New Bull Market confirmed !!!!
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 05, 2009 6:33 am
ศก.มะกันสะเทือน‘ซีไอที’ยื่นล้มละลาย
วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ซีไอที กรุ๊ป สถาบัน ปล่อยเงินกู้ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ประกาศล้มละลาย
วานนี้ ซีไอที กรุ๊ป สถาบันการเงิน ผู้ปล่อยกู้รายใหญ่ในสหรัฐ ได้ยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์สินจากศาลล้มละลายในเมืองแมนฮัตตัน ของสหรัฐ ตามกฎหมายมาตรา 11 ซึ่งถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับ 5 ของประวัติศาสตร์สหรัฐที่ล้มละลาย
ซีไอทีเป็นหนึ่งบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐที่ปล่อยเงินกู้ให้กับ ธุรกิจทั้งขนาดเล็กและกลางจำนวนมากที่สุดของประเทศ โดยในขณะนี้มีภาระหนี้สินราว 6.49 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.16 ล้านล้านบาท) และมีทรัพย์สินมูลค่า 7.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.37 ล้านล้านบาท)
ทั้งนี้ สถาบันการเงินรายนี้มีแผนที่จะปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัท อีกทั้งลด โครงสร้างของเงินลงทุน ซึ่งคาดว่าจะเป็นการช่วยลดภาระหนี้ของตนลงไปได้กว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.3 แสนล้านบาท) และจะเป็นผลทำให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม คาร์ล ไอคาห์น นักลงทุนระดับมหาเศรษฐี และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดซีไอที ได้ตกลงสนับสนุนแผนการปรับโครงสร้างของซีไอที และให้เงินกู้เป็นเงิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.3 หมื่นล้านบาท) ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยวิจารณ์แผนการปรับโครงสร้างหนี้ของซีไอทีเพื่อลดหนี้ ระยะสั้นลง 5,700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.88 แสนล้านบาท) ว่าแผนการดังกล่าวไม่ยุติธรรมต่อผู้ถือหุ้นกู้บริษัท
เจฟฟรีย์ พีก ประธานบริหารของ ซีไอที กรุ๊ป กล่าวว่า การที่บริษัทตัดสินใจที่จะยื่นล้มละลายในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทสามารถจัดหาเงินทุนให้กับลูกค้าซึ่งดำเนินธุรกิจขนาดเล็กและ ขนาดกลางต่อไป ซึ่งธุรกิจทั้งสองส่วนนี้ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐเป็นอย่าง มาก
นักวิเคราะห์หลายคนกลับมองว่า ถ้า ซีไอทีสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้หลังจากที่ยื่นล้มละลายในครั้งนี้ แต่จะไม่สามารถให้เงินกู้กับธุรกิจขนาดเล็กในจำนวนมากเท่าเดิมเหมือนที่เคย เป็นได้ ซึ่งหมายความว่า บริษัทขนาดเล็กหลายพันแห่งในสหรัฐที่กำลังหาเงินทุนเพื่อใช้ในการลงทุนทาง ธุรกิจจะได้รับผลกระทบรุนแรง โดยต้องพยายามดิ้นรนหาแหล่งทุนเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจของตนเองต่อไป
ซีไอทีเคยได้รับการช่วยเหลือจากทางรัฐบาลสหรัฐภายใต้นโยบายของ โครงการบรรเทาสินทรัพย์ที่มีปัญหา (ทีเออาร์พี) ด้วยวงเงินกว่า 2,330 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.78 หมื่นล้านบาท) ในเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว แต่สถาบันการเงินดังกล่าวก็ยังคงประสบสภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง โดยทางการสหรัฐปฏิเสธที่จะให้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติมในปีนี้
วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ซีไอที กรุ๊ป สถาบัน ปล่อยเงินกู้ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ประกาศล้มละลาย
วานนี้ ซีไอที กรุ๊ป สถาบันการเงิน ผู้ปล่อยกู้รายใหญ่ในสหรัฐ ได้ยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์สินจากศาลล้มละลายในเมืองแมนฮัตตัน ของสหรัฐ ตามกฎหมายมาตรา 11 ซึ่งถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับ 5 ของประวัติศาสตร์สหรัฐที่ล้มละลาย
ซีไอทีเป็นหนึ่งบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐที่ปล่อยเงินกู้ให้กับ ธุรกิจทั้งขนาดเล็กและกลางจำนวนมากที่สุดของประเทศ โดยในขณะนี้มีภาระหนี้สินราว 6.49 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.16 ล้านล้านบาท) และมีทรัพย์สินมูลค่า 7.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.37 ล้านล้านบาท)
ทั้งนี้ สถาบันการเงินรายนี้มีแผนที่จะปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัท อีกทั้งลด โครงสร้างของเงินลงทุน ซึ่งคาดว่าจะเป็นการช่วยลดภาระหนี้ของตนลงไปได้กว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.3 แสนล้านบาท) และจะเป็นผลทำให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม คาร์ล ไอคาห์น นักลงทุนระดับมหาเศรษฐี และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดซีไอที ได้ตกลงสนับสนุนแผนการปรับโครงสร้างของซีไอที และให้เงินกู้เป็นเงิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.3 หมื่นล้านบาท) ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยวิจารณ์แผนการปรับโครงสร้างหนี้ของซีไอทีเพื่อลดหนี้ ระยะสั้นลง 5,700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.88 แสนล้านบาท) ว่าแผนการดังกล่าวไม่ยุติธรรมต่อผู้ถือหุ้นกู้บริษัท
เจฟฟรีย์ พีก ประธานบริหารของ ซีไอที กรุ๊ป กล่าวว่า การที่บริษัทตัดสินใจที่จะยื่นล้มละลายในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทสามารถจัดหาเงินทุนให้กับลูกค้าซึ่งดำเนินธุรกิจขนาดเล็กและ ขนาดกลางต่อไป ซึ่งธุรกิจทั้งสองส่วนนี้ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐเป็นอย่าง มาก
นักวิเคราะห์หลายคนกลับมองว่า ถ้า ซีไอทีสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้หลังจากที่ยื่นล้มละลายในครั้งนี้ แต่จะไม่สามารถให้เงินกู้กับธุรกิจขนาดเล็กในจำนวนมากเท่าเดิมเหมือนที่เคย เป็นได้ ซึ่งหมายความว่า บริษัทขนาดเล็กหลายพันแห่งในสหรัฐที่กำลังหาเงินทุนเพื่อใช้ในการลงทุนทาง ธุรกิจจะได้รับผลกระทบรุนแรง โดยต้องพยายามดิ้นรนหาแหล่งทุนเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจของตนเองต่อไป
ซีไอทีเคยได้รับการช่วยเหลือจากทางรัฐบาลสหรัฐภายใต้นโยบายของ โครงการบรรเทาสินทรัพย์ที่มีปัญหา (ทีเออาร์พี) ด้วยวงเงินกว่า 2,330 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.78 หมื่นล้านบาท) ในเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว แต่สถาบันการเงินดังกล่าวก็ยังคงประสบสภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง โดยทางการสหรัฐปฏิเสธที่จะให้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติมในปีนี้