หน้า 10 จากทั้งหมด 14

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 26, 2009 10:23 pm
โดย miracle
นวกิจอุ้มฟอลคอนรับมือตั้งสำรองใหม่


วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ฟอลคอน ประกันยันบริษัทแม่นวกิจ แฟร์แฟ็กซ์ พร้อมหนุนเต็มที่รับมือเกณฑ์อาร์บีซี พร้อมทำแผน 5 ปีรับมือธุรกิจ

นายโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานบริหารสูงสุด บริษัท ฟอลคอนประกันภัย เปิดเผยว่า ทางบริษัท นวกิจประกันภัย และกลุ่มแฟร์แฟ็กซ์ของแคนาดา ซึ่งเป็นบริษัทแม่ยังคงยืนยันที่จะให้การสนับสนุนบริษัทอย่างเต็มที่ หากต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับกับกฎระเบียบใหม่ที่ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จะมีผลบังคับใช้ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะเรื่องที่คปภ. จะนำเรื่องเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง หรืออาร์บีซี มาใช้
นอกจากนี้ บริษัทยังอยู่ระหว่างจัดทำแผนงาน 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป เพื่อรองรับกับภาคธุรกิจประกันภัยที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น รวมถึงการเตรียมพร้อมในการรับมือเปิดเสรีทางการเงินอีกด้วย ซึ่งคาดว่าหลังจากนี้การเติบโตของบริษัทคงเป็นการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า เพราะที่ผ่านมาบริษัทเติบโตแบบก้าวกระโดดมาตลอด หลังจากเปิดบริษัทมาตั้งแต่ปี 2550 และได้เบี้ยที่ 90 ล้านบาท ส่วนปี 2551 ได้เบี้ย 250 ล้านบาท และปีนี้คาดว่าจะได้เบี้ย 430 ล้านบาท ซึ่งผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจและเริ่มเห็นผลกำไรแล้ว โดยในปีหน้าบริษัทตั้งเป้าเบี้ยไว้ที่ 600 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์หลักที่จะใช้นอกจากมีแบบประกันใหม่แล้ว ก็จะใช้ในส่วนของช่องทางขายผ่านบริษัทนายหน้าหรือโบรกเกอร์ที่มีอยู่ประมาณ 13-14 แห่ง ที่เน้นขายให้กับลูกค้าองค์กรเป็นหลัก ซึ่งขณะนี้มีสัดส่วนรายได้ประมาณ 60% ส่วนที่เหลืออีก 40% เป็นลูกค้ารายย่อยที่เน้นการขายผ่านช่องทางขายตรงและขายผ่านโทรศัพท์เป็นหลัก โดยเฉพาะแบบประกันภัยรถยนต์ที่มีสัดส่วนรายได้ถึง 40% และมีอัตราความเสียหายต่อเบี้ยประกันอยู่ที่ 60% ส่วนแบบประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีสัดส่วนที่ 30% และที่เหลือเป็นแบบประกันอื่น

http://www.posttoday.com/finance.php?id=77963

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 26, 2009 10:24 pm
โดย miracle
นิวยอร์คไลฟ์เบี้ยพุ่งหนุนกำไรโต


วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิตได้เบี้ยเพิ่ม 1,200 ล้านบาท หนุนดันกำไรเพิ่ม 87 ล้านบาท
นายเจฟฟรีย์ พอล นิวนัม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา บริษัทมีกำไรสุทธิ 395 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 87 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่กำไรสุทธิ 308 ล้านบาท โดยในส่วนของงวด 9 เดือนแรกที่ผ่านมามีกำไรสุทธิ 1,184 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่กำไรสุทธิ 927 ล้านบาท
ทั้งนี้ ผลกำไรที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น 1,375 ล้านบาท สาเหตุจากเบี้ยประกันรับสุทธิเพิ่มขึ้น 1,251 ล้านบาท รายได้จากการลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 122 ล้านบาท และรายได้อื่นเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัยเพิ่มขึ้น 1,130 ล้านบาท สาเหตุจากเงินสำรองประกันชีวิตเพิ่มขึ้น 795 ล้านบาท เงินจ่ายตามกรมธรรม์ประกันชีวิตเพิ่มขึ้น 84 ล้านบาท ค่าจ้างและค่าบำเหน็จเพิ่มขึ้น 246 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มขึ้น 4.7 ล้านบาท

สำหรับค่าใช้จ่ายดำเนินงานนั้นได้เพิ่มขึ้น 130 ล้านบาท สาเหตุจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน เช่น เงินเดือน โบนัสเพิ่มขึ้น 36 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารสถานที่และอุปกรณ์เพิ่มขึ้น 20 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายด้านภาษีอากรเพิ่มขึ้น 4 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่าที่ปรึกษา ค่าบริการด้านคอมพิวเตอร์ ค่าธรรมเนียมธนาคาร และค่าใช้จ่ายเดินทาง ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขายเพิ่มขึ้น 70 ล้านบาท รวมถึงค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น 26 ล้านบาท อีกด้วย

http://www.posttoday.com/finance.php?id=77962

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 26, 2009 10:24 pm
โดย miracle
กรุงเทพสบช่องลงทุนประกันลาว


วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
กรุงเทพประกันภัยดักหน้าลงทุนในลาว รองรับศูนย์กลางโลจิสติกส์ภูมิภาค

นายวรวิทย์ โรจน์รพีธาดา กรรมการและรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย เปิดเผยว่า บริษัทได้ขยายการลงทุนไปในภูมิภาคเพิ่มเติมอีกหนึ่งแห่งที่ประเทศลาว ในบริษัท อินทรี อินชัวรันส์ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัท พีซีที เอเชีย อินชัวรันส์ โดยการเข้าไปถือหุ้น 19% หรือคิดเป็นเงินประมาณ 4 แสนเหรียญสหรัฐ หรือ 13.2 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการได้ในต้นปีหน้า
อย่างไรก็ตาม การที่บริษัทไม่ตัดสินใจเข้าไปลงทุนในลาวช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากเห็นว่าโอกาสทางธุรกิจมีไม่มากนัก เพราะลาวมีประชากรประมาณ 6 ล้านคนเท่านั้น แต่หลังจากที่ลาวมีนโยบาย ผลักดันตัวเองให้เป็นศูนย์โลจิสติกส์ขนส่งสินค้าและบริการระดับภูมิภาคที่สามารถเชื่อมต่อจากจีน เวียดนาม กัมพูชา และไทยได้ รวมถึงแผนการสร้างเขื่อนอีก 39 แห่งในแม่น้ำโขง เพื่อขายพลังงานให้ประเทศเพื่อนบ้าน ก็จะทำให้เกิดการลงทุนในลาวตามมาอีกมาก จึงมีศักยภาพพอที่จะเข้าไปลงทุนได้

สำหรับการลงทุนในประเทศกัมพูชานั้น บริษัทยังไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากปัญหาการเมืองระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น โดยเชื่อว่าคงไม่กระทบต่อธุรกิจที่ลงทุนไว้ และหวังว่าเรื่องคงยุติได้เร็วๆ นี้ ซึ่งบริษัทเข้าไปลงทุนในกัมพูชาตั้งแต่ปี 2539 ถือหุ้นอยู่ 22% คิดเป็นเงินประมาณ 8 แสนเหรียญสหรัฐ หรือ 26.4 ล้านบาท มีพนักงานที่เป็นคนไทยเพียง 2 คนเท่านั้น โดยปีที่ผ่านมาก็ได้รับปันผลที่ 5% และยังมีในส่วนการลงทุนในประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียอีก ส่วนในจีนนั้นไม่ประสบความสำเร็จและขาดทุนมาก ซึ่งอยู่ระหว่างการขายหุ้นทิ้ง

นายชัย โสภณพนิช ประธานกรรมการและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย กล่าวว่า ในส่วนของการซื้อกิจการหรือร่วมทุนกับบริษัทประกันในไทย ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาเท่านั้น ซึ่งต้องพิจารณาว่างานที่ได้เข้ามานั้นช่วยบริษัทได้มากน้อยแค่ไหน เป็นงานที่บริษัทไม่สามารถเจาะตลาดได้หรือไม่ เช่น งานในกลุ่มผู้ถือหุ้นหรืองานรัฐวิสาหกิจ แต่หากบริษัทรายใดต้องการขายก็พร้อมเข้าไปศึกษา ซึ่งหากเป็นงานที่ได้จากตัวแทนหรือนายหน้า คงไม่สนใจ เพราะสามารถสร้างเองได้

นอกจากนี้ ต้องพิจารณาเรื่องปัจจัยด้านสังคมด้วยว่าจะทำให้พนักงานต้องออกจากงานมากน้อยแค่ไหนหากมีการรวมกิจการกัน เพราะอาจสร้างภาพลบต่อชื่อเสียงของบริษัทก็ได้ แต่ในอนาคตแนวโน้มที่บริษัทขนาดกลางและเล็กคงรวมตัวกันมากขึ้น ไม่เช่นนั้นคงไม่สามารถขยายธุรกิจได้ตามหลักเกณฑ์เงินกองทุนใหม่ที่จะนำมาใช้

http://www.posttoday.com/finance.php?id=77961

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 28, 2009 11:32 am
โดย chaitorn
อึม ปัจจัยเสี่ยงอีกเรื่องหนึ่งของธุรกิจประกันภัยก็คือ

ผู้บริหารและกรรมการของบริษัทที่บริหารมานาน ชราภาพ จำนวนมาก และขาดผู้สืบทอดทายาทครับ จึงต้องขายกิจการให้กับผู้ถือหุ้นใหม่ แม้ว่าที่ผ่านมาจะบริหารกิจการมีกำไรอย่างต่อเนื่องก็ตาม

ลองไปดูว่ามีบริษัทใดในตลาดที่เป็นแบบนี้บ้างครับ  :lol:

http://www.siamturakij.com/home/news/di ... =413341397

ปิดตำนานปรมาจารย์ ประกันภัย

   




 

จำใจลา เพราะพ่าย 'สังขาร'

กลายเป็นข่าวที่ คาดไม่ถึง เมื่อค่ายประกันวินาศภัยขนาดเล็กอย่าง สหวัฒนาประกันภัย จะเปลี่ยนมือบริหาร ทั้งๆ ที่เป็นรู้กันดีว่า แม้จะเป็นค่ายประกันวินาศภัยขนาดเล็ก แต่ก็ เล็กพริกขี้หนู เพราะไม่เคยมีประวัติด่างพร้อยในทุกด้าน และที่สำคัญยังอยู่ ภายใต้การบริหารของ กูรู ในวงการวินาศภัยอย่าง ศราวุธ ภาสุวณิชยพงศ์ และต้องยกย่องเป็นปูชนียบุคคลอีกท่านหนึ่งของวงการประกันวินาศภัย เพราะตลอด 47 ปีที่ยืนหยัด อยู่ในวงการนี้มา ได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับธุรกิจมากมาย ทั้งในฐานะ นายกสมาคมประกันวินาศภัย หลายสมัย และในฐานะคนดำเนินธุรกิจรายหนึ่ง ที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของธุรกิจ ในทุกด้าน

ที่เห็นชัดเจนที่สุด คือ กรณีที่สำนัก งานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) วางแผนจะเอาประกันพ.ร.บ.ไปบริหารเพื่อนำช่วยเหลือโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคที่ขาดทุน เขาคนนี้เป็นคนหนึ่งที่ออก มาคัดค้านชนิด หัวชนฝา มาโดยตลอด

แม้กระทั่งการปรับเปลี่ยนด้านกฎเกณฑ์การกำกับดูแลของคปภ. ซึ่งบางเรื่อง ออกจะ โหด ต่อภาคธุรกิจไม่น้อย ศราวุธ คนนี้เป็นคนหนึ่งกล้าวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการกำกับดูแลอย่างไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม รวมทั้งในเรื่อง ของการ ควบรวมกิจการ ที่บริษัทขนาดเล็กจะต้องเผชิญเมื่อมีการนำกฎเกณฑ์การ สำรองเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (Risked Based Capital) หรือ RBC มาใช้ ซึ่งจะบีบรัดให้ค่ายประกันต้องเพิ่มกอง ทุนกันมโหฬารบานเบอะให้เพียงพอต่อความเสี่ยงที่รับไว้ และในที่สุดก็จะเป็นตัวบีบรัดให้เกิดการควบรวมกิจการกันในที่สุด หรือไม่ค่ายประกันวินาศภัยขนาดเล็ก ก็ต้องยอม ล้มหายตายจาก ไปจากธุรกิจ เพราะไม่สามารถจะปฏิบัติตามได้ แม้ว่าทุกวันนี้จะ แข็งแกร่ง ไม่ได้มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องก็ตาม

กระนั้น สหวัฒนาประกันภัย ไม่ได้ยอมจำนนด้วยเหตุผลในเรื่องของกฎเกณฑ์การกำกับดูแล แต่กลับเป็นเพราะ สังขาร ที่ ร่วงโรย ของผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นกลุ่ม ตระกูลโค้ว เอง ที่เคี่ยวกรำการทำธุรกิจมายาวนานถึง 58 ปี แต่มาถึงวันนี้กลับไม่มีทายาทรายใดยอมสืบทอดกิจการ จนต้องถอดใจขายหุ้นให้กับทายาทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อยู่เจริญ กรุ๊ป อย่าง วีระเดช รุ่งโรจน์ธนกุล

เรียกว่าเป็นจังหวะพอดีที่วีระเดช และธีระศักดิ์ ซึ่งเป็นเพื่อนรักสนิทกับบุตรชาย และมีความสนใจอยากจะลงทุน ทำธุรกิจประกันภัย ก็เลยตัดสินใจเปิดทางให้คนหนุ่มรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน เพราะ ผู้บริหาร รวมทั้งกรรมการบริษัทต่างก็มีอายุเหลือน้อย ล่วงเข้า 70 กว่า 80 กว่า กันแล้ว ตัวเองก็อายุถึง 73 ปี มาถึงรุ่นลูกหลานก็ไม่สนใจที่จะทำธุรกิจนี้ เราจึงตัดสินใจขายหุ้น ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีคนติดต่อขอซื้อมาโดยตลอด ทั้งต่างชาติ และไทย แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะเจ้าของเขาก็ไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไร ก็บริหารกันมาอย่างมีคุณภาพ เพราะตลอด 58 ปี เราไม่เคยมีเรื่องเสียหาย มีกำไร 20% ทุกปี และมีการปันผลให้กับผู้ถือหุ้น 20% ของจำนวนหุ้นที่ถืออยู่มาตลอด พร้อมกับมีการเลี้ยงโต๊ะจีนทุกปี

ศราวุธ บอกว่า ในส่วนของหุ้นที่ขายไปทั้งหมดนี้ เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วน 70% ส่วนอีก 30% ที่เหลือเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ทางผู้ถือหุ้นใหม่จะเร่งดำเนินการซื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะใจจริงเจ้าของใหม่ต้องการถือเต็มร้อย

ก็ได้แต่บอกเจ้าของใหม่ว่า โชคดีที่ได้เป็นผู้ซื้อ เพราะที่ผ่านมาไม่ได้บอกขายให้ใคร และเป็นบริษัทที่ดีไม่เคยมีปัญหา แต่ก็บอกเจ้าของใหม่เขาไปแล้วว่า ถ้าไปขอซื้อหุ้นส่วนที่เหลือก็ให้ราคาที่เหมาะสมกับผู้ถือหุ้นเหล่านั้นด้วย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเขาด้วยว่าจะขายหรือไม่ขาย เพราะเป็นสิทธิ์ของเขา

ส่วนตัวเขาเองนั้น ผันตัวเองมาเป็นกรรมการคนหนึ่งเท่านั้น รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับประธานกรรมการบริหาร ซึ่งถือว่าเป็น มือใหม่ ในวงการประกันวินาศภัย และอีกด้านด้วยสายสัมพันธ์ของความเป็นเพื่อนของลูกชาย ก็เปรียบเสมือนลูกชายอีกคนหนึ่ง จึงรับหน้าที่เป็นกุนซือให้ด้วยความเต็มใจ

ถือเป็นปิดฉากอย่างสง่างาม ของปรมาจารย์วงการประกันภัยอีก ราย ที่ถึงที่สุดก็ไม่อาจฝืนสังขารของชีวิตไปได้

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 28, 2009 11:33 am
โดย chaitorn
ปลดล็อก RBC อุ้มบริษัทประกัน

http://www.siamturakij.com/home/news/di ... =413341390
จันทราหั่นค่าความเสี่ยงลงทุนหุ้นเหลือ 16%

ประกันภัยหมดสิทธิ์เลี่ยงบาลี ปีหน้า คปภ.บังคับทุกบริษัทต้องทดสอบ ดำรงเงินกองทุนตามเกณฑ์ RBC ประเมินผลภาพรวม-ทบทวนค่าความเสี่ยงก่อนใช้จริงปี 54 ยอมหั่นค่าความ เสี่ยงลงทุนในตลาดหุ้นจาก 24% เหลือ 16% เท่าเกณฑ์ธปท.หลังบริษัทติงเกณฑ์เดิมสูงเกินไป เปลืองเงินกองทุน เผยเอกชนยันไม่มีปัญหาพร้อมเทสต์

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคปภ. กำหนดให้บริษัทประกันภัยทุกบริษัทดำเนินการทดสอบ (Test Run) การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (Risk-Based Capital : RBC) ใน ปี 2553 หลังจากปีนี้ให้ดำเนินการทดสอบตามความสมัครใจของบริษัทประกันภัยซึ่งมีบริษัทประกันภัยจำนวน หนึ่งไม่ได้ทดสอบ

ทั้งนี้เพื่อประเมินผลภาพรวมเงินกองทุนของธุรกิจประกันภัยเมื่อวัดตาม ค่าความเสี่ยงต่างๆ ของเกณฑ์ RBC เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรและค่าความเสี่ยงที่นำมาใช้ต้องปรับปรุงอย่างไรบ้าง ก่อนเริ่มบังคับใช้จริงในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2554 เป็นต้นไปโดยจะบังคับใช้ แบบค่อยเป็นค่อยไป

อย่างไรก็ดี ในส่วนของค่าความเสี่ยงที่ต้องมีเงินกองทุนมารองรับ (Capital Risk Charge) ที่เป็นการลงทุนในหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทางคปภ.ยินยอมที่จะปรับลดค่าความเสี่ยงลงเหลือ 16% จาก 24% เท่ากับเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ใช้กับสถาบันการเงินตามที่บริษัทประกันภัยทักท้วงมาว่าเกณฑ์ 24% สูงเกินไปทำให้บริษัทประกันภัยต้องดำรงเงินกองทุนเพิ่มขึ้นมากกล่าวคือถ้าลงทุนในหุ้น 100 บาทต้องสำรองเงินกองทุนไว้รองรับความเสี่ยงถึง 24 บาทยังไม่รวมค่าความเสี่ยงอื่น อีกทั้งยังสูงกว่าที่ธุรกิจประกันภัยต่างประเทศเช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ใช้เกณฑ์เพียง 20%

ก่อนหน้านี้ ผู้บริหารบริษัทประกันวินาศภัยที่เข้าร่วมทดสอบโมเดล RBC ให้ความเห็นว่า ค่าความเสี่ยงการลงทุนใน หุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นตัวแปรหลักที่ฉุดเงินกองทุนของบริษัทประกันภัยลงมากที่สุดและทำให้เงินกอง ทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญเนื่อง จากตลาดหุ้นถือเป็นการลงทุนหลักประเภทหนึ่งของบริษัทประกันวินาศภัย โดยบริษัทประกันวินาศภัยลงทุนในตลาดหุ้นหากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์มากกว่าบริษัทประกันชีวิต แม้ในแง่เม็ดเงินจะน้อยกว่าก็ตาม

สำหรับผลการทดสอบเกณฑ์ RBC ของบริษัทประกันภัยที่สมัครใจทำมาร์เก็ต เทสติ้งไปก่อนหน้านี้โดยใช้ข้อมูล ของปี 2551 ปรากฏว่า ความเสี่ยงที่สำคัญ ที่สุดของธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทยคือความเสี่ยงเรื่อง ALM mismatching risk (เป็นส่วนหนึ่งของความเสี่ยงด้านการตลาด) ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากความไม่สัมพันธ์กันระหว่างสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทเป็นผลมาจากความผันผวนของ อัตราดอกเบี้ยในตลาด โดยเฉลี่ยความเสี่ยง ALM คิดเป็นสัดส่วน 40% ของเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงทั้งหมดของบริษัท

ส่วนความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย คือ ความเสี่ยงด้านการประกันภัย เฉลี่ยคิดเป็น สัดส่วน 39% ของเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงทั้งหมดของบริษัท

นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า เนื่องจาก RBC ทางคปภ.ต้องนำมาใช้อยู่แล้ว ดังนั้นหากคปภ.จะให้บริษัทประกันภัยทุกแห่งดำเนิน การทดสอบในปีหน้าไม่ใช่เรื่องน่ากังวลเพราะตามหลักก่อนใช้ต้องมีการทดสอบอยู่แล้ว อีกทั้งในเรื่องของริสค์ชาร์จต้องมีการปรับปรุงกันอยู่ดีดูจากผลทดสอบ

อนึ่ง สาเหตุที่คปภ. นำเกณฑ์ RBC ซึ่งเป็นเกณฑ์ดำรงเงินกองทุนตามหลักสากลมาใช้กับธุรกิจประกันภัยของไทยเนื่องจากวิธีการคำนวณเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมายในปัจจุบันที่กำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยต้องดำรงเงินกอง ทุนไม่น้อยกว่า 10% ของเบี้ยรับสุทธิในปีที่ผ่านมาหรือไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาทตลอดเวลาในการประกอบธุรกิจ ส่วนบริษัทประกันชีวิตต้องดำรงเงินกองทุนไม่น้อยกว่า 2% ของเงินสำรองหรือไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท

ไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงที่บริษัทประกันภัยเผชิญในการดำเนินธุรกิจรอบด้าน ดังนั้นตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิตพ.ศ.2535 (แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2551) และพระราชบัญญัติประกัน วินาศภัย พ.ศ.2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551) จึงได้กำหนดให้บริษัทประกันภัยต้องดำรงไว้ซึ่งเงินกองทุนตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจประกันภัยเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ หนี้สิน ภาระผูกพันหรือความ เสี่ยงตามอัตราที่คณะกรรมการคปภ.ประกาศกำหนด โดยคณะกรรมการคปภ.ต้องออกประกาศให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี หรือ ภายในเดือนมกราคม 2554 นับแต่วันที่ พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2551 มีผลใช้บังคับ

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 28, 2009 5:23 pm
โดย chaitorn
คุณ Miracle

[/quote]สหวัฒนาประกันภัยเปลี่ยนมือ กลุ่มอยู่เจริญ บิ๊กด้านอสังหาริมทรัพย์ ทุ่ม 260 ล้าน โดดเทกโอเวอร์

นายศราวุธ ภาสุวณิชยพงศ์ หนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัท สหวัฒนาประกันภัย เปิดเผยว่า ทางกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมได้ตัดสินใจขายหุ้นสัดส่วน 70% ให้กับนายวีระเดช รุ่งโรจนกุล ทายาทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อยู่เจริญ กรุ๊ป เป็นเงิน 260 ล้านบาท เนื่องจากผู้บริหารเดิมมีอายุมากแล้วและไม่มีผู้ที่จะสานกิจการต่อ จึงตัดสินใจขาย
โดยทางกลุ่มของนายวีระเดชจะซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายย่อยที่มีสัดส่วนเหลืออีก 30% ในราคาที่เหมาะสมต่อไป เพื่อถือหุ้นเต็ม 100% ในเร็วๆ นี้

นายศราวุธ กล่าวว่า ที่ผ่านมาบริษัทมีกำไรทุกปีเฉลี่ยปีละ 20% แม้จะเป็นบริษัทขนาดเล็ก แต่มีคุณภาพไม่เคยมีชื่อเสียงเสียหาย โดยทำธุรกิจมาตลอด 58 ปี ได้รับความน่าเชื่อถือจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด บริษัทมีสัดส่วนของเบี้ยประกันภัยรถยนต์ 70-80% เน้นรถบ้าน ไม่รับรถแท็กซี่ รถทัวร์

ด้านนายวีระเดช กล่าวว่า สนใจทำธุรกิจประกันภัยเพราะมองว่ามีศักยภาพ โดยนายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่และ ผู้บริหารระดับสูงบริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย ได้แนะนำให้เข้าซื้อบริษัท สหวัฒนาประกันภัย เพราะเป็นธุรกิจที่น่าเชื่อถือ

นายวีระเดช ยืนยันว่า นาย ธีระศักดิ์เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวให้ ไม่ได้ถือหุ้นในบริษัท สหวัฒนาประกันภัย และถือเป็นผู้บริหารมีประสบการณ์ในธุรกิจประกันภัยมาก่อน

ทั้งนี้ บริษัทได้เข้ามาอยู่ในอาคารของฟินิกซ์ประกันภัยหลังจากที่นายธีระศักดิ์ขายบริษัท ฟินิกซ์ แล้ว ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น อาคารจึง ว่างลง ขณะที่ระบบคอมพิวเตอร์ มีการวางไว้ดีเหมาะสำหรับธุรกิจประกันภัย

สำหรับแนวทางธุรกิจหลังจากนี้ จะเน้นการรับประกันภัยที่ไม่ใช่รถยนต์ เนื่องจากมีตัวแทนเชี่ยวชาญด้านประกันอิสรภาพ อุบัติเหตุส่วนบุคคล และประกันทรัพย์สินซึ่งความเสี่ยงต่ำ ส่วนประกันภัยรถยนต์จะเน้นประกันรถบ้านเป็นหลัก เพราะความเสี่ยงต่ำ ส่วนยอดขายนั้นคงต้องรอดูหลังจากปรับโครงสร้างเรียบร้อยแล้ว อีกระยะหนึ่ง

หลังจากนี้จะมีกรรมการที่มาจากส่วนของบริษัท สหวัฒนาประกันภัย 2 คน โดยนายศราวุธจะยังมีหุ้นในบริษัทอยู่แต่น้อยลง ส่วนนายวีระเดชจะมีตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริหาร

นอกจากนั้น จะเปลี่ยนชื่อเป็น วิกตอรี่ ประกันภัย (ประเทศไทย) และมีแผนจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ตามแผน 5 ปีของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ซึ่งจะทำให้มีความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูล

รายงานข่าวแจ้งว่า ฐานะการเงินของบริษัท สหวัฒนาประกันภัย เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2552 มีสินทรัพย์รวม 136 ล้านบาท มีเงินกองทุน 98.1 ล้านบาท ขณะที่รายได้ ในไตรมาส 3 รวม 29.8 ล้านบาท คิดเป็นผลดำเนินงานกำไร 3 ล้านบาท

บริษัทนี้ มีเงินกองทุน ไม่ถึง 100 ล้านบาท กำไรสุทธิประมาณปีละ 10 ล้านบาท

แต่ทำไมถึงซื้อขายสูงถึง 260 ล้านบาท ซึ่งได้ส่วนของผู้ถือหุ้นเพียง 70% ด้วย ไม่ใช่ได้ทั้งหมด

เท่ากับ ซื้อขายในราคาสูงกว่า Book ถึง 3 เท่ากว่า เกือบ 4 เท่าของ  Book ทีเดียว

ทำไมให้ราคาสูงขนาดนั้น

แต่ราคาบริษัทประกันภัยที่ขายในตลาด มันอยู่ต่ำกว่า book เป็นส่วนใหญ่ แถมบางตัวก็จ่ายปันผบสม่ำเสมอในอัตราที่ดีกว่าฝากเงินกับธนาคาร หรือถือพันธบัตรด้วย

ทำไมราคามันแตกต่างกันมากขนาดนั้นครับ

ใครพอจะวิเคราะห์ได้บ้างครับ

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 28, 2009 10:42 pm
โดย miracle
คุณchaitorn
กรณีของสหวัฒนาประกันภัย ผมเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ทำไมถึงขายราคานั้น

แล้วบริษัทนี้ก็ไม่ไ้ด้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เราเปลืองตัวไปตรวจสอบก็ไม่ใช่หน้าที่ของเรา เพราะ คปภ ตรวจสอบอยู่แล้ว

:)

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 29, 2009 7:39 am
โดย chaitorn
คุณ Miracle

ไม่ใช่ตรวจสอบว่ารายการถูกต้องหรือไม่ครับ

ผมลองคิดเล่น ๆ  ว่า

Book ประมาณ 98 ล้านบาท

แต่ซื้อขายมูลค่า Control บริษัทได้ (ถือหุ้น 70% ราคา 260 ล้านบาท

เท่ากับ ส่วนผู้ถือหุ้นประมาณ 70 ล้านบาท ขายได้ 260 ล้านบาท

ส่วนต่างประมาณ 190 ล้านบาท คืออะไรครับ

มี 2 ส่วนคือ ค่าใบอนุญาตการประกอบธุรกิจประกันภัย และค่าความนิยมที่เกิดจากการประกอบธุรกิจมานานกว่า 60 ปี

คราวนี้ ค่า Premium ตรงนี้ ถูกหรือแพง หรือไม่ อย่างน้อยเอามาใช้ประกอบการดูมูลค่าหุ้นประกันภัยได้ระดับหนึ่งครับ

คงไม่ใช่เรื่องไปตรวจสอบบัญชีครับ  :lol:

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 29, 2009 8:06 am
โดย chaitorn
ข่าวนี้เป็นข้อมูลของปีที่แล้ว ที่กองทุนญี่ปุ่นเข้าซื้อบริษัทประกันภัยนอกตลาด แต่เป็นบริษัทที่ขาดทุนจนเงินกองทุนไม่พอ จนอาจต้องถูกปิดกิจการไป

แต่บรีษัทญี่ปุ่นแห่งนี้ก็เข้าซื้อบริษัทประกันภัยดังกล่าว และเข้ามาช่วยเพิ่มทุนให้

สนนราคา ก็ประมาณ 200 ล้านบาทเหมือนกันครับ

ไม่รู้ว่าราคาใบอนุญาตมันแพงไปหรือเปล่า แต่ตามข่าวเขาก็ซื้อกันในราคาประมาณนี้ โดยเจ้าของเดิมต้องยอมขายสิทธิ์ในการควบคุมบริษัทด้วย จึงจะได้ราคาครับ แต่จะขายได้ราคาที่ดี พื้นฐาน ฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานต้องไม่แย่มากเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ด้วยครับ

เท่าที่คนที่ซื้อไป ปกติก็มักจะซื้อไปเสริมให้ธํรกิจในเครือด้วย เพราะต้องทำประกันภัยในธุรกิจใมเครือ และขนาดธุรกิจต้องไม่ใหญ่มากเกินไป ระดับสินทรัพย์ไม่เกิน 500 ล้านบาท เพราะ 2 รายที่เกิดขึ้น ขนาดประมาณนั้นครับ

http://www.thaipr.net/nc/readnews.aspx? ... B873843CFF

APF กรุ๊ป เปิดตัวธุรกิจประกันภัย วาดแผน 3 ปีแข็งแกร่งสู่ระดับสากล
วันที่ 20 สิงหาคม 2551 14:08 น.
พิมพ์ |  อีเมล์  
ที่มา เอพีเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล อินชัวร์รันส์  


         
         APF กรุ๊ป เปิดตัวธุรกิจประกันภัย ทุ่มกว่า 200 ล้านบาท เข้าซื้อกิจการประกันวินาศภัยจากกลุ่มดำเนินชาญวนิชย์ เผย หลังใส่เงินทุนจะทำให้บริษัทแข็งแกร่งยิ่งขึ้น วาดแผนภายใน 2-3 ปี เป็นองค์กรที่ได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ เตรียมใช้จุดเด่นของบริษัทในกลุ่มร่วมผลักดัน ก่อนนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดึง วรศักดิ์ จาก ลิเบอร์ตี้ นั่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริหาร หลังมีแนวทางการจัดการแบบโปร่งใสเหมือนกัน ด้านกรรมการผู้จัดการใหม่พร้อมเดินหน้าไตรมาส 4 ได้เห็นความเปลี่ยนแปลง เน้นทำกรมธรรม์ตรงไปตรงมา และไม่เข้าแข่งขันทางด้านราคา แต่จะเน้นการให้บริการที่เป็นเลิศ

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 29, 2009 6:09 pm
โดย chaitorn
งบการเงินของบริษัทประกันวินาศภัย ออกมาแล้ว

ขอทบทวนการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น เทียบกับ ผลตอบแทนรวม (มูลค่าหุ้นที่เพิ่มขึ้น บวก กับปันผลที่จ่ายในระหว่างปี 52) เป็นอย่างไรครับ

เริ่มจาก ราคาหุ้นปัจจุบันเทียบกับ ราคาหุ้นปลายปีที่ผ่านมา

ชื่อหุ้น ราคาปัจจุบัน ราคาหุ้น ปลายปี 51 % เปลี่ยนแปลง
BUI 12.5 11 13.64%
NKI 62.5 54 15.74%
INSURE 52 52 0.00%
TSI 7.05 10 -29.50%
SMK 76 60 26.67%
NSI 12.5 8.1 54.32%
CHARAN 54 63.5 -14.96%
TIC 8.65 8.1 6.79%
BKI 232 186 24.73%
SCSMG 28 26 7.69%
AYUD 15.1 10.7 41.12%
TVI 2.5 2 25.00%
THRE 5.2 4.9 6.12%
MTI 52.5 37 41.89%
TIP 13.7 12.1 13.22%
เฉลี่ย 15.50%

สรุปแล้ว จะเห็นได้ว่า ราคาหุ้นของบริษัทส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น เฉลี่ย 15.50% โดยสูงสุดคือ nsi 54.32% และต่ำสุดคือ TSi -29.50%

