หน้า 7 จากทั้งหมด 10

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 03, 2008 3:57 pm
โดย WannaBeVI
ผมกลัวปัญหา CDS ที่จะครบกำหนดในกลางปีหน้ามากกว่า
ที่ได้ยินมาความเสียหายที่จะต้องเกิดอยู่ในระดับหลักล้านล้านเลย

ผมกำลังกลัวว่าสหรัฐจะเอาเงินที่ไหนมาอุดโดมินโนตรงนี้มากกว่า
เพราะยังไงปัญหา BIG 3 สหรัฐก็ต้องเข้ามาช่วยอยู่ดี
เพราะถ้าปล่อยให้ล้ม มันไม่ได้จบแค่บริษัทล้มแล้งจบ
ผลกระทบมันกระจายไปทั่วโลก
ที่จะดูอย่างเดียวคือ สหรัฐจะช่วยยังไง
ไม่ให้ประชาชนรุมด่า ฐานที่ใช้เงินภาษีประชาชนอย่างไม่ยุติธรรม

แต่ไอ้ CDS มันเป็นเฟมือนที่ปู่บัฟเฟตบอก คือ Mass Destructive weapon ระดับนิวเคลียร์ลูกย่อมๆเลยทีเดียว

อีกอย่างที่ผมอยากทราบ คือ เมื่อไรสหรัฐจะเงินหมดคลังซะที
เห็นพี่แกใช้เงินอุ้มนู่นอุ้มนี่
ตอนนี้เงินเหรียญสหรัฐน่าจะไม่มีค่าอะไรแล้วนะครับ(อันนี้นั่งเทียน)
ล่าสุดเนี่ยเห็นผู้ว่าคนเหล็ก เริ่มพูดถึงเงินในรัฐเริ่มขาดสภาพคล่อง
มีการคาดการณ์ว่าจะปลดข้าราชการออกด้วยนะ
ปล.อยากรบกวนคุณPrandy วิเคราะห์ผลกระทบจาก CDSให้หน่อยครับ
ขอบคุณครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 05, 2008 10:43 pm
โดย hongvalue
ขออนุญาติแนะนำหนังสือ fundflow หน่อยครับ

(ต้องขอบคุณคุณหมอ mprandy ที่แนะนำหนังสือสุดยอดเล่มนี้ให้ผมอีกที)

When Markets Collide: Investment Strategies for the Age of Global Economic Change

รูปภาพ

หน้าปกมี commend ของอดีตประธาน fed อย่าง greenspan ด้วยนะครับ

เขา comment หนังสือเล่มนี้ว่า

an essential read for those who wish to understand the modern world of investing

เนื้อหามีรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุผลว่าทำไม เม็ดเงินที่ไหลไปที่นั้นที่นี้
และมีเกี่ยวกับประเทศ usa เยอะมาก

และอีกหน่อยคนเขียนคาดการณ์ว่าสถานการณ์ตลาดหุ้นตลาดเงินของโลกนี้
จะมีรูปแบบที่แตกต่างกับในอดีตออกไปพอสมควร

ใครอยากรู้ไปหาอ่านดูนะครับ

ขอบอกว่า มันมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 06, 2008 6:17 pm
โดย Reminiscence of 3 Dogs
hongvalue เขียน:ขออนุญาติแนะนำหนังสือ fundflow หน่อยครับ

(ต้องขอบคุณคุณหมอ mprandy ที่แนะนำหนังสือสุดยอดเล่มนี้ให้ผมอีกที)

When Markets Collide: Investment Strategies for the Age of Global Economic Change

รูปภาพ

หน้าปกมี commend ของอดีตประธาน fed อย่าง greenspan ด้วยนะครับ

เขา comment หนังสือเล่มนี้ว่า

an essential read for those who wish to understand the modern world of investing

เนื้อหามีรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุผลว่าทำไม เม็ดเงินที่ไหลไปที่นั้นที่นี้
และมีเกี่ยวกับประเทศ usa เยอะมาก

และอีกหน่อยคนเขียนคาดการณ์ว่าสถานการณ์ตลาดหุ้นตลาดเงินของโลกนี้
จะมีรูปแบบที่แตกต่างกับในอดีตออกไปพอสมควร

ใครอยากรู้ไปหาอ่านดูนะครับ

ขอบอกว่า มันมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
อ่าน Wall Street Journal เมื่อช่วงปีที่แล้ว
คนเขียนเคยเป็นผู้บริหารกองทุนของ Harvard University ถ้าจำไม่ผิดครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 06, 2008 8:59 pm
โดย hongvalue
http://www.bbznet.com/scripts3/view.php ... r=numtopic


คุณ ih ภาค 12 ครับ

เกี่ยวกับ economic ใครชอบลองอ่านดูครับ

ผมถามพี่ ih 16 ข้อ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 11, 2008 10:06 am
โดย hongvalue
มีคำถาม ถามหมอด้าหน่อยครับ

1.ขอถามความเห็นว่าล่าสุด bailout plan ที่ช่วย 3 ค่ายรถ เห็นว่าลงเงินไปแค่ 15000 ก่อนปะครับ

มีความเห็นอย่างไรบ้างครับ

2.ช่วยเล่า 3 ลักษณะของ black swan ให้ฟังหน่อยสิครับ

1.rarity/highly unexpected
2.extreme impact
3.retropective predictability

3 อย่างนี้ประยุกต์กับตลาดหุ้นได้ไงบ้างครับ


ขอบคุณครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 11, 2008 10:21 am
โดย hongvalue
ถ้าเพิ่มอีกข้อคือ

มีนักวิเคราห์คาดว่าเงินหยวนจะอ่อนค่าลง 10% ในปีหน้า

ขอทราบความเห็นหน่อยครับว่าจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 11, 2008 12:16 pm
โดย mprandy
hongvalue เขียน:มีคำถาม ถามหมอด้าหน่อยครับ

1.ขอถามความเห็นว่าล่าสุด bailout plan ที่ช่วย 3 ค่ายรถ เห็นว่าลงเงินไปแค่ 15000 ก่อนปะครับ

มีความเห็นอย่างไรบ้างครับ

2.ช่วยเล่า 3 ลักษณะของ black swan ให้ฟังหน่อยสิครับ

1.rarity/highly unexpected
2.extreme impact
3.retropective predictability

3 อย่างนี้ประยุกต์กับตลาดหุ้นได้ไงบ้างครับ

ขอบคุณครับ
1. เงินก้อนแรก 15,000 ล้าน (ล่าสุดเห็นว่าเหลือ 14,000 ล้าน) เหรียญ น่าจะเป็นแค่เงิน "ต่อลมหายใจ" ของ Big 3 เท่านั้นครับ เพราะคาดว่าถ้าไม่ได้เงินภายในสิ้นเดือนนี้ GM หรือ Chrysler น่าจะไปไม่รอดแล้ว เหตุที่เขาไม่ผ่านร่างกฏหมาย bail out ชนิดเต็มเพราะว่า การช่วยบริษัทรถยนต์ต่างกับช่วย Fannie/Freddie หรือสถาบันการเงินตรงที่กว่ากิจการจะฟื้นตัวอย่างจริงจังก็ต้องใช้เวลา turnaround อีกหลายปี (ถ้ามันจะ turnaround ได้) ผิดกับสถาบันการเงินที่สามารถปรับเปลี่ยนและดำเนินงานต่อไปได้ทันที

นอกจากนี้อนาคตของ Big 3 เองก็ยังดูมืดมนอยู่ดี เหตุเพราะพื้นฐานกิจการไม่มีความแข็งแกร่งและได้เปรียบในอุตสาหกรรม การปรับโครงสร้างและเน้นการผลิตรถเล็ก ประหยัดน้ำมัน ที่ต่างจากที่ทำมา (รถใหญ่ รถกระบะ SUV ราคาแพง) ต้องใช้เวลาดีไซน์ ผลิตรถต้นแบบ ผลิตออกตลาดในคุณภาพที่แข่งกับชาวบ้านได้ แล้วต้องภาวนาให้ผู้บริโภคชอบและหันมาซื้อด้วย กระบวนการเหล่านี้กินเวลาอีกหลายปีกว่าจะ fully functioned แถมการเริ่มตอนนี้ก็ช้ากว่าคู่แข่งไปหลายปี แม้จะไม่ทันการณ์แต่ยังดีกว่าไม่ปรับตัวเสียเลย

