วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 151
สศช.เผยจีดีพีไตรมาส1โต12%สูงในรอบ15ปี
(เบื้องต้น) สภาพัฒน์ฯเผยจีดีพีไตรมาส 1 ของปีนี้ขยายตัวกว่า 12% สูงสุดในรอบ 15 ปี ส่งออกพุ่ง-การลงทุนเอกชนขยายตัว 15.8%
ในช่วงเช้าของวันนี้ (24 พ.ค.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) แถลงตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ของปี 2553 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีอัตราเติบโต 12.0% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงสุดในรอบ 15 ปี นับจากไตรมาส 2 ของปี 2538 ที่จีดีพีเติบโต 12.3%
ทั้งนี้ เนื่องจากในไตรมาส 1 ของปีนี้ การส่งออกเติบโตสูงอย่างชัดเจน การลงทุนภาคเอกชนเติบโต 15.8% การใช้จ่ายภาคครัวเรือนเติบโต 4% รวมทั้งจำนวนนักท่องเที่ยว 4.7 ล้านคน เติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 28.4%
(เบื้องต้น) สภาพัฒน์ฯเผยจีดีพีไตรมาส 1 ของปีนี้ขยายตัวกว่า 12% สูงสุดในรอบ 15 ปี ส่งออกพุ่ง-การลงทุนเอกชนขยายตัว 15.8%
ในช่วงเช้าของวันนี้ (24 พ.ค.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) แถลงตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ของปี 2553 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีอัตราเติบโต 12.0% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงสุดในรอบ 15 ปี นับจากไตรมาส 2 ของปี 2538 ที่จีดีพีเติบโต 12.3%
ทั้งนี้ เนื่องจากในไตรมาส 1 ของปีนี้ การส่งออกเติบโตสูงอย่างชัดเจน การลงทุนภาคเอกชนเติบโต 15.8% การใช้จ่ายภาคครัวเรือนเติบโต 4% รวมทั้งจำนวนนักท่องเที่ยว 4.7 ล้านคน เติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 28.4%
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 152
วิกฤตการณ์โอลิมปิก
วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลา 19:18:04 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ดร.โกร่งออกโรงเตือนวิกฤตหนี้สินในกรีซ-ยุโรป ระวังซ้ำรอยวิกฤต"ต้มยำกุ้ง"
"ดร.โกร่ง" ออกโรงเตือนผ่านคอลัมน์ คนเดินตรอกว่าวิกฤตหนี้สินในกรีซ กำลังลุกลามเข้าไปในกลุ่มประเทศในยูโรโซน ทั้งโปรตุเกส อิตาลี สเปน รวมถึงอังกฤษ ใครจะเชื่อว่าการลงทุนเป็นเจ้าภาพกีฬาที่ยิ่งใหญ่อย่างโอลิมปิกเมื่อ6ปีที่กำลังจะทำให้กรีซเดินตามรอยไทยในวิกฤตต้มยำกุ้ง ที่ไอเอ็มเอฟยังใช้การวิธีแก้ปัญหาแบบเดิมๆ ทำไมกรีซถึงลดค่าเงินของตัวเองไม่ได้ ปัญหาของยุโรปจะหนักหนาสาหัสแค่ไหน คลิกอ่าน...
วิกฤตการณ์โอลิมปิก
คอลัมน์ เดินตามตรอก โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร
วิกฤตการณ์ทางการเงินในประเทศกรีซกำลังเป็นข่าวครึกโครมไปทั่วโลก เพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่ทั่วโลกกำลังจับตาดูว่าจะรุนแรงลุกลามกลายเป็นวิกฤตทางการเงินไปทั่วโลกมากน้อยอย่างไร
เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์เคยไปแสดงปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ให้ทรรศนะที่กลายเป็นที่ฮือฮากันตามสื่อมวลชนฝรั่ง ที่ว่ากันว่าเศรษฐกิจของโลกจะฟื้นตัวแล้วในครึ่งหลังของปี 2553 นั้น น่ากลัวจะเป็นความหวังเท่านั้น วิกฤตการณ์ของโลกยังไม่สิ้นสุดลงง่าย ๆ ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งอเมริกาและยุโรป ดูได้จากการที่ยุโรปส่ออาการง่อนแง่นจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน เริ่มจากกรีซกำลังจะลามไปที่โปรตุเกส อิตาลี สเปน ที่เรียกว่ากลุ่มประเทศ PIGS และจะลามไปที่อังกฤษ แล้วก็อาจจะแพร่ไปทั่วยุโรป
ยังไม่มีใครตั้งชื่อวิกฤตการณ์เที่ยวนี้ ก็เลยขอตั้งเสียเลยว่าเป็นวิกฤตการณ์โอลิมปิก หรือ "Olympic Crisis" เพราะกรีซเป็นต้นกำเนิดของกีฬาโอลิมปิก และวิกฤตการณ์เที่ยวนี้ก็เกิดจากการลงทุนเกินตัว เมื่อคราวเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2004
ปัญหาการลงทุนเกินตัว มาจากการคาดการณ์ทุกอย่างผิดพลาด ทำให้กรีซไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะชำระหนี้ ข่าวเริ่มเล็ดลอดออกมาตั้งแต่ปลายปี 2552 เรื่อยมาจนถึงต้นปี 2553
ได้มีความพยายามจากทั้ง 8 ธนาคารกลางของยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ที่ยังโยกโย้กันไปมา ไม่ตกลงกันเสียที เพราะพรรครัฐบาลของเยอรมันก็ดี ของอังกฤษก็ดี กลัวจะเสียคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง หากปล่อยให้กรีซและประเทศอื่นที่เริ่มมีปัญหากู้เงินเกินไป
ในที่สุด เมื่อมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลของกรีซกับธนาคารกลางของยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยการสนับสนุนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
ตกลงจะให้กรีซกู้เงินเพื่อนำมาชำระหนี้ทั้งที่เป็นดอกเบี้ยและเงินต้นจำนวน 1.4 แสนล้านยูโร โดยมีเงื่อนไขว่ารัฐบาลกรีซจะต้องตัดงบประมาณลง จากที่เคยขาดดุลถึง 13.6 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประชาชาติลงมาเหลือเพียง 4 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลกรีซต้องลดเงินเดือนค่าจ้าง หรือปลดข้าราชการออก การลงทุนภาครัฐบาลไม่ต้องพูดถึง รัฐบาลต้องขึ้นภาษีการค้า เป็นการเริ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม ขึ้นภาษีเงินได้และภาษีทรัพย์สิน
ไอเอ็มเอฟก็ให้ยาเหมือนที่เคยให้ประเทศไทย สมัยเมื่อเราเกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง คือให้รัดเข็มขัด ให้ตัดรายจ่าย ขึ้นภาษี ขึ้นดอกเบี้ย เหมือนกับที่ไอเอ็มเอฟกับธนาคารกลางยุโรปบังคับให้กรีซดำเนินการ
ผลก็คือทำให้ผู้คนเดือดร้อนอย่างหนัก จนเกิดการจลาจล คนเป็นเรือนแสนออกมาชุมนุม มีการเผาธนาคาร มีผู้คนล้มตายบาดเจ็บหลายคน วิกฤตการณ์ทางการเมืองก็ยังไม่จบ
เงินที่ทางธนาคารกลางยุโรปจะนำออกมาให้รัฐบาลกรีซกู้จำนวน 1.45 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.1 แสนล้านเหรียญยูโรนั้น ไม่น่าจะเพียงพอ มีการคาดการณ์กันว่า ถ้าจะเอาให้อยู่จนผู้คนมั่นใจ ไม่ให้คนเทขายพันธบัตรของรัฐบาลกรีซ อาจจะต้องใช้เงินถึง 5-6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และอาจจะต้องเตรียมเงินไว้ช่วยอังกฤษ อิตาลี สเปน และโปรตุเกสอีกไม่น้อยกว่า 5-6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ รวม ๆ แล้ว ทั้งเยอรมัน ฝรั่งเศส และประเทศที่ร่ำรวยอื่น ๆ ต้องลงขันเตรียมเงินไว้ให้กู้ เพื่อป้องกันภาวะล่มสลายของระบบการเงินในเขตยูโรเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.5-8.0 แสน ล้านยูโร แล้วแต่อัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งในทางการไม่มีทางเป็นไปได้ คนเยอรมัน ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และอื่น ๆ ไม่มีทางยอม เพราะในทางการเมือง ยุโรปยังไม่ได้รวมกันเป็นประเทศเดียวเหมือนกับสหรัฐอเมริกา
ปัญหาของยุโรปที่รวมตลาดการเงินตลาดทุนเป็นอันเดียวกัน โดยผ่านการใช้เงินตราสกุลเดียวกันคือยูโร แต่ในทางการคลังและบริการของรัฐยังแยกกันอยู่ มิได้รวมเข้าเป็นประเทศเดียวกัน ผู้คนยังไม่ได้รู้สึกว่าเป็นคนชาติเดียวกันหรือประเทศเดียวกันเหมือนอย่างสหรัฐอเมริกา
ในสหรัฐอเมริกาหรือจีนหรือประเทศขนาดใหญ่อื่น ๆ ภาระหน้าที่การให้บริการสาธารณะอยู่ที่รัฐบาลกลาง ไม่ใช่เป็นภาระของรัฐที่เป็นสมาชิก ภาษีส่วนใหญ่ก็อยู่ที่รัฐบาลกลาง ส่วนยุโรปไม่มีรัฐบาลกลางที่รับภาระการให้บริการสาธารณะและการลงทุนภาครัฐบาล มีแต่ธนาคารกลาง แต่ละประเทศมีขีดความสามารถในการแข่งขันต่างกัน ค่าเงินก็ควรจะปรับเปลี่ยนไปตามความสามารถในการแข่งขัน แต่กรีซไม่มีเงินตราสกุลของตัว
ในยามที่มีวิกฤตการณ์ทางการเงิน เครื่องมือที่สำคัญที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด และมีปัญหาทางการเงินน้อยที่สุด ก็คือต้องลดค่าเงินของตัวเอง อย่างน้อยก็ 15-20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเงินตราสกุลหลักอื่น ๆ
แต่ปรากฏว่ากรีซไม่มีเงินตราสกุลของตนที่จะไป "ลดค่า" เพราะตนเองได้ยกเลิกเงินตราของตนไปใช้เงินสกุลยูโรแทน ถ้าตนมีเงินตราสกุลของตนที่จะลดค่า เมื่อลดค่าแล้ว ก็เท่ากับลดราคาค่าแรงงาน ลดราคาค่าเช่า ลดราคาทรัพย์สินอื่นไป ทำให้สินค้าและบริการของกรีซขายได้มากขึ้นในตลาดยุโรป อเมริกา เอเชีย และอื่น ๆ
แต่เมื่อไม่มีเงินตราให้ลดค่าแล้ว ถ้าจะให้สินค้าของตนขายได้ในยุโรป ก็ต้องลดค่าแรงงานลง ลดค่าเช่าลง หรือลดการจ้างงานลง ซึ่งก็เกิดปัญหาทางการเมืองอย่างหนัก อย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ดอกเบี้ยซึ่งควรจะลดลงในยามวิกฤต เพื่อช่วยประคับประคองไม่ให้เศรษฐกิจทรุดตัวลงเร็วอย่างนี้ แต่ก็ปรากฏว่า เมื่อความเชื่อมั่นของฐานะการเงินการคลังของกรีซลดลง ลามไปถึงประเทศอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง ราคาพันธบัตรที่ลดลง ทำให้ผลตอบแทนต่อทรัพย์สินทางการถีบตัวสูงขึ้น มีผลทำให้ราคาหุ้นซึ่งเป็นคู่แข่งของตราสารหนี้ทางการเงินมีราคาลดลงอย่างฮวบฮาบ แผ่ขยายไปทั่วโลก รวมทั้งญี่ปุ่น ฮ่องกง และประเทศไทยเราด้วย
เครื่องมือทางการเงินที่สำคัญทั้งสองอย่าง คืออัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย ไม่มีเอาไว้ให้ใช้
เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ไม่มีทางใดที่กรีซจะช่วยตนเองได้ เหลือแต่เพียงการเรียกร้องขอความช่วยเหลือในการกู้เงินจากยุโรป
ทำไมถึงต้องดึงกองทุนการเงินระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยว ที่ต้องดึงเข้ามาเกี่ยว ก็เพราะสหภาพยุโรปอาจจะมีกำลังเงินไม่พอ หรือไม่พร้อมที่จะให้ธนาคารกลางยุโรปพิมพ์เงินยูโรเพิ่มขึ้น เพื่อให้กรีซและประเทศอื่น ๆ กู้
ถ้าให้ไอเอ็มเอฟเข้ามาเอี่ยวด้วย กองทุนการเงินฯก็สามารถระดมเงินจากเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ ด้วยเหตุที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศส่วนใหญ่อยู่ที่ธนาคารกลางของประเทศเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนและญี่ปุ่น
แต่ปัญหาของไอเอ็มเอฟ ก็คือเต็มไปด้วยนักเศรษฐศาสตร์ทางด้านการเงินอย่างเดียว ไม่เคยเข้าใจถึงเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างภาคการเงินกับภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงเลย ภาคการเงินไม่มีทางเข้มแข็ง หรือฟิ้นตัวได้ ถ้าภาคเศรษฐกิจแท้จริง หรือภาคการผลิต การลงทุน และภาคครัวเรือนล่มสลาย ความสมดุลของทั้งสองภาคเศรษฐกิจนี้เป็นหัวใจของการบริหารเศรษฐกิจมหภาค
เมื่อเป็นอย่างนี้ กรีซก็คงจะประสบกับปัญหาชะตากรรมอย่างเดียวกับประเทศไทย หลังวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ที่ต้องอยู่ภายใต้กรงเล็บของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ระหว่างปี 2541-45 เป็นเวลากว่า 4 ปี
ปัญหาที่คิดว่าจะเป็นโรคติดต่ออย่างวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ที่ขยายตัวไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปถึงบราซิล ไปถึงรัสเซีย หรือไม่ ต้องคอยดูกันต่อไป ขณะนี้ความเชื่อมั่นในสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศรอบ ๆ ข้างกรีซได้ขยายตัวไปทั่วถึงอังกฤษ ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์แล้ว
การที่ประเทศต่าง ๆ 16 ประเทศในยุโรปมาร่วมมือกันเป็นประชาคมตลาดร่วม คือลดภาษีขาเข้าระหว่างกัน จนตลาดสินค้าและบริการเป็นตลาดเดียวกัน ขจัดสิ่งที่ขัดขวางการค้าออกไป ต่อมาก็จัดมาตรฐานชั่งตวงวัด มาตรการชิ้นส่วนต่าง ๆ รวมถึงระบบไฟฟ้า ประปา ระบบรถไฟ และอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน จนมาถึงขั้นการใช้เงินตราสกุลเดียวกัน ในขณะที่ตลาดทั้ง 16 ประเทศมีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน มีความสามารถในการแข่งขันที่แตกต่างกัน การยกเลิกเงินตราสกุลของตน แล้วใช้เงินตราสกุลเดียวกัน โดยอาศัยว่าทุกประเทศจะต้องรักษาวินัยทางการเงินการคลังที่สหภาพได้กำหนดเอาไว้ ถ้าเป็นช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น หรือช่วงเศรษฐกิจปกติ ก็ไม่เป็นไร แต่พอเป็นช่วงเศรษฐกิจขาลง หรือเศรษฐกิจมีปัญหา ก็จะเกิดปัญหาทันที เพราะ "การแบ่งปันผลประโยชน์นั้น ง่ายกว่าการแบ่งกันรับภาระ"
ความจริงยุโรปในช่วงวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่สองก็เคยใช้ระบบ "อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวร่วมกัน" หรือที่เรียกว่า "Joint Float" คือระบบเงินตราที่ตรึงค่าระหว่างกันไว้ ไม่ให้สูงกว่าเพดาน หรือพื้นที่เรียกกันว่า ให้ "งูเลื้อยอยู่ในถ้ำ" หรือ "Snake in the Tunnel" แต่แล้วก็พังลงไป ไม่ได้ผล
ประเทศอาร์เจนตินาเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เลิกใช้เงินของตน แล้วหันไปใช้เงินดอลลาร์สหรัฐแทน คือมีเงินดอลลาร์สหรัฐในทุนสำรองเท่าไหร่ ก็พิมพ์เงินของตัวออกมาเท่านั้น โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนหนึ่งต่อหนึ่ง ฮ่องกงก็ทำอย่างเดียวกัน ในที่สุด อาร์เจนตินาก็พัง ต้องลดค่าเงินของตนเอง และเลิกตรึงค่าเงินไว้กับเงินดอลลาร์สหรัฐ
ขณะนี้ทางสหภาพยุโรปให้ตั้งกองทุนยุโรปขึ้น ทำนองเดียวกับที่เราพยายามตั้งกองทุนการเงินแห่งเอเชีย หรือที่เคยเรียกว่าเอเอ็มเอฟ ต้องคอยดูต่อไปว่า สหรัฐอเมริกาจะคัดค้านหรือไม่
ปัญหาของยุโรป จึงเป็นปัญหาที่หนักหนาสาหัสมาก
วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลา 19:18:04 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ดร.โกร่งออกโรงเตือนวิกฤตหนี้สินในกรีซ-ยุโรป ระวังซ้ำรอยวิกฤต"ต้มยำกุ้ง"
"ดร.โกร่ง" ออกโรงเตือนผ่านคอลัมน์ คนเดินตรอกว่าวิกฤตหนี้สินในกรีซ กำลังลุกลามเข้าไปในกลุ่มประเทศในยูโรโซน ทั้งโปรตุเกส อิตาลี สเปน รวมถึงอังกฤษ ใครจะเชื่อว่าการลงทุนเป็นเจ้าภาพกีฬาที่ยิ่งใหญ่อย่างโอลิมปิกเมื่อ6ปีที่กำลังจะทำให้กรีซเดินตามรอยไทยในวิกฤตต้มยำกุ้ง ที่ไอเอ็มเอฟยังใช้การวิธีแก้ปัญหาแบบเดิมๆ ทำไมกรีซถึงลดค่าเงินของตัวเองไม่ได้ ปัญหาของยุโรปจะหนักหนาสาหัสแค่ไหน คลิกอ่าน...