โดยราคาของหุ้นบริษัทที่ติดลบมี 2 บริษัท คือ TSI และ Charan

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 29, 2009 6:17 pm
โดย chaitorn
คราวนี้มาดูผลตอบแทนรวม (ปันผล บวก ส่วนต่างของการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นทางบัญชี)

เหตุผลที่ต้องนำมูลค่าหุ้นทางบัญชีมาดู เพราะบริษัทประกันภัยมีการลงทุนในหลักทรัพย์ที่บางส่วนสะท้อนที่งบกำไรขาดทุน และบางส่วนไปสะท้อนที่ส่วนของผู้ถือหุ้น ตรงส่วนของส่วนขาดหรือส่วนเกินมูลค่าหลักทรัพย์ทำให้งบกำไรขาดทุนอาจไม่สะท้อนผลตอบแทนจากกำไรสุทธิทั้งหมด

หุ้น Book ปลายปีที่แล้ว ปันผล ปี 52 Book Q3 มูลค่าที่เพิ่มขึ้น %มูลค่าที่เพิ่มขึ้น
BUI 26.03 0.7 27.34 28.04 7.72%
NKI 63.13 3.5 66.08 69.58 10.22%
INSURE 22.62 0 21.5 21.5 -4.95%
TSI 15.37 0.25 12.3 12.55 -18.35%
SMK 60.61 2.85 77.15 80 31.99%
NSI 39.59 0 47.33 47.33 19.55%
CHARAN 92.48 4 98.85 102.85 11.21%
TIC 20.73 0 21.36 21.36 3.04%
BKI 234.95 9.25 266 275.25 17.15%
SCSMG 17.46 0 17.6 17.6 0.80%
AYUD 21.05 0.85 21.67 22.52 6.98%
TVI 3.82 0 4.6 4.6 20.42%
THRE 1.76 0.36 1.94 2.3 30.68%
MTI 57.5 0 63.54 63.54 10.50%
TIP 11.39 1 12.2 13.2 15.89%
เฉลี่ย 10.86%

โดยสรุปค่าเฉลี่ยของทั้งหมด มีผลตอบแทนในช่วง 9 เดือน ทั้งปันผลและส่วนต่างของมูลค่าทางบัญชีรวม อยู่ที่ร้อยละ 10.86

Smk มีผลตอบแทนรวมที่สูงสุดใน 9 เดือน สูงถึง 31.99%
ต่ำสุดที่ติดลบคือ TSi ติดลบสูงถึง -18.35% สอดคล้องกับราคาหุ้นที่ปรับลดลงตามผลงานที่แย่ลงด้วย

โดยมี 2 ตัวที่มีผลงานติดลบ คือ TSI และ insure

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 29, 2009 6:26 pm
โดย chaitorn
คราวนี้ดูสรุปเปรียบเทียบกัน % ราคาราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลง กับ% มูลค่าผลตอบแทนที่เปลี่ยนแปลงรอบ 9 เดือนของปี 52

ชื่อหุ้น % ราคาที่เปลี่ยนแปลง  %มูลค่าผลตอบแทนรวมที่เปลี่ยนแปลง
BUI 13.64% 7.72%
NKI 15.74% 10.22%
INSURE 0.00% -4.95%
TSI -29.50% -18.35%
SMK 26.67% 31.99%
NSI 54.32% 19.55%
CHARAN -14.96% 11.21%
TIC 6.79% 3.04%
BKI 24.73% 17.15%
SCSMG 7.69% 0.80%
AYUD 41.12% 6.98%
TVI 25.00% 20.42%
THRE 6.12% 30.68%
MTI 41.89% 10.50%
TIP 13.22% 15.89%
15.50% 10.86%

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 29, 2009 8:34 pm
โดย chaitorn
คราวนี้ดูเปรียบเทียบผลตอบแทนรวม (มูลค่าหุ้นทางบัญชีที่เพิ่มขึ้น บวก ปันผล) ของเฉพาะ Q3 ดู

จะเห็นได้ว่า Port ของบริษัทที่ถือหุ้นสามัญอยู่มาก จะมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่สูงมากครับ

% ผลตอบแทนรวม Q3
bui 10.46%
nki 6.99%
insure 0.84%
tsi -3.45%
smk 6.77%
nsi 7.47%
charan 6.67%
tic 7.77%
bki 19.55%
scsmg 6.73%
ayud 3.40%
tvi 10.58%
thre 12.17%
mti 4.66%
tip 7.60%
เฉลี่ย 7.21%

ไตรมาส 3 ผลตอบแทนรวมของ BKI นำสุด ๆ กว่า 19.55% ในไตรมาสเดียว ลองลงมาคือ Thre ที่มีผลตอบแทนทุกไตรมาสที่สม่ำเสมอ ทั้งจากผลประกอบการกำไรจากธุรกิจประกันภัย และการลงทุนครับ

ผลตอบแทนเฉลี่ยของไตรมาสนี้จึงเฉลี่ยสูงถึง 7.21 และมีเพียงบริษัทประกันภัยแห่งเดียวที่ขาดทุนคือ TSI ครับ

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 29, 2009 8:53 pm
โดย chaitorn
โดยสรุปก็คือ

บริษัทประกันภัยที่มีผลการดำเนินงานที่ดี จากการรับประกันภัย และการลงทุน จะสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ โดยปีนี้ได้รับแรงบวกทั้ง 2 ด้าน ทำให้ผลตอบแทนโดยรวมจะค่อนข้างดีและสม่ำเสมอ

บริษัทประกันภัยที่มี Port ลงทุนในหุ้นสามัญค่อนข้างมาก และมีการรับรู้ในงบกำไรขาดทุนด้วย จะมีผลงานที่ผันผวน เช่น ในไตรมาส 1 บางแห่งอาจจะกระทบจนขาดทุน(มูลค่าทางบัญชีลดลง) Downside Risk จะสูงตาม แต่ในขณะเดียวกับเมื่อตลาดพลิกกลับ ดัชนีปรับตัวสูงมาก ก็จะส่งผลทำให้ผลการดำเนินงานพลิกกลับมีผลตอบแทนรวมที่สูงตามไปด้วย

บางบริษัทประกันภัย แม้จะมี Port ลงทุนในหุ้นสามัญค่อนข้างน้อย แต่พยายามหันมาเน้นการทำกำไรจากธุรกิจประกันภัย หากไม่เกิดภัยเสียหายใหญ่ หรือถูกเบี้ยวหนี้จากการทำประกันภัยต่อเป็นต้น บริษัทเหล่านี้ก็มีโอกาสพลิกกลับมาทำกำไรที่ค่อนข้างสูงได้เช่นกัน

บางบริษัทมีทั้ง Port การลงทุนในหุ้นสามัญที่สูง แต่ทำนองเดียวกัน ก็ระมัดระวังความเสี่ยงขาลงด้วย จึงมีการถือสินทรัพย์ที่เป็นเงินสดในสัดส่วนที่สูงตามด้วย โดยนำไปฝากประจำกับธนาคาร เป็นต้นในสัดส่วนที่สูงตามไปด้วย ทำให้ผลตอบแทนแม้จะไม่หวือหวา แต่ก็สร้างผลตอบแทนได้ในระดับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม และยังมีความมั่นคงที่สูง เพราะมีบางบริษัท เฉพาะเงินสดอย่างเดียวก็สูงเกินกว่ามูลค่าตลาดของหุ้นทั้งหมดในตลาดก็มี และแถมยังมีการจ่ายปันผลที่สม่ำเสมอด้วย

บางบริษัทยังมีอาการไม่ค่อยดีซึ่งเป็นผลจากการดำเนินงานในอดีต ปัจจุบันก็ยังไม่ค่อยจะพลิกฟื้นเท่าที่ควร ผลการดำเนินงานยังติดลบอยู่ แต่จะมีเป็นเพียงส่วนน้อย

บางบริษัทผลการดำเนินงานดีขึ้น แต่ยังล้างขาดทุนสะสมไม่หมด แม้กำไรมาก แต่ก็ยังไม่สามารถจ่ายปันผลได้ แถมผลดำเนินงานที่สะท้อนในกำไรขาดทุนประจำงวด ก็ยังลุ่ม ๆ ดอน ๆ กำไรไม่สม่ำเสมอเท่าที่ควรครับ

ก็สรุปเป็นภาพรวม ๆ นะครับ :lol:

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 29, 2009 9:03 pm
โดย Skyforever
ขอบคุณพี่ Miracle และ พี่ Chaitorn นะครับ ที่ขยันมาให้ข้อมูลให้พวกเราได้ทราบ