คนอาจจะสงสัยว่า GM ก็มีรถเล็กออกมานี่นา อย่าง Chevy Optra ที่โฆษณากันโครม ๆ แต่ความเป็นจริงแล้ว รถนี้นำต้นแบบมาจาก Daewoo บริษัทรถเกาหลีที่เจ๊งและ GM take over ไปหลายปีก่อน รถรุ่นนี้จึงไม่ใช่ของ GM จริง ๆ และทำการผลิตมาแก้ขัดในช่วงนี้ไปก่อน

สุดท้าย เหตุผลอีกข้อหนึ่งที่เขาไม่ยอมผ่านร่างกฏหมายช่วยเหลือฉบับเต็มออกมา ก็เพราะคนยังต่อต้านมาก เรื่องเอาเงินภาษีไปอุ้ม โดยเฉพาะ Bush และ Republican เองที่เขามีหลักการตลาดเสรี ไม่ยอมให้ล้มบนฟูก และถือว่าปัญหานี้มันน่าจะดำเนินยืดยาวไปเกินกว่ารัฐบาลและรัฐสภาชุดนี้ที่กำลังหมดวาระ เลยช่วยเหลือแบบเฉพาะหน้าไปก่อน รอสภาและรัฐบาลใหม่เข้ามาตกลงอีกทีว่า ระยะเวลา 3-4 เดือนที่ให้เงินอัดฉีดไป Big 3 จะมีแผนการฟื้นฟูที่ดูน่าจะเป็นไปได้หรือไม่ ถ้าน่าจะเป็นไปได้ก็คงจะให้เิงินอีกก้อน แต่ถ้าไม่ได้ ก็จะถอนเงินลงทุนทั้งหมดแล้วสั่งให้ล้มละลาย

งานนี้เงินภาษีก็ไม่น่าจะเสียเปล่า เพราะเงินอัดฉีด 14,000 ล้านเหรียญ จะแลกกับหุ้น 20% และตั้งผู้ดูแล (car czar) ขึ้นมาใช้อำนาจตัดสินใจสำคัญของบริษัทที่ขอเงิน รวมถึงอำนาจในการสั่งให้ล้มละลายด้วย แถมหนี้ก้อนนี้จะต้องคืนมาก่อนเป็นอันดับแรกถ้าล้มละลายจริง

ส่วนข้อ 2 จะมาอธิบายให้อีกที  :wink: ข้อนี้ถ้าเคยอ่านหนังสือของ Taleb มาก่อน หรือเข้าใจ concept ของ extremistan กับ mediocristan จะเข้าใจได้ดี แต่ยังไงจะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 11, 2008 5:24 pm
โดย mprandy
WannaBeVI เขียน:ผมกลัวปัญหา CDS ที่จะครบกำหนดในกลางปีหน้ามากกว่า
ที่ได้ยินมาความเสียหายที่จะต้องเกิดอยู่ในระดับหลักล้านล้านเลย

ผมกำลังกลัวว่าสหรัฐจะเอาเงินที่ไหนมาอุดโดมินโนตรงนี้มากกว่า
เพราะยังไงปัญหา BIG 3 สหรัฐก็ต้องเข้ามาช่วยอยู่ดี
เพราะถ้าปล่อยให้ล้ม มันไม่ได้จบแค่บริษัทล้มแล้งจบ
ผลกระทบมันกระจายไปทั่วโลก
ที่จะดูอย่างเดียวคือ สหรัฐจะช่วยยังไง
ไม่ให้ประชาชนรุมด่า ฐานที่ใช้เงินภาษีประชาชนอย่างไม่ยุติธรรม

แต่ไอ้ CDS มันเป็นเฟมือนที่ปู่บัฟเฟตบอก คือ Mass Destructive weapon ระดับนิวเคลียร์ลูกย่อมๆเลยทีเดียว

อีกอย่างที่ผมอยากทราบ คือ เมื่อไรสหรัฐจะเงินหมดคลังซะที
เห็นพี่แกใช้เงินอุ้มนู่นอุ้มนี่
ตอนนี้เงินเหรียญสหรัฐน่าจะไม่มีค่าอะไรแล้วนะครับ(อันนี้นั่งเทียน)
ล่าสุดเนี่ยเห็นผู้ว่าคนเหล็ก เริ่มพูดถึงเงินในรัฐเริ่มขาดสภาพคล่อง
มีการคาดการณ์ว่าจะปลดข้าราชการออกด้วยนะ
ปล.อยากรบกวนคุณPrandy วิเคราะห์ผลกระทบจาก CDSให้หน่อยครับ
ขอบคุณครับ
CDS คงยังอยู่ในระบบการเงินโลกต่อไปอีกอย่างแน่นอน แต่คนคงจะใช้มันเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจริง ๆ มากกว่าจะเป็นเครื่องมือเก็งกำไร (คล้าย ๆ option) เหมือนที่ผ่านมา

ผลกระทบของ CDS ก็คงไม่ต่างอะไรกับ CDO/MBS เพียงแต่ scale และความเสียหายมันต่างกัน (all or none) เหมือนที่กล่าวไปแล้วในกระทู้ก่อนหน้านี้

อย่าเข้าใจผิดนะครับว่า CDS ที่มีอยู่มากมายหลายล้านล้านดอลลาร์ จะกลายเป็นหนี้เสียซะหมด CDS ที่มีอยู่ในตลาดนั้น ส่วนใหญ่เป็นสัญญาดี แต่ความกลัวทั้งหมดเกิดจาก CDS ส่วนน้อย เมือถึงเวลาครบกำหนด CDS ที่มีปัญหาก็คงหมดไป CDS ที่มีอยู่ส่วนหนึ่งก็คง roll over เป็นสัญญาใหม่ที่มี rate ต่างไปจากเดิม

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 11, 2008 6:21 pm
โดย chode
mprandy เขียน:[
รวมถึงอำนาจในการสั่งให้ล้มละลายด้วย แถมหนี้ก้อนนี้จะต้องคืนมาก่อนเป็นอันดับแรกถ้าล้มละลายจริง
ผมชอบเงื่อนไข 2 ข้อนี้มากเมืองไทยควรศึกษาเพื่อเอามาใช้กับการบินไทยในอนาคต

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 11, 2008 6:50 pm
โดย mprandy
ย้อนกลับมาเรื่อง Black Swan ผมเองก็ไม่รู้ว่าจะอธิบายยังไงให้มันง่าย ๆ ได้มากกว่านี้ เพราะหนังสือเล่มนี้ยอมรับเลยว่าอ่านยาก มีลักษณะเป็นปรัชญามากกว่าหนังสือเศรษฐศาสตร์หรือธุรกิจ ถ้าตรงไหนไม่รู้เรื่อง ก็ลองนึกตามตัวอย่าง อาจจะพอได้ไอเดียมากกว่า

จะเข้าใจ Black Swan ต้องเข้าใจ extremistan กับ mediocristan ก่อน ทั้งสองอย่างนี้เป็นประเภทของตัวแปร (parameter) ที่แยกกันโดยดูว่าค่าพิสัยของตัวแปรที่เป็นไปได้ สามารถเพิ่มหรือลดขนาดได้หรือไม่ (scalability)

non scalable parameter คือตัวแปรที่มีค่าค่อนข้างคงที่ ไม่สามารถเพิ่มหรือลดได้ ส่วน scalable paramenter เป็นตัวแปรที่มีค่าแปรผันได้ ตัวอย่างของ parameter ที่เป็น non scalable มักเป็นค่าที่เกี่ยวกับปริมาณ ชั่ง ตวง วัดกันทั่ว ๆ ไป (quantity) เช่น ความสูงและน้ำหนักของคน, IQ, อุณหภูมิของอากาศ, ค่าจ้างแรงงาน/ชม.

