สูตรมหัศจรรย์!! สไตล์ VI
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 18, 2008 2:05 pm
ถ้างั้น
A
A
เว็บบอร์ดการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุน VI หุ้น วีไอ แนวทางลงทุน คลังความรู้หุ้นวีไอ แหล่งรวมนักลงทุนหุ้นวีไอที่ใหญ่ที่สุด พร้อมรับสมาชิก VIP มีหมวดลงทุน ร้อยคนร้อยหุ้น คอมเม้นและข้อมูลดีๆ จากนักลงทุนเน้นคุณค่าผู้มีประสบการณ์ ข้อมูล Oppday ของหุ้นวีไอ
https://v3.thaivi.org/
[1] ปกติผมก็ไม่ค่อยเชื่อใครง่ายๆ อยู่แล้ว ยิ่งเรื่องเงินๆ ทองๆ ยิ่งแล้วใหญ่ ผมทำในเชิงการศึกษาเฉยๆ นะครับ แม้ในอดีตตามที่ผมยกข้อมูลมามันจะใช้ได้แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอนาคตมันจะดี เท่าที่ดูในอดีตมันก็มีทั้งหุ้นบวกหุ้นลบหุ้นนิ่งปนๆ กัน รักชอบใครก็คงต้องติดตามเอาครับ ถ้าลงละเอียดได้ก็จะดีtingku เขียน:ผมได้อ่านหนังสือนี้ใน version ภาษาอังกฤษ (ตาม link ไฟล์ PDF ในกระทู้นี้) ไปถึงบทที่ 12 (ยังอ่านไม่จบ) จากนั้นก็มาตามในกระทู้นี้ จนมาถึงความเห็นพี่ Ryuga แล้วมีข้อสงสัยโง่ๆ ดังนี้ครับ
1.ถ้าจะทำแบบ พี่ Ryuga ทำ (ใช้ ROA และ PE) แล้วคัดหุ้นตัวหนาออก แสดงว่า นอกจากจะจัดลำดับแล้ว เราต้องไปตามศึกษาหุ้น ประมาณ 30-40 ตัวแรกใน list เพื่อจะหาหุ้นตัวหนา แล้วคัดออกให้เหลือเพียง 20 ตัว ใช่ไหมครับ ถ้าใช่ ผมว่าเป็นงานหนักมาก ยิ่งถ้าต้องทำทุกปียิ่งยาก (ทุกวันนี้ผมติดตามอยู่แค่ 3 ตัว ยังคิดว่ารู้ไม่ครบเลยครับ) ผมจึงมีความคิดว่าแล้วถ้าทำแบบโง่ๆ คือ ได้ list มาแล้ว ลุยเลย 20 อันดับแรก อย่างนี้จะไหวไหมครับ
2.ถ้าจะซื้อจริงๆ จะซื้อแบบไหนครับ เช่นซื้อ ทุกตัวใน 20 อันดับแรก ตัวละ 100 หุ้น ง่ายๆอย่างนี้หรือเปล่า หรือว่าต้องถ่วงน้ำหนักในการซื้ออย่างไรครับ
3. หลังจากหนึ่งปีผ่านไป เช่นซื้อวันที่ 1/1/2008 พอถึงวันที่ 1/1/2009 ก็ขายทั้งหมด ได้เงินกลับมาเท่าไหร่ บวกปันผล กับเครดิตภาษีกลับเข้าไป แล้วก็คิดว่าปีที่ผ่านมาได้กำไร หรือ ขาดทุนกี่ % อย่างนี้ถูกต้องหรือเปล่า
4.หลังจากขายทั้งหมดในวันที่ 1/1/2009 แล้ว วัดผลแล้ว เอาเงินที่เหลืออยู่ทั้งหมด มาซื้อหุ้น 20 ตัวแรกใน list ที่ทำขึ้นใหม่ด้วยวิธีเดียวกับตอนที่ทำในวันที่ 1/1/2008 อย่างนี้ถูกต้องไหมครับ
ป.ล. อาจดูโง่ๆ แต่ผมไฝ่ฝันหาสูตรแบบไม่ต้องคิดมาตลอด เพราะผมกังวลว่าผมจะใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ (หรือรู้ข้อมูลของบริษัทแต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะตัดสินใจยังไงดี เช่นกรณี MBK ของผม) ถ้าได้สูตร หรือแผนการ ที่ แข็ง จริงๆ ไม่ต้องคาดการ ไม่ต้องวิเคราะห์ จริงๆ ก็น่าจะดีครับ
