หน้า 2 จากทั้งหมด 2
ใครสนใจอัตราส่วนทางการเงินจากงบกระแสเงินสดบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 05, 2008 4:01 pm
โดย กระบี่อยู่ที่ใจ
chatchai เขียน:อัตราส่วนกระแสเงินสดต่อยอดขาย = กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน / ยอดขาย
เป็นตัววัดสัดส่วนของยอดขายที่สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นเงินสดจากการดำเนินงาน
อัตราส่วนนี้ ทำไมเราถึงไม่ใช้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษี ครับคุณฉัตรชัย
ใครสนใจอัตราส่วนทางการเงินจากงบกระแสเงินสดบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 05, 2008 4:40 pm
โดย chatchai
เพราะเราต้องการจำนวนเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานจริงๆ เปรียบเทียบกับ รายรับ ครับ
ดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ เป็นรายจ่ายที่เป็นเงินสดครับ
ขอบคุณครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 18, 2008 7:13 pm
โดย mac69
ผมเพิ่งเริ่มศึกษา ได้ข้อมูลดีๆเพิ่มอีกแล้ว ขอบคุณพี่ chatchai ครับ
ใครสนใจอัตราส่วนทางการเงินจากงบกระแสเงินสดบ้างครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 22, 2008 9:26 am
โดย sattaya
chatchai เขียน:
ลูกหนี้การค้า * 360 / ยอดขายทั้งปี
สินค้าคงคลัง * 360 / ต้นทุนขายทั้งปี
เจ้าหนี้การค้า * 360 / ต้นทุนขายทั้งปี
ผมเห็นหนังสือบางเล่มคำนวณระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ยใช้
(ลูกหนี้ต้นปี+ปลายปี) * 360 / (ยอดขายทั้งปี * 2)
ส่วนระยะเวลาขายกับชำระหนี้ก็ใช้ต้นปี+ปลายปี
ค่าที่คำนวณได้ต่างกันอยู่ อยากถามพี่ฉัตรชัยว่า ความหมายของค่าที่ได้จากสูตรทั้ง 2 คือความหมายเดียวกันหรือเปล่าครับ
ใครสนใจอัตราส่วนทางการเงินจากงบกระแสเงินสดบ้างครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 22, 2008 9:40 am
โดย chatchai
ขอบคุณ คุณ sattaya ที่ช่วยแก้ไขให้
สูตรที่ถูกต้อง ต้องเป็นค่าเฉลี่ยของต้นงวดและปลายงวดครับ
จำง่ายๆก็คือ ถ้าสูตรไหนใช้ข้อมูลจากงบดุลเปรียบเทียบกับงบกำไรขาดทุน ข้อมูลจากงบดุลก็ควรที่จะใช้ค่าเฉลี่ยต้นงวดและปลายงวดครับ
เพราะตัวเลขที่ได้จากงบกำไรขาดทุนเป็นผลการดำเนินงานทั้งปี แต่ตัวเลขในงบดุลเป็นค่า ณ.เวลาใดเวลาหนึ่ง เราจึงควรที่จะเฉลี่ยต้นงวดและปลายงวดครับ
ใครสนใจอัตราส่วนทางการเงินจากงบกระแสเงินสดบ้างครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 28, 2008 6:09 pm
โดย ...
