กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 31

โพสต์

วาณิชธนกิจบูมรับกระแสM&A บริษัทหลักทรัพย์งัดจุดแข็งชิงลูกค้า
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พุธที่ 2 พฤษภาคม 2555 11:02:00 น.

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัดประเมินแนวโน้มธุรกิจวาณิชธนกิจว่าภายใต้สภาพแวดล้อมเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วโดยเฉพาะการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศต่างๆทำให้วัฏจักรการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนไทย (Business Cycle) มีรอบที่สั้นลงทั้งในระยะที่ผ่านมา และในอนาคต? คาดว่าจะเป็นแรงหนุนสำคัญสำหรับธุรกรรมการควบรวมและซื้อกิจการ (Merge and Acquisition : M&A) ระหว่างธุรกิจไทย-ไทย และไทย-เทศ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในระยะปานกลางถึงยาว

ธุรกิจที่ได้รับอานิสงหนีไม่พ้นตัวกลางทางการเงินที่ทำหน้าที่ปรับปรุงโครงสร้างทางการเงินและแต่งองค์กรใหม่ให้กับธุรกิจเหล่านั้น? ซึ่งได้แก่ ธุรกิจวาณิชธนกิจ (Investment Banking) ของบริษัทหลักทรัพย์(บล.)ที่ครอบคลุมบทบาทการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor) และการเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter)

ส่งผลให้จุดสนใจของธุรกิจวาณิชธนกิจจะอยู่ที่ธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน มากกว่าการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์เห็นได้จากการที่ส่วนแบ่งรายได้ธุรกิจวาณิชธนกิจใน 5 ปีที่ผ่านมา มาจากที่ปรึกษาทางการเงินที่เฉลี่ยแล้วสูงกว่าเกือบ 70% ต่อรายได้จากธุรกิจวาณิชธนกิจรวม รวมทั้งรายได้จากธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงินเติบโตเฉลี่ย (CAGR) ประมาณ 8% ต่อปี เทียบกับรายได้จากการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่หดตัว 7.9% ซึ่งส่วนหนึ่งอาจสะท้อนภาวะตลาดทุนไทยในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ที่ค่อนข้างซบเซาและผันผวน หลังจากเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2551

ขณะที่กิจการไทยมีการควบรวมกิจการ/ซื้อกิจการ (M&A) มากขึ้น โดยจะเห็นจากมูลค่าการทำธุรกรรม M&A ของกิจการไทยที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาที่มากกว่า 4 เท่าตัว (จากมูลค่าธุรกรรม 3,125 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2551 มาเป็น 13,280 ล้านบาทในปีพ.ศ. 2554)

อย่างไรก็ดี ความสามารถของบริษัทหลักทรัพย์แต่ละรายในการเกาะกระแสธุรกิจดังกล่าว แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นกับจุดเด่นและจุดแข็งที่ปรากฏต่อสายตาลูกค้า อาทิ พันธมิตรทางธุรกิจ/เครือข่ายของบริษัทแม่ในต่างประเทศ ความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าและทางการ? ความโดดเด่นของประวัติและผลการทำดีล M&A ในอดีต รวมทั้งการมีความสัมพันธ์และการยอมรับจากนักลงทุนสถาบัน? ซึ่งแน่นอนว่า บริษัทหลักทรัพย์ใดที่สามารถชูและเสริมจุดแข็งต่างๆ ดังกล่าว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการตอบโจทย์ของกิจการไทยได้มากกว่า ก็ย่อมจะได้ครอบครองส่วนแบ่งตลาดและโอกาสทางธุรกิจที่เหนือกว่าอันจะนำมาซึ่งความสามารถในการแข่งขันและการสร้างสมดุลด้านรายได้อย่างยั่งยืนในอนาคต
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 32

โพสต์

คอลัมน์: ประเด็นร้อน
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Friday, June 08, 2012


ประเด็นร้อนวันนี้ ยังคงเป็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

1.จับตาวาระร้อนการประชุมรัฐสภาวันนี้เริ่มเวลา 09.30 น. โดยนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาจะแจ้งให้ที่ประชุมร่วม สส.-สว. รับทราบคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ที่ขอให้รัฐสภาชะลอการลงมติให้ความเห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 วาระสามออกไปก่อน

ฝ่ายรัฐบาล โดยพรรคเพื่อไทยเตรียมขุนพลถล่มศาลรัฐธรรมนูญไม่ยั้งว่าใช้อำนาจมิชอบ ออกคำสั่งที่ละเมิดกฎหมาย ก้าวล่วงฝ่ายนิติบัญญัติ ขณะที่ฝ่ายค้านและ สว.สรรหา ในฐานะผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญก็คงจะปกป้องการทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ ที่ต้องจับตาคือ ท่าทีของนายสมศักดิ์ ที่น่าชัดเจนว่า จะถามความเห็นจากที่ประชุมเพื่อลงมติว่าจะให้รัฐสภาเดินหน้าเพื่อลงมติวาระสามหรือไม่ หากเห็นด้วย ก็อาจนัดประชุมรัฐสภาในวันที่ 12 มิ.ย.ต่อไป

2.ยังอยู่ที่เรื่องร้อนอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ กลุ่มสยามสามัคคีเตรียมจัดงานเสวนา เรื่อง"คัดค้านการล้มศาลรัฐธรรมนูญ ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง" ณ เวทีลีลาศ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการเปิดเวทีเชิงอบรมให้ความรู้ถึงพิษภัยหากผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 รวมถึงพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ.... ทั้ง 4 ฉบับ

3.เวลา 09.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้ นัดชี้ชะตาคดี "ราเกซ สักเสนาฉายา พ่อมดการเงิน อดีตที่ปรึกษาธนาคารบีบีซี หรือกรุงเทพฯ พาณิชย์การในคดียักยอกทรัพย์บีบีซี เมื่อปี2538 ซึ่งเป็นสำนวนแรกที่อัยการขอศาลสั่งให้จำเลยชดใช้เงินจำนวน 1,657 ล้านบาทสำหรับคดีนี้ถือเป็นคดีสำคัญที่นายราเกซได้ถูกส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนจากประเทศแคนาดากลับมาดำเนินคดี หลังจากที่หลบหนีไปยังต่างประเทศกว่า 20 ปี

4.หลังจากรัฐบาลไทยอนุญาตให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาใช้ฐานทัพสนามบินอู่ตะเภาเพื่อเปิดเป็นศูนย์บรรเทาสาธารณภัยและมนุษยธรรม โดยเวลา 09.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาลเครือข่ายกลุ่มสยามสามัคคีจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทบทวนการพิจารณาว่าเหมาะสมหรือในการใช้ผืนแผ่นดินไทยในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีนัยซ่อนเร้น

5.นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะเป็นประธานพิธีลงนามความร่วมมือ สพฐ.จับมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ให้ 8 มหาวิทยาลัยดังทั่วประเทศรับเด็กดี มีคุณธรรม เข้าเรียนต่อโดยไม่ต้องสอบในโครงการเด็กดีมีที่เรียน ที่ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร สพฐ. 4 กระทรวงศึกษาธิการ

6.เวลา 10.30 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สายตรงผ่านระบบการประชุมทางไกลวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ กำชับนโยบายและติดตามความคืบหน้าในการจ่ายเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบน้ำท่วมและความคืบหน้าโครงการป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัย ก่อนที่นายกรัฐมนตรีพร้อมรัฐมนตรีจะลงพื้นที่กวดขันงานด้วยตัวเอง หรือทัวร์ลุ่มน้ำ ระหว่างวันที่ 11-15 มิ.ย.นี้ ไล่บี้หน้างานตั้งแต่ จ.พระนครศรีอยุธยาไปถึง จ.ตาก

7.นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ ประชุมร่วมกับผู้ส่งออกใน7 ภาคอุตสาหกรรมและการเกษตร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)และสภาผู้ขนส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย เพื่อรับฟังสถานการณ์และข้อเสนอแนะของภาคเอกชนเพื่อร่วมมือกันในการผลักดันการส่งออกทั้งปี 2555 ให้ขยายตัวได้ตามเป้าหมาย 15% หรือมูลค่า 2.63 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

8.วันนี้ กระทรวงพลังงานจะเสนอแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย หรือพีดีพี 2010 ปรับปรุงครั้งที่ 3 ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) อนุมัติ

9.นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติห้อง 501 ตึกบัญชาการ 1 เพื่อพิจารณาอีกครั้งว่าจะปล่อยให้ราคาพลังงานถูกลงตามราคาในตลาดโลก หรือจะเลือกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน

10.สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จัดเสวนา "M&A กลยุทธ์การเติบโตแบบก้าวกระโดดของบริษัทจดทะเบียน" โดยมีผู้บริหารเบอร์ 1 ของบริษัทใหญ่ติดอันดับต้นๆ ของประเทศไทย มาบอกเล่าประสบการณ์การควบรวมกิจการที่มีหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการปรับตัวขององค์กรและความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญก่อนที่จะประสบความสำเร็จ ทั้งจากบริษัท ปตท.บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย บริษัท บ้านปูบริษัท เอสวีไอ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ (โรงพยาบาลกรุงเทพ) รวมถึงที่ปรึกษาทางการเงินและนักกฎหมายชื่อดัง ซึ่งนักธุรกิจทุกระดับควรที่จะเข้าไปฟังข้อมูลเหล่านี้ เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการปรับตัวและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี

m--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 33

โพสต์

UMI โตทางลัดขยันซื้อกิจการ [ โพสต์ทูเดย์, 15 มิ.ย. 55 ]

"สหโมเสคฯ" ทุ่ม 500 ล้านบาท อาสาฟื้นฟูกิจการ TTC-RCI ดันกำลังผลิตกระเบื้องพุ่ง 70%
ดันกำลังผลิตกระเบื้องพุ่ง 70% ต้นทุนลด

นายสุทิน ยุทธนาวราภรณ์ ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท สหโมเสค อุตสาหกรรม (UMI)
เปิดเผยว่า บริษัท อยู่ระหว่างรอการพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง เพื่อขอเข้าไปบริหารแผนฟื้นฟูกิจการ
บริษัท ที.ที.เซรามิค (TTC) โดยหากศาลเห็นชอบ TTC จะเพิ่มทุนจดทะเบียน 500 ล้านหุ้น จำหน่ายให้กับ
UMI จำนวน 400 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 1 บาท ที่เหลืออีก 100 ล้านหุ้น จะจัดสรรให้กับเจ้าหนี้ผ่านการ
แปลงหนี้สินเป็นทุน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 34

โพสต์

SST ซื้อลิขสิทธิ์ไอศกรีมบาสกิ้น [ โพสต์ทูเดย์, 22 มิ.ย. 55 ]

