กลุ่มชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์และเครื่องจักรกล
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news11/09/07
โพสต์ที่ 31
เครื่องจักรไทยเดี้ยงลูกค้าเมิน แห่ใช้บริการของนอกปีละ4.5แสนล.
พาณิชย์ชี้ผู้ประกอบการนิยมนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ เมินของที่ผลิตในประเทศ นักวิชาการแนะรัฐต้องสนับสนุนเงินทุนผ่านระบบสหกรณ์ ชูเป็นยุทธศาสตร์ชัดเจน เพิ่มศักยภาพสินค้าให้เป็นที่เป็นที่ยอมรับของนักลงทุน
นายกฤษฎา ธนะคุ้มชีพ ผู้เชี่ยวชาญมาตรการทางการค้าและผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายบริหารการนำเข้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยในงานเสวนาเรื่อง"การพัฒนาศักยภาพการผลิตการตลาดเครื่องจักรการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้า"ว่าแต่ละปีประเทศไทยนำเข้าสินค้า4.7 - 4.9 ล้านล้านบาทแบ่งสินค้านำเข้าสำคัญ4 กลุ่ม ได้แก่เชื้อเพลิงปีละ 5 - 9แสนล้านบาทหรือ20% ,สินค้าทุนปีละ 1.07 - 1.35ล้านล้านบาท หรือ 25% ,สินค้าวัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูปปีละ 1.7 - 2.0ล้านล้านบาทหรือ 43%และอุปโภคบริโภค 0.33 -0.36 ล้านล้านบาทคิดเป็น 7%
ทั้งนี้สินค้าทุนเป็นกลุ่มที่กรมฯให้ความสำคัญเนื่องจากมีผลต่อต้นทุนการผลิตการลงทุนและการส่งออกสูงมีมูลค่าการนำเข้าปีละประมาณ1.35 ล้านล้านบาทโดยสินค้าทุนนำเข้าอันดับหนึ่งคือเครื่องจักรและส่วนประกอบมีมูลค่าการนำเข้าปีละ4.5 แสนล้านบาท รองลงมาเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบมูลค่าการนำเข้าปีละ3.7 แสนล้านบาทเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบมูลค่าการนำเข้าปีละ2.9 แสนล้านบาทและสินค้าทุนอื่น ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์โลหะผลิตภัณฑ์ทำจากยางเครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เครื่องบินและอุปกรณ์การบินเป็นมูลค่าการนำเข้าปีละ2.6 แสนล้านบาท
"กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่ส่งเสริมเรื่องการหาตลาดเพราะเราคิดเสมอว่าหากเครื่องจักรดีแต่ไม่มีคนซื้อก็ไม่มีประโยชน์ เราต้องปรับความรู้พื้นฐานนำมาประยุกต์กับเทคโนโลยีให้ได้จะเห็นว่าตอนนี้เครื่องจักรของไทยส่วนใหญ่ขาดการพัฒนาที่ต่อเนื่องพัฒนาเพียงต้นแบบความรู้ด้านวิชาการที่ออกมาเป็นผลงานมีถึง2หมื่นชิ้นแต่นำมาพัฒนาใช้จริงเพียง 20 ชิ้น นอกจากนี้การที่ประเทศไทยทำข้อตกลงเอฟทีเอกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะญี่ปุ่นเราน่าจะอาศัยโอกาสนี้นำบุคคลากรเข้าไปฝึกด้านเทคโนโลยีหากทำได้จะพัฒนาวงการเครื่องจักรได้ในอนาคต"
นายชัชพล ชังชู อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าวว่ากำลังการซื้อเครื่องจักรของผู้ประกอบการไทยติดลบ รัฐบาลต้องเข้ามาส่งเสริมผ่านระบบสหกรณ์เพราะต่อให้มีเครื่องจักรคุณภาพดีราคาถูกแต่หากผู้ซื้อขาดเงินทุน สินค้าก็ไม่มีความหมาย ขณะเดียวกันผู้ซื้อบางรายที่มีกำลังซื้อนิยมใช้เครื่องจักรจากต่างประเทศมากกว่าเช่น เยอรมัน อิตาลีญี่ปุ่นหรือบางกรณีพบว่าบริษัทต่างชาติในไทยถูกกำหนดให้ใช้เครื่องจักรนำเข้าตามนโยบายบริษัทแม่ส่วนโครงการสนับสนุนการปรับปรุงฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรแก่ SMEs (Machine Fund)ขณะนี้มีปัญหาด้านสถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้ให้แก่ผู้ประกอบการเนื่องจากขาดยอดสั่งซื้อสินค้าทำให้สถาบันการเงินส่วนใหญ่ไม่อนุมัติปล่อยสินเชื่อทางด้านนี้
นายณรงค์ สกุลศิริรัตน์ อุปนายกสมาคมเครื่องจักรกลไทยกล่าวว่าการสร้างศักยภาพเครื่องจักรของไทยเพื่อทดแทนการนำเข้าจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมีนโยบายยุทธศาสตร์และแผนงานที่ชัดเจนแต่เนื่องจากการสร้างเครื่องจักรจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์และต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนาประสิทธิภาพอีกระยะหนึ่งการสร้างเครื่องจักรใหม่ภายในประเทศยังคงมีอุปสรรคโครงสร้างภาษีที่ยังไม่เอื้ออำนวยจะเห็นว่าประเทศไทยนิยมนำเข้าชิ้นส่วนเครื่องจักรที่มีภาษีการนำเข้าสูงถึง25%เข้ามาประกอบภายในประเทศกว่าการสั่งซื้อเครื่องจักรแบบสำเร็จรูปทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจในการลงทุน
http://www.naewna.com/news.asp?ID=74632
พาณิชย์ชี้ผู้ประกอบการนิยมนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ เมินของที่ผลิตในประเทศ นักวิชาการแนะรัฐต้องสนับสนุนเงินทุนผ่านระบบสหกรณ์ ชูเป็นยุทธศาสตร์ชัดเจน เพิ่มศักยภาพสินค้าให้เป็นที่เป็นที่ยอมรับของนักลงทุน
นายกฤษฎา ธนะคุ้มชีพ ผู้เชี่ยวชาญมาตรการทางการค้าและผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายบริหารการนำเข้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยในงานเสวนาเรื่อง"การพัฒนาศักยภาพการผลิตการตลาดเครื่องจักรการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้า"ว่าแต่ละปีประเทศไทยนำเข้าสินค้า4.7 - 4.9 ล้านล้านบาทแบ่งสินค้านำเข้าสำคัญ4 กลุ่ม ได้แก่เชื้อเพลิงปีละ 5 - 9แสนล้านบาทหรือ20% ,สินค้าทุนปีละ 1.07 - 1.35ล้านล้านบาท หรือ 25% ,สินค้าวัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูปปีละ 1.7 - 2.0ล้านล้านบาทหรือ 43%และอุปโภคบริโภค 0.33 -0.36 ล้านล้านบาทคิดเป็น 7%
ทั้งนี้สินค้าทุนเป็นกลุ่มที่กรมฯให้ความสำคัญเนื่องจากมีผลต่อต้นทุนการผลิตการลงทุนและการส่งออกสูงมีมูลค่าการนำเข้าปีละประมาณ1.35 ล้านล้านบาทโดยสินค้าทุนนำเข้าอันดับหนึ่งคือเครื่องจักรและส่วนประกอบมีมูลค่าการนำเข้าปีละ4.5 แสนล้านบาท รองลงมาเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบมูลค่าการนำเข้าปีละ3.7 แสนล้านบาทเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบมูลค่าการนำเข้าปีละ2.9 แสนล้านบาทและสินค้าทุนอื่น ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์โลหะผลิตภัณฑ์ทำจากยางเครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เครื่องบินและอุปกรณ์การบินเป็นมูลค่าการนำเข้าปีละ2.6 แสนล้านบาท
"กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่ส่งเสริมเรื่องการหาตลาดเพราะเราคิดเสมอว่าหากเครื่องจักรดีแต่ไม่มีคนซื้อก็ไม่มีประโยชน์ เราต้องปรับความรู้พื้นฐานนำมาประยุกต์กับเทคโนโลยีให้ได้จะเห็นว่าตอนนี้เครื่องจักรของไทยส่วนใหญ่ขาดการพัฒนาที่ต่อเนื่องพัฒนาเพียงต้นแบบความรู้ด้านวิชาการที่ออกมาเป็นผลงานมีถึง2หมื่นชิ้นแต่นำมาพัฒนาใช้จริงเพียง 20 ชิ้น นอกจากนี้การที่ประเทศไทยทำข้อตกลงเอฟทีเอกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะญี่ปุ่นเราน่าจะอาศัยโอกาสนี้นำบุคคลากรเข้าไปฝึกด้านเทคโนโลยีหากทำได้จะพัฒนาวงการเครื่องจักรได้ในอนาคต"
นายชัชพล ชังชู อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าวว่ากำลังการซื้อเครื่องจักรของผู้ประกอบการไทยติดลบ รัฐบาลต้องเข้ามาส่งเสริมผ่านระบบสหกรณ์เพราะต่อให้มีเครื่องจักรคุณภาพดีราคาถูกแต่หากผู้ซื้อขาดเงินทุน สินค้าก็ไม่มีความหมาย ขณะเดียวกันผู้ซื้อบางรายที่มีกำลังซื้อนิยมใช้เครื่องจักรจากต่างประเทศมากกว่าเช่น เยอรมัน อิตาลีญี่ปุ่นหรือบางกรณีพบว่าบริษัทต่างชาติในไทยถูกกำหนดให้ใช้เครื่องจักรนำเข้าตามนโยบายบริษัทแม่ส่วนโครงการสนับสนุนการปรับปรุงฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรแก่ SMEs (Machine Fund)ขณะนี้มีปัญหาด้านสถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้ให้แก่ผู้ประกอบการเนื่องจากขาดยอดสั่งซื้อสินค้าทำให้สถาบันการเงินส่วนใหญ่ไม่อนุมัติปล่อยสินเชื่อทางด้านนี้
นายณรงค์ สกุลศิริรัตน์ อุปนายกสมาคมเครื่องจักรกลไทยกล่าวว่าการสร้างศักยภาพเครื่องจักรของไทยเพื่อทดแทนการนำเข้าจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมีนโยบายยุทธศาสตร์และแผนงานที่ชัดเจนแต่เนื่องจากการสร้างเครื่องจักรจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์และต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนาประสิทธิภาพอีกระยะหนึ่งการสร้างเครื่องจักรใหม่ภายในประเทศยังคงมีอุปสรรคโครงสร้างภาษีที่ยังไม่เอื้ออำนวยจะเห็นว่าประเทศไทยนิยมนำเข้าชิ้นส่วนเครื่องจักรที่มีภาษีการนำเข้าสูงถึง25%เข้ามาประกอบภายในประเทศกว่าการสั่งซื้อเครื่องจักรแบบสำเร็จรูปทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจในการลงทุน
http://www.naewna.com/news.asp?ID=74632
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news11/09/07
โพสต์ที่ 32
พานาฯชู5สินค้าเรือธงขึ้นผู้นำ
โพสต์ทูเดย์ พานาโซนิคลงทุนเจาะตลาดรถยนต์ รับไทยมุ่งดีทรอยต์เอเชีย พร้อมชูสินค้า 5 กลุ่มเป็นเรือธงดันรายได้เพิ่ม
นายไดโซ อิโตะ ซีอีโอกลุ่มบริษัท พานาโซนิค ประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทจะลงทุนต่อเนื่องในกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวกับรถยนต์ เช่น วิทยุติดรถยนต์ เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดรถยนต์ในเมืองไทยที่มุ่งสู่การเป็นดีทรอยต์เอเชีย รวมทั้งการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตสินค้าในกลุ่มมอเตอร์ เช่น พัดลมดูดอากาศ เป็นต้น
ในปีที่ผ่านมาต่อเนื่องถึงปีนี้ บริษัทได้ลงทุนไปแล้วกว่า 1.6 พันล้านบาทในธุรกิจเครื่องเสียงรถยนต์และมอเตอร์ และจะยังลงทุนอย่าง ต่อเนื่อง นายอิโตะ กล่าว
สำหรับสินค้าที่บริษัทจะให้ความสำคัญนับจากนี้ จะมุ่งไปที่พลาสมาทีวี แอลซีดีทีวี กล้องดิจิตอล เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น ตามลำดับ รวมทั้งจะเร่งปรับภาพลักษณ์แบรนด์พานาโซนิคให้ทันสมัยขึ้น เพื่อขยายฐานลูกค้าวัยรุ่นและคนเริ่มทำงาน และคาดว่าในปีนี้จะสามารถเติบโตได้ 15% ตามเป้าหมาย โดยมียอดขายทั้งกลุ่มรวม 6.3 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้ ยังได้วางเป้าหมายในปี 2552 ที่จะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดสินค้าเรือธงทั้ง 5 กลุ่มให้เพิ่มขึ้น โดยจะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดพลาสมาทีวีจากเป้าหมายปีนี้ 30% เป็น 80% แอลซีดีทีวีจาก 20% เป็น 30% กล้องดิจิตอลจากเป้า 15% ปีนี้เป็น 20% เครื่องปรับอากาศเพิ่มจาก 21% เป็น 30% และตู้เย็นจะเพิ่มจากเป้าหมายส่วนแบ่งตลาดปีนี้ 22% เป็น 30% ในปี 2552 ซึ่งจะทำให้เป็นผู้นำตลาดใน 5 กลุ่มสินค้าดังกล่าว
ทั้งนี้ การปรับภาพลักษณ์จะเริ่มจากแบรนด์ พานาโซนิคโดยรวม และให้ความสำคัญกับการ สร้างภาพลักษณ์และตอกย้ำแบรนด์กล้องลูมิกซ์ ให้เกิดการรับรู้และจดจำได้ โดยในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ต่อเนื่องถึงต้นปีหน้าจะใช้งบการตลาดเฉพาะกล้องลูมิกซ์ถึง 80 ล้านบาทจัด 2 แคมเปญใหญ่
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=190691
โพสต์ทูเดย์ พานาโซนิคลงทุนเจาะตลาดรถยนต์ รับไทยมุ่งดีทรอยต์เอเชีย พร้อมชูสินค้า 5 กลุ่มเป็นเรือธงดันรายได้เพิ่ม
นายไดโซ อิโตะ ซีอีโอกลุ่มบริษัท พานาโซนิค ประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทจะลงทุนต่อเนื่องในกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวกับรถยนต์ เช่น วิทยุติดรถยนต์ เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดรถยนต์ในเมืองไทยที่มุ่งสู่การเป็นดีทรอยต์เอเชีย รวมทั้งการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตสินค้าในกลุ่มมอเตอร์ เช่น พัดลมดูดอากาศ เป็นต้น
ในปีที่ผ่านมาต่อเนื่องถึงปีนี้ บริษัทได้ลงทุนไปแล้วกว่า 1.6 พันล้านบาทในธุรกิจเครื่องเสียงรถยนต์และมอเตอร์ และจะยังลงทุนอย่าง ต่อเนื่อง นายอิโตะ กล่าว
สำหรับสินค้าที่บริษัทจะให้ความสำคัญนับจากนี้ จะมุ่งไปที่พลาสมาทีวี แอลซีดีทีวี กล้องดิจิตอล เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น ตามลำดับ รวมทั้งจะเร่งปรับภาพลักษณ์แบรนด์พานาโซนิคให้ทันสมัยขึ้น เพื่อขยายฐานลูกค้าวัยรุ่นและคนเริ่มทำงาน และคาดว่าในปีนี้จะสามารถเติบโตได้ 15% ตามเป้าหมาย โดยมียอดขายทั้งกลุ่มรวม 6.3 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้ ยังได้วางเป้าหมายในปี 2552 ที่จะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดสินค้าเรือธงทั้ง 5 กลุ่มให้เพิ่มขึ้น โดยจะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดพลาสมาทีวีจากเป้าหมายปีนี้ 30% เป็น 80% แอลซีดีทีวีจาก 20% เป็น 30% กล้องดิจิตอลจากเป้า 15% ปีนี้เป็น 20% เครื่องปรับอากาศเพิ่มจาก 21% เป็น 30% และตู้เย็นจะเพิ่มจากเป้าหมายส่วนแบ่งตลาดปีนี้ 22% เป็น 30% ในปี 2552 ซึ่งจะทำให้เป็นผู้นำตลาดใน 5 กลุ่มสินค้าดังกล่าว
ทั้งนี้ การปรับภาพลักษณ์จะเริ่มจากแบรนด์ พานาโซนิคโดยรวม และให้ความสำคัญกับการ สร้างภาพลักษณ์และตอกย้ำแบรนด์กล้องลูมิกซ์ ให้เกิดการรับรู้และจดจำได้ โดยในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ต่อเนื่องถึงต้นปีหน้าจะใช้งบการตลาดเฉพาะกล้องลูมิกซ์ถึง 80 ล้านบาทจัด 2 แคมเปญใหญ่
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=190691
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news24/09/07
โพสต์ที่ 33
โค้งสุดท้าย สินค้าไฟฟ้า สิ้นปีโตฉลุย
โพสต์ทูเดย์ กรุงไทยการไฟฟ้า คาดครึ่งปีหลังกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กโตขึ้น 5-6%
นายวีรเทพ ฉัตรศิริวิชัยกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชาร์ป กล่าวว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้าย คาดการณ์ว่ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กประเภท หม้อหุงข้าว หม้อปรุงอาหาร เครื่องปั่นอาหารและน้ำผลไม้ โดยเฉพาะเครื่องทำน้ำอุ่น เนื่องจากใกล้เข้าสู่ฤดูหนาว จะทำให้ตลาดมีอัตราการเติบโต 5-6%
ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ได้รับผลกระทบจากประเทศจีน ที่มีสินค้าราคาถูกมาตีตลาด แต่เราปรับตัวโดยออกสินค้าใหม่ อย่างเช่น เครื่องทำน้ำอุ่น รุ่นออนเซน สามารถทำได้ทั้งน้ำแร่และน้ำอุ่น เข้ามาทำตลาด ปัจจุบันมีสินค้าอยู่ 7 รุ่น ขณะเดียวกันได้ออกสินค้าใหม่ คือ หม้อปรุงอาหาร ออกมาทำตลาดด้วย นายวีรเทพ กล่าว
ทั้งนี้ แนวโน้มตลาดเครื่องใช้ ไฟฟ้าในครึ่งปีหลังมีการประเมินกันว่า ผู้ประกอบการแต่ละรายจะทำธุรกิจยากมากขึ้น หรืออยู่ในช่วงอาการหนักก็ว่าได้ หลังสำรวจตลาดพบว่ายอดการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกยี่ห้อลดลง เป็นผลจากเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคหายไปด้วย
ในส่วนของบริษัท ยอดขายครึ่ง ปีแรกที่ผ่านมามีรายได้เติบโตลดลง 2-3% จากเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 10% ขณะที่สิ้นปีนี้ตั้งเป้ารายได้รวมเติบโต 10% ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะเป็นไปตามนั้น ซึ่งขึ้นกับสถานการณ์เศรษฐกิจว่าจะชะลอตัวมากหรือน้อย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=193274
โพสต์ทูเดย์ กรุงไทยการไฟฟ้า คาดครึ่งปีหลังกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กโตขึ้น 5-6%
นายวีรเทพ ฉัตรศิริวิชัยกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชาร์ป กล่าวว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้าย คาดการณ์ว่ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กประเภท หม้อหุงข้าว หม้อปรุงอาหาร เครื่องปั่นอาหารและน้ำผลไม้ โดยเฉพาะเครื่องทำน้ำอุ่น เนื่องจากใกล้เข้าสู่ฤดูหนาว จะทำให้ตลาดมีอัตราการเติบโต 5-6%
ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ได้รับผลกระทบจากประเทศจีน ที่มีสินค้าราคาถูกมาตีตลาด แต่เราปรับตัวโดยออกสินค้าใหม่ อย่างเช่น เครื่องทำน้ำอุ่น รุ่นออนเซน สามารถทำได้ทั้งน้ำแร่และน้ำอุ่น เข้ามาทำตลาด ปัจจุบันมีสินค้าอยู่ 7 รุ่น ขณะเดียวกันได้ออกสินค้าใหม่ คือ หม้อปรุงอาหาร ออกมาทำตลาดด้วย นายวีรเทพ กล่าว
ทั้งนี้ แนวโน้มตลาดเครื่องใช้ ไฟฟ้าในครึ่งปีหลังมีการประเมินกันว่า ผู้ประกอบการแต่ละรายจะทำธุรกิจยากมากขึ้น หรืออยู่ในช่วงอาการหนักก็ว่าได้ หลังสำรวจตลาดพบว่ายอดการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกยี่ห้อลดลง เป็นผลจากเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคหายไปด้วย
ในส่วนของบริษัท ยอดขายครึ่ง ปีแรกที่ผ่านมามีรายได้เติบโตลดลง 2-3% จากเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 10% ขณะที่สิ้นปีนี้ตั้งเป้ารายได้รวมเติบโต 10% ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะเป็นไปตามนั้น ซึ่งขึ้นกับสถานการณ์เศรษฐกิจว่าจะชะลอตัวมากหรือน้อย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=193274
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news24/09/07
โพสต์ที่ 34
ดันเอกชนใช้ เครื่องจักรไทย แก้ค้าขาดดุล
โพสต์ทูเดย์ พาณิชย์ ดันแผนกระตุ้นผู้ประกอบการ/เกษตรกร หันใช้เครื่องจักรที่ผลิตในประเทศมากขึ้น ลดปัญหาขาดดุลปีละ 4.4 แสนล้านบาท
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดี กรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ขณะนี้เตรียมแผนจะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยผลักดันให้ผู้ประกอบการที่ต้องใช้เครื่องจักรผลิตในภาคเกษตร หันมาใช้เครื่องจักรที่ผลิตในประเทศ เพื่อการแปรรูปเพิ่มมูลค่า และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้า โดยร่วมกับสมาคมเครื่องจักรกลไทย หน่วยงานการศึกษา และธนาคารที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ
ปัจจุบันไทยนำเข้าสินค้าในกลุ่มทุนมีมูลค่าปีละประมาณ 1.34 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการนำเข้าเครื่องจักรและส่วนประกอบถึงปีละ 4.4 แสนล้านบาท แยกเป็นนำเข้าเครื่องจักรการเกษตร มูลค่า 1.28 หมื่นล้านบาท เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรม 3.13 แสนล้านบาท เครื่องจักรกลอื่นๆ 1.13 แสนล้านบาท
การใช้มาตรการดังกล่าวจะช่วยลดภาระนำเข้าให้ประเทศได้ค่อนข้างมาก และสนับสนุนการใช้จ่ายในประเทศด้วย ซึ่งในวันที่ 25 ก.ย.จะเดินทางไปภาคตะวันออก จัดสัมมนาใหญ่ที่ จ.ระยอง เนื่องจากเห็นว่าเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่มีการใช้เครื่องจักรจำนวนมาก และเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะทุเรียน เงาะ มังคุด
นอกจากนี้ กรมยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงเครื่องจักร (Retrofit) ในทุกๆ ภูมิภาคด้วย
ทั้งนี้ เป็นการสนับสนุนให้พัฒนาอาชีพของช่างฝีมือ และนักศึกษาด้านเทคนิคในภูมิภาค ทำให้ไม่ต้องไปหางานทำในกรุงเทพฯ และยังจะช่วยให้ ผู้ประกอบการในภูมิภาคที่ประสงค์ซ่อมบำรุงเครื่องจักร ไม่ต้องส่งเครื่องจักรเข้ามาที่กรุงเทพฯ ช่วยลดต้นทุน ให้ผู้ประกอบการได้อีกทางหนึ่ง
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=193293
โพสต์ทูเดย์ พาณิชย์ ดันแผนกระตุ้นผู้ประกอบการ/เกษตรกร หันใช้เครื่องจักรที่ผลิตในประเทศมากขึ้น ลดปัญหาขาดดุลปีละ 4.4 แสนล้านบาท
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดี กรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ขณะนี้เตรียมแผนจะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยผลักดันให้ผู้ประกอบการที่ต้องใช้เครื่องจักรผลิตในภาคเกษตร หันมาใช้เครื่องจักรที่ผลิตในประเทศ เพื่อการแปรรูปเพิ่มมูลค่า และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้า โดยร่วมกับสมาคมเครื่องจักรกลไทย หน่วยงานการศึกษา และธนาคารที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ
ปัจจุบันไทยนำเข้าสินค้าในกลุ่มทุนมีมูลค่าปีละประมาณ 1.34 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการนำเข้าเครื่องจักรและส่วนประกอบถึงปีละ 4.4 แสนล้านบาท แยกเป็นนำเข้าเครื่องจักรการเกษตร มูลค่า 1.28 หมื่นล้านบาท เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรม 3.13 แสนล้านบาท เครื่องจักรกลอื่นๆ 1.13 แสนล้านบาท
การใช้มาตรการดังกล่าวจะช่วยลดภาระนำเข้าให้ประเทศได้ค่อนข้างมาก และสนับสนุนการใช้จ่ายในประเทศด้วย ซึ่งในวันที่ 25 ก.ย.จะเดินทางไปภาคตะวันออก จัดสัมมนาใหญ่ที่ จ.ระยอง เนื่องจากเห็นว่าเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่มีการใช้เครื่องจักรจำนวนมาก และเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะทุเรียน เงาะ มังคุด
นอกจากนี้ กรมยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงเครื่องจักร (Retrofit) ในทุกๆ ภูมิภาคด้วย
ทั้งนี้ เป็นการสนับสนุนให้พัฒนาอาชีพของช่างฝีมือ และนักศึกษาด้านเทคนิคในภูมิภาค ทำให้ไม่ต้องไปหางานทำในกรุงเทพฯ และยังจะช่วยให้ ผู้ประกอบการในภูมิภาคที่ประสงค์ซ่อมบำรุงเครื่องจักร ไม่ต้องส่งเครื่องจักรเข้ามาที่กรุงเทพฯ ช่วยลดต้นทุน ให้ผู้ประกอบการได้อีกทางหนึ่ง
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=193293
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news26/09/07
โพสต์ที่ 35
เครื่องใช้ไฟฟ้าแข่งดุโหมแคมเปญปิด Q3กระตุ้นยอดครึ่งปีหลัง [ ฉบับที่ 831 ประจำวันที่ 26-9-2007 ถึง 28-9-2007]
เครื่องใช้ไฟฟ้าส่งแคมเปญเดือดส่งท้าย Q3 ซัมซุง ผุด 11 Days Spacial จัดชุดสินค้านำเสนอส่วนลด 30% ไต่เป้า 4 พันล้าน ด้าน สตีเบล เร่งเครื่องตลาดเครื่องทำน้ำอุ่นก่อนใคร ทุ่ม 30 ล้าน สานแคมเปญ ไอเลิฟสตีเบล ขยายช่อง ทางการจำหน่าย ส่วน ซันโย เทขาย สินค้ามีตำหนิ พร้อมแนะนำโปรโมชั่น ซีซีทีวี รับกระแสความปลอดภัย ขณะเดียวกันเพาเวอร์บายคาดยอดขายงาน โฮมเวิร์ค เอ็กซ์โป ทะลุ 400 ล้านบาทแน่
นายชาญวิทย์ เขียวนาวาวงศ์ษา ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือน บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด เปิดเผยว่า แผนการตลาดในช่วงครึ่งปีหลังของ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือนของซัมซุงต่อจากนี้ไป ซัมซุงเตรียมทำในเชิงรุกมากขึ้น
ด้วยการเตรียมเปิดตัวสินค้าใหม่รวมกว่า 50 รุ่น โดยแผนการตลาดของสินค้าซัมซุงในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนในปีนี้เตรียมใช้งบ
กว่า 400 ล้านบาท ในการทำสื่อประชาสัมพันธ์โดยแบ่งเป็นงบ อะเบิฟ เดอะ ไลน์ (Above the Line) 160 ล้านบาท และงบบีโลว์ เดอะ ไลน์ (Below the Line) 240 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบที่ใช้ในครึ่งปีแรก 150 ล้านบาทและครึ่งปีหลังอีก 250 ล้านบาท
ล่าสุดซัมซุงได้จัดกิจกรรมโปรโมชั่น 11 Days Special by Samsung ระดมสินค้าของซัมซุงทุกหมวด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มภาพและเสียง, เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน, ไอที และโทรศัพท์มือถือ มาจัดเป็นแพ็กเกจราคาสุดคุ้ม ได้แก่ มิกซ์แอนด์แมตช์ (Mix & Match) เลือกสินค้าได้ตามใจชอบจาก 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ พร้อมสิทธิ พิเศษในการรับเงินคืนสูงสุดถึง 30% พรีเมี่ยมแพ็กเกจ (Premium Package) สามารถจับคู่สินค้าด้วยราคาและข้อเสนอพิเศษ อาทิ แอลซีดีทีวีขนาด 40 นิ้ว รุ่น LA-40R81B และ ชุดโฮมเธียเตอร์ รุ่น HT-X250 ในราคาพิเศษเพียง 69,990 บาท จากปกติ 91,980 บาท แท็งกิ้ว ออฟเฟอร์ (Thank You Offer) อาทิ แอลซีดีทีวีขนาด 40 นิ้ว รุ่น LA-40R71B พิเศษ เพียง 49,990 บาท จากราคาปกติ 69,990 บาท และเครื่องซักผ้า รุ่น B1245A พิเศษเพียง 15,900 บาท จากราคาปกติ 19,990 บาท เป็นต้น ทั้งนี้แคมเปญ 11 Days Special by Samsung จัดขึ้นเพียง 11 วัน ระหว่างวันที่ 20-30 กันยายน 2550
สำหรับยอดขายรวมสิ้นปีนี้ของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของซัมซุงตั้งเป้าที่ 4,000 ล้านบาทหรือคิดเป็นอัตราการเติบโตขึ้น 40% โดยยอดขายแบ่งออกเป็น เครื่องซักผ้า 1,600 ล้านบาท ตู้เย็น 1,000 ล้านบาท เครื่องปรับอากาศ 930 ล้านบาท ไมโครเวฟ 300 ล้านบาท และเครื่องดูดฝุ่น 50-60 ล้านบาท
ด้านนายโรลานด์ เฮอร์น กรรมการผู้จัดการ บริษัท สตีเบล เอลทรอน เอเซีย จำกัด เปิดเผยว่า จากสภาพเศรษฐกิจที่ผ่านมา ส่งผลให้มูลค่ารวมของตลาดเครื่องทำน้ำอุ่น-น้ำร้อนปีนี้ น่าจะลดลงไม่ต่ำกว่า 10% จาก 340,000 เครื่องในปี 2549 เป็น 300,000 เครื่องในปีนี้ โดยปัจจัยหลักมาจากการชอบซื้อ ของผู้บริโภค ส่งผลให้การแข่งขันของเครื่องทำน้ำอุ่นในปีนี้มีความรุนแรงขึ้น โดยในส่วนของโลคัลแบรนด์ ยังคงใช้กลยุทธ์การแข่งขันด้านราคาเป็นหลัก ส่งผลให้ราคาสินค้าในตลาด รวม เฉลี่ยลดลงประมาณ 10% ส่วนผู้นำตลาด ระดับท็อป 3 จะใช้เทคโนโลยีและการเปิดตัวสินค้าใหม่ในการทำตลาด ทั้งนี้จะสานต่อแคมเปญ ไอ เลิฟ สตีเบล ที่เริ่มมาในปีที่แล้ว ปีนี้จะทำแคมเปญนี้ต่อเนื่องอีกส่วนหนึ่งด้วย ภายในงบการตลาด ทั้งปีที่ 30 ล้านบาท
ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัว 3 ผลิตภัณฑ์ใหม่ ภายใต้แนวคิด Stiebel Going Green ได้แก่ ปั๊มความร้อน (Heat Pump), เครื่องทำน้ำอุ่นรุ่นใหม่ I Series, เครื่องทำน้ำร้อน รุ่น Mini DHM รวมไปถึงสินค้าใหม่ที่นำมาทำตลาดครั้งแรกในไทย คือ เครื่องกรองน้ำแบบ UF (Ultra Filtration)
นอกจากนั้นมีการเพิ่มร้านค้าตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ จากประมาณ 460 ร้านทั่วประเทศ เป็นกว่า 500 ร้านในปีนี้ โดยมุ่งเน้น ร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าของคู่แข่งให้เข้าเป็นพันธมิตรเป็นหลัก ส่วนช่องทางโมเดิร์นเทรด ปีนี้มีการวางจำหน่ายสินค้าในส่วนของเพาเวอร์บาย ทุกสาขาแล้ว จากเดิมที่มีจำหน่ายเฉพาะในโฮมโปร และโฮมเวิร์ค เท่านั้น โดยรายได้ในปีนี้ยังเติบโตขึ้นประมาณ 10% ตามเป้าที่วางไว้ หรือกว่า 360 ล้านบาท แม้รายได้จากในประเทศจะลดลงเหลือประมาณ 306-307 ล้านบาท จาก 333 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา
ส่วนบริษัท ซันโย (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดขายสินค้าตำหนิ อาทิ ตู้เย็น ทีวี เครื่องซักผ้า เตาแก๊ส ไมโครเวฟ กล้องดิจิตอล และสินค้าอื่นๆ ในราคาพิเศษ ระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม 2550 ณ อาคารเตียวฮง (บางนา) ถนนบางนา ตราด (ขาเข้า) กิโลเมตรที่ 4.5
นอกจากนั้น ยังแนะนำโปรโมชั่นกล้องซันโยซีซีทีวีโดยผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยระบบ DDNS สำหรับรุ่น VCC-D100P จากราคาปกติชุดละ 69,900 บาท เหลือเพียง 49,900 บาท (ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) พร้อมรับ กล้องดิจิตอล VPC-E60 พร้อมเมโมรี่การ์ด มูลค่ากว่า 9,900 สามารถเลือกผ่อน 0% นาน 10 เดือน กับบัตรเครดิต KTC, Citibank หรือ First Choice และการรับประกันนานถึง 3 ปีเต็ม ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ตุลาคม 2550
ขณะเดียวกันนายพงศ์ ศกุนตนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ซีอาร์ซี เพาเวอร์ รีเทล จำกัด ผู้บริหาร โฮมเวิร์ค ศูนย์รวมสินค้าตกแต่ง ซ่อมแซมบ้านครบวงจร เปิดเผยว่า การจัดงาน โฮมเวิร์ค เอ็กซ์โป ครั้งที่ 3 ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 กันยายน 2550 เป็นกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกครึ่งปีหลังที่ร่วมกับ เพาเวอร์บาย ศูนย์รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าไอที เพื่อกระตุ้นอารมณ์จับจ่ายปลาย ไตรมาส 3 ก่อนถึงไตรมาส 4 ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เน้นใช้เงินเพื่อการพักผ่อนและท่องเที่ยว
โดยใช้งบประมาณในการจัดงาน 80 ล้านบาท แบ่งเป็นงบดำเนินการ 40 ล้านบาท และ อีก 40 ล้านบาท สำหรับส่งเสริมการขาย การโฆษณา-ประชาสัมพันธ์ และคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 5 แสนคน และคาดคิดเป็นเงินสะพัดกว่า 400 ล้านบาท
สำหรับการจัดงานเมื่อต้นปีมียอดขาย 320 ล้านบาท โดยกว่า 30% มาจากลูกค้าที่ซื้อสินค้าเกิน 1 แสนบาทขึ้นไป นับว่า ประสบความสำเร็จเกินเป้าหมาย และส่งผลให้เกิดการขายต่อเนื่องไปยังสาขาต่างๆ พร้อมทั้งลูกค้ารู้จักแบรนด์โฮมเวิร์คเพิ่มมากขึ้น
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=6951
เครื่องใช้ไฟฟ้าส่งแคมเปญเดือดส่งท้าย Q3 ซัมซุง ผุด 11 Days Spacial จัดชุดสินค้านำเสนอส่วนลด 30% ไต่เป้า 4 พันล้าน ด้าน สตีเบล เร่งเครื่องตลาดเครื่องทำน้ำอุ่นก่อนใคร ทุ่ม 30 ล้าน สานแคมเปญ ไอเลิฟสตีเบล ขยายช่อง ทางการจำหน่าย ส่วน ซันโย เทขาย สินค้ามีตำหนิ พร้อมแนะนำโปรโมชั่น ซีซีทีวี รับกระแสความปลอดภัย ขณะเดียวกันเพาเวอร์บายคาดยอดขายงาน โฮมเวิร์ค เอ็กซ์โป ทะลุ 400 ล้านบาทแน่
นายชาญวิทย์ เขียวนาวาวงศ์ษา ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือน บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด เปิดเผยว่า แผนการตลาดในช่วงครึ่งปีหลังของ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือนของซัมซุงต่อจากนี้ไป ซัมซุงเตรียมทำในเชิงรุกมากขึ้น
ด้วยการเตรียมเปิดตัวสินค้าใหม่รวมกว่า 50 รุ่น โดยแผนการตลาดของสินค้าซัมซุงในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนในปีนี้เตรียมใช้งบ
กว่า 400 ล้านบาท ในการทำสื่อประชาสัมพันธ์โดยแบ่งเป็นงบ อะเบิฟ เดอะ ไลน์ (Above the Line) 160 ล้านบาท และงบบีโลว์ เดอะ ไลน์ (Below the Line) 240 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบที่ใช้ในครึ่งปีแรก 150 ล้านบาทและครึ่งปีหลังอีก 250 ล้านบาท
ล่าสุดซัมซุงได้จัดกิจกรรมโปรโมชั่น 11 Days Special by Samsung ระดมสินค้าของซัมซุงทุกหมวด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มภาพและเสียง, เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน, ไอที และโทรศัพท์มือถือ มาจัดเป็นแพ็กเกจราคาสุดคุ้ม ได้แก่ มิกซ์แอนด์แมตช์ (Mix & Match) เลือกสินค้าได้ตามใจชอบจาก 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ พร้อมสิทธิ พิเศษในการรับเงินคืนสูงสุดถึง 30% พรีเมี่ยมแพ็กเกจ (Premium Package) สามารถจับคู่สินค้าด้วยราคาและข้อเสนอพิเศษ อาทิ แอลซีดีทีวีขนาด 40 นิ้ว รุ่น LA-40R81B และ ชุดโฮมเธียเตอร์ รุ่น HT-X250 ในราคาพิเศษเพียง 69,990 บาท จากปกติ 91,980 บาท แท็งกิ้ว ออฟเฟอร์ (Thank You Offer) อาทิ แอลซีดีทีวีขนาด 40 นิ้ว รุ่น LA-40R71B พิเศษ เพียง 49,990 บาท จากราคาปกติ 69,990 บาท และเครื่องซักผ้า รุ่น B1245A พิเศษเพียง 15,900 บาท จากราคาปกติ 19,990 บาท เป็นต้น ทั้งนี้แคมเปญ 11 Days Special by Samsung จัดขึ้นเพียง 11 วัน ระหว่างวันที่ 20-30 กันยายน 2550
สำหรับยอดขายรวมสิ้นปีนี้ของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของซัมซุงตั้งเป้าที่ 4,000 ล้านบาทหรือคิดเป็นอัตราการเติบโตขึ้น 40% โดยยอดขายแบ่งออกเป็น เครื่องซักผ้า 1,600 ล้านบาท ตู้เย็น 1,000 ล้านบาท เครื่องปรับอากาศ 930 ล้านบาท ไมโครเวฟ 300 ล้านบาท และเครื่องดูดฝุ่น 50-60 ล้านบาท
ด้านนายโรลานด์ เฮอร์น กรรมการผู้จัดการ บริษัท สตีเบล เอลทรอน เอเซีย จำกัด เปิดเผยว่า จากสภาพเศรษฐกิจที่ผ่านมา ส่งผลให้มูลค่ารวมของตลาดเครื่องทำน้ำอุ่น-น้ำร้อนปีนี้ น่าจะลดลงไม่ต่ำกว่า 10% จาก 340,000 เครื่องในปี 2549 เป็น 300,000 เครื่องในปีนี้ โดยปัจจัยหลักมาจากการชอบซื้อ ของผู้บริโภค ส่งผลให้การแข่งขันของเครื่องทำน้ำอุ่นในปีนี้มีความรุนแรงขึ้น โดยในส่วนของโลคัลแบรนด์ ยังคงใช้กลยุทธ์การแข่งขันด้านราคาเป็นหลัก ส่งผลให้ราคาสินค้าในตลาด รวม เฉลี่ยลดลงประมาณ 10% ส่วนผู้นำตลาด ระดับท็อป 3 จะใช้เทคโนโลยีและการเปิดตัวสินค้าใหม่ในการทำตลาด ทั้งนี้จะสานต่อแคมเปญ ไอ เลิฟ สตีเบล ที่เริ่มมาในปีที่แล้ว ปีนี้จะทำแคมเปญนี้ต่อเนื่องอีกส่วนหนึ่งด้วย ภายในงบการตลาด ทั้งปีที่ 30 ล้านบาท
ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัว 3 ผลิตภัณฑ์ใหม่ ภายใต้แนวคิด Stiebel Going Green ได้แก่ ปั๊มความร้อน (Heat Pump), เครื่องทำน้ำอุ่นรุ่นใหม่ I Series, เครื่องทำน้ำร้อน รุ่น Mini DHM รวมไปถึงสินค้าใหม่ที่นำมาทำตลาดครั้งแรกในไทย คือ เครื่องกรองน้ำแบบ UF (Ultra Filtration)
นอกจากนั้นมีการเพิ่มร้านค้าตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ จากประมาณ 460 ร้านทั่วประเทศ เป็นกว่า 500 ร้านในปีนี้ โดยมุ่งเน้น ร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าของคู่แข่งให้เข้าเป็นพันธมิตรเป็นหลัก ส่วนช่องทางโมเดิร์นเทรด ปีนี้มีการวางจำหน่ายสินค้าในส่วนของเพาเวอร์บาย ทุกสาขาแล้ว จากเดิมที่มีจำหน่ายเฉพาะในโฮมโปร และโฮมเวิร์ค เท่านั้น โดยรายได้ในปีนี้ยังเติบโตขึ้นประมาณ 10% ตามเป้าที่วางไว้ หรือกว่า 360 ล้านบาท แม้รายได้จากในประเทศจะลดลงเหลือประมาณ 306-307 ล้านบาท จาก 333 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา
ส่วนบริษัท ซันโย (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดขายสินค้าตำหนิ อาทิ ตู้เย็น ทีวี เครื่องซักผ้า เตาแก๊ส ไมโครเวฟ กล้องดิจิตอล และสินค้าอื่นๆ ในราคาพิเศษ ระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม 2550 ณ อาคารเตียวฮง (บางนา) ถนนบางนา ตราด (ขาเข้า) กิโลเมตรที่ 4.5
นอกจากนั้น ยังแนะนำโปรโมชั่นกล้องซันโยซีซีทีวีโดยผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยระบบ DDNS สำหรับรุ่น VCC-D100P จากราคาปกติชุดละ 69,900 บาท เหลือเพียง 49,900 บาท (ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) พร้อมรับ กล้องดิจิตอล VPC-E60 พร้อมเมโมรี่การ์ด มูลค่ากว่า 9,900 สามารถเลือกผ่อน 0% นาน 10 เดือน กับบัตรเครดิต KTC, Citibank หรือ First Choice และการรับประกันนานถึง 3 ปีเต็ม ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ตุลาคม 2550
ขณะเดียวกันนายพงศ์ ศกุนตนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ซีอาร์ซี เพาเวอร์ รีเทล จำกัด ผู้บริหาร โฮมเวิร์ค ศูนย์รวมสินค้าตกแต่ง ซ่อมแซมบ้านครบวงจร เปิดเผยว่า การจัดงาน โฮมเวิร์ค เอ็กซ์โป ครั้งที่ 3 ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 กันยายน 2550 เป็นกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกครึ่งปีหลังที่ร่วมกับ เพาเวอร์บาย ศูนย์รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าไอที เพื่อกระตุ้นอารมณ์จับจ่ายปลาย ไตรมาส 3 ก่อนถึงไตรมาส 4 ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เน้นใช้เงินเพื่อการพักผ่อนและท่องเที่ยว
โดยใช้งบประมาณในการจัดงาน 80 ล้านบาท แบ่งเป็นงบดำเนินการ 40 ล้านบาท และ อีก 40 ล้านบาท สำหรับส่งเสริมการขาย การโฆษณา-ประชาสัมพันธ์ และคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 5 แสนคน และคาดคิดเป็นเงินสะพัดกว่า 400 ล้านบาท
สำหรับการจัดงานเมื่อต้นปีมียอดขาย 320 ล้านบาท โดยกว่า 30% มาจากลูกค้าที่ซื้อสินค้าเกิน 1 แสนบาทขึ้นไป นับว่า ประสบความสำเร็จเกินเป้าหมาย และส่งผลให้เกิดการขายต่อเนื่องไปยังสาขาต่างๆ พร้อมทั้งลูกค้ารู้จักแบรนด์โฮมเวิร์คเพิ่มมากขึ้น
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=6951
-
- Verified User
- โพสต์: 554
- ผู้ติดตาม: 0
กลุ่มชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์และเครื่องจักรกล
โพสต์ที่ 36
จอแอลซีดี17นิ้วส่อสูญพันธุ์ ผู้ผลิตหันสร้างจอ19นิ้วแทน
โพสต์ทูเดย SECTION B 02/10/2007 10:11:41
โพสต์ทูเดย์ แอลจี เผยจอแอลซีดีมอนิเตอร์ 17 นิ้ว เตรียมลงหลุม เหตุราคาตก ถูกแทนที่โดยจอ 19 นิ้วและ 22 นิ้ว เบียดเข้าชิงตลาด
นายกมล โคตรภูชัย ผู้บริหารบริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ปีหน้าจอภาพ (มอนิเตอร์) แบบแอลซีดีขนาด 19 นิ้วจะกลายเป็นมาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (พีซี) แทนที่จอภาพขนาด 17 นิ้ว ซึ่งจะปรับลดลงตามความต้องการของตลาด รวมถึงจอภาพขนาด 20 นิ้ว ด้วย เนื่องจากราคาของจอ 19 นิ้ว ลดลงมาอยู่ใกล้เคียงกับจอ 17 นิ้วอยู่ที่ 5 พันบาท ทำให้ผู้บริโภคที่ต้องการ จะเปลี่ยนจอภาพธรรมดา (ซีอาร์ที) ที่ตกรุ่นไปแล้วมาเป็นจอภาพแบบ แอลซีดีแทน
ผู้ผลิตจอมอนิเตอร์ทุกค่ายเลิกผลิตจอซีอาร์ที และจอแอลซีดีขนาด 17 นิ้ว หนีไปผลิตจอแอลซีดี 19 นิ้วแทนเพราะราคาจอนั้นใกล้เคียงกันมาก นายกมล กล่าว
ทั้งนี้ แอลจีเชื่อว่าปีหน้ายอดขาย จอภาพแบบซีอาร์ทีจะลดลง โดยจะมีส่วนแบ่งการตลาดเหลือเพียง 11% จากยอดขายรวม 1.6 ล้านจอ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีนี้มียอดขายที่ 1.4 ล้านจอ ส่วนจอภาพขนาด 22 นิ้วคาดมีส่วนแบ่ง 10% ของตลาดโดยรวม
ดังนั้น แอลจี จึงได้นำจอมอนิเตอร์แอลซีดี ในตระกูลแฟลทตรอน ขนาด 19, 20 และ 22 นิ้ว แบบไวด์ สกรีน เข้ามาทำตลาดเพื่อรองรับกระแสความต้องการของตลาด
นอกจากนี้ แอลจียังได้นำอุปกรณ์บันทึกและอ่านข้อมูล (ออฟติคอล ไดรฟ์) ด้วยแผ่นดีวีดี และซีดีอาร์ หรือสลิม พอร์ตเทเบิล ไดรฟ์ ขนาดบางสำหรับพกพาเข้ามาทำตลาดเพื่อรองรับการเติบโตของตลาดคอมพิว เตอร์โน้ตบุ๊ก โดยแอลจีมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 2 มียอดขาย 6 หมื่นเครื่อง จากตลาดรวมทั้งหมดในช่วงไตรมาส 3 ที่มีทั้งหมดประมาณ 3.9 แสนเครื่อง ส่งผลกลุ่มธุรกิจไอทีมีรายได้ 11% จากรายได้รวมของแอลจี ประเทศไทย
โพสต์ทูเดย SECTION B 02/10/2007 10:11:41
โพสต์ทูเดย์ แอลจี เผยจอแอลซีดีมอนิเตอร์ 17 นิ้ว เตรียมลงหลุม เหตุราคาตก ถูกแทนที่โดยจอ 19 นิ้วและ 22 นิ้ว เบียดเข้าชิงตลาด
นายกมล โคตรภูชัย ผู้บริหารบริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ปีหน้าจอภาพ (มอนิเตอร์) แบบแอลซีดีขนาด 19 นิ้วจะกลายเป็นมาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (พีซี) แทนที่จอภาพขนาด 17 นิ้ว ซึ่งจะปรับลดลงตามความต้องการของตลาด รวมถึงจอภาพขนาด 20 นิ้ว ด้วย เนื่องจากราคาของจอ 19 นิ้ว ลดลงมาอยู่ใกล้เคียงกับจอ 17 นิ้วอยู่ที่ 5 พันบาท ทำให้ผู้บริโภคที่ต้องการ จะเปลี่ยนจอภาพธรรมดา (ซีอาร์ที) ที่ตกรุ่นไปแล้วมาเป็นจอภาพแบบ แอลซีดีแทน
ผู้ผลิตจอมอนิเตอร์ทุกค่ายเลิกผลิตจอซีอาร์ที และจอแอลซีดีขนาด 17 นิ้ว หนีไปผลิตจอแอลซีดี 19 นิ้วแทนเพราะราคาจอนั้นใกล้เคียงกันมาก นายกมล กล่าว
ทั้งนี้ แอลจีเชื่อว่าปีหน้ายอดขาย จอภาพแบบซีอาร์ทีจะลดลง โดยจะมีส่วนแบ่งการตลาดเหลือเพียง 11% จากยอดขายรวม 1.6 ล้านจอ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีนี้มียอดขายที่ 1.4 ล้านจอ ส่วนจอภาพขนาด 22 นิ้วคาดมีส่วนแบ่ง 10% ของตลาดโดยรวม
ดังนั้น แอลจี จึงได้นำจอมอนิเตอร์แอลซีดี ในตระกูลแฟลทตรอน ขนาด 19, 20 และ 22 นิ้ว แบบไวด์ สกรีน เข้ามาทำตลาดเพื่อรองรับกระแสความต้องการของตลาด
นอกจากนี้ แอลจียังได้นำอุปกรณ์บันทึกและอ่านข้อมูล (ออฟติคอล ไดรฟ์) ด้วยแผ่นดีวีดี และซีดีอาร์ หรือสลิม พอร์ตเทเบิล ไดรฟ์ ขนาดบางสำหรับพกพาเข้ามาทำตลาดเพื่อรองรับการเติบโตของตลาดคอมพิว เตอร์โน้ตบุ๊ก โดยแอลจีมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 2 มียอดขาย 6 หมื่นเครื่อง จากตลาดรวมทั้งหมดในช่วงไตรมาส 3 ที่มีทั้งหมดประมาณ 3.9 แสนเครื่อง ส่งผลกลุ่มธุรกิจไอทีมีรายได้ 11% จากรายได้รวมของแอลจี ประเทศไทย
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news05/10/07
โพสต์ที่ 37
พานาฯลั่นโค่นโซนี่ชิงที่หนึ่งใน2ปี
โพสต์ทูเดย์ พานาโซนิค ลั่นชิงผู้นำกล้องดิจิตอลจากโซนี่ใน 2 ปี ด้วยส่วนแบ่ง 25% ทุ่ม 200 ล้าน ใช้ 2 ดาราดังดันยอด 3 เดือน 2.5 หมื่นเครื่อง
นายไดโซ อิโตะ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทพานาโซนิคในประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทตั้งเป้าเพิ่มยอดขายกล้องดิจิตอลให้เป็นอันดับหนึ่ง ด้วยส่วนแบ่งตลาด 25% ในปี 2552 แซงหน้าเบอร์หนึ่งยี่ห้อโซนี่ ซึ่งปัจจุบันมีส่วนแบ่งประมาณ 24% รองลงไปเป็นแคนนอน 20% อันดับสามซัมซุง และที่สี่เป็นนิคอน
ส่วนพานาโซนิคมีส่วนแบ่ง 8% จากตลาดรวมปีนี้ 8.5 แสนเครื่อง ภาพรวมโตขึ้น 10% จากปีก่อน ที่มียอดขายรวม 7.5 แสนเครื่อง
สิ้นปีนี้พานาโซนิคคาดว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเป็น 15% ก้าวขึ้นเป็นเบอร์สามของตลาด ด้วยการทุ่มงบทำกิจกรรมตลาด 200 ล้านบาท เปิดตัวกล้องใหม่ 3 รุ่น พร้อมพรีเซนเตอร์ดาราดัง 2 คน คือ เคน ธีรเดช กับ โดม-ปกรณ์ ลัม เพื่อสร้างการรับรู้ ในวงกว้างมากขึ้น นายอิโตะ กล่าว
นอกจากใช้พรีเซนเตอร์มาช่วย สื่อภาพลักษณ์หรืออิมเมจแล้ว คุณสมบัติของสินค้าเองได้พัฒนาให้มีโหมดอัจฉริยะหรือไอเอ (อินเทลลิเจนต์ ออโต้ โหมด) เพื่อป้องกันภาพสั่นไหว
สำหรับผลการดำเนินงานกลุ่ม พานาโซนิค 6 เดือนที่ผ่านมาทำได้ 1 หมื่นล้านบาท โต 110% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนเป้าทั้งปี 1.2 หมื่นล้านบาท ทีวีเป็นตัวทำรายได้หลัก รองลงมาเป็นถ่านไฟฉาย ขณะกล้องดิจิตอลทำรายได้สัดส่วน 11% ของรายได้รวม
กรณีข่าวปิดโรงงานผลิตจอทีวี แบบซีอาร์ทีในเมืองไทย ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนระหว่างพานาโซนิคกับโตชิบา ขณะนี้พานาโซนิคได้ซื้อหุ้นคืนจาก โตชิบาทั้งหมด และมีแผนจะปิดโรงงานจริงในเดือน ธ.ค.ปีนี้ รอจนกว่าพนักงาน 2.4 พันคนจะสามารถหางานทำได้ก่อน
เหตุที่ต้องปิดโรงงานในไทย เพราะต้นทุนการผลิตสูงจึงย้ายไปผลิตที่จีน เพราะตลาดยังมีความต้องการอยู่ นายอิโตะ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=195600
โพสต์ทูเดย์ พานาโซนิค ลั่นชิงผู้นำกล้องดิจิตอลจากโซนี่ใน 2 ปี ด้วยส่วนแบ่ง 25% ทุ่ม 200 ล้าน ใช้ 2 ดาราดังดันยอด 3 เดือน 2.5 หมื่นเครื่อง
นายไดโซ อิโตะ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทพานาโซนิคในประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทตั้งเป้าเพิ่มยอดขายกล้องดิจิตอลให้เป็นอันดับหนึ่ง ด้วยส่วนแบ่งตลาด 25% ในปี 2552 แซงหน้าเบอร์หนึ่งยี่ห้อโซนี่ ซึ่งปัจจุบันมีส่วนแบ่งประมาณ 24% รองลงไปเป็นแคนนอน 20% อันดับสามซัมซุง และที่สี่เป็นนิคอน
ส่วนพานาโซนิคมีส่วนแบ่ง 8% จากตลาดรวมปีนี้ 8.5 แสนเครื่อง ภาพรวมโตขึ้น 10% จากปีก่อน ที่มียอดขายรวม 7.5 แสนเครื่อง
สิ้นปีนี้พานาโซนิคคาดว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเป็น 15% ก้าวขึ้นเป็นเบอร์สามของตลาด ด้วยการทุ่มงบทำกิจกรรมตลาด 200 ล้านบาท เปิดตัวกล้องใหม่ 3 รุ่น พร้อมพรีเซนเตอร์ดาราดัง 2 คน คือ เคน ธีรเดช กับ โดม-ปกรณ์ ลัม เพื่อสร้างการรับรู้ ในวงกว้างมากขึ้น นายอิโตะ กล่าว
นอกจากใช้พรีเซนเตอร์มาช่วย สื่อภาพลักษณ์หรืออิมเมจแล้ว คุณสมบัติของสินค้าเองได้พัฒนาให้มีโหมดอัจฉริยะหรือไอเอ (อินเทลลิเจนต์ ออโต้ โหมด) เพื่อป้องกันภาพสั่นไหว
สำหรับผลการดำเนินงานกลุ่ม พานาโซนิค 6 เดือนที่ผ่านมาทำได้ 1 หมื่นล้านบาท โต 110% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนเป้าทั้งปี 1.2 หมื่นล้านบาท ทีวีเป็นตัวทำรายได้หลัก รองลงมาเป็นถ่านไฟฉาย ขณะกล้องดิจิตอลทำรายได้สัดส่วน 11% ของรายได้รวม
กรณีข่าวปิดโรงงานผลิตจอทีวี แบบซีอาร์ทีในเมืองไทย ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนระหว่างพานาโซนิคกับโตชิบา ขณะนี้พานาโซนิคได้ซื้อหุ้นคืนจาก โตชิบาทั้งหมด และมีแผนจะปิดโรงงานจริงในเดือน ธ.ค.ปีนี้ รอจนกว่าพนักงาน 2.4 พันคนจะสามารถหางานทำได้ก่อน
เหตุที่ต้องปิดโรงงานในไทย เพราะต้นทุนการผลิตสูงจึงย้ายไปผลิตที่จีน เพราะตลาดยังมีความต้องการอยู่ นายอิโตะ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=195600
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news06/10/07
โพสต์ที่ 38
ฤดูกาลของกลุ่ม อิเล็กทรอนิกส์
โดย บล.นครหลวงไทย
ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก เดือนล่าสุด ส.ค. 2550 ยังคงเห็นการเติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยขยายตัว 4.9% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 4.4% จากเดือน ก.ค. ซึ่งอัตราการเติบโตดังกล่าวจัดว่าสูงกว่าเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับภาพที่ บล.นครหลวงไทย ประเมินถึงการเข้าสู่ฤดูกาล High Season ของธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
สําหรับประเด็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ จะมีผลกระทบหรือไม่นั้น หากพิจารณาถึงตลาดที่มียอดขายเซมิคอนดักเตอร์สูงสุดจะอยู่ในเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) คิดเป็นสัดส่วน 49% ของยอดขายรวมในเดือน ส.ค. ขณะที่ สหรัฐ มีสัดส่วนเพียง 17% ของยอดรวมเท่านั้น นอกจากนี้ ตลาดอาจมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราส่วน SEMI Book-to-Bill Ratio
ล่าสุดเดือน ส.ค. ยังลดลงต่อเนื่องเหลือ 0.83x และต่ำกว่า 1เท่า เป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันก็ตาม แต่การสํารวจดังกล่าวเป็นเพียงผู้ผลิตเฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือเท่านั้น จึงไม่สามารถนํามาเป็นดัชนีชี้นําทิศทางธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งหมด
แนวโน้มการขยายตัวของธุรกิจหลักปรับโครงสร้างธุรกิจเสร็จสิ้นตั้งแต่ ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา โดยหันมาเน้นสินค้ากลุ่มสื่อสารมากขึ้น ซึ่งมีการเติบโตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดอินเดียและประเทศใกล้เคียง อันดับ 2 ได้แก่ บริษัท แคล-คอมพ์อีเล็คโทรนิคส์ (CCET) ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2550 ที่ 7.52 บาท และบริษัท ฮานาไมโครอีเล็คโทรนิคส์ (HANA) เป็นอันดับที่ 3 ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2550 ที่ 31.43 บาท
บล.นครหลวงไทย เลือกบริษัท เดลต้าอีเล็คโทรนิคส์ (DELTA) เป็นหุ้นที่แนะนำให้เลือกลงทุนสูงสุด ของกลุ่ม ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2550 ที่ 24.49 บาท อีกทั้งแนวโน้มการเติบโตของผลการดําเนินงานของ DELTA ตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป จะมีความชัดเจนมากขึ้น เพราะ DELTA ได้ยกเลิกสายการผลิต VDBG ซึ่งมีอัตราส่วนกําไรขั้นต้น (Gross Profit Margin : GPM) ต่ำ การแข่งขันด้านราคาสูง และต้องสํารองเงินทุนหมุนเวียนเป็นจํานวนมาก โดยแผนธุรกิจในระยะยาว DELTA จะเน้นการผลิตสินค้าในกลุ่มสื่อสารระดับ High Technology มากขึ้น เพื่อลดแรงกดดันด้านราคา รวมถึงการรุกเข้าไปยังตลาดอินเดียและประเทศใกล้เคียง
จากการรายงานของ Department of Telecom, India เฉพาะจํานวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ปี 2545-2549 พบว่าเติบโต (CAGR) เฉลี่ยถึง 115.0% ต่อปีย่อมทําให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องเร่งติดตั้งสถานีฐานรับ-ส่งสัญญาณมากขึ้น จึงเป็นที่มาถึงการตัดสินใจเปิดโรงงานผลิตสินค้าในกลุ่มสื่อสารของ DES ในอินเดีย คาดว่าจะผลิตได้อย่างเป็นทางการปลายไตรมาสแรก ปี 2551 ส่งผลกําไรสุทธิในปี 2551
ทั้งนี้ บล.นครหลวงไทย คาดว่า DELTA จะสามารถทําได้ถึง 3,544 ล้านบาท เติบโต 75.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน พร้อมอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ยกว่า 6% ต่อปี ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2550 ที่ 24.49 บาท
นอกจากนี้ ประเด็นของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐนั้น ประเมินว่าจะส่งผลกระทบต่อผลการดําเนินงานในปี 2551 ของ DELTA จํากัด เพราะล่าสุดสัดส่วนรายได้ที่ส่งออกไปยังสหรัฐ คิดเป็นเพียง 18% เท่านั้น (รวมรายได้จากส่วน DES แล้ว) ทําให้โอกาสเสี่ยงที่จะปรับประมาณการปี 2551 ลงจึงอยู่ในระดับต่ำ
สําหรับ CCET เป็นหุ้นที่แนะนำ อันดับที่ 2 ด้วยเหตุผลคล้ายคลึงกับ DELTA ที่รุกเข้าสู่ตลาดสื่อสารในอินเดีย ปี 2550 CCET ได้คําสั่งผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G CDMA จํานวน 12 ล้านเครื่อง ซึ่งถือว่าเป็นมูลค่าที่สูงสําหรับการเปิดตลาดในครั้งแรก และเป็นที่มาของการร่วมถือหุ้นในสัดส่วน 40% กับบริษัท อินเดีย ซึ่งเป็นผู้ผลิต Semi Knock-down ให้แก่โทรศัพท์มือถือและ PC Peripheral
รวมถึงการขยายกําลังการผลิตในจีนเพิ่มอีก 1 โรงงาน ซึ่งจะสร้างรายได้ราว 20 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน เป็นการรองรับการเปิดตลาดใหม่ๆ ในภูมิภาคเอเชียกลาง โดยประเมินว่าตลาดอินเดียจะเป็น Key Growth Driver ต่อไป
ด้าน CCET บล.นครหลวงไทย ประเมิน กําไรสุทธิในปี 2551 ของ CCET ไว้ที่ 3,581 ล้านบาท เติบโต 20.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนพร้อมอัตราผลตอบแทนจากปันผลเฉลี่ยกว่า 5% ต่อปี ราคาเหมาะสมสิ้นปี 2550 ที่ 7.52 บาท และการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐนั้นประเมินว่าจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานในปี 2551 ไม่มากนักเพราะส่งสินค้าไปสหรัฐ 20% ของรายได้เท่านั้นทำให้มีความเสี่ยงต่ำ
สำหรับหุ้นที่แนะนำอันดับสาม คือ HANA แม้ว่าสัดส่วนราคาต่อกำไรจะสูงกว่าสองบริษัทข้างต้น และมีความเสี่ยงสูงกว่าและมีโอกาสปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2551 ลงจาก 2,396 ล้านบาท เติบโต 21.5% เพราะมีสัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐ 40% ของรายได้รวม
แม้ว่าสินค้าสำเร็จรูปจะถูกจัดจำหน่ายไปยังตลาดโลกก็ตามแต่ด้วยลักษณะพิเศษของสินค้าที่เกี่ยวข้องกับพีซีและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริโภคมีขนาดเล็กลงทำให้เชื่อว่าธุรกิจของ HANA จะยังขยายตัวต่อเนื่องแต่อาจไม่โดดเด่นเท่ากับ DELTA และ CCET สำหรับมูลค่าเหมาะสมของ HANA นั้นคาดว่าจะอยู่ที่ 31.43 บาท พร้อมอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=195832
โดย บล.นครหลวงไทย
ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก เดือนล่าสุด ส.ค. 2550 ยังคงเห็นการเติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยขยายตัว 4.9% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 4.4% จากเดือน ก.ค. ซึ่งอัตราการเติบโตดังกล่าวจัดว่าสูงกว่าเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับภาพที่ บล.นครหลวงไทย ประเมินถึงการเข้าสู่ฤดูกาล High Season ของธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
สําหรับประเด็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ จะมีผลกระทบหรือไม่นั้น หากพิจารณาถึงตลาดที่มียอดขายเซมิคอนดักเตอร์สูงสุดจะอยู่ในเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) คิดเป็นสัดส่วน 49% ของยอดขายรวมในเดือน ส.ค. ขณะที่ สหรัฐ มีสัดส่วนเพียง 17% ของยอดรวมเท่านั้น นอกจากนี้ ตลาดอาจมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราส่วน SEMI Book-to-Bill Ratio
ล่าสุดเดือน ส.ค. ยังลดลงต่อเนื่องเหลือ 0.83x และต่ำกว่า 1เท่า เป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันก็ตาม แต่การสํารวจดังกล่าวเป็นเพียงผู้ผลิตเฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือเท่านั้น จึงไม่สามารถนํามาเป็นดัชนีชี้นําทิศทางธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งหมด
แนวโน้มการขยายตัวของธุรกิจหลักปรับโครงสร้างธุรกิจเสร็จสิ้นตั้งแต่ ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา โดยหันมาเน้นสินค้ากลุ่มสื่อสารมากขึ้น ซึ่งมีการเติบโตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดอินเดียและประเทศใกล้เคียง อันดับ 2 ได้แก่ บริษัท แคล-คอมพ์อีเล็คโทรนิคส์ (CCET) ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2550 ที่ 7.52 บาท และบริษัท ฮานาไมโครอีเล็คโทรนิคส์ (HANA) เป็นอันดับที่ 3 ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2550 ที่ 31.43 บาท
บล.นครหลวงไทย เลือกบริษัท เดลต้าอีเล็คโทรนิคส์ (DELTA) เป็นหุ้นที่แนะนำให้เลือกลงทุนสูงสุด ของกลุ่ม ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2550 ที่ 24.49 บาท อีกทั้งแนวโน้มการเติบโตของผลการดําเนินงานของ DELTA ตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป จะมีความชัดเจนมากขึ้น เพราะ DELTA ได้ยกเลิกสายการผลิต VDBG ซึ่งมีอัตราส่วนกําไรขั้นต้น (Gross Profit Margin : GPM) ต่ำ การแข่งขันด้านราคาสูง และต้องสํารองเงินทุนหมุนเวียนเป็นจํานวนมาก โดยแผนธุรกิจในระยะยาว DELTA จะเน้นการผลิตสินค้าในกลุ่มสื่อสารระดับ High Technology มากขึ้น เพื่อลดแรงกดดันด้านราคา รวมถึงการรุกเข้าไปยังตลาดอินเดียและประเทศใกล้เคียง
จากการรายงานของ Department of Telecom, India เฉพาะจํานวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ปี 2545-2549 พบว่าเติบโต (CAGR) เฉลี่ยถึง 115.0% ต่อปีย่อมทําให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องเร่งติดตั้งสถานีฐานรับ-ส่งสัญญาณมากขึ้น จึงเป็นที่มาถึงการตัดสินใจเปิดโรงงานผลิตสินค้าในกลุ่มสื่อสารของ DES ในอินเดีย คาดว่าจะผลิตได้อย่างเป็นทางการปลายไตรมาสแรก ปี 2551 ส่งผลกําไรสุทธิในปี 2551
ทั้งนี้ บล.นครหลวงไทย คาดว่า DELTA จะสามารถทําได้ถึง 3,544 ล้านบาท เติบโต 75.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน พร้อมอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ยกว่า 6% ต่อปี ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2550 ที่ 24.49 บาท
นอกจากนี้ ประเด็นของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐนั้น ประเมินว่าจะส่งผลกระทบต่อผลการดําเนินงานในปี 2551 ของ DELTA จํากัด เพราะล่าสุดสัดส่วนรายได้ที่ส่งออกไปยังสหรัฐ คิดเป็นเพียง 18% เท่านั้น (รวมรายได้จากส่วน DES แล้ว) ทําให้โอกาสเสี่ยงที่จะปรับประมาณการปี 2551 ลงจึงอยู่ในระดับต่ำ
สําหรับ CCET เป็นหุ้นที่แนะนำ อันดับที่ 2 ด้วยเหตุผลคล้ายคลึงกับ DELTA ที่รุกเข้าสู่ตลาดสื่อสารในอินเดีย ปี 2550 CCET ได้คําสั่งผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G CDMA จํานวน 12 ล้านเครื่อง ซึ่งถือว่าเป็นมูลค่าที่สูงสําหรับการเปิดตลาดในครั้งแรก และเป็นที่มาของการร่วมถือหุ้นในสัดส่วน 40% กับบริษัท อินเดีย ซึ่งเป็นผู้ผลิต Semi Knock-down ให้แก่โทรศัพท์มือถือและ PC Peripheral
รวมถึงการขยายกําลังการผลิตในจีนเพิ่มอีก 1 โรงงาน ซึ่งจะสร้างรายได้ราว 20 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน เป็นการรองรับการเปิดตลาดใหม่ๆ ในภูมิภาคเอเชียกลาง โดยประเมินว่าตลาดอินเดียจะเป็น Key Growth Driver ต่อไป
ด้าน CCET บล.นครหลวงไทย ประเมิน กําไรสุทธิในปี 2551 ของ CCET ไว้ที่ 3,581 ล้านบาท เติบโต 20.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนพร้อมอัตราผลตอบแทนจากปันผลเฉลี่ยกว่า 5% ต่อปี ราคาเหมาะสมสิ้นปี 2550 ที่ 7.52 บาท และการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐนั้นประเมินว่าจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานในปี 2551 ไม่มากนักเพราะส่งสินค้าไปสหรัฐ 20% ของรายได้เท่านั้นทำให้มีความเสี่ยงต่ำ
สำหรับหุ้นที่แนะนำอันดับสาม คือ HANA แม้ว่าสัดส่วนราคาต่อกำไรจะสูงกว่าสองบริษัทข้างต้น และมีความเสี่ยงสูงกว่าและมีโอกาสปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2551 ลงจาก 2,396 ล้านบาท เติบโต 21.5% เพราะมีสัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐ 40% ของรายได้รวม
แม้ว่าสินค้าสำเร็จรูปจะถูกจัดจำหน่ายไปยังตลาดโลกก็ตามแต่ด้วยลักษณะพิเศษของสินค้าที่เกี่ยวข้องกับพีซีและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริโภคมีขนาดเล็กลงทำให้เชื่อว่าธุรกิจของ HANA จะยังขยายตัวต่อเนื่องแต่อาจไม่โดดเด่นเท่ากับ DELTA และ CCET สำหรับมูลค่าเหมาะสมของ HANA นั้นคาดว่าจะอยู่ที่ 31.43 บาท พร้อมอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=195832
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news13/10/07
โพสต์ที่ 39
ชี้ตลาดโน้ตบุ๊ก บันเทิง-แฟชั่น ยังแรงต่อเนื่อง
โพสต์ทูเดย์ เอชพี ชี้เทรนด์ปีหน้าโน้ตบุ๊ก บันเทิง-แฟชั่น มาแรง เร่งย้ำภาพลักษณ์ใหม่เจาะวัยรุ่นรับตลาดเดือด
ขณะที่ราคาจะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อโน้ตบุ๊ก เพื่อการใช้งาน เห็นได้จากในปีที่ผ่านมา แม้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดโน้ตบุ๊กมากนัก
สำหรับแนวทางการทำตลาดโน้ตบุ๊กของบริษัทจะทำตลาดตามกลุ่มความต้องการใช้งานเช่นกัน คือแบรนด์เอชพี จับกลุ่มเป้าหมายระดับกลางและ ระดับบน แบรนด์คอมแพค จับกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น คนรุ่นใหม่ หลังสำรวจพบว่า กลุ่มผู้บริโภคหลังดังกล่าว มีสัดส่วนในตลาดรวมกันสูงกว่า 40%
ล่าสุด บริษัทยังรุกแคมเปญ คอมแพค ยัวร์ คอมเพเนียน เพื่อวางตำแหน่งสินค้าภายใต้ชื่อ ซีคิว ไอคอน จับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่ทำตลาดอยู่แล้ว 10 รุ่น โดยทำกิจกรรมการตลาดและ โรดโชว์ผ่าน มิสเตอร์ คูล ไปยังแหล่งชุมชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ
จากผลสำรวจของ ไอดีซี ระบุว่า ภาพรวมตลาดโน้ตบุ๊กสิ้นปีนี้จะมีอัตราเติบโตอยู่ที่ 7 แสนเครื่อง และในอีก 5 ปีข้างหน้า ตลาดดังกล่าวจะยังโตเฉลี่ย 22%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=197226
โพสต์ทูเดย์ เอชพี ชี้เทรนด์ปีหน้าโน้ตบุ๊ก บันเทิง-แฟชั่น มาแรง เร่งย้ำภาพลักษณ์ใหม่เจาะวัยรุ่นรับตลาดเดือด
ขณะที่ราคาจะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อโน้ตบุ๊ก เพื่อการใช้งาน เห็นได้จากในปีที่ผ่านมา แม้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดโน้ตบุ๊กมากนัก
สำหรับแนวทางการทำตลาดโน้ตบุ๊กของบริษัทจะทำตลาดตามกลุ่มความต้องการใช้งานเช่นกัน คือแบรนด์เอชพี จับกลุ่มเป้าหมายระดับกลางและ ระดับบน แบรนด์คอมแพค จับกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น คนรุ่นใหม่ หลังสำรวจพบว่า กลุ่มผู้บริโภคหลังดังกล่าว มีสัดส่วนในตลาดรวมกันสูงกว่า 40%
ล่าสุด บริษัทยังรุกแคมเปญ คอมแพค ยัวร์ คอมเพเนียน เพื่อวางตำแหน่งสินค้าภายใต้ชื่อ ซีคิว ไอคอน จับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่ทำตลาดอยู่แล้ว 10 รุ่น โดยทำกิจกรรมการตลาดและ โรดโชว์ผ่าน มิสเตอร์ คูล ไปยังแหล่งชุมชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ
จากผลสำรวจของ ไอดีซี ระบุว่า ภาพรวมตลาดโน้ตบุ๊กสิ้นปีนี้จะมีอัตราเติบโตอยู่ที่ 7 แสนเครื่อง และในอีก 5 ปีข้างหน้า ตลาดดังกล่าวจะยังโตเฉลี่ย 22%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=197226
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news24/10/07
โพสต์ที่ 40
โทรศัพท์ดิจิทัลเตรียมใช้แฟลชการ์ดแซงโน้ตบุ๊ค
24 ตุลาคม พ.ศ. 2550 10:40:00
การ์ทเนอร์ชี้อนาคตโทรศัพท์ดิจิทัล ใช้แฟลชการ์ดแซงหน้าโน้ตบุ๊ค ปี 2010 ครองสัดส่วนกว่า 50% ของตลาดรวม 823 ล้านอัน คิงสตันเจ้าตลาดอุปกรณ์หน่วยความจำ หรือสำรองข้อมูลพกพา ชี้เดินหน้าผลิตตามเทคโนโลยี พร้อมเผยอนาคตเอสเอสดีมาแรง เพียงรอราคาลง
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายเดฟ ลี ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์หน่วยความจำแบบแฟลช ประจำภูมิภาคเอเชีย บริษัทคิงสตัน เทคโนโลยี ฟาร์อีสต์ คอร์ป. สำนักงานใหญ่เอเชีย อ้างถึงข้อมูลจากสำนักวิจัยข้อมูล การ์ทเนอร์ ระบุว่า ปี 2010 แฟลช การ์ด จะใช้ในโทรศัพท์ดิจิทัล 478 ล้านอัน รองมาเป็นกล้องดิจิทัล 125 ล้านอัน จากตลาดรวมที่มีประมาณ 823 ล้านอัน รวมความจุ 5,184 เพตาไบต์ จากปี 2007 จะมียอดรวมประมาณ 704.6 ล้านอัน ส่วนใหญ่ใช้กับโน้ตบุ๊ค ตามมาด้วยโทรศัพท์ดิจิทัล
เร็วๆ นี้ บริษัทจะเปิดตัวเมมโมรี ดีดีอาร์3 1600 เมกะเฮิร์ตซ์ และดีดีอาร์2 800 เอฟบี-ดิมม ทั้งปัจจุบันกำลังวิจัยและพัฒนาดิมม และเอฟบี-ดิมม 8 กิกะไบต์ ส่วนปีหน้าจะออกดีดีอาร์3 สำหรับเซิร์ฟเวอร์ และโน้ตบุ๊ค พร้อมคาดว่า ไตรมาส 1 ปีหน้า ราคาของดีดีอาร์3 จะลดลงกว่าปีนี้ ขณะที่ราคาของดีดีอาร์1 และ 2 จะไม่เปลี่ยนแปลง
นางสาวแอน ไบ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ คิงสตัน อ้างถึงซีอาร์เอ็น ไอซัพพลาย เซิร์ฟเวอร์ เบลด ซัมมิท ว่า อนาคตอุปกรณ์เก็บสำรองข้อมูลทั่วไป ทั้งประเภทแฟลชไดร์ฟ และแรม เช่น เอสดีแรม หรือดีแรม มีแนวโน้มจะใช้เทคโนโลยีโซลิด สแตท ไดร์ฟ หรือโซลิด สแตท ดิสก์ (เอสเอสดี)
เธอ กล่าวว่า การที่ต้องเลือกเอสเอสดี เพราะคุณสมบัติมากมายที่มี เช่น ความเร็วของการบูตระบบ ความเชื่อถือได้ อัตราเฉลี่ยการล้มเหลวต่ำ ประหยัดพลังงาน ความร้อนน้อย น้ำหนักเบา ขนาดไม่ใหญ่ แต่ยังติดที่ราคาต่อหน่วย (คอสต์/กิกะไบต์) ยังสูงที่ประมาณ 6-7 ดอลลาร์ต่อกิกะไบต์
ทั้งนี้ คาดว่า ปี 2010 ยอดการใช้เอสเอสดี ในโน้ตบุ๊คจะพุ่งถึง 32 ล้านเครื่อง จำนวน 1,250 ล้านกิกะไบต์ จากปีนี้ที่มีเพียง 4 ล้านเครื่อง จำนวน 160 ล้านกิกะไบต์ หรือเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นของความจุเกือบ 90% ซึ่งทิศทางการผลิตสินค้าของคิงสตันก็จะเป็นไปตามแนวโน้มของเทคโนโลยี
นายสก็อต เชน รองประธาน ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก คิงสตัน กล่าวว่า บริษัทตั้งใจใกล้ชิดกับตลาดไทยมากขึ้น ในฐานะที่เป็นตลาดหลักแห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่บริษัทไม่มีนโยบายตั้งสำนักงานในไทย หากจะตั้งตัวแทนฝ่ายขายเพิ่มขึ้นจำนวนหนึ่ง ทำงานร่วมกับผู้จัดจำหน่ายที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว
ทั้งนี้ แม้กระทั่งตลาดใหญ่อย่างอินเดีย และจีน บริษัทก็เพิ่งตั้งสำนักงานขายเมื่อปีที่แล้ว มีพนักงานประจำอยู่ 10 คน ไม่ได้ตั้งเป็นสำนักงานสาขา
ปีที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้ 2,210 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งที่ 18.1% ไม่รวมรายได้จากสัญญารับจ้างผลิตแบบโออีเอ็ม และแฟลช เมมโมรี
ปัจจุบัน คิงสตัน ก่อตั้งมาครบ 20 ปี โดยสองผู้บริหารชาวเอเชีย "จอห์น ตู" และ "เดวิด ซัน" มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา พร้อมโรงงานผลิต นอกจากนั้น ยังมีโรงงานที่ไต้หวัน 5 แห่ง ซึ่งส่งสินค้าออกป้อนตลาดโลก 39% จากโรงงานที่มีทั่วโลก ลูกค้ามีทั้งอเมริกา ยุโรป เอเชีย เฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีไทยเป็นลูกค้ารายใหญ่ รวมทั้งโรงงานที่ประเทศอื่นๆ เช่น จีน และมาเลเซีย
ขณะที่ งานวิจัยและพัฒนา (อาร์แอนด์ดี) ทำที่สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน โดยไม่กำหนดอัตราตายตัวว่าแต่ละปีจะลงทุนอาร์แอนด์ดีจำนวนเท่าไร หรือเป็นสัดส่วนเท่าไรของยอดขาย หากจะลงทุนตามที่เห็นว่าจำเป็น
http://www.bangkokbiznews.com/2007/10/2 ... sid=195239
24 ตุลาคม พ.ศ. 2550 10:40:00
การ์ทเนอร์ชี้อนาคตโทรศัพท์ดิจิทัล ใช้แฟลชการ์ดแซงหน้าโน้ตบุ๊ค ปี 2010 ครองสัดส่วนกว่า 50% ของตลาดรวม 823 ล้านอัน คิงสตันเจ้าตลาดอุปกรณ์หน่วยความจำ หรือสำรองข้อมูลพกพา ชี้เดินหน้าผลิตตามเทคโนโลยี พร้อมเผยอนาคตเอสเอสดีมาแรง เพียงรอราคาลง
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายเดฟ ลี ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์หน่วยความจำแบบแฟลช ประจำภูมิภาคเอเชีย บริษัทคิงสตัน เทคโนโลยี ฟาร์อีสต์ คอร์ป. สำนักงานใหญ่เอเชีย อ้างถึงข้อมูลจากสำนักวิจัยข้อมูล การ์ทเนอร์ ระบุว่า ปี 2010 แฟลช การ์ด จะใช้ในโทรศัพท์ดิจิทัล 478 ล้านอัน รองมาเป็นกล้องดิจิทัล 125 ล้านอัน จากตลาดรวมที่มีประมาณ 823 ล้านอัน รวมความจุ 5,184 เพตาไบต์ จากปี 2007 จะมียอดรวมประมาณ 704.6 ล้านอัน ส่วนใหญ่ใช้กับโน้ตบุ๊ค ตามมาด้วยโทรศัพท์ดิจิทัล
เร็วๆ นี้ บริษัทจะเปิดตัวเมมโมรี ดีดีอาร์3 1600 เมกะเฮิร์ตซ์ และดีดีอาร์2 800 เอฟบี-ดิมม ทั้งปัจจุบันกำลังวิจัยและพัฒนาดิมม และเอฟบี-ดิมม 8 กิกะไบต์ ส่วนปีหน้าจะออกดีดีอาร์3 สำหรับเซิร์ฟเวอร์ และโน้ตบุ๊ค พร้อมคาดว่า ไตรมาส 1 ปีหน้า ราคาของดีดีอาร์3 จะลดลงกว่าปีนี้ ขณะที่ราคาของดีดีอาร์1 และ 2 จะไม่เปลี่ยนแปลง
นางสาวแอน ไบ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ คิงสตัน อ้างถึงซีอาร์เอ็น ไอซัพพลาย เซิร์ฟเวอร์ เบลด ซัมมิท ว่า อนาคตอุปกรณ์เก็บสำรองข้อมูลทั่วไป ทั้งประเภทแฟลชไดร์ฟ และแรม เช่น เอสดีแรม หรือดีแรม มีแนวโน้มจะใช้เทคโนโลยีโซลิด สแตท ไดร์ฟ หรือโซลิด สแตท ดิสก์ (เอสเอสดี)
เธอ กล่าวว่า การที่ต้องเลือกเอสเอสดี เพราะคุณสมบัติมากมายที่มี เช่น ความเร็วของการบูตระบบ ความเชื่อถือได้ อัตราเฉลี่ยการล้มเหลวต่ำ ประหยัดพลังงาน ความร้อนน้อย น้ำหนักเบา ขนาดไม่ใหญ่ แต่ยังติดที่ราคาต่อหน่วย (คอสต์/กิกะไบต์) ยังสูงที่ประมาณ 6-7 ดอลลาร์ต่อกิกะไบต์
ทั้งนี้ คาดว่า ปี 2010 ยอดการใช้เอสเอสดี ในโน้ตบุ๊คจะพุ่งถึง 32 ล้านเครื่อง จำนวน 1,250 ล้านกิกะไบต์ จากปีนี้ที่มีเพียง 4 ล้านเครื่อง จำนวน 160 ล้านกิกะไบต์ หรือเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นของความจุเกือบ 90% ซึ่งทิศทางการผลิตสินค้าของคิงสตันก็จะเป็นไปตามแนวโน้มของเทคโนโลยี
นายสก็อต เชน รองประธาน ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก คิงสตัน กล่าวว่า บริษัทตั้งใจใกล้ชิดกับตลาดไทยมากขึ้น ในฐานะที่เป็นตลาดหลักแห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่บริษัทไม่มีนโยบายตั้งสำนักงานในไทย หากจะตั้งตัวแทนฝ่ายขายเพิ่มขึ้นจำนวนหนึ่ง ทำงานร่วมกับผู้จัดจำหน่ายที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว
ทั้งนี้ แม้กระทั่งตลาดใหญ่อย่างอินเดีย และจีน บริษัทก็เพิ่งตั้งสำนักงานขายเมื่อปีที่แล้ว มีพนักงานประจำอยู่ 10 คน ไม่ได้ตั้งเป็นสำนักงานสาขา
ปีที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้ 2,210 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งที่ 18.1% ไม่รวมรายได้จากสัญญารับจ้างผลิตแบบโออีเอ็ม และแฟลช เมมโมรี
ปัจจุบัน คิงสตัน ก่อตั้งมาครบ 20 ปี โดยสองผู้บริหารชาวเอเชีย "จอห์น ตู" และ "เดวิด ซัน" มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา พร้อมโรงงานผลิต นอกจากนั้น ยังมีโรงงานที่ไต้หวัน 5 แห่ง ซึ่งส่งสินค้าออกป้อนตลาดโลก 39% จากโรงงานที่มีทั่วโลก ลูกค้ามีทั้งอเมริกา ยุโรป เอเชีย เฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีไทยเป็นลูกค้ารายใหญ่ รวมทั้งโรงงานที่ประเทศอื่นๆ เช่น จีน และมาเลเซีย
ขณะที่ งานวิจัยและพัฒนา (อาร์แอนด์ดี) ทำที่สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน โดยไม่กำหนดอัตราตายตัวว่าแต่ละปีจะลงทุนอาร์แอนด์ดีจำนวนเท่าไร หรือเป็นสัดส่วนเท่าไรของยอดขาย หากจะลงทุนตามที่เห็นว่าจำเป็น
http://www.bangkokbiznews.com/2007/10/2 ... sid=195239
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/10/07
โพสต์ที่ 41
วิวโซนิคลุยโปรเจกเตอร์ เปิดตัว12รุ่นหวังแชร์12%
โพสต์ทูเดย์ วิวโซนิค จับมือ สยามเทคฯ บุกตลาดโปรเจกเตอร์ ตั้งเป้ากวาดแชร์ 12% ปีหน้า ขึ้นท็อปไฟว์เบียดเอปสัน-เอเซอร์
นายแดนนี่ ออง ผู้จัดการประจำสิงคโปร์ บริษัท วิวโซนิค สิงคโปร์ พีทีอี กล่าวว่า ได้แต่งตั้งบริษัท สยามเทค แอนด์ ดีเวลล็อป เป็น ผู้แทนจำหน่ายโปรเจกเตอร์ของ วิวโซนิค ในประเทศไทยอย่างเป็น ทางการ เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดโปรเจกเตอร์ในประเทศไทยเป็นตัวเลข 2 หลักต่อปี โดยเฉพาะในตลาดโฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ ขยาย ตัวมากขึ้นในตลาดผู้บริโภคทั่วไป
สำหรับโปรเจกเตอร์ของวิวโซนิค มีครบทั้ง 2 ระบบ คือ แอลซีดีและ ดีแอลพี โดยจะเปิดตัวทั้งหมด 12 รุ่น เป็นแอลซีดี 7 รุ่น และดีแอลพี 5 รุ่น และรับประกันหลอดภาพนานถึง 1 ปี หรือ 3 พันชั่วโมง
นายชาญณรงค์ เจนธัญญารักษ์ ประธาน บริษัท สยามเทคฯ กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดโปรเจกเตอร์ในประเทศไทยมียอดจำหน่าย 3.5 หมื่นเครื่องในปีนี้ หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 108 ล้านบาท โดยแบรนด์ที่มียอดจำหน่ายเป็นอันดับ 1 ได้แก่ พานาโซนิค ส่วนแบ่ง 20% จากตลาดรวม รองลงมาได้แก่ เบน-คิว 15% และเอปสันกับเอเซอร์ มีส่วนแบ่งตลาดใกล้เคียงกันที่ 10%
ตลาดโปรเจกเตอร์ในประเทศไทยขยายตัว 25-30% ต่อปี โดย ปีนี้ คาดว่าจะเติบโต 25% เนื่องจากตลาดมีการแข่งขันด้านราคา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อ ไม่ดี แต่ปีหน้าคาดว่าการขยายตัวจะดีขึ้น นายชาญณรงค์ กล่าว
ทั้งนี้ โปรเจกเตอร์ที่บริษัทนำเข้ามาจำหน่าย จะเน้นตอบสนองความต้องการลูกค้าในด้านโฮมเอนเตอร์ เทนเมนต์ โดยในต่างประเทศได้มีการเปิดตัวโปรเจกเตอร์เครื่องแรก ที่มีระบบเชื่อมการทำงานกับไอพอด ซึ่งเหมาะกับวิดีโอ และเล่นเกม
ส่วนเป้าหมายยอดขายของ วิวโซนิค ภายในไตรมาส 4 ของปีนี้ คาดว่าจะมีส่วนแบ่ง 8% จากตลาดรวม และเพิ่มเป็น 12% ในปีหน้า ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 1 ใน 5 โดยที่คาดว่าตลาดรวมของโปรเจกเตอร์จะมียอดจำหน่าย 4.5 หมื่นเครื่อง
สำหรับการทำตลาดจะเน้นขายผ่านผู้วางระบบ 50% กลุ่มโสตทัศนอุปกรณ์ 30% และอีก 20% เป็นตลาดค้าปลีกทั่วไป โดยช่วงแรก จะเน้นพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นสัดส่วน 60% ต่างจังหวัด 40% ผ่านสาขาของสยามเทคฯ จำนวน 6 แห่ง
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=200449
โพสต์ทูเดย์ วิวโซนิค จับมือ สยามเทคฯ บุกตลาดโปรเจกเตอร์ ตั้งเป้ากวาดแชร์ 12% ปีหน้า ขึ้นท็อปไฟว์เบียดเอปสัน-เอเซอร์
นายแดนนี่ ออง ผู้จัดการประจำสิงคโปร์ บริษัท วิวโซนิค สิงคโปร์ พีทีอี กล่าวว่า ได้แต่งตั้งบริษัท สยามเทค แอนด์ ดีเวลล็อป เป็น ผู้แทนจำหน่ายโปรเจกเตอร์ของ วิวโซนิค ในประเทศไทยอย่างเป็น ทางการ เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดโปรเจกเตอร์ในประเทศไทยเป็นตัวเลข 2 หลักต่อปี โดยเฉพาะในตลาดโฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ ขยาย ตัวมากขึ้นในตลาดผู้บริโภคทั่วไป
สำหรับโปรเจกเตอร์ของวิวโซนิค มีครบทั้ง 2 ระบบ คือ แอลซีดีและ ดีแอลพี โดยจะเปิดตัวทั้งหมด 12 รุ่น เป็นแอลซีดี 7 รุ่น และดีแอลพี 5 รุ่น และรับประกันหลอดภาพนานถึง 1 ปี หรือ 3 พันชั่วโมง
นายชาญณรงค์ เจนธัญญารักษ์ ประธาน บริษัท สยามเทคฯ กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดโปรเจกเตอร์ในประเทศไทยมียอดจำหน่าย 3.5 หมื่นเครื่องในปีนี้ หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 108 ล้านบาท โดยแบรนด์ที่มียอดจำหน่ายเป็นอันดับ 1 ได้แก่ พานาโซนิค ส่วนแบ่ง 20% จากตลาดรวม รองลงมาได้แก่ เบน-คิว 15% และเอปสันกับเอเซอร์ มีส่วนแบ่งตลาดใกล้เคียงกันที่ 10%
ตลาดโปรเจกเตอร์ในประเทศไทยขยายตัว 25-30% ต่อปี โดย ปีนี้ คาดว่าจะเติบโต 25% เนื่องจากตลาดมีการแข่งขันด้านราคา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อ ไม่ดี แต่ปีหน้าคาดว่าการขยายตัวจะดีขึ้น นายชาญณรงค์ กล่าว
ทั้งนี้ โปรเจกเตอร์ที่บริษัทนำเข้ามาจำหน่าย จะเน้นตอบสนองความต้องการลูกค้าในด้านโฮมเอนเตอร์ เทนเมนต์ โดยในต่างประเทศได้มีการเปิดตัวโปรเจกเตอร์เครื่องแรก ที่มีระบบเชื่อมการทำงานกับไอพอด ซึ่งเหมาะกับวิดีโอ และเล่นเกม
ส่วนเป้าหมายยอดขายของ วิวโซนิค ภายในไตรมาส 4 ของปีนี้ คาดว่าจะมีส่วนแบ่ง 8% จากตลาดรวม และเพิ่มเป็น 12% ในปีหน้า ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 1 ใน 5 โดยที่คาดว่าตลาดรวมของโปรเจกเตอร์จะมียอดจำหน่าย 4.5 หมื่นเครื่อง
สำหรับการทำตลาดจะเน้นขายผ่านผู้วางระบบ 50% กลุ่มโสตทัศนอุปกรณ์ 30% และอีก 20% เป็นตลาดค้าปลีกทั่วไป โดยช่วงแรก จะเน้นพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นสัดส่วน 60% ต่างจังหวัด 40% ผ่านสาขาของสยามเทคฯ จำนวน 6 แห่ง
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=200449
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news31/10/07
โพสต์ที่ 42
แอลซีดีเบียดจอแก้วใน3ปี
โพสต์ทูเดย์ ซัมซุง เผย อีก 3 ปี แอลซีดีทีวีเบียดทีวีจอแก้ว ลดสัดส่วนเหลือไม่ถึง 50% ในตลาดจอภาพ
นายอาณัติ จ่างตระกูล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคทรอนิคส์ ผู้ผลิต และทำตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อ ซัมซุง กล่าวว่า แนวโน้มตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าหมวดภาพ และเสียง (เอวี) ในกลุ่มจอภาพซีอาร์ที หรือจอแก้ว ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า จะลดสัดส่วนเหลือ 50% จากปัจจุบันมีสัดส่วนเกือบ 90% ของภาพรวมตลาดทีวี ส่วนที่เหลือเป็นแอลซีดีทีวี 10%
ทั้งนี้ พบว่า ในรอบ 9 เดือน ที่ผ่านมา แอลซีดีทีวี มีอัตราเติบโตเชิงปริมาณราว 400% และเชิงมูลค่า 200% และยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจาก แนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น และราคาแอลซีดีทีวี ที่ปรับลดเฉลี่ย 10-15% ต่อปี
ล่าสุด บริษัทเตรียมใช้งบราว 50 ล้านบาท สำหรับทำตลาด และกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้ากลุ่มจอภาพทีวีแอลซีดี ที่ให้รายละเอียดความคมชัดสูง หรือฟูล เอชดี แบบ 100 เฮิรตซ์ 2 รุ่นใหม่ คือ ขนาด 46 นิ้ว ราคา 1.59 แสนบาท และขนาด 52 นิ้ว ราคา 2.29 แสนบาท พร้อมเปิดตัวชุด บลู-เรย์ โฮมเธียเตอร์ เครื่องแรกของโลกที่เล่นแผ่นบลู-เรย์ เจาะกลุ่มเป้าหมายในตลาดระดับบน โดยคาดว่าตลาดจอภาพ ทีวีกลุ่มฟูล เอชดี จะมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 40% ในปี 2553 จากปัจจุบันอยู่ที่ 5%
ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปีนี้ จะได้ส่วนแบ่งตลาดจอแอลซีดีทีวี 40% คิดเป็นยอดขายกว่า 1 แสนเครื่อง และเป็นอันดับ 1 ของตลาด จากปัจจุบันมีส่วนแบ่ง 39% ขณะที่ผู้นำอันดับ 2 มีส่วนแบ่งตลาด 18% โดยตลาดรวมจอภาพทั้งหมดมีอัตรา เติบโตเฉลี่ย 3% จากมูลค่าตลาด รวม 3 ล้านยูนิต ขณะที่ภาพรวมของจอภาพซีอาร์ทีทีวี มีอัตราเติบโตลดลง 17%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=200700
โพสต์ทูเดย์ ซัมซุง เผย อีก 3 ปี แอลซีดีทีวีเบียดทีวีจอแก้ว ลดสัดส่วนเหลือไม่ถึง 50% ในตลาดจอภาพ
นายอาณัติ จ่างตระกูล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคทรอนิคส์ ผู้ผลิต และทำตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อ ซัมซุง กล่าวว่า แนวโน้มตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าหมวดภาพ และเสียง (เอวี) ในกลุ่มจอภาพซีอาร์ที หรือจอแก้ว ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า จะลดสัดส่วนเหลือ 50% จากปัจจุบันมีสัดส่วนเกือบ 90% ของภาพรวมตลาดทีวี ส่วนที่เหลือเป็นแอลซีดีทีวี 10%
ทั้งนี้ พบว่า ในรอบ 9 เดือน ที่ผ่านมา แอลซีดีทีวี มีอัตราเติบโตเชิงปริมาณราว 400% และเชิงมูลค่า 200% และยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจาก แนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น และราคาแอลซีดีทีวี ที่ปรับลดเฉลี่ย 10-15% ต่อปี
ล่าสุด บริษัทเตรียมใช้งบราว 50 ล้านบาท สำหรับทำตลาด และกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้ากลุ่มจอภาพทีวีแอลซีดี ที่ให้รายละเอียดความคมชัดสูง หรือฟูล เอชดี แบบ 100 เฮิรตซ์ 2 รุ่นใหม่ คือ ขนาด 46 นิ้ว ราคา 1.59 แสนบาท และขนาด 52 นิ้ว ราคา 2.29 แสนบาท พร้อมเปิดตัวชุด บลู-เรย์ โฮมเธียเตอร์ เครื่องแรกของโลกที่เล่นแผ่นบลู-เรย์ เจาะกลุ่มเป้าหมายในตลาดระดับบน โดยคาดว่าตลาดจอภาพ ทีวีกลุ่มฟูล เอชดี จะมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 40% ในปี 2553 จากปัจจุบันอยู่ที่ 5%
ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปีนี้ จะได้ส่วนแบ่งตลาดจอแอลซีดีทีวี 40% คิดเป็นยอดขายกว่า 1 แสนเครื่อง และเป็นอันดับ 1 ของตลาด จากปัจจุบันมีส่วนแบ่ง 39% ขณะที่ผู้นำอันดับ 2 มีส่วนแบ่งตลาด 18% โดยตลาดรวมจอภาพทั้งหมดมีอัตรา เติบโตเฉลี่ย 3% จากมูลค่าตลาด รวม 3 ล้านยูนิต ขณะที่ภาพรวมของจอภาพซีอาร์ทีทีวี มีอัตราเติบโตลดลง 17%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=200700
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news01/11/07
โพสต์ที่ 43
จอ ฟูลเอชดี คึกรับยุคดิจิตอล ซังซุงส่งรุ่นใหม่เจาะไฮเอนด์
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 31 ตุลาคม 2550 07:31 น.
วงการโทรทัศน์ไทยเตรียมเข้าสู่ยุคเปลี่ยนถ่าย สัญญาณภาพจากอะนาลอกสู่ดิจิตอล อสมท นำทีมนำร่อง ซัมซุง เชื่อเป็นบวก ดันตลาดจอภาพแบบ Full HD โตมากขึ้น เสริมทัพด้วยการแข่งขันกีฬาในปีหน้าอีกหลายรายการ คาดคนแห่ใช้ล้นหลาม ส่งผลมีแชร์ในตลาดรวมเป็น 20% จาก 10%ในปีนี้ ล่าสุดเปิดตัว LCD TV Full HD จับตลาดไฮโซ เชื่อสิ้นปีรั้งตำแหน่งผู้นำด้วยแชร์ 40%
นายอาณัติ จ่างตระกูล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด เปิดเผยว่า จากกรณีที่วงการโทรทัศน์ไทยกำลังจะก้าวสู่การถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงจากเดิมที่เป็นระบบอะนาล็อกสู่ระบบดิจิตอลนั้น หากมีการทำอย่างจริงจังหรือมีการใช้จริง จะทำให้ตลาดจอภาพแบบฟูล เอชดี โตขึ้นได้อีกมาก แต่เนื่องจากตอนนี้เป็นเพียงการทดลองสัญญาณของทาง อสมท เท่านั้น ทางซัมซุงจึงยังไม่มีแผนการตลาดรองรับ แต่ยังคงทำตลาดอย่างต่อเนื่อง ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์จอภาพที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ
อีกทั้งในปีหน้าที่จะมีการแข่งขันกีฬาเกิดขึ้นหลายรายการ มองว่าจะส่งผลให้ตลาดจอภาพมูลค่า 3 ล้านยูนิตโตขึ้นได้อีกมาก จากที่ปีนี้ภาพรวมตลาดโตเพียง 3-5% โดยเฉพาะแอลซีดี ทีวี จะเพิ่มสัดส่วนในตลาดเป็น 20% ส่วนปีถัดไปน่าจะมีแชร์เพิ่มอีกเป็น 30% หรือมีแชร์เป็น 50% หรือมีแชร์ในตลาดจอภาพได้ในอีก 3-5 ปีนับจากนี้ จากเดิมที่ปีนี้มีแชร์ 10% หรือประมาณ 3 แสนยูนิต โดยพลาสม่า ทีวี มีแชร์เพียง 7-8 หมื่นยูนิตเท่านั้น ที่เหลืออีก 2.6 ล้านยูนิตเป็น ซีอาร์ทีวี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยลดลง 17% ในปีนี้แทน และจะเติบโตลดลงเรื่อยๆ
ขณะที่ภาพรวมรายได้กลุ่มจอภาพและเสียงของซัมซุง ในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา ซีอาร์ที ทีวี กลับมียอดขายที่โตขึ้น 20% จากกลุ่มสลิมฟิต ทีวี จากการทำตลาดต่อเนื่อง ส่วนแอลซีดี ทีวี ขณะนี้มีแชร์ในตลาดกว่า 39% ทิ้งห่างโซนี่ที่อยู่ในอันดับสองมีแชร์ 18%
ล่าสุดทางบริษัทฯได้มีการเปิดตัวแอลซีดี ทีวี ที่เป็นระบบ ฟูล เอชดี ในซีรี่ย์ F8 100Hz Full HDอีก 2 รุ่น ขนาด 46 นิ้ว ราคา 159,990 บาท และ 52 นิ้ว ราคา 229,990 บาท สำหรับกลุ่มเป้าหมายในระดับบนสุด ช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้ โดยชูเทคโนโลยี100Hz Motion plusเกี่ยวกับรายละเอียดของภาพที่มีความคมชัดมากกว่าแอลซีดีทั่วไป 2 เท่า ขณะเดียวกันยังได้เปิดตัวชุดโฮมเธียเตอร์ รุ่น HT-BD2 ที่เป็นเทคโนโลยีแบบบลู-เรย์ เข้ามาทำตลาดร่วมด้วย
ทั้งนี้บริษัทฯได้เตรียมประมาณไว้กว่า 50 ล้านบาท สำหรับทำการตลาดแบบครบวงจร เชื่อว่าจะส่งผลให้ซัมซุงมีส่วนแบ่งทางการตลาดรวมจอภาพเพิ่มขึ้นเป็น 40% ได้ในสิ้นปีนี้ ขณะที่ภาพรวมรายได้ณ ขณะนี้ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา โตขึ้น 30% โดยกลุ่มจอภาพและเสียงโต 30% กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านโต 40% และกลุ่มไอทีรวมกับมือถือ กำลังทำตลาดอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของทางเจเอฟเค ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา พบว่าตลาดจอภาพแอลซีดี ทีวีที่เป็นระบบเอชดี มีจำนวนกว่า 265,000 ยูนิต แบ่งเป็น เอชดี เรดดี้ (HD Ready) 96% และ ฟูล เอชดี (Full HD) 4% ซึ่งอีก 3 ปีข้างหน้าคาดว่าเอชดี ทีวี จะเพิ่มเป็น 800,000 ยูนิต ขณะที่ ฟูล เอชดี ทีวี จะมีสัดส่วนกว่า 35% หรือประมาณ 280,000 ยูนิต
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000128926
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 31 ตุลาคม 2550 07:31 น.
วงการโทรทัศน์ไทยเตรียมเข้าสู่ยุคเปลี่ยนถ่าย สัญญาณภาพจากอะนาลอกสู่ดิจิตอล อสมท นำทีมนำร่อง ซัมซุง เชื่อเป็นบวก ดันตลาดจอภาพแบบ Full HD โตมากขึ้น เสริมทัพด้วยการแข่งขันกีฬาในปีหน้าอีกหลายรายการ คาดคนแห่ใช้ล้นหลาม ส่งผลมีแชร์ในตลาดรวมเป็น 20% จาก 10%ในปีนี้ ล่าสุดเปิดตัว LCD TV Full HD จับตลาดไฮโซ เชื่อสิ้นปีรั้งตำแหน่งผู้นำด้วยแชร์ 40%
นายอาณัติ จ่างตระกูล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด เปิดเผยว่า จากกรณีที่วงการโทรทัศน์ไทยกำลังจะก้าวสู่การถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงจากเดิมที่เป็นระบบอะนาล็อกสู่ระบบดิจิตอลนั้น หากมีการทำอย่างจริงจังหรือมีการใช้จริง จะทำให้ตลาดจอภาพแบบฟูล เอชดี โตขึ้นได้อีกมาก แต่เนื่องจากตอนนี้เป็นเพียงการทดลองสัญญาณของทาง อสมท เท่านั้น ทางซัมซุงจึงยังไม่มีแผนการตลาดรองรับ แต่ยังคงทำตลาดอย่างต่อเนื่อง ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์จอภาพที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ
อีกทั้งในปีหน้าที่จะมีการแข่งขันกีฬาเกิดขึ้นหลายรายการ มองว่าจะส่งผลให้ตลาดจอภาพมูลค่า 3 ล้านยูนิตโตขึ้นได้อีกมาก จากที่ปีนี้ภาพรวมตลาดโตเพียง 3-5% โดยเฉพาะแอลซีดี ทีวี จะเพิ่มสัดส่วนในตลาดเป็น 20% ส่วนปีถัดไปน่าจะมีแชร์เพิ่มอีกเป็น 30% หรือมีแชร์เป็น 50% หรือมีแชร์ในตลาดจอภาพได้ในอีก 3-5 ปีนับจากนี้ จากเดิมที่ปีนี้มีแชร์ 10% หรือประมาณ 3 แสนยูนิต โดยพลาสม่า ทีวี มีแชร์เพียง 7-8 หมื่นยูนิตเท่านั้น ที่เหลืออีก 2.6 ล้านยูนิตเป็น ซีอาร์ทีวี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยลดลง 17% ในปีนี้แทน และจะเติบโตลดลงเรื่อยๆ
ขณะที่ภาพรวมรายได้กลุ่มจอภาพและเสียงของซัมซุง ในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา ซีอาร์ที ทีวี กลับมียอดขายที่โตขึ้น 20% จากกลุ่มสลิมฟิต ทีวี จากการทำตลาดต่อเนื่อง ส่วนแอลซีดี ทีวี ขณะนี้มีแชร์ในตลาดกว่า 39% ทิ้งห่างโซนี่ที่อยู่ในอันดับสองมีแชร์ 18%
ล่าสุดทางบริษัทฯได้มีการเปิดตัวแอลซีดี ทีวี ที่เป็นระบบ ฟูล เอชดี ในซีรี่ย์ F8 100Hz Full HDอีก 2 รุ่น ขนาด 46 นิ้ว ราคา 159,990 บาท และ 52 นิ้ว ราคา 229,990 บาท สำหรับกลุ่มเป้าหมายในระดับบนสุด ช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้ โดยชูเทคโนโลยี100Hz Motion plusเกี่ยวกับรายละเอียดของภาพที่มีความคมชัดมากกว่าแอลซีดีทั่วไป 2 เท่า ขณะเดียวกันยังได้เปิดตัวชุดโฮมเธียเตอร์ รุ่น HT-BD2 ที่เป็นเทคโนโลยีแบบบลู-เรย์ เข้ามาทำตลาดร่วมด้วย
ทั้งนี้บริษัทฯได้เตรียมประมาณไว้กว่า 50 ล้านบาท สำหรับทำการตลาดแบบครบวงจร เชื่อว่าจะส่งผลให้ซัมซุงมีส่วนแบ่งทางการตลาดรวมจอภาพเพิ่มขึ้นเป็น 40% ได้ในสิ้นปีนี้ ขณะที่ภาพรวมรายได้ณ ขณะนี้ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา โตขึ้น 30% โดยกลุ่มจอภาพและเสียงโต 30% กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านโต 40% และกลุ่มไอทีรวมกับมือถือ กำลังทำตลาดอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของทางเจเอฟเค ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา พบว่าตลาดจอภาพแอลซีดี ทีวีที่เป็นระบบเอชดี มีจำนวนกว่า 265,000 ยูนิต แบ่งเป็น เอชดี เรดดี้ (HD Ready) 96% และ ฟูล เอชดี (Full HD) 4% ซึ่งอีก 3 ปีข้างหน้าคาดว่าเอชดี ทีวี จะเพิ่มเป็น 800,000 ยูนิต ขณะที่ ฟูล เอชดี ทีวี จะมีสัดส่วนกว่า 35% หรือประมาณ 280,000 ยูนิต
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000128926
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news14/11/07
โพสต์ที่ 44
ก้าวรุกอินเทล ชูประมวลผล45นาโนเมตร
โพสต์ทูเดย์ อินเทลลุยผลิต โพรเซสเซอร์ 45 นาโนเมตร สยายปีกลงสู่ตลาดมือถือและอุปกรณ์ คอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ปีหน้า
นายเอกรัตน์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า จะพัฒนากระบวนการผลิตหน่วยประมวลคอมพิวเตอร์ (ไมโครโพรเซสเซอร์) แบบ 45 นาโนเมตร ให้มีอัตราการใช้ไฟฟ้าไม่ถึง 1 วัตต์ จะทำให้อินเทลสามารถผลิตไมโครโพรเซสเซอร์แบบใหม่ๆ ที่ใช้สำหรับอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หรืออุปกรณ์แบบพกพา เช่น มัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน อุปกรณ์เครื่อง ใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งจะทำให้มีความสามารถในการประมวลผล ไม่ต่างจากคอมพิวเตอร์พีซีในปัจจุบัน
ปีหน้าจะได้เห็นโพรเซสเซอร์ สำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็ก ที่มีหน้า จอการแสดงผลไม่เกิน 3.5 นิ้ว นายเอกรัตน์ กล่าว
ทั้งนี้ โพรเซสเซอร์ขนาด 45 นาโนเมตร ตระกูลเพนริน ที่อินเทล เพิ่งประกาศออกสู่ตลาด 16 รุ่น จะเข้ามาทดแทนโพรเซสเซอร์รุ่นเก่า 65 นาโนเมตร ประมาณไตรมาส 3 ปีหน้า โดยจะทำตลาดในกลุ่มเครื่องแม่ข่าย หรือเซิร์ฟเวอร์ และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะระดับบนก่อน แล้วจึงขยายตลาดไปสู่กลุ่มโน้ตบุ๊กในต้นปีหน้า
ส่วนการเติบโตของตลาดไอที ในปี 2551 คาดว่าจะโตอย่างน้อย 19-20% เนื่องจากความต้องการ ยังมีอยู่สูง อีกทั้งหลังการเลือกตั้งมีความเชื่อมั่นทางการเมืองน่าจะทำให้ตลาดดีขึ้น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=203471
โพสต์ทูเดย์ อินเทลลุยผลิต โพรเซสเซอร์ 45 นาโนเมตร สยายปีกลงสู่ตลาดมือถือและอุปกรณ์ คอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ปีหน้า
นายเอกรัตน์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า จะพัฒนากระบวนการผลิตหน่วยประมวลคอมพิวเตอร์ (ไมโครโพรเซสเซอร์) แบบ 45 นาโนเมตร ให้มีอัตราการใช้ไฟฟ้าไม่ถึง 1 วัตต์ จะทำให้อินเทลสามารถผลิตไมโครโพรเซสเซอร์แบบใหม่ๆ ที่ใช้สำหรับอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หรืออุปกรณ์แบบพกพา เช่น มัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน อุปกรณ์เครื่อง ใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งจะทำให้มีความสามารถในการประมวลผล ไม่ต่างจากคอมพิวเตอร์พีซีในปัจจุบัน
ปีหน้าจะได้เห็นโพรเซสเซอร์ สำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็ก ที่มีหน้า จอการแสดงผลไม่เกิน 3.5 นิ้ว นายเอกรัตน์ กล่าว
ทั้งนี้ โพรเซสเซอร์ขนาด 45 นาโนเมตร ตระกูลเพนริน ที่อินเทล เพิ่งประกาศออกสู่ตลาด 16 รุ่น จะเข้ามาทดแทนโพรเซสเซอร์รุ่นเก่า 65 นาโนเมตร ประมาณไตรมาส 3 ปีหน้า โดยจะทำตลาดในกลุ่มเครื่องแม่ข่าย หรือเซิร์ฟเวอร์ และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะระดับบนก่อน แล้วจึงขยายตลาดไปสู่กลุ่มโน้ตบุ๊กในต้นปีหน้า
ส่วนการเติบโตของตลาดไอที ในปี 2551 คาดว่าจะโตอย่างน้อย 19-20% เนื่องจากความต้องการ ยังมีอยู่สูง อีกทั้งหลังการเลือกตั้งมีความเชื่อมั่นทางการเมืองน่าจะทำให้ตลาดดีขึ้น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=203471
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news23/11/07
โพสต์ที่ 45
โตชิบาฝ่าด่านแข่งราคาปีหน้า ชูนวัตกรรมสีเขียวเพื่อโลกขาว
โพสต์ทูเดย์ โตชิบาชูกลยุทธ์ นวัตกรรมสีเขียวเพื่อโลกสีขาว ร่วมกระแสสิ่งแวดล้อม ฉีกหนีการแข่งราคาเครื่องใช้ไฟฟ้าปีหน้า
นายฮิเดโนริ มัสสุอิ ประธานบริษัท โตชิบาไทย กล่าวว่า ในปีหน้าโตชิบาจะชูนโยบายเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้กลยุทธ์ นวัตกรรมสีเขียวเพื่อโลกสีขาว โดยจะเน้นเทคโนโลยีประหยัดพลังงานและกระบวนการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในแต่ละผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน, กลุ่มภาพและเสียง และสินค้าไอที
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ของโตชิบาจะยึดหลักของ 3R ได้แก่ การลดวัสดุ (Reduce) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) และการนำไปแปรสภาพเพื่อใช้อีกครั้ง (Recycle) รวมทั้งเน้นกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน (Restriction of Hazardous Substances: RoHS) โดยต้องไม่มีส่วนประกอบที่เป็นสารพิษ เพื่อก่อผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
สำหรับกลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายนั้น จะมุ่งส่งเสริมและพัฒนาร้านค้าให้แข็งแกร่งเพิ่มยิ่งขึ้น ด้วยการรักษาสัมพันธ์กับผู้แทนจำหน่ายในทุกช่องทาง และให้การสนับสนุนผู้แทนจำหน่ายทั้งเก่าและใหม่ ทั้งรุ่นบุกเบิกและรุ่นลูก เพื่อเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน หรือ ซีอาร์เอ็ม และปรับสมดุลของทุกช่องทางจัดจำหน่ายให้เหมาะกับกลยุทธ์ทางธุรกิจในสถานการณ์ปัจจุบัน
ทั้งนี้ ได้ตั้งเป้ายอดขายเมื่อปิดบัญชีในเดือน มี.ค. 2008 ที่ 5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากรอบบัญชีปีก่อนหน้า 12% ซึ่งเติบโตสูงกว่าตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมที่คาดว่าจะเติบโต 5-8% โดยแบ่งสัดส่วนรายได้มาจากสินค้าหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน 60% หมวดภาพและเสียง 10% และหมวดคอมพิวเตอร์ 30%
ด้านนายณัฐพงษ์ อารีกุล รองประธาน บริษัท โตชิบาไทยแลนด์ กล่าวว่า ในปีหน้าตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าจะมีการแข่งขันรุนแรง ส่งผลให้โครงสร้างตลาดเปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ได้แข่งกันเพียงราคาหรือมุ่งเน้นเพียงเทคโนโลยีเท่านั้น แต่จะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โตชิบาจึงเน้นการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เน้นนวัตกรรมสีเขียวเพื่อโลกสีขาว อาทิ ตู้เย็นประตูเดียวรุ่น Slim Lady เครื่องซักผ้า SDD ที่โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีประหยัดไฟฟ้า Bidet เครื่องสุขภัณฑ์ชำระอัจฉริยะเพื่อสุขภาพ เป็นต้น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=205196
โพสต์ทูเดย์ โตชิบาชูกลยุทธ์ นวัตกรรมสีเขียวเพื่อโลกสีขาว ร่วมกระแสสิ่งแวดล้อม ฉีกหนีการแข่งราคาเครื่องใช้ไฟฟ้าปีหน้า
นายฮิเดโนริ มัสสุอิ ประธานบริษัท โตชิบาไทย กล่าวว่า ในปีหน้าโตชิบาจะชูนโยบายเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้กลยุทธ์ นวัตกรรมสีเขียวเพื่อโลกสีขาว โดยจะเน้นเทคโนโลยีประหยัดพลังงานและกระบวนการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในแต่ละผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน, กลุ่มภาพและเสียง และสินค้าไอที
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ของโตชิบาจะยึดหลักของ 3R ได้แก่ การลดวัสดุ (Reduce) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) และการนำไปแปรสภาพเพื่อใช้อีกครั้ง (Recycle) รวมทั้งเน้นกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน (Restriction of Hazardous Substances: RoHS) โดยต้องไม่มีส่วนประกอบที่เป็นสารพิษ เพื่อก่อผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
สำหรับกลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายนั้น จะมุ่งส่งเสริมและพัฒนาร้านค้าให้แข็งแกร่งเพิ่มยิ่งขึ้น ด้วยการรักษาสัมพันธ์กับผู้แทนจำหน่ายในทุกช่องทาง และให้การสนับสนุนผู้แทนจำหน่ายทั้งเก่าและใหม่ ทั้งรุ่นบุกเบิกและรุ่นลูก เพื่อเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน หรือ ซีอาร์เอ็ม และปรับสมดุลของทุกช่องทางจัดจำหน่ายให้เหมาะกับกลยุทธ์ทางธุรกิจในสถานการณ์ปัจจุบัน
ทั้งนี้ ได้ตั้งเป้ายอดขายเมื่อปิดบัญชีในเดือน มี.ค. 2008 ที่ 5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากรอบบัญชีปีก่อนหน้า 12% ซึ่งเติบโตสูงกว่าตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมที่คาดว่าจะเติบโต 5-8% โดยแบ่งสัดส่วนรายได้มาจากสินค้าหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน 60% หมวดภาพและเสียง 10% และหมวดคอมพิวเตอร์ 30%
ด้านนายณัฐพงษ์ อารีกุล รองประธาน บริษัท โตชิบาไทยแลนด์ กล่าวว่า ในปีหน้าตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าจะมีการแข่งขันรุนแรง ส่งผลให้โครงสร้างตลาดเปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ได้แข่งกันเพียงราคาหรือมุ่งเน้นเพียงเทคโนโลยีเท่านั้น แต่จะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โตชิบาจึงเน้นการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เน้นนวัตกรรมสีเขียวเพื่อโลกสีขาว อาทิ ตู้เย็นประตูเดียวรุ่น Slim Lady เครื่องซักผ้า SDD ที่โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีประหยัดไฟฟ้า Bidet เครื่องสุขภัณฑ์ชำระอัจฉริยะเพื่อสุขภาพ เป็นต้น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=205196
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news23/11/07
โพสต์ที่ 46
Electronics Sector
Bath StrengthenedNo impact earnings
ผลการดำเนินงานใน Q3/50 ของกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 5 บริษัทที่ SCIBS ทำการศึกษา
พบว่า กำไรจากการดำเนินงานปกติเติบโตถึง 13% yoy และ 44% qoq เป็น 2,468 ล้านบาท แม้ว่า
ค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ จะแข็งค่าถึง 10% yoy และ 2% qoq ก็ตาม สะท้อนถึงปริมาณ
คำสั่งซื้อที่เข้ามามากกว่าผลกระทบจากค่าเงิน อีกทั้งผู้ประกอบการต่างให้เห็นความสำคัญของการ
ควบคุมต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน
ทั้งนี้ CCET ถือว่ามีผลการดำเนินงานปกติใน Q3/50 ที่โดดเด่นที่สุด เติบโตถึง 27% yoy และ 66%
qoq และทำสถิติสูงสุดใหม่ของ CCET อีกด้วย ขณะที่ SPPT ผลการดำเนินงานยังไม่ฟื้นตัวสู่ระดับ
ปกติ ผลของการใช้กำลังการผลิตที่ไม่เต็มที่
สำหรับภาพในปี 2551 นั้น SIA ประมาณการการเติบโตของยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกไว้ที่
7.7% yoy เป็น US$2.77 แสนล้าน เทียบกับปี 2550 ที่เพิ่มขึ้น 3.8% yoy เป็น US$2.57 แสนล้าน โดย
สินค้าที่คาดว่าจะมีการขยายตัวอย่างโดดเด่นยังคงอยู่ในกลุ่มสินค้าคอมพิวเตอร์และ Consumer
Electronics เป็นหลัก แต่สำหรับผู้ผลิตไทยในปี 2551 คาดว่าจะเผชิญกับความเสี่ยงสำคัญ 2
ประเด็นด้วยกันคือ
1) ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่า ซึ่ง SCIBS ได้ปรับสมมติฐานเป็น 32.50 บาท/
US$ จากเดิม 34.50 บาท/US$ และ
2) การพึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะชะลอตัวชัดเจนในปี 2551
ซึ่ง DELTA และ CCET ได้ปรับแผนธุรกิจได้อย่างทันท่วงที สามารถเปิดตลาดใหม่อย่าง อินเดีย ซึ่ง
มีการขยายตัวของตลาดสื่อสารอย่างก้าวกระโดด จึงทำให้ผลการดำเนินงานของ 2 บริษัทมีอัตรา
การเติบโตที่โดดเด่นถึง 23% yoy สำหรับ CCET และ DELTA ที่ 40% yoy ในปี 2551
SCIBS ยังคงเลือก DELTA เป็น Top Pick ของกลุ่มนี้ ด้วยอัตราการขยายตัวของกำไรจากการ
ดำเนินงานปกติที่โดดเด่น, อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล และสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง
ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2551 ที่ 29.52 บาท อันดับ 2 ได้แก่ CCET เพราะคาดว่าปี 2551 จะยังเป็นปีที่
ดีอีกปีของ CCET ทั้งในแง่ของการเติบโตจากลูกค้าเก่า และตลาดใหม่อย่างอินเดีย ราคาเหมาะสม
ณ สิ้นปี 2551 ที่ 9.50 บาท ขณะที่ KCE เป็นเพียง Trading buy เท่านั้น แม้ว่าทิศทางการเติบโต
ของผลการดำเนินงานในปี 2551 อยู่ในระดับที่น่าสนใจ 16% yoy ก็ตาม แต่ด้วยข้อจำกัดของฐาน
ทุนที่ทำให้ KCE ต้องจำกัดการขยายกำลังการผลิต ทำให้ภาพการเติบโตในระยะยาวไม่ชัดเจน
นอกจากนี้ SCIBS แนะนำ ถือ HANA และ SPPT แม้ว่าหุ้นทั้ง 2 จะให้ผลตอบแทนจากเงินปันผล
สำหรับงวดปี 2550 ที่สูงถึง 6.5% และ 2.2% สำหรับงวด 2H/50 ของ SPPT แต่อัตราการขยายตัวของ
ผลการดำเนินงานในปี 2551 ของ HANA เทียบเท่าอุตสาหกรรมที่ 8% yoy เท่านั้น ขณะที่ SPPT
ยังคงต้องรอดูความชัดเจนของธุรกิจใหม่คือ เครื่องจักรแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน แม้ว่า
SCIBS จะประเมินรายได้และกำไรจากธุรกิจนี้เข้าไว้ในประมาณการปี 2551 แล้วก็ตาม
ภาพของผลการดำเนินงานใน Q4/50
Q4 มักจะอ่อนตัวลง qoq แต่หากเทียบ yoy คาด
ว่าจะยังเติบโตถึง 20% yoy
สำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 SCIBS คาดว่าจะเป็นเหมือนทุกๆ ที่ปี ที่ผลการดำเนินงานจะอ่อนตัว
ลงจาก Q3 เนื่องจากจำนวนวันทำงานที่น้อยลง และลูกค้าส่วนใหญ่มักจะชะลอการสั่งซื้อสินค้า เพื่อลด
ระดับสินค้าคงคลังของตนเอง และจะกลับมาเพิ่มสินค้าคงคลังอีกครั้งใน Q1 นอกจากนี้ปี 2550 เป็นปีที่
พิเศษ เพราะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่อเค้าชะลอตัวชัดเจนมากขึ้น จะทำให้ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เริ่ม
ระมัดระวังการสั่งซื้อชิ้นส่วนมากขึ้น แต่ไตรมาสสุดท้ายปีนี้กลับมีผลบวกในแง่ของค่าเงินบาทที่เริ่มทรงตัว
ที่ระดับ 34 บาท/US$ ทำให้ผลการดำเนินงานโดยรวมใน Q4/50 คาดว่าจะลดลงเพียง 8% qoq แต่ยัง
เพิ่มขึ้น 20% yoy เป็น 2,277 ล้านบาท แม้ว่าค่าเงินบาท/US$ จะแข็งค่าราว 7% จากค่าเฉลี่ยใน Q4/49
ที่ 36.53 บาท/US$ ก็ตาม
CCET ยังคงเติบโตโดดเด่นในแง่ของ yoy ขณะที่
KCE จะขยายตัวสูงสุดในแง่ของ qoqจากหุ้นทั้งหมด 5 บริษัทที่ SCIBS ทำการศึกษา คาดว่า CCET จะยังเป็นหุ้นที่แสดงผลการดำเนินงานที่
เติบโตโดดเด่นที่สุดในกลุ่ม โดยคาดว่ากำไรจากการดำเนินงานปกติใน Q4/50 จะทำได้ทั้งสิ้น 869 ล้าน
บาท เติบโต 26% yoy ขณะที่ KCE คาดว่าจะเติบโตโดดเด่นในแง่ qoq ที่ 53% qoq เป็น 69 ล้านบาท
เพราะคาดว่า KCE จะเร่งควบคุมปริมาณของเสีย (Defect Rate) ให้ขยับลงจากระดับ 8-9% ใน Q3/50
ลงสู่ระดับปกติ 6-7% อีกทั้งคำสั่งซื้อจากกลุ่มสินค้า Consumer Electronics ที่ถูกเลื่อนจาก Q3/50 มา
เป็นไตรมาสสุดท้าย คาดว่าจะเอื้อให้ KCE มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นในแง่ของ qoq
ภาพอุตสาหกรรมในปี 2551
SIA ประเมินเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกเติบโต
7.7% ในปี 2551
ล่าสุด The Semiconductor Industry Association (SIA) ประเมินการขยายตัวของยอดขายเซมิคอนดัก
เตอร์ทั่วโลกในปี 2550 เพิ่มขึ้นจากก่อนหน้าที่คาดว่าจะขยายตัวเพียง 1.8% เป็น 3.8% เป็น US$2.57
แสนล้าน หลังยอดขายสินค้าในกลุ่มคอมพิวเตอร์และ Consumer Electronics เช่น MP3, กล้องดิจิตอล,
โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น มีการขยายตัวอย่างมากในช่วง 2H/50 และ SIA คาดยอดขายเซมิฯ ทั่วโลกจะ
เติบโต 7.7% yoy เป็น US$2.77 แสนล้าน โดยผลิตภัณฑ์ที่ผลักดันการขยายตัวยังคงเป็นกลุ่ม
Consumer Electronics และ คอมพิวเตอร์เป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องจับตามองและถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของอุตสาหกรรมคือ ผลกระทบจากราคา
น้ำมัน เพราะทำให้ต้นทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมขยับขึ้น ขณะที่การปรับราคาจำหน่ายสินค้าทำได้ยาก
ขึ้น
แนวโน้มผลการดำเนินงานปี 2551
คาดกำไรจากการดำเนินงานปกติปี 2551 เติบโต
25% yoy ขยายตัวสูงกว่าปี 2550 ที่ 11% yoy
SCIBS ประเมินผลการดำเนินงานของหุ้นทั้ง 5 บริษัทที่ SCIBS ทำการศึกษา บนสมมติฐานอัตรา
แลกเปลี่ยนที่ 32.50 บาท/US$ ซึ่งจะแข็งค่าขึ้นราว 5% จากระดับปัจจุบัน แต่คาดว่ากำไรจากการ
ดำเนินงานปกติในปี 2551 จะเติบโตถึง 25% yoy เป็น 10,326 ล้านบาท ซึ่งขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าปี
2550 ที่เพิ่มขึ้น 11% yoy เป็น 8,261 ล้านบาท แม้ค่าเงินบาทปี 2550 แข็งค่าจากปี 2549 ราว 11% yoy
สาเหตุนอกเหนือจากค่าเงินที่แข็งค่าในอัตราที่ลดลงแล้ว ผู้ประกอบการอย่าง CCET / DELTA ได้เปิด
ตลาดใหม่อย่างอินเดีย และเอเชียกลาง เป็นอีกส่วนสำคัญต่อการเติบโต
คาด DELTA กลับมาเติบโตโดดเด่นที่สุดในกลุ่ม
ที่ 40% yoy
หากพิจารณาลงไปในรายละเอียดของแต่ละบริษัทจะพบว่า ปี 2551 จะเป็นปีที่โดดเด่นของ DELTA หลัง
ปรับสายการธุรกิจ ยกเลิกการผลิต LCD ที่แม้ว่าจะสร้างรายได้ให้แก่ DELTA ปีละกว่า US$200 ล้านก็
ตาม แต่ด้วยภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรง และอัตราส่วนกำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin : GPM) ต่ำกว่า
5% ทำให้ DELTA ตัดสินใจยกเลิกการผลิตสินค้ากลุ่มนี้ในปี 2550 ดังนั้นภาพของธุรกิจในปี 2551 ของ
DELTA จะมีความชัดเจน และมุ่งเน้นไปยังสินค้ากลุ่มสื่อสาร ที่มีคู่แข่งน้อยราย GPM สูงกว่า 25% อีกทั้ง
ตลาดอินเดีย และเอเชียกลางมีแผนการลงทุนขยายโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นจำนวนมาก เพื่อ
รองรับกับยอดผู้ใช้บริการที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด จากการศึกษาของ SCIBS พบว่ายอดผู้ใช้บริการ
โทรศัพท์เคลื่อนที่ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เติบโตเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 115% yoy SCIBS ประเมินกำไรจากการ
ดำเนินงานปกติของ DELTA ในปี 2551 จะเติบโตถึง 40% yoy เป็น 3,974 ล้านบาท รวมกับอัตรา
ผลตอบแทนจากเงินปันผลสำหรับงวดปี 2550 ถึง 8.6% และขยับขึ้นเป็น 10.2% สำหรับงวดปี 2551
SCIBS จึงให้น้ำหนัก ซื้อ อันดับที่ 1 ในกลุ่มนี้ ด้วยราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2551 ที่ 29.49 บาท
CCET เป็นโดดเด่นเป็นอันดับ 2 ของกลุ่มที่ 22% CCET จะเป็นหุ้นที่มีผลการดำเนินงานเติบโตโดดเด่นเป็นอันดับ 2 ของปี 2551 จากแนวโน้มปี 2551 ที่
คาดว่าตลาดอินเดียจะเป็นส่วนสร้างการเติบที่สำคัญ จากจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เพิ่มขึ้น
อย่างก้าวกระโดด คาดว่ายอดขายโทรศัพท์มือถือของ CCET ในปี 2551 จะเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่ 12
ล้านเครื่องอย่างแน่นอน อีกทั้งมีโอกาสเห็นลูกค้าใหม่ในอินเดียอีกราย (โทรศัพท์มือถือ) และ Set-topbox
รายใหม่ต้นปีหน้าเช่นกัน นอกเหนือจากคำสั่งซื้อส่วนเพิ่มของ Seagate ภายใต้สัญญาเพิ่มเติม 3 ปี
ซึ่ง CCET ตัดสินใจเช่าโรงงานในจีนอีก 1 แห่ง เพื่อรองรับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของ Seagate รวมถึงอยู่
ระหว่างการพิจารณาซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงงานในจีน SCIBS ประเมินอัตราการเติบโตของกำไรจากการ
PC Related Mobile
Phone
MP 3
Player Digital TV Automotive Mobile
Network
DELTA (45%) CCET HANA KCE (4%) KCE (66%) DELTA (55%)
CCET (79%) HANA HANA (7%) HANA (3%)
HANA (31%)
SPPT (100%)
Sector Report Electronic Components Sector
ดำเนินงานปกติไว้ที่ 22% yoy เป็น 3,889 ล้านบาท รวมถึงอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสำหรับงวดปี
2551 อีก 7.0% SCIBS จัดให้ CCET เป็น ซื้อ อันดับที่ 2 ของกลุ่ม ที่ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี
2551 ที่ 9.50 บาท
แต่คงต้องระวังตลาดส่งออกไปยังสหรัฐฯ ซึ่ง
HANA พึ่งพิงตลาดนี้สูงสุดในกลุ่ม
จากภาพรวมอุตสาหกรรมที่ยังเห็นการขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2550 แม้ว่าประเด็นที่ต้องติดตามอย่าง
ใกล้ชิดคือ ตลาดสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะชะลอตัวอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นปี 2551 ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์เทียบ
กับเงินสกุลต่างประเทศอื่นๆ อ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง บวกกับราคาน้ำมันที่ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ย่อมกดดัน
ให้ต้นทุนการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูก Outsource มายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือจีน ขยับขึ้น
ขณะที่ราคาขายสินค้าสำเร็จรูปจะขยับขึ้นได้ไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ ได้ปรับกลยุทธ์
ธุรกิจ กระจายความเสี่ยงไปยังตลาดเกิดใหม่ อย่าง อินเดีย และเอเชียกลางมากขึ้น ตัวอย่างชัดเจนได้แก่
DELTA และ CCET ที่ประสบความสำเร็จกับการเปิดตลาดนี้อย่างมากในปี 2550 ที่ผ่านมา ขณะที่
HANA ที่ส่งออกกลับไปยังสหรัฐฯ ราว 40% ของรายได้รวม แม้ว่าลูกค้าของ HANA จะเป็นบริษัทข้าม
ชาติที่ผลิตสินค้าจำหน่ายไปทั่วโลก แต่ SCIBS คาดว่าสัดส่วนกว่า 25% จะจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯ ซึ่ง
นั้นหมายความว่า HANA มีความเสี่ยงต่อตลาดสหรัฐฯ สูงที่สุด SCIBS จึงให้น้ำหนักการลงทุนเป็น
เพียงแค่ ถือ เพื่อรอรับเงินปันผลสำหรับงวดปี 2550 ที่คาดว่าจะจ่าย 1.50 บาท/หุ้น
scib
Bath StrengthenedNo impact earnings
ผลการดำเนินงานใน Q3/50 ของกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 5 บริษัทที่ SCIBS ทำการศึกษา
พบว่า กำไรจากการดำเนินงานปกติเติบโตถึง 13% yoy และ 44% qoq เป็น 2,468 ล้านบาท แม้ว่า
ค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ จะแข็งค่าถึง 10% yoy และ 2% qoq ก็ตาม สะท้อนถึงปริมาณ
คำสั่งซื้อที่เข้ามามากกว่าผลกระทบจากค่าเงิน อีกทั้งผู้ประกอบการต่างให้เห็นความสำคัญของการ
ควบคุมต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน
ทั้งนี้ CCET ถือว่ามีผลการดำเนินงานปกติใน Q3/50 ที่โดดเด่นที่สุด เติบโตถึง 27% yoy และ 66%
qoq และทำสถิติสูงสุดใหม่ของ CCET อีกด้วย ขณะที่ SPPT ผลการดำเนินงานยังไม่ฟื้นตัวสู่ระดับ
ปกติ ผลของการใช้กำลังการผลิตที่ไม่เต็มที่
สำหรับภาพในปี 2551 นั้น SIA ประมาณการการเติบโตของยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกไว้ที่
7.7% yoy เป็น US$2.77 แสนล้าน เทียบกับปี 2550 ที่เพิ่มขึ้น 3.8% yoy เป็น US$2.57 แสนล้าน โดย
สินค้าที่คาดว่าจะมีการขยายตัวอย่างโดดเด่นยังคงอยู่ในกลุ่มสินค้าคอมพิวเตอร์และ Consumer
Electronics เป็นหลัก แต่สำหรับผู้ผลิตไทยในปี 2551 คาดว่าจะเผชิญกับความเสี่ยงสำคัญ 2
ประเด็นด้วยกันคือ
1) ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่า ซึ่ง SCIBS ได้ปรับสมมติฐานเป็น 32.50 บาท/
US$ จากเดิม 34.50 บาท/US$ และ
2) การพึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะชะลอตัวชัดเจนในปี 2551
ซึ่ง DELTA และ CCET ได้ปรับแผนธุรกิจได้อย่างทันท่วงที สามารถเปิดตลาดใหม่อย่าง อินเดีย ซึ่ง
มีการขยายตัวของตลาดสื่อสารอย่างก้าวกระโดด จึงทำให้ผลการดำเนินงานของ 2 บริษัทมีอัตรา
การเติบโตที่โดดเด่นถึง 23% yoy สำหรับ CCET และ DELTA ที่ 40% yoy ในปี 2551
SCIBS ยังคงเลือก DELTA เป็น Top Pick ของกลุ่มนี้ ด้วยอัตราการขยายตัวของกำไรจากการ
ดำเนินงานปกติที่โดดเด่น, อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล และสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง
ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2551 ที่ 29.52 บาท อันดับ 2 ได้แก่ CCET เพราะคาดว่าปี 2551 จะยังเป็นปีที่
ดีอีกปีของ CCET ทั้งในแง่ของการเติบโตจากลูกค้าเก่า และตลาดใหม่อย่างอินเดีย ราคาเหมาะสม
ณ สิ้นปี 2551 ที่ 9.50 บาท ขณะที่ KCE เป็นเพียง Trading buy เท่านั้น แม้ว่าทิศทางการเติบโต
ของผลการดำเนินงานในปี 2551 อยู่ในระดับที่น่าสนใจ 16% yoy ก็ตาม แต่ด้วยข้อจำกัดของฐาน
ทุนที่ทำให้ KCE ต้องจำกัดการขยายกำลังการผลิต ทำให้ภาพการเติบโตในระยะยาวไม่ชัดเจน
นอกจากนี้ SCIBS แนะนำ ถือ HANA และ SPPT แม้ว่าหุ้นทั้ง 2 จะให้ผลตอบแทนจากเงินปันผล
สำหรับงวดปี 2550 ที่สูงถึง 6.5% และ 2.2% สำหรับงวด 2H/50 ของ SPPT แต่อัตราการขยายตัวของ
ผลการดำเนินงานในปี 2551 ของ HANA เทียบเท่าอุตสาหกรรมที่ 8% yoy เท่านั้น ขณะที่ SPPT
ยังคงต้องรอดูความชัดเจนของธุรกิจใหม่คือ เครื่องจักรแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน แม้ว่า
SCIBS จะประเมินรายได้และกำไรจากธุรกิจนี้เข้าไว้ในประมาณการปี 2551 แล้วก็ตาม
ภาพของผลการดำเนินงานใน Q4/50
Q4 มักจะอ่อนตัวลง qoq แต่หากเทียบ yoy คาด
ว่าจะยังเติบโตถึง 20% yoy
สำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 SCIBS คาดว่าจะเป็นเหมือนทุกๆ ที่ปี ที่ผลการดำเนินงานจะอ่อนตัว
ลงจาก Q3 เนื่องจากจำนวนวันทำงานที่น้อยลง และลูกค้าส่วนใหญ่มักจะชะลอการสั่งซื้อสินค้า เพื่อลด
ระดับสินค้าคงคลังของตนเอง และจะกลับมาเพิ่มสินค้าคงคลังอีกครั้งใน Q1 นอกจากนี้ปี 2550 เป็นปีที่
พิเศษ เพราะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่อเค้าชะลอตัวชัดเจนมากขึ้น จะทำให้ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เริ่ม
ระมัดระวังการสั่งซื้อชิ้นส่วนมากขึ้น แต่ไตรมาสสุดท้ายปีนี้กลับมีผลบวกในแง่ของค่าเงินบาทที่เริ่มทรงตัว
ที่ระดับ 34 บาท/US$ ทำให้ผลการดำเนินงานโดยรวมใน Q4/50 คาดว่าจะลดลงเพียง 8% qoq แต่ยัง
เพิ่มขึ้น 20% yoy เป็น 2,277 ล้านบาท แม้ว่าค่าเงินบาท/US$ จะแข็งค่าราว 7% จากค่าเฉลี่ยใน Q4/49
ที่ 36.53 บาท/US$ ก็ตาม
CCET ยังคงเติบโตโดดเด่นในแง่ของ yoy ขณะที่
KCE จะขยายตัวสูงสุดในแง่ของ qoqจากหุ้นทั้งหมด 5 บริษัทที่ SCIBS ทำการศึกษา คาดว่า CCET จะยังเป็นหุ้นที่แสดงผลการดำเนินงานที่
เติบโตโดดเด่นที่สุดในกลุ่ม โดยคาดว่ากำไรจากการดำเนินงานปกติใน Q4/50 จะทำได้ทั้งสิ้น 869 ล้าน
บาท เติบโต 26% yoy ขณะที่ KCE คาดว่าจะเติบโตโดดเด่นในแง่ qoq ที่ 53% qoq เป็น 69 ล้านบาท
เพราะคาดว่า KCE จะเร่งควบคุมปริมาณของเสีย (Defect Rate) ให้ขยับลงจากระดับ 8-9% ใน Q3/50
ลงสู่ระดับปกติ 6-7% อีกทั้งคำสั่งซื้อจากกลุ่มสินค้า Consumer Electronics ที่ถูกเลื่อนจาก Q3/50 มา
เป็นไตรมาสสุดท้าย คาดว่าจะเอื้อให้ KCE มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นในแง่ของ qoq
ภาพอุตสาหกรรมในปี 2551
SIA ประเมินเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกเติบโต
7.7% ในปี 2551
ล่าสุด The Semiconductor Industry Association (SIA) ประเมินการขยายตัวของยอดขายเซมิคอนดัก
เตอร์ทั่วโลกในปี 2550 เพิ่มขึ้นจากก่อนหน้าที่คาดว่าจะขยายตัวเพียง 1.8% เป็น 3.8% เป็น US$2.57
แสนล้าน หลังยอดขายสินค้าในกลุ่มคอมพิวเตอร์และ Consumer Electronics เช่น MP3, กล้องดิจิตอล,
โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น มีการขยายตัวอย่างมากในช่วง 2H/50 และ SIA คาดยอดขายเซมิฯ ทั่วโลกจะ
เติบโต 7.7% yoy เป็น US$2.77 แสนล้าน โดยผลิตภัณฑ์ที่ผลักดันการขยายตัวยังคงเป็นกลุ่ม
Consumer Electronics และ คอมพิวเตอร์เป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องจับตามองและถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของอุตสาหกรรมคือ ผลกระทบจากราคา
น้ำมัน เพราะทำให้ต้นทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมขยับขึ้น ขณะที่การปรับราคาจำหน่ายสินค้าทำได้ยาก
ขึ้น
แนวโน้มผลการดำเนินงานปี 2551
คาดกำไรจากการดำเนินงานปกติปี 2551 เติบโต
25% yoy ขยายตัวสูงกว่าปี 2550 ที่ 11% yoy
SCIBS ประเมินผลการดำเนินงานของหุ้นทั้ง 5 บริษัทที่ SCIBS ทำการศึกษา บนสมมติฐานอัตรา
แลกเปลี่ยนที่ 32.50 บาท/US$ ซึ่งจะแข็งค่าขึ้นราว 5% จากระดับปัจจุบัน แต่คาดว่ากำไรจากการ
ดำเนินงานปกติในปี 2551 จะเติบโตถึง 25% yoy เป็น 10,326 ล้านบาท ซึ่งขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าปี
2550 ที่เพิ่มขึ้น 11% yoy เป็น 8,261 ล้านบาท แม้ค่าเงินบาทปี 2550 แข็งค่าจากปี 2549 ราว 11% yoy
สาเหตุนอกเหนือจากค่าเงินที่แข็งค่าในอัตราที่ลดลงแล้ว ผู้ประกอบการอย่าง CCET / DELTA ได้เปิด
ตลาดใหม่อย่างอินเดีย และเอเชียกลาง เป็นอีกส่วนสำคัญต่อการเติบโต
คาด DELTA กลับมาเติบโตโดดเด่นที่สุดในกลุ่ม
ที่ 40% yoy
หากพิจารณาลงไปในรายละเอียดของแต่ละบริษัทจะพบว่า ปี 2551 จะเป็นปีที่โดดเด่นของ DELTA หลัง
ปรับสายการธุรกิจ ยกเลิกการผลิต LCD ที่แม้ว่าจะสร้างรายได้ให้แก่ DELTA ปีละกว่า US$200 ล้านก็
ตาม แต่ด้วยภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรง และอัตราส่วนกำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin : GPM) ต่ำกว่า
5% ทำให้ DELTA ตัดสินใจยกเลิกการผลิตสินค้ากลุ่มนี้ในปี 2550 ดังนั้นภาพของธุรกิจในปี 2551 ของ
DELTA จะมีความชัดเจน และมุ่งเน้นไปยังสินค้ากลุ่มสื่อสาร ที่มีคู่แข่งน้อยราย GPM สูงกว่า 25% อีกทั้ง
ตลาดอินเดีย และเอเชียกลางมีแผนการลงทุนขยายโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นจำนวนมาก เพื่อ
รองรับกับยอดผู้ใช้บริการที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด จากการศึกษาของ SCIBS พบว่ายอดผู้ใช้บริการ
โทรศัพท์เคลื่อนที่ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เติบโตเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 115% yoy SCIBS ประเมินกำไรจากการ
ดำเนินงานปกติของ DELTA ในปี 2551 จะเติบโตถึง 40% yoy เป็น 3,974 ล้านบาท รวมกับอัตรา
ผลตอบแทนจากเงินปันผลสำหรับงวดปี 2550 ถึง 8.6% และขยับขึ้นเป็น 10.2% สำหรับงวดปี 2551
SCIBS จึงให้น้ำหนัก ซื้อ อันดับที่ 1 ในกลุ่มนี้ ด้วยราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2551 ที่ 29.49 บาท
CCET เป็นโดดเด่นเป็นอันดับ 2 ของกลุ่มที่ 22% CCET จะเป็นหุ้นที่มีผลการดำเนินงานเติบโตโดดเด่นเป็นอันดับ 2 ของปี 2551 จากแนวโน้มปี 2551 ที่
คาดว่าตลาดอินเดียจะเป็นส่วนสร้างการเติบที่สำคัญ จากจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เพิ่มขึ้น
อย่างก้าวกระโดด คาดว่ายอดขายโทรศัพท์มือถือของ CCET ในปี 2551 จะเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่ 12
ล้านเครื่องอย่างแน่นอน อีกทั้งมีโอกาสเห็นลูกค้าใหม่ในอินเดียอีกราย (โทรศัพท์มือถือ) และ Set-topbox
รายใหม่ต้นปีหน้าเช่นกัน นอกเหนือจากคำสั่งซื้อส่วนเพิ่มของ Seagate ภายใต้สัญญาเพิ่มเติม 3 ปี
ซึ่ง CCET ตัดสินใจเช่าโรงงานในจีนอีก 1 แห่ง เพื่อรองรับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของ Seagate รวมถึงอยู่
ระหว่างการพิจารณาซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงงานในจีน SCIBS ประเมินอัตราการเติบโตของกำไรจากการ
PC Related Mobile
Phone
MP 3
Player Digital TV Automotive Mobile
Network
DELTA (45%) CCET HANA KCE (4%) KCE (66%) DELTA (55%)
CCET (79%) HANA HANA (7%) HANA (3%)
HANA (31%)
SPPT (100%)
Sector Report Electronic Components Sector
ดำเนินงานปกติไว้ที่ 22% yoy เป็น 3,889 ล้านบาท รวมถึงอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสำหรับงวดปี
2551 อีก 7.0% SCIBS จัดให้ CCET เป็น ซื้อ อันดับที่ 2 ของกลุ่ม ที่ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี
2551 ที่ 9.50 บาท
แต่คงต้องระวังตลาดส่งออกไปยังสหรัฐฯ ซึ่ง
HANA พึ่งพิงตลาดนี้สูงสุดในกลุ่ม
จากภาพรวมอุตสาหกรรมที่ยังเห็นการขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2550 แม้ว่าประเด็นที่ต้องติดตามอย่าง
ใกล้ชิดคือ ตลาดสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะชะลอตัวอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นปี 2551 ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์เทียบ
กับเงินสกุลต่างประเทศอื่นๆ อ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง บวกกับราคาน้ำมันที่ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ย่อมกดดัน
ให้ต้นทุนการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูก Outsource มายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือจีน ขยับขึ้น
ขณะที่ราคาขายสินค้าสำเร็จรูปจะขยับขึ้นได้ไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ ได้ปรับกลยุทธ์
ธุรกิจ กระจายความเสี่ยงไปยังตลาดเกิดใหม่ อย่าง อินเดีย และเอเชียกลางมากขึ้น ตัวอย่างชัดเจนได้แก่
DELTA และ CCET ที่ประสบความสำเร็จกับการเปิดตลาดนี้อย่างมากในปี 2550 ที่ผ่านมา ขณะที่
HANA ที่ส่งออกกลับไปยังสหรัฐฯ ราว 40% ของรายได้รวม แม้ว่าลูกค้าของ HANA จะเป็นบริษัทข้าม
ชาติที่ผลิตสินค้าจำหน่ายไปทั่วโลก แต่ SCIBS คาดว่าสัดส่วนกว่า 25% จะจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯ ซึ่ง
นั้นหมายความว่า HANA มีความเสี่ยงต่อตลาดสหรัฐฯ สูงที่สุด SCIBS จึงให้น้ำหนักการลงทุนเป็น
เพียงแค่ ถือ เพื่อรอรับเงินปันผลสำหรับงวดปี 2550 ที่คาดว่าจะจ่าย 1.50 บาท/หุ้น
scib
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news24/11/07
โพสต์ที่ 47
ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์โตตามรอยดิจิตอลคอนเทนต์
โพสต์ทูเดย์ การบริโภคข้อมูลดิจิตอลโตพรวด เวสเทิร์น ดิจิตอล เดินหน้ารุกตลาดอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพาและคอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์
น.ส.มาร์กาเร็ต โค้ ผู้อำนวยการฝ่ายขายประจำภาคพื้นเอเชียใต้ บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล ผู้ผลิตอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (ฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์) กล่าวว่า จากปริมาณความต้องการจัดเก็บข้อมูลของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะการจัดเก็บข้อมูลแบบพกพา (เอ็กซ์เทอร์นอล ดิสก์) ที่มีความจุตั้ง 160 กิกะไบต์ ไปจนถึง 1 เทราไบต์ กำลังเป็นที่ต้องการในของกลุ่มผู้ใช้งานโน้ตบุ๊ก เพื่อจัดเก็บข้อมูลดิจิตอล คอนเทนต์ อาทิ ภาพ เพลง และภาพยนตร์ ขณะที่ราคาของอุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย 20%
ทั้งนี้ ส่งผลให้ตลาดฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์เติบโตตามไปด้วย เห็นได้จากผลการดำเนินงานของบริษัทในปี 2550 (สิ้นสุดเดือน มิ.ย. 2550) มีรายได้รวมทั่วโลก 1.6 แสนล้านบาท โตขึ้น 26% จากปีก่อนที่มีรายได้ทั้งสิ้น 1.5 แสนล้านบาท โดยมียอดขายฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ทั่วโลกทั้งหมด 100 ล้านตัว
สำหรับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของ เวสเทิร์น ดิจิตอล ผลิตจากโรงงานในประเทศไทย มาเลเซีย เป็นหลัก โดยในไทยบริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุนมูลค่า 6 พันล้านบาท ตั้งโรงงานผลิต 2 แห่ง ที่นิคมอุตสาหกรรมนวนครและบางปะอิน ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ขนาด 3.5 นิ้ว และขนาด 2.5 นิ้ว
ผลิตภัณฑ์ของบริษัทส่วนใหญ่จะผลิตป้อนตลาดอุปกรณ์คอน ซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น กล้องบันทึกภาพวิดีโอ เครื่องเล่นและบันทึกวิดีโอ รวมไปถึงโน้ตบุ๊ก กลุ่มแอพพลิเคชันระดับเอนเตอร์ไพรส์ และกลุ่มใช้ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์สำหรับบันทึกและติดตั้งภายนอก
ดังนั้น การทำตลาดปีหน้า บริษัทยังคงให้ความสำคัญกับกลุ่มผลิตภัณฑ์คอนซูเมอร์เป็นหลัก โดยมั่นใจว่าความต้องการจัดเก็บข้อมูลแบบดิจิตอลยังขยายตัวสูงต่อเนื่อง เป็นผลให้ตลาดฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์โตขึ้นอีก 20% จากปีนี้ โดยเฉพาะในตลาดไทยยังมีความต้องการใช้คอมพิวเตอร์อีกมาก ซึ่งจะผลักดันให้ตลาดฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์โตด้วย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=205434
โพสต์ทูเดย์ การบริโภคข้อมูลดิจิตอลโตพรวด เวสเทิร์น ดิจิตอล เดินหน้ารุกตลาดอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพาและคอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์
น.ส.มาร์กาเร็ต โค้ ผู้อำนวยการฝ่ายขายประจำภาคพื้นเอเชียใต้ บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล ผู้ผลิตอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (ฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์) กล่าวว่า จากปริมาณความต้องการจัดเก็บข้อมูลของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะการจัดเก็บข้อมูลแบบพกพา (เอ็กซ์เทอร์นอล ดิสก์) ที่มีความจุตั้ง 160 กิกะไบต์ ไปจนถึง 1 เทราไบต์ กำลังเป็นที่ต้องการในของกลุ่มผู้ใช้งานโน้ตบุ๊ก เพื่อจัดเก็บข้อมูลดิจิตอล คอนเทนต์ อาทิ ภาพ เพลง และภาพยนตร์ ขณะที่ราคาของอุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย 20%
ทั้งนี้ ส่งผลให้ตลาดฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์เติบโตตามไปด้วย เห็นได้จากผลการดำเนินงานของบริษัทในปี 2550 (สิ้นสุดเดือน มิ.ย. 2550) มีรายได้รวมทั่วโลก 1.6 แสนล้านบาท โตขึ้น 26% จากปีก่อนที่มีรายได้ทั้งสิ้น 1.5 แสนล้านบาท โดยมียอดขายฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ทั่วโลกทั้งหมด 100 ล้านตัว
สำหรับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของ เวสเทิร์น ดิจิตอล ผลิตจากโรงงานในประเทศไทย มาเลเซีย เป็นหลัก โดยในไทยบริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุนมูลค่า 6 พันล้านบาท ตั้งโรงงานผลิต 2 แห่ง ที่นิคมอุตสาหกรรมนวนครและบางปะอิน ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ขนาด 3.5 นิ้ว และขนาด 2.5 นิ้ว
ผลิตภัณฑ์ของบริษัทส่วนใหญ่จะผลิตป้อนตลาดอุปกรณ์คอน ซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น กล้องบันทึกภาพวิดีโอ เครื่องเล่นและบันทึกวิดีโอ รวมไปถึงโน้ตบุ๊ก กลุ่มแอพพลิเคชันระดับเอนเตอร์ไพรส์ และกลุ่มใช้ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์สำหรับบันทึกและติดตั้งภายนอก
ดังนั้น การทำตลาดปีหน้า บริษัทยังคงให้ความสำคัญกับกลุ่มผลิตภัณฑ์คอนซูเมอร์เป็นหลัก โดยมั่นใจว่าความต้องการจัดเก็บข้อมูลแบบดิจิตอลยังขยายตัวสูงต่อเนื่อง เป็นผลให้ตลาดฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์โตขึ้นอีก 20% จากปีนี้ โดยเฉพาะในตลาดไทยยังมีความต้องการใช้คอมพิวเตอร์อีกมาก ซึ่งจะผลักดันให้ตลาดฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์โตด้วย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=205434
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news27/11/07
โพสต์ที่ 48
โซนี่ฯปรับใช้ไทยฐานส่งออกแทนจีน
โพสต์ทูเดย์ โซนี่ คอร์ปฯ ดันไทยศูนย์กลางการส่งออกสินค้าไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในไทยตั้งเป้าครองแชมป์ทุกตลาดใน 5 ปี
นายคัตสุมิ อิฮาระ รองประธานบริหาร กลุ่มผลิตภัณฑ์คอนซูเมอร์ โซนี่ คอร์เปอเรชั่น เปิดเผยถึงแผนการตลาดในปีหน้า ว่า บริษัทจะกลับมาให้ความสำคัญกับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้ง โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานส่งออกสินค้า เช่น โทรทัศน์ ไปยังอินเดีย ซึ่งมีกำลังซื้อสูงและมีอัตราการเติบโตที่ดี
ที่ผ่านมาบริษัทใช้ประเทศจีนเป็นฐานการผลิตจำหน่ายในประเทศและส่งออก แต่ปัจจุบันค่าจ้างแรงงานประเทศไทยกับจีนไม่แตกต่างกันมากนัก ขณะที่การผลิตสินค้าในประเทศจีนนั้นสามารถป้อนได้แต่เพียงตลาดในประเทศ เท่านั้น เนื่องจากตลาดประเทศจีนมีขนาดใหญ่มาก
การกลับมาโฟกัสตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทนจีนในครั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับเรื่องค่าเงินบาทแข็งตัวและค่าแรงงาน เพราะทั้งสองประเทศมีค่าจ้างแรงงานไม่ต่างกัน แต่เป็นเรื่องของโอกาสทางการตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโตดีในอนาคต นายคัตสุมิ กล่าว
สำหรับกลยุทธ์การตลาดบริษัทจะเน้นให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ทางการตลาดแต่ละผลิตภัณฑ์ การเพิ่มมูลค่าสินค้าโดยผลิตให้สามารถเชื่อมต่อกับสินค้าตัวอื่นได้
ด้านนายไทสุเกะ นากานิชิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซนี่ ไทย เปิดเผยภายหลังการรับตำแหน่งใหม่ ว่า โซนี่ ไทย มีนโยบายการรุกตลาดใน 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1. เน้นสร้างความบันเทิงให้มีความครบวงจร โดยเน้นการเป็นผู้นำในด้าน ฟูล เอชดี ความบันเทิงที่แตกต่าง เช่น เอชดี เวิลด์ 2. สร้างความหลากหลายและจุดแข็งให้กับผลิตภัณฑ์ โดยเพิ่มคุณค่าของสินค้าโซนี่ให้เชื่อมโยงกันได้ ทั้งระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เช่น โซนี่ อีริคสัน และ 3. สร้างความแข็งแกร่งด้านการบริการ เช่น ศูนย์การบริการหลังการขาย
ทั้งนี้ เป้าหมายการทำงานของบริษัทมุ่งผลักดันให้สินค้าทุกประเภทขึ้นเป็นอันดับ 1 ภายใน 3-5 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะจอแอลซีดี หลังจากเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา มีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 2 ขณะที่กลุ่มอื่น อย่าง โน้ตบุ๊ก คาโอดิโอ กล้องดิจิตอล ไซเบอร์ ช็อต มีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1
ในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทได้ใช้งบประมาณ 80 ล้านบาท จัดงานโซนี่ เดย์ ตั้งแต่วันนี้ ถึง 10 ก.พ. ปีหน้า ที่ร้านตัวแทนจำหน่ายเพื่อกระตุ้นยอดขาย ซึ่งในปีนี้และปีหน้าคาดว่าจะมีรายได้เติบโตไม่น้อยกว่า 2 หลัก
ล่าสุดบริษัทได้ผลิต บราเวีย แอลซีดี ทีวี ขนาด 46 นิ้ว รุ่น เทิดไท้องค์ราชัน จำนวน 199 เครื่อง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=205894
โพสต์ทูเดย์ โซนี่ คอร์ปฯ ดันไทยศูนย์กลางการส่งออกสินค้าไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในไทยตั้งเป้าครองแชมป์ทุกตลาดใน 5 ปี
นายคัตสุมิ อิฮาระ รองประธานบริหาร กลุ่มผลิตภัณฑ์คอนซูเมอร์ โซนี่ คอร์เปอเรชั่น เปิดเผยถึงแผนการตลาดในปีหน้า ว่า บริษัทจะกลับมาให้ความสำคัญกับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้ง โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานส่งออกสินค้า เช่น โทรทัศน์ ไปยังอินเดีย ซึ่งมีกำลังซื้อสูงและมีอัตราการเติบโตที่ดี
ที่ผ่านมาบริษัทใช้ประเทศจีนเป็นฐานการผลิตจำหน่ายในประเทศและส่งออก แต่ปัจจุบันค่าจ้างแรงงานประเทศไทยกับจีนไม่แตกต่างกันมากนัก ขณะที่การผลิตสินค้าในประเทศจีนนั้นสามารถป้อนได้แต่เพียงตลาดในประเทศ เท่านั้น เนื่องจากตลาดประเทศจีนมีขนาดใหญ่มาก
การกลับมาโฟกัสตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทนจีนในครั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับเรื่องค่าเงินบาทแข็งตัวและค่าแรงงาน เพราะทั้งสองประเทศมีค่าจ้างแรงงานไม่ต่างกัน แต่เป็นเรื่องของโอกาสทางการตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโตดีในอนาคต นายคัตสุมิ กล่าว
สำหรับกลยุทธ์การตลาดบริษัทจะเน้นให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ทางการตลาดแต่ละผลิตภัณฑ์ การเพิ่มมูลค่าสินค้าโดยผลิตให้สามารถเชื่อมต่อกับสินค้าตัวอื่นได้
ด้านนายไทสุเกะ นากานิชิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซนี่ ไทย เปิดเผยภายหลังการรับตำแหน่งใหม่ ว่า โซนี่ ไทย มีนโยบายการรุกตลาดใน 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1. เน้นสร้างความบันเทิงให้มีความครบวงจร โดยเน้นการเป็นผู้นำในด้าน ฟูล เอชดี ความบันเทิงที่แตกต่าง เช่น เอชดี เวิลด์ 2. สร้างความหลากหลายและจุดแข็งให้กับผลิตภัณฑ์ โดยเพิ่มคุณค่าของสินค้าโซนี่ให้เชื่อมโยงกันได้ ทั้งระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เช่น โซนี่ อีริคสัน และ 3. สร้างความแข็งแกร่งด้านการบริการ เช่น ศูนย์การบริการหลังการขาย
ทั้งนี้ เป้าหมายการทำงานของบริษัทมุ่งผลักดันให้สินค้าทุกประเภทขึ้นเป็นอันดับ 1 ภายใน 3-5 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะจอแอลซีดี หลังจากเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา มีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 2 ขณะที่กลุ่มอื่น อย่าง โน้ตบุ๊ก คาโอดิโอ กล้องดิจิตอล ไซเบอร์ ช็อต มีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1
ในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทได้ใช้งบประมาณ 80 ล้านบาท จัดงานโซนี่ เดย์ ตั้งแต่วันนี้ ถึง 10 ก.พ. ปีหน้า ที่ร้านตัวแทนจำหน่ายเพื่อกระตุ้นยอดขาย ซึ่งในปีนี้และปีหน้าคาดว่าจะมีรายได้เติบโตไม่น้อยกว่า 2 หลัก
ล่าสุดบริษัทได้ผลิต บราเวีย แอลซีดี ทีวี ขนาด 46 นิ้ว รุ่น เทิดไท้องค์ราชัน จำนวน 199 เครื่อง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=205894
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/11/07
โพสต์ที่ 49
ไฮไฟฯเดินหน้าสร้างภาพแกร่ง
โพสต์ทูเดย์ ไฮไฟ โอเรียนท์ฯ รับบริหารสินค้าเพิ่ม รอเข้าตลาดหลักทรัพย์ พร้อมทุ่มย้ำชื่ออะโคเนติค
นายไมเคิล มกร หลินสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไฮไฟ โอเรียนท์ (ไทย) ผู้จัดจำหน่ายและทำตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้ออะโคเนติค, เวิร์ลพูล, เพนโซนิค และเลเบนสติล เปิดเผยว่า ในปีหน้าจะรับจำหน่ายและบริหารการตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์อื่นๆ เพิ่มอีก 1-2 แบรนด์ เพื่อขยายฐานธุรกิจให้ครอบคลุม ทุกเซ็กเมนต์ และเตรียมพร้อมรองรับการจัดโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการปรับองค์กรภายใน และวางแผนทำตลาดสินค้าที่บริหารจัดการอยู่ให้แข็งแรงมากขึ้น เช่น เวิร์ลพูล ซึ่ง ถือเป็นแบรนด์ที่มีศักยภาพในกลุ่มตลาดไฮเอนด์ แต่ที่ผ่านมายังไม่ได้ทำตลาดเท่าที่ควร เนื่องจากภาวะตลาดโดยรวมไม่ดี จึงจะเริ่มทำตลาดมากขึ้นในปีหน้า
ขณะนี้ อะโคเนติค เป็นแบรนด์ที่ทำรายได้หลักให้กับบริษัท ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้พัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่มากขึ้น พร้อมรุกช่องทางจำหน่ายใหม่ผ่านพรีเมียม ดีลเลอร์ ที่ขายสินค้าเทคโนโลยี โดยขณะนี้มี 40 ร้านค้า จากทั้งหมด 300 ร้านค้า
สำหรับแผนการทำตลาดใน ปีหน้า ตัวสินค้าจะเน้นสินค้าที่เคลื่อนที่ได้ เช่น แอลซีดี โมบายทีวี เป็นแอลซีดี ทีวีที่มีเครื่องเล่นดีวีดี ในตัว ขนาด 8 นิ้ว 10.2 นิ้ว และเน้นขยายไลน์สินค้าในกลุ่มดีวีดีเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันดีวีดีทำรายได้คิดเป็นสัดส่วน 66% ของอะโคเนติค
ล่าสุด ได้เปิดตัวโฆษณาใหม่เพื่อสร้างแบรนด์อะโคเนติคให้แข็งแรงมากขึ้น ภายใต้แนวคิด อะโคเนติค ดีวีดี เข้ากับใครก็ได้ โดยใช้งบประมาณ 30 ล้านบาทในช่วง 2 เดือนนี้ ขณะที่ยอดขาย 11 เดือนของปีนี้ เติบโตจากปีก่อน 18% และคาดว่าถึงสิ้นปีจะมียอดขายจะ เพิ่มขึ้น 20% เนื่องจากตลาดดีวีดีขยายตัวพร้อมกับการเติบโตของแอลซีดี ทีวี
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=206484
โพสต์ทูเดย์ ไฮไฟ โอเรียนท์ฯ รับบริหารสินค้าเพิ่ม รอเข้าตลาดหลักทรัพย์ พร้อมทุ่มย้ำชื่ออะโคเนติค
นายไมเคิล มกร หลินสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไฮไฟ โอเรียนท์ (ไทย) ผู้จัดจำหน่ายและทำตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้ออะโคเนติค, เวิร์ลพูล, เพนโซนิค และเลเบนสติล เปิดเผยว่า ในปีหน้าจะรับจำหน่ายและบริหารการตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์อื่นๆ เพิ่มอีก 1-2 แบรนด์ เพื่อขยายฐานธุรกิจให้ครอบคลุม ทุกเซ็กเมนต์ และเตรียมพร้อมรองรับการจัดโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการปรับองค์กรภายใน และวางแผนทำตลาดสินค้าที่บริหารจัดการอยู่ให้แข็งแรงมากขึ้น เช่น เวิร์ลพูล ซึ่ง ถือเป็นแบรนด์ที่มีศักยภาพในกลุ่มตลาดไฮเอนด์ แต่ที่ผ่านมายังไม่ได้ทำตลาดเท่าที่ควร เนื่องจากภาวะตลาดโดยรวมไม่ดี จึงจะเริ่มทำตลาดมากขึ้นในปีหน้า
ขณะนี้ อะโคเนติค เป็นแบรนด์ที่ทำรายได้หลักให้กับบริษัท ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้พัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่มากขึ้น พร้อมรุกช่องทางจำหน่ายใหม่ผ่านพรีเมียม ดีลเลอร์ ที่ขายสินค้าเทคโนโลยี โดยขณะนี้มี 40 ร้านค้า จากทั้งหมด 300 ร้านค้า
สำหรับแผนการทำตลาดใน ปีหน้า ตัวสินค้าจะเน้นสินค้าที่เคลื่อนที่ได้ เช่น แอลซีดี โมบายทีวี เป็นแอลซีดี ทีวีที่มีเครื่องเล่นดีวีดี ในตัว ขนาด 8 นิ้ว 10.2 นิ้ว และเน้นขยายไลน์สินค้าในกลุ่มดีวีดีเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันดีวีดีทำรายได้คิดเป็นสัดส่วน 66% ของอะโคเนติค
ล่าสุด ได้เปิดตัวโฆษณาใหม่เพื่อสร้างแบรนด์อะโคเนติคให้แข็งแรงมากขึ้น ภายใต้แนวคิด อะโคเนติค ดีวีดี เข้ากับใครก็ได้ โดยใช้งบประมาณ 30 ล้านบาทในช่วง 2 เดือนนี้ ขณะที่ยอดขาย 11 เดือนของปีนี้ เติบโตจากปีก่อน 18% และคาดว่าถึงสิ้นปีจะมียอดขายจะ เพิ่มขึ้น 20% เนื่องจากตลาดดีวีดีขยายตัวพร้อมกับการเติบโตของแอลซีดี ทีวี
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=206484
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news10/12/07
โพสต์ที่ 50
ยอดขายเครื่องทำน้ำอุ่น/ร้อนฟื้น
โพสต์ทูเดย์ สตีเบลฯ โล่ง อากาศหนาวปีนี้ดันยอดขายตลาดเครื่อง ทำน้ำอุ่น-ร้อน โตเท่าตัว ชดเชย ต้นปีตลาดชะลอตัว
นายกลภัทร์ โฆษิตพิพัฒน์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท สตีเบล เอลทรอน เอเซีย ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องทำน้ำอุ่น-น้ำร้อนสตีเบล เอล ทรอน จากประเทศเยอรมนี กล่าวว่า จากสภาวะอากาศช่วงหน้าหนาวปีนี้ ส่งผลให้ตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องทำ น้ำอุ่นมียอดขายเติบโตประมาณ 5-10% เทียบกับช่วงที่ผ่านมาตลาดชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจซบ
พฤติกรรมลูกค้าในช่วงนี้ ส่วนใหญ่เริ่มซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น-น้ำร้อนตั้งแต่เดือน ก.ย. จากนั้นในช่วงเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซันหรือฤดูกาลขายของตลาดสินค้ากลุ่มดังกล่าวก็มีอัตราเติบโตยอดขายสูงสุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่นๆ ในช่วงฤดูหนาว
สถานการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้ภาพรวมตลาดเครื่องทำน้ำอุ่น-น้ำร้อนในปีนี้ดีขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตลดลง 10% แต่อาจลดลงเพียง 5% เท่านั้น
ช่วงเดือน พ.ย. ถือเป็นช่วงที่มียอดขายขึ้นสูงสุดสำหรับการจำหน่ายเครื่องทำน้ำอุ่น-น้ำร้อน หลังจากนั้นตลาดก็จะเริ่มชะลอตัวลงไปจนถึงเดือน ก.พ. แต่ยอมรับว่าเพราะอากาศปีนี้หนาวมาก ทำให้ช่วงเดือน พ.ย.ยอดขายของเครื่องทำน้ำอุ่นสตีเบลเติบโตเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดที่ 25% และคาดว่าในปีหน้าจะมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น 5% นายกลภัทร์ กล่าว
สำหรับปี 2550 บริษัทคาดว่าจะมียอดขายสินค้าเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ ส่วนภาวะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นยังไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า แต่ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวคือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ จากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง
ขณะที่การแข่งขันในตลาดเครื่องทำน้ำอุ่นก็ยังมีการลดราคาอย่างต่อเนื่อง 5-15% ทั้งทางตรงและทางอ้อมด้วยการแจกของแถมหรือพรีเมียม ในส่วนของบริษัทเองไม่ได้ใช้กลยุทธ์ดังกล่าว แต่จะเน้นออกสินค้านวัตกรรมแทน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=208178
โพสต์ทูเดย์ สตีเบลฯ โล่ง อากาศหนาวปีนี้ดันยอดขายตลาดเครื่อง ทำน้ำอุ่น-ร้อน โตเท่าตัว ชดเชย ต้นปีตลาดชะลอตัว
นายกลภัทร์ โฆษิตพิพัฒน์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท สตีเบล เอลทรอน เอเซีย ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องทำน้ำอุ่น-น้ำร้อนสตีเบล เอล ทรอน จากประเทศเยอรมนี กล่าวว่า จากสภาวะอากาศช่วงหน้าหนาวปีนี้ ส่งผลให้ตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องทำ น้ำอุ่นมียอดขายเติบโตประมาณ 5-10% เทียบกับช่วงที่ผ่านมาตลาดชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจซบ
พฤติกรรมลูกค้าในช่วงนี้ ส่วนใหญ่เริ่มซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น-น้ำร้อนตั้งแต่เดือน ก.ย. จากนั้นในช่วงเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซันหรือฤดูกาลขายของตลาดสินค้ากลุ่มดังกล่าวก็มีอัตราเติบโตยอดขายสูงสุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่นๆ ในช่วงฤดูหนาว
สถานการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้ภาพรวมตลาดเครื่องทำน้ำอุ่น-น้ำร้อนในปีนี้ดีขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตลดลง 10% แต่อาจลดลงเพียง 5% เท่านั้น
ช่วงเดือน พ.ย. ถือเป็นช่วงที่มียอดขายขึ้นสูงสุดสำหรับการจำหน่ายเครื่องทำน้ำอุ่น-น้ำร้อน หลังจากนั้นตลาดก็จะเริ่มชะลอตัวลงไปจนถึงเดือน ก.พ. แต่ยอมรับว่าเพราะอากาศปีนี้หนาวมาก ทำให้ช่วงเดือน พ.ย.ยอดขายของเครื่องทำน้ำอุ่นสตีเบลเติบโตเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดที่ 25% และคาดว่าในปีหน้าจะมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น 5% นายกลภัทร์ กล่าว
สำหรับปี 2550 บริษัทคาดว่าจะมียอดขายสินค้าเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ ส่วนภาวะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นยังไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า แต่ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวคือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ จากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง
ขณะที่การแข่งขันในตลาดเครื่องทำน้ำอุ่นก็ยังมีการลดราคาอย่างต่อเนื่อง 5-15% ทั้งทางตรงและทางอ้อมด้วยการแจกของแถมหรือพรีเมียม ในส่วนของบริษัทเองไม่ได้ใช้กลยุทธ์ดังกล่าว แต่จะเน้นออกสินค้านวัตกรรมแทน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=208178
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news17/12/07
โพสต์ที่ 51
ซัมซุงเท100ล.ผลิตแอลซีดีเพิ่ม
โพสต์ทูเดย์ ซัมซุงเร่งปั๊มสายผลิตแอลซีดีทีวีเพิ่ม รับตลาดครึ่งปีหลังแอลซีดีทีวีหั่นราคาเดือด ขนาด 32 นิ้ว เหลือแค่ 2 หมื่นบาท
นายควัง คี ปาร์ค กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลค โทรนิคส์ กล่าวว่า แผนธุรกิจปีหน้าบริษัทเตรียมงบลงทุนกว่า 100 ล้านบาท ขยายพื้นที่โรงงานใน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จาก 3 หมื่นตารางเมตร เป็น 5 หมื่นตารางเมตร รวมทั้งซื้อเครื่องจักรใหม่ เพื่อเพิ่มสายการผลิตสินค้าหมวดจอภาพแอลซีดีทีวีอีก 1 ไลน์การผลิต จากปัจจุบันที่มี 2 ไลน์ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 2.5 ล้านชุด เป็น 4 ล้านชุดในปีหน้า แบ่งเป็นสัดส่วนส่งออก 80% และจำหน่ายในประเทศ 20%
การเพิ่มกำลังการผลิตครั้งนี้ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น โดยเชื่อว่าแนวโน้มตลาดแอลซีดีทีวีในปีหน้าจะปรับลดราคาลงอีก เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะด้านราคาจากผู้ประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งค่ายเกาหลีและญี่ปุ่น ขณะที่ในต่างประเทศราคาแอลซีดีทีวีเริ่มคงที่แล้ว
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าในครึ่งปีหลังของปี 2551 ราคาแอลซีดีทีวีขนาด 32 นิ้ว จะลดเหลือ 2 หมื่นบาท หรือเริ่มคงที่ จากปัจจุบันที่ราคา 2.9-3 หมื่นบาท ขณะที่สินค้าจากจีนราคา 1-2 หมื่นบาท
อย่างไรก็ตาม จากนี้บริษัทจะ ไม่เน้นแข่งขันด้านราคาแอลซีดีทีวี แต่จะเน้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภค โดยปัจจุบันบริษัทเป็นผู้นำตลาดแอลซีดีทีวี ครองส่วนแบ่ง 40% ส่วนอันดับ 2 คือโซนี่ มีส่วนแบ่งการตลาด 20%
ปีหน้าบริษัทจะเน้นการทำตลาดสินค้าในกลุ่มแอลซีดีทีวี เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า ฝาหน้า พรินเตอร์ รวมทั้งเป็นผู้ทำตลาดกล้องดิจิตอลเองเป็นปีแรก หลังหมดสัญญากับบริษัท เจ๊บเซ่น แอนด์ เจ๊สเซ่น มาร์เก็ตติ้ง (ที) ผู้ทำตลาดรายเดิม โดยวางเป้าหมายยอดขายในสิ้นปีหน้าเติบโต 30% เมื่อเทียบกับสิ้นปีนี้ที่คาดว่าจะมียอดขายรวม 2 หมื่นล้านบาท
แม้ก่อนหน้านี้จะมีกรณีพิพาทกับดีลเลอร์โทรศัพท์มือถือและเครื่องใช้ไฟฟ้าก็ตาม แต่ไม่ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของบริษัท มากนัก เพราะผู้บริโภคยังมั่นใจในแบรนด์ นายปาร์ค กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=209387
โพสต์ทูเดย์ ซัมซุงเร่งปั๊มสายผลิตแอลซีดีทีวีเพิ่ม รับตลาดครึ่งปีหลังแอลซีดีทีวีหั่นราคาเดือด ขนาด 32 นิ้ว เหลือแค่ 2 หมื่นบาท
นายควัง คี ปาร์ค กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลค โทรนิคส์ กล่าวว่า แผนธุรกิจปีหน้าบริษัทเตรียมงบลงทุนกว่า 100 ล้านบาท ขยายพื้นที่โรงงานใน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จาก 3 หมื่นตารางเมตร เป็น 5 หมื่นตารางเมตร รวมทั้งซื้อเครื่องจักรใหม่ เพื่อเพิ่มสายการผลิตสินค้าหมวดจอภาพแอลซีดีทีวีอีก 1 ไลน์การผลิต จากปัจจุบันที่มี 2 ไลน์ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 2.5 ล้านชุด เป็น 4 ล้านชุดในปีหน้า แบ่งเป็นสัดส่วนส่งออก 80% และจำหน่ายในประเทศ 20%
การเพิ่มกำลังการผลิตครั้งนี้ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น โดยเชื่อว่าแนวโน้มตลาดแอลซีดีทีวีในปีหน้าจะปรับลดราคาลงอีก เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะด้านราคาจากผู้ประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งค่ายเกาหลีและญี่ปุ่น ขณะที่ในต่างประเทศราคาแอลซีดีทีวีเริ่มคงที่แล้ว
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าในครึ่งปีหลังของปี 2551 ราคาแอลซีดีทีวีขนาด 32 นิ้ว จะลดเหลือ 2 หมื่นบาท หรือเริ่มคงที่ จากปัจจุบันที่ราคา 2.9-3 หมื่นบาท ขณะที่สินค้าจากจีนราคา 1-2 หมื่นบาท
อย่างไรก็ตาม จากนี้บริษัทจะ ไม่เน้นแข่งขันด้านราคาแอลซีดีทีวี แต่จะเน้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภค โดยปัจจุบันบริษัทเป็นผู้นำตลาดแอลซีดีทีวี ครองส่วนแบ่ง 40% ส่วนอันดับ 2 คือโซนี่ มีส่วนแบ่งการตลาด 20%
ปีหน้าบริษัทจะเน้นการทำตลาดสินค้าในกลุ่มแอลซีดีทีวี เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า ฝาหน้า พรินเตอร์ รวมทั้งเป็นผู้ทำตลาดกล้องดิจิตอลเองเป็นปีแรก หลังหมดสัญญากับบริษัท เจ๊บเซ่น แอนด์ เจ๊สเซ่น มาร์เก็ตติ้ง (ที) ผู้ทำตลาดรายเดิม โดยวางเป้าหมายยอดขายในสิ้นปีหน้าเติบโต 30% เมื่อเทียบกับสิ้นปีนี้ที่คาดว่าจะมียอดขายรวม 2 หมื่นล้านบาท
แม้ก่อนหน้านี้จะมีกรณีพิพาทกับดีลเลอร์โทรศัพท์มือถือและเครื่องใช้ไฟฟ้าก็ตาม แต่ไม่ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของบริษัท มากนัก เพราะผู้บริโภคยังมั่นใจในแบรนด์ นายปาร์ค กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=209387
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news20/12/07
โพสต์ที่ 52
เชื่อปีหน้าเครื่องใช้ไฟฟ้าชะลอศึกราคา
โพสต์ทูเดย์ พาวเวอร์มอลล์ คาดแนวโน้มตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าปีหน้าเบรกเกมตัดราคา มุ่งดีไซน์สนอง ผู้บริโภครับไอทีโตแซงภาพเสียง
นายอภิชาติ อัศวโภคี ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส สายบริหารงาน พาวเวอร์มอลล์ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป ผู้บริหารแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าภายใต้ชื่อ พาวเวอร์มอลล์ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ กล่าวว่า ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2551 คาดจะเป็นปีแรกที่การแข่งขันในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าของแต่ละแบรนด์จะชะลอการตัดราคาเพื่อทำตลาด หลังปีนี้เริ่มถึงจุดอิ่มตัวจนทำให้ไม่สามารถลดต้นทุนไปใช้ตัดราคาสินค้าได้อีก โดยแต่ละยี่ห้อจะหันไปให้ความสำคัญกับการออกแบบสินค้า หรือดีไซน์มากขึ้น เพื่อดึงกำลังซื้อใหม่ที่ต้องการสินค้าแบบเฉพาะ
จากแนวโน้มการแข่งขันตัดราคาสินค้าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องช่วงหลายปีที่ผ่านมา และปีหน้าจะไม่รุนแรงมากนัก อาทิ แบรนด์จากเกาหลี จะมุ่งให้ความสำคัญกับการออกแบบระดับโลกด้วยการ ใช้ดีไซเนอร์เข้ามามีส่วนร่วมกับผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ มากขึ้นพร้อมมุ่งหาฐานการผลิตสินค้าที่ช่วยลดต้นทุน ขณะเทคโนโลยีสินค้าของแต่ละแบรนด์ก็ใกล้เคียงกัน
พร้อมคาดว่า ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าปีหน้าจะมีอัตราเติบโตราว 3-5% โดยเฉพาะกลุ่มซีอี หรือคอนซูเมอร์โปรดักต์ อาทิ หมวดไอที กล้องดิจิตอล คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก เครื่องเล่นไฟล์เพลงดิจิตอล เป็นต้น จะมีอัตราเติบโตดีที่สุดเทียบกับเครื่องใช้ไฟฟ้ากลุ่มอื่น อาทิ หมวดครัวเรือน(เอชเอ) ซึ่งไม่มีการปรับลดราคามากนัก ขณะที่สินค้าหมวดเอวี โดยเฉพาะแอลซีดีทีวีได้มีการปรับลดราคาลงร่วม 3-4 เท่าตัวในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดสินค้ากลุ่มนี้มีอัตราเติบโตเชิงปริมาณ แต่ไม่โตเชิงรายได้ในปีที่ผ่านมา
นายอภิชาติ กล่าวว่า ล่าสุดบริษัทใช้งบราว 25 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาใช้อยู่ 20 ล้านบาท สำหรับจัดงานประจำส่งท้ายปี บางกอก อิเล็กโทรนิกา 2008 ระหว่างวันที่ 20 ธ.ค.ปีนี้-3 ม.ค. 2551 ที่เอ็มซีซี ฮอลล์ ชั้น 4 เดอะมอลล์ บางกะปิ และบางแคต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 คาดมียอดขายเกิดขึ้นภายในงานดังกล่าวราว 370 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 350 ล้านบาท คาดปีนี้มีปริมาณผู้เข้าชมงานราว 2 แสนคน
สำหรับพฤติกรรมกำลังซื้อผู้บริโภคสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในปีนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ ชำระผ่านบัตรเครดิตและสินเชื่อเงินผ่อนรวมกันที่ 70% โดยกลุ่มสินเชื่อ เงินผ่อนลดลง ขณะบัตรเครดิต เติบโตกว่า และที่เหลือ 30% เป็นใช้จ่ายเงินสด โดยพาวเวอร์ มอลล์ ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมามีอัตราเติบโต 5% จากยอดขายหลักสินค้ากลุ่มไอทีและคาดสิ้นปีนี้พาวเวอร์มอลล์ ทุกสาขา จะมีรายได้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ 7 พันล้านบาท จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 6.7 พันล้านบาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=210052
โพสต์ทูเดย์ พาวเวอร์มอลล์ คาดแนวโน้มตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าปีหน้าเบรกเกมตัดราคา มุ่งดีไซน์สนอง ผู้บริโภครับไอทีโตแซงภาพเสียง
นายอภิชาติ อัศวโภคี ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส สายบริหารงาน พาวเวอร์มอลล์ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป ผู้บริหารแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าภายใต้ชื่อ พาวเวอร์มอลล์ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ กล่าวว่า ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2551 คาดจะเป็นปีแรกที่การแข่งขันในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าของแต่ละแบรนด์จะชะลอการตัดราคาเพื่อทำตลาด หลังปีนี้เริ่มถึงจุดอิ่มตัวจนทำให้ไม่สามารถลดต้นทุนไปใช้ตัดราคาสินค้าได้อีก โดยแต่ละยี่ห้อจะหันไปให้ความสำคัญกับการออกแบบสินค้า หรือดีไซน์มากขึ้น เพื่อดึงกำลังซื้อใหม่ที่ต้องการสินค้าแบบเฉพาะ
จากแนวโน้มการแข่งขันตัดราคาสินค้าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องช่วงหลายปีที่ผ่านมา และปีหน้าจะไม่รุนแรงมากนัก อาทิ แบรนด์จากเกาหลี จะมุ่งให้ความสำคัญกับการออกแบบระดับโลกด้วยการ ใช้ดีไซเนอร์เข้ามามีส่วนร่วมกับผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ มากขึ้นพร้อมมุ่งหาฐานการผลิตสินค้าที่ช่วยลดต้นทุน ขณะเทคโนโลยีสินค้าของแต่ละแบรนด์ก็ใกล้เคียงกัน
พร้อมคาดว่า ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าปีหน้าจะมีอัตราเติบโตราว 3-5% โดยเฉพาะกลุ่มซีอี หรือคอนซูเมอร์โปรดักต์ อาทิ หมวดไอที กล้องดิจิตอล คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก เครื่องเล่นไฟล์เพลงดิจิตอล เป็นต้น จะมีอัตราเติบโตดีที่สุดเทียบกับเครื่องใช้ไฟฟ้ากลุ่มอื่น อาทิ หมวดครัวเรือน(เอชเอ) ซึ่งไม่มีการปรับลดราคามากนัก ขณะที่สินค้าหมวดเอวี โดยเฉพาะแอลซีดีทีวีได้มีการปรับลดราคาลงร่วม 3-4 เท่าตัวในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดสินค้ากลุ่มนี้มีอัตราเติบโตเชิงปริมาณ แต่ไม่โตเชิงรายได้ในปีที่ผ่านมา
นายอภิชาติ กล่าวว่า ล่าสุดบริษัทใช้งบราว 25 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาใช้อยู่ 20 ล้านบาท สำหรับจัดงานประจำส่งท้ายปี บางกอก อิเล็กโทรนิกา 2008 ระหว่างวันที่ 20 ธ.ค.ปีนี้-3 ม.ค. 2551 ที่เอ็มซีซี ฮอลล์ ชั้น 4 เดอะมอลล์ บางกะปิ และบางแคต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 คาดมียอดขายเกิดขึ้นภายในงานดังกล่าวราว 370 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 350 ล้านบาท คาดปีนี้มีปริมาณผู้เข้าชมงานราว 2 แสนคน
สำหรับพฤติกรรมกำลังซื้อผู้บริโภคสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในปีนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ ชำระผ่านบัตรเครดิตและสินเชื่อเงินผ่อนรวมกันที่ 70% โดยกลุ่มสินเชื่อ เงินผ่อนลดลง ขณะบัตรเครดิต เติบโตกว่า และที่เหลือ 30% เป็นใช้จ่ายเงินสด โดยพาวเวอร์ มอลล์ ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมามีอัตราเติบโต 5% จากยอดขายหลักสินค้ากลุ่มไอทีและคาดสิ้นปีนี้พาวเวอร์มอลล์ ทุกสาขา จะมีรายได้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ 7 พันล้านบาท จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 6.7 พันล้านบาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=210052
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news02/01/08
โพสต์ที่ 53
รัฐควักงบ1.5พันล้าน หนุนอุตฯใช้หลอดผอม
โพสต์ทูเดย์ สนพ.จัดงบ 1.5 พันล้านบาท ดันแคมเปญเปลี่ยนหลอดผอมรุ่นใหม่ให้ภาคอุตสาหกรรม หวังลดใช้พลังงานระยะยาว
นายอดุลย์ ฉายอรุณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะเปิดโครงการหลอดประหยัดพลังงานในปี 2551 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานจำนวน 1.2-1.5 พันล้านบาท
ทั้งนี้ จะรณรงค์ปรับเปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซนต์ (หลอดผอม ที 8) มาเป็นหลอดผอมใหม่ที่เรียกว่าที 5 ซึ่งมีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานได้ดีกว่า
อย่างไรก็ตาม กฟผ.จะเดินสายเปลี่ยนหลอดผอมรุ่นใหม่ให้กับภาคอุตสาหกรรมและอาคารสำนักงานก่อนเป็นลำดับแรก หลังจากนั้นจะขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังบ้านพักอาศัยต่อไป
แหล่งข่าวจาก กฟผ. เปิดเผยว่า สาเหตุที่เลือกเปิดโครงการกับภาคอุตสาหกรรมและอาคารสำนักงาน ก่อน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้า เป็นจำนวนมาก ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนหลอดค่อนข้างสูง โดยหลอดผอมใหม่ที 5 มีราคาสูงกว่าหลอดผอมที 8 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันถึง 10 เท่า
ก่อนหน้านี้ กฟผ.ได้หารือร่วม กับผู้ผลิตหลอดไฟฟ้าบางส่วน แล้ว เพราะการเปลี่ยนหลอดต้องเปลี่ยนทั้งชุดตั้งแต่โคมบัลลาสต์ และ หลอดไฟ โดยหลอดที 5 ขนาด 28 วัตต์ มีราคาชุดละ 460 บาท ในขณะที่หลอดที 8 ขนาด 36 วัตต์ มีราคาเพียงหลอดละ 50 บาท
สำหรับการส่งเสริมใช้หลอดผอมใหม่ ที 5 กำหนดเป้าหมายภายในปี 2555 จะต้องเปลี่ยนให้ได้ 110 ล้านหลอด หรือ 55% ของการใช้หลอดผอมในระบบ ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าลงปีละประมาณ 4,790 ล้านหน่วย ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า ลงปีละประมาณ 1.43 หมื่นล้านบาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=212182
โพสต์ทูเดย์ สนพ.จัดงบ 1.5 พันล้านบาท ดันแคมเปญเปลี่ยนหลอดผอมรุ่นใหม่ให้ภาคอุตสาหกรรม หวังลดใช้พลังงานระยะยาว
นายอดุลย์ ฉายอรุณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะเปิดโครงการหลอดประหยัดพลังงานในปี 2551 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานจำนวน 1.2-1.5 พันล้านบาท
ทั้งนี้ จะรณรงค์ปรับเปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซนต์ (หลอดผอม ที 8) มาเป็นหลอดผอมใหม่ที่เรียกว่าที 5 ซึ่งมีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานได้ดีกว่า
อย่างไรก็ตาม กฟผ.จะเดินสายเปลี่ยนหลอดผอมรุ่นใหม่ให้กับภาคอุตสาหกรรมและอาคารสำนักงานก่อนเป็นลำดับแรก หลังจากนั้นจะขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังบ้านพักอาศัยต่อไป
แหล่งข่าวจาก กฟผ. เปิดเผยว่า สาเหตุที่เลือกเปิดโครงการกับภาคอุตสาหกรรมและอาคารสำนักงาน ก่อน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้า เป็นจำนวนมาก ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนหลอดค่อนข้างสูง โดยหลอดผอมใหม่ที 5 มีราคาสูงกว่าหลอดผอมที 8 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันถึง 10 เท่า
ก่อนหน้านี้ กฟผ.ได้หารือร่วม กับผู้ผลิตหลอดไฟฟ้าบางส่วน แล้ว เพราะการเปลี่ยนหลอดต้องเปลี่ยนทั้งชุดตั้งแต่โคมบัลลาสต์ และ หลอดไฟ โดยหลอดที 5 ขนาด 28 วัตต์ มีราคาชุดละ 460 บาท ในขณะที่หลอดที 8 ขนาด 36 วัตต์ มีราคาเพียงหลอดละ 50 บาท
สำหรับการส่งเสริมใช้หลอดผอมใหม่ ที 5 กำหนดเป้าหมายภายในปี 2555 จะต้องเปลี่ยนให้ได้ 110 ล้านหลอด หรือ 55% ของการใช้หลอดผอมในระบบ ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าลงปีละประมาณ 4,790 ล้านหน่วย ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า ลงปีละประมาณ 1.43 หมื่นล้านบาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=212182
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news14/01/08
โพสต์ที่ 54
กล้องดิจิตอลดัมพ์ราคา20%
โพสต์ทูเดย์ บิ๊ก คาเมร่า ชี้กล้องดิจิตอลไตรมาสแรกแห่ลดราคา 20% ล้างสต๊อกหนีรุ่นใหม่ แนะขายรุ่นไฮเอนด์กำไรดี
นายชาญ เธียรกาญจนาวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิ๊ก คาเมร่า ผู้ดำเนินธุรกิจร้านค้าปลีกจำหน่ายกล้องดิจิตอล ภายใต้ชื่อ บิ๊ก คาเมร่า และบิ๊ก โปร คาเมร่า กล่าวว่า ในไตรมาสแรกปีนี้คาดแนวโน้มราคากล้องถ่ายภาพนิ่งดิจิตอล (ดีเอสซี) และระดับมืออาชีพ (ดีเอสแอลอาร์) จะปรับราคาลดลงอีกประมาณ 10-20% สำหรับกล้องรุ่นเดิมที่มีอยู่ในตลาด เนื่องจากเจ้าของสินค้าแบรนด์เนมยี่ห้อต่างๆ เตรียมเปิดตัวพร้อมทำตลาดกล้องดิจิตอลรุ่นใหม่และคุณสมบัติใหม่ๆ ในปีนี้
แนวโน้มดังกล่าวต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายสินค้ากล้องดิจิตอลรายใหญ่ต้องปรับกลยุทธ์การทำตลาดด้วย จากกำไรที่ลดลงจากขายกล้องดิจิตอลแบบพกพา หรือคอมแพ็ก หันไปขายกล้องระดับบนหรือไฮเอนด์ที่กำไรต่อหน่วยมาก
ขณะที่กล้องแบบมืออาชีพจะมีอัตราเติบโตในตลาดเพิ่มขึ้น โดยในเดือน ม.ค. นี้ คาดมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 10% จากปีที่ผ่านมา ทั้งตลาดมีกล้องดิจิตอลระดับมืออาชีพสัดส่วนเพียง 5% เท่านั้น เห็นได้จากยอดขายกล้องดิจิตอลมืออาชีพผ่านร้านบิ๊ก คาเมร่า และบิ๊ก โปร คาเมร่า ในแต่ละเดือนมียอดขายเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5 พันตัว
สำหรับแผนลงทุนปีนี้ บริษัทเตรียมใช้งบกว่า 50-60 ล้านบาท สำหรับขยายร้านบิ๊ก คาเมร่า และบิ๊ก โปร คาเมร่า สาขาใหม่คาดสิ้นปีครบ 160 สาขา แบ่งเป็นบิ๊ก คาเมร่า 140 สาขา และบิ๊ก โปร คาเมร่า 10 สาขา
ส่วนตลาดรวมกล้องดิจิตอลในประเทศปีที่ผ่านมามีอัตราเติบโตเชิงปริมาณราว 15% หรือ 8-9 แสนยูนิต แต่เติบโตเชิงมูลค่าไม่มากนัก ขณะที่ปีนี้คาดว่าตลาดกล้องดิจิตอลจะมีอัตราเติบโตดีทั้งปริมาณและมูลค่า แต่ต้องดูภาพรวมเศรษฐกิจและกำลังซื้ออีกครั้ง โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้อยู่ที่ 1.2 พันล้านบาท ถือว่าน่าพอใจ แม้เป้าเดิม วางไว้ 1.3 พันล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้ารายได้โต 10%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=214428
โพสต์ทูเดย์ บิ๊ก คาเมร่า ชี้กล้องดิจิตอลไตรมาสแรกแห่ลดราคา 20% ล้างสต๊อกหนีรุ่นใหม่ แนะขายรุ่นไฮเอนด์กำไรดี
นายชาญ เธียรกาญจนาวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิ๊ก คาเมร่า ผู้ดำเนินธุรกิจร้านค้าปลีกจำหน่ายกล้องดิจิตอล ภายใต้ชื่อ บิ๊ก คาเมร่า และบิ๊ก โปร คาเมร่า กล่าวว่า ในไตรมาสแรกปีนี้คาดแนวโน้มราคากล้องถ่ายภาพนิ่งดิจิตอล (ดีเอสซี) และระดับมืออาชีพ (ดีเอสแอลอาร์) จะปรับราคาลดลงอีกประมาณ 10-20% สำหรับกล้องรุ่นเดิมที่มีอยู่ในตลาด เนื่องจากเจ้าของสินค้าแบรนด์เนมยี่ห้อต่างๆ เตรียมเปิดตัวพร้อมทำตลาดกล้องดิจิตอลรุ่นใหม่และคุณสมบัติใหม่ๆ ในปีนี้
แนวโน้มดังกล่าวต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายสินค้ากล้องดิจิตอลรายใหญ่ต้องปรับกลยุทธ์การทำตลาดด้วย จากกำไรที่ลดลงจากขายกล้องดิจิตอลแบบพกพา หรือคอมแพ็ก หันไปขายกล้องระดับบนหรือไฮเอนด์ที่กำไรต่อหน่วยมาก
ขณะที่กล้องแบบมืออาชีพจะมีอัตราเติบโตในตลาดเพิ่มขึ้น โดยในเดือน ม.ค. นี้ คาดมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 10% จากปีที่ผ่านมา ทั้งตลาดมีกล้องดิจิตอลระดับมืออาชีพสัดส่วนเพียง 5% เท่านั้น เห็นได้จากยอดขายกล้องดิจิตอลมืออาชีพผ่านร้านบิ๊ก คาเมร่า และบิ๊ก โปร คาเมร่า ในแต่ละเดือนมียอดขายเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5 พันตัว
สำหรับแผนลงทุนปีนี้ บริษัทเตรียมใช้งบกว่า 50-60 ล้านบาท สำหรับขยายร้านบิ๊ก คาเมร่า และบิ๊ก โปร คาเมร่า สาขาใหม่คาดสิ้นปีครบ 160 สาขา แบ่งเป็นบิ๊ก คาเมร่า 140 สาขา และบิ๊ก โปร คาเมร่า 10 สาขา
ส่วนตลาดรวมกล้องดิจิตอลในประเทศปีที่ผ่านมามีอัตราเติบโตเชิงปริมาณราว 15% หรือ 8-9 แสนยูนิต แต่เติบโตเชิงมูลค่าไม่มากนัก ขณะที่ปีนี้คาดว่าตลาดกล้องดิจิตอลจะมีอัตราเติบโตดีทั้งปริมาณและมูลค่า แต่ต้องดูภาพรวมเศรษฐกิจและกำลังซื้ออีกครั้ง โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้อยู่ที่ 1.2 พันล้านบาท ถือว่าน่าพอใจ แม้เป้าเดิม วางไว้ 1.3 พันล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้ารายได้โต 10%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=214428
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news16/01/08
โพสต์ที่ 55
ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศปรับตัวดีขึ้น ข่าว 16.00 น.
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Wednesday, January 16, 2008
นายจารึก เฮงรัศมี ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่า การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมในปีนี้ จะขยายตัวเพิ่มขึ้น 2 4% จากการส่งออกสินค้าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 10 12% จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 17,790 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากตลาดส่งออกอียูขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 25% โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศและตู้เย็น เช่นเดียวกับตลาดตะวันออกกลาง
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ตลาดส่งออกไปสหรัฐปีนี้จะชะลอตัวลง แต่น่าจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยในไตรมาส 3 และ 4 ปีนี้
ส่วนภาพรวมตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศ เชื่อว่า ยอดขายจะปรับตัวดีขึ้นจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย จากการที่รัฐบาลผลักดันการลงทุนโครงการเมกกะโปรเจก ทำให้เศรษฐกิจเริ่มขยายตัวดีขึ้น มีการบริโภคและการจ้างงานเพิ่มขึ้น
ในส่วนภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ปีนี้ คาดว่า การส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 12 15% มูลค่าประมาณ 33,459 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากยังมีความต้องการสินค้าเทคโนโลยีและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Wednesday, January 16, 2008
นายจารึก เฮงรัศมี ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่า การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมในปีนี้ จะขยายตัวเพิ่มขึ้น 2 4% จากการส่งออกสินค้าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 10 12% จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 17,790 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากตลาดส่งออกอียูขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 25% โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศและตู้เย็น เช่นเดียวกับตลาดตะวันออกกลาง
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ตลาดส่งออกไปสหรัฐปีนี้จะชะลอตัวลง แต่น่าจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยในไตรมาส 3 และ 4 ปีนี้
ส่วนภาพรวมตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศ เชื่อว่า ยอดขายจะปรับตัวดีขึ้นจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย จากการที่รัฐบาลผลักดันการลงทุนโครงการเมกกะโปรเจก ทำให้เศรษฐกิจเริ่มขยายตัวดีขึ้น มีการบริโภคและการจ้างงานเพิ่มขึ้น
ในส่วนภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ปีนี้ คาดว่า การส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 12 15% มูลค่าประมาณ 33,459 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากยังมีความต้องการสินค้าเทคโนโลยีและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news18/01/08
โพสต์ที่ 56
เครื่องปรับอากาศปี51 สะอึก + หลังเจออุณภูมิแปรปรวน/ซัมซุงเชื่อยังไงตลาดโตอย่างน้อย 10%
ตลาดเครื่องปรับอากาศปี 2551 สะดุด หลังได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ส่งผลให้หน้าขายมาช้ากว่าปกติ "ซัมซุง" ชี้ยังไงปีนี้อากาศยังคงร้อนอยู่ ส่งผลตลาดโตอย่างน้อย 10% พร้อมโฟกัสช่องทางจำหน่าย และบริการหลังการขายกระตุ้นกำลังซื้อ ด้าน "ซัยโจ เด็นกิ" เผยลอนช์สินค้าใหม่ 5-6 รายการต้อนรับฤดูการขาย หวังบิ้วท์ตลาดเต็มแมกซ์
ตลาดเครื่องปรับอากาศ มูลค่ากว่า 14,000 ล้านบาทได้รับผลกระทบ จากฤดูร้อนมาช้ากว่าปกติ ทำให้หน้าขายผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศปีนี้เริ่มช้ากว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ประกอบกับผลพวงจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ส่งผลให้ฤดูกาลต่างๆ เกิดความเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น ฤดูหนาวมีช่วงระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น โดยเฉพาะตามต่างจังหวัดที่อุณหภูมิลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด
นายสมพร จันกรีนภาวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายขาย และฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ บริษัท ไทย ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ถึงแม้ว่าสภาวะอากาศ ณ เวลานี้จะแปรปรวน ความกดอากาศต่ำพาดผ่านประเทศ ส่งผลให้มีหมอกลงในตอนเช้า แต่โดยภาพรวมบริษัทมองว่าอุณหภูมิปีนี้ยังคงสูง และจะสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ประกอบกับทุกวันนี้เครื่องปรับอากาศถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อผู้บริโภค ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดเครื่องปรับอากาศปีนี้โตอย่างน้อย 10%
ในส่วนของการดำเนินธุรกิจปีนี้ บริษัทจะให้ความสำคัญในเรื่องของช่องทางจำหน่าย และการบริการหลังการขายที่ประทับใจลูกค้ามากขึ้น พร้อมกันนี้จะใช้งบการตลาดที่ 10% ของยอดขาย โดย 60% จะโฟกัสในเรื่องของกิจกรรมการตลาดที่ไม่ผ่านสื่อหลัก (Below the line) อาทิ การจัดอีเวนท์ และกิจกรรมโรดโชว์ ส่วน 40% ที่เหลือเป็นของกิจกรรมการตลาดที่ผ่านสื่อหลัก (Above the line) นอกจากนี้จะมีการลอนช์สินค้าใหม่ทั้งหมด 15 รุ่น เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการเปิดตัวสินค้าใหม่ที่ 13 รุ่น เพื่อเป็นการกระตุ้นตลาด และกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลง
"ผู้ประกอบการจะให้ความสำคัญในเรื่องของสงครามราคาลดน้อยลง เนื่องมาจากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งปัญหาราคาน้ำมัน แต่จะหันไปเน้นในเรื่องของโปรโมชั่นที่โดนใจผู้บริโภค และการให้บริการหลังการขายที่ประทับใจ ซึ่งทางบริษัทไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของสงครามราคา และสินค้าไฟท์ติ้ง โมเดล แต่จะโฟกัสไปที่เรื่องของนวัตกรรม และเทคโนโลยีต่างๆ ในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงาน รวมถึงการใส่ใจต่อปัญหาภาวะโลกร้อน เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการผู้บริโภค และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" นายสมพรกล่าว
ในอนาคต บริษัทอาจจะมีการปรับขึ้นราคาสินค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวของราคาวัตถุดิบ และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ประกอบกับรอฟังทิศทางภาษีสรรพสามิต โดยตั้งเป้าการเติบโตของผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศบริษัทไว้ที่ 30% ซึ่งเท่ากับเป้าการเติบโตของปีที่ผ่านมา ขณะนี้บริษัทครองส่วนแบ่งตลาดที่ 13% จากมูลค่าตลาดรวมเครื่องปรับอากาศกว่า 14,000 ล้านบาท โดยมี "มิตซูบิชิ" ครองเจ้าตลาดด้วยส่วนแบ่ง 23%
นายสมศักดิ์ จิตติพลังศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า ปีนี้บริษัทเตรียมพร้อมที่จะรุกตลาดเครื่องปรับอากาศอย่างจริงจังอีกครั้ง โดยจะทำการลอนช์สินค้าใหม่ประมาณ 5-6 รุ่น เพื่อเป็นการต้อนรับหน้าขายที่กำลังจะมาถึงในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม อีกทั้งเพื่อเป็นการกระตุ้นตลาด และกำลังซื้อผู้บริโภค
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2288
ตลาดเครื่องปรับอากาศปี 2551 สะดุด หลังได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ส่งผลให้หน้าขายมาช้ากว่าปกติ "ซัมซุง" ชี้ยังไงปีนี้อากาศยังคงร้อนอยู่ ส่งผลตลาดโตอย่างน้อย 10% พร้อมโฟกัสช่องทางจำหน่าย และบริการหลังการขายกระตุ้นกำลังซื้อ ด้าน "ซัยโจ เด็นกิ" เผยลอนช์สินค้าใหม่ 5-6 รายการต้อนรับฤดูการขาย หวังบิ้วท์ตลาดเต็มแมกซ์
ตลาดเครื่องปรับอากาศ มูลค่ากว่า 14,000 ล้านบาทได้รับผลกระทบ จากฤดูร้อนมาช้ากว่าปกติ ทำให้หน้าขายผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศปีนี้เริ่มช้ากว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ประกอบกับผลพวงจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ส่งผลให้ฤดูกาลต่างๆ เกิดความเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น ฤดูหนาวมีช่วงระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น โดยเฉพาะตามต่างจังหวัดที่อุณหภูมิลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด
นายสมพร จันกรีนภาวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายขาย และฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ บริษัท ไทย ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ถึงแม้ว่าสภาวะอากาศ ณ เวลานี้จะแปรปรวน ความกดอากาศต่ำพาดผ่านประเทศ ส่งผลให้มีหมอกลงในตอนเช้า แต่โดยภาพรวมบริษัทมองว่าอุณหภูมิปีนี้ยังคงสูง และจะสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ประกอบกับทุกวันนี้เครื่องปรับอากาศถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อผู้บริโภค ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดเครื่องปรับอากาศปีนี้โตอย่างน้อย 10%
ในส่วนของการดำเนินธุรกิจปีนี้ บริษัทจะให้ความสำคัญในเรื่องของช่องทางจำหน่าย และการบริการหลังการขายที่ประทับใจลูกค้ามากขึ้น พร้อมกันนี้จะใช้งบการตลาดที่ 10% ของยอดขาย โดย 60% จะโฟกัสในเรื่องของกิจกรรมการตลาดที่ไม่ผ่านสื่อหลัก (Below the line) อาทิ การจัดอีเวนท์ และกิจกรรมโรดโชว์ ส่วน 40% ที่เหลือเป็นของกิจกรรมการตลาดที่ผ่านสื่อหลัก (Above the line) นอกจากนี้จะมีการลอนช์สินค้าใหม่ทั้งหมด 15 รุ่น เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการเปิดตัวสินค้าใหม่ที่ 13 รุ่น เพื่อเป็นการกระตุ้นตลาด และกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลง
"ผู้ประกอบการจะให้ความสำคัญในเรื่องของสงครามราคาลดน้อยลง เนื่องมาจากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งปัญหาราคาน้ำมัน แต่จะหันไปเน้นในเรื่องของโปรโมชั่นที่โดนใจผู้บริโภค และการให้บริการหลังการขายที่ประทับใจ ซึ่งทางบริษัทไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของสงครามราคา และสินค้าไฟท์ติ้ง โมเดล แต่จะโฟกัสไปที่เรื่องของนวัตกรรม และเทคโนโลยีต่างๆ ในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงาน รวมถึงการใส่ใจต่อปัญหาภาวะโลกร้อน เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการผู้บริโภค และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" นายสมพรกล่าว
ในอนาคต บริษัทอาจจะมีการปรับขึ้นราคาสินค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวของราคาวัตถุดิบ และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ประกอบกับรอฟังทิศทางภาษีสรรพสามิต โดยตั้งเป้าการเติบโตของผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศบริษัทไว้ที่ 30% ซึ่งเท่ากับเป้าการเติบโตของปีที่ผ่านมา ขณะนี้บริษัทครองส่วนแบ่งตลาดที่ 13% จากมูลค่าตลาดรวมเครื่องปรับอากาศกว่า 14,000 ล้านบาท โดยมี "มิตซูบิชิ" ครองเจ้าตลาดด้วยส่วนแบ่ง 23%
นายสมศักดิ์ จิตติพลังศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า ปีนี้บริษัทเตรียมพร้อมที่จะรุกตลาดเครื่องปรับอากาศอย่างจริงจังอีกครั้ง โดยจะทำการลอนช์สินค้าใหม่ประมาณ 5-6 รุ่น เพื่อเป็นการต้อนรับหน้าขายที่กำลังจะมาถึงในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม อีกทั้งเพื่อเป็นการกระตุ้นตลาด และกำลังซื้อผู้บริโภค
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2288
-
- Verified User
- โพสต์: 1288
- ผู้ติดตาม: 0
กลุ่มชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์และเครื่องจักรกล
โพสต์ที่ 57
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2289 20 ม.ค. - 23 ม.ค. 2551
รับช่วงผลิตไทย200รายจ่อขึ้นเมรุ
ผู้รับช่วงผลิต 200 ราย เตรียมขึ้นเมรุ เผาจริง หลังถูกกดดันหนักจากการเปิดเขตการค้าเสรี และพิษบาทแข็งค่า ล่าสุดโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ลดใช้ชิ้นส่วนในประเทศ หันนำเข้าแทน ยักษ์"ไทยโตชิบา " ยอมรับห่วงเอสเอ็มอีไทยจะไปไม่รอด เพราะระบบการผลิตกระทบเป็นลูกโซ่ ผู้ใช้ชิ้นส่วนเองต้องดิ้นปรับตัวด้วย
ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆรุมเร้าไม่ว่าจะเป็นต้นทุนในการใช้เชื้อ เพลิงที่พุ่งขึ้นเป็นรายวัน ผลกระทบจากบาทแข็งค่าต่อเนื่อง ล่าสุดเป็นผลที่เกิดจากข้อตกลงในการเปิดเขตการค้าเสรี(FTA) ระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ ก็เริ่มปรากฏชัดแล้วอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนทั้งระบบ รับไปเต็มๆ
+ผู้ผลิตชิ้นส่วน200รายส่อวิกฤติ
นายจิตต์ไทย เลิศเจริญสุข อุปนายกสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ขณะนี้สมาคมฯมีสมาชิกประมาณ 200 ราย เป็นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนเหล็ก พลาสติก ยาง สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ กำลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ ผลจากนโยบายเปิดเขตการค้าเสรี(FTA)ระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยการลดภาษีนำเข้าระหว่างกัน ส่วนใหญ่มีเพดานภาษีอยู่ที่ 0% จึงเป็นการเปิดช่องให้มีการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จากเดิมที่เคยเสียภาษีอากรนำเข้าในอัตรา 10-20% ก็ลดลงเหลือ 0% ตามข้อตกลงFTA ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนต้องเสียโอกาสเมื่อลูกค้าบางส่วนลดการผลิตเครื่องใช้ ไฟฟ้าสำเร็จรูปลงและหันไปนำเข้าแทน
นอกจากนี้ยังเกิดจากผลกระทบกรณีบาทแข็งค่าต่อเนื่อง ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ชิ้นส่วนในประเทศหันไปนำเข้าจากต่างประเทศแทน เพราะซื้อได้ราคาถูกกว่าผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศที่เป็น ซัพพายเออร์ขายให้กับโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือโรงงานประกอบรถยนต์ เนื่องจากปัจจุบันผู้ผลิตชิ้นส่วนยังต้องนำเข้าวัตถุดิบมาจากต่างประเทศโดย เสียภาษีอากรนำเข้าเฉลี่ย 5-30% แล้วแต่ประเภทวัตถุดิบที่ใช้ ในขณะที่ผู้ใช้ชิ้นส่วนที่มาจากโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ต่างก็ดิ้นรนเพื่อบริหารต้นทุนให้ต่ำลงเป็นการชดเชยกับรายได้จากการส่งออก ที่มีมูลค่าและผลกำไรลดลง
"ขณะนี้สมาชิกในสมาคมฯจำนวน 200 ราย เดือดร้อนเพราะจากที่เคยมีมูลค่าการขายสินค้ารวมกันมากกว่า 10,000 ล้านบาท/ปี ขึ้นไป ตอนนี้รายได้หายไปแล้ว 50% นี่คือเหตุผลที่ทำให้ผู้รับช่วงผลิตที่เป็นซัพพายเออร์ที่ซัพพอตวัตถุดิบ และชิ้นส่วนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมทุกขนาดในประเทศต้องพลิกตัวกันครั้งใหญ่ บางราย เลิกหรือลดขนาดการผลิตชิ้นส่วนลง แล้ว หันไปทำบริษัท เทรดดิ้งแทน โดยนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปจากจีนเข้ามาขาย "
++ลูกค้าหนีนำเข้า/ย้ายฐานผลิต
สอดคล้องกับที่ นางจงดี รวมลาภ ผู้จัดการ บริษัท สยามโปรดักส์ แอร์คอนดิชั่น จำกัด ผู้ผลิต ชิ้นส่วนเหล็กและปั๊มงานเหล็ก สำหรับผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศยี่ห้อ "UNI-MASTER" หนึ่งในผู้รับช่วงการผลิตที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้ โดยลดการผลิตเครื่องปรับอากาศของบริษัทลงเหลือไม่ถึง 20% และหันไปซื้อเครื่องปรับอากาศสำเร็จรูป เข้ามาขายแทน เช่น แบรนด์ แอลจี พานาโซนิค ซัมซุง และลดคนงานลงจาก 200 คน เหลือประมาณ 40 คน ซึ่งทะยอยลดลงมาตั้งแต่ปี2550
ขณะที่ชิ้นส่วนเหล็กปั๊มสำหรับใช้ในการผลิตเครื่องปรับอากาศก็กระทบ ต้องวิ่งหาลูกค้าใหม่เข้ามาเนื่องจากขณะนี้เหลือออเดอร์อยู่ในมือประมาณ 20% เท่านั้น หลังจากที่ ลูกค้ารายใหญ่อย่างบริษัท ยอร์ค อินดัสเตรียล จำกัด ซึ่งมีโรงงานอยู่แหลมฉบัง ผลิตเครื่องปรับอากาศขนาดมากกว่า 200,000 ยูนิต เพื่อส่งออกทั้งหมด ก็เพิ่งเลิกการผลิตในไทยไปเมื่อ 3-4 เดือนที่ผ่านมา โดยย้ายฐานผลิตไปยังจีน ส่งผลให้ออเดอร์ที่เคยรับซื้อชิ้นส่วนเหล็กปั๊มจากบริษัทต้องหายไปด้วย ประมาณ 30-50 ล้านบาท/ปี จนผู้ประกอบการรายอื่นลดการสั่งซื้อชิ้นส่วนลง บางรายก็เลิกการสั่งซื้อชิ้นส่วนแล้วหันไปนำเข้าจากจีนแทน
"บริษัทเคยมียอดขายรวม/ปีประมาณ 600 ล้านบาทก็ลดลงเหลือ300ล้านบาทเมื่อปีที่แล้ว ปีนี้จะประคองตัวอยู่ได้ก็ต้องดิ้นร้นทุกวิธีตั้งแต่ลดขนาดธุรกิจให้เล็กลง และนำเข้า หรือซื้อเครื่องปรับอากาศสำเร็จรูปในประเทศมาขายแทน"
-ชิ้นส่วนจีนตีตลาดถูกกว่า10-20%
ดร.ขัติยา ไกรกาญจน์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวยอมรับว่านโยบายFTA มีทั้งส่วนดีและไม่ดี เช่นเดียวกับบาทแข็งค่าที่มีทั้งผู้ได้และผู้เสีย แต่ผลที่เกิดขึ้นต่อ 2 กรณีนี้ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะมองเห็นภาพชัดที่สุด เพราะเป็นกลุ่มที่มีการลงทุนในไทยมาก และส่งออกเป็นอันดับต้น และเป็นกลุ่มที่พึ่งพาการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ ในสัดส่วน 50-60%
"ขณะนี้กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละค่ายต่างวิ่งหาชิ้นส่วนนำเข้ามาใช้ พร้อมเจรจากับกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศให้ปรับลดราคาชิ้นส่วนลงมาเท่า กับราคาชิ้นส่วนที่ซื้อจากจีนที่ราคาถูกกว่าเฉลี่ย 10-20%"
++โตชิบา"ออเดอร์ใหม่ ลดฮวบ 15%
นอกจากกลุ่มชิ้นส่วนจะได้รับผลกระทบแล้วโรงงานผลิตสินค้าสำเร็จรูป ก็ออกอาการชักหน้าไม่ถึงหลังเช่นกัน โดยนางกนิษฐ์ เมืองกระจ่าง รองประธานบริษัท ไทยโตชิบาอุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตตู้เย็นและเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กในครัวเรือนภายใต้แบรนด์"โตชิบา" และรับจ้างผลิตให้กับแบรนด์อื่นๆเปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้รับผลกระทบจากบาทแข็งค่าอย่างชัดเจนแล้ว โดยปริมาณออเดอร์ใหม่ที่เข้ามาในช่วงปีปฏิทินญี่ปุ่น ตั้งแต่เดือนเมษายน2551ถึงเดือนมีนาคม2552ได้ลดลงแล้วประมาณ 15% เมื่อเทียบกับออเดอร์ที่เข้ามาในช่วงเดือนเมษายนปี2551 ถึงเดือนมีนาคมปี2552 ที่มีมูลค่ายอดขายเข้ามาประมาณ 6,000 ล้านบาท/ปี โดยออเดอร์ที่ลดลงมามีสาเหตุมาจากพิษบาทแข็งทำให้ลูกค้าที่เคยจ้าง บริษัทไทยโตชิบาอุตสาหกรรมฯ ผลิตย้ายไปจ้างผู้ผลิตในจีนผลิตแทนโดยจ้างในลักษณะโออีเอ็มเป็นส่วนใหญ่ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง
"ออเดอร์ที่ลดลงไป 15% เกือบทั้งหมดเกิดจากที่บริษัทมีสัดส่วนการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก สำหรับใช้ในครัวเรือนอยู่ประมาณ 80%ไปยังญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะเป็นกะทะไฟฟ้า หม้อหุงข้าว กระติกน้ำร้อน ไมโครเวฟ กระติกน้ำร้อน ส่วนตู้เย็นขนาดเล็กรุ่น 1ประตู จะผลิตเพื่อขายในประเทศเป็นหลัก โดยมีขนาดกำลังผลิต 500,000 เครื่อง/ปี ซึ่งขณะนี้ผลิตได้ 90% และยังรักษา
ระดับนี้อยู่ได้อย่างต่อเนื่อง"
++ปรับตัวขึ้นตลาดไฮเอนด์
นางกนิษฐ์ กล่าวว่าขณะนี้ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กของบริษัท ส่วนใหญ่จะปรับให้เป็นสินค้าไฮเอ็นด์มากขึ้น และรักษาฐานลูกค้าส่วนนี้ไว้ให้ได้ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้มาก รวมถึงปรับตัวด้วยการบริหารต้นทุน เช่น ปรับสเปกและเปลี่ยนวัตถุดิบ และลดการสูญเสียในการใช้วัตถุดิบลง เช่น ซื้อแผ่นเหล็กมาปั๊มและมีการตัดเหล็กให้มีส่วนที่เสียน้อยที่สุด รวมถึงมีการนำเข้าชิ้นส่วนบางชนิดมาจากจีน และการรับช่วงโดยใช้ชิ้นส่วนจากผู้ผลิตกลุ่มเอสเอ็มอีในประเทศ ซึ่งปัจจุบันบริษัทจะมีซัพพายเออร์ที่ป้อนชิ้นส่วนให้ ประมาณ 600 บริษัท เป็นซัพพายเออร์ในประเทศมากถึง400ราย ที่เหลือเป็นการนำเข้าชิ้นส่วน
"ความจริงแล้วบริษัทไม่ใช้ชิ้นส่วนในประเทศก็ได้ โดยหันไปนำเข้าชิ้นส่วนราคาถูกจากจีน แต่การจับมือกับเอสเอ็มอีในประเทศถือว่าเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะเห็นใจผู้ผลิตชิ้นส่วนที่เป็นคู่ค้ากันมานานกำลังแย่ หากแก้ปัญหาไม่ได้ก็กลัวจะไปไม่รอด ในขณะที่ผู้ใช้ก็ต้องดิ้นลดต้นทุนไปด้วย จะเห็นว่าทั้งระบบกระทบเป็นลูกโซ่ไปแล้วตั้งแต่วัตถุดิบต้นทางที่นำเข้ามา"
อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์"โตชิบา" ไม่ได้กลัวว่าสินค้าจีนที่เข้ามาตีตลาดในขณะนี้ เพราะที่ผ่านมาเราค่อยๆปรับตัว โดยหนีตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อขายลูกค้าระดับล่างไปแล้ว แต่สิ่งที่กลัวคือเรื่องค่าครองชีพคนที่น้อยลง จนบีบให้ผู้บริโภคหันไปใช้สินค้าราคาถูกมากขึ้น และที่สำคัญทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูกที่เข้ามาตีตลาดส่วนหนึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ได้ คุณภาพเกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิต
อนึ่งปี2550 กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1.5ล้านล้านบาท ปี2551 ตั้งเป้าส่งออกขยายตัว 9-10% อยู่ในระดับอัตราการเติบโตลดลงเมื่อเทียบกับปี2550 ที่ขยายตัว 11-12%
รับช่วงผลิตไทย200รายจ่อขึ้นเมรุ
ผู้รับช่วงผลิต 200 ราย เตรียมขึ้นเมรุ เผาจริง หลังถูกกดดันหนักจากการเปิดเขตการค้าเสรี และพิษบาทแข็งค่า ล่าสุดโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ลดใช้ชิ้นส่วนในประเทศ หันนำเข้าแทน ยักษ์"ไทยโตชิบา " ยอมรับห่วงเอสเอ็มอีไทยจะไปไม่รอด เพราะระบบการผลิตกระทบเป็นลูกโซ่ ผู้ใช้ชิ้นส่วนเองต้องดิ้นปรับตัวด้วย
ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆรุมเร้าไม่ว่าจะเป็นต้นทุนในการใช้เชื้อ เพลิงที่พุ่งขึ้นเป็นรายวัน ผลกระทบจากบาทแข็งค่าต่อเนื่อง ล่าสุดเป็นผลที่เกิดจากข้อตกลงในการเปิดเขตการค้าเสรี(FTA) ระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ ก็เริ่มปรากฏชัดแล้วอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนทั้งระบบ รับไปเต็มๆ
+ผู้ผลิตชิ้นส่วน200รายส่อวิกฤติ
นายจิตต์ไทย เลิศเจริญสุข อุปนายกสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ขณะนี้สมาคมฯมีสมาชิกประมาณ 200 ราย เป็นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนเหล็ก พลาสติก ยาง สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ กำลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ ผลจากนโยบายเปิดเขตการค้าเสรี(FTA)ระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยการลดภาษีนำเข้าระหว่างกัน ส่วนใหญ่มีเพดานภาษีอยู่ที่ 0% จึงเป็นการเปิดช่องให้มีการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จากเดิมที่เคยเสียภาษีอากรนำเข้าในอัตรา 10-20% ก็ลดลงเหลือ 0% ตามข้อตกลงFTA ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนต้องเสียโอกาสเมื่อลูกค้าบางส่วนลดการผลิตเครื่องใช้ ไฟฟ้าสำเร็จรูปลงและหันไปนำเข้าแทน
นอกจากนี้ยังเกิดจากผลกระทบกรณีบาทแข็งค่าต่อเนื่อง ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ชิ้นส่วนในประเทศหันไปนำเข้าจากต่างประเทศแทน เพราะซื้อได้ราคาถูกกว่าผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศที่เป็น ซัพพายเออร์ขายให้กับโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือโรงงานประกอบรถยนต์ เนื่องจากปัจจุบันผู้ผลิตชิ้นส่วนยังต้องนำเข้าวัตถุดิบมาจากต่างประเทศโดย เสียภาษีอากรนำเข้าเฉลี่ย 5-30% แล้วแต่ประเภทวัตถุดิบที่ใช้ ในขณะที่ผู้ใช้ชิ้นส่วนที่มาจากโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ต่างก็ดิ้นรนเพื่อบริหารต้นทุนให้ต่ำลงเป็นการชดเชยกับรายได้จากการส่งออก ที่มีมูลค่าและผลกำไรลดลง
"ขณะนี้สมาชิกในสมาคมฯจำนวน 200 ราย เดือดร้อนเพราะจากที่เคยมีมูลค่าการขายสินค้ารวมกันมากกว่า 10,000 ล้านบาท/ปี ขึ้นไป ตอนนี้รายได้หายไปแล้ว 50% นี่คือเหตุผลที่ทำให้ผู้รับช่วงผลิตที่เป็นซัพพายเออร์ที่ซัพพอตวัตถุดิบ และชิ้นส่วนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมทุกขนาดในประเทศต้องพลิกตัวกันครั้งใหญ่ บางราย เลิกหรือลดขนาดการผลิตชิ้นส่วนลง แล้ว หันไปทำบริษัท เทรดดิ้งแทน โดยนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปจากจีนเข้ามาขาย "
++ลูกค้าหนีนำเข้า/ย้ายฐานผลิต
สอดคล้องกับที่ นางจงดี รวมลาภ ผู้จัดการ บริษัท สยามโปรดักส์ แอร์คอนดิชั่น จำกัด ผู้ผลิต ชิ้นส่วนเหล็กและปั๊มงานเหล็ก สำหรับผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศยี่ห้อ "UNI-MASTER" หนึ่งในผู้รับช่วงการผลิตที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้ โดยลดการผลิตเครื่องปรับอากาศของบริษัทลงเหลือไม่ถึง 20% และหันไปซื้อเครื่องปรับอากาศสำเร็จรูป เข้ามาขายแทน เช่น แบรนด์ แอลจี พานาโซนิค ซัมซุง และลดคนงานลงจาก 200 คน เหลือประมาณ 40 คน ซึ่งทะยอยลดลงมาตั้งแต่ปี2550
ขณะที่ชิ้นส่วนเหล็กปั๊มสำหรับใช้ในการผลิตเครื่องปรับอากาศก็กระทบ ต้องวิ่งหาลูกค้าใหม่เข้ามาเนื่องจากขณะนี้เหลือออเดอร์อยู่ในมือประมาณ 20% เท่านั้น หลังจากที่ ลูกค้ารายใหญ่อย่างบริษัท ยอร์ค อินดัสเตรียล จำกัด ซึ่งมีโรงงานอยู่แหลมฉบัง ผลิตเครื่องปรับอากาศขนาดมากกว่า 200,000 ยูนิต เพื่อส่งออกทั้งหมด ก็เพิ่งเลิกการผลิตในไทยไปเมื่อ 3-4 เดือนที่ผ่านมา โดยย้ายฐานผลิตไปยังจีน ส่งผลให้ออเดอร์ที่เคยรับซื้อชิ้นส่วนเหล็กปั๊มจากบริษัทต้องหายไปด้วย ประมาณ 30-50 ล้านบาท/ปี จนผู้ประกอบการรายอื่นลดการสั่งซื้อชิ้นส่วนลง บางรายก็เลิกการสั่งซื้อชิ้นส่วนแล้วหันไปนำเข้าจากจีนแทน
"บริษัทเคยมียอดขายรวม/ปีประมาณ 600 ล้านบาทก็ลดลงเหลือ300ล้านบาทเมื่อปีที่แล้ว ปีนี้จะประคองตัวอยู่ได้ก็ต้องดิ้นร้นทุกวิธีตั้งแต่ลดขนาดธุรกิจให้เล็กลง และนำเข้า หรือซื้อเครื่องปรับอากาศสำเร็จรูปในประเทศมาขายแทน"
-ชิ้นส่วนจีนตีตลาดถูกกว่า10-20%
ดร.ขัติยา ไกรกาญจน์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวยอมรับว่านโยบายFTA มีทั้งส่วนดีและไม่ดี เช่นเดียวกับบาทแข็งค่าที่มีทั้งผู้ได้และผู้เสีย แต่ผลที่เกิดขึ้นต่อ 2 กรณีนี้ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะมองเห็นภาพชัดที่สุด เพราะเป็นกลุ่มที่มีการลงทุนในไทยมาก และส่งออกเป็นอันดับต้น และเป็นกลุ่มที่พึ่งพาการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ ในสัดส่วน 50-60%
"ขณะนี้กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละค่ายต่างวิ่งหาชิ้นส่วนนำเข้ามาใช้ พร้อมเจรจากับกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศให้ปรับลดราคาชิ้นส่วนลงมาเท่า กับราคาชิ้นส่วนที่ซื้อจากจีนที่ราคาถูกกว่าเฉลี่ย 10-20%"
++โตชิบา"ออเดอร์ใหม่ ลดฮวบ 15%
นอกจากกลุ่มชิ้นส่วนจะได้รับผลกระทบแล้วโรงงานผลิตสินค้าสำเร็จรูป ก็ออกอาการชักหน้าไม่ถึงหลังเช่นกัน โดยนางกนิษฐ์ เมืองกระจ่าง รองประธานบริษัท ไทยโตชิบาอุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตตู้เย็นและเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กในครัวเรือนภายใต้แบรนด์"โตชิบา" และรับจ้างผลิตให้กับแบรนด์อื่นๆเปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้รับผลกระทบจากบาทแข็งค่าอย่างชัดเจนแล้ว โดยปริมาณออเดอร์ใหม่ที่เข้ามาในช่วงปีปฏิทินญี่ปุ่น ตั้งแต่เดือนเมษายน2551ถึงเดือนมีนาคม2552ได้ลดลงแล้วประมาณ 15% เมื่อเทียบกับออเดอร์ที่เข้ามาในช่วงเดือนเมษายนปี2551 ถึงเดือนมีนาคมปี2552 ที่มีมูลค่ายอดขายเข้ามาประมาณ 6,000 ล้านบาท/ปี โดยออเดอร์ที่ลดลงมามีสาเหตุมาจากพิษบาทแข็งทำให้ลูกค้าที่เคยจ้าง บริษัทไทยโตชิบาอุตสาหกรรมฯ ผลิตย้ายไปจ้างผู้ผลิตในจีนผลิตแทนโดยจ้างในลักษณะโออีเอ็มเป็นส่วนใหญ่ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง
"ออเดอร์ที่ลดลงไป 15% เกือบทั้งหมดเกิดจากที่บริษัทมีสัดส่วนการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก สำหรับใช้ในครัวเรือนอยู่ประมาณ 80%ไปยังญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะเป็นกะทะไฟฟ้า หม้อหุงข้าว กระติกน้ำร้อน ไมโครเวฟ กระติกน้ำร้อน ส่วนตู้เย็นขนาดเล็กรุ่น 1ประตู จะผลิตเพื่อขายในประเทศเป็นหลัก โดยมีขนาดกำลังผลิต 500,000 เครื่อง/ปี ซึ่งขณะนี้ผลิตได้ 90% และยังรักษา
ระดับนี้อยู่ได้อย่างต่อเนื่อง"
++ปรับตัวขึ้นตลาดไฮเอนด์
นางกนิษฐ์ กล่าวว่าขณะนี้ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กของบริษัท ส่วนใหญ่จะปรับให้เป็นสินค้าไฮเอ็นด์มากขึ้น และรักษาฐานลูกค้าส่วนนี้ไว้ให้ได้ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้มาก รวมถึงปรับตัวด้วยการบริหารต้นทุน เช่น ปรับสเปกและเปลี่ยนวัตถุดิบ และลดการสูญเสียในการใช้วัตถุดิบลง เช่น ซื้อแผ่นเหล็กมาปั๊มและมีการตัดเหล็กให้มีส่วนที่เสียน้อยที่สุด รวมถึงมีการนำเข้าชิ้นส่วนบางชนิดมาจากจีน และการรับช่วงโดยใช้ชิ้นส่วนจากผู้ผลิตกลุ่มเอสเอ็มอีในประเทศ ซึ่งปัจจุบันบริษัทจะมีซัพพายเออร์ที่ป้อนชิ้นส่วนให้ ประมาณ 600 บริษัท เป็นซัพพายเออร์ในประเทศมากถึง400ราย ที่เหลือเป็นการนำเข้าชิ้นส่วน
"ความจริงแล้วบริษัทไม่ใช้ชิ้นส่วนในประเทศก็ได้ โดยหันไปนำเข้าชิ้นส่วนราคาถูกจากจีน แต่การจับมือกับเอสเอ็มอีในประเทศถือว่าเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะเห็นใจผู้ผลิตชิ้นส่วนที่เป็นคู่ค้ากันมานานกำลังแย่ หากแก้ปัญหาไม่ได้ก็กลัวจะไปไม่รอด ในขณะที่ผู้ใช้ก็ต้องดิ้นลดต้นทุนไปด้วย จะเห็นว่าทั้งระบบกระทบเป็นลูกโซ่ไปแล้วตั้งแต่วัตถุดิบต้นทางที่นำเข้ามา"
อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์"โตชิบา" ไม่ได้กลัวว่าสินค้าจีนที่เข้ามาตีตลาดในขณะนี้ เพราะที่ผ่านมาเราค่อยๆปรับตัว โดยหนีตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อขายลูกค้าระดับล่างไปแล้ว แต่สิ่งที่กลัวคือเรื่องค่าครองชีพคนที่น้อยลง จนบีบให้ผู้บริโภคหันไปใช้สินค้าราคาถูกมากขึ้น และที่สำคัญทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูกที่เข้ามาตีตลาดส่วนหนึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ได้ คุณภาพเกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิต
อนึ่งปี2550 กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1.5ล้านล้านบาท ปี2551 ตั้งเป้าส่งออกขยายตัว 9-10% อยู่ในระดับอัตราการเติบโตลดลงเมื่อเทียบกับปี2550 ที่ขยายตัว 11-12%
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news23/01/08
โพสต์ที่ 58
พานาฯลั่นคว่ำโตชิบาได้ในปีนี้
โพสต์ทูเดย์ พานาโซนิค เทกว่า 700 ล้าน บุกเครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน หวังชิงเบอร์หนึ่งตู้เย็นแข่งโตชิบา หลังปีก่อนซิวผู้นำเครื่องปรับอากาศ
นายโมโตยูกิ ชิเงโมริ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พานาโซนิค เอ.พี.เซลส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ปีนี้บริษัทจะใช้งบทำตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าหมวดครัวเรือน (เอชเอ) ราว 10% ของยอดขายในปี 2550 หรือกว่า 700 ล้านบาท เพื่อรุกทำ ตลาดให้เป็นไปตามเป้าหมายตามที่บริษัทแม่ญี่ปุ่นวางไว้ เพื่อให้ยอดขายแบรนด์พานาโซนิคในตลาดทั่วโลกโตกว่า 10% โดยรายได้บริษัทในประเทศไทยรอบปีบัญชีบริษัท (มี.ค. 2551-เม.ย. 2552) คาดอยู่ที่ประมาณ 7.7 พันล้านบาท เติบโตกว่ารอบปีบัญชีบริษัท 2550 ราว 20%
สำหรับงบตลาดดังกล่าว จะนำมาใช้ทำตลาดเชิงรุกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าหมวดเอชเอในปีนี้ ซึ่งบริษัทยังมุ่งให้ความสำคัญสินค้ากลุ่มเครื่องปรับอากาศและกลุ่มตู้เย็น โดยเฉพาะประเภทหลัง ด้วยการเปิดตัวสินค้าใหม่มาทำตลาดรวม 14 รุ่น แบ่งเป็น 1 ประตู 5 รุ่น และ 2 ประตู 9 รุ่น เพื่อให้เป็นไปตามเป้า ขึ้นเป็นส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งที่ 25% ในปีนี้ จากปี 2550 ที่ผ่านมา สินค้า กลุ่มตู้เย็นครองส่วนแบ่งตลาดอันดับสองสัดส่วน 22% จากปัจจุบันยี่ห้อ โตชิบาครองส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งสัดส่วน 23% ของมูลค่าตลาดรวมเชิงปริมาณ 1.2 ล้านเครื่อง
บริษัทยังเตรียมเปิดตัวสินค้าเครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ 16 รุ่น ราคาเริ่มต้นที่ 1.79 หมื่นบาทถึง 6.5 หมื่นบาท เป็นราคาต่ำกว่าคู่แข่งแบรนด์ ญี่ปุ่นมิตซูบิชิประมาณ 5% แต่สูง กว่าเกาหลีราว 10% ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปีก่อนบริษัทประสบความสำเร็จยอดขายเครื่องปรับอากาศ โดยเป็นปีแรกที่ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่งเท่ากับมิตซูบิชิ ด้วยส่วนแบ่งยี่ห้อละ 23% ของมูลค่าตลาดรวม 6.5 แสนเครื่อง ปี 2551 บริษัทตั้งเป้า ส่วนแบ่งเครื่องปรับอากาศอันดับหนึ่ง 25% ในรอบปีบัญชีของบริษัทนี้
ทั้งนี้ ภาพรวมตลาดเครื่องปรับอากาศในปีนี้คาดเพิ่มเป็น 6.8 แสนเครื่อง ส่วนตู้เย็นน่าจะเท่ากับปี ก่อน 1.2 ล้านเครื่อง เนื่องจากตู้เย็น 1 ประตู ตลาดค่อนข้างอิ่มตัว
ส่วนเป้าหมายรายได้รวมปี 2551 ตั้งเป้าโต 10% แบ่งเป็นมาจากเครื่องปรับอากาศ 40% ตู้เย็น 20% เครื่องซักผ้า 20% เครื่องทำน้ำอุ่น 10% และอื่นๆ 10%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=216368
โพสต์ทูเดย์ พานาโซนิค เทกว่า 700 ล้าน บุกเครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน หวังชิงเบอร์หนึ่งตู้เย็นแข่งโตชิบา หลังปีก่อนซิวผู้นำเครื่องปรับอากาศ
นายโมโตยูกิ ชิเงโมริ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พานาโซนิค เอ.พี.เซลส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ปีนี้บริษัทจะใช้งบทำตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าหมวดครัวเรือน (เอชเอ) ราว 10% ของยอดขายในปี 2550 หรือกว่า 700 ล้านบาท เพื่อรุกทำ ตลาดให้เป็นไปตามเป้าหมายตามที่บริษัทแม่ญี่ปุ่นวางไว้ เพื่อให้ยอดขายแบรนด์พานาโซนิคในตลาดทั่วโลกโตกว่า 10% โดยรายได้บริษัทในประเทศไทยรอบปีบัญชีบริษัท (มี.ค. 2551-เม.ย. 2552) คาดอยู่ที่ประมาณ 7.7 พันล้านบาท เติบโตกว่ารอบปีบัญชีบริษัท 2550 ราว 20%
สำหรับงบตลาดดังกล่าว จะนำมาใช้ทำตลาดเชิงรุกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าหมวดเอชเอในปีนี้ ซึ่งบริษัทยังมุ่งให้ความสำคัญสินค้ากลุ่มเครื่องปรับอากาศและกลุ่มตู้เย็น โดยเฉพาะประเภทหลัง ด้วยการเปิดตัวสินค้าใหม่มาทำตลาดรวม 14 รุ่น แบ่งเป็น 1 ประตู 5 รุ่น และ 2 ประตู 9 รุ่น เพื่อให้เป็นไปตามเป้า ขึ้นเป็นส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งที่ 25% ในปีนี้ จากปี 2550 ที่ผ่านมา สินค้า กลุ่มตู้เย็นครองส่วนแบ่งตลาดอันดับสองสัดส่วน 22% จากปัจจุบันยี่ห้อ โตชิบาครองส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งสัดส่วน 23% ของมูลค่าตลาดรวมเชิงปริมาณ 1.2 ล้านเครื่อง
บริษัทยังเตรียมเปิดตัวสินค้าเครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ 16 รุ่น ราคาเริ่มต้นที่ 1.79 หมื่นบาทถึง 6.5 หมื่นบาท เป็นราคาต่ำกว่าคู่แข่งแบรนด์ ญี่ปุ่นมิตซูบิชิประมาณ 5% แต่สูง กว่าเกาหลีราว 10% ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปีก่อนบริษัทประสบความสำเร็จยอดขายเครื่องปรับอากาศ โดยเป็นปีแรกที่ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่งเท่ากับมิตซูบิชิ ด้วยส่วนแบ่งยี่ห้อละ 23% ของมูลค่าตลาดรวม 6.5 แสนเครื่อง ปี 2551 บริษัทตั้งเป้า ส่วนแบ่งเครื่องปรับอากาศอันดับหนึ่ง 25% ในรอบปีบัญชีของบริษัทนี้
ทั้งนี้ ภาพรวมตลาดเครื่องปรับอากาศในปีนี้คาดเพิ่มเป็น 6.8 แสนเครื่อง ส่วนตู้เย็นน่าจะเท่ากับปี ก่อน 1.2 ล้านเครื่อง เนื่องจากตู้เย็น 1 ประตู ตลาดค่อนข้างอิ่มตัว
ส่วนเป้าหมายรายได้รวมปี 2551 ตั้งเป้าโต 10% แบ่งเป็นมาจากเครื่องปรับอากาศ 40% ตู้เย็น 20% เครื่องซักผ้า 20% เครื่องทำน้ำอุ่น 10% และอื่นๆ 10%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=216368
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news29/01/08
โพสต์ที่ 59
แอลจีขนพันล.ลงทุนเพิ่ม
โพสต์ทูเดย์ แอลจีทุ่มพันล้าน ย้ายฐานผลิตแอร์เชิงพาณิชย์มาไทย รับตลาดคอนโดฯ บูม พร้อมชิงตลาดแอร์บ้าน หวังขึ้นเบอร์ 1 ปีนี้
นายเฮียนวู (ฮาเวิร์ด) ลี กรรมการ ผู้จัดการคนใหม่ บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิกส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ปีนี้จะใช้งบลงทุน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1 พันล้านบาท ย้ายฐานการผลิตเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์จากประเทศเกาหลีมาผลิตในประเทศไทย แบ่งเป็นงบการเคลื่อนย้ายเครื่องมือและการสร้างโรงงานแห่งใหม่ 2 แห่ง บนพื้นที่ 20 ไร่ ที่โรงงานแอลจี จ.ระยอง ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 190 ไร่ และ งบลงทุนด้านบุคลากรและการตลาด
การขยายฐานดังกล่าวมายังประเทศไทย เนื่องจากตลาดเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยมีแนวโน้มการขยายตัวสูงตามโครงการอาคารสูง เช่น คอนโดมิเนียมที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก โดย แอลจีเริ่มทำตลาดเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยเมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา มีส่วนแบ่ง 1-2% จากตลาดรวม คาดว่าปีนี้ตลาดรวมจะขยายตัว 15% หรือ 4 แสนยูนิต
ปัจจุบันมีผู้นำในตลาดเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ 4 ราย ได้แก่ แคเรียร์, เทรน, ยอร์ค และไดกิ้นส์ โดยแอลจีตั้งเป้าว่าจะมีส่วนแบ่งตลาด 5% ในปีนี้ โดยจะผลิตสินค้าออกสู่ตลาดรวม 3 รุ่น
สำหรับผลประกอบการโดยรวมของแอลจีในปีที่ผ่านมา มียอดขายรวม 3.6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 1.3 หมื่นล้านบาท ขยายตัว 30% จากปีก่อน ขณะที่การส่งออกมีมูลค่า 2.3 หมื่นล้าน บาท ขยายตัว 20% ส่วนปีนี้ตั้งเป้ายอดขายรวม 900 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ ยอดขายในประเทศคาดว่าจะขยายตัว 30% หรือมีมูลค่า 1.6 หมื่นล้านบาท ส่วนตลาดส่งออกคาดว่าจะขยายตัวไม่สูงนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในตลาดโลกที่ลดลง
สำหรับ 3 กลุ่มสินค้าหลักที่ ทำรายได้หลักให้กับแอลจี ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ แอลซีดี ทีวี และเครื่องปรับอากาศ ซึ่งในปีนี้ตลาดเครื่องปรับอากาศมูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาทในประเทศ หรือจำนวน 8.5 แสนยูนิต คาดเติบโต 8%
บริษัทจะรุกตลาดเครื่องปรับอากาศมากยิ่งขึ้น โดยใช้งบการตลาดรวม 600 ล้านบาท ตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งตลาดจาก 18% เป็น 20% และขึ้นเป็นผู้นำตลาดอันดับ 1 หรือมียอดขายรวม 1.7 แสนเครื่อง มูลค่า 2.6 พันล้านบาท เติบโต 35%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=217581
โพสต์ทูเดย์ แอลจีทุ่มพันล้าน ย้ายฐานผลิตแอร์เชิงพาณิชย์มาไทย รับตลาดคอนโดฯ บูม พร้อมชิงตลาดแอร์บ้าน หวังขึ้นเบอร์ 1 ปีนี้
นายเฮียนวู (ฮาเวิร์ด) ลี กรรมการ ผู้จัดการคนใหม่ บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิกส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ปีนี้จะใช้งบลงทุน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1 พันล้านบาท ย้ายฐานการผลิตเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์จากประเทศเกาหลีมาผลิตในประเทศไทย แบ่งเป็นงบการเคลื่อนย้ายเครื่องมือและการสร้างโรงงานแห่งใหม่ 2 แห่ง บนพื้นที่ 20 ไร่ ที่โรงงานแอลจี จ.ระยอง ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 190 ไร่ และ งบลงทุนด้านบุคลากรและการตลาด
การขยายฐานดังกล่าวมายังประเทศไทย เนื่องจากตลาดเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยมีแนวโน้มการขยายตัวสูงตามโครงการอาคารสูง เช่น คอนโดมิเนียมที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก โดย แอลจีเริ่มทำตลาดเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยเมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา มีส่วนแบ่ง 1-2% จากตลาดรวม คาดว่าปีนี้ตลาดรวมจะขยายตัว 15% หรือ 4 แสนยูนิต
ปัจจุบันมีผู้นำในตลาดเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ 4 ราย ได้แก่ แคเรียร์, เทรน, ยอร์ค และไดกิ้นส์ โดยแอลจีตั้งเป้าว่าจะมีส่วนแบ่งตลาด 5% ในปีนี้ โดยจะผลิตสินค้าออกสู่ตลาดรวม 3 รุ่น
สำหรับผลประกอบการโดยรวมของแอลจีในปีที่ผ่านมา มียอดขายรวม 3.6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 1.3 หมื่นล้านบาท ขยายตัว 30% จากปีก่อน ขณะที่การส่งออกมีมูลค่า 2.3 หมื่นล้าน บาท ขยายตัว 20% ส่วนปีนี้ตั้งเป้ายอดขายรวม 900 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ ยอดขายในประเทศคาดว่าจะขยายตัว 30% หรือมีมูลค่า 1.6 หมื่นล้านบาท ส่วนตลาดส่งออกคาดว่าจะขยายตัวไม่สูงนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในตลาดโลกที่ลดลง
สำหรับ 3 กลุ่มสินค้าหลักที่ ทำรายได้หลักให้กับแอลจี ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ แอลซีดี ทีวี และเครื่องปรับอากาศ ซึ่งในปีนี้ตลาดเครื่องปรับอากาศมูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาทในประเทศ หรือจำนวน 8.5 แสนยูนิต คาดเติบโต 8%
บริษัทจะรุกตลาดเครื่องปรับอากาศมากยิ่งขึ้น โดยใช้งบการตลาดรวม 600 ล้านบาท ตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งตลาดจาก 18% เป็น 20% และขึ้นเป็นผู้นำตลาดอันดับ 1 หรือมียอดขายรวม 1.7 แสนเครื่อง มูลค่า 2.6 พันล้านบาท เติบโต 35%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=217581
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/01/08
โพสต์ที่ 60
Electronic sector
By scib
Company recommend fair value2008
Delta buy 29.52
Ccet buy 9.50
Hana hold 24.24
SCIBS ลดน้ำหนักการลงทุนจาก Bullish สู่ระดับ Neutral จากความเสี่ยงใน
อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น จากคาดการณ์ปริมาณยอดขายสินค้าไอทีในหลายๆกลุ่มจะมีการ
ขยายตัวลดลงจากปีก่อนหน้า, อุปสงค์การบริโภคจากสหรัฐมีแนวโน้มลดลงจากปัญหา
Sub prime รวมไปถึงความกังวลเศรษฐกิจจีนจะเริ่มชะลอตัวลง และสุดท้ายค่าเงินบาท
ยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การลงทุนในหุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2551 จึงควรระมัดระวังมากขึ้น SCIBS
แนะนำให้เลือกหุ้นที่มี อัตรากำไรขั้นต้นสูง, สินค้าที่ผลิตยังขยายตัวได้ดีในตลาดใหญ่ซึ่ง
ได้รับผลกระทบน้อยจากปัญหา Sub prime, กำไรขั้นต้นได้รับผลกระทบน้อยจากการแข็ง
ค่าของค่าเงินบาท และมีหลักประกันเป็นเงินปันผลที่สูง
SCIBS เลือก ซื้อ DELTA เป็นอันดับ 1 ราคาเหมาะสม 29.52 บาท/หุ้น เนื่องจากมองว่า
สามารถรับมือกับปัจจัยเสี่ยงข้างต้นได้ดีที่สุด จากการมีรายได้หลักจากการผลิตชิ้นส่วน
สำหรับอุปกรณ์โครงข่ายโทรคมนาคมในอินเดียซึ่งอยู่ในช่วงขยายโครงข่าย และยังได้รับ
ผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าไม่มากนัก,
เลือก ซื้อ CCET เป็นอันดับ 2 ราคา
เหมาะสม 9.50 บาท/หุ้น จากความต้องการด้านการเก็บข้อมูล (Hard disk) ที่แข็งแกร่ง
จาก Media Content ปัจจุบันที่มีขนาดใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ CCET ยังได้รับผลกระทบจาก
ค่าเงินบาทแข็งค่าที่ต่ำที่สุดในกลุ่ม
ตารางแสดงผลการดำเนินงานของกลุ่ม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
CCET DELTA HANA
Year-end 31 Dec 2007F 2008F 2007F 2008F 2007F 2008F
Sales (Bt m) 92,544 114,071 32,049 34,109 15,719 17,049
Gross Profit (Bt m) 4,884 5,883 6,762 7,512 2,637 2,753
EBITDA (Bt m) 4,096 4,823 3,807 4,792 2,561 2,719
EBITDA (%chg) 21.9 16.9 -10.2 24.2 (4.4) 6.7
Normalized Profit (Bt m) 3,192 3,889 2,830 3,974 1,932 2,082
Net Profit (Bt m) 3,192 3,889 2,949 3,993 2,416 2,082
EPS (Bt) 0.7 0.8 2.4 3.2 2.9 2.5
EPS (%chg) 10.4 20.4 -4.3 98.2 7.9 (14.4)
DPS (Bt) 0.4 0.5 1.9 2.2 1.4 1.4
Dividend Yield (%) 5.6 7.0 8.6 10.2 6.5 6.1
BVPS (Bt) 3.7 4.0 13.0 14.3 13.4 14.5
P/E (x) 10.4 8.6 9.3 6.9 7.7 9.0
P/BV (x) 1.9 1.8 1.7 1.5 1.7 1.5
Closed Price as of 18/01/08 6.45 22.00 18.20
Fair Price (Bt) 9.50 29.52 24.24
Recommendation BUY 2nd BUY 1st HOLD
Source : Company, SCIBS Research
2008 Theme to pay : Safety first
ปรับน้ำหนักไปสู่ Neutral จากความเสี่ยงที่
เพิ่มขึ้น แต่ DELTA เชื่อว่าจะสามารถจัดการ
กับความเสี่ยงโดยรอบได้ดีที่สุด
การเปิดตัวของตลาดเกิดใหม่ (Emerging market) ใน จีน และ อินเดีย นำไปสู่การเพิ่ม
น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด (Bullish) ในปี 2550 และเลือกลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จาก
ตลาดดังกล่าว (DELTA, CCET)
ในปี 2551 SCIBS ประเมินว่าปัจจัยเสี่ยงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นรอบด้าน ทั้งจากการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจสหรัฐ, แรงกดดันต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นตามโลหะมีค่า และการแข็งค่าของค่าเงิน
บาท ซึ่งคาดจะทำให้การเติบโตของกำไรปกติเริ่มมีความเสี่ยง ดังนั้น SCIBS จึงลดน้ำหนัก
การลงทุนเป็นเท่ากับตลาด (Neutral)
นักวิเคราะห์กลุ่มเทคโนโลยีใน S&P 500 คาดการณ์อุตสาหกรรมไอทีในปี 2551 ว่า อุปกรณ์
โทรคมนาคม และกลุ่มสินค้า Hard disk, High-end Notebook ระดับสูง มีแนวโน้มได้รับ
ผลกระทบจาก Sub prime ไม่มากนัก ส่วนตลาด PC ระดับล่างยังพอมีโอกาสฟื้นตัวได้ จาก
การถูกกระตุ้นด้วยการปรับปรุง (Upgrade) ระบบปฏิบัติการ Window XP ไปสู่ Microsoft
Vista หลังการออก ชุดโปรแกรม Service pack 1 ในปี 2551
SIA คาดจำนวนสินค้าที่ขายในแต่ละกลุ่มจะมีอัตราการเติบโตของจำนวนขายที่ลดลง แต่ในแง่
ของมูลค่ากลับมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นเป็น 7.7% จาก 3.8% ในปี 2550 แสดงถึงสินค้าระดับ
High-end จะยังสามารถขายได้ในตลาด ขณะที่ Gartner ได้เตือนว่าความต้องการอาจลดลง
ยาวนานไปจนถึงปี 2552 จากความต้องการในสหรัฐที่ชะลอตัวลง และจะรุนแรงมากขึ้นหาก
ลุกลามไปทั่วโลก โดยมองว่าผู้ผลิตอุปกรณ์มีความเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มผู้ผลิต ships ที่ใช้เอเชีย
เป็นฐานในการ Outsourcing ทำให้ไม่ต้องมีการลงทุนเครื่องจักรจำนวนมากนัก
DELTA ยังคงได้ประโยชน์จากการใช้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมในตลาดเกิดใหม่, CCET จะ
ได้ประโยชน์จากสินค้า Hard disk ที่ยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคจากข้อมูล Media ที่มีขนาด
ใหญ่ขึ้นในปัจจุบัน, HANA ได้ประโยชน์จากกลุ่มสินค้า High-end ที่ยังพอขายได้ในปี 2551
จากประเด็นความเสี่ยงในปี 2551 SCIBS แนะนำให้เลือกลงทุนในหุ้นที่มีความปลอดภัยเป็น
หลัก โดยต้องมีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross profit margin : GPM) สูงเพื่อเป็นกันชนกับแรง
กดดันด้านต้นทุนที่สูงขึ้น, ลูกค้าส่วนใหญ่จำหน่ายสินค้าที่ยังอยู่ในขาขึ้น (Telecom
Equipment, Storage, High-end Notebook, Handsets) และจำหน่ายอยู่ในตลาดเกิดใหม่
(Emerging market : อินเดีย, จีน เป็นต้น) และมีโครงสร้างต้นทุนที่เหมาะสมสามารถรองรับ
ความผันผวนกับตลาดเงินในปี 2551 ได้ และควรมีการจ่ายปันผลที่สูงเป็นหลักประกัน
จากประเด็นข้างต้น SCIBS ยังคงเลือก ซื้อ DELTA เป็นตัวเลือกที่ 1 ราคาเหมาะสม 29.52
บาท/หุ้น จากการมี GPM สูง 22.02% สินค้า Telecom Power Supply ยังเติบโตได้ดีใน
อินเดียที่กำลังอยู่ในช่วงต้นของการวางระบบเครือข่ายโทรคมนาคมในประเทศ นอกจากนี้
DELTA มีผลกระทบทางลบต่อ GPM เพียง -74 bps ต่อการแข็งค่าของค่าเงินบาททุกๆ 1
บาท/เหรียญสหรัฐ SCIBS คาดในปี 2551 DELTA จะให้ Dividend Yield 10.2% สูงสุดใน
กลุ่ม (ในปี 2550 คาดจะจ่ายเงินปันผล 1.90 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend Yield 8.6% ขึ้น
เครื่องหมาย XD ในราวต้นเดือน มี.ค.)
SCIBS เลือก ซื้อ CCET เป็นตัวเลือกที่ 2 ราคาเหมาะสม 9.50 บาท/หุ้น แม้จะมี GPM
เพียง 5.16% แต่ด้วยสินค้าหน่วยบันทึกความจำ (Hard disk) ยังอยู่ในแนวโน้มที่ดีใน
ตลาดโลก และคาดคำสั่งซื้อโทรศัพท์มือถือ CDMA 2.5G ในอินเดียจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 12
ล้านเครื่อง จาก Penetration ยังต่ำกว่า 20% ในอินเดีย นอกจากนี้ GPM ได้รับผลกระทบ
ต่ำสุดเพียง -30 bps% ต่อการแข็งค่าของค่าเงินบาททุกๆ 1 บาท/เหรียญสหรัฐ SCIBS คาด
ในปี 2551 CCET จะให้ Dividend Yield 7.0% (ในปี 2550 คาดจะจ่ายเงินปันผลงวด 2H/50
อีก 0.20 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend Yield 3.1% ขึ้นเครื่องหมาย XD ในราวต้นเดือน มี.ค.)
SCIBS แนะนำ ถือ HANA เนื่องจาก 40% ของยอดขายอิงกับตลาดสหรัฐ ซึ่งมีแนวโน้ม
ชะลอตัวในปี 2551 อีกทั้ง GPM ยังมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงถึง -99 bps ต่อความการแข็งค่า
ของค่าเงินบาททุกๆ 1 บาท/เหรียญสหรัฐ แต่เงินปันผล 1.45 บาท/หุ้น หรือ Dividend Yield
6.5% ในปี 2550 ที่คาดจะขึ้นเครื่องหมาย XD ราวเดือน พ.ค. และอีก 6.1% ในปี 2551
ยังคงทำให้ HANA ยังเป็นหุ้นปันผลที่ดีตัวหนึ่ง
Foreign exchange attack
DELTA มีอัตราการทำกำไรขั้นต้น (Gross profit margin : GPM) สูงสุดในกลุ่ม ทำให้มีกันชนด้านการทำ
กำไรที่ปลอดภัยกว่ากลุ่ม แต่เมื่อนำประเด็นการแข็งค่าของค่าเงินบาทมาพิจารณาพบว่า CCET มีต้นทุน
เงินบาทสัดส่วนน้อยที่สุด ทำให้ GPM ได้รับผลกระทบทางลบน้อยที่สุด หากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก
ส่วน HANA มีต้นทุนเงินบาทสัดส่วนสูงที่สุด จึงมีความเสี่ยงในด้าน GPM ผันผวนค่อนข้างสูงกว่ากลุ่ม
SCIBS มองว่าค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง จากเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังอ่อนแอ รวมไปถึงนโยบาย
อัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่มีแนวโน้มลดต่ำลง ส่งผลให้ทิศทางค่าเงินเหรียญสหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าลง (เงิน
บาทแข็งค่าในทางกลับกัน) อย่างต่อเนื่อง SCIBS ได้ประมาณการอัตราแลกเปลี่ยนอย่างอนุรักษ์นิยมใน
ปี 2551 ไว้ที่ 32.50 บาท/เหรียญสหรัฐ แข็งค่าขึ้น 5% จากค่าเฉลี่ยในปี 2550
การอ่อนค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐ (เงินบาทแข็งค่าขึ้นในทางกลับกัน) ส่งผลต่อผู้ประกอบการ 3 ด้าน คือ
(1) รายได้ในรูปสกุลเงินบาทลดลงซึ่งมีแนวโน้มได้รับผลกระทบใกล้เคียงกันเนื่องจากการมียอดขายส่วน
ใหญ่เป็นสกุลดอลล่าร์ (2) อัตรากำไรขั้นต้น (Gross profit margin : GPM) ที่ลดลง (3) มูลค่าของ
สินทรัพย์และหนี้สินได้รับผลกระทบ
SCIBS ได้ศึกษาผลกระทบของการแข็งค่าของค่าเงินบาท พบว่า CCET สามารถรองรับการแข็งค่าของ
ค่าเงินบาทได้ดีที่สุด เนื่องจากการมีรายได้และต้นทุนสอดคล้องในสกุลดอลล่าร์ดีที่สุด ซึ่งการมีต้นทุนอิง
สกุลเงินบาทเพียง 10% ทำให้ทุกๆการแข็งค่าของค่าเงินบาททุกๆ 1 บาท/เหรียญสหรัฐ จะส่งผลต่อ
GPM เพียง 0.30% เท่านั้น นอกจากนี้การมีหนี้สินระยะยาวในสกุลเงินดอลล่าร์ จึงคาดจะทำให้ CCET
จะมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนอีกด้วย (SCIBS มิได้รวมไว้ในประมาณการ เนื่องจากเป็นกำไรที่มิใช่ตัว
เงิน) ส่วน HANA มีต้นทุนอิงสกุลเงินบาทค่อนข้างมาก จากการมีฐานการผลิตส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ
ไทย อย่างไรก็ดีอัตราการใช้กำลังการผลิต (Utilization) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่เมืองจีนของ HANA
คาดจะค่อยๆปรับส่วนผสมของต้นทุนดีขึ้นในปี 2552
ประมาณการความอ่อนไหวของอัตรากำไรขั้นต้น
DELTA มีความปลอดภัยสูงสุดจาก GPM ที่สูง,
CCET ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
Source : SCIBS Research
Emerging market help
DELTA และ CCET มีตลาดหลักอยู่ในเอเชียแปซิฟิค(จีน) และเอเชียใต้(อินเดีย) ซึ่งมี GDP ยังมี
แนวโน้มเติบโตในอัตราที่สูง 8.4%-9.7% ดังนั้น SCIBS คาดว่าตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะเติบโตสูงไม่
ต่ำกว่าการเติบโตของ GDP อย่างแน่นอน เนื่องจากประเทศเหล่านี้อยู่ในช่วงเริ่มต้นของอุตสาหกรรม
โทรคมนาคม เห็นได้จากการมี Penetration ที่ต่ำ ด้วยขนาดประชากรที่สูงเป็นอันดับต้นของโลก ส่วน
HANA มีตลาดในสหรัฐกว่า 40% ทำให้มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการชะลอการบริโภคสืบเนื่องจาก
ปัญหา Sub prime อยากหลีกเลี่ยงไม่ได้
World Bank ประมาณการว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนา Real GDP จะเติบโตสูงถึง 7.1% ขณะที่ประเทศ
ที่มีรายได้สูงจะเติบโตในอัตราต่ำ 2.2% จากผลของปัญหา Sub prime ในสหรัฐ ส่งผลให้ในภาพรวมของ
โลกจะเติบโต 3.3% ลดลงจากอัตรา 3.9% (2549) และ 3.6% (2550) แต่ World Bank มองว่าการพัฒนา
ด้านเทคโนโลยีในประเทศกำลังพัฒนาจะเป็นไฮไลท์การเติบโตของเศรษฐกิจของโลกในปีนี้
สัดส่วนต้นทุนเงินบาท การแข็งค่าทุก 1 บาท/เหรียญ GPM target 08F
CCET 10% -0.30% 5.16%
DELTA 30% -0.74% 22.02%
HANA 37% -0.99% 16.15%__
Emerging market help
DELTA และ CCET มีตลาดหลักอยู่ในเอเชียแปซิฟิค(จีน) และเอเชียใต้(อินเดีย) ซึ่งมี GDP ยังมี
แนวโน้มเติบโตในอัตราที่สูง 8.4%-9.7% ดังนั้น SCIBS คาดว่าตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะเติบโตสูงไม่
ต่ำกว่าการเติบโตของ GDP อย่างแน่นอน เนื่องจากประเทศเหล่านี้อยู่ในช่วงเริ่มต้นของอุตสาหกรรม
โทรคมนาคม เห็นได้จากการมี Penetration ที่ต่ำ ด้วยขนาดประชากรที่สูงเป็นอันดับต้นของโลก ส่วน
HANA มีตลาดในสหรัฐกว่า 40% ทำให้มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการชะลอการบริโภคสืบเนื่องจาก
ปัญหา Sub prime อยากหลีกเลี่ยงไม่ได้
World Bank ประมาณการว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนา Real GDP จะเติบโตสูงถึง 7.1% ขณะที่ประเทศ
ที่มีรายได้สูงจะเติบโตในอัตราต่ำ 2.2% จากผลของปัญหา Sub prime ในสหรัฐ ส่งผลให้ในภาพรวมของ
โลกจะเติบโต 3.3% ลดลงจากอัตรา 3.9% (2549) และ 3.6% (2550) แต่ World Bank มองว่าการพัฒนา
ด้านเทคโนโลยีในประเทศกำลังพัฒนาจะเป็นไฮไลท์การเติบโตของเศรษฐกิจของโลกในปีนี้
Product trends
DELTA จะได้ประโยชน์จากการใช้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมในตลาดเกิดใหม่, CCET จะได้ประโยชน์
จากสินค้า Hard disk ที่ยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคจากข้อมูล Media ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆใน
ปัจจุบัน, HANA จะได้ประโยชน์จากกลุ่มสินค้า High-end ที่ยังขายได้ในปี 2551 โดยคาดว่าแนวโน้ม
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังอยู่ในแนวโน้มเติบโต จากปัจจัย การใช้จ่ายด้านไอทีของบริษัท, สินค้า
อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค (High-end Consumer Electronics), ความต้องการในตลาดต่างประเทศ,
สินค้าใหม่ และ การถึงรอบวงจรปรับปรุง (Upgrade) หลังการออก Microsoft Vista service pack 1 เพื่อ
ปรับปรุงระบบปฎิบัติการในปี 2551
นักวิเคราะห์ใน S&P 500 ได้คาดการณ์
อุตสาหกรรมไอทีในปี 2551 ว่า อุปกรณ์
โทรคมนาคม และกลุ่มสินค้า Hard disk,
High-end Notebook ระดับสูง มีแนวโน้มได้รับ
ผลกระทบจาก Sub prime ไม่มาก
เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor, IC) : แม้ความต้องการสูงในปี 2550 จะถูกหักล้างด้วย
ราคาเฉลี่ย (Average Selling Prices : ASPs)ที่ลดลง แต่อัตราการใช้กำลังการผลิตที่สูง,
ระดับสินค้าคงคลังที่อยู่ในระดับต่ำ จะทำให้ปี 2551 เริ่มต้นได้อย่างดี สินค้าที่โดดเด่นในปีนี้
เป็นสินค้าราคาสูง ได้แก่ Server และ Higher-end Notebook ซึ่งจะให้ ASPs ที่สูงขึ้น ซึ่งจะ
ทำให้ยอดขายปี 2551 เพิ่มขึ้น 5% สูงกว่าปี 2550 ที่เพิ่มขึ้น 4% จากปี 2549
อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor equipment) : คาดจะอ่อนตัวในปีนี้จากคาด
การตลาดล่างที่ชะลอการซื้อลง เห็นได้จากราคา DRAM ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง และปริมาณ
การซื้อที่ถดถอย ซึ่งการฟื้นตัวเชื่อว่าจะเกิดเฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น Solar
technology, Flash memory และจอ LCD
คอมพิวเตอร์ (Personal computer, Notebook) : คาดจะเติบโตลดลงจาก 12% ในปี 2550
แต่คาดจะยังอยู่ในระดับสูงที่ 10% ซึ่งคาดจะถูกผลักดันให้เกิดยอดขาย หลังจากการมีออก
ซอฟท์แวร์ปรับปรุงระบบปฏิบัติการของ Microsoft และ Apple ในปีนี้ ซึ่งมองว่าตลาด Hi-end
ในสินค้า Notebook และ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) จะเป็นสินค้าขับเคลื่อนหลักของกลุ่ม
หน่วยความจำหลัก (Primary storage, Hard disk) : คาดจะยังเติบโตแข็งแกร่งเนื่องจาก
เพิ่มหน่วยความจำสามารถช่วยลดจำนวน Server ราคาสูง และลดการสิ้นเปลืองพลังงาน ให้
บริษัทอีกด้วย นอกจากนี้ข้อมูลประเภทภาพและเสียง (Media) ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นอีก
สาเหตุให้ผู้บริโภครายบุคคลยินดีที่จะเพิ่มขนาดของหน่วยความจำใน PC ของตน
Electronic Manufacturing Service (EMS) : คาดจะเติบโตในระดับปานกลาง ตามการ
เติบโตของเศรษฐกิจโลก และการ Outsourcing ที่ต่อเนื่องจากปีก่อนหน้าของผู้ผลิต ซึ่ง
ผู้ประกอบการ EMS ที่สามารถผลิตด้วยต้นทุนต่ำที่สุดในคุณภาพที่ผู้ว่าจ้างต้องการ และ
สามารถให้บริการได้แบบ One-Stop Shopping มีแนวโน้มจะรักษาระดับการเติบโตได้ในปีนี้
อุปกรณ์โทรคมนาคม (Communication Equipment, Switching) : จากความต้องการ
ข้อมูลภาพและเสียง ทำให้การแข่งขันของระบบไร้สาย (Telecom) และ มีสาย (Cable) รุนแรง
ขึ้น จนทำให้อุตสาหกรรม Communication Equipment เติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้
ให้บริการสื่อสารไม่มีทางเลือกมากนัก นอกจากต้องเร่งปรับปรุงระบบโครงข่ายที่ให้บริการ
เสียง (Narrowband networking of Voice service) ไปสู่โครงข่ายให้บริการข้อมูล
(Broadband networking of data) และเปลี่ยนระบบ Circuit-switched ไปสู่ระบบ Packetbase
systems ให้สามารถรองรับการไหลผ่านของข้อมูลในปริมาณสูงเพื่อรองรับการ
ให้บริการแบบ Triple play (เสียง, ภาพ, ข้อมูล) ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มจำนวนสมาชิก, เกิด
ความภักดีของลูกค้า และเพิ่มรายได้ต่อเลขหมาย (ARPU) อย่างไรก็ดีในระยะยาวผู้ผลิตมี
ความเสี่ยงจากการควบรวมระหว่างผู้ให้บริการสื่อสาร ทำให้มีอำนาจต่อรองด้านราคาเพิ่มขึ้น
ผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวข้อง (% ของยอดขายรวม)
Source : SCIBS Research
PC Related Mobile phone MP3 Player Digital TV Automotive Mobile
Network
DELTA(45%) CCET HANA KCE (4%) KCE (66%) DELTA (55%)
CCET (79%) HANA HANA (7%) HANA (3%
Neutral rating
ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนำไปสู่การปรับลดน้ำหนัก
การลงทุนไปสู่ Neutral
SCIBS ลดน้ำหนักการลงทุนสู่ระดับ Neutral จากประเด็นความเสี่ยงในปีนี้ สืบเนื่องจากปัญหา Sub
prime, ค่าเงินบาทแข็งค่า และ ต้นทุนที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดีหุ้นในกลุ่มนี้ ยังมี Upside gain อยู่ระหว่าง
30%-40% และให้ Dividend Yield เฉลี่ย 7.8% SCIBS จึงแนะนำเลือกหุ้นที่มียอดขายมิได้กับการ
บริโภคในสหรัฐ และได้รับผลกระทบน้อยจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีก SCIBS แนะนำ ซื้อ
DELTA และ CCET ตามลำดับ
ผลิตภัณฑ์ของ DELTA มีโมเมนตัมในขาขึ้นที่เด่นชัดกว่าเพื่อนร่วมกลุ่ม : จากตลาด
สื่อสารของอินเดีย ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และมีการคาดการณ์ว่าจะเติบโต 24% ในปี 2551 ทำ
ให้สินค้า Telecom Power Supply ของ DES (บริษัทย่อยของ DELTA) สามารถสร้าง
ยอดขายเติบโตได้อย่างโดดเด่นชัดเจน นอกจากนี้บริษัทยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ด้านการให้บริการ
โทรศัพท์เคลื่อนที่จะ IPO เพื่อระดมทุนขยายโครงข่าย SCIBS เชื่อว่าจะยังสร้างโมเมนตัมบ
วกสำหรับสินค้าอุปกรณ์โทรคมนาคมให้ DELTA อย่างต่อเนื่อง ส่วน CCET การเติบโตของ
ฮาร์ดดิสมีแนวโน้มเติบโตไปได้ต่อเนื่องแต่มีจุดอ่อนที่บางส่วนยังอิงกับการบริโภค PC ของ
ลูกค้ารายบุคคล ส่วนมือถือ CDMA 2.5G Low-end เริ่มมีการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดอินเดีย
ส่วน HANA คาดราคา IC ในตลาดยังไม่ฟื้นตัวมากนัก เนื่องจากคาดว่าสินค้า Low-end คาด
มีการเติบโตต่ำจากการบริโภคที่ชะลอตัวลง
อัตรากำไรขั้นต้นของ CCET ได้ผลกระทบน้อยที่สุดจากการแข็งค่าของค่าเงินบาท :
CCET มีต้นทุนที่เป็นเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐราว 90% ของต้นทุนขายทั้งหมด นอกจากนี้ส่วน
หนึ่งเป็นเงินหยวนที่ได้ประโยชน์จากการตรึงค่าเงินหยวนไว้กับดอลล่าร์จึงทำให้อัตรากำไร
ขั้นต้น (GPM) ได้รับผลกระทบทางลบน้อยหากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก โดยทุกๆการแข็งค่า
1 บาท/เหรียญ จะส่งผลให้ GPM ของ CCET ลดลงเพียง 30 bps ขณะที่ HANA ได้รับ
ผลกระทบรุนแรงที่สุดถึง 99 bps
DELTA มีกันชนด้าน GPM ที่ปลอดภัยที่สุด :
Product mixed ของ DELTA ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ โดย 55% ของรายได้อิงกับการผลิตชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ประกอบในสินค้าสำหรับลูกค้าประเภทบริษัท ซึ่งได้มีการร่วมกันออกแบบและ
วิจัย (R&D) ทำให้มี GPM ที่สูงกว่าการรับจ้างผลิตทั่วไป DELTA มีสินค้าเด่นในปี 2551 คือ
ระบบจ่ายไฟให้กับตู้สาขาของระบบสื่อสาร (Telecom Power supply) ผลิตให้กับบริษัท
โทรคมนาคมชั้นนำ ซึ่งให้ GPM สูงสุดในกลุ่มที่ 22.01% แตกต่างกับ CCET ซึ่งเน้นการผลิต
ที่ปริมาณสูงด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติส่งต่อเข้าสายการผลิตของผู้ว่าจ้าง เช่น ฐานฮาร์ดดิส เป็น
ต้น จึงทำให้มี GPM ต่ำเพียง 5.1% แต่ก็ถือว่าสูงสำหรับการเป็น EMS รายใหญ่รายหนึ่ง
DELTA ดูห่างไกลจากสหรัฐมากที่สุด :
DELTA กำลังมุ่งหน้าสู่อินเดียมากขึ้น จากแผนการสร้างโรงงานใหม่ที่ประเทศอินเดีย ซึ่งมี
ประชากรกว่า 1,100 ล้านคน Penetration rate ของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ต่ำกว่า 20%
SCIBS มองว่าแนวทางนี้จะทำให้ DELTA มีความเสี่ยงต่ำสุด ในขณะที่การประเมินการ
บริโภคที่ถดถอยในสหรัฐยังไม่ชัดเจนนัก
ผลการดำเนินงาน 4Q/50 อ่อนตัวลง แต่ยังเด่น yoy :
SCIBS มองว่าผลการดำเนินงานรวมของกลุ่มจะอ่อนตัวลง qoq เหมือนทุกๆปี จากจำนวนวัน
ทำงานที่น้อย และคำสั่งซื้อจะลดลงจากการทยอยล้างสินค้าคงคลังของลูกค้า และแม้ค่าเงิน
บาทจะเริ่มแข็งค่าอีกครั้งในปลายไตรมาส แต่ปริมาณสั่งซื้อที่ชะลอตัวลงคาดจะไม่ส่งผลต่อ
รายได้นัก SCIBS มองว่าผลการดำเนินงานรวมจะลดลง 8% qoq แต่เติบโตสูง 20% yoy แม้
ค่าเงินบาทจะแข็งค่า 7% yoy ก็ตาม SCIBS คาดว่า CCET จะมีผลการดำเนินงานเติบโตเด่น
26.4% yoy และ KCE เติบโตเด่น 52.8% qoq
ซื้อ DELTA :
ราคาหุ้น DELTA มี Upside gain 34% มี Leading PER ปี 2551 เพียง 6.9 เท่า ต่ำที่สุดใน
กลุ่ม ในขณะที่ SCIBS มองว่ามีความเสี่ยงโดยรวมต่ำกว่า CCET และ HANA นอกจากนี้
แม้ว่าผลลบจากปัญหา Sub prime จะยังไม่เห็นผลชัดเจนต่อการบริโภคสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ของสหรัฐ แต่ DELTA ยังมีความพยายามต่อเนื่องในการเปิดตลาดไปยังประเทศที่เพิ่งเริ่มต้น
พัฒนาด้านไอทีอย่างอินเดีย และด้วย Product mixed ที่พร้อมรับในสถานการณ์ที่หลากหลาย
SCIBS จึงเลือกแนะนำ ซื้อ DELTA ราคาเหมาะสม 29.52 บาท/หุ้น เป็นอันดับ 1 ของกลุ่ม
ซื้อ CCET :
การอิงกับการผลิตฮาร์ดดิส และ โทรศัพท์มือถือ CDMA 2.5G ทำให้เชื่อว่า CCET จะสามารถ
รักษาระดับยอดขาย 90,000 ล้านบาทได้ โดยจุดเด่นของ CCET ในปีนี้คือ การได้รับ
ผลกระทบน้อยสุดต่อค่าเงินบาทที่แข็งค่า SCIBS แนะนำ ซื้อ CCET ราคาเหมาะสม 9.50
บาท/หุ้น เป็นอันดับ 2 ของกลุ่ม
ถือ HANA :
การมีฐานการผลิตส่วนใหญ่ยังอยู่ในประเทศไทย ทำให้การจับคู่ระหว่างรายได้และต้นทุนด้วย
เงินต่างสกุลที่ไม่สมบูรณ์มากนัก ส่งผลให้มีแนวโน้มได้รับผลกระทบการแข็งค่าของเงินบาท
รุนแรงกว่ากลุ่ม นอกจากนี้จากการมีฐานลูกค้าจากสหรัฐสูงสุด 40% ทำให้ HANA มีความ
เสี่ยงจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหา Sub prime รุนแรงกว่ากลุ่ม อย่างไรก็ดีการที่
HANA จะจ่ายเงินปันผลเพียง 1 ครั้งในงวดปี 2550 (เป็นครั้งแรก) ทำให้ Dividend Yield
6.5% ที่จะได้รับในระยะเวลาอันสั้นยังดูน่าสนใจ SCIBS แนะนำ ถือ__
http://www.settrade.com/brokerpage/Anal ... _delta.pdf
By scib
Company recommend fair value2008
Delta buy 29.52
Ccet buy 9.50
Hana hold 24.24
SCIBS ลดน้ำหนักการลงทุนจาก Bullish สู่ระดับ Neutral จากความเสี่ยงใน
อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น จากคาดการณ์ปริมาณยอดขายสินค้าไอทีในหลายๆกลุ่มจะมีการ
ขยายตัวลดลงจากปีก่อนหน้า, อุปสงค์การบริโภคจากสหรัฐมีแนวโน้มลดลงจากปัญหา
Sub prime รวมไปถึงความกังวลเศรษฐกิจจีนจะเริ่มชะลอตัวลง และสุดท้ายค่าเงินบาท
ยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การลงทุนในหุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2551 จึงควรระมัดระวังมากขึ้น SCIBS
แนะนำให้เลือกหุ้นที่มี อัตรากำไรขั้นต้นสูง, สินค้าที่ผลิตยังขยายตัวได้ดีในตลาดใหญ่ซึ่ง
ได้รับผลกระทบน้อยจากปัญหา Sub prime, กำไรขั้นต้นได้รับผลกระทบน้อยจากการแข็ง
ค่าของค่าเงินบาท และมีหลักประกันเป็นเงินปันผลที่สูง
SCIBS เลือก ซื้อ DELTA เป็นอันดับ 1 ราคาเหมาะสม 29.52 บาท/หุ้น เนื่องจากมองว่า
สามารถรับมือกับปัจจัยเสี่ยงข้างต้นได้ดีที่สุด จากการมีรายได้หลักจากการผลิตชิ้นส่วน
สำหรับอุปกรณ์โครงข่ายโทรคมนาคมในอินเดียซึ่งอยู่ในช่วงขยายโครงข่าย และยังได้รับ
ผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าไม่มากนัก,
เลือก ซื้อ CCET เป็นอันดับ 2 ราคา
เหมาะสม 9.50 บาท/หุ้น จากความต้องการด้านการเก็บข้อมูล (Hard disk) ที่แข็งแกร่ง
จาก Media Content ปัจจุบันที่มีขนาดใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ CCET ยังได้รับผลกระทบจาก
ค่าเงินบาทแข็งค่าที่ต่ำที่สุดในกลุ่ม
ตารางแสดงผลการดำเนินงานของกลุ่ม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
CCET DELTA HANA
Year-end 31 Dec 2007F 2008F 2007F 2008F 2007F 2008F
Sales (Bt m) 92,544 114,071 32,049 34,109 15,719 17,049
Gross Profit (Bt m) 4,884 5,883 6,762 7,512 2,637 2,753
EBITDA (Bt m) 4,096 4,823 3,807 4,792 2,561 2,719
EBITDA (%chg) 21.9 16.9 -10.2 24.2 (4.4) 6.7
Normalized Profit (Bt m) 3,192 3,889 2,830 3,974 1,932 2,082
Net Profit (Bt m) 3,192 3,889 2,949 3,993 2,416 2,082
EPS (Bt) 0.7 0.8 2.4 3.2 2.9 2.5
EPS (%chg) 10.4 20.4 -4.3 98.2 7.9 (14.4)
DPS (Bt) 0.4 0.5 1.9 2.2 1.4 1.4
Dividend Yield (%) 5.6 7.0 8.6 10.2 6.5 6.1
BVPS (Bt) 3.7 4.0 13.0 14.3 13.4 14.5
P/E (x) 10.4 8.6 9.3 6.9 7.7 9.0
P/BV (x) 1.9 1.8 1.7 1.5 1.7 1.5
Closed Price as of 18/01/08 6.45 22.00 18.20
Fair Price (Bt) 9.50 29.52 24.24
Recommendation BUY 2nd BUY 1st HOLD
Source : Company, SCIBS Research
2008 Theme to pay : Safety first
ปรับน้ำหนักไปสู่ Neutral จากความเสี่ยงที่
เพิ่มขึ้น แต่ DELTA เชื่อว่าจะสามารถจัดการ
กับความเสี่ยงโดยรอบได้ดีที่สุด
การเปิดตัวของตลาดเกิดใหม่ (Emerging market) ใน จีน และ อินเดีย นำไปสู่การเพิ่ม
น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด (Bullish) ในปี 2550 และเลือกลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จาก
ตลาดดังกล่าว (DELTA, CCET)
ในปี 2551 SCIBS ประเมินว่าปัจจัยเสี่ยงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นรอบด้าน ทั้งจากการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจสหรัฐ, แรงกดดันต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นตามโลหะมีค่า และการแข็งค่าของค่าเงิน
บาท ซึ่งคาดจะทำให้การเติบโตของกำไรปกติเริ่มมีความเสี่ยง ดังนั้น SCIBS จึงลดน้ำหนัก
การลงทุนเป็นเท่ากับตลาด (Neutral)
นักวิเคราะห์กลุ่มเทคโนโลยีใน S&P 500 คาดการณ์อุตสาหกรรมไอทีในปี 2551 ว่า อุปกรณ์
โทรคมนาคม และกลุ่มสินค้า Hard disk, High-end Notebook ระดับสูง มีแนวโน้มได้รับ
ผลกระทบจาก Sub prime ไม่มากนัก ส่วนตลาด PC ระดับล่างยังพอมีโอกาสฟื้นตัวได้ จาก
การถูกกระตุ้นด้วยการปรับปรุง (Upgrade) ระบบปฏิบัติการ Window XP ไปสู่ Microsoft
Vista หลังการออก ชุดโปรแกรม Service pack 1 ในปี 2551
SIA คาดจำนวนสินค้าที่ขายในแต่ละกลุ่มจะมีอัตราการเติบโตของจำนวนขายที่ลดลง แต่ในแง่
ของมูลค่ากลับมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นเป็น 7.7% จาก 3.8% ในปี 2550 แสดงถึงสินค้าระดับ
High-end จะยังสามารถขายได้ในตลาด ขณะที่ Gartner ได้เตือนว่าความต้องการอาจลดลง
ยาวนานไปจนถึงปี 2552 จากความต้องการในสหรัฐที่ชะลอตัวลง และจะรุนแรงมากขึ้นหาก
ลุกลามไปทั่วโลก โดยมองว่าผู้ผลิตอุปกรณ์มีความเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มผู้ผลิต ships ที่ใช้เอเชีย
เป็นฐานในการ Outsourcing ทำให้ไม่ต้องมีการลงทุนเครื่องจักรจำนวนมากนัก
DELTA ยังคงได้ประโยชน์จากการใช้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมในตลาดเกิดใหม่, CCET จะ
ได้ประโยชน์จากสินค้า Hard disk ที่ยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคจากข้อมูล Media ที่มีขนาด
ใหญ่ขึ้นในปัจจุบัน, HANA ได้ประโยชน์จากกลุ่มสินค้า High-end ที่ยังพอขายได้ในปี 2551
จากประเด็นความเสี่ยงในปี 2551 SCIBS แนะนำให้เลือกลงทุนในหุ้นที่มีความปลอดภัยเป็น
หลัก โดยต้องมีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross profit margin : GPM) สูงเพื่อเป็นกันชนกับแรง
กดดันด้านต้นทุนที่สูงขึ้น, ลูกค้าส่วนใหญ่จำหน่ายสินค้าที่ยังอยู่ในขาขึ้น (Telecom
Equipment, Storage, High-end Notebook, Handsets) และจำหน่ายอยู่ในตลาดเกิดใหม่
(Emerging market : อินเดีย, จีน เป็นต้น) และมีโครงสร้างต้นทุนที่เหมาะสมสามารถรองรับ
ความผันผวนกับตลาดเงินในปี 2551 ได้ และควรมีการจ่ายปันผลที่สูงเป็นหลักประกัน
จากประเด็นข้างต้น SCIBS ยังคงเลือก ซื้อ DELTA เป็นตัวเลือกที่ 1 ราคาเหมาะสม 29.52
บาท/หุ้น จากการมี GPM สูง 22.02% สินค้า Telecom Power Supply ยังเติบโตได้ดีใน
อินเดียที่กำลังอยู่ในช่วงต้นของการวางระบบเครือข่ายโทรคมนาคมในประเทศ นอกจากนี้
DELTA มีผลกระทบทางลบต่อ GPM เพียง -74 bps ต่อการแข็งค่าของค่าเงินบาททุกๆ 1
บาท/เหรียญสหรัฐ SCIBS คาดในปี 2551 DELTA จะให้ Dividend Yield 10.2% สูงสุดใน
กลุ่ม (ในปี 2550 คาดจะจ่ายเงินปันผล 1.90 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend Yield 8.6% ขึ้น
เครื่องหมาย XD ในราวต้นเดือน มี.ค.)
SCIBS เลือก ซื้อ CCET เป็นตัวเลือกที่ 2 ราคาเหมาะสม 9.50 บาท/หุ้น แม้จะมี GPM
เพียง 5.16% แต่ด้วยสินค้าหน่วยบันทึกความจำ (Hard disk) ยังอยู่ในแนวโน้มที่ดีใน
ตลาดโลก และคาดคำสั่งซื้อโทรศัพท์มือถือ CDMA 2.5G ในอินเดียจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 12
ล้านเครื่อง จาก Penetration ยังต่ำกว่า 20% ในอินเดีย นอกจากนี้ GPM ได้รับผลกระทบ
ต่ำสุดเพียง -30 bps% ต่อการแข็งค่าของค่าเงินบาททุกๆ 1 บาท/เหรียญสหรัฐ SCIBS คาด
ในปี 2551 CCET จะให้ Dividend Yield 7.0% (ในปี 2550 คาดจะจ่ายเงินปันผลงวด 2H/50
อีก 0.20 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend Yield 3.1% ขึ้นเครื่องหมาย XD ในราวต้นเดือน มี.ค.)
SCIBS แนะนำ ถือ HANA เนื่องจาก 40% ของยอดขายอิงกับตลาดสหรัฐ ซึ่งมีแนวโน้ม
ชะลอตัวในปี 2551 อีกทั้ง GPM ยังมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงถึง -99 bps ต่อความการแข็งค่า
ของค่าเงินบาททุกๆ 1 บาท/เหรียญสหรัฐ แต่เงินปันผล 1.45 บาท/หุ้น หรือ Dividend Yield
6.5% ในปี 2550 ที่คาดจะขึ้นเครื่องหมาย XD ราวเดือน พ.ค. และอีก 6.1% ในปี 2551
ยังคงทำให้ HANA ยังเป็นหุ้นปันผลที่ดีตัวหนึ่ง
Foreign exchange attack
DELTA มีอัตราการทำกำไรขั้นต้น (Gross profit margin : GPM) สูงสุดในกลุ่ม ทำให้มีกันชนด้านการทำ
กำไรที่ปลอดภัยกว่ากลุ่ม แต่เมื่อนำประเด็นการแข็งค่าของค่าเงินบาทมาพิจารณาพบว่า CCET มีต้นทุน
เงินบาทสัดส่วนน้อยที่สุด ทำให้ GPM ได้รับผลกระทบทางลบน้อยที่สุด หากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก
ส่วน HANA มีต้นทุนเงินบาทสัดส่วนสูงที่สุด จึงมีความเสี่ยงในด้าน GPM ผันผวนค่อนข้างสูงกว่ากลุ่ม
SCIBS มองว่าค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง จากเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังอ่อนแอ รวมไปถึงนโยบาย
อัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่มีแนวโน้มลดต่ำลง ส่งผลให้ทิศทางค่าเงินเหรียญสหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าลง (เงิน
บาทแข็งค่าในทางกลับกัน) อย่างต่อเนื่อง SCIBS ได้ประมาณการอัตราแลกเปลี่ยนอย่างอนุรักษ์นิยมใน
ปี 2551 ไว้ที่ 32.50 บาท/เหรียญสหรัฐ แข็งค่าขึ้น 5% จากค่าเฉลี่ยในปี 2550
การอ่อนค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐ (เงินบาทแข็งค่าขึ้นในทางกลับกัน) ส่งผลต่อผู้ประกอบการ 3 ด้าน คือ
(1) รายได้ในรูปสกุลเงินบาทลดลงซึ่งมีแนวโน้มได้รับผลกระทบใกล้เคียงกันเนื่องจากการมียอดขายส่วน
ใหญ่เป็นสกุลดอลล่าร์ (2) อัตรากำไรขั้นต้น (Gross profit margin : GPM) ที่ลดลง (3) มูลค่าของ
สินทรัพย์และหนี้สินได้รับผลกระทบ
SCIBS ได้ศึกษาผลกระทบของการแข็งค่าของค่าเงินบาท พบว่า CCET สามารถรองรับการแข็งค่าของ
ค่าเงินบาทได้ดีที่สุด เนื่องจากการมีรายได้และต้นทุนสอดคล้องในสกุลดอลล่าร์ดีที่สุด ซึ่งการมีต้นทุนอิง
สกุลเงินบาทเพียง 10% ทำให้ทุกๆการแข็งค่าของค่าเงินบาททุกๆ 1 บาท/เหรียญสหรัฐ จะส่งผลต่อ
GPM เพียง 0.30% เท่านั้น นอกจากนี้การมีหนี้สินระยะยาวในสกุลเงินดอลล่าร์ จึงคาดจะทำให้ CCET
จะมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนอีกด้วย (SCIBS มิได้รวมไว้ในประมาณการ เนื่องจากเป็นกำไรที่มิใช่ตัว
เงิน) ส่วน HANA มีต้นทุนอิงสกุลเงินบาทค่อนข้างมาก จากการมีฐานการผลิตส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ
ไทย อย่างไรก็ดีอัตราการใช้กำลังการผลิต (Utilization) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่เมืองจีนของ HANA
คาดจะค่อยๆปรับส่วนผสมของต้นทุนดีขึ้นในปี 2552
ประมาณการความอ่อนไหวของอัตรากำไรขั้นต้น
DELTA มีความปลอดภัยสูงสุดจาก GPM ที่สูง,
CCET ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
Source : SCIBS Research
Emerging market help
DELTA และ CCET มีตลาดหลักอยู่ในเอเชียแปซิฟิค(จีน) และเอเชียใต้(อินเดีย) ซึ่งมี GDP ยังมี
แนวโน้มเติบโตในอัตราที่สูง 8.4%-9.7% ดังนั้น SCIBS คาดว่าตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะเติบโตสูงไม่
ต่ำกว่าการเติบโตของ GDP อย่างแน่นอน เนื่องจากประเทศเหล่านี้อยู่ในช่วงเริ่มต้นของอุตสาหกรรม
โทรคมนาคม เห็นได้จากการมี Penetration ที่ต่ำ ด้วยขนาดประชากรที่สูงเป็นอันดับต้นของโลก ส่วน
HANA มีตลาดในสหรัฐกว่า 40% ทำให้มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการชะลอการบริโภคสืบเนื่องจาก
ปัญหา Sub prime อยากหลีกเลี่ยงไม่ได้
World Bank ประมาณการว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนา Real GDP จะเติบโตสูงถึง 7.1% ขณะที่ประเทศ
ที่มีรายได้สูงจะเติบโตในอัตราต่ำ 2.2% จากผลของปัญหา Sub prime ในสหรัฐ ส่งผลให้ในภาพรวมของ
โลกจะเติบโต 3.3% ลดลงจากอัตรา 3.9% (2549) และ 3.6% (2550) แต่ World Bank มองว่าการพัฒนา
ด้านเทคโนโลยีในประเทศกำลังพัฒนาจะเป็นไฮไลท์การเติบโตของเศรษฐกิจของโลกในปีนี้
สัดส่วนต้นทุนเงินบาท การแข็งค่าทุก 1 บาท/เหรียญ GPM target 08F
CCET 10% -0.30% 5.16%
DELTA 30% -0.74% 22.02%
HANA 37% -0.99% 16.15%__
Emerging market help
DELTA และ CCET มีตลาดหลักอยู่ในเอเชียแปซิฟิค(จีน) และเอเชียใต้(อินเดีย) ซึ่งมี GDP ยังมี
แนวโน้มเติบโตในอัตราที่สูง 8.4%-9.7% ดังนั้น SCIBS คาดว่าตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะเติบโตสูงไม่
ต่ำกว่าการเติบโตของ GDP อย่างแน่นอน เนื่องจากประเทศเหล่านี้อยู่ในช่วงเริ่มต้นของอุตสาหกรรม
โทรคมนาคม เห็นได้จากการมี Penetration ที่ต่ำ ด้วยขนาดประชากรที่สูงเป็นอันดับต้นของโลก ส่วน
HANA มีตลาดในสหรัฐกว่า 40% ทำให้มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการชะลอการบริโภคสืบเนื่องจาก
ปัญหา Sub prime อยากหลีกเลี่ยงไม่ได้
World Bank ประมาณการว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนา Real GDP จะเติบโตสูงถึง 7.1% ขณะที่ประเทศ
ที่มีรายได้สูงจะเติบโตในอัตราต่ำ 2.2% จากผลของปัญหา Sub prime ในสหรัฐ ส่งผลให้ในภาพรวมของ
โลกจะเติบโต 3.3% ลดลงจากอัตรา 3.9% (2549) และ 3.6% (2550) แต่ World Bank มองว่าการพัฒนา
ด้านเทคโนโลยีในประเทศกำลังพัฒนาจะเป็นไฮไลท์การเติบโตของเศรษฐกิจของโลกในปีนี้
Product trends
DELTA จะได้ประโยชน์จากการใช้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมในตลาดเกิดใหม่, CCET จะได้ประโยชน์
จากสินค้า Hard disk ที่ยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคจากข้อมูล Media ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆใน
ปัจจุบัน, HANA จะได้ประโยชน์จากกลุ่มสินค้า High-end ที่ยังขายได้ในปี 2551 โดยคาดว่าแนวโน้ม
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังอยู่ในแนวโน้มเติบโต จากปัจจัย การใช้จ่ายด้านไอทีของบริษัท, สินค้า
อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค (High-end Consumer Electronics), ความต้องการในตลาดต่างประเทศ,
สินค้าใหม่ และ การถึงรอบวงจรปรับปรุง (Upgrade) หลังการออก Microsoft Vista service pack 1 เพื่อ
ปรับปรุงระบบปฎิบัติการในปี 2551
นักวิเคราะห์ใน S&P 500 ได้คาดการณ์
อุตสาหกรรมไอทีในปี 2551 ว่า อุปกรณ์
โทรคมนาคม และกลุ่มสินค้า Hard disk,
High-end Notebook ระดับสูง มีแนวโน้มได้รับ
ผลกระทบจาก Sub prime ไม่มาก
เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor, IC) : แม้ความต้องการสูงในปี 2550 จะถูกหักล้างด้วย
ราคาเฉลี่ย (Average Selling Prices : ASPs)ที่ลดลง แต่อัตราการใช้กำลังการผลิตที่สูง,
ระดับสินค้าคงคลังที่อยู่ในระดับต่ำ จะทำให้ปี 2551 เริ่มต้นได้อย่างดี สินค้าที่โดดเด่นในปีนี้
เป็นสินค้าราคาสูง ได้แก่ Server และ Higher-end Notebook ซึ่งจะให้ ASPs ที่สูงขึ้น ซึ่งจะ
ทำให้ยอดขายปี 2551 เพิ่มขึ้น 5% สูงกว่าปี 2550 ที่เพิ่มขึ้น 4% จากปี 2549
อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor equipment) : คาดจะอ่อนตัวในปีนี้จากคาด
การตลาดล่างที่ชะลอการซื้อลง เห็นได้จากราคา DRAM ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง และปริมาณ
การซื้อที่ถดถอย ซึ่งการฟื้นตัวเชื่อว่าจะเกิดเฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น Solar
technology, Flash memory และจอ LCD
คอมพิวเตอร์ (Personal computer, Notebook) : คาดจะเติบโตลดลงจาก 12% ในปี 2550
แต่คาดจะยังอยู่ในระดับสูงที่ 10% ซึ่งคาดจะถูกผลักดันให้เกิดยอดขาย หลังจากการมีออก
ซอฟท์แวร์ปรับปรุงระบบปฏิบัติการของ Microsoft และ Apple ในปีนี้ ซึ่งมองว่าตลาด Hi-end
ในสินค้า Notebook และ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) จะเป็นสินค้าขับเคลื่อนหลักของกลุ่ม
หน่วยความจำหลัก (Primary storage, Hard disk) : คาดจะยังเติบโตแข็งแกร่งเนื่องจาก
เพิ่มหน่วยความจำสามารถช่วยลดจำนวน Server ราคาสูง และลดการสิ้นเปลืองพลังงาน ให้
บริษัทอีกด้วย นอกจากนี้ข้อมูลประเภทภาพและเสียง (Media) ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นอีก
สาเหตุให้ผู้บริโภครายบุคคลยินดีที่จะเพิ่มขนาดของหน่วยความจำใน PC ของตน
Electronic Manufacturing Service (EMS) : คาดจะเติบโตในระดับปานกลาง ตามการ
เติบโตของเศรษฐกิจโลก และการ Outsourcing ที่ต่อเนื่องจากปีก่อนหน้าของผู้ผลิต ซึ่ง
ผู้ประกอบการ EMS ที่สามารถผลิตด้วยต้นทุนต่ำที่สุดในคุณภาพที่ผู้ว่าจ้างต้องการ และ
สามารถให้บริการได้แบบ One-Stop Shopping มีแนวโน้มจะรักษาระดับการเติบโตได้ในปีนี้
อุปกรณ์โทรคมนาคม (Communication Equipment, Switching) : จากความต้องการ
ข้อมูลภาพและเสียง ทำให้การแข่งขันของระบบไร้สาย (Telecom) และ มีสาย (Cable) รุนแรง
ขึ้น จนทำให้อุตสาหกรรม Communication Equipment เติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้
ให้บริการสื่อสารไม่มีทางเลือกมากนัก นอกจากต้องเร่งปรับปรุงระบบโครงข่ายที่ให้บริการ
เสียง (Narrowband networking of Voice service) ไปสู่โครงข่ายให้บริการข้อมูล
(Broadband networking of data) และเปลี่ยนระบบ Circuit-switched ไปสู่ระบบ Packetbase
systems ให้สามารถรองรับการไหลผ่านของข้อมูลในปริมาณสูงเพื่อรองรับการ
ให้บริการแบบ Triple play (เสียง, ภาพ, ข้อมูล) ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มจำนวนสมาชิก, เกิด
ความภักดีของลูกค้า และเพิ่มรายได้ต่อเลขหมาย (ARPU) อย่างไรก็ดีในระยะยาวผู้ผลิตมี
ความเสี่ยงจากการควบรวมระหว่างผู้ให้บริการสื่อสาร ทำให้มีอำนาจต่อรองด้านราคาเพิ่มขึ้น
ผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวข้อง (% ของยอดขายรวม)
Source : SCIBS Research
PC Related Mobile phone MP3 Player Digital TV Automotive Mobile
Network
DELTA(45%) CCET HANA KCE (4%) KCE (66%) DELTA (55%)
CCET (79%) HANA HANA (7%) HANA (3%
Neutral rating
ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนำไปสู่การปรับลดน้ำหนัก
การลงทุนไปสู่ Neutral
SCIBS ลดน้ำหนักการลงทุนสู่ระดับ Neutral จากประเด็นความเสี่ยงในปีนี้ สืบเนื่องจากปัญหา Sub
prime, ค่าเงินบาทแข็งค่า และ ต้นทุนที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดีหุ้นในกลุ่มนี้ ยังมี Upside gain อยู่ระหว่าง
30%-40% และให้ Dividend Yield เฉลี่ย 7.8% SCIBS จึงแนะนำเลือกหุ้นที่มียอดขายมิได้กับการ
บริโภคในสหรัฐ และได้รับผลกระทบน้อยจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีก SCIBS แนะนำ ซื้อ
DELTA และ CCET ตามลำดับ
ผลิตภัณฑ์ของ DELTA มีโมเมนตัมในขาขึ้นที่เด่นชัดกว่าเพื่อนร่วมกลุ่ม : จากตลาด
สื่อสารของอินเดีย ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และมีการคาดการณ์ว่าจะเติบโต 24% ในปี 2551 ทำ
ให้สินค้า Telecom Power Supply ของ DES (บริษัทย่อยของ DELTA) สามารถสร้าง
ยอดขายเติบโตได้อย่างโดดเด่นชัดเจน นอกจากนี้บริษัทยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ด้านการให้บริการ
โทรศัพท์เคลื่อนที่จะ IPO เพื่อระดมทุนขยายโครงข่าย SCIBS เชื่อว่าจะยังสร้างโมเมนตัมบ
วกสำหรับสินค้าอุปกรณ์โทรคมนาคมให้ DELTA อย่างต่อเนื่อง ส่วน CCET การเติบโตของ
ฮาร์ดดิสมีแนวโน้มเติบโตไปได้ต่อเนื่องแต่มีจุดอ่อนที่บางส่วนยังอิงกับการบริโภค PC ของ
ลูกค้ารายบุคคล ส่วนมือถือ CDMA 2.5G Low-end เริ่มมีการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดอินเดีย
ส่วน HANA คาดราคา IC ในตลาดยังไม่ฟื้นตัวมากนัก เนื่องจากคาดว่าสินค้า Low-end คาด
มีการเติบโตต่ำจากการบริโภคที่ชะลอตัวลง
อัตรากำไรขั้นต้นของ CCET ได้ผลกระทบน้อยที่สุดจากการแข็งค่าของค่าเงินบาท :
CCET มีต้นทุนที่เป็นเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐราว 90% ของต้นทุนขายทั้งหมด นอกจากนี้ส่วน
หนึ่งเป็นเงินหยวนที่ได้ประโยชน์จากการตรึงค่าเงินหยวนไว้กับดอลล่าร์จึงทำให้อัตรากำไร
ขั้นต้น (GPM) ได้รับผลกระทบทางลบน้อยหากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก โดยทุกๆการแข็งค่า
1 บาท/เหรียญ จะส่งผลให้ GPM ของ CCET ลดลงเพียง 30 bps ขณะที่ HANA ได้รับ
ผลกระทบรุนแรงที่สุดถึง 99 bps
DELTA มีกันชนด้าน GPM ที่ปลอดภัยที่สุด :
Product mixed ของ DELTA ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ โดย 55% ของรายได้อิงกับการผลิตชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ประกอบในสินค้าสำหรับลูกค้าประเภทบริษัท ซึ่งได้มีการร่วมกันออกแบบและ
วิจัย (R&D) ทำให้มี GPM ที่สูงกว่าการรับจ้างผลิตทั่วไป DELTA มีสินค้าเด่นในปี 2551 คือ
ระบบจ่ายไฟให้กับตู้สาขาของระบบสื่อสาร (Telecom Power supply) ผลิตให้กับบริษัท
โทรคมนาคมชั้นนำ ซึ่งให้ GPM สูงสุดในกลุ่มที่ 22.01% แตกต่างกับ CCET ซึ่งเน้นการผลิต
ที่ปริมาณสูงด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติส่งต่อเข้าสายการผลิตของผู้ว่าจ้าง เช่น ฐานฮาร์ดดิส เป็น
ต้น จึงทำให้มี GPM ต่ำเพียง 5.1% แต่ก็ถือว่าสูงสำหรับการเป็น EMS รายใหญ่รายหนึ่ง
DELTA ดูห่างไกลจากสหรัฐมากที่สุด :
DELTA กำลังมุ่งหน้าสู่อินเดียมากขึ้น จากแผนการสร้างโรงงานใหม่ที่ประเทศอินเดีย ซึ่งมี
ประชากรกว่า 1,100 ล้านคน Penetration rate ของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ต่ำกว่า 20%
SCIBS มองว่าแนวทางนี้จะทำให้ DELTA มีความเสี่ยงต่ำสุด ในขณะที่การประเมินการ
บริโภคที่ถดถอยในสหรัฐยังไม่ชัดเจนนัก
ผลการดำเนินงาน 4Q/50 อ่อนตัวลง แต่ยังเด่น yoy :
SCIBS มองว่าผลการดำเนินงานรวมของกลุ่มจะอ่อนตัวลง qoq เหมือนทุกๆปี จากจำนวนวัน
ทำงานที่น้อย และคำสั่งซื้อจะลดลงจากการทยอยล้างสินค้าคงคลังของลูกค้า และแม้ค่าเงิน
บาทจะเริ่มแข็งค่าอีกครั้งในปลายไตรมาส แต่ปริมาณสั่งซื้อที่ชะลอตัวลงคาดจะไม่ส่งผลต่อ
รายได้นัก SCIBS มองว่าผลการดำเนินงานรวมจะลดลง 8% qoq แต่เติบโตสูง 20% yoy แม้
ค่าเงินบาทจะแข็งค่า 7% yoy ก็ตาม SCIBS คาดว่า CCET จะมีผลการดำเนินงานเติบโตเด่น
26.4% yoy และ KCE เติบโตเด่น 52.8% qoq
ซื้อ DELTA :
ราคาหุ้น DELTA มี Upside gain 34% มี Leading PER ปี 2551 เพียง 6.9 เท่า ต่ำที่สุดใน
กลุ่ม ในขณะที่ SCIBS มองว่ามีความเสี่ยงโดยรวมต่ำกว่า CCET และ HANA นอกจากนี้
แม้ว่าผลลบจากปัญหา Sub prime จะยังไม่เห็นผลชัดเจนต่อการบริโภคสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ของสหรัฐ แต่ DELTA ยังมีความพยายามต่อเนื่องในการเปิดตลาดไปยังประเทศที่เพิ่งเริ่มต้น
พัฒนาด้านไอทีอย่างอินเดีย และด้วย Product mixed ที่พร้อมรับในสถานการณ์ที่หลากหลาย
SCIBS จึงเลือกแนะนำ ซื้อ DELTA ราคาเหมาะสม 29.52 บาท/หุ้น เป็นอันดับ 1 ของกลุ่ม
ซื้อ CCET :
การอิงกับการผลิตฮาร์ดดิส และ โทรศัพท์มือถือ CDMA 2.5G ทำให้เชื่อว่า CCET จะสามารถ
รักษาระดับยอดขาย 90,000 ล้านบาทได้ โดยจุดเด่นของ CCET ในปีนี้คือ การได้รับ
ผลกระทบน้อยสุดต่อค่าเงินบาทที่แข็งค่า SCIBS แนะนำ ซื้อ CCET ราคาเหมาะสม 9.50
บาท/หุ้น เป็นอันดับ 2 ของกลุ่ม
ถือ HANA :
การมีฐานการผลิตส่วนใหญ่ยังอยู่ในประเทศไทย ทำให้การจับคู่ระหว่างรายได้และต้นทุนด้วย
เงินต่างสกุลที่ไม่สมบูรณ์มากนัก ส่งผลให้มีแนวโน้มได้รับผลกระทบการแข็งค่าของเงินบาท
รุนแรงกว่ากลุ่ม นอกจากนี้จากการมีฐานลูกค้าจากสหรัฐสูงสุด 40% ทำให้ HANA มีความ
เสี่ยงจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหา Sub prime รุนแรงกว่ากลุ่ม อย่างไรก็ดีการที่
HANA จะจ่ายเงินปันผลเพียง 1 ครั้งในงวดปี 2550 (เป็นครั้งแรก) ทำให้ Dividend Yield
6.5% ที่จะได้รับในระยะเวลาอันสั้นยังดูน่าสนใจ SCIBS แนะนำ ถือ__
http://www.settrade.com/brokerpage/Anal ... _delta.pdf