กลุ่มธุรกิจการเกษตรและอาหาร
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/07/07
โพสต์ที่ 31
ดึงบินไทย/รร.เสิร์ฟเมนูน้ำผลไม้
อิงกระแสสุขภาพ กระตุ้นผู้บริโภค เพิ่มช่องทางขาย
โพสต์ทูเดย์ พาณิชย์ โหมโรงคนไทยดื่มน้ำผลไม้ ดึงการบินไทย โรงแรม ภัตตาคาร เน้นเสิร์ฟเมนูน้ำผลไม้
นายกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น การบินไทยโรงพยาบาล โรงแรม ภัตตาคาร ห้างสรรพสินค้า ให้นำน้ำผลไม้ไปขาย และบริการมากขึ้น เป็นการเพิ่มช่องทางการบริโภค และการจำหน่ายให้คนไทยเข้าถึงเมนูน้ำผลไม้มากกว่าที่เป็นอยู่
การดึงหน่วยงานรัฐและเอกชน เข้าร่วมครั้งนี้ เป็นหนึ่งในแผนกระตุ้นให้คนไทยดื่มน้ำผลไม้ หลังจากที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มติเห็นชอบโครงการตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอมา
นอกจากนี้ จะกระตุ้นการดื่มน้ำผลไม้ผ่านโครงการธงฟ้า...ราคาโรงงาน และรถเข็นธงฟ้า
ขณะเดียวกันจะจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การประกวดน้ำผลไม้ การทำน้ำผลไม้ เมนูน้ำผลไม้ใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการนำผลไม้มาทำน้ำผลไม้ในลักษณะต่างๆ เพิ่มเติม
ตลอดจนส่งเสริมให้มีการจดลิขสิทธิ์เมนูน้ำผลไม้ ทั้งที่เป็นภูมิปัญญาเดิม และภูมิปัญญาใหม่ หากเห็นว่าสูตรไหนสามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ ก็จะส่งเสริมให้มีการจัดทำเป็นแฟรนไชส์ เพื่อต่อยอดทางธุรกิจออกไปสู่วงกว้างยิ่งขึ้น
นายกฤษฎา กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยมีการบริโภคน้ำผลไม้ต่อคนน้อยมาก เฉลี่ยแค่ 3 ลิตร/คน/ปี หรือปริมาณทั้งหมด 190 ลิตรเท่านั้น ทั้งที่เป็นเครื่องดื่มสุขภาพ ดื่มแล้วเป็นผลดีต่อร่างกาย
ดังนั้น กระทรวงจึงตั้งเป้าหมายที่จะรณรงค์ให้คนไทยดื่มน้ำผลไม้เพิ่มขึ้น เป็น 220 ลิตร/คน ภายในระยะเวลา 3 ปี โดยจะใช้คอนเซปต์ดื่มน้ำผลไม้ช่วยให้สุขภาพดี เพื่อให้เข้ากับกระแสนิยมด้านสุขภาพ ซึ่งทั่วโลกต่างก็ตื่นตัวในเรื่องนี้
การรณรงค์ให้คนไทยดื่มน้ำผลไม้นั้น นอกจากจะช่วยในเรื่องสุขภาพแล้ว ยังแก้ไขปัญหาให้กับผลไม้ที่มีปัญหาในด้านตลาดรองรับ และมักเกิดปัญหาสินค้าราคาตกต่ำในช่วงที่ผ่าน เมื่อเข้าสู่ฤดูผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันมาอย่างต่อเนื่องด้วย อาทิ เงาะ มังคุด ทุเรียน ลิ้นจี่ ลำไย ส้ม มะพร้าวน้ำหอม เป็นต้น นายกฤษฎา กล่าว
ทั้งนี้ มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 ก.ค. ที่ผ่านมา อนุมัติในหลักการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การบริโภคน้ำผลไม้ไทย โดยให้กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับภาคราชการและเอกชนดำเนินการตั้งแต่เดือน ส.ค. เป็นต้นไป
อิงกระแสสุขภาพ กระตุ้นผู้บริโภค เพิ่มช่องทางขาย
โพสต์ทูเดย์ พาณิชย์ โหมโรงคนไทยดื่มน้ำผลไม้ ดึงการบินไทย โรงแรม ภัตตาคาร เน้นเสิร์ฟเมนูน้ำผลไม้
นายกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น การบินไทยโรงพยาบาล โรงแรม ภัตตาคาร ห้างสรรพสินค้า ให้นำน้ำผลไม้ไปขาย และบริการมากขึ้น เป็นการเพิ่มช่องทางการบริโภค และการจำหน่ายให้คนไทยเข้าถึงเมนูน้ำผลไม้มากกว่าที่เป็นอยู่
การดึงหน่วยงานรัฐและเอกชน เข้าร่วมครั้งนี้ เป็นหนึ่งในแผนกระตุ้นให้คนไทยดื่มน้ำผลไม้ หลังจากที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มติเห็นชอบโครงการตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอมา
นอกจากนี้ จะกระตุ้นการดื่มน้ำผลไม้ผ่านโครงการธงฟ้า...ราคาโรงงาน และรถเข็นธงฟ้า
ขณะเดียวกันจะจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การประกวดน้ำผลไม้ การทำน้ำผลไม้ เมนูน้ำผลไม้ใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการนำผลไม้มาทำน้ำผลไม้ในลักษณะต่างๆ เพิ่มเติม
ตลอดจนส่งเสริมให้มีการจดลิขสิทธิ์เมนูน้ำผลไม้ ทั้งที่เป็นภูมิปัญญาเดิม และภูมิปัญญาใหม่ หากเห็นว่าสูตรไหนสามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ ก็จะส่งเสริมให้มีการจัดทำเป็นแฟรนไชส์ เพื่อต่อยอดทางธุรกิจออกไปสู่วงกว้างยิ่งขึ้น
นายกฤษฎา กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยมีการบริโภคน้ำผลไม้ต่อคนน้อยมาก เฉลี่ยแค่ 3 ลิตร/คน/ปี หรือปริมาณทั้งหมด 190 ลิตรเท่านั้น ทั้งที่เป็นเครื่องดื่มสุขภาพ ดื่มแล้วเป็นผลดีต่อร่างกาย
ดังนั้น กระทรวงจึงตั้งเป้าหมายที่จะรณรงค์ให้คนไทยดื่มน้ำผลไม้เพิ่มขึ้น เป็น 220 ลิตร/คน ภายในระยะเวลา 3 ปี โดยจะใช้คอนเซปต์ดื่มน้ำผลไม้ช่วยให้สุขภาพดี เพื่อให้เข้ากับกระแสนิยมด้านสุขภาพ ซึ่งทั่วโลกต่างก็ตื่นตัวในเรื่องนี้
การรณรงค์ให้คนไทยดื่มน้ำผลไม้นั้น นอกจากจะช่วยในเรื่องสุขภาพแล้ว ยังแก้ไขปัญหาให้กับผลไม้ที่มีปัญหาในด้านตลาดรองรับ และมักเกิดปัญหาสินค้าราคาตกต่ำในช่วงที่ผ่าน เมื่อเข้าสู่ฤดูผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันมาอย่างต่อเนื่องด้วย อาทิ เงาะ มังคุด ทุเรียน ลิ้นจี่ ลำไย ส้ม มะพร้าวน้ำหอม เป็นต้น นายกฤษฎา กล่าว
ทั้งนี้ มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 ก.ค. ที่ผ่านมา อนุมัติในหลักการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การบริโภคน้ำผลไม้ไทย โดยให้กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับภาคราชการและเอกชนดำเนินการตั้งแต่เดือน ส.ค. เป็นต้นไป
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/07/07
โพสต์ที่ 32
จำนำกุ้งขาดทุน1.8พันตันยังถูกฟรีซคาห้องเย็น
พาณิชย์เครียดกุ้งสต๊อกเก่าตามโครงการรับจำนำปี47-49 ยังระบายไม่หมด ถูกแช่แข็งคาห้องเย็นอยู่อีกเกือบ 2,000 ตัน ชี้หากระบายออกขาดทุนแน่ เพราะราคากุ้งตกต่ำ ส่วนของใหม่ต้องเปิดรับจำนำอีก 10,000 ตัน เดือนหน้า พ่อค้าชี้กุ้งฟรีซนานคุณภาพเสื่อม ปกติห้องเย็นหมุนเวียนสต๊อกแค่ 1-2 เดือน ด้านเกษตรกรจี้รัฐเร่งประกาศราคาจำนำด่วน
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงโครงการรับจำนำกุ้งว่าตั้งแต่ปี2547-2549 กระทรวงพาณิชย์ โดยองค์การคลังสินค้า (อคส.)ได้เปิดรับจำนำกุ้งรวมทั้งสิ้น 20,000 ตัน ถึงขณะนี้ยังคงมีปริมาณกุ้งจากโครงการรับจำนำดังกล่าวค้างอยู่ในสต๊อกรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,800 ตัน เนื่องจากเกษตรกรไม่มาไถ่ถอนซึ่งกระทรวงพาณิชย์ต้องทำหน้าที่ระบายออก
อย่างไรก็ดีกุ้งจำนวนนี้หากระบายออกต้องประสบปัญหาขาดทุนอย่างแน่นอน โดยขณะนี้ราคากุ้งที่ซื้อขายกันอยู่ในท้องตลาดต่ำกว่าราคากุ้งที่รับจำนำมาก เช่นกุ้งขาวขนาด 50ตัว/กก. อยู่ที่กก.ละ100 บาท ราคารับจำนำปี 48/49 กก.ละ 135 บาท ขนาด 60 ตัว/กก. ปัจจุบันกก.ละ 90 บาท ราคารับจำนำปี 48/49 กก.ละ 120 บาท เป็นต้น
"คณะกรรมการระบายสินค้ากุ้ง ต้องการที่จะระบายกุ้งจำนวนนี้ออกไป แต่ดูสถานการณ์ราคาแล้วคงต้องประสบปัญหาขาดทุนอย่างแน่นอน ที่สำคัญเป็นกุ้งเก่าค้างสต๊อกบางส่วนนานถึง 3-4 ปีแล้ว แต่ถ้ายังเก็บไว้ต่อไปก็ยิ่งทำให้อายุการเก็บรักษากุ้งนานยิ่งขึ้น คุณภาพกุ้งจะยิ่งเสื่อมสภาพมากขึ้น ดูแล้วกุ้งจำนวนนี้หากจะระบายออกไปเป็นเรื่องที่น่าหนักใจพอสมควร" แหล่งข่าวกล่าวและว่าอย่างไรก็ดีเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.)ได้มีมติให้กระทรวงพาณิชย์รับจำนำกุ้งอีกจำนวน 10,000 ตัน เริ่มสิงหาคม-ตุลาคม
นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ที่ปรึกษาสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่าปกติการเก็บรักษากุ้งสต๊อกไว้ในห้องเย็นสามารถเก็บได้นานสุด 2 ปี แน่เนื่องจากกุ้งเป็นสินค้าส่งออกที่ลูกค้าผู้นำเข้าให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพมาก ประกอบกับเพื่อลดต้นทุนที่ผ่านมาจึงไม่มีผู้ส่งออกรายใดใช้กุ้งที่เก็บไว้นานเป็นปี กุ้งที่ผู้ส่งออกไทยใช้ทำการส่งออกเก็บไว้ในสต๊อกนานสุดแค่ 2-3 เดือน ที่สำคัญกุ้งจากโครงการจำนำเป็นสินค้าของรัฐบาลผู้ประกอบการไม่ได้เป็นเจ้าของการดูแลรักษาคุณภาพจึงยังไม่ดีพอยิ่งเก็บไว้นานมากเชื่อว่าเสื่อมคุณภาพแน่
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2238
พาณิชย์เครียดกุ้งสต๊อกเก่าตามโครงการรับจำนำปี47-49 ยังระบายไม่หมด ถูกแช่แข็งคาห้องเย็นอยู่อีกเกือบ 2,000 ตัน ชี้หากระบายออกขาดทุนแน่ เพราะราคากุ้งตกต่ำ ส่วนของใหม่ต้องเปิดรับจำนำอีก 10,000 ตัน เดือนหน้า พ่อค้าชี้กุ้งฟรีซนานคุณภาพเสื่อม ปกติห้องเย็นหมุนเวียนสต๊อกแค่ 1-2 เดือน ด้านเกษตรกรจี้รัฐเร่งประกาศราคาจำนำด่วน
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงโครงการรับจำนำกุ้งว่าตั้งแต่ปี2547-2549 กระทรวงพาณิชย์ โดยองค์การคลังสินค้า (อคส.)ได้เปิดรับจำนำกุ้งรวมทั้งสิ้น 20,000 ตัน ถึงขณะนี้ยังคงมีปริมาณกุ้งจากโครงการรับจำนำดังกล่าวค้างอยู่ในสต๊อกรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,800 ตัน เนื่องจากเกษตรกรไม่มาไถ่ถอนซึ่งกระทรวงพาณิชย์ต้องทำหน้าที่ระบายออก
อย่างไรก็ดีกุ้งจำนวนนี้หากระบายออกต้องประสบปัญหาขาดทุนอย่างแน่นอน โดยขณะนี้ราคากุ้งที่ซื้อขายกันอยู่ในท้องตลาดต่ำกว่าราคากุ้งที่รับจำนำมาก เช่นกุ้งขาวขนาด 50ตัว/กก. อยู่ที่กก.ละ100 บาท ราคารับจำนำปี 48/49 กก.ละ 135 บาท ขนาด 60 ตัว/กก. ปัจจุบันกก.ละ 90 บาท ราคารับจำนำปี 48/49 กก.ละ 120 บาท เป็นต้น
"คณะกรรมการระบายสินค้ากุ้ง ต้องการที่จะระบายกุ้งจำนวนนี้ออกไป แต่ดูสถานการณ์ราคาแล้วคงต้องประสบปัญหาขาดทุนอย่างแน่นอน ที่สำคัญเป็นกุ้งเก่าค้างสต๊อกบางส่วนนานถึง 3-4 ปีแล้ว แต่ถ้ายังเก็บไว้ต่อไปก็ยิ่งทำให้อายุการเก็บรักษากุ้งนานยิ่งขึ้น คุณภาพกุ้งจะยิ่งเสื่อมสภาพมากขึ้น ดูแล้วกุ้งจำนวนนี้หากจะระบายออกไปเป็นเรื่องที่น่าหนักใจพอสมควร" แหล่งข่าวกล่าวและว่าอย่างไรก็ดีเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.)ได้มีมติให้กระทรวงพาณิชย์รับจำนำกุ้งอีกจำนวน 10,000 ตัน เริ่มสิงหาคม-ตุลาคม
นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ที่ปรึกษาสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่าปกติการเก็บรักษากุ้งสต๊อกไว้ในห้องเย็นสามารถเก็บได้นานสุด 2 ปี แน่เนื่องจากกุ้งเป็นสินค้าส่งออกที่ลูกค้าผู้นำเข้าให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพมาก ประกอบกับเพื่อลดต้นทุนที่ผ่านมาจึงไม่มีผู้ส่งออกรายใดใช้กุ้งที่เก็บไว้นานเป็นปี กุ้งที่ผู้ส่งออกไทยใช้ทำการส่งออกเก็บไว้ในสต๊อกนานสุดแค่ 2-3 เดือน ที่สำคัญกุ้งจากโครงการจำนำเป็นสินค้าของรัฐบาลผู้ประกอบการไม่ได้เป็นเจ้าของการดูแลรักษาคุณภาพจึงยังไม่ดีพอยิ่งเก็บไว้นานมากเชื่อว่าเสื่อมคุณภาพแน่
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2238
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news31/07/07
โพสต์ที่ 33
ทิศทางวัตถุดิบอาหารสัตว์...แนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 13:25:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : องค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้ข้าวโพดอาหารสัตว์เพื่อทำเอทธานอลของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นจาก 55 ล้านตันในปี 2549 ที่ผ่านมา เป็น 110 ล้านตันในปี 2559 และปริมาณถั่วเหลืองเพื่อทำไบโอดีเซลจะเพิ่มขึ้นจาก 2 ล้านตันในปีที่ผ่านมา เป็น 2.3 ล้านตันในปี 2553 ซึ่งเมื่อรวมกับความต้องการเอทธานอลและไบโอดีเซลในสหภาพยุโรป บราซิล และจีน จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของราคาธัญพืช โดยคาดว่าราคาธัญพืชในตลาดโลกจะอยู่ในระดับสูงอีกนับ 10 ปี
ข้าวโพดอาหารสัตว์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ประมาณการผลผลิต ในปีการผลิต 2549/50 ผลิตได้ 3.6 ล้านตัน แนวโน้มปีนี้น่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.8 ล้านตัน เติบโตคิดเป็น 5.5% ขณะที่ความต้องการด้านอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ปี 2549 อยู่ที่ 3.7 ล้านตัน และน่าจะยังคงที่ที่ 3.7 ล้านตัน ในปี 2550 การส่งออกในปี 2549 มีปริมาณ 6 แสนตัน และคาดว่าปี 2550 จะมีการส่งออก 5 แสนตัน
นอกจากนี้ ในปี 2549 ข้าวโพดอาหารสัตว์มีราคาแพงมาก จึงมีการนำมันเส้นเข้ามาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทน โดยประมาณการใช้ 1.5 แสนตัน แต่ก็สามารถช่วยเหลือได้เพียงบางส่วน ราคาข้าวโพดอาหารสัตว์เฉลี่ยทั้งฤดูกาลปี 2549/50 อยู่ที่ 7.12 บาท/กิโลกรัม และคาดการณ์ราคาโดยเฉลี่ยในปี 2550/51 ไว้ที่ราคา 7.00 บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ราคาตลาดโลกเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาข้าวโพด ที่ผู้เกี่ยวข้องต้องนำไปวิเคราะห์ต่อไป
ในส่วนของกากถั่วเหลือง จากผลผลิตถั่วเหลืองในสหรัฐอเมริกา ผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก ที่ถูกข้าวโพดอาหารสัตว์ดึงในส่วนของพื้นที่การเพาะปลูก เนื่องจากความต้องการใช้ในเรื่องของพลังงานที่เข้ามามีผลกระทบนั้น ในปีใหม่นี้กากถั่วเหลืองที่ได้จากตัวถั่วเหลืองจึงน่าจะมีผลผลิตลดลง โดยเฉพาะอเมริกาจะลดลงโดยเฉลี่ย 15% ซึ่งจะส่งผลให้ราคากากถั่วเหลืองมีการปรับตัวสูงขึ้น
ขณะเดียวกัน อัตราค่าขนส่ง หรือค่าระวางเรือ จากประเทศผู้ผลิตในต่างประเทศมาถึงประเทศไทย จากปกติจะอยู่ที่ประมาณ 30-40 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน แต่สถานการณ์ที่ผ่านมามีการปรับฐานขึ้นมาเป็น 50-60 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือเพิ่มขึ้น 40% ส่งผลให้กากถั่วเหลืองที่ได้จากเมล็ดถั่วเหลืองนำเข้ามีราคาสูงขึ้น โดยราคาเฉลี่ยปี 2549/50 อยู่ที่ 10.60 บาท/กิโลกรัม และคาดว่าในปี 2550/51 ราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ 11.60 บาท/กิโลกรัม
ด้านปลาป่น สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย คาดการณ์ผลผลิตปลาป่น ซึ่งแต่ละปีจะมีการผลิตปลาป่นได้ประมาณ 5 แสนตัน ขณะที่ปริมาณความต้องการใช้ลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาผลผลิตของการเลี้ยงกุ้ง และการส่งออกกุ้ง โดยครึ่งแรกของปี 2549 ราคาตลาดโลกอยู่ในระดับที่สูงมาก ทำให้มีการส่งออกปลาป่นไทยได้มาก แต่ในครึ่งปีหลัง การส่งออกได้น้อยลง ขณะที่ในช่วงเดือนมิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม มีการจับปลาได้มากขึ้น ทำให้ราคาอ่อนตัวลง รวมแล้วในปี 2549 มีการส่งออกปลาป่นได้รวม 72,000 ตัน และปี 2550 ตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยครึ่งปีแรก 2550 มีการส่งออกไปแล้ว 67,000 ตัน และมีสต็อกในโรงงานปลาป่น ประมาณ 20,000 ตัน คาดว่าทั้งปี น่าจะส่งออกได้รวม 100,000 ตัน
สำหรับราคาปลาป่นโดยเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมาพบว่าปี 2546 ราคาเฉลี่ย 20 บาท/กิโลกรัม ปี 2547 ราคาเฉลี่ย 22.88 บาท/กิโลกรัม ปี 2548 ราคาเฉลี่ย 21.75 บาท/กิโลกรัม ปี 2549 ราคาเฉลี่ย 27 บาท/กิโลกรัม และปี 2550 ราคาเฉลี่ย 22.91 บาท/กิโลกรัม จะเห็นได้ว่า ราคาเฉลี่ยในปี 2549 สูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นผลจากราคาในตลาดโลกที่สูงขึ้นมาก แต่ในปี 2550 ราคาลดลง แต่ก็นับว่ายังอยู่ในระดับที่สูงโดยเฉลี่ยเท่าปีก่อนๆ แม้จะต้องเผชิญกับเหตุปัจจัยจากอัตราแลกเปลี่ยน และภาวะการส่งออกกุ้งที่ลดลงก็ตาม
ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/3 ... wsid=86923
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 13:25:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : องค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้ข้าวโพดอาหารสัตว์เพื่อทำเอทธานอลของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นจาก 55 ล้านตันในปี 2549 ที่ผ่านมา เป็น 110 ล้านตันในปี 2559 และปริมาณถั่วเหลืองเพื่อทำไบโอดีเซลจะเพิ่มขึ้นจาก 2 ล้านตันในปีที่ผ่านมา เป็น 2.3 ล้านตันในปี 2553 ซึ่งเมื่อรวมกับความต้องการเอทธานอลและไบโอดีเซลในสหภาพยุโรป บราซิล และจีน จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของราคาธัญพืช โดยคาดว่าราคาธัญพืชในตลาดโลกจะอยู่ในระดับสูงอีกนับ 10 ปี
ข้าวโพดอาหารสัตว์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ประมาณการผลผลิต ในปีการผลิต 2549/50 ผลิตได้ 3.6 ล้านตัน แนวโน้มปีนี้น่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.8 ล้านตัน เติบโตคิดเป็น 5.5% ขณะที่ความต้องการด้านอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ปี 2549 อยู่ที่ 3.7 ล้านตัน และน่าจะยังคงที่ที่ 3.7 ล้านตัน ในปี 2550 การส่งออกในปี 2549 มีปริมาณ 6 แสนตัน และคาดว่าปี 2550 จะมีการส่งออก 5 แสนตัน
นอกจากนี้ ในปี 2549 ข้าวโพดอาหารสัตว์มีราคาแพงมาก จึงมีการนำมันเส้นเข้ามาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทน โดยประมาณการใช้ 1.5 แสนตัน แต่ก็สามารถช่วยเหลือได้เพียงบางส่วน ราคาข้าวโพดอาหารสัตว์เฉลี่ยทั้งฤดูกาลปี 2549/50 อยู่ที่ 7.12 บาท/กิโลกรัม และคาดการณ์ราคาโดยเฉลี่ยในปี 2550/51 ไว้ที่ราคา 7.00 บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ราคาตลาดโลกเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาข้าวโพด ที่ผู้เกี่ยวข้องต้องนำไปวิเคราะห์ต่อไป
ในส่วนของกากถั่วเหลือง จากผลผลิตถั่วเหลืองในสหรัฐอเมริกา ผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก ที่ถูกข้าวโพดอาหารสัตว์ดึงในส่วนของพื้นที่การเพาะปลูก เนื่องจากความต้องการใช้ในเรื่องของพลังงานที่เข้ามามีผลกระทบนั้น ในปีใหม่นี้กากถั่วเหลืองที่ได้จากตัวถั่วเหลืองจึงน่าจะมีผลผลิตลดลง โดยเฉพาะอเมริกาจะลดลงโดยเฉลี่ย 15% ซึ่งจะส่งผลให้ราคากากถั่วเหลืองมีการปรับตัวสูงขึ้น
ขณะเดียวกัน อัตราค่าขนส่ง หรือค่าระวางเรือ จากประเทศผู้ผลิตในต่างประเทศมาถึงประเทศไทย จากปกติจะอยู่ที่ประมาณ 30-40 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน แต่สถานการณ์ที่ผ่านมามีการปรับฐานขึ้นมาเป็น 50-60 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือเพิ่มขึ้น 40% ส่งผลให้กากถั่วเหลืองที่ได้จากเมล็ดถั่วเหลืองนำเข้ามีราคาสูงขึ้น โดยราคาเฉลี่ยปี 2549/50 อยู่ที่ 10.60 บาท/กิโลกรัม และคาดว่าในปี 2550/51 ราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ 11.60 บาท/กิโลกรัม
ด้านปลาป่น สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย คาดการณ์ผลผลิตปลาป่น ซึ่งแต่ละปีจะมีการผลิตปลาป่นได้ประมาณ 5 แสนตัน ขณะที่ปริมาณความต้องการใช้ลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาผลผลิตของการเลี้ยงกุ้ง และการส่งออกกุ้ง โดยครึ่งแรกของปี 2549 ราคาตลาดโลกอยู่ในระดับที่สูงมาก ทำให้มีการส่งออกปลาป่นไทยได้มาก แต่ในครึ่งปีหลัง การส่งออกได้น้อยลง ขณะที่ในช่วงเดือนมิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม มีการจับปลาได้มากขึ้น ทำให้ราคาอ่อนตัวลง รวมแล้วในปี 2549 มีการส่งออกปลาป่นได้รวม 72,000 ตัน และปี 2550 ตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยครึ่งปีแรก 2550 มีการส่งออกไปแล้ว 67,000 ตัน และมีสต็อกในโรงงานปลาป่น ประมาณ 20,000 ตัน คาดว่าทั้งปี น่าจะส่งออกได้รวม 100,000 ตัน
สำหรับราคาปลาป่นโดยเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมาพบว่าปี 2546 ราคาเฉลี่ย 20 บาท/กิโลกรัม ปี 2547 ราคาเฉลี่ย 22.88 บาท/กิโลกรัม ปี 2548 ราคาเฉลี่ย 21.75 บาท/กิโลกรัม ปี 2549 ราคาเฉลี่ย 27 บาท/กิโลกรัม และปี 2550 ราคาเฉลี่ย 22.91 บาท/กิโลกรัม จะเห็นได้ว่า ราคาเฉลี่ยในปี 2549 สูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นผลจากราคาในตลาดโลกที่สูงขึ้นมาก แต่ในปี 2550 ราคาลดลง แต่ก็นับว่ายังอยู่ในระดับที่สูงโดยเฉลี่ยเท่าปีก่อนๆ แม้จะต้องเผชิญกับเหตุปัจจัยจากอัตราแลกเปลี่ยน และภาวะการส่งออกกุ้งที่ลดลงก็ตาม
ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/3 ... wsid=86923
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news01/08/07
โพสต์ที่ 34
ธุรกิจน้ำตาลอาการหนัก
โพสต์ทูเดย์ ยอดฟื้นฟูกิจการ 5 เดือนแรกสูงลิ่ว 2.58 หมื่นล้านบาท โรงงานน้ำตาลแห่ฟื้นฟูกิจการสูงสุด ทุนทรัพย์รวม 2.3 หมื่นล้านบาท
รายงานข่าวจากสำนักงานฟื้นฟูกิจการ กรมบังคับคดี เปิดเผยว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ศาลล้มละลายกลางมีการรับคำร้องให้ฟื้นฟูกิจการ 45 คดี ทุนทรัพย์รวม 2.58 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่ามีธุรกิจโรงงานน้ำตาลได้ยื่นขอให้ศาลสั่งฟื้นฟูกิจการมากที่สุดจำนวน 4 แห่ง คิดเป็นทุนทรัพย์รวม 2.34 หมื่นล้านบาท
สำหรับโรงงานน้ำตาลที่ยื่นขอฟื้นฟูกิจการประกอบด้วยบริษัท น้ำตาลวังขนาย ทุนทรัพย์ 2.94 พันล้านบาท, บริษัท น้ำตาลมหาวัง ทุนทรัพย์ 4 พันล้านบาท, บริษัท น้ำตาลรีไฟน์ชัยมงคล 4.18 พันล้านบาท และบริษัท โรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดม 1.23 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ หากรวมในปี 2549 เข้าไปด้วยจะพบว่ามีบริษัทโรงงานน้ำตาลที่ขอยื่นฟื้นฟูกิจการอีกจำนวน 3 แห่ง ทุนทรัพย์รวม 3.3 หมื่นล้านบาท ได้แก่ บริษัท น้ำตาลนครเพชร ทุนทรัพย์ 8.88 พันล้านบาท, บริษัท น้ำตาลบ้านโป่ง ทุนทรัพย์ 2.21 หมื่นล้านบาท, บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ 1.98 พันล้านบาท
รายงานข่าวระบุว่า สาเหตุที่ทำให้โรงงานน้ำตาลประสบปัญหาเป็นหนี้เสีย เนื่องจากที่ผ่านมาไร้ประสิทธิภาพทั้งด้านผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณต่ำ ประกอบกับราคาน้ำตาลในโลกตกต่ำ รวมทั้งมีการนำเงินไปลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก และปัญหาการขาดทุน
ก่อนหน้านี้ นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ปัจจุบันธนาคารอยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการหนี้กลุ่มโรงงานน้ำตาล 2 กลุ่มคือ กลุ่มบ้านโป่งซึ่งมีโรงงานน้ำตาลนครเพชรรวมอยู่ด้วยเป็นมูลหนี้ 6 พันล้านบาท คาดว่าจะฟื้นฟูกิจการแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2550
ขณะที่ในปี 2551 จะมีการเสนอให้ฟื้นฟูกิจการอีก 1 กลุ่มคือ โรงงานน้ำตาลเริ่มอุดม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างยื่นคำร้องเพื่อขอฟื้นฟูกิจการมูลหนี้ 6 พันล้านบาท
ธนาคารพยายามที่จะให้ความช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง เช่น การอนุมัติวงเงินหมุนเวียนหรือยืดระยะเวลาในการชำระหนี้ นายสุวรรณ กล่าว
นายสุวรรณ ยังกล่าวว่า นอกจากนี้ ธนาคารยังเป็นห่วงว่าลูกค้ากลุ่มผู้ส่งออก เช่น กลุ่มอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่เริ่มส่งสัญญาณมีปัญหาการผ่อนชำระหนี้บ้าง ทำให้ธนาคารพยายามดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาก่อนจะกลายเป็นหนี้เอ็นพีแอล ขณะเดียวกันธนาคารได้กันสำรองหนี้ครบตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด
ขณะที่ นายอติภัฒน์ อัศวจินดา ผู้บริหารฝ่ายบริหารคุณภาพสินทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย ก็ยอมรับว่า ธนาคารกำลังอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้โรงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ และกลุ่มนครเพชรมูลหนี้รวม 2 พันล้านบาทเศษ
สำหรับผลการดำเนินงานในรอบ 5 เดือนแรก ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ 166 คดี คิดเป็นทุนทรัพย์ 6.12 แสนล้านบาท คดีคงค้าง 184 คดี คิดเป็นทุนทรัพย์ 5.9 แสนล้านบาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=182225
โพสต์ทูเดย์ ยอดฟื้นฟูกิจการ 5 เดือนแรกสูงลิ่ว 2.58 หมื่นล้านบาท โรงงานน้ำตาลแห่ฟื้นฟูกิจการสูงสุด ทุนทรัพย์รวม 2.3 หมื่นล้านบาท
รายงานข่าวจากสำนักงานฟื้นฟูกิจการ กรมบังคับคดี เปิดเผยว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ศาลล้มละลายกลางมีการรับคำร้องให้ฟื้นฟูกิจการ 45 คดี ทุนทรัพย์รวม 2.58 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่ามีธุรกิจโรงงานน้ำตาลได้ยื่นขอให้ศาลสั่งฟื้นฟูกิจการมากที่สุดจำนวน 4 แห่ง คิดเป็นทุนทรัพย์รวม 2.34 หมื่นล้านบาท
สำหรับโรงงานน้ำตาลที่ยื่นขอฟื้นฟูกิจการประกอบด้วยบริษัท น้ำตาลวังขนาย ทุนทรัพย์ 2.94 พันล้านบาท, บริษัท น้ำตาลมหาวัง ทุนทรัพย์ 4 พันล้านบาท, บริษัท น้ำตาลรีไฟน์ชัยมงคล 4.18 พันล้านบาท และบริษัท โรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดม 1.23 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ หากรวมในปี 2549 เข้าไปด้วยจะพบว่ามีบริษัทโรงงานน้ำตาลที่ขอยื่นฟื้นฟูกิจการอีกจำนวน 3 แห่ง ทุนทรัพย์รวม 3.3 หมื่นล้านบาท ได้แก่ บริษัท น้ำตาลนครเพชร ทุนทรัพย์ 8.88 พันล้านบาท, บริษัท น้ำตาลบ้านโป่ง ทุนทรัพย์ 2.21 หมื่นล้านบาท, บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ 1.98 พันล้านบาท
รายงานข่าวระบุว่า สาเหตุที่ทำให้โรงงานน้ำตาลประสบปัญหาเป็นหนี้เสีย เนื่องจากที่ผ่านมาไร้ประสิทธิภาพทั้งด้านผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณต่ำ ประกอบกับราคาน้ำตาลในโลกตกต่ำ รวมทั้งมีการนำเงินไปลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก และปัญหาการขาดทุน
ก่อนหน้านี้ นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ปัจจุบันธนาคารอยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการหนี้กลุ่มโรงงานน้ำตาล 2 กลุ่มคือ กลุ่มบ้านโป่งซึ่งมีโรงงานน้ำตาลนครเพชรรวมอยู่ด้วยเป็นมูลหนี้ 6 พันล้านบาท คาดว่าจะฟื้นฟูกิจการแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2550
ขณะที่ในปี 2551 จะมีการเสนอให้ฟื้นฟูกิจการอีก 1 กลุ่มคือ โรงงานน้ำตาลเริ่มอุดม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างยื่นคำร้องเพื่อขอฟื้นฟูกิจการมูลหนี้ 6 พันล้านบาท
ธนาคารพยายามที่จะให้ความช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง เช่น การอนุมัติวงเงินหมุนเวียนหรือยืดระยะเวลาในการชำระหนี้ นายสุวรรณ กล่าว
นายสุวรรณ ยังกล่าวว่า นอกจากนี้ ธนาคารยังเป็นห่วงว่าลูกค้ากลุ่มผู้ส่งออก เช่น กลุ่มอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่เริ่มส่งสัญญาณมีปัญหาการผ่อนชำระหนี้บ้าง ทำให้ธนาคารพยายามดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาก่อนจะกลายเป็นหนี้เอ็นพีแอล ขณะเดียวกันธนาคารได้กันสำรองหนี้ครบตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด
ขณะที่ นายอติภัฒน์ อัศวจินดา ผู้บริหารฝ่ายบริหารคุณภาพสินทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย ก็ยอมรับว่า ธนาคารกำลังอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้โรงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ และกลุ่มนครเพชรมูลหนี้รวม 2 พันล้านบาทเศษ
สำหรับผลการดำเนินงานในรอบ 5 เดือนแรก ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ 166 คดี คิดเป็นทุนทรัพย์ 6.12 แสนล้านบาท คดีคงค้าง 184 คดี คิดเป็นทุนทรัพย์ 5.9 แสนล้านบาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=182225
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news02/08/07
โพสต์ที่ 35
มิตรผลตั้งรง.น้ำตาลในลาว
โดย มติชน วัน พฤหัสบดี ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550 11:23 น.
