วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 181

โพสต์

แนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง...ต้องระวังปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจโลก

         ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าหากไม่มีเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้นเศรษฐกิจไทยในQ3/53
อาจขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.3-5.3 (YoY)ในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 แม้ต้องเผชิญกับ มรสุมครั้งใหญ่จากเหตุการณ์รุนแรงทางการเมือง แต่เศรษฐกิจไทยก็สามารถฟื้นตัวขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจ ถดถอยได้อย่างแข็งแกร่งเกินคาด ด้วยอัตราการขยายตัวที่คาดว่าจะสูงถึงประมาณร้อยละ 10 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year) ซึ่งถือได้ว่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาคเอเชีย โดยเป็นรอง
สิงคโปร์และจีน (ซึ่งขยายตัวร้อยละ 18.1 และ 11.1 ตามลำดับ) อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลังสัญญาณ
การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มปรากฎชัดเจนขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุด โดยเฉพาะตัวเลขของ
เศรษฐกิจใหญ่อันดับ 1 และ 2 ของโลกอย่างสหรัฐฯ และจีน อาจเป็นปัจจัยที่ฉุดเศรษฐกิจไทยในครึ่งปี
หลังให้ชะลอตัว เนื่องจากแรงขับเคลื่อนจากภาคการส่งออกที่อาจอ่อนกำลังลง

          สำหรับตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในไตรมาสที่ 2/2553 ที่สำนักงานพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะรายงานในวันที่ 23 สิงหาคม 2553 นั้น จากการวิเคราะห์ข้อ
มูลดัชนี KR Economic Condition Index ที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จัดทำขึ้น เพื่อประเมินภาพอัตราการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ที่เป็นรายเดือน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่
2/2553 อาจขยายตัวสูงประมาณร้อยละ 8 (YoY) ชะลอลงจากที่เติบโตที่สูงสุดในรอบ 15 ปีที่ร้อยละ
12.0 ในไตรมาสที่ 1/2553 แต่เป็นอัตราที่สูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ โดยค่าจีดีพีในเดือนมิถุนายนปรับตัว ดีขึ้นมาอยู่ในระดับใกล้เคียงร้อยละ 9 จากที่ต่ำลงไปอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7 ในเดือนพฤษภาคม เนื่องจาก ผลกระทบของสถานการณ์ทางการเมือง

         ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า คาดว่ามูลค่าจีดีพี (ที่ปรับฤดูกาล) ในไตรมาสที่ 2/2553
อาจหดตัวประมาณร้อยละ 1.4 (Seasonally-Adjusted Quarter-on-Quarter) จากที่ขยายตัวแข็งแกร่งที่
ระดับร้อยละ 4.0 และร้อยละ 3.8 ในไตรมาสที่ 4/2552 และไตรมาสที่ 1/2553 ตามลำดับ

          แม้ว่าสถานการณ์รุนแรงทางการเมืองในช่วงไตรมาสที่ 2/2553 ได้ส่งผลกระทบต่อหลายภาค
เศรษฐกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ธุรกิจค้าปลีก และผู้ประกอบการร้านค้าในย่านที่ได้รับผลกระทบจาก
การชุมนุมทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจได้รับปัจจัยบวกจากการเติบโตของภาคการส่งออกที่ยังคง
เร่งตัว ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการเยียวยาผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองได้ค่อนข้างเร็ว อีกทั้งยัง
มีผลกระตุ้นของมหกรรมฟุตบอลโลก 2010 ซึ่งช่วยพลิกฟื้นบรรยากาศความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้กลับมา
คึกคักขึ้นได้เร็วกว่าที่คาด ปัจจัยบวกดังกล่าวมีส่วนช่วยชดเชยความสูญเสียจากเหตุการณ์ทางการเมืองใน
ระดับหนึ่ง

         ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยหดตัวร้อยละ 3. 6 ใน
ไตรมาสที่ 2/2553 จากที่เติบโตสูงประมาณร้อยละ 27.8 (YoY) ในช่วงไตรมาสที่ 4/2552 และไตรมาสที่
1/2553 โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติชะลอตัวชัดเจนในเดือนเมษายน และหดตัวถึงร้อยละ 12.9 ใน
เดือนพฤษภาคมที่สถานการณ์การเมืองทวีความรุนแรงขึ้น ก่อนที่จะปรับตัวดีขึ้นในเดือนมิถุนายนหลังการ
ชุมนุมยุติ โดยหดตัวร้อยละ 1.1 นอกจากนี้ การผลิตในภาคอุตสาหกรรมเติบโตในอัตราที่ชะลอลงมาที่ร้อย
ละ 20.2 (YoY) ในไตรมาสที่ 2/2553 จากร้อยละ 31.2 ในไตรมาสแรก โดยเป็นผลจากวันทำงานที่น้อย
ลงเนื่องจากสถานประกอบการในพื้นที่กรุงเทพฯ มีการปิดทำการในช่วงที่สถานการณ์การเมืองไม่ปกติ

         อย่างไรก็ตาม การส่งออกที่เร่งตัวขึ้นได้ส่งผลดีต่อการผลิต การบริการ และการจ้างงานในธุรกิจ
เกี่ยวเนื่อง โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออกตามฐานดุลการชำระเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ขยายตัวร้อยละ 41.8 และร้อยละ 29.0 ตามลำดับในไตรมาสที่ 2/2553 (จากที่ขยายตัวร้อยละ 32.1 และ
17.8 ในไตรมาสแรก) เนื่องจากสินค้าสำคัญ เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่อง
ใช้ไฟฟ้า และยางพารา ต่างยังคงมีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ตามการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาค
ต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งอานิสงส์ของการเปิดเสรีทางการค้า โดยเฉพาะในกรอบอาเซียน หรือ AFTA

          สำหรับแนวโน้มในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 อาจชะลอตัวตามทิศทางของเศรษฐกิจในภูมิภาค
สำคัญๆ ของโลก ซึ่งในกรณีของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เครื่องชี้เศรษฐกิจหลายด้านส่งสัญญาณชะลอตัวค่อน
ข้างชัดเจน บ่งชี้การฟื้นตัวที่เปราะบาง โดยเฉพาะเครื่องชี้ในภาคการผลิตและแนวโน้มการบริโภค ซึ่งใน
เดือนกรกฎาคม 2553 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในภาคการผลิตชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 มา
อยู่ที่ระดับ 55.5 ต่ำกว่าเดือนมิถุนายนที่มีระดับ 56.2 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงมาที่ระดับ
50.4 ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน นอกจากนี้ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคมเพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมาย โดยเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนเมษายน ในด้านเศรษฐกิจจีน ดัชน
ีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในภาคการผลิตชะลอลงมาอยู่ที่ระดับ 51.2 ในเดือนกรกฎาคม จากระดับ 52.1
ในเดือนก่อนหน้า และสะท้อนการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 17 เดือน ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อย
ละ 13.7 อ่อนตัวลงจากร้อยละ 16.5 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีชี้ภาวะการผลิตของญี่ปุ่นก็ชะลอตัวเช่น
กัน สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจยูโรโซน แม้ว่าปรับเพิ่มขึ้นดีกว่าที่คาด แต่ส่วนหนึ่งมีผลของเม็ดเงินสะพัดจาก
มหกรรมฟุตบอลโลก 2010 ขณะที่ยังไม่มีปัจจัยที่น่าเชื่อได้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะสามารถรักษาแรงส่งของ การเติบโตในระดับดังกล่าวต่อไปได้ในระยะข้างหน้า เนื่องจากผลที่จะตามมาจากนโยบายรัดเข็มขัดของ
รัฐบาลในหลายประเทศ จะเริ่มปรากฏชัดมากขึ้น ขณะที่ค่าเงินยูโรที่เคยอ่อนค่าและหนุนภาคการส่งออก
ของภูมิภาคนั้น เริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้นท่ามกลางทิศทางการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงระยะนี้ ซึ่งน่าจะส่งผลให้การส่งออกรวมทั้งภาคการผลิตของยูโรโซนชะลอตัวลงในระยะต่อไป

         จากทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกดังกล่าว ประกอบกับฐานเปรียบเทียบในปีก่อนที่ขยับสูง
ขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การผลิตและการส่งออกของไทยในไตรมาสที่ 3/2553
อาจชะลอลง และอาจเติบโตเหลือเป็นตัวเลขหลักเดียว (YoY) ในช่วงไตรมาสที่ 4/2553 ซึ่งจะมีผลทำให้
เศรษฐกิจในภาพรวมเติบโตในอัตราที่ชะลอลงตามไปด้วย ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 การเติบ
โตของการ ส่งออกที่สูงถึงร้อยละ 37 (YoY) ได้ผลักดันให้จีดีพีของภาคอุตสาหกรรมไทยขยายตัวสูงอาจถึง
ประมาณร้อยละ 18 และมีผลต่อการเติบโตของจีดีพีของประเทศในครึ่งปีแรกถึงเกือบร้อยละ 7 (Percentage
Point)ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ผลักดันให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยภาพรวมในช่วงครึ่งปีแรก
มีแนวโน้มที่จะสูงถึงร้อยละ 10 สำหรับอุปสงค์ภายในประเทศ ยังมีปัจจัยบวกที่อาจสนับสนุนการฟื้นตัวของ
การใช้จ่ายในประเทศ โดยบรรยากาศทางการเมืองที่ผ่อนคลายลงน่าจะส่งผลดีต่อทิศทางความเชื่อมั่นของผู้
บริโภคและนักลงทุน รวมทั้งการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว นอกจากนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ ซึ่งรวมไปถึงงบไทยเข้มแข็ง น่าจะเร่งตัวในช่วงโค้งสุดท้ายของปีงบประมาณ ขณะที่โครงการลงทุนขนาด ใหญ่เริ่มมีความคืบหน้ามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาวะการบริโภคก็มีแรงกดดันเพิ่มเข้ามาจากทิศทางเงินเฟ้อที่
อาจปรับเพิ่มขึ้น และวัฏจักรขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในประเทศ

         ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า หากไม่มีเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้น เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่
3/2553 อาจขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.3-5.3 (YoY) และอาจชะลอตัวลงเหลือไม่เกินร้อยละ
2.5 ในไตรมาสสุดท้ายของปี

         โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2/2553 อาจขยายตัวชะลอลงมาที่
ร้อยละ 8.0 (YoY) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับกับไตรมาสก่อนหน้า จีดีพี ที่ปรับฤดูกาลอาจหดตัวลงประมาณร้อยละ 1.4 (QoQ, SA)


          สำหรับแนวโน้มในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 แม้เศรษฐกิจไทยอาจเติบโตในอัตราที่ชะลอตัว แต่จาก ภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกที่ออกมาดีกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับเพิ่มคาด
การณ์ แนวโน้มอัตราการขยายตัวของจีดีพีของทั้งปี 2553 ขึ้นมาเป็นร้อยละ 5.5-6.8 จากคาดการณ์เดิมที่
ร้อยละ 4.0-6.0 โดยในกรณีหากไม่มีปัจจัยลบทางการเมืองที่รุนแรง จีดีพีน่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 6.2-6.8 ขณะที่กรอบล่างของประมาณการรองรับกรณีหากเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่ไม่ปกติ

         ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปี ได้แก่ ทิศทางเศรษฐกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับปัญหาวิกฤตหนี้ในภูมิภาคยุโรป ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแรงขับเคลื่อนจากเศรษฐกิจจีนและประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศ คงต้องติดตาม สถานการณ์การเมืองภายในประเทศ ทิศทางเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งความคืบหน้าของการแก้ไข
ปัญหาการลงทุนในมาบตาพุด เป็นสำคัญ





ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 182

โพสต์

ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐ

ในช่วง 3-4 สัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนปรับเปลี่ยนความสนใจและความกังวลจากสภาวะทางเศรษฐกิจของยุโรปมาจับ ตามองสภาวะทางเศรษฐกิจของสหรัฐ จริงอยู่เศรษฐกิจของ ประเทศที่มีปัญหาเช่นกรีกและสเปนก็ยังมีปัญหาอยู่ แต่นักลงทุนรู้สึกเบาใจจากตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของยุโรป โดยรวมที่ขยับตัวสูงขึ้น 1% (หรือ 4% ต่อปี) ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ นำโดยประเทศเยอรมนีซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวสูงถึง 2.2% ในไตรมาสเดียวกัน (หรือ 9% ต่อปี)

ในขณะเดียวกัน ตัวเลขการจ้างงานในสหรัฐกลับไม่กระเตื้องขึ้น แม้ว่าบริษัทต่างๆ จะรายงานผลประกอบการที่ดีเกินคาด แต่การว่างงานกลับมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วยดีมาตลอดก็มีสัญญาณว่าอาจจะ กำลังชะลอตัวลง ในขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ไม่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นแต่อย่างใด

แนวโน้มทั้งหมดนี้ ขัดแย้งกับความคาดหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในครึ่งหลัง ของปีนี้ ทำให้นายเบน เบอร์นันเก้ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวเชื่องช้ากว่าที่คิดและแนวโน้มในอนาคตนั้นมี "ความไม่แน่นอนสูงผิดปกติ" (unusually uncertain) ทำให้นายเบอร์นันเก้ ประกาศว่า ธนาคารกลางสหรัฐจะนำเงินที่จะได้รับจากการหมดอายุตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ ธนาคารกลางซื้อไว้กลับมาซื้อพันธบัตรรัฐบาล กล่าวคือ ธนาคารกลางสหรัฐได้เคยซื้อตราสารหนี้เอกชนรวมทั้งสิ้นมูลค่าประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ (เพราะเป็นตราสารที่เสี่ยงมากในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2009) แต่ตราสารดังกล่าวจะเริ่มหมดอายุลงประมาณ 200,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี การที่ธนาคารกลางได้รับเงินคืนจากการไถ่ถอนตราสารดังกล่าว เท่ากับเป็นการดึงสภาพคล่อง (เงินหมุนเวียน) ออกจากระบบ เพื่อเกื้อกูลการไหลเวียนของสภาพคล่องธนาคารกลางสหรัฐ จึงตัดสินใจว่าจะนำเงินดังกล่าวกลับเข้ามาซื้อพันธบัตรรัฐบาลในมูลค่าที่ เท่ากัน แปลว่าธนาคารกลางสหรัฐจะไม่ถอนสภาพคล่องออกจากระบบ (exit strategy) ดังที่เคยดำริเอาไว้ การกระทำดังกล่าวของธนาคารกลางสหรัฐจึงเป็นการยอมรับว่าเศรษฐกิจสหรัฐไม่ได้ ฟื้นตัวดังที่เคยคาดการณ์เอาไว้ นักลงทุนบางรายรู้สึกผิดหวัง เพราะเข้าใจว่าธนาคารกลางสหรัฐ จะเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม

จึงต้องตั้งคำถามว่า เศรษฐกิจของสหรัฐจะเสี่ยงต่อการฟื้นตัวแล้วฟุบตัว (double-dip) หรือไม่ และหากเป็นเช่นนั้นแล้ว จะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยมากน้อยเพียงใด ในส่วนของข้อแรกนั้น ความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์แตกแยกกันค่อนข้างมาก แต่เสียงส่วนใหญ่เชื่อว่า double-dip จะไม่เกิดขึ้นหรือผู้ที่มีความกังวล เช่น Mohamed El-Erian ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ PIMCO ก็เชื่อว่าโอกาสที่จะเกิด double-dip มีอยู่ประมาณ 20-30% ซึ่งคนที่อยู่ในกลุ่มนี้กำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้น ในขณะที่บางคน เช่น David Rosenberg อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเมอร์ริล ลินช์ ให้สัมภาษณ์ CNBC ว่า มีโอกาส "เกือบแน่นอน" (virtual certainty) ที่เศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นและฟุบ

การที่นักเศรษฐศาสตร์เริ่มเชื่อมากขึ้นว่าโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้น และฟุบ เพิ่มเป็น 20-30% ยังถือว่าเป็นระดับความเสี่ยงที่ต่ำ แต่สูงพอที่จะบั่นทอนความมั่นใจอย่างมีนัยสำคัญ เพราะหากเศรษฐกิจสหรัฐฟุบตัวลงจริง ก็จะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อนักลงทุนและเศรษฐกิจโดยรวม เรื่องนี้นาย El-Erian เปรียบเทียบให้เห็นโดยสมมติว่ามีคนเสนอว่าจะขับรถไปส่งเขา ณ ที่แห่งหนึ่ง แต่เขารู้ว่าหากขึ้นรถไปกับคนนี้จะเสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุรถคว่ำและบาด เจ็บสาหัสโดยมีโอกาสเกิดขึ้น 20-30% คำถามคือคุณจะยอมนั่งรถไปกับคนคนนั้นหรือไม่ คนส่วนใหญ่คงจะตอบปฏิเสธ เพราะแม้ความเสี่ยงจะไม่สูง แต่ผลร้ายและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั้นมาก จนทำให้หลายคนยอมรับไม่ได้

ฝ่ายที่ไม่เชื่อว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะ "ฟื้นแล้วฟุบ" ให้เหตุผลหลักๆ 3 ประการ คือ

1. "ฟื้นแล้วฟุบ" แทบจะไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ กล่าวคือ จากข้อมูลที่มีอยู่นั้นเศรษฐกิจเคยเผชิญกับ "ฟื้นแล้วฟุบ" เพียง 2 ครั้ง คือ ปี 1937 และปี 1982 ความตกต่ำทางเศรษฐกิจซ้ำสองในปี 1937 นั้น เกิดจากนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่ผิดพลาดอย่างรุนแรง โดยรัฐบาลเพิ่มภาษีและธนาคารกลางก็ดำเนินนโยบายการเงินตึงตัว ในครั้งนี้ธนาคารกลางกดดอกเบี้ยลงเหลือศูนย์และอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ ในขณะที่นโยบายการคลังก็ไม่ได้ต้องการจะรัดเข็มขัด (แม้ว่านโยบายลดภาษีของประธานาธิบดีบุชจะถูกยกเลิกในปี 2011) อีกกรณี คือ การตกต่ำซ้ำสองในปี 1982 ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤติน้ำมัน กล่าวคือ ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เพราะนโยบายของโอเปค และผลสืบเนื่องจากสงครามระหว่างอิหร่านกับอิรัก แต่ปัจจุบันนี้ราคาน้ำมันก็อยู่ที่ระดับ 70-80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับราคาที่เศรษฐกิจโลกรองรับได้โดยไม่กระทบต่อปัจจัยพื้นฐาน

2. ผลประกอบการโดยเฉพาะผลกำไรของบริษัทสหรัฐดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอดีตกำไรที่เพิ่มขึ้นต้องนำไปสู่การลงทุนเพื่อขยายกิจการและการจ้าง งานทุกครั้งไป ดังนั้น ครั้งนี้จึงต้องรอเวลาที่บริษัทต่างๆ จะตัดสินใจขยายกิจการและจ้างงานเพิ่มขึ้น

3. หากเกิดปัญหาขึ้นมาธนาคารกลางจะเข้ามากอบกู้สถานการณ์ได้ นักลงทุนค่อนข้างจะมั่นใจว่านายเบอร์นันเก้จะเป็นอัศวินม้าขาวดูแลไม่ให้ เศรษฐกิจตกต่ำได้ เพราะนายเบอร์นันเก้เคยกล่าวว่า หากเศรษฐกิจขาดสภาพคล่องและเสี่ยงต่อการเข้าสู่สภาวะเงินฝืด ธนาคารกลางจะมีกลไกพิมพ์เงินเข้าไปในระบบเสมือนกับการนำเงินขึ้นไปบนเครื่อง เฮลิคอปเตอร์บินขึ้นไปโปรยลงมาให้ระบบมีสภาพคล่องที่เพียงพอ ปัจจุบันการที่ธนาคารกลางสหรัฐพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลก็ถือว่า เป็นการพิมพ์เงินให้รัฐบาลใช้อย่างที่หลายคนคาดไม่ถึงอยู่แล้ว


ฝ่ายที่เชื่อว่ามีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นและฟุบให้เหตุผล ดังนี้

1. ความถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งนี้ไม่ธรรมดา กล่าวคือ ธรรมดาแล้วภาคการผลิตจะผลิตเกินความต้องการและ/หรือนโยบายเศรษฐกิจมหภาคจะ เข้มข้นกดอุปสงค์มากเกินไป (เช่น ปรับดอกเบี้ยสูงเกินไป) ทำให้ต้องปรับตัวในระยะสั้น แต่เศรษฐกิจฟื้นตัวได้รวดเร็ว เมื่อธนาคารกลางปรับดอกเบี้ยลงและรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลัง แต่ครั้งนี้ต้นตอปัญหามาจากฟองสบู่ในภาคสินทรัพย์ ซึ่งเมื่อแตกสลายลงทำให้งบดุลของภาคธนาคารและภาคครัวเรือนเสื่อมถอยอย่าง รุนแรง กล่าวคือ สินทรัพย์ราคาลดลงและหนี้สินล้นพ้นตัว ทำให้ต้องปรับตัวหลายปีกว่าสถานะทางการเงินจะกลับสู่สภาวะปกติ (เช่น ธนาคารไทยใช้เวลาปรับตัวนาน 5 ปี จึงจะกลับมาปล่อยกู้ปกติหลังวิกฤติ 1997) ดังนั้น เศรษฐกิจจึงจะฟื้นตัวอย่างกระท่อนกระแท่น และสามารถฟุบตัวลงได้โดยไม่ยาก

2. นโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโอบามาไม่เป็นมิตรกับนักธุรกิจ ตรงนี้เป็นกระแสในสหรัฐที่ชัดเจนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น กฎหมายปฏิรูประบบสาธารณสุข ซึ่งธุรกิจยาเห็นว่าเข้าไปควบคุมแทรกแซงการทำธุรกิจและกฎหมายปฏิรูประบบการ ธนาคาร ซึ่งเข้าไปควบคุมแทรกแซงธนาคารในทำนองเดียวกัน นอกจากนั้น ก็ยังขู่เสมอมาว่าจะต้องปรับขึ้นภาษีคนรวยทำให้นักธุรกิจไม่ตัดสินใจลงทุน ขยายกิจการ เพราะเห็นแต่ความไม่เป็นมิตรและความไม่แน่นอน ตรงนี้เป็นความเชื่อของนักธุรกิจ ซึ่งเท็จจริงเพียงใดเป็นเรื่องต้องพิสูจน์ต่อไป แต่ปัจจุบันส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ แม้จะมีศักยภาพในการลงทุนและจ้างงาน แต่เลือกที่จะรีรอดูสถานการณ์ต่อไป

3. ความเสี่ยงด้านหนี้สาธารณะดังที่เคยกล่าวมาก่อนหน้า หนี้สาธารณะของสหรัฐสูงเกือบ 100% ของจีดีพีแล้วและปีนี้จะขาดดุลงบประมาณอีกเกือบ 10% ของจีดีพี จริงอยู่ธนาคารกลางสหรัฐช่วยพิมพ์เงินซื้อพันธบัตรรัฐบาล (กล่าวคือ พิมพ์เงินให้รัฐบาล) แต่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐทั้งสิ้น 13.3 ล้านล้านดอลลาร์นั้นต่างชาติถืออยู่ประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์ (โดยมีกองทุนประกันสังคมถืออีก 5 ล้านล้านดอลลาร์) แต่กองทุนประกันสังคมสหรัฐ จะไม่มีเงินเข้ามาใหม่ (และในอนาคตจะมีเงินออกเพราะประชาชนจะมาเบิกเงินเพิ่มขึ้น) ดังนั้น หนี้ใหม่ของรัฐบาลสหรัฐ (หรือการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐ) ในอนาคตนั้นประมาณครึ่งหนึ่งจะต้องพึ่งพาต่างชาติให้มาซื้อและประชาชนซื้อ อีกครึ่งหนึ่ง ซึ่งหากสหรัฐไม่สามารถรักษาวินัยทางการคลังได้ ก็อาจมีปัญหาในการกู้เงินได้ (ดังที่กรีกได้เคยเผชิญมาแล้ว) แม้ว่าประเด็นนี้อาจไม่เกิดขึ้น เพราะอเมริกาน่าจะมีเวลาเตรียมตัวจัดการกับปัญหาได้อีกหลายปี แต่ก็เป็นความเสี่ยงที่ต้องพึงระวังต่อไป

แหล่งที่มา ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ - กรุงเทพธุรกิจ
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

news

โพสต์ที่ 183

โพสต์

พาณิชย์ เผยส่งออกก.ย.โต 21.2%
นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศเดือน ก.ย.53 การส่งออกมีมูลค่า 18,062 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 21.2% และการนำเข้ามีมูลค่า 14,997 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 16.0% ส่งผลให้เกินดุลการค้าประมาณ 3,065 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ ส่งผลให้ช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-ก.ย.53) การส่งออกมีมูลค่ารวม 143,145 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 31.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามูลค่า 133,999 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 43.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้เกินดุลการค้ารวมทั้งสิ้น 9,146 ล้านดอลลาร์

"การส่งออกที่มีมูลค่าสูงเป็นประวัติการณ์ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากข้อตกลง FTA และ AFTA รวมถึงยุทธศาสตร์การค้าชายแดนที่ประสบความสำเร็จ"นางพรทิวา กล่าว
http://www.stockwave.in.th/hot-news/15359---212-.html
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

news

โพสต์ที่ 184

โพสต์

รัฐประเมินน้ำท่วมฉุดจีดีพีปีนี้ร่วง 0.3%

Posted on Monday, November 01, 2010
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี บอกว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ช่วงเช้าที่ผ่านมา ได้ประเมินผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงปัจจุบันจะกระทบอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ปีนี้ประมาณ 0.3% จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจีดีพีปีนี้จะขยายตัวได้ 7 8% ดังนั้น รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณ เพื่อชดเชยความเสียหายด้านผลผลิตทางการเกษตร และให้การช่วยเหลือประชาชนกว่า 2 หมื่นล้านบาท

ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บอกว่า ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ ได้สั่งให้เร่งรัดมาตรการชดเชยความเสียหายจากน้ำท่วม 5,000 บาทต่อครัวเรือนโดยเร็วที่สุด ซึ่งจะมีธนาคารออมสินเป็นแกนหลักในการจ่ายเงินด้วยการโอนเข้าบัญชี ซึ่งจากการสำรวจล่าสุด ณ สิ้นเดือนตุลาคม มีประชาชนที่เดือดร้อนจำนวน 620,000 ราย

ส่วนค่าชดเชยด้านที่อยู่อาศัยซึ่งประสบภัยน้ำท่วม หากเสียหายบางส่วนรัฐบาลจะจ่ายให้ 20,000 บาทต่อครัวเรือน หากซ่อมแซมเกือบทั้งหลัง จะชดเชยให้ 30,000 บาท กรณีต้องสร้างใหม่จะชดเชยให้ 100,000 บาท และหากอุปกรณ์ที่ใช้ทำมาหากินเสียหาย จะจ่ายชดเชยให้ 10,000 บาท ทั้งนี้จะเร่งสำรวจความเสียหายและจ่ายเงินชดเชยเร็วที่สุด พร้อมกันนี้ยังได้สั่งการให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกับสถาบันอาชีวะศึกษา ลงพื้นที่ซ่อมแซมอุปกรณ์ทางการเกษตรฟรี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บอกอีกว่า จะให้ กรมสรรพากร ลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับผู้ที่บริจาคเงินและสิ่งของแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมผ่านองค์กรกลางต่างๆ และจะยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับร้านค้าต่างๆ ที่บริจาคสิ่งของช่วยผู้ประสบภัย
ด้านนายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ยืนยันว่า ธนาคารมีความพร้อมในการโอนเงินชดเชยความเสียหายให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วมครัวเรือนละ 5,000 บาทตามมติครม.เศรษฐกิจ ซึ่งทันทีที่ภาครัฐกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขอรับเงินผู้ประสบภัยก็สามารถนำบัตรประจำประชาชนมาแสดงความเป็นเจ้าของบ้านที่สาขาธนาคารในพื้นที่ได้ หากข้อมูลตรงกับฐานข้อมูลของอำเภอก็จะจ่ายเงินช่วยเหลือทันที โดยยืนยันธนาคารมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะสำรองจ่ายให้ผู้ประสบภัยก่อน