ที่ผมเอา portfolio ที่มีจำนวนหุ้นต่างกันมาก มาเปรียบเทียบผลตอบแทนกัน ก็เพราะต้องการทดสอบอย่างง่ายๆ ว่า สำหรับตลาดหุ้นเล็กๆ และจำนวนสมาชิกก็น้อยๆ อย่างบ้านเรานั้น จำนวนหลักทรัพย์ในพอร์ตขนาดไหนจะเหมาะสมสำหรับสูตรนี้ จำนวนสมาชิกของพอร์ตก็ต้องนับจากอันดับบนลงมาอยู่แล้ว จำนวนมันก็ต้องไม่เท่ากันเพราะไม่งั้นมันก็เปรียบเทียบกันไม่ได้เพราะคิดจากวิธีเดียวกัน หากจะเปรียบเทียบที่สมาชิกเท่ากันก็จะกลายเป็นการทดสอบอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในเวลาที่ต่างกันของช่วงเวลา 1 ปีแทน จำนวนสมาชิกในพอร์ตไม่เท่ากันความเสี่ยงก็ต้องไม่เท่ากันอยู่แล้ว ผมก็เลยละไว้ในฐานที่เข้าใจเพียงแต่อยากเห็นว่า ภายในตลาดบ้านเรา จำนวนสมาชิกขนาดไหนจะเหมาะกว่าพี่อดิศัย เขียน:วิธีการทดสอบแบบในหนังสือสูตรมหัศจรรย์ ตามที่คุณริวกะทำคือ เปรียบเทียบผลตอบแทนของพอร์ต กับ ดัชนี ก็นับว่าใช้ได้ครับ แต่มี fall out ที่สำคัญตามความเห็นผม คือ "เอา portfolio ที่มีจำนวนหุ้นต่างกันมาก มาเปรียบเทียบผลตอบแทนกัน"
การเอา portfolio ที่มีจำนวนหุ้นต่างกัน ทำให้ความเสียง(Risk)ของ portfolio ต่างกันครับ port ที่มีจำนวนหุ้นน้อยกว่าย่อมมีความเสี่ยงมากกว่า ความเสี่ยงมากกว่าก็มีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนที่มากกว่า(แต่ไม่จำเป็นเสมอไปครับ)
ฟังๆ ดูรู้สึกจะเอามาเทียบผลกันไม่ได้กับสูตรมหัศจรรย์รึเปล่าครับ เพราะในสูตรที่เขาว่ามา กำหนดกรอบซื้อ กรอบขาย ชัดเจนที่ 1 ปี ระหว่างนั้นจะไปทำอะไรที่ไหนยังไงก็ได้ แต่อย่าง APM ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้สร้างพอร์ต ถ้าต้องเทียบตัวเลขกันทุกเดือน แล้ววิธีการซื้อขายแบบไหนถึงจะดีครับadi เขียน:สำหรับความถี่ในการทดสอบเราควรเช็ค ค่า spread กับ IC ทุกเดือน เพื่อที่จะทราบ pattern ในการลดลง หรือ ระยะเวลาที่ factor model ของเรา outperform benchmark เนื่องจากถ้าราคาของหุ้นที่มี alpha สูง catch up หรือ recognize ไปแล้วจะทำให้ผลงานในเดือนหลังๆ in-perform ได้
ไม่เข้าใจคำถามสักทีเดียวนะครับ แต่ผมไม่ทราบจริงๆว่ากองทุนในเมืองไทยมีการบริหารแบบ active fund หรือไม่ครับteelek เขียน:ผมขออนุญาติแสดงควมคิดเห็นอีกมุมนะครับ
ถ้าหาก คุณ adi ว่าทางกองทุนใหญ่ๆ ก็ใช้สูตรนี้กับ Active Fund ก็เท่ากับว่าเรากำลังบริหารPort ของเราในแบบที่กองทุนเขาใช้กันและผมก็ขอเดาต่อว่าหุ้นตัวที่เราคัดทิ้งก็น่าจะเป็นตัวที่เขาคัดทิ้งด้วยผลออกมาก็คงไม่เลวนะครับเน่ีย