อยากถามหน่อยครับว่าธุรกิจประกันชีวิตนั้น การทำประกันผ่านทางตัวแทน กับการทำประกันผ่าน Bankassurance สามารถฟันธงลงไปได้มั้ยครับว่าอะไรจะมีต้นทุนการดำเนินงานสูงกว่าเพราะอะไร หรือว่าขึ้นกับแนวทางบริหารแต่ละธนาคาร

ขอบคุณครับ

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 30, 2009 10:27 pm
โดย miracle
[quote="chaitorn"]คุณ Miracle

ไม่ใช่ตรวจสอบว่ารายการถูกต้องหรือไม่ครับ

ผมลองคิดเล่น ๆ

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 02, 2009 6:32 am
โดย chaitorn
Skyforever
อยากถามหน่อยครับว่าธุรกิจประกันชีวิตนั้น การทำประกันผ่านทางตัวแทน กับการทำประกันผ่าน Bankassurance สามารถฟันธงลงไปได้มั้ยครับว่าอะไรจะมีต้นทุนการดำเนินงานสูงกว่าเอยากถามหน่อยครับว่าธุรกิจประกันชีวิตนั้น การทำประกันผ่านทางตัวแทน กับการทำประกันผ่าน Bankassurance สามารถฟันธงลงไปได้มั้ยครับว่าอะไรจะมีต้นทุนการดำเนินงานสูงกว่าเพราะอะไร หรือว่าขึ้นกับแนวทางบริหารแต่ละธนาคาร พราะอะไร หรือว่าขึ้นกับแนวทางบริหารแต่ละธนาคาร
ต้นทุนของการทำประกันภัยและประกันชีวิตที่สำคัญมี 3 ตัวคือ
1.  loss ratio หรือต้นทุนความเสียหายที่เกิดจากการรับประกันภัยที่มีความเสี่ยงในระดับที่แตกต่างกัน

2.  ต้นทุนค่าบำเหน้จและผลตอบแทน หรือ commission ratio ขึ้นอยู่กับแบบประกันต่าง ๆ

3.  ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน Expense Ratiio

ดังนั้น การเปรียบเทียบต้นทุนการดำเนินงานของช่องทางการจำหน่ายนั้น จึงน่าจะขึ้นกับแนวทางการบริหารงานด้วย

ถ้าเป้นแบบประกันภัยที่เจาะ mass เข้าใจง่าย ๆ ไม่ต้องเสียเวลาอธิบายมาก การเข้าช่องทางแบบ อยากถามหน่อยครับว่าธุรกิจประกันชีวิตนั้น การทำประกันผ่านทางตัวแทน กับการทำประกันผ่าน Bankassurance น่าจะได้เปรียบในเชิงต้นทุนดำเนินงาน

แต่ถ้าเป้นแบบประกันที่ซับซ้อน ขายได้ค่อนข้างยาก ควรจะผ่านตัวแทนมากกว่า เพราะต้องทำการ customize ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย ซึ่งอาจไม่ได้ต้องการประกันชีวิตอย่างเดียว ต้องการประกันสุขภาพ อุบัติเหตุ ความคุ้มครองประกันรายได้จากการเข้าโรงพยาบาล และความคุ้มครองอื่น ๆ ครับ

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 02, 2009 6:34 am
โดย chaitorn
ถ้าเป้นแบบประกันภัยที่เจาะ mass เข้าใจง่าย ๆ ไม่ต้องเสียเวลาอธิบายมาก การเข้าช่องทางแบบ อยากถามหน่อยครับว่าธุรกิจประกันชีวิตนั้น การทำประกันผ่านทางตัวแทน กับการทำประกันผ่าน Bankassurance น่าจะได้เปรียบในเชิงต้นทุนดำเนินงาน
ขอแก้ไขข้อความใหม่เป้น

ถ้าเป้นแบบประกันภัยที่เจาะ mass เข้าใจง่าย ๆ ไม่ต้องเสียเวลาอธิบายมาก การเข้าช่องทางแบบ Bankassurance น่าจะได้เปรียบในเชิงต้นทุนดำเนินงาน ครับ

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 02, 2009 6:50 am
โดย chaitorn
มาเจาะเรื่องโครงสร้างของ Float หรือเงินที่สามารถดำไปลงทุนในรูปแบบต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะฝากประจำ ตั่วเงิน ลงทุนในหุ้น หน่วยลงทุน หรือปล่อยกู้ครับ

มาดูโครงสร้างแต่ละแห่งกันครับ

% เงินสด % stock % อื่น ๆ
BUI 39.35% 55.08% 5.57%
NKI 7.66% 20.33% 72.01%
INSURE 72.79% 6.12% 21.09%
TSI 7.48% 8.09% 84.43%
SMK 26.12% 6.52% 67.35%
NSI 26.86% 1.87% 71.27%
CHARAN 62.92% 31.55% 5.53%
TIC 55.44% 13.35% 31.21%
BKI 6.61% 64.77% 28.62%
SCSMG 12.69% 0.33% 86.97%
AYUD 10.84% 16.49% 72.67%
TVI 26.33% 18.10% 55.57%
THRE 14.23% 21.36% 64.41%
MTI 25.28% 13.09% 61.64%
TIP 19.48% 12.17% 68.34%

โครงสร้างการลงทุนนี้ ตัวปัญหาที่เราต้องไปแกะเพิ่มคือ พวกหน่วยลงทุนทั้งหลาย ในงบไม่ได้จำแนกไว้ชัดเจน จะอยู่ในส่วนของอื่น ๆ ครับ

โครงสร้างของเงินลงทุนใน Float มีผลกับผลตอบแทนที่แตกต่างกัน

พวกที่ลงทุนในเงินฝากประจำมาก จะได้ผลตอบแทนที่น้อย แต่ความผันผวนก็จะน้อยตามไปด้วย

พวกที่ลงทุนในหุ้น จะได้ผลตอบแทนที่สูง แต่ก็มีความผันผวนต่อความเสี่ยงการขาดทุนที่สูงตามไปด้วย

พวกลงทุนพันธบัตร หรือหุ้นกู้ ก็จะได้ผลตอบแทนที่เป็น Fixed income แต่จะมีความเสี่ยงขาดทุน หากดอกเบี้ยปรับตัวเป้นขาขึ้นได้ เว้นแต่จะลงทุนระยะยาวจนครบกำหนด ก็จะได้ผลตอบแทนที่คงที่ไปตลอดครับ

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 02, 2009 7:00 am
โดย chaitorn
นอกจากโครงสร้างการลงทุนของ Float แล้ว เรื่องปริมาณเงินที่ลงทุนที่เกิดจากการรับประกันภัยที่มาก ก็มีผลกับผลตอบแทนรวมที่เกิดขึ้น

มาดูเปรียบเทียบปริมาณของ Float(เงินลงทุนทั้งหมดที่ไปหาผลประโยชน์)  และโครงสร้างที่กล่าวถึงข้างต้น กับ ผลตอบแทนรวม( การเปลี่ยนแปลงมูลค่าของ Book และการปันผล เทียบกับ Book ปลายปีที่ผ่านมา) โดยผลตอบแทนรวมส่วนหนึ่งก็มาจากการรับประกันภัยด้วยนะครับ

น่าสนใจทีเดียวครับ

ปริมาณเงินลงทุน ล้านบาท % ผลตอบแทนการลงทุนรวม 9 เดือน ปี 52

BUI 429 7.72%
NKI 2,695 10.22%
INSURE 452 -4.95%
TSI 474 -18.35%
SMK 5,711 31.99%
NSI 1,305 19.55%
CHARAN 641 11.21%
TIC 930 3.04%
BKI 16,847 17.15%
SCSMG 2,845 0.80%
AYUD 6,227 6.98%
TVI 1,537 20.42%
THRE 3,789 30.68%
MTI 4,428 10.50%
TIP 7,524 15.89%

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 02, 2009 8:03 am
โดย Skyforever
chaitorn เขียน:Skyforever
ต้นทุนของการทำประกันภัยและประกันชีวิตที่สำคัญมี 3 ตัวคือ
1.