"ทรัพย์ศรีไทย" ส่ง "มัดแมน" บริษัทย่อยซื้อไอศกรีม บาสกิ้น รอบบิ้นส์ กินรวบ 17 สาขาทั่วไทย
นายสัมฤทธิ์ ตันติดิลกกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรัพย์ศรีไทย (SST) เปิดเผยว่า บริษัท มัดแมน
ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ SST ถือหุ้น 100% ประกอบธุรกิจโฮสดิงส์ ได้ซื้อทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการ
จำหน่ายไอศกรีมแบรนด์ บาสกิ้น รอบบิ้นส์ (Baskin Robbins) แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยทั้งหมด
จากบริษัท บิ๊ก สคู๊ป (Big Scoop) ซึ่งมี 17 สาขาในประเทศไทย
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 35

โพสต์

ภาพข่าว: บันทึกสังคม: เสวนา "M&A"
Source - ไทยโพสต์ (Th), Thursday, June 28, 2012

ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ และ ชาลี จันทนยิ่งยง รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้การต้อนรับผู้บริหารระดับสูงจากแวดวงตลาดทุนและบริษัทจดทะเบียน ที่ร่วมให้มุมมองเกี่ยวกับการควบรวมกิจการ ในงานเสวนา "M&A กลยุทธ์การเติบโตแบบก้าวกระโดดของบริษัทจดทะเบียน" อาทิ บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธาน-คณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และ ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน เมื่อวันก่อน

--จบ--
แนบไฟล์

"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 36

โพสต์

"ปูนใหญ่" เปิดแผนลงทุน 5 ปี เพิ่มสัดส่วน ตปท.เป็น 50% ลุยควบรวมกิจการ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 กรกฎาคม 2555 17:13 น


"เอสซีจี" เปิดแผนลงทุน 5 ปี เพิ่มสัดส่วน ตปท. จากเดิม 20% เป็น 50% พร้อมขยายเม็ดเงิน 1.5-2.0 แสนล้าน ยอมรับ ปัญหาหนี้ "ยุโรป" กระทบ "ศก.โลก" ต้องลงทุนแบบระมัดระวัง แต่ถือเป็นโอกาสช็อปของถูก โดยเน้นเข้าไปถือหุ้นแบบ M&A เพราะขยายธุรกิจได้เร็ว ส่วนตลาดอาเซียนยังเป็นเป้าหมายหลัก

นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCG) เปิดเผยแผนการลงทุนใน 5 ปี (2555-2559) วงเงินลงทุนประมาณ 1.5-2.0 แสนล้านบาท โดยเอสซีจีจะเน้นลงทุนต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งจะเพิ่มสัดส่วนลงทุนต่างประเทศเป็น 50% จากปัจจุบันมีสัดส่วนแค่ 20% ที่เหลือเป็นการลงทุนในประเทศ ซึ่งจะเน้นการลงทุนในอาเซียนเป็นหลัก

“การลงทุนจะเน้นในอาเซียนเป็นหลัก เพราะมีทิศทางการขยายตัวที่ดีหลังจากรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน (เออีซี) เป็นตลาดเดียวในปี 2558 ซึ่งมีประชากรกว่า 600 ล้านคน การขยายการลงทุนจะเน้นเรื่องการทำ M&A ควบรวมกิจการในรูปแบบการซื้อหุ้นเป็นหลักมากกว่ารูปแบบกรีนด์ฟิลด์ หรือลงทุนเองทั้งหมด จะทำให้การขยายกิจการเป็นไปอย่างรวดเร็ว”

นายกานต์ เปิดเผยในระหว่างการเข้าพบคณะกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ และให้ความเห็นว่า ปัญหาหนี้ยุโรปส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ดังนั้นจะต้องลงทุนด้วยความระมัดระวัง แต่ในขณะเดียวกัน ก็นับเป็นโอกาสเพราะการเข้าซื้อหุ้นเพื่อควบรวมกิจการอาจจะได้ราคาถูกลง โดยการขยายการลงทุนจะพิจารณาทั้ง 3 ธุรกิจหลัก คือ ปิโตรเคมี , ปูนซีเมนต์-วัสดุก่อสร้าง และกระดาษ ซึ่งในขณะนี้มีการเจรจาหลายกิจการแต่ไม่ขอเปิดเผย ซึ่งแต่ละกิจการที่จะลงทุนอยู่บนเป้าหมายจะมีผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 15%

สำหรับการลงทุนในอาเซียนปัจจุบันของเอสซีจี มีการค้าขาย-ลงทุนทุกประเทศมีสินทรัพย์ในอาเซียนยกเว้นไทย 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 54,000 ล้านบาท คิดเป็น 14% จากสินทรัพย์ของเอสซีจีทั้งหมด 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 360,000 ล้านบาท มีพนักงานในอาเซียน ประมาณ 10,000 คน นอกเหนือจากในไทยที่มีประมาณ 28,000 คน โดยการลงทุนสูงสุดนอกไทยในอาเซียน วงเงินสูงสุดอยู่ในอินโดนีเซีย ประมาณ 970 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อันดับรองลงมา คือ เวียดนาม ประมาณ 380 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ส่วนการลงทุนในพม่าซึ่งกำลังเปิดประเทศนั้น นายกานต์ กล่าวว่า กำลังพิจารณาแผนการลงทุนโรงงานปูนซีเมนต์ กำลังผลิต 1.8-1.9 ล้านตันต่อปี เพื่อตอบสนองการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นสูงมากในพม่า โดยที่ผ่านมาบริษัทได้ส่งออกปูนซีเมนต์ ไปพม่าจากโรงงานทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในอัตราเติบโตสูงขึ้นตลอด โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มียอดขายรวม 3 ล้านตัน โดยในปีที่ 2554 มียอดขายสูงถึง 1.7 ล้านตัน นอกจากนี้ ปูนใหญ่ ยังพร้อมพิจารณาการลงทุนเพิ่มเติมในพม่า หลังจากพม่ามีการประกาศปฏิรูปทุกด้านสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น จนต่างชาติทยอยยกเลิกการคว่ำบาตร

“เรามีโอกาสมากในอาเซียนซึ่งจะเป็นตลาดใหญ่ในอนาคตเราสร้างแบรนด์จนเป็นที่ยอมรับในทุกประเทศ นอกจากทำการค้าการลงทุนแล้วเรายังเข้าไปช่วยด้านสังคมในทุกประเทศที่เข้าไปลงทุน เพื่อให้ก้าวไปด้วยกัน เช่น โครงการทุนการศึกษาแก่เด็กในอาเซียน “แชร์ริ่งเดอะดรีม” จำนวน 5 พันทุน เป็นต้น”
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 37

โพสต์

'ไทยเบฟ' เตรียมซื้อหุ้น Fraser and Neave [ ทันหุ้น, 23 ก.ค. 55 ]

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ("ไทยเบฟ" หรือ "กลุ่มบริษัท) ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย
เครื่องดื่มรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้ประกาศว่าไทยเบฟได้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย 3 สัญญา เพื่อซื้อหุ้น
สามัญจำนวน 313,036,775 หุ้น ของบริษัท Fraser and Neave Limited ("F&N") ซึ่งเป็นบริษัทจด
ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ จาก Oversea-Chinese Banking Corporation Limited
("OCBC") Great Eastern Holdings Limited ("GEH") และ Lee Rubber Company (Pte)
Limited ("Lee Rubber") โดยไทยเบฟได้กำหนดให้อินเตอร์เนชั่นแนล เบฟเวอเรจ โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด
หรือบริษัท อื่นในกลุ่ม เป็นผู้ซื้อเปิดแผนลงทุน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 38

โพสต์

"ไฮเนเก้น"รุกกลับ หลังเสนอซื้อหุ้น F&N แข่งไทยเบฟฯ [ ทันหุ้น, 20 กรกฏาคม 2555 ]


บริษัทไฮเนเก้นได้เสนอซื้อหุ้นบริษัทเอเชีย แปซิฟิก บริวเวอรีส์ (APB) เป็นเงินมูลค่า 5.1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (4.1 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐ) โดยเสนอที่จะซื้อหุ้นบริษัทเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ (F&N) และหุ้นสามัญ อื่นๆที่ทางบริษัทไม่ได้เป็นเจ้าของ ขณะที่บริษัทในเครือของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ (TBEV)ได้แข่งขันเพื่อเสนอ ซื้อหุ้นดังกล่าว

ไฮเนเก้นแถลงว่า ทางบริษัทจะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์สำหรับหุ้น ทั้งหมดของ APB ที่ไฮเนเก้นไม่ได้ถือครองในราคาหุ้นละ 50 ดอลลาร์สิงคโปร์

นอกจากนี้ ไฮเนเก้นยังได้เสนอเงิน 163 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อซื้อธุรกิจของ F&N ในสินทรัพย์ที่ไม่ใช่เป็นของ APB ที่ถือครองโดยบริษัท เอเชีย แปซิฟิค อินเวสเมนต์ ไพรเวท ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนในสัดส่วน 50:50 ระหว่างไฮเนเก้น และ F&N

ข้อเสนอดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่เมื่อวันพุธที่ผ่านมา บริษัทในเครือ ของนายเจริญตกลงที่จะจ่ายเงิน 3.8 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (3.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อซื้อหุ้น F&N จากโอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้ง คอร์ป (OCBC) ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่อันดับ 2 ของสิงคโปร์

เรื่องนี้ได้สร้างแรงกดดันให้ไฮเนเก้นต้องปกป้องการลงทุนใน APB ผู้ผลิตไทเกอร์เบียร์ เครดิต สวิส และซิตี้กรุ๊ปเป็นที่ปรึกษาของไฮเนเก้นในการทำ ธุรกรรมครั้งนี้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 39

โพสต์

เบอร์ลี่ยุคเกอร์กินรวบ2กิจการธุรกิจเวียดนามดีลจบไตรมาส3กำไรไตรมาส2ลดลงจากต้นปี [ โพสต์ทูเดย์, 24 ก.ค. 55 ]

BJC เตรียมสรุปแผนซื้อกิจการ 2 รายการในไตรมาส 3 นี้ ส่วนกำไรจากการดำเนินงานไตรมาส 2
ชะลอตัว ยันทั้งปีรายได้โตเข้าเป้า 15%

นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (BJC) เปิดเผยถึง
ความคืบหน้าของแผนการซื้อกิจการ 2 รายการ ว่า น่าจะได้ข้อสรุปและสามารถเปิดเผยในรายละเอียดได้
ในช่วงไตรมาส 3 นี้ ซึ่งจะแบ่งเป็นในประเทศ 1 รายการ และต่างประเทศ 1 รายการ โดยจะเป็น
ธุรกิจเกี่ยวกับการกระจายสินค้าในประเทศเวียดนาม
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 40

โพสต์

FLURRY OF THAI OVERSEAS ACQUISITIONS WILL RAISE FOREX VOLATILITY, BOT WARNS PTTEP, ThaiBev making huge bids for foreign firms, tending to weaken baht, while inflows exert counter-pressure
Source - The Nation (Eng), Tuesday, July 24, 2012
THE NATION, BLOOMBERG



Thai companies massive over-seas shipping spree will increase volatility in the foreign-exchange market, the Bank of Thailand said yesterday.

"Overseas investment is influencing the dollar-baht exchange rate by weakening the baht. This is a good sign, as this counter-flow will lead to a balaced movement, allowing the baht not to be too strong or too weak. This will increase volatility but there is no sign of worries now," Assistant Governor Pongpen Ruengvirayudh said.

Attributing the corporate hunt for assets abroad to higher wages at home and free-trade agreements, Pongpen said the outflows, though raising volatility, were offsetting the inflows, mostly into the bond and equity markets.

Recently PTT Exploration and Production bid US$ 1.9 billion (about Bt60 billion) for Cove Energy in the UK and Thai Beverage offered $ 2.2 billion for Fraser & Neave in Singapore.

Pongpen said that if PTTEP had prepared some US dollars for payment, this would not severely affect the baht. ON the ThaiBev deal, she said it was big but not done yet.

Two people close to the deal said ThaiBev was in talks with three banks to help provide financing for its purchase.

HSBC Holdings, Standard Chartered and Sumitomo Mitsui Financial Group’s lending unit areworking on a bridge loan to support the transaction, the people said, asking not to be identified because the details are private. A bridge facility is a short-term loan used until a company secures permanent financing.

ThaiBev would finance the entire transaction through the loan, one of the people siad. The company had $108 million in cash and near-cash items as of March 31, data compiled by Bloomberg show. Terence Foo, a Singapore-based spokesman for ThaiBev at public relations firm Kreab Gavin Anderson, declined to comment on the financing. Shares of ThiBev fell 2.7 per cent to 35.5 Singapore cents at 2.06 pm. Asia Pacific Breweries jumped as much as 18 per cent to S$49.50 before trading at S$48.70, while Fraser and Neave gained 4.5 per cent to S$7.93.

Heineken, the world’s third-largest brewer, last week offered $6 billion to acquire full control of Asia Pacific Breweries.

Pongpen said that if PTTEP had prepared some US dollars for payment, this would not severely affect the baht. On the ThaiBev deal, she said it was big but not done yet.



Source: The Nation
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 41

โพสต์

มติครม.ยกเว้นภาษีควบรวมกิจการ
Tuesday, 24 July 2012 20:07 songkiet


คณะรัฐมนตรีมีมติวันนี้ ให้ยกเว้นภาษีกรเงินได้ สำหรับผู้ประกอบการที่ได้ผลประโยชน์จากการควบรวมกิจการ และยกเว้นภาษีให้กับผู้ถือหุ้นของกิจการที่ได้รับผลประโยชน์จากการควบรวมกิจการ เพื่อการพัฒนาตลาดทุน
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้(24 ก.ค. 55) ครม.ได้เห็นชอบมาตรการภาษีและค่าธรรมเนียมการควบรวมกิจการและการแลกหุ้น เพื่อสนับสนุนต่อการควบรวมกิจการให้สามารถดำเนินการได้สะดวกมากขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนาตลาดทุนไทย โดยครอบคลุมในส่วนกฎหมาย 2 ฉบับ อันได้แก่ ร่าง พรก. ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบกิจการได้จากการควบรวมหรือโอนกิจการ (เฉพาะที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน และมีการโอนหุ้นในรอบระยะบัญชีเดียวกันกับการควบรวมกิจการ) และร่างกฎกระทรวงที่ยกเว้นผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการควบรวม หรือโอนกิจการ ให้ไม่ต้องนำมารวมเพื่อคำนวณภาษีเงินได้

สาระสำคัญของร่างกฎหมายคือ

1.ร่างพระราชกฤษีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการกำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท สำหรับผลประโยชน์ที่ได้รับจากการที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นบริษัทควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน โดยโอนหุ้นเพื่อแลกกับหุ้นในบริษัทอันได้ควบเข้ากันหรือบริษัทผู้รับโอนกิจการทั้งหมด ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน และการโอนหุ้นที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับการควบรวมเข้ากันหรือการโอนกิจการทั้งหมด

2.ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. .....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุนไทย กรณีการควบรวมกิจการและการแลกหุ้น) เป็นการกำหนดให้ผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นบริษัทควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน โดยโอนหุ้นเพื่อแลกกับหุ้นในบริษัทใหม่อันได้ควบเข้ากันหรือบริษัทผู้รับโอนกิจการทั้งหมด ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนและการโอนหุ้นที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับการควบเข้ากันหรือการโอนกิจการทั้งหมด เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มาตรการดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้กระแสการควบรวม/โอนกิจการในไทยเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับธุรกิจไทยในระยะกลางถึงยาว ท่ามกลางกระแสการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดนภายในภูมิภาคที่ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะจากการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ขณะเดียวกัน ก็คงช่วยเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้กับตลาดทุนไทยอีกทางหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีต่อนักลงทุนในประเทศแล้ว ก็ยังคาดว่าจะช่วยดึงดูดเม็ดเงินลงทุนต่างชาติอันจะส่งเสริมให้ขนาดมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ฯ ขยายใหญ่ขึ้นในระยะยาว สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย

ทั้งนี้ ในช่วงปี 2553-2554 ไทยมีมูลค่าธุรกรรมควบรวม/โอนกิจการกว่า 13,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2551-2552 ที่มีมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท ส่วนครึ่งปีแรกของปี 2555 มีมูลค่าธุรกรรมกว่า 1.2 แสนล้านบาท โดยเฉพาะจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน ซึ่งจากมูลค่าธุรกรรม 1.2 แสนล้านบาทนั้น มีธุรกรรมที่เสร็จสิ้นกระบวนการแล้วประมาณ 5 หมื่นล้านบาท (จำนวน 26 ดีลจาก 76 ดีล โดยเป็นข้อมูลจาก Bloomberg) ขณะที่ เมื่อร่างกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้จริง ก็น่าจะมีส่วนสนับสนุนให้เห็นการเติบโตของปริมาณการทำธุรกรรมที่ชัดเจนขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 42

โพสต์

Case Study : เทคโอเวอร์ Takeover TTA
Last Updated on Monday, 30 May 2011 04:38


วิธีการเข้าเทคโอเวอร์ TTA ของ ‘เตชะอุบล Family’ ถ้ายึดโมเดล ‘บล.แอ๊ดคินซัน-บมจ.ดราก้อนวัน’ นับเป็นความเสี่ยงที่ ‘ได้’ อาจไม่คุ้ม ‘เสีย’

ยังไม่ทันหงายไพ่ “เผด็จศึก” แค่แง้มหน้าไพ่ วิจิตร สุพินิจ ประธานกรรมการ ก.ล.ต.คนปัจจุบัน อดีตประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วัย 70 ปี ก็เอาเกียรติยศชื่อเสียงที่สร้างมาทั้งชีวิตมาวาง “เดิมพัน” กับเกมที่ “ได้” ไม่คุ้ม “เสีย”

วีระ มานะคงตรีชีพ อดีตซีอีโอ บงล.ซิทก้า 1 ใน 56 ไฟแนนซ์ที่ถูกแบงก์ชาติสั่งปิดกิจการ เป็นผู้บริหารหนุ่มที่มีความสามารถสูงน่ายกย่องคนหนึ่ง แต่ชีวิตในอดีตเคยผิดพลาดกู้ยืมเงินโดยรับซื้อลดตั๋วแลกเงิน โดยไม่เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติ และให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทในเครือโดยไม่วิเคราะห์ฐานะทางการเงินและไม่มีการเรียกหลักประกัน เป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหายเป็นเงิน 415.70 ล้านบาท เหตุเกิดระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2538
วันนี้ วีระ มีอายุครบ 54 ปียังมีเวลาสร้างบารมีอีกยาวไกล ที่ผ่านมาก็ผันตัวเองมาเป็นคอลัมนิสต์ นสพ.ไทยโพสต์ “คอลัมน์กระจกหักมุม” กำลังสร้างชื่อเสียงเตรียมกลับมาอย่างเต็มภาคภูมิ แต่เขาก็พลาดอีกครั้งเดินเกมทะเล่อทะล่าหวังหักด้ามพร้าด้วยเข่า เป็นการเดินเกมที่ “ได้” ไม่คุ้ม “เสีย”

บี เตชะอุบล บุตรชายคนโต “เสี่ยไมค์” สดาวุธ เตชะอุบล ประธานกรรมการบริหาร บล.คันทรี่ กรุ๊ป เป็นผู้บริหารหนุ่มที่เก่งและอนาคตไกล บีถูกพ่อตั้งความหวังให้กลับมาสร้างอาณาจักรหมื่นล้าน “คันทรี่ กรุ๊ป” ที่เคยล้มไปเมื่อครั้งวิกฤติปี 2540 เด็กหนุ่มคนนี้จึงมีความทะเยอทะยานและเก็บเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ไว้ในใจตลอดเวลา รอวันเวลาที่จะกลับมาสร้างความภาคภูมิใจให้กับครอบครัวในฐานะ “ลูกชายคนโต”

บี พลาดที่เข้าไปพัวพันกับหุ้น IEC ที่หวังสร้างความร่ำรวยให้อย่างรวดเร็ว เขาถูก ก.ล.ต.กล่าวโทษพบหลักฐานที่เชื่อได้ว่าเมื่อปี 2549 บีซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หรือเบียดบังเอาทรัพย์สินของ IEC ไปเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่น โดยให้ IEC ทำสัญญาขอใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จากบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งน่าเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับบี เป็นเหตุให้ IEC ต้องชำระเงินให้แก่บริษัทดังกล่าว 60.5 ล้านบาท โดยที่ IEC ไม่ได้รับประโยชน์

ผลพวงจากคดีทำให้บี ต้องลาออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) กรรมการบริหาร และกรรมการ บล.คันทรี่ กรุ๊ป ทุกตำแหน่งมีผลตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2553 กลายเป็น “ส้มหล่น” ของ ประสิทธิ์ ศรีสุวรรณ นอกจากนี้ยังทำให้เกมเทคโอเวอร์ บลจ.เอ็มเอฟซี (MFC) ที่เตชะอุบล Family ต้องการเข้าไป “ฮุบ” (แบบไม่เป็นมิตร) ก็ไม่เป็นไปตามแผน สรุปว่าก็เป็นการเดินเกมที่ “ได้” ไม่คุ้ม “เสีย”

บทสรุปที่ใครหลายคนอาจจะ “ลืม” ไปก็คือ วัฒนธรรมแบบ “พี่ไทย” ต่างจากฝรั่งอย่างสิ้นเชิงเรามีความโอบอ้อมอารีช่วยเหลือผู้ที่ “ถูกรังแก” และมองผู้ที่รังแกคนอื่นเป็น “มาร” ถ้าผู้ถูกรังแกนั้นพิสูจน์ให้คนในสังคมประจักษ์ได้ว่า เขาเป็น “คนดี” หรือ “บริษัทที่ดีของสังคม”

ทำไม! การเทคโอเวอร์ “มติชน” แบบไม่เป็นมิตรถึงไม่สำเร็จ ทำไม! เครือเนชั่น ถึงรอดพ้นเงื้อมมือนายทุนที่ต้องการเข้ามาแทรกแซงทั้งที่ถือหุ้นน้อยกว่ากันเยอะ นั่นเพราะวัฒนธรรมแบบ “พี่ไทย” ต่างจากฝรั่งอย่างสิ้นเชิง

เกมที่ เตชะอุบล Family จะเข้ามาเผด็จศึก บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) หรือ บลจ.เอ็มเอฟซี (MFC) เหมือนที่เคยเผด็จศึก บล.แอ๊ดคินซัน (ASL) (ปัจจุบันคือ บล.คันทรี่ กรุ๊ป) ที่ช่วงหนึ่งเคยอยู่ภายใต้อิทธิพล สอง วัชรศรีโรจน์ และกลุ่มคิ้วคชา หรือเผด็จศึก บมจ.ดราก้อนวัน (D1) (ปัจจุบันคือ บมจ.คันทรี่ กรุ๊ป ดีเวลลอปเมนท์) ของ จเรรัฐ ปิงคลาศัย จึง “ไม่หมู” อย่างที่คิด

“หม่อมไอซ์” ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) ผู้บริหารหนุ่มที่ดูตรงไปตรงมา เหมือนไม่มีพิษสง เป็นผู้บริหารมืออาชีพไม่มาข้องแวะหาประโยชน์จากหุ้น TTA เปิดแถลงข่าวด่วน! บ่ายโมงวันที่ 26 พฤษภาคม 2554 “แฉเกม” ของฝ่ายตรงข้ามที่จ้องเข้ามา “ฮุบ” แบบไม่เป็นมิตร เกมนี้จึง “พลิก” ในชั่วข้ามคืน โดยที่ไม่ต้องเตรียมเงิน “พันล้าน” ไปแย่งซื้อหุ้น TTA ในตลาดหุ้น แถมยังมี “ผู้หลักผู้ใหญ่” หลายคนที่เห็นอกเห็นใจ

ความ “ชนะ” ที่ได้มาโดยการโต้แย้งเบียดเบียน แม้จะได้มาก็คือ “ความว่างเปล่า” เฉกเช่น “คนฉลาด” บางครั้งก็ผิดพลาดเพราะ “ความฉลาด” ของตัวเอง ผู้ที่รู้จัก “พอ” จะไม่ “ยุ่งยาก” เพราะผลประโยชน์ ผู้ที่สะสม “ศีลธรรม” ไม่มีวัน “ตกอับ”

เปิดเผย “ตัวละคร” อาคันตุกะยาม “รัตติกาล”

กระดาษแผ่นเดียวของ “อาคันตุกะ” ยาม “รัตติกาล” อ้างว่าเข้าเก็บหุ้น TTA ได้แล้ว 30% ถือมาต่อรองกับ “หม่อมไอซ์” ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต เพื่อขอเปลี่ยนตัว อัศวิน คงสิริ ประธานกรรมการ TTA พร้อมแจ้งว่าไม่ต้องการให้ข่าวเปิดเผยต่อสาธารณะ (สื่อมวลชน) และอยากให้บริษัทเปลี่ยนเป็นบริษัทเพื่อการลงทุน (Investment Company) คล้ายกับ Berkshire Hathaway ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์

นอกจากนี้ยังล็อบบี้ให้ ม.ล.จันทรจุฑา ไปกดดันคณะกรรมการบริษัทให้ลาออก 3 คน ประกอบด้วย อัศวิน คงศิริ, ศักดิ์ เอื้อชูเกียรติ และ สตีเฟ่น วูดรุฟ ฟอร์ หากไม่ลาออกกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่จะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อเปลี่ยนแปลงกรรมการทั้งหมด และให้ลดสัดส่วนการถือหุ้นในธุรกิจเดินเรือ โดยอ้างว่าทางกลุ่มนี้สามารถหาสินทรัพย์มาขายให้ TTA เพื่อเพิ่มมูลค่าของบริษัทได้ในอนาคต

วันที่ 3 พฤษภาคม 2554 ม.ล.จันทรจุฑา ได้รับโทรศัพท์จาก วีระ มานะคงตรีชีพ อ้างว่าเป็นตัวแทนของ วิจิตร สุพินิจ ขอเข้าพบ ขณะนั้น ม.ล.จันทรจุฑา อยู่ที่ประเทศอังกฤษจึงขอรับนัดเป็นวันที่ 9 พฤษภาคม 2554

วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 ม.ล.จันทรจุฑา เดินทางไปพบกับ วีระ มานะคงตรีชีพ และ วิจิตร สุพินิจ ที่ โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ ได้รับแจ้งว่าได้มีกลุ่มนักลงทุนรวบรวมหุ้น TTA ได้ 30% ต้องการให้เปลี่ยนแปลงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท เสนอให้ วิจิตร สุพินิจ เป็นแทน อัศวิน คงศิริ และขอเปลี่ยนตำแหน่ง “ซีอีโอ” ซึ่ง ม.ล.จันทรจุฑาแจ้งว่าต้องไปหารือกันในบอร์ดก่อน พร้อมขอหลักฐานการถือหุ้นดังกล่าว

วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 วิจิตร สุพินิจ, บี เตชะอุบล และ ไมเคิล เฟอร์นันเดซ เดินทางมาที่บริษัท พร้อมกับรายชื่อผู้ถือหุ้น 1 แผ่น แจ้งกับ ม.ล.จันทรจุฑา ว่าไม่ต้องการให้ข่าวกับสาธารณชน พยายามล็อบบี้ให้ อัศวิน คงศิริ ลาออกและเปลี่ยน “ซีอีโอ” เป็น ไมเคิล เฟอร์นันเดซ ขณะเดียวกัน บี เตชะอุบล อยากให้บริษัทเปลี่ยนเป็นบริษัทเพื่อการลงทุนคล้ายกับ Berkshire Hathaway ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ พร้อมเร่งให้รีบตัดสินใจโดยเร็ว

วันที่ 16 พฤษภาคม 2554 ได้มีการพูดคุยครั้งสุดท้ายที่ โรงแรมคอนราด ม.ล.จันทรจุฑา ไปพร้อมกับ ฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการเงิน บี เตชะอุบล แจ้งย้ำว่าได้ครอบครองหุ้น 30% แล้ว คราวนี้ให้ อัศวิน คงศิริ, ศักดิ์ เอื้อชูเกียรติ และ สตีเฟ่น วูดรุฟ ฟอร์ ลาออก หากไม่ลาออกกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่จะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงกรรมการทั้งหมด บี เตชะอุบล ยังขอให้ลดสัดส่วนธุรกิจเดินเรือ โดยอ้างว่าสามารถหาสินทรัพย์ที่จะเพิ่มมูลค่าหุ้นให้กับบริษัทได้ ยกตัวอย่างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ว่าเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้รวดเร็ว

หุ้น TTA ผิดสังเกตตั้งแต่เดือน “มีนาคม-เมษายน”

ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต กล่าวว่า พบข้อสังเกตวอลุ่มซื้อขายหุ้น TTA ตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายนเริ่มเพิ่มขึ้นพร้อมกับราคาที่ปรับสูงขึ้น อาจจะดูไม่ผิดปกติแต่ไม่สมเหตุผลเพราะราคาหุ้น TTA จะเคลื่อนไหวไปทางเดียวกับดัชนี BDI ซึ่งไม่ได้ปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจุบันหุ้น TTA มีผู้ถือหุ้นต่างชาติรวมกัน 10% และอีก 4.3% ถือในนามบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด

“เป็นไปได้ว่าบริษัทเราไม่มีผู้ถือหุ้นใหญ่และมีเงินสดเยอะทำให้มีคนสนใจ แต่ตัวผมไม่คิดที่จะไล่ซื้อหุ้น (แข่ง) แน่นอน”

หม่อมไอซ์ ยืนยันว่า กรรมการและผู้บริการบริษัทมีความเป็นมืออาชีพและมีประสบการณ์ ถ้าผู้ถือหุ้นกลุ่มใดต้องการเสนอความคิดเห็นเราก็จะรับฟังภายใต้กฎเกณฑ์และอย่างรอบคอบเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นทุกคน ส่วนผลการดำเนินงานที่ถดถอยมา “สองปี” เป็นเพราะดัชนีค่าระวางเรือ (BDI) ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับผลประกอบการตกลงอย่างหนักจากวิกฤติเศรษฐกิจ จังหวะที่ดัชนี BDI ขึ้นไปอยู่บนจุดสูงสุดเมื่อปี 2551-2552 บริษัทจึงเริ่มวางแผนกระจายการลงทุนไปยังธุรกิจอื่นๆ

ส่วนของธุรกิจพลังงานได้เข้าไปถือหุ้นใน บมจ.ยูนิคไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) อาจจะเห็นว่าผลประกอบการไม่ดีนัก เนื่องจากเก็บสต็อกถ่านหินมากเกินไป ตอนนี้กำลังเร่งแก้ไขให้มีการระบายสินค้าออกมาเร็วขึ้นเพื่อสร้างกระแสเงินสดได้ดีขึ้น ส่วนตัวเชื่อว่าธุรกิจถ่านหินในอีก 3-5 ปีข้างหน้า “ยังดีมาก” ธุรกิจที่ยังไปได้ดีคือ ธุรกิจปุ๋ยและท่าเรือที่เวียดนาม ผ่านบริษัท Boconco และ EMC Gestion ครึ่งปีแรกสามารถขายปุ๋ยไปได้ 97,000 ตัน และกำลังมีแผนขยายแวร์เฮ้าส์บริเวณท่าเรือเพิ่มเติม

นอกจากนี้ยังลงทุนร่วมกับ SKI Construction Group พัฒนาเหมืองถ่านหินพื้นที่ 75,000 ไร่ในฟิลิปปินส์ จากการสำรวจพบว่ามีปริมาณถ่านหินสำรอง 13.7 ล้านตัน เดือนที่แล้วเริ่มขุดขึ้นมาขายได้แล้ว 10,000 ตัน ได้ทำสัญญาขายกับบริษัท Glencore ผู้จัดจำหน่ายสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดของโลกแล้ว ล่าสุดก็เพิ่งเข้าไปลงทุนเหมืองที่อินโดนีเซียเพิ่มเติมขนาดพื้นที่กว่า 200,000 ไร่ ได้สำรวจพื้นที่ไปแล้ว 20% พบถ่านหินสำรองแล้ว 100 ล้านตัน

สำหรับธุรกิจของ บมจ.เมอร์เมด มารีนไทม์ จดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ยอมรับว่าผลงาน “ไม่น่าพอใจ” เพราะธุรกิจขุดเจาะน้ำมันทั่วโลกหยุดชะงักกรณีบริษัทบีพีทำน้ำมันรั่วในอ่าวเม็กซิโก ทำให้ไม่มีงานเข้า อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นแนวโน้มงานที่เริ่มเข้ามามากขึ้นบ้างแล้ว

ไฮไลต์สำคัญในเดือนมิถุนายนนี้ ม.ล.จันทรจุฑา กล่าวว่า จะนำบริษัท Asia Offshore Drilling เข้าตลาดหุ้นนอร์เวย์ หลังเข้าตลาดหุ้นเมอร์เมดจะถือหุ้นเหลือ 30% ส่วนธุรกิจดั้งเดิมคือ “เดินเรือ” ปัจจุบันมีจำนวนเรือทั้งหมด 24 ลำ ถึงตอนนี้ยังไม่คิดที่จะลงทุนซื้อเรือมือสองเพิ่มเนื่องจากยังไม่น่าจะคืนทุนได้ในเร็วๆ นี้

“สรุปว่าทุกธุรกิจที่ TTA เข้าไปลงทุนมองเป็นการลงทุนระยะยาวมากกว่า 5 ปีขึ้นไปน่าจะถึงจุดคุ้มทุนทั้งหมด เป็นไปได้ว่าในอนาคตสัดส่วนรายได้จาก 3 ธุรกิจหลักคือ เดินเรือ, พลังงาน และสาธารณูปโภคพื้นฐานจะอยู่ระดับเดียวกันเป็นการกระจายรายได้และความเสี่ยงที่ดี…ตอนนี้เราขอมุ่งมั่นกับการดูแลธุรกิจใหม่ให้ดีก่อน ยังไม่คิดที่จะซื้อกิจการใดๆ มาเพิ่มอีก”

สำหรับแนวโน้มผลประกอบการปีนี้ ม.ล.จันทรจุฑา แสดงอาการ “หนักใจ” กับดัชนีค่าระวางเรือที่ยังไม่น่าจะฟื้นตัว คาดว่าในปี 2555 จะมีกองเรือใหม่เข้ามาอีก 32% ทำให้สถานการณ์จนถึงกลางปี 2556 ดัชนีค่าระวางเรือยังไม่น่าฟื้นจนกว่าเศรษฐกิจโลกจะดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา ส่วนธุรกิจอื่นๆ จะเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนี้

“คาดว่ารายได้รวมปีนี้น่าจะลดลง 20% คาดว่าดัชนี BDI เฉลี่ยทั้งปีน่าจะอยู่ที่ 10,800 เหรียญสหรัฐฯต่อวันลดลง 17% จากปีที่แล้ว”
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 43

โพสต์

แฟมิลี่มาร์ทจ้างบริหาร [ โพสต์ทูเดย์, 9 ส.ค. 55 ]

แฟมิลี่มาร์ทญี่ปุ่น ชี้แค่หาบริษัทเข้ามาบริหารในไทย ยันยังไม่ได้ขายกิจการ เผย "เบอร์ลี่ฯ-ปตท.
-เซ็นทรัล" แห่ชิงดำสิ้น ส.ค.นี้

แหล่งข่าวจากบริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท ผู้ดำเนินธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อแฟมิลี่มาร์ท เปิดเผยว่าเมื่อ
วันจันทร์ 6 ส.ค. ที่ผ่านมาคณะผู้บริหารบริษัทได้หารือเร่งด่วน ในประเด็นบริษัทแม่ แฟมิลี่มาร์ท ประเทศ
ญี่ปุ่น เตรียมถอดธุรกิจจากไทย นั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ซึ่งขณะนี้ยังมีแผนขยายการลงทุนเองในไทย
และขยายในลักษณะแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่อง นับแต่เข้ามาเปิดให้บริการในไทยครั้งแรกเมื่อ ปี 2535
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 44

โพสต์

'อิตัลไทย' สยายปีกรุกอาหารซื้อแฟรนไชส์ชา 'ทีดับเบิลยูจี' หวังปีนี้ฟัน 120 ล้าน 5 ปี คืนทุน [ โพสต์ทูเดย์, 9 ส.ค. 55 ]

อิตัลไทย รุกหนักสองธุรกิจ "ร้านอาหาร เครื่องดื่ม-อสังหาริมทรัพย์" ซื้อแฟรนไชส์ ทีดับเบิลยูจี
ผุดร้านชาหรูในไทย

นายยุทธชัย จรณะจิตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครืออิตัลไทย กรุ๊ป และอิตัลไทย ฮอสพิทาลิตี้
ผู้ดำเนินธุรกิจการก่อสร้างภายใต้บริษัท อิตัลไทยวิศวกรรม เปิดเผยว่า บริษัทวางนโยบายการดำเนินธุรกิจ
นับจากนี้ จะมุ่งให้ความสำคัญกับกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร-เครื่องดื่มและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มากขึ้น เนื่อง
จากเป็นธุรกิจใหม่ที่บริษัทดำเนินการมาได้เกือบ 5 ปี
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 45

โพสต์

ข่าวนี้ละเอียดกว่าครับ
==============================================================
'เซ็นทรัล'หวังคว้าไลเซ่นแฟมิลี่มาร์ท
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, August 09, 2012


เซ็นทรัลลุ้นคว้า "แฟมิลี่มาร์ท" มั่นใจบริษัทแม่ไม่มีแผนขายทิ้งกิจการในไทย เปิดทางมืออาชีพขับเคลื่อนรับผลตอบแทนระยะยาว ด้านเซ็นทรัลหวังคว้าสิทธิแฟรนไชส์เพิ่มพอร์ตค้าปลีกในเครือคาดดีลจบสิ้น ส.ค.นี้

สมรภูมิช่วงชิงร้านคอนวีเนียนสโตร์ "แฟมิลี่มาร์ท" กำลังคุกรุ่นด้วยกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่จำนวนไม่น้อยแสดงความสนใจชัดเจนต่อการครอบครองเครือข่ายกว่า 700 แห่งทั่วประเทศไทยเพื่อต่อยอดธุรกิจ

แหล่งข่าวระดับสูงวงการค้าปลีก เปิดเผย "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า บริษัทแม่แฟมิลี่มาร์ท ประเทศญี่ปุ่น ไม่มีแผนขายกิจการในประเทศไทยแต่อย่างใด แต่เป็นลักษณะขายสิทธิประกอบการ (แฟรนไชซี) ให้ผู้สนใจลงทุนมากกว่า หากเป็นดีลในลักษณะนี้เชื่อว่ากลุ่มเซ็นทรัลจะมีความได้เปรียบในการคว้าสิทธิไลเซ่นประกอบกิจการแฟมิลี่มาร์ท คอนวีเนียนสโตร์ในไทยครั้งนี้

ทั้งนี้ บริษัทแม่แฟมิลี่มาร์ท ได้เจรจากับพันธมิตรธุรกิจในไทยหลายรายตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ทั้งกลุ่มเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซ็นทรัล รวมทั้ง ปตท.

“แฟมิลี่มาร์ทไม่มีแนวคิดขายกิจการในเมืองไทย เพราะจะกระทบต่อภาพลักษณ์ธุรกิจทั่วโลก หากตัดขายเฉพาะทรัพย์สินการเจรจาจะบรรลุผลไปนานแล้ว แต่ยืดเยื้อถึงวันนี้เพราะต้องการสรรหานักลงทุนและทีมงานที่มีศักยภาพขับเคลื่อนธุรกิจ” แหล่งข่าวกล่าว

พร้อมทั้งเชื่อว่าบริษัทแม่ต้องการคงความเป็นแบรนด์แฟมิลี่มาร์ท ในไทย การขายสิทธิครั้งนี้จะได้ทั้ง "เม็ดเงิน" และ "ผลตอบแทน" ระยะยาว หากมองตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว "เซ็นทรัล" ค่อนข้างได้เปรียบทั้งทีมงาน โนว์ฮาว และประสบการณ์ที่แข็งแกร่งในธุรกิจค้าปลีก เทียบกับกลุ่มเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่ไม่มีทีมงานและประสบการณ์บริหารร้านค้าปลีกขนาดเล็กโดยตรง หากนายเจริญได้สิทธิประกอบการแฟมิลี่มาร์ท คาดว่า จะใช้ทีมงานเดิมซึ่งเชื่อว่าไม่มีผลต่อการขยายธุรกิจเชิงรุกได้มากนัก

อย่างไรก็ตาม ยังมี ปตท.เป็นตัวแปรสำคัญ โดยมีทีมงาน "จิฟฟี่" รองรับการขยายเครือข่ายร้านคอนวีเนียนสโตร์ได้ แต่ต้องพิจารณาเงื่อนไขระหว่าง ปตท.และเซเว่นอีเลฟเว่น ซึ่งเปิดบริการภายในสถานีเครือข่ายน้ำมัน ปตท.ว่าเป็นอุปสรรคหรือเอื้อต่อ ปตท.เข้าซื้อไลเซ่นแฟมิลี่มาร์ทซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงหรือไม่

"เบอร์ลี่ฯ อาจหวังได้ทีมของสยามแฟมิลี่มาร์ทมาด้วย แต่ต้องยอมรับว่าทีมไม่เก่ง เพราะหากเก่งคงไปได้ดีกว่านี้ ซึ่งทีมงานเป็นหัวใจสำคัญของการพิจารณาให้สิทธิประกอบการไม่ว่าธุรกิจใดก็ตาม เพราะเป็นการชี้ชะตาธุรกิจว่าจะอยู่รอดหรือเติบโตไปได้ และคาดว่าดีลน่าจบในเดือน ส.ค.นี้ และมีแนวโน้มว่าการบรรลุข้อตกลงทางธุรกิจกับกลุ่มเซ็นทรัลมีสูง 60-70%" แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับแฟมิลี่มาร์ท เป็นแบรนด์ใหญ่อันดับ 3 ในญี่ปุ่นรองจากเซเว่นอีเลฟเว่น และลอว์สัน มีเครือข่ายกว่า 2 หมื่นแห่งทั่วโลก

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 46

โพสต์

BJC คาดสรุปดีลซื้อศูนย์กระจายสินค้ามูลค่า 1-3 พันลบ.ในเวียดนาม Q3/55 [ ทันหุ้น, 27 สิงหาคม 2555 ]

นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (BJC) เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาซื้อกิจการศูนย์กระจายสินค้าในประเทศเวียดนาม มูลค่า 1-3 พันล้านบาท คาดว่าจะมีข้อสรุปภายในไตรมาส 3/55 มีโอกาสที่จะได้ทั้งศูนย์กระจายสินค้าและธุรกิจค้าปลีก ซึ่งอาจดีลนี้มีข้อสรุปจะทำให้บริษัทกลายเป็นศูนย์กระจายสินค้าอุปโภคบริโภคอันดับ 1 ในเวียดนาม

ปัจจุบันยอดขายสินค้ารวมของบริษัทในเวียดนามอยู่ที่ 2 พันล้านบาท/ปี และจะเพิ่มเป็น 5 พันล้านบาท/ปี หลังซื้อกิจการศูนย์กระจายสินค้า ปัจจุบันบริษัท มี EBITDA 5 พันล้านบาท ไม่ได้มีผลกระทบต่อการซื้อกิจการดังกล่าว

ส่วนการประมูลเข้าซื้อกิจการแฟมีลี่มาร์ทในประเทศไทย ยอมรับว่าอาจไม่ชนะการประมูล เนื่องจากบริษัทยังเป็นน้องใหม่ในธุรกิจค้าปลีก แต่ยังมุ่งหน้าที่จะหาซื้อกิจการค้าปลีกในประเทศอื่นๆแทน เพราะการที่บริษัทจะเปิดร้านค้าปลีกหรือร้านสะดวกซื้อเองคงเป็นเรื่องยาก เนื่องจากปัจจุบันมีคู่แข่งในตลาดมาก บริษัทจึงอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อเปิดร้านขายยา เครื่องมือแพทย์ และเวชภัณฑ์ ซึ่งการแข่งขันไม่รุนแรง ส่วนหนึ่งอาจมีการนำเครื่องสำอางเข้ามาขายในร้านขายยา และร่วมมือกับแบรนด์และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่างประเทศมาขายด้วย โดยช่วงแรกอาจเปิด 5-10 สาขาก่อน

"การแข่งขันในธุรกิจร้านขายยายังมีโอกาส เพราะปัจจุบันบริษัทขายทั้งยาและเครื่องมือแพทย์ มียอดขาย 4 พันล้านบาท/ปี ยังสามารถขยายตลาดได้อีก" นายอัศวิน กล่าว

นายอัศวิน ยังกล่าวปฏิเสธการเข้าซื้อกิจการ บมจ.สยามแม็คโคร (MAKRO) ในประเทศไทย
สำหรับยอดขายรวมปีนี้ ยังคงเป้าเติบโต 15% โดยครึ่งปีแรกมียอดขายเติบโต 19% คิดเป็น 1.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายแล้ว ส่วนครึ่งปีหลังคงต้องรอดูสถานการณ์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 47

โพสต์

'เจริญ'ฮุบGOLD9.50บ.รวบทรัพย์สินทีซีซีแลนด์ตั้งพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์โกยกำไรปีละ 2 พันล้าน [ ข่าวหุ้น, 28 ส.ค. 55 ]

กลุ่มเสี่ยงเจริญเคาะซื้อหุ้นแผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ หรือ GOLD 23% จากกลุ่ม Golden Source
ในราคาหุ้นละ 9.50 บาท หลังจากนั้นใช้ GOLD ซื้อทรัพย์สินทีซีซีแลนด์ 8 พันล้านเข้าพอร์ต ก่อนตั้ง
พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ หากำไรปีละ 2-3 พันล้าน ล้างขาดทุนสะสมหมดภายในปีหน้า
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 48

โพสต์

บจ.ควบรวมฝ่าศก.หดตัวพึ่งทุนจากหุ้น [ โพสต์ทูเดย์, 29 ส.ค. 55 ]

"ภควัต" ชี้เห็นโอกาส บจ.ควบรวมกิจการมากขึ้นเพื่อความอยู่รอดหลังเศรษฐกิจโตลดลง

นายภควัต โกวิทวัฒนพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทรีนีตี้ วัฒนา (TNITY) เปิดเผยว่า
ขณะนี้เห็นภาพบริษัทหลายแห่งในตลาดหลักทรัพย์มีการซื้อกิจการและควบรวมกิจการระหว่างกันมากขึ้น หลัง
เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะเติบโตลดลง ขณะที่ต้นทุนในการดำเนินกิจการเพิ่มสูงขึ้นจากค่าจ้าง ทำให้ธุรกิจ
บางกลุ่มอยู่ได้ลำบาก แต่ก็เป็นโอกาสของบางบริษัทที่มีกำลังเงินเข้าไปซื้อกิจการเพิ่ม
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 49

โพสต์

วันที่/เวลา 30 ส.ค. 2555 17:02:37
หัวข้อข่าว การควบบริษัทระหว่าง บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด ("IPT") และบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด ("PTTUT")
หลักทรัพย์ TOP
แหล่งข่าว TOP
รายละเอียดแบบเต็ม ที่ http://www.set.or.th/set/newsdetails.do ... country=TH
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 50

โพสต์

“บำรุงราษฎร์” ไล่เทกโอเวอร์
ASTVผู้จัดการออนไลน์, 30 สิงหาคม 2555


โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เดินเกมลัดเทกโอเวอร์ พร้อมทุ่ม 4.7 พันล้านสร้างสาขาที่สองย่านถนนเพชรบุรี
นายสิน อนุราษฎร์ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ กลุ่มโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีแผนขยายธุรกิจด้วยการซื้อกิจการหรือเข้าไปซื้อหุ้นในโรงพยาบาลขนาดกลาง เพื่อการขยายธุรกิจที่รวดเร็วมากกว่าการสร้างโรงพยาบาลใหม่ ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาหลายแห่งแต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ส่วนในต่างประเทศนั้นบริษัทฯ ไม่มีแผนลงทุนแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม นอกจากการเทกโอเวอร์แล้วบริษัทฯ ยังมีแผนลงทุนก่อสร้างโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์แห่งที่ 2 บริเวณถนนเพชรบุรี ขนาดพื้นที่ 6 ไร่ ใช้งบลงทุนประมาณ 4,700 ล้านบาท จะเริ่มลงทุนในปี 56 มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 58 เป็นโรงพยาบาลขนาด 200-300 เตียง เพื่อรองรับผู้ที่มาใช้บริการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากปัจจุบันโรงพยาบาลแห่งแรกมีผู้ใช้บริการมากกว่า 3,000 คนต่อวัน แต่มีเตียงรองรับ 400 เตียงเท่านั้น

บริษัทฯ วางเป้าหมายให้โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์กลายเป็นศูนย์กลางการแพทย์ (เมดิคัลฮับ) ของโลก ที่มีผู้ใช้บริการมาก โดยแต่ละปีทางโรงพยาบาลฯ มีผู้ใช้บริการ 400,000 คน สูงที่สุดเมื่อเทียบกับโรงพยาบาลทั่วโลก แต่ของเรามีค่าบริการต่ำกว่า 30-40% เมื่อเทียบกับสิงคโปร์ หรือถูกกว่าที่อเมริกา 50% ขณะที่โรงพยาบาลระดับโลกอย่างอเมริกามีผู้ใช้บริการ 100,000 คนต่อปี หรือสิงคโปร์ 200,000 คนต่อปีเท่านั้น

สำหรับผู้ใช้บริการเป็นคนไทย 58% ต่างชาติ 42% และคาดว่าปีนี้จะมีรายได้รวม 12,700 ล้านบาท เติบโต 10%

ทั้งนี้ ในส่วนของหุ้นสามัญของ บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จากัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อกลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ (เกษมราษฎร์) คิดเป็นสัดส่วน 24.99% ของหุ้นที่ออก ราคาหุ้นละ 9.15 บาท คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 4,563.55 ล้านบาทนั้น คาดว่าจะรับรู้รายได้ในไตรมาส 3 ของปีนี้ และจะได้รับกำไรสุทธิประมาณ 900 ล้านบาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 51

โพสต์

แลนด์ฯเล็งเทคคอนโดสหรัฐ คาดปิดดีลปลายปี
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์" เล็งซื้อคอนโดในสหรัฐ คาดปลายปีปิดดีลได้ มองราคาอสังหาฯสหรัฐผ่านจุดต่ำสุดแล้ว เผยเป็นการลงทุนนอกครั้งแรกรอบ 5 ปี

นายอดิศร ธนนันท์นราพูล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH) กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทได้ตั้งบริษัทลูกที่ทำหน้าที่ดูแลการลงทุนในสหรัฐอเมริกา มีทุนจดทะเบียน 20 ล้านดอลลาร์ ซึ่งบริษัทดังกล่าวจะทำหน้าที่ในการหาซื้อกิจการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศดังกล่าว และขณะนี้มีแผนจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมในซานฟรานซิสโก อยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งคาดว่าจะสามารถสรุปผลการลงทุนในครั้งนี้ได้ภายในปลายปีนี้

"การลงทุนสหรัฐถือว่าเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี หลังจากเกิดวิกฤต สาเหตุที่เข้าไปลงทุนในสหรัฐเพราะมองว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ในอเมริกาผ่านจุดต่ำสุดแล้วและคาดอยู่ในช่วงฟื้นตัว หากเข้าไปลงทุนก็จะทำให้มีโอกาสทำกำไรได้ เป้าหมายของบริษัท คือต้องการได้ส่วนต่างจากการขายทำกำไรและหาประสบการณ์การลงทุนในต่างประเทศอีกครั้ง"นายอดิศรกล่าว

เขากล่าวว่า อสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐที่จะเข้าไปซื้อกิจการนั้น ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีบริษัทไอทีขนาดใหญ่ของโลกและเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจ ซึ่งมั่นใจว่าเมื่อเข้าไปซื้อกิจการและนำมาขายก็น่าจะได้รับผลตอบแทนในทิศทางที่ดี

ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ยังมีโอกาสเติบโตได้อีก โดยเฉพาะในต่างจังหวัด แต่การที่บริษัทไปต่างประเทศ เพื่อเป็นการหารายได้เสริม แต่ยังไม่ได้บุกอย่างจริงจัง ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสของการลงทุน อย่างไรก็ตาม การลงทุนในต่างประเทศยังเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น

นอกจากนี้การบริหารโครงการสามย่านของสำนักงานจัดการทรัพย์สินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือยุติลงแล้ว โดยบริษัทไม่สามารถยอมรับเงื่อนไขที่ทางสำนักงานทรัพย์สินฯเสนอมาได้ และทางสำนักงานทรัพย์สินฯไม่สามารถยอมรับข้อเสนอของบริษัทได้เช่นกัน ทำให้บริษัทยุติการพิจารณาการลงทุนโครงการดังกล่าวไปแล้ว

ทั้งนี้ ในปี 2555 คาดว่ารายได้จะเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 2 หมื่นล้านบาท โดย ณ ไตรมาส 2/55 มียอดขายรอโอน(BACKLOG) ราว 6.5 พันล้านบาท รับรู้รายได้ในปีนี้ 4-5 พันล้านบาท ที่เหลือทยอยรับรู้รายได้อีก 2 ปี โดยปีนี้บริษัทมีแผนเปิดโครงการใหม่ 15 โครงการ มูลค่ารวม 3.15 หมื่นล้านบาท ครึ่งปีหลังเหลือการเปิดโครงการใหม่ 7 โครงการทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ส่วนใหญ่ยังเป็นโครงการแนวราบ

กรณีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)นั้น มองว่ากลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะได้รับผลกระทบหรือมีการเปลี่ยนแปลงที่ช้ากว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ดังนั้นบริษัทยังมีเวลาในการเตรียมตัวมากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ

บริษัทรายงานผลประกอบการงวดไตรมาส 2/55 มีกำไรสุทธิ 1.12 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันปีก่อน 1.04 พันล้านบาท และงวด 6 เดือนแรกของปีนี้บริษัทมีกำไรสุทธิ 2.59 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันปีก่อน 3.06 พันล้านบาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 52

โพสต์

SUSCO ซื้อหุ้น"PETRONAS Retail"ในไทยขยายการขายน้ำมัน เสร็จสิ้นปี 55
นสพ.ทันหุ้น, 17 กันยายน 2555

บมจ.ซัสโก้ ผู้จัดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น จะเข้า ซื้อหุ้นบริษัท PETRONAS Retail (Thailand) จำกัด และบริษัทย่อย เพื่อขยายการขาย น้ำมัน โดยคาดว่าจะสามารถซื้อและรับโอนหุ้นดังกล่าวได้ภายในปีนี้

SUSCO แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า เมื่อวัน 3 ก.ย.บริษัทได้เข้าประมูลซื้อหุ้น ทั้งหมดในบริษัท PETRONAS Retail (Thailand) จำกัด และบริษัทย่อย เพื่อขยาย การดำเนินธุรกิจการจัดจำหน่ายน้ามันเชื้อเพลิงของบริษัทให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง

ทั้งนี้ บริษัทได้รับแจ้งจากที่ปรึกษาทางการเงิน ของผู้จะขายหุ้นสามัญดังกล่าว ว่าบริษัทได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ซื้อหุ้นดังกล่าว (Preferred Bidder) และคาดหวัง ที่จะให้การซื้อและรับโอนหุ้นทั้งหมด ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2555

โดยคณะกรรมการบริษัท มีมติให้บริษัทเจรจากับผู้เสนอขาย เพื่อทำสัญญาซื้อขาย หุ้น (Shares Sale and Purchase Agreement) ที่กำหนดเงื่อนไขสาคัญเกี่ยวกับการ ซื้อขายหุ้นต่อไป

หุ้น SUSCO ปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ อยู่ที่ 2.28 บาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 53

โพสต์

ซีไอเอ็มบีเสือปืนไว เริ่มดิวดิลิเจนซ์ BAY จีอีตั้ง 'มอร์แกนสแตนเลย์' ตรวจหุ้น [ ข่าวหุ้น, 18 ก.ย. 55 ]

"ซีไอเอ็มบี" ประเทศมาเลเซียทำดิวดิลิเจนซ์ หรือตรวจสอบทรัพย์สินแบงก์กรุงศรีฯ (BAY) หลัง
ประกาศขายหุ้น 33% ออกไป ระบุหากสำเร็จนำไปควบรวมกิจการ CIMBT ส่วน "มาลายัน แบงกิ้ง" ก็ยัง
สน ล่าสุด "จีอี" ตั้งมอร์แกน สแตนเลย์ตรวจสอบหุ้น BAY ด้านโบรกฯ ให้ราคา 41 บาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 54

โพสต์

โซนี่ยุบรวมบีอีซี-เทโรมิวสิค
03 ต.ค. 2555, 03:54 น.

โซนี่ยุบรวมบีอีซี-เทโร มิวสิค โอน 20 ศิลปินเข้าสังกัด พร้อมดูแลตลาดอินโดจีน หวังต่อยอดสู่คอนเสิร์ต-บริหารสิทธิ์ ชี้ปีนี้รายได้แตะ 3,000 ล้าน

นางภัทรา บุศราวงศ์ ผู้จัดการทั่วไป บีอีซี-เทโร มิวสิค เปิดเผยว่า โซนี่ มิวสิค (ไทยแลนด์) ได้ให้ลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวกับบีอีซี-เทโร มิวสิค ในการจัดจำหน่ายสินค้าและบริหารสิทธิ์ศิลปินในสังกัดโซนี่ทั้งต่างประเทศและไทยกว่า 20 คน รวมทั้งค่ายเพลงเบเกอรี่ เลิฟอีส แบล็คชีพ รวมทั้งได้สิทธิ์ดังกล่าวในประเทศลาว กัมพูชาและพม่า ซึ่งก่อนหน้านี้สำนักงานที่สิงคโปร์เป็นผู้ดูแล

ทั้งนี้ ได้โอนย้ายพนักงานจำนวน 38 คน และศิลปินของโซนี่มาอยู่ที่บีอีซี-เทโร มิวสิคทั้งหมด โดยโซนี่ มิวสิค (ไทยแลนด์) ยังคงเหลือสถานะเป็นสำนักงานตัวแทนที่ดูแลด้านรายได้ที่เกิดจากการให้สิทธิการบริหารและจัดจำหน่ายครั้งนี้ โดยเชื่อว่าการบริหารงานภายใต้บริษัทบีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ในเครือบีอีซี เวิลด์ ผู้บริหารช่อง 3 จะช่วยต่อยอดในการดำเนินธุรกิจให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

"อย่างที่ทราบตลาดเพลงโดยรวมตกลงทุกปี ปีละ 20-30% มาปีนี้ที่ตลาดเริ่มนิ่ง ขณะที่โซนี่ก็ยังเติบโต แต่มองว่าทำอย่างไรให้สามารถก้าวไปข้างหน้า เติบโตได้มากขึ้น จึงต้องมองหาพาร์ทเนอร์ ที่จะช่วยสร้างการเติบโตอย่างแข็งแรงให้บริษัท" นางภัทรากล่าว

สำหรับบีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนต์ มีธุรกิจสื่อที่หลากหลายทั้งผลิตรายการโทรทัศน์ วิทยุ สื่อออนไลน์ การจัดกิจกรรมคอนเสิร์ต การจำหน่ายตั๋วประเภทต่างๆ และกำลังขยายธุรกิจในภูมิภาคนี้ เช่น การร่วมทุนกับฟอร์เอฟเวอร์ กรุ๊ป ผลิตรายการโทรทัศน์ในพม่า และการจำหน่ายตั๋วคอนเสิร์ตในลาวและกัมพูชา ซึ่งจะช่วยขยายตลาดของโซนี่ให้เข้าถึงผู้บริโภคในหลากหลายช่องทางมากขึ้น คาดว่าสัดส่วนของบีอีซี-เทโร มิวสิค จะอยู่ที่ 7% ในปีหน้า

นายนีล ทอมป์สัน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนต์ กล่าวว่า การได้คอนเทนต์เพลงของโซนี่เข้ามาเสริมจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งและการเติบโตของบริษัทมากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของคอนเสิร์ต ที่คาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนคอนเสิร์ตไทย 25-30% ในปีหน้า การผลิตรายการโทรทัศน์ด้านเพลง การจัดกิจกรรมของคลื่นวิทยุ รวมไปถึงการได้ศิลปินโซนี่มาต่อยอดทั้งการแสดงและแต่งเพลงละคร ที่จะช่วยสร้างเติบโตของบริษัทในปีหน้า

สำหรับปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ 3,000 ล้านบาท เติบโตมากกว่า 10% จากปีก่อน เป็นผลจากการได้เวลาผลิตละครเพิ่มขึ้นทางช่อง 3 โดยบริษัท จันทร์ 25 รายได้จากการผลิตรายการโทรทัศน์ที่พม่า การจัดคอนเสิร์ตได้รับผลตอบรับดี เช่น เลดี้ กาก้า นิทรรศการไททานิค เป็นต้น
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 55

โพสต์

ทียูเอฟซุ่มเจรจาซื้อกิจการประเมินไตรมาส 3 กำไรพุ่ง [ กรุงเทพธุรกิจ, 4 ต.ค. 55 ]

โบรกเกอร์ชี้ "ทียูเอฟ" กำไรไตรมาส 3 พุ่ง หลังราคาปลาทูน่าปรับขึ้นต่อเนื่อง แถมต้นทุนการเงิน
ลดจากการคืนหนี้ ยืนเป้ากำไรทั้งปีโต 15% แม้กังวลแนวโน้มเงินบาทแข็งค่ากระทบกำไร 3-4% ผู้บริหาร
แย้มอยู่ระหว่างเจราจาซื้อกิจการใหม่มูลค่าประมาณ 100-500 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 3 พัน-1.5
หมื่นล้านบาท มุ่งกลุ่มซาร์ดีน อาหารสัตว์แต่ต้องใช้เวลาศึกษาผลดีผลเสียให้รอบคอบ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 56

โพสต์

CMO จ่อเทกโอเวอร์ก่อสร้าง อนาคตรุ่งมาร์จิ้นพุ่งกระฉูด [ ทันหุ้น, 5 ต.ค. 55 ]

CMO คิดการณ์ใหญ่หวังฮุบธุรกิจก่อสร้าง ดันมาร์จิ้นทะยานแตก 10% จาก 6% คาดได้ข้อสรุปปีหน้าย้ำ
ชัดครึ่งปีหลังผลงานโตต่อเนื่อง พร้อมรุกหนักขยายธุรกิจมิวเซียม ตั้งเป้าปี 2556 ดันรายได้ 120 ล้านบาท
โบรกส่องกำไรปีหน้าฟูฟ่อง 100 ล้านบาท เคาะราคาเป้าหมาย 4.80 บาท

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 57

โพสต์

AIAดีลซื้อทหารไทย อิควิตี้ฟันด์ไล่เก็บหุ้น 1 เดือน NVDR ซื้อสุทธิ 470 ล้านหุ้น [ ข่าวหุ้น, 9 ต.ค. 55 ]

เอไอเอแอบเจรจาไอเอ็นจีกรุ๊ป หลังกลุ่มมาเลเซียหันไปซบกรุงศรีฯ ระบุสนใจลงทุนระยะยาว
ราคาหุ้นยังถูก แถมมีสาขาขายประกันเพียบ ส่วนคลังยังเงียบเจรจาไม่คืบราคาขายแพงเกินพื้นฐาน 3.8
บาท ด้านอิควิตี้ฟันด์ทยอยเก็บหุ้นดันราคาพุ่ง 1.80 บาท ไทยเอ็นวีดีอาร์ทยอยสะสมหุ้นเข้าพอร์ตเพิ่มอีก 470
ล้านหุ้น
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 58

โพสต์

“เมย์แบงก์” สนใจลงทุนธุรกิจธนาคารไทย
วันเผยแพร่ วันศุกร์, 12 ตุลาคม 2555 12:49

ผู้บริหารธนาคารเมย์แบงก์มาเลเซีย ตอกย้ำ ความสนใจที่จะขยายธุรกิจในไทย ท่ามกลางกระแสข่าวเข้ามาซื้อหุ้นธนาคารกรุงศรี ต่อจากกลุ่มจีอี

สื่อมาเลเซีย “เดอะ สตาร์” อ้างคำให้สัมภาษณ์ของ นาย โมฮาเหม็ด ราฟิค เมอริกัน ที่เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน ของ “มาลายัน แบงกิ้ง” หรือ เมย์แบงก์ ที่บอกว่า ธนาคารยังให้ความสนใจที่จะขยายธุรกิจในประเทศไทย แม้จุดประสงค์หลักของธนาคาร จะยังต้องการให้ความสำคัญมุ่งเน้นไปที่ตลาดที่ตนมีฐานทางธุรกิจที่แข็งแกร่งก่อน

ซีเอฟโอ เมย์แบงก์ ได้พูดถึงดีลใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในการเข้าซื้อหุ้นธนาคารของไทย ว่าจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้อต่อธนาคาร และจะไม่ใช่แค่เพียงการมีสาขาหรือสำนักงานตัวแทนอยู่เท่านั้น

สำหรับตลาดไทย ผู้บริหารเมย์แบงก์รายนี้ มองว่า ยังเป็นตลาดที่ตนยังไม่ได้ทำธุรกิจในรูปแบบของธนาคารพาณิชย์เลย แม้ในปัจจุบันธนาคารจะครอบคลุมการทำธุรกิจในระดับภูมิภาคแล้ว
ความเห็นของผู้บริหารเมย์แบงก์ เกิดขึ้นหลังจากข่าวการเพิ่มทุนครั้งใหญ่ ที่จะทำแบบ private placement ด้วยเม็ดเงินระดมทุนที่สูงถึง 3 พัน 6 ร้อยล้านมาเลเซียริงกิต

และข่าวนี้เอง ทำให้เกิดการเก็งกันว่า เมย์แบงก์ อาจจะเสนอราคาซื้อหุ้น ธนาคารกรุงศรี หรือ BAY แข่งกับธนาคารรายอื่นอย่าง CIMB Group และ Overseas-Chinese Banking Corp. ที่มีข่าวว่าสนใจซื้อหุ้นในสัดส่วน 25% ที่ทางกลุ่มจีอี ถืออยู่ใน BAY ขณะที่ทาง เมย์แบงก์ ได้ปฏิเสธข่าวการเพิ่มทุน ว่ามาจากสาเหตุดังกล่าว
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 59

โพสต์

"ริชาร์ด ลี"ใกล้คว้าดีลซื้อ ING ไทย-ฮ่องกงวงเงินกว่า $2 พันล้าน [ ทันหุ้น, 19 ตุลาคม 2555 ]


สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นายริชาร์ด ลี นักธุรกิจฮ่องกง ทายาทของนายลี กา-ชิง อภิมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของเอเชีย ใกล้บรรลุข้อตกลง ในการซื้อธุรกิจของไอเอ็นจีในไทยและฮ่องกงวงเงินกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ โดยอาจมีการประกาศข้อตกลงดังกล่าวอย่างเร็วที่สุดในวันนี้ (19 ต.ค.) แต่ก็อาจมีการเลื่อนออกไปเป็นสัปดาห์หน้า
แหล่งข่าวระบุว่า ไอเอ็นจีและแปซิฟิก เซ็นจูรี่ กรุ๊ปของนายริชาร์ด ลี ได้ทำการเจรจารอบสุดท้ายแล้ว

ทั้งนี้ ไอเอ็นจีได้แต่งตั้งบริษัทโกลด์แมน แซคส์ และเจพี มอร์แกนเป็น ที่ปรึกษาสำหรับการขายกิจการในครั้งนี้ โดยไอเอ็นจีกำลังทำการขายสินทรัพย์ ทั่วโลกเพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระหนี้วงเงิน 1 หมื่นล้านยูโร (1.31 หมื่นล้าน ดอลลาร์) ที่ได้รับจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงินในปี 2008

ในสัปดาห์ที่แล้ว ไอเอ็นจีได้ประกาศขายธุรกิจประกันในมาเลเซียให้แก่ บริษัทเอไอเอ กรุ๊ป ซึ่งซื้อธุรกิจดังกล่าวด้วยเงินสด 1.73 พันล้านดอลลาร์ โดย ถือเป็นการทำสัญญาขายธุรกิจครั้งแรกของไอเอ็นจีหลังจากดำเนินความพยายาม มานาน 9 เดือนในการขายสินทรัพย์ด้านการประกันและการบริหารการลงทุนใน เอเชีย

ถ้าหากการทำข้อตกลงกับนายลีประสบความสำเร็จ ไอเอ็นจีก็จะสามารถ ระดมทุนได้ทั้งหมดราว 3.7 พันล้านดอลลาร์จากการขายกิจการทั้ง 3 แห่งในมาเลเซีย, ไทย และฮ่องกง ส่วนการขายกิจการของไอเอ็นจีในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ยังคงอยู่ในระหว่าง การดำเนินการ

นายคอร์ คลุยส์ นักวิเคราะห์ของธนาคารราโบแบงก์กล่าวว่า "ดูเหมือนว่า การเจรจาจะดำเนินไปได้ด้วยดี"

นายคลุยส์คาดการณ์ในช่วงก่อนหน้านี้ว่า ไอเอ็นจีอาจขายกิจการในฮ่องกง และไทยได้ในราคาราว 1.4 พันล้านยูโร (1.84 พันล้านดอลลาร์) และอาจทำเงินได้ ทั้งหมดราว 6.1 พันล้านยูโรจากการขายสินทรัพย์ด้านการลงทุนและการประกันในเอเชีย

การเจรจาเพื่อขายกิจการของไอเอ็นจีในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ยังคงยืดเยื้อ และขณะนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าไอเอ็นจีจะประกาศขายกิจการทั้งสองแห่งเมื่อใด

ไอเอ็นจีเริ่มทำการขายกิจการบริหารสินทรัพย์และการประกันในเอเชียในเดือน มี.ค. และวางแผนที่จะหาผู้ซื้อเพียงรายเดียวสำหรับกิจการประกันทั้งหมดในเอเชียโดย หวังระดมเงินได้มากกว่า 7 พันล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ดี ไอเอ็นจีไม่สามารถหาผู้ซื้อรายเดียวที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ดังนั้น ทางบริษัทจึงตัดสินใจใช้วิธีแยกขายกิจการประกันในประเทศต่างๆ

นายลี ซึ่งมีอายุ 45 ปีเคยบริหารธุรกิจประกันในฮ่องกง แต่ต่อมาเขาได้ขาย กิจการดังกล่าวให้แก่ฟอร์ติส ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางการเงินของเนเธอร์แลนด์และ เบลเยียมในปี 2007

นายลีสร้างความประหลาดใจต่อตลาดเมื่อเขายื่นเสนอซื้อกิจการประกันของ ไอเอ็นจี ขณะที่บริษัทประกันระดับโลกแห่งอื่นๆก็ได้แสดงความสนใจที่จะซื้อกิจการของ ไอเอ็นจีเช่นกัน ซึ่งรวมถึงบริษัทเมทไลฟ์ อิงค์ของสหรัฐ และแมนูไลฟ์ ไฟแนนเชียล คอร์ปของแคนาดา

ถ้าหากนายลีประสบความสำเร็จ การเข้าซื้อธุรกิจของไอเอ็นจีในไทยและ ฮ่องกงครั้งนี้ก็จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจประกันน้อยกว่ากรณีที่บริษัทประกันแห่งอื่นๆ เป็นผู้เข้าซื้อกิจการของไอเอ็นจี

นายมาร์ค เคลล็อค นักวิเคราะห์ธุรกิจประกันของบาร์เคลย์ส เอเชีย กล่าวว่า "นายริชาร์ด ลีก้าวเข้ามาเสนอซื้อกิจการ และสิ่งนี้ไม่ได้ส่งผลให้ตลาด เปลี่ยนแปลงไป เพราะไม่ได้มีการควบรวมกิจการกันเกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการที่ สินทรัพย์ของไอเอ็นจีมีเจ้าของใหม่เท่านั้น"

นายลีมีผู้ช่วยสองคนที่ให้คำแนะนำเขาในเรื่องธุรกิจประกันและบริการ ทางการเงิน ซึ่งได้แก่นางมาร์ตินา ชุง กิท ฮุง อดีตพนักงานของเอไอเอ และ นายอัลวิน ชอย อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านประกันของบริษัทเทมาเซค โฮลดิงส์
นายลีได้แต่งตั้ง HSBC สำหรับการให้คำแนะนำในการทำข้อตกลงครั้งนี้ ขณะที่ปัจจุบันนี้ นายลีดำรงตำแหน่งผู้บริหารบริษัท PCCW Ltd ซึ่งทำธุรกิจอินเทอร์เน็ต และเพย์ทีวี

ในเดือนพ.ค.ปีนี้ นายลี กา-ชิงได้แต่งตั้งนายวิคเตอร์ ลี ซึ่งเป็นบุตรชาย คนโต ให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากเขาอย่างเป็นทางการ แต่นายลี กา-ชิงให้ สัญญาว่าจะยังคงสนับสนุนธุรกิจของนายริชาร์ด ลีต่อไป
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า

โพสต์ที่ 60

โพสต์

ดีลแบงก์ประวัติศาสตร์! "จีอี" เสนอควบรวม "ไทยพาณิชย์-กรุงศรี"
ไทยรัฐ, 1 พ.ย. 55

ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของกลุ่มธุรกิจการเงินรายใหญ่สัญชาติอเมริกันที่ชื่อ จีอี แคปปิตอล
โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด ว่า หลังจากที่กลุ่มจีอีได้ขายหุ้นของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
หรือ BAY ที่ถืออยู่ในมือในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุดที่มีสัดส่วนอยู่ 32.9% ให้แก่กลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ประเภท
สถาบันในแบบเฉพาะเจาะจงเมื่อวันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยขายไป 7.6% วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท
ผ่านการจัดจำหน่ายของวาณิชธนกิจใหญ่สัญชาติเดียวกันคือ มอร์แกน สแตนเลย์ นั้น
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."