได้รับความเสียหายจึงออกสู่ตลาดน้อยลงกว่าปกติ
"จากการที่ข้าวเปลือกออกสู่ตลาดน้อยและราคาแพง ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาคือโรงสีหาซื้อข้าวไม่ได้ จึงมีการชะลอส่งมอบข้าวให้กับผู้ส่งออก คงไม่ถึงกับเบี้ยวส่งมอบ" นายบรรจงกล่าวและว่าไม่เฉพาะผู้ส่งออกที่ขาดทุนจากการรับออเดอร์ล่วงหน้าจากลูกค้าต่างประเทศราคาสูงแล้วต้องมาซื้อข้าวสารในประเทศราคาแพงกว่าวันนี้โรงสีประสบปัญหาเดียวกันคือรับคำสั่งซื้อจากผู้ส่งออกราคาถูกแต่ต้องมาซื้อข้าวเปลือกราคาแพง โรงสีหลายโรงเวลานี้ก็ขาดทุนเช่นเดียวกัน
++สัญญาณโลกขาดแคลนข้าว:
สำหรับความต้องการสั่งซื้อข้าวของลูกค้าในต่างประเทศนั้นในฐานะเลขาธิการสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ นางสาวกอบสุข ระบุว่าในเวลานี้ยังมีหลายประเทศที่มีความต้องการข้าว ดังจะเห็นได้จากลูกค้าทั้งโบรกเกอร์และผู้ซื้อโดยตรงยังเดินทางเข้ามาสั่งซื้อถึงประเทศไทย โดยสาเหตุเพราะผลผลิตของหลายประเทศลดลง อันเนื่องมาจากสภาวะความแห้งแล้งผลผลิตได้รับความเสียหาย และส่วนหนึ่งพื้นที่เพาะปลูกข้าวถูกนำไปปลูกพืชพลังงานทดแทนซึ่งกำลังได้รับความนิยม ทำให้พื้นที่ปลูกลดลงและผลผลิตลดลงไปในที่สุด
"ตอนนี้ถ้าจะพูดไปก็เหมือนกับทั่วโลกเกิดปัญหาขาดแคลนข้าว เพราะลูกค้าหลั่งไหลเข้ามาที่ประเทศไทยมาสั่งซื้อข้าวจากไทย แต่ผู้ส่งออกไม่สามารถที่จะขายให้กับทุกรายได้ ขณะนี้เรียกได้ว่าลูกค้าขาจรหมดสิทธิ์จะได้ไปเฉพาะลูกค้าประจำเท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อมีคนต้องการข้าวแต่ไม่ได้ข้าวไป อย่างนี้ก็เรียกว่าขาดแคลน แต่เพราะประเทศไทยเราเป็นประเทศผู้ปลูกข้าวคนไทยจึงไม่รู้สึกว่าเกิดการขาดแคลน แต่คนที่เขาต้องการแต่ไม่ได้ของเขาจะรู้สึกว่าขาดแคลน บังคลาเทศเปิดประมูลซื้อหลายครั้งแต่ยังไม่ได้ข้าว"
ทั้งนี้กระทรวงเกษตรสหรัฐ รายงานสต๊อกข้าวโลกปี 2550/51 ว่าจะมีทั้งสิ้น 74.11 ล้านตัน ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2549/50 ที่มีสต๊อก 77.18 ล้านตัน ส่วนการค้าข้าวของโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 28.7ล้าน ตันในปี 2549/50 เป็น 29.6ล้าน ตัน ในปี 2550/51 ขณะที่ผลผลิตข้าวของโลกปี 2550/51 จะมีทั้งสิ้น 42.11ล้าน ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2549/50 ที่มีผลผลิต 41.80 ล้านตัน
++อินเดีย-อียิปต์หยุดส่งออก:
แหล่งข่าวในวงการข้าว กล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า นอกจากนี้หลายประเทศเริ่มหยุดส่งออกข้าว โดยประเทศอินเดียได้ประกาศหยุดตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ขณะนี้เขารอดูผลผลิตข้าวสาลีที่จะออกสู่ตลาดฤดูใหม่เดือนมีนาคมนี้ หากผลผลิตออกไม่มากอินเดียอาจจะไม่มีการส่งออกข้าว ซึ่งอินเดียมีการส่งออกข้าวปีละ 3 ล้านตันเท่ากับว่าตลาดข้าวจะหายไป 3 ล้านตัน นอกจากนี้เมื่อเร็วๆ นี้ประเทศอียิปต์ได้ประกาศหยุดส่งออกข้าว เพราะรัฐบาลอียิปต์หวั่นว่าข้าวที่ผลิตในประเทศจะไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภค หากเกิดปัญหาข้าวขาดแคลนและราคาแพงจะเกิดปัญหาเงินเฟ้อในประเทศได้จึงให้หยุดส่งออกโดยประเทศอียิปต์ส่งออกข้าวปีละ 1 ล้านตัน ขณะนี้ยังมีการส่งออกบ้างเล็กน้อยจากพันธะเดิมของผู้ส่งออกที่มีอยู่ แต่เชื่อว่าปริมาณจากอียิปต์จะหายไปประมาณ 5-6 แสนตันอย่างแน่นอน
ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่ได้ประกาศห้ามการส่งออกอย่างเป็นทางการแต่จากความต้องการใช้ธัญพืชในประเทศจำนวนมากรวมทั้งข้าวด้วยนั้น มีความเป็นไปได้สูงที่ปริมาณการส่งออกข้าวของจีนอาจจะไม่มีในปีนี้
++ส่งออกข้าวม.ค.ทุบสถิติ:
สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ รายงานถึงการส่งออกข้าวของไทยเดือนมกราคม 2551 ว่าเพิ่มขึ้นถึง 25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และถือว่าปริมาณการส่งออกข้าวรายเดือนสูงสุดในรอบ 5 ปี ส่วนใหญ่ส่งออกได้เดือนละ 600,000 ตัน แต่เดือนมกราคมปีนี้ส่งออกได้มากว่า 800,000 ตัน ส่วนราคาข้าวสารส่งออกเพิ่มขึ้นเกือบ 20% และถือว่าเป็นราคาที่สูงเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกัน
ด้านนายนิมิต วิทย์ศลาพงษ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ฟิวเจอร์อกริเทรด จำกัด โบรกเกอร์ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า กล่าวว่าราคาซื้อขายข้าวขาว 5% ซึ่งเป็นรายการหลักที่ซื้อขายกันช่วงเปิดตลาดต้นปีใหม่ซื้อขายกันเฉลี่ยที่กก.ละ 11.30 บาท ล่าสุด ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 เฉลี่ยที่กก.ละ 13.72 บาท หรือขยับขึ้นมาอีก 2.42บาท จากราคาข้าวขาวที่เคลื่อนไหวในทิศทางที่สูงขึ้นทำให้มีคนเข้ามาเก็งกำไรในตลาดกันค่อนข้างคึกคัก
http://www.thannews.th.com/detialNews.p ... issue=2294
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news09/02/08
โพสต์ที่ 144
ปั้นแฮปชิงตลาดน้ำผลไม้ชนิด20%
โพสต์ทูเดย์ ที.เอ.ซี. ทุ่ม 20 ล้าน ดัน แฮป ชิงตลาดเซกิ ระบุน้ำผลไม้ 20% ดึงตลาดรวมโต
น.ส.โสรยา มกราภิรมย์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ที.เอ.ซี. เบฟเวอเรจ ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำผลไม้ แฮป และเชนย่า กล่าวว่า ปีนี้จะใช้งบ 20 ล้านบาท สำหรับทำตลาดน้ำผลไม้ 20% แฮป ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เพิ่งวางจำหน่ายเมื่อ 1 เดือนที่ผ่านมา เฉพาะช่องทางร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น และภายในไตรมาส 2 จะวางจำหน่ายรสชาติใหม่อีก 2 รสชาติ จากปัจจุบันที่มี 2รสชาติ คือ รสทับทิม และ เลมอนลิ้นจี่
ทั้งนี้ ตลาดน้ำผลไม้มูลค่า 5.7 พันล้านบาท ในปีที่ผ่านมาขยายตัว 6% คาดว่าปีนี้จะขยายตัวได้ 12% โดยน้ำผลไม้ 20% จะเป็นส่วนสำคัญในกาผลักดันให้เติบโตขึ้น โดยมีผู้ผลิตอีกหลายรายเข้าสู่ตลาด เพราะที่ผ่านมายังมีผู้ทำตลาดน้อยราย อาทิ น้ำส้มเซกิ ของโออิชิ และทรอปิคาน่า ซึ่งบริษัทเชื่อว่าจะเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดได้
ปัจจุบัน ตลาดน้ำผลไม้ที่มีส่วนผสมต่ำกว่า 10% อาทิ ดีโด้ และ สแปลช ถือเป็นตลาดที่เติบโตสูงสุด ด้วยราคาจำหน่ายที่ต่ำกว่า มีส่วนแบ่ง 40% จากมูลค่าตลาดรวม ส่วนน้ำผลไม้แท้ 100% มีสัดส่วน 27% น้ำผลไม้ 40% มีสัดส่วน 9% ที่เหลือเป็นกลุ่มน้ำผลไม้ 15-20% มีสัดส่วน 24%
สำหรับการทำตลาดน้ำผลไม้ แฮป จะเน้นเจาะกลุ่มเด็กประถมตอนปลาย-มัธยมตอนต้น โดยจะเข้าไปสนับสนุนรายการ และกิจกรรมที่เด็กเหล่านี้ให้ความสนใจ รวมถึงเกาะกระแสเอเชียนฟีเวอร์ ด้วยการสนับสนุนคอนเสิร์ตของศิลปินญี่ปุ่น คานะ ซึ่งจะเปิดแสดงโชว์เคสที่เมืองไทยในวันที่ 10 ก.พ.นี้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=219818
โพสต์ทูเดย์ ที.เอ.ซี. ทุ่ม 20 ล้าน ดัน แฮป ชิงตลาดเซกิ ระบุน้ำผลไม้ 20% ดึงตลาดรวมโต
น.ส.โสรยา มกราภิรมย์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ที.เอ.ซี. เบฟเวอเรจ ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำผลไม้ แฮป และเชนย่า กล่าวว่า ปีนี้จะใช้งบ 20 ล้านบาท สำหรับทำตลาดน้ำผลไม้ 20% แฮป ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เพิ่งวางจำหน่ายเมื่อ 1 เดือนที่ผ่านมา เฉพาะช่องทางร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น และภายในไตรมาส 2 จะวางจำหน่ายรสชาติใหม่อีก 2 รสชาติ จากปัจจุบันที่มี 2รสชาติ คือ รสทับทิม และ เลมอนลิ้นจี่
ทั้งนี้ ตลาดน้ำผลไม้มูลค่า 5.7 พันล้านบาท ในปีที่ผ่านมาขยายตัว 6% คาดว่าปีนี้จะขยายตัวได้ 12% โดยน้ำผลไม้ 20% จะเป็นส่วนสำคัญในกาผลักดันให้เติบโตขึ้น โดยมีผู้ผลิตอีกหลายรายเข้าสู่ตลาด เพราะที่ผ่านมายังมีผู้ทำตลาดน้อยราย อาทิ น้ำส้มเซกิ ของโออิชิ และทรอปิคาน่า ซึ่งบริษัทเชื่อว่าจะเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดได้
ปัจจุบัน ตลาดน้ำผลไม้ที่มีส่วนผสมต่ำกว่า 10% อาทิ ดีโด้ และ สแปลช ถือเป็นตลาดที่เติบโตสูงสุด ด้วยราคาจำหน่ายที่ต่ำกว่า มีส่วนแบ่ง 40% จากมูลค่าตลาดรวม ส่วนน้ำผลไม้แท้ 100% มีสัดส่วน 27% น้ำผลไม้ 40% มีสัดส่วน 9% ที่เหลือเป็นกลุ่มน้ำผลไม้ 15-20% มีสัดส่วน 24%
สำหรับการทำตลาดน้ำผลไม้ แฮป จะเน้นเจาะกลุ่มเด็กประถมตอนปลาย-มัธยมตอนต้น โดยจะเข้าไปสนับสนุนรายการ และกิจกรรมที่เด็กเหล่านี้ให้ความสนใจ รวมถึงเกาะกระแสเอเชียนฟีเวอร์ ด้วยการสนับสนุนคอนเสิร์ตของศิลปินญี่ปุ่น คานะ ซึ่งจะเปิดแสดงโชว์เคสที่เมืองไทยในวันที่ 10 ก.พ.นี้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=219818
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news11/02/08
โพสต์ที่ 145
เตือนประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ให้ระมัดระวังปัญหาราคาสินค้าเกษตรพุ่ง ผลผลิตต่ำกว่าความต้องการในอัตราสูง
Posted on Monday, February 11, 2008
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และสถาบันวิจัยนโยบายอาหารระหว่างประเทศ (International Food Policy Research Institute - IFRI) เตือนประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ให้เตรียมรับมือปัญหาข้าวยากหมากแพง โดยระบุว่า แม้เศรษฐกิจในหลายประเทศจะขยายตัวสูง แต่ก็สร้างปัญหาช่องว่างระหว่างคนจน กับคนรวย มีการละเลยคนยากคนจนเอาไว้ข้างหลัง ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ ต้องใช้ 60 - 70% ของเงินรายได้ที่ต่ำอยู่แล้วเป็นค่าอาหาร และบั่นทอนคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนกลุ่มนี้เรื่อย ๆ
โดยนายโจคีม วอน บรอน นักวิเคราะห์จาก IFRI ในกรุงวอชิงตัน กล่าวว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียก็เป็นสาเหตุให้มีความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น แต่ก็มีไม่เพียงพอกับความต้องการ เพราะประเทศต่างๆ ยังขาดการลงทุนด้านการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการชลประทาน
นอกจากนี้ ผลการวิจัย ยังพบอีกว่า ผู้คนมีความนิยมบริโภคเนื้อกันมากขึ้น ส่งผลให้ราคาพืชผลการเกษตรแพงขึ้นอีกทางหนึ่ง เนื่องจากสัตว์ต้องบริโภคพืชและธัญพืช
นอกจากนั้น ความแห้งแล้ง และภูมิอากาศที่เลวร้าย ก็มีผลกระทบให้ปริมาณผลผลิตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ขณะที่ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงเป็นต้นเหตุให้ค่าขนส่งทะยานตัวตามกันไป ก็ผลักดันให้แต่ละประเทศหันมาส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) กันอย่างจริงจัง จนทำให้ปริมาณผลผลิตมีไม่เพียงพอกับความต้องการมากขึ้นไปอีก
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็คือ บังกลาเทศต้องหาวิธีการดูแลประชากรที่ยากจนหลายสิบล้านคน หลังจากเมื่อปีที่แล้ว พายุได้ทำลายนาข้าวเสียหายไปประมาณ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และกดดันให้ราคาข้าวพุ่งขึ้น 70% มาซื้อขายในปัจจุบัน ที่กิโลกรัมละ 50 เซ็นต์ หรือเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้ประชากร ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยนวันละไม่ถึง 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ขณะที่ในยุโรป กับในสหรัฐ อากาศหนาวเย็นทำให้ผลผลิตทางด้านการเกษตรมีปริมาณน้อยลง และยิ่งการเกิดแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ทำให้การผลิตเนื้อไก่ เป็ดและไข่ รวมทั้งการผลิตอาหารประเภทเนื้อโดยทั่วไปลดลงอย่างมาก รวมทั้งการเกิดโรคระบาดสุกรในจีนด้วย
ด้านนายอับดุลเรซา แอบบัสเซียน (Abdolreza Abbassian) นักวิเคราะห์อาวุโส ด้านธัญญาหาร FAO เปิดเผยว่า การที่ราคาอาหารที่สูงขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ทำให้เกิดการประท้วงในพม่า ปากีสถาน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย และมีการคาดหมายกันว่า อาจเกิดความไม่สงบขึ้นอีกในปีนี้ หลังจากไม่นานมานี้ เกิดพายุหิมะพัดถล่มเขตนาข้าวในจีน ทำให้ราคาอาหารพุ่งขึ้นเรื่อย ๆ สร้างความวิตกกังวลที่มีอยู่แล้วให้น่าเป็นกังวลมากขึ้น