วิกฤตการณ์โอลิมปิก
คอลัมน์ เดินตามตรอก โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร
วิกฤตการณ์ทางการเงินในประเทศกรีซกำลังเป็นข่าวครึกโครมไปทั่วโลก เพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่ทั่วโลกกำลังจับตาดูว่าจะรุนแรงลุกลามกลายเป็นวิกฤตทางการเงินไปทั่วโลกมากน้อยอย่างไร
เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์เคยไปแสดงปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ให้ทรรศนะที่กลายเป็นที่ฮือฮากันตามสื่อมวลชนฝรั่ง ที่ว่ากันว่าเศรษฐกิจของโลกจะฟื้นตัวแล้วในครึ่งหลังของปี 2553 นั้น น่ากลัวจะเป็นความหวังเท่านั้น วิกฤตการณ์ของโลกยังไม่สิ้นสุดลงง่าย ๆ ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งอเมริกาและยุโรป ดูได้จากการที่ยุโรปส่ออาการง่อนแง่นจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน เริ่มจากกรีซกำลังจะลามไปที่โปรตุเกส อิตาลี สเปน ที่เรียกว่ากลุ่มประเทศ PIGS และจะลามไปที่อังกฤษ แล้วก็อาจจะแพร่ไปทั่วยุโรป
ยังไม่มีใครตั้งชื่อวิกฤตการณ์เที่ยวนี้ ก็เลยขอตั้งเสียเลยว่าเป็นวิกฤตการณ์โอลิมปิก หรือ "Olympic Crisis" เพราะกรีซเป็นต้นกำเนิดของกีฬาโอลิมปิก และวิกฤตการณ์เที่ยวนี้ก็เกิดจากการลงทุนเกินตัว เมื่อคราวเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2004
ปัญหาการลงทุนเกินตัว มาจากการคาดการณ์ทุกอย่างผิดพลาด ทำให้กรีซไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะชำระหนี้ ข่าวเริ่มเล็ดลอดออกมาตั้งแต่ปลายปี 2552 เรื่อยมาจนถึงต้นปี 2553
ได้มีความพยายามจากทั้ง 8 ธนาคารกลางของยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ที่ยังโยกโย้กันไปมา ไม่ตกลงกันเสียที เพราะพรรครัฐบาลของเยอรมันก็ดี ของอังกฤษก็ดี กลัวจะเสียคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง หากปล่อยให้กรีซและประเทศอื่นที่เริ่มมีปัญหากู้เงินเกินไป
ในที่สุด เมื่อมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลของกรีซกับธนาคารกลางของยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยการสนับสนุนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
ตกลงจะให้กรีซกู้เงินเพื่อนำมาชำระหนี้ทั้งที่เป็นดอกเบี้ยและเงินต้นจำนวน 1.4 แสนล้านยูโร โดยมีเงื่อนไขว่ารัฐบาลกรีซจะต้องตัดงบประมาณลง จากที่เคยขาดดุลถึง 13.6 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประชาชาติลงมาเหลือเพียง 4 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลกรีซต้องลดเงินเดือนค่าจ้าง หรือปลดข้าราชการออก การลงทุนภาครัฐบาลไม่ต้องพูดถึง รัฐบาลต้องขึ้นภาษีการค้า เป็นการเริ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม ขึ้นภาษีเงินได้และภาษีทรัพย์สิน
ไอเอ็มเอฟก็ให้ยาเหมือนที่เคยให้ประเทศไทย สมัยเมื่อเราเกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง คือให้รัดเข็มขัด ให้ตัดรายจ่าย ขึ้นภาษี ขึ้นดอกเบี้ย เหมือนกับที่ไอเอ็มเอฟกับธนาคารกลางยุโรปบังคับให้กรีซดำเนินการ
ผลก็คือทำให้ผู้คนเดือดร้อนอย่างหนัก จนเกิดการจลาจล คนเป็นเรือนแสนออกมาชุมนุม มีการเผาธนาคาร มีผู้คนล้มตายบาดเจ็บหลายคน วิกฤตการณ์ทางการเมืองก็ยังไม่จบ
เงินที่ทางธนาคารกลางยุโรปจะนำออกมาให้รัฐบาลกรีซกู้จำนวน 1.45 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.1 แสนล้านเหรียญยูโรนั้น ไม่น่าจะเพียงพอ มีการคาดการณ์กันว่า ถ้าจะเอาให้อยู่จนผู้คนมั่นใจ ไม่ให้คนเทขายพันธบัตรของรัฐบาลกรีซ อาจจะต้องใช้เงินถึง 5-6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และอาจจะต้องเตรียมเงินไว้ช่วยอังกฤษ อิตาลี สเปน และโปรตุเกสอีกไม่น้อยกว่า 5-6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ รวม ๆ แล้ว ทั้งเยอรมัน ฝรั่งเศส และประเทศที่ร่ำรวยอื่น ๆ ต้องลงขันเตรียมเงินไว้ให้กู้ เพื่อป้องกันภาวะล่มสลายของระบบการเงินในเขตยูโรเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.5-8.0 แสน ล้านยูโร แล้วแต่อัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งในทางการไม่มีทางเป็นไปได้ คนเยอรมัน ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และอื่น ๆ ไม่มีทางยอม เพราะในทางการเมือง ยุโรปยังไม่ได้รวมกันเป็นประเทศเดียวเหมือนกับสหรัฐอเมริกา
ปัญหาของยุโรปที่รวมตลาดการเงินตลาดทุนเป็นอันเดียวกัน โดยผ่านการใช้เงินตราสกุลเดียวกันคือยูโร แต่ในทางการคลังและบริการของรัฐยังแยกกันอยู่ มิได้รวมเข้าเป็นประเทศเดียวกัน ผู้คนยังไม่ได้รู้สึกว่าเป็นคนชาติเดียวกันหรือประเทศเดียวกันเหมือนอย่างสหรัฐอเมริกา
ในสหรัฐอเมริกาหรือจีนหรือประเทศขนาดใหญ่อื่น ๆ ภาระหน้าที่การให้บริการสาธารณะอยู่ที่รัฐบาลกลาง ไม่ใช่เป็นภาระของรัฐที่เป็นสมาชิก ภาษีส่วนใหญ่ก็อยู่ที่รัฐบาลกลาง ส่วนยุโรปไม่มีรัฐบาลกลางที่รับภาระการให้บริการสาธารณะและการลงทุนภาครัฐบาล มีแต่ธนาคารกลาง แต่ละประเทศมีขีดความสามารถในการแข่งขันต่างกัน ค่าเงินก็ควรจะปรับเปลี่ยนไปตามความสามารถในการแข่งขัน แต่กรีซไม่มีเงินตราสกุลของตัว
ในยามที่มีวิกฤตการณ์ทางการเงิน เครื่องมือที่สำคัญที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด และมีปัญหาทางการเงินน้อยที่สุด ก็คือต้องลดค่าเงินของตัวเอง อย่างน้อยก็ 15-20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเงินตราสกุลหลักอื่น ๆ
แต่ปรากฏว่ากรีซไม่มีเงินตราสกุลของตนที่จะไป "ลดค่า" เพราะตนเองได้ยกเลิกเงินตราของตนไปใช้เงินสกุลยูโรแทน ถ้าตนมีเงินตราสกุลของตนที่จะลดค่า เมื่อลดค่าแล้ว ก็เท่ากับลดราคาค่าแรงงาน ลดราคาค่าเช่า ลดราคาทรัพย์สินอื่นไป ทำให้สินค้าและบริการของกรีซขายได้มากขึ้นในตลาดยุโรป อเมริกา เอเชีย และอื่น ๆ
แต่เมื่อไม่มีเงินตราให้ลดค่าแล้ว ถ้าจะให้สินค้าของตนขายได้ในยุโรป ก็ต้องลดค่าแรงงานลง ลดค่าเช่าลง หรือลดการจ้างงานลง ซึ่งก็เกิดปัญหาทางการเมืองอย่างหนัก อย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ดอกเบี้ยซึ่งควรจะลดลงในยามวิกฤต เพื่อช่วยประคับประคองไม่ให้เศรษฐกิจทรุดตัวลงเร็วอย่างนี้ แต่ก็ปรากฏว่า เมื่อความเชื่อมั่นของฐานะการเงินการคลังของกรีซลดลง ลามไปถึงประเทศอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง ราคาพันธบัตรที่ลดลง ทำให้ผลตอบแทนต่อทรัพย์สินทางการถีบตัวสูงขึ้น มีผลทำให้ราคาหุ้นซึ่งเป็นคู่แข่งของตราสารหนี้ทางการเงินมีราคาลดลงอย่างฮวบฮาบ แผ่ขยายไปทั่วโลก รวมทั้งญี่ปุ่น ฮ่องกง และประเทศไทยเราด้วย
เครื่องมือทางการเงินที่สำคัญทั้งสองอย่าง คืออัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย ไม่มีเอาไว้ให้ใช้
เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ไม่มีทางใดที่กรีซจะช่วยตนเองได้ เหลือแต่เพียงการเรียกร้องขอความช่วยเหลือในการกู้เงินจากยุโรป
ทำไมถึงต้องดึงกองทุนการเงินระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยว ที่ต้องดึงเข้ามาเกี่ยว ก็เพราะสหภาพยุโรปอาจจะมีกำลังเงินไม่พอ หรือไม่พร้อมที่จะให้ธนาคารกลางยุโรปพิมพ์เงินยูโรเพิ่มขึ้น เพื่อให้กรีซและประเทศอื่น ๆ กู้
ถ้าให้ไอเอ็มเอฟเข้ามาเอี่ยวด้วย กองทุนการเงินฯก็สามารถระดมเงินจากเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ ด้วยเหตุที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศส่วนใหญ่อยู่ที่ธนาคารกลางของประเทศเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนและญี่ปุ่น
แต่ปัญหาของไอเอ็มเอฟ ก็คือเต็มไปด้วยนักเศรษฐศาสตร์ทางด้านการเงินอย่างเดียว ไม่เคยเข้าใจถึงเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างภาคการเงินกับภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงเลย ภาคการเงินไม่มีทางเข้มแข็ง หรือฟิ้นตัวได้ ถ้าภาคเศรษฐกิจแท้จริง หรือภาคการผลิต การลงทุน และภาคครัวเรือนล่มสลาย ความสมดุลของทั้งสองภาคเศรษฐกิจนี้เป็นหัวใจของการบริหารเศรษฐกิจมหภาค
เมื่อเป็นอย่างนี้ กรีซก็คงจะประสบกับปัญหาชะตากรรมอย่างเดียวกับประเทศไทย หลังวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ที่ต้องอยู่ภายใต้กรงเล็บของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ระหว่างปี 2541-45 เป็นเวลากว่า 4 ปี
ปัญหาที่คิดว่าจะเป็นโรคติดต่ออย่างวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ที่ขยายตัวไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปถึงบราซิล ไปถึงรัสเซีย หรือไม่ ต้องคอยดูกันต่อไป ขณะนี้ความเชื่อมั่นในสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศรอบ ๆ ข้างกรีซได้ขยายตัวไปทั่วถึงอังกฤษ ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์แล้ว
การที่ประเทศต่าง ๆ 16 ประเทศในยุโรปมาร่วมมือกันเป็นประชาคมตลาดร่วม คือลดภาษีขาเข้าระหว่างกัน จนตลาดสินค้าและบริการเป็นตลาดเดียวกัน ขจัดสิ่งที่ขัดขวางการค้าออกไป ต่อมาก็จัดมาตรฐานชั่งตวงวัด มาตรการชิ้นส่วนต่าง ๆ รวมถึงระบบไฟฟ้า ประปา ระบบรถไฟ และอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน จนมาถึงขั้นการใช้เงินตราสกุลเดียวกัน ในขณะที่ตลาดทั้ง 16 ประเทศมีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน มีความสามารถในการแข่งขันที่แตกต่างกัน การยกเลิกเงินตราสกุลของตน แล้วใช้เงินตราสกุลเดียวกัน โดยอาศัยว่าทุกประเทศจะต้องรักษาวินัยทางการเงินการคลังที่สหภาพได้กำหนดเอาไว้ ถ้าเป็นช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น หรือช่วงเศรษฐกิจปกติ ก็ไม่เป็นไร แต่พอเป็นช่วงเศรษฐกิจขาลง หรือเศรษฐกิจมีปัญหา ก็จะเกิดปัญหาทันที เพราะ "การแบ่งปันผลประโยชน์นั้น ง่ายกว่าการแบ่งกันรับภาระ"
ความจริงยุโรปในช่วงวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่สองก็เคยใช้ระบบ "อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวร่วมกัน" หรือที่เรียกว่า "Joint Float" คือระบบเงินตราที่ตรึงค่าระหว่างกันไว้ ไม่ให้สูงกว่าเพดาน หรือพื้นที่เรียกกันว่า ให้ "งูเลื้อยอยู่ในถ้ำ" หรือ "Snake in the Tunnel" แต่แล้วก็พังลงไป ไม่ได้ผล
ประเทศอาร์เจนตินาเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เลิกใช้เงินของตน แล้วหันไปใช้เงินดอลลาร์สหรัฐแทน คือมีเงินดอลลาร์สหรัฐในทุนสำรองเท่าไหร่ ก็พิมพ์เงินของตัวออกมาเท่านั้น โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนหนึ่งต่อหนึ่ง ฮ่องกงก็ทำอย่างเดียวกัน ในที่สุด อาร์เจนตินาก็พัง ต้องลดค่าเงินของตนเอง และเลิกตรึงค่าเงินไว้กับเงินดอลลาร์สหรัฐ
ขณะนี้ทางสหภาพยุโรปให้ตั้งกองทุนยุโรปขึ้น ทำนองเดียวกับที่เราพยายามตั้งกองทุนการเงินแห่งเอเชีย หรือที่เคยเรียกว่าเอเอ็มเอฟ ต้องคอยดูต่อไปว่า สหรัฐอเมริกาจะคัดค้านหรือไม่
ปัญหาของยุโรป จึงเป็นปัญหาที่หนักหนาสาหัสมาก
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 153
หนี้ยุโรปลามสู่ตลาดเอเชีย ซินดิเคตโลนวูบ-นักลงทุนผวา
ในที่สุด วิกฤตหนี้ยุโรป ซึ่งมีชนวนปะทุมาจากปัญหาหนี้ของกลุ่ม PIIGS อันได้แก่ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซ และสเปน เริ่มส่งผลกระทบลุกลามมาสู่ตลาดการเงินเอเชียบ้างแล้วอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในตลาด สินเชื่อและตลาดตราสารหนี้
จากผลสำรวจของ บลูมเบิร์ก พบว่า ตลาดสินเชื่อประเภทร่วมปล่อยกู้หลายสถาบัน หรือซินดิเคตโลน (syndicated loan) ในสิงคโปร์ทรุดลง 72% เหลือ 1.8 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2553 จากระดับ 6.5 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันเมื่อปี 2552
ทั้งยังพบว่าตลาดสินเชื่อซินดิเคตโลนในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ตกต่ำลง 17% ทั้ง 2 ตลาด มูลค่าลดลงสู่ระดับต่ำสุด นับจากปี 2547 ใกล้เคียงกับตลาดสินเชื่ออินโดนีเซียที่ลดลง 18% สู่ระดับต่ำสุด นับจากปี 2549
บลูมเบิร์กอ้างความเห็นของ อตุล โสธิ ผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อซินดิเคต ธนาคารเครดิต อะกริโกล ซีไอบี ประจำภูมิภาคเอเชีย ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่า ปริมาณธุรกรรมสินเชื่อที่ทรุดต่ำลง ส่วนหนึ่งมาจากความลังเลใจของภาคธุรกิจเอกชนที่จะก่อหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง การขาดแคลนความต้องการสินเชื่อ เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นปัญหา มากกว่าจะเป็นเรื่องอุปทาน
ผู้บริหารเครดิต อะกริโกล ระบุด้วยว่า บริษัทในเอเชียส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าไปยุโรปหรือสหรัฐ แต่ขณะเดียวกันปริมาณความต้องการในตลาดเหล่านี้ยังไม่สดใสนัก ดังนั้น เหตุผลที่จะมีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ หรือการพัฒนาจึงไม่แข็งแกร่ง
ทั้งนี้ ข้อมูลของธนาคารพัฒนาเอเชีย พบว่า ราว 60% ของการส่งออกโดยบริษัทในเศรษฐกิจเกิดใหม่เอเชียจะส่งไปยังตลาดสหรัฐ ยุโรป หรือญี่ปุ่น แต่ในปีนี้มูลค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง 15% ดังนั้น สินค้าเอเชียจึง มีราคาแพงในตลาดสหภาพยุโรป 16 ประเทศ ที่ใช้ยูโรเป็นเงินสกุลหลักร่วมกัน
นอกเหนือจาก 3 ประเทศข้างต้น ผลสำรวจบลูมเบิร์กยังพบว่า ตลาดสินเชื่อ ซินดิเคตในจีนยังลดฮวบลง 76% เหลือ 6.2 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ อันเป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการคุมเข้มการขยายตัวของสินเชื่อ หลังราคาอสังหาริมทรัพย์ พุ่งพรวดจนทำสถิติ
อย่างไรก็ดี วิลสัน ว่าน ผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูง และสินเชื่อ Structured Finance จากแบงก์ ออฟ ไชน่า อินเตอร์เนชั่นแนล ตั้งข้อสังเกตว่า ธนาคารจีนได้เริ่มจำกัดการถือครอง ธุรกรรมเงินตราต่างประเทศในจีน ดังนั้น นักลงทุนทุกรายจึงพยายามกู้ยืมเงินตรา ต่างประเทศ เพราะเมื่อพวกเขาชำระคืน หยวนจะแข็งค่าขึ้น
ขณะเดียวกัน ไฟแนนเชียล ไทมส์ รายงานอ้างผลสำรวจของบาร์เคลย์ส แคปิตอล วาณิชธนกิจอังกฤษ ซึ่งพบว่า นักลงทุนในเอเชียเริ่มวิตกกังวลต่อผลกระทบจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศในกลุ่มยูโรโซน
ผลสำรวจดังกล่าว ระบุว่า นักลงทุนญี่ปุ่นถึง 2 ใน 3 แสดงความกังวลอย่างเงียบ ๆ ว่าแผนช่วยเหลือ 7.50 แสนล้าน ยูโร จะไม่ส่งผลในการแก้ไขปัญหาหนี้ใน ยูโรโซนมากนัก เพิ่มขึ้นจากสัดส่วน นักลงทุน 1 ใน 3 ซึ่งเคยแสดงความกังวลในเรื่องนี้ไว้ในผลสำรวจครั้งก่อน
ยิ่งกว่านั้น นักลงทุนญี่ปุ่นไม่เพียงจะแสดงความวิตกกังวลกับปัญหาหนี้ในโปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ และกรีซ แต่พวกเขายังไม่สบายใจกับตราสารหนี้ในเยอรมนีด้วย
ไฟแนนเชียล ไทมส์ ชี้ว่า หากผลสำรวจของบาร์เคลย์ส ถูกต้อง อาจเป็นสัญญาณที่ชี้ถึงทิศทางของนักลงทุนรายอื่น ๆ ที่กำลังจะดำเนินการเช่นกัน โดยยกตัวอย่างข่าวลือที่แพร่กระจายอย่างกว้างขวางว่า จีนกำลังรู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ หลังจากที่กองทุนเพื่อความมั่งคั่งของจีน ได้นำเงินมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลในยูโรโซนตั้งแต่ ปีที่แล้ว โดยมีความเป็นไปได้ว่าพวกเขา อาจชะลอการซื้อหนี้ยูโรโซน เพื่อจะได้ไม่ ถือครองหนี้ในปริมาณที่มากเกินไป
ข่าวลือดังกล่าว สอดรับกับคำกล่าวของเจ้าหน้าที่จากกระทรวงการคลังจีนรายหนึ่ง ซึ่งยอมรับว่ามีความกังวลใจ โดยเฉพาะสถานการณ์ที่ยังไม่ชัดเจน
ล่าสุด เจ้าหน้าที่ทางการจีนออกมายืนยันว่า ทิศทางในการกระจายการลงทุนนั้นยังไม่เปลี่ยนแปลง
ในที่สุด วิกฤตหนี้ยุโรป ซึ่งมีชนวนปะทุมาจากปัญหาหนี้ของกลุ่ม PIIGS อันได้แก่ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซ และสเปน เริ่มส่งผลกระทบลุกลามมาสู่ตลาดการเงินเอเชียบ้างแล้วอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในตลาด สินเชื่อและตลาดตราสารหนี้
จากผลสำรวจของ บลูมเบิร์ก พบว่า ตลาดสินเชื่อประเภทร่วมปล่อยกู้หลายสถาบัน หรือซินดิเคตโลน (syndicated loan) ในสิงคโปร์ทรุดลง 72% เหลือ 1.8 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2553 จากระดับ 6.5 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันเมื่อปี 2552
ทั้งยังพบว่าตลาดสินเชื่อซินดิเคตโลนในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ตกต่ำลง 17% ทั้ง 2 ตลาด มูลค่าลดลงสู่ระดับต่ำสุด นับจากปี 2547 ใกล้เคียงกับตลาดสินเชื่ออินโดนีเซียที่ลดลง 18% สู่ระดับต่ำสุด นับจากปี 2549
บลูมเบิร์กอ้างความเห็นของ อตุล โสธิ ผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อซินดิเคต ธนาคารเครดิต อะกริโกล ซีไอบี ประจำภูมิภาคเอเชีย ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่า ปริมาณธุรกรรมสินเชื่อที่ทรุดต่ำลง ส่วนหนึ่งมาจากความลังเลใจของภาคธุรกิจเอกชนที่จะก่อหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง การขาดแคลนความต้องการสินเชื่อ เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นปัญหา มากกว่าจะเป็นเรื่องอุปทาน
ผู้บริหารเครดิต อะกริโกล ระบุด้วยว่า บริษัทในเอเชียส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าไปยุโรปหรือสหรัฐ แต่ขณะเดียวกันปริมาณความต้องการในตลาดเหล่านี้ยังไม่สดใสนัก ดังนั้น เหตุผลที่จะมีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ หรือการพัฒนาจึงไม่แข็งแกร่ง
ทั้งนี้ ข้อมูลของธนาคารพัฒนาเอเชีย พบว่า ราว 60% ของการส่งออกโดยบริษัทในเศรษฐกิจเกิดใหม่เอเชียจะส่งไปยังตลาดสหรัฐ ยุโรป หรือญี่ปุ่น แต่ในปีนี้มูลค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง 15% ดังนั้น สินค้าเอเชียจึง มีราคาแพงในตลาดสหภาพยุโรป 16 ประเทศ ที่ใช้ยูโรเป็นเงินสกุลหลักร่วมกัน
นอกเหนือจาก 3 ประเทศข้างต้น ผลสำรวจบลูมเบิร์กยังพบว่า ตลาดสินเชื่อ ซินดิเคตในจีนยังลดฮวบลง 76% เหลือ 6.2 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ อันเป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการคุมเข้มการขยายตัวของสินเชื่อ หลังราคาอสังหาริมทรัพย์ พุ่งพรวดจนทำสถิติ
อย่างไรก็ดี วิลสัน ว่าน ผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูง และสินเชื่อ Structured Finance จากแบงก์ ออฟ ไชน่า อินเตอร์เนชั่นแนล ตั้งข้อสังเกตว่า ธนาคารจีนได้เริ่มจำกัดการถือครอง ธุรกรรมเงินตราต่างประเทศในจีน ดังนั้น นักลงทุนทุกรายจึงพยายามกู้ยืมเงินตรา ต่างประเทศ เพราะเมื่อพวกเขาชำระคืน หยวนจะแข็งค่าขึ้น
ขณะเดียวกัน ไฟแนนเชียล ไทมส์ รายงานอ้างผลสำรวจของบาร์เคลย์ส แคปิตอล วาณิชธนกิจอังกฤษ ซึ่งพบว่า นักลงทุนในเอเชียเริ่มวิตกกังวลต่อผลกระทบจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศในกลุ่มยูโรโซน
ผลสำรวจดังกล่าว ระบุว่า นักลงทุนญี่ปุ่นถึง 2 ใน 3 แสดงความกังวลอย่างเงียบ ๆ ว่าแผนช่วยเหลือ 7.50 แสนล้าน ยูโร จะไม่ส่งผลในการแก้ไขปัญหาหนี้ใน ยูโรโซนมากนัก เพิ่มขึ้นจากสัดส่วน นักลงทุน 1 ใน 3 ซึ่งเคยแสดงความกังวลในเรื่องนี้ไว้ในผลสำรวจครั้งก่อน
ยิ่งกว่านั้น นักลงทุนญี่ปุ่นไม่เพียงจะแสดงความวิตกกังวลกับปัญหาหนี้ในโปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ และกรีซ แต่พวกเขายังไม่สบายใจกับตราสารหนี้ในเยอรมนีด้วย
ไฟแนนเชียล ไทมส์ ชี้ว่า หากผลสำรวจของบาร์เคลย์ส ถูกต้อง อาจเป็นสัญญาณที่ชี้ถึงทิศทางของนักลงทุนรายอื่น ๆ ที่กำลังจะดำเนินการเช่นกัน โดยยกตัวอย่างข่าวลือที่แพร่กระจายอย่างกว้างขวางว่า จีนกำลังรู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ หลังจากที่กองทุนเพื่อความมั่งคั่งของจีน ได้นำเงินมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลในยูโรโซนตั้งแต่ ปีที่แล้ว โดยมีความเป็นไปได้ว่าพวกเขา อาจชะลอการซื้อหนี้ยูโรโซน เพื่อจะได้ไม่ ถือครองหนี้ในปริมาณที่มากเกินไป
ข่าวลือดังกล่าว สอดรับกับคำกล่าวของเจ้าหน้าที่จากกระทรวงการคลังจีนรายหนึ่ง ซึ่งยอมรับว่ามีความกังวลใจ โดยเฉพาะสถานการณ์ที่ยังไม่ชัดเจน
ล่าสุด เจ้าหน้าที่ทางการจีนออกมายืนยันว่า ทิศทางในการกระจายการลงทุนนั้นยังไม่เปลี่ยนแปลง
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 154
กรีซยังไม่มีแผนปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 31 พฤษภาคม 2553 08:44
รมว.คลังกรีซยันรัฐบาลยังไม่มีแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้สาธารณะหรือเลื่อนชำระดอกเบี้ยพันธบัตรในระยะเวลาอันใกล้นี้
นายจอร์จ ปาปาคอนสแตนตินู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรีซ กล่าวว่า รัฐบาลกรีซไม่มีเป้าหมายที่จะปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ หรือเลื่อนการชำระอัตราดอกเบี้ยผู้ถือพันธบัตรรัฐบาลในระยะใกล้นี้ และเชื่อมั่นว่า กรีซจะบรรลุเป้าหมายข้อตกลงที่ทำร่วมกับสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในการลดยอดขาดดุลงบประมาณ
"การปรับโครงสร้างหนี้ไม่ได้อยู่ในแผนการของเรา เพราะจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของเราอย่างมาก และจะส่งผลให้สถานการณ์ด้านการเงินของกรีซถดถอยลง จนนำไปสู่การใช้มาตรการรัดเข็มขัดที่เข้มงวดมากขึ้นในที่สุด ผมขอย้ำว่ารัฐบาลกรีซยังไม่มีแผนที่จะใช้มาตรการรัดเข็มขัดที่เข้มงวดมากขึ้นในระยะนี้ เพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในหลายภาคส่วน"
นายโดมินิก-สเตราส์ คาห์น ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟเชื่อมั่นว่า กรีซจะสามารถเอาชนะวิกฤตการณ์เศรษฐกิจที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันไปได้ เนื่องจากมาตรการรัดเข็มขัดที่รัฐบาลกรีซใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น มีความแข็งแกร่งมากพอ
"หากประชาชนของกรีซต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ชาวกรีซก็ต้องพยายามร่วมมือตามมาตรการรัดเข็มขัดตอนนี้ รวมถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย และผมเชื่อว่ารัฐบาลจะประสบความสำเร็จในการบังคับใช้มาตรการดังกล่าว ซึ่งเป็นมาตรการที่จำเป็นอย่างยิ่งในขณะนี้" ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟกล่าว
กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 31 พฤษภาคม 2553 08:44
รมว.คลังกรีซยันรัฐบาลยังไม่มีแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้สาธารณะหรือเลื่อนชำระดอกเบี้ยพันธบัตรในระยะเวลาอันใกล้นี้
นายจอร์จ ปาปาคอนสแตนตินู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรีซ กล่าวว่า รัฐบาลกรีซไม่มีเป้าหมายที่จะปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ หรือเลื่อนการชำระอัตราดอกเบี้ยผู้ถือพันธบัตรรัฐบาลในระยะใกล้นี้ และเชื่อมั่นว่า กรีซจะบรรลุเป้าหมายข้อตกลงที่ทำร่วมกับสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในการลดยอดขาดดุลงบประมาณ
"การปรับโครงสร้างหนี้ไม่ได้อยู่ในแผนการของเรา เพราะจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของเราอย่างมาก และจะส่งผลให้สถานการณ์ด้านการเงินของกรีซถดถอยลง จนนำไปสู่การใช้มาตรการรัดเข็มขัดที่เข้มงวดมากขึ้นในที่สุด ผมขอย้ำว่ารัฐบาลกรีซยังไม่มีแผนที่จะใช้มาตรการรัดเข็มขัดที่เข้มงวดมากขึ้นในระยะนี้ เพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในหลายภาคส่วน"
นายโดมินิก-สเตราส์ คาห์น ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟเชื่อมั่นว่า กรีซจะสามารถเอาชนะวิกฤตการณ์เศรษฐกิจที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันไปได้ เนื่องจากมาตรการรัดเข็มขัดที่รัฐบาลกรีซใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น มีความแข็งแกร่งมากพอ
"หากประชาชนของกรีซต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ชาวกรีซก็ต้องพยายามร่วมมือตามมาตรการรัดเข็มขัดตอนนี้ รวมถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย และผมเชื่อว่ารัฐบาลจะประสบความสำเร็จในการบังคับใช้มาตรการดังกล่าว ซึ่งเป็นมาตรการที่จำเป็นอย่างยิ่งในขณะนี้" ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟกล่าว
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 155
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 156
-
- Verified User
- โพสต์: 1601
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 157
พี่ pavillion ชงเองกินเองเลยนะพี่ :lol: รอดสิพี่ เพราะว่าถ้าไม่รอด เราก็ไม่รอดเหมือนกัน มันต้องรอด
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 158
โดยส่วนตัวแล้ว ผมก็ยังมองว่าวิกฤติกรีซรอบนี้จะไม่ลุกลามบานปลายเป็นเรื่องใหญ่ครับ จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาก็มีหลายๆ วิกฤติที่ไม่ลุกลามก็มีเหมือนกันครับ :)
เขาจะรอดหรือไม่รอด ผมมองว่ามันก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรว่าเราจะรอดหรือไม่รอดนี่ครับo-bo-ja-ma เขียน:พี่ pavillion ชงเองกินเองเลยนะพี่ รอดสิพี่ เพราะว่าถ้าไม่รอด เราก็ไม่รอดเหมือนกัน มันต้องรอด
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 159
หนี้เสียแบงก์ยุโรป..!
