news06/03/08
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 06, 2008 3:09 pm
ชี้ช่องอุตฯอาหารสู้ค่าบาท
โพสต์ทูเดย์ แนะผู้ส่งออกอาหารลดผลกระทบเงินบาทแข็งค่า ขึ้นราคาสินค้า เพิ่มการนำเข้าวัตถุดิบ และกระจายรายรับสู่เงินหลากสกุล
นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ผู้ส่งออกสามารถลดผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องได้หลายแนวทาง โดยในส่วนของอุตสาหกรรมอาหารที่หลายฝ่ายมองว่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด แนะนำให้เพิ่มราคาขายสินค้า เนื่องจากสินค้าอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งไม่มีคู่แข่งเหมือนกับสินค้าเกษตร หากปรับราคาขึ้นเชื่อว่าผู้บริโภคก็ยังซื้อเหมือนเดิม
ด้านกลุ่มสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบโดยตรง อาจปรับแนวทางการทำตลาดมาใช้วิธีรวมกลุ่มกับผู้ผลิตรายอื่นๆ เพื่อสร้างอำนาจต่อรองในการปรับราคาจำหน่ายให้สูงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ข้าว และยางพารา
ที่จริงถ้ามองในระยะยาว และคิดใหม่ เราน่าจะรับมือกับผลกระทบจากค่าเงินบาทได้ดี นอกจากกลยุทธ์การเพิ่มราคาแล้ว ต้องนำกลยุทธ์การตลาดเข้ามาช่วยด้วย เช่น การสร้างกระแสรักษาสุขภาพ หรือหาจุดขายให้กับสินค้าอาหารสำเร็จรูป นายเกียรติพงศ์ กล่าว
นอกจากนี้ ในส่วนของกลุ่มที่จำหน่ายสินค้าไปยังกลุ่มประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่สหรัฐ ควรทำสัญญาตกลงรายรับเป็นเงินสกุลอื่นเพิ่มเติม เพื่อกระจายความเสี่ยงจากปัญหาค่าเงินบาทผันผวน โดยเฉพาะผู้ที่ส่งสินค้าไปจำหน่ายยังกลุ่มสหภาพยุโรป หรืออียู แม้จะมีต้นทุนเป็นเงินเหรียญสหรัฐ แต่ก็มีรายรับเป็นเงินยูโร
การดำเนินการดังกล่าวจะลดผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนได้มาก เนื่องจากค่าเงินยูโรยังแข็งค่ากว่าเงินเหรียญสหรัฐมาก และยังแนะนำให้ผู้ส่งออกที่ค้าขายกับประเทศอื่น ทั้งญี่ปุ่น และจีน ใช้วิธีเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่ายังมีกลุ่มผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองในทิศทางเดียวกันว่า สถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่ายังมีผู้ที่ได้เปรียบคือ กลุ่มที่นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตสินค้า เช่น กลุ่มเหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ เนื่องจากสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ และนับว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ส่งออกที่ต้องการลงทุนเครื่องจักรใหม่
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าภายใน 1-2 เดือน เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นไปที่ระดับ 30-31 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ประเด็นสำคัญที่จะทำให้ผู้ส่งออกเสียเปรียบในการแข่งขันคือ เมื่อค่าเงินบาทแข็งกว่าเงินสกุลอื่นของประเทศคู่แข่ง
อย่างไรก็ดี การแก้ไขปัญหาเงินบาทแข็งค่ายังไม่ทราบทิศทางที่แน่ชัด ต้องติดตามมาตรการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลว่าจะได้ผลหรือไม่ แต่ประเด็นที่ยังน่าเป็นห่วงคือ เรื่องการเก็งกำไรค่าเงินบาท ว่าจะสามารถสกัดกั้นได้มากน้อยเพียงใด
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=224905
โพสต์ทูเดย์ แนะผู้ส่งออกอาหารลดผลกระทบเงินบาทแข็งค่า ขึ้นราคาสินค้า เพิ่มการนำเข้าวัตถุดิบ และกระจายรายรับสู่เงินหลากสกุล
นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ผู้ส่งออกสามารถลดผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องได้หลายแนวทาง โดยในส่วนของอุตสาหกรรมอาหารที่หลายฝ่ายมองว่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด แนะนำให้เพิ่มราคาขายสินค้า เนื่องจากสินค้าอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งไม่มีคู่แข่งเหมือนกับสินค้าเกษตร หากปรับราคาขึ้นเชื่อว่าผู้บริโภคก็ยังซื้อเหมือนเดิม
ด้านกลุ่มสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบโดยตรง อาจปรับแนวทางการทำตลาดมาใช้วิธีรวมกลุ่มกับผู้ผลิตรายอื่นๆ เพื่อสร้างอำนาจต่อรองในการปรับราคาจำหน่ายให้สูงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ข้าว และยางพารา
ที่จริงถ้ามองในระยะยาว และคิดใหม่ เราน่าจะรับมือกับผลกระทบจากค่าเงินบาทได้ดี นอกจากกลยุทธ์การเพิ่มราคาแล้ว ต้องนำกลยุทธ์การตลาดเข้ามาช่วยด้วย เช่น การสร้างกระแสรักษาสุขภาพ หรือหาจุดขายให้กับสินค้าอาหารสำเร็จรูป นายเกียรติพงศ์ กล่าว
นอกจากนี้ ในส่วนของกลุ่มที่จำหน่ายสินค้าไปยังกลุ่มประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่สหรัฐ ควรทำสัญญาตกลงรายรับเป็นเงินสกุลอื่นเพิ่มเติม เพื่อกระจายความเสี่ยงจากปัญหาค่าเงินบาทผันผวน โดยเฉพาะผู้ที่ส่งสินค้าไปจำหน่ายยังกลุ่มสหภาพยุโรป หรืออียู แม้จะมีต้นทุนเป็นเงินเหรียญสหรัฐ แต่ก็มีรายรับเป็นเงินยูโร
การดำเนินการดังกล่าวจะลดผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนได้มาก เนื่องจากค่าเงินยูโรยังแข็งค่ากว่าเงินเหรียญสหรัฐมาก และยังแนะนำให้ผู้ส่งออกที่ค้าขายกับประเทศอื่น ทั้งญี่ปุ่น และจีน ใช้วิธีเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่ายังมีกลุ่มผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองในทิศทางเดียวกันว่า สถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่ายังมีผู้ที่ได้เปรียบคือ กลุ่มที่นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตสินค้า เช่น กลุ่มเหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ เนื่องจากสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ และนับว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ส่งออกที่ต้องการลงทุนเครื่องจักรใหม่
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าภายใน 1-2 เดือน เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นไปที่ระดับ 30-31 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ประเด็นสำคัญที่จะทำให้ผู้ส่งออกเสียเปรียบในการแข่งขันคือ เมื่อค่าเงินบาทแข็งกว่าเงินสกุลอื่นของประเทศคู่แข่ง
อย่างไรก็ดี การแก้ไขปัญหาเงินบาทแข็งค่ายังไม่ทราบทิศทางที่แน่ชัด ต้องติดตามมาตรการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลว่าจะได้ผลหรือไม่ แต่ประเด็นที่ยังน่าเป็นห่วงคือ เรื่องการเก็งกำไรค่าเงินบาท ว่าจะสามารถสกัดกั้นได้มากน้อยเพียงใด
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=224905