ค่าเหล่านี้มีการกระจายเป็นแบบสุ่ม แต่มีลักษณะเป็น bell curve (Gaussian distribution) และมีกรอบพิสัย (range) ที่จำกัด เช่นความสูงของคน น้ำหนักของคน หรือค่าจ้างแรงงาน/ชม. ค่าเหล่านี้แม้จะมีความหลากหลายแตกต่างกันไป แต่ก็มีความจำกัด (subject to limitation or gravity)

ในขณะที่ scalable parameter เป็นค่าที่มีความหลากหลายมาก และมีพิสัย (range) แทบไม่จำกัด และมักเกี่ยวกับตัวเลข (number) เช่นความร่ำรวยของคน จะเห็นว่ามีตั้งแต่จนสุด ๆ จนถึงร่ำรวยล้นฟ้า

สมาชิกของตัวแปรที่มีลักษณะเป็น non scalable คือ mediocristan และสมาชิกของตัวแปรที่เป็น scalable คือ extremistan

ใน mediocristan นั้น parameter แต่ละอันนั้น contribute ต่อกลุ่มโดยรวมไม่มากนัก โดยเฉพาะถ้า sample size มีขนาดใหญ่มาก ๆ ตัวอย่างเช่น ค่าอุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทย 365 วันมีค่า 28 องศา สมมติวันนี้ (11 ธ.ค.)ประเทศเราจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก 22 ไปเป็น 50 องศา (ร้อนผิดปกติ) ก็ทำให้ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิของประเทศไทยไม่ต่างไปจากเดิมมากนัก

ทางตรงกันข้าม กลุ่ม extremistan มีความหลากหลาย และไม่เท่าเทียมกัน (inequality) สูง parameter ค่าหนึ่งเพียงค่าเดียว อาจมีอิทธิพลโดยรวมสูงมาก และอาจจะสูงกว่าค่าที่เหลือในกลุ่มรวมกันด้วยซ้ำไป

สมมติว่าเอาคนทุกคนในเมือง Seattle มารวมกันในสนามกีฬาประจำเมือง แล้วดูค่าเฉลี่ยทรัพย์สินของคนทั้งเมือง จะเห็นได้ชัดว่าการรวมหรือไม่รวม Bill Gates เพียงคนเดียว ทำให้ค่าเฉลี่ยนี้เปลี่ยนไปอย่างมาก

หรือเอานักเขียนทุกคนในโลกนี้มายืนเรียงกันตามจำนวนหนังสือที่ขายได้ จะเห็นได้ว่า JK Rowling ซึ่งยืนหัวแถว ขายหนังสือได้มากกว่านักเขียนอีก 60% ที่เหลือในโลกนี้รวมกัน

การเกิด Black Swan event นั้นจึงเกิดขึ้นเฉพาะกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ extremistan เท่านั้น เนื่องจากมีความหลากหลาย แต่ปัจจัยนี้อย่างเดียวยังไม่พอ ยังต้องเกิดจากความหลงผิดของมนุษย์ 3 อย่าง (triplet of opacity) ได้แก่

1. Illusion of understanding - ความเข้าใจว่าตัวเองเข้าใจดีแล้ว คิดว่าตัวเองรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ทั้ง ๆ ที่ความจริงยังมีอะไรอีกตั้งเยอะที่ยังไม่รู้

2. Retrospective distortion - เวลาคนเรามองอดีตย้อนกลับไป แล้วเข้าใจดี ดูว่าเออ.. มัน make sense ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้น เราเองก็ไม่รู้ว่ามันจะเป็นอย่างไรต่อไป

3. Overvaluation of factual information คือการประเมินข้อมูล "เว่อ" เกินไป เนื่องจากเราคิดว่าเรา "รู้ดี"

ปัจจัย 3 ประการนี้ตามปกติจะใช้ได้ดีกับ mediocristan เพราะมี relationship ที่ตรงไปตรงมา สามารถนำอดีตมาใช้คาดการณ์อนาคตได้ แม้อนาคตจะยังไม่แน่นอน (random) แต่อยู่ในร่องในรอย (เขาเรียกว่า type 1 randomness) แต่ใช้ไม่ได้กับ extremistan ซึ่งเราอาจจะไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร (type 2 randomness)

ตัวอย่างของ Black Swan event ที่เป็น highly improbable/highly unexpected, มี extreme impact และเป็น retrospective predictability ก็เช่น เหตุการณ์ 9/11 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มี impact สูงมาก

วันที่ 10 กันยายน คือ 1 วันก่อนเกิดเหตุ ก็ไม่มีใครรู้ว่าพรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้น ไม่มีใครคาดการณ์ได้ด้วยซ้ำไปว่าจะเกิดขึ้น พอเกิดแล้วกลับเห็นสิ่งบอกเหตุเยอะแยะไปหมด

Subprime crisis ก็เป็นตัวอย่าง Black Swan ที่ดีเหมือนกัน

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 11, 2008 8:44 pm
โดย out look
สุดยอด!!! ผ่าตัดตำราซะละเอียดเลยครับ

คนอะไรรู้กว้างและรู้ลึกได้ขนาดนี้ :bow:

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 12, 2008 2:52 pm
โดย TIARA
เยี่ยมไปเลยค่ะ ตอบได้หมดเลย

อยากให้เเนะนำหนังสือเศรษศาตร์ดีๆซักเล่มค่ะ

อยากมีความรู้เรื่องเศรษศาสตร์บ้าง

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 12, 2008 4:30 pm
โดย mprandy
hongvalue เขียน:ถ้าเพิ่มอีกข้อคือ

มีนักวิเคราห์คาดว่าเงินหยวนจะอ่อนค่าลง 10% ในปีหน้า

ขอทราบความเห็นหน่อยครับว่าจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน
เป็นไปได้อยู่แล้วครับ แต่ขึ้นกับว่าจีนจะทำหรือไม่เท่านั้นเอง

ค่าเงินของประเทศหนึ่งเมื่อเทียบกับดอลลาร์ อาจจะขึ้นกับ supply demand ก็จริง แต่เงินหยวนของจีนดูเหมือนจะขึ้นกับทางการเป็นหลัก

เพราะจีนมี capital control ที่เข้มงวด เงินเข้าออกต้องได้ัรับอนุญาตจากทางการก่อน

ตั้งแต่ทางการจีนประกาศปล่อยให้เงินหยวนลอยตัวได้ ค่าเงินหยวนก็แข็งขึ้นเรื่อย ๆ แม้ช่วงวิกฤตที่ค่าเงินสกุลหลักอื่น อ่อนตัวลงหมดเมื่อเทียบกับดอลลาร์ (ยกเว้นเยน ... อันนี้รู้อยู่แล้วนะ ว่าทำไม) แต่ค่าเงินหยวนกลับไม่เปลี่ยนแปลงอะไรมากมาย

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 12, 2008 4:49 pm
โดย hongvalue
ไม่ทราบว่าหมอด้าได้อ่านข่าวนี้หรือยัง ถ้าอ่านแล้วมีความเห็นยังไงบ้างครับ

ช่วงนี้หัวเลี้ยวหัวต่อ เลยขอ update สถานการณ์บ่อยๆเลยนะครับ

อิอิ

พอดีมันเยอะมาก ถ้าไม่มีเวลาอ่านก็ขอ comment เฉพาะประโยคตัวแดงแล้วกันครับ

ขอบคุณมากครับ

Why the Fed May Surprise The Markets Next Week
Topics:Congress | Housing | Mortgages | Interest Rates | Inflation | Ben Bernanke | Employment | Consumers | Federal Reserve | Federal Budget (U.S.) | Economy (Global) | Economy (U.S.)
By Albert Bozzo, Senior Features Editor | 11 Dec 2008 | 12:15 PM ET
Text Size
Some economists say its time for Fed Chairman Ben Bernake to just say no to Wall Street and cut interest rates less than the half point that's widely expected at next week's meeting.

Though the financial crisis still weighs heavily on the economy, they argue that conditions have stabilized since the central bank twice cut interest rates by half a percentage point in October. The Fed also has made aggressive and innovative moves to create liquidity that have had a faster and more effective impact on the market and the economy.



Moreover, interest ratesfrom Libor and short-term Treasury notes to mortgageshave already declined, in some cases, significantly, following recent developments at the central bank.

I think at most we'll get 25 basis points, predicts veteran Fed watcher David Jones, who now runs his own consulting firm, DMJ advisors. You just don't get that much mileage from conventional rate cuts."

Bernanke's recent comments, as well as new measures ready to be implemented or under consideration, show he already knows that.