ECB เตือนหนี้เสียแบงก์ยุโรปจะพุ่งเพิ่ม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 มิถุนายน 2553 20:28 น.
เอเจนซี - ธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี) กล่าวเตือนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (31) ว่า ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในเขตยูโรโซน เผชิญอยู่กับความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตระลอกสองของปัญหาสินเชื่อ โดยที่มีความเป็นไปได้สูงว่าจะเป็นหนี้เสียคิดเป็นมูลค่าถึง 195,000 ล้านยูโร ภายในช่วง 18 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้ เป็นผลกระทบจากวิกฤตในตลาดการเงิน นอกจากนั้น อีซีบียังเปิดเผยถึงการเพิ่มปริมาณการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลต่างๆ ในย่านยูโรโซนอีกด้วย
ในการนี้ อีซีบี บอกว่า แบงก์ในยูโรโซนจะต้องตั้งสำรองหนี้สูญเพิ่มในปี 2010 ถึง 90,000 ล้านยูโร และอีก 105,000 ล้านยูโร ในปี 2011 สูงขึ้นจากที่ต้องแทงบัญชีหนี้สูญไปราว 238,000 ล้านยูโร เมื่อปลายปี 2009 นี้เป็นครั้งแรกที่อีซีบีออกมาให้ประมาณการเรื่องนี้สำหรับปี 2011
แม้ว่ายอดรวมในการลงบัญชีหนี้ต่ำกว่ามูลค่าแท้จริง เนื่องจากปัญหาหนี้เสียและปัญหามูลค่าของหลักทรัพย์เมื่อช่วงระหว่างปี 2007 ถึงปลายปี 2010 จะมีแนวโน้มว่าต่ำกว่าตัวเลขที่เคยมีการทำประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ แต่อีซีบีระบุไว้ในรายงานเสถียรภาพทางการเงิน หรือ Financial Stability Report ฉบับล่าสุด ว่า ยอดการลดมูลค่าหนี้เสียและมูลค่าหลักทรัพย์ในปีนี้กับปีหน้า จะมหาศาลกว่ากว่าตัวเลขประมาณการ ถ้าพลังการเติบโตทางเศรษฐกิจต้องถูกบั่นทอนจากความเสี่ยงที่สูงขึ้นในเรื่องของศักยภาพการชำระคืนหนี้ของภาครัฐ กับต้องถูกฉุดรั้งโดยผลกระทบจากนโยบายรัดเข็มขัดของรัฐบาลทั้งหลายในยูโรโซน
นับจากวันที่ 3 พฤษภาคม เป็นต้นมา อีซีบีเข้ารับซื้อพันธบัตรจำนวนมากของรัฐบาลกรีซ โปรตุเกส และสเปน เพื่อช่วยให้นักลงทุนในตลาดตราสารหนี้เกิดความมั่นใจ และเพื่อช่วยสนับสนุนตัวแพ็คเก็จรักษาเสถียรภาพของเงินยูโรซึ่งเป็นผลงานในดำริของสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ธนาคารกลางแห่งยุโรป แจ้งไว้ในคำแถลงว่า นับถึงวันที่ 28 พฤษภาคม ได้ชำระบัญชีการซื้อพันธบัตรไป 35,000 ล้านยูโร จากที่เคยทำการไว้ ณ 26,500 ล้านยูโร เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้า และแม้จะไม่มีการแจกแจงตัวเลขเป็นรายประเทศ แต่เจ้าหน้าที่ของอีซีบีได้เผยว่าส่วนใหญ่เป็นพันธบัตรจากประเทศย่านยุโรปใต้ซึ่งถูกกระทบจากวิกฤตในตลาดการเงินอย่างรุนแรงที่สุด
ในรายงานเสถียรภาพทางการเงินนี้ อีซีบี ยอมรับว่า ความตึงเครียดในด้านสินเชื่อของยูโรโซนอาจบีบให้อีซีบีต้องยอมที่จะยังไม่รีบยุติมาตรการดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่อีซีบีใช้เพื่อช่วยธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายให้ผ่านพ้นวิกฤตการเงินมาได้โดยตลอด
หลังจากที่สถาบันการเงินระดับยักษ์ใหญ่ของโลก คือ เลห์แมน บราเธอร์ส ล้มละลายในเดือนกันยายน 2008 อีซีบีอัดฉีดสภาพคล่องอย่างไม่จำกัดให้แก่พวกแบงก์พาณิชย์ทั้งหลาย ณ อัตราดอกเบี้ยแสนต่ำ เพื่อจะช่วยฟื้นสภาพการให้สินเชื่อระหว่างแบงก์และเพื่อประคองให้กระแสสินเชื่อสามารถเคลื่อนไหวไปสู่ระบบเศรษฐกิจภาคแท้จริงได้
ด้านประธานธนาคารกลางแห่งเยอรมนี ซึ่งเป็นสมาชิกบอร์ดบริหารของอีซีบี เรียกร้องให้มีการจำกัดเพดานโครงการเข้าซื้อพันธบัตร โดยบอกว่า การดำเนินการมากเกินไปในอันที่จะลดวิกฤตสินเชื่อในยูโรโซน มีความเสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อเสถียรภาพด้านราคา
ECB เตือนหนี้เสียแบงก์ยุโรปจะพุ่งเพิ่ม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 มิถุนายน 2553 20:28 น.
เอเจนซี - ธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี) กล่าวเตือนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (31) ว่า ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในเขตยูโรโซน เผชิญอยู่กับความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตระลอกสองของปัญหาสินเชื่อ โดยที่มีความเป็นไปได้สูงว่าจะเป็นหนี้เสียคิดเป็นมูลค่าถึง 195,000 ล้านยูโร ภายในช่วง 18 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้ เป็นผลกระทบจากวิกฤตในตลาดการเงิน นอกจากนั้น อีซีบียังเปิดเผยถึงการเพิ่มปริมาณการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลต่างๆ ในย่านยูโรโซนอีกด้วย
ในการนี้ อีซีบี บอกว่า แบงก์ในยูโรโซนจะต้องตั้งสำรองหนี้สูญเพิ่มในปี 2010 ถึง 90,000 ล้านยูโร และอีก 105,000 ล้านยูโร ในปี 2011 สูงขึ้นจากที่ต้องแทงบัญชีหนี้สูญไปราว 238,000 ล้านยูโร เมื่อปลายปี 2009 นี้เป็นครั้งแรกที่อีซีบีออกมาให้ประมาณการเรื่องนี้สำหรับปี 2011
แม้ว่ายอดรวมในการลงบัญชีหนี้ต่ำกว่ามูลค่าแท้จริง เนื่องจากปัญหาหนี้เสียและปัญหามูลค่าของหลักทรัพย์เมื่อช่วงระหว่างปี 2007 ถึงปลายปี 2010 จะมีแนวโน้มว่าต่ำกว่าตัวเลขที่เคยมีการทำประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ แต่อีซีบีระบุไว้ในรายงานเสถียรภาพทางการเงิน หรือ Financial Stability Report ฉบับล่าสุด ว่า ยอดการลดมูลค่าหนี้เสียและมูลค่าหลักทรัพย์ในปีนี้กับปีหน้า จะมหาศาลกว่ากว่าตัวเลขประมาณการ ถ้าพลังการเติบโตทางเศรษฐกิจต้องถูกบั่นทอนจากความเสี่ยงที่สูงขึ้นในเรื่องของศักยภาพการชำระคืนหนี้ของภาครัฐ กับต้องถูกฉุดรั้งโดยผลกระทบจากนโยบายรัดเข็มขัดของรัฐบาลทั้งหลายในยูโรโซน
นับจากวันที่ 3 พฤษภาคม เป็นต้นมา อีซีบีเข้ารับซื้อพันธบัตรจำนวนมากของรัฐบาลกรีซ โปรตุเกส และสเปน เพื่อช่วยให้นักลงทุนในตลาดตราสารหนี้เกิดความมั่นใจ และเพื่อช่วยสนับสนุนตัวแพ็คเก็จรักษาเสถียรภาพของเงินยูโรซึ่งเป็นผลงานในดำริของสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ธนาคารกลางแห่งยุโรป แจ้งไว้ในคำแถลงว่า นับถึงวันที่ 28 พฤษภาคม ได้ชำระบัญชีการซื้อพันธบัตรไป 35,000 ล้านยูโร จากที่เคยทำการไว้ ณ 26,500 ล้านยูโร เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้า และแม้จะไม่มีการแจกแจงตัวเลขเป็นรายประเทศ แต่เจ้าหน้าที่ของอีซีบีได้เผยว่าส่วนใหญ่เป็นพันธบัตรจากประเทศย่านยุโรปใต้ซึ่งถูกกระทบจากวิกฤตในตลาดการเงินอย่างรุนแรงที่สุด
ในรายงานเสถียรภาพทางการเงินนี้ อีซีบี ยอมรับว่า ความตึงเครียดในด้านสินเชื่อของยูโรโซนอาจบีบให้อีซีบีต้องยอมที่จะยังไม่รีบยุติมาตรการดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่อีซีบีใช้เพื่อช่วยธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายให้ผ่านพ้นวิกฤตการเงินมาได้โดยตลอด
หลังจากที่สถาบันการเงินระดับยักษ์ใหญ่ของโลก คือ เลห์แมน บราเธอร์ส ล้มละลายในเดือนกันยายน 2008 อีซีบีอัดฉีดสภาพคล่องอย่างไม่จำกัดให้แก่พวกแบงก์พาณิชย์ทั้งหลาย ณ อัตราดอกเบี้ยแสนต่ำ เพื่อจะช่วยฟื้นสภาพการให้สินเชื่อระหว่างแบงก์และเพื่อประคองให้กระแสสินเชื่อสามารถเคลื่อนไหวไปสู่ระบบเศรษฐกิจภาคแท้จริงได้
ด้านประธานธนาคารกลางแห่งเยอรมนี ซึ่งเป็นสมาชิกบอร์ดบริหารของอีซีบี เรียกร้องให้มีการจำกัดเพดานโครงการเข้าซื้อพันธบัตร โดยบอกว่า การดำเนินการมากเกินไปในอันที่จะลดวิกฤตสินเชื่อในยูโรโซน มีความเสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อเสถียรภาพด้านราคา
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 160
-
- Verified User
- โพสต์: 1601
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 161
[quote="pavilion"]โดยส่วนตัวแล้ว ผมก็ยังมองว่าวิกฤติกรีซรอบนี้จะไม่ลุกลามบานปลายเป็นเรื่องใหญ่ครับ
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 163
นักวิเคราะห์คาดการขยายตัวของศก.โลกจะชะลอลง แต่ไม่เกิดภาวะถดถอยซ้ำสอง
xBT> USA:นักวิเคราะห์คาดการขยายตัวของศก.โลกจะชะลอลง แต่ไม่เกิดภาวะถดถอยซ้ำสอง
วอชิงตัน--7 มิ.ย.--รอยเตอร์
ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะสามารถหลีกเลี่ยงการกลับ
เข้าสู่ภาวะถดถอย แม้ว่าช่วง 6 เดือนข้างหน้าอาจมีการขยายตัวที่เบาบาง
ในขณะที่มีสาเหตุความวิตกที่สำคัญ 3 ประการ จากการที่ปัญหาหนี้สินของยุโรป
ไม่ได้เบาบางลง, ข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐเมื่อวันศุกร์เป็นสิ่งที่น่าผิดหวัง
และเศรษฐกิจที่ร้อนแรงของจีนอาจจะชะลอลงเล็กน้อย
ปัจจัยทั้งหมดนี้บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจในอนาคต แต่อาจ
จะต้องมีปัจจัยที่รุนแรงมากกว่านี้จึงจะสามารถกระตุ้นให้เศรษฐกิจโลกร่วงลง
อีกครั้ง
"ไม่ นี่ไม่ใช่สัญญาณที่ว่า เราจะเผชิญภาวะถดถอยซ้ำสอง" นายอีธาน
ฮาร์ริส หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจของ BofA Merrill Lynch Global Research
กล่าว
"ภาวะถดถอยซ้ำสองเกิดขึ้นเมื่อมีความผิดพลาดด้านนโยบาย ซึ่งเราไม่
คิดว่าจะเกิดขึ้น"
คามผิดพลาดด้านนโยบาย จะรวมถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือการลด
การใช้จ่ายของรัฐบาลเร็วเกินไป โดยทั้งธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และธนาคาร
กลางอังกฤษ จะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันพฤหัสบดี และคาดว่าจะคงอัตรา
ดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์
การหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่เกิดจากงบประมาณ อาจจะมีความยากลำบาก
มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศยุโรปที่ได้รับแรงกดดันในการทำให้การคลัง
สาธารณะมีสถานะที่แข็งแกร่งขึ้น มิฉะนั้น ก็มีความเสี่ยงที่จะสร้างความไม่พอใจให้กับ
ตลาดการเงินที่วิตกเรื่องหนี้สาธารณะ
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเยอรมนีกล่าวกับรอยเตอร์ว่า กรีซ, โปรตุเกส,
อิตาลี และประเทศอื่นๆ ประกาศการลดงบประมาณลงอย่างมาก ขณะที่เยอรมนี
ซึ่งการคลังมีความตึงเครียดน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่ วางแผนที่จะเริ่ม
ถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีหน้า
สำหรับผู้ที่วิตกว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะตกต่ำลงนั้น รายงานการจ้างงาน
ของเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาถือเป็นสิ่งที่น่าวิตก โดยภาคเอกชนเพิ่มการจ้างงานเพียง
41,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. ซึ่งต่ำกว่า 190,000 ตำแหน่งที่นักเศรษฐศาสตร์
ได้คาดไว้
นายฮาร์ บานด์ฮอลส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สหรัฐที่บริษัทยูนิเครดิต
รีเซิร์ชในนิวยอร์ค ระบุถึงข้อมูลการจ้างงานนี้ว่า"น่าวิตก" และคาดว่า การ
จ้างงานอาจจะลดลงในเดือนมิ.ย. เนื่องจากพนักงานชั่วคราวที่ได้รับการ
ว่าจ้างเพื่อทำงานสำรวจสำมะโนประชากรเพียงครั้งเดียวในรอบ 10 ปี
จะไม่ได้รับการว่าจ้างต่อ
อย่างไรก็ตาม ภาวะตลาดแรงงานที่อ่อนแอ อาจจะช่วยให้เศรษฐกิจ
สหรัฐสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะถดถอยอีกครั้ง เนื่องจากบริษัทต่างๆไม่
ต้องการที่จะจ้างงานอีกครั้งหรือขยายการจ้างงาน แม้ว่าเศรษฐกิจขยายตัว
และบริษัทเหล่านั้นก็แทบไม่ต้องการที่จะลดการจ้างงานต่อไป แม้ว่าอุปสงค์ลดลง
"คำถามในขณะนี้ก็คือ เราจะเข้าสู่ครึ่งปีหลังด้วยอัตราความเร็ว
เพียงใด ขณะที่เรามีสัญญาณบางประการถึงการชะลอตัวลง" นายบานด์ฮอลส์
กล่าว
บางทีสัญญาณเตือนที่ชัดเจนที่สุดมาจากสถาบันการวิจัยวงจรเศรษฐกิจ
ซึ่งจัดพิมพ์มาตรวัดการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในอนาคตเป็นรายสัปดาห์
โดยตัวเลขล่าสุดของทางสถาบันลดลงใกล้ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ
43 สัปดาห์
"ผมไม่ใช่ผู้สนับสนุนภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซ้ำสอง" นายเอ็ดมันด์
เฟลพ์ส นักเศรษฐศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลกล่าวกับรอยเตอร์ อินไซเดอร์
"แต่มีความเสี่ยงอยู่เสมอว่า เมื่อคุณขยายตัวอย่างเชื่องช้า แนวโน้มช่วงขาลง
ก็จะดึงคุณลงเล็กน้อย"
ตัวเลขที่จะจับตามองในสัปดาห์นี้ได้แก่ รายงานยอดค้าปลีกของสหรัฐ
ในวันศุกร์ โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ถึงการปรับตัวขึ้น 0.2% ซึ่งเป็นอัตรา
ที่ชะลอตัวกว่าของเดือนเม.ย. แต่ยังคงอยู่ในเชิงบวก
สำหรับจีนนั้น ดัชนีวัดกิจกรรมภาคการผลิตและบริการต่างก็ปรับตัวลง
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งทำให้มีความวิตกเพิ่มขึ้นว่า การฟื้นตัวของจีนกำลังสูญเสีย
แรงผลักดัน
เมื่อพิจารณาถึงประเด็นที่ว่า เศรษฐกิจจีนขยายตัวในอัตราเกือบ 12%
ในไตรมาสแรก และเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง การชะลอตัวลงเล็กน้อยเป็นสิ่งที่น่า
ขานรับ
จะมีการเปิดเผยดัชนีเศรษฐกิจของจีนประจำเดือนพ.ค.ในสัปดาห์นี้
และดัชนีมีแนวโน้มที่จะแสดงถึงการปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในเงินเฟ้อ แต่มีการลดลง
ในผลผลิตทางอุตสาหกรรมและการลงทุน
นายปิเอโร เกสซี นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทบาร์เคลย์ส แคปิตอล
ในลอนดอน กล่าวว่า จีนดำเนินมาตรการอย่างจริงจังเพื่อจำกัดสภาวะทางการเงิน
"สู่ระดับที่อาจจะสร้างความไม่พอใจให้กับนักลงทุน" เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจ
ร้อนแรงเกินไป
"เราเชื่อว่า มีความเสี่ยงต่ำมากที่จีนจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจทรุดตัว
ลงอย่างรุนแรง" เขากล่าว--จบ--
(รอยเตอร์ โดย สุนีย์พร เหลือทรัพย์ แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
(([email protected]; โทร 0-2648-9741;
Reuters Messaging; suneeporn.loursup.reuters.com @reuters.net))
xBT> USA:นักวิเคราะห์คาดการขยายตัวของศก.โลกจะชะลอลง แต่ไม่เกิดภาวะถดถอยซ้ำสอง
วอชิงตัน--7 มิ.ย.--รอยเตอร์
ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะสามารถหลีกเลี่ยงการกลับ
เข้าสู่ภาวะถดถอย แม้ว่าช่วง 6 เดือนข้างหน้าอาจมีการขยายตัวที่เบาบาง
ในขณะที่มีสาเหตุความวิตกที่สำคัญ 3 ประการ จากการที่ปัญหาหนี้สินของยุโรป
ไม่ได้เบาบางลง, ข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐเมื่อวันศุกร์เป็นสิ่งที่น่าผิดหวัง
และเศรษฐกิจที่ร้อนแรงของจีนอาจจะชะลอลงเล็กน้อย
ปัจจัยทั้งหมดนี้บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจในอนาคต แต่อาจ
จะต้องมีปัจจัยที่รุนแรงมากกว่านี้จึงจะสามารถกระตุ้นให้เศรษฐกิจโลกร่วงลง
อีกครั้ง
"ไม่ นี่ไม่ใช่สัญญาณที่ว่า เราจะเผชิญภาวะถดถอยซ้ำสอง" นายอีธาน
ฮาร์ริส หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจของ BofA Merrill Lynch Global Research
กล่าว
"ภาวะถดถอยซ้ำสองเกิดขึ้นเมื่อมีความผิดพลาดด้านนโยบาย ซึ่งเราไม่
คิดว่าจะเกิดขึ้น"
คามผิดพลาดด้านนโยบาย จะรวมถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือการลด
การใช้จ่ายของรัฐบาลเร็วเกินไป โดยทั้งธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และธนาคาร
กลางอังกฤษ จะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันพฤหัสบดี และคาดว่าจะคงอัตรา
ดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์
การหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่เกิดจากงบประมาณ อาจจะมีความยากลำบาก
มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศยุโรปที่ได้รับแรงกดดันในการทำให้การคลัง
สาธารณะมีสถานะที่แข็งแกร่งขึ้น มิฉะนั้น ก็มีความเสี่ยงที่จะสร้างความไม่พอใจให้กับ
ตลาดการเงินที่วิตกเรื่องหนี้สาธารณะ
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเยอรมนีกล่าวกับรอยเตอร์ว่า กรีซ, โปรตุเกส,
อิตาลี และประเทศอื่นๆ ประกาศการลดงบประมาณลงอย่างมาก ขณะที่เยอรมนี
ซึ่งการคลังมีความตึงเครียดน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่ วางแผนที่จะเริ่ม
ถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีหน้า
สำหรับผู้ที่วิตกว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะตกต่ำลงนั้น รายงานการจ้างงาน
ของเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาถือเป็นสิ่งที่น่าวิตก โดยภาคเอกชนเพิ่มการจ้างงานเพียง
41,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. ซึ่งต่ำกว่า 190,000 ตำแหน่งที่นักเศรษฐศาสตร์
ได้คาดไว้
นายฮาร์ บานด์ฮอลส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สหรัฐที่บริษัทยูนิเครดิต
รีเซิร์ชในนิวยอร์ค ระบุถึงข้อมูลการจ้างงานนี้ว่า"น่าวิตก" และคาดว่า การ
จ้างงานอาจจะลดลงในเดือนมิ.ย. เนื่องจากพนักงานชั่วคราวที่ได้รับการ
ว่าจ้างเพื่อทำงานสำรวจสำมะโนประชากรเพียงครั้งเดียวในรอบ 10 ปี
จะไม่ได้รับการว่าจ้างต่อ
อย่างไรก็ตาม ภาวะตลาดแรงงานที่อ่อนแอ อาจจะช่วยให้เศรษฐกิจ
สหรัฐสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะถดถอยอีกครั้ง เนื่องจากบริษัทต่างๆไม่
ต้องการที่จะจ้างงานอีกครั้งหรือขยายการจ้างงาน แม้ว่าเศรษฐกิจขยายตัว
และบริษัทเหล่านั้นก็แทบไม่ต้องการที่จะลดการจ้างงานต่อไป แม้ว่าอุปสงค์ลดลง
"คำถามในขณะนี้ก็คือ เราจะเข้าสู่ครึ่งปีหลังด้วยอัตราความเร็ว
เพียงใด ขณะที่เรามีสัญญาณบางประการถึงการชะลอตัวลง" นายบานด์ฮอลส์
กล่าว
บางทีสัญญาณเตือนที่ชัดเจนที่สุดมาจากสถาบันการวิจัยวงจรเศรษฐกิจ
ซึ่งจัดพิมพ์มาตรวัดการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในอนาคตเป็นรายสัปดาห์
โดยตัวเลขล่าสุดของทางสถาบันลดลงใกล้ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ
43 สัปดาห์
"ผมไม่ใช่ผู้สนับสนุนภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซ้ำสอง" นายเอ็ดมันด์
เฟลพ์ส นักเศรษฐศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลกล่าวกับรอยเตอร์ อินไซเดอร์
"แต่มีความเสี่ยงอยู่เสมอว่า เมื่อคุณขยายตัวอย่างเชื่องช้า แนวโน้มช่วงขาลง
ก็จะดึงคุณลงเล็กน้อย"
ตัวเลขที่จะจับตามองในสัปดาห์นี้ได้แก่ รายงานยอดค้าปลีกของสหรัฐ
ในวันศุกร์ โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ถึงการปรับตัวขึ้น 0.2% ซึ่งเป็นอัตรา
ที่ชะลอตัวกว่าของเดือนเม.ย. แต่ยังคงอยู่ในเชิงบวก
สำหรับจีนนั้น ดัชนีวัดกิจกรรมภาคการผลิตและบริการต่างก็ปรับตัวลง
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งทำให้มีความวิตกเพิ่มขึ้นว่า การฟื้นตัวของจีนกำลังสูญเสีย
แรงผลักดัน
เมื่อพิจารณาถึงประเด็นที่ว่า เศรษฐกิจจีนขยายตัวในอัตราเกือบ 12%
ในไตรมาสแรก และเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง การชะลอตัวลงเล็กน้อยเป็นสิ่งที่น่า
ขานรับ
จะมีการเปิดเผยดัชนีเศรษฐกิจของจีนประจำเดือนพ.ค.ในสัปดาห์นี้
และดัชนีมีแนวโน้มที่จะแสดงถึงการปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในเงินเฟ้อ แต่มีการลดลง
ในผลผลิตทางอุตสาหกรรมและการลงทุน
นายปิเอโร เกสซี นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทบาร์เคลย์ส แคปิตอล
ในลอนดอน กล่าวว่า จีนดำเนินมาตรการอย่างจริงจังเพื่อจำกัดสภาวะทางการเงิน
"สู่ระดับที่อาจจะสร้างความไม่พอใจให้กับนักลงทุน" เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจ
ร้อนแรงเกินไป
"เราเชื่อว่า มีความเสี่ยงต่ำมากที่จีนจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจทรุดตัว
ลงอย่างรุนแรง" เขากล่าว--จบ--
(รอยเตอร์ โดย สุนีย์พร เหลือทรัพย์ แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
(([email protected]; โทร 0-2648-9741;
Reuters Messaging; suneeporn.loursup.reuters.com @reuters.net))
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 164
ฮังการีแก้ข่าว เผชิญวิกฤตหนี้ ซ้ำรอยกรีซ
Posted on Tuesday, June 08, 2010
ฮังการีแก้ข่าว เผชิญวิกฤตหนี้ ซ้ำรอยกรีซ
รัฐบาลฮังการียืนยันว่า ฮังการีไม่มีความเสี่ยงเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งการเปิดเผยครั้งล่าสุดถือเป็นการกลับลำ หลังจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลฮังการีเปิดเผยในช่วงสุดสัปดาห์ว่า ฮังการีมีความเสี่ยงที่จะเผชิญวิกฤตหนี้สาธารณะแบบเดียวกับกรีซ
นักวิเคราะห์ในสภาพยุโรป (EU) และมูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส กล่าวว่า การที่รัฐบาลฮังการีออกมายืนยันแบบกลับลำในครั้งนี้ ถือเป็นการ "แก้ข่าว" และยังไม่มีน้ำหนักมากพอที่จะช่วยลดความวิตกกังวลของนักลงทุน
ความมั่นใจของตลาดจะดีขึ้นได้ ก็จนกว่านายกรัฐมนตรีวิคเตอร์ ออร์แบน ของฮังการี จะบังคับใช้มาตรการเข้มงวดในการลดยอดขาดดุลงบประมาณตามข้อกำหนดของ EU และ IMF
สัปดาห์ที่แล้ว ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนอย่างหนัก โดยเฉพาะดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ดิ่งลง 323.31จุด หรือ 3.15% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
หลังจากนายมิฮาลี วาร์กา หัวหน้าคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฮังการี เปิดเผยว่า ฮังการีมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับวิกฤตหนี้สาธารณะเช่นเดียวกับกรีซ
ข่าวดังกล่าวจุดปะทุให้เกิดความวิตกกังวลว่าวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปอาจลุกลามออกไปในวงกว้าง นอกจากนี้ ข่าวดังกล่าวยังส่งผลให้สกุลเงินยูโรดิ่งหนักสุดในรอบ 4 ปี
นายวาร์กาได้พยายามแก้เกมส์ และ ลดกระแสความวิตกกังวลดังกล่าวด้วยการออกแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยยืนยันว่ารัฐบาลฮังการีสามารถปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณให้เหลือเพียง 3.8% ของตัวเลข GDP ตามคำแนะนำของ EU และ IMF ซึ่งรวมถึงการปรับเปลี่ยนแผนการใช้จ่ายและการจัดเก็บรายได้ ซึ่งถือเป็นการแถลงที่สวนทางกับที่นายมิฮาลีเคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ยอดขาดดุลงบประมาณของฮังการีอาจมีอยู่มากกว่า 7% ของ GDP
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีฮังการีได้จัดการประชุมฉุกเฉินของคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับเป้าหมายงบประมาณ หลังจากการแสดงความคิดเห็นของนายวาร์กาได้สร้างความตื่นตระหนกต่อตลาดการเงินทั่วโลก รวมทั้งสร้างความประหลาดใจให้กับนายโดมินิก สเตราส์-คาห์น ผู้อำนวยการ IMF ด้วย
คณะกรรมาธิการยุโรปคาดการณ์ว่า ยอดขาดดุลงบประมาณของฮังการีจะพุ่งขึ้นเป็น 4.1% ของตัวเลข GDP เมื่อเทียบกับระดับเฉลี่ย 7.2% ของประเทศอื่นๆในกลุ่มอียู และเทียบกับ 9.3% ของกรีซ
นอกจากนี้ คาดว่า ตัวเลขหนี้สาธารณะของรัฐบาลฮังการีจะเพิ่มเป็น 79% เมื่อเทียบกับระดับเฉลี่ยของอียูที่ 80% และเทียบกับ 125% ของกรีซ
Posted on Tuesday, June 08, 2010
ฮังการีแก้ข่าว เผชิญวิกฤตหนี้ ซ้ำรอยกรีซ
รัฐบาลฮังการียืนยันว่า ฮังการีไม่มีความเสี่ยงเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งการเปิดเผยครั้งล่าสุดถือเป็นการกลับลำ หลังจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลฮังการีเปิดเผยในช่วงสุดสัปดาห์ว่า ฮังการีมีความเสี่ยงที่จะเผชิญวิกฤตหนี้สาธารณะแบบเดียวกับกรีซ
นักวิเคราะห์ในสภาพยุโรป (EU) และมูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส กล่าวว่า การที่รัฐบาลฮังการีออกมายืนยันแบบกลับลำในครั้งนี้ ถือเป็นการ "แก้ข่าว" และยังไม่มีน้ำหนักมากพอที่จะช่วยลดความวิตกกังวลของนักลงทุน
ความมั่นใจของตลาดจะดีขึ้นได้ ก็จนกว่านายกรัฐมนตรีวิคเตอร์ ออร์แบน ของฮังการี จะบังคับใช้มาตรการเข้มงวดในการลดยอดขาดดุลงบประมาณตามข้อกำหนดของ EU และ IMF
สัปดาห์ที่แล้ว ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนอย่างหนัก โดยเฉพาะดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ดิ่งลง 323.31จุด หรือ 3.15% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
หลังจากนายมิฮาลี วาร์กา หัวหน้าคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฮังการี เปิดเผยว่า ฮังการีมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับวิกฤตหนี้สาธารณะเช่นเดียวกับกรีซ
ข่าวดังกล่าวจุดปะทุให้เกิดความวิตกกังวลว่าวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปอาจลุกลามออกไปในวงกว้าง นอกจากนี้ ข่าวดังกล่าวยังส่งผลให้สกุลเงินยูโรดิ่งหนักสุดในรอบ 4 ปี
นายวาร์กาได้พยายามแก้เกมส์ และ ลดกระแสความวิตกกังวลดังกล่าวด้วยการออกแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยยืนยันว่ารัฐบาลฮังการีสามารถปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณให้เหลือเพียง 3.8% ของตัวเลข GDP ตามคำแนะนำของ EU และ IMF ซึ่งรวมถึงการปรับเปลี่ยนแผนการใช้จ่ายและการจัดเก็บรายได้ ซึ่งถือเป็นการแถลงที่สวนทางกับที่นายมิฮาลีเคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ยอดขาดดุลงบประมาณของฮังการีอาจมีอยู่มากกว่า 7% ของ GDP
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีฮังการีได้จัดการประชุมฉุกเฉินของคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับเป้าหมายงบประมาณ หลังจากการแสดงความคิดเห็นของนายวาร์กาได้สร้างความตื่นตระหนกต่อตลาดการเงินทั่วโลก รวมทั้งสร้างความประหลาดใจให้กับนายโดมินิก สเตราส์-คาห์น ผู้อำนวยการ IMF ด้วย
คณะกรรมาธิการยุโรปคาดการณ์ว่า ยอดขาดดุลงบประมาณของฮังการีจะพุ่งขึ้นเป็น 4.1% ของตัวเลข GDP เมื่อเทียบกับระดับเฉลี่ย 7.2% ของประเทศอื่นๆในกลุ่มอียู และเทียบกับ 9.3% ของกรีซ
นอกจากนี้ คาดว่า ตัวเลขหนี้สาธารณะของรัฐบาลฮังการีจะเพิ่มเป็น 79% เมื่อเทียบกับระดับเฉลี่ยของอียูที่ 80% และเทียบกับ 125% ของกรีซ
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 165
World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ
http://www.ryt9.com/s/iq03/918350
http://www.ryt9.com/s/iq03/918350
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 166
ธนาคารพาณิชย์ยุโรปเผชิญ ปัญหาสินเชื่อตึงตัว
Posted on Monday, June 14, 2010
ธนาคารพาณิชย์ยุโรปเผชิญ ปัญหาสินเชื่อตึงตัว
ธนาคารพาณิชย์ในยุโรปกำลังเผชิญกับภาวะสินเชื่อตึงตัว ซึ่งเป็นภาวะที่ธนาคารไม่ต้องการหรือไม่อยากปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจ ครัวเรือน ตลอดจนธนาคารด้วยกัน
สืบเนื่องจากความวิตกกังวลในตลาดพันธบัตรยูโรโซนเมื่อรัฐบาลที่ใช้เงินตราสกุลนี้หลายประเทศประสบกับวิกฤตหนี้สินและปัญหาขาดดุลงบประมาณอย่างรุนแรงจนต้องถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลง เช่น กรีซ สเปน อิตาลี และโปรตุเกส เป็นต้น ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เกิดความวิตกถึงหนี้เสียจากการถือพันธบัตรรัฐบาลดังกล่าว ทั้งนี้ภาวะตึงตัวด้านสินเชื่อนี้ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดในกลุ่มธนาคารขนาดกลาง โดยเฉพาะในสเปน
ฌอง โคลด ทริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรปเปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ผลการทดสอบภาวะวิกฤตซึ่งธนาคารกลางเป็นผู้ทดสอบธนาคารพาณิชย์ในยุโรปเพื่อประเมินสถานะความมั่นคง จะถูกแจ้งไปยังบรรดารัฐมนตรีคลังของสหภาพยุโรปเร็วๆ นี้
ทั้งนี้การทดสอบดังกล่าวเป็นการตั้งโจทย์เพื่อหามูลค่าความเสียหายสูงสุดภายใต้สภาพการณ์ของวิกฤตการเงินหรือเศรษฐกิจที่สมมติขึ้น โดยดูว่าธนาคารหรือสถาบันการเงินจะหาวิธีแก้ไขอย่างไร นอกจากนี้ยังพิจารณาพอร์ตสินเชื่อของธนาคารในภาพรวมว่าจะก่อให้เกิดหนี้เสียมากน้อยเพียงใด
ปิแอร์ แฟลบบี นักวิเคราะห์ของเคปเลอร์ แคปิตัล มาร์เก็ตส์ บอกว่า น่าจะมีบางธนาคารในยุโรปที่ไม่ผ่านแบบทดสอบนี้ เช่น ในสเปน เป็นต้น
ขณะที่ผู้ว่าการธนาคารกลางหลายแห่งในยุโรปออกมาสนับสนุนให้มีการตีพิมพ์ผลการทดสอบดังกล่าว แต่นักวิเคราะห์มองว่านี่อาจกลับกลายเป็นดาบสองคม และทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงก็เป็นได้
แฟลบบี กล่าวว่าปัญหาก็คือคุณเผยแพร่ข้อมูลซึ่งเป็นการตำหนิธนาคารเหล่านั้น ทว่าคุณเองก็ไม่สามารถเสนอแนวทางแก้ไขที่ได้ผลชะงัดได้
อย่างไรก็ตามเมื่อวันศุกร์ (11 มิ.ย. 53 ) ที่ผ่านมา มูดี้ส์ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศแสดงทัศนะว่า สถานการณ์อาจยังไม่ถึงขั้นเลวร้ายมากก็เป็นได้ โดยยืนยันว่าธนาคารในยุโรปยังคงมีเสถียรภาพเพียงพอ แม้ว่าจะเสียหายอย่างหนักจากการถือพันธบัตรที่กลายสภาพเป็น ขยะ เหล่านั้นก็ตาม
มูดี้ส์ กล่าวว่า จากแบบทดสอบภาวะวิกฤตนี้ หลายธนาคารแสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถรับมือกับปัญหาได้โดยที่ไม่ต้องระดมทุนพิเศษจากกลุ่มผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด
กระนั้น ธนาคารกลางยุโรปได้เปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (10) ว่า ทางธนาคารยังคงการสนับสนุนด้านสภาพคล่องเอาไว้ สำหรับธนาคารในกลุ่มยูโรโซนซึ่งต้องการกู้ยืมเพื่อกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ ในช่วงระยะเวลา 3 เดือนจากนี้จนถึงเดือนกันยายน โดยจุดประสงค์ก็เพื่อให้แน่ใจว่ามีสภาพคล่องเหลือเฟือในตลาดอินเตอร์แบงก์
หลายฝ่ายยังคงกังวลว่า ภาวะสินเชื่อตึงตัวนี้จะลุกลามรุนแรงเหมือนที่สหรัฐฯ ประสบเมื่อ 2 ปีก่อนหรือไม่
Posted on Monday, June 14, 2010
ธนาคารพาณิชย์ยุโรปเผชิญ ปัญหาสินเชื่อตึงตัว
ธนาคารพาณิชย์ในยุโรปกำลังเผชิญกับภาวะสินเชื่อตึงตัว ซึ่งเป็นภาวะที่ธนาคารไม่ต้องการหรือไม่อยากปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจ ครัวเรือน ตลอดจนธนาคารด้วยกัน
สืบเนื่องจากความวิตกกังวลในตลาดพันธบัตรยูโรโซนเมื่อรัฐบาลที่ใช้เงินตราสกุลนี้หลายประเทศประสบกับวิกฤตหนี้สินและปัญหาขาดดุลงบประมาณอย่างรุนแรงจนต้องถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลง เช่น กรีซ สเปน อิตาลี และโปรตุเกส เป็นต้น ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เกิดความวิตกถึงหนี้เสียจากการถือพันธบัตรรัฐบาลดังกล่าว ทั้งนี้ภาวะตึงตัวด้านสินเชื่อนี้ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดในกลุ่มธนาคารขนาดกลาง โดยเฉพาะในสเปน
ฌอง โคลด ทริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรปเปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ผลการทดสอบภาวะวิกฤตซึ่งธนาคารกลางเป็นผู้ทดสอบธนาคารพาณิชย์ในยุโรปเพื่อประเมินสถานะความมั่นคง จะถูกแจ้งไปยังบรรดารัฐมนตรีคลังของสหภาพยุโรปเร็วๆ นี้
ทั้งนี้การทดสอบดังกล่าวเป็นการตั้งโจทย์เพื่อหามูลค่าความเสียหายสูงสุดภายใต้สภาพการณ์ของวิกฤตการเงินหรือเศรษฐกิจที่สมมติขึ้น โดยดูว่าธนาคารหรือสถาบันการเงินจะหาวิธีแก้ไขอย่างไร นอกจากนี้ยังพิจารณาพอร์ตสินเชื่อของธนาคารในภาพรวมว่าจะก่อให้เกิดหนี้เสียมากน้อยเพียงใด
ปิแอร์ แฟลบบี นักวิเคราะห์ของเคปเลอร์ แคปิตัล มาร์เก็ตส์ บอกว่า น่าจะมีบางธนาคารในยุโรปที่ไม่ผ่านแบบทดสอบนี้ เช่น ในสเปน เป็นต้น
ขณะที่ผู้ว่าการธนาคารกลางหลายแห่งในยุโรปออกมาสนับสนุนให้มีการตีพิมพ์ผลการทดสอบดังกล่าว แต่นักวิเคราะห์มองว่านี่อาจกลับกลายเป็นดาบสองคม และทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงก็เป็นได้
แฟลบบี กล่าวว่าปัญหาก็คือคุณเผยแพร่ข้อมูลซึ่งเป็นการตำหนิธนาคารเหล่านั้น ทว่าคุณเองก็ไม่สามารถเสนอแนวทางแก้ไขที่ได้ผลชะงัดได้
อย่างไรก็ตามเมื่อวันศุกร์ (11 มิ.ย. 53 ) ที่ผ่านมา มูดี้ส์ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศแสดงทัศนะว่า สถานการณ์อาจยังไม่ถึงขั้นเลวร้ายมากก็เป็นได้ โดยยืนยันว่าธนาคารในยุโรปยังคงมีเสถียรภาพเพียงพอ แม้ว่าจะเสียหายอย่างหนักจากการถือพันธบัตรที่กลายสภาพเป็น ขยะ เหล่านั้นก็ตาม
มูดี้ส์ กล่าวว่า จากแบบทดสอบภาวะวิกฤตนี้ หลายธนาคารแสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถรับมือกับปัญหาได้โดยที่ไม่ต้องระดมทุนพิเศษจากกลุ่มผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด
กระนั้น ธนาคารกลางยุโรปได้เปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (10) ว่า ทางธนาคารยังคงการสนับสนุนด้านสภาพคล่องเอาไว้ สำหรับธนาคารในกลุ่มยูโรโซนซึ่งต้องการกู้ยืมเพื่อกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ ในช่วงระยะเวลา 3 เดือนจากนี้จนถึงเดือนกันยายน โดยจุดประสงค์ก็เพื่อให้แน่ใจว่ามีสภาพคล่องเหลือเฟือในตลาดอินเตอร์แบงก์
หลายฝ่ายยังคงกังวลว่า ภาวะสินเชื่อตึงตัวนี้จะลุกลามรุนแรงเหมือนที่สหรัฐฯ ประสบเมื่อ 2 ปีก่อนหรือไม่
-
- Verified User
- โพสต์: 2712
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 167
ขอบคุณมากๆสำหรับข่าวสารในทุกๆวันนะครับผม
บุญรักษาครับ
บุญรักษาครับ
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
- kakathi
- Verified User
- โพสต์: 186
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 169
ส่งซิก ขึ้นดอกเบี้ย
Tuesday, 15 June 2010 13:32
พงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยหลังการหารือระหว่างภาคเอกชนกับธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ว่าแบงก์ชาติได้สรุปภาพรวมภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ให้รับทราบว่าเศรษฐกิจของไทยค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นมาแล้ว โดยได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองไม่มากนัก แต่แบงก์ชาติยังมีความกังวลผลกระทบที่มีต่อท่องเที่ยว โดยได้เตือนให้ภาคเอกชนรู้ว่าจะมีการ "ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย" จากที่ใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำมานาน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อแม้จะยังอยู่ในระดับต่ำ แต่เริ่มขยับขึ้นมาแล้ว
http://www.stockwave.in.th/hot-news/121 ... 15610.html
Tuesday, 15 June 2010 13:32
พงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยหลังการหารือระหว่างภาคเอกชนกับธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ว่าแบงก์ชาติได้สรุปภาพรวมภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ให้รับทราบว่าเศรษฐกิจของไทยค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นมาแล้ว โดยได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองไม่มากนัก แต่แบงก์ชาติยังมีความกังวลผลกระทบที่มีต่อท่องเที่ยว โดยได้เตือนให้ภาคเอกชนรู้ว่าจะมีการ "ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย" จากที่ใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำมานาน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อแม้จะยังอยู่ในระดับต่ำ แต่เริ่มขยับขึ้นมาแล้ว
http://www.stockwave.in.th/hot-news/121 ... 15610.html
" "
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 170
ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมนิวยอร์กขยายตัว แต่ความเชื่อมั่นนักลงทุนเยอรมนีร่วงหนัก
Posted on Wednesday, June 16, 2010
เฟดนิวยอร์กเผยภาคการผลิตขยายตัวต่อเนื่อง
ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเขตรัฐนิวยอร์ก ขยายตัวในอัตราที่เร็วขึ้น และช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนมากขึ้นได้ว่าบรรดาโรงงานต่างๆ สามารถผ่านพ้นวิกฤติการเงินและมีส่วนผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น
ธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขานิวยอร์ก เปิดเผยดัชนีสภาวะเศรษฐกิจพุ่งขึ้นเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกันและเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้
นักเศรษฐศาสตร์จากค่าย Nomura Securities International มองว่า การฟื้นตัวของภาคการผลิตกำลังดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่ช่วงกลางปี ซึ่งเท่าที่ผ่านมายังไม่เห็นมีสัญญาณที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้รับผลพวงจากวิกฤติในยุโรปเลย
ในส่วนผลสำรวจเรื่องการจ้างงานพบว่า ดัชนีขยับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์โดยเฉลี่ย
นอกจากนั้น มีนายจ้างราว 46% ที่บอกว่า มีแผนที่จะขยายการลงทุนในอุปกรณ์หรือเครื่องจักรใหม่ภายในปีนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับผลสำรวจที่เคยทำไว้ในปีที่แล้ว
ตัวเลขล่าสุดของเฟดนิวยอร์ก ยังรวมถึงยอดคำสั่งซื้อใหม่และจำนวนการส่งมอบสินค้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งภาคส่งออกและการใช้จ่ายผู้บริโภคถือเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่ทำให้ภาคการผลิตขยายตัวและกระตุ้นการจ้างงานให้เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยที่อีกด้านหนึ่งเป็นการเร่งผลิตเพื่อทดแทนสินค้าในสต็อกที่กำลังลดลง
ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนเยอรมนี ร่วงหนัก
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนเยอรมนีในเดือนมิ.ย.ทรุดลงสู่ระดับ 28.7 จุด จากระดับ 45.8 จุดในเดือนพ.ค. เพราะความกังวลที่ว่าวิกฤตหนี้สาธารณะจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศ
วิกฤตหนี้กรีซทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆในกลุ่มยูโรโซนใช้มาตรการลดงบประมาณ เพื่อให้นักลงทุนมั่นใจว่าจะสามารถจัดการกับยอดขาดดุลได้ แต่การดำเนินการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความต้องการและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ
เศรษฐกิจเยอรมนีกำลังไปได้สวยในเวลานี้ โดยค่าเงินยูโรที่ร่วงลงมาแล้ว 15% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในปีนี้ เป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้าไปนอกกลุ่มยูโรโซน ซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญที่สุดของเยอรมนี
นอกจากนี้อัตราว่างงานของประเทศก็ร่วงลงเหลือ 7.7% ขณะที่บริษัทต่างๆเพิ่มการผลิต และการจ้างงานเพื่อรับมือกับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น แต่นักวิเคราะห์มองว่า มาตรการลดรายจ่ายของรัฐบาลทั่วยุโรปจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวในช่วงปลายปีนี้
ทั้งนี้ ธนาคารกลางเยอรมนีได้ยกระดับคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 1.9% ในปีนี้ และ 1.4% ในปีหน้า
Posted on Wednesday, June 16, 2010
เฟดนิวยอร์กเผยภาคการผลิตขยายตัวต่อเนื่อง
ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเขตรัฐนิวยอร์ก ขยายตัวในอัตราที่เร็วขึ้น และช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนมากขึ้นได้ว่าบรรดาโรงงานต่างๆ สามารถผ่านพ้นวิกฤติการเงินและมีส่วนผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น
ธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขานิวยอร์ก เปิดเผยดัชนีสภาวะเศรษฐกิจพุ่งขึ้นเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกันและเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้
นักเศรษฐศาสตร์จากค่าย Nomura Securities International มองว่า การฟื้นตัวของภาคการผลิตกำลังดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่ช่วงกลางปี ซึ่งเท่าที่ผ่านมายังไม่เห็นมีสัญญาณที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้รับผลพวงจากวิกฤติในยุโรปเลย
ในส่วนผลสำรวจเรื่องการจ้างงานพบว่า ดัชนีขยับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์โดยเฉลี่ย
นอกจากนั้น มีนายจ้างราว 46% ที่บอกว่า มีแผนที่จะขยายการลงทุนในอุปกรณ์หรือเครื่องจักรใหม่ภายในปีนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับผลสำรวจที่เคยทำไว้ในปีที่แล้ว
ตัวเลขล่าสุดของเฟดนิวยอร์ก ยังรวมถึงยอดคำสั่งซื้อใหม่และจำนวนการส่งมอบสินค้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งภาคส่งออกและการใช้จ่ายผู้บริโภคถือเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่ทำให้ภาคการผลิตขยายตัวและกระตุ้นการจ้างงานให้เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยที่อีกด้านหนึ่งเป็นการเร่งผลิตเพื่อทดแทนสินค้าในสต็อกที่กำลังลดลง
ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนเยอรมนี ร่วงหนัก
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนเยอรมนีในเดือนมิ.ย.ทรุดลงสู่ระดับ 28.7 จุด จากระดับ 45.8 จุดในเดือนพ.ค. เพราะความกังวลที่ว่าวิกฤตหนี้สาธารณะจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศ
วิกฤตหนี้กรีซทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆในกลุ่มยูโรโซนใช้มาตรการลดงบประมาณ เพื่อให้นักลงทุนมั่นใจว่าจะสามารถจัดการกับยอดขาดดุลได้ แต่การดำเนินการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความต้องการและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ
เศรษฐกิจเยอรมนีกำลังไปได้สวยในเวลานี้ โดยค่าเงินยูโรที่ร่วงลงมาแล้ว 15% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในปีนี้ เป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้าไปนอกกลุ่มยูโรโซน ซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญที่สุดของเยอรมนี
นอกจากนี้อัตราว่างงานของประเทศก็ร่วงลงเหลือ 7.7% ขณะที่บริษัทต่างๆเพิ่มการผลิต และการจ้างงานเพื่อรับมือกับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น แต่นักวิเคราะห์มองว่า มาตรการลดรายจ่ายของรัฐบาลทั่วยุโรปจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวในช่วงปลายปีนี้
ทั้งนี้ ธนาคารกลางเยอรมนีได้ยกระดับคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 1.9% ในปีนี้ และ 1.4% ในปีหน้า
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 171
สเปน...ศพรายต่อไป ?
เอเอฟพี - บรรดาบุคคลสำคัญของสหภาพยุโรปออกมาปฏิเสธข่าวลือที่ว่า สเปนเตรียมร้องขอให้ EU ให้การช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ ท่ามกลางกระแสความหวาดวิตกในวิกฤตหนี้ที่ลุกลามจากกรีซ ซึ่งได้กระหน่ำสเปนจนระส่ำระสายในตอนนี้ ขณะที่มูดี้ส์ได้หั่นอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลงมาอยู่ที่ระดับ หนี้ขยะ เมื่อวันจันทร์ (14) ที่ผ่านมา
ฌอง โคลด จุงเกอร์ นายกรัฐมนตรีลักเซมเบิร์กและประธานกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร และโจเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ออกมาปฏิเสธรายงานข่าวที่ว่า ทางสหภาพยุโรปกำลังพิจารณาแผนให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแก่สเปนที่กำลังประสบปัญหาขาดดุลงบประมาณอย่างหนักหน่วงในขณะนี้
คณะกรรมธิการไม่มีเจตจำนงในการตระเตรียมแผนเฉพาะสำหรับสเปนแต่อย่างใด บาร์โรโซ กล่าวในงานแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
ทั้งนี้ข่าวลือมาจากการคาดคะเนของหลายฝ่ายที่ว่า ยุโรปกำลังหันเหความสนใจไปที่สเปน และประเทศอื่นๆ ภายหลังจากที่ประชุมระดับรัฐมนตรีคลังยุโรปได้อนุมัติเงินช่วยเหลือฉุกเฉินให้กับกรีซแล้วจำนวน 500,000 ล้านยูโรเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ (11) ที่แล้ว มีรายงานข่าวทั้งในเยอรมนี และในสเปนที่อ้างว่า รัฐบาลมาดริดเตรียมพร้อมที่จะขอความช่วยเหลือ นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเมืองเบียร์ฉบับหนึ่งเมื่อวันจันทร์ (14) ก็ยังระบุด้วยว่า บาร์โรโซ และฌอง โคลด ทริเชต์ ประธานธนาคารยุโรป ต่างวิตกกังวลเกี่ยวกับฐานะของธนาคารในสเปน และต้องการให้ประเทศสมาชิกยูโรโซนยื่นมือเข้าช่วย
ขณะที่รัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศ G7 ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐฯ เยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส แคนาดา อิตาลี และญี่ปุ่น ได้ประชุมหารือร่วมกันทางโทรศัพท์เมื่อวันจันทร์ (14) โดยต่างฝ่ายต่างแสดงความหวาดวิตกในประเด็นปัญหากรีซ ซึ่งขณะนี้กำลังกระทบต่อระบบเศรษฐกิจยุโรปโดยรวม นอกจากนี้ที่ประชุมยังคาดหวังให้ยูโรโซนดำเนินนโยบายการคลังเป็นหนึ่งเดียวให้ได้โดยเร็วที่สุด
สำหรับกรีซ ที่เวลานี้รับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อยู่ ได้ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงรวดเดียว 4 ขั้น จากการจัดอันดับล่าสุดของ มูดี้ส์ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ เมื่อวันจันทร์ (14) ที่ผ่านมา โดยลดจากระดับA3 ลงมาอยู่ที่ระดับ Ba1 ซึ่งเป็นอันดับที่จัดเป็น หนี้ขยะ
ก่อนหน้านี้สถาบันจัดอันดับชื่อดังอย่าง เอสแอนด์พี ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลงมาอยู่ในขั้น หนี้ขยะ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ขณะที่ ฟิตช์ เตือนว่าอาจลดอันดับลงมาในขั้นเดียวกันนี้ หากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ยังคงสูงถึงเกือบ 150 เปอร์เซ็นต์เช่นนี้
อย่างไรก็ตาม เอเธนส์ได้คัดค้านการจัดอันดับของมูดี้ส์ในครั้งนี้ โดยกล่าวว่ารัฐบาลกำลังพยายามอย่างหนักในการปรับโครงสร้างการคลังให้มีเสถียรภาพ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา กรีซได้จัดทำแผนงบประมาณที่สอดคล้องตามแนวทางวัตถุประสงค์ของทั้ง EU และ IMF รวมทั้งให้ความร่วมมือด้านอื่นๆ เป็นอย่างดี
เอเอฟพี - บรรดาบุคคลสำคัญของสหภาพยุโรปออกมาปฏิเสธข่าวลือที่ว่า สเปนเตรียมร้องขอให้ EU ให้การช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ ท่ามกลางกระแสความหวาดวิตกในวิกฤตหนี้ที่ลุกลามจากกรีซ ซึ่งได้กระหน่ำสเปนจนระส่ำระสายในตอนนี้ ขณะที่มูดี้ส์ได้หั่นอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลงมาอยู่ที่ระดับ หนี้ขยะ เมื่อวันจันทร์ (14) ที่ผ่านมา
ฌอง โคลด จุงเกอร์ นายกรัฐมนตรีลักเซมเบิร์กและประธานกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร และโจเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ออกมาปฏิเสธรายงานข่าวที่ว่า ทางสหภาพยุโรปกำลังพิจารณาแผนให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแก่สเปนที่กำลังประสบปัญหาขาดดุลงบประมาณอย่างหนักหน่วงในขณะนี้
คณะกรรมธิการไม่มีเจตจำนงในการตระเตรียมแผนเฉพาะสำหรับสเปนแต่อย่างใด บาร์โรโซ กล่าวในงานแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
ทั้งนี้ข่าวลือมาจากการคาดคะเนของหลายฝ่ายที่ว่า ยุโรปกำลังหันเหความสนใจไปที่สเปน และประเทศอื่นๆ ภายหลังจากที่ประชุมระดับรัฐมนตรีคลังยุโรปได้อนุมัติเงินช่วยเหลือฉุกเฉินให้กับกรีซแล้วจำนวน 500,000 ล้านยูโรเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ (11) ที่แล้ว มีรายงานข่าวทั้งในเยอรมนี และในสเปนที่อ้างว่า รัฐบาลมาดริดเตรียมพร้อมที่จะขอความช่วยเหลือ นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเมืองเบียร์ฉบับหนึ่งเมื่อวันจันทร์ (14) ก็ยังระบุด้วยว่า บาร์โรโซ และฌอง โคลด ทริเชต์ ประธานธนาคารยุโรป ต่างวิตกกังวลเกี่ยวกับฐานะของธนาคารในสเปน และต้องการให้ประเทศสมาชิกยูโรโซนยื่นมือเข้าช่วย
ขณะที่รัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศ G7 ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐฯ เยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส แคนาดา อิตาลี และญี่ปุ่น ได้ประชุมหารือร่วมกันทางโทรศัพท์เมื่อวันจันทร์ (14) โดยต่างฝ่ายต่างแสดงความหวาดวิตกในประเด็นปัญหากรีซ ซึ่งขณะนี้กำลังกระทบต่อระบบเศรษฐกิจยุโรปโดยรวม นอกจากนี้ที่ประชุมยังคาดหวังให้ยูโรโซนดำเนินนโยบายการคลังเป็นหนึ่งเดียวให้ได้โดยเร็วที่สุด
สำหรับกรีซ ที่เวลานี้รับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อยู่ ได้ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงรวดเดียว 4 ขั้น จากการจัดอันดับล่าสุดของ มูดี้ส์ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ เมื่อวันจันทร์ (14) ที่ผ่านมา โดยลดจากระดับA3 ลงมาอยู่ที่ระดับ Ba1 ซึ่งเป็นอันดับที่จัดเป็น หนี้ขยะ
ก่อนหน้านี้สถาบันจัดอันดับชื่อดังอย่าง เอสแอนด์พี ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลงมาอยู่ในขั้น หนี้ขยะ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ขณะที่ ฟิตช์ เตือนว่าอาจลดอันดับลงมาในขั้นเดียวกันนี้ หากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ยังคงสูงถึงเกือบ 150 เปอร์เซ็นต์เช่นนี้
อย่างไรก็ตาม เอเธนส์ได้คัดค้านการจัดอันดับของมูดี้ส์ในครั้งนี้ โดยกล่าวว่ารัฐบาลกำลังพยายามอย่างหนักในการปรับโครงสร้างการคลังให้มีเสถียรภาพ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา กรีซได้จัดทำแผนงบประมาณที่สอดคล้องตามแนวทางวัตถุประสงค์ของทั้ง EU และ IMF รวมทั้งให้ความร่วมมือด้านอื่นๆ เป็นอย่างดี
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 172
เงินนอกทะลัก..เข้า !
เงินนอกทะลัก ธปท.หวั่นตลาดการเงินป่วนหลังศก.เริ่มเห็นสัญญาณโงหัว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 มิถุนายน 2553 06:53 น.
..............................................................................................
แบงก์ชาติรับมือความผันผวนในตลาดเงิน หลังเริ่มมีสัญญาณเงินทุนไหลเข้าเอเชียมากขึ้น เหตุนักลงทุนโยกเงินหนีปัญหาวิกฤตในยุโรป มั่นใจเศรษฐกิจไทยปีนี้สามารถก้าวข้ามปัญหาในประเทศได้ พร้อมเดินหน้าเข้าสู่ดอกเบี้ยนโยบาขาขึ้น หากเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) บรรยายพิเศษในหัวข้อ "แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงกฎข้อบังคับทางธุรกิจและการรับมือที่เจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน(CFO) ควรรู้" ว่า ธปท.เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้สามารถก้าวข้ามช่วงความไม่สงบทางการเมืองใน 2 เดือนที่ผ่านมาได้และภาคธุรกิจกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้นจากการได้รับประโยชน์การเติบโตเศรษฐกิจโลกและแรงส่งเศรษฐกิจในไตรมาสแรกที่ขยายตัวกว่า 10% รวมถึงมาตรการภาครัฐที่ผ่อนคลาย ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมในปีนี้ขยายตัวต่อไปได้
"หากเศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่อง อัตราดอกเบี้ยต่ำในระดับช่วง 2 ปีที่ผ่านมาอาจเริ่มเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการอัตราดอกเบี้ยสู่ภาวะปกติมากขึ้น ขณะนี้กำลังดูความสมดุลระหว่างเงื่อนเวลาและความชัดเจนในการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดยขณะนี้เศรษฐกิจไตรมาสแรกก็เป็นตัวสนับสนุนได้ดี ทำให้เชื่อว่าเศรษฐกิจปีนี้ยังไปได้ด้วยดี
ทั้งนี้ ในปีนี้ความผันผวนของตลาดการเงินจะมากขึ้นพิเศษจากเหตุการณ์ต่างๆ นับตั้งแต่ต้นปี ซึ่งความผันผวนดังกล่าวได้กระจายไปในตลาดไม่ได้เจาะจงประเทศใดหรือผลิตภัณฑ์ใด จึงเป็นความท้าทายทั้งในแง่ของการบริหารนโยบายต่างๆ รวมถึงธุรกิจของภาคเอกชน โดยขณะนี้เริ่มเห็นเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามากดดันประเทศในกลุ่มเอเชียบ้างแล้ว ขณะที่ประเทศไทยเองมีเงินไหลเข้าบ้าง แต่ไม่มาก เพราะปัจจัยในประเทศไม่ดึงดูดใจมากนัก หากต่อไปเศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนเชื่อว่าเงินทุนไหลเข้ามากขึ้น
โดยความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นต่อตลาดการเงินในระยะสั้นขณะนี้ ได้แก่ 1.ความไม่ชัดเจนของการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จากปัญหาการว่างงานสูง การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินในต่างประเทศที่ยังไม่เร่งตัวมาก รวมถึงปัญหาหนี้สาธารณะ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก (G3) ซึ่งอาจจะมีพื้นที่ใช้นโยบายการคลังจำกัดมากขึ้น 2.ความคลี่คลายปัญหาหนี้สาธารณะกลุ่มประเทศยุโรป และ3.ความไม่ชัดเจนของทิศทางตัวนโยบายต่างๆของกลุ่มประเทศ G3 ในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะต่อไป
ทั้งนี้ ในแง่ระยะยาวยังไม่รู้ถึงกระบวนการเติบโตเศรษฐกิจโลกว่าอนาคตจะเป็นเช่นไร เดิมทีเอเชียจะเป็นแค่ฝ่ายผลิตและให้ยุโรปหรืออเมริกาซื้อ แต่ขณะนี้กำลังซื้อหายไป ฉะนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ไทยควรต้องหันมาพึ่งพาเงินออมของตัวเองในการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ดี
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาในอีก 2-5 ปีข้างหน้า คือ ที่มาของอัตราการเติบโตเศรษฐกิจโลกจะมาจากหลายพื้นที่มากขึ้น จากเดิมมาจากกลุ่มประเทศ G3 และในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาสัดส่วนของผลผลิต (Output) จากประเทศเกิดขึ้น รวมถึงเอเชียต่อเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้นตามลำดับ ขณะนี้เพิ่มขึ้น 30% จากเดิม 8-10% ขณะที่กลุ่มประเทศ G3 ลดลงตามลำดับทำให้ตลาดคาดหวังในประเทศเอเชียมากกว่ากลุ่ม G3 จากอัตราการเติบโตในเอเชียที่สูงกว่า G3
"ในช่วง 2-5 ปีข้างหน้า ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายจะมีต่อเนื่องและมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งนักลงทุนจะอยู่ระหว่างเปลี่ยนกลับไปในแง่ของการประเมินความเสี่ยงระหว่างกลุ่มประเทศ G3 และประเทศแถบเอเชีย ทำให้พฤติกรรมของรูปแบบการลงทุนเปลี่ยนแปลงไปด้วย ฉะนั้นประเด็นเหล่านี้จะสวิงเป็นช่วงๆ จนกว่านักลงทุนจะมั่นใจ"
นายบัณฑิต กล่าวว่า การขยายตัวเศรษฐกิจเอเชียสูงกว่ากลุ่มประเทศ G3 นี้จะเป็นทั้งโอกาสในพื้นที่เอเชียจะมีธุรกิจมากขึ้น ความเป็นอยู่ของประชากรดีขึ้น และความต้องการสินค้าในเอเชียจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน ขณะเดียวกันความเสี่ยงที่จะตามมา คือ เศรษฐกิจที่เติบโตดีมีผลให้เงินทุนไหลเข้ามาและมีสภาพคล่องในการใช้จ่ายเต็มที่ จึงอาจนำไปสู่วัฎจักรของวิกฤตหรือปัญหาฟองสบู่ในอนาคตได้ ฉะนั้นต้องพยายามจัดการโอกาสและความเสี่ยงไปพร้อมกัน
อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ผ่านมาจุดเริ่มต้นของความเสี่ยงมาจากสถาบันการเงินในต่างประเทศ ทำให้ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นจนนำไปสู่ความสามารถในการขยายตัวเศรษฐกิจตามมา ทำให้ต่อไปทางการจะมีบทบาทเข้ามากำกับดูแลสถาบันการเงินให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยล่าสุดเตรียมนำหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนตาม บาเซล3 เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินมีเสถียรภาพมากขึ้น พร้อมทั้งมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศระดับสากล (IAS) ซึ่งจะนำมาใช้ในภาคธุรกิจต่างๆ ของไทยปี 56 แต่ในส่วนของภาคการเงินนำมาใช้ในปี 54 นี้ ถือเป็นงานหนักพอควรในแง่ของผู้กำกับสถาบันการเงินจะเน้นการสร้างความเข้าใจเป็นสำคัญ
เงินนอกทะลัก ธปท.หวั่นตลาดการเงินป่วนหลังศก.เริ่มเห็นสัญญาณโงหัว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 มิถุนายน 2553 06:53 น.
..............................................................................................
แบงก์ชาติรับมือความผันผวนในตลาดเงิน หลังเริ่มมีสัญญาณเงินทุนไหลเข้าเอเชียมากขึ้น เหตุนักลงทุนโยกเงินหนีปัญหาวิกฤตในยุโรป มั่นใจเศรษฐกิจไทยปีนี้สามารถก้าวข้ามปัญหาในประเทศได้ พร้อมเดินหน้าเข้าสู่ดอกเบี้ยนโยบาขาขึ้น หากเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) บรรยายพิเศษในหัวข้อ "แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงกฎข้อบังคับทางธุรกิจและการรับมือที่เจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน(CFO) ควรรู้" ว่า ธปท.เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้สามารถก้าวข้ามช่วงความไม่สงบทางการเมืองใน 2 เดือนที่ผ่านมาได้และภาคธุรกิจกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้นจากการได้รับประโยชน์การเติบโตเศรษฐกิจโลกและแรงส่งเศรษฐกิจในไตรมาสแรกที่ขยายตัวกว่า 10% รวมถึงมาตรการภาครัฐที่ผ่อนคลาย ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมในปีนี้ขยายตัวต่อไปได้
"หากเศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่อง อัตราดอกเบี้ยต่ำในระดับช่วง 2 ปีที่ผ่านมาอาจเริ่มเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการอัตราดอกเบี้ยสู่ภาวะปกติมากขึ้น ขณะนี้กำลังดูความสมดุลระหว่างเงื่อนเวลาและความชัดเจนในการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดยขณะนี้เศรษฐกิจไตรมาสแรกก็เป็นตัวสนับสนุนได้ดี ทำให้เชื่อว่าเศรษฐกิจปีนี้ยังไปได้ด้วยดี
ทั้งนี้ ในปีนี้ความผันผวนของตลาดการเงินจะมากขึ้นพิเศษจากเหตุการณ์ต่างๆ นับตั้งแต่ต้นปี ซึ่งความผันผวนดังกล่าวได้กระจายไปในตลาดไม่ได้เจาะจงประเทศใดหรือผลิตภัณฑ์ใด จึงเป็นความท้าทายทั้งในแง่ของการบริหารนโยบายต่างๆ รวมถึงธุรกิจของภาคเอกชน โดยขณะนี้เริ่มเห็นเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามากดดันประเทศในกลุ่มเอเชียบ้างแล้ว ขณะที่ประเทศไทยเองมีเงินไหลเข้าบ้าง แต่ไม่มาก เพราะปัจจัยในประเทศไม่ดึงดูดใจมากนัก หากต่อไปเศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนเชื่อว่าเงินทุนไหลเข้ามากขึ้น
โดยความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นต่อตลาดการเงินในระยะสั้นขณะนี้ ได้แก่ 1.ความไม่ชัดเจนของการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จากปัญหาการว่างงานสูง การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินในต่างประเทศที่ยังไม่เร่งตัวมาก รวมถึงปัญหาหนี้สาธารณะ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก (G3) ซึ่งอาจจะมีพื้นที่ใช้นโยบายการคลังจำกัดมากขึ้น 2.ความคลี่คลายปัญหาหนี้สาธารณะกลุ่มประเทศยุโรป และ3.ความไม่ชัดเจนของทิศทางตัวนโยบายต่างๆของกลุ่มประเทศ G3 ในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะต่อไป
ทั้งนี้ ในแง่ระยะยาวยังไม่รู้ถึงกระบวนการเติบโตเศรษฐกิจโลกว่าอนาคตจะเป็นเช่นไร เดิมทีเอเชียจะเป็นแค่ฝ่ายผลิตและให้ยุโรปหรืออเมริกาซื้อ แต่ขณะนี้กำลังซื้อหายไป ฉะนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ไทยควรต้องหันมาพึ่งพาเงินออมของตัวเองในการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ดี
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาในอีก 2-5 ปีข้างหน้า คือ ที่มาของอัตราการเติบโตเศรษฐกิจโลกจะมาจากหลายพื้นที่มากขึ้น จากเดิมมาจากกลุ่มประเทศ G3 และในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาสัดส่วนของผลผลิต (Output) จากประเทศเกิดขึ้น รวมถึงเอเชียต่อเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้นตามลำดับ ขณะนี้เพิ่มขึ้น 30% จากเดิม 8-10% ขณะที่กลุ่มประเทศ G3 ลดลงตามลำดับทำให้ตลาดคาดหวังในประเทศเอเชียมากกว่ากลุ่ม G3 จากอัตราการเติบโตในเอเชียที่สูงกว่า G3
"ในช่วง 2-5 ปีข้างหน้า ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายจะมีต่อเนื่องและมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งนักลงทุนจะอยู่ระหว่างเปลี่ยนกลับไปในแง่ของการประเมินความเสี่ยงระหว่างกลุ่มประเทศ G3 และประเทศแถบเอเชีย ทำให้พฤติกรรมของรูปแบบการลงทุนเปลี่ยนแปลงไปด้วย ฉะนั้นประเด็นเหล่านี้จะสวิงเป็นช่วงๆ จนกว่านักลงทุนจะมั่นใจ"
นายบัณฑิต กล่าวว่า การขยายตัวเศรษฐกิจเอเชียสูงกว่ากลุ่มประเทศ G3 นี้จะเป็นทั้งโอกาสในพื้นที่เอเชียจะมีธุรกิจมากขึ้น ความเป็นอยู่ของประชากรดีขึ้น และความต้องการสินค้าในเอเชียจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน ขณะเดียวกันความเสี่ยงที่จะตามมา คือ เศรษฐกิจที่เติบโตดีมีผลให้เงินทุนไหลเข้ามาและมีสภาพคล่องในการใช้จ่ายเต็มที่ จึงอาจนำไปสู่วัฎจักรของวิกฤตหรือปัญหาฟองสบู่ในอนาคตได้ ฉะนั้นต้องพยายามจัดการโอกาสและความเสี่ยงไปพร้อมกัน
อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ผ่านมาจุดเริ่มต้นของความเสี่ยงมาจากสถาบันการเงินในต่างประเทศ ทำให้ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นจนนำไปสู่ความสามารถในการขยายตัวเศรษฐกิจตามมา ทำให้ต่อไปทางการจะมีบทบาทเข้ามากำกับดูแลสถาบันการเงินให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยล่าสุดเตรียมนำหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนตาม บาเซล3 เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินมีเสถียรภาพมากขึ้น พร้อมทั้งมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศระดับสากล (IAS) ซึ่งจะนำมาใช้ในภาคธุรกิจต่างๆ ของไทยปี 56 แต่ในส่วนของภาคการเงินนำมาใช้ในปี 54 นี้ ถือเป็นงานหนักพอควรในแง่ของผู้กำกับสถาบันการเงินจะเน้นการสร้างความเข้าใจเป็นสำคัญ
- kakathi
- Verified User
- โพสต์: 186
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 173
ดัชนี PMI ยูโรโซนเดือนพ.ค.ลดลงมาอยู่ที่ 56 จุด แต่ยังมากกว่าที่คาดไว้
รายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอมระบุว่า มาร์กิตอิโคโนมิกส์เปิดเผยวันนี้ว่า
ดัชนีการจัดซื้อในภาคอุตสาหกรรมหรือ PMIของยูโรโซนเดือนพฤษภาคมลดลงมาอยู่ที่ 56 จุด
จาก 56.4 จุด ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าดัชนีPMIจะลดลงมาอยู่ที่ 55.8 จุด ซึ่งดัชนีที่
มากกว่า 50 จุด สะท้อนให้เห็นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม
'ดัชนี PMI อาจลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงเดือนถัดไป โดยเราได้ผ่านช่วงเวลาที่การค้า
โลกขยายตัวอย่างรวดเร็วมาแล้ว และความต้องการของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะเดียวกัน
แนวโน้มเศรษฐกิจไม่ดีนัก' นายคอสตา บรันเนอร์นักเศรษฐศาสตร์ที่เนติซิสกล่าว
อย่างไรก็ตาม อัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้นทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย ซึ่งนั่นทำให้ภาค
ส่งออกเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่กระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ขณะเดียวกันความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ
ยุโรปเดือนพฤษภาคมลดลง หลังนักลงทุนกังวลว่า วิกฤตหนี้กรีซอาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้ม
เศรษฐกิจของภูมิภาค
แปลโดย พิมลพรรณ เพชรแปดริ้ว
เรียบเรียง โดย วรเชษฐ์ พันธ์ภูวงศ์
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
อีเมล์แสดงความคิดเห็น [email protected]
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 23/06/10 เวลา 16:19:54
รายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอมระบุว่า มาร์กิตอิโคโนมิกส์เปิดเผยวันนี้ว่า
ดัชนีการจัดซื้อในภาคอุตสาหกรรมหรือ PMIของยูโรโซนเดือนพฤษภาคมลดลงมาอยู่ที่ 56 จุด
จาก 56.4 จุด ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าดัชนีPMIจะลดลงมาอยู่ที่ 55.8 จุด ซึ่งดัชนีที่
มากกว่า 50 จุด สะท้อนให้เห็นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม
'ดัชนี PMI อาจลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงเดือนถัดไป โดยเราได้ผ่านช่วงเวลาที่การค้า
โลกขยายตัวอย่างรวดเร็วมาแล้ว และความต้องการของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะเดียวกัน
แนวโน้มเศรษฐกิจไม่ดีนัก' นายคอสตา บรันเนอร์นักเศรษฐศาสตร์ที่เนติซิสกล่าว
อย่างไรก็ตาม อัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้นทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย ซึ่งนั่นทำให้ภาค
ส่งออกเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่กระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ขณะเดียวกันความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ
ยุโรปเดือนพฤษภาคมลดลง หลังนักลงทุนกังวลว่า วิกฤตหนี้กรีซอาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้ม
เศรษฐกิจของภูมิภาค
แปลโดย พิมลพรรณ เพชรแปดริ้ว
เรียบเรียง โดย วรเชษฐ์ พันธ์ภูวงศ์
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
อีเมล์แสดงความคิดเห็น [email protected]
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 23/06/10 เวลา 16:19:54
" "
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 174
เอดีบีออกรายงานชี้หยวนอาจกลายเป็นสกุลเงินสำรองทดแทนดอลล์
xBT> CHINA:เอดีบีออกรายงานชี้หยวนอาจกลายเป็นสกุลเงินสำรองทดแทนดอลล์
ฮ่องกง--24 มิ.ย.--รอยเตอร์
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ระบุในรายงานในวันนี้ว่า
หยวนอาจจะกลายเป็นสกุลเงินที่มีการใช้ระหว่างประเทศอย่างรวดเร็ว และ
อาจเป็นสกุลเงินทดแทนดอลลาร์ในทุนสำรองของธนาคารกลาง
"หยวนยังไม่ได้เป็นสกุลเงินสากล แต่อาจจะกลายเป็นสกุลเงินสากล
เร็วกว่าที่หลายคนคาดไว้" เอดีบีระบุในผลการศึกษาร่วมกับสถาบันเอิร์ธของ
มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
"การทำให้หยวนเป็นสกุลเงินสากลมีแนวโน้มที่จะทำให้หยวนกลายเป็น
สกุลเงินทดแทนดอลลาร์ เช่นเดียวกับยูโร และช่วยปรับระบบทุนสำรองทั่วโลก
ไปสู่โครงสร้างทุนสำรองที่ประกอบด้วยเงินหลายสกุล"
รายงานดังกล่าวของเอดีบีในหัวข้อ "ระบบเงินสำรองของโลกในอนาคต
-- มุมมองของเอเชีย" ซึ่งมีการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ 11 คนจากทั่วโลก
ได้รวมถึงนายโจเซฟ สติกลิตซ์ และนายแบร์รี ไอเชงเรน นักวิชาการ
ไม่ได้กำหนดกรอบเวลาว่าหยวนจะเป็นสกุลเงินสำรองเมื่อใด
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า หยวนจะสามารถแปลงค่าเงินได้อย่าง
เต็มที่ภายในปี 2020 ซึ่งเป็นกำหนดเป้าหมายของจีนในการทำให้เซี่ยงไฮ้
เป็นศูนย์การเงินระหว่างประเทศ
ตลาดการเงินโลกมุ่งความสนใจอย่างมากในสัปดาห์นี้ไปที่หยวน
หลังจากที่ธนาคารกลางจีนยืนยันในช่วงสุดสัปดาห์ว่าจะเพิ่มความยืดหยุ่น
ของหยวน หลังจากที่ตรึงค่าหยวนกับดอลลาร์มาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี
หยวนปรับตัวในช่วงกว้างๆในตลาดสปอตนับแต่นั้น แม้ว่าได้แข็งค่า
ขึ้นเพียง 0.2 % เทียบดอลลาร์
รายงานระบุว่าเงินสำรองจำนวนมากของเอเชียจะมีบทบาทสำคัญ
มากขึ้นในการสร้างเสถียรภาพแก่ระบบการเงินโลก แม้ว่ายังคงมีวงเงินสว็อป,
สิทธิพิเศษในการถอนเงิน (SDR) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และ
การกู้ยืมอื่นๆ
วิกฤติการเงินโลก ซึ่งมีต้นตอในตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐ ได้กระตุ้น
ให้มีการหารือกันมากขึ้นในกลุ่มเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายและนักวิชาการต่างๆว่า
โลกไม่ควรจะพึ่งพาสกุลเงินหลักเพียงสกุลเดียว เช่น ดอลลาร์ อีกต่อไป ดังเช่น
ที่ได้ดำเนินการนับตั้งแต่การสิ้นสุดการใช้มาตรฐานทองคำ
นอกจากนี้ รายงานของเอดีบียังยอมรับว่าการใช้มาตรการควบคุมเงินทุน
เป็นเครื่องมือในการสร้างความแข็งแกร่งด้านการจัดการเศรษฐกิจ แต่มีการเตือนว่า
มาตรการดังกล่าวสำหรับการใช้เพียงชั่วคราว และต้องมีการประสานงานกัน
ไต้หวันได้ดำเนินการควบคุมเงินทุนในเดือนพ.ย.2009 และอินโดนีเซีย
ดำเนินมาตรการในการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่
เกาหลีใต้กำลังวางแผนที่จะคุมเข้มข้อจำกัดการซื้อขายตราสารอนุพันธ์สกุลเงิน
สำหรับธนาคารต่างชาติ
รายงานดังกล่าวระบุว่าสกุลเงินเดียวของเอเชียไม่ใช่เป้าหมายที่สอดคล้อง
กับความเป็นจริง และการประสานงานด้านการเงินในภูมิภาคไม่ควรมีการผูกติดค่าเงิน
ในภูมิภาค
กองทุนการเงินระหว่างประเทศเปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปี 2000 ทุนสำรอง
เงินตราระหว่างประเทศของโลกได้เพิ่มขึ้น 6.15 ล้านล้านดอลลาร์ และอยู่ที่
8.09 ล้านล้านดอลลาร์ ณ สิ้นปี 2009 หรือ 14 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน
ประเทศของโลก
จีนและญี่ปุ่นถือครองทุนสำรองของโลกรวมกันราว 43 %--จบ--
(รอยเตอร์ โดย สุนีย์พร เหลือทรัพย์ แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
(([email protected]; โทร 0-2648-9741;
Reuters Messaging; suneeporn.loursup.reuters.com @reuters.net))
xBT> CHINA:เอดีบีออกรายงานชี้หยวนอาจกลายเป็นสกุลเงินสำรองทดแทนดอลล์
ฮ่องกง--24 มิ.ย.--รอยเตอร์
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ระบุในรายงานในวันนี้ว่า
หยวนอาจจะกลายเป็นสกุลเงินที่มีการใช้ระหว่างประเทศอย่างรวดเร็ว และ
อาจเป็นสกุลเงินทดแทนดอลลาร์ในทุนสำรองของธนาคารกลาง
"หยวนยังไม่ได้เป็นสกุลเงินสากล แต่อาจจะกลายเป็นสกุลเงินสากล
เร็วกว่าที่หลายคนคาดไว้" เอดีบีระบุในผลการศึกษาร่วมกับสถาบันเอิร์ธของ
มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
"การทำให้หยวนเป็นสกุลเงินสากลมีแนวโน้มที่จะทำให้หยวนกลายเป็น
สกุลเงินทดแทนดอลลาร์ เช่นเดียวกับยูโร และช่วยปรับระบบทุนสำรองทั่วโลก
ไปสู่โครงสร้างทุนสำรองที่ประกอบด้วยเงินหลายสกุล"
รายงานดังกล่าวของเอดีบีในหัวข้อ "ระบบเงินสำรองของโลกในอนาคต
-- มุมมองของเอเชีย" ซึ่งมีการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ 11 คนจากทั่วโลก
ได้รวมถึงนายโจเซฟ สติกลิตซ์ และนายแบร์รี ไอเชงเรน นักวิชาการ
ไม่ได้กำหนดกรอบเวลาว่าหยวนจะเป็นสกุลเงินสำรองเมื่อใด
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า หยวนจะสามารถแปลงค่าเงินได้อย่าง
เต็มที่ภายในปี 2020 ซึ่งเป็นกำหนดเป้าหมายของจีนในการทำให้เซี่ยงไฮ้
เป็นศูนย์การเงินระหว่างประเทศ
ตลาดการเงินโลกมุ่งความสนใจอย่างมากในสัปดาห์นี้ไปที่หยวน
หลังจากที่ธนาคารกลางจีนยืนยันในช่วงสุดสัปดาห์ว่าจะเพิ่มความยืดหยุ่น
ของหยวน หลังจากที่ตรึงค่าหยวนกับดอลลาร์มาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี
หยวนปรับตัวในช่วงกว้างๆในตลาดสปอตนับแต่นั้น แม้ว่าได้แข็งค่า
ขึ้นเพียง 0.2 % เทียบดอลลาร์
รายงานระบุว่าเงินสำรองจำนวนมากของเอเชียจะมีบทบาทสำคัญ
มากขึ้นในการสร้างเสถียรภาพแก่ระบบการเงินโลก แม้ว่ายังคงมีวงเงินสว็อป,
สิทธิพิเศษในการถอนเงิน (SDR) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และ
การกู้ยืมอื่นๆ
วิกฤติการเงินโลก ซึ่งมีต้นตอในตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐ ได้กระตุ้น
ให้มีการหารือกันมากขึ้นในกลุ่มเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายและนักวิชาการต่างๆว่า
โลกไม่ควรจะพึ่งพาสกุลเงินหลักเพียงสกุลเดียว เช่น ดอลลาร์ อีกต่อไป ดังเช่น
ที่ได้ดำเนินการนับตั้งแต่การสิ้นสุดการใช้มาตรฐานทองคำ
นอกจากนี้ รายงานของเอดีบียังยอมรับว่าการใช้มาตรการควบคุมเงินทุน
เป็นเครื่องมือในการสร้างความแข็งแกร่งด้านการจัดการเศรษฐกิจ แต่มีการเตือนว่า
มาตรการดังกล่าวสำหรับการใช้เพียงชั่วคราว และต้องมีการประสานงานกัน
ไต้หวันได้ดำเนินการควบคุมเงินทุนในเดือนพ.ย.2009 และอินโดนีเซีย
ดำเนินมาตรการในการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่
เกาหลีใต้กำลังวางแผนที่จะคุมเข้มข้อจำกัดการซื้อขายตราสารอนุพันธ์สกุลเงิน
สำหรับธนาคารต่างชาติ
รายงานดังกล่าวระบุว่าสกุลเงินเดียวของเอเชียไม่ใช่เป้าหมายที่สอดคล้อง
กับความเป็นจริง และการประสานงานด้านการเงินในภูมิภาคไม่ควรมีการผูกติดค่าเงิน
ในภูมิภาค
กองทุนการเงินระหว่างประเทศเปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปี 2000 ทุนสำรอง
เงินตราระหว่างประเทศของโลกได้เพิ่มขึ้น 6.15 ล้านล้านดอลลาร์ และอยู่ที่
8.09 ล้านล้านดอลลาร์ ณ สิ้นปี 2009 หรือ 14 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน
ประเทศของโลก
จีนและญี่ปุ่นถือครองทุนสำรองของโลกรวมกันราว 43 %--จบ--
(รอยเตอร์ โดย สุนีย์พร เหลือทรัพย์ แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
(([email protected]; โทร 0-2648-9741;
Reuters Messaging; suneeporn.loursup.reuters.com @reuters.net))
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 175
พลังงานมะกัน คาดน้ำมันร่วง ช่วงครึ่งปีหลัง
ไทยรัฐ วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2553
หัวหน้าเศรษฐศาสตร์พลังงานมะกัน คาดครึ่งหลังของปีราคาน้ำมันโลกจะปรับตัวลดลง หลังความต้องการใช้ลดลง 8.3% จากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในยุโรปและสหรัฐ
นายอดัม ไซมินสกี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์พลังงานของดอยซ์แบงก์ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีว่า น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากที่หลายประเทศจะพยายามทำให้เศรษฐกิจของตนหลุดพ้นจากความถดถอย ดังนั้น ราคาน้ำมันจะมีระดับเฉลี่ยประมาณ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในช่วงไตรมาสที่ 3 และอาจขยับขึ้นไปที่ 70 เหรียญฯต่อบาร์เรลในไตรมาสที่ 4
ก่อนหน้านี้ กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ปรับลดคำทำนายความต้องการ และราคาน้ำมันดิบประจำปีนี้ โดยคาดว่าการบริโภคทั่วโลกจะอยู่ที่ 85.51 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากเดิมที่คาดไว้ 85.55ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ชี้ว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยุโรปและสหรัฐฯซึ่งยังไม่หลุดพ้นภาวะถดถอยจริงๆ โดยเห็นได้จากกรณีที่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ยังตรึงอัตราดอกเบี้ยต่ำ ที่ระดับ 0-0.25% ไว้ต่อไป จะส่งผลให้การบริโภคน้ำมันดิบชะลอตัวลง
ทั้งนี้ ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานสหรัฐฯชี้ว่าการบริโภคน้ำมันในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม 30 ชาติ ซึ่งเป็นสมาชิกองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) จะมีระดับเฉลี่ย 45.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลง 8.3% จากสถิติที่เคยทำไว้สูงสุดในปี 2549 ที่ระดับ 49.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ไทยรัฐ วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2553
หัวหน้าเศรษฐศาสตร์พลังงานมะกัน คาดครึ่งหลังของปีราคาน้ำมันโลกจะปรับตัวลดลง หลังความต้องการใช้ลดลง 8.3% จากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในยุโรปและสหรัฐ
นายอดัม ไซมินสกี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์พลังงานของดอยซ์แบงก์ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีว่า น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากที่หลายประเทศจะพยายามทำให้เศรษฐกิจของตนหลุดพ้นจากความถดถอย ดังนั้น ราคาน้ำมันจะมีระดับเฉลี่ยประมาณ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในช่วงไตรมาสที่ 3 และอาจขยับขึ้นไปที่ 70 เหรียญฯต่อบาร์เรลในไตรมาสที่ 4
ก่อนหน้านี้ กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ปรับลดคำทำนายความต้องการ และราคาน้ำมันดิบประจำปีนี้ โดยคาดว่าการบริโภคทั่วโลกจะอยู่ที่ 85.51 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากเดิมที่คาดไว้ 85.55ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ชี้ว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยุโรปและสหรัฐฯซึ่งยังไม่หลุดพ้นภาวะถดถอยจริงๆ โดยเห็นได้จากกรณีที่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ยังตรึงอัตราดอกเบี้ยต่ำ ที่ระดับ 0-0.25% ไว้ต่อไป จะส่งผลให้การบริโภคน้ำมันดิบชะลอตัวลง
ทั้งนี้ ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานสหรัฐฯชี้ว่าการบริโภคน้ำมันในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม 30 ชาติ ซึ่งเป็นสมาชิกองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) จะมีระดับเฉลี่ย 45.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลง 8.3% จากสถิติที่เคยทำไว้สูงสุดในปี 2549 ที่ระดับ 49.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 176
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 146.75 จุด ขานรับผลประกอบการ อัลโค อิงค์
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 14 กรกฎาคม 2553 06:38:03 น.