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 03, 2009 7:14 am
โดย chaitorn
ใครสนใจข้อมูลการเติบโตในอดีตของธุรกิจประกันภัย

เปรียบเทียบกับโอกาสการเติบโตเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน

วิธีการประเมินประสิทธิภาพของบริษัทประกันภัย

หาอ่านได้จากเอกสารการสัมมนาเมื่อเร็ว ๆ นี้ครับ

ลอง Download เอกสารไปอ่านดูนะครับ น่าสนใจมากๆ ครับ และเป็นข้อมูลที่ค่อนข้าง Update ด้วยครับ

State of Play of Thailand Non-Life Insurance Industry

ตามที่สมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย (SOAT) และสำนักงานอัตราเบี้ยประกันวินาศภัย (IPRB) ได้ร่วมกันจัด Non-Life Insurance Forum ประจำปี 2009 ขึ้น ใน Theme Preparing for the Sea Change เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ในประเด็นซึ่งเป็นที่สนใจร่วมกันของธุรกิจประกันวินาศภัยในปัจจุบัน

Mr. Andrew Leung, Chief Actuary ของ IPRB ได้ร่วมนำเสนอในหัวข้อ State of Play of Thailand Non-Life Insurance Industry ในการประชุมดังกล่าวด้วย  

http://www.iprbthai.org/new/articles/ar ... icleID=404

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 03, 2009 11:12 am
โดย miracle
พี่chaitorn ขยันจังเลยล่ะครับ
หาข้อมูลดีๆๆมาให้เป็นประจำครับ

อ่านแล้วอึ้งว่า 10 บริษัท ครอบครองส่วนแบ่งประมาณ 50%

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 03, 2009 12:52 pm
โดย miracle
เอไอเอเดินหน้าแผนกระจายหุ้นตลาดเอเชีย


วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552
เอไอจี กรุ๊ป เดินหน้าแยกเอไอเอเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจ นำธุรกิจประกันชีวิตในเอเชียเข้าตลาดหุ้น
บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล กรุ๊ป อิงค์ (เอไอจี) เปิดเผยว่า ขณะนี้เอไอจีสามารถบรรลุข้อตกลงกับธนาคารกลางสหรัฐแห่งนครนิวยอร์ก (ธนาคารกลางสหรัฐ) ในการดำเนินการนำหุ้นของบริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ (เอไอเอ) ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทธุรกิจประกันชีวิตในภูมิภาคเอเชียเข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป แต่ต้องขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดทุน และการอนุมัติจากหน่วยงานที่กำกับดูแล ตามที่ได้ประกาศไปก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ เอไอจีได้โอนหุ้นเอไอเอที่ถืออยู่ไปยังนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle) เพื่อแลกเปลี่ยนกับหุ้นในนิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าว โดยธนาคารกลางสหรัฐจะได้รับหุ้นบุริมสิทธิของนิติบุคคลเฉพาะกิจเอไอเอ ในขณะที่เอไอจีจะยังคงถือหุ้นสามัญทั้งหมดในนิติบุคคลเฉพาะกิจเอไอเอ

ความสำเร็จในการดำเนินการครั้งนี้ เป็นก้าวสำคัญอีกขั้นหนึ่งในการกำหนดจุดยืนใหม่ทางธุรกิจของบริษัท และการแยกเอไอเอออกเป็นอิสระ รวมทั้งยังเสริมให้แบรนด์ เอไอเอในตลาดต่างๆ แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ซึ่งเอไอเอเป็นบริษัทประกันชีวิตที่ดำเนินธุรกิจในภูมิภาคเอเชียมาเป็นเวลานาน ความสำเร็จในการดำเนินการครั้งนี้จะช่วยเสริมให้บริษัทมีความพร้อมที่จะขยายธุรกิจให้เติบโตยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย นายมาร์ค วิลสัน ประธานกลุ่มเอไอเอ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของบริษัท เอไอจี ประกันวินาศภัย (ประเทศไทย) นั้น ขณะนี้ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้เปลี่ยนชื่อ ใหม่เป็น บริษัท ชาร์ทิส (CHARTIS) ประกันภัย (ประเทศไทย) ตามบริษัทแม่ในสหรัฐที่ได้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจ ทั้งในส่วนของประกันวินาศภัยและประกันชีวิต ไปก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่ง ชาร์ทิส นั้นเป็นภาษากรีก มีความหมายถึงเข็มทิศ


http://www.posttoday.com/finance.php?id=78974

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 03, 2009 12:53 pm
โดย miracle
คปภ.ยืดเปิดเสรีประกันอาเซียน


วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552
คปภ. ขอเลื่อนเปิดเสรีประกันภัยระดับอาเซียนออกไปอีก 10 ปี ขอเวลาจัดระเบียบฐานะ
น.ส.วสุมดี วสีนนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและพัฒนาระบบการกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า การเปิดเสรีภาคการเงินระดับอาเซียนในปีค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ทางคปภ.ขอสงวนภาคธุรกิจประกันภัยจะไม่เปิดเสรีในปีดังกล่าว แต่จะขอเปิดในปีค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) หรือในอีก 10 ปีข้างหน้า แต่ภาคการเงินอื่นๆ จะเปิดพร้อมกันในปีค.ศ. 2015
อย่างไรก็ตาม แม้ภาคธุรกิจประกันภัยจะยังไม่เปิดเสรี แต่ผลจากการเปิดเสรีของภาคการเงินจะกระทบกับธุรกิจประกันภัยในเรื่องของเงินทุนเคลื่อนย้าย โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่เงินทุนจะเกิดการเคลื่อนย้าย

น.ส.วสุมดี กล่าวว่า ขณะนี้ทางคปภ.กำลังเตรียมความพร้อมให้กับบริษัทประกันภัยเพื่อมุ่งสู่การเปิดเสรี โดยจะทำการปรับปรุงแผนการพัฒนาประกันภัยใหม่จากฉบับที่ 1 ปี 2549-2554 จะปรับให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาตลาดทุน และแผนพัฒนาตลาดเงิน 5 ปี ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในปี 2553-2557 ซึ่งจะร่วมกันกับภาคธุรกิจประกันภัยในการสร้างความมั่นคงทางด้านฐานะการเงิน การบริหารงานที่โปร่งใส การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้ทันกับมาตรฐานสากล

นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า การเลื่อนเปิดเสรีประกันภัยอาเซียนออกไปจากปีค.ศ. 2015 เป็นปีค.ศ. 2020 ถือเป็นเรื่องที่ไม่ได้เสียหาย เพราะจะต้องดูภาพรวมให้ครบถ้วน ซึ่งธุรกิจประกันภัยไทยจะต้องมีความพร้อมทั้งระบบ สิ่งที่น่ากลัวจากการเปิดเสรีประกันภัย คือ การที่เปิดให้บริษัทประกันภัยต่างชาติเข้ามาขายประกันในประเทศไทยได้

ในแง่ของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต ที่ผมเป็นผู้บริหารอยู่ พร้อมที่จะแข่งขัน แต่ต้องให้ความเป็นธรรมกับบริษัทอื่นๆ ด้วย นายสาระ กล่าว

นายนพดล สันติภากรณ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทประกันภัยไทยอยู่ระหว่างการจัดระเบียบและปรับพื้นฐานหลายอย่าง จึงยังไม่ควรเปิดเสรีพร้อมกับภาคการเงินอื่นๆ ซึ่งการเปิดเสรีประกันภัยสิ่งแรกที่ต้องมี คือ ฐานะการเงินของบริษัทประกันจะต้องแข็งแกร่ง มีขนาดเงินกองทุนที่เพียงพอ ถึงจะทำให้กลไกการแข่งขันเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์

เราเห็นตัวอย่างของประเทศญี่ปุ่นที่ว่าเขาแข็งแกร่งแล้วก่อนเปิดเสรี แต่พอเปิดปั๊บหลายบริษัทอยู่ไม่ได้ และหลายบริษัทต้องรวมตัวกัน จากที่เคยมี 30-40 บริษัท ตอนนี้เหลือเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น นาย นพดล กล่าว


http://www.posttoday.com/finance.php?id=78971

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 03, 2009 12:53 pm
โดย miracle
2ประกันเร่งปรับบริการเน้นเร็ว


วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ธนชาตประกันภัย เปิดชำระเงินผ่านบัตรทางมือถือ ด้านเอซ เปิดศูนย์บริการครบวงจร
นายพีระพัฒน์ เมฆสิงห์วี รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนชาตประกันภัย เปิดเผยว่า บริษัทเป็นเจ้าแรกของวงการประกันภัยที่เพิ่มช่องทางการให้บริการชำระค่าเบี้ยประกันภัยผ่านบัตรเครดิตทางโทรศัพท์มือถือ เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าทุกระดับให้สามารถชำระค่าเบี้ยได้ง่ายๆ และสะดวกสบายที่สุด โดยยืนยันว่ามีความปลอดภัยสูง เพราะได้นำระบบที่มีการป้องกันจากการขโมยข้อมูลสูงมาใช้
ลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัททุกช่องทางและทุกประเภท สามารถชำระค่าเบี้ยประกันภัยผ่านระบบนี้ได้ มีโทรศัพท์มือถือก็สามารถจ่ายเบี้ยประกันภัยได้ทุกที่ ทุกเวลา ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมากนายพีระพัฒน์ กล่าว

นายพีระพัฒน์ กล่าวว่า สามารถใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือทุกระบบที่ต่อจีพีอาร์เอส และในการให้บริการบัตรเครดิตของทุกธนาคารที่เป็นวีซ่าและมาสเตอร์การ์ด

นายเบน อาสนะเสน ประธานฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ กล่าวว่า บริษัทได้เปิดศูนย์ดูแลลูกค้าแบบครบวงจร ณ จุดให้บริการ เพียงจุดเดียวแห่งแรกที่ชั้น 1 อาคารสินธร ลูกค้าสามารถสอบถามข้อมูลกรมธรรม์ประกันภัยทั่วไป การตรวจรับเอกสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกรมธรรม์ กู้เงินกรมธรรม์ เวนคืนกรมธรรม์ และการต่ออายุกรมธรรม์ การตรวจรับเอกสารเพื่อการเรียกร้องสินไหมต่างๆ การออกหนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันภัยเพื่อประโยชน์ทางภาษี การจ่ายเช็คผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกัน ตลอดจนให้คำปรึกษาผลิตภัณฑ์ของบริษัท


http://www.posttoday.com/finance.php?id=78970

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 03, 2009 10:11 pm
โดย chaitorn
คุณ miracle
พี่chaitorn ขยันจังเลยล่ะครับ
หาข้อมูลดีๆๆมาให้เป็นประจำครับ

อ่านแล้วอึ้งว่า 10 บริษัท ครอบครองส่วนแบ่งประมาณ 50%
ขอบคุณสำหรับคำชมครับ

การเป็นนักลงทุนนี่ งานที่สำคัญอย่างยิ่ง ก็คือ การติดตามผลการดำเนินงานว่าเป็นอย่างไร เพื่อประเมินผลตอบแทนว่ายังเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่

พอค้นไปเรื่อย ๆ ก็สนุกดีครับ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ครับ

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 03, 2009 10:15 pm
โดย chaitorn
ความน่าสนใจของประกันภัยในช่วงนี้ ก็คือ บริษัทประกันภัยเพิ่งประสบกับปัญหาในปีที่ผ่านมา ในส่วนของการบริหารเงินลงทุน

ทำให้ราคาปรับตัวลดลงมาก และปรับตัวลงแบบเหลือเชื่อว่าทำไม ราคาจึงตกต่ำลงเป็นประวัติการณ์แบบนี้

เดี่ยวจะนำข้อมูลมาให้ดูครับ

ผมว่าราคาตกต่ำจนเจ้าของน่าจะแทบร้องไห้ หลายตัวเลยครับ

market cap (ล้านบาท) Float ล้านบาท Cash ล้านบาท
BUI 250.00 428.93 168.79
NKI 1,875.00 2,695.04 206.44
INSURE 520.00 451.97 329.00
TSI 218.73 474.43 35.48
SMK 1,520.00 5,710.76 1,491.74
NSI 173.75 1,305.20 350.60
CHARAN 325.50 640.66 403.09
TIC 164.35 929.54 515.36
BKI 12,015.90 16,847.47 1,113.71
SCSMG 2,499.48 2,844.95 361.16
AYUD 3,775.00 6,226.85 675.28
TVI 378.75 1,537.13 404.71
THRE 6,174.25 3,788.71 539.02
MTI 3,038.50 4,428.23 1,119.26
TIP 4,200.00 7,524.46 1,466.00

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 03, 2009 10:29 pm
โดย chaitorn
จากข้อมูลที่ผมลองเก็บข้อมูลดิบมา

คราวนี้มาประมวลข้อมูล เป็น Ratio โดยเน้น Ratio ที่เป็นลักษณะพิเศษ ของธุรกิจประกันภัยก็คือ

โมเดลของธุรกิจนี้ จะมีการเก็บค่าเบี้ยประกันเป็นเงินสดก่อนการคุ้มครอง ซึ่ง ค่าเบี้ยประกันภัยที่เก็บมาก่อนนี้ หากนำไปลงทุนก้จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุน ส่วนนี้หละที่บัฟเฟทพูดถึง ก็คือ Float ของเงินลงทุนที่ได้มาจากค่าเบี้ยประกันภัยดังกล่าว

ดังนั้น หนี้สินของประกันภัยจึงเป็นหนี้สินที่ดี ที่ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยจ่ายเหมือนกับการระดมเงินฝากของธนาคาร

ดังนั้น ความสามารถของการหาเบี้ยประกันจำนวนมากซึ่งไม่ต้องเสียต้นทุนดอกเบี้ยจ่าย จึงเป็นความสามารถหลักที่สำคัญของธูรกิจมหัศจรรย์โมเดลหนึ่งของโลกซึ่งมีการประกอบการเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากธุรกิจหนึ่ง และเป็นธุรกิจหลักที่บัฟเฟทใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างเงินเพื่อการลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ จำนวนมากครับ

การนำ Float มาหารกับ Market Cap  จะทำให้เรารู้ว่า เราลงทุน 1 บาท จะสามารถสร้าง Float ของเงินลงทุนที่มากกว่า 1 บาทเป็นกี่เท่า ยิ่งมากเท่าเท่าไร ก็จะทำให้มีโอกาสนำเงิน Float ไปหาผลตอบแทนได้มากเท่านั้นครับ

จากตารางจะพบว่า หลาย ๆ บริษัทประกันมีสัดส่วนตรงนี้สูงกว่า 1 เท่าจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ

อย่างไรก็ตาม การมี Float ที่สูง ก็ต้องคู่กับวิธีการนำเงิน Float ไปลงทุนหาผลตอบแทนที่สูงด้วย หากทำได้ ก็จะ Leverage ผลตอบแทนที่สูงมากตามไปด้วยครับ

Float ต่อ market Cap
BUI 1.72
NKI 1.44
INSURE 0.87
TSI 2.17
SMK 3.76
NSI 7.51
CHARAN 1.97
TIC 5.66
BKI 1.40
SCSMG 1.14
AYUD 1.65
TVI 4.06
THRE 0.61
MTI 1.46
TIP 1.79

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 03, 2009 10:40 pm
โดย chaitorn
การนำเงิน Float ไปลงทุนนั้น ก็มีความเสี่ยงในเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุน หากนำไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากเกินไป เช่น ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเมื่อปีที่แล้ว

ดังนั้น ความสมดุลย์ของ ผลตอบแทนและความเสี่ยง ก็ยังเป็นของคู่กัน เพราะเงิน Float ก็ตามมาด้วยภาระผูกพันธ์จากการบริหารรับประกันภัย กล่าวคือ ความเสี่ยงในเรื่องของความคุ้มครองในอนาคต ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายการเครมประกันภัย และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมาในอนาคตด้วย

จึงต้องมีสินทรัพย์ที่ดำรงสภาพคล่องไว้ในระดับที่พอควร

การสร้างความสมดุลย์ดังกล่าว จะสะท้อนจาก เงินกองทุนที่เพียงพอจะลองรับความเสี่ยง

เงินกองทุนที่สำคัญ ก็คือ กองทุนที่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้เร็ว เช่น เงินฝากธนาคาร เป็นต้น

มาดู Ratio นี้ของบริษัทประกันภัยกันครับ

หลาย ๆ ตัวขณะนี้ เมื่อนำเงินสดมาเทียบกับ market Cap แล้ว มี Ratio ที่มากกว่า 1 เท่า

หมายความว่า ซื้อทั้งบริษัทในราคาตาม Market Cap จะได้สินทรัพย์ที่เป็นเงินสดมากกว่า Market Cap เป็นกี่เท่าจากข้อมูลที่จะนำเสนอต่อไปครับ

นั้นหมายถึงว่า กรณีเกิดเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงเข้ามา บริษัทประกันภัยดังกล่าวยังมีเงินสำรองเพื่อลองรับความเสี่ยงดังกล่าวได้มากน้อยเพียงใดครับ และเป็นเงินสดที่สามารถนำมาใช้ได้เลยอีกด้วย

การดูตรงนี้เพื่อดูว่า บริษัท Conservative คู่กับ การบริหารผลตอบแทนอย่างไร

ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้บริษัทประกันภัยบางแห่ง สามารถที่จ่ายปันผลได้ต่อเนื่องทุกปี โดยไม่มีปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากมีการบริหารงานที่ระมัดระวังสูง ท่ามกลางความผันผวนของธุรกิจ



Cash ต่อ market Cap
BUI 0.68
NKI 0.11
INSURE 0.63
TSI 0.16
SMK 0.98
NSI 2.02
CHARAN 1.24
TIC 3.14
BKI 0.09
SCSMG 0.14
AYUD 0.18
TVI 1.07
THRE 0.09
MTI 0.37
TIP 0.35