chatchai เขียน:จำง่ายๆก็คือ ถ้าสูตรไหนใช้ข้อมูลจากงบดุลเปรียบเทียบกับงบกำไรขาดทุน ข้อมูลจากงบดุลก็ควรที่จะใช้ค่าเฉลี่ยต้นงวดและปลายงวดครับ
เพราะตัวเลขที่ได้จากงบกำไรขาดทุนเป็นผลการดำเนินงานทั้งปี แต่ตัวเลขในงบดุลเป็นค่า ณ.เวลาใดเวลาหนึ่ง เราจึงควรที่จะเฉลี่ยต้นงวดและปลายงวดครับ
ชัดเจนเลยครับ
ใครสนใจอัตราส่วนทางการเงินจากงบกระแสเงินสดบ้างครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 05, 2008 3:58 pm
โดย wara
พี่ฉัตรชัยครับ
พอดีไปย้อนอ่านกระทู้ ของ WG เรื่อง ความเพียงพอของเงินทุนต่อการเพิ่มขึ้นของยอดขาย
"หลายบริษัทที่ดำเนินธุรกิจตัวแทนจำหน่าย มักมีปัญหาเรื่องความเพียงพอของเงินทุน เพื่อรองรับการเติบโตของยอดขาย
ลองมาดูของ WG บ้าง
ถ้าเราพิจารณาจาก ระยะเวลาในการจัดเก็บเงิน ประมาณที่ 89.19 วัน
ระยะเวลาเก็บสินค้าคงคลังที่ 82.20 วัน
ระยะเวลาชำระหนี้ที่ 64.86 วัน
อัตราการเติบโตของยอดขาย 10% ต่อปี
สัดส่วนต้นทุนขาย 80%
ยอดขายย้อนหลัง 12 เดือน บริษัทมียอดขายประมาณ 937 ล้านบาท
ปีหน้าโต 10% เพิ่มขึ้นเป็น 1,030 ล้านบาท
ลูกหนี้การค้าเฉลี่ยจะเท่ากับ (1,030/365)*89.19 = 252 ล้านบาท
ลูกหนี้การค้าตอนสิ้น กย. 50 = (252*2)-240 = 264 ล้านบาท
ดังนั้นบริษัทต้องลงทุนเพิ่ม = 264 - 240 = 24 ล้านบาท
สินค้าคงคลังเฉลี่ยเท่ากับ (824/365)*82.20 = 186 ล้านบาท
สินค้าคงคลังตอนสิ้น กย.50 = (186*2)-170 = 202 ล้านบาท
ดังนั้นบริษัทต้องลงทุนเพิ่ม = 202 - 170 = 32 ล้านบาท
เจ้าหนี้การค้าเฉลี่ยเท่ากับ (824/365)*64.86 = 146 ล้านบาท
เจ้าหนี้การค้าตอนสิ้น กย.50 = (146*2)-120 = 172 ล้านบาท
ดังนั้นบริษัทจะมีเจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น = 172 - 120 = 52 ล้านบาท
สรุปบริษัทจำเป็นต้องลงทุนใน Working Capital เพิ่มจำนวน 24 + 32 - 52 = 4 ล้านบาท
ขอย้ำว่า เป็นการประมาณการตามเงื่อนไขข้างต้นนะครับ"
สงสัยครับ ที่ เดิมมียอดขาย 937 ล้าน ต้นทุนการขาย 80 %
คาดว่าปีถัดไปจะโตขึ้น 10 % เป็น 1030 ล้านบาท
ถ้าเราคิด ว่าต้องใช้เงินลงทุนเพิ่ม (1030-937) * 0.8 = 74.4 ล้านบาท
มันก็จะไม่เท่ากับที่พี่คิด ที่ 4 ล้านบาท
ซึ่งจริงๆ ผมก็ว่าวิธีคิดของผม ไม่ถูกเนื่องจาก ไม่ได้คิดส่วนของ ลูกหนี้ เจ้าหนี้
แต่สงสัยว่า เงินที่ต้องลงทุนเพิ่มขึ้น อย่างน้อยทีสุดมันน่าจะรองรับต้นทุนการขายที่เพิ่มได้ ((1030-937) *0.8)
และ เห็นตัวเลขมันค่อนข้างต่างกันมาก ก็เลยสงสัยครับ
ขอความกรุณาชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณครับ
ใครสนใจอัตราส่วนทางการเงินจากงบกระแสเงินสดบ้างครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 05, 2008 4:22 pm
โดย chatchai
ยอดขายปีละ 1000 ล้านบาท ต้นทุนขาย 800 ล้านบาท เงินลงทุนก็คงไม่ใช่ 800 ล้านบาทครับ
เนื่องจากเวลาการทำธุรกิจซื้อขายจริง จะมีการหมุนเงินกันหลายรอบ ซึ่งจะกี่ได้กี่รอบก็ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาการเก็บเงินจากลูกค้า ระยะเวลาในการเก็บสินค้าคงคลัง และระยะเวลาการชำระเงิน
ดังเช่นธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ๆ ซึ่งเป็นแบบซื้อเชื่อขายสด ระยะเวลาเก็บหนี้สั้นเพราะรับเงินสดหรือบัตรเครดิต ระยะเก็บสินค้าคงคลังก็น้อย แต่จ่ายเงินให้ Supplier นานหลายเดือน ก็สามารถนำเงินมาหมุนได้ฟรีๆ ยิ่งขายมากก็ยิ่งได้เงินมาหมุนใช้มาก
ใครสนใจอัตราส่วนทางการเงินจากงบกระแสเงินสดบ้างครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 05, 2008 8:41 pm
โดย wara
ขอบคุณครับ
ใครสนใจอัตราส่วนทางการเงินจากงบกระแสเงินสดบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 06, 2008 3:10 pm
โดย wara
พี่ฉัตรชัยครับ กรณีที่บริษัทขยายกำลังการผลิต
บริษัทต้องมีเงินมาลงทุนเพิ่ม ในส่วนของ
1.โรงงานใหม่
2.working capital
โดยเงินที่จะนำมาใช้อาจมาได้ 3 ทาง
1.จากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน
2.เงินสดที่มีอยู่เดิม
3.กู้เงิน
4.เพิ่มทุน
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าบริษัทจะมีเงินลงทุน โดยใช้เงินสดเดิม + กระแสเงินสดจากการดำเนินงานเพียงพอ โดยไม่ต้องใช้ เงินกู้ หรือ เพิ่มทุน ครับ
(ผมไม่ได้เรียนบํญชีมา คำถามผมอาจสับสนน่ะครับ อย่างไรก็ขออภัยไว้ก่อน)
ใครสนใจอัตราส่วนทางการเงินจากงบกระแสเงินสดบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 06, 2008 4:28 pm
โดย chatchai
คำตอบเดียวครับ เราต้องประมาณการงบการเงินครับ
เหมือนเวลาจะทำโครงการใหม่ หรือว่าขอเรื่องกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน เราก็ต้องทำประมาณการเงินสดล่วงหน้าครับ จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย
ใครสนใจอัตราส่วนทางการเงินจากงบกระแสเงินสดบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 06, 2008 6:56 pm
โดย wara
พี่ครับ ช่วยยกตัวอย่างได้ไหมครับ ยังไม่ค่อยเข้าใจ
ใครสนใจอัตราส่วนทางการเงินจากงบกระแสเงินสดบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 06, 2008 9:48 pm
โดย chatchai
เราต้องตั้งสมมุติฐานต่างๆ เช่น การเติบโตของยอดขาย
Re: ใครสนใจอัตราส่วนทางการเงินจากงบกระแสเงินสดบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 27, 2013 12:45 am
โดย kongkiti
ขุดมาให้อ่านกันครับ
Re: ใครสนใจอัตราส่วนทางการเงินจากงบกระแสเงินสดบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 27, 2013 8:53 am
โดย tigerroad197
kongkiti เขียน:ขุดมาให้อ่านกันครับ
ขอบคุณ คุณฉัตรชัย สำหรับความรู้ และ ขอบคุณ คุณ kongkit ที่ขุดมาให้อ่านครับ
Re: ใครสนใจอัตราส่วนทางการเงินจากงบกระแสเงินสดบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 21, 2022 5:33 am
โดย RnD-VI
ขอขุดมาอ่านอีกครั้งครับ