ขณะที่นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง บอกว่า จะลงลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำท่วมใน 3 จังหวัด ประกอบด้วย อยุธยา นนทบุรี และปทุมธานี พรุ่งนี้ เพื่อดูแลในการเบิกจ่ายเงินทดรองราชการช่วยเหลือผู้ประสบภัย หากจังหวัดใดมีงบประมาณไม่เพียงพอ กรมบัญชีกลางสามารถขยายวงเงินเพิ่มเติมจากที่ได้รับจัดสรรจังหวัดละ 100 ล้านบาท เป็น 250 ล้านบาท โดยยืนยันกรมบัญชีกลางมีงบประมาณเพียงพอในการจัดสรร พร้อมกันนี้กรมบัญชีกลางเตรียมนำเรื่องภาคเอกชนที่ได้รับสัมปทานงานก่อสร้างของราชการ แต่ต้องหยุดการดำเนินการ เนื่องจากได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ภายในสัปดาห์นี้ เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป  
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

news

โพสต์ที่ 185

โพสต์

ไทยพาณิชย์คาดกนง.คงดอกเบี้ยสกัดเงินไหลเข้า

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) ออกบทวิเคราะห์เรื่อง "ธนาคารกลางสหรัฐฯ อัดฉีดสภาพคล่อง 6 แสนล้านดอลลาร์" โดยระบุว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศจะอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการเข้าซื้อตราสารหนี้ภาครัฐอีก 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากช่วงนี้ไปจนถึงเดือนมิถุนายนปี 2011 เนื่องจากอัตราการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังช้าเกินไป ความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเงินฝืด (deflation) และอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูง

บทวิเคราะห์ระบุว่า 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงกว่าที่ตลาดคาด จากผลสำรวจนักวิเคราะห์ก่อนหน้านี้ ตลาดคาดว่าเฟดน่าจะอัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มเติมอีกราว 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

เฟดอาจต้องเข้าซื้อตราสารหนี้ภาครัฐเฉลี่ยสูงถึงราว 1.1 แสนล้านดอลลาร์ต่อเดือน นอกจากจำนวนเงิน 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดังกล่าวแล้ว เฟดยังมีเงินที่จะได้รับจากตราสารหนี้เกี่ยวกับการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ (proceeds of mortgage payment) ที่เฟดซื้อไว้ในช่วงการอัดฉีดสภาพคล่องก่อนหน้านี้ ซึ่งจะทำให้ในช่วง 8 เดือนข้างหน้า (พ.ย. 2010 มิ.ย. 2011) เฟดจะต้องซื้อตราสารหนี้ภาครัฐทั้งหมดถึง 8.5-9.0 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเดือนละประมาณ 1.1 แสนล้านดอลลาร์

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ คงมุมมองว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าต่อเนื่องไปอีก การอัดฉีดสภาพคล่องดังกล่าวจะทำให้มีเงินทุนไหลมายังภูมิภาคเอเชียมากขึ้น ด้วยปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจทางตะวันตก

โดยเฟดยังคงยืนยันท่าทีว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำไปอีกนาน ซึ่งจะทำให้ค่าเงินสกุลต่างๆ ในภูมิภาคน่าจะแข็งค่าขึ้น เราคงมุมมองว่าเงินบาทน่าจะแข็งค่าไปอยู่ต่ำกว่า THB 28 /USD ภายในปลายปีหน้า

ทั้งนี้ โอกาสที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน ธ.ค. ยิ่งน้อยลงไปอีก จากแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทดังกล่าว แม้ว่าล่าสุด ธปท. จะออกมาส่งสัญญาณว่ามีความกังวลเกี่ยวกับโอกาสที่จะเกิดปัญหาฟองสบู่ในราคาอสังหาริมทรัพย์

แต่การที่ ธปท. ออกมาระบุว่าอาจมีมาตรการที่เข้มงวดขึ้นเกี่ยวกับการปล่อยกู้สำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์บางประเภท ซึ่งเป็นมาตรการที่เฉพาะเจาะจงกว่าการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้เราคงมุมมองว่า ธปท. ไม่น่าจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งสุดท้ายของปีนี้ (1 ธันวาคม 2010)
http://www.stockwave.in.th/hot-news/156 ... 53-36.html
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 186

โพสต์

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดเศรษฐกิจปีหน้าโต 3.5-4.5 %

Posted on Tuesday, November 16, 2010
นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ประธานบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะขยายตัวได้เพียง 3.5 - 4.5% เนื่องจากการส่งออกจะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 6-10% จากปีนี้ ที่คาดว่าจะขยายตัวได้ถึง 27% ซึ่งเป็นไปตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศ ยังคงขยายตัวได้ดี ทั้งการลงทุนและการบริโภค โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 2.5- 4 % ส่วนอัตราดอกเบี้ย จะปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 2.5% จากสิ้นปี 2553 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1.75%

ส่วนค่าเงินบาทจะแข็งค่าไปแตะ28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากสิ้นปี 2553 ที่น่าจะแตะ 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ  
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 187

โพสต์

ยอดส่งออกเดือนต.ค. ต่ำสุดรอบ 1 ปี

Posted on Friday, November 19, 2010
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง พาณิชย์ บอกว่า ยอดส่งออกในเดือนตุลาคม 2553 มีมูลค่า 17,133 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 15.7% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเติบโตต่ำสุดในรอบ 1 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2552 ที่ขยายตัว 16.69% ซึ่งเป็นผลมาจากการแข็งค่าของเงินบาท และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกของตลาดส่งออกที่สำคัญชะลอลงตัวในช่วงไตรมาส 4/53

ทั้งนี้ สินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรสามารถส่งออกเพิ่มขึ้น 10.2% ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 17.1% โดยมีเพียงสินค้า 3 รายการที่ลดลง คือ มันสัมปะหลังลดลง 17.3% น้ำตาล 77.6% และวัสดุก่อสร้างที่ลดลง 19.1% เนื่องจากผลผลิตที่ลดลง

ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 14,811 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 13.5% ส่งผลให้ไทยยังคงดุลการค้าเกินดุลประมาณ 2,322 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการส่งออกในช่วง 10 เดือนตั้งแต่เดือนมกราคม - ตุลาคม 2553 มีมูลค่ารวม 160,277 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 29.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามูลค่า 148,810 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 39.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าในรอบ 10 เดือนเกินดุล 11,467 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 188

โพสต์

สภาพัฒน์เพิ่มประมาณจีดีพีปีนี้โต 7.9%

Posted on Monday, November 22, 2010
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปีนี้เป็น 7.9% จากเดิม 7-7.5% จากการบริโภคและการลงทุนที่ดีขึ้น แม้ว่าเหตุการณ์น้ำท่วม จะฉุดจีดีพีในไตรมาส 4/53 ประมาณ 0.3%
ทั้งนี้ คาดการณ์การส่งออกปีนี้เติบโต 25.1% จากเดิม 25.7% และการนำเข้าโต 33.5% จาก 32.9%
ขณะที่ในไตรมาส 3/53 เศรษฐกิจไทยเติบโต 6.7% และเชื่อว่าไตรมาส 4 จะเป็นบวกได้ หากยังรักษาระดับการส่งออกให้เติบโต 15-20%
ส่วนในปี 2554 คาดว่า จีดีพีจะเติบโต 3.5-4.5% ชะลอลงจากปีนี้ โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 189

โพสต์

พาณิชย์เผยเงินเฟ้อ 11 เดือนขยายตัว 3.4 %
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป(CPI)หรือเงินเฟ้อทั่วไป ในเดือน พ.ย.อยู่ที่ 108.75 เพิ่มขึ้น 2.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามที่นักวิเคราะห์คาดไว้ ขณะที่เมื่อเทียบเดือนก่อนหน้าขยายตัว 0.21% ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกำกับดูแลราคาสินค้าได้ผล และมาตรการบรรเทาค่าครองชีพของภาครัฐ แม้มีปัญหาภาวะน้ำท่วม

สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน(Core CPI)ซึ่งไม่รวมหมวดอาหารสดและพลังงาน ในพ.ย.อยู่ที่ 103.85 เพิ่มขึ้น 1.1% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.02% จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 1.2% เมื่อเทียบปีต่อปี ทำให้ในช่วง 11 เดือนแรกปีนี้ Core CPI เพิ่มขึ้น 0.9%
โดยในช่วง 11 เดือนแรก(ม.ค.-พ.ย.2553 )ปีนี้ อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 3.4% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 11 เดือนแรกขยายตัว 0.9 % ขณะที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไปไตรมาส 4 ปีนี้ขยายตัว 2.9-3.0 % ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 53 คาดว่าจะขยายตัว 3.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และปี 2554 คาดเงินเฟ้อขยายตัว 3.2-3.7%
http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=524
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 190

โพสต์

กนง.มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย0.25% จาก 1.75% เป็น 2.00 %
ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์พี 1 วัน)ขึ้น 0.25% หรือปรับจาก 1.75% เป็น 2.00 %

นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันนี้ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อรวมทั้งแนวโน้มในระยะต่อไปเพื่อกำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยมีประเด็นสำคัญ

เศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องตามคาด และนโยบายการเงินของสหรัฐฯ มีความชัดเจนมากขึ้น แม้ว่าตลาดการเงินระหว่างประเทศยังคงผันผวนจากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป แต่มีมาตรการรองรับที่เป็นรูปธรรม เศรษฐกิจเอเชียยังมีแนวโน้มขยายตัวแข็งแกร่ง จากการบริโภคและ
การลงทุน

ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยอยู่ในเกณฑ์ดี และมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องในปีหน้า โดยมีอุปสงค์ในประเทศเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ การลงทุนยังอยู่ในวัฏจักรขาขึ้น ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวดีต่อเนื่อง ถึงแม้ในระยะสั้น เศรษฐกิจอาจจะชะลอลงบ้าง จากที่เร่งตัวขึ้นมากในช่วงก่อนหน้า

แม้อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันทรงตัว แต่ในระยะต่อไปแรงกดดันด้านต้นทุนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามแรงกดดันด้านอุปสงค์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต

คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากเช่นปัจจุบันมีความจำเป็นน้อยลงและมีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 1.75 เป็นร้อยละ 2.00 ต่อปี โดยให้มีผลทันที
http://www.thannews.th.com/
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 191

โพสต์

แบงก์ชาติเล็งประกาศมาตรการสกัดเงินทุนไหลเข้า

Posted on Thursday, December 09, 2010
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า ขณะนี้หลายประเทศในภูมิภาคเตรียมออกมาตรการดูแลเงินทุนไหลเข้า หลังจากคาดว่า จะมีเงินทุนจำนวนมากไหลเข้าภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ธปท. คงต้องพิจารณาความจำเป็นด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เงินทุนไหลเข้ามายังประเทศไทยเพียงประเทศเดียว แต่ ธปท. จะพิจารณาใช้มาตรการเฉพาะจุดที่มีปัญหา เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งขณะนี้ได้เตรียมความพร้อมไว้แล้ว

นางผ่องเพ็ญ บอกอีกว่า เงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามายังประเทศไทย ส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ซึ่งขณะนี้มีมูลค่าสูงถึง 1.55 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 3 เท่าของตลาดหุ้น ขณะที่ในปี 2554 มีการคาดการณ์ว่า กระแสเงินทุนจะไหลเข้าภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยมากขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังไม่ชัดเจน และปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปที่ยังแย่ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินในภูมิภาค รวมถึงค่าเงินบาทของไทยมีความผันผวน ซึ่ง ธปท. พร้อมที่จะดูแลไม่ให้ผันผวนเร็วเกินไป เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวได้
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 192

โพสต์

ประชาชาติธุรกิจ

ทุนต่างชาติท่วมตลาดหุ้น-พันธบัตร ปีหน้าค่าเงินแตะ28บาท-ทองพุ่งต่อ

นักค้าเงิน-นักลงทุน หวั่นเงินต่างชาติไหลท่วมตลาดหุ้น-บอนด์ กดดันทางการออกมาตรการสกัดเงินร้อน ฉุดบรรยากาศลงทุนสะดุด เผยปีนี้ต่างชาติซื้อพันธบัตรไทยกว่า 1.2 แสนล้าน และซื้อหุ้นไทยเฉียด 6 หมื่นล้านบาท คาดปีหน้าค่าบาทแข็งแตะ 28 บาท/ดอลลาร์ ราคาทองทำนิวไฮ 1,500 เหรียญต่อออนซ์ เตือนอาจปรับฐานช่วงสั้นถ้าสหรัฐมีข่าวดี

คาดสิ้นปี"54 แตะ 28 บาท/ดอลล์

นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดสิ้นปี"54 แตะ 28 บาท/ดอลล์

ต่างชาติซื้อบอนด์ไทยกว่า 1.2 แสน ล.