ดัชนีดาวโจนส์ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 140 จุดเมื่อคืนนี้ (13 ก.ค.) หลังจากบริษัท อัลโค อิงค์ และบริษัท ซีเอสเอ็กซ์ คอร์ป รายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาด ซึ่งช่วยให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าผลประกอบการของบริษัทอื่นๆจะออกมาสดใสเช่น กัน โดยตลาดหุ้นนิวยอร์กสามารถปิดบวกติดต่อกัน 6 วันทำการ แม้ทางการสหรัฐเปิดเผยยอดขาดดุลการค้าที่พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 18 เดือน และมูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของโปรตุเกสก็ตาม
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์พุ่งขึ้น 146.75 จุด หรือ 1.44% ปิดที่ 10,363.02 จุด ดัชนี S&P 500 ดีดขึ้น 16.59 จุด หรือ 1.54% ปิดที่ 1,095.34 จุด และดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้น 43.67 จุด หรือ 1.99% ปิดที่ 2,242.03 จุด
ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่ที่ราว 8.55 พันล้านหุ้น มีจำนวนหุ้นบวกมากกว่าหุ้นลบในอัตราส่วน 2,644 ต่อ 387 ส่วนปริมาณการซื้อขายในตลาด Nasdaq มีอยู่ราว 9.65 พันล้านหุ้น
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างคึกคัก เนื่องจากนักลงทุนเชื่อมั่นว่าฤดูการรายงานผลประกอบการช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ ภาคเอกชนจะมีผลประกอบการที่สดใส หลังจากเมื่อวานนี้ อัลโค อิงค์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตอลูมิเนียมรายใหญ่ของโลก เปิดเผยว่า รายได้สุทธิประจำไตรมาส 2 มีอยู่ทั้งสิ้น 136 ล้านดอลลาร์ หรือ 13 เซนต์ต่อหุ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปีที่แล้วที่บริษัทขาดทุน 454 ล้านดอลลาร์ หรือ 47 เซนต์ต่อหุ้น ส่วนตัวเลขกำไรปรับตัวเพิ่มขึ้น 22% สู่ระดับ 5.2 พันล้านดอลลาร์ จากไตรมาสแรกที่ระดับ 4.24 พันล้านดอลลาร์
ผลประกอบการของอัลโคเป็นปัจจัยบ่งชี้ทิศทางของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากอัลโคมีฐานลูกค้าที่หลากหลาย ตั้งแต่อุตสาหกรรมผลิตกระป๋องบรรจุเครื่องดื่มไปจนถึงบริษัทผลิตเครื่องบิน โดยปัจจัยที่ทำให้ผลประกอบการของอัลโคทะยานขึ้นแข็งแกร่งในไตรมาส 2 มาจากยอดขายอลูมิเนียมที่ใช้ในรถยนต์ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมก่อสร้าง
นอกจากนี้ อัลโคได้ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการใช้อลูมิเนียมทั่วโลกในปีนี้ว่า จะเพิ่มขึ้น 12% มากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 10% เนื่องจากตลาดยานยนต์ทั้งในอเมริกาเหนือและจีนต่างก็ต้องการอลูมิเนียมมาก ขึ้นในปีนี้ แม้ยอดขายรถยนต์ชะลอตัวลงเมื่อไม่นานมานี้ก็ตาม อย่างไรก็ตาม อัลโคคาดว่ายอดขายอลูมิเนียมในตลาดยานยนต์ยุโรปมีแนวโน้มร่วงลงถึง 8% เนื่องจากเศรษฐกิจยุโรปถูกกระทบจากวิกฤตการณ์การเงิน
นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนหลังจากบริษัท ซีเอสเอ็กซ์ คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างทางรถไฟรายใหญ่ของสหรัฐ รายงานผลประกอบการที่ดีเกินคาดในไตรมาส 2 และยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ผลประกอบการตลอดปี 2553 ด้วย ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นในแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐมากขึ้น
ภายหลังจากตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทำการแล้ว บริษัท อินเทล คอร์ป รายงานว่า รายได้สุทธิไตรมาส 2 ปีนี้ อยู่ที่ 2.9 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ ขณะที่ผลกำไรเพิ่มขึ้น 34% เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 1.08 หมื่นล้านดอลลาร์ และรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ระดับ 4 พันล้านดอลลาร์
ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกัน 6 วันทำการเมื่อคืนนี้ แม้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขาดดุลการค้าเดือนพ.ค.ของสหรัฐพุ่งขึ้น 4.8% สู่ระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือนที่ 4.23 หมื่นล้านดอลลาร์ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้กระตุ้นดีมานด์การนำเข้าสินค้าจากต่าง ประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงรถยนต์ คอมพิวเตอร์ และเสื้อผ้า
นอกจากนี้ ตลาดยังสามารถต้านทานปัจจัยลบจากข่าวที่ว่ามูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของโปรตุเกสลงสู่ระดับ A1 โดยมูดี้ส์ระบุว่า การลดอันดับความน่าเชื่อถือของโปรตุเกสลง 2 ขั้นในครั้งนี้เป็นผลมาจากสถานะทางการเงินของโปรตุเกสมีแนวโน้มอ่อนแอลงใน ระยะกลาง
หุ้นอัลโคปิดบวก 13 เซนต์ แตะที่ 11 ดอลลาร์ หุ้นซีเอสเอ็กซ์ปิดลบ 74 เซนต์ แตะที่ 51.72 ดอลลาร์ หุ้นอินเทลปิดพุ่ง 44 เซนต์ แตะที่ 21.01 ดอลลาร์ ส่วนหุ้นแอปเปิลปิดร่วง 2.1%
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ โดยวันพุธ กระทรวงพาณิชย์จะเปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนมิ.ย.และตัวเลขสต็อกสินค้าคงคลังภาค ธุรกิจเดือนพ.ค. ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเปิดเผยรายงานการประชุมเมื่อวันที่ 22-23 มิ.ย.
วันพฤหัสบดี กระทรวงแรงงานจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่เฟดสาขานิวยอร์กจะเปิดเผยดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) เดือนก.ค.รวมทั้งข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต เดือนมิ.ย. และกระทรวงแรงงานจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิ.ย.
ส่วนวันศุกร์ กระทรวงแรงงานจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิ.ย.และกระทรวงการคลังจะเปิดเผยข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิและปริมาณ การซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของต่างชาติเดือนพ.ค.
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช ---
http://www.ryt9.com/s/iq05/940901
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 14 กรกฎาคม 2553 06:38:03 น.
ดัชนีดาวโจนส์ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 140 จุดเมื่อคืนนี้ (13 ก.ค.) หลังจากบริษัท อัลโค อิงค์ และบริษัท ซีเอสเอ็กซ์ คอร์ป รายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาด ซึ่งช่วยให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าผลประกอบการของบริษัทอื่นๆจะออกมาสดใสเช่น กัน โดยตลาดหุ้นนิวยอร์กสามารถปิดบวกติดต่อกัน 6 วันทำการ แม้ทางการสหรัฐเปิดเผยยอดขาดดุลการค้าที่พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 18 เดือน และมูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของโปรตุเกสก็ตาม
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์พุ่งขึ้น 146.75 จุด หรือ 1.44% ปิดที่ 10,363.02 จุด ดัชนี S&P 500 ดีดขึ้น 16.59 จุด หรือ 1.54% ปิดที่ 1,095.34 จุด และดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้น 43.67 จุด หรือ 1.99% ปิดที่ 2,242.03 จุด
ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่ที่ราว 8.55 พันล้านหุ้น มีจำนวนหุ้นบวกมากกว่าหุ้นลบในอัตราส่วน 2,644 ต่อ 387 ส่วนปริมาณการซื้อขายในตลาด Nasdaq มีอยู่ราว 9.65 พันล้านหุ้น
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างคึกคัก เนื่องจากนักลงทุนเชื่อมั่นว่าฤดูการรายงานผลประกอบการช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ ภาคเอกชนจะมีผลประกอบการที่สดใส หลังจากเมื่อวานนี้ อัลโค อิงค์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตอลูมิเนียมรายใหญ่ของโลก เปิดเผยว่า รายได้สุทธิประจำไตรมาส 2 มีอยู่ทั้งสิ้น 136 ล้านดอลลาร์ หรือ 13 เซนต์ต่อหุ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปีที่แล้วที่บริษัทขาดทุน 454 ล้านดอลลาร์ หรือ 47 เซนต์ต่อหุ้น ส่วนตัวเลขกำไรปรับตัวเพิ่มขึ้น 22% สู่ระดับ 5.2 พันล้านดอลลาร์ จากไตรมาสแรกที่ระดับ 4.24 พันล้านดอลลาร์
ผลประกอบการของอัลโคเป็นปัจจัยบ่งชี้ทิศทางของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากอัลโคมีฐานลูกค้าที่หลากหลาย ตั้งแต่อุตสาหกรรมผลิตกระป๋องบรรจุเครื่องดื่มไปจนถึงบริษัทผลิตเครื่องบิน โดยปัจจัยที่ทำให้ผลประกอบการของอัลโคทะยานขึ้นแข็งแกร่งในไตรมาส 2 มาจากยอดขายอลูมิเนียมที่ใช้ในรถยนต์ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมก่อสร้าง
นอกจากนี้ อัลโคได้ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการใช้อลูมิเนียมทั่วโลกในปีนี้ว่า จะเพิ่มขึ้น 12% มากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 10% เนื่องจากตลาดยานยนต์ทั้งในอเมริกาเหนือและจีนต่างก็ต้องการอลูมิเนียมมาก ขึ้นในปีนี้ แม้ยอดขายรถยนต์ชะลอตัวลงเมื่อไม่นานมานี้ก็ตาม อย่างไรก็ตาม อัลโคคาดว่ายอดขายอลูมิเนียมในตลาดยานยนต์ยุโรปมีแนวโน้มร่วงลงถึง 8% เนื่องจากเศรษฐกิจยุโรปถูกกระทบจากวิกฤตการณ์การเงิน
นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนหลังจากบริษัท ซีเอสเอ็กซ์ คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างทางรถไฟรายใหญ่ของสหรัฐ รายงานผลประกอบการที่ดีเกินคาดในไตรมาส 2 และยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ผลประกอบการตลอดปี 2553 ด้วย ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นในแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐมากขึ้น
ภายหลังจากตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทำการแล้ว บริษัท อินเทล คอร์ป รายงานว่า รายได้สุทธิไตรมาส 2 ปีนี้ อยู่ที่ 2.9 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ ขณะที่ผลกำไรเพิ่มขึ้น 34% เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 1.08 หมื่นล้านดอลลาร์ และรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ระดับ 4 พันล้านดอลลาร์
ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกัน 6 วันทำการเมื่อคืนนี้ แม้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขาดดุลการค้าเดือนพ.ค.ของสหรัฐพุ่งขึ้น 4.8% สู่ระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือนที่ 4.23 หมื่นล้านดอลลาร์ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้กระตุ้นดีมานด์การนำเข้าสินค้าจากต่าง ประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงรถยนต์ คอมพิวเตอร์ และเสื้อผ้า
นอกจากนี้ ตลาดยังสามารถต้านทานปัจจัยลบจากข่าวที่ว่ามูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของโปรตุเกสลงสู่ระดับ A1 โดยมูดี้ส์ระบุว่า การลดอันดับความน่าเชื่อถือของโปรตุเกสลง 2 ขั้นในครั้งนี้เป็นผลมาจากสถานะทางการเงินของโปรตุเกสมีแนวโน้มอ่อนแอลงใน ระยะกลาง
หุ้นอัลโคปิดบวก 13 เซนต์ แตะที่ 11 ดอลลาร์ หุ้นซีเอสเอ็กซ์ปิดลบ 74 เซนต์ แตะที่ 51.72 ดอลลาร์ หุ้นอินเทลปิดพุ่ง 44 เซนต์ แตะที่ 21.01 ดอลลาร์ ส่วนหุ้นแอปเปิลปิดร่วง 2.1%
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ โดยวันพุธ กระทรวงพาณิชย์จะเปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนมิ.ย.และตัวเลขสต็อกสินค้าคงคลังภาค ธุรกิจเดือนพ.ค. ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเปิดเผยรายงานการประชุมเมื่อวันที่ 22-23 มิ.ย.
วันพฤหัสบดี กระทรวงแรงงานจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่เฟดสาขานิวยอร์กจะเปิดเผยดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) เดือนก.ค.รวมทั้งข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต เดือนมิ.ย. และกระทรวงแรงงานจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิ.ย.
ส่วนวันศุกร์ กระทรวงแรงงานจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิ.ย.และกระทรวงการคลังจะเปิดเผยข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิและปริมาณ การซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของต่างชาติเดือนพ.ค.
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช ---
http://www.ryt9.com/s/iq05/940901
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 177
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ดิ่ง 261.41 จุด หลังดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐร่วงเกินคาด
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 17 กรกฎาคม 2553 06:31:38 น.
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (16 ก.ค.) หลังจากมีรายงานว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค.ของสหรัฐร่วงลงเกินคาด เนื่องจากผู้บริโภควิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจและการจ้างงาน นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันจากรายงานผลประกอบการที่อ่อนแอของซิตี้กรุ๊ป และแบงค์ ออฟ อเมริกา
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 261.41 จุด หรือ 2.5% ปิดที่ 10,097.90 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 31.60 จุด หรือ 2.9% ปิดที่ 1,064.88 จุด และดัชนี Nasdaq ดิ่งลง 70.03 จุด หรือ 3.1% ปิดที่ 2,179.05 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กร่วงลงหลังจากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นในเดือนก.ค. ร่วงลงสู่ระดับ 66.5 จุด จากเดือนมิ.ย.ที่ระดับ 76.0 จุด ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ที่ 74.5 จุด เนื่องจากผู้บริโภคมีความวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ร่วงลงเกินคาดในเดือนก.ย.สะท้อนให้เห็นว่า ชาวอเมริกันวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและอัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูง ภาวะความเชื่อมั่นที่ถดถอยเช่นนี้อาจทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย ซึ่งจะยิ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า เนื่องจากตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมในสหรัฐ
นักลงทุนผิดหวังต่อรายงานผลประกอบการที่อ่อนแอของซิตี้กรุ๊ป และแบงค์ ออฟ อเมริกา โดยราคาหุ้นซิตี้กรุ๊ปร่วงลง 6.25% หลังจากธนาคารเปิดเผยกำไรไตรมาส 2 ลดลง 38% มาอยู่ที่ระดับ 2.73 พันล้านดอลลาร์ หรือ 9 เซนต์ต่อหุ้น ขณะที่หุ้นแบงค์ ออฟ อเมริกา ร่วงลง 9.16% หลังจากธนาคารเปิดเผยกำไรไตรมาส 2 ลดลง 75% จากไตรมาสแรก มาอยู่ที่ระดับ 1.2 พันล้านดอลลาร์
หุ้นกูเกิลดิ่งลง 7% หลังจากกูเกิลเปิดเผยว่า กำไรไตรมาส 2 ที่ระดับ 1.84 พันล้านดอลลาร์ หรือ 5.71 ดอลลาร์/หุ้น ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน เพิ่มขึ้น 24% จากระดับ 1.48 พันล้านดอลลาร์ หรือ 4.66 ดอลลาร์/หุ้น ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งยังน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 6.52 ดอลลาร์/หุ้น
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนคลายความวิตกกังวลหลังจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) เปิดเผยว่า โกลด์แมน แซคส์ ยอมจ่ายค่าปรับ 550 ล้านดอลลาร์เพื่อยุติคดีแพ่งในข้อหาปิดบังข้อมูลที่สำคัญแก่นักลงทุนเกี่ยวกับตราสารหนี้ "ABACUS 2007-AC1" ซึ่งเป็นตราสารซีดีโอ หรือตราสารหนี้ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้หุ้นโกลด์แมน แซคส์ เป็นหุ้นเพียงไม่กี่ตัวในกลุ่มการเงินที่ปิดในแดนบวก
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดเงินเฟ้อ ลดลง 0.1% ในเดือนมิ.ย. ทำสถิติลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะทรงตัวจากระดับของเดือนพ.ค. เนื่องจากต้นทุนด้านพลังงาน อาหาร และค่าธรรมเนียมสายการบิน ปรับตัวลดลง
http://www.ryt9.com/s/iq05/943357
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 17 กรกฎาคม 2553 06:31:38 น.