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทขยายการลงทุนสู่คาบสมุทรอินโดจีน โดยได้รับสัมปทานพื้นที่ 62,500 ไร่ จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อพัฒนาพื้นที่ปลูกอ้อยและสร้างโรงงานน้ำตาลมิตรลาว
http://news.sanook.com/economic/economic_164426.php
โดย มติชน วัน พฤหัสบดี ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550 11:23 น.
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทขยายการลงทุนสู่คาบสมุทรอินโดจีน โดยได้รับสัมปทานพื้นที่ 62,500 ไร่ จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อพัฒนาพื้นที่ปลูกอ้อยและสร้างโรงงานน้ำตาลมิตรลาว
http://news.sanook.com/economic/economic_164426.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/08/07
โพสต์ที่ 36
ยูเออีไฟเขียวนำเข้าไก่ต้มสุกฮาลาลจากไทย
3 สิงหาคม พ.ศ. 2550 15:38:00
ยูเออีไฟเขียวนำเข้าไก่ต้มสุกฮาลาลไทย และอีก 5 ประเทศสมาชิกตะวันออกกลางยอมรับ 24 โรงเชือด 36 โรงงานแปรรูปได้เฮปีนี้คาดการณ์ส่งออกได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ตัน
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการที่คณะผู้บริหารสภาเทศบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) นำโดย Mr.Jassim Mohammed bin Darwish เลขาธิการสภาเทศบาลยูเออี ได้เดินทางมาตรวจประเมินระบบรับรองฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ล่าสุดสภาเทศบาลยูเออีได้มีมติรับรองตราฮาลาลของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยแล้ว
ขณะเดียวกัน ยังให้การรับรองโรงเชือดไก่ที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม (ฮาลาล) จำนวน 24 โรงงาน และโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ของไทยอีก 36 โรงงาน โดยยูเออีได้อนุญาตให้ไทยสามารถส่งออกไก่ต้มสุกฮาลาลไปยังยูเออีได้แล้ว ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป การตรวจรับรองของยูเออีนี้ ถือเป็นการตรวจรับรองตามมาตรฐานของประเทศกลุ่มอ่าวอาหรับ (จีซีซี) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกในตะวันออกกลาง จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ ยูเออี ซาอุดีอาระเบีย การ์ตา คูเวต โอมาน และบาห์เรน ซึ่งมีข้อตกลงร่วมกันว่า หากประเทศใดผ่านการตรวจรับรองจากประเทศสมาชิกใดสมาชิกหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าสามารถส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอื่น ๆ ในกลุ่มได้
ดังนั้น จึงเป็นโอกาสดีของไทยที่สามารถส่งออกไก่ต้มสุกฮาลาลไปยัง 6 ประเทศดังกล่าวได้ ซึ่งในปี 2550 คาดว่าไทยจะส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มตะวันออกกลางได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 700 ล้านบาท และปีถัดไปคาดว่ามูลค่าการส่งออกจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 3,500 ล้านบาท
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/0 ... wsid=87613
3 สิงหาคม พ.ศ. 2550 15:38:00
ยูเออีไฟเขียวนำเข้าไก่ต้มสุกฮาลาลไทย และอีก 5 ประเทศสมาชิกตะวันออกกลางยอมรับ 24 โรงเชือด 36 โรงงานแปรรูปได้เฮปีนี้คาดการณ์ส่งออกได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ตัน
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการที่คณะผู้บริหารสภาเทศบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) นำโดย Mr.Jassim Mohammed bin Darwish เลขาธิการสภาเทศบาลยูเออี ได้เดินทางมาตรวจประเมินระบบรับรองฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ล่าสุดสภาเทศบาลยูเออีได้มีมติรับรองตราฮาลาลของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยแล้ว
ขณะเดียวกัน ยังให้การรับรองโรงเชือดไก่ที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม (ฮาลาล) จำนวน 24 โรงงาน และโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ของไทยอีก 36 โรงงาน โดยยูเออีได้อนุญาตให้ไทยสามารถส่งออกไก่ต้มสุกฮาลาลไปยังยูเออีได้แล้ว ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป การตรวจรับรองของยูเออีนี้ ถือเป็นการตรวจรับรองตามมาตรฐานของประเทศกลุ่มอ่าวอาหรับ (จีซีซี) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกในตะวันออกกลาง จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ ยูเออี ซาอุดีอาระเบีย การ์ตา คูเวต โอมาน และบาห์เรน ซึ่งมีข้อตกลงร่วมกันว่า หากประเทศใดผ่านการตรวจรับรองจากประเทศสมาชิกใดสมาชิกหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าสามารถส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอื่น ๆ ในกลุ่มได้
ดังนั้น จึงเป็นโอกาสดีของไทยที่สามารถส่งออกไก่ต้มสุกฮาลาลไปยัง 6 ประเทศดังกล่าวได้ ซึ่งในปี 2550 คาดว่าไทยจะส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มตะวันออกกลางได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 700 ล้านบาท และปีถัดไปคาดว่ามูลค่าการส่งออกจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 3,500 ล้านบาท
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/0 ... wsid=87613
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news04/08/07
โพสต์ที่ 37
กสิกรไทยชี้หลายปัจจัยดันราคาปาล์มน้ำมันพุ่งสูงสุดในรอบ 10 ปี
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 4 สิงหาคม 2550 13:27 น.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุราคาปาล์มน้ำมันปีนี้พุ่งขึ้นสูงที่สุดในรอบ 10 ปี ไปอยู่ที่ 4.46 บาทต่อกิโลกรัม ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เนื่องจากมีหลายปัจจัยหนุน ทั้งผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ลดลง การขยายกำลังผลิตของโรงงานแปรรูปและนโยบายส่งเสริมไบโอดีเซล ส่งผลให้หน่วยงานรัฐต้องส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้น
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ราคาผลปาล์มน้ำมันทั้งทะลายพุ่งสูงที่สุดในรอบสิบปี โดยพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2549 ซึ่งในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ราคาผลปาล์มน้ำมันพุ่งขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 4.46 บาท จากที่เคยอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 2.74 บาท ปัจจุบันราคารับซื้อผลปาล์มน้ำมันหน้าโรงงานขยับขึ้นไปอยู่ที่ 4.40-4.70 บาท ส่งผลกระทบต่อเนื่องทั้งตลาดน้ำมันบริโภคและโครงการผลิตไบโอดีเซล เนื่องจากต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทำให้เริ่มมีการตั้งเป้าหมายขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อให้มีปาล์มน้ำมันเพียงพอทั้งสำหรับตลาดน้ำมันบริโภคและการผลิตไบโอดีเซล
ปัจจัยที่ผลักดันราคาปาล์มน้ำมันสูงขึ้น มาจากปัจจัยหลักทั้งภายในและภายนอกประเทศ ประกอบด้วย ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เข้าสู่ตลาดลดลงประมาณร้อยละ 30 โรงงานแปรรูปปาล์มน้ำมันกว่าร้อยละ 60 ขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น นโยบายการส่งเสริมไบโอดีเซลของภาครัฐ ปัญหาความไม่สงบในชายแดนใต้ ทำให้การนำเข้าน้ำมันปาล์มจากมาเลเซียทั้งเข้ามาอย่างถูกต้องและไม่ถูกต้องลดจำนวนลงเป็นอย่างมาก การส่งออกน้ำมันปาล์มของไทยเพิ่มขึ้น ในช่วงครึ่งแรกปี 2550 ปริมาณการส่งออกน้ำมันปาล์มเท่ากับ 146,792 ตัน มูลค่า 3,319 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.1 เท่าตัวและ 2.9 เท่าตัวตามลำดับ ส่วนปัจจัยภายนอกประเทศ เพราะความต้องการใช้น้ำมันปาล์มที่เพิ่มขึ้นจากจีน ปากีสถาน และอินเดีย รัฐบาลมาเลเซียคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการคาดการณ์ว่าน้ำมันพืชทั่วโลกจะประสบภาวะขาดแคลน
จากราคาปาล์มน้ำมันที่พุ่งขึ้นสูงที่สุดในรอบสิบปี ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งน้ำมันปาล์มบรรจุขวดและอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์ม โดยผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นไว้ เนื่องจากภาวะการแข่งขันที่รุนแรง และภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค แนวทางออกของผู้ประกอบการคือการปรับตัวโดยการปรับประสิทธิภาพการผลิตและพยายามขยายฐานการตลาดเพื่อเพิ่มปริมาณยอดการจำหน่าย ขณะเดียวกันจากการศึกษาวิจัยโครงการน้ำมันไบโอดีเซล ราคาผลปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมควรจะไม่เกินกิโลกรัมละ 2.50 บาท อุตสาหกรรมผลิตไบโอดีเซลก็เป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการที่ราคาผลปาล์มน้ำมันพุ่งสูงขึ้น ซึ่งผลกระทบจะแตกต่างกันระหว่างผู้ผลิตไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์และผู้ผลิตไบโอดีเซลชุมชน
ทั้งนี้ ความต้องการน้ำมันปาล์มที่สูงขึ้นทั้งในส่วนของน้ำมันบริโภคและน้ำมันไบโอดีเซลทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพลังงานต้องปรับแผนการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการ อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องต้องการให้ภาครัฐบาลเข้ามาจัดสรรโควตาน้ำมันปาล์มระหว่างอุตสาหกรรมน้ำมันบริโภคและน้ำมันไบโอดีเซล และจัดสรรโควตาการนำเข้าในกรณีที่ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาการแย่งผลผลิตปาล์มน้ำมันในอนาคต
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000091073
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 4 สิงหาคม 2550 13:27 น.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุราคาปาล์มน้ำมันปีนี้พุ่งขึ้นสูงที่สุดในรอบ 10 ปี ไปอยู่ที่ 4.46 บาทต่อกิโลกรัม ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เนื่องจากมีหลายปัจจัยหนุน ทั้งผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ลดลง การขยายกำลังผลิตของโรงงานแปรรูปและนโยบายส่งเสริมไบโอดีเซล ส่งผลให้หน่วยงานรัฐต้องส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้น
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ราคาผลปาล์มน้ำมันทั้งทะลายพุ่งสูงที่สุดในรอบสิบปี โดยพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2549 ซึ่งในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ราคาผลปาล์มน้ำมันพุ่งขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 4.46 บาท จากที่เคยอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 2.74 บาท ปัจจุบันราคารับซื้อผลปาล์มน้ำมันหน้าโรงงานขยับขึ้นไปอยู่ที่ 4.40-4.70 บาท ส่งผลกระทบต่อเนื่องทั้งตลาดน้ำมันบริโภคและโครงการผลิตไบโอดีเซล เนื่องจากต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทำให้เริ่มมีการตั้งเป้าหมายขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อให้มีปาล์มน้ำมันเพียงพอทั้งสำหรับตลาดน้ำมันบริโภคและการผลิตไบโอดีเซล
ปัจจัยที่ผลักดันราคาปาล์มน้ำมันสูงขึ้น มาจากปัจจัยหลักทั้งภายในและภายนอกประเทศ ประกอบด้วย ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เข้าสู่ตลาดลดลงประมาณร้อยละ 30 โรงงานแปรรูปปาล์มน้ำมันกว่าร้อยละ 60 ขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น นโยบายการส่งเสริมไบโอดีเซลของภาครัฐ ปัญหาความไม่สงบในชายแดนใต้ ทำให้การนำเข้าน้ำมันปาล์มจากมาเลเซียทั้งเข้ามาอย่างถูกต้องและไม่ถูกต้องลดจำนวนลงเป็นอย่างมาก การส่งออกน้ำมันปาล์มของไทยเพิ่มขึ้น ในช่วงครึ่งแรกปี 2550 ปริมาณการส่งออกน้ำมันปาล์มเท่ากับ 146,792 ตัน มูลค่า 3,319 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.1 เท่าตัวและ 2.9 เท่าตัวตามลำดับ ส่วนปัจจัยภายนอกประเทศ เพราะความต้องการใช้น้ำมันปาล์มที่เพิ่มขึ้นจากจีน ปากีสถาน และอินเดีย รัฐบาลมาเลเซียคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการคาดการณ์ว่าน้ำมันพืชทั่วโลกจะประสบภาวะขาดแคลน
จากราคาปาล์มน้ำมันที่พุ่งขึ้นสูงที่สุดในรอบสิบปี ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งน้ำมันปาล์มบรรจุขวดและอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์ม โดยผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นไว้ เนื่องจากภาวะการแข่งขันที่รุนแรง และภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค แนวทางออกของผู้ประกอบการคือการปรับตัวโดยการปรับประสิทธิภาพการผลิตและพยายามขยายฐานการตลาดเพื่อเพิ่มปริมาณยอดการจำหน่าย ขณะเดียวกันจากการศึกษาวิจัยโครงการน้ำมันไบโอดีเซล ราคาผลปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมควรจะไม่เกินกิโลกรัมละ 2.50 บาท อุตสาหกรรมผลิตไบโอดีเซลก็เป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการที่ราคาผลปาล์มน้ำมันพุ่งสูงขึ้น ซึ่งผลกระทบจะแตกต่างกันระหว่างผู้ผลิตไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์และผู้ผลิตไบโอดีเซลชุมชน
ทั้งนี้ ความต้องการน้ำมันปาล์มที่สูงขึ้นทั้งในส่วนของน้ำมันบริโภคและน้ำมันไบโอดีเซลทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพลังงานต้องปรับแผนการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการ อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องต้องการให้ภาครัฐบาลเข้ามาจัดสรรโควตาน้ำมันปาล์มระหว่างอุตสาหกรรมน้ำมันบริโภคและน้ำมันไบโอดีเซล และจัดสรรโควตาการนำเข้าในกรณีที่ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาการแย่งผลผลิตปาล์มน้ำมันในอนาคต
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000091073
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news06/08/07
โพสต์ที่ 38
"รากหญ้า"ซมพิษบาทแข็ง วิตกราคาสินค้าเกษตรกรวูบ รับเอกชนลดเป้าส่งออกข้าว
นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ ชี้อุตสาหกรรมบางประเภท เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ขีดความสามารถแข่งขันสูง แม้ "บาทแข็ง"วิตกหากเงินบาทแข็งค่าอีกส่งผลต่อราคาสินค้าเกษตรแน่ เผยส่งออกข้าวปี'50 หลุดเป้าจากคาดการณ์ 8.5 เหลือ 8 ล้านตัน
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวว่า การที่กระทรวงพาณิชย์จะปรับประมาณการส่งออกปี 2550 ใหม่ โดยจะให้เติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 เห็นว่าภาพรวมการส่งออกปีนี้จะสามารถเติบโตได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 เนื่องจากอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ยังสามารถแข่งขันตามการแข็งค่าของเงินบาทขณะนี้ได้ แต่อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น สินค้าภาคการเกษตรคงจะได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนและคงมีปัญหาที่ไม่สามารถส่งออกได้ตรงตามเป้าหมายปีนี้ได้
เช่น เป้าหมายการส่งออกข้าวปี 2550 จากครึ่งปีแรก คาดว่าภาพรวมการส่งออกข้าวทั้งปีจะอยู่ที่ 8.5 ล้านตัน แต่จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่า ทางสมาคมผู้ส่งออกข้าวฯ จึงมีการประเมินตัวเลขการส่งออกข้าวปีนี้น่าจะส่งออกได้เพียง 8 ล้านตันเท่านั้น ดังนั้น จึงอยากให้รัฐบาลดูแลค่าเงินบาทอย่าให้ผันผวนมากเกินไป และควรอยู่ในระดับที่ 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะเหมาะสม หากแข็งค่าเฉลี่ยที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าเป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่แพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้แข่งขันยาก จึงอยากให้ภาครัฐดูแล เพราะต่อจากนี้ไปสินค้าภาคการเกษตรจะออกสู่ตลาดปริมาณมาก จึงเป็นสิ่งที่ภาครัฐจะนิ่งนอนใจไม่ได้
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีที่นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เตรียมทบทวนประมาณตัวเลขการส่งออกปี 2550 ใหม่ เป็นร้อยละ 15 จากเดิมคาดการณ์ว่าจะเติบโตเฉลี่ยทั้งปีร้อยละ 12.5 หรือคิดเป็นมูลค่า 145,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเห็นว่าการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ มีอัตราการเติบโตสูง เฉลี่ยโตร้อยละ 18 หรือคิดเป็นมูลค่า 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากตัวเลขฐานการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้คาดว่าครึ่งปีหลังจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้การส่งออกเฉลี่ยทั้งปีเติบโตได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 แต่ยอมรับว่าค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าในระดับปัจจุบันที่ 33.50-34.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมรายเล็กของไทยต้องมีการปรับตัว ส่วนอุตสาหกรรมรายใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ คอมพิวเตอร์ จะสามารถรับกับสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่าไปได้ระยะหนึ่ง
นายประมนต์ กล่าวอีกว่า หากค่าเงินบาทยังแข็งค่า อุตสาหกรรมทั้งระบบในระยะยาวจะต้องปรับปรุงโครงสร้างรองรับการแข่งขัน และต้องยอมเสียตลาดด้วยการขึ้นราคาสินค้าส่งออก เพื่อให้กิจการอยู่รอด เอกชนรับตัวเลขการส่งออกร้อยละ 15 แต่ภาครัฐต้องหามาตรการที่ทำให้ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยวันที่6สิงหาคม จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ซึ่งประเด็นสำคัญที่จะหารือในที่ประชุม คือ แนวทางการใช้เงินสนับสนุนผ่านกองทุนเอสเอ็มอี 5,000 ล้านบาท ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เห็นชอบแล้ว แต่ทาง กกร.จะลงไปดูว่าจะมีการใช้เงินเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจอย่างไร และการชำระระบบธุรกิจที่เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยประเด็นดังกล่าวยังติดขัดในเรื่องกฎหมายที่จะต้องทำความเข้าใจ และเสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมอีกครั้งในวันเดียวกัน
http://www.naewna.com/news.asp?ID=70305
นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ ชี้อุตสาหกรรมบางประเภท เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ขีดความสามารถแข่งขันสูง แม้ "บาทแข็ง"วิตกหากเงินบาทแข็งค่าอีกส่งผลต่อราคาสินค้าเกษตรแน่ เผยส่งออกข้าวปี'50 หลุดเป้าจากคาดการณ์ 8.5 เหลือ 8 ล้านตัน
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวว่า การที่กระทรวงพาณิชย์จะปรับประมาณการส่งออกปี 2550 ใหม่ โดยจะให้เติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 เห็นว่าภาพรวมการส่งออกปีนี้จะสามารถเติบโตได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 เนื่องจากอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ยังสามารถแข่งขันตามการแข็งค่าของเงินบาทขณะนี้ได้ แต่อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น สินค้าภาคการเกษตรคงจะได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนและคงมีปัญหาที่ไม่สามารถส่งออกได้ตรงตามเป้าหมายปีนี้ได้
เช่น เป้าหมายการส่งออกข้าวปี 2550 จากครึ่งปีแรก คาดว่าภาพรวมการส่งออกข้าวทั้งปีจะอยู่ที่ 8.5 ล้านตัน แต่จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่า ทางสมาคมผู้ส่งออกข้าวฯ จึงมีการประเมินตัวเลขการส่งออกข้าวปีนี้น่าจะส่งออกได้เพียง 8 ล้านตันเท่านั้น ดังนั้น จึงอยากให้รัฐบาลดูแลค่าเงินบาทอย่าให้ผันผวนมากเกินไป และควรอยู่ในระดับที่ 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะเหมาะสม หากแข็งค่าเฉลี่ยที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าเป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่แพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้แข่งขันยาก จึงอยากให้ภาครัฐดูแล เพราะต่อจากนี้ไปสินค้าภาคการเกษตรจะออกสู่ตลาดปริมาณมาก จึงเป็นสิ่งที่ภาครัฐจะนิ่งนอนใจไม่ได้
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีที่นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เตรียมทบทวนประมาณตัวเลขการส่งออกปี 2550 ใหม่ เป็นร้อยละ 15 จากเดิมคาดการณ์ว่าจะเติบโตเฉลี่ยทั้งปีร้อยละ 12.5 หรือคิดเป็นมูลค่า 145,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเห็นว่าการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ มีอัตราการเติบโตสูง เฉลี่ยโตร้อยละ 18 หรือคิดเป็นมูลค่า 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากตัวเลขฐานการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้คาดว่าครึ่งปีหลังจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้การส่งออกเฉลี่ยทั้งปีเติบโตได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 แต่ยอมรับว่าค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าในระดับปัจจุบันที่ 33.50-34.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมรายเล็กของไทยต้องมีการปรับตัว ส่วนอุตสาหกรรมรายใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ คอมพิวเตอร์ จะสามารถรับกับสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่าไปได้ระยะหนึ่ง
นายประมนต์ กล่าวอีกว่า หากค่าเงินบาทยังแข็งค่า อุตสาหกรรมทั้งระบบในระยะยาวจะต้องปรับปรุงโครงสร้างรองรับการแข่งขัน และต้องยอมเสียตลาดด้วยการขึ้นราคาสินค้าส่งออก เพื่อให้กิจการอยู่รอด เอกชนรับตัวเลขการส่งออกร้อยละ 15 แต่ภาครัฐต้องหามาตรการที่ทำให้ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยวันที่6สิงหาคม จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ซึ่งประเด็นสำคัญที่จะหารือในที่ประชุม คือ แนวทางการใช้เงินสนับสนุนผ่านกองทุนเอสเอ็มอี 5,000 ล้านบาท ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เห็นชอบแล้ว แต่ทาง กกร.จะลงไปดูว่าจะมีการใช้เงินเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจอย่างไร และการชำระระบบธุรกิจที่เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยประเด็นดังกล่าวยังติดขัดในเรื่องกฎหมายที่จะต้องทำความเข้าใจ และเสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมอีกครั้งในวันเดียวกัน
http://www.naewna.com/news.asp?ID=70305
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news06/08/07
โพสต์ที่ 39
พิษเศรษฐกิจซบทำยอดขายร้านอาหารหดกว่าร้อยละ 40
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 สิงหาคม 2550 18:40 น.
นายกสมาคมภัตตาคารไทยยอมรับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้ร้านอาหารไทยทั่วประเทศลดลงร้อยละ 40 แถมต้นทุนสูง ทำให้รายได้ไม่พอรายจ่าย ด้านนายกสมาคมโรงแรมไทยระบุปัญหาความปลอดภัยและปัญหาต่าง ๆ คาดว่าจะส่งผลต่อนักท่องเที่ยวปีนี้ลดลงจากที่คาดไว้ร้อยละ 15 และเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวชั้นดี
นางปวรวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยในงานแถลงข่าวการจัดงานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีด้านอาหาร เครื่องดื่ม โรงแรม และค้าปลีก และบริการต่าง ๆ ครั้งที่ 15 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-8 กันยายนนี้ ที่สยามพารากอน โดยระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในร้านอาหารไทยทั้งประเทศลดลงร้อยละ 40 ผู้ประกอบการที่ใช้เงินจากสถาบันการเงินได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากวัตถุดิบแพง แต่ค่าจ้างแรงงานเท่าเดิม ทำให้รายได้ไม่พอรายจ่าย จึงมีการปิดตัวจำนวนมาก ทั้งยังมีผู้ประกอบการไทยต้องการไปเปิดร้านอาหารไทยในต่างประเทศมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันประเทศไทยยังมีปัญหาความไม่ชัดเจนของ พ.ร.บ.การโฆษณาเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และปัญหาลิขสิทธิ์เพลงที่เจ้าของค่ายเน้นการออกจับ เพื่อให้ผู้ประกอบการจ่ายเงินค่ายอมความ โดยตั้งกำแพงการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ที่สูงเกินไปและหลากหลายค่ายเกินไป
นายชนินทร์ โทณวณิก นายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า ปัญหาความปลอดภัย เศรษฐกิจ ภาพพจน์ของประเทศ และปัญหาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต่างรุมเร้าธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยวอย่างมาก คาดว่านักท่องเที่ยวปีนี้จะลดลงจากที่คาดไว้ร้อยละ 15 ล่าสุดมีสัญญาณว่าสายการบินขนาดใหญ่ในยุโรปจะลดเที่ยวบินมาประเทศไทยภายใน 1-2 เดือนนี้ อาทิ ลุฟท์ฮันซ่า สวิสแอร์ และแควนตัส เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับสนามบินยังไม่ได้รับการแก้ไขและมีค่าใช้จ่ายในการลงจอดสูง ทำให้สมาคมโรงแรมไทยกังวลอย่างมาก เพราะนักท่องเที่ยวชั้นดีจะหายไปจำนวนมาก โดยทั้งหมดประกาศจะบินไปบาหลีและเวียดนามโดยตรง ไม่ใช้ไทยเป็นศูนย์กลางอีกต่อไป ซึ่งรัฐบาลทราบแล้วแต่ไม่แก้ไข เพราะให้ความสำคัญเรื่องอื่นมากกว่า ส่วนการมี 2 สนามบินนั้น ทำให้เกิดปัญหานักท่องเที่ยวลดลงเช่นกัน เพราะใช้เวลาบินนานขึ้น โดยเฉพาะฮ่องกง-เชียงใหม่ ปกติใช้เวลาเดินทางเพียง 2 ชั่วโมง เพิ่มเป็น 8 ชั่วโมง เนื่องจากการบินไทยยกเลิกบินตรงฮ่องกง-เชียงใหม่ โดยยอดนักท่องเที่ยวในจังหวัดสำคัญ อาทิ เชียงใหม่ลดลงร้อยละ 20 หาดใหญ่มีนักท่องเที่ยวเข้าพักในโรงแรมเพียงร้อยละ 10 แม้ภูเก็ตจะดีขึ้น แต่ทำให้ภาพรวมทั้งปีย่ำแย่
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000091913
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 สิงหาคม 2550 18:40 น.
นายกสมาคมภัตตาคารไทยยอมรับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้ร้านอาหารไทยทั่วประเทศลดลงร้อยละ 40 แถมต้นทุนสูง ทำให้รายได้ไม่พอรายจ่าย ด้านนายกสมาคมโรงแรมไทยระบุปัญหาความปลอดภัยและปัญหาต่าง ๆ คาดว่าจะส่งผลต่อนักท่องเที่ยวปีนี้ลดลงจากที่คาดไว้ร้อยละ 15 และเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวชั้นดี
นางปวรวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยในงานแถลงข่าวการจัดงานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีด้านอาหาร เครื่องดื่ม โรงแรม และค้าปลีก และบริการต่าง ๆ ครั้งที่ 15 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-8 กันยายนนี้ ที่สยามพารากอน โดยระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในร้านอาหารไทยทั้งประเทศลดลงร้อยละ 40 ผู้ประกอบการที่ใช้เงินจากสถาบันการเงินได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากวัตถุดิบแพง แต่ค่าจ้างแรงงานเท่าเดิม ทำให้รายได้ไม่พอรายจ่าย จึงมีการปิดตัวจำนวนมาก ทั้งยังมีผู้ประกอบการไทยต้องการไปเปิดร้านอาหารไทยในต่างประเทศมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันประเทศไทยยังมีปัญหาความไม่ชัดเจนของ พ.ร.บ.การโฆษณาเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และปัญหาลิขสิทธิ์เพลงที่เจ้าของค่ายเน้นการออกจับ เพื่อให้ผู้ประกอบการจ่ายเงินค่ายอมความ โดยตั้งกำแพงการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ที่สูงเกินไปและหลากหลายค่ายเกินไป
นายชนินทร์ โทณวณิก นายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า ปัญหาความปลอดภัย เศรษฐกิจ ภาพพจน์ของประเทศ และปัญหาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต่างรุมเร้าธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยวอย่างมาก คาดว่านักท่องเที่ยวปีนี้จะลดลงจากที่คาดไว้ร้อยละ 15 ล่าสุดมีสัญญาณว่าสายการบินขนาดใหญ่ในยุโรปจะลดเที่ยวบินมาประเทศไทยภายใน 1-2 เดือนนี้ อาทิ ลุฟท์ฮันซ่า สวิสแอร์ และแควนตัส เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับสนามบินยังไม่ได้รับการแก้ไขและมีค่าใช้จ่ายในการลงจอดสูง ทำให้สมาคมโรงแรมไทยกังวลอย่างมาก เพราะนักท่องเที่ยวชั้นดีจะหายไปจำนวนมาก โดยทั้งหมดประกาศจะบินไปบาหลีและเวียดนามโดยตรง ไม่ใช้ไทยเป็นศูนย์กลางอีกต่อไป ซึ่งรัฐบาลทราบแล้วแต่ไม่แก้ไข เพราะให้ความสำคัญเรื่องอื่นมากกว่า ส่วนการมี 2 สนามบินนั้น ทำให้เกิดปัญหานักท่องเที่ยวลดลงเช่นกัน เพราะใช้เวลาบินนานขึ้น โดยเฉพาะฮ่องกง-เชียงใหม่ ปกติใช้เวลาเดินทางเพียง 2 ชั่วโมง เพิ่มเป็น 8 ชั่วโมง เนื่องจากการบินไทยยกเลิกบินตรงฮ่องกง-เชียงใหม่ โดยยอดนักท่องเที่ยวในจังหวัดสำคัญ อาทิ เชียงใหม่ลดลงร้อยละ 20 หาดใหญ่มีนักท่องเที่ยวเข้าพักในโรงแรมเพียงร้อยละ 10 แม้ภูเก็ตจะดีขึ้น แต่ทำให้ภาพรวมทั้งปีย่ำแย่
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000091913
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news07/08/07
โพสต์ที่ 40
จัดระเบียบไก่ สั่งขึ้นทะเบียน ผู้เลี้ยงทั่วปท.