และเมื่ออ้งงอิงผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในสหรัฐ ก็พบว่า การเปลี่ยนแปลงด้านภาวะกาอากาศอาจจะทำให้การผลิตข้าวและข้าวโพดในย่านเอเชียลดลงราว 10% ในปี 2573 หรือประมาณ 22 ปีข้างหน้า
ขณะเดียวกัน ความจำเป็นที่ต้องหาเชื้อเพลิงทดแทน เพื่อลดการปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ได้ทำให้ความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นทำสถิติใหม่ต้นปีนี้ ส่งผลให้เกษตรกรในหลายประเทศแถบเอเชีย หันไปปลูกพืชที่ให้น้ำมันเช่น สบู่ดำเพื่อป้อนอุตสาหกรรมผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ แทนที่จะปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารเช่นเดิม การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจึงมีส่วนกดดันราคาอาหารเพิ่มเติมเข้ามาด้วย
ตัวเลขของ FAO ยังชี้ให้เห็นความน่ากังวลของราคาอาหารเพิ่มเติมอีกด้วย โดยบอกว่า ในสหรัฐ มีการใช้ข้าวโพดไปในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเพิ่มขึ้นถึง 1 เท่าตัว ตั้งแต่ปี 2546 หน่วยงานนี้ยังคาดว่าในยุโรปจะใช้ข้าวสาลีผลิตเอธานอลเพิ่มขึ้นเป็น 12 เท่าตัวในปี 2559 ส่งผลให้รัฐบาลของหลายประเทศในเอเชีย เกิดความวิตกกังวลต่ออนาคตเกรงจะเกิดความไม่สงบขึ้น
อย่างอินโดนีเซีย ได้ประกาศลดภาษีเปิดทางให้นำเข้าข้าว และธัญญาหารต่าง ๆ มากขึ้น และยังเริ่มกำหนดนโยบายลดการพึ่งพาการนำเข้า ส่วนมาเลเซีย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทางการได้กุมผู้ขบวนประท้วงค่าอาหารไปหลายราย
ในปีนี้ เวียดนามผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ลดปริมาณข้าวส่งออกลง และที่น่าวิตกกว่านั้น ก็คือ หลังจากเวียดนามเปิดประเทศ และเริ่มการพัฒนาอุตสาหกรรม มาตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้สูญเสียพื้นที่นาไปแล้วกว่า 2 ล้านไร่ ในวันนี้ชาวนาก็ยังคงถูกไล่ออกจากที่ดินทำกินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ส่วนอินเดียเริ่มลดมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยตั้งราคาขายเอาไว้สูงถึงตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกับกำหนดจัดเก็บภาษีในการส่งออก เพื่อระงับการส่งออกในทางอ้อม
และเมื่อเร็ว ๆ นี้ฟิลิปปินส์ได้สั่งซื้อข้าวอย่างเร่งด่วน 300,000 ตันจากเวียดนาม เพื่อนำไปบรรเทาการขาดแคลนในเขตหมู่เกาะภาคกลางของประเทศที่นาข้าวถูกไต้ฝุ่น 2 ลูก ทำลายปีที่แล้ว
ขณะที่พม่า คาดว่าปีนี้จะมีข้าวส่งออกราว 400,000 ตัน ประเทศนี้ยังสามารถขยายเนื้อที่เพาะปลูกได้อีกมาก แต่ก็จะเป็นระยะยาวนานข้างหน้า
http://www.moneychannel.co.th/BreakingN ... fault.aspx
Posted on Monday, February 11, 2008
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และสถาบันวิจัยนโยบายอาหารระหว่างประเทศ (International Food Policy Research Institute - IFRI) เตือนประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ให้เตรียมรับมือปัญหาข้าวยากหมากแพง โดยระบุว่า แม้เศรษฐกิจในหลายประเทศจะขยายตัวสูง แต่ก็สร้างปัญหาช่องว่างระหว่างคนจน กับคนรวย มีการละเลยคนยากคนจนเอาไว้ข้างหลัง ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ ต้องใช้ 60 - 70% ของเงินรายได้ที่ต่ำอยู่แล้วเป็นค่าอาหาร และบั่นทอนคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนกลุ่มนี้เรื่อย ๆ
โดยนายโจคีม วอน บรอน นักวิเคราะห์จาก IFRI ในกรุงวอชิงตัน กล่าวว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียก็เป็นสาเหตุให้มีความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น แต่ก็มีไม่เพียงพอกับความต้องการ เพราะประเทศต่างๆ ยังขาดการลงทุนด้านการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการชลประทาน
นอกจากนี้ ผลการวิจัย ยังพบอีกว่า ผู้คนมีความนิยมบริโภคเนื้อกันมากขึ้น ส่งผลให้ราคาพืชผลการเกษตรแพงขึ้นอีกทางหนึ่ง เนื่องจากสัตว์ต้องบริโภคพืชและธัญพืช
นอกจากนั้น ความแห้งแล้ง และภูมิอากาศที่เลวร้าย ก็มีผลกระทบให้ปริมาณผลผลิตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ขณะที่ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงเป็นต้นเหตุให้ค่าขนส่งทะยานตัวตามกันไป ก็ผลักดันให้แต่ละประเทศหันมาส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) กันอย่างจริงจัง จนทำให้ปริมาณผลผลิตมีไม่เพียงพอกับความต้องการมากขึ้นไปอีก
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็คือ บังกลาเทศต้องหาวิธีการดูแลประชากรที่ยากจนหลายสิบล้านคน หลังจากเมื่อปีที่แล้ว พายุได้ทำลายนาข้าวเสียหายไปประมาณ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และกดดันให้ราคาข้าวพุ่งขึ้น 70% มาซื้อขายในปัจจุบัน ที่กิโลกรัมละ 50 เซ็นต์ หรือเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้ประชากร ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยนวันละไม่ถึง 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ขณะที่ในยุโรป กับในสหรัฐ อากาศหนาวเย็นทำให้ผลผลิตทางด้านการเกษตรมีปริมาณน้อยลง และยิ่งการเกิดแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ทำให้การผลิตเนื้อไก่ เป็ดและไข่ รวมทั้งการผลิตอาหารประเภทเนื้อโดยทั่วไปลดลงอย่างมาก รวมทั้งการเกิดโรคระบาดสุกรในจีนด้วย
ด้านนายอับดุลเรซา แอบบัสเซียน (Abdolreza Abbassian) นักวิเคราะห์อาวุโส ด้านธัญญาหาร FAO เปิดเผยว่า การที่ราคาอาหารที่สูงขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ทำให้เกิดการประท้วงในพม่า ปากีสถาน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย และมีการคาดหมายกันว่า อาจเกิดความไม่สงบขึ้นอีกในปีนี้ หลังจากไม่นานมานี้ เกิดพายุหิมะพัดถล่มเขตนาข้าวในจีน ทำให้ราคาอาหารพุ่งขึ้นเรื่อย ๆ สร้างความวิตกกังวลที่มีอยู่แล้วให้น่าเป็นกังวลมากขึ้น
และเมื่ออ้งงอิงผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในสหรัฐ ก็พบว่า การเปลี่ยนแปลงด้านภาวะกาอากาศอาจจะทำให้การผลิตข้าวและข้าวโพดในย่านเอเชียลดลงราว 10% ในปี 2573 หรือประมาณ 22 ปีข้างหน้า
ขณะเดียวกัน ความจำเป็นที่ต้องหาเชื้อเพลิงทดแทน เพื่อลดการปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ได้ทำให้ความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นทำสถิติใหม่ต้นปีนี้ ส่งผลให้เกษตรกรในหลายประเทศแถบเอเชีย หันไปปลูกพืชที่ให้น้ำมันเช่น สบู่ดำเพื่อป้อนอุตสาหกรรมผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ แทนที่จะปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารเช่นเดิม การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจึงมีส่วนกดดันราคาอาหารเพิ่มเติมเข้ามาด้วย
ตัวเลขของ FAO ยังชี้ให้เห็นความน่ากังวลของราคาอาหารเพิ่มเติมอีกด้วย โดยบอกว่า ในสหรัฐ มีการใช้ข้าวโพดไปในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเพิ่มขึ้นถึง 1 เท่าตัว ตั้งแต่ปี 2546 หน่วยงานนี้ยังคาดว่าในยุโรปจะใช้ข้าวสาลีผลิตเอธานอลเพิ่มขึ้นเป็น 12 เท่าตัวในปี 2559 ส่งผลให้รัฐบาลของหลายประเทศในเอเชีย เกิดความวิตกกังวลต่ออนาคตเกรงจะเกิดความไม่สงบขึ้น
อย่างอินโดนีเซีย ได้ประกาศลดภาษีเปิดทางให้นำเข้าข้าว และธัญญาหารต่าง ๆ มากขึ้น และยังเริ่มกำหนดนโยบายลดการพึ่งพาการนำเข้า ส่วนมาเลเซีย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทางการได้กุมผู้ขบวนประท้วงค่าอาหารไปหลายราย
ในปีนี้ เวียดนามผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ลดปริมาณข้าวส่งออกลง และที่น่าวิตกกว่านั้น ก็คือ หลังจากเวียดนามเปิดประเทศ และเริ่มการพัฒนาอุตสาหกรรม มาตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้สูญเสียพื้นที่นาไปแล้วกว่า 2 ล้านไร่ ในวันนี้ชาวนาก็ยังคงถูกไล่ออกจากที่ดินทำกินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ส่วนอินเดียเริ่มลดมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยตั้งราคาขายเอาไว้สูงถึงตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกับกำหนดจัดเก็บภาษีในการส่งออก เพื่อระงับการส่งออกในทางอ้อม
และเมื่อเร็ว ๆ นี้ฟิลิปปินส์ได้สั่งซื้อข้าวอย่างเร่งด่วน 300,000 ตันจากเวียดนาม เพื่อนำไปบรรเทาการขาดแคลนในเขตหมู่เกาะภาคกลางของประเทศที่นาข้าวถูกไต้ฝุ่น 2 ลูก ทำลายปีที่แล้ว
ขณะที่พม่า คาดว่าปีนี้จะมีข้าวส่งออกราว 400,000 ตัน ประเทศนี้ยังสามารถขยายเนื้อที่เพาะปลูกได้อีกมาก แต่ก็จะเป็นระยะยาวนานข้างหน้า
http://www.moneychannel.co.th/BreakingN ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news15/02/08
โพสต์ที่ 146
ผลไม้ไทยฉลุย ได้ผ่านคัดเลือก ลุยโอลิมปิกจีน
โพสต์ทูเดย์ สยาม เอ็ม.ซี. ผ่านคัดเลือกส่งผลไม้แปรรูป สู่กีฬาโอลิมปิก 2008
นายประสงค์ ลิ้มเจริญ ผู้จัดการ ฝ่ายขาย บริษัท สยาม เอ็ม.ซี. ผู้ผลิตผลไม้แปรรูป กล่าวว่า บริษัทได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการคัดเลือกผลไม้ไทยสู่โอลิมปิกที่จัดขึ้นในไทย และได้รางวัลที่ 2 จากการคัดเลือกผลไม้ในจีน ทำให้ได้เป็นตัวแทนจัดส่งผลไม้แปรรูปประเภท กล้วยม้วนอบ กล้วยน้ำว้าอบ มะพร้าวอบ และมะม่วงอบ ให้แก่นักกีฬา เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชนที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
บริษัทจะเริ่มจัดส่งสินค้าตั้งแต่เดือน เม.ย. เป็นต้นไป เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จะมีขึ้นในเดือน ส.ค. ขณะนี้บริษัทได้สต๊อกวัตถุดิบมะม่วงโชคอนันต์ รองรับคำสั่งซื้อดังกล่าว 5 ตัน ส่วนกล้วยมีตลอดฤดูกาลไม่ต้องสต๊อกเก็บ
นายประสงค์ กล่าวว่า สินค้าที่ส่งไปครั้งนี้จะปรับปรุงแพ็กเกจจิงให้เป็นซองขนาดพอดีคำ เหมือนกับของว่างที่เสิร์ฟบนเครื่องบิน นอกจากนี้ในช่วงที่แข่งขันบริษัทจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปร่วมสังเกตการณ์ว่าตัวแทนประเทศใดชอบรับประทานผลไม้แปรรูปชนิดใด จากนั้นจะเข้าไปเจาะตลาดเป็นรายประเทศ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=221020
โพสต์ทูเดย์ สยาม เอ็ม.ซี. ผ่านคัดเลือกส่งผลไม้แปรรูป สู่กีฬาโอลิมปิก 2008
นายประสงค์ ลิ้มเจริญ ผู้จัดการ ฝ่ายขาย บริษัท สยาม เอ็ม.ซี. ผู้ผลิตผลไม้แปรรูป กล่าวว่า บริษัทได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการคัดเลือกผลไม้ไทยสู่โอลิมปิกที่จัดขึ้นในไทย และได้รางวัลที่ 2 จากการคัดเลือกผลไม้ในจีน ทำให้ได้เป็นตัวแทนจัดส่งผลไม้แปรรูปประเภท กล้วยม้วนอบ กล้วยน้ำว้าอบ มะพร้าวอบ และมะม่วงอบ ให้แก่นักกีฬา เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชนที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
บริษัทจะเริ่มจัดส่งสินค้าตั้งแต่เดือน เม.ย. เป็นต้นไป เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จะมีขึ้นในเดือน ส.ค. ขณะนี้บริษัทได้สต๊อกวัตถุดิบมะม่วงโชคอนันต์ รองรับคำสั่งซื้อดังกล่าว 5 ตัน ส่วนกล้วยมีตลอดฤดูกาลไม่ต้องสต๊อกเก็บ
นายประสงค์ กล่าวว่า สินค้าที่ส่งไปครั้งนี้จะปรับปรุงแพ็กเกจจิงให้เป็นซองขนาดพอดีคำ เหมือนกับของว่างที่เสิร์ฟบนเครื่องบิน นอกจากนี้ในช่วงที่แข่งขันบริษัทจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปร่วมสังเกตการณ์ว่าตัวแทนประเทศใดชอบรับประทานผลไม้แปรรูปชนิดใด จากนั้นจะเข้าไปเจาะตลาดเป็นรายประเทศ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=221020
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news21/02/08
โพสต์ที่ 147
วุ้นเส้นต้นสนหน้ามืดต้นทุนพุ่ง ชาวไร่ปันใจปลูกพืชแทนพลังงาน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 21 กุมภาพันธ์ 2551 09:46 น.
ตลาดวุ้นเส้นส่อเค้าวิกฤติ เกษตรกรหันหน้าปลูกพืชพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น แทนปลูกถั่วเขียว หลังพบปลูกง่ายรายได้ดีกว่า ส่งผลราคาถั่วเขียวเพิ่มสูงขึ้น สิทธินันท์ นั่งไม่ติดเก้าอี้ งัดหลากวิธีพยุงธุรกิจ ล่าสุดทุ่มเม็ดเงิน 20 ล้านบาท สูงเป็นเท่าตัวจากปีก่อน กระตุ้นการทำตลาดสินค้า เน้นการสื่อสารแบบ อีโมชันนอล หวังระตุ้นตลาดโตขึ้น 5% และดันรายได้สู่ 800 ล้าน เพิ่มขึ้นอีก 10%จากปีก่อน
นายเตียบ ศรีวราเกียรติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สิทธินันท์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายวุ้นเส้น ตรา ต้นสน เปิดเผยว่า ในช่วง4-5 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตถั่วเขียวของประเทศลดลงอย่างมาก จาก 75,000 ตันในปี 2545 ปีนี้คาดว่าจะมีไม่ถึง 54,000 ตัน ทั้งนี้เนื่องจาก เกษตรกรเริ่มหันไปปลูกพืชที่สามารถนำมาเป็นพลังงานทดแทนได้ ทั้งข้าวโพด หรือถั่วเหลือง ที่ปลูกง่าย และรายได้ดีกว่าการปลูกถั่วเขียว หลังจากที่ไทยเริ่มมีการรณรงค์ให้มีการใช้พลังงานทดแทนเรื่อยมา
ส่งผลให้ตลาดวุ้นเส้น มีแนวโน้มที่อาจจะถึงขั้นวิกฤติ ในการที่มีวัตถุดิบหลักอย่างถั่วเขียวมีราคาที่สูงขึ้น โดยปีนี้อยู่ที่ 22 บาท/ก.ก. จากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณ 14-15 บาท/ก.ก. รวมถึงปัจจัยทางด้านน้ำมัน ส่งผลให้ต้นทุนรวมเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น 10-15% ทำให้ผู้จำหน่ายวุ้นเส้นได้มีการปรับราคาสินค้า ทั้งนี้ทางบริษัทฯได้มีการปรับขึ้นมา 5% เช่นกันในไตรมาส4ของปีก่อน ส่วนปีนี้ยังไม่มีแผนปรับราคา แต่หากราคาถั่วเขียวขยับเพิ่มเป็น 30 บาท/ก.ก. ก็คงต้องการปรับราคาสินค้าขึ้นอีก
นายนิทัศน์ ตั้งแสงประทีป ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและวางแผน บริษัท สิทธินันท์ จำกัด กล่าวว่า ล่าสุดบริษัทฯได้วางงบประมาณทางการตลาดถึง 20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเท่าตัว เพื่อที่จะต้องการกระตุ้นตลาดวุ้นเส้นมูลค่า 1,600 ล้านบาท ให้มีการเติบโตขึ้น อย่างน้อย 5% หลังจากทรงตัวมานาน
ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำของแบรนด์ ต้นสน จากการนำเอากลยุทธ์พรีเซนเตอร์ มาร์เก็ตติ้ง เข้ามาใช้ โดยการดึง วีเจ วุ้นเส้น ร่วมเป็นพรีเซนเตอร์ เพื่อทำให้ภาพการทำตลาดวุ้นต่างออกไปจากเดิม ที่เน้นสินค้าเพื่ใช้ประกอบอาหาร มาเป็นด้าน อีโมชั่นนัล ที่เน้นให้เกิดความต้องการที่จะบริโภคสินค้าแทน มั่นใจว่าจะทำให้บริษัทฯมียอดขายเติบโตขึ้น 10% หรือประมาณ 640 ล้านบาท พร้อมทั้งขยับแชร์ในตลาดจากเดิม 37% เป็น 40% อีกด้วย
สำหรับภาพรวมรายได้ของบริษัทฯ ปีนี้คาดว่าจะโตขึ้นอีก 10% หรือกว่า 800 ล้านบาท มาจาก วุ้นเส้น มากว่า75% ที่เหลืออีก 25% มาจาก สินค้าประเภท แป้งถั่วเขียว และโปรตีนสำหรับสัตว์
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000021438
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 21 กุมภาพันธ์ 2551 09:46 น.
ตลาดวุ้นเส้นส่อเค้าวิกฤติ เกษตรกรหันหน้าปลูกพืชพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น แทนปลูกถั่วเขียว หลังพบปลูกง่ายรายได้ดีกว่า ส่งผลราคาถั่วเขียวเพิ่มสูงขึ้น สิทธินันท์ นั่งไม่ติดเก้าอี้ งัดหลากวิธีพยุงธุรกิจ ล่าสุดทุ่มเม็ดเงิน 20 ล้านบาท สูงเป็นเท่าตัวจากปีก่อน กระตุ้นการทำตลาดสินค้า เน้นการสื่อสารแบบ อีโมชันนอล หวังระตุ้นตลาดโตขึ้น 5% และดันรายได้สู่ 800 ล้าน เพิ่มขึ้นอีก 10%จากปีก่อน
นายเตียบ ศรีวราเกียรติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สิทธินันท์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายวุ้นเส้น ตรา ต้นสน เปิดเผยว่า ในช่วง4-5 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตถั่วเขียวของประเทศลดลงอย่างมาก จาก 75,000 ตันในปี 2545 ปีนี้คาดว่าจะมีไม่ถึง 54,000 ตัน ทั้งนี้เนื่องจาก เกษตรกรเริ่มหันไปปลูกพืชที่สามารถนำมาเป็นพลังงานทดแทนได้ ทั้งข้าวโพด หรือถั่วเหลือง ที่ปลูกง่าย และรายได้ดีกว่าการปลูกถั่วเขียว หลังจากที่ไทยเริ่มมีการรณรงค์ให้มีการใช้พลังงานทดแทนเรื่อยมา
ส่งผลให้ตลาดวุ้นเส้น มีแนวโน้มที่อาจจะถึงขั้นวิกฤติ ในการที่มีวัตถุดิบหลักอย่างถั่วเขียวมีราคาที่สูงขึ้น โดยปีนี้อยู่ที่ 22 บาท/ก.ก. จากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณ 14-15 บาท/ก.ก. รวมถึงปัจจัยทางด้านน้ำมัน ส่งผลให้ต้นทุนรวมเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น 10-15% ทำให้ผู้จำหน่ายวุ้นเส้นได้มีการปรับราคาสินค้า ทั้งนี้ทางบริษัทฯได้มีการปรับขึ้นมา 5% เช่นกันในไตรมาส4ของปีก่อน ส่วนปีนี้ยังไม่มีแผนปรับราคา แต่หากราคาถั่วเขียวขยับเพิ่มเป็น 30 บาท/ก.ก. ก็คงต้องการปรับราคาสินค้าขึ้นอีก
นายนิทัศน์ ตั้งแสงประทีป ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและวางแผน บริษัท สิทธินันท์ จำกัด กล่าวว่า ล่าสุดบริษัทฯได้วางงบประมาณทางการตลาดถึง 20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเท่าตัว เพื่อที่จะต้องการกระตุ้นตลาดวุ้นเส้นมูลค่า 1,600 ล้านบาท ให้มีการเติบโตขึ้น อย่างน้อย 5% หลังจากทรงตัวมานาน
ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำของแบรนด์ ต้นสน จากการนำเอากลยุทธ์พรีเซนเตอร์ มาร์เก็ตติ้ง เข้ามาใช้ โดยการดึง วีเจ วุ้นเส้น ร่วมเป็นพรีเซนเตอร์ เพื่อทำให้ภาพการทำตลาดวุ้นต่างออกไปจากเดิม ที่เน้นสินค้าเพื่ใช้ประกอบอาหาร มาเป็นด้าน อีโมชั่นนัล ที่เน้นให้เกิดความต้องการที่จะบริโภคสินค้าแทน มั่นใจว่าจะทำให้บริษัทฯมียอดขายเติบโตขึ้น 10% หรือประมาณ 640 ล้านบาท พร้อมทั้งขยับแชร์ในตลาดจากเดิม 37% เป็น 40% อีกด้วย
สำหรับภาพรวมรายได้ของบริษัทฯ ปีนี้คาดว่าจะโตขึ้นอีก 10% หรือกว่า 800 ล้านบาท มาจาก วุ้นเส้น มากว่า75% ที่เหลืออีก 25% มาจาก สินค้าประเภท แป้งถั่วเขียว และโปรตีนสำหรับสัตว์
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000021438
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news27/02/08
โพสต์ที่ 148
วางเงื่อนไขขายหมู90บาท
โพสต์ทูเดย์ โรงชำแหละหมู ระบุราคาหมูมีสิทธิ์ลงเหลือ 90 บาท/กก. หากผู้เลี้ยงยอมลดราคาหน้าฟาร์มขายแค่ 58 บาท/กก.
