หน้า 6 จากทั้งหมด 7
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 09, 2014 9:13 am
โดย ดำ
Power Investor เขียน:ความน่าสนใจคงอยู่ที่ว่า แล้วใครจะสามารถทำโรงไฟฟ้าถ่านหินได้บ้าง ที่แน่ๆผมยังไม่เชื่อว่าEGATจะทำสำเร็จ ยกเว้นว่าจะอาสัยอำนาจรัฐ ดันทุรังทำไปพร้อมกับเสียงต่อต้าน
ผมฝากความหวังไว้กับสาย NGO ใน สนช.ชุดนี้ครับ ช่วยกันทำเพื่อชาติหน่อย
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 09, 2014 8:27 pm
โดย Power Investor
พลังงานชงแผน'พีดีพี'22ต.ค.ใช้ถ่านหิน
สนพ.เตรียมแผน"พีดีพี"ฉบับใหม่ เสนอกพช.22ต.ค.นี้ เผยเพิ่มใช้พลังงานถ่านหิน-รับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
ขณะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ในช่วงท้ายแผน ชี้เป็นไปตามประชาพิจารณ์ 4 ภาค
แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ PDP 2015 (ปี 2558-2579) ใกล้เสร็จ หลังจากกระทรวงพลังงานจัดรับฟังความคิดเห็น 4 ภาค โดยเป็นไปตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ต้องการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เนื่องจากแผนพีดีพีฉบับใหม่ จะส่งผลกระทบต่อราคาและการใช้พลังงานของประชาชน
นายชวลิต พิชาลัย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่าจะรายงานการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ หรือพีดีพี 2015 ให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ (กพช.) ได้รับทราบในวันที่ 22 ต.ค.นี้ ซึ่งคาดว่าแผนพีดีพีจะสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในเดือนพ.ย.นี้ และเสนอให้กพช.อนุมัติแผนได้ในเดือนธ.ค.นี้
แผนพีดีพี 2015 ที่มีการปรับปรุงครั้งใหญ่ จะมีการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าและปรับสัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าใหม่ เพื่อลดการใช้ก๊าซธรรมชาติลงจากปัจจุบันใช้ก๊าซสูงเกือบ 70% ขณะที่ทั่วโลกใช้ไม่ถึง 30% และเพิ่มสัดส่วนการใช้ถ่านหินมากขึ้น รวมถึงเพิ่มการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
"เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น คาดว่าจะเข้ามาช่วงปลายแผนพีดีพี ซึ่งกระทรวงพลังงานจะศึกษาเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อเนื่อง แม้ยังไม่สามารถก่อสร้างได้ เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มีต้นทุนค่าไฟฟ้าในราคาถูก"
นายชวลิต กล่าวว่าสนพ.ยังเตรียมเสนอ กพช.เรื่องการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่ต้องการให้ลดการอุดหนุนราคาพลังงานที่ไม่เป็นธรรม โดยจะต้องปรับโครงสร้างภาษีน้ำมัน และกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ให้เหมาะสม สะท้อนต้นทุน โดยเฉพาะ น้ำมันดีเซล ที่มีปริมาณการใช้สูงถึง 60 ล้านลิตรต่อวัน มากกว่าเบนซินที่มีปริมาณการใช้ 22 ล้านลิตรต่อวัน จึงควรเพิ่มการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตดีเซล เพื่อนำเงินไปชดเชยการซ่อมแซมถนนต่อไป
"ช่วงนี้เป็นจังหวะที่เหมาะสม หากรัฐบาลจะปรับราคาพลังงานให้สะท้อนต้นทุน เนื่องจากทิศทางราคาพลังงานในตลาดโลก ทั้งน้ำมันดิบ ก๊าชธรรมชาติ ปรับลดลง และยังไม่มีความชัดเจนจากการประชุมประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปก) แต่จะมีการปรับราคาพลังงานชนิดใดนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของ กพช.เป็นหลัก"
เตรียมรายงานผลประชาพิจารณ์4ภาค
ทั้งนี้ แผนพีดีพีฉบับใหม่ หลังจากได้ข้อสรุปจากการรับฟังความคิดเห็น 4 ครั้งของกระทรวงพลังงานใน 4 ภาค ซึ่งจะมีรายงานในที่ประชุมวันที่ 22 ต.ค. เช่นเดียวกัน
นายชวลิต กล่าวว่าผลสรุปการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นเรื่อง”ทิศทางพลังงานไทย” ทั้ง 4ครั้งของกระทรวงพลังงานทั้งในกรุงเทพ,ขอนแก่น,เชียงใหม่ และสุราษฎร์ธานี ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนที่ผ่านมาว่า ประเด็นสำคัญที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นในส่วนของกรุงเทพเมื่อวันที่ 29 ส.ค. คือข้อเสนอให้รัฐจัดหาเชื้อเพลิงชนิดอื่นเพิ่มเติม เพื่อเป็นการกระจายแหล่งเชื้อเพลิง และการพิจารณากำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง (Reserve Margin: RM) ให้มีระดับไม่ต่ำกว่า 15% โดยเห็นด้วยที่จะให้มีการวางแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และถ่านหินควรอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงความ ปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลโดยที่ประชาชน สามารถเป็นเจ้าของและบริหารจัดการได้อย่างเต็มรูปแบบ
ข้อสรุปที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นยังมีเรื่องของการวางแผนการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้สอดคล้องกับการสร้างโรงไฟฟ้า การเปิดประมูลโรงไฟฟ้า IPPs ให้มีความโปร่งใส และเป็นธรรม การกำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานในการจัดทำแผนพีดีพีให้สูงกว่าเดิมที่ 20% และการกำหนดสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ไม่ให้ต่ำกว่า 50 %
อีสานเสนอรัฐสนับสนุนแสงอาทิตย์
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของความคิดเห็นของประชาชนใน จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 10 ก.ย. ประชาชนยังต้องการให้ภาครัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าอย่างแท้จริง โดยไม่ปล่อยให้คนจากพื้นที่ภายนอกมาสร้างความวุ่นวาย และมองว่าการประมูลโรงไฟฟ้าไอพีพี ที่ผ่านมา 5,000 เมกะวัตต์ มีการกระจุกตัวของผู้ได้ชนะการประมูล รวมทั้งยังต้องการความชัดเจนเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ว่าจะมีหรือไม่ เมื่อใด และในพื้นที่ใด
ในเรื่องของพลังงานทดแทนภาคประชาชนเห็นว่า ควรสนับสนุนให้การใช้แสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าเป็นทางออกที่ยั่งยืน และสร้างฐานการผลิต โซล่าร์เซลล์ ในประเทศ เพื่อให้ต้นทุนถูกลง และมองว่าการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านมากเกินไปมีความเสี่ยง โดยการซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว ต้องขึ้นอยู่กับฤดูกาล ส่วนการพึ่งพาก๊าซและไฟฟ้าจากพม่าในอนาคตอาจพึ่งพาได้ไม่มากเนื่องจาก ความต้องการใช้ในพม่ามากขึ้น อาจส่งออกมาไทยได้ไม่มาก
สำหรับเรื่องของก๊าซธรรมชาติ เห็นควรให้มีการขยายท่อก๊าซมายังภาคอีสานให้มากขึ้น เพื่อสร้างทางเลือกในการผลิตไฟฟ้าในภาคอีสาน ซึ่งแผนปัจจุบันท่อก๊าซดังกล่าวมีแผนที่จะสร้างมาถึงแค่จังหวัดนครราชสีมา และเห็นว่าในภาคอีสานมีแหล่งก๊าซขนาดเล็กหลายแหล่งควรมีการพิจารณาสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่ใช้แก๊สไม่มาก
เชียงใหม่เสนอสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเวียงแหง
นายชวลิต กล่าวว่า ข้อสรุปที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นใน จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2557 ภาคประชาชนเสนอให้ต้องการใช้โรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นกรณีตัวอย่างให้ประชาชนได้มาศึกษาดูงานในการจัดการปัญหามลพิษและเห็นด้วยกับการใช้พลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟ้า แต่การใช้พลังงานทดแทนก็ไม่สามารถทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติได้
นอกจากนี้ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่เข้าใจและเห็นความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ และเนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าในจังหวัดเชียงใหม่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเสนอให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดเล็ก (100 MW) ที่อำเภอเวียงแหง เนื่องจากมีถ่านหินในพื้นที่อยู่แล้ว โดยมองว่าการวางแผนสร้างโรงไฟฟ้า ควรกำหนด zoning ตามศักยภาพของพื้นที่ และการดำเนินการจัดทำแผน PDP ต้องดำเนินการควบคู่กับแผนอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งเน้นเรื่องการรณรงค์ประหยัดพลังงานด้วย
ส่วนการรับฟังข้อคิดเห็นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2557 ภาคเอกชนมีความต้องการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก การนำระบบ Feed in Tariff มาใช้กับพลังงานทดแทนต้องพิจารณาความเหมาะสมและต้นทุนของวัตถุดิบแต่ละประเภท และเห็นด้วยกับ การผลิตไฟฟ้าจากขยะ แต่ต้องเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม ส่วนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านั้น ควรสอบถามความคิดเห็นประชาชนก่อนกำหนดให้พื้นที่ใดเป็นพื้นที่สร้างโรงไฟฟ้า และเชิญเอ็นจีโอเข้ามาพูดคุยและทำความเข้าใจด้านพลังงาน
ยอดใช้แอลพีจีภาคขนส่ง7เดือนเพิ่ม13.4%
สำหรับภาพรวมสถานการณ์การใช้พลังงานในรอบ 7 เดือนของปี 2557 ไทยผลิตน้ำมันดิบได้ 1.37 แสนบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปี 2556 หรือลดลง 10.3% และมีการนำเข้าน้ำมันดิบ 7.79 แสนบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปี 2556 คิดเป็นสัดส่วน 9.6% และผลิตน้ำมันสำเร็จรูปได้ 9.59 แสนบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปี 2556 เป็นสัดส่วน 2.3% โดยนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป 8.81 แสนบาร์เรลต่อวัน ลดลง 0.5% ซึ่งการใช้น้ำมันเบนซิน อยู่ที่ 22.7 ล้านลิตรต่อวัน คิดเป็น 16%ของการใช้น้ำมันสำเร็จรูป แต่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปี 2556 เป็นสัดส่วน 0.8% และการใช้น้ำมันดีเซล อยู่ที่ 59.1 ล้านลิตรต่อวัน คิดเป็น 42%ของการใช้น้ำมันสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2556 คิดเป็นสัดส่วน 0.2%
ส่วนการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ช่วง 7 เดือน อยู่ที่ 4.24 ล้านตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปี 2556 คิดเป็นสัดส่วน 2.7% โดยแอลพีจีภาคครัวเรือน มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 1.28 ล้านตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปี 2556 เป็นสัดส่วน 9.4%
ขณะที่แอลพีจีภาคขนส่ง มีปริมาณการใช้ อยู่ที่ 1.13 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปี 2556 เป็นสัดส่วน 13.4% ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่อง หลังภาครัฐคุมเข้มการถ่ายเทแอลพีจีภาคครัวเรือนไปสู่ภาคขนส่ง
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 10, 2014 11:51 am
โดย teetotal
ขอคั่นเวลาด้วย ข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีแบตตารี่ ครับ
ข่าวจากมติชน ต้นแบบแบตตารี่เหลว งานค้นคว้าของ MIT
http://m.matichon.co.th/readnews.php?newsid=1412744114
ส่วนตัวผม ชอบ แนวคิด พวก กังหันลมแนวตั้ง ที่เอาแรงหมุนมาขับปั๊มชัก ค่อยๆ สูบน้ำไปครับ
ไม่ต้องเอาแรงกลไปเปลี่ยนเป็นไฟฟ้า ไม่ต้องง้อแบตตารี่
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 16, 2014 8:40 am
โดย whirl wind
เอกสารล่าสุดจาก BOI ช่วยกันตีความข้อ 1 หน่อยครับ คิดว่ากิจการที่เริ่มลงทุน/ติดตั้งเครื่องกำเนิดพลังงานทดแทนจะได้ประโยชน์ไหมครับ
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 16, 2014 8:59 am
โดย whirl wind
Solar rooftop ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าไม่เกิน 1MW ไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาติ รง4
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 17, 2014 7:35 am
โดย teetotal
ข่าวนักลงทุนจีน และ โครงการผลิตไฟฟ้าจากลม ที่ นครศรีธรรมราชครับ
http://thainews.prd.go.th/CenterWeb/New ... 0130010005
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 18, 2014 3:29 pm
โดย kuuppree
http://www.ted.com/talks/elon_musk_the_ ... anguage=th
คลิปนี้น่าสนใจครับ
ผู้ก่อตั้ง PayPal ระบบการชำระเงินชั้นนำของโลก (ปัจจุบันขายต่อให้ EBay), ผู้ก่อตั้ง Tesla ระบบรถไฟฟ้าเต็มรูปแบบ, ผู้ก่อตั้ง SolarCity ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่จะมาทดแทนโรงไฟฟ้าในปัจจุบัน และ ผู้ก่อตั้ง SpaceX ระบบการขนส่งทางอวกาศที่ประหยัดกว่าเดิมถึง 100 เท่า ... ทั้งหมดนี้ คือชายคนเดียวกันนาม Elon Musk
credit:
https://www.facebook.com/ThInvestForum?fref=ts
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 18, 2014 11:14 pm
โดย tanapol
8:24
อีลอน: ครับ ที่จริง
ผมมั่นใจว่าพลังงานแสงอาทิตย์ จะเอาชนะทุกอย่างแบบไม่ต้องสงสัยเลย รวมทั้งก๊าซธรรมชาติด้วย
8:32
(เสียงปรบมือ) คริส: ยังไงกันครับ
8:34
อีลอน: ที่จริง มันต้องเป็นเช่นนั้นครับ มิฉะนั้นแล้ว เรามีปัญหาใหญ่แน่
8:38
คริส: แต่คุณไม่ได้ขายแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ให้กับผู้บริโภค คุณทำอะไรกันครับ อีลอน: ไม่ครับ จริงๆพวกเราขายครับ คุณสามารถซื้อพลังงานแสงอาทิตย์ หรือสามารถที่จะเช่าพลังงานแสงอาทิตย์ คนส่วนใหญ่เลือกที่จะเช่า และสิ่งหนึ่งเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ก็คือ มันไม่มีวัตถุดิบเพิ่มเติมหรือมีค่าดำเนินการอะไรอีก ดังนั้น เมื่อติดตั้งมันแล้ว มันก็อยู่ตรงนั้น มันทำงานได้หลายทศวรรษ บางทีอาจเป็นศตวรรษ ดังนั้น หัวใจสำคัญที่ต้องทำก็คือ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งนั้นลดลง และจากนั้นก็ทำให้ค่าใช้จ่ายในเรื่องการเงินลดลง เพราะว่านั้นน่าสนใจครับ นั่นเป็นสองโรงงานที่ขับเคลื่อนราคาของพลังงานแสงอาทิตย์ และเราก็กำลังมีความก้าวหน้า เป็นอย่างมากในทิศทางนั้น และนั้นเป็นเหตุว่าทำไม ผมจึงมั่นใจว่า เราจะเอาชนะก๊าซธรรมชาติได้จริงๆ
9:19
คริส: ฉะนั้น ข้อเสนอตอนนี้ต่อผู้บริโภคก็คือ อย่าจ่ายหนักแต่แรกเริ่ม
9:24
อีลอน: ศูนย์เลยครับ คริส: ไม่ต้องจ่ายเลยหรอครับ เราจะติดตั้งตัวแผงบนหลังคาของคุณ คุณจะจ่ายทีหลัง แล้วระยะให้เช่านี่นานแค่ไหนครับ
9:33
อีลอน: โดยทั่วไปก็ 20 ปีครับ แต่ อย่างที่คุณพูดเป็นนัยๆ ค่าของข้อเสนอที่ตรงไปตรงมาก็คือ มันไม่มีการจ่ายเงินลงไป และค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคของคุณก็ลดลง เป็นความคิดที่ดีครับ
9:47
คริส: นั่นเหมือนกับว่าเป็นกำไรของผู้บริโภคเลย ไม่มีความเสี่ยง คุณจะจ่ายน้อยกว่าที่คุณกำลังจ่ายอยู่ตอนนี้ สำหรับคุณ ความฝันก็คือว่า-- ผมหมายถึง ใครจะเป็นเจ้าของไฟฟ้า ที่ได้มาจากแผงพลังงานในระยะยาว ผมหมายถึง คุณ บริษัทของคุณ จะได้กำไรได้อย่างไร
10:02
อีลอน: ครับ หลักๆแล้ว โซล่าซิตี้ มีเงินกองทุนตั้งต้น มาจาก บริษัทหรือธนาคาร เป็นต้น กูเกิลก็เป็นหนึ่งในพันธมิตรของเรา และพวกเขาก็มีความคาดหวัง ที่จะได้ผลตอบแทนจากเงินลงทุนนี้ ด้วยเงินทุนนั้น โซล่าซิตี้ได้จัดซื้อ และติดตั้งแผงพลังงานบนหลังคา และจากนั้นคิดค่าใช้จ่ายกับเจ้าของบ้าน หรือเจ้าของกิจการ เป็นรายเดือนสำหรับค่าเช่า ซึ่งน้อยกว่าค่าไฟฟ้าปกติ
10:31
คริส: แต่คุณเองได้ผลกำไรระยะยาวจากพลังงานนั้น มันแบบว่า คุณสร้างรูปแบบใหม่ของสาธารณูปโภค
10:38
อีลอน: ใช่เลยครับ มันเสมือนเป็น การกระจายสาธารณูปโภคครั้งยิ่งใหญ่ ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าสาธารณูปโภคนั้น อยู่ในระบบผูกขาด และคนก็ไม่มีทางเลือก ฉะนั้น นีมันเป็นครั้งแรกจริงๆ ที่มีการแข่งขันเกิดขึ้นกับระบบผูกขาดนี้ เพราะว่าสาธารณูปโภคนั้นเคยเป็นเพียงสิ่งเดียว ที่ครอบครองการแนวการแผ่ขยายของพลังงาน แต่ตอนนี้มันอยู่บนหลังคาบ้านของคุณ ดังนั้น ผมคิดว่ามันเป็นการให้อำนาจจริงๆ กับเจ้าของบ้านและเจ้าของธุรกิจ
11:05
คริส: และคุณเห็นภาพอนาคตไหมครับ ว่าพลังงานหลักในอเมริกา ในอีกสักหนึ่งหรือสองทศวรรษหรือในชั่วชีวิตของเรา มันจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ไหมครับ
11:15
อีลอน: ผมมันใจเป็นอย่างยิ่งว่า พลังงานแสงอาทิตย์อย่างน้อยจะเป็นที่นิยมกว่า และน่าจะเป็นพลังงานหลัก และผมขอคาดเดาว่ามันจะเป็นที่นิยมในไม่เกิน 20 ปีนี้ ผมขอเดิมพันกับใครบางคน -- คริส: นิยามของความนิยมในที่นี้คือยังไงครับ
11:31
อีลอน: เราจะได้พลังงานจากแสงอาทิตย์ มากกว่าจากแหล่งอื่น
ไม่รู้ว่าคุณ Elon Musk จะเชื่อถือได้หรือเปล่านะครับ
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 29, 2014 10:02 pm
โดย Inertia
While You Were Getting Worked Up Over Oil Prices, This Just Happened to Solar
By Tom Randall Oct 29, 2014 6:52 PM GMT+0700
Every time fossil fuels get cheaper, people lose interest in solar deployment. That may be about to change.
