ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 22, 2007 11:56 pm
เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ยุติการคาดการณ์นโยบายการเงินการคลังชั่วคราว
19 มีนาคม 2550
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ผมจะต้องขอแจ้งให้ท่านผู้อ่านทราบว่า นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ได้ขอให้ผมระงับการคาดการณ์นโยบายการเงินการคลังเป็นการชั่วคราว สืบเนื่องมาจากการที่ผมได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม มีผลตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมเป็นต้นไป ทั้งนี้ คุณถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย จะเป็นผู้ทำการวิเคราะห์นโยบายการเงินการคลังแทนไปจนกว่าภารกิจของผมต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนจะสิ้นสุดลง
ทั้งนี้ เพราะฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงานและตรวจสอบภายใน (compliance) ของภัทร เห็นว่าการเข้าไปร่วมกิจกรรมของคณะกรรมการของรัฐดังกล่าว อาจทำให้ผมได้รับข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลสาธารณะ ดังนั้น ผมควรยุติการเขียนบทวิเคราะห์หรือแสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เพื่อป้องกันมิให้ข้อมูลดังกล่าวรั่วไหลออกไปโดยไม่ได้ตั้งใจ
นอกจากนั้น การเป็นนักวิเคราะห์ที่ทำประโยชน์ได้สูงสุดนั้น ย่อมต้องมีความอิสระและเป็นกลาง แต่หากเข้าไปร่วมงานกับคณะกรรมการขับเคลื่อนแล้ว ความเป็นกลางดังกล่าวจะถูกกระทบหรือพูดง่ายๆ คืออาจวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่เข้าข้างรัฐบาล และท่าทีของคณะกรรมการขับเคลื่อน ดังนั้น จึงควรให้ยุติการเขียนบทวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการเงินการคลังไปก่อน
ทั้งนี้ ผมจะยังสามารถเขียนถึงตัวเลขเศรษฐกิจ (หรือข้อเท็จจริง) ต่างๆ เช่น ภาวการณ์ส่งออกหรือการไหลเข้า-ออกของเงินทุนได้ และผมได้ขอให้สามารถนำเอาบทความต่างๆ ที่เขียนขึ้นมาในอดีต (ก่อนวันที่ 12 มี.ค.) มากล่าวถึงได้ ซึ่งพอสรุปแนวคิดของผมในอดีตได้ดังนี้
1. ผมเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงอย่างมากในปัจจุบัน (เงินเฟ้อทั่วไป 2.4% เงินเฟ้อพื้นฐาน 1.4%) ประกอบกับความเสี่ยงของเงินเฟ้อในอนาคตต่ำ เปิดโอกาสให้คณะกรรมการการเงินสามารถลดดอกเบี้ยลงได้ประมาณ 1.00-1.50% นอกจากนั้น ความโน้มเอียงของเศรษฐกิจที่เสี่ยงต่อการชะลอตัวลง ทำให้การปรับลดดอกเบี้ยนั้น ควรกระทำด้วยความรีบเร่ง
แต่ทั้งนี้ การนำมาซึ่งความไม่มั่นใจของนักลงทุน และการขับเคลื่อนการลงทุนนั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายปัจจัย เช่น ความไม่แน่นอนทางการเมือง ท่าทีของรัฐบาลต่อการแก้กฎหมายการลงทุนของคนต่างด้าว และการบังคับให้สิทธิบัตรยา เป็นต้น
2. การบังคับสำรอง 30% นั้น เป็นมาตรการที่สมควรยกเลิก เพราะบั่นทอนความมั่นใจของนักลงทุน การควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนที่เข้มงวดเช่นนี้ เป็นการปฏิเสธการไหลเข้าของเงินทุน ทั้งที่เป็นเงินทุนระยะสั้นและเงินทุนระยะยาว ส่วนหนึ่ง ทั้งๆ ที่ประเทศไทยในขณะนี้ กำลังประสบปัญหาการชะลอตัวลงอย่างรุนแรงของการลงทุนที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องกว่า 4 ปี และล่าสุดดัชนีการลงทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยก็เริ่มติดลบ
3. การสนับสนุนผู้ส่งออกไทยในระยะยาวนั้น ทำผ่านการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้ ตรงกันข้าม หากไม่สามารถกระตุ้นการลงทุนให้ฟื้นตัวได้ในช่วง 2-3 ปี ข้างหน้า ประเทศไทยก็จะไม่มีกำลังการผลิต ที่จะไปผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก หรือเพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพราะขณะนี้ มีการใช้กำลังการผลิตถึง 75% ของกำลังการผลิตที่มีอยู่แล้ว ในระยะยาวนั้น ไทยคงจะต้องลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตและผลิตภาพ (productivity) เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ แม้ว่าเงินบาทจะแข็งค่ามากกว่านี้ 10-15%
4. ขณะนี้ การที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นไม่มากนั้น มิได้เป็นผลมาจากมาตรการกันสำรอง 30% เป็นหลัก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการแทรกแซงของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการเข้าไปซื้อเงินดอลลาร์ประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา
หากไม่แทรกแซงเงินบาทน่าจะแข็งค่าขึ้นมากกว่านี้ การแทรกแซงดังกล่าวกระตุ้นให้คนที่มีเงินดอลลาร์รีบขายออกเพื่อซื้อบาท เพราะทราบดีว่าเงินบาทควรแข็งค่ากว่านี้ ทำให้เกิดสภาวะ one-way bet ขึ้น ไม่แตกต่างจากการที่รัฐบาลที่แล้ว พยายามตรึงราคาดีเซลต่ำกว่าราคาจริง 20-30% ทำให้เกิดการใช้และกักตุนดีเซลมากเกินควร และต้องเลิกการแทรกแซงราคาดีเซล จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างถาวร
5. การที่เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่านั้น มีสาเหตุมาจากการส่งออกของไทยที่มีมากเกินความจำเป็น ทั้งนี้ เพราะเงินดอลลาร์ที่ได้จากการส่งออก จะถูกนำไปใช้ 3 ทาง คือ 1) คืนหนี้ต่างประเทศ (ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ 2) เพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศ (ขณะนี้ก็มีอยู่เกินพอแล้ว) และ 3) เพื่อนำเข้าสินค้าและบริการ
จากที่กล่าวมาข้างต้น ผมเห็นว่า การกระตุ้นการลงทุนให้เกิดการนำเข้าสินค้าทุน จึงจะเป็นการใช้ประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาทในปัจจุบันอย่างคุ้มค่าที่สุด เพราะการนำเข้าสินค้าทุนจะเป็นการเพิ่มกำลังการผลิตและประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมไทยในอนาคตนั่นเอง
19 มีนาคม 2550
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ผมจะต้องขอแจ้งให้ท่านผู้อ่านทราบว่า นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ได้ขอให้ผมระงับการคาดการณ์นโยบายการเงินการคลังเป็นการชั่วคราว สืบเนื่องมาจากการที่ผมได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม มีผลตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมเป็นต้นไป ทั้งนี้ คุณถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย จะเป็นผู้ทำการวิเคราะห์นโยบายการเงินการคลังแทนไปจนกว่าภารกิจของผมต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนจะสิ้นสุดลง
ทั้งนี้ เพราะฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงานและตรวจสอบภายใน (compliance) ของภัทร เห็นว่าการเข้าไปร่วมกิจกรรมของคณะกรรมการของรัฐดังกล่าว อาจทำให้ผมได้รับข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลสาธารณะ ดังนั้น ผมควรยุติการเขียนบทวิเคราะห์หรือแสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เพื่อป้องกันมิให้ข้อมูลดังกล่าวรั่วไหลออกไปโดยไม่ได้ตั้งใจ
นอกจากนั้น การเป็นนักวิเคราะห์ที่ทำประโยชน์ได้สูงสุดนั้น ย่อมต้องมีความอิสระและเป็นกลาง แต่หากเข้าไปร่วมงานกับคณะกรรมการขับเคลื่อนแล้ว ความเป็นกลางดังกล่าวจะถูกกระทบหรือพูดง่ายๆ คืออาจวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่เข้าข้างรัฐบาล และท่าทีของคณะกรรมการขับเคลื่อน ดังนั้น จึงควรให้ยุติการเขียนบทวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการเงินการคลังไปก่อน
ทั้งนี้ ผมจะยังสามารถเขียนถึงตัวเลขเศรษฐกิจ (หรือข้อเท็จจริง) ต่างๆ เช่น ภาวการณ์ส่งออกหรือการไหลเข้า-ออกของเงินทุนได้ และผมได้ขอให้สามารถนำเอาบทความต่างๆ ที่เขียนขึ้นมาในอดีต (ก่อนวันที่ 12 มี.ค.) มากล่าวถึงได้ ซึ่งพอสรุปแนวคิดของผมในอดีตได้ดังนี้
1. ผมเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงอย่างมากในปัจจุบัน (เงินเฟ้อทั่วไป 2.4% เงินเฟ้อพื้นฐาน 1.4%) ประกอบกับความเสี่ยงของเงินเฟ้อในอนาคตต่ำ เปิดโอกาสให้คณะกรรมการการเงินสามารถลดดอกเบี้ยลงได้ประมาณ 1.00-1.50% นอกจากนั้น ความโน้มเอียงของเศรษฐกิจที่เสี่ยงต่อการชะลอตัวลง ทำให้การปรับลดดอกเบี้ยนั้น ควรกระทำด้วยความรีบเร่ง
แต่ทั้งนี้ การนำมาซึ่งความไม่มั่นใจของนักลงทุน และการขับเคลื่อนการลงทุนนั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายปัจจัย เช่น ความไม่แน่นอนทางการเมือง ท่าทีของรัฐบาลต่อการแก้กฎหมายการลงทุนของคนต่างด้าว และการบังคับให้สิทธิบัตรยา เป็นต้น
2. การบังคับสำรอง 30% นั้น เป็นมาตรการที่สมควรยกเลิก เพราะบั่นทอนความมั่นใจของนักลงทุน การควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนที่เข้มงวดเช่นนี้ เป็นการปฏิเสธการไหลเข้าของเงินทุน ทั้งที่เป็นเงินทุนระยะสั้นและเงินทุนระยะยาว ส่วนหนึ่ง ทั้งๆ ที่ประเทศไทยในขณะนี้ กำลังประสบปัญหาการชะลอตัวลงอย่างรุนแรงของการลงทุนที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องกว่า 4 ปี และล่าสุดดัชนีการลงทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยก็เริ่มติดลบ
3. การสนับสนุนผู้ส่งออกไทยในระยะยาวนั้น ทำผ่านการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้ ตรงกันข้าม หากไม่สามารถกระตุ้นการลงทุนให้ฟื้นตัวได้ในช่วง 2-3 ปี ข้างหน้า ประเทศไทยก็จะไม่มีกำลังการผลิต ที่จะไปผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก หรือเพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพราะขณะนี้ มีการใช้กำลังการผลิตถึง 75% ของกำลังการผลิตที่มีอยู่แล้ว ในระยะยาวนั้น ไทยคงจะต้องลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตและผลิตภาพ (productivity) เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ แม้ว่าเงินบาทจะแข็งค่ามากกว่านี้ 10-15%
4. ขณะนี้ การที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นไม่มากนั้น มิได้เป็นผลมาจากมาตรการกันสำรอง 30% เป็นหลัก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการแทรกแซงของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการเข้าไปซื้อเงินดอลลาร์ประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา
หากไม่แทรกแซงเงินบาทน่าจะแข็งค่าขึ้นมากกว่านี้ การแทรกแซงดังกล่าวกระตุ้นให้คนที่มีเงินดอลลาร์รีบขายออกเพื่อซื้อบาท เพราะทราบดีว่าเงินบาทควรแข็งค่ากว่านี้ ทำให้เกิดสภาวะ one-way bet ขึ้น ไม่แตกต่างจากการที่รัฐบาลที่แล้ว พยายามตรึงราคาดีเซลต่ำกว่าราคาจริง 20-30% ทำให้เกิดการใช้และกักตุนดีเซลมากเกินควร และต้องเลิกการแทรกแซงราคาดีเซล จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างถาวร
5. การที่เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่านั้น มีสาเหตุมาจากการส่งออกของไทยที่มีมากเกินความจำเป็น ทั้งนี้ เพราะเงินดอลลาร์ที่ได้จากการส่งออก จะถูกนำไปใช้ 3 ทาง คือ 1) คืนหนี้ต่างประเทศ (ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ 2) เพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศ (ขณะนี้ก็มีอยู่เกินพอแล้ว) และ 3) เพื่อนำเข้าสินค้าและบริการ
จากที่กล่าวมาข้างต้น ผมเห็นว่า การกระตุ้นการลงทุนให้เกิดการนำเข้าสินค้าทุน จึงจะเป็นการใช้ประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาทในปัจจุบันอย่างคุ้มค่าที่สุด เพราะการนำเข้าสินค้าทุนจะเป็นการเพิ่มกำลังการผลิตและประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมไทยในอนาคตนั่นเอง