นายประวิทย์ อัศนธรรม นายกสมาคมผู้ค้าสุกรชำแหละไทย กล่าวว่า พร้อมให้ความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ในการปรับลดราคาเนื้อหมู แต่ขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยงว่าจะยอมลดราคาหน้าฟาร์มลงเหลือ 58 บาท/กก. จากที่ขายอยู่ 60 บาท/กก. หรือไม่ เนื่องจากผู้เลี้ยงได้ตอบรับในที่ประชุมร่วมระหว่างกลุ่มผู้เลี้ยงและผู้ค้าหมู กับกรมการค้าภายในสัปดาห์ที่แล้วว่าจะปรับราคาลง
ทั้งนี้ หากสามารถทำได้จริงโรง ชำแหละจะนำราคาที่ลดลงไปลดให้กับผู้ค้าหน้าเขียงต่อ อาจจะลด 1 บาท หรือ 1.50 บาท จะช่วยลดต้นทุนและทำให้หน้าเขียงยอมปรับราคาลง
เบื้องต้นประเมินว่า หากราคาหน้าฟาร์มเหลือ 58 บาท/กก. จะทำให้ราคาหน้าเขียงสามารถขายในราคาต่ำถึง 90 บาท/กก.ได้ และล่าสุดกรมการค้าภายในมีนโยบายจะจัดโครงการธงฟ้าจำหน่ายหมูให้กับประชาชน จะบรรเทาความเดือดร้อนได้มากขึ้นด้วย
วิธีการที่จะลดราคาหมูต้องเริ่มลดจากต้นทาง คือ ผู้เลี้ยงก่อน จึงจะเป็นแนวทางที่ถูกต้องมากกว่าจะให้โรงชำแหละ หรือผู้ค้าหน้าเขียงหั่นราคาจากปลายทาง เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะซื้อของแพงมาขายถูก ต่อไปก็ขึ้นอยู่กับกระทรวงพาณิชย์จะเจรจากับผู้เลี้ยงให้ทำตามที่รับปากไว้ได้หรือไม่ นายประวิทย์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าไม่มีสัญญาที่ผูกมัดผู้เลี้ยงเป็นลายลักษณ์อักษร จึงไม่มีใครรับรองได้ว่าผู้เลี้ยงจะลดราคาจริง กรมการค้าภายในจึงต้องติดตามทวงถามและตัดสินใจว่าควรจะประกาศควบคุมราคาหมูหน้าฟาร์มหรือไม่
นายประวิทย์ กล่าวว่า หากรัฐบาลยังไม่มีนโยบายจัดการปัญหาหมูที่ชัดเจน กลไกตลาดจะกดดันให้ราคาปรับลดลงในไม่ช้า เนื่องจากเกษตรกรจะแห่ขายหมูเมื่อได้ราคาดี ทำให้โรงชำแหละมีทางเลือกมากขึ้นและเมื่อซื้อเกินโควตาก็จะกดราคาหมูลง ซึ่งเกษตรกรต้องยินยอม ทำให้มีโอกาสที่ราคาหมูจะปรับตัวลดลงเอง เพราะล่าสุดเริ่มมีผู้เลี้ยงรายย่อยบางรอยยอมขายราคาหน้าฟาร์มที่ 58 บาท/กก.แล้ว
นายประวิทย์ ระบุว่า ตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค. เป็นต้นมา นับแต่ราคาหมูปรับตัวสูงขึ้น ยอดขายปรับตัวลดลงไม่ต่ำกว่า 20-30% แล้ว แต่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อโรงชำแหละมากนัก
ก่อนหน้านี้ผู้เลี้ยงหมูรายใหญ่ทั้งเบทาโกรและกลุ่มซีพี ไม่มีท่าทีว่าจะลดราคาหมู โดยระบุเหมือนกันว่า คงไม่สามารถลด หรือตรึงราคาหมูหน้าฟาร์มได้ พร้อมทั้งเสนอให้รัฐบาลปล่อยลอยตัวราคาหมูให้เป็นไปตามกลไกตลาด เนื่องจากต้นทุนอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้เลี้ยงไม่สามารถแบกรับภาระต่อไปได้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=223309
โพสต์ทูเดย์ โรงชำแหละหมู ระบุราคาหมูมีสิทธิ์ลงเหลือ 90 บาท/กก. หากผู้เลี้ยงยอมลดราคาหน้าฟาร์มขายแค่ 58 บาท/กก.
นายประวิทย์ อัศนธรรม นายกสมาคมผู้ค้าสุกรชำแหละไทย กล่าวว่า พร้อมให้ความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ในการปรับลดราคาเนื้อหมู แต่ขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยงว่าจะยอมลดราคาหน้าฟาร์มลงเหลือ 58 บาท/กก. จากที่ขายอยู่ 60 บาท/กก. หรือไม่ เนื่องจากผู้เลี้ยงได้ตอบรับในที่ประชุมร่วมระหว่างกลุ่มผู้เลี้ยงและผู้ค้าหมู กับกรมการค้าภายในสัปดาห์ที่แล้วว่าจะปรับราคาลง
ทั้งนี้ หากสามารถทำได้จริงโรง ชำแหละจะนำราคาที่ลดลงไปลดให้กับผู้ค้าหน้าเขียงต่อ อาจจะลด 1 บาท หรือ 1.50 บาท จะช่วยลดต้นทุนและทำให้หน้าเขียงยอมปรับราคาลง
เบื้องต้นประเมินว่า หากราคาหน้าฟาร์มเหลือ 58 บาท/กก. จะทำให้ราคาหน้าเขียงสามารถขายในราคาต่ำถึง 90 บาท/กก.ได้ และล่าสุดกรมการค้าภายในมีนโยบายจะจัดโครงการธงฟ้าจำหน่ายหมูให้กับประชาชน จะบรรเทาความเดือดร้อนได้มากขึ้นด้วย
วิธีการที่จะลดราคาหมูต้องเริ่มลดจากต้นทาง คือ ผู้เลี้ยงก่อน จึงจะเป็นแนวทางที่ถูกต้องมากกว่าจะให้โรงชำแหละ หรือผู้ค้าหน้าเขียงหั่นราคาจากปลายทาง เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะซื้อของแพงมาขายถูก ต่อไปก็ขึ้นอยู่กับกระทรวงพาณิชย์จะเจรจากับผู้เลี้ยงให้ทำตามที่รับปากไว้ได้หรือไม่ นายประวิทย์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าไม่มีสัญญาที่ผูกมัดผู้เลี้ยงเป็นลายลักษณ์อักษร จึงไม่มีใครรับรองได้ว่าผู้เลี้ยงจะลดราคาจริง กรมการค้าภายในจึงต้องติดตามทวงถามและตัดสินใจว่าควรจะประกาศควบคุมราคาหมูหน้าฟาร์มหรือไม่
นายประวิทย์ กล่าวว่า หากรัฐบาลยังไม่มีนโยบายจัดการปัญหาหมูที่ชัดเจน กลไกตลาดจะกดดันให้ราคาปรับลดลงในไม่ช้า เนื่องจากเกษตรกรจะแห่ขายหมูเมื่อได้ราคาดี ทำให้โรงชำแหละมีทางเลือกมากขึ้นและเมื่อซื้อเกินโควตาก็จะกดราคาหมูลง ซึ่งเกษตรกรต้องยินยอม ทำให้มีโอกาสที่ราคาหมูจะปรับตัวลดลงเอง เพราะล่าสุดเริ่มมีผู้เลี้ยงรายย่อยบางรอยยอมขายราคาหน้าฟาร์มที่ 58 บาท/กก.แล้ว
นายประวิทย์ ระบุว่า ตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค. เป็นต้นมา นับแต่ราคาหมูปรับตัวสูงขึ้น ยอดขายปรับตัวลดลงไม่ต่ำกว่า 20-30% แล้ว แต่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อโรงชำแหละมากนัก
ก่อนหน้านี้ผู้เลี้ยงหมูรายใหญ่ทั้งเบทาโกรและกลุ่มซีพี ไม่มีท่าทีว่าจะลดราคาหมู โดยระบุเหมือนกันว่า คงไม่สามารถลด หรือตรึงราคาหมูหน้าฟาร์มได้ พร้อมทั้งเสนอให้รัฐบาลปล่อยลอยตัวราคาหมูให้เป็นไปตามกลไกตลาด เนื่องจากต้นทุนอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้เลี้ยงไม่สามารถแบกรับภาระต่อไปได้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=223309
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/02/08
โพสต์ที่ 149
ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มขอขึ้นราคาเป็นขวดละ 52 บาท ข่าว 18.00 น.
Posted on Thursday, February 28, 2008
รายงานจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า สมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มเตรียมทำหนังสือถึง นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอปรับขึ้นราคาขายปลีกอีก 4.50 บาท จากปัจจุบันอยู่ที่ขวดละ 47.50 บาท ซึ่งจะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันปาล์มอยู่ที่ขวดละ 52 บาท
สำหรับสาเหตุที่ต้องขอปรับราคาขึ้นอีกรอบนั้น เนื่องจากผู้ประกอบการยังขาดทุนอยู่มาก แม้กรมการค้าภายในได้อนุมัติให้ขึ้นได้ขวดละ 47.50 บาทเมื่อไม่นานมานี้ แต่ต้นทุนการผลิตในปัจจุบันได้ปรับขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 38 บาทแล้ว เมื่อนำมากลั่นยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม จะอยู่ที่ 43 บาท รวมกับค่าบรรจุขวดอีก 5 บาท ทำให้ต้นทุนสูงถึง 48 บาท แต่หากรวมค่าใช้จ่ายด้านอื่น ๆ อีก ราคาก็สูงกว่า 50 บาทแล้ว แต่หากกระทรวงพาณิชย์ไม่อนุญาตให้ปรับขึ้นราคาก็คงต้องหาน้ำมันปาล์มดิบราคาต่ำกว่าตลาดมาให้ผู้ประกอบการผลิตแทน
ก่อนหน้านี้ กรมการค้าภายในได้อนุมัติให้ปรับขึ้นราคาขายน้ำมันปาล์มดิบบรรจุขวดแล้ว 2 ครั้งในเดือนธันวาคม 2550 โดยครั้งแรกขึ้นราคาขวดละ 5.50 บาท จาก 38 บาท เป็นขวดละ 43.50 บาท ครั้งที่ 2 ปรับขึ้น 4 บาท เป็นขวดละ 47.50 และครั้งนี้เป็นรอบที่ 3 หากได้รับการอนุมัติจะทำให้ราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวดขึ้นเป็นขวดละ 52 บาท เมื่อรวม 3 ครั้ง น้ำมันปาล์มจะปรับขึ้นถึงขวดละ 14 บาท โดยใช้ระยะเวลาเพียง 2 เดือนเท่านั้น
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
Posted on Thursday, February 28, 2008
รายงานจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า สมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มเตรียมทำหนังสือถึง นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอปรับขึ้นราคาขายปลีกอีก 4.50 บาท จากปัจจุบันอยู่ที่ขวดละ 47.50 บาท ซึ่งจะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันปาล์มอยู่ที่ขวดละ 52 บาท
สำหรับสาเหตุที่ต้องขอปรับราคาขึ้นอีกรอบนั้น เนื่องจากผู้ประกอบการยังขาดทุนอยู่มาก แม้กรมการค้าภายในได้อนุมัติให้ขึ้นได้ขวดละ 47.50 บาทเมื่อไม่นานมานี้ แต่ต้นทุนการผลิตในปัจจุบันได้ปรับขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 38 บาทแล้ว เมื่อนำมากลั่นยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม จะอยู่ที่ 43 บาท รวมกับค่าบรรจุขวดอีก 5 บาท ทำให้ต้นทุนสูงถึง 48 บาท แต่หากรวมค่าใช้จ่ายด้านอื่น ๆ อีก ราคาก็สูงกว่า 50 บาทแล้ว แต่หากกระทรวงพาณิชย์ไม่อนุญาตให้ปรับขึ้นราคาก็คงต้องหาน้ำมันปาล์มดิบราคาต่ำกว่าตลาดมาให้ผู้ประกอบการผลิตแทน
ก่อนหน้านี้ กรมการค้าภายในได้อนุมัติให้ปรับขึ้นราคาขายน้ำมันปาล์มดิบบรรจุขวดแล้ว 2 ครั้งในเดือนธันวาคม 2550 โดยครั้งแรกขึ้นราคาขวดละ 5.50 บาท จาก 38 บาท เป็นขวดละ 43.50 บาท ครั้งที่ 2 ปรับขึ้น 4 บาท เป็นขวดละ 47.50 และครั้งนี้เป็นรอบที่ 3 หากได้รับการอนุมัติจะทำให้ราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวดขึ้นเป็นขวดละ 52 บาท เมื่อรวม 3 ครั้ง น้ำมันปาล์มจะปรับขึ้นถึงขวดละ 14 บาท โดยใช้ระยะเวลาเพียง 2 เดือนเท่านั้น
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/03/08
โพสต์ที่ 150
Hard Topic
ผู้ส่งออกข้าวเผยราคาข้าวเพิ่มขึ้นทันที 10 เหรียญ/ตัน หลังยกเลิกมาตรการ 30%
Posted on Monday, March 03, 2008
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel ว่า ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ราคาข้าวได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุมาจากเวียดนามและอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก มีปัญหาภายในประเทศ จึงได้งดการส่งออกข้าว ทำให้ทุกประเทศหันมาสั่งซื้อข้าวจากไทยแทน ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2550 จนถึงปัจจุบัน ไทยส่งออกข้าวสารเดือนละกว่า 1 ล้านตัน
อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา ก็มีผลให้ราคาข้าวเมื่อแปลงเป็นเงินบาทมีราคาลดลง นอกจากนั้น การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (29 ก.พ.) ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปทันทีถึง 50 สตางค์ ซึ่งก็มีผลให้ราคาข้าวสารส่งออกปรับตัวขึ้นไปทันทีในราคาตันละ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ
นายชูเกียรติบอกว่า ขณะนี้ผู้ส่งออกข้าวเริ่มกังวลกับการแข็งค่าของเงินบาทที่ทำให้ราคาส่งออกข้าวเพิ่มสูงขึ้น เพราะถ้าเมื่อใดที่เวียดนามและอินเดียเริ่มกลับมาส่งออกข้าวได้อีกครั้ง จะมีผลกระทบต่อการส่งออกข้าวของไทยทันที เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวที่มีคุณภาพเหมือนกัน ข้าวเวียดนามจะมีราคาถูกกว่าข้าวไทยตันละ 25 ดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้การที่ราคาข้าวยังไม่มีแนวโน้มที่จะทรงตัว จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ส่งออกเริ่มไม่อยากรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศแล้ว เนื่องจากผู้ส่งออกเกรงว่าราคาอาจจะปรับเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถหาซื้อข้าวมาส่งมอบให้ลูกค้าได้
นายชูเกียรติฝากถึงรัฐบาลด้วยว่า จากความปั่นป่วนที่เกิดกับธุรกิจซื้อขายข้าว ภาครัฐควรปล่อยให้กลไกตลาดเป็นผู้แก้ไขสถานการณ์ ส่วนภาครัฐก็สามารถช่วยได้ด้วยการระบายข้าวในสต๊อกให้ออกมาสู่ท้องตลาดมากขึ้น เพื่อลดแรงกดดันด้านราคาขาย และช่วยให้ผู้ส่งออกสามารถแข่งขันได้
นายปราโมทย์ วานิชานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ในช่วงที่ราคาข้าวปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรง คือ ชาวนา เพราะทุกครั้งที่มีการเก็บเกี่ยว ราคาข้าวก็ได้ปรับเพิ่มขึ้นทุกครั้ง โดยขณะนี้ข้าวนาปรังพันธุ์หอมมะลิ ราคาอยู่ที่เกวียนละ 1.3 หมื่นบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีราคาก่อนรับจำนำที่เกวียนละ 9.5 9.8 พันบาท ส่วนข้าวที่ปลูกในเขตนาชลประทานมีราคาเกวียนละ 9.3 9.4 พันบาท จากเดิมอยู่ที่เกวียนละ 7 พันบาท
ส่วนโรงสีข้าวและผู้ส่งออกก็มีทั้งที่ได้และเสียประโยชน์จากการที่ราคาข้าวได้ปรับเพิ่มขึ้น โดยผู้ส่งออกและโรงสีข้าวที่มีสินค้าในโกดังมาก ก็จะได้ประโยชน์ ส่วนโรงสีและผู้ส่งออกที่มีการขายข้าวล่วงหน้าไปแล้ว ก็เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพราะต้องไปซื้อข้าวราคาแพงเพื่อนำไปขายต่อ
นายปราโมทย์ยอมรับว่า การแข็งค่าของเงินบาท และการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% จะส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่จากผู้ส่งออกไปถึงโรงสีข้าว และชาวนา โดยเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ มีผลให้ราคาข้าวสูงขึ้น 15% ถ้าผู้ซื้อต่างประเทศยอมรับในระดับราคานี้ได้ ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าผู้ซื้อไม่ยอมรับราคาขายนี้ ก็จะเปลี่ยนไปสั่งซื้อข้าวจากประเทศอื่นแทน
ส่วนกรณีที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ราคาขายที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการที่โรงสีมีการกักตุนสินค้านั้น นายปราโมทย์เผยว่า โรงสีข้าวมีการเก็บวัตถุดิบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนั้น การที่ราคาข้าวเพิ่มสูงขึ้น จึงไม่น่าจะเกิดจากการกักตุนสินค้าของโรงสี และในช่วงนี้โรงสีก็มีวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการขายด้วย
อย่างไรก็ตาม นายปราโมทย์มองว่า หากโรงสีมีการกักตุนสินค้าในช่วงนี้จริง ก็ถือเป็นเรื่องปกติของผู้ที่ทำการค้า แต่ถ้าโรงสีคาดการณ์แนวโน้มราคาผิด ก็จะต้องยอมรับผลขาดทุนที่ตามมา ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเรื่องปริมาณสินค้า จึงอยากให้ภาครัฐลงทุนจัดทำฐานข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปประเมินผลได้
ติดตาม Hard Topic ทาง Money Channel True Visions 80 ทุกวันจันทร์ ศุกร์ เวลา 13.00 14.00 น.