ดัชนีปี54 แตะ 1,020 จุด
สมาคมนักวิเคราะห์ สำรวจความมั่นใจนักวิเคราะห์ (5 พ.ย.) ได้มีการปรับเป้าดัชนีหุ้นปลายปี 2553 เฉลี่ยที่ 1,038 จุด และปี 2554 อยู่ที่ 1,133 จุด ภายใต้ปัจจัยลบ 3 อันดับที่น่ากังวล คือ การเมืองในประเทศ การแข็งค่าของค่าเงินบาท และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะอเมริกาและยุโรป

ทองไทยทำนิวไฮ 20,500 บาท
http://www.prachachat.net/view_news.php ... 2010-12-09
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 193

โพสต์

คาดดอกเบี้ยปีหน้าขึ้นอีก 1%

Posted on Monday, December 13, 2010
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ บอกว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายปีหน้าจะปรับขึ้นจากระดับ 2% เล็กน้อย เพื่อให้ดอกเบี้ยกลับสู่ภาวะปกติ ส่วนการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ คงไม่มีผลต่ออัตราเงินเฟ้อมากนัก จนทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยเร็ว เพื่อมาดูแล

ด้านนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ บอกว่า เศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะขยายตัวได้ 4 – 5% ตามที่หลายฝ่ายได้คาดการณ์ไว้ หลังจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เริ่มคลี่คลาย ยกเว้นปัญหาทางการเมือง แต่หากปัญหาทางการเมืองเริ่มคลี่คลายจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างสมดุล จากการบริโภค และการใช้จ่ายภายในประเทศ ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ขณะที่นายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ บอกว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า เชื่อว่า แบงก์ชาติจะปรับขึ้นอีก 2 – 3 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี ไปอยู่ที่ประมาณ 3% ส่วนเงินบาทปีหน้าจะมีควาผมันผวนสูง จากเศรษฐกิจต่างประเทศ โดยเฉพาะยุโรปและอเมริกา ที่ยังมีปัญหา ทำให้เงินทุนต่างชาติยังไหลเข้ามาในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าแตะระดับ 27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้ แต่เชื่อว่า ธปท. จะติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งมาก และเร็วเกินไป

นายสมภพ บอกอีกว่า สำหรับเศรษฐกิจปีหน้ายังคงต้องติดตามมาตรการเชิงปริมาณรอบ 2 (QE2) ของสหรัฐฯ ที่อาจมีผลทำให้เกิดความผันผวนของค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย และเกิดการเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 194

โพสต์

กรุงเทพโพลล์ เผยนักเศรษฐศาสตร์คาดศก.ไทยปี 54 โต 5%, หวั่นศก.โลกกระทบ
กรุงเทพฯ--16 ธ.ค.--รอยเตอร์
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ คาดเศรษฐกิจไทยในปี 54 จะขยายตัว 5.0% ขณะที่มองปัญหาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ผลสำรวจยังพบว่า นักเศรษฐศาสตร์ คาดว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยในปีหน้า จะอยู่ที่ 3.7% และอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะปรับขึ้นไปที่ 2.75% ส่วนดัชนีตลาดหุ้นไทยปี 54 จะมีจุดสูงสุดที่ 1,150 จุด และค่าเงินบาทจะเฉลี่ยอยู่ที่ 29.10บาทต่อดอลลาร์ กรุงเทพโพลล์ ได้สำรวจความคิดเห็นเรื่อง คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2554โดยสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำในประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวม 26 แห่ง ระหว่างวันที่ 9-15 ธ.ค.ที่ผ่านมา ผลสำรวจระบุว่า ค่าเฉลี่ยการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีหน้า จากมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ อยู่ที่ 3.9% ขณะที่ค่าเฉลี่ยการเติบโตของเศรษฐกิจไทย อยู่ที่ 5.0% โดยในส่วนการส่งออก มีค่าเฉลี่ยการขยายตัวที่ 14.6% นอกจากนี้ ผลสำรวจยังได้ค่าเฉลี่ยของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปีหน้า ที่ 3.7%, ค่าเฉลี่ยค่าเงินบาท ที่ 29.10 บาทต่อดอลลาร์ และค่าเฉลี่ยราคาน้ำมันดิบดูไบ อยู่ที่ 90.30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ หรือ 76.1% ที่ได้รับการสำรวจความคิดเห็นในครั้งนี้ ยังคาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากระดับ 2.00% ในปัจจุบัน ไปอยู่ที่ 2.75% ภายในปี 54 ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ หรือ 62% คาดการณ์ว่า ดัชนีหุ้นไทยในปีหน้า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีนี้ โดยมองจุดสูงสุดไว้ที่ 1,150 จุด สำหรับปัจจัยที่นักเศรษฐศาสตร์ มองว่าเป็นปัจจัยเสี่ยง ที่จะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปี 54 อันดับ 1 คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในภาพรวมรองลงมา คือ ปัญหาการเมือง การชุมนุมประท้วง และเสถียรภาพของรัฐบาลตามมาด้วยปัจจัยด้านอัตราแลกเปลี่ยน, ราคาน้ำมัน และ อัตราดอกเบี้ย ส่วนข้อเสนอของนักเศรษฐศาสตร์ ต่อรัฐบาลและหน่วยงานเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในปีหน้า ได้แก่ การรักษาความสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยน โดยใช้นโยบายการเงินและการคลังที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยการเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ ดูแลการกระจายรายได้ให้ทั่วถึงและเป็นธรรม ตลอดจนการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน รวมถึงไม่ควรใช้นโยบายประชานิยมจนเกินไป แต่ควรจะเน้นนโยบายเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงๆ และเป็นนโยบายที่มีความยั่งยืน รวมทั้ง การเสนอให้รัฐบาลรีบลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานด้วย
(โดย สะตะวสิน สถาพรชาญชัย เรียบเรียง--บร--) (([email protected];โทร.0-2648-9717
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 195

โพสต์

กสิกรไทยคาดเงินเฟ้อปี 54 อยู่ที่ 2.5 -4.0 % หลังประเมินผลมาตรการค่าครองชีพ ค่าจ้าง และแนวทางดูแลพลังงาน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์
" มาตรการค่าครองชีพ ค่าจ้าง และแนวทางดูแลราคาพลังงาน : นัยต่ออัตราเงินเฟ้อ และดอกเบี้ยไทยปี 2554"
ระบุว่า จากข้อมูลประมาณการของหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และศูนย์วิจัยกสิกรไทย ล้วนสะท้อนการคาดการณ์ในทิศทางที่สอดคล้องกันว่า แรงกดดันในช่วงขาขึ้นของเงินเฟ้อไทยอาจเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2554 ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะตรงกันข้ามกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยที่ต้องเผชิญความเสี่ยง/ปัจจัยท้าทายหลายด้านพร้อมๆ กัน ดังนั้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและลดภาระค่าครองชีพของประชาชน รวมถึงต้นทุนราคาพลังงานของผู้ประกอบการ (โดยเฉพาะในภาคขนส่ง) รัฐบาลจึงได้วางแนวทางช่วยเหลือเฉพาะหน้าที่สำคัญในระยะสั้นไว้หลายมาตรการ อาทิ โครงการช่วยเหลือประชาชนที่ต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 8-17 บาทต่อวัน รวมถึงแนวนโยบายทางด้านพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการดูแลราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลและราคาก๊าซธรรมชาติในประเทศ
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบของมาตรการบรรเทาค่าครองชีพ การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ และแนวทางดูแลราคาพลังงาน ที่มีต่อแรงกดดันเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในปี 2554 ไว้ดังนี้

- ผลกระทบของมาตรการดูแลค่าครองชีพของประชาชน ต่ออัตราเงินเฟ้อในประเทศ

แม้ว่าเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย (ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2/2552) จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกในรอบล่าสุดจะเป็นไปอย่างราบรื่น แต่ก็คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า มาตรการบรรเทาค่าครองชีพของประชาชน และการดูแลราคาพลังงานในประเทศของภาครัฐ ก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อยที่ช่วยสนับสนุนภาวะการจับจ่ายใช้สอยของภาคเอกชน และมีส่วนทำให้ระดับราคาสินค้าผู้บริโภคหลายรายการอยู่ในเกณฑ์ที่มีเสถียรภาพ ทั้งนี้ มาตรการบรรเทาค่าครองชีพ การตรึงราคาก๊าซ LPG/NGV และการขอความร่วมมือผู้ประกอบการในการตรึงราคาสินค้าซึ่งถูกพิจารณาขยายเวลามาแล้วหลายครั้งในช่วงก่อนหน้านี้ กำลังจะครบกำหนดสิ้นสุดลงอีกครั้งในช่วงสิ้นปี 2553 และเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ตามลำดับ

ดังนั้น รัฐบาลจึงเตรียมวางแนวทางบรรเทาค่าครองชีพของประชาชนให้เป็นแผนต่อเนื่องในระยะยาว โดยจะมีการปรับโครงสร้างราคาพลังงานหลายประเภท รวมถึงวิเคราะห์โครงสร้างราคาสินค้าประเภทอื่นๆ (อาทิ อาหาร และค่าไฟฟ้า) ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งใน “การปฏิรูปประเทศ” เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า มาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนชุดใหม่ดังกล่าว จะเข้ามารับช่วงต่อในจังหวะที่มาตรการบรรเทาค่าครองชีพชั่วคราวชุดเก่ากำลังทยอยหมดวาระลง ซึ่งทำให้คาดว่า การดำเนินการของภาครัฐตามแนวทางดังกล่าว จะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดแรงกดดันต่อราคาสินค้าและเงินเฟ้อลงบางส่วนในระยะ 1 ปีข้างหน้า

มาตรการภาครัฐเพื่อบรรเทาค่าครองชีพประชาชน อาจช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อปี 2554 ลงประมาณร้อยละ 1.0 ภายใต้สมมติฐานที่ภาครัฐยังคงตรึงราคา LPG/NGV สำหรับภาคครัวเรือนและภาคขนส่งต่อเนื่องไปตลอดในช่วง 1 ปีข้างหน้า และมีการขยายเวลาสำหรับมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน (อาทิ ค่าไฟฟ้า รถเมล์และรถไฟฟรี) ออกไปบางส่วน ขณะที่ ยังคงดูแลการปรับขึ้นราคาสินค้าให้มีความเหมาะสม และขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการในการตรึงราคาสินค้าต่อไปอีกระยะหนึ่ง

 กรณีมีมาตรการดูแลค่าครองชีพ จากประมาณการกรณีพื้นฐานปี 2554 ของศูนย์วิจัยกสิกรไทยซึ่งราคาน้ำมันดิบเบรนท์เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 90 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล และเศรษฐกิจไทยขยายตัวประมาณร้อยละ 4.0 พบว่า หากรัฐบาลยังคงดำเนินมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ ตรึงราคาก๊าซ LPG/NGV สำหรับภาคขนส่งและครัวเรือนต่อเนื่องในช่วง 1 ปีข้างหน้า ตลอดจนดูแลการปรับราคาสินค้าให้สมเหตุสมผลแล้ว อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2554 อาจมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 3.3 ซึ่งก็จะเป็นระดับเดียวกับตัวเลขคาดการณ์ของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2553

กรณีไม่มีมาตรการดูแลค่าครองชีพ การวิเคราะห์ภายใต้กรณีนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า แรงกดดันเงินเฟ้อของไทยในปี 2554 อาจพุ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อีกร้อยละ 1.0 ไปอยู่ที่ร้อยละ 4.3 โดยเฉลี่ย ซึ่งสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2553 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.3

ดังนั้น คงต้องยอมรับว่า การวางแนวทางเกี่ยวกับมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพประชาชนของรัฐบาลจะมีส่วนสำคัญยิ่งในการประคับประคองให้ค่าครองชีพ และระดับราคาสินค้าผู้บริโภคหลายรายการอยู่ในเกณฑ์ที่มีเสถียรภาพในช่วงปี 2554

- ผลกระทบของการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ต่อต้นทุนภาคธุรกิจและอัตราเงินเฟ้อ

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำใน 76 จังหวัดในกรอบ 8-17 บาทต่อวัน โดยให้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ซึ่งรายละเอียดของมติปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำครั้งนี้ คือ ค่าจ้างขั้นต่ำของกรุงเทพมหานครจะได้รับการปรับขึ้น 9 บาทต่อวัน เป็นวันละ 215 บาท ขณะที่ ค่าจ้างขั้นต่ำของภูเก็ตปรับเพิ่มขึ้นมากสุด มาที่ 221 บาท ส่วนจังหวัดที่ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด คือ พะเยามาที่ 159 บาทต่อวัน ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบของการปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงานต่อต้นทุนธุรกิจ และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปไว้ดังนี้ :-

ผลกระทบการปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงานต่อต้นทุนธุรกิจและเงินเฟ้อ (คาดการณ์โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย)
ผลต่อต้นทุนธุรกิจ จากการศึกษาโครงสร้างต้นทุนของภาคการผลิต จะพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วค่าจ้างพนักงานคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 12.3 ของต้นทุนปัจจัยการผลิตรวมของภาคธุรกิจ ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำตามมติครม.ในรอบนี้ น่าที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการปรับเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.65

อย่างไรก็ตาม ผลที่จะมีต่ออัตราเงินเฟ้ออาจไม่มากเท่ากับอัตราการเพิ่มของต้นทุน เนื่องจากแม้จะมีการผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มไปที่ราคาสินค้า แต่สภาพการแข่งขันในตลาดสินค้าผู้บริโภคที่ค่อนข้างเข้มข้นก็อาจเป็นข้อจำกัดสำหรับการปรับขึ้นราคาสินค้าบางประเภทในช่วงเวลานี้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการต้องหาวิธีการในการปรับตัวเพื่อลดต้นทุนบางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่มีสัดส่วนต้นทุนค่าแรงที่สูง แต่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยในการปรับขึ้นราคาสินค้า เช่น ธุรกิจในสาขากสิกรรม ค้าปลีกค้าส่ง ปศุสัตว์ การทำเหมือง บริการส่วนบุคคล การผลิตเครื่องจักรการเกษตร ประมง เฟอร์นิเจอร์ รองเท้า สิ่งทอ และเซรามิกส์


-ผลต่ออัตราเงินเฟ้อ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำที่เริ่มมีผลตั้งแต่ต้นปี 2554 อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมกราคม 2554 ขยับขึ้นไม่เกินร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า (MoM) แต่ทั้งนี้คงต้องพิจารณาสถานการณ์ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ และราคาสินค้าผู้บริโภคอื่นๆ ประกอบในช่วงเวลาดังกล่าว

กระนั้นก็ดี ผลของฐานการเปรียบเทียบที่ค่อนข้างสูงในช่วงไตรมาสที่ 1/2553 อาจทำให้ปัจจัยเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงไตรมาสแรกของปีไม่สะท้อนภาพออกมาอย่างชัดเจนมากนัก โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาส 1/2554 อาจมีค่าเฉลี่ยอยู่ในกรอบประมาณร้อยละ 2.9-3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY) ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของอัตราเงินเฟ้อไตรมาส 4/2553 ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.9