In a Dec. 1 speech, Bernanke said: Although further reductions from the current federal funds target rate of one percent are certainly feasible, at this point the scope for using conventional interest rate policies to support the economy is obviously limited. He added: The second arrow in the Federal Reserve's quiverthe provision of liquidity remains effective.
A week before that, on Nov. 25, Bernanke announced that the Fed would buy some $600 billion in GSE direct obligation bonds and mortgage-backed securities.

Jones calls that a major policy move that will create confidence and have a major impact, an assessment shared by other economists as well ass mortgage industry professionals.

Mortgage Rates Plunge

Mortgage rates fell sharply the day of the announcement, mortgage application activity surged in the week thereafter and the rate on a 30-year fixed mortgage is still below 6-percent, which has rarely been the case this year.

I think rates are on the way down, says Marc Savitt, President of the national association of Mortgage Brokers, who runs the Mortgage Center in West Virginia. Even if they stay where they are now, its still a very possible range.  
AP
--------------------------------------------------------------------------------


Perhaps emboldened by that chain of events, Bernanke, also said in his Dec. 1 speech that the Fed could use its balance sheet to influence financial conditions," to compensate for banks reluctance to lend, especially at more attractive rates. That reluctance has frustrated the Fed chairman, many members of Congress andto a lesser extentTreasury Secretary Henry Paulson.

The Fed could purchase longer-term Treasury or agency securities on the open market in substantial quantities, Benanke said in that speech. This approach might influence the yields on these securities, thus helping to spur aggregate demand.

I anticipate additional efforts to bring down other rates, such as mortgage rates, while continuing to flood the financial markets with liquidity, says independent bank analyst Bert Ely.

Fed watchers also say Bernake has run into increasing resistance from some regional bank presidents and voting members of its policy arm, the Federal Open Market Committee, who are wary about taking rates below the historical low of one percent, a level last seen during 2003-2004 when the Fed was concerned about the possibility of deflation.

St. Louis Fed President James Bullard, a non-voting member of the FOMC, is one such dissenter.


I have not been a fan of going to really low levels," said Bullard, a day after Bernankes speech. "In the 2001-2003 episode we went all the way down to one percent. Some have said that that created problems. So I think those two episodes: stopped at three, stopped at one. Why not stop at one this time? Why is it zero this time? I don't quite get that," he said.



Zero rates inevitably draw negative comparisons to the Bank of Japans failed policy efforts in the 1990s, when it was trying to revive an economy reeling from a somewhat similar real estate bubble.

Wall Street Not Sold

Though Bernanke and some others in the Fed may be convinced, Wall Street appears unsold on the merits of the argument, which may be one reason why the FOMC delivers a half a percent cut.

I think the Street is taking a while to catch on and is lost in the symbolism of conventional Fed easing, says Jones.

No one seems to have the courage to say this is not the right solution, says Ram Bhagavatula, managing director at the hedge fund Combinatorics Capital. They will do 50 basis points because the market wants it.

Some economists say the December meeting is an opportunity to send a message to the markets and to do the unexpected.

One of the things [former Fed Chairman Alan] Greenspan did do now and then was go against the markets and surprise everybody, says Peter Navarro, of the Paul Merage School of Business at the University of California at Irvine. It would nice to see Bernanke do that, like now.

The most recent and telling example of that was probably June 2001. The market wanted a half point reduction from the Fed, but the central bank cut by only a quarter, taking rates to one percent, notes Bank of Tokyo-Mitsubishi economist Chris Rupkey.


RELATED LINKS

Current DateTime: 09:41:27 11 Dec 2008
LinksList Documentid: 28176921
Jobless Claims Hit 26-Year High  
Foreclosures Post Rare Decline
Fed's Zero-Rate Strategy Paying Off  
Americans Glum on Crisis, Hopeful on Obama: Poll
More Economic News


Rupkey, however, says given the market expectations and the recent plunge in payrolls, it would be  unprecedented for the Fed not to cut by half a point next week, even if he doesnt think its the right course.

Difficult Exit Strategy

I think the less they do the better at this stage, he says. The exit strategy from a very low level is difficult.

Some say its premature to worry about how easily the Fed will be able to start raising rates when the time comes, given the combination of a one-of-kind credit crunch and a worse-than-average cyclical downturn.

You put as much out there as possible and hope it accomplishes the objective, says David Resler, chief economist at Nomura International, who thinks the Fed will cut half a point next week in taking rates to zero.

Though Resler acknowledges the interest rate target is no longer a very important gauge of what the Fed is about, it remains troubled by the fact that the market continues to keep fed funds well below its target rate.  

The fact that the Fed decided to turn a one-day policy meeting into the less common two-day one to allow additional time for discussion, as its Nov. 20 news release simply states, is one more reason to think the Fed may be at a turning point, given its extraordinary undertakings as well as staggering the amount of money it has thrown at the financial crisis.

They want to talk about what they're doing,  says Rupkey. The public seems to be clamoring for better communication, saying Tell us what you're doing?

For Jones, the future course is clear. It means de-emphasizing conventional rate cuts and going directly to the sectors most affected and picking up the slack of the banking system.

Youre sort of doing it under the radar, he explains. And not looking like you're running out of room.

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 13, 2008 11:52 pm
โดย mprandy
บังเอิญผมก็ไม่ใช่ Ben Bernanke เสียด้วย เลยบอกไม่ได้เหมือนกันว่าเขาจะลดดอกเบี้ยหรือไม่  :wink:

ความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าถึงมีโอกาสที่ Fed จะลดดอกเบี้ย แต่การลดดอกเบี้ยจากระดับนี้ที่ต่ำอยู่แล้ว (1%) ลงไปอีก 0.25 หรือ 0.5% แม้จะมีผลทางจิตวิทยาต่อตลาดทุน แต่ประสิทธิผลของมันจะมีมากน้อยแค่ไหนยังน่าสงสัยอยู่

การลดดอกเบี้ยที่ผ่านมาหลายระลอก จนอยู่ในระดับปัจจุบัน ร่วมกับการจัดตั้ง TARP, การเพิ่มทุนธนาคารขนาดกลางและใหญ่ผ่านเงิน 7 แสนล้านเหรียญ และการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ช่วยทำให้ liquidity ในตลาดการเงินดีขึ้นแล้ว สังเกตได้จากอัตราดอกเบี้ยของตลาดตราสารหนี้ เช่น commercial paper และ overnight rate ก็ที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกับ Fed fund rate อยู่แล้ว

ปัญหาในเรื่องสภาพคล่องในปัจจุบัน เป็นปัญหาที่เิกิดจากพื้นฐานของผู้กู้มากกว่า เนื่องจากผู้ให้กู้มีความระมัดระวังมากขึ้น และพื้นฐานของผู้กู้ที่อาจจะแย่ลงตามภาวะเศรษฐกิจ

ส่วนผลกระทบของการลดดอกเบี้ย ก็ใช่ว่าจะไม่มี เงินอาจจะไหลออกจากตลาดสหรัฐไปยังที่ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า โดยเฉพาะในยามนี้ที่ประเทศต้องการเงินสด หรืออาจจะเกิดฟองสบู่ใหม่เหมือนสมัยคุณปู่ Alan ก็ได้นะครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 15, 2008 11:48 pm
โดย hongvalue
มีข่าวว่านักลงทุน เสื่อมศรัทธาในตัว buffet ครับ


ขอถามความเห็นหมอด้าหน่อยครับ

เรื่องนี้น่าจะถนัดเลยครับ

http://www.cnbc.com/id/28194796

Faith, Doubt, and Warren Buffett
Posted By:Alex Crippen
Topics:Investment Strategy | Religion | Stock Market | Warren Buffett
Companies:Berkshire Hathaway Inc.

It's been a difficult year for the Warren Buffett faithful.  Core beliefs are being tested.

Stock prices have plunged as the government struggles to contain the damage from what appears to be the worst financial and economic crisis since the Great Depression of the 1930s.

Berkshire Hathaway is no exception.  In late November, the Class A shares traded as low as $74,100 each.  That was over 51 percent below their December 2007 all-time intraday high of $151,650.

After a rebound that took the stock back into six-digit territory, it is once again trading below $100,000.

Berkshire's net earnings plunged 77 percent in the third quarter, as Buffett's long-term wager on the health of global stocks racked up billions in short-term paper losses.

Bloomberg reports that bets against Buffett, in the form of short selling of Berkshire stock, rose to a six-year high last month.  

Reuters asks, Is Warren Buffett Losing His Touch?  The Wall Street Journal urges him to "get a new crystal ball."


CNBC Poll: Tell Us What You Think  
Are you losing faith in Warren Buffett?  

 Yes. "Buy and Hold" investing is dead, killed by a "perfect storm."  

 No. Just as they have done before, stocks will bounce back. It's just a matter of time.


Vote to see results  


CNBC Poll: Tell Us What You Think
Are you losing faith in Warren Buffett?   * 747 responses  

Yes. "Buy and Hold" investing is dead, killed by a "perfect storm."
26%  

No. Just as they have done before, stocks will bounce back. It's just a matter of time.
74%  
Not a Scientific Survey. Results may not total 100% due to rounding.


Even page views for this blog are slowing down a bit.  (Maybe I just haven't been doing enough posts!)

Buffett isn't worried.  "It's happened before," he tells Fox.  "A capitalist systen overshoots .. but it works very well over time."

Almost two months ago, he told the world he's enthusiastically buying U.S. stocks for his own account, picking up a "slice of America's future at a marked-down price."  But over those two months, the benchmark S&P 500 stock index has dropped another 8 percent.

Faith says that just as we know that winter won't last forever, we also know that stocks will eventually bloom again, too.  Buy now while the nights are long and the storm rages, even if it is a "perfect" storm.

Doubt replies that this time, it's different.  The financial markets don't move as reliably as the Sun and the Earth.  Spring looks like it will be very, very late this time around.  Things could get worse, and they will never be as good as they were.

For many Buffett followers, being "greedy when others are fearful" is a matter of faith, an acceptance of the idea that they should stay on the 'right' path despite all the nagging doubts that they're heading in the 'wrong' direction.

This is an invitation to share your thoughts.  Are you losing your faith in Warren Buffett?  In the style of investing that he has preached all these years?

Please send your emails to [email protected].  We will publish excerpts here on Warren Buffett Watch.  (Feel free to send to attach a photo of yourself to help us break up the text.)  

If you're really inspired, make a short video expressing your thoughts on Buffett, faith, and doubt, and email it to us.

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 16, 2008 11:31 pm
โดย noooon010
ส่วนตัวผม ผมศรัทธาใน ตัวลุง Buffett หมดหัวใจครับ
คนเรามีทั้งข้อดี / ไม่ดี
ผมว่าถ้าเรายึดหลักการที่เหมาะกับเรา
นำข้อดีของเค้ามาใช้

อย่าไปสนใจข่าวรายวัน เพราะมันเยอะเกินไป

ถ้าทำได้ เรานำ Mr.Market มาช่วยเราลงทุนได้ครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 17, 2008 8:17 am
โดย mprandy
อันนี้ตอบง่ายครับ ตามกราฟที่แสดง

กราฟแรก เป็นราคาหุ้นตัวหนึ่ง ที่ลดลงราว 50% ในระยะเวลาหนึ่งปี
รูปภาพ

กราฟที่สองเป็นราคาหุ้นตัวเดียวกัน ที่ลดลงราว 50% เหมือนกัน ในระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน
รูปภาพ

กราฟที่สาม เป็นภาพใหญ่หน่อยของหุ้นตัวนี้ ในระยะเวลาที่ผ่านมา กราฟข้างบนอันแรก แสดงช่วงแรกของกราฟนี้ (ช่วง dip แรก) และกราฟที่สองแสดงช่วงหลัง
รูปภาพ

กราฟสุดท้าย เป็นภาพราคาหุ้นตัวนี้ในช่วง 17 ปีหลัง
รูปภาพ

เนื่องจากเป้าหมายการลงทุนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน มุมมองของนักลงทุนจึงต่างกัน

value investor เน้นการลงทุนระยะยาว โดยดูพื้นฐานกิจการเป็นหลัก ซึ่งการลงทุนระยะยาวย่อมต้องยอมรับตัวเองว่า ผลตอบแทนระยะยาวในหุ้นที่ควรคาดหวังนั้นอยู่ในระดับที่มันควรจะเป็น (ราว 1X % ต่อปี ใครเลือกลงทุนระยะยาวแนว VI โดยหวังผลตอบแทนสูง ๆ แบบการลงทุนระยะสั้น ย่อมไม่ realistic) ปัจจัยสำคัญที่สุดในการสร้างความมั่งคั่งของนักลงทุนแนวนี้คือ "เวลา" ไม่ใช่ตัวเลขผลตอบแทนต่อปี

เช่นเดียวกับธุรกิจที่มีลักษณะเป็นวัฏจักร จึงเป็นธรรมดาที่กิจการย่อมมีขึ้น มีลง เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกหนีได้ (กิจการใดไม่มี down year แสดงว่ากิจการนั้นอายุยังน้อยเกินไป) แต่กิจการที่แข็งแกร่งอย่างแท้จริงนั้น ทุกครั้งที่กิจการอยู่ในขาลง พอกลับสู่ขาขึ้นจะขึ้นสูงกว่าจุดสูงสุดเดิมของมัน ทำให้ระยะยาวเราเห็นแนวโน้ม (trend) ของมูลค่ากิจการสูงขึ้นเรื่อย ๆ แม้ในระหว่างทางจะมีความผันผวน (noise) ขึ้นลงให้เห็นซึ่งเป็นธรรมชาติของมัน

ใครที่มองภาพที่ 3 หรือ 4 ก็คงบอกได้ว่าหุ้นนี้ดีแน่ แต่เรามองภาพที่ 1 หรือ 2 ออกหรือไม่ และถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ในภาพที่ 1 และ 2 เราคิดอย่างไร

นักลงทุนที่มองการลงทุนโดยอาศัยหลักพื้นฐานกิจการที่แข็งแกร่ง ไม่ควรคาดหวังผลตอบแทนในระยะสั้น ความผันผวนของตลาดหุ้นในขณะนี้จึงเป็นบททดสอบที่สำคัญในการมองตนเองว่า เราเป็นนักลงทุนแนวไหน และคาดหวังผลตอบแทนที่เหมาะสมกับแนวการลงทุนของเราหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ทุกคนคือนักลงทุน จะใช้แนวทางใดก็ตาม ตราบใดที่ไม่ได้โกงเขามา ขอเพียงแต่เข้าใจแนวทางที่ตนเองใช้ และผลตอบแทนที่ควรจะคาดหวัง ก็น่าจะลงทุนอย่างมีความสุขได้

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 17, 2008 10:57 am
โดย hongvalue
mprandy เขียน:อันนี้ตอบง่ายครับ ตามกราฟที่แสดง

กราฟแรก เป็นราคาหุ้นตัวหนึ่ง ที่ลดลงราว 50% ในระยะเวลาหนึ่งปี

เนื่องจากเป้าหมายการลงทุนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน มุมมองของนักลงทุนจึงต่างกัน

value investor เน้นการลงทุนระยะยาว โดยดูพื้นฐานกิจการเป็นหลัก ซึ่งการลงทุนระยะยาวย่อมต้องยอมรับตัวเองว่า ผลตอบแทนระยะยาวในหุ้นที่ควรคาดหวังนั้นอยู่ในระดับที่มันควรจะเป็น (ราว 1X % ต่อปี ใครเลือกลงทุนระยะยาวแนว VI โดยหวังผลตอบแทนสูง ๆ แบบการลงทุนระยะสั้น ย่อมไม่ realistic) ปัจจัยสำคัญที่สุดในการสร้างความมั่งคั่งของนักลงทุนแนวนี้คือ "เวลา" ไม่ใช่ตัวเลขผลตอบแทนต่อปี

เช่นเดียวกับธุรกิจที่มีลักษณะเป็นวัฏจักร จึงเป็นธรรมดาที่กิจการย่อมมีขึ้น มีลง เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกหนีได้ (กิจการใดไม่มี down year แสดงว่ากิจการนั้นอายุยังน้อยเกินไป) แต่กิจการที่แข็งแกร่งอย่างแท้จริงนั้น ทุกครั้งที่กิจการอยู่ในขาลง พอกลับสู่ขาขึ้นจะขึ้นสูงกว่าจุดสูงสุดเดิมของมัน ทำให้ระยะยาวเราเห็นแนวโน้ม (trend) ของมูลค่ากิจการสูงขึ้นเรื่อย ๆ แม้ในระหว่างทางจะมีความผันผวน (noise) ขึ้นลงให้เห็นซึ่งเป็นธรรมชาติของมัน

ใครที่มองภาพที่ 3 หรือ 4 ก็คงบอกได้ว่าหุ้นนี้ดีแน่ แต่เรามองภาพที่ 1 หรือ 2 ออกหรือไม่ และถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ในภาพที่ 1 และ 2 เราคิดอย่างไร

นักลงทุนที่มองการลงทุนโดยอาศัยหลักพื้นฐานกิจการที่แข็งแกร่ง ไม่ควรคาดหวังผลตอบแทนในระยะสั้น ความผันผวนของตลาดหุ้นในขณะนี้จึงเป็นบททดสอบที่สำคัญในการมองตนเองว่า เราเป็นนักลงทุนแนวไหน และคาดหวังผลตอบแทนที่เหมาะสมกับแนวการลงทุนของเราหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ทุกคนคือนักลงทุน จะใช้แนวทางใดก็ตาม ตราบใดที่ไม่ได้โกงเขามา ขอเพียงแต่เข้าใจแนวทางที่ตนเองใช้ และผลตอบแทนที่ควรจะคาดหวัง ก็น่าจะลงทุนอย่างมีความสุขได้
กราฟรูปนี้ไม่แน่ใจว่าใช้ berkshire ไหม

ตอบได้ดีครับ

บางที คำว่าถูกหรือผิดก็ขึ้นอยู่กับเวลานะครับ
ผิดตอนนี้ อีก 3 ปีถูก 10 ปีถูกก็ได้

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 17, 2008 12:08 pm
โดย mprandy
hongvalue เขียน: กราฟรูปนี้ไม่แน่ใจว่าใช้ berkshire ไหม
ใช่ครับ กราฟทั้งหมดเป็นราคาหุ้น BRK.A
hongvalue เขียน:บางที คำว่าถูกหรือผิดก็ขึ้นอยู่กับเวลานะครับ
ผิดตอนนี้ อีก 3 ปีถูก 10 ปีถูกก็ได้
ผมจึงไม่เคยใช้คำว่าถูกหรือผิดครับ เพราะคำว่าผิดหรือถูกในการลงทุนอยู่ที่แนวทางและมุมมองของคนที่ต่างกันมากกว่าจะเป็นเพราะอย่างอื่น

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 17, 2008 2:43 pm
โดย terati20
อาจารย์หมอ ช่วยเล่าเรื่อง เเชร์ลูกโซ่   Madoff  หน่อยครับ  ทำไมมีคนไปลงทุนกับเขาเยอะมาก  BANK  ใหญ่ๆทั้งนั้นเลย
:8)

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 17, 2008 4:27 pm
โดย mprandy
เดี๋ยวจะหาว่าผมยกแต่ตัวอย่าง BRK.A เพราะใคร ๆ ก็รู้ว่า Buffett บริหารอยู่ รู้ดีว่าแข็งแกร่งขนาดไหน

กราฟนี้เป็นราคาช่วง 14 ปีของหุ้นหนึ่งของอุตสาหกรรมไฮเทค ที่ Buffett ไม่ชอบเพราะคาดการณ์ยาก

รูปภาพ

สังเกตว่ามีสัญญลักษณ์ S (2:1 stock split) สองหนด้วย

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 17, 2008 6:53 pm
โดย noooon010
-พี่หมอ mprandy ติดตามข่าวของ USA และ Buffett จากที่ไหนหรือครับ
ขอบคุณครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 17, 2008 9:47 pm
โดย mprandy
noooon010 เขียน:-พี่หมอ mprandy ติดตามข่าวของ USA และ Buffett จากที่ไหนหรือครับ
ขอบคุณครับ
ในอินเตอร์เน็ทสิครับ CNBC, Bloomberg, BusinessWeek เป็นเวบไซท์ที่นักลงทุนใช้กันบ่อย

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 20, 2008 10:44 pm
โดย hongvalue
http://www.cnbc.com/id/28312112

ล่าสุดประกาศอุ้ม 3 ค่ายรถแล้ว

แต่ dow jone ดันไม่ขึ้น

อย่างที่หมอด้าเคยบอกก็คือว่า ตลาดไม่ได้สนใจเรื่องนี้เท่าไหร่ อยู่แล้วใช่ไหมครับ

เพราะตลาดคิดว่าอุ้มไป ซักพัก ไอ้ 3 บริษัทนี้ก็ช่วยตัวเองไม่ได้

แล้วสถานการณ์โดยรวมก็ไม่ดีขึ้นอยู่ดี

ดูเหมือนตลาดจะสนใจข่าวที่วันนั้น morgan stanley ประกาศขาดทุนมากกว่าอีก เพราะ dow ล่วงไป 200 กว่าจุด

และอยากถามความเห็นเรื่องที่ boj ลดดอกเบี้ยล่าสุดว่ามีผลยังไงบ้าง

และจะส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนลงได้มากน้อยแค่ไหนครับ

นี้เป็นรายละเอียดข่าว 3 ค่ายรถนะครับ

General Motors and Chrysler will receive up to $17.4 billion in short-term loans from the US government in return for deep concessions, including giving the government the option of taking a partial stake in the companies.

Citing danger to the national economy, the Bush administration approved an emergency bailout of the two auto makers on Friday.  
AP
--------------------------------------------------------------------------------


"Allowing the auto companies to collapse is not a responsible course of action," President Bush said in announcing the plan at the White House. Bankruptcy, he said, would deal "an unacceptably painful blow to hardworking Americans" across the economy.

According to details of the plan made available to CNBC.com, the package involves $13.4 billion in immediate short-term financing from the $700 billion Wall Street bailout fund, known as TARP.

General Motors [GM  4.49    0.83  (+22.68%)   ] will get $9.4 billion and Chrysler will get $4 billion. Both companies, which have said they soon might be unable to pay their bills without federal help, are expected to tap that money immediately.

Ford Motor [F  2.95    0.11  (+3.87%)   ], which says its liquidity is adequate for now, is not included in the package announced Friday. The automaker still seeks a $9 billion line of credit from the federal government, the Wall Street Journal reported.

An additional $4 billion will be made available in February, though that will be contingent on drawing down the remaining $350 billion of the TARP fund.

The rescue package includes limits on excecutive pay and warrants for non-voting stock. That will give the government the option of becoming a stockholder in the companiesmuch as it has with major banksin effect partially nationalizing the industry.

Bush's plan is designed to keep the auto industry running in the short term, passing the longer-range problem on to the incoming administration of President-elect Barack Obama.

Bush said the rescue package demanded concessions similar to those outlined in a bailout plan that was approved by the House but rejected by the Senate a week ago.

It would give the automakers three months to come up with restructuring plans to become viable companies. If they fail to produce a plan by March 31, the automakers will be required to repay the loans, which they would find all but impossible.

"The time to make hard decisions to become viable is now, or the only option will be bankruptcy," Bush said. "The automakers and unions must understand what is at stake and make hard decisions necessary to reform."
CNBC.com
Big 3 Bailout
--------------------------------------------------------------------------------


He said the companies' workers should agree to wage and work rules that are competitive with foreign automakers by the end of next year.

And he called for elimination of a "jobs bank" programnegotiated by the United Auto Workers and the companiesunder which laid-off workers receive unemployment benefits and supplemental pay from their companies for 48 weeks. Early this month, the UAW agreed to suspend the program.

Under terms of the loan, GM and Chrysler must provide the government with stock warrants giving it the option to buy GM and Chrysler stock at a specific price.

In addition, the auto makers would be required to agree to limits on executive pay and eliminate some perks such as corporate jets.

Friday's rescue plan retains the idea of a "car czar" to make sure the auto companies are keeping their promises and moving toward long-term viability. The short-term overseer will be Treasury Secretary Henry Paulson.

But the White House deputy chief of staff, Joel Kaplan, said that if the Obama team wants someone else installed to bridge the administrations, Bush is open to that.

The White House package is the lifeline desperately sought by U.S. auto makers, who warned they were running out of money as the economy fell deeper into recession, car loans became scarce and consumers stopped shopping for cars.

The carmakers have announced extended holiday shutdowns.

Chrysler is closing all 30 of its North American manufacturing plants for four weeks because of slumping sales. Ford will shut 10 North American assembly plants for an extra week in January, and General Motors will temporarily close 20 factoriesmany for the entire month of January to cut vehicle production.


RELATED LINKS

Current DateTime: 05:45:13 20 Dec 2008
LinksList Documentid: 28312114
Obama Can Change Terms
Opinion: Bad, but Necessary
Bailouts: 'Where Do You Stop?'
Behind the Wheel with Phil LeBeau

Meanwhile, Treasury Secretary Paulson said Congress should release the second $350 billion of the TARP, which was approved in October to bail out huge financial institutions. Tapping the fund for the auto industry basically exhausts the first half of the $700 billion total, he said.

The future of TARP funding remains very much in the air, given serious differences between the Congress and Paulson.

Democrats in Congress have told Paulson point blank not to ask for additional funding unless it addressed housing support, including stemming foreclosures.

The fact that the auto term sheet refers to $4 billion in additional funding as of February, continent on new TARP approval, suggests the matter won't be addressed until the Obama administration is fully in place.

Many Washington analysts have been speculating that the TARP would become something of a general bailout kitty once Paulson made a dramtic policy reversal in deciding to emphasize capital injections for banks rather than the original idea of an asset auction.

Reuters and AP contributed to this report

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 23, 2008 10:37 am
โดย pongo
ตามอ่านมาตั้งนาน ขอถามพี่หมอบ้างดีกว่า

เมื่อเช้าฟังข่าวเกี่ยวกับตัวเลขของญี่ปุ่น โตโยต้าก็ขาดทุนประมาณแสนล้านเยน เป็นการขาดทุนครั้งแรกในรอบ 71 ปี (จากปีที่แล้วกำไรสูงสุดตั้งแต่ตั้งบริษัทมา)
ตัวเลขการส่งออก ลดลง 33% ( น่าจะ YoY) ขาดดุลการค้าด้วย
ผู้ประกาศข่าวให้เหตุผลว่า เพราะญี่ปุ่นส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเป็นหลัก
เมื่อตลาดหลักๆ อย่าง US ไปไม่ได้ ผลเลยออกมาเป็นแบบนี้

ทีนี้ อยากให้พี่หมอเปรียบเทียบกับประเทศไทยบ้าง
ตัวเลขส่งออกของไทย คุ้นๆ ว่าเดือนที่ผ่านมา -18% YoY
ผมเข้าใจว่าเพราะเรามีสินค้าจำเป็นอย่างเกษตรด้วย
แต่เดือนถัดๆ ไป ตัวเลขเศรษฐกิจเราจะตกลงมากกว่านี้หรือเปล่า
แล้วถ้าฟื้น ประเทศที่มีโครงสร้างสัดส่วนรายได้แบบไหนน่าจะฟื้นตัวก่อน
เช่น ส่งออกสินค้าประเภทไหน ภาคบริการ หรือบริโภคภายในประเทศ

อ้อ เห็นบทความเกี่ยวกับ เอกยุทธ อัญชันบุตร
ช่วงต้นๆ กลางๆ ปีที่ผานมา เขาเน้นลงทุนใน zero coupon bond ใน US
ซึ่งตอนซื้อดอกเบี้ยในตลาดยังไม่ลง ก็เลยได้ discont เยอะ
ผมว่าเขามองต่างมุมกับอีกหลายๆ กองทุนอื่น
พี่หมอว่า มีตัวเลขอะไรที่เป็น leadind indicator สำหรับแนวโน้มดอกเบี้ยได้บ้างครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 23, 2008 10:40 am
โดย lufthansa
วิกฤติตลาดบ้านในสหรัฐเลวร้ายลงขณะภาวะเศรษฐกิจถดถอย
     
วอชิงตัน--23 ธ.ค.--รอยเตอร์

       ข้อมูลใหม่ที่ออกมาเมื่อวานนี้ระบุว่า ความยากลำบากที่เจ้าของบ้านสหรัฐ
หลายรายประสบอยู่นั้น บ่งชี้ว่าความพยายามในการช่วยเหลือเจ้าของบ้านประสบ
ความสำเร็จเพียงในวงจำกัด
       ผู้ควบคุมกฎระเบียบด้านการธนาคารกล่าวว่า ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจ
ถดถอยส่งผลให้ประชาชนหลายคนตกงาน อัตราการผิดนัดชำระหนี้อีกครั้งในสัญญา
จำนองที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ก็กำลังเพิ่มสูงขึ้น และสถานการณ์นี้อาจเลวร้ายลง
ขณะที่เศรษฐกิจตกต่ำลง
       หลังจากได้รับการกระตุ้นจากรัฐสภาสหรัฐ ธนาคารและผู้ปล่อยกู้จำนอง
รายอื่นๆก็เริ่มดำเนินการมากยิ่งขึ้น โดยได้ดัดแปลงสัญญาจำนองบ้านเพื่อช่วยเหลือ
ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาให้สามารถหลีกเลี่ยงจากการสูญเสียบ้านเพราะผิดนัดชำระหนี้จำนอง
       อย่างไรก็ดี ตัวเลขล่าสุดจากผู้ควบคุมกฎระเบียบก็ทำให้เกิดคำถามที่ว่า
ได้มีการดัดแปลงสัญญาจำนองไปมากเพียงใด และการดัดแปลงดังกล่าวส่งผลดีมาก
เพียงใด เพราะอัตราการยึดบ้านติดจำนองได้พุ่งขึ้นสู่สถิติสูงสุด
       นายจอห์น ดูแกน จากสำนักงานคลังสหรัฐกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ
รอยเตอร์ว่า "คุณต้องคิดว่าสถานการณ์จะเลวร้ายลงก่อนที่สถานการณ์จะดีขึ้น"
       นักวิเคราะห์กล่าวว่า การปรับสัญญากู้เงินส่วนใหญ่ก่อนที่จะถึงช่วงไม่
กี่เดือนก่อน เป็นการปรับสัญญาเพียงชั่วคราว และไม่ได้ตั้งเป้าที่จะทำให้เกิดการ
ชำระหนี้อย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจที่เจ้าของบ้านจะ
ผิดนัดชำระหนี้
       ในขณะเดียวกัน กลุ่มโฮป นาวซึ่งเป็นกลุ่มเจ้าหนี้ก็ประกาศเตือนเมื่อ
วานนี้ว่า เจ้าของบ้านสหรัฐหลายรายกำลังต้องการความช่วยเหลือเพื่อจะได้หลีก
เลี่ยงจากการยึดบ้านติดจำนอง โดยปริมาณการยึดบ้านติดจำนองจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า
สู่ระดับ 2 ล้านหลังคาเรือนในปีหน้า
       วิกฤติที่อยู่อาศัยและภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะส่งผลให้รัฐสภาสหรัฐต้อง
ทำงานหนักเมื่อเปิดสมัยประชุมอีกครั้งในวันที่ 6 ม.ค.ปี 2009 และจะสร้าง
ภารกิจหนักให้กับนายบารัค โอบามาหลังจากเขาทำพิธีสาบานตนรับตำแหน่ง
ประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 20 ม.ค.
       ในช่วงระหว่างวันที่ 6-20 ม.ค.นี้ เป็นที่คาดกันว่าสมาชิกรัฐสภา
พรรคเดโมแครตจะยื่นเสนอร่างกฎหมายที่จะกระตุ้นให้มีการใช้ความพยายาม
อย่างจริงจังมากยิ่งขึ้นในการช่วยเหลือเจ้าของบ้านที่ไม่สามารถชำระหนี้
       ผู้ช่วยคนหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐกล่าวเมื่อวานนี้ว่า ร่าง
กฎหมายฉบับหนึ่งที่ร่างโดยนายบาร์นีย์ แฟรงค์ ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรรัฐแมสซาชูเซตส์ อาจบรรจุแผนช่วยเหลือลูกหนี้จำนองครั้งใหญ่จาก
นางชีลา แบร์ ซึ่งเป็นประธานบรรษัทประกันเงินฝากของรัฐบาลกลาง (FDIC)
เอาไว้ด้วย
       ร่างกฎหมายนี้จะยืนยันว่าจำเป็นต้องมีการดำเนินการมากยิ่งขึ้น
เพื่อช่วยเหลือเจ้าของบ้านภายใต้แผนการที่ได้ประกาศใช้ไปแล้ว ซึ่งได้แก่
โครงการลดสินทรัพย์ที่มีปัญหา (TARP) ในวงเงิน 7 แสนล้านดอลลาร์ของ
กระทรวงการคลังสหรัฐ
       TARP ได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้วเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์
แก่ภาคธนาคารและแก่บริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ในสหรัฐ อย่างไรก็ดี นายแฟรงค์
และสมาชิกพรรคเดโมแครตคนอื่นๆโต้แย้งว่า TARP แทบไม่ได้ให้ความช่วยเหลือ
แก่บรรดาเจ้าของบ้าน
--จบ--

