Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 21, 2012 8:17 pm
มาดูมุมมอง อ. กอบศักดิ์ ล่าสุดดูครับ ยังน่าเป็นห่วงมาก
หลังจากการเลือกตั้งกรีซผ่านไป ทุกคนมีคำถามว่า “จะเกิดอะไรขึ้น”
ในระยะสั้น หลายคนคงดีใจที่การเลือกตั้งผ่านไปด้วยดี โดยพรรค New Democracy ซึ่งเป็นผู้ร่วมทำข้อตกลงรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง (แม้ว่าจะเป็นการชนะที่ฉิวเฉียดก็ตามที่ 30% ในขณะที่พรรคที่สองได้ 27%) โดยพรรค New Democracy จะต้องจัดตั้งรัฐบาลให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน ทั้งนี้ จากจำนวนที่นั้งในสภา 129 เสียงที่มีอยู่ กับที่นั่งของพรรคที่ชนะที่สามคือ พรรค Pasok จำนวน 33 เสียง ก็น่าจะทำให้มีเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนที่นั้ง 300 เสียงในสภาได้
ความท้าทายในช่วงต่อไปคืออะไร
การชนะการเลือกตั้งของพรรค New Democracy เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาของกรีซเท่านั้น พูดง่าย แค่ผ่านไปได้เพียงเปลาะหนึ่งเท่านั้น ขอให้ทุกคนเก็บความดีใจไว้ก่อน เพราะยังมีปัญหารออยู่อีกมาก โดย
1. รัฐบาลจะต้องเร่งดูแลสร้างความมั่นคงให้กับแบงก์ในกรีซ เนื่องจากความไม่แน่นอนต่างๆ ของการเลือกตั้งที่เพิ่งจบไป รวมทั้งข่าวลือเกี่ยวกับการออกจากยูโรของกรีซ ได้ทำให้ผู้ฝากเงินจำนวนหนึ่งได้ทยอยกันไปถอนเงินจากแบงก์ในกรีซ ทำให้ธนาคารเหล่านี้มีปัญหามากขึ้นไปจากเดิม
2. กรีซก็จะต้องกลับไปเร่งทำตามสัญญาที่ตกลงไว้กับสหภาพยุโรป ในการรัดเข็มขัด เก็บภาษีเพิ่ม และดำเนินการปฏิรูปในด้านต่างๆ ซึ่งก็ได้ล่าช้าเสียเวลาในการเลือกตั้ง 2 รอบ ไม่ได้ทำอะไรกัน มามากว่า 2 เดือน ทั้งนี้ ในช่วงเดือนสิงหาคม รัฐบาลกรีซมีกำหนดที่จะต้องชำระหนี้คืนจำนวน 3.1 พันล้านยูโร จึงต้องพยายามทำตามเงื่อนไขที่ตกลงกำหนดไว้ให้ได้ในเวลาที่เหลือ เพื่อให้ได้เงินจำนวนนี้ มาคืนหนี้ให้ได้
3. การกลับไปขอเจรจา ใหม่กับทางสหภาพยุโรปเพื่อขอผ่อนปรนเงื่อนไขการรัดเข็มขัดที่ได้เคยตกลงไว้เดิม ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ดีเกินจริง ทำให้รัฐบาลกรีซเมื่อต้องทำตามที่ได้ตกลงกันไว้ กลับไม่สามารถปฏิบัติตามได้อยู่เสมอมา ต้องสอบตกอยู่ทุกๆ 3 เดือนสร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดอยู่เป็นระยะๆ
ในประเด็นนี้ ถ้าไม่มีการขอเจรจาใหม่ ท้ายที่สุดกรีซก็จะทำไม่ได้อยู่ดี โดยเฉพาะในเรื่องของการกำหนดให้รัฐบาลกรีซกลับไปเกินดุลที่ 4% ของ GDP ภายใน 2 ปีข้างหน้า ซึ่งจากที่ได้ติดตามสถานการณ์ สหภาพยุโรปเองก็เริ่มที่จะโอนอ่อนลงมากในช่วงที่ผ่านมา และดูเหมือนว่าพร้อมที่จะผ่อนปรนให้กรีซมากขึ้น และให้ความช่วยเหลือในการกระตุ้นเศรษฐกิจของกรีซให้มากขึ้น
ในระยะยาว ปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่า “รัฐบาลใหม่จะรักษาเสถียรภาพทางการเมืองของตนไว้ได้นานแค่ไหน” ถ้ายุโรปไม่ผ่อนปรนอะไรให้เลย รัฐบาลก็จะต้องถูกบีบให้ไปเผชิญหน้ากับทางประชาชน ที่ต้องถูกลดเงินเดือน ปลดออกจากการเป็นข้าราชการ ตัดสิทธิประโยชน์ ถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่ม และยิ่งมีการประท้วง มีการประทะกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชนมากเท่าไร รัฐบาลก็จะอ่อนแอลงมากเท่านั้น ทำให้การที่จะไปขับเคลื่อนปฏิรูปเศรษฐกิจตามที่สัญญาไว้กับทางสหภาพยุโรปเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น
ดังนั้น การเดินร่วมกันไปในช่วงข้างหน้าของกรีซและสหภาพยุโรปคงมีทางออกทางเดียว ก็คือการกัดฟัน ลากถูกันไป ยอมรอมชอม ทำทุกอย่างเพื่อให้กรีซยังคงสภาพอยู่ในยูโรได้ ไม่ให้สร้างความปั่นป่วนเพิ่มขึ้นในตลาด ซึ่งหมายความว่า ปัญหารอบนี้จะยืดเยื้อ และเราก็ต้องทำใจยอมรับกับสภาพของสหภาพยุโรปที่จะเป็นเช่นนี้กันไปอีกระยะหนึ่ง ก่อนที่จะค่อยๆ ทรุดลง ปะทุขึ้นเป็นวิกฤต และนำมาซึ่งมาตรการแก้ไขที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดและทันต่อสถานการณ์ในที่สุด
ก็ขอเอาใจช่วยกรีซและสหภาพยุโรปครับ
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำวันที่ 21 มิ.ย. 55
คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ
หลังจากการเลือกตั้งกรีซผ่านไป ทุกคนมีคำถามว่า “จะเกิดอะไรขึ้น”
ในระยะสั้น หลายคนคงดีใจที่การเลือกตั้งผ่านไปด้วยดี โดยพรรค New Democracy ซึ่งเป็นผู้ร่วมทำข้อตกลงรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง (แม้ว่าจะเป็นการชนะที่ฉิวเฉียดก็ตามที่ 30% ในขณะที่พรรคที่สองได้ 27%) โดยพรรค New Democracy จะต้องจัดตั้งรัฐบาลให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน ทั้งนี้ จากจำนวนที่นั้งในสภา 129 เสียงที่มีอยู่ กับที่นั่งของพรรคที่ชนะที่สามคือ พรรค Pasok จำนวน 33 เสียง ก็น่าจะทำให้มีเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนที่นั้ง 300 เสียงในสภาได้
ความท้าทายในช่วงต่อไปคืออะไร
การชนะการเลือกตั้งของพรรค New Democracy เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาของกรีซเท่านั้น พูดง่าย แค่ผ่านไปได้เพียงเปลาะหนึ่งเท่านั้น ขอให้ทุกคนเก็บความดีใจไว้ก่อน เพราะยังมีปัญหารออยู่อีกมาก โดย
1. รัฐบาลจะต้องเร่งดูแลสร้างความมั่นคงให้กับแบงก์ในกรีซ เนื่องจากความไม่แน่นอนต่างๆ ของการเลือกตั้งที่เพิ่งจบไป รวมทั้งข่าวลือเกี่ยวกับการออกจากยูโรของกรีซ ได้ทำให้ผู้ฝากเงินจำนวนหนึ่งได้ทยอยกันไปถอนเงินจากแบงก์ในกรีซ ทำให้ธนาคารเหล่านี้มีปัญหามากขึ้นไปจากเดิม
2. กรีซก็จะต้องกลับไปเร่งทำตามสัญญาที่ตกลงไว้กับสหภาพยุโรป ในการรัดเข็มขัด เก็บภาษีเพิ่ม และดำเนินการปฏิรูปในด้านต่างๆ ซึ่งก็ได้ล่าช้าเสียเวลาในการเลือกตั้ง 2 รอบ ไม่ได้ทำอะไรกัน มามากว่า 2 เดือน ทั้งนี้ ในช่วงเดือนสิงหาคม รัฐบาลกรีซมีกำหนดที่จะต้องชำระหนี้คืนจำนวน 3.1 พันล้านยูโร จึงต้องพยายามทำตามเงื่อนไขที่ตกลงกำหนดไว้ให้ได้ในเวลาที่เหลือ เพื่อให้ได้เงินจำนวนนี้ มาคืนหนี้ให้ได้
3. การกลับไปขอเจรจา ใหม่กับทางสหภาพยุโรปเพื่อขอผ่อนปรนเงื่อนไขการรัดเข็มขัดที่ได้เคยตกลงไว้เดิม ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ดีเกินจริง ทำให้รัฐบาลกรีซเมื่อต้องทำตามที่ได้ตกลงกันไว้ กลับไม่สามารถปฏิบัติตามได้อยู่เสมอมา ต้องสอบตกอยู่ทุกๆ 3 เดือนสร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดอยู่เป็นระยะๆ
ในประเด็นนี้ ถ้าไม่มีการขอเจรจาใหม่ ท้ายที่สุดกรีซก็จะทำไม่ได้อยู่ดี โดยเฉพาะในเรื่องของการกำหนดให้รัฐบาลกรีซกลับไปเกินดุลที่ 4% ของ GDP ภายใน 2 ปีข้างหน้า ซึ่งจากที่ได้ติดตามสถานการณ์ สหภาพยุโรปเองก็เริ่มที่จะโอนอ่อนลงมากในช่วงที่ผ่านมา และดูเหมือนว่าพร้อมที่จะผ่อนปรนให้กรีซมากขึ้น และให้ความช่วยเหลือในการกระตุ้นเศรษฐกิจของกรีซให้มากขึ้น
ในระยะยาว ปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่า “รัฐบาลใหม่จะรักษาเสถียรภาพทางการเมืองของตนไว้ได้นานแค่ไหน” ถ้ายุโรปไม่ผ่อนปรนอะไรให้เลย รัฐบาลก็จะต้องถูกบีบให้ไปเผชิญหน้ากับทางประชาชน ที่ต้องถูกลดเงินเดือน ปลดออกจากการเป็นข้าราชการ ตัดสิทธิประโยชน์ ถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่ม และยิ่งมีการประท้วง มีการประทะกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชนมากเท่าไร รัฐบาลก็จะอ่อนแอลงมากเท่านั้น ทำให้การที่จะไปขับเคลื่อนปฏิรูปเศรษฐกิจตามที่สัญญาไว้กับทางสหภาพยุโรปเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น
ดังนั้น การเดินร่วมกันไปในช่วงข้างหน้าของกรีซและสหภาพยุโรปคงมีทางออกทางเดียว ก็คือการกัดฟัน ลากถูกันไป ยอมรอมชอม ทำทุกอย่างเพื่อให้กรีซยังคงสภาพอยู่ในยูโรได้ ไม่ให้สร้างความปั่นป่วนเพิ่มขึ้นในตลาด ซึ่งหมายความว่า ปัญหารอบนี้จะยืดเยื้อ และเราก็ต้องทำใจยอมรับกับสภาพของสหภาพยุโรปที่จะเป็นเช่นนี้กันไปอีกระยะหนึ่ง ก่อนที่จะค่อยๆ ทรุดลง ปะทุขึ้นเป็นวิกฤต และนำมาซึ่งมาตรการแก้ไขที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดและทันต่อสถานการณ์ในที่สุด
ก็ขอเอาใจช่วยกรีซและสหภาพยุโรปครับ
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำวันที่ 21 มิ.ย. 55
คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