ช่องทางการรับชม Money Channel: True Visions ช่อง 80, จานดาวเทียม Samart DTH ช่อง 08 และเคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ ช่อง 30
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Har ... fault.aspx
ผู้ส่งออกข้าวเผยราคาข้าวเพิ่มขึ้นทันที 10 เหรียญ/ตัน หลังยกเลิกมาตรการ 30%
Posted on Monday, March 03, 2008
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel ว่า ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ราคาข้าวได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุมาจากเวียดนามและอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก มีปัญหาภายในประเทศ จึงได้งดการส่งออกข้าว ทำให้ทุกประเทศหันมาสั่งซื้อข้าวจากไทยแทน ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2550 จนถึงปัจจุบัน ไทยส่งออกข้าวสารเดือนละกว่า 1 ล้านตัน
อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา ก็มีผลให้ราคาข้าวเมื่อแปลงเป็นเงินบาทมีราคาลดลง นอกจากนั้น การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (29 ก.พ.) ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปทันทีถึง 50 สตางค์ ซึ่งก็มีผลให้ราคาข้าวสารส่งออกปรับตัวขึ้นไปทันทีในราคาตันละ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ
นายชูเกียรติบอกว่า ขณะนี้ผู้ส่งออกข้าวเริ่มกังวลกับการแข็งค่าของเงินบาทที่ทำให้ราคาส่งออกข้าวเพิ่มสูงขึ้น เพราะถ้าเมื่อใดที่เวียดนามและอินเดียเริ่มกลับมาส่งออกข้าวได้อีกครั้ง จะมีผลกระทบต่อการส่งออกข้าวของไทยทันที เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวที่มีคุณภาพเหมือนกัน ข้าวเวียดนามจะมีราคาถูกกว่าข้าวไทยตันละ 25 ดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้การที่ราคาข้าวยังไม่มีแนวโน้มที่จะทรงตัว จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ส่งออกเริ่มไม่อยากรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศแล้ว เนื่องจากผู้ส่งออกเกรงว่าราคาอาจจะปรับเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถหาซื้อข้าวมาส่งมอบให้ลูกค้าได้
นายชูเกียรติฝากถึงรัฐบาลด้วยว่า จากความปั่นป่วนที่เกิดกับธุรกิจซื้อขายข้าว ภาครัฐควรปล่อยให้กลไกตลาดเป็นผู้แก้ไขสถานการณ์ ส่วนภาครัฐก็สามารถช่วยได้ด้วยการระบายข้าวในสต๊อกให้ออกมาสู่ท้องตลาดมากขึ้น เพื่อลดแรงกดดันด้านราคาขาย และช่วยให้ผู้ส่งออกสามารถแข่งขันได้
นายปราโมทย์ วานิชานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ในช่วงที่ราคาข้าวปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรง คือ ชาวนา เพราะทุกครั้งที่มีการเก็บเกี่ยว ราคาข้าวก็ได้ปรับเพิ่มขึ้นทุกครั้ง โดยขณะนี้ข้าวนาปรังพันธุ์หอมมะลิ ราคาอยู่ที่เกวียนละ 1.3 หมื่นบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีราคาก่อนรับจำนำที่เกวียนละ 9.5 9.8 พันบาท ส่วนข้าวที่ปลูกในเขตนาชลประทานมีราคาเกวียนละ 9.3 9.4 พันบาท จากเดิมอยู่ที่เกวียนละ 7 พันบาท
ส่วนโรงสีข้าวและผู้ส่งออกก็มีทั้งที่ได้และเสียประโยชน์จากการที่ราคาข้าวได้ปรับเพิ่มขึ้น โดยผู้ส่งออกและโรงสีข้าวที่มีสินค้าในโกดังมาก ก็จะได้ประโยชน์ ส่วนโรงสีและผู้ส่งออกที่มีการขายข้าวล่วงหน้าไปแล้ว ก็เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพราะต้องไปซื้อข้าวราคาแพงเพื่อนำไปขายต่อ
นายปราโมทย์ยอมรับว่า การแข็งค่าของเงินบาท และการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% จะส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่จากผู้ส่งออกไปถึงโรงสีข้าว และชาวนา โดยเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ มีผลให้ราคาข้าวสูงขึ้น 15% ถ้าผู้ซื้อต่างประเทศยอมรับในระดับราคานี้ได้ ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าผู้ซื้อไม่ยอมรับราคาขายนี้ ก็จะเปลี่ยนไปสั่งซื้อข้าวจากประเทศอื่นแทน
ส่วนกรณีที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ราคาขายที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการที่โรงสีมีการกักตุนสินค้านั้น นายปราโมทย์เผยว่า โรงสีข้าวมีการเก็บวัตถุดิบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนั้น การที่ราคาข้าวเพิ่มสูงขึ้น จึงไม่น่าจะเกิดจากการกักตุนสินค้าของโรงสี และในช่วงนี้โรงสีก็มีวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการขายด้วย
อย่างไรก็ตาม นายปราโมทย์มองว่า หากโรงสีมีการกักตุนสินค้าในช่วงนี้จริง ก็ถือเป็นเรื่องปกติของผู้ที่ทำการค้า แต่ถ้าโรงสีคาดการณ์แนวโน้มราคาผิด ก็จะต้องยอมรับผลขาดทุนที่ตามมา ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเรื่องปริมาณสินค้า จึงอยากให้ภาครัฐลงทุนจัดทำฐานข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปประเมินผลได้
ติดตาม Hard Topic ทาง Money Channel True Visions 80 ทุกวันจันทร์ ศุกร์ เวลา 13.00 14.00 น.
ช่องทางการรับชม Money Channel: True Visions ช่อง 80, จานดาวเทียม Samart DTH ช่อง 08 และเคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ ช่อง 30
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Har ... fault.aspx