ดังนั้น การปรับเพิ่มค่าตอบแทนแรงงานดังกล่าวข้างต้น น่าที่จะช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชนเพื่อประคับประคองให้ภาวะการจับจ่ายใช้สอยในประเทศไม่สะดุดลงในช่วงที่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจอยู่ในช่วงอ่อนกำลังลง และยังเป็นแนวทางที่สอดรับกับการขยับสูงขึ้นของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคหลายรายการในช่วงก่อนหน้านี้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ภาครัฐก็อาจต้องเตรียมหารือและวางแนวทางเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านลบที่บางภาคธุรกิจต้องเผชิญเพิ่มมากขึ้นจากการปรับขึ้นค่าจ้าง ท่ามกลางสภาวะที่ผู้ประกอบการโดยรวมต้องรับมือกับโจทย์หลายด้าน ประกอบด้วย การปรับขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนทางการเงิน ทิศทางเงินบาท และแนวโน้มการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ อยู่แล้วในขณะนี้

- ผลกระทบของการดูแลราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล ต่ออัตราเงินเฟ้อในประเทศ

เนื่องจากทิศทางราคาน้ำมันในประเทศนั้น มีกลไกเชื่อมโยงกับสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกอย่างใกล้ชิด ดังนั้น การวางแนวทางแก้ปัญหาราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในประเทศให้ไม่เกินระดับ 30 บาทต่อลิตร นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายที่สำคัญยิ่งของรัฐบาลในช่วงที่กำลังจะย่างเข้าสู่ปี 2554 เพราะนั่นจะหมายถึงนัยที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องตามมาเป็นลูกโซ่ต่อผู้ประกอบการในภาคธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในภาคขนส่ง ประมง และภาคการเกษตร ตลอดจนผลกระทบที่จะส่งผ่านมายังประชาชนผ่านการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและเงินเฟ้อในท้ายที่สุด ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ประเด็นเชิงนโยบายเกี่ยวกับโครงสร้างราคาพลังงานของรัฐบาลในช่วงปีข้างหน้า จะเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่จะมีผลต่อราคาขายปลีกพลังงานและอัตราเงินเฟ้อในประเทศ

แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกอาจเพิ่มสูงขึ้นในปีหน้า...สร้างแรงกดดันกลับมายังราคาขายปลีกพลังงานในประเทศ แม้ว่าทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2554 จะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่อาจส่งผลจำกัดการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก อย่างไรก็ดี ธรรมชาติของเศรษฐกิจที่ยังคงมีการขยายตัว ก็น่าจะทำให้ความต้องการน้ำมันยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปีข้างหน้า ขณะที่ ปัจจัยอื่นๆ อาทิ ทิศทางเงินดอลลาร์ฯ และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ก็อาจส่งผลหนุนให้ราคาน้ำมันทะยานขึ้นสูงเกินกว่าระดับที่สะท้อนจากปัจจัยพื้นฐานในบางช่วงเวลา

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (ตลาดโลก) อาจมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับประมาณ 85.0-95.0 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรลในปี 2554 หรือปรับขึ้นประมาณร้อยละ 7.1-19.6 จากค่าเฉลี่ยปี 2553 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 79.4 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งภายใต้สถานการณ์แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกตามภาพดังกล่าว ย่อมเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับรัฐบาลในการชะลอกลไกการส่งผ่านมายังราคาขายปลีกพลังงานในประเทศเพื่อที่จะรักษาราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลให้อยู่ในระดับไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรได้ตลอดระยะ 1 ปีข้างหน้า จากระดับ 29.09-29.69 บาทต่อลิตร (สำหรับดีเซล B5 และ B3) ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2553 ซึ่งเป็นราคาที่กองทุนน้ำมันเข้าไปช่วยชดเชยเป็นขั้นตอนแรกจากวงเงินจัดสรรเพื่อเข้าดูแลราคาดีเซล 5 พันล้านบาท

อย่างไรก็ดี เชื่อว่าในระยะสั้น ภาครัฐยังคงมีเครื่องมือเพียงพอที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และดูแลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในประเทศตรึงไว้ที่ระดับไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร ทั้งจากกลไกการรับภาระของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตลอดจนการนำมาตรการภาษีสรรพสามิตมาใช้ ในกรณีที่ทิศทางราคาน้ำมันโลกไม่เป็นไปตามที่รัฐบาลประเมินไว้ อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการปูแนวทางสำหรับการแก้ปัญหาในระยะยาว การกำหนดนโยบายราคาพลังงานในประเทศของรัฐบาลควรที่จะพิจารณาอย่างรอบด้าน โดยมองถึงการเชื่อมโยงระหว่างหลายๆ หน่วยงานในโครงสร้างของกลไกราคาน้ำมัน วางแนวทางสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนและการรณรงค์ประหยัดพลังงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพิจารณาผลักดันมาตรการลดผลกระทบช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้รับความเดือดร้อนและมีความยากลำบากในการปรับตัว

 บทสรุปจากมาตรการค่าครองชีพ ค่าจ้าง และนโยบายราคาพลังงานของภาครัฐ : นัยต่อทิศทางอัตราเงินเฟ้อ และดอกเบี้ยนโยบาย ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในปี 2554

ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงรอบด้านในระยะ 1 ปีข้างหน้า จากแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของตลาดเงิน-ตลาดทุน ความเป็นไปได้ที่เงินบาทจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ตลอดจนปัจจัยทางการเมือง (ซึ่งจะมีผลเชื่อมโยงกับความต่อเนื่องของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล และบรรยากาศการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน) และแรงกดดันเงินเฟ้อในประเทศ ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประมาณการในเบื้องต้นว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอาจโน้มชะลอลงมาอยู่ในกรอบประมาณร้อยละ 3.5-4.5 ในปี 2554 จากอัตราการขยายตัวราวร้อยละ 7.0 ในปี 2553 นี้

ซึ่ง ณ เวลานี้ ดูเหมือนกับว่า ปัจจัยฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยส่วนใหญ่ในระยะ 1 ปีข้างหน้า จะเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม และน่าจะทำให้แนวโน้มการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในปี 2554 กลายเป็นสถานการณ์ที่หลีกเลี่ยงได้ยาก อย่างไรก็ดี ความพยายามของภาครัฐในการวางแนวทางบรรเทาภาระค่าครองชีพ การปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ และการดูแลราคาพลังงานในประเทศ ทั้งในส่วนของการตรึงราคาก๊าซ LPG/NGV สำหรับภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง ตลอดจนการดูแลราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลให้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรนั้น น่าที่จะช่วยหนุนให้การจับจ่ายใช้สอยในประเทศไม่หยุดชะงักลง ขณะที่ แนวโน้มขาขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในประเทศในปี 2554 ก็อาจได้รับการบรรเทาลงบางส่วน

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการวิเคราะห์มาตรการบรรเทาค่าครองชีพ การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ และการดูแลทิศทางราคาพลังงานในประเทศของภาครัฐ ที่อาจส่งผลต่อเนื่องมายังต้นทุนของผู้ประกอบการและอัตราเงินเฟ้อในประเทศในปี 2554 แล้ว พบว่า การขยายเวลาสำหรับมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน (ภายใต้สมมติฐานว่า มีการต่ออายุมาตรการค่าไฟฟ้า รถเมล์และรถไฟฟรีออกไปบางส่วน มีการขยายเวลาตรึงราคาก๊าซ LPG/NGV สำหรับภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง รวมถึงมีขอความร่วมมือผู้ประกอบการในการตรึงราคาสินค้า) อาจช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2554 ลงได้ประมาณร้อยละ 1.0 โดยจากประมาณการกรณีพื้นฐาน คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2554 อาจมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.3 (ในกรอบประมาณการร้อยละ 2.5-4.0) เทียบกับกรณีที่ไม่มีมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพที่อัตราเงินเฟ้อปี 2554 อาจพุ่งขึ้นไปถึงร้อยละ 4.3

สำหรับผลของการปรับขึ้นค่าจ้างในกรอบ 8-17 บาทต่อวันตามมติของครม.นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า อาจทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.65 แต่ผลที่มีต่ออัตราเงินเฟ้ออาจไม่มากเท่ากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากแม้จะมีการผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มไปที่ราคาสินค้า แต่สภาพการแข่งขันในตลาดสินค้าผู้บริโภคที่ค่อนข้างเข้มข้นก็อาจเป็นข้อจำกัดสำหรับการปรับขึ้นราคาสินค้าบางประเภทในช่วงเวลานี้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการต้องหาวิธีการในการปรับตัวเพื่อลดต้นทุนบางส่วน ทั้งนี้ ธุรกิจที่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยในการส่งผ่านต้นทุนมายังราคาสินค้า ได้แก่ ผู้ประกอบการสาขากสิกรรม ค้าปลีกค้าส่ง ปศุสัตว์ การทำเหมือง บริการส่วนบุคคล การประมง เฟอร์นิเจอร์ สิ่งทอ และรองเท้า ขณะที่ ผลของการปรับขึ้นค่าจ้างต่ออัตราเงินเฟ้อในไตรมาสแรกของปี 2554 (ช่วงที่ค่าจ้างใหม่เริ่มมีผลบังคับใช้) อาจไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากฐานการคำนวณเปรียบเทียบที่สูงในช่วงไตรมาส 1/2553 อาจทำให้ค่าเฉลี่ยของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาส 1/2554 อยู่ที่ระดับใกล้เคียงกับไตรมาส 4/2553 ที่ราวร้อยละ 2.9-3.0

ส่วนมาตรการดูแลราคาพลังงานในประเทศ โดยเฉพาะราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลให้ไม่เกินระดับ 30 บาทต่อลิตรนั้น นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายรัฐบาลค่อนข้างมาก แม้ว่ารัฐบาลจะใช้กลไกการรับภาระของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในระยะสั้นได้ แต่หากราคาน้ำมันในตลาดโลกปี 2554 ปรับเพิ่มขึ้นไปยืนเหนือระดับ 90 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรลต่อเนื่องยาวนาน กลไกการรับภาระของกองทุนน้ำมันก็อาจไม่เพียงพอที่จะตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ในระยะที่ยาวนานนัก ซึ่งท้ายในที่สุดแล้ว การที่จะรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไว้ที่ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร ก็อาจเป็นไปได้ยากมากขึ้น

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า กรอบอัตราเงินเฟ้อทั่วไปสำหรับปี 2554 ที่ร้อยละ 2.5-4.0 (ค่ากลางที่ร้อยละ 3.3) และกรอบอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสำหรับปี 2554 ที่ร้อยละ 1.8-3.0 (ค่ากลางที่ร้อยละ 2.3) ยังคงสามารถรองรับผลที่สืบเนื่องมาจากการผลักดันมาตรการบรรเทาค่าครองชีพ การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ และการดูแลทิศทางราคาพลังงานในประเทศของภาครัฐได้ โดยมองว่า การดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว จะส่งผลช่วยลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อลงบางส่วน แต่กระนั้นก็ดี แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของไทยในปี 2554 ยังคงเป็นขาขึ้น ซึ่งย่อมจะทำให้การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อดูแลประเด็นทางด้านเสถียรภาพราคายังน่าที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 เป็นอย่างน้อย โดยเครือธนาคารกสิกรไทย คาดว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยน่าที่จะขยับขึ้นไปที่ร้อยละ 2.50 ภายในช่วงกลางปี 2554 จากระดับร้อยละ 2.00 ในปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี คงต้องติดตามประเด็นเชิงนโยบายของภาครัฐอย่างใกล้ชิด เพราะแม้ว่ารัฐบาลจะสามารถบรรเทา และ/หรือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องค่าครองชีพของประชาชนและราคาพลังงาน (ทั้งในส่วนของน้ำมันดีเซลและก๊าซธรรมชาติ) ได้ในระยะสั้น แต่การวางแนวทางการปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างราคาพลังงานหลายรายการในประเทศ ก็นับเป็นโจทย์ระยะกลาง-ยาวที่ท้าท้ายไม่น้อย เนื่องจากประเด็นต่างๆ เหล่านี้ ต้องการแนวโยบายที่มีความชัดเจน และยังอาจผูกโยงไปกับประเด็นเสถียรภาพทางการคลังของรัฐบาลในระยะถัดๆ ไปอีกด้วย
http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=524
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 196

โพสต์

ประชาชาติธุรกิจ

มอร์แกนฯลดน้ำหนักหุ้นไทยปีเถาะ ชี้ตลาดเล็กปัจจัยเสี่ยงอื้อ-โบรกฯคาดดัชนี1,140จุด

มอร์แกน สแตนเลย์ "ลดน้ำหนักลงทุน" หุ้นไทยปี2554 ชี้ตลาดเล็ก แถมติดเสี่ยง 3 เด้ง ทั้งการเมืองไทย จีน-อินเดียออกมาตรการเบรก ศก. ผวาวิกฤต ศก.สหรัฐและยุโรปปะทุอีก นักวิเคราะห์ไทยหวั่นความเสี่ยงกลบปัจจัยพื้นฐานดี ทำให้ดัชนีขึ้นไม่แรง คาดอยู่ที่ระดับ 1,140 จุด

นายชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัยหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง เปิดเผยว่า ในปี 2554 ตลาดหุ้นในเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) ยังคงความน่าสนใจลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียน (EPS Growth) ในตลาดหุ้นภูมิภาคนี้มีค่าเฉลี่ย 13.8% ทำให้อัตราส่วนราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) เฉลี่ยที่ 12.7 เท่า ขณะที่ปัจจัยจากต่างประเทศที่มีสภาพคล่องล้นหลังหลายประเทศอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งสหรัฐและประเทศต่าง ๆ ในยุโรป จะทำให้เงินหลั่งไหลเข้ามามากขึ้น
สำหรับตลาดหุ้นไทย ปี 2554 คาดพี/อีอยู่ที่ 12.8 เท่า ราคาหุ้นถูกรองจากตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ขณะที่อัตราการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนอยู่ระดับ 19.2% ถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาคนี้ และหาก ปีหน้ารัฐบาลพิจารณายกเว้นภาษีนิติบุคคลให้บริษัทจาก 30% เหลือ 18% จะส่งผลให้กำไรบริษัทโตขึ้นมาถึง 32% ทันที

ทางมอร์แกน สแตนเลย์ ยังประเมินความเสี่ยงที่น่ากังวลทั้งจากปัจจัยการเมืองไทยที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ การออกมาตรการลดความร้อนแรงเศรษฐกิจของ จีนและอินเดีย อาทิ การขึ้นดอกเบี้ยแรงและผลกระทบจากวิกฤตหนี้ในยุโรปปะทุอีกรอบ ทำให้ตลาดหุ้นในเอเชียจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น โดยตลาดหุ้นไทยจะถูกมองความเสี่ยงหนักกว่า จึงถูกลดน้ำหนักลงทุน

"มอร์แกนฯมองค่อนข้างจะสวนทาง เพราะบัวหลวงมองตลาดหุ้นไทยยังมีการเติบโตดีจากที่มีค่าพี/อีต่ำ ซึ่งคิดว่ามอร์แกนฯมองตลาดหุ้นไทยมีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับตลาดอื่น จึงไม่ให้น้ำหนักลงทุนมากนัก" นายชัยพรกล่าว

นางสาวอาภาภรณ์ แสวงพรรค รองผู้อำนวยการ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) กล่าวว่า ปีนี้ตลาดหุ้นไทยมีการเติบโตสูงทั้งกำไรบริษัทจดทะเบียนที่โต 26% ทำให้ค่าพี/อีอยู่ระดับต่ำ 12 เท่า ขณะที่เศรษฐกิจโตสูง 6-7% แต่ในปี 2554 การเติบโตของเศรษฐกิจลดลงเหลือ 4.5% และกำไรบริษัทจดทะเบียนโต 10-15% สะท้อนดัชนีตลาดหุ้นที่ระดับ 1,140 จุด ทำให้ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับดัชนีปัจจุบันที่อยู่ระดับ 1,033.32 จุด ซึ่งเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคนี้ พบว่า กำไรบริษัทจดทะเบียนสูงใกล้เคียงกัน แต่พี/อีต่ำกว่าไทย จึงคาดเงินลงทุนอาจโยกไปยังตลาดหุ้นอื่นแทนตลาดหุ้นไทย

"แม้ตลาดหุ้นไทยในปีหน้ายังน่าสนใจลงทุน แต่น้ำหนักลงทุนคงไม่มาก เพราะพี/อี ตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 15 เท่า ถือว่ามีราคาแพงและแพงที่สุดในรอบ 5 ปี ของไทย" นางสาวอาภาภรณ์กล่าว

ทั้งนี้ สัปดาห์ก่อน สถาบันจัดอันดับเรทติ้งเอสแอนด์พี ปรับเพิ่มมุมมองเรทติ้งเศรษฐกิจไทยจาก "ลบ" เป็น "เสถียรภาพ" และคงอันดับเรทติ้งสกุลเงินในประเทศที่ระดับ A-/A-2 และสกุลเงินต่างประเทศที่ระดับ BBB+/A-2
http://www.prachachat.net/view_news.php ... 2010-12-16
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 197

โพสต์

ภาพ
แนบไฟล์

naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 198

โพสต์

พาณิชย์เผยส่งออกโต-คลังเก็บรายได้ทะลุเป้า
พาณิชย์เผยส่งออกพ.ย.โต28.5%คาดทั้งปีตามเป้ามูลค่ารวม1.9แสนล้านเหรียญ ด้านคลังเผยผลการจัดเก็บรายได้เดือนเดียวกันสุทธิ 144,622ล้าน ส่งสัญญาณเศรษฐกิจไทยโตต่อเนื่อง

นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทยพ.ย. 2553 มีมูลค่า 1.77 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 28.5% จากพ.ย.ปีก่อน แต่เมื่อเทียบในรูปเงินบาทส่งออกสินค้าไทยมีมูลค่า5.24 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.75% เท่านั้น ขณะที่การนำเข้าพ.ย.มีมูลค่า 1.72 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น35.3% ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้าพ.ย.มูลค่า 408 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการส่งออกช่วง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) 2553 มีมูลค่า 1.77 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 29.15% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านการนำเข้า 11 เดือน มีมูลค่า 1.66 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น39.30% ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 11 เดือน มูลค่า 1.18 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออก 11 เดือนแรกถือว่าดีมาก สูงกว่าที่กระทรวงฯคาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะในรูปแบบของเงินเหรียญสหรัฐ แต่หากมองมูลค่าเงินบาท ถือว่าผู้ส่งออกสามารถปรับตัวได้แล้ว โดยมีการปรับราคาสินค้าขึ้นตามการแข็งตัวของค่าเงินบาทจนมียอดเติบโตที่ 20% ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และที่สำคัญยังสะท้อนว่าคู่ค้าต่างประเทศเริ่มรับได้กับราคาใหม่ที่ปรับขึ้น และคลายความกังวลจากผลกระทบของค่าเงินบาทแข็งตัว โดยคาดว่าทั้งปีการส่งออกจะเติบโตได้ถึง 26-27% มูลค่าเกิน 1.9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หากการส่งออกในเดือนธ.ค.สามารถส่งออกได้ 1.4-1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับการส่งออกปี 2554 ตั้งเป้าเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% มีมูลค่าเกิน 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แต่จะต้องประเมินผลกระทบการส่งออกเป็นระยะ ทั้งรูปแบบค่าเงินบาทและเงินเหรียญสหรัฐ เพราะมีปัจจัยกระทบหลายด้าน โดยปัจจัยเสี่ยงปีหน้ามาจากการเคลื่อนย้ายของตลาดเงินที่รวดเร็ว ซึ่งกระทบกับอัตราแลกเปลี่ยนให้เกิดผันผวน โดยผู้ส่งออกข้าว ผลไม้ ได้ขอให้กระทรวงพาณิชย์ประสานไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และขอให้รัฐบาลช่วยดูแลภาษีมุมน้ำเงิน ภาษีนำเข้าวัตถุดิบ ในการลดต้นทุนจากผลกระทบจากค่าบาทแข็งค่า ซึ่งจะรายให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทราบถึงมาตรการที่เอกชนต้องการให้ช่วยเหลือ

อย่างไรก็ตาม สินค้าส่งออกสำคัญเดือนพ.ย. โดยกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่มขึ้น 25.7% ได้แก่ ข้าวเพิ่มขึ้น 53.1% หลังจากรัฐบาลเริ่มทยอยระบายสต๊อกทำให้การส่งออกสูงถึง 9 แสนตัน และคาดว่าทั้งปีจะส่งออกได้ตามเป้าหมาย 8.5 ล้านตัน ยางพาราเพิ่ม 49.2% อาหาร 21.5% มันสำปะหลัง 7.5% แต่น้ำตาลลดลง 67.8% เนื่องจากผลผลิตในประเทศลดลงและความต้องการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่ม 27.9% ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 8.2% เครื่องใช้ไฟฟ้า 28.8% ยานยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 35.9% อัญมณีและเครื่องประดับ 89.7%

ตลาดส่งออกยังขยายตัวทุกตลาด โดยกลุ่มตลาดหลักขยายตัว 22.5% ได้แก่ สหรัฐฯ 19.9% สหภาพยุโรป 22.6% ญี่ปุ่น 25.1% ตลาดศักยภาพสูงขยายตัว 30.3% ได้แก่ อาเซียน 25.9% จีน 20.9% ฮ่องกง 55.8% เอเชียใต้ 26.5% ไต้หวัน 70.3% และเกาหลีใต้ 41.8% ตลาดศักยภาพระดับรองขยายตัว 24.1% ได้แก่ รัสเซียและกลุ่มสหภาพโซเวียตเดิม (ซีไอเอส) 122.9% ลาตินอเมริกา 74.1% และแอฟริกา 46.3% มีเพียงทวีปออสเตรเลียหดตัว 0.3% ขณะที่ตลาดอื่นๆขยายตัว 169.7% เช่น สวิตเซอร์แลนด์ขยายตัว 226.3%

ด้านการนำเข้าเดือน พ.ย. ขยายตัวทุกกลุ่ม สินค้าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 61.1% สินค้าทุน 23.6% ทุน วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 34.1% อุปโภคบริโภคเพิ่ม 23.4% ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง 41.5%

สศค.เผยจัดเก็บรายได้พ.ย.เกินเป้า1.7หมื่นล้านบาท

ด้านนายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในเดือนพ.ย. 2553 สูงกว่าเป้าหมาย 1.7 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท หรือ 9.6%

ทั้งนี้ เดือนพ.ย. 2553 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1.44 แสนล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1.71 หมื่นล้านบาท หรือ 13.4% สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 12.0% เป็นผลจากการที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องทำให้การจัดเก็บภาษีส่วนใหญ่สูงกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 9,824 ล้านบาท

นอกจากนี้การที่เงินบาทแข็งค่า ส่งผลให้มีการนำเข้ารถยนต์เป็นจำนวนมาก รวมทั้งผู้ประกอบการเกี่ยวกับการผลิตสุราและยาสูบคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีจึงเร่งชำระภาษี

สำหรับ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 ตั้งแต่ ต.ค. ถึง พ.ย. 2553 รัฐบาลจัดเก็บ รายได้สุทธิ 2.68 แสนล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2.35 หมื่นล้านบาท หรือ 9.6% เป็นผลจากการจัดเก็บ ของกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากรที่สูงกว่าประมาณการทุกกรม

นายนริศ กล่าวว่า จากทิศทางเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้ม การจัดเก็บรายได้รัฐบาลที่ผ่านมาทำให้เชื่อมั่นว่าปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลจะจัดเก็บรายได้สูงกว่าเป้าหมาย 1.65 ล้านล้านบาท
http://www.posttoday.com/ข่าว/การเงิน/6 ... -ย-โต28-5-
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 199

โพสต์

กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปีหน้า 0.5-3%

Posted on Tuesday, December 21, 2010
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บอกว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปี 2554 ที่ระดับ 0.5 - 3% เท่ากับกรอบเดิมในปี 2553 แม้หลายฝ่ายจะมองว่า อัตราเงินเฟ้อของประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากกรอบเป้าหมายดังกล่าวเป็นการมองระยะยาว เพื่อให้เกิดเสถียรภาพในแง่นโยบาย ประกอบกับธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ มีนโยบายทางการเงินที่จะดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บอกอีกว่า หากมีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายเงินเฟ้อบ่อย อาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือได้ ซึ่งหลังจากหารือร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายเห็นตรงกันว่า กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 0.5 - 3% มีความเหมาะสม
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 200

โพสต์

เตือนรับมือปี 54 หุ้นโลกผันผวน
บลจ.ไอเอ็นจีฯ" มองปี 54 หุ้นทั่วโลกผันผวน จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ เตือนระวังมีการโยกเงินไปตลาดที่ใหญ่กว่าทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และจีน คาดหุ้นไทยปีหน้า 1,150-1,200 จุด ได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจโต-เงินไหลเข้าหนุน "เอชเอสบีซี" เผยผลสำรวจผู้จัดการกองทุนทั่วโลก พบไตรมาส 4 สนใจตลาดหุ้นเกิดใหม่ เพิ่มน้ำหนักตลาดเอเชีย-แปซิฟิก
นายจารุวัฒน์ ปรีดิ์เปรมกุล หัวหน้าฝ่ายจัดการลงทุน - ตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกปี 2554 จะมีผันผวน เนื่องจากความไม่แน่นอนทางด้านเศรษฐกิจ แต่จะต้องรอดูทิศทางผลสำเร็จของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ที่ดำเนินการในปี 2553
ทั้งนี้ไอเอ็นจี คาดการณ์เศรษฐกิจโลก หรือจีดีพีปี 2554 เติบโตในอัตรา 2.8% ซึ่งถือว่าลดลงจากเป้าหมายอัตราการเติบโตของปี 2553 ที่ 4.8% โดยคาดการณ์จีดีพีของกลุ่มประเทศเกิดใหม่จะมีการขยายตัวที่ระดับ 6.5% ในปี 2554 ส่วนอัตราการขยายตัวของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะอยู่ที่ 1.6% ซึ่งตัวเลขดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าอาจเกิดช่องว่างทางศักยภาพทางเศรษฐกิจระหว่าง 2 กลุ่มประเทศเพิ่มขึ้น
ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2554 ไอเอ็นจีคาดว่าเติบโตประมาณ 3.0-5.0% จากที่โตประมาณ 7.0-8.0% ในปีนี้ สำหรับความเสี่ยงที่อาจทำให้เศรษฐกิจไทยมีอัตราการเติบโตน้อยกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกันมี 2 ปัจจัยคือ 1.ปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านการเมือง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ และอาจสร้างผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งจากภายในและต่างประเทศ และ 2.ปัจจัยภายนอกประเทศ คือความเสี่ยงเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรป
นางสาวศิริพรรณ สุทธาโรจน์ หัวหน้าฝ่ายจัดการลงทุน - ตลาดทุน บลจ.ไอเอ็นจีฯ กล่าวเสริมถึงแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นไทยปี 2554 ว่า จะยังคงอยู่ในทิศทางที่เป็นบวกต่อไป หลังอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ยังคงดีต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม หุ้นไทยปีนี้ราคาไม่ถูกแล้ว โดยดูจากอัตราราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น(พีอี เรโช) ซึ่งอยู่ที่ระดับ 12 เท่า อีกทั้งใกล้เคียงกับพี/อี เฉลี่ยของภูมิภาคซึ่งอยู่ที่ระดับ 12.6-12.7 เท่า ส่วนพี/อี หุ้นไทยปี 2554 จะขยับขึ้นไปที่ 14 เท่า ส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ จะอยู่ที่ระดับ 1,150-1,200 จุด โดยปัจจัยที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากการอัดฉีดสภาพคล่องทางการเงินเพิ่มเติม โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) รวมถึงทิศทางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเร่งใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย และทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังเป็นขาขึ้น โดยเฉพาะทองคำ และน้ำมัน
แต่ในขณะเดียวกัน ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุน และภาวะตลาดหุ้นคือ การโยกย้ายเงินทุนต่างชาติไปยังตลาดหุ้นขนาดใหญ่ อย่างสหรัฐฯ ยุโรป จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง ฯลฯ หากภาวะเศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว และมีเสถียรภาพเพิ่มขึ้น รวมไปถึงความกังวลต่อมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า
ธนาคารเอชเอสบีซี(HSBC) ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ของอังกฤษ เผยผลสำรวจ ผู้จัดการกองทุนชั้นนำจากทั่วโลก 13 แห่ง พบว่าในไตรมาส 4/53 ผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่สนใจลงทุนในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ และตลาดเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งไม่รวมญี่ปุ่น โดยได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนทั้งสองตลาด
โดยเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ เป็น 75% เพิ่มจาก 67% ซึ่งเป็นการสำรวจในครั้งก่อน ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก ไม่รวมญี่ปุ่นนั้น ได้เพิ่มน้ำหนักเป็น 75% จาก 44%
"ผู้จัดการกองทุนที่ร่วมในการสำรวจครั้งนี้ ยังคงเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้น ขณะที่เกินครึ่งหรือ 57% ลดการถือครองเงินสด เทียบกับ 38% จากสำรวจในครั้งก่อน และไม่มีผู้จัดการกองทุนรายใดที่เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดพันธบัตร" เอชเอสบีซี ระบุ
ทั้งนี้กองทุนทั้ง 13 แห่งดังกล่าว มียอดเงินกองทุนภายใต้การบริหารจัดการ เมื่อสิ้นไตรมาส 3/53 ที่ 3.89 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 16.52% ของปริมาณเงินลงทุนประมาณการที่มีอยู่ทั่วโลก
นายบรูโน ลี ผู้อำนวยการบริหาร แผนกบริหารความมั่งคั่ง ฝ่ายบุคคลธนกิจ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เอชเอสบีซี กล่าวว่า ผลการสำรวจความคิดเห็นผู้จัดการกองทุนทั่วโลกในครั้งนี้ สะท้อนว่าความเชื่อมั่นต่อภาพรวมเศรษฐกิจโดยทั่วไปเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น เนื่องจากผู้จัดการกองทุน ส่วนใหญ่ลดน้ำหนักการถือครองเงินสด
"แม้ว่าตลาดหุ้นจะยังคงไม่แน่นอนและผันผวนอย่างต่อเนื่อง แต่การลงทุนในตลาดหุ้นยังคงได้รับความสนใจอยู่มาก โดยผู้จัดการกองทุนเลือกลงทุนใน ภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง" นายบรูโน กล่าว