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (16 ก.ค.) หลังจากมีรายงานว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค.ของสหรัฐร่วงลงเกินคาด เนื่องจากผู้บริโภควิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจและการจ้างงาน นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันจากรายงานผลประกอบการที่อ่อนแอของซิตี้กรุ๊ป และแบงค์ ออฟ อเมริกา
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 261.41 จุด หรือ 2.5% ปิดที่ 10,097.90 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 31.60 จุด หรือ 2.9% ปิดที่ 1,064.88 จุด และดัชนี Nasdaq ดิ่งลง 70.03 จุด หรือ 3.1% ปิดที่ 2,179.05 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กร่วงลงหลังจากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นในเดือนก.ค. ร่วงลงสู่ระดับ 66.5 จุด จากเดือนมิ.ย.ที่ระดับ 76.0 จุด ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ที่ 74.5 จุด เนื่องจากผู้บริโภคมีความวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ร่วงลงเกินคาดในเดือนก.ย.สะท้อนให้เห็นว่า ชาวอเมริกันวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและอัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูง ภาวะความเชื่อมั่นที่ถดถอยเช่นนี้อาจทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย ซึ่งจะยิ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า เนื่องจากตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมในสหรัฐ
นักลงทุนผิดหวังต่อรายงานผลประกอบการที่อ่อนแอของซิตี้กรุ๊ป และแบงค์ ออฟ อเมริกา โดยราคาหุ้นซิตี้กรุ๊ปร่วงลง 6.25% หลังจากธนาคารเปิดเผยกำไรไตรมาส 2 ลดลง 38% มาอยู่ที่ระดับ 2.73 พันล้านดอลลาร์ หรือ 9 เซนต์ต่อหุ้น ขณะที่หุ้นแบงค์ ออฟ อเมริกา ร่วงลง 9.16% หลังจากธนาคารเปิดเผยกำไรไตรมาส 2 ลดลง 75% จากไตรมาสแรก มาอยู่ที่ระดับ 1.2 พันล้านดอลลาร์
หุ้นกูเกิลดิ่งลง 7% หลังจากกูเกิลเปิดเผยว่า กำไรไตรมาส 2 ที่ระดับ 1.84 พันล้านดอลลาร์ หรือ 5.71 ดอลลาร์/หุ้น ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน เพิ่มขึ้น 24% จากระดับ 1.48 พันล้านดอลลาร์ หรือ 4.66 ดอลลาร์/หุ้น ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งยังน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 6.52 ดอลลาร์/หุ้น
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนคลายความวิตกกังวลหลังจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) เปิดเผยว่า โกลด์แมน แซคส์ ยอมจ่ายค่าปรับ 550 ล้านดอลลาร์เพื่อยุติคดีแพ่งในข้อหาปิดบังข้อมูลที่สำคัญแก่นักลงทุนเกี่ยวกับตราสารหนี้ "ABACUS 2007-AC1" ซึ่งเป็นตราสารซีดีโอ หรือตราสารหนี้ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้หุ้นโกลด์แมน แซคส์ เป็นหุ้นเพียงไม่กี่ตัวในกลุ่มการเงินที่ปิดในแดนบวก
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดเงินเฟ้อ ลดลง 0.1% ในเดือนมิ.ย. ทำสถิติลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะทรงตัวจากระดับของเดือนพ.ค. เนื่องจากต้นทุนด้านพลังงาน อาหาร และค่าธรรมเนียมสายการบิน ปรับตัวลดลง
http://www.ryt9.com/s/iq05/943357
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
news
โพสต์ที่ 178
กระทรวงพาณิชย์ ปรับเป้าส่งออกปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 19%
Posted on Wednesday, July 21, 2010
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า การส่งออกของไทยเดือนมิถุนายน มีมูลค่า 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัว 46.3% ซึ่งเป็นการเร่งตัวขึ้นจากเดือนพฤษภาคมที่ขยายตัว 42.1% ซึ่งการส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายนนับเป็นตัวเลขการส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการเก็บสถิติการส่งออก โดยสินค้าทุกหมวดขยายตัวเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันปีก่อน เช่น สินค้าเกษตรอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้น 33.3% สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญเพิ่มขึ้น 52.6% และสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้น 35.3% ส่งผลให้การส่งออกครึ่งปีแรก นับตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน มีมูลค่ารวม 93,066 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัว 36.6%
ทั้งนี้ การส่งออกของไทยช่วงครึ่งปีแรกที่ขยายตัวต่อเนื่อง ทำให้กระทรวงพาณิชย์ ตัดสินใจปรับประมาณการการส่งออกในปีนี้ เพิ่มเป็นขยายตัว 19% มีมูลค่า 1.83 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดิมที่คาดจะขยายตัวเพียง 14% หลังมั่นใจแนวโน้มการส่งออกครึ่งปีหลัง จะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยมั่นใจว่าจะสามารถรักษาฐานตลาดเก่า และใหม่ไว้ได้ ประกอบกับกระทรวงพาณิชย์ได้มีการกระตุ้นการส่งออก และมีการเจาะกลุ่มตลาดสินค้าในเชิงลึกมากขึ้น
ส่วนการนำเข้าเดือนมิถุนายนมีมูลค่า 15,1716 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 37.9% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคมที่ขยายตัว 55.1% แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้นหากเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน
จากการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 21.4% สินค้าทุนนำเข้าเพิ่มขึ้น 45.5% สินค้าวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง เพิ่มขึ้น 122.5% สำหรับการนำเข้า 6 เดือน มีมูลค่า 86,689 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 51.7%
สำหรับดุลการค้าในเดือนมิถุนายนเกินดุลการค้า 2,322 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ครึ่งปีแรกไทยเกินดุลการค้ารวม 6,378 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
Posted on Wednesday, July 21, 2010
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า การส่งออกของไทยเดือนมิถุนายน มีมูลค่า 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัว 46.3% ซึ่งเป็นการเร่งตัวขึ้นจากเดือนพฤษภาคมที่ขยายตัว 42.1% ซึ่งการส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายนนับเป็นตัวเลขการส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการเก็บสถิติการส่งออก โดยสินค้าทุกหมวดขยายตัวเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันปีก่อน เช่น สินค้าเกษตรอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้น 33.3% สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญเพิ่มขึ้น 52.6% และสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้น 35.3% ส่งผลให้การส่งออกครึ่งปีแรก นับตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน มีมูลค่ารวม 93,066 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัว 36.6%
ทั้งนี้ การส่งออกของไทยช่วงครึ่งปีแรกที่ขยายตัวต่อเนื่อง ทำให้กระทรวงพาณิชย์ ตัดสินใจปรับประมาณการการส่งออกในปีนี้ เพิ่มเป็นขยายตัว 19% มีมูลค่า 1.83 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดิมที่คาดจะขยายตัวเพียง 14% หลังมั่นใจแนวโน้มการส่งออกครึ่งปีหลัง จะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยมั่นใจว่าจะสามารถรักษาฐานตลาดเก่า และใหม่ไว้ได้ ประกอบกับกระทรวงพาณิชย์ได้มีการกระตุ้นการส่งออก และมีการเจาะกลุ่มตลาดสินค้าในเชิงลึกมากขึ้น
ส่วนการนำเข้าเดือนมิถุนายนมีมูลค่า 15,1716 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 37.9% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคมที่ขยายตัว 55.1% แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้นหากเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน
จากการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 21.4% สินค้าทุนนำเข้าเพิ่มขึ้น 45.5% สินค้าวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง เพิ่มขึ้น 122.5% สำหรับการนำเข้า 6 เดือน มีมูลค่า 86,689 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 51.7%
สำหรับดุลการค้าในเดือนมิถุนายนเกินดุลการค้า 2,322 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ครึ่งปีแรกไทยเกินดุลการค้ารวม 6,378 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 179
ธปท.ชี้ทุนนอกทะลักไทย ดักทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น
ทันหุ้น แบงก์ชาติยันบาทไทยมีเสถียรภาพแข่งขันได้ แม้ปีนี้แข็งค่าแล้ว 3.2% แต่น้อยกว่าเพื่อนบ้าน ชี้แนวโน้มเงินทุนไหลเข้าไทยยังมีต่อเนื่อง เหตุดอกเบี้ยเริ่มปรับขึ้น ชี้กรกฎาคม เงินไหลเข้าไทยแล้ว 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมเตือนนักลงทุนระวังกองทุนเก็งกำไร
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าขณะนี้ค่าเงินบาทของไทยยังมีเสถียรภาพ และอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ โดยหากดูจากการส่งออกจะเห็นว่ายังขยายตัวในอัตราสูง อย่างไรก็ตามหากค่าเงินบาทมีความผันผวนธปท.ก็พร้อมจะเข้าไปดูแล
"ความสามารถในการแข่งขัน คิดว่าของไทยก็ยังแข็งขันได้ ค่าเงินบาทค่อนข้างมี เสถียรภาพ ถ้าเมื่อไหร่ที่มีผันผวนมาก เราก็เข้าไปบ้าง" นางสุชาดา กล่าว
โดยตั้งแต่ต้นปี เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาประมาณ 3.2% ซึ่งอยู่ในระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับริงกิตมาเลเซีย ที่แข็งค่าขึ้น 6.8% และดอลลาร์สิงคโปร์ แข็งค่า 2.3%
อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในช่วงต่อไป เนื่องจาก ยังมีโอกาสที่ไทยจะเกินดุลการค้า และมีกระแสเงินทุนไหลเข้าได้อีก โดยขณะนี้นักลงทุน เริ่มกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้มากขึ้น แม้มีแนวโน้มการปรับ ดอกเบี้ยขึ้น แต่เศรษฐกิจในภูมิภาคและเศรษฐกิจไทยที่ยังดีอยู่ เป็นตัวดึงดูดให้มี เงินทุนไหลเข้า
เงินทุนไหลเข้าเริ่มกลับเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเอเชียแข็งแกร่ง ให้ผลตอบแทนดี โดยเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตราสารหนี้ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะปรับเพิ่มขึ้นะ 0.25% ซึ่งเงินทุนที่ไหลเข้ามานี้ ส่วนหนึ่งมาจากกองทุนเก็งกำไร โดยตั้งแต่ 1-16 กรกฎาคม มีเงินทุนไหลเข้าไทยสุทธิ 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นางสุชาดา กล่าว
ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีเงินไหลเข้าในเอเชีย 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งหลายประเทศในเอเชียได้ออกมาตรการกำกับดูแลไม่ให้มีการกู้ยืมมากเกินไป และให้ระมัดระวังกองทุนเก็งกำไร หลังจากที่เคยประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศไทยต้องระวังส่วนนี้เช่นกัน รวมทั้งต้องรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจให้มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันเศรษฐกิจของประเทศได้
ส่วนเงินที่ไหลเข้ามา จะเป็นการเก็งกำไรหรือไม่นั้น ยอมรับว่าคงต้องมีบ้างบางส่วน ซึ่งสิ่งสำคัญของไทย คือจะต้องสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้ดี และน่าเชื่อถือ ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันการเก็งกำไรได้
จากนี้ไปความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ จะมีมากขึ้น จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เท่ากัน การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ ไม่เท่ากัน และมุมมองทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ซึ่งโดยรวมแล้วเศรษฐกิจของเอเชีย ยังคงโดดเด่นอยู่ จึงทำให้ยังมีแนวโน้มที่เงินจะไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย นางสุชาดา กล่าว
ทันหุ้น แบงก์ชาติยันบาทไทยมีเสถียรภาพแข่งขันได้ แม้ปีนี้แข็งค่าแล้ว 3.2% แต่น้อยกว่าเพื่อนบ้าน ชี้แนวโน้มเงินทุนไหลเข้าไทยยังมีต่อเนื่อง เหตุดอกเบี้ยเริ่มปรับขึ้น ชี้กรกฎาคม เงินไหลเข้าไทยแล้ว 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมเตือนนักลงทุนระวังกองทุนเก็งกำไร
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าขณะนี้ค่าเงินบาทของไทยยังมีเสถียรภาพ และอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ โดยหากดูจากการส่งออกจะเห็นว่ายังขยายตัวในอัตราสูง อย่างไรก็ตามหากค่าเงินบาทมีความผันผวนธปท.ก็พร้อมจะเข้าไปดูแล
"ความสามารถในการแข่งขัน คิดว่าของไทยก็ยังแข็งขันได้ ค่าเงินบาทค่อนข้างมี เสถียรภาพ ถ้าเมื่อไหร่ที่มีผันผวนมาก เราก็เข้าไปบ้าง" นางสุชาดา กล่าว
โดยตั้งแต่ต้นปี เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาประมาณ 3.2% ซึ่งอยู่ในระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับริงกิตมาเลเซีย ที่แข็งค่าขึ้น 6.8% และดอลลาร์สิงคโปร์ แข็งค่า 2.3%
อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในช่วงต่อไป เนื่องจาก ยังมีโอกาสที่ไทยจะเกินดุลการค้า และมีกระแสเงินทุนไหลเข้าได้อีก โดยขณะนี้นักลงทุน เริ่มกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้มากขึ้น แม้มีแนวโน้มการปรับ ดอกเบี้ยขึ้น แต่เศรษฐกิจในภูมิภาคและเศรษฐกิจไทยที่ยังดีอยู่ เป็นตัวดึงดูดให้มี เงินทุนไหลเข้า
เงินทุนไหลเข้าเริ่มกลับเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเอเชียแข็งแกร่ง ให้ผลตอบแทนดี โดยเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตราสารหนี้ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะปรับเพิ่มขึ้นะ 0.25% ซึ่งเงินทุนที่ไหลเข้ามานี้ ส่วนหนึ่งมาจากกองทุนเก็งกำไร โดยตั้งแต่ 1-16 กรกฎาคม มีเงินทุนไหลเข้าไทยสุทธิ 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นางสุชาดา กล่าว
ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีเงินไหลเข้าในเอเชีย 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งหลายประเทศในเอเชียได้ออกมาตรการกำกับดูแลไม่ให้มีการกู้ยืมมากเกินไป และให้ระมัดระวังกองทุนเก็งกำไร หลังจากที่เคยประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศไทยต้องระวังส่วนนี้เช่นกัน รวมทั้งต้องรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจให้มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันเศรษฐกิจของประเทศได้
ส่วนเงินที่ไหลเข้ามา จะเป็นการเก็งกำไรหรือไม่นั้น ยอมรับว่าคงต้องมีบ้างบางส่วน ซึ่งสิ่งสำคัญของไทย คือจะต้องสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้ดี และน่าเชื่อถือ ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันการเก็งกำไรได้
จากนี้ไปความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ จะมีมากขึ้น จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เท่ากัน การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ ไม่เท่ากัน และมุมมองทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ซึ่งโดยรวมแล้วเศรษฐกิจของเอเชีย ยังคงโดดเด่นอยู่ จึงทำให้ยังมีแนวโน้มที่เงินจะไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย นางสุชาดา กล่าว
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 180
ผลการทดสอบภาวะวิกฤตธนาคารยุโรปชี้ มีธนาคารเพียง 7 แห่งที่ไม่ผ่านการทดสอบ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 24 กรกฎาคม 2553 05:59:23 น.
คณะกรรมการ กำกับดูแลภาคการธนาคารของสหภาพยุโรป (CEBS) ได้เปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤติ (stress test) ธนาคาร 91 แห่งในยุโรปเมื่อคืนนี้ (23 ก.ค.) โดยระบุว่ามีธนาคารเพียง 7 ที่ไม่ผ่านการทดสอบ ซึ่งได้แก่ธนาคารไฮโป เรียลเอสเตท โฮลดิ้ง ของเยอรมนี ธนาคารเอทีอีของกรีซ ส่วนธนาคารอีก 5 แห่งเป็นของสเปน ได้แก่ ธนาคาร Diada, Unnim, Espiga, Banca Civica และ Cajasur ซึ่งการทดสอบ stress test เป็นความร่วมมือระหว่าง CEBS และธนาคารกลางยุโรป (ECB)
แถลงการณ์ของ CEBS ระบุว่า ธนาคารทั้ง 7 แห่งไม่สามารถผ่านการทดสอบการเพิ่มความแข็งแกร่งของเงินกองทุนขั้นที่ 1 (Tier 1 capital) ซึ่งเป็นตัววัดความแข็งแกร่งทางการเงิน โดยธนาคารทั้ง 7 แห่งมีอัตราส่วนทุนต่อสินทรัพย์ต่ำกว่าระดับอ้างอิงขั้นต่ำของ CEBS ที่ 6% จึงทำให้ธนาคารเหล่านี้ต้องระดมทุนเป็นเงินรวมกันมูลค่า 3.5 พันล้านยูโร หรือ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเสริมสร้างสถานะทางการเงินให้แข็งแกร่ง และเพื่อกอบกู้ความเชื่อมั่นของนักลงทุน
CEBS กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการทดสอบภาวะวิกฤตธนาคาร 91 แห่งของยุโรป หรือคิดเป็นร้อยละ 65 ของอุตสาหกรรมการธนาคารในยุโรป ก็เพื่อประเมินว่าธนาคารเหล่านี้จะสามารถต้านทานภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจและ มูลค่าพันธบัตรรัฐบาลที่ลดลงได้หรือไม่ โดยเจ้าหน้าที่ได้จำลองวิธีการรับมือของธนาคารต่อแรงกดดันทางการเงิน ต่อเงินกู้ และสินทรัพย์อื่นๆในยามที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรง รวมทั้งทดสอบการเพิ่มความแข็งแกร่งของเงินกองทุนขั้นที่ 1 ว่าอัตราส่วนทุนต่อสินทรัพย์จะยังคงอยู่เหนือระดับอ้างอิงขั้นต่ำที่ 6% หรือไม่
นายจิโอวานนี คาโรซิโอ ประธาน CEBS กล่าวว่า "ผลการทดสอบภาวะวิกฤตบ่งชี้ว่า ธนาคารทั้ง 7 แห่งจะต้องเร่งระดมทุนเพื่อเสริมสร้างสถานะการเงินให้แข็งแกร่ง นอกจากนี้ ผลการทดสอบยังสะท้อนถึงวิกฤตการเงินที่ธนาคารทั้ง 7 กำลังเผชิญ รวมถึงตัวเลขขาดทุน อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินที่ธนาคารต้องระดมทุนรวมกันในครั้งนี้ไม่มากเท่ากับที่มีการ ประเมินไว้เบื้องต้น เนื่องจากรัฐบาลในกลุ่มสหภาพยุโรปได้อัดฉีดเงินทุนจำนวนมากเข้าสู่ระบบเมื่อ ไม่นานมานี้"
CEBS พร้อมด้วยธนาคารกลางยุโรป และคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ออกแถลงการณ์ร่วมขานรับผลการทดสอบภาวะวิกฤตในครั้งนี้ว่า "การทดสอบภาวะวิกฤตของธนาคารทั้ง 91 แห่งในยุโรปเป็นไปด้วยความโปร่งใส ผลการทดสอบยืนยันชัดเจนว่า โดยภาพรวมแล้วระบบการธนาคารของสหภาพยุโรปสามารถต้านทานวิกฤตเศรษฐกิจและการ เงินได้ และการทดสอบครั้งนี้จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาด" สำนักข่าวซินหัวรายงาน
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช---
http://www.ryt9.com/s/iq03/948305
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 24 กรกฎาคม 2553 05:59:23 น.
คณะกรรมการ กำกับดูแลภาคการธนาคารของสหภาพยุโรป (CEBS) ได้เปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤติ (stress test) ธนาคาร 91 แห่งในยุโรปเมื่อคืนนี้ (23 ก.ค.) โดยระบุว่ามีธนาคารเพียง 7 ที่ไม่ผ่านการทดสอบ ซึ่งได้แก่ธนาคารไฮโป เรียลเอสเตท โฮลดิ้ง ของเยอรมนี ธนาคารเอทีอีของกรีซ ส่วนธนาคารอีก 5 แห่งเป็นของสเปน ได้แก่ ธนาคาร Diada, Unnim, Espiga, Banca Civica และ Cajasur ซึ่งการทดสอบ stress test เป็นความร่วมมือระหว่าง CEBS และธนาคารกลางยุโรป (ECB)
แถลงการณ์ของ CEBS ระบุว่า ธนาคารทั้ง 7 แห่งไม่สามารถผ่านการทดสอบการเพิ่มความแข็งแกร่งของเงินกองทุนขั้นที่ 1 (Tier 1 capital) ซึ่งเป็นตัววัดความแข็งแกร่งทางการเงิน โดยธนาคารทั้ง 7 แห่งมีอัตราส่วนทุนต่อสินทรัพย์ต่ำกว่าระดับอ้างอิงขั้นต่ำของ CEBS ที่ 6% จึงทำให้ธนาคารเหล่านี้ต้องระดมทุนเป็นเงินรวมกันมูลค่า 3.5 พันล้านยูโร หรือ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเสริมสร้างสถานะทางการเงินให้แข็งแกร่ง และเพื่อกอบกู้ความเชื่อมั่นของนักลงทุน
CEBS กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการทดสอบภาวะวิกฤตธนาคาร 91 แห่งของยุโรป หรือคิดเป็นร้อยละ 65 ของอุตสาหกรรมการธนาคารในยุโรป ก็เพื่อประเมินว่าธนาคารเหล่านี้จะสามารถต้านทานภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจและ มูลค่าพันธบัตรรัฐบาลที่ลดลงได้หรือไม่ โดยเจ้าหน้าที่ได้จำลองวิธีการรับมือของธนาคารต่อแรงกดดันทางการเงิน ต่อเงินกู้ และสินทรัพย์อื่นๆในยามที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรง รวมทั้งทดสอบการเพิ่มความแข็งแกร่งของเงินกองทุนขั้นที่ 1 ว่าอัตราส่วนทุนต่อสินทรัพย์จะยังคงอยู่เหนือระดับอ้างอิงขั้นต่ำที่ 6% หรือไม่
นายจิโอวานนี คาโรซิโอ ประธาน CEBS กล่าวว่า "ผลการทดสอบภาวะวิกฤตบ่งชี้ว่า ธนาคารทั้ง 7 แห่งจะต้องเร่งระดมทุนเพื่อเสริมสร้างสถานะการเงินให้แข็งแกร่ง นอกจากนี้ ผลการทดสอบยังสะท้อนถึงวิกฤตการเงินที่ธนาคารทั้ง 7 กำลังเผชิญ รวมถึงตัวเลขขาดทุน อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินที่ธนาคารต้องระดมทุนรวมกันในครั้งนี้ไม่มากเท่ากับที่มีการ ประเมินไว้เบื้องต้น เนื่องจากรัฐบาลในกลุ่มสหภาพยุโรปได้อัดฉีดเงินทุนจำนวนมากเข้าสู่ระบบเมื่อ ไม่นานมานี้"
CEBS พร้อมด้วยธนาคารกลางยุโรป และคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ออกแถลงการณ์ร่วมขานรับผลการทดสอบภาวะวิกฤตในครั้งนี้ว่า "การทดสอบภาวะวิกฤตของธนาคารทั้ง 91 แห่งในยุโรปเป็นไปด้วยความโปร่งใส ผลการทดสอบยืนยันชัดเจนว่า โดยภาพรวมแล้วระบบการธนาคารของสหภาพยุโรปสามารถต้านทานวิกฤตเศรษฐกิจและการ เงินได้ และการทดสอบครั้งนี้จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาด" สำนักข่าวซินหัวรายงาน
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช---
http://www.ryt9.com/s/iq03/948305