โพสต์ทูเดย์ สั่งขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงไก่ทั่วประเทศ หวังใช้เป็นฐานข้อมูลดูแลธุรกิจไก่ทั้งระบบ
นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดแนวทางการผลิตและการตลาดไข่ไก่และผลิตภัณฑ์ (บอร์ดไข่ไก่) มีมติให้ขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั่วประเทศให้แล้วเสร็จใน 1 เดือน เริ่มวันที่ 20 ส.ค.เป็นต้นไป
การดำเนินงาน ให้ปศุสัตว์จังหวัดร่วมมือกับผู้เลี้ยงในพื้นที่ และตัวแทนเกษตรกร เป็นกรรมการร่วมตรวจสอบขึ้นทะเบียน ป้องกันปัญหาแจ้งข้อมูลไม่ตรงความจริง ซึ่งหลังจากนี้จะทำให้ทราบจำนวนผู้เลี้ยงไก่พันธุ์และลูกทั้งหมด เพื่อใช้บริหารนโยบายครอบคลุมการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
การขึ้นทะเบียนจะมีมาตรการจูงใจ โดยผู้ที่ยอมขึ้นทะเบียนจะได้รับสิทธิชดเชยและช่วยเหลือกรณีเกิดภัยพิบัติ ทั้งจากภัยธรรมชาติและโรคระบาดเป็นลำดับแรก ได้รับสนับสนุนเรื่องระบบผลิตและการตลาดจากสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ กรณีเป็นผู้เลี้ยงน้อยกว่า 5 พันตัว ปศุสัตว์จะเข้าไปดูแลตรวจโรคอย่างสม่ำเสมอ และจะได้รับความช่วยเหลือจากสมาคมพัฒนาธุรกิจไก่ไข่ในด้านต่างๆ ด้วย
นายยุคล กล่าวต่อว่า กรมปศุสัตว์จะตรวจสอบโรงงานผู้เพาะพันธุ์ไก่ไข่ปีละ 2 ครั้ง ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่จะตรวจสอบปีละ 1 ครั้ง ผู้เลี้ยงจะต้องแจ้งด้วยว่า ได้ซื้อไก่พันธุ์จากแหล่งใด เพื่อสะดวกในการตรวจสอบ
เกษตรกรรายย่อยที่ต้องการพัฒนาฟาร์มให้ได้มาตรฐาน ได้ขออนุมัติจาก คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ขยายเวลาโครงการชดเชยดอกเบี้ย 2% กับธนาคารเอสเอ็มอี วงเงิน 5 พันล้านบาท ไปจนถึงปี 2554 จากเดิมหมดอายุโครงการปี 2551
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=183463
โพสต์ทูเดย์ สั่งขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงไก่ทั่วประเทศ หวังใช้เป็นฐานข้อมูลดูแลธุรกิจไก่ทั้งระบบ
นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดแนวทางการผลิตและการตลาดไข่ไก่และผลิตภัณฑ์ (บอร์ดไข่ไก่) มีมติให้ขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั่วประเทศให้แล้วเสร็จใน 1 เดือน เริ่มวันที่ 20 ส.ค.เป็นต้นไป
การดำเนินงาน ให้ปศุสัตว์จังหวัดร่วมมือกับผู้เลี้ยงในพื้นที่ และตัวแทนเกษตรกร เป็นกรรมการร่วมตรวจสอบขึ้นทะเบียน ป้องกันปัญหาแจ้งข้อมูลไม่ตรงความจริง ซึ่งหลังจากนี้จะทำให้ทราบจำนวนผู้เลี้ยงไก่พันธุ์และลูกทั้งหมด เพื่อใช้บริหารนโยบายครอบคลุมการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
การขึ้นทะเบียนจะมีมาตรการจูงใจ โดยผู้ที่ยอมขึ้นทะเบียนจะได้รับสิทธิชดเชยและช่วยเหลือกรณีเกิดภัยพิบัติ ทั้งจากภัยธรรมชาติและโรคระบาดเป็นลำดับแรก ได้รับสนับสนุนเรื่องระบบผลิตและการตลาดจากสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ กรณีเป็นผู้เลี้ยงน้อยกว่า 5 พันตัว ปศุสัตว์จะเข้าไปดูแลตรวจโรคอย่างสม่ำเสมอ และจะได้รับความช่วยเหลือจากสมาคมพัฒนาธุรกิจไก่ไข่ในด้านต่างๆ ด้วย
นายยุคล กล่าวต่อว่า กรมปศุสัตว์จะตรวจสอบโรงงานผู้เพาะพันธุ์ไก่ไข่ปีละ 2 ครั้ง ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่จะตรวจสอบปีละ 1 ครั้ง ผู้เลี้ยงจะต้องแจ้งด้วยว่า ได้ซื้อไก่พันธุ์จากแหล่งใด เพื่อสะดวกในการตรวจสอบ
เกษตรกรรายย่อยที่ต้องการพัฒนาฟาร์มให้ได้มาตรฐาน ได้ขออนุมัติจาก คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ขยายเวลาโครงการชดเชยดอกเบี้ย 2% กับธนาคารเอสเอ็มอี วงเงิน 5 พันล้านบาท ไปจนถึงปี 2554 จากเดิมหมดอายุโครงการปี 2551
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=183463
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news07/08/07
โพสต์ที่ 41
กุ้งไทย-สินค้าประมงอนาคตสดใส ญี่ปุ่นซูฮก-คาดมูลค่าเพิ่ม6พันล้าน
นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ตามที่กรมประมงและภาคเอกชนของไทยได้เข้าร่วมงาน The 9th Japan International Seafood & Technology Expo ระหว่างวันที่ 18-20 กรกฎาคม ที่ผ่านมา รวมถึงได้จัดงานประชาสัมพันธ์เสริมสร้างภาพลักษณ์และสร้างความเชื่อมั่นในสินค้ากุ้งและสินค้าประมงอื่นๆ โดยเปิดโอกาสให้ผู้นำเข้าญี่ปุ่นได้พบปะเจรจาธุรกิจกับผู้ส่งออกของไทย ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากบริษัทผู้นำเข้าสินค้าประมงของญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ทั้งในส่วนสินค้ากุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง กุ้งแปรรูป รวมถึงกุ้งก้ามกรามด้วย ประกอบกับสถานการณ์การค้าสินค้าสัตว์น้ำระหว่างญี่ปุ่นกับจีน และเวียดนาม กำลังประสบปัญหาเรื่องสุขอนามัยอาหาร และมีการตรวจพบยาปฏิชีวนะในสินค้าประมงจากทั้ง 2 ประเทศ ทำให้ผู้บริโภคญี่ปุ่นหันมาให้ความสนใจสินค้าประมงจากไทยมากขึ้น
"ญี่ปุ่นเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัยในสินค้าประมงจากไทยมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้ากุ้ง จึงเป็นโอกาสอันดีแก่ไทยที่จะใช้ช่วงจังหวะดังกล่าวขยายการส่งออกสินค้าประมงไปยังญี่ปุ่นได้มากยิ่งขึ้น โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าประมงของไทยไปญี่ปุ่น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้ากุ้งจะเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 5,000-6,000 ล้านบาท จากเดิมที่มีการส่งออกมูลค่ากว่า 40,000 ล้านบาท ในช่วงปีที่ผ่านมา" รองอธิบดีกรมประมง กล่าว
http://www.naewna.com/news.asp?ID=70428
นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ตามที่กรมประมงและภาคเอกชนของไทยได้เข้าร่วมงาน The 9th Japan International Seafood & Technology Expo ระหว่างวันที่ 18-20 กรกฎาคม ที่ผ่านมา รวมถึงได้จัดงานประชาสัมพันธ์เสริมสร้างภาพลักษณ์และสร้างความเชื่อมั่นในสินค้ากุ้งและสินค้าประมงอื่นๆ โดยเปิดโอกาสให้ผู้นำเข้าญี่ปุ่นได้พบปะเจรจาธุรกิจกับผู้ส่งออกของไทย ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากบริษัทผู้นำเข้าสินค้าประมงของญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ทั้งในส่วนสินค้ากุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง กุ้งแปรรูป รวมถึงกุ้งก้ามกรามด้วย ประกอบกับสถานการณ์การค้าสินค้าสัตว์น้ำระหว่างญี่ปุ่นกับจีน และเวียดนาม กำลังประสบปัญหาเรื่องสุขอนามัยอาหาร และมีการตรวจพบยาปฏิชีวนะในสินค้าประมงจากทั้ง 2 ประเทศ ทำให้ผู้บริโภคญี่ปุ่นหันมาให้ความสนใจสินค้าประมงจากไทยมากขึ้น
"ญี่ปุ่นเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัยในสินค้าประมงจากไทยมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้ากุ้ง จึงเป็นโอกาสอันดีแก่ไทยที่จะใช้ช่วงจังหวะดังกล่าวขยายการส่งออกสินค้าประมงไปยังญี่ปุ่นได้มากยิ่งขึ้น โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าประมงของไทยไปญี่ปุ่น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้ากุ้งจะเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 5,000-6,000 ล้านบาท จากเดิมที่มีการส่งออกมูลค่ากว่า 40,000 ล้านบาท ในช่วงปีที่ผ่านมา" รองอธิบดีกรมประมง กล่าว
http://www.naewna.com/news.asp?ID=70428
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news09/08/07
โพสต์ที่ 42
จักรมนฑ์ค้าน ขึ้นราคาน้ำตาล อุ้มกองทุนอ้อย
โพสต์ทูเดย์ จักรมณฑ์ ค้านปรับราคาน้ำตาลทรายให้สูงขึ้นเพิ่มเพื่อเพิ่มรายได้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงฯ ไม่พิจารณาให้มีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายให้กับกองทุนอ้อยน้ำตาลทราย (กท.) แม้ว่าขณะนี้มีแนวโน้มว่ากองทุนอ้อยน้ำตาลทราย (กท.) จะต้องกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เพิ่มอีกประมาณ 9 พันล้านบาท เพื่อนำมาจ่ายคืนกับโรงงานน้ำตาลตามกฎหมาย ในกรณีที่ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายต่ำกว่าขั้นต้น ทั้งที่ กท.เป็นหนี้อยู่แล้ว 1.5 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันหากอิงราคาตลาดโลกซึ่งราคาน้ำตาลในตลาดโลกอยู่ในช่วงขาลง
ก่อนหน้านี้มีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายมาแล้ว กก.ละ 3 บาท เพราะขณะนั้นราคาต่างประเทศสูงกว่าในประเทศมาก ทำให้น้ำตาลขาดแคลนเพราะไหลออก แต่วันนี้ราคาน้ำตาลทรายตลาดโลกค่อนข้างต่ำหากดูราคาขายปลีกในไทยแล้วต้องปรับลง แต่ตอนนี้มีปัญหาว่าราคาอ้อยขั้นต้น 2549/50 ถูกกำหนดอยู่ที่ 800 บาทต่อตัน และที่ผ่านมาก็เคยเสนอลอยตัวราคาแต่บางฝ่ายก็ไม่เห็นด้วย นายจักรมณฑ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นมีแนวโน้มค่อนข้างชัดเจนว่าราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปี 2549/50 ที่จะต้องประกาศในช่วงปลายปีนี้จะต่ำกว่าขั้นต้นประมาณ 100 บาทต่อตัน ซึ่งตามกฎหมาย กท.ต้องรับภาระจ่ายหนี้คืนโรงงานที่ได้จ่ายค่าอ้อยแก่ชาวไร่ที่เกินไปก่อนหน้าแล้ว
นายจักรมณฑ์ กล่าวว่า จาก ปัญหาดังกล่าวจะทำให้หนี้กองทุนอ้อยมีสูงกว่า 2 หมื่นล้านบาท จึงมีความ น่าเป็นห่วงในอุตสาหกรรมนี้ในระยะยาวที่เกษตรกรจะต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มอีก
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=183954
โพสต์ทูเดย์ จักรมณฑ์ ค้านปรับราคาน้ำตาลทรายให้สูงขึ้นเพิ่มเพื่อเพิ่มรายได้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงฯ ไม่พิจารณาให้มีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายให้กับกองทุนอ้อยน้ำตาลทราย (กท.) แม้ว่าขณะนี้มีแนวโน้มว่ากองทุนอ้อยน้ำตาลทราย (กท.) จะต้องกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เพิ่มอีกประมาณ 9 พันล้านบาท เพื่อนำมาจ่ายคืนกับโรงงานน้ำตาลตามกฎหมาย ในกรณีที่ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายต่ำกว่าขั้นต้น ทั้งที่ กท.เป็นหนี้อยู่แล้ว 1.5 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันหากอิงราคาตลาดโลกซึ่งราคาน้ำตาลในตลาดโลกอยู่ในช่วงขาลง
ก่อนหน้านี้มีการปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายมาแล้ว กก.ละ 3 บาท เพราะขณะนั้นราคาต่างประเทศสูงกว่าในประเทศมาก ทำให้น้ำตาลขาดแคลนเพราะไหลออก แต่วันนี้ราคาน้ำตาลทรายตลาดโลกค่อนข้างต่ำหากดูราคาขายปลีกในไทยแล้วต้องปรับลง แต่ตอนนี้มีปัญหาว่าราคาอ้อยขั้นต้น 2549/50 ถูกกำหนดอยู่ที่ 800 บาทต่อตัน และที่ผ่านมาก็เคยเสนอลอยตัวราคาแต่บางฝ่ายก็ไม่เห็นด้วย นายจักรมณฑ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นมีแนวโน้มค่อนข้างชัดเจนว่าราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปี 2549/50 ที่จะต้องประกาศในช่วงปลายปีนี้จะต่ำกว่าขั้นต้นประมาณ 100 บาทต่อตัน ซึ่งตามกฎหมาย กท.ต้องรับภาระจ่ายหนี้คืนโรงงานที่ได้จ่ายค่าอ้อยแก่ชาวไร่ที่เกินไปก่อนหน้าแล้ว
นายจักรมณฑ์ กล่าวว่า จาก ปัญหาดังกล่าวจะทำให้หนี้กองทุนอ้อยมีสูงกว่า 2 หมื่นล้านบาท จึงมีความ น่าเป็นห่วงในอุตสาหกรรมนี้ในระยะยาวที่เกษตรกรจะต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มอีก
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=183954
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news10/08/07
โพสต์ที่ 43
น้ำตาลไทยในภาวะอุปทานน้ำตาลโลกล้นตลาด
8 สิงหาคม พ.ศ. 2550 10:34:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งด้านการสร้างงานในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม รวมทั้งการสร้างรายได้จากการส่งออก ซึ่งในปีที่ผ่านมา ไทยเป็นประเทศที่มีการส่งออกน้ำตาลมากเป็นอันดับสามของโลก รองจากบราซิลและออสเตรเลีย โดยผลผลิตน้ำตาล 60-70% ได้ถูกส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ สำหรับในปี 2550 ราคาน้ำตาลในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี อันเป็นผลมาจากการมีอุปทานน้ำตาลเพิ่มขึ้นมาก ขณะที่ อุปสงค์ยังเติบโตอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้รายได้จากการส่งออกน้ำตาลของไทยเพิ่มขึ้นไม่มากเท่าที่ควร เฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ที่เงินบาทมีค่าแข็งขึ้นเช่นในปัจจุบัน จะยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยให้มีมากขึ้น ขณะที่ ต้นทุนการผลิตน้ำตาลของไทยอยู่ในระดับสูงกว่าประเทศผู้ผลิตที่สำคัญอื่นๆ ท่ามกลางภาวะการแข่งขันทางการค้าที่เป็นไปอย่างรุนแรง
น้ำตาลโลกอุปทานล้นตลาด
ในปีการเพาะปลูก 2549/50 การผลิตน้ำตาลโดยรวมในตลาดโลกมีปริมาณ 161.51 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2548/49 5.72% อันเป็นผลมาจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูงในปีที่ผ่านมา โดยมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 15.52 เซนต์ต่อปอนด์ สูงกว่าราคาน้ำตาลเฉลี่ยในปีก่อนหน้าถึง 36.5% ทำให้ประเทศผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่หลายประเทศเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกอ้อยเพื่อให้สามารถผลิตน้ำตาลเพื่อการส่งออกได้มากขึ้น จึงทำให้อุปทานน้ำตาลในตลาดโลกมีมากขึ้น ขณะที่ความต้องการน้ำตาลในตลาดโลกยังเพิ่มขึ้นไม่มากนัก คือมีประมาณ 153 ล้านตัน ส่งผลให้มีปริมาณน้ำตาลส่วนเกินในตลาดโลกมากถึง 8.5 ล้านตัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการกดดันราคาน้ำตาลในตลาดโลกในปีนี้ให้ปรับตัวลดลง
บราซิล เป็นประเทศที่มีการผลิตและส่งออกน้ำตาลมากเป็นอันดับ 1 ในตลาดโลก โดยในปี 2549/50 มีการผลิตน้ำตาล 31.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 26.8 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 17.9% จากปีที่ผ่านมา ทำให้คาดว่าในปีนี้บราซิลจะสามารถส่งออกน้ำตาลได้เพิ่มมากขึ้นประมาณ 2 ล้านตัน บราซิล นอกจากจะเป็นประเทศผู้นำในการผลิตและส่งออกน้ำตาลแล้ว ยังเป็นผู้นำในการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลโดยตรง ขณะนี้บราซิลมีปริมาณการใช้เอทานอลภายในประเทศ 300 ล้านลิตรต่อเดือน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้บราซิลเร่งเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกอ้อยขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลผลิตอ้อยไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทนปัจจุบัน บราซิลได้ใช้ผลผลิตอ้อย 51% ของผลผลิตทั้งหมดในการผลิตเอททานอล สำหรับในปี 2551 คาดว่า บราซิลอาจใช้ผลผลิตอ้อยถึง 55% ในการผลิตเอทานอล
อินเดีย เป็นประเทศผู้ผลิตและบริโภคน้ำตาลรายใหญ่ของโลก โดยมีปริมาณการผลิตมากเป็นอันดับสองรองจากบราซิล ปริมาณการผลิตน้ำตาลของอินเดีย จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะมีอิทธิพลต่อความเคลื่อนไหวของราคาน้ำตาลในตลาดโลก แม้ว่า การส่งออกของอินเดียในแต่ละปี จะมีปริมาณไม่มากนักจากการบริโภคน้ำตาลภายในประเทศซึ่งอยู่ในระดับสูง ในปีการผลิต 2549/50 อินเดียมีปริมาณการผลิตน้ำตาลในประเทศมากถึง 27 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 35% จาก 20 ล้านตันในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้อินเดียมีปริมาณน้ำตาลเหลือพอสำหรับการส่งออกในปีนี้ หลังจากที่ได้หยุดส่งออกไปเมื่อปีที่ผ่านมา เพราะปริมาณน้ำตาลในประเทศมีไม่เพียงพอ การมีอุปทานน้ำตาลส่วนเกินอยู่ในระดับสูงในปีนี้ ทางการอินเดียจึงประกาศให้เงินสนับสนุนผู้ส่งออก ในการผลักดันให้มีการส่งออกน้ำตาลไปยังตลาดโลกมากขึ้น เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลล้นตลาดภายในประเทศ ภาวะการณ์ดังกล่าว เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กดดันให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกลดลง
ออสเตรเลีย เป็นประเทศที่เป็นทั้งผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของโลกอีกประเทศหนึ่ง จากความได้เปรียบในการมีพื้นที่ทางการเกษตรขนาดใหญ่ แต่ในปีการผลิต 2549/50 พื้นที่เพาะปลูกอ้อยของออสเตรเลียได้รับความเสียหายจากพายุไซโคลนและการระบาดของโรคพืช ทำให้ผลผลิตอ้อยมีปริมาณลดลงมาก ส่งผลให้การผลิตน้ำตาลมีปริมาณลดลงเหลือเพียง 4.8 ล้านตัน หรือลดลง 7.6% จากปีที่ผ่านมา ทำให้คาดกันว่าออสเตรเลียอาจจะสูญเสียตำแหน่งการเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับสองให้กับไทยในปี 2550 นี้ สำหรับในปี 2550/51 คาดว่า ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลของออสเตรเลียจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ไทย ได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลเป็นอันดับสามของโลกในปี 2549 แม้ว่าการผลิตน้ำตาลของไทยในแต่ละปีจะมีปริมาณไม่มากนัก แต่เนื่องจากปริมาณการบริโภคในประเทศที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ คือ ประมาณ 2 ล้านตัน จึงทำให้มีปริมาณน้ำตาลเหลือเพื่อการส่งออก และน้ำตาลยังถือเป็นสินค้าส่งออกหลักที่สำคัญชนิดหนึ่งที่นำรายได้เข้าประเทศ ในปีที่ผ่านมา ถือเป็นอีกปีหนึ่งที่อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยได้รับอานิสงส์จากการสูงขึ้นของราคาน้ำตาลในตลาดโลก ทำให้เกษตรกรเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกอ้อยมากขึ้น ซึ่งคาดว่าในปี 2549/50 ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลของไทยจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น 63.8 ล้านตัน และ 6.7 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 36 และร้อยละ 38.3 ตามลำดับ อันจะทำให้การส่งออกน้ำตาลของไทยในปีนี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวจากปีที่ผ่านมา แต่มูลค่าการส่งออกอาจเพิ่มขึ้นไม่มากเท่าที่ควร เนื่องจากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำตาลในตลาดโลก และการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทเป็นสำคัญ
ราคาน้ำตาลในตลาดโลกปรับตัวลดลง
ในช่วงต้นปี 2550 ราคาน้ำตาลในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากราคาน้ำตาลทรายดิบที่ตลาดนิวยอร์ก ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 11.31 เซนต์ต่อปอนด์ ลดลง 37.5% จากราคา 18.09 เซนต์ต่อปอนด์ ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นผลมาจากปริมาณน้ำตาลในตลาดโลกเพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายพื้นที่การเพาะปลูกอ้อยของประเทศผู้ผลิตน้ำตาลที่สำคัญหลายประเทศ ประกอบกับการมีสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ทำให้มีผลผลิตอ้อยเข้าสู่โรงงานผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุปทานน้ำตาลในตลาดโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่าความต้องการที่เพิ่มขึ้น จึงกดดันให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกปรับตัวลดลง โดยคาดว่าราคาเฉลี่ยในปี 2550 จะอยู่ที่ประมาณ 10-11 เซนต์ต่อปอนด์
น้ำมันราคาสูงปัจจัยสำคัญต่อการกำหนดอนาคตอุตสาหกรรมน้ำตาล
ปัจจัยที่มีผลต่อสถานการณ์น้ำตาลในตลาดโลก นอกเหนือจากปริมาณการผลิตน้ำตาลของประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ และการเคลื่อนไหวของราคาน้ำตาลในตลาดโลกแล้ว ปัจจุบันยังต้องพิจารณาถึงปัจจัยด้านราคาน้ำมัน และอุตสาหกรรมการผลิตพลังงานทดแทนน้ำมันด้วย อ้อย ถือเป็นพืชพลังงานที่สำคัญที่ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็น พลังงานทดแทน โดยการใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลได้โดยตรง หรืออาจใช้กากน้ำตาลซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลเป็นวัตถุดิบได้ด้วย ทำให้คาดว่าในระยะยาว ราคาน้ำตาลจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน
จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ทำให้หลายประเทศแสวงหาพลังงานทดแทนเพื่อลดการใช้น้ำมันที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงการนำอ้อยมาผลิตเอททานอลเพื่อผสมกับน้ำมันเบนซิน ปัจจุบัน มีบราซิลเป็นผู้นำในการผลิตเอทานอล โดยในปี 2549 บราซิลใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลประมาณ 51% ของผลผลิตอ้อยทั้งประเทศ ในอนาคต หากราคาน้ำมันยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มที่บราซิลจะนำอ้อยมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอททานอลก็มีเพิ่มขึ้น โดยเอทานอลที่ผลิตได้จะถูกนำไปผสมกับน้ำมันเบนซินในอัตรา 20% และอาจเพิ่มขึ้นเป็น 25% ในปี 2551 ขณะนี้ มีทุนจากต่างประเทศได้เข้าไปลงทุนสร้างโรงงานผลิตเอทานอลในบราซิล อาทิ ญี่ปุ่น และประเทศในสหภาพยุโรป อันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้อุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลในบราซิลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมีประเทศผู้ผลิตน้ำตาลหลายประเทศเริ่มลงทุนสร้างโรงงานผลิตเอททานอลจากอ้อยเพื่อใช้ในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะชะลอการเพิ่มขึ้นของอุปทานน้ำตาล และอาจส่งผลดีต่อราคาน้ำตาลในตลาดโลกในระยะต่อไป
น้ำตาลไทยผลกระทบจากการลดลงของราคาในตลาดโลก
จากการที่อุปทานน้ำตาลในตลาดโลกอยู่ในภาวะล้นตลาด กดดันให้ราคาน้ำตาลปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2550 เป็นต้นมา ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทย โดยคาดกันว่าอาจส่งผลให้การคำนวณราคาอ้อยขั้นสุดท้ายของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยในปีการผลิต 2549/50 ต่ำกว่าราคาอ้อยขั้นต้นซึ่งได้มีการประกาศไว้ที่ 800 บาทต่อตัน เมื่อต้นฤดูการผลิต(ประมาณปลายปี 2549) ราคาน้ำตาลในตลาดโลกในขณะนั้นอยู่ที่ประมาณ 13 เซนต์ต่อปอนด์ และค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ขณะนี้ เป็นระยะเวลาที่ใกล้จะมีการคำนวณราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ซึ่งจะมีการประกาศในช่วงเดือน ตุลาคม ศกนี้ ปรากฏว่า ราคาน้ำตาลในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงและคาดว่าจะลงมาอยู่ที่ระดับ 10-11 เซนต์ต่อปอนด์ ประกอบกับเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 33-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้การคำนวณรายได้ของอุตสาหกรรมน้ำตาลลดต่ำลง เนื่องจากผลผลิตน้ำตาลส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก โดยคาดกันว่าราคาอ้อยขั้นสุดท้ายที่คำนวณได้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 700 บาทต่อตัน มีส่วนต่างจากราคาอ้อยขั้นต้น 100 บาทต่อตัน ซึ่งตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาล กำหนดให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลเป็นผู้จ่ายส่วนต่างราคาน้ำตาลดังกล่าวคืนให้กับโรงงาน เพราะทางโรงงานได้จ่ายเงินค่าอ้อยตามราคาขั้นต้นให้กับเกษตรกรไปแล้วเมื่อต้นฤดูการผลิต ทั้งนี้ หากโรงงานมิได้รับเงินคืนตามกำหนดเวลา ก็อาจจะส่งผลกระทบถึงการผลิตอ้อยและน้ำตาลในปีถัดไป
แนวโน้มน้ำตาลปี50
การส่งออกน้ำตาลของไทยในปี 2550 นี้คาดว่า จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและมูลค่า ตามการเพิ่มขึ้นของการผลิตอ้อยและน้ำตาลภายในประเทศ โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2550 ไทยมีการส่งออกน้ำตาล 2.66 ล้านตัน มูลค่า 761.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 205.75% และ 182.15% ตามลำดับ จากปริมาณ 0.87 ล้านตัน มูลค่า 269.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเดียวกันของปี 2549 ซึ่งในขณะนั้น ไทยกำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำตาลอย่างรุนแรง จากการที่อุปทานน้ำตาลมีปริมาณลดลงต่ำสุดในรอบ 10 ปี จนทำให้ต้องชะลอการส่งออกน้ำตาลเพื่อให้มีน้ำตาลเพียงพอกับการใช้ภายในประเทศ แต่ในปีนี้ ผลผลิตน้ำตาลในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ จึงทำให้มีอุปทานน้ำตาลเหลือเพื่อการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ จะสังเกตได้ว่า การเพิ่มขึ้นด้านปริมาณมีอัตราสูงกว่าการเพิ่มขึ้นด้านมูลค่าค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำตาลในตลาดโลกจากการมีอุปทานน้ำตาลเพิ่มขึ้นมาก ส่วนการส่งออกทั้งปี 2550 คาดว่าจะมีปริมาณ 4.2 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 95.72% ตามการเพิ่มขึ้นของอุปทานน้ำตาลส่วนเกินที่เหลือจากการบริโภคภายในประเทศ ส่วนมูลค่า คาดว่าจะมีประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.84
ทั้งนี้การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังจะขยายตัวได้ไม่มากนักทั้งด้านปริมาณและมูลค่าเพราะในช่วงครึ่งแรกของปี ได้มีการส่งออกน้ำตาลไปแล้วเป็นปริมาณมาก ส่วนในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูการผลิตของอุตสาหกรรมน้ำตาลอุปทานน้ำตาลเพื่อการส่งออกจะมีปริมาณลดลง การส่งออกในช่วงปลายปีจะต้องรอผลผลิตน้ำตาลในฤดูการผลิต 2550/51 ซึ่งจะเริ่มในช่วงพฤศจิกายน ธันวาคม 2550 นี้ ทำให้ปริมาณการส่งออกขยายตัวได้ไม่สูงนัก ขณะเดียวกัน ราคาน้ำตาลในตลาดโลกยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ไม่มากเท่าที่ควร
ที่มา : ฝ่ายวิจัยธนาคารนครหลวงไทย
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/0 ... wsid=88300
8 สิงหาคม พ.ศ. 2550 10:34:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งด้านการสร้างงานในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม รวมทั้งการสร้างรายได้จากการส่งออก ซึ่งในปีที่ผ่านมา ไทยเป็นประเทศที่มีการส่งออกน้ำตาลมากเป็นอันดับสามของโลก รองจากบราซิลและออสเตรเลีย โดยผลผลิตน้ำตาล 60-70% ได้ถูกส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ สำหรับในปี 2550 ราคาน้ำตาลในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี อันเป็นผลมาจากการมีอุปทานน้ำตาลเพิ่มขึ้นมาก ขณะที่ อุปสงค์ยังเติบโตอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้รายได้จากการส่งออกน้ำตาลของไทยเพิ่มขึ้นไม่มากเท่าที่ควร เฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ที่เงินบาทมีค่าแข็งขึ้นเช่นในปัจจุบัน จะยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยให้มีมากขึ้น ขณะที่ ต้นทุนการผลิตน้ำตาลของไทยอยู่ในระดับสูงกว่าประเทศผู้ผลิตที่สำคัญอื่นๆ ท่ามกลางภาวะการแข่งขันทางการค้าที่เป็นไปอย่างรุนแรง
น้ำตาลโลกอุปทานล้นตลาด
ในปีการเพาะปลูก 2549/50 การผลิตน้ำตาลโดยรวมในตลาดโลกมีปริมาณ 161.51 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2548/49 5.72% อันเป็นผลมาจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูงในปีที่ผ่านมา โดยมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 15.52 เซนต์ต่อปอนด์ สูงกว่าราคาน้ำตาลเฉลี่ยในปีก่อนหน้าถึง 36.5% ทำให้ประเทศผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่หลายประเทศเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกอ้อยเพื่อให้สามารถผลิตน้ำตาลเพื่อการส่งออกได้มากขึ้น จึงทำให้อุปทานน้ำตาลในตลาดโลกมีมากขึ้น ขณะที่ความต้องการน้ำตาลในตลาดโลกยังเพิ่มขึ้นไม่มากนัก คือมีประมาณ 153 ล้านตัน ส่งผลให้มีปริมาณน้ำตาลส่วนเกินในตลาดโลกมากถึง 8.5 ล้านตัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการกดดันราคาน้ำตาลในตลาดโลกในปีนี้ให้ปรับตัวลดลง
บราซิล เป็นประเทศที่มีการผลิตและส่งออกน้ำตาลมากเป็นอันดับ 1 ในตลาดโลก โดยในปี 2549/50 มีการผลิตน้ำตาล 31.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 26.8 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 17.9% จากปีที่ผ่านมา ทำให้คาดว่าในปีนี้บราซิลจะสามารถส่งออกน้ำตาลได้เพิ่มมากขึ้นประมาณ 2 ล้านตัน บราซิล นอกจากจะเป็นประเทศผู้นำในการผลิตและส่งออกน้ำตาลแล้ว ยังเป็นผู้นำในการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลโดยตรง ขณะนี้บราซิลมีปริมาณการใช้เอทานอลภายในประเทศ 300 ล้านลิตรต่อเดือน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้บราซิลเร่งเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกอ้อยขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลผลิตอ้อยไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทนปัจจุบัน บราซิลได้ใช้ผลผลิตอ้อย 51% ของผลผลิตทั้งหมดในการผลิตเอททานอล สำหรับในปี 2551 คาดว่า บราซิลอาจใช้ผลผลิตอ้อยถึง 55% ในการผลิตเอทานอล
อินเดีย เป็นประเทศผู้ผลิตและบริโภคน้ำตาลรายใหญ่ของโลก โดยมีปริมาณการผลิตมากเป็นอันดับสองรองจากบราซิล ปริมาณการผลิตน้ำตาลของอินเดีย จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะมีอิทธิพลต่อความเคลื่อนไหวของราคาน้ำตาลในตลาดโลก แม้ว่า การส่งออกของอินเดียในแต่ละปี จะมีปริมาณไม่มากนักจากการบริโภคน้ำตาลภายในประเทศซึ่งอยู่ในระดับสูง ในปีการผลิต 2549/50 อินเดียมีปริมาณการผลิตน้ำตาลในประเทศมากถึง 27 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 35% จาก 20 ล้านตันในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้อินเดียมีปริมาณน้ำตาลเหลือพอสำหรับการส่งออกในปีนี้ หลังจากที่ได้หยุดส่งออกไปเมื่อปีที่ผ่านมา เพราะปริมาณน้ำตาลในประเทศมีไม่เพียงพอ การมีอุปทานน้ำตาลส่วนเกินอยู่ในระดับสูงในปีนี้ ทางการอินเดียจึงประกาศให้เงินสนับสนุนผู้ส่งออก ในการผลักดันให้มีการส่งออกน้ำตาลไปยังตลาดโลกมากขึ้น เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลล้นตลาดภายในประเทศ ภาวะการณ์ดังกล่าว เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กดดันให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกลดลง
ออสเตรเลีย เป็นประเทศที่เป็นทั้งผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของโลกอีกประเทศหนึ่ง จากความได้เปรียบในการมีพื้นที่ทางการเกษตรขนาดใหญ่ แต่ในปีการผลิต 2549/50 พื้นที่เพาะปลูกอ้อยของออสเตรเลียได้รับความเสียหายจากพายุไซโคลนและการระบาดของโรคพืช ทำให้ผลผลิตอ้อยมีปริมาณลดลงมาก ส่งผลให้การผลิตน้ำตาลมีปริมาณลดลงเหลือเพียง 4.8 ล้านตัน หรือลดลง 7.6% จากปีที่ผ่านมา ทำให้คาดกันว่าออสเตรเลียอาจจะสูญเสียตำแหน่งการเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับสองให้กับไทยในปี 2550 นี้ สำหรับในปี 2550/51 คาดว่า ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลของออสเตรเลียจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ไทย ได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลเป็นอันดับสามของโลกในปี 2549 แม้ว่าการผลิตน้ำตาลของไทยในแต่ละปีจะมีปริมาณไม่มากนัก แต่เนื่องจากปริมาณการบริโภคในประเทศที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ คือ ประมาณ 2 ล้านตัน จึงทำให้มีปริมาณน้ำตาลเหลือเพื่อการส่งออก และน้ำตาลยังถือเป็นสินค้าส่งออกหลักที่สำคัญชนิดหนึ่งที่นำรายได้เข้าประเทศ ในปีที่ผ่านมา ถือเป็นอีกปีหนึ่งที่อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยได้รับอานิสงส์จากการสูงขึ้นของราคาน้ำตาลในตลาดโลก ทำให้เกษตรกรเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกอ้อยมากขึ้น ซึ่งคาดว่าในปี 2549/50 ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลของไทยจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น 63.8 ล้านตัน และ 6.7 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 36 และร้อยละ 38.3 ตามลำดับ อันจะทำให้การส่งออกน้ำตาลของไทยในปีนี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวจากปีที่ผ่านมา แต่มูลค่าการส่งออกอาจเพิ่มขึ้นไม่มากเท่าที่ควร เนื่องจากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำตาลในตลาดโลก และการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทเป็นสำคัญ
ราคาน้ำตาลในตลาดโลกปรับตัวลดลง
ในช่วงต้นปี 2550 ราคาน้ำตาลในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากราคาน้ำตาลทรายดิบที่ตลาดนิวยอร์ก ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 11.31 เซนต์ต่อปอนด์ ลดลง 37.5% จากราคา 18.09 เซนต์ต่อปอนด์ ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นผลมาจากปริมาณน้ำตาลในตลาดโลกเพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายพื้นที่การเพาะปลูกอ้อยของประเทศผู้ผลิตน้ำตาลที่สำคัญหลายประเทศ ประกอบกับการมีสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ทำให้มีผลผลิตอ้อยเข้าสู่โรงงานผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุปทานน้ำตาลในตลาดโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่าความต้องการที่เพิ่มขึ้น จึงกดดันให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกปรับตัวลดลง โดยคาดว่าราคาเฉลี่ยในปี 2550 จะอยู่ที่ประมาณ 10-11 เซนต์ต่อปอนด์
น้ำมันราคาสูงปัจจัยสำคัญต่อการกำหนดอนาคตอุตสาหกรรมน้ำตาล
ปัจจัยที่มีผลต่อสถานการณ์น้ำตาลในตลาดโลก นอกเหนือจากปริมาณการผลิตน้ำตาลของประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ และการเคลื่อนไหวของราคาน้ำตาลในตลาดโลกแล้ว ปัจจุบันยังต้องพิจารณาถึงปัจจัยด้านราคาน้ำมัน และอุตสาหกรรมการผลิตพลังงานทดแทนน้ำมันด้วย อ้อย ถือเป็นพืชพลังงานที่สำคัญที่ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็น พลังงานทดแทน โดยการใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลได้โดยตรง หรืออาจใช้กากน้ำตาลซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลเป็นวัตถุดิบได้ด้วย ทำให้คาดว่าในระยะยาว ราคาน้ำตาลจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน
จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ทำให้หลายประเทศแสวงหาพลังงานทดแทนเพื่อลดการใช้น้ำมันที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงการนำอ้อยมาผลิตเอททานอลเพื่อผสมกับน้ำมันเบนซิน ปัจจุบัน มีบราซิลเป็นผู้นำในการผลิตเอทานอล โดยในปี 2549 บราซิลใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลประมาณ 51% ของผลผลิตอ้อยทั้งประเทศ ในอนาคต หากราคาน้ำมันยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มที่บราซิลจะนำอ้อยมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอททานอลก็มีเพิ่มขึ้น โดยเอทานอลที่ผลิตได้จะถูกนำไปผสมกับน้ำมันเบนซินในอัตรา 20% และอาจเพิ่มขึ้นเป็น 25% ในปี 2551 ขณะนี้ มีทุนจากต่างประเทศได้เข้าไปลงทุนสร้างโรงงานผลิตเอทานอลในบราซิล อาทิ ญี่ปุ่น และประเทศในสหภาพยุโรป อันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้อุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลในบราซิลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมีประเทศผู้ผลิตน้ำตาลหลายประเทศเริ่มลงทุนสร้างโรงงานผลิตเอททานอลจากอ้อยเพื่อใช้ในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะชะลอการเพิ่มขึ้นของอุปทานน้ำตาล และอาจส่งผลดีต่อราคาน้ำตาลในตลาดโลกในระยะต่อไป
น้ำตาลไทยผลกระทบจากการลดลงของราคาในตลาดโลก
จากการที่อุปทานน้ำตาลในตลาดโลกอยู่ในภาวะล้นตลาด กดดันให้ราคาน้ำตาลปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2550 เป็นต้นมา ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทย โดยคาดกันว่าอาจส่งผลให้การคำนวณราคาอ้อยขั้นสุดท้ายของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยในปีการผลิต 2549/50 ต่ำกว่าราคาอ้อยขั้นต้นซึ่งได้มีการประกาศไว้ที่ 800 บาทต่อตัน เมื่อต้นฤดูการผลิต(ประมาณปลายปี 2549) ราคาน้ำตาลในตลาดโลกในขณะนั้นอยู่ที่ประมาณ 13 เซนต์ต่อปอนด์ และค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ขณะนี้ เป็นระยะเวลาที่ใกล้จะมีการคำนวณราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ซึ่งจะมีการประกาศในช่วงเดือน ตุลาคม ศกนี้ ปรากฏว่า ราคาน้ำตาลในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงและคาดว่าจะลงมาอยู่ที่ระดับ 10-11 เซนต์ต่อปอนด์ ประกอบกับเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 33-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้การคำนวณรายได้ของอุตสาหกรรมน้ำตาลลดต่ำลง เนื่องจากผลผลิตน้ำตาลส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก โดยคาดกันว่าราคาอ้อยขั้นสุดท้ายที่คำนวณได้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 700 บาทต่อตัน มีส่วนต่างจากราคาอ้อยขั้นต้น 100 บาทต่อตัน ซึ่งตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาล กำหนดให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลเป็นผู้จ่ายส่วนต่างราคาน้ำตาลดังกล่าวคืนให้กับโรงงาน เพราะทางโรงงานได้จ่ายเงินค่าอ้อยตามราคาขั้นต้นให้กับเกษตรกรไปแล้วเมื่อต้นฤดูการผลิต ทั้งนี้ หากโรงงานมิได้รับเงินคืนตามกำหนดเวลา ก็อาจจะส่งผลกระทบถึงการผลิตอ้อยและน้ำตาลในปีถัดไป
แนวโน้มน้ำตาลปี50
การส่งออกน้ำตาลของไทยในปี 2550 นี้คาดว่า จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและมูลค่า ตามการเพิ่มขึ้นของการผลิตอ้อยและน้ำตาลภายในประเทศ โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2550 ไทยมีการส่งออกน้ำตาล 2.66 ล้านตัน มูลค่า 761.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 205.75% และ 182.15% ตามลำดับ จากปริมาณ 0.87 ล้านตัน มูลค่า 269.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเดียวกันของปี 2549 ซึ่งในขณะนั้น ไทยกำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำตาลอย่างรุนแรง จากการที่อุปทานน้ำตาลมีปริมาณลดลงต่ำสุดในรอบ 10 ปี จนทำให้ต้องชะลอการส่งออกน้ำตาลเพื่อให้มีน้ำตาลเพียงพอกับการใช้ภายในประเทศ แต่ในปีนี้ ผลผลิตน้ำตาลในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ จึงทำให้มีอุปทานน้ำตาลเหลือเพื่อการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ จะสังเกตได้ว่า การเพิ่มขึ้นด้านปริมาณมีอัตราสูงกว่าการเพิ่มขึ้นด้านมูลค่าค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำตาลในตลาดโลกจากการมีอุปทานน้ำตาลเพิ่มขึ้นมาก ส่วนการส่งออกทั้งปี 2550 คาดว่าจะมีปริมาณ 4.2 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 95.72% ตามการเพิ่มขึ้นของอุปทานน้ำตาลส่วนเกินที่เหลือจากการบริโภคภายในประเทศ ส่วนมูลค่า คาดว่าจะมีประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.84
ทั้งนี้การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังจะขยายตัวได้ไม่มากนักทั้งด้านปริมาณและมูลค่าเพราะในช่วงครึ่งแรกของปี ได้มีการส่งออกน้ำตาลไปแล้วเป็นปริมาณมาก ส่วนในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูการผลิตของอุตสาหกรรมน้ำตาลอุปทานน้ำตาลเพื่อการส่งออกจะมีปริมาณลดลง การส่งออกในช่วงปลายปีจะต้องรอผลผลิตน้ำตาลในฤดูการผลิต 2550/51 ซึ่งจะเริ่มในช่วงพฤศจิกายน ธันวาคม 2550 นี้ ทำให้ปริมาณการส่งออกขยายตัวได้ไม่สูงนัก ขณะเดียวกัน ราคาน้ำตาลในตลาดโลกยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ไม่มากเท่าที่ควร
ที่มา : ฝ่ายวิจัยธนาคารนครหลวงไทย
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/0 ... wsid=88300
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news13/08/07
โพสต์ที่ 44
เกษตรฯชี้พิษบาทแข็งรง.ถุงมือยางแห่ปิดเผยราคาไตรมาส3-4วูบ
13 สิงหาคม พ.ศ. 2550 14:32:00
กรมวิชาการเกษตร เผย ค่าเงินบาทแข็งกระทบโรงงานผลิตถุงมือยาง ระบุ รายเล็กทะยอยปิดกิจการเหลือโรงงานแค่ 60 โรงงานจาก 200 โรงงาน ชี้ราคายางอ่อนตัวเล็กน้อยช่วงไตรมาส 3-4 ก่อนกระเตื้องหลังปีใหม่
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากภาวะค่าเงินบาทแข็งเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ประกอบกับราคาวัตถุดิบที่ขยับตัวสูงขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ทั้งอุตสาหกรรมถุงมือยาง และอุตสาหกรรมยางรถยนต์ โดยเฉพาะโรงงานผลิตถุงมือยางรายเล็ก ซึ่งเดิมมีกว่า 200 โรงงาน ปัจจุบันหลายแห่งต้องปิดกิจการลงเหลือประมาณ 60 โรงงานเท่านั้น เนื่องจากต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
ขณะที่ประสิทธิภาพการผลิตยังไม่ดีพอ ดังนั้น จึงควรเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร พร้อมสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการที่ประสบปัญหา
นายสุขุม กล่าวว่า องค์การยางระหว่างประเทศ(INTERNATIONAL RUBBER STUDY GROUP หรือ IRSG)คาดการณ์ว่า ภายในปี 2553 การใช้ยางธรรมชาติของโลก จะเพิ่มขึ้นเป็น 10.5 ล้านตัน ขณะที่มีการผลิตมีประมาณ 10.42 ล้านตัน ต่ำกว่าความต้องการเล็กน้อย ในส่วนของไทยในปี 2550 คาดว่าจะสามารถผลิตได้ 3.2-3.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ผลิตได้ 3.13 ล้านตันในอัตราเฉลี่ย 5 %
เกษตรกรชาวสวนยางพารา พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น ใช้ยางพันธุ์ดีได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 284 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ปัจจุบันมีพื้นที่กรีดยาง 10.9 ล้านไร่ จากพื้นที่ปลูกยางทั้งประเทศ 14.35 ล้านไร่
สำหรับสถานการณ์ราคา ช่วงไตรมาสที่ 3-4 ของทุกปี หรือตั้งแต่เดือนมิ.ย.-พ.ย.จะมีปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดต่อเนื่อง ส่งผลให้ระดับราคาอ่อนตัวลง แต่จะยังไม่ส่งผลกระทบกับเกษตกร โดยราคายางจะกระเตื้องขึ้นหลังช่วงปีใหม่
"ปัจจุบันราคายางจะอ่อนตัวลงบ้างจากเดือนพ.ค.ที่เคยมีราคาสูงถึง 79 บาท/กิโลกรัม แต่ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูง ขณะนี้ราคายางที่ตลาดกลางหาดใหญ่ ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ความชื้น 3-5 % กิโลกรัมละ 69.54 บาท ยางแผ่นรมควันชั้น3 ไม่อัดก้อนราคา70.70 บาท/กิโลกรัม และน้ำยางสด 60 บาท/กิโลกรัม"
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/1 ... wsid=88951
13 สิงหาคม พ.ศ. 2550 14:32:00
กรมวิชาการเกษตร เผย ค่าเงินบาทแข็งกระทบโรงงานผลิตถุงมือยาง ระบุ รายเล็กทะยอยปิดกิจการเหลือโรงงานแค่ 60 โรงงานจาก 200 โรงงาน ชี้ราคายางอ่อนตัวเล็กน้อยช่วงไตรมาส 3-4 ก่อนกระเตื้องหลังปีใหม่
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากภาวะค่าเงินบาทแข็งเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ประกอบกับราคาวัตถุดิบที่ขยับตัวสูงขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ทั้งอุตสาหกรรมถุงมือยาง และอุตสาหกรรมยางรถยนต์ โดยเฉพาะโรงงานผลิตถุงมือยางรายเล็ก ซึ่งเดิมมีกว่า 200 โรงงาน ปัจจุบันหลายแห่งต้องปิดกิจการลงเหลือประมาณ 60 โรงงานเท่านั้น เนื่องจากต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
ขณะที่ประสิทธิภาพการผลิตยังไม่ดีพอ ดังนั้น จึงควรเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร พร้อมสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการที่ประสบปัญหา
นายสุขุม กล่าวว่า องค์การยางระหว่างประเทศ(INTERNATIONAL RUBBER STUDY GROUP หรือ IRSG)คาดการณ์ว่า ภายในปี 2553 การใช้ยางธรรมชาติของโลก จะเพิ่มขึ้นเป็น 10.5 ล้านตัน ขณะที่มีการผลิตมีประมาณ 10.42 ล้านตัน ต่ำกว่าความต้องการเล็กน้อย ในส่วนของไทยในปี 2550 คาดว่าจะสามารถผลิตได้ 3.2-3.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ผลิตได้ 3.13 ล้านตันในอัตราเฉลี่ย 5 %
เกษตรกรชาวสวนยางพารา พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น ใช้ยางพันธุ์ดีได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 284 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ปัจจุบันมีพื้นที่กรีดยาง 10.9 ล้านไร่ จากพื้นที่ปลูกยางทั้งประเทศ 14.35 ล้านไร่
สำหรับสถานการณ์ราคา ช่วงไตรมาสที่ 3-4 ของทุกปี หรือตั้งแต่เดือนมิ.ย.-พ.ย.จะมีปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดต่อเนื่อง ส่งผลให้ระดับราคาอ่อนตัวลง แต่จะยังไม่ส่งผลกระทบกับเกษตกร โดยราคายางจะกระเตื้องขึ้นหลังช่วงปีใหม่
"ปัจจุบันราคายางจะอ่อนตัวลงบ้างจากเดือนพ.ค.ที่เคยมีราคาสูงถึง 79 บาท/กิโลกรัม แต่ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูง ขณะนี้ราคายางที่ตลาดกลางหาดใหญ่ ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ความชื้น 3-5 % กิโลกรัมละ 69.54 บาท ยางแผ่นรมควันชั้น3 ไม่อัดก้อนราคา70.70 บาท/กิโลกรัม และน้ำยางสด 60 บาท/กิโลกรัม"
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/1 ... wsid=88951
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news20/08/07
โพสต์ที่ 45
แนะสินค้าเกษตร รุกตลาดอียู-ญี่ปุ่น
โดย เดลินิวส์ วัน จันทร์ ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550 08:51 น.
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลักส่งออกสินค้าไทย ได้ออกกระเบียบมาตรฐานสุขอนามัยนำเข้าอาหารหลายรายการ ที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าไทย ซึ่งผู้ประกอบการไทยควรศึกษารายละเอียดมาตรฐานการนำเข้าอาหาร และปฏิบัติตามให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสินค้าที่อาจถูกปฏิเสธการนำเข้าจากกลุ่มประเทศทั้งสอง หากไม่ผ่านมาตรฐานที่กำหนดกรมฯ เป็นห่วงผู้ประกอบการไทย เพราะทั้งอียูและญี่ปุ่น ได้ออกระเบียบมาตรฐานสุขอนามัยมาใช้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น จะมีการจัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่รายละเอียดและความคืบหน้าของระเบียบดังกล่าวให้กับผู้ผลิตอาหารของไทยในวันที่ 30 ส.ค. ที่โรงแรมเดอะแกรนด์ รัชดา
สำหรับระเบียบมาตรฐานด้านอาหารที่ อียูประกาศใช้เร็ว ๆ นี้ เช่น ระเบียบสุขอนามัย อาหาร ซึ่งครอบคลุมด้านสุขอนามัยในการผลิตอาหาร การตรวจสอบสารตกค้าง การตรวจสอบย้อนกลับ การบรรจุ การเก็บรักษา การกระจายสินค้า และการจัดจำหน่ายจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ตลอดจนควบคุมห่วงโซ่การผลิต
ส่วนระเบียบของญี่ปุ่น มีผลบังคับใช้ปลายปี 49 นั้น ได้แก้ไขระเบียบการควบคุมและตรวจสอบสารเคมีทางการเกษตร มีระบบโพสซิทีฟ ลิส ที่กำหนดค่าสูงสุดที่อนุญาตให้มีสารเคมีทางการเกษตรปนเปื้อน ในสินค้าจำนวนกว่า 800 รายการ เพื่อควบคุมการใช้สารเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค
อย่างไรก็ตามสินค้าเกษตรและอาหารเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย โดยมีมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยปีละ 700,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 16% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด.
http://news.sanook.com/economic/economic_171233.php
โดย เดลินิวส์ วัน จันทร์ ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550 08:51 น.
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลักส่งออกสินค้าไทย ได้ออกกระเบียบมาตรฐานสุขอนามัยนำเข้าอาหารหลายรายการ ที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าไทย ซึ่งผู้ประกอบการไทยควรศึกษารายละเอียดมาตรฐานการนำเข้าอาหาร และปฏิบัติตามให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสินค้าที่อาจถูกปฏิเสธการนำเข้าจากกลุ่มประเทศทั้งสอง หากไม่ผ่านมาตรฐานที่กำหนดกรมฯ เป็นห่วงผู้ประกอบการไทย เพราะทั้งอียูและญี่ปุ่น ได้ออกระเบียบมาตรฐานสุขอนามัยมาใช้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น จะมีการจัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่รายละเอียดและความคืบหน้าของระเบียบดังกล่าวให้กับผู้ผลิตอาหารของไทยในวันที่ 30 ส.ค. ที่โรงแรมเดอะแกรนด์ รัชดา
สำหรับระเบียบมาตรฐานด้านอาหารที่ อียูประกาศใช้เร็ว ๆ นี้ เช่น ระเบียบสุขอนามัย อาหาร ซึ่งครอบคลุมด้านสุขอนามัยในการผลิตอาหาร การตรวจสอบสารตกค้าง การตรวจสอบย้อนกลับ การบรรจุ การเก็บรักษา การกระจายสินค้า และการจัดจำหน่ายจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ตลอดจนควบคุมห่วงโซ่การผลิต
ส่วนระเบียบของญี่ปุ่น มีผลบังคับใช้ปลายปี 49 นั้น ได้แก้ไขระเบียบการควบคุมและตรวจสอบสารเคมีทางการเกษตร มีระบบโพสซิทีฟ ลิส ที่กำหนดค่าสูงสุดที่อนุญาตให้มีสารเคมีทางการเกษตรปนเปื้อน ในสินค้าจำนวนกว่า 800 รายการ เพื่อควบคุมการใช้สารเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค
อย่างไรก็ตามสินค้าเกษตรและอาหารเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย โดยมีมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยปีละ 700,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 16% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด.
http://news.sanook.com/economic/economic_171233.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news20/08/07
โพสต์ที่ 46
ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปี'50 เร่งปรับตัว-ผลิตภัณฑ์ขยายตลาด
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 20 สิงหาคม 2550 10:34 น.
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารทะเลนับเป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแข็งค่าอย่างต่อเนื่องของเงินบาท โดยนับเป็นการซ้ำเติมทำให้บรรดาผู้ประกอบการต้องเผชิญปัญหารายได้จากการส่งออกในรูปของเงินบาทลดลง หลังจากในช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารทะเลต้องเผชิญกับปัญหานานัปการที่ส่งผลให้บรรดาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ต้องเร่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยเน้นการปรับลดต้นทุนการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคและการขยายตลาดด้วย นอกจากนี้ยังหันมาเจาะขยายตลาดในประเทศ โดยเน้นการจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับในปีนี้ผลกระทบของค่าเงินบาทต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารทะเลยังไม่ชัดเจน เนื่องจากยังโชคดีที่ในปีนี้ยังมีปัจจัยจากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เอื้อให้การส่งออกยังคงขยายตัวโดยเฉพาะอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารทะเลกระป๋อง ในขณะที่ความต้องการอาหารทะเลแปรรูปในตลาดสหรัฐฯซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญลดลงทำให้อาหารทะเลแปรรูปการส่งออกลดลงอย่างชัดเจน
การผลิตขาดแคลนวัตถุดิบและแรงงาน
ปัจจุบันโรงงานผลิตอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์มีอยู่ประมาณ 2,100 โรงงาน แยกเป็นโรงงานผลิตอาหารทะเลประเภทเค็มและตากแห้ง 1,275 โรงงาน ประเภทหมักดอง(เช่น น้ำปลา น้ำบูดู) 204 โรงงาน ห้องเย็น 182 แห่ง ข้าวเกรียบกุ้งและปลา 174 โรงงาน โรงงานปลาป่น 95 โรงงาน โรงงานลูกชิ้น-ทอดมัน 69 โรงงาน โรงงานนึ่ง-อบและย่างรมควัน 54 โรงงาน และโรงงานอาหารทะเลกระป๋อง 49 โรงงาน ผลผลิตสัตว์น้ำทั้งหมดมีประมาณ 3.2-4.0 ล้านตันต่อปี แต่มีปัญหาโรงงานผลิตอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์มีวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการส่งออก ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้า
โดยในช่วงครึ่งแรกปี 2550 มูลค่าการนำเข้าสัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็งแปรรูป และกึ่งสำเร็จรูปเพื่อป้อนโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารทะเลมีมูลค่ารวม 681.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วลดลงร้อยละ 1.2 ทั้งนี้เนื่องจากในปีนี้ไทยลดการนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งลง เนื่องจากปริมาณการผลิตในประเทศมีเพียงพอสำหรับการผลิตกุ้งกระป๋อง รวมทั้งมีการชะลอการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง เนื่องจากการชะลอตัวของการส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง โดยหันไปนำเข้าปลาแมคเคอเรลมากขึ้น เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนปลาซาร์ดีนในประเทศ
สาเหตุของปริมาณวัตถุดิบอาหารทะเลไม่เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากไม่สามารถหาแหล่งวัตถุดิบได้ในประเทศ โดยเฉพาะปลาทูน่า เนื่องจากไทยไม่มีกองเรือเพื่อจับสัตว์น้ำในทะเลลึก สาเหตุอีกส่วนหนึ่งเนื่องจากความเสื่อมโทรมของแหล่งประมงไทย ปัญหาในเรื่องคุณภาพของผลผลิต โดยเฉพาะปลาหมึก เนื่องจากปัญหาการปนเปื้อนสารแคดเมี่ยม นอกจากนี้ยังเผชิญปัญหาเรื่องอัตราค่าแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ในภาวะที่จำนวนแรงงานที่มีฝีมือค่อนข้างมีจำนวนจำกัด ตลอดจนต้นทุนการผลิตอื่นๆที่สูงขึ้นมาก เช่น ค่าขนส่งที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ราคาบรรจุภัณฑ์ต่างๆที่ปรับตัวสูงขึ้น
จากปัญหาหลากหลายประการทำให้บรรดาผู้ประกอบการในธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารทะเลหลายรายมีนโยบายปรับลดต้นทุนการดำเนินการ โดยการปรับปัจจัยหลักในการดำเนินการทางการตลาด ดังนี้
- วัตถุดิบ ปรับระบบโลจิสติกส์ โดยมีการเจรจากับซับพลายเออร์ในเรื่องการจัดส่งสินค้าในปริมาณที่เหมาะสมและทันเวลาในการผลิต ทำให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- บรรจุภัณฑ์ ปรับขนาดให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น
- ผลิตภัณฑ์ เพิ่มการกระจายสินค้าในช่องทางใหม่ๆ ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งหรืออาหารพร้อมรับประทานตอบสนองทั้งตลาดในประเทศและการส่งออก ซึ่งนับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และการสร้างความหลากหลายเพื่อการเจาะขยายตลาดใหม่ๆอีกด้วย
นอกจากนี้บริษัทรายใหญ่ยังมีการปรับแผนการลงทุน โดยการเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ โดยประเทศที่น่าสนใจคือ อินโดนีเซีย ปัจจุบันอินโดนีเซียกำหนดให้การทำประมงในน่านน้ำอินโดนีเซียต้องเป็นการร่วมทุนกับชาวอินโดนีเซียเท่านั้น โดยนักลงทุนต่างประเทศสามารถลงทุนได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 80 รวมทั้งกำหนดให้ร้อยละ 70 ของสัตว์น้ำที่จับได้ต้องส่งขึ้นที่ท่าเรือของอินโดนีเซียเพื่อจำหน่ายหรือแปรรูปในประเทศ
เจาะตลาดในประเทศแทนตลาดส่งออก
บรรดาผู้ประกอบการส่งออกอาหารทะเล เมื่อต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นในตลาดโลก ต่างเริ่มหันมารุกขยายตลาดในประเทศ เนื่องจากมีความพร้อมในด้านวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์อาหารทะเลก็เป็นที่นิยมบริโภคในประเทศ รวมทั้งเล็งเห็นช่องว่างทางการตลาดและกำลังซื้อของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
ตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในประเทศที่น่าสนใจ แยกออกได้เป็นดังนี้
-อาหารทะเลสด แช่เย็น แช่แข็ง สัดส่วนการซื้ออาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กอปรกับบรรดาผู้ประกอบการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเริ่มหันมาเจาะขยายตลาดในประเทศ โดยเฉพาะการจำหน่ายอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง ทั้งนี้เน้นการแบ่งบรรจุหลากหลายขนาดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกันของผู้บริโภค
-ปลากระป๋อง ตลาดรวมปลากระป๋องในประเทศในปี 2550 มีมูลค่า 3,000 ล้านบาท โดยแยกเป็นปลาซาร์ดีนร้อยละ 67.0 ของตลาดปลากระป๋องทั้งหมด ปลาแมคเคอเรลมีสัดส่วนร้อยละ 18.0 ปลาทูน่าร้อยละ 12.0 และปลาอื่นๆร้อยละ 3.0 อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในตลาดปลาซาร์ดีนกระป๋องจะรุนแรงน้อยกว่าตลาดปลาทูน่ากระป๋อง กล่าวคือ ปัจจุบันตลาดปลาซาร์ดีนกระป๋องไม่ค่อยมีความเคลื่อนไหวทางการตลาดมากนัก เนื่องจากผ่านยุคสงครามราคามาแล้ว แต่กำลังเผชิญปัญหาวัตถุดิบขาดแคลน ทำให้ผู้ประกอบการที่ผลิตปลาซาร์ดีนกระป๋องหันไปผลิตปลาแมคเคอเรลและปลาทูน่ากระป๋อง ส่วนตลาดปลาทูน่ากระป๋องนั้นมีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรง
-อาหารทะเลสำเร็จรูปแช่แข็ง ผู้ส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งหันมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยหันมาผลิตอาหารทะเลสำเร็จรูปแช่แข็ง เช่น ติ่มซำทะเลแช่แข็ง ปอเปี๊ยกุ้ง ข้าวปั้นหน้าทะเล ลูกชิ้นกุ้ง ลูกชิ้นปลาหมึก ไส้กรอกปลา เป็นต้น ซึ่งจะสามารถขยายตลาดได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อัตราการขยายตัวของอาหารทะเลสำเร็จรูปแช่แข็งในแต่ละปีสูงถึงร้อยละ 30.0 เนื่องจากผู้ส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งรายใหญ่หันมาพัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายด้วย
-อาหารทะเลอื่นๆ แยกออกเป็นหลากหลายประเภท ได้แก่ หมักดอง เช่น น้ำปลา น้ำบูดู เป็นต้น ประเภทนึ่ง อบ ย่าง รมควัน ตากแห้ง ผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น ลูกชิ้น ทอดมัน ข้าวเกรียบ เป็นต้น และปลาป่น อาหารทะเลเหล่านี้ตลาดส่วนใหญ่เป็นการบริโภคภายในประเทศ โดยอัตราการขยายตัวของตลาดนั้นอิงกับอัตราการขยายตัวของประชากรอ่านต่อฉบับหน้า
ที่มา ศูนย์วิจัย ธนาคารกสิกรไทย
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000097676
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 20 สิงหาคม 2550 10:34 น.
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารทะเลนับเป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแข็งค่าอย่างต่อเนื่องของเงินบาท โดยนับเป็นการซ้ำเติมทำให้บรรดาผู้ประกอบการต้องเผชิญปัญหารายได้จากการส่งออกในรูปของเงินบาทลดลง หลังจากในช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารทะเลต้องเผชิญกับปัญหานานัปการที่ส่งผลให้บรรดาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ต้องเร่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยเน้นการปรับลดต้นทุนการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคและการขยายตลาดด้วย นอกจากนี้ยังหันมาเจาะขยายตลาดในประเทศ โดยเน้นการจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับในปีนี้ผลกระทบของค่าเงินบาทต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารทะเลยังไม่ชัดเจน เนื่องจากยังโชคดีที่ในปีนี้ยังมีปัจจัยจากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เอื้อให้การส่งออกยังคงขยายตัวโดยเฉพาะอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารทะเลกระป๋อง ในขณะที่ความต้องการอาหารทะเลแปรรูปในตลาดสหรัฐฯซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญลดลงทำให้อาหารทะเลแปรรูปการส่งออกลดลงอย่างชัดเจน
การผลิตขาดแคลนวัตถุดิบและแรงงาน
ปัจจุบันโรงงานผลิตอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์มีอยู่ประมาณ 2,100 โรงงาน แยกเป็นโรงงานผลิตอาหารทะเลประเภทเค็มและตากแห้ง 1,275 โรงงาน ประเภทหมักดอง(เช่น น้ำปลา น้ำบูดู) 204 โรงงาน ห้องเย็น 182 แห่ง ข้าวเกรียบกุ้งและปลา 174 โรงงาน โรงงานปลาป่น 95 โรงงาน โรงงานลูกชิ้น-ทอดมัน 69 โรงงาน โรงงานนึ่ง-อบและย่างรมควัน 54 โรงงาน และโรงงานอาหารทะเลกระป๋อง 49 โรงงาน ผลผลิตสัตว์น้ำทั้งหมดมีประมาณ 3.2-4.0 ล้านตันต่อปี แต่มีปัญหาโรงงานผลิตอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์มีวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการส่งออก ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้า
โดยในช่วงครึ่งแรกปี 2550 มูลค่าการนำเข้าสัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็งแปรรูป และกึ่งสำเร็จรูปเพื่อป้อนโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารทะเลมีมูลค่ารวม 681.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วลดลงร้อยละ 1.2 ทั้งนี้เนื่องจากในปีนี้ไทยลดการนำเข้ากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งลง เนื่องจากปริมาณการผลิตในประเทศมีเพียงพอสำหรับการผลิตกุ้งกระป๋อง รวมทั้งมีการชะลอการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง เนื่องจากการชะลอตัวของการส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง โดยหันไปนำเข้าปลาแมคเคอเรลมากขึ้น เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนปลาซาร์ดีนในประเทศ
สาเหตุของปริมาณวัตถุดิบอาหารทะเลไม่เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากไม่สามารถหาแหล่งวัตถุดิบได้ในประเทศ โดยเฉพาะปลาทูน่า เนื่องจากไทยไม่มีกองเรือเพื่อจับสัตว์น้ำในทะเลลึก สาเหตุอีกส่วนหนึ่งเนื่องจากความเสื่อมโทรมของแหล่งประมงไทย ปัญหาในเรื่องคุณภาพของผลผลิต โดยเฉพาะปลาหมึก เนื่องจากปัญหาการปนเปื้อนสารแคดเมี่ยม นอกจากนี้ยังเผชิญปัญหาเรื่องอัตราค่าแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ในภาวะที่จำนวนแรงงานที่มีฝีมือค่อนข้างมีจำนวนจำกัด ตลอดจนต้นทุนการผลิตอื่นๆที่สูงขึ้นมาก เช่น ค่าขนส่งที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ราคาบรรจุภัณฑ์ต่างๆที่ปรับตัวสูงขึ้น
จากปัญหาหลากหลายประการทำให้บรรดาผู้ประกอบการในธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารทะเลหลายรายมีนโยบายปรับลดต้นทุนการดำเนินการ โดยการปรับปัจจัยหลักในการดำเนินการทางการตลาด ดังนี้
- วัตถุดิบ ปรับระบบโลจิสติกส์ โดยมีการเจรจากับซับพลายเออร์ในเรื่องการจัดส่งสินค้าในปริมาณที่เหมาะสมและทันเวลาในการผลิต ทำให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- บรรจุภัณฑ์ ปรับขนาดให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น
- ผลิตภัณฑ์ เพิ่มการกระจายสินค้าในช่องทางใหม่ๆ ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งหรืออาหารพร้อมรับประทานตอบสนองทั้งตลาดในประเทศและการส่งออก ซึ่งนับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และการสร้างความหลากหลายเพื่อการเจาะขยายตลาดใหม่ๆอีกด้วย
นอกจากนี้บริษัทรายใหญ่ยังมีการปรับแผนการลงทุน โดยการเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ โดยประเทศที่น่าสนใจคือ อินโดนีเซีย ปัจจุบันอินโดนีเซียกำหนดให้การทำประมงในน่านน้ำอินโดนีเซียต้องเป็นการร่วมทุนกับชาวอินโดนีเซียเท่านั้น โดยนักลงทุนต่างประเทศสามารถลงทุนได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 80 รวมทั้งกำหนดให้ร้อยละ 70 ของสัตว์น้ำที่จับได้ต้องส่งขึ้นที่ท่าเรือของอินโดนีเซียเพื่อจำหน่ายหรือแปรรูปในประเทศ
เจาะตลาดในประเทศแทนตลาดส่งออก
บรรดาผู้ประกอบการส่งออกอาหารทะเล เมื่อต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นในตลาดโลก ต่างเริ่มหันมารุกขยายตลาดในประเทศ เนื่องจากมีความพร้อมในด้านวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์อาหารทะเลก็เป็นที่นิยมบริโภคในประเทศ รวมทั้งเล็งเห็นช่องว่างทางการตลาดและกำลังซื้อของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
ตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทะเลในประเทศที่น่าสนใจ แยกออกได้เป็นดังนี้
-อาหารทะเลสด แช่เย็น แช่แข็ง สัดส่วนการซื้ออาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กอปรกับบรรดาผู้ประกอบการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเริ่มหันมาเจาะขยายตลาดในประเทศ โดยเฉพาะการจำหน่ายอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง ทั้งนี้เน้นการแบ่งบรรจุหลากหลายขนาดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกันของผู้บริโภค
-ปลากระป๋อง ตลาดรวมปลากระป๋องในประเทศในปี 2550 มีมูลค่า 3,000 ล้านบาท โดยแยกเป็นปลาซาร์ดีนร้อยละ 67.0 ของตลาดปลากระป๋องทั้งหมด ปลาแมคเคอเรลมีสัดส่วนร้อยละ 18.0 ปลาทูน่าร้อยละ 12.0 และปลาอื่นๆร้อยละ 3.0 อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในตลาดปลาซาร์ดีนกระป๋องจะรุนแรงน้อยกว่าตลาดปลาทูน่ากระป๋อง กล่าวคือ ปัจจุบันตลาดปลาซาร์ดีนกระป๋องไม่ค่อยมีความเคลื่อนไหวทางการตลาดมากนัก เนื่องจากผ่านยุคสงครามราคามาแล้ว แต่กำลังเผชิญปัญหาวัตถุดิบขาดแคลน ทำให้ผู้ประกอบการที่ผลิตปลาซาร์ดีนกระป๋องหันไปผลิตปลาแมคเคอเรลและปลาทูน่ากระป๋อง ส่วนตลาดปลาทูน่ากระป๋องนั้นมีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรง
-อาหารทะเลสำเร็จรูปแช่แข็ง ผู้ส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งหันมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยหันมาผลิตอาหารทะเลสำเร็จรูปแช่แข็ง เช่น ติ่มซำทะเลแช่แข็ง ปอเปี๊ยกุ้ง ข้าวปั้นหน้าทะเล ลูกชิ้นกุ้ง ลูกชิ้นปลาหมึก ไส้กรอกปลา เป็นต้น ซึ่งจะสามารถขยายตลาดได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อัตราการขยายตัวของอาหารทะเลสำเร็จรูปแช่แข็งในแต่ละปีสูงถึงร้อยละ 30.0 เนื่องจากผู้ส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งรายใหญ่หันมาพัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายด้วย
-อาหารทะเลอื่นๆ แยกออกเป็นหลากหลายประเภท ได้แก่ หมักดอง เช่น น้ำปลา น้ำบูดู เป็นต้น ประเภทนึ่ง อบ ย่าง รมควัน ตากแห้ง ผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น ลูกชิ้น ทอดมัน ข้าวเกรียบ เป็นต้น และปลาป่น อาหารทะเลเหล่านี้ตลาดส่วนใหญ่เป็นการบริโภคภายในประเทศ โดยอัตราการขยายตัวของตลาดนั้นอิงกับอัตราการขยายตัวของประชากรอ่านต่อฉบับหน้า
ที่มา ศูนย์วิจัย ธนาคารกสิกรไทย
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000097676
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news22/08/07
โพสต์ที่ 47
ผู้เลี้ยงโต้วอลมาร์ทอ้างข้อมูลบิดเบือนช่วยพัฒนากุ้งไทย
22 สิงหาคม พ.ศ. 2550 19:18:00
ผู้เลี้ยงกุ้งไทยตอบโต้"วอลมาร์ท"บิดเบือนข้อมูลอุตสาหกรรมกุ้งไทย อ้างเป็นผู้พัฒนาคุณภาพกุ้งไทย หวังประโยชน์ทางธุรกิจ
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายบรรจง นิสภวาณิชย์ นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทย เปิดเผยว่า กรณีที่วอลมาร์ท (Wal-Mart) ได้เสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งของไทยว่า เป็นผู้ที่ทำให้ฟาร์มกุ้งไทยสะอาดขึ้น และทำให้พื้นที่ป่าชายเลนไทยเพิ่มขึ้นด้วย ถือเป็นความสำเร็จของวอลมาร์ท ซึ่งสมาคมกุ้งตะวันออกไทย สมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย และชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง 7 จังหวัด ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงอธิบดีกรมประมง ให้พิจารณาตอบโต้ โดยยืนยันข้อเท็จจริง ว่า คุณภาพกุ้งไทยไม่ได้เกิดจาก วอลมาร์ท (Wal Mart)อย่างที่ถูกบิดเบือน เพื่อนำไปแอบอ้างหวังประโยชน์ทางธุรกิจ เพราะจะกระทบต่อภาพพจน์ที่ไม่ดีต่ออุตสาหกรรมกุ้งไทย
วอลมาร์ทได้ระบุว่า ประเทศไทยใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งที่ล้าหลัง ต่ำกว่ามาตรฐาน ชี้ว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อย 80 % ยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ความเป็นจริงกุ้งทะเลของไทยได้รับการพัฒนา จนเป็นที่ยอมรับของทั่วโลกว่ากุ้งไทยมีคุณภาพสูง มีความปลอดภัย และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ทั้งระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้งอย่างยั่งยืน (CoC) ระบบการเพาะเลี้ยงกุ้งที่ดี (GAP) และยังมีการเลี้ยงในระบบปิด จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะแต่อย่างใด
สำหรับการเพิ่มจำนวนของพื้นที่ป่าชายเลนของไทยนั้น ไม่ได้เกิดจากวอลมาร์ท แต่เกิดจากการร่วมมือในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าของไทยเอง ที่ทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศป่าชายเลน
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/2 ... wsid=90802
22 สิงหาคม พ.ศ. 2550 19:18:00
ผู้เลี้ยงกุ้งไทยตอบโต้"วอลมาร์ท"บิดเบือนข้อมูลอุตสาหกรรมกุ้งไทย อ้างเป็นผู้พัฒนาคุณภาพกุ้งไทย หวังประโยชน์ทางธุรกิจ
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายบรรจง นิสภวาณิชย์ นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทย เปิดเผยว่า กรณีที่วอลมาร์ท (Wal-Mart) ได้เสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งของไทยว่า เป็นผู้ที่ทำให้ฟาร์มกุ้งไทยสะอาดขึ้น และทำให้พื้นที่ป่าชายเลนไทยเพิ่มขึ้นด้วย ถือเป็นความสำเร็จของวอลมาร์ท ซึ่งสมาคมกุ้งตะวันออกไทย สมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย และชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง 7 จังหวัด ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงอธิบดีกรมประมง ให้พิจารณาตอบโต้ โดยยืนยันข้อเท็จจริง ว่า คุณภาพกุ้งไทยไม่ได้เกิดจาก วอลมาร์ท (Wal Mart)อย่างที่ถูกบิดเบือน เพื่อนำไปแอบอ้างหวังประโยชน์ทางธุรกิจ เพราะจะกระทบต่อภาพพจน์ที่ไม่ดีต่ออุตสาหกรรมกุ้งไทย
วอลมาร์ทได้ระบุว่า ประเทศไทยใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งที่ล้าหลัง ต่ำกว่ามาตรฐาน ชี้ว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อย 80 % ยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ความเป็นจริงกุ้งทะเลของไทยได้รับการพัฒนา จนเป็นที่ยอมรับของทั่วโลกว่ากุ้งไทยมีคุณภาพสูง มีความปลอดภัย และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ทั้งระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้งอย่างยั่งยืน (CoC) ระบบการเพาะเลี้ยงกุ้งที่ดี (GAP) และยังมีการเลี้ยงในระบบปิด จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะแต่อย่างใด
สำหรับการเพิ่มจำนวนของพื้นที่ป่าชายเลนของไทยนั้น ไม่ได้เกิดจากวอลมาร์ท แต่เกิดจากการร่วมมือในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าของไทยเอง ที่ทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศป่าชายเลน
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/2 ... wsid=90802
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news22/08/07
โพสต์ที่ 48
พณ.ออกประกาศจัดระเบียบส่งออกสับปะรดกระป๋อง
22 สิงหาคม พ.ศ. 2550 13:16:00
จัดระเบียบผู้ส่งออกสินค้าสับปะรดกระป๋องต้องเป็นผู้ส่งออกที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อ สมอ.
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ได้ออกประกาศ เรื่อง การส่งสับปะรดกระป๋องออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2550 ต้องเป็นสินค้าที่ผลิตโดยผู้ผลิตที่ได้รับใบอนุญาตจาก สมอ. และผู้ส่งออกที่เป็นผู้ผลิตต้องมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่ สมอ. แจ้งไว้กับกรมศุลกากร มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2550 เป็นต้นไป
กระทรวงพาณิชย์ ได้ออกประกาศนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาคุณภาพมาตรฐานของสับปะรดกระป๋องที่ส่งออกให้เป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศมากยิ่งขึ้น และพร้อมกันนี้ได้ปรับปรุงมาตรการจัดระเบียบการส่งออกสับปะรดกระป๋องให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน กล่าวคือ กำหนดให้สับปะรดกระป๋องที่จะส่งออกต้องผลิตโดยผู้ผลิตที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องหรือได้รับใบรับแจ้งการทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องเพื่อการส่งออก ในส่วนของผู้ส่งออกที่เป็นผู้ผลิต ต้องมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ผลิตที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งไว้กับกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง หรือได้รับใบแจ้งจาก สมอ. แสดงต่อกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ทุกครั้งที่มีการส่งออก
ส่วนการส่งออกโดยผู้ประกอบการอื่นซึ่งมิใช่ผู้ผลิต จะต้องมีหนังสือรับรองหรือหลักฐานซึ่งระบุได้ว่าสับปะรดกระป๋องที่จะส่งออกเป็นสินค้าที่ผลิตโดยผู้ผลิตซึ่งได้รับใบอนุญาตหรือได้รับใบรับแจ้งดังกล่าวเพื่อแสดงต่อกรมศุลกากรทุกครั้งที่มีการส่งออก ยกเว้นในกรณีที่นำติดตัวออกไปเพื่อใช้เฉพาะตัว หรือกรณีที่ยานพาหนะนำออกไปเพื่อใช้ในยานพาหนะ นั้น ๆ หรือการนำออกไปเพื่อเป็นตัวอย่าง เพื่อการศึกษาวิเคราะห์ โดยให้จำกัดปริมาณเท่าที่จำเป็น
สถิติการส่งออกสับปะรดกระป๋องในช่วงเดือน ม.ค. พ.ค. 2550 ที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออก 293,233 ตัน คิดเป็นมูลค่า 5,420 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 ปริมาณ และมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 3.21 และ 5.62 ตามลำดับ สำหรับตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย ประเทศคู่แข่งที่สำคัญ คือ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย โดยมีมูลค่าการส่งออกสับปะรดกระป๋องประมาณปีละ 3,500 4,400 ล้านบาท และ 3,000 4,200 ล้านบาท ตามลำดับ
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/2 ... wsid=90672
22 สิงหาคม พ.ศ. 2550 13:16:00
จัดระเบียบผู้ส่งออกสินค้าสับปะรดกระป๋องต้องเป็นผู้ส่งออกที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อ สมอ.
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ได้ออกประกาศ เรื่อง การส่งสับปะรดกระป๋องออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2550 ต้องเป็นสินค้าที่ผลิตโดยผู้ผลิตที่ได้รับใบอนุญาตจาก สมอ. และผู้ส่งออกที่เป็นผู้ผลิตต้องมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่ สมอ. แจ้งไว้กับกรมศุลกากร มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2550 เป็นต้นไป
กระทรวงพาณิชย์ ได้ออกประกาศนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาคุณภาพมาตรฐานของสับปะรดกระป๋องที่ส่งออกให้เป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศมากยิ่งขึ้น และพร้อมกันนี้ได้ปรับปรุงมาตรการจัดระเบียบการส่งออกสับปะรดกระป๋องให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน กล่าวคือ กำหนดให้สับปะรดกระป๋องที่จะส่งออกต้องผลิตโดยผู้ผลิตที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องหรือได้รับใบรับแจ้งการทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องเพื่อการส่งออก ในส่วนของผู้ส่งออกที่เป็นผู้ผลิต ต้องมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ผลิตที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งไว้กับกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง หรือได้รับใบแจ้งจาก สมอ. แสดงต่อกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ทุกครั้งที่มีการส่งออก
ส่วนการส่งออกโดยผู้ประกอบการอื่นซึ่งมิใช่ผู้ผลิต จะต้องมีหนังสือรับรองหรือหลักฐานซึ่งระบุได้ว่าสับปะรดกระป๋องที่จะส่งออกเป็นสินค้าที่ผลิตโดยผู้ผลิตซึ่งได้รับใบอนุญาตหรือได้รับใบรับแจ้งดังกล่าวเพื่อแสดงต่อกรมศุลกากรทุกครั้งที่มีการส่งออก ยกเว้นในกรณีที่นำติดตัวออกไปเพื่อใช้เฉพาะตัว หรือกรณีที่ยานพาหนะนำออกไปเพื่อใช้ในยานพาหนะ นั้น ๆ หรือการนำออกไปเพื่อเป็นตัวอย่าง เพื่อการศึกษาวิเคราะห์ โดยให้จำกัดปริมาณเท่าที่จำเป็น
สถิติการส่งออกสับปะรดกระป๋องในช่วงเดือน ม.ค. พ.ค. 2550 ที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออก 293,233 ตัน คิดเป็นมูลค่า 5,420 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 ปริมาณ และมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 3.21 และ 5.62 ตามลำดับ สำหรับตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย ประเทศคู่แข่งที่สำคัญ คือ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย โดยมีมูลค่าการส่งออกสับปะรดกระป๋องประมาณปีละ 3,500 4,400 ล้านบาท และ 3,000 4,200 ล้านบาท ตามลำดับ
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/2 ... wsid=90672
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news23/08/07
โพสต์ที่ 49
หัก1บาทหน้ารง.อุดเสรีอ้อย-น้ำตาล
โดย ข่าวสด วัน พฤหัสบดี ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550 09:18 น.
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.)กำลังพิจารณาแนวทางเพื่อแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ที่มีแนวโน้มต้องกู้เงินอีกกว่า 12,000 ล้านบาทเพื่อมาชดเชยราคาอ้อยขั้นต้นที่สูงกว่าขั้นสุดท้าย ซึ่งตนมีแนวคิดส่วนตัวในการแก้ปัญหาหนี้ในอุตสาหกรรมนี้ 2 ขั้นตอน คือ 1.หักเงินจากราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 2.หักเงินจากราคาอ้อยตามที่ตกลงกันไว้ จะเป็นเท่าไรก็ได้เพื่อนำมาใช้หนี้ อย่างไรก็ตามคงเปิดเสรีในอุตสาหกรรมนี้ไม่ได้ เพราะขณะนี้ราคาน้ำตาลในไทยแพงกว่าตลาดโลกแล้ว ถ้าเปิดเสรี ราคาน้ำตาลขายปลีกขณะนี้ต้องปรับลง เพราะราคาน้ำตาลตลาดโลกช่วงนี้ปรับลดลงมาก ประกอบกับค่าเงินบาทแข็ง ยิ่งทำให้ราคาน้ำตาลลดลง
รายงานข่าวระบุว่า การหักเงินจากราคาน้ำตาลหน้าโรงงาน 1 บาท/ก.ก.จะได้เงินประมาณ 2,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวหากจัดทำแผนชำระหนี้ 1 หมื่นล้านบาทที่จะกู้กับธ.ก.ส.ใหม่จะแยกกับหนี้เก่าและจะใช้หนี้ได้หมดประมาณ 6 ปี แต่แผนทั้งหมดคงต้องรอให้รัฐบาลตัดสินใจและคงจะต้องเร่งให้เสร็จในรัฐบาลนี้เพราะราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปกติทุกปีจะต้องประกาศราวต.ค.
http://news.sanook.com/economic/economic_172639.php
โดย ข่าวสด วัน พฤหัสบดี ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550 09:18 น.
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.)กำลังพิจารณาแนวทางเพื่อแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ที่มีแนวโน้มต้องกู้เงินอีกกว่า 12,000 ล้านบาทเพื่อมาชดเชยราคาอ้อยขั้นต้นที่สูงกว่าขั้นสุดท้าย ซึ่งตนมีแนวคิดส่วนตัวในการแก้ปัญหาหนี้ในอุตสาหกรรมนี้ 2 ขั้นตอน คือ 1.หักเงินจากราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 2.หักเงินจากราคาอ้อยตามที่ตกลงกันไว้ จะเป็นเท่าไรก็ได้เพื่อนำมาใช้หนี้ อย่างไรก็ตามคงเปิดเสรีในอุตสาหกรรมนี้ไม่ได้ เพราะขณะนี้ราคาน้ำตาลในไทยแพงกว่าตลาดโลกแล้ว ถ้าเปิดเสรี ราคาน้ำตาลขายปลีกขณะนี้ต้องปรับลง เพราะราคาน้ำตาลตลาดโลกช่วงนี้ปรับลดลงมาก ประกอบกับค่าเงินบาทแข็ง ยิ่งทำให้ราคาน้ำตาลลดลง
รายงานข่าวระบุว่า การหักเงินจากราคาน้ำตาลหน้าโรงงาน 1 บาท/ก.ก.จะได้เงินประมาณ 2,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวหากจัดทำแผนชำระหนี้ 1 หมื่นล้านบาทที่จะกู้กับธ.ก.ส.ใหม่จะแยกกับหนี้เก่าและจะใช้หนี้ได้หมดประมาณ 6 ปี แต่แผนทั้งหมดคงต้องรอให้รัฐบาลตัดสินใจและคงจะต้องเร่งให้เสร็จในรัฐบาลนี้เพราะราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปกติทุกปีจะต้องประกาศราวต.ค.
http://news.sanook.com/economic/economic_172639.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news25/08/07
โพสต์ที่ 50
พิษบาทแข็งเล่นงาน "เพรซิเดนท์ อะกริฯ-ยักษ์ค้าข้าวเมืองชาละวัน" ล้มทั้งยืน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 24 สิงหาคม 2550 07:51 น.
พิษบาทแข็งเล่นงาน ยักษ์ค้าข้าวเมืองชาละวัน "เพรซิเดนท์ อะกริฯ" ล้มทั้งยืน หมดสภาพความรุ่งเรืองสุดขีดยุคผู้นำ "แม้ว" ขณะที่นายแบงก์ยอมรับ หนี้เน่าเพิ่มขึ้นอื้อ เหตุปล่อยกู้กลุ่ม เพรซิเดนท์ อะกริฯ และวิกฤติซับไพรม์ ล่าสุด กองทุนฟื้นฟูสั่งสอบการปล่อยกู้แล้ว
วันนี้(24 ส.ค.) มีรายงานข่าวแจ้งว่า บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด และบริษัท เพรซิเดนท์ เกรน ไซโล จำกัด ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของประเทศ ตั้งอยู่ใน ต.หอไกร อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร ได้ปิดกิจการลงแล้ว เนื่องจากประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่มีเงินหมุนเวียน
ทั้งนี้ รายงานข่าวระบุว่า บริษัททั้งสองแห่งได้ประสบปัญหาดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นปี 2550 แต่ยังดำเนินกิจการเรื่อยมาจนถึง 21 ส.ค.ที่ผ่านมา จึงได้ประกาศปิดกิจการ ซึ่งบริษัท เพรซิเดนท์ อะกริฯ มีลูกจ้างจำนวน 95 คน บริษัท เพรซิเดนท์ เกรนฯ มีลูกจ้างจำนวน 103 คน รวมลูกจ้างทั้งสิ้น 195 คน
ล่าสุด สำนักงานพาณิชย์ พร้อมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพิจิตร ได้เตรียมเข้าไปดูแลพนักงานและลูกจ้างทั้งหมดแล้ว และเตรียมนัดเจรจากับลูกจ้างเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์กรณีเลิกจ้างลูกจ้าง ขณะที่ทางบริษัทแจ้งว่าจะจ่ายเงินช่วยเหลือลูกจ้างรายละ 2.5 เท่าของค่าข้าง มีกำหนดจ่ายในเดือนสิงหาคมนี้
นายบรรจง ตั้งจิตวัฒนากุล นายกสมาคมโรงสีข้าวจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า การปิดกิจการของโรงสีข้าวของบริษัทดังกล่าวมีสาเหตุจากปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้โรงสีข้าวทั้ง 2 แห่ง มีรายได้จากการส่งออกลดลง รวมทั้งการที่รัฐบาลรักษาการประกาศปรับราคาข้าวลงอีก 10% ทำให้บริษัทในเครือทั้ง 2 แห่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในเอกชนรายใหญ่ที่ประมูลข้าวในสต็อกจากกระทรวงพาณิชย์ในปีการผลิต 47/48 ได้รับผลกระทบมาก และขาดทุนจากการขายข้าวในปีการผลิต 49/50 ถึงตันละ 1,000 บาท
นอกจากนี้ โรงสีข้าวในเครือบริษัท เพรซิเดนท์ทั้ง 2 แห่ง ยังถูกองค์การคลังสินค้า (อคส.) ปรับเป็นเงินสูงกว่า 1,000 ล้านบาท เพราะไม่สามารถนำข้าวส่งออกได้ตามข้อตกลง ทั้งนี้ หลังโรงสีทั้ง 2 แห่งปิดกิจการ สมาคมได้หารือสมาชิกเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการรับคนงานบางส่วนเข้าทำงานกับโรงสีของสมาชิกที่มีความต้องการแรงงานเพิ่ม อย่างไรก็ตาม ได้สอบถามผู้ประกอบการโรงสีข้าวที่เป็นสมาชิกว่ามีรายใดที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกับโรงสีข้าวทั้ง 2 แห่งหรือไม่ เพื่อเตรียมรับมือและหาทางช่วยเหลือ ทราบว่ามีประมาณ 26 แห่ง ที่มีเริ่มมีปัญหา
มีการตั้งข้อสังเกตุว่า บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริฯ นับเป็นบริษัทที่มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับรัฐบาลยุคทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีกระแสข่าวการผูกขาดและการทุจริตมาโดยตลอด เพราะชนะการประมูลข้าวได้จำนวนมหาศาล หลังจากรัฐบาลทักษิณถูกยึดอำนาจ ก็เริ่มมีปัญหา กลายเป็นกิจการที่สร้างหนี้เสียให้แบงก์หลายแห่งเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท
สาเหตุที่ทำให้ธนาคารไทยธนาคารมีหนี้เพิ่มขึ้น 19 ล้านบาทในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากการปล่อยกู้ให้แก่กลุ่มบริษัท เพรซิเดนท์ อะกริเทรดดิ้ง จำกัด จำนวน 1,760 ล้านบาท ซึ่งเป็นการปล่อยสินเชื่อที่มีเม็ดเงินจำนวนสูงเมื่อเทียบกับขนาดของธนาคารที่มีขนาดเล็ก และจากการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศที่สินทรัพย์อ้างอิง(ซีอีโอ)จำนวน 276 ล้านบาทด้วย ซึ่งมีความกังวลว่าเป็นการลงทุนในซีอีโอที่มีปัญหาปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน(ซับไพรม์) อยู่ในขณะนี้
กองทุนฟื้นฟูฯ สั่งสอบปล่อยกู้ เพรสซิเดนท์ฯ
ก่อนหน้านี้นายสาธร โตโพธิ์ไทย ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและติดตามทรัพย์สิน กองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวว่า ธปท.สั่งการให้คณะกรรมการไทยธนาคารตั้งคณะกรรมการตรวจสอบขึ้นมา 1 ชุด โดยมีฝ่ายตรวจสอบสถาบันการเงินของ ธปท. เป็นกรรมการร่วมด้วย เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ทั้งกรณีการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกหนี้ และการลงทุนในตราสารหนี้ว่า เกิดจากสาเหตุใด แล้วแจ้งให้กองทุนทราบภายใน 30 วัน หลังจากตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ หรือภายในกลางเดือนกันยายนนี้
กองทุนฟื้นฟูฯ ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพราะกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของไทยธนาคาร และไทยธนาคารเป็นธนาคารขนาดเล็ก หากมีปัญหาหนี้เสียเพิ่มขึ้นมาก หรือขาดทุนจากการไปลงทุนจำนวนมาก อาจจะกระทบต่อฐานะของธนาคารได้ โดยในส่วนของการตรวจสอบลูกหนี้ ทางกองทุนฟื้นฟูฯ ได้เน้นลูกหนี้ บริษัท เพรสซิเดนท์ฯ ซึ่งเป็นลูกหนี้รายใหญ่ของธนาคาร มูลหนี้กว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งเริ่มมีปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ได้เป็นพิเศษว่า มีขั้นตอนและวิธีการในการปล่อยสินลูกหนี้รายนี้ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และจำเป็นต้องกันสำรองหนี้เพิ่มขึ้นเท่าไร นายสาธร กล่าว
สำหรับเหตุผลที่ให้ตรวจสอบบริษัท เพรสซิเดนท์ฯ เป็นพิเศษ นั้น ยืนยันว่า ไม่ได้เกิดจากประเด็นทางการเมือง หรือเลือกปฏิบัติเฉพาะรายนี้เพียงรายเดียว แต่ขณะนี้เท่าที่ตรวจสอบ พบลูกหนี้รายใหญ่ที่อาจจะกระทบต่อการดำเนินการของไทยธนาคาร ยังพบเพียงรายเดียว หากพบรายอื่นเพิ่มเติมก็ต้องตรวจสอบเช่นเดียวกัน ส่วนกรณีที่ยังไม่ได้สั่งการให้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธนาคารเจ้าหนี้ บริษัท เพรสซิเดนท์ฯ ทั้ง ๆ ที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารกรุงไทยเช่นกันนั้น เนื่องจากธนาคารกรุงไทย เป็นธนาคารขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของธนาคารมูลหนี้ที่ให้กู้กับหนี้บริษัทเพรสซิเดนท์ฯ ไม่กระทบต่อฐานะรุนแรงเท่ากับกรณีไทยธนาคาร แต่เจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูฯ ก็ติดตามกรณีดังกล่าวอยู่
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000099455
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 24 สิงหาคม 2550 07:51 น.
พิษบาทแข็งเล่นงาน ยักษ์ค้าข้าวเมืองชาละวัน "เพรซิเดนท์ อะกริฯ" ล้มทั้งยืน หมดสภาพความรุ่งเรืองสุดขีดยุคผู้นำ "แม้ว" ขณะที่นายแบงก์ยอมรับ หนี้เน่าเพิ่มขึ้นอื้อ เหตุปล่อยกู้กลุ่ม เพรซิเดนท์ อะกริฯ และวิกฤติซับไพรม์ ล่าสุด กองทุนฟื้นฟูสั่งสอบการปล่อยกู้แล้ว
วันนี้(24 ส.ค.) มีรายงานข่าวแจ้งว่า บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด และบริษัท เพรซิเดนท์ เกรน ไซโล จำกัด ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของประเทศ ตั้งอยู่ใน ต.หอไกร อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร ได้ปิดกิจการลงแล้ว เนื่องจากประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่มีเงินหมุนเวียน
ทั้งนี้ รายงานข่าวระบุว่า บริษัททั้งสองแห่งได้ประสบปัญหาดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นปี 2550 แต่ยังดำเนินกิจการเรื่อยมาจนถึง 21 ส.ค.ที่ผ่านมา จึงได้ประกาศปิดกิจการ ซึ่งบริษัท เพรซิเดนท์ อะกริฯ มีลูกจ้างจำนวน 95 คน บริษัท เพรซิเดนท์ เกรนฯ มีลูกจ้างจำนวน 103 คน รวมลูกจ้างทั้งสิ้น 195 คน
ล่าสุด สำนักงานพาณิชย์ พร้อมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพิจิตร ได้เตรียมเข้าไปดูแลพนักงานและลูกจ้างทั้งหมดแล้ว และเตรียมนัดเจรจากับลูกจ้างเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์กรณีเลิกจ้างลูกจ้าง ขณะที่ทางบริษัทแจ้งว่าจะจ่ายเงินช่วยเหลือลูกจ้างรายละ 2.5 เท่าของค่าข้าง มีกำหนดจ่ายในเดือนสิงหาคมนี้
นายบรรจง ตั้งจิตวัฒนากุล นายกสมาคมโรงสีข้าวจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า การปิดกิจการของโรงสีข้าวของบริษัทดังกล่าวมีสาเหตุจากปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้โรงสีข้าวทั้ง 2 แห่ง มีรายได้จากการส่งออกลดลง รวมทั้งการที่รัฐบาลรักษาการประกาศปรับราคาข้าวลงอีก 10% ทำให้บริษัทในเครือทั้ง 2 แห่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในเอกชนรายใหญ่ที่ประมูลข้าวในสต็อกจากกระทรวงพาณิชย์ในปีการผลิต 47/48 ได้รับผลกระทบมาก และขาดทุนจากการขายข้าวในปีการผลิต 49/50 ถึงตันละ 1,000 บาท
นอกจากนี้ โรงสีข้าวในเครือบริษัท เพรซิเดนท์ทั้ง 2 แห่ง ยังถูกองค์การคลังสินค้า (อคส.) ปรับเป็นเงินสูงกว่า 1,000 ล้านบาท เพราะไม่สามารถนำข้าวส่งออกได้ตามข้อตกลง ทั้งนี้ หลังโรงสีทั้ง 2 แห่งปิดกิจการ สมาคมได้หารือสมาชิกเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการรับคนงานบางส่วนเข้าทำงานกับโรงสีของสมาชิกที่มีความต้องการแรงงานเพิ่ม อย่างไรก็ตาม ได้สอบถามผู้ประกอบการโรงสีข้าวที่เป็นสมาชิกว่ามีรายใดที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกับโรงสีข้าวทั้ง 2 แห่งหรือไม่ เพื่อเตรียมรับมือและหาทางช่วยเหลือ ทราบว่ามีประมาณ 26 แห่ง ที่มีเริ่มมีปัญหา
มีการตั้งข้อสังเกตุว่า บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริฯ นับเป็นบริษัทที่มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับรัฐบาลยุคทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีกระแสข่าวการผูกขาดและการทุจริตมาโดยตลอด เพราะชนะการประมูลข้าวได้จำนวนมหาศาล หลังจากรัฐบาลทักษิณถูกยึดอำนาจ ก็เริ่มมีปัญหา กลายเป็นกิจการที่สร้างหนี้เสียให้แบงก์หลายแห่งเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท
สาเหตุที่ทำให้ธนาคารไทยธนาคารมีหนี้เพิ่มขึ้น 19 ล้านบาทในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากการปล่อยกู้ให้แก่กลุ่มบริษัท เพรซิเดนท์ อะกริเทรดดิ้ง จำกัด จำนวน 1,760 ล้านบาท ซึ่งเป็นการปล่อยสินเชื่อที่มีเม็ดเงินจำนวนสูงเมื่อเทียบกับขนาดของธนาคารที่มีขนาดเล็ก และจากการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศที่สินทรัพย์อ้างอิง(ซีอีโอ)จำนวน 276 ล้านบาทด้วย ซึ่งมีความกังวลว่าเป็นการลงทุนในซีอีโอที่มีปัญหาปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน(ซับไพรม์) อยู่ในขณะนี้
กองทุนฟื้นฟูฯ สั่งสอบปล่อยกู้ เพรสซิเดนท์ฯ
ก่อนหน้านี้นายสาธร โตโพธิ์ไทย ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและติดตามทรัพย์สิน กองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวว่า ธปท.สั่งการให้คณะกรรมการไทยธนาคารตั้งคณะกรรมการตรวจสอบขึ้นมา 1 ชุด โดยมีฝ่ายตรวจสอบสถาบันการเงินของ ธปท. เป็นกรรมการร่วมด้วย เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ทั้งกรณีการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกหนี้ และการลงทุนในตราสารหนี้ว่า เกิดจากสาเหตุใด แล้วแจ้งให้กองทุนทราบภายใน 30 วัน หลังจากตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ หรือภายในกลางเดือนกันยายนนี้
กองทุนฟื้นฟูฯ ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพราะกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของไทยธนาคาร และไทยธนาคารเป็นธนาคารขนาดเล็ก หากมีปัญหาหนี้เสียเพิ่มขึ้นมาก หรือขาดทุนจากการไปลงทุนจำนวนมาก อาจจะกระทบต่อฐานะของธนาคารได้ โดยในส่วนของการตรวจสอบลูกหนี้ ทางกองทุนฟื้นฟูฯ ได้เน้นลูกหนี้ บริษัท เพรสซิเดนท์ฯ ซึ่งเป็นลูกหนี้รายใหญ่ของธนาคาร มูลหนี้กว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งเริ่มมีปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ได้เป็นพิเศษว่า มีขั้นตอนและวิธีการในการปล่อยสินลูกหนี้รายนี้ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และจำเป็นต้องกันสำรองหนี้เพิ่มขึ้นเท่าไร นายสาธร กล่าว
สำหรับเหตุผลที่ให้ตรวจสอบบริษัท เพรสซิเดนท์ฯ เป็นพิเศษ นั้น ยืนยันว่า ไม่ได้เกิดจากประเด็นทางการเมือง หรือเลือกปฏิบัติเฉพาะรายนี้เพียงรายเดียว แต่ขณะนี้เท่าที่ตรวจสอบ พบลูกหนี้รายใหญ่ที่อาจจะกระทบต่อการดำเนินการของไทยธนาคาร ยังพบเพียงรายเดียว หากพบรายอื่นเพิ่มเติมก็ต้องตรวจสอบเช่นเดียวกัน ส่วนกรณีที่ยังไม่ได้สั่งการให้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธนาคารเจ้าหนี้ บริษัท เพรสซิเดนท์ฯ ทั้ง ๆ ที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารกรุงไทยเช่นกันนั้น เนื่องจากธนาคารกรุงไทย เป็นธนาคารขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของธนาคารมูลหนี้ที่ให้กู้กับหนี้บริษัทเพรสซิเดนท์ฯ ไม่กระทบต่อฐานะรุนแรงเท่ากับกรณีไทยธนาคาร แต่เจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูฯ ก็ติดตามกรณีดังกล่าวอยู่
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000099455
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/08/07
โพสต์ที่ 51
ไทยชูจุดแข็ง ฮับฮาลาลโลก
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน.ร่วมมือกับหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมนักธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย - มุสลิม TITIA (Thai-Islamic Trade and Industrial Association) และศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน World of Muslim 2007 ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2550 ณ อิมแพค เมืองทองธานี
รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดะห์ลัน คณบดี คณะสหเวชศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลและผู้อำนวยการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจผลิตภัณฑ์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ไทยมีแนวโน้มการเติบโตของตลาดมุสลิมในประเทศไทย โดยจากปี 2000 -2006 มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 12.47% สร้างรายได้ประมาณ 11,052 ล้านบาท/ ปี มีการส่งออกเป็นอันดับที่ 12 ของโลก โดยส่วนแบ่งในตลาดอาหารฮาลาล ประมาณ 330 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 0.057 % เป็นช่องว่างที่ประเทศไทยยังสามารถส่งออกไปได้เพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดใหม่ๆ ในกลุ่มประเทศมุสลิม
รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย กล่าวต่อว่า ปัจจุบันประชากรมุสลิมมีอยู่ในโลกประมาณ 1,900 ล้านคน มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเพิ่ม 2 - 3 เท่า มากกว่าประชากรกลุ่มอื่นๆ จึงเป็นโอกาสของไทยที่จะขยายการค้ากับกลุ่มประเทศเหล่านี้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐจะต้องกระตุ้นให้นักธุรกิจไทยร้อยละ 99% ที่ไม่ใช่มุสลิม เห็นโอกาสของฮาลาล มากขึ้น และจุดแข็งของประเทศไทยคือ การที่มีศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ซึ่งเป็นศูนย์แห่งแรกของโลกที่ดำเนินการในด้านนี้
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=188340
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน.ร่วมมือกับหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมนักธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย - มุสลิม TITIA (Thai-Islamic Trade and Industrial Association) และศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน World of Muslim 2007 ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2550 ณ อิมแพค เมืองทองธานี
รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดะห์ลัน คณบดี คณะสหเวชศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลและผู้อำนวยการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจผลิตภัณฑ์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ไทยมีแนวโน้มการเติบโตของตลาดมุสลิมในประเทศไทย โดยจากปี 2000 -2006 มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 12.47% สร้างรายได้ประมาณ 11,052 ล้านบาท/ ปี มีการส่งออกเป็นอันดับที่ 12 ของโลก โดยส่วนแบ่งในตลาดอาหารฮาลาล ประมาณ 330 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 0.057 % เป็นช่องว่างที่ประเทศไทยยังสามารถส่งออกไปได้เพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดใหม่ๆ ในกลุ่มประเทศมุสลิม
รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย กล่าวต่อว่า ปัจจุบันประชากรมุสลิมมีอยู่ในโลกประมาณ 1,900 ล้านคน มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเพิ่ม 2 - 3 เท่า มากกว่าประชากรกลุ่มอื่นๆ จึงเป็นโอกาสของไทยที่จะขยายการค้ากับกลุ่มประเทศเหล่านี้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐจะต้องกระตุ้นให้นักธุรกิจไทยร้อยละ 99% ที่ไม่ใช่มุสลิม เห็นโอกาสของฮาลาล มากขึ้น และจุดแข็งของประเทศไทยคือ การที่มีศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ซึ่งเป็นศูนย์แห่งแรกของโลกที่ดำเนินการในด้านนี้
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=188340
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news31/08/07
โพสต์ที่ 52
ธุรกิจโรงสีข้าว : ปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข
31 สิงหาคม พ.ศ. 2550 11:17:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : จากกรณีธุรกิจโรงสีใหญ่ในจังหวัดพิจิตรปิดกิจการโรงสีข้าว 2 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา และข่าวเกี่ยวกับการลักลอบนำข้าวที่เป็นสต็อกข้าวในโครงการรับจำนำข้าวออกไปจำหน่าย นับว่าเป็นข่าวที่ได้รับความสนใจอย่างมาก และส่งผลให้หลายฝ่ายหันมาจับตามองธุรกิจโรงสี เนื่องจากธุรกิจโรงสีมีปัญหาสะสมนานัปการ โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และปัญหาการแบกรับภาระสต็อกข้าวของรัฐบาลอันเกิดจากโครงการรับจำนำข้าวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำหรับในปี 2550 นี้ธุรกิจโรงสีต้องได้รับผลกระทบจากการปรับนโยบายการรับจำนำข้าว ส่งผลให้โรงสีหลายแห่งขาดรายได้จากการรับจำนำข้าวตามโครงการรับจำนำจากการรับจ้างสีข้าวที่อยู่ในโครงการรับจำนำ และมีความต้องการเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเพื่อรับซื้อข้าวเปลือกในตลาด นอกจากนี้โรงสีที่เป็นผู้ส่งออกข้าวด้วยเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทยิ่งส่งผลให้กำไรของโรงสีนั้นลดลง ในขณะที่ต้องเผชิญกับราคาข้าวที่อยู่ในเกณฑ์สูงขึ้น โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียว
ปัญหาธุรกิจโรงสี...หลากปัญหาถาโถม
การปิดกิจการโรงสีและการลักลอบนำข้าวในโครงการรับจำนำไปจำหน่ายนั้นนับว่าเป็นผลลัพธ์จากหลากหลายปัญหาที่สะสมของธุรกิจโรงสี ซึ่งแยกพิจารณาปัญหาของธุรกิจโรงสีได้ดังนี้
1.ปัญหาการขาดแคลนเงินทุน เนื่องจากโรงสีซื้อข้าวจากเกษตรกรด้วยเงินสด แต่จำหน่ายข้าวให้กับผู้ส่งออกด้วยการให้เครดิตหรือเงินเชื่อ ปัจจุบันเมื่อผู้ส่งออกข้าวเผชิญกับปัญหาการแข็งค่าของเงินบาท ผู้ส่งออกข้าวบางรายเริ่มชะลอการชำระเงินค่าข้าวสาร ยิ่งส่งผลทำให้ธุรกิจขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ธุรกิจโรงสีบางแห่งโดยเฉพาะโรงสีในภาคกลางต้องมีต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากในภาคกลางมีจำนวนโรงสีมากกว่าปริมาณข้าวที่ผลิตได้ ทำให้โรงสีบางแห่งต้องไปรับซื้อข้าวเปลือกนอกพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อให้มีข้าวเพียงพอกับกำลังการผลิต
2.ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานนั้นเคยเป็นข่าวใหญ่ในปี 2541 โดยปัญหาในเรื่องการขอผ่อนผันในการจ้างแรงงานต่างด้าวในธุรกิจโรงสีข้าวที่ดำเนินมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2541 และลุกลามบานปลายจนกระทั่งในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมธุรกิจโรงสีประมาณ 300-400 แห่งหยุดรับซื้อข้าวทั้งที่เป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง สร้างความปั่นป่วนให้กับชาวนา และธุรกิจต่อเนื่องที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบอย่างมาก เมื่อมีการประท้วงด้วยการหยุดรับซื้อข้าวทางคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวจึงมีการทบทวนมติการผ่อนผันการใช้แรงงานต่างด้าว และมีมติในวันที่ 15 กรกฎาคม 2541 ให้ผ่อนผันการใช้แรงงานต่างด้าวในกิจการ 5 ประเภทออกไปก่อน
ซึ่งธุรกิจโรงสีข้าวเป็นกิจการหนึ่งที่ได้รับการผ่อนผัน ตัวเลขแรงงานต่างด้าวในธุรกิจโรงสียังไม่มีการรวบรวมที่ชัดเจน ปัจจุบันปริมาณโรงสีข้าวที่ขึ้นทะเบียนไว้ที่กระทรวงอุตสาหกรรมมีจำนวน 39,834 แห่ง แต่ที่ทำการสีข้าวจริงมีเพียง 2,000 แห่งทั่วประเทศ มีการจ้างพนักงานและแรงงานทั้งสิ้น 80,000 คน ทั้งนี้แยกเป็นพนักงานในสำนักงานและช่างเทคนิคประมาณ 60,000 คน และกรรมกรแบกหาม 20,000 คน ซึ่งในจำนวนกรรมกรแบกหามนี้คาดว่ามีแรงงานต่างด้าวในธุรกิจโรงสีประมาณ 23,000 คน
3.ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐบาล กลไกการค้าข้าวเปลี่ยนแปลงไปมาก เมื่อนโยบายรัฐบาลชุดที่ผ่านมามีโครงการยกระดับราคาข้าวด้วยมาตรการรับจำนำในราคาที่สูงกว่าท้องตลาดมาก และจ้างโรงสีแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร หลังจากนั้นรัฐบาลนำข้าวสารมาประมูลขายให้กับผู้ส่งออก กลไกดังกล่าวทำให้เกิดการตัดตอนธุรกิจค้าข้าวพ่อค้าคนกลางข้าวเปลือก และเจ้าของตลาดกลางข้าวเปลือก ทำให้ธุรกิจโรงสีข้าวกลายเป็นการรับจ้างรัฐแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร และเป็นผู้เก็บรักษาข้าวของรัฐเพื่อรอชาวนามาไถ่ถอนหรือรอการประมูลของเอกชนเพื่อการส่งออก เมื่อรัฐบาลในอดีตไม่สามารถระบายข้าวที่รับจำนำออกจากไปสู่ต่างประเทศได้ เนื่องจากราคาข้าวของไทยอยู่ในเกณฑ์สูง ปริมาณสต็อกข้าวของรัฐจึงมีปริมาณสูงขึ้น
นับว่าเป็นภาระอย่างมากในการเก็บรักษาข้าวของบรรดาโรงสีที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว กอปรกับในระยะที่ผ่านมาบรรดาโรงสีประสบปัญหาการค้างชำระเงินค่าบริหารจัดการสต็อกข้าว เช่น ค่าเช่าโกดัง ค่ารมยา ค่าเซอร์เวเยอร์ เป็นต้น อีกทั้งยังส่งผลให้โรงสีบางแห่งมีที่เพื่อเก็บข้าวในช่วงฤดูการผลิตใหม่ลดลง ซึ่งทำให้โรงสีต้องเสียโอกาสในการรับซื้อข้าว ส่งผลให้บรรดาโรงสีที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวมีปัญหาขาดแคลนสภาพคล่องทางการเงิน
แต่ในปี 2550 รัฐบาลมีการปรับลดราคารับจำนำข้าวลงเพื่อให้ใกล้เคียงกับราคาตลาด ทำให้ชาวนาหันมาขายข้าวให้กับโรงสีโดยตรง ดังนั้นบรรดาโรงสีต้องปรับตัวโดยการเพิ่มเงินหมุนเวียนเพื่อรับซื้อข้าวจากชาวนา อีกทั้งในปีนี้ราคาข้าวมีแนวโน้มสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากความต้องการในตลาดโลกสูงขึ้น ในขณะที่ปริมาณการผลิตข้าวในประเทศคู่แข่งสำคัญคือ เวียดนามลดลงจากปัญหาภาวะน้ำท่วมและโรคแมลงศัตรูระบาด ทำให้เวียดนามส่งออกข้าวได้ลดลง ดังนั้นจากการที่ราคาข้าวมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้บรรดาธุรกิจโรงสีข้าวมีความต้องการเงินหมุนเวียนเพื่อที่จะรับซื้อข้าวเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่กำหนดโอกาสในการเพิ่มรายได้ของธุรกิจโรงสีก็คือ ความสามารถในการรับซื้อข้าวที่มีแนวโน้มการส่งออกดี โดยในปี 2550 ประเภทข้าวที่มีแนวโน้มส่งออกดีคือ ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว และข้าวนึ่ง ดังนั้นโรงสีที่มีสัดส่วนของการสีข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียวมากกว่าข้าวขาวก็จะมีรายได้มากกว่าโรงสีที่มีสัดส่วนการสีข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียวน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องพิจารณาไปด้วยกัน คือ ที่ตั้งของโรงสี เนื่องจากจะเป็นปัจจัยกำหนดค่าขนส่ง กล่าวคือ โรงสีที่ตั้งอยู่ในแหล่งผลิตจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า เช่น กรณีข้าวเหนียว แหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ส่วนข้าวหอมมะลิ แหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เป็นต้น
สำหรับกรณีของข้าวนึ่งนั้นเป็นโรงสีเฉพาะที่ต้องมีลักษณะการผลิตและเครื่องจักรเฉพาะ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่กำหนดรายได้ของโรงสีข้าวนึ่ง คือ ภาวะตลาดส่งออกข้าวนึ่ง เนื่องจากการผลิตทั้งหมดเพื่อตลาดส่งออก อย่างไรก็ตามปัจจัยเอื้อของธุรกิจโรงสีข้าวนึ่ง คือ การผลิตของข้าวนึ่งค่อนข้างยาก ทำให้มีผู้ประกอบการน้อยราย การแข่งขันจึงไม่สูงมากเมื่อเทียบกับโรงสีข้าวอื่นๆ นอกจากนี้ การหันปรับคุณลักษณะของข้าวนึ่งเพื่อเจาะขยายตลาดในประเทศในฐานะที่เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการของข้าวนึ่งได้รับยอมรับทั้งสหรัฐฯและสหภาพยุโรป
อนาคตของธุรกิจโรงสี...ต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด
ท่ามกลางหลากหลายปัญหาที่รุมเร้าธุรกิจโรงสีข้าว ทำให้บรรดาธุรกิจโรงสีข้าวต้องเร่งปรับตัวเพื่อประคองตัวให้อยู่รอด ซึ่งปัจจัยกำหนดความอยู่รอดของธุรกิจโรงสี มีดังนี้
1.ปัจจัยภายในธุรกิจ ต้องเร่งปรับประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในของธุรกิจโรงสี นับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ โรงสีบางแห่งยังจำเป็นต้องพัฒนาผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวให้มีความหลากหลาย เช่น ข้าวผสมสมุนไพร ข้าวกล้อง ข้าวสายพันธุ์ท้องถิ่น เป็นต้น ทั้งนี้นับว่าเป็นการเพิ่มรายได้ และสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
2.ปัจจัยภายนอก สำหรับปัจจัยภายนอกที่กำหนดอนาคตของธุรกิจโรงสี ได้แก่
- ตลาดในประเทศ ในประเด็นนี้บรรดาผู้ประกอบการโรงสีจะต้องเพิ่มการบริโภคผลิตภัณฑ์ข้าว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารที่ใช้ข้าวเจ้าและข้าวเหนียวเป็นวัตถุดิบ เช่น อุตสาหกรรมเส้นหมี่เส้นก๋วยเตี๋ยว อุตสาหกรรมเบเกอรี่ อุตสาหกรรมขนมขบเคี้ยว เป็นต้น เนื่องจากธุรกิจโรงสีและผู้ค้าข้าวเป็นธุรกิจที่มีตลาดในประเทศคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของตลาดทั้งหมด โดยตลาดในประเทศมีความต้องการข้าวอย่างต่อเนื่อง โดยคนไทยส่วนใหญ่ยังบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวของตลาดนับว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยเป็นไปตามการขยายตัวของประชากร โดยในปี 2550 คาดว่าอัตราการบริโภคข้าวของไทยประมาณ 156 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แนวทางการเพิ่มปริมาณการบริโภคข้าวของคนไทย
- ตลาดส่งออก ภาวะการส่งออกข้าวและผลิตภัณฑ์นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงสีข้าว โดยเป็นปัจจัยกำหนดราคาข้าวในประเทศ ซึ่งภาวะการส่งออกข้าวในแต่ละปีค่อนข้างผันผวน โดยปัจจัยกำหนดสำคัญที่ต้องพิจารณาร่วมกัน คือ ปริมาณการผลิตข้าวของไทย ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ปริมาณน้ำ และการแพร่ระบาดของโรคและแมลงศัตรู ปริมาณความต้องการข้าวของประเทศคู่ค้า ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกับปริมาณการผลิตข้าวของประเทศคู่แข่ง เนื่องจากจะเป็นปัจจัยกำหนดว่าในปีนั้นไทยต้องเผชิญการแข่งขันรุนแรงหรือไม่ ซึ่งทุกปัจจัยเหล่านี้จะมีผลสะท้อนอยู่ในรูปของราคาข้าวส่งออกของไทย และส่งผลต่อเนื่องถึงราคาข้าวในประเทศ ดังนั้นการติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับตลาดส่งออกข้าวและผลิตภัณฑ์นับว่าเป็นแนวทางในการกำหนดและปรับธุรกิจโรงสีข้าวได้ทันเหตุการณ์
- การปรับนโยบายข้าวของรัฐบาล นโยบายข้าวของรัฐบาลที่สำคัญและมีการกล่าวถึงค่อนข้างมากคือ มาตรการจำนำข้าว โดยหลักการของมาตรการรับจำนำข้าวเป็นการกำหนดราคาเป้าหมายเพื่อให้ชาวนาตัดสินใจว่าจะจำนำข้าวกับรัฐบาลหรือขายให้กับโรงสีโดยตรง ดังนั้นมาตรการจำนำข้าวส่งผลกระทบราคาข้าวในประเทศ และปริมาณข้าวที่เข้าสู่โรงสี นอกจากนี้ผลต่อเนื่องของมาตรการจำนำข้าวคือ ปริมาณสต็อกข้าวเมื่อสิ้นสุดโครงการรับจำนำข้าวในแต่ละปีในกรณีที่ชาวนาไม่มาไถ่ถอนข้าว ซึ่งปริมาณสต็อกข้าวที่อยู่ในเกณฑ์สูงมีผลทำให้ประเทศคู่ค้าข้าวของไทยกดราคารับซื้อข้าว และชะลอการซื้อเพื่อรอดูนโยบายการระบายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล
ขณะที่การระบายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล แม้ว่าจะเป็นการประมูลโดยผู้ส่งออก แต่ก็ส่งผลทางอ้อมกับราคาข้าวในประเทศมีแนวโน้มลดลง ซึ่งในช่วงที่เหลือของปี 2550 นี้ บรรดาธุรกิจโรงสีจะต้องติดตามการปรับนโยบายของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่ต้องเร่งระบายข้าวที่อยู่ในสต็อกจากมาตรการรับจำนำข้าวในปีที่ผ่านๆ โดยรัฐบาลพิจารณาจะทยอยระบายข้าวภายใน 4 เดือน(เดือนกันยายน-ธันวาคม 2550) และอาจจะพิจารณาเลื่อนการเปิดรับจำนำข้าวเปลือกนาปีในปีเพาะปลูก 2550/51 ที่จะเปิดรับจำนำในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งคาดว่าจะส่งกระทบทำให้ราคาข้าวในประเทศมีแนวโน้มลดลง จากที่ในปีปกติราคาข้าวในช่วงนี้มีแนวโน้มลดลง อันเป็นผลมาจากเป็นช่วงต้นฤดูการผลิตข้าวนาปี
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/3 ... wsid=92266
31 สิงหาคม พ.ศ. 2550 11:17:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : จากกรณีธุรกิจโรงสีใหญ่ในจังหวัดพิจิตรปิดกิจการโรงสีข้าว 2 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา และข่าวเกี่ยวกับการลักลอบนำข้าวที่เป็นสต็อกข้าวในโครงการรับจำนำข้าวออกไปจำหน่าย นับว่าเป็นข่าวที่ได้รับความสนใจอย่างมาก และส่งผลให้หลายฝ่ายหันมาจับตามองธุรกิจโรงสี เนื่องจากธุรกิจโรงสีมีปัญหาสะสมนานัปการ โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และปัญหาการแบกรับภาระสต็อกข้าวของรัฐบาลอันเกิดจากโครงการรับจำนำข้าวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำหรับในปี 2550 นี้ธุรกิจโรงสีต้องได้รับผลกระทบจากการปรับนโยบายการรับจำนำข้าว ส่งผลให้โรงสีหลายแห่งขาดรายได้จากการรับจำนำข้าวตามโครงการรับจำนำจากการรับจ้างสีข้าวที่อยู่ในโครงการรับจำนำ และมีความต้องการเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเพื่อรับซื้อข้าวเปลือกในตลาด นอกจากนี้โรงสีที่เป็นผู้ส่งออกข้าวด้วยเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทยิ่งส่งผลให้กำไรของโรงสีนั้นลดลง ในขณะที่ต้องเผชิญกับราคาข้าวที่อยู่ในเกณฑ์สูงขึ้น โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียว
ปัญหาธุรกิจโรงสี...หลากปัญหาถาโถม
การปิดกิจการโรงสีและการลักลอบนำข้าวในโครงการรับจำนำไปจำหน่ายนั้นนับว่าเป็นผลลัพธ์จากหลากหลายปัญหาที่สะสมของธุรกิจโรงสี ซึ่งแยกพิจารณาปัญหาของธุรกิจโรงสีได้ดังนี้
1.ปัญหาการขาดแคลนเงินทุน เนื่องจากโรงสีซื้อข้าวจากเกษตรกรด้วยเงินสด แต่จำหน่ายข้าวให้กับผู้ส่งออกด้วยการให้เครดิตหรือเงินเชื่อ ปัจจุบันเมื่อผู้ส่งออกข้าวเผชิญกับปัญหาการแข็งค่าของเงินบาท ผู้ส่งออกข้าวบางรายเริ่มชะลอการชำระเงินค่าข้าวสาร ยิ่งส่งผลทำให้ธุรกิจขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ธุรกิจโรงสีบางแห่งโดยเฉพาะโรงสีในภาคกลางต้องมีต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากในภาคกลางมีจำนวนโรงสีมากกว่าปริมาณข้าวที่ผลิตได้ ทำให้โรงสีบางแห่งต้องไปรับซื้อข้าวเปลือกนอกพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อให้มีข้าวเพียงพอกับกำลังการผลิต
2.ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานนั้นเคยเป็นข่าวใหญ่ในปี 2541 โดยปัญหาในเรื่องการขอผ่อนผันในการจ้างแรงงานต่างด้าวในธุรกิจโรงสีข้าวที่ดำเนินมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2541 และลุกลามบานปลายจนกระทั่งในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมธุรกิจโรงสีประมาณ 300-400 แห่งหยุดรับซื้อข้าวทั้งที่เป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง สร้างความปั่นป่วนให้กับชาวนา และธุรกิจต่อเนื่องที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบอย่างมาก เมื่อมีการประท้วงด้วยการหยุดรับซื้อข้าวทางคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวจึงมีการทบทวนมติการผ่อนผันการใช้แรงงานต่างด้าว และมีมติในวันที่ 15 กรกฎาคม 2541 ให้ผ่อนผันการใช้แรงงานต่างด้าวในกิจการ 5 ประเภทออกไปก่อน
ซึ่งธุรกิจโรงสีข้าวเป็นกิจการหนึ่งที่ได้รับการผ่อนผัน ตัวเลขแรงงานต่างด้าวในธุรกิจโรงสียังไม่มีการรวบรวมที่ชัดเจน ปัจจุบันปริมาณโรงสีข้าวที่ขึ้นทะเบียนไว้ที่กระทรวงอุตสาหกรรมมีจำนวน 39,834 แห่ง แต่ที่ทำการสีข้าวจริงมีเพียง 2,000 แห่งทั่วประเทศ มีการจ้างพนักงานและแรงงานทั้งสิ้น 80,000 คน ทั้งนี้แยกเป็นพนักงานในสำนักงานและช่างเทคนิคประมาณ 60,000 คน และกรรมกรแบกหาม 20,000 คน ซึ่งในจำนวนกรรมกรแบกหามนี้คาดว่ามีแรงงานต่างด้าวในธุรกิจโรงสีประมาณ 23,000 คน
3.ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐบาล กลไกการค้าข้าวเปลี่ยนแปลงไปมาก เมื่อนโยบายรัฐบาลชุดที่ผ่านมามีโครงการยกระดับราคาข้าวด้วยมาตรการรับจำนำในราคาที่สูงกว่าท้องตลาดมาก และจ้างโรงสีแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร หลังจากนั้นรัฐบาลนำข้าวสารมาประมูลขายให้กับผู้ส่งออก กลไกดังกล่าวทำให้เกิดการตัดตอนธุรกิจค้าข้าวพ่อค้าคนกลางข้าวเปลือก และเจ้าของตลาดกลางข้าวเปลือก ทำให้ธุรกิจโรงสีข้าวกลายเป็นการรับจ้างรัฐแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร และเป็นผู้เก็บรักษาข้าวของรัฐเพื่อรอชาวนามาไถ่ถอนหรือรอการประมูลของเอกชนเพื่อการส่งออก เมื่อรัฐบาลในอดีตไม่สามารถระบายข้าวที่รับจำนำออกจากไปสู่ต่างประเทศได้ เนื่องจากราคาข้าวของไทยอยู่ในเกณฑ์สูง ปริมาณสต็อกข้าวของรัฐจึงมีปริมาณสูงขึ้น
นับว่าเป็นภาระอย่างมากในการเก็บรักษาข้าวของบรรดาโรงสีที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว กอปรกับในระยะที่ผ่านมาบรรดาโรงสีประสบปัญหาการค้างชำระเงินค่าบริหารจัดการสต็อกข้าว เช่น ค่าเช่าโกดัง ค่ารมยา ค่าเซอร์เวเยอร์ เป็นต้น อีกทั้งยังส่งผลให้โรงสีบางแห่งมีที่เพื่อเก็บข้าวในช่วงฤดูการผลิตใหม่ลดลง ซึ่งทำให้โรงสีต้องเสียโอกาสในการรับซื้อข้าว ส่งผลให้บรรดาโรงสีที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวมีปัญหาขาดแคลนสภาพคล่องทางการเงิน
แต่ในปี 2550 รัฐบาลมีการปรับลดราคารับจำนำข้าวลงเพื่อให้ใกล้เคียงกับราคาตลาด ทำให้ชาวนาหันมาขายข้าวให้กับโรงสีโดยตรง ดังนั้นบรรดาโรงสีต้องปรับตัวโดยการเพิ่มเงินหมุนเวียนเพื่อรับซื้อข้าวจากชาวนา อีกทั้งในปีนี้ราคาข้าวมีแนวโน้มสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากความต้องการในตลาดโลกสูงขึ้น ในขณะที่ปริมาณการผลิตข้าวในประเทศคู่แข่งสำคัญคือ เวียดนามลดลงจากปัญหาภาวะน้ำท่วมและโรคแมลงศัตรูระบาด ทำให้เวียดนามส่งออกข้าวได้ลดลง ดังนั้นจากการที่ราคาข้าวมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้บรรดาธุรกิจโรงสีข้าวมีความต้องการเงินหมุนเวียนเพื่อที่จะรับซื้อข้าวเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่กำหนดโอกาสในการเพิ่มรายได้ของธุรกิจโรงสีก็คือ ความสามารถในการรับซื้อข้าวที่มีแนวโน้มการส่งออกดี โดยในปี 2550 ประเภทข้าวที่มีแนวโน้มส่งออกดีคือ ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว และข้าวนึ่ง ดังนั้นโรงสีที่มีสัดส่วนของการสีข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียวมากกว่าข้าวขาวก็จะมีรายได้มากกว่าโรงสีที่มีสัดส่วนการสีข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียวน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องพิจารณาไปด้วยกัน คือ ที่ตั้งของโรงสี เนื่องจากจะเป็นปัจจัยกำหนดค่าขนส่ง กล่าวคือ โรงสีที่ตั้งอยู่ในแหล่งผลิตจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า เช่น กรณีข้าวเหนียว แหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ส่วนข้าวหอมมะลิ แหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เป็นต้น
สำหรับกรณีของข้าวนึ่งนั้นเป็นโรงสีเฉพาะที่ต้องมีลักษณะการผลิตและเครื่องจักรเฉพาะ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่กำหนดรายได้ของโรงสีข้าวนึ่ง คือ ภาวะตลาดส่งออกข้าวนึ่ง เนื่องจากการผลิตทั้งหมดเพื่อตลาดส่งออก อย่างไรก็ตามปัจจัยเอื้อของธุรกิจโรงสีข้าวนึ่ง คือ การผลิตของข้าวนึ่งค่อนข้างยาก ทำให้มีผู้ประกอบการน้อยราย การแข่งขันจึงไม่สูงมากเมื่อเทียบกับโรงสีข้าวอื่นๆ นอกจากนี้ การหันปรับคุณลักษณะของข้าวนึ่งเพื่อเจาะขยายตลาดในประเทศในฐานะที่เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการของข้าวนึ่งได้รับยอมรับทั้งสหรัฐฯและสหภาพยุโรป
อนาคตของธุรกิจโรงสี...ต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด
ท่ามกลางหลากหลายปัญหาที่รุมเร้าธุรกิจโรงสีข้าว ทำให้บรรดาธุรกิจโรงสีข้าวต้องเร่งปรับตัวเพื่อประคองตัวให้อยู่รอด ซึ่งปัจจัยกำหนดความอยู่รอดของธุรกิจโรงสี มีดังนี้
1.ปัจจัยภายในธุรกิจ ต้องเร่งปรับประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในของธุรกิจโรงสี นับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ โรงสีบางแห่งยังจำเป็นต้องพัฒนาผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวให้มีความหลากหลาย เช่น ข้าวผสมสมุนไพร ข้าวกล้อง ข้าวสายพันธุ์ท้องถิ่น เป็นต้น ทั้งนี้นับว่าเป็นการเพิ่มรายได้ และสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
2.ปัจจัยภายนอก สำหรับปัจจัยภายนอกที่กำหนดอนาคตของธุรกิจโรงสี ได้แก่
- ตลาดในประเทศ ในประเด็นนี้บรรดาผู้ประกอบการโรงสีจะต้องเพิ่มการบริโภคผลิตภัณฑ์ข้าว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารที่ใช้ข้าวเจ้าและข้าวเหนียวเป็นวัตถุดิบ เช่น อุตสาหกรรมเส้นหมี่เส้นก๋วยเตี๋ยว อุตสาหกรรมเบเกอรี่ อุตสาหกรรมขนมขบเคี้ยว เป็นต้น เนื่องจากธุรกิจโรงสีและผู้ค้าข้าวเป็นธุรกิจที่มีตลาดในประเทศคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของตลาดทั้งหมด โดยตลาดในประเทศมีความต้องการข้าวอย่างต่อเนื่อง โดยคนไทยส่วนใหญ่ยังบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวของตลาดนับว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยเป็นไปตามการขยายตัวของประชากร โดยในปี 2550 คาดว่าอัตราการบริโภคข้าวของไทยประมาณ 156 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แนวทางการเพิ่มปริมาณการบริโภคข้าวของคนไทย
- ตลาดส่งออก ภาวะการส่งออกข้าวและผลิตภัณฑ์นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงสีข้าว โดยเป็นปัจจัยกำหนดราคาข้าวในประเทศ ซึ่งภาวะการส่งออกข้าวในแต่ละปีค่อนข้างผันผวน โดยปัจจัยกำหนดสำคัญที่ต้องพิจารณาร่วมกัน คือ ปริมาณการผลิตข้าวของไทย ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ปริมาณน้ำ และการแพร่ระบาดของโรคและแมลงศัตรู ปริมาณความต้องการข้าวของประเทศคู่ค้า ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกับปริมาณการผลิตข้าวของประเทศคู่แข่ง เนื่องจากจะเป็นปัจจัยกำหนดว่าในปีนั้นไทยต้องเผชิญการแข่งขันรุนแรงหรือไม่ ซึ่งทุกปัจจัยเหล่านี้จะมีผลสะท้อนอยู่ในรูปของราคาข้าวส่งออกของไทย และส่งผลต่อเนื่องถึงราคาข้าวในประเทศ ดังนั้นการติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับตลาดส่งออกข้าวและผลิตภัณฑ์นับว่าเป็นแนวทางในการกำหนดและปรับธุรกิจโรงสีข้าวได้ทันเหตุการณ์
- การปรับนโยบายข้าวของรัฐบาล นโยบายข้าวของรัฐบาลที่สำคัญและมีการกล่าวถึงค่อนข้างมากคือ มาตรการจำนำข้าว โดยหลักการของมาตรการรับจำนำข้าวเป็นการกำหนดราคาเป้าหมายเพื่อให้ชาวนาตัดสินใจว่าจะจำนำข้าวกับรัฐบาลหรือขายให้กับโรงสีโดยตรง ดังนั้นมาตรการจำนำข้าวส่งผลกระทบราคาข้าวในประเทศ และปริมาณข้าวที่เข้าสู่โรงสี นอกจากนี้ผลต่อเนื่องของมาตรการจำนำข้าวคือ ปริมาณสต็อกข้าวเมื่อสิ้นสุดโครงการรับจำนำข้าวในแต่ละปีในกรณีที่ชาวนาไม่มาไถ่ถอนข้าว ซึ่งปริมาณสต็อกข้าวที่อยู่ในเกณฑ์สูงมีผลทำให้ประเทศคู่ค้าข้าวของไทยกดราคารับซื้อข้าว และชะลอการซื้อเพื่อรอดูนโยบายการระบายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล
ขณะที่การระบายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล แม้ว่าจะเป็นการประมูลโดยผู้ส่งออก แต่ก็ส่งผลทางอ้อมกับราคาข้าวในประเทศมีแนวโน้มลดลง ซึ่งในช่วงที่เหลือของปี 2550 นี้ บรรดาธุรกิจโรงสีจะต้องติดตามการปรับนโยบายของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่ต้องเร่งระบายข้าวที่อยู่ในสต็อกจากมาตรการรับจำนำข้าวในปีที่ผ่านๆ โดยรัฐบาลพิจารณาจะทยอยระบายข้าวภายใน 4 เดือน(เดือนกันยายน-ธันวาคม 2550) และอาจจะพิจารณาเลื่อนการเปิดรับจำนำข้าวเปลือกนาปีในปีเพาะปลูก 2550/51 ที่จะเปิดรับจำนำในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งคาดว่าจะส่งกระทบทำให้ราคาข้าวในประเทศมีแนวโน้มลดลง จากที่ในปีปกติราคาข้าวในช่วงนี้มีแนวโน้มลดลง อันเป็นผลมาจากเป็นช่วงต้นฤดูการผลิตข้าวนาปี
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/3 ... wsid=92266
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news31/08/07
โพสต์ที่ 53
รัสเซียเปิดตลาดรับสินค้าประมงไทย ข่าว 17.00 น.
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Friday, August 31, 2007
นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บอกว่า เจ้าหน้าที่หน่วยเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์และศัตรูพืชของรัสเซีย พอใจผลการตรวจสอบขบวนการผลิตและแปรรูปสินค้าประมงของเอกชน รวมทั้งระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าประมงของทางการไทย ที่มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยในระดับสากล ทำให้มั่นใจว่ารัสเซียจะเป็นตลาดส่งออกสินค้าประมงที่มีศักยภาพอีกแห่งหนึ่งของไทย
ด้านนายนิวัติ สุธีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมง บอกว่า เจ้าหน้าที่ของรัสเซีย ได้รับรองมาตรฐานโรงงานแปรรูปสินค้าประมงไทยที่ส่งออกไปรัสเซียแล้ว 12 แห่ง ทำให้การตรวจสอบสินค้าจะเหลือเพียงการสุ่มตรวจ จากเดิมที่ต้องตรวจสอบทุกตู้คอนเทนเนอร์
สำหรับสินค้าประมงของไทยที่รัสเซียต้องการ ได้แก่ กุ้ง ปลานิล และปลาหมึก เป็นต้น โดยเฉพาะกุ้ง ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกไทยส่งออกกุ้งไปยังรัสเซีย 2,093.32 ตันหรือมูลค่า 408 ล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4 เท่า และปีนี้คาดว่าจะส่งออกได้ 6,000 ตัน หรือมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1,200 ล้านบาท
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Friday, August 31, 2007
นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บอกว่า เจ้าหน้าที่หน่วยเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์และศัตรูพืชของรัสเซีย พอใจผลการตรวจสอบขบวนการผลิตและแปรรูปสินค้าประมงของเอกชน รวมทั้งระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าประมงของทางการไทย ที่มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยในระดับสากล ทำให้มั่นใจว่ารัสเซียจะเป็นตลาดส่งออกสินค้าประมงที่มีศักยภาพอีกแห่งหนึ่งของไทย
ด้านนายนิวัติ สุธีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมง บอกว่า เจ้าหน้าที่ของรัสเซีย ได้รับรองมาตรฐานโรงงานแปรรูปสินค้าประมงไทยที่ส่งออกไปรัสเซียแล้ว 12 แห่ง ทำให้การตรวจสอบสินค้าจะเหลือเพียงการสุ่มตรวจ จากเดิมที่ต้องตรวจสอบทุกตู้คอนเทนเนอร์
สำหรับสินค้าประมงของไทยที่รัสเซียต้องการ ได้แก่ กุ้ง ปลานิล และปลาหมึก เป็นต้น โดยเฉพาะกุ้ง ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกไทยส่งออกกุ้งไปยังรัสเซีย 2,093.32 ตันหรือมูลค่า 408 ล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4 เท่า และปีนี้คาดว่าจะส่งออกได้ 6,000 ตัน หรือมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1,200 ล้านบาท
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news07/09/07
โพสต์ที่ 54
"โฆสิต" เร่งดันโครงการ ThaiGAP กระตุ้นตลาดส่งออกสินค้าเกษตร
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 กันยายน 2550 15:41 น.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมประกาศเร่งเดินหน้าโครงการสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรไทย ภายใต้ ThaiGAP หวังช่วยกระตุ้นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรให้กว้างขึ้น ทั้งในจีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และยุโรป และช่วยลดอุปสรรคการตรวจสินค้านำเข้า พร้อมดึงเกษตรกรเข้าร่วมโครงการให้มากที่สุด โดยจะส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ประกอบเอสเอ็มอีในรูปแบบคลัสเตอร์ ใน 5 ภาค 8 คลัสเตอร์
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในงานสัมมนา ทิศทางการจัดทำมาตรฐานสินค้าภายใต้โครงการสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรของประเทศไทย ว่า ตามที่แนวโน้มผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญบริโภคสินค้าเกษตรที่ได้รับการยอมรับ และรับรองมาตรฐานความปลอดภัย ไทยจึงได้ประกาศความพร้อมที่จะเดินหน้าโครงการสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรของไทย หรือ ThaiGAP โดยจะดำเนินการภายใน 2 ปี ด้วยการดึงเกษตรกรเข้าร่วมให้มากที่สุด และหากสินค้าเกษตรของไทยได้มาตรฐาน ThaiGAP จะเป็นโอกาสส่งสินค้าไปสู่ตลาดเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งเกษตรกรไทยจะต้องปรับตัวขนานใหญ่เพื่อเข้าสู่โครงสร้าง ThaiGAP โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จะร่วมมือช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งสินค้าเกษตรไทยที่ส่งออกตามมาตรฐาน ThaiGAP ยอมรับว่า ยังไม่ใช่สินค้าหลักที่ทำรายได้เข้าประเทศ จึงจะเสริมสินค้าเกษตรหลักส่งออก อย่างข้าว และมันสำปะหลัง
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ประธานคณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานกรรมการบริหารโครงสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรของไทย สภาหอการค้าฯ กล่าวว่า มาตรฐาน ThaiGAP จะเชื่อมโยงกับมาตรฐานของ EUREPGAP ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น GLOBALGAP ซึ่งในประเทศเอเชียด้วยกันมีการสร้างมาตรฐานเช่นกัน เช่น ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย โดยการที่ไทยส่งสินค้าเกษตรภายใต้มาตรฐาน ThaiGAP จะช่วยลดอุปสรรคในการตรวจสินค้านำเข้า ซึ่งปัจจุบันผัก ผลไม้ ส่งออกของไทยไปยังตลาดยุโรป มีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อปี จากมูลค่าตลาดรวมของยุโรปปีละ 200,000 ล้านบาท ไทยจึงมีโอกาสอีกมากที่จะเจาะตลาด
ทั้งนี้ สินค้า ThaiGAP ยังมีตลาดเป้าหมายที่จะขยายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งในจีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และยุโรป ซึ่งการดำเนินการให้มีมาตรฐาน ThaiGAP จะส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในรูปแบบคลัสเตอร์ใน 5 ภาค 8 คลัสเตอร์ เพื่อให้การรับรองเป็น Group Certificate (Option2) และกลุ่มสินค้าเกษตรที่เป้าหมายทำ ThaiGAP ในแต่ละพื้นที่ คือ ภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ภาคเหนือตอนล่าง เช่น พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย นครสวรรค์ ผลไม้เป้าหมาย ได้แก่ ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง ส่วนพืชผัก มีข้าว และขิง ปศุสัตว์จะเป็นโครงการระยะ 2 ส่วนภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ผลไม้ ได้แก่ เงาะ มังคุด ทุเรียน มะม่วง ส่วนปศุสัตว์ และประมง จะดำเนินการในระยะ 2
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000105814
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 กันยายน 2550 15:41 น.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมประกาศเร่งเดินหน้าโครงการสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรไทย ภายใต้ ThaiGAP หวังช่วยกระตุ้นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรให้กว้างขึ้น ทั้งในจีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และยุโรป และช่วยลดอุปสรรคการตรวจสินค้านำเข้า พร้อมดึงเกษตรกรเข้าร่วมโครงการให้มากที่สุด โดยจะส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ประกอบเอสเอ็มอีในรูปแบบคลัสเตอร์ ใน 5 ภาค 8 คลัสเตอร์
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในงานสัมมนา ทิศทางการจัดทำมาตรฐานสินค้าภายใต้โครงการสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรของประเทศไทย ว่า ตามที่แนวโน้มผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญบริโภคสินค้าเกษตรที่ได้รับการยอมรับ และรับรองมาตรฐานความปลอดภัย ไทยจึงได้ประกาศความพร้อมที่จะเดินหน้าโครงการสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรของไทย หรือ ThaiGAP โดยจะดำเนินการภายใน 2 ปี ด้วยการดึงเกษตรกรเข้าร่วมให้มากที่สุด และหากสินค้าเกษตรของไทยได้มาตรฐาน ThaiGAP จะเป็นโอกาสส่งสินค้าไปสู่ตลาดเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งเกษตรกรไทยจะต้องปรับตัวขนานใหญ่เพื่อเข้าสู่โครงสร้าง ThaiGAP โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จะร่วมมือช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งสินค้าเกษตรไทยที่ส่งออกตามมาตรฐาน ThaiGAP ยอมรับว่า ยังไม่ใช่สินค้าหลักที่ทำรายได้เข้าประเทศ จึงจะเสริมสินค้าเกษตรหลักส่งออก อย่างข้าว และมันสำปะหลัง
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ประธานคณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานกรรมการบริหารโครงสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรของไทย สภาหอการค้าฯ กล่าวว่า มาตรฐาน ThaiGAP จะเชื่อมโยงกับมาตรฐานของ EUREPGAP ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น GLOBALGAP ซึ่งในประเทศเอเชียด้วยกันมีการสร้างมาตรฐานเช่นกัน เช่น ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย โดยการที่ไทยส่งสินค้าเกษตรภายใต้มาตรฐาน ThaiGAP จะช่วยลดอุปสรรคในการตรวจสินค้านำเข้า ซึ่งปัจจุบันผัก ผลไม้ ส่งออกของไทยไปยังตลาดยุโรป มีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อปี จากมูลค่าตลาดรวมของยุโรปปีละ 200,000 ล้านบาท ไทยจึงมีโอกาสอีกมากที่จะเจาะตลาด
ทั้งนี้ สินค้า ThaiGAP ยังมีตลาดเป้าหมายที่จะขยายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งในจีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และยุโรป ซึ่งการดำเนินการให้มีมาตรฐาน ThaiGAP จะส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในรูปแบบคลัสเตอร์ใน 5 ภาค 8 คลัสเตอร์ เพื่อให้การรับรองเป็น Group Certificate (Option2) และกลุ่มสินค้าเกษตรที่เป้าหมายทำ ThaiGAP ในแต่ละพื้นที่ คือ ภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ภาคเหนือตอนล่าง เช่น พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย นครสวรรค์ ผลไม้เป้าหมาย ได้แก่ ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง ส่วนพืชผัก มีข้าว และขิง ปศุสัตว์จะเป็นโครงการระยะ 2 ส่วนภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ผลไม้ ได้แก่ เงาะ มังคุด ทุเรียน มะม่วง ส่วนปศุสัตว์ และประมง จะดำเนินการในระยะ 2
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000105814
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news08/09/07
โพสต์ที่ 55
ภาวะโลกร้อนกระทบอุตฯทูน่าไทย ราคาวัตถุดิบพุ่งเหตุจับปลายากขึ้น
โดย มติชน วัน เสาร์ ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550 09:49 น.
นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ อุปนายกและประธานกลุ่มผู้ผลิตปลาทูน่า สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมปลาทูน่าของไทยกำลังได้รับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเรือประมงจับปลาทูน่าได้น้อยลง เพราะปลาว่ายไปหาน้ำที่ลึกมากขึ้นเพื่อหนีร้อน คาดว่าในไตรมาส 3 นี้ปริมาณปลาทูน่าจะน้อยลงแต่ไม่ถึงขั้นขาดแคลน โดยปริมาณส่งออกของไทยคาดว่าจะลดลงประมาณ 10% มาอยู่ที่ระดับ 48,000-50,000 ล้านบาท จากช่วงปี 2549 มีมูลค่า 53,000 ล้านบาท
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาราคาปลาทูน่าสูงขึ้นถึง 40% โดยราคานำเข้าทูน่าตันละ 1,400 เหรียญสหรัฐ จากปลายปี 2549 ตันละ 1,000 เหรียญ ส่วนการส่งออกทูน่า 7 เดือนที่ผ่านมา ไทยส่งออกรวม 287,000 ตัน ลดลง 4.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับมูลค่าส่งออกลดลง 7% อยู่ที่ 26,700 ล้านบาท
นายยุทธศักดิ์กล่าวว่า นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องค่าเงินบาทแข็ง และปัญหาชะลอตัวของประเทศส่งออกหลักโดยเฉพาะสหรัฐ ขณะที่ทูน่ากระป๋องจากจีนและเวียดนามกำลังส่งสินค้าเข้าไปแข่งขันกับไทยด้วย
เมื่อเศรษฐกิจของสหรัฐมีปัญหาประชาชนก็เลือกซื้อของอุปโภคบริโภคมากขึ้น ซึ่งผู้ส่งออกจำเป็นต้องปรับตัวพอสมควรสำหรับตลาดหลักอย่างสหรัฐ เพราะหากส่งออกเกรดพรีเมียมทั้งหมดก็ขายได้ยากขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคอีกส่วนก็หันไปบริโภคทูน่าสด ทางออกคือต้องเพิ่มมูลค่าของสินค้าแล้วขายราคาระดับกลาง
ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกทูน่าอันดับ 1 ของโลก แต่ใช้วัตถุดิบในประเทศเพียง 20% เท่านั้น ที่เหลือต้องนำเข้าทูน่าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน และหมู่เกาะมาร์แชล ส่วนประเทศส่งออกทูน่าที่สำคัญของประเทศไทย คือ สหรัฐ สหภาพยุโรป (อียู) ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา
http://news.sanook.com/economic/economic_179684.php
โดย มติชน วัน เสาร์ ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550 09:49 น.
นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ อุปนายกและประธานกลุ่มผู้ผลิตปลาทูน่า สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมปลาทูน่าของไทยกำลังได้รับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเรือประมงจับปลาทูน่าได้น้อยลง เพราะปลาว่ายไปหาน้ำที่ลึกมากขึ้นเพื่อหนีร้อน คาดว่าในไตรมาส 3 นี้ปริมาณปลาทูน่าจะน้อยลงแต่ไม่ถึงขั้นขาดแคลน โดยปริมาณส่งออกของไทยคาดว่าจะลดลงประมาณ 10% มาอยู่ที่ระดับ 48,000-50,000 ล้านบาท จากช่วงปี 2549 มีมูลค่า 53,000 ล้านบาท
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาราคาปลาทูน่าสูงขึ้นถึง 40% โดยราคานำเข้าทูน่าตันละ 1,400 เหรียญสหรัฐ จากปลายปี 2549 ตันละ 1,000 เหรียญ ส่วนการส่งออกทูน่า 7 เดือนที่ผ่านมา ไทยส่งออกรวม 287,000 ตัน ลดลง 4.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับมูลค่าส่งออกลดลง 7% อยู่ที่ 26,700 ล้านบาท
นายยุทธศักดิ์กล่าวว่า นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องค่าเงินบาทแข็ง และปัญหาชะลอตัวของประเทศส่งออกหลักโดยเฉพาะสหรัฐ ขณะที่ทูน่ากระป๋องจากจีนและเวียดนามกำลังส่งสินค้าเข้าไปแข่งขันกับไทยด้วย
เมื่อเศรษฐกิจของสหรัฐมีปัญหาประชาชนก็เลือกซื้อของอุปโภคบริโภคมากขึ้น ซึ่งผู้ส่งออกจำเป็นต้องปรับตัวพอสมควรสำหรับตลาดหลักอย่างสหรัฐ เพราะหากส่งออกเกรดพรีเมียมทั้งหมดก็ขายได้ยากขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคอีกส่วนก็หันไปบริโภคทูน่าสด ทางออกคือต้องเพิ่มมูลค่าของสินค้าแล้วขายราคาระดับกลาง
ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกทูน่าอันดับ 1 ของโลก แต่ใช้วัตถุดิบในประเทศเพียง 20% เท่านั้น ที่เหลือต้องนำเข้าทูน่าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน และหมู่เกาะมาร์แชล ส่วนประเทศส่งออกทูน่าที่สำคัญของประเทศไทย คือ สหรัฐ สหภาพยุโรป (อียู) ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา
http://news.sanook.com/economic/economic_179684.php
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4637
- ผู้ติดตาม: 1
กลุ่มธุรกิจการเกษตรและอาหาร
โพสต์ที่ 56
TIPCO ขายหุ้นให้"Suntory"มูลค่า 999 ลบ.
--------------------------------------------------------------------------------
โดย Post Digital 7 กันยายน 2550 15:36 น.
นายวิวัฒน์ ลิ้มศักดากุล กรรมการผู้จัดการ บมจ.ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) (TIPCO) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมกการบริษัท เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2550 อนุมัติให้บริษัท ทิปโก้ เบฟเวอเรจ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ทำสัญญาซื้อขายหุ้นเพื่อการขายหุ้นสามัญใน บริษัท ทิปโก้ เอฟแอนด์บี จำกัด ให้กับ Suntory Limited จำนวน 30,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 50 ของหุ้นที่ออกแล้วทั้งหมดของบริษัท ทิปโก้ เอฟแอนด์บี จำกัด ในราคาหุ้นละ 33.30 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 999,000,000 บาท จากมูลค่าตามบัญชี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2550 เท่ากับ 320.5 ล้านบาท
Suntory Limited เป็นบริษัทจำกัดในประเทศญี่ปุ่น เริ่มต่อตั้งในปีพ.ศ.2442 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้ว 9 พันล้านบาท เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไวน์ เหล้า เบียร์ เครื่องดื่มพร้อมดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำและเครื่องดื่มชนิดไม่มีแอลกอฮอล์ อาหารสุขภาพ ร้านฟาสฟู้ด ร้านอาหารและร้านดอกไม้ ปัจจุบันสัดส่วนธุรกิจกว่าร้อยละ 60 มาจากเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ โดยร้อยละ 30 เป็นธุรกิจเหล้าและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และร้อยละ 10 เป็นธุรกิจอื่นๆ
การชำระเงินค่าหุ้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 จำนวน 969,030,000 บาท(หรือเท่ากับร้อยละ 97 ของราคาซื้อขายหุ้น) จะชำระให้ใน Completion Date และส่วนที่เหลืออีกจำนวน 29,970,000 บาท (หรือเท่ากับร้อยละ 3 ของราคาซื้อขายหุ้น) จะชำระให้ภายใน 4 เดือนนับจาก Completion Date
หลังจากการขายหุ้นครั้งนี้ บริษัท ทิปโก้ เบฟเวอเรจ จำกัด จะมีเงินลงทุนและถือหุ้น ในบริษัท ทิปโก้ เอฟแอนด์บี จำกัด ในอัตราส่วนร้อยละ 50 เท่ากับ Suntory Limited และจะร่วมกันบริหารงานกับ Suntory Limited โดยผลประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดกับบริษัทฯ คือ การร่วมมือกันพัฒนาสินค้า ตราสินค้า การผลิต และการตลาดของทั้ง 2 บริษัทฯ ทั้งในประเทศไทยและกลุ่มประเทศในอาเซียน
โดยคาดว่าในปี 50 บริษัทจะจ่ายเงินปันผลได้มากกว่าปีก่อนที่จ่ายหุ้นละ 0.35 บาท แม้ว่ากำไรจากการดำเนินงานอาจต่ำกว่าปีก่อนตามอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลง แต่เนื่องจากบริษัทได้กำไรพิเศษกว่า 600 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แม้ประเมินว่าภาพรวมรายได้ของบริษัทอาจได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็ง แต่ยังคงเป้าหมายไว้ที่ 5 พันล้านบาท และปีหน้าคาดเติบโตเป็น 6 พันล้านบาท หลังได้ Suntory เป็นพันธมิตร
"ปีนี้หลังจากมีกำไรจากการขายหุ้น ส่งผลทำให้ TIPCO มีความสามารถจ่ายปันผลได้สูงกว่าปีที่แล้วเราจ่ายไป 2 ครั้งรวมจ่ายไป 0.35 บาท โดยจะนำเข้าบอร์ดพิจาณาในช่วงเดือนพฤศจิกายน"นายวิวัฒน์ กล่าว
ทั้งนี้ การขายหุ้น ทิปโก้ เอฟแอนด์บี ทำให้บริษัทมีกำไรจากการขายหุ้นซึ่งจะบันทึกเป็นกำไรพิเศษในไตรมาส 4/50 โดยบริษัทจะนำเงินที่ขายหุ้นได้นำไปชำระคืนเงินกู้บางส่วนที่มีทั้งหมดอยู่ 2 พันล้านบาท และอีกส่วนจะจ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น
นายวิวัฒน์ กล่าวว่า เป้าหมายรายได้ในปีนี้ที่ 5 พันล้านบาท จะแบ่งเป็นรายได้จากการส่งออก 54% และในประเทศ 46% แต่เป็นเพราะค่าเงินบาทแข็งทำให้รายได้จากการส่งออกลดลงและต้นทุนสับปะรดสูงขึ้น ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทในปีนี้ลดลงเหลือ 22-23% จากปีก่อนที่อยู่ประมาณ 30% ทำให้กำไรสุทธิจากการดำเนินงานจะออกมาต่ำกว่าปีก่อนที่ 397.52 ล้านบาท
ในปีนี้ TIPCO จะออกสินค้า"น้ำแร่" ยี่ห้อใหม่ในช่วงปลายปีและเตรียมขยายสาขาร้านค้าปลีกน้ำผลไม้ภายใต้แบรนด์ "SQUEEZE BAR"จากปัจจุบันมี 44 สาขา
สำหรับปี 51 นายวิวัฒน์ คาดว่ารายได้ของบริษัทจะเพิ่มเป็น 6 พันล้านบาท หรือเติบโต 10-15% หลังจากบริษัทร่วมทุนกับ Suntory เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสทางการตลาด
และบริษัทจะย้ายฐานการผลิตเครื่องดื่มจากจ.ประจวบคีรีขันธ์มาอยู่อ.วังน้อย จ.อยุธยา เพื่อบริหารงานร่วมกัน ซึ่งคาดว่าโรงงานใหม่ที่วังน้อยจะเริ่มผลิตได้ในไตรมาส 1/51 ล่าช้าจากเดิมที่คาดว่าแล้วเสร็จในเดือนเม.ย. 50 เป็นเพราะมีการส่งมอบเครื่องจักรของผู้ผลิตล่าช้า ประกอบกับบริษัทรอเซ็นสัญญากับ Suntory แล้วเสร็จก่อน
โรงงานใหม่จะทำให้กำลังผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 140 ล้านลิตร/ปี จากเดิม 40 ล้านลิตร/ปี และคาดว่าจะใช้เวลา 2-3 ปีจะผลิตได้เต็มกำลังการผลิต เพราะโรงงานใหม่มีขนาดใหญ่กว่าโรงงานเดิมประมาณ 3 เท่า
ขณะเดียวกัน การร่วมมือกับ Suntory จะมีการร่วมกันทำเครื่องดื่มที่เน้นสุขภาพ โดยคาดว่าจะผลิตน้ำผลไม้ 100% และส่งออกไปยังญี่ปุ่นในราวกลางปี 51 นอกจากนี้ บริษัทและ Suntory ก็จะออกสินค้าใหม่ในประเทศไทย ได้แก่ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเฉพาะด้าน และ ชาเขียว ซึ่งคาดว่าจะวางตลาดในกลางปีหน้า
"ฐานการผลิตใหม่ที่ร่วมกันลงทุน (อ.วังน้อย) ตลาดที่สำคัญจะไปยังอาเซียน ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง และไทย ทั้งสองบริษัทก็มีความสามารถและเขี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสุขภาพ และ TIPCO ไม่กังวลว่า Suntory จะทำให้ภาพลักษณ์บริษัทเสียไปจากอดีตที่ Suntory ผลิตเเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ปัจจุบัน Suntory ผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮออล์ ถึง 57% และยังให้ความสำคัญกับตลาดนี้มากกว่า" นายวิวัฒน์ กล่าว
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=190083
--------------------------------------------------------------------------------
โดย Post Digital 7 กันยายน 2550 15:36 น.
นายวิวัฒน์ ลิ้มศักดากุล กรรมการผู้จัดการ บมจ.ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) (TIPCO) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมกการบริษัท เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2550 อนุมัติให้บริษัท ทิปโก้ เบฟเวอเรจ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ทำสัญญาซื้อขายหุ้นเพื่อการขายหุ้นสามัญใน บริษัท ทิปโก้ เอฟแอนด์บี จำกัด ให้กับ Suntory Limited จำนวน 30,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 50 ของหุ้นที่ออกแล้วทั้งหมดของบริษัท ทิปโก้ เอฟแอนด์บี จำกัด ในราคาหุ้นละ 33.30 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 999,000,000 บาท จากมูลค่าตามบัญชี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2550 เท่ากับ 320.5 ล้านบาท
Suntory Limited เป็นบริษัทจำกัดในประเทศญี่ปุ่น เริ่มต่อตั้งในปีพ.ศ.2442 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้ว 9 พันล้านบาท เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไวน์ เหล้า เบียร์ เครื่องดื่มพร้อมดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำและเครื่องดื่มชนิดไม่มีแอลกอฮอล์ อาหารสุขภาพ ร้านฟาสฟู้ด ร้านอาหารและร้านดอกไม้ ปัจจุบันสัดส่วนธุรกิจกว่าร้อยละ 60 มาจากเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ โดยร้อยละ 30 เป็นธุรกิจเหล้าและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และร้อยละ 10 เป็นธุรกิจอื่นๆ
การชำระเงินค่าหุ้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 จำนวน 969,030,000 บาท(หรือเท่ากับร้อยละ 97 ของราคาซื้อขายหุ้น) จะชำระให้ใน Completion Date และส่วนที่เหลืออีกจำนวน 29,970,000 บาท (หรือเท่ากับร้อยละ 3 ของราคาซื้อขายหุ้น) จะชำระให้ภายใน 4 เดือนนับจาก Completion Date
หลังจากการขายหุ้นครั้งนี้ บริษัท ทิปโก้ เบฟเวอเรจ จำกัด จะมีเงินลงทุนและถือหุ้น ในบริษัท ทิปโก้ เอฟแอนด์บี จำกัด ในอัตราส่วนร้อยละ 50 เท่ากับ Suntory Limited และจะร่วมกันบริหารงานกับ Suntory Limited โดยผลประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดกับบริษัทฯ คือ การร่วมมือกันพัฒนาสินค้า ตราสินค้า การผลิต และการตลาดของทั้ง 2 บริษัทฯ ทั้งในประเทศไทยและกลุ่มประเทศในอาเซียน
โดยคาดว่าในปี 50 บริษัทจะจ่ายเงินปันผลได้มากกว่าปีก่อนที่จ่ายหุ้นละ 0.35 บาท แม้ว่ากำไรจากการดำเนินงานอาจต่ำกว่าปีก่อนตามอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลง แต่เนื่องจากบริษัทได้กำไรพิเศษกว่า 600 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แม้ประเมินว่าภาพรวมรายได้ของบริษัทอาจได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็ง แต่ยังคงเป้าหมายไว้ที่ 5 พันล้านบาท และปีหน้าคาดเติบโตเป็น 6 พันล้านบาท หลังได้ Suntory เป็นพันธมิตร
"ปีนี้หลังจากมีกำไรจากการขายหุ้น ส่งผลทำให้ TIPCO มีความสามารถจ่ายปันผลได้สูงกว่าปีที่แล้วเราจ่ายไป 2 ครั้งรวมจ่ายไป 0.35 บาท โดยจะนำเข้าบอร์ดพิจาณาในช่วงเดือนพฤศจิกายน"นายวิวัฒน์ กล่าว
ทั้งนี้ การขายหุ้น ทิปโก้ เอฟแอนด์บี ทำให้บริษัทมีกำไรจากการขายหุ้นซึ่งจะบันทึกเป็นกำไรพิเศษในไตรมาส 4/50 โดยบริษัทจะนำเงินที่ขายหุ้นได้นำไปชำระคืนเงินกู้บางส่วนที่มีทั้งหมดอยู่ 2 พันล้านบาท และอีกส่วนจะจ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น
นายวิวัฒน์ กล่าวว่า เป้าหมายรายได้ในปีนี้ที่ 5 พันล้านบาท จะแบ่งเป็นรายได้จากการส่งออก 54% และในประเทศ 46% แต่เป็นเพราะค่าเงินบาทแข็งทำให้รายได้จากการส่งออกลดลงและต้นทุนสับปะรดสูงขึ้น ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทในปีนี้ลดลงเหลือ 22-23% จากปีก่อนที่อยู่ประมาณ 30% ทำให้กำไรสุทธิจากการดำเนินงานจะออกมาต่ำกว่าปีก่อนที่ 397.52 ล้านบาท
ในปีนี้ TIPCO จะออกสินค้า"น้ำแร่" ยี่ห้อใหม่ในช่วงปลายปีและเตรียมขยายสาขาร้านค้าปลีกน้ำผลไม้ภายใต้แบรนด์ "SQUEEZE BAR"จากปัจจุบันมี 44 สาขา
สำหรับปี 51 นายวิวัฒน์ คาดว่ารายได้ของบริษัทจะเพิ่มเป็น 6 พันล้านบาท หรือเติบโต 10-15% หลังจากบริษัทร่วมทุนกับ Suntory เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสทางการตลาด
และบริษัทจะย้ายฐานการผลิตเครื่องดื่มจากจ.ประจวบคีรีขันธ์มาอยู่อ.วังน้อย จ.อยุธยา เพื่อบริหารงานร่วมกัน ซึ่งคาดว่าโรงงานใหม่ที่วังน้อยจะเริ่มผลิตได้ในไตรมาส 1/51 ล่าช้าจากเดิมที่คาดว่าแล้วเสร็จในเดือนเม.ย. 50 เป็นเพราะมีการส่งมอบเครื่องจักรของผู้ผลิตล่าช้า ประกอบกับบริษัทรอเซ็นสัญญากับ Suntory แล้วเสร็จก่อน
โรงงานใหม่จะทำให้กำลังผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 140 ล้านลิตร/ปี จากเดิม 40 ล้านลิตร/ปี และคาดว่าจะใช้เวลา 2-3 ปีจะผลิตได้เต็มกำลังการผลิต เพราะโรงงานใหม่มีขนาดใหญ่กว่าโรงงานเดิมประมาณ 3 เท่า
ขณะเดียวกัน การร่วมมือกับ Suntory จะมีการร่วมกันทำเครื่องดื่มที่เน้นสุขภาพ โดยคาดว่าจะผลิตน้ำผลไม้ 100% และส่งออกไปยังญี่ปุ่นในราวกลางปี 51 นอกจากนี้ บริษัทและ Suntory ก็จะออกสินค้าใหม่ในประเทศไทย ได้แก่ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเฉพาะด้าน และ ชาเขียว ซึ่งคาดว่าจะวางตลาดในกลางปีหน้า
"ฐานการผลิตใหม่ที่ร่วมกันลงทุน (อ.วังน้อย) ตลาดที่สำคัญจะไปยังอาเซียน ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง และไทย ทั้งสองบริษัทก็มีความสามารถและเขี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสุขภาพ และ TIPCO ไม่กังวลว่า Suntory จะทำให้ภาพลักษณ์บริษัทเสียไปจากอดีตที่ Suntory ผลิตเเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ปัจจุบัน Suntory ผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮออล์ ถึง 57% และยังให้ความสำคัญกับตลาดนี้มากกว่า" นายวิวัฒน์ กล่าว
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=190083
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news17/09/07
โพสต์ที่ 57
สหฟาร์มจี้รัฐเจรจาอียู-ญี่ปุ่นเปิดตลาดไก่สด
17 กันยายน พ.ศ. 2550 15:51:00
สหฟาร์มจี้รัฐบาลเจรจาอียู-ญี่ปุ่นเปิดตลาดส่งออกไก่สด หลังต้นทุนการผลิตไก่แปรรูปเพิ่มสูง แต่ขยับราคาขายไม่ได้ หวั่นผู้นำเข้าหันซื้อไก่สดจากบราซิลแทน
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายแพทย์ปัญญา โชติเทวัญ ประธานคณะกรรมการ บริษัทสหฟาร์ม จำกัด เปิดเผยว่า การส่งออกไก่ของไทยในปีนี้คาดว่าจะทำได้ประมาณ 3 แสนตัน ต่ำกว่าเป้าหมายที่กระทรวงเกษตรกำหนดเอาไว้ที่ 3.5 แสนตัน ทั้งนี้เพราะ ผู้ประกอบการไม่สามารถขยายกำลังการผลิตได้ทันกับความต้องการของตลาด โดยเป็นผลสืบเนื่องมาจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ ที่ขึ้นสูงกว่าเท่าตัว อีกทั้งยังขาดแคลนต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน และคาดว่า ปัญหานี้จะเป็นผลต่อเนื่องไปจนถึงอนาคต เพราะวัตถุดิบเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีการนำไปใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
ต้นทุนการผลิตไก่ ในขณะนี้เพิ่มสูงขึ้นจริงๆ มากกว่า 100 % แต่เราปรับราคาขึ้นมากไม่ได้เพราะ จะมีปัญหาทางด้านการแข่งขัน หากปรับราคาขึ้นมาก มีความเป็นไปได้ที่ ประเทศผู้นำเข้าจะหันไปนำเข้าไก่สด จากบราซิล ที่มีราคาต่ำมากเพื่อแปรรูปเอง นายแพทย์ปัญญา กล่าว
นายแพทย์ปัญญา กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาไข้หวัดนกในประเทศ ขณะนี้ถือว่าสามารถควบคุมได้แล้ว พ้นระยะเวลาเสี่ยงที่ประเทศผู้นำเข้ากำหนด ดังนั้น ไทยจึงสามารถส่งออกไก่สดได้แล้ว แต่เนื่องจากหน่วยงานรัฐบาลไม่มีการกระตือรือร้นในเรื่องนี้เลย ส่งผลให้การผลักดันการส่งออกไก่สด ไม่มีความคืบหน้าเลย ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาล ไม่ควรจะนิ่งนอนใจ เพราะหากอุตสาหกรรมไก่ ต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าแปรรูปเพียงอย่างเดียว ผู้ประกอบการของไทยจะต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงมาก ในขณะที่ปรับราคาสินค้าขึ้นไม่ได้และการแข่งขันสูง
ตอนนี้ตลาดหลักไก่ของไทยอยู่ที่สหภาพยุโรป หรืออียู และญี่ปุ่น ทั้ง 2 แห่งนี้ ไม่สามารถผลิตไก่ให้เพียงพอกับความต้องการเพราะไม่มีแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ ดังนั้น ไทยจึงมีโอกาสที่จะส่งออกไก่2 ตลาดได้อย่างยั่งยืนแต่รัฐบาลต้องช่วยในด้านการเจรจาให้ทั้ง 2 ประเทศเปิดตลาดไก่สด เพราะความต้องการของตลาดยังมีมาก ในขณะที่การส่งออกของไทยทำได้สะดวกว่าการส่งออกไก่แปรรูปที่ยังมีปัญหาด้านสุขอนามัย นายแพทย์ปัญญา กล่าว
http://www.bangkokbiznews.com/2007/09/1 ... sid=102928
17 กันยายน พ.ศ. 2550 15:51:00
สหฟาร์มจี้รัฐบาลเจรจาอียู-ญี่ปุ่นเปิดตลาดส่งออกไก่สด หลังต้นทุนการผลิตไก่แปรรูปเพิ่มสูง แต่ขยับราคาขายไม่ได้ หวั่นผู้นำเข้าหันซื้อไก่สดจากบราซิลแทน
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายแพทย์ปัญญา โชติเทวัญ ประธานคณะกรรมการ บริษัทสหฟาร์ม จำกัด เปิดเผยว่า การส่งออกไก่ของไทยในปีนี้คาดว่าจะทำได้ประมาณ 3 แสนตัน ต่ำกว่าเป้าหมายที่กระทรวงเกษตรกำหนดเอาไว้ที่ 3.5 แสนตัน ทั้งนี้เพราะ ผู้ประกอบการไม่สามารถขยายกำลังการผลิตได้ทันกับความต้องการของตลาด โดยเป็นผลสืบเนื่องมาจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ ที่ขึ้นสูงกว่าเท่าตัว อีกทั้งยังขาดแคลนต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน และคาดว่า ปัญหานี้จะเป็นผลต่อเนื่องไปจนถึงอนาคต เพราะวัตถุดิบเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีการนำไปใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
ต้นทุนการผลิตไก่ ในขณะนี้เพิ่มสูงขึ้นจริงๆ มากกว่า 100 % แต่เราปรับราคาขึ้นมากไม่ได้เพราะ จะมีปัญหาทางด้านการแข่งขัน หากปรับราคาขึ้นมาก มีความเป็นไปได้ที่ ประเทศผู้นำเข้าจะหันไปนำเข้าไก่สด จากบราซิล ที่มีราคาต่ำมากเพื่อแปรรูปเอง นายแพทย์ปัญญา กล่าว
นายแพทย์ปัญญา กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาไข้หวัดนกในประเทศ ขณะนี้ถือว่าสามารถควบคุมได้แล้ว พ้นระยะเวลาเสี่ยงที่ประเทศผู้นำเข้ากำหนด ดังนั้น ไทยจึงสามารถส่งออกไก่สดได้แล้ว แต่เนื่องจากหน่วยงานรัฐบาลไม่มีการกระตือรือร้นในเรื่องนี้เลย ส่งผลให้การผลักดันการส่งออกไก่สด ไม่มีความคืบหน้าเลย ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาล ไม่ควรจะนิ่งนอนใจ เพราะหากอุตสาหกรรมไก่ ต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าแปรรูปเพียงอย่างเดียว ผู้ประกอบการของไทยจะต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงมาก ในขณะที่ปรับราคาสินค้าขึ้นไม่ได้และการแข่งขันสูง
ตอนนี้ตลาดหลักไก่ของไทยอยู่ที่สหภาพยุโรป หรืออียู และญี่ปุ่น ทั้ง 2 แห่งนี้ ไม่สามารถผลิตไก่ให้เพียงพอกับความต้องการเพราะไม่มีแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ ดังนั้น ไทยจึงมีโอกาสที่จะส่งออกไก่2 ตลาดได้อย่างยั่งยืนแต่รัฐบาลต้องช่วยในด้านการเจรจาให้ทั้ง 2 ประเทศเปิดตลาดไก่สด เพราะความต้องการของตลาดยังมีมาก ในขณะที่การส่งออกของไทยทำได้สะดวกว่าการส่งออกไก่แปรรูปที่ยังมีปัญหาด้านสุขอนามัย นายแพทย์ปัญญา กล่าว
http://www.bangkokbiznews.com/2007/09/1 ... sid=102928
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news19/09/07
โพสต์ที่ 58
ส่งออกข้าว-น้ำตาลอ่วมมะกันกีดกันการค้า
โดย ข่าวสด วัน พุธ ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550 08:50 น.
นางอภิรดี ตันตรภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยในงานสัมมนาเรื่องนโยบายการค้าสหรัฐอเมริกาผลกระทบต่อการส่งออกไทย ว่า ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาการค้าของไทย-สหรัฐ ขยายตัวมากถึง 56% มูลค่าเพิ่มจาก 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเป็น 3.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ยอมรับว่าการค้าของ 2 ประเทศมีการกระทบกระทั่งกันบ้างเพราะมีการส่งออกมาก โดยสหรัฐมีการนำมาตรการทางการค้ามาใช้กับไทยหลายครั้ง เช่น การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) และการตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) สินค้าไทยในปี49 จำนวน 3 รายการคือเครื่องประดับทำจากโลหะมีค่า เครื่องรับโทรทัศน์และเม็ดพลาสติก
นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ปีหน้าไทยคงต้องเผชิญปัญหาอุปสรรคการค้าในรูปแบบเดิม เช่น การถูกตัดจีเอสพี การถูกเอดี และการอุดหนุนการส่งออก (ซีวีดี) รวมทั้งในปี 51-55 สหรัฐเตรียมออกกฎหมายฟาร์มบิลมาบังคับใช้ ซึ่งหากสหรัฐมีการใช้งบอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรจำนวนมาก จะกระทบต่อสินค้าเกษตรส่งออกไทยมากขึ้น โดยเฉพาะข้าวกับน้ำตาลทราย
http://news.sanook.com/economic/economic_184110.php
โดย ข่าวสด วัน พุธ ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550 08:50 น.
นางอภิรดี ตันตรภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยในงานสัมมนาเรื่องนโยบายการค้าสหรัฐอเมริกาผลกระทบต่อการส่งออกไทย ว่า ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาการค้าของไทย-สหรัฐ ขยายตัวมากถึง 56% มูลค่าเพิ่มจาก 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเป็น 3.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ยอมรับว่าการค้าของ 2 ประเทศมีการกระทบกระทั่งกันบ้างเพราะมีการส่งออกมาก โดยสหรัฐมีการนำมาตรการทางการค้ามาใช้กับไทยหลายครั้ง เช่น การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) และการตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) สินค้าไทยในปี49 จำนวน 3 รายการคือเครื่องประดับทำจากโลหะมีค่า เครื่องรับโทรทัศน์และเม็ดพลาสติก
นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ปีหน้าไทยคงต้องเผชิญปัญหาอุปสรรคการค้าในรูปแบบเดิม เช่น การถูกตัดจีเอสพี การถูกเอดี และการอุดหนุนการส่งออก (ซีวีดี) รวมทั้งในปี 51-55 สหรัฐเตรียมออกกฎหมายฟาร์มบิลมาบังคับใช้ ซึ่งหากสหรัฐมีการใช้งบอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรจำนวนมาก จะกระทบต่อสินค้าเกษตรส่งออกไทยมากขึ้น โดยเฉพาะข้าวกับน้ำตาลทราย
http://news.sanook.com/economic/economic_184110.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news21/09/07
โพสต์ที่ 59
สถาบันอาหารแนะไทยขยายตลาดอาหารสู่ยูเออีและรัสเซีย [ ฉบับที่ 830 ประจำวันที่ 22-9-2007 ถึง 25-9-2007]
สถาบันอาหารชี้อุตสาหกรรมอาหารในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) และรัสเซียกำลังมาแรง เติบโตสูง แนะผู้ประกอบการๆ ไทยชิงความได้เปรียบด้านคุณภาพเจาะ 2 ตลาดใหญ่ โดย เฉพาะที่รัสเซียสนใจใช้ไทยเป็นฐานเข้าสู่อาเซียน
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวในการเสวนาเรื่อง ็เปิดมุมมองใหม่ธุรกิจอาหารในตลาดยูเออีและรัสเซียิ ว่า อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในยูเออี กำลังเติบโตสูง โดยเฉพาะอาหารเพื่อสุขภาพ เพราะเป็นประเทศที่มีกำลังซื้อสูง และมีการลงทุนของต่างชาติสูง โดยพบว่ามีการนำเข้ามากกว่าการส่งออก โดยสินค้าอาหารประมาณร้อยละ 75-80 พึ่งพาการนำเข้าจากเอเชีย ยุโรป และสหรัฐฯ โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ประเทศไทยส่งออกสินค้าไปยูเออีประมาณ 2,748 ล้านบาท สินค้า 3 อันดับแรกที่ส่งออกสูงสุด คือ น้ำตาลทราย ปลาทูน่ากระป๋อง และข้าวหอมมะลิ ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าการบริโภคอาหารของยูเออีจะสูงขึ้น ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าและคุณภาพในระดับพรีเมี่ยม
ส่วนอุตสาหกรรมอาหารในรัสเซียเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 15-20 ต่อปี โดยเฉพาะอาหารแปรรูปแช่เย็น อาหารพร้อมบริโภคและอาหารเด็ก นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ประมงประเภทฟิชสแน็ก ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง แม้ว่าราคาจะแพง เพราะ ผู้บริโภครัสเซียมีกำลังซื้อ และให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพ
นอกจากนี้ รัสเซียยังมีการนำเข้าวัตถุดิบถึงร้อยละ 46 ได้แก่ เนื้อสัตว์ นม และผลไม้ มูลค่าการนำเข้า 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยมีการนำเข้าสินค้าจากไทยเพียงร้อยละ 1 และในช่วง 7 เดือนแรกปี 2550 รัสเซียนำเข้าสินค้าจากไทยประมาณ 3,936 ล้านบาท สินค้า 3 อันดับแรก ได้แก่ น้ำตาลจากอ้อย กุ้งขาวแช่เย็น และสับปะรดกระป๋อง
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=6931
สถาบันอาหารชี้อุตสาหกรรมอาหารในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) และรัสเซียกำลังมาแรง เติบโตสูง แนะผู้ประกอบการๆ ไทยชิงความได้เปรียบด้านคุณภาพเจาะ 2 ตลาดใหญ่ โดย เฉพาะที่รัสเซียสนใจใช้ไทยเป็นฐานเข้าสู่อาเซียน
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวในการเสวนาเรื่อง ็เปิดมุมมองใหม่ธุรกิจอาหารในตลาดยูเออีและรัสเซียิ ว่า อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในยูเออี กำลังเติบโตสูง โดยเฉพาะอาหารเพื่อสุขภาพ เพราะเป็นประเทศที่มีกำลังซื้อสูง และมีการลงทุนของต่างชาติสูง โดยพบว่ามีการนำเข้ามากกว่าการส่งออก โดยสินค้าอาหารประมาณร้อยละ 75-80 พึ่งพาการนำเข้าจากเอเชีย ยุโรป และสหรัฐฯ โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ประเทศไทยส่งออกสินค้าไปยูเออีประมาณ 2,748 ล้านบาท สินค้า 3 อันดับแรกที่ส่งออกสูงสุด คือ น้ำตาลทราย ปลาทูน่ากระป๋อง และข้าวหอมมะลิ ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าการบริโภคอาหารของยูเออีจะสูงขึ้น ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าและคุณภาพในระดับพรีเมี่ยม
ส่วนอุตสาหกรรมอาหารในรัสเซียเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 15-20 ต่อปี โดยเฉพาะอาหารแปรรูปแช่เย็น อาหารพร้อมบริโภคและอาหารเด็ก นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ประมงประเภทฟิชสแน็ก ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง แม้ว่าราคาจะแพง เพราะ ผู้บริโภครัสเซียมีกำลังซื้อ และให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพ
นอกจากนี้ รัสเซียยังมีการนำเข้าวัตถุดิบถึงร้อยละ 46 ได้แก่ เนื้อสัตว์ นม และผลไม้ มูลค่าการนำเข้า 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยมีการนำเข้าสินค้าจากไทยเพียงร้อยละ 1 และในช่วง 7 เดือนแรกปี 2550 รัสเซียนำเข้าสินค้าจากไทยประมาณ 3,936 ล้านบาท สินค้า 3 อันดับแรก ได้แก่ น้ำตาลจากอ้อย กุ้งขาวแช่เย็น และสับปะรดกระป๋อง
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=6931
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news24/09/07
โพสต์ที่ 60
เพิ่มศูนย์คัดผลไม้เศรษฐกิจ80แห่ง
โพสต์ทูเดย์ ผุดโครงการจัดตั้งศูนย์ คัดแยกผลไม้ชุมชนในพื้นที่แหล่งผลิตผลไม้เศรษฐกิจสำคัญทั่วประเทศ แก้ปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำ
นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ ว่า ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการจัดทำโครงการ จัดตั้งศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน เพื่อให้เป็นศูนย์กลางรวบรวมผลผลิต คัดคุณภาพ และจำหน่ายผลไม้ของชุมชน ตลอดจนพัฒนาคุณภาพของผลไม้ให้ตรงกับความต้องการของตลาด
เบื้องต้นมีเป้าหมายตั้งศูนย์คัดแยกผลไม้ในพื้นที่แหล่งผลิตผลไม้เศรษฐกิจสำคัญ ทั่วประเทศ 80 ศูนย์ มีผลไม้เป้าหมาย 17 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง สละ ลำไย ลิ้นจี่ ส้มโอ ส้มเขียวหวาน มะขามหวาน มะม่วง มะพร้าวอ่อน มะนาว ชมพู่ ฝรั่ง น้อยหน่า และกล้วยไข่
พื้นที่ที่จะใช้จัดตั้งศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินการดำเนินงานของศูนย์คัดแยกผลไม้ภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 40 ศูนย์ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดพื้นที่ที่ควรมีการจัดตั้งศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชนเพิ่มเติมในภาคต่างๆ
นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการผลไม้ในระดับภาค ให้มีหน้าที่พิจารณากำหนดพื้นที่ จัดตั้งศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน รวมทั้งพิจารณาความเหมาะสมในการตั้งคณะทำงานเพื่อดูแลผลไม้แต่ละชนิด
การกำหนดพื้นที่จัดตั้งศูนย์เน้นคำนึงถึงประโยชน์สูงสุด ลดขั้นตอนการจำหน่ายให้ สั้นลง แก้ปัญหาผลผลิตไม่ได้คุณภาพ และราคาผลไม้ตกต่ำ
นายโอฬาร เทพพิทักษ์ ผู้อำนวยการ สำนักพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ศูนย์ดังกล่าวจะใช้งบประมาณดำเนินการ 1.5 ล้านบาทต่อแห่ง เป็นงบจากโครงการปรับปรุงคุณภาพสินค้าเกษตร
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=193292
โพสต์ทูเดย์ ผุดโครงการจัดตั้งศูนย์ คัดแยกผลไม้ชุมชนในพื้นที่แหล่งผลิตผลไม้เศรษฐกิจสำคัญทั่วประเทศ แก้ปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำ
นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ ว่า ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการจัดทำโครงการ จัดตั้งศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน เพื่อให้เป็นศูนย์กลางรวบรวมผลผลิต คัดคุณภาพ และจำหน่ายผลไม้ของชุมชน ตลอดจนพัฒนาคุณภาพของผลไม้ให้ตรงกับความต้องการของตลาด
เบื้องต้นมีเป้าหมายตั้งศูนย์คัดแยกผลไม้ในพื้นที่แหล่งผลิตผลไม้เศรษฐกิจสำคัญ ทั่วประเทศ 80 ศูนย์ มีผลไม้เป้าหมาย 17 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง สละ ลำไย ลิ้นจี่ ส้มโอ ส้มเขียวหวาน มะขามหวาน มะม่วง มะพร้าวอ่อน มะนาว ชมพู่ ฝรั่ง น้อยหน่า และกล้วยไข่
พื้นที่ที่จะใช้จัดตั้งศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินการดำเนินงานของศูนย์คัดแยกผลไม้ภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 40 ศูนย์ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดพื้นที่ที่ควรมีการจัดตั้งศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชนเพิ่มเติมในภาคต่างๆ
นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการผลไม้ในระดับภาค ให้มีหน้าที่พิจารณากำหนดพื้นที่ จัดตั้งศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน รวมทั้งพิจารณาความเหมาะสมในการตั้งคณะทำงานเพื่อดูแลผลไม้แต่ละชนิด
การกำหนดพื้นที่จัดตั้งศูนย์เน้นคำนึงถึงประโยชน์สูงสุด ลดขั้นตอนการจำหน่ายให้ สั้นลง แก้ปัญหาผลผลิตไม่ได้คุณภาพ และราคาผลไม้ตกต่ำ
นายโอฬาร เทพพิทักษ์ ผู้อำนวยการ สำนักพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ศูนย์ดังกล่าวจะใช้งบประมาณดำเนินการ 1.5 ล้านบาทต่อแห่ง เป็นงบจากโครงการปรับปรุงคุณภาพสินค้าเกษตร
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=193292