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,594 23-25 ธันวาคม พ.ศ. 2553
http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=443
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 201

โพสต์

รวม.คลังคาดจีดีพีปีหน้าโต 4 %

Posted on Friday, December 24, 2010
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะยังเติบโตได้ 4% ซึ่งชะลอตัวจากปีนี้ แต่ถือว่าเป็นอัตราการเติบโตในระดับที่น่าพอใจ ไม่น่ามีปัจจัยที่น่ากังวลมากนัก แต่ต้องติดตามเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ ซึ่งแนวโน้มเติบโตไม่ดีนัก โดยเชื่อว่าเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยที่อยู่ในระดับที่ดี จะสามารถรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจปีหน้าได้ โดยหนี้สาธารณะอยู่ในระดับต่ำ 43% ของจีดีพี ขณะที่เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ

ส่วนแนวโน้มราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับสูง แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็เชื่อว่า ยังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ เพราะค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จะช่วยลดภาระต้นทุนนำเข้า นอกจากนี้จะใช้กองทุนน้ำมันพยุงราคา

สำหรับภาระกิจหลักของกระทรวงการคลังในปี 2554 มี 3 เรื่อง คือ การสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยการบริหารเศรษฐกิจการคลังให้มีเสถียรภาพ เพื่อให้ภาคธุรกิจมีเสถียรภาพ การดูแลการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยจะดูแลทั้งรายได้การจัดเก็บภาษี ที่ดินของที่ราชพัสดุและทรัพยากรอื่นๆ และ การแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ

ส่วนกฎหมายต่างๆ นั้น พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ ที่เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในกลางปี 54 และจัดตั้งกองทุนได้ในปลายปี 2554 ส่วนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อยู่ระหว่างการหารือของคณะกรรมการกฤษฎีกา คาดว่าจะนำเสนอเข้าบรรจุเป็นวาระในการประชุมสภาสมัยหน้าได้

ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เชื่อว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2554 จะยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง 3 – 5 % แม้จะชะลอลงจากปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัว 7.3-8% แต่ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ดี และเป็นการเติบโตที่มีเสถียรภาพ และดุลยภาพมากขึ้น โดยสิ่งที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีหน้าคือการบริโภคที่คาดว่าจะเติบโตในระดับ 3.5-5% และการลงทุนที่คาดว่าจะเติบโต 8-10% ต่างจากปีนี้ ที่ประเทศไทยเติบโตจากภาคการส่งออกเป็นหลัก

สำหรับทิศทางดอกเบี้ยในปีหน้า นายประสาร บอกว่า เศรษฐกิจไทยกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว การใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำจึงไม่มีความจำเป็น ดังนั้นภาคธุรกิจและประชาชนจะต้องปรับตัว เตรียมรับกับทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น ที่จะทยอยปรับขึ้นตามความเหมาะสมแบบค่อยเป็นค่อยไป

สำหรับการทำงานรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นายประสาร บอกว่า เป็นไปได้ด้วยดี การยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นการสะท้อนถึงความปรองดองในประเทศ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและภาคเอกชน นอกจากนี้ ภาคธุรกิจอยากเห็นสังคมที่เคารพกติกา โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า จะเป็นตัวทดสอบที่สำคัญ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 202

โพสต์

บล.ดีบีเอสฯคาดตลาดหุ้นปีหน้าไปได้ถึง 1,200 จุด ขณะที่บจ.กำไรเพิ่ม 18 %
เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในงาน Thailand Smart Money 2010-2011 Smart Move กลยุทธ์การลงทุนที่ชาญฉลาด โดยกล่าวถึงภาพรวมตลาดหุ้นในปีหน้าว่ายังเป็นปีที่เหมาะกับการลงทุนอยู่ แต่ความผันผวนจะมีมากขึ้นกว่าในปีนี้ โดยเท่าที่มีการวิเคราะห์ทั้งโดยดีบีเอสและสำนักอื่นๆคาดว่าตลาดหุ้นน่าจะขึ้นไปได้ถึง 1,200 จุด ขณะที่บริษัทจดทะเบียนโดยเฉลี่ยน่าจะมีกำไรเพิ่มขึ้นประมาณ 18% ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ดี และทำให้ยังมี Upside ต่อตลาดอยู่ โดยปัจจัยบวกในปีหน้ายังคงเป็นเงินทุนที่จะไหลเข้ามาจากต่างประเทศ รวมทั้งพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ยังสามารถขยายตัวได้อยู่

อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นไทยในปีหน้าคงจะไม่ร้อนแรงเท่ากับในปี 2553 เนื่องจากในปีนี้ตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวขึ้นมาสูงมาก และเงินลงทุนก็น่าจะไหลเข้าตลาดในจีน ฮ่องกงและสิงคโปร์มากขึ้นในปีหน้า

ส่วนในด้านอัตราดอกเบี้ยที่แม้ว่าจะเป็นดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อดอกเบี้ยขาขึ้นการลงทุนในหุ้นมักจะลดลง แต่จากการติดตามข้อมูลพบว่าสภาวะในตอนนี้ต่างกับช่วงเวลาโดยปกติคือ ในปีหน้ายังมีแนวโน้มที่นักลงทุนจะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่อไปแม้ว่าจะเป็นดอกเบี้ยขาขึ้นก็ตาม รวมถึงการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์อย่างเช่นทองคำและน้ำมันก็จะได้รับความนิยมต่อไป

สำหรับสัดส่วนการลงทุนในปีหน้านั้น แนะนำให้ลงทุนในหุ้นประมาณ 60% ตราสารหนี้ 20% และสินค้าโภคภัณฑ์อีก 15% ส่วนที่เหลือนั้นถือเป็นเงินสดเพื่อเป็นสภาพคล่อง โดยคาดว่าหากลงทุนในสัดส่วนนี้น่าจะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 15% ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวะของตลาดและจำนวนเงินที่จะไหลเข้ามาจากต่างประเทศด้วย

ส่วนหุ้นที่แนะนำในการลงทุนสองตัวหลักยังเป็นหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์และกลุ่มพลังงาน โดยหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะได้รับประโยชน์จากสภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นทำให้มีผลประกอบการที่ดี ส่วนหุ้นกลุ่มพลังงานนั้นก็จะได้รับประโยชน์จากเงินลงทุนที่ไหลเข้ามาและยังเป็นหุ้นที่น่าสนใจเช่นเดิม

โดยหากต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นกว่าอัตราเฉลี่ยของตลาด ควรจะสนใจการลงทุนในหุ้นกิจการขนาดกลางซึ่งยังมีโอกาสเติบโตได้อีก ทั้งนี้ควรมีการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกหากิจการที่ยังมีศักยภาพเหมาะจะลงทุนด้วย

นอกจากนี้ข้อแนะนำสำหรับนักลงทุน คือ ควรศึกษาหาข้อมูลหรือเริ่มใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการลงทุนต่างๆอย่างเช่นตลาดอนุพันธ์ ที่เป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้หากลงทุนอย่างรอบคอบ เพื่อรับมือกับความผันผวนในปีหน้าที่จะมีมาก
http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=524
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 203

โพสต์

บัวหลวงสะกิดอย่าฝันหุ้นดี ข่าวลบรออยู่

บล.บัวหลวง มองต่างมุม ครึ่งแรกปีหน้า หุ้นร่วง 100 จุด รับข่าวยุบสภาและปรับฐานรอดูตัวเลขกำไร บจ. ปี 2553

นายชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง (BLS) เปิดเผยว่า แนวโน้มดัชนีหุ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 มีโอกาสลดลงประมาณ 100 จุด หรือ 7-10% จากระดับปัจจุบัน ทำให้ดัชนีหุ้นต่ำกว่าระดับ 1,000 จุดได้ เพราะรัฐบาลจะมีการยุบสภา ซึ่งตามสถิติดัชนีหุ้นจะปรับตัวลดลงประมาณ 5% ล่วงหน้า 1 เดือนก่อนจะยุบสภา

นอกจากนี้ นักลงทุนจะมีการขายทำกำไรหลังจากดัชนีขึ้นมา 30% และรอผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนงวดปี 2553 ซึ่งหากออกมาดีจะเป็นปัจจัยหนุนให้ดัชนีหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อได้

“นักลงทุนน่าจะเข้าซื้อหุ้นในไตรมาส 2 เพราะครึ่งปีหลังมีโอกาสดีกว่าครึ่งแรก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มพลังงานจากราคาน้ำมันมีโอกาสสูงขึ้นเฉลี่ย 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 26% จาก 78 เหรียญสหรัฐในปีนี้ ทำให้ดัชนีแตะระดับ 1,200 จุดได้ หรือโต 15-18% และหากรวมกับผลตอบแทนเงินปันผลจะเท่ากับ 20%” นายชัยพร กล่าว

ด้านราคาทองคำคาดว่าจะอยู่ที่ 1,500 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มขึ้น 7.6% จากปีนี้ และให้น้ำหนักน้อยกว่าการลงทุนในหุ้นและน้ำมัน

นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) กล่าวว่า ปี 2554 ดัชนีหุ้นจะมีความผันผวนมากกว่าปีนี้เนื่องจากฐานดัชนีที่สูงขึ้น และปัจจัยต่างประเทศเข้ามากระทบ

อย่างไรก็ตาม ปีหน้ายังเป็นปีที่เหมาะสมกับการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงประเภทหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก

“พอร์ตในปีหน้าให้ลงทุนในหุ้น 60% เท่ากับปีนี้ พันธบัตรรัฐบาล 20% สินค้าโภคภัณฑ์ทั้งน้ำมันและทองคำ 15% และที่เหลือ 5% เป็นเงินสด” นางภัทธีรา กล่าว
http://www.posttoday.com/หุ้น-ทอง/โปรหุ ... าวลบรออยู่
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 204

โพสต์

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม พ.ย.โต 5.61%

Posted on Tuesday, December 28, 2010
นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) บอกว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้น 5.61% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 63.63% ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีกำลังการผลิตขยายตัวมาก ได้แก่ การผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้น 25.9% // เครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้น 58.4% // ปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น 7.2% นอกจากนี้การผลิต เครื่องสุขภัณฑ์ // การแปรรูปสัตว์น้ำ // และHard disk drive ต่างก็เพิ่มขึ้นด้วยกันทั้งสิ้น

นางสุทธินีย์ บอกว่า ดัชนี MPI ที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากเศรษฐกิจของโลกและของประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวได้ดีจึงส่งผลให้เกษตรกรมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น รวมไปถึงเป็นผลมาจากการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายต่างๆ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 205

โพสต์

สศค. ประเมินจีดีพีปีหน้าโต 4.5%

Posted on Tuesday, December 28, 2010
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) บอกว่า สศค.ได้ปรับเป้าการขยายตัวของจีดีพีปีนี้เป็น 7.8% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 7.5% ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ติดลบ 2.3% โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐที่ขยายตัวสูงตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก รวมถึงการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งได้รับแรงหนุนจากรายได้ของเกษตรกรที่เพิ่มสูงขึ้นจากการที่ราคาพืชผลสำคัญปรับตัวสูงขึ้น

ส่วนจีดีพีปีหน้า สศค. คาดว่า จะขยายตัวได้ต่อเนื่องจากปีนี้โดยอยู่ที่ประมาณ 4.5% จากภาคการบริโภคและการลงทุนในประเทศที่ยังเติบโตได้ดี แต่ภาคการส่งออกจะชะลอตัวลง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักที่ยังเปราะบาง จึงอาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยได้ ซึ่งคาดว่ามูลค่าส่งออกปีหน้าจะขยายตัว 13.2 % และมูลค่านำเข้าสินค้า จะขยายตัว 14.6 %

สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีหน้าคาดว่า จะอยู่ที่ 3.5 % โดยมีแรงกดดันที่สำคัญมาจากราคาน้ำมันที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นจากปีนี้ และราคาสินค้าเกษตรในประเทศที่อาจเร่งตัวขึ้น รวมถึงการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ และการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ แต่ก็ถือว่าไม่มากเนื่องจากรัฐบาลได้ต่ออายุมาตรการลดค่าครองชีพ นอกจากนี้ยังปรับโครงสร้างราคาพลังงาน และอาหาร ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อได้

ผู้อำนวยการ สศค.ประเมินว่า เงินบาทในปีหน้าแม้จะแข็งค่าขึ้น แต่ไม่ได้อยู่ในระดับน่าเป็นห่วงและคงไม่แข็งค่าขึ้นมากถึง 10% เหมือนปีนี้ 53 ซึ่งหากภาครัฐและเอกชนมีการเร่งการลงทุน จะช่วยลดกระแสการแข็งค่าของเงินบาทอย่างรวดเร็วได้
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 206

โพสต์

เตือนระวังต่างชาติแห่ขนเงินกลับ ฉุดเงินบาทแตะ 31.50 บาทต่อดอลลาร์ได้

Posted on Tuesday, January 11, 2011
อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ จะเห็นการขายทำกำไรในสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อนำเงินกลับไปซื้อดอลลาร์สหรัฐเพื่อคืนเงินที่กู้ยืมมาลงทุน (Unwind Dollar Carry Trade) มากขึ้น หลังจากที่เศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มฟื้นตัว ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ จึงยังไม่จำเป็นต้องเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจภายในครึ่งปีแรก ประกอบกับต้นทุนทางการเงินในสหรัฐฯที่เริ่มแพงขึ้นจากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นสิ่งกระตุ้นให้นักลงทุนต่างประเทศที่กู้เงินดอลลาร์สหรัฐไปลงทุนในตลาดสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก ต้องตัดสินใจขายทำกำไรเพื่อนำเงินไปคืน เพื่อไม่ให้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหายไปจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น

การกลับมาซื้อดอลลาร์สหรัฐนี้เอง จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าได้อย่างน้อยตลอดช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ และจะกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีโอกาสอ่อนตัวลงแตะ 31.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐภายในไตรมาส 1/54 ซึ่งหากเป็นนักลงทุนระยะกลางก็ควรใช้ความระมัดระวังในการลงทุน เพราะเชื่อว่าเป็นเพียงช่วงเริ่มต้นของการเริ่มทยอยขายสินทรัพย์ออกมา ดังนั้น หากยังไม่เห็นการชะลอแรงเทขายออกมาในสินทรัพย์ หรือค่าเงินบาทยังอ่อนค่าต่อเนื่อง ก็ยังไม่ควรกลับเข้าไปลงทุน

นอกจากนี้ การที่วิกฤติการเงินในสเปนกับโปรตุเกส ยังคงสร้างความกังวลให้กับตลาด ก็จะกดดันค่าเงินยูโรต่อไป และจะยิ่งหนุนให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเร็วขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม อุสรามองว่า แรงซื้อในสินทรัพย์น่าจะกลับเข้ามาอีกครั้งในช่วงครึ่งปีหลัง หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ อ่อนแอลง และทำให้คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะกลับมาใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง ซึ่งเงินลงทุนที่จะกลับมาในครึ่งปีหลังนี้ ก็จะหนุนให้ค่าเงินบาทแข็งค่าแตะ 29 บาทได้ การเงินการลงทุนในปีนี้จึงมีความผันผวนสูงมาก จึงควรใช้ความระมัดระวังและการบริหารความเสี่ยงไว้ด้วย

อุสรายังได้ให้มุมมองการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ไว้ด้วยว่า ที่ผ่านมาตลาดได้สะท้อนไปแล้วว่า กนง. จะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยได้ในวันพรุ่งนี้ (12 ม.ค. 2554) แต่ในความเห็นของอุสรายังมองว่า เนื่องจากเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงที่จะชะลอตัวมากกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ ประกอบกับยังมีเงินทุนไหลออกไป จึงน่าจะเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยไปในครึ่งปีหลังแทน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจทั้ง SMEs และผู้ส่งออก โดยอาจขึ้นไปในอัตรา 0.5% มาแตะที่ 2.50% ในครึ่งปีหลัง

อุสรายังเตือนให้นักลงทุนใช้ความระมัดระวังในการลงทุนในทองคำด้วย เพราะเชื่อว่า หากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ก็จะกดดันราคาทองคำให้ปรับลดลงด้วย ส่วนการลงทุนในขณะนี้ ควรเลือกลงทุนในในสินทรัพย์ที่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อรับผลดีจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่า และค่าเงินหยวนเทียบกับบาทก็น่าลงทุนที่สุด จากแนวโน้มที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง แต่เนื่องจากการลงทุนในอัตราแลกเปลี่ยนยังเป็นข้อจำกัด จึงยังไม่แนะนำให้ลงทุนในขณะนี้

ติดตาม Get SET ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 207

โพสต์

ม.หอการค้าไทยคาดส่งออกปีนี้โต 9.8%

Posted on Tuesday, January 11, 2011
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดว่า การส่งออกของไทยปีนี้ จะขยายตัวในกรอบ 7-12% หรือเฉลี่ย 9.8% คิดเป็นมูลค่า 2.06-2.17 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ชะลอลงจากปี 2553 ที่ขยายตัวสูงถึง 27.3% ซึ่งเป็นไปตามทิศทางเศรษฐกิจโลก ที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 4-4.5% ในปีนี้

ทั้งนี้ การส่งออกของไทย ได้รับแรงหนุน จากการส่งออกไปยังเอเชียและอาเซียน ที่จะมาทดแทนตลาดส่งออกหลัก อาทิ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น

นายอัทธ์ บอกถึงความเคลื่อนไหวค่าเงินบาทปีนี้ ว่ายังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ในกรอบ 28.30-30.10 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค แต่การที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น ก็จะมีผลต่อการขยายตัวของการส่งออกปีนี้ ในรูปเงินบาท ให้หายไปประมาณ 5.22-5.48 แสนล้านบาท
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 208

โพสต์

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

กสิกรไทยคาดส่งออกปี′54 โตได้ถึง 12%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า การส่งออกของไทยในเดือนธันวาคม 2553 ยังคงเติบโตได้ดีเกินความคาดหมาย โดยมีมูลค่า 17,372 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวร้อยละ 18.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year) แม้ชะลอลงจากร้อยละ 28.5 ในเดือนก่อนหน้า แต่ดีกว่าค่าเฉลี่ยที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ ส่วนการนำเข้าในเดือนธันวาคมมีมูลค่า 16,078 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวร้อยละ 11.5 ชะลอจากที่เร่งตัวในอัตราร้อยละ 35.3 ในเดือนก่อน โดยการส่งออกที่ขยายตัวสูงกว่าการนำเข้า ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนธันวาคมเกินดุลสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1,295 ล้านดอลลาร์ฯ จาก 408 ล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนก่อน

สำหรับภาพรวมในปี 2553 การส่งออกมีมูลค่าประมาณ 195,312 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวร้อยละ 28.1 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 182,407 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวร้อยละ 36.5 ขณะที่ดุลการค้าเกินดุล 12,905 ล้านดอลลาร์ฯ

จากตัวเลขการส่งออกในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2553 ที่ออกมาดีกว่าที่คาด โดยยังคงขยายตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบเดือนต่อเดือน (Month-on-Month) สอดคล้องกับตัวเลขเศรษฐกิจในต่างประเทศที่บ่งชี้การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปัจจัยลบต่างๆ ไม่ได้ส่งผลกดดันต่อเศรษฐกิจโลกรุนแรงอย่างที่หลายฝ่ายเคยกังวลกัน รวมทั้งเศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถรักษาเสถียรภาพการฟื้นตัวได้อย่างชัดเจนขึ้น ทิศทางดังกล่าวนี้นับเป็นสัญญาณเชิงบวกต่อแนวโน้มการส่งออกของไทยในปี 2554 ซึ่งแม้ว่าการชะลอตัวคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ก็มีโอกาสที่การส่งออกของไทยจะเติบโตได้ดีกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวของการส่งออกขึ้นเป็นร้อยละ 8.0-12.0 (จากเดิมที่ร้อยละ 6.0-10.0) รวมทั้งปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวของการนำเข้าเป็นร้อยละ 12.0-16.0 (จากเดิมที่ร้อยละ 9.0-12.0) ทั้งนี้ จากการนำเข้าที่มีแนวโน้มเติบโตสูงกว่าการส่งออกทำให้คาดว่า ดุลการค้าในปี 2554 น่าจะเกินดุลลดลงมาที่ 7.0-9.7 พันล้านดอลลาร์ฯ จาก 12.9 พันล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2553 (ตามฐานศุลกากร) ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดอาจเกินดุลลดลงมาที่ 8.0-11.3 พันล้านดอลลาร์ฯ จากระดับสูงกว่า 14 พันล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2553

สำหรับผลของทิศทางค่าเงินบาทต่อรายได้ของผู้ส่งออกไทยนั้น จากสถานการณ์การแข็งค่าของเงินบาทที่ผ่อนคลายลง ประกอบกับการปรับเพิ่มคาดการณ์แนวโน้มการส่งออกในรูปดอลลาร์ฯ ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า หากค่าเงินบาทไม่แข็งค่าขึ้นอย่างรุนแรงเกินไปการส่งออกในรูปเงินบาทน่าจะยังคงรักษาระดับการเติบโตในแดนบวกได้ โดยกรณีถ้าค่าเงินบาททั้งปี 2554 มีค่าเฉลี่ยทรงตัวใกล้เคียงระดับปัจจุบัน (เฉลี่ยประมาณ 30.4 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเดือนมกราคม 2554) มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทอาจขยายตัวประมาณร้อยละ 3.5-7.5 แต่หากค่าเฉลี่ยเงินบาททั้งปีแข็งค่าขึ้นไปอีก 1 บาทต่อดอลลาร์ฯ อาจส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทขยายตัวเพียงร้อยละ 0-4.0 แต่ก็ดีกว่าคาดการณ์เดิมที่เคยกังวลว่าอาจถึงขั้นติดลบ

ปัจจัยที่ต้องติดตามซึ่งอาจมีผลต่อทิศทางการส่งออกในปี 2554 นอกเหนือจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก ทั้งสหรัฐฯ จีน ยูโรโซนและญี่ปุ่นที่อาจยังคงมีความไม่แน่นอน และทิศทางอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว ยังต้องจับตาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ มาตรการทางการค้าของประเทศคู่ค้าหลัก เช่น การต่ออายุสิทธิพิเศษทางภาษีจีเอสพีของสหรัฐฯ การปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มในยุโรป และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีอื่นๆ นอกจากนี้ ทิศทางการส่งออกอาจยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายกำลังการผลิตใหม่ในประเทศที่จะทยอยแล้วเสร็จ (เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี) ขณะเดียวกัน การรุกขยายช่องทางเปิดตลาดส่งออกของผู้ประกอบการไทยไปยังประเทศใกล้เคียงโดยเฉพาะอาเซียน จีน และอินเดีย จะเป็นโอกาสให้ในการเข้าถึงตลาดการค้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีการเติบโตของกำลังซื้อในระดับสูง
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 3&catid=no
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 209

โพสต์

แบงก์ชาติสรุป GDP ปี 53 โต 8%

Posted on Monday, January 31, 2011
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย บอกว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยเฉลี่ยทั้งปี 2553 สามารถขยายตัว 8% จากการส่งออกสินค้าและบริการ รวมทั้งอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แม้จะเผชิญกับทั้งความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก // ปัญหาการเมืองในประเทศ // ความผันผวนของค่าเงินบาทและเงินทุนเคลื่อนย้าย // รวมทั้งปัญหาภัยธรรมชาติต่างๆ

การส่งออกเฉลี่ยทั้งปี 2553 ขยายตัว 28.5% คิดเป็นมูลค่า 193,663 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การนำเข้าขยายตัว 36.6 % คิดเป็นมูลค่า 179,632 ล้านดอลลาร์ ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 14,031 ล้านดอลลาร์

นายเมธี บอกด้วยว่า จากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ยังแข็งแกร่ง และมีปัจจัยสนับสนุนจากการจ้างงาน และรายได้เกษตรกรที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งการดำเนินนโยบายการคลังและการเงินที่ยังคงผ่อนคลาย จะเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจในปี 2554 ขยาย
ตัวได้ต่อเนื่อง โดยคาดว่า เฉลี่ยทั้งปีจะขยายตัว 3 – 5%

ขณะที่การส่งออกยังคงขยายตัวต่อเนื่อง แม้จะชะลอลงจากปีก่อน เนื่องจากมียอดคำสั่งซื้อเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่ายอดคำสั่งซื้อสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ในสหรัฐจะปรับลดลงบ้าง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน

โพสต์ที่ 210

โพสต์

ยอดส่งออกเดือนม.ค.โต 22.25%

Posted on Monday, February 21, 2011
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ บอกถึง ตัวเลขการส่งออกเดือนมกราคม 2554 ว่า เพิ่มขึ้น 22.25% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นตัวเลขสองหลัก ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 เป็นผลจากสินค้าเกษตร ยังขยายตัวได้ทุกรายการ โดยเฉพาะข้าว ขณะที่การนำเข้าในเดือนมกราคม เพิ่มขึ้น 33.3% จากช่วง เดียวกันปีก่อน ทำให้ไทยขาดดุลการค้าประมาณ 857 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์ยังได้คาดการณ์ตัวเลขส่งออกในไตรมาส 1 ปี 2554 ว่า จะเติบโต 15% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนการนำเข้าคาดว่าจะเติบโต 36.5% ทำให้ไทยเกินดุลการค้าประมาณ 12,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกับคงประมาณการตัวเลขส่งออกปีนี้โต 10%

นางพรทิวา บอกว่า สถานการณ์จลาจลตะวันออกกลางยังไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในภาพรวม โดยปัจจุบันไทยมีสัดส่วนการส่งออกไปยังประเทศแถบตะวันออกกลางประมาณ 0.36% แต่ก็ได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์แต่ละประเทศ ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx