วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 09, 2010 9:56 am
แนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง...ต้องระวังปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจโลก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าหากไม่มีเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้นเศรษฐกิจไทยในQ3/53
อาจขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.3-5.3 (YoY)ในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 แม้ต้องเผชิญกับ มรสุมครั้งใหญ่จากเหตุการณ์รุนแรงทางการเมือง แต่เศรษฐกิจไทยก็สามารถฟื้นตัวขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจ ถดถอยได้อย่างแข็งแกร่งเกินคาด ด้วยอัตราการขยายตัวที่คาดว่าจะสูงถึงประมาณร้อยละ 10 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year) ซึ่งถือได้ว่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาคเอเชีย โดยเป็นรอง
สิงคโปร์และจีน (ซึ่งขยายตัวร้อยละ 18.1 และ 11.1 ตามลำดับ) อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลังสัญญาณ
การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มปรากฎชัดเจนขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุด โดยเฉพาะตัวเลขของ
เศรษฐกิจใหญ่อันดับ 1 และ 2 ของโลกอย่างสหรัฐฯ และจีน อาจเป็นปัจจัยที่ฉุดเศรษฐกิจไทยในครึ่งปี
หลังให้ชะลอตัว เนื่องจากแรงขับเคลื่อนจากภาคการส่งออกที่อาจอ่อนกำลังลง
สำหรับตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในไตรมาสที่ 2/2553 ที่สำนักงานพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะรายงานในวันที่ 23 สิงหาคม 2553 นั้น จากการวิเคราะห์ข้อ
มูลดัชนี KR Economic Condition Index ที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จัดทำขึ้น เพื่อประเมินภาพอัตราการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ที่เป็นรายเดือน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่
2/2553 อาจขยายตัวสูงประมาณร้อยละ 8 (YoY) ชะลอลงจากที่เติบโตที่สูงสุดในรอบ 15 ปีที่ร้อยละ
12.0 ในไตรมาสที่ 1/2553 แต่เป็นอัตราที่สูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ โดยค่าจีดีพีในเดือนมิถุนายนปรับตัว ดีขึ้นมาอยู่ในระดับใกล้เคียงร้อยละ 9 จากที่ต่ำลงไปอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7 ในเดือนพฤษภาคม เนื่องจาก ผลกระทบของสถานการณ์ทางการเมือง
ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า คาดว่ามูลค่าจีดีพี (ที่ปรับฤดูกาล) ในไตรมาสที่ 2/2553
อาจหดตัวประมาณร้อยละ 1.4 (Seasonally-Adjusted Quarter-on-Quarter) จากที่ขยายตัวแข็งแกร่งที่
ระดับร้อยละ 4.0 และร้อยละ 3.8 ในไตรมาสที่ 4/2552 และไตรมาสที่ 1/2553 ตามลำดับ
แม้ว่าสถานการณ์รุนแรงทางการเมืองในช่วงไตรมาสที่ 2/2553 ได้ส่งผลกระทบต่อหลายภาค
เศรษฐกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ธุรกิจค้าปลีก และผู้ประกอบการร้านค้าในย่านที่ได้รับผลกระทบจาก
การชุมนุมทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจได้รับปัจจัยบวกจากการเติบโตของภาคการส่งออกที่ยังคง
เร่งตัว ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการเยียวยาผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองได้ค่อนข้างเร็ว อีกทั้งยัง
มีผลกระตุ้นของมหกรรมฟุตบอลโลก 2010 ซึ่งช่วยพลิกฟื้นบรรยากาศความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้กลับมา
คึกคักขึ้นได้เร็วกว่าที่คาด ปัจจัยบวกดังกล่าวมีส่วนช่วยชดเชยความสูญเสียจากเหตุการณ์ทางการเมืองใน
ระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยหดตัวร้อยละ 3. 6 ใน
ไตรมาสที่ 2/2553 จากที่เติบโตสูงประมาณร้อยละ 27.8 (YoY) ในช่วงไตรมาสที่ 4/2552 และไตรมาสที่
1/2553 โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติชะลอตัวชัดเจนในเดือนเมษายน และหดตัวถึงร้อยละ 12.9 ใน
เดือนพฤษภาคมที่สถานการณ์การเมืองทวีความรุนแรงขึ้น ก่อนที่จะปรับตัวดีขึ้นในเดือนมิถุนายนหลังการ
ชุมนุมยุติ โดยหดตัวร้อยละ 1.1 นอกจากนี้ การผลิตในภาคอุตสาหกรรมเติบโตในอัตราที่ชะลอลงมาที่ร้อย
ละ 20.2 (YoY) ในไตรมาสที่ 2/2553 จากร้อยละ 31.2 ในไตรมาสแรก โดยเป็นผลจากวันทำงานที่น้อย
ลงเนื่องจากสถานประกอบการในพื้นที่กรุงเทพฯ มีการปิดทำการในช่วงที่สถานการณ์การเมืองไม่ปกติ
อย่างไรก็ตาม การส่งออกที่เร่งตัวขึ้นได้ส่งผลดีต่อการผลิต การบริการ และการจ้างงานในธุรกิจ
เกี่ยวเนื่อง โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออกตามฐานดุลการชำระเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ขยายตัวร้อยละ 41.8 และร้อยละ 29.0 ตามลำดับในไตรมาสที่ 2/2553 (จากที่ขยายตัวร้อยละ 32.1 และ
17.8 ในไตรมาสแรก) เนื่องจากสินค้าสำคัญ เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่อง
ใช้ไฟฟ้า และยางพารา ต่างยังคงมีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ตามการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาค
ต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งอานิสงส์ของการเปิดเสรีทางการค้า โดยเฉพาะในกรอบอาเซียน หรือ AFTA
สำหรับแนวโน้มในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 อาจชะลอตัวตามทิศทางของเศรษฐกิจในภูมิภาค
สำคัญๆ ของโลก ซึ่งในกรณีของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เครื่องชี้เศรษฐกิจหลายด้านส่งสัญญาณชะลอตัวค่อน
ข้างชัดเจน บ่งชี้การฟื้นตัวที่เปราะบาง โดยเฉพาะเครื่องชี้ในภาคการผลิตและแนวโน้มการบริโภค ซึ่งใน
เดือนกรกฎาคม 2553 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในภาคการผลิตชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 มา
อยู่ที่ระดับ 55.5 ต่ำกว่าเดือนมิถุนายนที่มีระดับ 56.2 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงมาที่ระดับ
50.4 ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน นอกจากนี้ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคมเพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมาย โดยเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนเมษายน ในด้านเศรษฐกิจจีน ดัชน
ีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในภาคการผลิตชะลอลงมาอยู่ที่ระดับ 51.2 ในเดือนกรกฎาคม จากระดับ 52.1
ในเดือนก่อนหน้า และสะท้อนการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 17 เดือน ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อย
ละ 13.7 อ่อนตัวลงจากร้อยละ 16.5 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีชี้ภาวะการผลิตของญี่ปุ่นก็ชะลอตัวเช่น
กัน สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจยูโรโซน แม้ว่าปรับเพิ่มขึ้นดีกว่าที่คาด แต่ส่วนหนึ่งมีผลของเม็ดเงินสะพัดจาก
มหกรรมฟุตบอลโลก 2010 ขณะที่ยังไม่มีปัจจัยที่น่าเชื่อได้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะสามารถรักษาแรงส่งของ การเติบโตในระดับดังกล่าวต่อไปได้ในระยะข้างหน้า เนื่องจากผลที่จะตามมาจากนโยบายรัดเข็มขัดของ
รัฐบาลในหลายประเทศ จะเริ่มปรากฏชัดมากขึ้น ขณะที่ค่าเงินยูโรที่เคยอ่อนค่าและหนุนภาคการส่งออก
ของภูมิภาคนั้น เริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้นท่ามกลางทิศทางการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงระยะนี้ ซึ่งน่าจะส่งผลให้การส่งออกรวมทั้งภาคการผลิตของยูโรโซนชะลอตัวลงในระยะต่อไป
จากทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกดังกล่าว ประกอบกับฐานเปรียบเทียบในปีก่อนที่ขยับสูง
ขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การผลิตและการส่งออกของไทยในไตรมาสที่ 3/2553
อาจชะลอลง และอาจเติบโตเหลือเป็นตัวเลขหลักเดียว (YoY) ในช่วงไตรมาสที่ 4/2553 ซึ่งจะมีผลทำให้
เศรษฐกิจในภาพรวมเติบโตในอัตราที่ชะลอลงตามไปด้วย ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 การเติบ
โตของการ ส่งออกที่สูงถึงร้อยละ 37 (YoY) ได้ผลักดันให้จีดีพีของภาคอุตสาหกรรมไทยขยายตัวสูงอาจถึง
ประมาณร้อยละ 18 และมีผลต่อการเติบโตของจีดีพีของประเทศในครึ่งปีแรกถึงเกือบร้อยละ 7 (Percentage
Point)ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ผลักดันให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยภาพรวมในช่วงครึ่งปีแรก
มีแนวโน้มที่จะสูงถึงร้อยละ 10 สำหรับอุปสงค์ภายในประเทศ ยังมีปัจจัยบวกที่อาจสนับสนุนการฟื้นตัวของ
การใช้จ่ายในประเทศ โดยบรรยากาศทางการเมืองที่ผ่อนคลายลงน่าจะส่งผลดีต่อทิศทางความเชื่อมั่นของผู้
บริโภคและนักลงทุน รวมทั้งการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว นอกจากนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ ซึ่งรวมไปถึงงบไทยเข้มแข็ง น่าจะเร่งตัวในช่วงโค้งสุดท้ายของปีงบประมาณ ขณะที่โครงการลงทุนขนาด ใหญ่เริ่มมีความคืบหน้ามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาวะการบริโภคก็มีแรงกดดันเพิ่มเข้ามาจากทิศทางเงินเฟ้อที่
อาจปรับเพิ่มขึ้น และวัฏจักรขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในประเทศ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า หากไม่มีเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้น เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่
3/2553 อาจขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.3-5.3 (YoY) และอาจชะลอตัวลงเหลือไม่เกินร้อยละ
2.5 ในไตรมาสสุดท้ายของปี
โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2/2553 อาจขยายตัวชะลอลงมาที่
ร้อยละ 8.0 (YoY) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับกับไตรมาสก่อนหน้า จีดีพี ที่ปรับฤดูกาลอาจหดตัวลงประมาณร้อยละ 1.4 (QoQ, SA)
สำหรับแนวโน้มในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 แม้เศรษฐกิจไทยอาจเติบโตในอัตราที่ชะลอตัว แต่จาก ภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกที่ออกมาดีกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับเพิ่มคาด
การณ์ แนวโน้มอัตราการขยายตัวของจีดีพีของทั้งปี 2553 ขึ้นมาเป็นร้อยละ 5.5-6.8 จากคาดการณ์เดิมที่
ร้อยละ 4.0-6.0 โดยในกรณีหากไม่มีปัจจัยลบทางการเมืองที่รุนแรง จีดีพีน่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 6.2-6.8 ขณะที่กรอบล่างของประมาณการรองรับกรณีหากเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่ไม่ปกติ
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปี ได้แก่ ทิศทางเศรษฐกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับปัญหาวิกฤตหนี้ในภูมิภาคยุโรป ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแรงขับเคลื่อนจากเศรษฐกิจจีนและประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศ คงต้องติดตาม สถานการณ์การเมืองภายในประเทศ ทิศทางเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งความคืบหน้าของการแก้ไข
ปัญหาการลงทุนในมาบตาพุด เป็นสำคัญ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าหากไม่มีเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้นเศรษฐกิจไทยในQ3/53
อาจขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.3-5.3 (YoY)ในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 แม้ต้องเผชิญกับ มรสุมครั้งใหญ่จากเหตุการณ์รุนแรงทางการเมือง แต่เศรษฐกิจไทยก็สามารถฟื้นตัวขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจ ถดถอยได้อย่างแข็งแกร่งเกินคาด ด้วยอัตราการขยายตัวที่คาดว่าจะสูงถึงประมาณร้อยละ 10 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year) ซึ่งถือได้ว่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาคเอเชีย โดยเป็นรอง
สิงคโปร์และจีน (ซึ่งขยายตัวร้อยละ 18.1 และ 11.1 ตามลำดับ) อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลังสัญญาณ
การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มปรากฎชัดเจนขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุด โดยเฉพาะตัวเลขของ
เศรษฐกิจใหญ่อันดับ 1 และ 2 ของโลกอย่างสหรัฐฯ และจีน อาจเป็นปัจจัยที่ฉุดเศรษฐกิจไทยในครึ่งปี
หลังให้ชะลอตัว เนื่องจากแรงขับเคลื่อนจากภาคการส่งออกที่อาจอ่อนกำลังลง
สำหรับตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในไตรมาสที่ 2/2553 ที่สำนักงานพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะรายงานในวันที่ 23 สิงหาคม 2553 นั้น จากการวิเคราะห์ข้อ
มูลดัชนี KR Economic Condition Index ที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จัดทำขึ้น เพื่อประเมินภาพอัตราการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ที่เป็นรายเดือน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่
2/2553 อาจขยายตัวสูงประมาณร้อยละ 8 (YoY) ชะลอลงจากที่เติบโตที่สูงสุดในรอบ 15 ปีที่ร้อยละ
12.0 ในไตรมาสที่ 1/2553 แต่เป็นอัตราที่สูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ โดยค่าจีดีพีในเดือนมิถุนายนปรับตัว ดีขึ้นมาอยู่ในระดับใกล้เคียงร้อยละ 9 จากที่ต่ำลงไปอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7 ในเดือนพฤษภาคม เนื่องจาก ผลกระทบของสถานการณ์ทางการเมือง
ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า คาดว่ามูลค่าจีดีพี (ที่ปรับฤดูกาล) ในไตรมาสที่ 2/2553
อาจหดตัวประมาณร้อยละ 1.4 (Seasonally-Adjusted Quarter-on-Quarter) จากที่ขยายตัวแข็งแกร่งที่
ระดับร้อยละ 4.0 และร้อยละ 3.8 ในไตรมาสที่ 4/2552 และไตรมาสที่ 1/2553 ตามลำดับ
แม้ว่าสถานการณ์รุนแรงทางการเมืองในช่วงไตรมาสที่ 2/2553 ได้ส่งผลกระทบต่อหลายภาค
เศรษฐกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ธุรกิจค้าปลีก และผู้ประกอบการร้านค้าในย่านที่ได้รับผลกระทบจาก
การชุมนุมทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจได้รับปัจจัยบวกจากการเติบโตของภาคการส่งออกที่ยังคง
เร่งตัว ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการเยียวยาผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองได้ค่อนข้างเร็ว อีกทั้งยัง
มีผลกระตุ้นของมหกรรมฟุตบอลโลก 2010 ซึ่งช่วยพลิกฟื้นบรรยากาศความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้กลับมา
คึกคักขึ้นได้เร็วกว่าที่คาด ปัจจัยบวกดังกล่าวมีส่วนช่วยชดเชยความสูญเสียจากเหตุการณ์ทางการเมืองใน
ระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยหดตัวร้อยละ 3. 6 ใน
ไตรมาสที่ 2/2553 จากที่เติบโตสูงประมาณร้อยละ 27.8 (YoY) ในช่วงไตรมาสที่ 4/2552 และไตรมาสที่