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 30, 2008 2:56 pm
โดย pongo
ธปท. เผย ฟอร์เวิร์ดสุทธิ ณ วันที่ 26 ธ.ค. อยู่ที่ 6.9 พันล้านดอลลาร์

              ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานตัวเลขฟอร์เวิร์ดสุทธิ วันที่ 26 ธ.ค. 51 อยู่ที่
6.9  พันล้านดอลลาร์ จากวันที่ 19 พ.ย.51 อยู่ที่ 6.6 พันล้านดอลลาร์

ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย     วันที่   30/12/08   เวลา   14:49:10

ขอแปะไว้เผื่อดูย้อนหลังหน่อย

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 30, 2008 8:48 pm
โดย mprandy
pongo เขียน: เมื่อเช้าฟังข่าวเกี่ยวกับตัวเลขของญี่ปุ่น โตโยต้าก็ขาดทุนประมาณแสนล้านเยน เป็นการขาดทุนครั้งแรกในรอบ 71 ปี (จากปีที่แล้วกำไรสูงสุดตั้งแต่ตั้งบริษัทมา)
ตัวเลขการส่งออก ลดลง 33% ( น่าจะ YoY) ขาดดุลการค้าด้วย
ผู้ประกาศข่าวให้เหตุผลว่า เพราะญี่ปุ่นส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเป็นหลัก
เมื่อตลาดหลักๆ อย่าง US ไปไม่ได้ ผลเลยออกมาเป็นแบบนี้

ทีนี้ อยากให้พี่หมอเปรียบเทียบกับประเทศไทยบ้าง
ตัวเลขส่งออกของไทย คุ้นๆ ว่าเดือนที่ผ่านมา -18% YoY
ผมเข้าใจว่าเพราะเรามีสินค้าจำเป็นอย่างเกษตรด้วย
แต่เดือนถัดๆ ไป ตัวเลขเศรษฐกิจเราจะตกลงมากกว่านี้หรือเปล่า
แล้วถ้าฟื้น ประเทศที่มีโครงสร้างสัดส่วนรายได้แบบไหนน่าจะฟื้นตัวก่อน
เช่น ส่งออกสินค้าประเภทไหน ภาคบริการ หรือบริโภคภายในประเทศ

อ้อ เห็นบทความเกี่ยวกับ เอกยุทธ อัญชันบุตร
ช่วงต้นๆ กลางๆ ปีที่ผานมา เขาเน้นลงทุนใน zero coupon bond ใน US
ซึ่งตอนซื้อดอกเบี้ยในตลาดยังไม่ลง ก็เลยได้ discont เยอะ
ผมว่าเขามองต่างมุมกับอีกหลายๆ กองทุนอื่น
พี่หมอว่า มีตัวเลขอะไรที่เป็น leading indicator สำหรับแนวโน้มดอกเบี้ยได้บ้างครับ
รถยนต์เป็นสินค้าราคาแพงที่ยอดขายขึ้นกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอย่างยิ่ง จึงไม่น่าแปลกใจว่าเหตุใดตลาดรถยนต์จึงเกิดวิกฤติตาม Hamburger crisis มาติด ๆ และในเมื่อทั้งอุตสาหกรรมเกิดวิกฤติ เหตุที่โตโยต้าคาดการณ์ผลดำเนินงานขาดทุนเป็นครั้งแรก เนื่องจากโตโยต้าในปัจจุบันมีสัดส่วนผลกำไรมาจากผลการดำเนินงานในตลาดทวีปอเมริกาเหนือเป็นหลัก นอกจากนี้ค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ยังแข็งขึ้นไม่หยุดหย่อน วิกฤติที่เกิดขึ้นจึงส่งผลค่อนข้างมากกับโตโยต้า

อย่างไรก็ดี ธุรกิจของโตโยต้ายังมีความได้เปรียบและแข็งแกร่งกว่าค่ายรถอื่นอยู่ค่อนข้างมาก เมื่อวิกฤติคลี่คลายค่ายรถนี้น่าจะกลับมายืนระยะได้เหมือนเดิม และถ้าไม่มีการควบรวมกิจการระหว่าง GM กับ Chrysler คาดว่าโตโยต้าน่าจะขึ้นสู่ค่ายรถอันดับ 1 ในด้านยอดขายภายในปีหน้านี้

สำหรับตัวเลขส่งออกของเราเองเดือนหน้าน่าจะออกมาน่าเกลียดกว่าเดือนนี้ เพราะผลจากภาวะเศรษฐกิจโลก ผสมกับการชะงักงันของสินค้าส่งออกจากการปิดสนามบิน ซึ่งจะออกมาให้เห็นฤทธิ์เดชแน่ ส่วนแนวโน้มปีหน้าคงต้องดูเป็น MoM น่าจะดีกว่า YoY เพราะคงจะลบทุกเดือน

แต่ถ้าดูดุลการค้าปีหน้าอาจจะดูทรง ๆ หรือดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีนี้เพราะปัญหายอดนำเข้าน้ำมันลดลงมาก

โครงสร้างเศรษฐกิจไทยต่างจากอเมริกาเนื่องจากเศรษฐกิจเราพึ่งการส่งออกเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีสัดส่วนรายได้ของประเทศจากภาคบริการค่อนข้างสูง ดังนั้นวิกฤติเศรษฐกิจ และการปิดสนามบิน จึงมีผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยค่อนข้างมาก และปัญหาภาคบริการมีผลต่อดุลบัญชีเดินสะพัดมากกว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตทั่ว ๆ ไป

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย คงต้องอาศัยจุดแข็งของประเทศเราคือสินค้าเกษตร และอุปโภคบริโภค ที่มีภูมิคุ้มกันสูงกว่าสินค้าอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังต้องเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นเพื่อดึงยอดภาคบริการให้กลับมาเหมือนเิดิมให้เร็วที่สุด ส่วนการบริโภคในประเทศหลักการแล้วน่าจะได้ผลดี ปัญหาคือรัฐต้องเป็นตัวนำในส่วนนี้ (จาก mega project หรืองบกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหลาย) แต่กลับมีปัญหาการเมืองไม่รู้จักจบสิ้น

งานนี้ผมว่าคงไม่มีนักเศรษฐศาสตร์ชาติไหนในโลกสามารถคาดการณ์เศรษฐกิจไทยโดยใ้ช้โมเดลหรือทฤษฎีอะไรได้เลย เพราะการเมืองไทยตอนนี้ผันแปรได้ทุกวัน

สำหรับ leading indicator สำหรับแนวโน้มดอกเบี้ยในสถานการณ์ปกติที่ดีที่สุดหนีไม่พ้นอัตราเงินเฟ้อครับ ส่วนมุมมองของคุณเอกยุทธว่าไปแล้วไม่ใช่เรื่องแปลกครับ เขาคาดการณ์กันอยู่แล้วว่าจะเป็นอย่างนี้ ตราบใดที่ตลาดตราสารหนี้ยังมีความผันผวนขนาดนี้ นักลงทุนย่อมหนีไปสู่ safe heaven และไม่มีอะไรจะปลอดภัยไปกว่า T-bill เป็นผลทำให้อัตราดอกเบี้ยมันต่ำเตี้ยเหมือนที่เห็นกันอยู่

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 01, 2009 9:16 pm
โดย pongo
เข้ามาขอบคุณและสวัสดีปีใหม่พี่หมอที่บอกเล่า แบ่งปันความรู้ประสบการณ์ให้น้องๆ และสวัสดีปีใหม่แฟนๆ ประจำกระทู้นี้ด้วยครับ