After years of struggling against cheap natural gas prices and variable subsidies, solar electricity is on track to be as cheap or cheaper than average electricity-bill prices in 47 U.S. states -- in 2016, according to a Deutsche Bank report published this week. That’s assuming the U.S. maintains its 30 percent tax credit on system costs, which is set to expire that same year.
Even if the tax credit drops to 10 percent, solar will soon reach price parity with conventional electricity in well over half the nation: 36 states. Gone are the days when solar panels were an exotic plaything of Earth-loving rich people. Solar is becoming mainstream, and prices will continue to drop as the technology improves and financing becomes more affordable, according to the report.
The chart below shows how far solar will come out ahead in each state in 2016, assuming a worst-case scenario of lower tax credits. The blue bars show the anticipated cost of solar energy (assuming a conservative 20-year lifespan for the panels) minus average electricity prices. Positive numbers indicate the savings for every kilowatt hour of electricity.
Grid Parity to Reach 36 States in 2016
Deutsche Bank, EIA. Graph shows LCOE minus average electricity price
Solar has already reached grid parity in 10 states that are responsible for 90 percent of U.S. solar electricity production. In those states alone, installed capacity growth will increase as much as sixfold over the next three to four years, Deutsche Bank analyst Vishal Shaw wrote in the Oct. 26 report.
The reason solar-power generation will increasingly dominate: it’s a technology, not a fuel. As such, efficiency increases and prices fall as time goes on. The price of Earth’s limited fossil fuels tends to go the other direction. Michael Park, an analyst at Sanford Bernstein, has a term for the staggering price relationship between solar and fossil fuels: the Terrordome. I’m not sure exactly what that means, but it doesn’t sound very forgiving.
The chart below shows the price of energy sources since the late 1940s. The extreme outlier, of course, is solar, which only recently became an expensive blip in the energy marketplace. It will soon undercut even the cheapest fossil fuels in many regions of the planet, including poorer nations where billion-dollar coal plants aren’t always practical.
EIA, CIA, World Bank, Bernstein analysis
Solar will be the world’s biggest single source of energy by 2050, according to a recent estimate by the International Energy Agency. Currently, it’s responsible for just a fraction of one percent.
Because of solar's small market share today, no matter how quickly capacity expands, it won’t have much immediate impact on the price of other forms of energy. But soon, for the first time, the reverse may also be true: Gas and coal prices will lose their sway over the solar industry.
http://www.bloomberg.com/news/2014-10-2 ... solar.html
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2014 9:08 am
โดย Power Investor
Solarบ้านเราเห็นบ่นกันมากเรื่องราคาFITที่ต่ำ เรียกร้องกันให้กลับไปเป็นระบบAdderเหมือนเดิม
คงต้องรอดูว่ารัฐบาลชุดนี้จะทำเพื่อชาติจริงหรือสุดท้ายจะยอมทำเพื่อผลประโยชน์ของนักธุรกิจบางกลุ่ม
ถ้ากลับไประบบAdderแบบเก่า โอกาสที่จะเกิดGrid Parityในบ้านเราก็จะไม่มีทางเป็นไปได้เลย
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2014 10:28 am
โดย tanapol
Power Investor เขียน:Solarบ้านเราเห็นบ่นกันมากเรื่องราคาFITที่ต่ำ เรียกร้องกันให้กลับไปเป็นระบบAdderเหมือนเดิม
คงต้องรอดูว่ารัฐบาลชุดนี้จะทำเพื่อชาติจริงหรือสุดท้ายจะยอมทำเพื่อผลประโยชน์ของนักธุรกิจบางกลุ่ม
ถ้ากลับไประบบAdderแบบเก่า โอกาสที่จะเกิดGrid Parityในบ้านเราก็จะไม่มีทางเป็นไปได้เลย
ผมว่ายากครับที่จะไปเป็น adder เพราะ ต้นทุนจากแผงจะถูกลงเรื่อยๆ Fit จะได้ผลตอบแทนมากขึ้นเรื่อยๆ
ตอนนี้บริษัทนึงในตลาดก็สามารถทำ IRR ได้ 12% (จาก fit) ซึ่งหมายความว่ามี equity IRR ถึง 30 กว่าเปอร์เซนต์
ดังน้นผมมั่นใจ 99% ครับว่า grid parity จะมาแน่นอน ทั้งในประเทศไทยและในโลกครับ
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2014 10:44 am
โดย ดำ
ช่วยอธิบาย Grid Parity ให้ทีครับ
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2014 11:18 am
โดย Ii'8N
ต้นทุนการผลิตพลังงานทางเลือก (โดยเฉพาะจากแสงอาทิตย์) จะสามารถลดลง จนลดมากๆ ได้ตามทฤษฎีที่เรารู้กัน เหมือนสินค้าทั่วไปเป็น mass และ economies of scale
เวลาหรือจุดที่ต้นทุนต่อหน่วยลดลงมาเรื่อยๆ ณ จุดที่สามารถแซงหน้า (หมายถึงทำให้ลดมากกว่าได้) ต้นทุนพลังงาน fossil ได้ เรียกว่า grid parity
parity แปลตาม dic คือการเสมอกันในแง่สถานะ จำนวน หรือมูลค่า
grid เพราะเป็นการป้อนไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก ไปเข้า grid ของการไฟฟ้า หรือโครงข่ายการไฟฟ้านั่นเอง
grid ของการไฟฟ้าไทย
http://www.geni.org/globalenergy/librar ... d-2001.jpg
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2014 11:26 am
โดย Ii'8N
ขอโทษครับ ที่รูปใหญ่ไปหน่อย ผมดึง link มาตรงเลย ไม่ได้ edit ตอนดูบนหน้า web เดิม browser มัน auto-resize พอดีกับหน้า เลยนึกว่ากำลังพอดี
แต่ก็ไม่ได้จะดูเนื้อหาละเอียดในรูปอยู่แล้ว แค่ยกมาให้เห็นภาพรวมๆ หรือพอรู้ความหมาย
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2014 11:43 am
โดย ดำ
ขอบคุณมากๆ เลยครับคุณ Ii'8N
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2014 10:13 pm
โดย Power Investor
tanapol เขียน:Power Investor เขียน:Solarบ้านเราเห็นบ่นกันมากเรื่องราคาFITที่ต่ำ เรียกร้องกันให้กลับไปเป็นระบบAdderเหมือนเดิม
คงต้องรอดูว่ารัฐบาลชุดนี้จะทำเพื่อชาติจริงหรือสุดท้ายจะยอมทำเพื่อผลประโยชน์ของนักธุรกิจบางกลุ่ม
ถ้ากลับไประบบAdderแบบเก่า โอกาสที่จะเกิดGrid Parityในบ้านเราก็จะไม่มีทางเป็นไปได้เลย
ผมว่ายากครับที่จะไปเป็น adder เพราะ ต้นทุนจากแผงจะถูกลงเรื่อยๆ Fit จะได้ผลตอบแทนมากขึ้นเรื่อยๆ
ตอนนี้บริษัทนึงในตลาดก็สามารถทำ IRR ได้ 12% (จาก fit) ซึ่งหมายความว่ามี equity IRR ถึง 30 กว่าเปอร์เซนต์
ดังน้นผมมั่นใจ 99% ครับว่า grid parity จะมาแน่นอน ทั้งในประเทศไทยและในโลกครับ
น่าจะเข้าใจผิดนะครับเพราะ 12% คือ ROE หรือ equity IRR นั่นเอง ถึงได้บ่นกันยังไงละครับ
พวกที่เคยได้Adder8บาทเท่านั้นที่มีโอกาสเห็น ROE ถึง30% ซึ่งต้องเป็นพวกที่ลงมือทำเองตั้งแต่ต้นด้วย ไม่ใช่พวกที่ไปซื้อโครงการคนอื่นต่อมาอีกทอด
ที่จริงแล้วระบบAdder ก็ไม่ได้ทำให้ IRR สูงขึ้นนักหรอกครับ แต่ที่แน่ๆคือมันไม่โปร่งใสเหมือนระบบFIT
ที่พูดแบบนี้เพราะFITจ่ายราคาเดียวตลอดอายุสัญญา พูดง่ายๆคือไม่ต่างอะไรเลยจากพันธบัตรใบนึงที่ให้อัตราผลตอบแทนคงที่ แต่Adderจะถูกบวกเข้าไปกันค่าไฟฟ้าพื้นฐานที่ผันแปรตามค่าFt ไอ้ตัวค่าFtนี่แหล่ะที่ทำให้มูลค่าโครงการเปลี่ยน คิดง่ายๆคือถ้าคนนึงมองว่าค่าFtจะขึ้นทุกๆปี อีกคนมองว่าFtจะคงที่ไปตลอด ส่วนอีกคนมองว่าค่าFtจะลดลงไปเรี่อยๆ สามคนนี้จะให้มูลค่าโครงการเดียวกันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เวลาไปขายโครงการ คนขายก็จะโม้ว่าค่าFtจะเพิ่มชึ้นไปสูงมากๆในอนาคต คนที่ความรู้ไม่มากที่เชื่อ ก็จะหลวมตัวไปซื้อในราคาแพงๆ ก็แค่นั้นเอง
ส่วนการให้Adderจะทำให้ไม่เกิดGrid Parityแน่นอนเพราะAdderจะทำให้ค่าไฟฟ้าแพงกว่าปรกติในช่วงที่จ่ายค่าAdder ดังนั้นยิ่งเพิ่งกำลังการผลิต ต้นทุนค่าไฟฟ้าก็จะยิ่งแพงมากขึ้นในช่วงแรก
ในทางกลับกับ ระบบFITกลับจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดGrid Parityได้เพราะราคาคงที่ตลอดอายุสัญญา ทุกวันนี้คือ5.60บาทต่อหน่อย ค่าไฟฟ้าปัจจุบันก็เริ่มแตะ4บาทแล้ว ในไม่กี่ปีข้างหน้ามีโอการแซง5.60บาทก็เป็นไปได้
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2014 11:02 pm
โดย Power Investor
ลืมพูดอีกเรื่องนึงเกี่ยวกับระบบAdder มันเป็นระบบที่สร้างกลลวงให้กับผลประกอบการมาก
ทั้งนี้Adderที่ได้มาสูง จะทำให้ผลประกอบการในช่วงที่ได้รับAdderดูดีมากๆ เนื่องจากมีแต่ค่าใช้จ่ายคงที่ ไม่มีค่าใช้จ่ายผันแปล ดังนั้นกำไรช่วงต้นๆจะโตกว่าปรกติเพราะมีค่าAdderมาเสริม เรียกได้ว่าเริ่มขายปุ๊บก็แทบจะกำไรเลยทันที
แต่เงินที่ได้รับจากการขายที่มีค่าAdderนั้น ส่วนใหญ่ต้องเอาไปจ่ายคืนหนี้เสียเกือบหมด แทบจะไม่เหลือมาถึงผู้ถือหุ้น ต้องรอสิบปีให้Adderชำระหนี้หมดเสียก่อน ถึงจะเห็นผลตอบแทนที่แท้จริงจากการลงทุน ดังนั้นตัวเลขกำไร ก็เป็นเพียงแค่ตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น หาได้มีเงินเหลือมาจ่ายปันผลแต่อย่างใด มูลค่าหุ้นแท้จริงคือมูลค่าเทียม แต่เจ้าของไม่เดือดร้อนหรอก เพราะช่วงที่ตัวเลขกำไรเยอะๆ ก็สร้างราคาหุ้นให้สูงตาม แล้วก็ไปหากินกับรายย่อยที่รู้เท่าไม่ถึงการแทน จึงไม่แปลกที่ทุกวันนี้หุ้นทุกตัวที่ประกาศว่าจะหันมาทำโรงไฟฟ้าโซล่า วิ่งแรงทุกตัวเพราะตัวเลขกำไรเทียมๆกำลังจะตามมา
ปัญหาคือระบบFITใหม่เนี่ยมันโปร่งใสเกินไป มันไม่ซับซ้อนหมกเม็ดเหมือนระบบAdderเดิม มันเริ่มหลอกได้ยากขึ้น เสี่ยทุนหนาต่างๆเริ่มเข้าใจและรู้ทัน ว่าไอ้ระบบFITนี่มันไม่ต่างอะไรจากซื้อหุ้นกู้นี่หว่า สร้างเสร็จทุกอย่างก็แทบจะคงที่หมดตลอดอายุโครงการ ตั้งแต่รายได้จนถึงค่าใช้จ่าย คำนวนกระแสเงินสดได้ง่ายมาก หลอกขายแพงได้ยากขึ้น
ตอนนี้เลยเห็นออกมาเรียกร้องกันใหญ่ ให้กลับไปใช้ระบบAdder อ้างว่าราคาขายไม่ปรับตัวตามค่าใช้จ่าย แต่ถามจริงๆเฮอะ โซล่าฟาร์มสร้างเสร็จแล้วมันมีค่าใช้จ่ายอะไรให้ผันแปลมากนัก และมีค่าใช้จ่ายอะไรที่เกี่ยวกับFtบ้างในเมื่อไม่มีค่าเชื้อเพลิง ถ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำไม่ผูกราคาขายไฟฟ้ากับค่าFt และทำไมโรงไฟฟ้าพลังแดดหรือลมถึงจะต้องผูกราคาขายไฟฟ้ากับค่าFtเล่า มันต่างอะไรกันตรงไหน
ก็หวังว่ารัฐจะยังคงยึดมั่นในหลักการนี้ เพื่อประโยชน์ของชาติ แต่กลัวใจจริงๆว่าในที่สุด เงินมันไม่เข้าใครออกใคร
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 31, 2014 12:09 am
โดย tanapol
Power Investor เขียน:tanapol เขียน:Power Investor เขียน:Solarบ้านเราเห็นบ่นกันมากเรื่องราคาFITที่ต่ำ เรียกร้องกันให้กลับไปเป็นระบบAdderเหมือนเดิม
คงต้องรอดูว่ารัฐบาลชุดนี้จะทำเพื่อชาติจริงหรือสุดท้ายจะยอมทำเพื่อผลประโยชน์ของนักธุรกิจบางกลุ่ม
ถ้ากลับไประบบAdderแบบเก่า โอกาสที่จะเกิดGrid Parityในบ้านเราก็จะไม่มีทางเป็นไปได้เลย
ผมว่ายากครับที่จะไปเป็น adder เพราะ ต้นทุนจากแผงจะถูกลงเรื่อยๆ Fit จะได้ผลตอบแทนมากขึ้นเรื่อยๆ
ตอนนี้บริษัทนึงในตลาดก็สามารถทำ IRR ได้ 12% (จาก fit) ซึ่งหมายความว่ามี equity IRR ถึง 30 กว่าเปอร์เซนต์
ดังน้นผมมั่นใจ 99% ครับว่า grid parity จะมาแน่นอน ทั้งในประเทศไทยและในโลกครับ
น่าจะเข้าใจผิดนะครับเพราะ 12% คือ ROE หรือ equity IRR นั่นเอง ถึงได้บ่นกันยังไงละครับ
พวกที่เคยได้Adder8บาทเท่านั้นที่มีโอกาสเห็น ROE ถึง30% ซึ่งต้องเป็นพวกที่ลงมือทำเองตั้งแต่ต้นด้วย ไม่ใช่พวกที่ไปซื้อโครงการคนอื่นต่อมาอีกทอด
ที่จริงแล้วระบบAdder ก็ไม่ได้ทำให้ IRR สูงขึ้นนักหรอกครับ แต่ที่แน่ๆคือมันไม่โปร่งใสเหมือนระบบFIT
ที่พูดแบบนี้เพราะFITจ่ายราคาเดียวตลอดอายุสัญญา พูดง่ายๆคือไม่ต่างอะไรเลยจากพันธบัตรใบนึงที่ให้อัตราผลตอบแทนคงที่ แต่Adderจะถูกบวกเข้าไปกันค่าไฟฟ้าพื้นฐานที่ผันแปรตามค่าFt ไอ้ตัวค่าFtนี่แหล่ะที่ทำให้มูลค่าโครงการเปลี่ยน คิดง่ายๆคือถ้าคนนึงมองว่าค่าFtจะขึ้นทุกๆปี อีกคนมองว่าFtจะคงที่ไปตลอด ส่วนอีกคนมองว่าค่าFtจะลดลงไปเรี่อยๆ สามคนนี้จะให้มูลค่าโครงการเดียวกันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เวลาไปขายโครงการ คนขายก็จะโม้ว่าค่าFtจะเพิ่มชึ้นไปสูงมากๆในอนาคต คนที่ความรู้ไม่มากที่เชื่อ ก็จะหลวมตัวไปซื้อในราคาแพงๆ ก็แค่นั้นเอง
ส่วนการให้Adderจะทำให้ไม่เกิดGrid Parityแน่นอนเพราะAdderจะทำให้ค่าไฟฟ้าแพงกว่าปรกติในช่วงที่จ่ายค่าAdder ดังนั้นยิ่งเพิ่งกำลังการผลิต ต้นทุนค่าไฟฟ้าก็จะยิ่งแพงมากขึ้นในช่วงแรก
ในทางกลับกับ ระบบFITกลับจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดGrid Parityได้เพราะราคาคงที่ตลอดอายุสัญญา ทุกวันนี้คือ5.60บาทต่อหน่อย ค่าไฟฟ้าปัจจุบันก็เริ่มแตะ4บาทแล้ว ในไม่กี่ปีข้างหน้ามีโอการแซง5.60บาทก็เป็นไปได้
ถ้า equity IRR 12% นั่นหมายความว่า project IRR ก็จะเหลือเพียงแค่ 3-5%
ซึ่งเอาไปซื้อ bond 10 years น่าจะคุ้มกว่า
อีกทั้งถ้า project IRR แค่ 3-5% ผมว่า project ไม่มีทาง feasible
เพราะ cost of debt ที่ 4-6% ทำอย่างไรก็ไม่มีทางให้ wacc เหลือ 3-5% ได้แน่ๆ
ดังนั้น ผมจึงขออนุญาตมั่นใจ 90% ว่า IRR 12% เป็น project IRR ไม่ใช่ equity IRR ครับ
ปล.เหลืออีก 10% ไม่มั่นใจ เพราะรู้ตัวว่าความรู้ ความสามารถกระผมแค่หางอึ่งครับ
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 31, 2014 12:11 am
โดย Power Investor
TSE - ซื้อ
โดย : บล.บัวหลวง
วิเคราะห์หุ้น
TSE - ซื้อ
บริษัทพลังงานแสงอาทิตย์ที่จิ๋วแต่แจ๋ว
ประเด็นการลงทุน
เราเริ่มต้นวิเคราะห์ TSE เป็นครั้งแรกด้วยคำแนะนำ ซื้อ โดยจากบรรยากาศตลาดพลังงานทดแทน ณ ขณะนี้บ่งชี้ว่าราคา IPO ที่ 3.90 บาทนั้นถือว่าราคาตำเมื่อเทียบกับหุ้นพลังงานทดแทนอื่นๆ เราเชื่อว่าเราเป้าหมายคำนวณจากวิธี DCF ไม่เหมาะสมสำหรับบรรยากาศตลาดพลังงานทดแทน ณ ขณะนี้ และการคำนวณราคาอ้างอิงจาก PEG จะเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่า หากอ้างอิงจากราคาเฉลี่ย 3 เดือน ค่า PEG เฉลี่ยของกลุ่มจะอยู่ที่ 0.43 เท่า และด้วยสมมติฐานอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีของกำไรต่อหุ้นของ TSE ในช่วง 3 ปีที่ 43% ค่า PER ปี 2558 จะอยู่ที่ 18.4 เท่า ส่งผลให้ราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2558 เป็น 6.50 บาท
นี่คือตัวอย่างกลลวงง่ายๆที่สนับสนุนโดยนักวิเคราะห์ที่ไม่รู้ว่าสอบCFAผ่านมาได้อย่างไร (โดยเฉพาะเรื่องจรรยาบรรณ)
เห็นชัดจากการบอกว่าเป้าหมายคำนวณจากวิธีDCFไม่เหมาะสม แต่การคำนวนราคาอ้างอิงจากPEGเหมาะสมกว่า
ใครๆก็รู้ว่าDCFเป็นวิธีหามูลค่าที่ถูกต้องที่สุด เพียงแต่ว่าโดยปรกติกระแสเงินสดในอนาคตเป็นอะไรที่คาดการได้ยาก แต่ไม่จริงสำหรับธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ที่มีสัญญารับซื้อไฟฟ้าที่แน่นอน กำลังการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยต่อปีที่ค่อนข้างแน่นอนเช่นเดียวกัน ทำให้กระแสเงินสดในอนาคตคาดการได้ไม่ยากเย็นนัก
แต่เค้ารู้ว่าถ้าใช้PEGมันเวอร์ดี เพราะอย่างที่บอกว่าearningsมันเป็นอะไรที่เวอร์อยู่แล้ว แล้วก็ยังไปเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ก็เวอร์เหมือนกัน สุดท้ายผลลัพคือมูลค่าที่ออกมาเวอร์ตามเป็นทวีคูณ
เห็นแล้วก็ขำว่าตลาดหุ้นบ้านเราพักหลังๆ เป็นอะไรที่เรียกว่ารู้ว่าเค้าหลอก แต่ก็เต็มใจให้หลอก เพราะเชื่อว่ามีคนโง่มากกว่าเราอีกเยอะ 555
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 31, 2014 12:55 am
โดย Power Investor
tanapol เขียน:Power Investor เขียน:tanapol เขียน:Power Investor เขียน:Solarบ้านเราเห็นบ่นกันมากเรื่องราคาFITที่ต่ำ เรียกร้องกันให้กลับไปเป็นระบบAdderเหมือนเดิม
คงต้องรอดูว่ารัฐบาลชุดนี้จะทำเพื่อชาติจริงหรือสุดท้ายจะยอมทำเพื่อผลประโยชน์ของนักธุรกิจบางกลุ่ม
ถ้ากลับไประบบAdderแบบเก่า โอกาสที่จะเกิดGrid Parityในบ้านเราก็จะไม่มีทางเป็นไปได้เลย
ผมว่ายากครับที่จะไปเป็น adder เพราะ ต้นทุนจากแผงจะถูกลงเรื่อยๆ Fit จะได้ผลตอบแทนมากขึ้นเรื่อยๆ
ตอนนี้บริษัทนึงในตลาดก็สามารถทำ IRR ได้ 12% (จาก fit) ซึ่งหมายความว่ามี equity IRR ถึง 30 กว่าเปอร์เซนต์
ดังน้นผมมั่นใจ 99% ครับว่า grid parity จะมาแน่นอน ทั้งในประเทศไทยและในโลกครับ
น่าจะเข้าใจผิดนะครับเพราะ 12% คือ ROE หรือ equity IRR นั่นเอง ถึงได้บ่นกันยังไงละครับ
พวกที่เคยได้Adder8บาทเท่านั้นที่มีโอกาสเห็น ROE ถึง30% ซึ่งต้องเป็นพวกที่ลงมือทำเองตั้งแต่ต้นด้วย ไม่ใช่พวกที่ไปซื้อโครงการคนอื่นต่อมาอีกทอด
ที่จริงแล้วระบบAdder ก็ไม่ได้ทำให้ IRR สูงขึ้นนักหรอกครับ แต่ที่แน่ๆคือมันไม่โปร่งใสเหมือนระบบFIT
ที่พูดแบบนี้เพราะFITจ่ายราคาเดียวตลอดอายุสัญญา พูดง่ายๆคือไม่ต่างอะไรเลยจากพันธบัตรใบนึงที่ให้อัตราผลตอบแทนคงที่ แต่Adderจะถูกบวกเข้าไปกันค่าไฟฟ้าพื้นฐานที่ผันแปรตามค่าFt ไอ้ตัวค่าFtนี่แหล่ะที่ทำให้มูลค่าโครงการเปลี่ยน คิดง่ายๆคือถ้าคนนึงมองว่าค่าFtจะขึ้นทุกๆปี อีกคนมองว่าFtจะคงที่ไปตลอด ส่วนอีกคนมองว่าค่าFtจะลดลงไปเรี่อยๆ สามคนนี้จะให้มูลค่าโครงการเดียวกันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เวลาไปขายโครงการ คนขายก็จะโม้ว่าค่าFtจะเพิ่มชึ้นไปสูงมากๆในอนาคต คนที่ความรู้ไม่มากที่เชื่อ ก็จะหลวมตัวไปซื้อในราคาแพงๆ ก็แค่นั้นเอง
ส่วนการให้Adderจะทำให้ไม่เกิดGrid Parityแน่นอนเพราะAdderจะทำให้ค่าไฟฟ้าแพงกว่าปรกติในช่วงที่จ่ายค่าAdder ดังนั้นยิ่งเพิ่งกำลังการผลิต ต้นทุนค่าไฟฟ้าก็จะยิ่งแพงมากขึ้นในช่วงแรก
ในทางกลับกับ ระบบFITกลับจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดGrid Parityได้เพราะราคาคงที่ตลอดอายุสัญญา ทุกวันนี้คือ5.60บาทต่อหน่อย ค่าไฟฟ้าปัจจุบันก็เริ่มแตะ4บาทแล้ว ในไม่กี่ปีข้างหน้ามีโอการแซง5.60บาทก็เป็นไปได้
ถ้า equity IRR 12% นั่นหมายความว่า project IRR ก็จะเหลือเพียงแค่ 3-5%
ซึ่งเอาไปซื้อ bond 10 years น่าจะคุ้มกว่า
อีกทั้งถ้า project IRR แค่ 3-5% ผมว่า project ไม่มีทาง feasible
เพราะ cost of debt ที่ 4-6% ทำอย่างไรก็ไม่มีทางให้ wacc เหลือ 3-5% ได้แน่ๆ
ดังนั้น ผมจึงขออนุญาตมั่นใจ 90% ว่า IRR 12% เป็น project IRR ไม่ใช่ equity IRR ครับ
ปล.เหลืออีก 10% ไม่มั่นใจ เพราะรู้ตัวว่าความรู้ ความสามารถกระผมแค่หางอึ่งครับ
Equity IRR (ROE) ที่12%ครับ โดยถ้าใช้อัตราหนี้สินต่อทุน D/E 3:1นั่นหมายความว่า Project IRR (ROA) อยู่ที่ราวๆ8% ซึ่งจริงๆก็ใกล้เคียงมากกับผลตอบแทนของพวกโรงไฟฟ้าไอพีพีแก๊สที่ROEอยู่ที่ราวๆ10-11%เท่านั้นเอง พูดง่ายๆคือมองว่าเป็นการลงทุนที่ความเสี่ยงไม่สูงเพราะขายให้กับรัฐบนสัญญาระยะยาว ดังนั้นผลตอบแทนจึงไม่สูงมากเช่นกัน คิดซะว่าเป็นการลงทุนกับรัฐ ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ก็แค่นั้นเอง
ลองไปคิดดูเอาเองก็ได้นะครับ ไม่ยากเลย ราคาขาย5.60บาทต่อkWhคงที่25ปี ต้นทุนก่อสร้างประมาน50ล้านบาทต่อMW กู้ธนาคารได้เต็มที่ไม่เกินสามเท่าระยะเวลาคืนเงินกู้ไม่เกิน13ปี ดอกเบี้ยMLR-1 ผลผลิตวันนึงได้ประมาน18% ได้BOI8ปี เผื่อค่าเสื่อมของประสิทธิภาพของแผงด้วยบ้างก็ดี ถึงแม้หลังๆคนขายแผงจะกล้ารับประกันตลอดชีพก็ตาม
ปล.ขออนุญาติมั่นใจ90%เช่นเดียวกันครับ เหลืออีก10%ไม่มั่นใจ เพราะกลัวโดนเขม่นเอา
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 31, 2014 3:25 am
โดย ลูกหิน
ขอบคุณคุณ Power Investor มากครับได้ข้อมูลดีมากเลยครับ ผมชอบครับ ชัดและตรงมาก
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 31, 2014 8:41 am
โดย ดำ
Power Investor เขียน:TSE - ซื้อ
โดย : บล.บัวหลวง
วิเคราะห์หุ้น
TSE - ซื้อ
บริษัทพลังงานแสงอาทิตย์ที่จิ๋วแต่แจ๋ว
ประเด็นการลงทุน
เราเริ่มต้นวิเคราะห์ TSE เป็นครั้งแรกด้วยคำแนะนำ ซื้อ โดยจากบรรยากาศตลาดพลังงานทดแทน ณ ขณะนี้บ่งชี้ว่าราคา IPO ที่ 3.90 บาทนั้นถือว่าราคาตำเมื่อเทียบกับหุ้นพลังงานทดแทนอื่นๆ เราเชื่อว่าเราเป้าหมายคำนวณจากวิธี DCF ไม่เหมาะสมสำหรับบรรยากาศตลาดพลังงานทดแทน ณ ขณะนี้ และการคำนวณราคาอ้างอิงจาก PEG จะเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่า หากอ้างอิงจากราคาเฉลี่ย 3 เดือน ค่า PEG เฉลี่ยของกลุ่มจะอยู่ที่ 0.43 เท่า และด้วยสมมติฐานอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีของกำไรต่อหุ้นของ TSE ในช่วง 3 ปีที่ 43% ค่า PER ปี 2558 จะอยู่ที่ 18.4 เท่า ส่งผลให้ราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2558 เป็น 6.50 บาท
นี่คือตัวอย่างกลลวงง่ายๆที่สนับสนุนโดยนักวิเคราะห์ที่ไม่รู้ว่าสอบCFAผ่านมาได้อย่างไร (โดยเฉพาะเรื่องจรรยาบรรณ)
เห็นชัดจากการบอกว่าเป้าหมายคำนวณจากวิธีDCFไม่เหมาะสม แต่การคำนวนราคาอ้างอิงจากPEGเหมาะสมกว่า
ใครๆก็รู้ว่าDCFเป็นวิธีหามูลค่าที่ถูกต้องที่สุด เพียงแต่ว่าโดยปรกติกระแสเงินสดในอนาคตเป็นอะไรที่คาดการได้ยาก แต่ไม่จริงสำหรับธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ที่มีสัญญารับซื้อไฟฟ้าที่แน่นอน กำลังการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยต่อปีที่ค่อนข้างแน่นอนเช่นเดียวกัน ทำให้กระแสเงินสดในอนาคตคาดการได้ไม่ยากเย็นนัก
แต่เค้ารู้ว่าถ้าใช้PEGมันเวอร์ดี เพราะอย่างที่บอกว่าearningsมันเป็นอะไรที่เวอร์อยู่แล้ว แล้วก็ยังไปเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ก็เวอร์เหมือนกัน สุดท้ายผลลัพคือมูลค่าที่ออกมาเวอร์ตามเป็นทวีคูณ
เห็นแล้วก็ขำว่าตลาดหุ้นบ้านเราพักหลังๆ เป็นอะไรที่เรียกว่ารู้ว่าเค้าหลอก แต่ก็เต็มใจให้หลอก เพราะเชื่อว่ามีคนโง่มากกว่าเราอีกเยอะ 555
เท่าที่ผมสังเกตนะครับ
ถ้าหุ้นนั้น P/E ไม่สูงมาก นักวิเคราะห์จะเลือกประเมินมูลค่าด้วย P/E Approach
ถ้าหุ้นนั้น P/E สูงมาก เช่น หุ้น Turnaround หรือ Growth Stock จะเลือกใช้ DCF
ถ้าหุ้นนั้นประเมินด้วย DCF แล้วก็ยังแพง จะเลือกใช้ PEG
ทำไมเค้าถึงทำแบบนั้น คงต้องพิจารณากันเองครับ คนเราล้วนต้องมีวิวัฒนาการเพื่อให้ดำรงชีวิตต่อไปได้ครับ
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 31, 2014 8:45 am
โดย ดำ
Power Investor เขียน:เห็นแล้วก็ขำว่าตลาดหุ้นบ้านเราพักหลังๆ เป็นอะไรที่เรียกว่ารู้ว่าเค้าหลอก แต่ก็เต็มใจให้หลอก เพราะเชื่อว่ามีคนโง่มากกว่าเราอีกเยอะ 555
ไม่ถึงขนาดนั้นหรอกครับ ส่วนใหญ่ก็แค่คิดว่ามันจะมีแพงกว่า ก็คล้ายๆ แชร์ลูกโซ่ล่ะครับ
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 31, 2014 9:24 am
โดย newbie_12
ราคาน้ำมันลงเยอะ ก๊าซธรรมชาติก็น่าจะลงตาม ค่า FT น่าจะลดลงมั้ยครับ
ปล. คุณ power investor สุดยอดจริงๆครับเรื่องนี้ อ่านแล้วรู้เรื่องขึ้นเยอะเลยครับ
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 31, 2014 9:35 am
โดย tanapol
Power Investor เขียน:tanapol เขียน:Power Investor เขียน:tanapol เขียน:Power Investor เขียน:Solarบ้านเราเห็นบ่นกันมากเรื่องราคาFITที่ต่ำ เรียกร้องกันให้กลับไปเป็นระบบAdderเหมือนเดิม
คงต้องรอดูว่ารัฐบาลชุดนี้จะทำเพื่อชาติจริงหรือสุดท้ายจะยอมทำเพื่อผลประโยชน์ของนักธุรกิจบางกลุ่ม
ถ้ากลับไประบบAdderแบบเก่า โอกาสที่จะเกิดGrid Parityในบ้านเราก็จะไม่มีทางเป็นไปได้เลย
ผมว่ายากครับที่จะไปเป็น adder เพราะ ต้นทุนจากแผงจะถูกลงเรื่อยๆ Fit จะได้ผลตอบแทนมากขึ้นเรื่อยๆ
ตอนนี้บริษัทนึงในตลาดก็สามารถทำ IRR ได้ 12% (จาก fit) ซึ่งหมายความว่ามี equity IRR ถึง 30 กว่าเปอร์เซนต์
ดังน้นผมมั่นใจ 99% ครับว่า grid parity จะมาแน่นอน ทั้งในประเทศไทยและในโลกครับ
น่าจะเข้าใจผิดนะครับเพราะ 12% คือ ROE หรือ equity IRR นั่นเอง ถึงได้บ่นกันยังไงละครับ
พวกที่เคยได้Adder8บาทเท่านั้นที่มีโอกาสเห็น ROE ถึง30% ซึ่งต้องเป็นพวกที่ลงมือทำเองตั้งแต่ต้นด้วย ไม่ใช่พวกที่ไปซื้อโครงการคนอื่นต่อมาอีกทอด
ที่จริงแล้วระบบAdder ก็ไม่ได้ทำให้ IRR สูงขึ้นนักหรอกครับ แต่ที่แน่ๆคือมันไม่โปร่งใสเหมือนระบบFIT
ที่พูดแบบนี้เพราะFITจ่ายราคาเดียวตลอดอายุสัญญา พูดง่ายๆคือไม่ต่างอะไรเลยจากพันธบัตรใบนึงที่ให้อัตราผลตอบแทนคงที่ แต่Adderจะถูกบวกเข้าไปกันค่าไฟฟ้าพื้นฐานที่ผันแปรตามค่าFt ไอ้ตัวค่าFtนี่แหล่ะที่ทำให้มูลค่าโครงการเปลี่ยน คิดง่ายๆคือถ้าคนนึงมองว่าค่าFtจะขึ้นทุกๆปี อีกคนมองว่าFtจะคงที่ไปตลอด ส่วนอีกคนมองว่าค่าFtจะลดลงไปเรี่อยๆ สามคนนี้จะให้มูลค่าโครงการเดียวกันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เวลาไปขายโครงการ คนขายก็จะโม้ว่าค่าFtจะเพิ่มชึ้นไปสูงมากๆในอนาคต คนที่ความรู้ไม่มากที่เชื่อ ก็จะหลวมตัวไปซื้อในราคาแพงๆ ก็แค่นั้นเอง
ส่วนการให้Adderจะทำให้ไม่เกิดGrid Parityแน่นอนเพราะAdderจะทำให้ค่าไฟฟ้าแพงกว่าปรกติในช่วงที่จ่ายค่าAdder ดังนั้นยิ่งเพิ่งกำลังการผลิต ต้นทุนค่าไฟฟ้าก็จะยิ่งแพงมากขึ้นในช่วงแรก
ในทางกลับกับ ระบบFITกลับจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดGrid Parityได้เพราะราคาคงที่ตลอดอายุสัญญา ทุกวันนี้คือ5.60บาทต่อหน่อย ค่าไฟฟ้าปัจจุบันก็เริ่มแตะ4บาทแล้ว ในไม่กี่ปีข้างหน้ามีโอการแซง5.60บาทก็เป็นไปได้
ถ้า equity IRR 12% นั่นหมายความว่า project IRR ก็จะเหลือเพียงแค่ 3-5%
ซึ่งเอาไปซื้อ bond 10 years น่าจะคุ้มกว่า
อีกทั้งถ้า project IRR แค่ 3-5% ผมว่า project ไม่มีทาง feasible
เพราะ cost of debt ที่ 4-6% ทำอย่างไรก็ไม่มีทางให้ wacc เหลือ 3-5% ได้แน่ๆ
ดังนั้น ผมจึงขออนุญาตมั่นใจ 90% ว่า IRR 12% เป็น project IRR ไม่ใช่ equity IRR ครับ
ปล.เหลืออีก 10% ไม่มั่นใจ เพราะรู้ตัวว่าความรู้ ความสามารถกระผมแค่หางอึ่งครับ
Equity IRR (ROE) ที่12%ครับ โดยถ้าใช้อัตราหนี้สินต่อทุน D/E 3:1นั่นหมายความว่า Project IRR (ROA) อยู่ที่ราวๆ8% ซึ่งจริงๆก็ใกล้เคียงมากกับผลตอบแทนของพวกโรงไฟฟ้าไอพีพีแก๊สที่ROEอยู่ที่ราวๆ10-11%เท่านั้นเอง พูดง่ายๆคือมองว่าเป็นการลงทุนที่ความเสี่ยงไม่สูงเพราะขายให้กับรัฐบนสัญญาระยะยาว ดังนั้นผลตอบแทนจึงไม่สูงมากเช่นกัน คิดซะว่าเป็นการลงทุนกับรัฐ ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ก็แค่นั้นเอง
ลองไปคิดดูเอาเองก็ได้นะครับ ไม่ยากเลย ราคาขาย5.60บาทต่อkWhคงที่25ปี ต้นทุนก่อสร้างประมาน50ล้านบาทต่อMW กู้ธนาคารได้เต็มที่ไม่เกินสามเท่าระยะเวลาคืนเงินกู้ไม่เกิน13ปี ดอกเบี้ยMLR-1 ผลผลิตวันนึงได้ประมาน18% ได้BOI8ปี เผื่อค่าเสื่อมของประสิทธิภาพของแผงด้วยบ้างก็ดี ถึงแม้หลังๆคนขายแผงจะกล้ารับประกันตลอดชีพก็ตาม
ปล.ขออนุญาติมั่นใจ90%เช่นเดียวกันครับ เหลืออีก10%ไม่มั่นใจ เพราะกลัวโดนเขม่นเอา
ถกกันอย่างนี้เกิดความรู้ดีครับ พี่ power investor ทักมา เลยไปคำนวณในไฟล์นั้นใหม่ ซึ่งมีดังนี้ครับ
-ที่ project IRR 12% (d/e 3:1) ในนั้นคำนวณได้ equity IRR 21% และที่บอกว่ามี 30 กว่าเปอร์ ผมเข้าใจผิด อันนั้นคือ ROE ครับ
(ปีแรก คำนวณได้ 27 % จะไปได้ 30% ขึ้น ในปีที่ 5 ข้อแม้คือ payout ratio สูงครับ)"
-ดังนั้น ที่พี่ว่า project IRR 8% (ยังไม่ได้คำนวณ) มันก็ feasible จิง เพราะ wacc แค่ 5.5%
(ที่ cost of debt 5%, cost of equity 10%, d/e 3:1, tax 20%)
ส่วนนี้ต้องยอมรับในความผิดพลาดและขออภัยครับ
แต่เรื่องที่พี่ใช้ assumption อย่างที่ว่า (จะทำให้ได้ project IRR 8%) ขอไปทำการบ้านต่อก่อนครับ
อีกประเด็น equity IRR ไม่น่าจะเท่ากับ ROE และ project IRR ไม่น่าจะเท่ากับ ROA ครับ
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 31, 2014 11:36 am
โดย tanapol
Power Investor เขียน:tanapol เขียน:Power Investor เขียน:tanapol เขียน:Power Investor เขียน:Solarบ้านเราเห็นบ่นกันมากเรื่องราคาFITที่ต่ำ เรียกร้องกันให้กลับไปเป็นระบบAdderเหมือนเดิม
คงต้องรอดูว่ารัฐบาลชุดนี้จะทำเพื่อชาติจริงหรือสุดท้ายจะยอมทำเพื่อผลประโยชน์ของนักธุรกิจบางกลุ่ม
ถ้ากลับไประบบAdderแบบเก่า โอกาสที่จะเกิดGrid Parityในบ้านเราก็จะไม่มีทางเป็นไปได้เลย
ผมว่ายากครับที่จะไปเป็น adder เพราะ ต้นทุนจากแผงจะถูกลงเรื่อยๆ Fit จะได้ผลตอบแทนมากขึ้นเรื่อยๆ
ตอนนี้บริษัทนึงในตลาดก็สามารถทำ IRR ได้ 12% (จาก fit) ซึ่งหมายความว่ามี equity IRR ถึง 30 กว่าเปอร์เซนต์
ดังน้นผมมั่นใจ 99% ครับว่า grid parity จะมาแน่นอน ทั้งในประเทศไทยและในโลกครับ
น่าจะเข้าใจผิดนะครับเพราะ 12% คือ ROE หรือ equity IRR นั่นเอง ถึงได้บ่นกันยังไงละครับ
พวกที่เคยได้Adder8บาทเท่านั้นที่มีโอกาสเห็น ROE ถึง30% ซึ่งต้องเป็นพวกที่ลงมือทำเองตั้งแต่ต้นด้วย ไม่ใช่พวกที่ไปซื้อโครงการคนอื่นต่อมาอีกทอด
ที่จริงแล้วระบบAdder ก็ไม่ได้ทำให้ IRR สูงขึ้นนักหรอกครับ แต่ที่แน่ๆคือมันไม่โปร่งใสเหมือนระบบFIT
ที่พูดแบบนี้เพราะFITจ่ายราคาเดียวตลอดอายุสัญญา พูดง่ายๆคือไม่ต่างอะไรเลยจากพันธบัตรใบนึงที่ให้อัตราผลตอบแทนคงที่ แต่Adderจะถูกบวกเข้าไปกันค่าไฟฟ้าพื้นฐานที่ผันแปรตามค่าFt ไอ้ตัวค่าFtนี่แหล่ะที่ทำให้มูลค่าโครงการเปลี่ยน คิดง่ายๆคือถ้าคนนึงมองว่าค่าFtจะขึ้นทุกๆปี อีกคนมองว่าFtจะคงที่ไปตลอด ส่วนอีกคนมองว่าค่าFtจะลดลงไปเรี่อยๆ สามคนนี้จะให้มูลค่าโครงการเดียวกันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เวลาไปขายโครงการ คนขายก็จะโม้ว่าค่าFtจะเพิ่มชึ้นไปสูงมากๆในอนาคต คนที่ความรู้ไม่มากที่เชื่อ ก็จะหลวมตัวไปซื้อในราคาแพงๆ ก็แค่นั้นเอง
ส่วนการให้Adderจะทำให้ไม่เกิดGrid Parityแน่นอนเพราะAdderจะทำให้ค่าไฟฟ้าแพงกว่าปรกติในช่วงที่จ่ายค่าAdder ดังนั้นยิ่งเพิ่งกำลังการผลิต ต้นทุนค่าไฟฟ้าก็จะยิ่งแพงมากขึ้นในช่วงแรก
ในทางกลับกับ ระบบFITกลับจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดGrid Parityได้เพราะราคาคงที่ตลอดอายุสัญญา ทุกวันนี้คือ5.60บาทต่อหน่อย ค่าไฟฟ้าปัจจุบันก็เริ่มแตะ4บาทแล้ว ในไม่กี่ปีข้างหน้ามีโอการแซง5.60บาทก็เป็นไปได้
ถ้า equity IRR 12% นั่นหมายความว่า project IRR ก็จะเหลือเพียงแค่ 3-5%
ซึ่งเอาไปซื้อ bond 10 years น่าจะคุ้มกว่า
อีกทั้งถ้า project IRR แค่ 3-5% ผมว่า project ไม่มีทาง feasible
เพราะ cost of debt ที่ 4-6% ทำอย่างไรก็ไม่มีทางให้ wacc เหลือ 3-5% ได้แน่ๆ
ดังนั้น ผมจึงขออนุญาตมั่นใจ 90% ว่า IRR 12% เป็น project IRR ไม่ใช่ equity IRR ครับ
ปล.เหลืออีก 10% ไม่มั่นใจ เพราะรู้ตัวว่าความรู้ ความสามารถกระผมแค่หางอึ่งครับ
Equity IRR (ROE) ที่12%ครับ โดยถ้าใช้อัตราหนี้สินต่อทุน D/E 3:1นั่นหมายความว่า Project IRR (ROA) อยู่ที่ราวๆ8% ซึ่งจริงๆก็ใกล้เคียงมากกับผลตอบแทนของพวกโรงไฟฟ้าไอพีพีแก๊สที่ROEอยู่ที่ราวๆ10-11%เท่านั้นเอง พูดง่ายๆคือมองว่าเป็นการลงทุนที่ความเสี่ยงไม่สูงเพราะขายให้กับรัฐบนสัญญาระยะยาว ดังนั้นผลตอบแทนจึงไม่สูงมากเช่นกัน คิดซะว่าเป็นการลงทุนกับรัฐ ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ก็แค่นั้นเอง
ลองไปคิดดูเอาเองก็ได้นะครับ ไม่ยากเลย ราคาขาย5.60บาทต่อkWhคงที่25ปี ต้นทุนก่อสร้างประมาน50ล้านบาทต่อMW กู้ธนาคารได้เต็มที่ไม่เกินสามเท่าระยะเวลาคืนเงินกู้ไม่เกิน13ปี ดอกเบี้ยMLR-1 ผลผลิตวันนึงได้ประมาน18% ได้BOI8ปี เผื่อค่าเสื่อมของประสิทธิภาพของแผงด้วยบ้างก็ดี ถึงแม้หลังๆคนขายแผงจะกล้ารับประกันตลอดชีพก็ตาม
ปล.ขออนุญาติมั่นใจ90%เช่นเดียวกันครับ เหลืออีก10%ไม่มั่นใจ เพราะกลัวโดนเขม่นเอา
ไปคำนวณใหม่ตาม assumption ที่พี่ power investor ให้มาละครับ
คำนวณไปมา ได้ project IRR มากกว่า assumption ที่พวกผมใช้อีกครับ (พวกผมได้ project IRR 11.96%)
เพราะพี่ให้ output 18% แต่พวกผมให้ output 17.25% และ loss อีก 3%
degradation พวกผมให้ 0.77% ครับ (ตามที่บริษัทให้ข้อมูล)
ส่วนระยะเวลาคืนเงินต้น กับดอกเบี้ยก็ต่างกันบ้าง (เราให้ 7 ปี ดอก 5% ตามที่บริษัทให้ข้อมูล)
อย่างไรก็ตามมันไม่ matter กับ project IRR อยู่แล้ว
สรุปคือ ผมไปคำนวณตาม assumption ที่พี่ให้แล้วได้ project IRR มากกว่า 12% ครับ
พี่อาจลองไปคำนวณใหม่อีกที หรือ
แชร์ไฟล์การคำนวณของพี่ให้ผม recheck ดูได้ เผื่อผมทำไรผิดพลาดครับ
ปล.ถ้าผิดพลาดขออภัยด้วยครับ ไม่กล้ามั่นใจแล้ว กลัวหน้าแตกอ่าาาา
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 31, 2014 11:16 pm
โดย Power Investor
ผมว่าอาจจะสับสนกันที่คำนิยามต่างๆด้วยนะครับ
เอาเป็นว่าผมเข้าใจอย่างนี้ก็แล้วกันคือ ถ้าเราทำโครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ใหม่วันนี้ โดยได้ค่าไฟฟ้าที่อัตราFITใหม่ วิธีคิดผลตอบแทนของโครงการในรูป Project IRR มีสองแบบคือ
1. ถ้าเราสมมติว่าเราใช้เงินกู้ในโครงการนี้ด้วย ที่สัดส่วนหนี้สินต่อทุน3:1เท่า เราจะได้ผลตอบแทนโครงการในรูป Levered Project IRR ที่ราวๆ12%
2. ถ้าเราสมมติว่าเราไม่ใช้เงินกู้ในโครงการนี้เลย เราจะได้ผลตอบแทนโครงการในรูป Unlevered Project IRR ที่ราวๆ8%
แบบที่สองนี่ผมคิดเอาเองในใจแบบคร่าวๆนะครับ อาจจะไม่ถูกต้องนักแต่น่าจะใกล้เคียง
ซึ่งผลตอบแทนข้างบนนี้ ผมมองว่าค่อนข้างต่ำไปนิดนึงสำหรับผู้ลงทุน เมื่อเทียบกับความเสี่ยงของโครงการลักษณะนี้ แต่ถ้ามองว่าดีแล้วก็ทำไปเถอะครับ ราคาFITแบบนี้ รัฐไม่เสียหายอยู่แล้ว อยากทำก็ทำกันไปเลย ถ้าทำกันเยอะๆ อีกหน่อยใช้วิธีเปิดประมูลกันไปเลยก็ดีนะ ยื่นซองระบุราคาขายในแต่ละปีตลอดอายุสัญญาไปเลย ใครให้ราคาถูกที่สุดก็ชนะไป จะได้ราคาต่ำกว่าFITเข้าไปอีก
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 01, 2014 10:23 am
โดย Lingnoi
Power Investor เขียน:ผมว่าอาจจะสับสนกันที่คำนิยามต่างๆด้วยนะครับ
เอาเป็นว่าผมเข้าใจอย่างนี้ก็แล้วกันคือ ถ้าเราทำโครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ใหม่วันนี้ โดยได้ค่าไฟฟ้าที่อัตราFITใหม่ วิธีคิดผลตอบแทนของโครงการในรูป Project IRR มีสองแบบคือ
1. ถ้าเราสมมติว่าเราใช้เงินกู้ในโครงการนี้ด้วย ที่สัดส่วนหนี้สินต่อทุน3:1เท่า เราจะได้ผลตอบแทนโครงการในรูป Levered Project IRR ที่ราวๆ12%
2. ถ้าเราสมมติว่าเราไม่ใช้เงินกู้ในโครงการนี้เลย เราจะได้ผลตอบแทนโครงการในรูป Unlevered Project IRR ที่ราวๆ8%
แบบที่สองนี่ผมคิดเอาเองในใจแบบคร่าวๆนะครับ อาจจะไม่ถูกต้องนักแต่น่าจะใกล้เคียง
ซึ่งผลตอบแทนข้างบนนี้ ผมมองว่าค่อนข้างต่ำไปนิดนึงสำหรับผู้ลงทุน เมื่อเทียบกับความเสี่ยงของโครงการลักษณะนี้ แต่ถ้ามองว่าดีแล้วก็ทำไปเถอะครับ ราคาFITแบบนี้ รัฐไม่เสียหายอยู่แล้ว อยากทำก็ทำกันไปเลย ถ้าทำกันเยอะๆ อีกหน่อยใช้วิธีเปิดประมูลกันไปเลยก็ดีนะ ยื่นซองระบุราคาขายในแต่ละปีตลอดอายุสัญญาไปเลย ใครให้ราคาถูกที่สุดก็ชนะไป จะได้ราคาต่ำกว่าFITเข้าไปอีก
ผมว่าพี่PI เข้าใจผิดนิดนึงนะครับ หลักการของการคำนวณproject IRR เขาจะไม่เอาต้นทุนทางการเงินมาคิดครับ คิดคล้ายๆกับROA จะมีแตกต่างกับROAคือในรูปของกระแสเงินสด และช่วงของเวลา ถ้าจะอธิบายแบบเข้าใจง่ายๆของกำไรแค่1ปี project IRR คือผลตอบแทนใน1ปีที่หักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน แต่ไม่หักค่าเสื่อมครับ ส่วนEIRR จะคล้ายๆROE ครับพี่ เวลาถ้ามีการพูดโดยภาพรวม เขาจะพูดถึงProject IRR เพราะแต่ละที่แต่ละโคงการจะได้เงินกู้ไม่เท่ากัน อัตราดอกเบี้ยไม่เท่ากันครับพี่
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 01, 2014 10:32 am
โดย Lingnoi
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราฝากเงิน100บาท ได้ดอกร้อยละ5 ถ้าพูดถึงIRR จะเท่ากับ5%ครับ แต่ถ้าเราทำธุรกิจ2ขา เช่นทำโรงไฟฟ้าลงทุน100บาท บอกมีirr12% จะหมายความว่า เราจะได้ผลตอบแทน12บาทก่อนค่าเสื่อมครับ(ส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ดูแล ซ่อมแซม จะถูกคำนวณจนได้เลข12บาทไปแล้ว) ถ้า รฟฟ นี้ไม่มีเงินกู้ก็จะได้ผลตอบแทน12%ก่อนค่าเสื่อมครับ ถ้ากู้50%คิดง่ายๆก็24%ก่อนค่าเสื่อมก่อนจ่ายดอกเบี้ยครับ ปล เราไม่พูดถึงภาษี และไม่คิดdcfนะครับ
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 01, 2014 1:06 pm
โดย Power Investor
Lingnoi เขียน:ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราฝากเงิน100บาท ได้ดอกร้อยละ5 ถ้าพูดถึงIRR จะเท่ากับ5%ครับ แต่ถ้าเราทำธุรกิจ2ขา เช่นทำโรงไฟฟ้าลงทุน100บาท บอกมีirr12% จะหมายความว่า เราจะได้ผลตอบแทน12บาทก่อนค่าเสื่อมครับ(ส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ดูแล ซ่อมแซม จะถูกคำนวณจนได้เลข12บาทไปแล้ว) ถ้า รฟฟ นี้ไม่มีเงินกู้ก็จะได้ผลตอบแทน12%ก่อนค่าเสื่อมครับ ถ้ากู้50%คิดง่ายๆก็24%ก่อนค่าเสื่อมก่อนจ่ายดอกเบี้ยครับ ปล เราไม่พูดถึงภาษี และไม่คิดdcfนะครับ
จริงๆก็พูดเรื่องเดียวกันแหละครับ คือจะมองผลตอบแทนแบบมีหนี้หรือไม่มีหนี้ก็ได้
ผมกลับไปมองดูอีกทีนึงว่าลืมอะไรบ้างหรือเปล่า เลยมาเห็นต้นทุนใหญ่อีกตัวที่ไม่ได้พูดถึงกัน ก็คือเรื่องค่าที่ดิน
อันนี้ก็มีผลกระทบกับผลตอบแทนโครงการพอสมควร ที่ดินถูกหรือแพง รวมค่าที่ดินหรือไม่รวม เช่นราคาที่ดิน คิดที่ราคาต้นทุนหรือราคาตลาด ก็มีผลต่างกันแล้ว
คิดมากไปแบบผมที่รวมทุกเม็ดทุกบาททุกสตางค์เป็นต้นทุน ก็อาจทำให้มองผลตอบแทนออกมาต่ำกว่าคนอื่นก็เป็นไปได้ครับ
สุดท้ายก็อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้แล้ว ถ้าเชื่อว่าคุ้มค่าการลงทุนก็ลุยไปเลย หรือถ้าจะลงทุนไปกับบริษัทที่ทำธุรกิจนี้แล้วเชื่อว่าจะได้ผลตอบแทนตามที่เค้าบอก ก็ลงทุนไปเลย
การลงทุนของแต่ละคนไม่เหมือนกันอยู่แล้ว แม้แต่ผู้ประกอบการก็เช่นเดียวกัน บางคนทำธุรกิจเพื่อให้ยั่งยืนไปชั่วลูกชั่วหลาน หลายคนทำตามกระแสและโอกาสเพื่อหมุนเงินต่อยอดไปเรื่อยๆ เลวสุดคือพวกกะทำแบบถูกๆให้ได้กำไรช่วงต้นเยอะๆแล้วตีหัวเข้าบ้านขายต่อให้คนอื่นรับภาระไปต่อ ยังไงก็ดูกันให้ดีแล้วกันนะครับ