1/2553 โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติชะลอตัวชัดเจนในเดือนเมษายน และหดตัวถึงร้อยละ 12.9 ใน
เดือนพฤษภาคมที่สถานการณ์การเมืองทวีความรุนแรงขึ้น ก่อนที่จะปรับตัวดีขึ้นในเดือนมิถุนายนหลังการ
ชุมนุมยุติ โดยหดตัวร้อยละ 1.1 นอกจากนี้ การผลิตในภาคอุตสาหกรรมเติบโตในอัตราที่ชะลอลงมาที่ร้อย
ละ 20.2 (YoY) ในไตรมาสที่ 2/2553 จากร้อยละ 31.2 ในไตรมาสแรก โดยเป็นผลจากวันทำงานที่น้อย
ลงเนื่องจากสถานประกอบการในพื้นที่กรุงเทพฯ มีการปิดทำการในช่วงที่สถานการณ์การเมืองไม่ปกติ
อย่างไรก็ตาม การส่งออกที่เร่งตัวขึ้นได้ส่งผลดีต่อการผลิต การบริการ และการจ้างงานในธุรกิจ
เกี่ยวเนื่อง โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออกตามฐานดุลการชำระเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ขยายตัวร้อยละ 41.8 และร้อยละ 29.0 ตามลำดับในไตรมาสที่ 2/2553 (จากที่ขยายตัวร้อยละ 32.1 และ
17.8 ในไตรมาสแรก) เนื่องจากสินค้าสำคัญ เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่อง
ใช้ไฟฟ้า และยางพารา ต่างยังคงมีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ตามการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาค
ต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งอานิสงส์ของการเปิดเสรีทางการค้า โดยเฉพาะในกรอบอาเซียน หรือ AFTA
สำหรับแนวโน้มในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 อาจชะลอตัวตามทิศทางของเศรษฐกิจในภูมิภาค
สำคัญๆ ของโลก ซึ่งในกรณีของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เครื่องชี้เศรษฐกิจหลายด้านส่งสัญญาณชะลอตัวค่อน
ข้างชัดเจน บ่งชี้การฟื้นตัวที่เปราะบาง โดยเฉพาะเครื่องชี้ในภาคการผลิตและแนวโน้มการบริโภค ซึ่งใน
เดือนกรกฎาคม 2553 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในภาคการผลิตชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 มา
อยู่ที่ระดับ 55.5 ต่ำกว่าเดือนมิถุนายนที่มีระดับ 56.2 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงมาที่ระดับ
50.4 ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน นอกจากนี้ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคมเพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมาย โดยเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนเมษายน ในด้านเศรษฐกิจจีน ดัชน
ีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในภาคการผลิตชะลอลงมาอยู่ที่ระดับ 51.2 ในเดือนกรกฎาคม จากระดับ 52.1
ในเดือนก่อนหน้า และสะท้อนการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 17 เดือน ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อย
ละ 13.7 อ่อนตัวลงจากร้อยละ 16.5 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีชี้ภาวะการผลิตของญี่ปุ่นก็ชะลอตัวเช่น
กัน สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจยูโรโซน แม้ว่าปรับเพิ่มขึ้นดีกว่าที่คาด แต่ส่วนหนึ่งมีผลของเม็ดเงินสะพัดจาก
มหกรรมฟุตบอลโลก 2010 ขณะที่ยังไม่มีปัจจัยที่น่าเชื่อได้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะสามารถรักษาแรงส่งของ การเติบโตในระดับดังกล่าวต่อไปได้ในระยะข้างหน้า เนื่องจากผลที่จะตามมาจากนโยบายรัดเข็มขัดของ
รัฐบาลในหลายประเทศ จะเริ่มปรากฏชัดมากขึ้น ขณะที่ค่าเงินยูโรที่เคยอ่อนค่าและหนุนภาคการส่งออก
ของภูมิภาคนั้น เริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้นท่ามกลางทิศทางการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงระยะนี้ ซึ่งน่าจะส่งผลให้การส่งออกรวมทั้งภาคการผลิตของยูโรโซนชะลอตัวลงในระยะต่อไป
จากทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกดังกล่าว ประกอบกับฐานเปรียบเทียบในปีก่อนที่ขยับสูง
ขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การผลิตและการส่งออกของไทยในไตรมาสที่ 3/2553
อาจชะลอลง และอาจเติบโตเหลือเป็นตัวเลขหลักเดียว (YoY) ในช่วงไตรมาสที่ 4/2553 ซึ่งจะมีผลทำให้
เศรษฐกิจในภาพรวมเติบโตในอัตราที่ชะลอลงตามไปด้วย ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 การเติบ
โตของการ ส่งออกที่สูงถึงร้อยละ 37 (YoY) ได้ผลักดันให้จีดีพีของภาคอุตสาหกรรมไทยขยายตัวสูงอาจถึง
ประมาณร้อยละ 18 และมีผลต่อการเติบโตของจีดีพีของประเทศในครึ่งปีแรกถึงเกือบร้อยละ 7 (Percentage
Point)ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ผลักดันให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยภาพรวมในช่วงครึ่งปีแรก
มีแนวโน้มที่จะสูงถึงร้อยละ 10 สำหรับอุปสงค์ภายในประเทศ ยังมีปัจจัยบวกที่อาจสนับสนุนการฟื้นตัวของ
การใช้จ่ายในประเทศ โดยบรรยากาศทางการเมืองที่ผ่อนคลายลงน่าจะส่งผลดีต่อทิศทางความเชื่อมั่นของผู้
บริโภคและนักลงทุน รวมทั้งการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว นอกจากนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ ซึ่งรวมไปถึงงบไทยเข้มแข็ง น่าจะเร่งตัวในช่วงโค้งสุดท้ายของปีงบประมาณ ขณะที่โครงการลงทุนขนาด ใหญ่เริ่มมีความคืบหน้ามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาวะการบริโภคก็มีแรงกดดันเพิ่มเข้ามาจากทิศทางเงินเฟ้อที่
อาจปรับเพิ่มขึ้น และวัฏจักรขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในประเทศ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า หากไม่มีเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้น เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่
3/2553 อาจขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.3-5.3 (YoY) และอาจชะลอตัวลงเหลือไม่เกินร้อยละ
2.5 ในไตรมาสสุดท้ายของปี
โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2/2553 อาจขยายตัวชะลอลงมาที่
ร้อยละ 8.0 (YoY) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับกับไตรมาสก่อนหน้า จีดีพี ที่ปรับฤดูกาลอาจหดตัวลงประมาณร้อยละ 1.4 (QoQ, SA)
สำหรับแนวโน้มในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 แม้เศรษฐกิจไทยอาจเติบโตในอัตราที่ชะลอตัว แต่จาก ภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกที่ออกมาดีกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับเพิ่มคาด
การณ์ แนวโน้มอัตราการขยายตัวของจีดีพีของทั้งปี 2553 ขึ้นมาเป็นร้อยละ 5.5-6.8 จากคาดการณ์เดิมที่
ร้อยละ 4.0-6.0 โดยในกรณีหากไม่มีปัจจัยลบทางการเมืองที่รุนแรง จีดีพีน่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 6.2-6.8 ขณะที่กรอบล่างของประมาณการรองรับกรณีหากเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่ไม่ปกติ
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปี ได้แก่ ทิศทางเศรษฐกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับปัญหาวิกฤตหนี้ในภูมิภาคยุโรป ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแรงขับเคลื่อนจากเศรษฐกิจจีนและประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศ คงต้องติดตาม สถานการณ์การเมืองภายในประเทศ ทิศทางเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งความคืบหน้าของการแก้ไข
ปัญหาการลงทุนในมาบตาพุด เป็นสำคัญ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย