subprime คืออะไรมีผลอย่างไรกับการลงทุน
- 2nd wind
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 602
- ผู้ติดตาม: 0
subprime คืออะไรมีผลอย่างไรกับการลงทุน
โพสต์ที่ 31
ซับไพรม์จะทำ หุ้น แย่ต่อ แต่ พิษ อ่อนลง
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 12 สิงหาคม 2550 18:02 น.
เอเอฟพี - วิกฤตสินเชื่อเคหะสหรัฐฯยังทำท่าแพร่พิษ สร้างความย่ำแย่ต่อตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกต่อไป แต่นักวิเคราะห์มองว่า ฤทธิ์เดชของมันน่าจะอ่อนกำลังเจือจางลง ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าพิษร้ายนี้กระจัดกระจายออกสู่นักลงทุนวงกว้างทั่วโลก
ในวันพฤหัสบดี (9) และวันศุกร์ (10) แบงก์ชาติทั่วโลกนำโดยธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ประสานกันเร่งอัดฉัดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการธนาคารเป็นปริมาณมหาศาล ด้วยความมุ่งหมายที่จะขจัดปัดเป่าไม่ให้เกิดภาวะสินเชื่อตึงตัวทั่วโลก ภายหลังวิกฤตตลาดสินเชื่อเคหะประเภทลูกค้าด้อยคุณภาพ ซับไพรม์ ทำท่าบานปลายรุนแรง
ภาวะสินเชื่อตึงตัวเป็นเรื่องน่าห่วงใย เพราะหากบังเกิดขึ้นและลุกลาม ก็จะทำให้ธุรกิจและผู้บริโภคทั้งหลาย ยากลำบากที่จะได้เงินกู้ หรือหากกู้ได้ก็จะต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้นกว่าเดิม ภาวะเช่นนี้ยังจะทำให้ภาคธุรกิจ และผู้บริโภคใช้จ่ายลดลง ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมเข้าสู่ภาวะถดถอย
การแทรกแซงของเหล่าธนาคารกลางดูจะได้ผลบางส่วน โดยในวันศุกร์ ตลาดแถบยุโรปที่ปิดทำการก่อน ยังคงติดลบอ่วม เช่น ดัชนีฟุตซี่ 100 ของลอนดอนร่วง 3.71% และดัชนีซีเอซี 40 ของปารีส หล่น 3.13% แต่ตลาดสหรัฐฯซึ่งปิดทีหลังนั้น ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของวอลล์สตรีทติดลบเพียง 0.23%
กระนั้น พวกนักวิเคราะห์ก็เห็นพ้องกันว่า มีโอกาสที่ความไร้เสถียรภาพยังจะขยายตัวยิ่งขึ้นอีกอย่างรวดเร็ว เมื่อตลาดหุ้นส่วนใหญ่เปิดทำการขึ้นใหม่ในวันนี้ (13) ถึงแม้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คิดด้วยว่า พวกตลาดใหญ่ๆ น่าจะทานกระแสต้านพายุเอาไว้ได้
ไจลส์ โมเอค นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสแห่ง แบงก์ออฟอเมริกา กล่าวว่า เวลานี้ยังไม่มีใครสามารถขุดค้นรวบรวมให้ได้ตัวเลขจริงๆ ว่า สินเชื่อเคหะซับไพรม์ ซึ่งได้ถูกนำมาแปลงเป็นตราสารหนี้ แล้วธนาคารและสถาบันต่างๆ ซื้อหากันไปมากแล้ว ตกอยู่ในมือของต่างชาติเป็นปริมาณเท่าใดกันแน่
การที่ไม่มีใครทราบนี้ เป็นเรื่องแย่สำหรับตลาดการเงิน เขาชี้พร้อมกับอธิบายว่า เพราะถ้ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งตลาดเกลียดแล้ว มันก็คือ เจ้าความไม่แน่นอนแบบนี้นี่เอง
อย่างไรก็ตาม โมเอค บอกว่า เรื่องนี้มีลักษณะที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัวมันเอง กล่าวคือ ขณะที่มันทำให้อารมณ์ความรู้สึกของตลาดออกมาในเชิงลบ แต่อีกด้านหนึ่ง มันก็บ่งชี้ว่าความเสี่ยงจากซับไพรม์ ดูจะกระจายตัวออกไปทั่วโลก ซึ่งทำให้พิษร้ายของมันในแต่ละพื้นที่ดูเจือจาง ไม่น่าจะสร้างความเสียหายได้รุนแรง
นี่แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงนี้ไม่ได้รวมศูนย์อยู่ในสถานที่ใดที่หนึ่ง และนี่ก็จะเป็นเรื่องดีสำหรับตลาดโดยรวม เขาชี้
แอนเดรียส ฮูเออร์แคมป์ นักวิเคราะห์แห่งธนาคารคอมเมิร์ซแบงก์ ของเยอรมนี ถึงขั้นพยากรณ์ว่า อีกไม่นานวิกฤตคราวนี้ก็จะถูกหลงลืมกันไป
เขาบอกว่า วิกฤตคราวนี้มีข้อที่สามารถเทียบเคียงกับวิกฤตเมื่อคราวที่เกิดขึ้นตอนกลางทศวรรษ 1990 อยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น นักลงทุนจึงควรเป็นคนใจกล้าเข้าซื้อหุ้นซึ่งกำลังราคาถูกมากในเวลานี้ เพราะประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับวิกฤตจะถูกลืมในระยะเวลา 6 เดือน และตลาดจะกลับฟื้นตัวขึ้นมา
นอกจากอีซีบีที่อัดฉีดเงินสดเข้าระบบ ซึ่งก็คือ การปล่อยกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำแก่แบงก์และสถาบันการเงินในเขตรับผิดชอบของตน (ยูโรโซน) ที่เจอปัญหาขาดสภาพคล่องในวันพฤหัสบดีและศุกร์ที่ผ่านมา รวมเป็นเงิน 155,850 ล้านยูโร (212,980 ล้านดอลลาร์) แล้ว ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ก็ได้ทำอย่างเดียวกันรวมเป็นเงิน 62,000 ล้านดอลลาร์ เช่นเดียวกับธนาคารกลางของญี่ปุ่นและออสเตรเลีย แม้ด้วยปริมาณที่ลดน้อยลงมา
โฮเวิร์ด อาร์เชอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ติดตามอังกฤษและยุโรป แห่งบริษัทวิจัย โกลบอล อินไซด์ ในกรุงลอนดอน มองในแง่ดีว่า ถ้าหากพวกธนาคารกลางทำงานของพวกตนได้สำเร็จแล้ว ตลาดก็น่าจะกลับเข้าสู่เสถียรภาพได้
ตราบเท่าที่พวกธนาคารกลางประสบความสำเร็จในการปลอบให้ตลาดสงบลงได้ โอกาสที่ความไหวตัววูบวาบของตลาดการเงิน จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาคแท้จริง ก็จะอยู่ในระดับต่ำ เขากล่าวต่อ
สิ่งที่สำคัญก็คือ ปัจจัยพื้นฐานที่รองรับเศรษฐกิจของอังกฤษและยุโรป ยังคงอยู่ในสภาพดีเยี่ยม ดังนั้นจึงหวังกันว่าเรื่องนี้จะช่วยจำกัดผลเลวร้ายที่จะมีต่อเศรษฐกิจโดยรวม
**ลุ้นเฟดลดดอกเบี้ย
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางคนโดยเฉพาะในสหรัฐฯ ยังไม่เชื่อว่า การเข้าแทรกแซงของพวกธนาคารกลาง ด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ จะเป็นการเพียงพอแล้ว และเสนอว่าสิ่งที่เฟดซึ่งนำโดยประธาน เบน เบอร์นันกี ยังจะต้องทำ ก็คือ การลดอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานลงมา หลังจากที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ยืนดอกเบี้ยเฟดฟันด์เรตไว้ที่เดิม 5.25% ในการประชุมวันอังคาร (7) ที่แล้ว
ผมสงสัยว่า มิสเตอร์เบอร์นันกีคงอยากจะหลีกเลี่ยงเรื่องนี้ เพราะมันคือการส่งสารว่า เอฟโอเอ็มซีนั้น ตราบจนถึงวันอังคาร ก็ยังคงประเมินปัญหาต่ำกว่าความเป็นจริง โจเอล แนรอฟฟ์ แห่ง แนรอฟฟ์ อีโคโนมิก แอดไวเซอร์ส กระแหนะกระแหนเล็กๆ ใส่ประธานเฟด
การประชุมเอฟโอเอ็มซีคราวต่อไปจะมีขึ้นในเดือนกันยายน ทว่า แนรอฟฟ์ไม่คิดว่าจะต้องรอกันนานขนาดนั้น
เฟดอาจจะรอคอยอีกสักสองสามวัน เพื่อดูว่าสิ่งต่างๆ กลับอยู่ในความควบคุมได้หรือยัง แต่พวกเขาอาจจะไม่สามารถรอคอยนานขนาดนั้นก็ได้ แนรอฟฟ์กล่าว
http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000094575
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 12 สิงหาคม 2550 18:02 น.
เอเอฟพี - วิกฤตสินเชื่อเคหะสหรัฐฯยังทำท่าแพร่พิษ สร้างความย่ำแย่ต่อตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกต่อไป แต่นักวิเคราะห์มองว่า ฤทธิ์เดชของมันน่าจะอ่อนกำลังเจือจางลง ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าพิษร้ายนี้กระจัดกระจายออกสู่นักลงทุนวงกว้างทั่วโลก
ในวันพฤหัสบดี (9) และวันศุกร์ (10) แบงก์ชาติทั่วโลกนำโดยธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ประสานกันเร่งอัดฉัดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการธนาคารเป็นปริมาณมหาศาล ด้วยความมุ่งหมายที่จะขจัดปัดเป่าไม่ให้เกิดภาวะสินเชื่อตึงตัวทั่วโลก ภายหลังวิกฤตตลาดสินเชื่อเคหะประเภทลูกค้าด้อยคุณภาพ ซับไพรม์ ทำท่าบานปลายรุนแรง
ภาวะสินเชื่อตึงตัวเป็นเรื่องน่าห่วงใย เพราะหากบังเกิดขึ้นและลุกลาม ก็จะทำให้ธุรกิจและผู้บริโภคทั้งหลาย ยากลำบากที่จะได้เงินกู้ หรือหากกู้ได้ก็จะต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้นกว่าเดิม ภาวะเช่นนี้ยังจะทำให้ภาคธุรกิจ และผู้บริโภคใช้จ่ายลดลง ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมเข้าสู่ภาวะถดถอย
การแทรกแซงของเหล่าธนาคารกลางดูจะได้ผลบางส่วน โดยในวันศุกร์ ตลาดแถบยุโรปที่ปิดทำการก่อน ยังคงติดลบอ่วม เช่น ดัชนีฟุตซี่ 100 ของลอนดอนร่วง 3.71% และดัชนีซีเอซี 40 ของปารีส หล่น 3.13% แต่ตลาดสหรัฐฯซึ่งปิดทีหลังนั้น ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของวอลล์สตรีทติดลบเพียง 0.23%
กระนั้น พวกนักวิเคราะห์ก็เห็นพ้องกันว่า มีโอกาสที่ความไร้เสถียรภาพยังจะขยายตัวยิ่งขึ้นอีกอย่างรวดเร็ว เมื่อตลาดหุ้นส่วนใหญ่เปิดทำการขึ้นใหม่ในวันนี้ (13) ถึงแม้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คิดด้วยว่า พวกตลาดใหญ่ๆ น่าจะทานกระแสต้านพายุเอาไว้ได้
ไจลส์ โมเอค นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสแห่ง แบงก์ออฟอเมริกา กล่าวว่า เวลานี้ยังไม่มีใครสามารถขุดค้นรวบรวมให้ได้ตัวเลขจริงๆ ว่า สินเชื่อเคหะซับไพรม์ ซึ่งได้ถูกนำมาแปลงเป็นตราสารหนี้ แล้วธนาคารและสถาบันต่างๆ ซื้อหากันไปมากแล้ว ตกอยู่ในมือของต่างชาติเป็นปริมาณเท่าใดกันแน่
การที่ไม่มีใครทราบนี้ เป็นเรื่องแย่สำหรับตลาดการเงิน เขาชี้พร้อมกับอธิบายว่า เพราะถ้ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งตลาดเกลียดแล้ว มันก็คือ เจ้าความไม่แน่นอนแบบนี้นี่เอง
อย่างไรก็ตาม โมเอค บอกว่า เรื่องนี้มีลักษณะที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัวมันเอง กล่าวคือ ขณะที่มันทำให้อารมณ์ความรู้สึกของตลาดออกมาในเชิงลบ แต่อีกด้านหนึ่ง มันก็บ่งชี้ว่าความเสี่ยงจากซับไพรม์ ดูจะกระจายตัวออกไปทั่วโลก ซึ่งทำให้พิษร้ายของมันในแต่ละพื้นที่ดูเจือจาง ไม่น่าจะสร้างความเสียหายได้รุนแรง
นี่แสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงนี้ไม่ได้รวมศูนย์อยู่ในสถานที่ใดที่หนึ่ง และนี่ก็จะเป็นเรื่องดีสำหรับตลาดโดยรวม เขาชี้
แอนเดรียส ฮูเออร์แคมป์ นักวิเคราะห์แห่งธนาคารคอมเมิร์ซแบงก์ ของเยอรมนี ถึงขั้นพยากรณ์ว่า อีกไม่นานวิกฤตคราวนี้ก็จะถูกหลงลืมกันไป
เขาบอกว่า วิกฤตคราวนี้มีข้อที่สามารถเทียบเคียงกับวิกฤตเมื่อคราวที่เกิดขึ้นตอนกลางทศวรรษ 1990 อยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น นักลงทุนจึงควรเป็นคนใจกล้าเข้าซื้อหุ้นซึ่งกำลังราคาถูกมากในเวลานี้ เพราะประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับวิกฤตจะถูกลืมในระยะเวลา 6 เดือน และตลาดจะกลับฟื้นตัวขึ้นมา
นอกจากอีซีบีที่อัดฉีดเงินสดเข้าระบบ ซึ่งก็คือ การปล่อยกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำแก่แบงก์และสถาบันการเงินในเขตรับผิดชอบของตน (ยูโรโซน) ที่เจอปัญหาขาดสภาพคล่องในวันพฤหัสบดีและศุกร์ที่ผ่านมา รวมเป็นเงิน 155,850 ล้านยูโร (212,980 ล้านดอลลาร์) แล้ว ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ก็ได้ทำอย่างเดียวกันรวมเป็นเงิน 62,000 ล้านดอลลาร์ เช่นเดียวกับธนาคารกลางของญี่ปุ่นและออสเตรเลีย แม้ด้วยปริมาณที่ลดน้อยลงมา
โฮเวิร์ด อาร์เชอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ติดตามอังกฤษและยุโรป แห่งบริษัทวิจัย โกลบอล อินไซด์ ในกรุงลอนดอน มองในแง่ดีว่า ถ้าหากพวกธนาคารกลางทำงานของพวกตนได้สำเร็จแล้ว ตลาดก็น่าจะกลับเข้าสู่เสถียรภาพได้
ตราบเท่าที่พวกธนาคารกลางประสบความสำเร็จในการปลอบให้ตลาดสงบลงได้ โอกาสที่ความไหวตัววูบวาบของตลาดการเงิน จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาคแท้จริง ก็จะอยู่ในระดับต่ำ เขากล่าวต่อ
สิ่งที่สำคัญก็คือ ปัจจัยพื้นฐานที่รองรับเศรษฐกิจของอังกฤษและยุโรป ยังคงอยู่ในสภาพดีเยี่ยม ดังนั้นจึงหวังกันว่าเรื่องนี้จะช่วยจำกัดผลเลวร้ายที่จะมีต่อเศรษฐกิจโดยรวม
**ลุ้นเฟดลดดอกเบี้ย
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางคนโดยเฉพาะในสหรัฐฯ ยังไม่เชื่อว่า การเข้าแทรกแซงของพวกธนาคารกลาง ด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ จะเป็นการเพียงพอแล้ว และเสนอว่าสิ่งที่เฟดซึ่งนำโดยประธาน เบน เบอร์นันกี ยังจะต้องทำ ก็คือ การลดอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานลงมา หลังจากที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ยืนดอกเบี้ยเฟดฟันด์เรตไว้ที่เดิม 5.25% ในการประชุมวันอังคาร (7) ที่แล้ว
ผมสงสัยว่า มิสเตอร์เบอร์นันกีคงอยากจะหลีกเลี่ยงเรื่องนี้ เพราะมันคือการส่งสารว่า เอฟโอเอ็มซีนั้น ตราบจนถึงวันอังคาร ก็ยังคงประเมินปัญหาต่ำกว่าความเป็นจริง โจเอล แนรอฟฟ์ แห่ง แนรอฟฟ์ อีโคโนมิก แอดไวเซอร์ส กระแหนะกระแหนเล็กๆ ใส่ประธานเฟด
การประชุมเอฟโอเอ็มซีคราวต่อไปจะมีขึ้นในเดือนกันยายน ทว่า แนรอฟฟ์ไม่คิดว่าจะต้องรอกันนานขนาดนั้น
เฟดอาจจะรอคอยอีกสักสองสามวัน เพื่อดูว่าสิ่งต่างๆ กลับอยู่ในความควบคุมได้หรือยัง แต่พวกเขาอาจจะไม่สามารถรอคอยนานขนาดนั้นก็ได้ แนรอฟฟ์กล่าว
http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000094575
คนมีโชค คือ คนที่พร้อมเสมอเมื่อโอกาสยังมาไม่ถึง และใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ยามโอกาสมาถึง
-
- Verified User
- โพสต์: 2496
- ผู้ติดตาม: 0
subprime คืออะไรมีผลอย่างไรกับการลงทุน
โพสต์ที่ 33
ขอบคุณพี่ๆทุกท่านค่ะ
หมายถึงว่าพี่ว่า ปัญหาซับไพรม์ ไม่กระทบภาพระยะยาวหรอคะ
คือแบบว่า จริงอยู่ ถ้ามองสั้นๆ ก็ถ้าหนี้เน่าเป็นจำนวนนึง แล้วแก้ไขซับสภาพเน่านี้ไปได้ระดับนึงแล้ว มูลค่าการเงินและสินทรัพย์ทั่วโลกคงกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ต่อ
แต่ว่าไปจริงๆแล้ว หนี้เน่าในส่วนนี้(ไม่ทราบว่าสัดส่วนมากน้อยน่าเป็นห่วงอย่างไร) มันบอกนัยยะอะไรในสภาพเศรษฐกิจของพี่เบิ้มอย่างเมกา หรือไม่
จริงๆแล้ว มันเพราะแค่เก็งกำไรกันมากไป หรือว่าเรื่องจริงมันคือ เมกากรอบมากๆแล้ว รายได้และกำลังซื้อของเมกาจริงๆเป็นปัญหาน่ากลัวแล้วหรือยัง
จะส่งผลต่อเศรษฐกิจการค้าของโลกหรือไม่อ่าค่ะ ถ้าประสิทธิภาพการซื้อของเมกาทรุดลง แล้วส่วนอื่นๆของโลกดันขึ้นมาทดแทนกันต่อไหวหรือเปล่า
รบกวนพี่บีเอ็มขยายความหน่อยค่ะbmw2681 เขียน:สงสัยว่า Subprime คือ หนึ่งในวิธีทุบเอาของถูกจากนักลงทุนอ่อนหัด ซะแล้ว อิอิ...
หมายถึงว่าพี่ว่า ปัญหาซับไพรม์ ไม่กระทบภาพระยะยาวหรอคะ
คือแบบว่า จริงอยู่ ถ้ามองสั้นๆ ก็ถ้าหนี้เน่าเป็นจำนวนนึง แล้วแก้ไขซับสภาพเน่านี้ไปได้ระดับนึงแล้ว มูลค่าการเงินและสินทรัพย์ทั่วโลกคงกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ต่อ
แต่ว่าไปจริงๆแล้ว หนี้เน่าในส่วนนี้(ไม่ทราบว่าสัดส่วนมากน้อยน่าเป็นห่วงอย่างไร) มันบอกนัยยะอะไรในสภาพเศรษฐกิจของพี่เบิ้มอย่างเมกา หรือไม่
จริงๆแล้ว มันเพราะแค่เก็งกำไรกันมากไป หรือว่าเรื่องจริงมันคือ เมกากรอบมากๆแล้ว รายได้และกำลังซื้อของเมกาจริงๆเป็นปัญหาน่ากลัวแล้วหรือยัง
จะส่งผลต่อเศรษฐกิจการค้าของโลกหรือไม่อ่าค่ะ ถ้าประสิทธิภาพการซื้อของเมกาทรุดลง แล้วส่วนอื่นๆของโลกดันขึ้นมาทดแทนกันต่อไหวหรือเปล่า
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1063
- ผู้ติดตาม: 0
subprime คืออะไรมีผลอย่างไรกับการลงทุน
โพสต์ที่ 34
ผมมองอีกมุมว่า
ครั้งนี้จะยิ่งทำให้กองทุนจากประเทศต่างๆรวมทั้งจากของ
US เองรู้สึกไม่มั่นใจในเศรษฐกิจของประเทศตัวเองมากๆจนกระทั่ง
ย้ายการลงทุนไปตามที่ต่างๆที่มั่นคงกว่า ไม่ว่าจะเป็นตลาดตราสาร
หนี้ , หุ้นตลาดเกิดใหม่อื่นๆ ( รวมทั้งไทย ) , ทองคำ
คล้ายๆกับที่เคยอ่านเจอใน หนังสือเรื่อง เยน ของดร.สมภพ
ว่าตอนเกิดวิกฤตในญี่ปุ่นเงินทุนไหลออกไปเข้าที่ US เป็นจำนวนมาก
ทำให้ตลาดหุ้นที่นั่นบูมขึ้นมาในขณะที่หุ้นที่ญี่ปุ่นตกจาก 30,000กว่าจุด
ลงไปเหลือไม่ถึงหมื่นจุด( จำแน่นอนไม่ค่อยได้ครับ อ่านหลายปีแล้ว )
สรุปง่ายๆ ที่ผมคิดคือ เงินยังไงก็ต้องการผลตอบแทนแค่จะปูดจากที่นึงไป
อีกที่นึงครับ
ผิดถูกชี้แนะด้วยนะครับ
ครั้งนี้จะยิ่งทำให้กองทุนจากประเทศต่างๆรวมทั้งจากของ
US เองรู้สึกไม่มั่นใจในเศรษฐกิจของประเทศตัวเองมากๆจนกระทั่ง
ย้ายการลงทุนไปตามที่ต่างๆที่มั่นคงกว่า ไม่ว่าจะเป็นตลาดตราสาร
หนี้ , หุ้นตลาดเกิดใหม่อื่นๆ ( รวมทั้งไทย ) , ทองคำ
คล้ายๆกับที่เคยอ่านเจอใน หนังสือเรื่อง เยน ของดร.สมภพ
ว่าตอนเกิดวิกฤตในญี่ปุ่นเงินทุนไหลออกไปเข้าที่ US เป็นจำนวนมาก
ทำให้ตลาดหุ้นที่นั่นบูมขึ้นมาในขณะที่หุ้นที่ญี่ปุ่นตกจาก 30,000กว่าจุด
ลงไปเหลือไม่ถึงหมื่นจุด( จำแน่นอนไม่ค่อยได้ครับ อ่านหลายปีแล้ว )
สรุปง่ายๆ ที่ผมคิดคือ เงินยังไงก็ต้องการผลตอบแทนแค่จะปูดจากที่นึงไป
อีกที่นึงครับ
ผิดถูกชี้แนะด้วยนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2496
- ผู้ติดตาม: 0
subprime คืออะไรมีผลอย่างไรกับการลงทุน
โพสต์ที่ 35
อันนี้ก็เดาเหมือนพี่แฮนซั่มค่ะ คือในภาพสั้นๆอ่ะนะคะ มันจะปูดไปปูดมาจนกว่าจะระเบิดแหละ :lol:เงินยังไงก็ต้องการผลตอบแทนแค่จะปูดจากที่นึงไป อีกที่นึงครับ
แต่ภาพยาวกว้างนี่ ไม่แน่ใจว่าถ้าเมกาล้มจะฉุดประเทศอื่นร่วงไปด้วยรึเปล่า
ยิ่งยุคโลกแบนนี่ ทุกอย่างมันโยงกันนัวไปหมด สินค้าชิ้นนึงนี่ไม่แน่ว่าส่วนประกอบมาจากกี่ที่มาประกอบกัน
แต่ถ้าสัดส่วนซับไพรม์เน่าไม่มากเท่าไหร่ ก็อาจจะใช้ระยะเวลาเจือจางน้ำเสียเล้กน้อย แล้วไปต่อได้
ทีนี้ประเด็นมันน่าจะอยู่ทำนองว่า มันพลาดให้เน่าเพราะมันคาดผิดไป หรือมันไม่ทันได้คาดเลยแล้วมันฝืนอยู่
มันเป็นเพราะเกร็งกำไรเลยเถิดเกินกำลังไปเล้กน้อย หรือเพราะ แย่แล้ว ตกงาน เงินไม่มีจ่ายหนี้
คนเมกันยิ่งขึ้นชื่อว่า บริโภคมากจนเวอร์เสียด้วยสิ แค่หาได้เท่าเก่านี่ก็แย่แล้ว ที่ผ่านๆมา แค่งบเอาไปรบกะชาวบ้านเขานี่ก็น่าจะหลายตังค์
ถ้าฝืนอยู่นี่น่าเป็นห่วงเหมือนกัน เพราะไม่รู้จะฝืนได้แค่ไหน
:lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 46
- ผู้ติดตาม: 0
subprime คืออะไรมีผลอย่างไรกับการลงทุน
โพสต์ที่ 36
คือรู้มาว่าอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อเสริมสภาพคล่อง
แต่ผมไม่รู้"วิธีการทำ" และผลที่คาดว่าจะเกิดนะครับ
เหมือนผมรู้ว่า จะขับรถได้ต้องเรียนขับรถ แต่ไม่รู้ว่าขับอย่างไร และรถวิ่งไปได้ยังไงน่ะครับ
ใครช่วยอธิบายที
แต่ผมไม่รู้"วิธีการทำ" และผลที่คาดว่าจะเกิดนะครับ
เหมือนผมรู้ว่า จะขับรถได้ต้องเรียนขับรถ แต่ไม่รู้ว่าขับอย่างไร และรถวิ่งไปได้ยังไงน่ะครับ
ใครช่วยอธิบายที
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1063
- ผู้ติดตาม: 0
subprime คืออะไรมีผลอย่างไรกับการลงทุน
โพสต์ที่ 38
เราไม่รู้ว่าจริงๆแล้วปัญหามันใหญ่ขนาดไหน
แต่ผมว่าช่วงนี้ข่าวก็ลงแง่ร้ายมากไปสักนิดไหมครับ
อย่างที่บางเล่มเล่นพาด หัวหน้าแรกว่า ธนาคารกลาง
ทุกประเทศลงขันอัดฉีดเงินเข้าระบบเพื่อแก้ปัญหา
subprime แบบนี้ผมว่ามันแย่นะครับ หลายๆคน( รวม
ทั้งผมด้วยตอนแรกอ่านแล้วตกใจมาก ) แต่พอได้
ถามผู้รู้หลายๆท่านก็บอกว่าการอัดฉีดเงินมันเป็นเรื่อง
ธรรมดาอย่างปีหนึ่งอาจจะมีการเพิ่มสภาพคล่องเป็นสิบๆ
รอบอยู่แล้ว
สุดท้ายการคาดเดาว่าปัญหาจะเป็นอย่างไร
มันยากเลยคิดว่ากลับมาดูว่าธุรกิจไหน
ที่น่าจะได้รับผลกระทบน้อยสุด แข็งขันได้ดีสุด ถ้าเกิดปัญหา
ขึ้น ราคาไม่แพงมาก ก็ซื้อครับ ค่อยๆซื้อตกมากก็ซื้อเยอะหน่อย
ไม่ตกก็ไม่ซื้อตั้งรอไว้น่ะครับ
นอกเรื่องนิดนึงครับ
ผมยังมองว่าธุรกิจบริการของบ้านเรายังไปได้อีกไกลครับ
วันแม่มีเพื่อนๆไปฮ่องกงกันหลายคน
รวมทั้งแม่ผมด้วย บ่นเกือบทุกคนว่าพนักงานที่นั่นมารยาทแย่
มากครับ เดินเข้าไปจะทานราเม็งกัน บอกว่ามี 5 คนปรากฎว่า
โดนไล่ออกมาเลย
อีกร้านนึง( ภายในห้างโซโก้ )
จะซื้อสินค้า ถามว่าใช้บัตรเครดิตได้ไหม พนักงาน
ตอบว่าไปถามธนาคารคุณอย่ามาถามผมด้วยสีหน้าและน้ำเสียง
ที่แย่มาก พอฟังแล้วโมโหถาม
ว่าผู้จัดการอยู่ไหม ก็ไม่ตอบไม่สนใจ
เค้าดูไม่มี service mind เหมือนคนไทยนะครับผมว่า
แต่ผมว่าช่วงนี้ข่าวก็ลงแง่ร้ายมากไปสักนิดไหมครับ
อย่างที่บางเล่มเล่นพาด หัวหน้าแรกว่า ธนาคารกลาง
ทุกประเทศลงขันอัดฉีดเงินเข้าระบบเพื่อแก้ปัญหา
subprime แบบนี้ผมว่ามันแย่นะครับ หลายๆคน( รวม
ทั้งผมด้วยตอนแรกอ่านแล้วตกใจมาก ) แต่พอได้
ถามผู้รู้หลายๆท่านก็บอกว่าการอัดฉีดเงินมันเป็นเรื่อง
ธรรมดาอย่างปีหนึ่งอาจจะมีการเพิ่มสภาพคล่องเป็นสิบๆ
รอบอยู่แล้ว
สุดท้ายการคาดเดาว่าปัญหาจะเป็นอย่างไร
มันยากเลยคิดว่ากลับมาดูว่าธุรกิจไหน
ที่น่าจะได้รับผลกระทบน้อยสุด แข็งขันได้ดีสุด ถ้าเกิดปัญหา
ขึ้น ราคาไม่แพงมาก ก็ซื้อครับ ค่อยๆซื้อตกมากก็ซื้อเยอะหน่อย
ไม่ตกก็ไม่ซื้อตั้งรอไว้น่ะครับ
นอกเรื่องนิดนึงครับ
ผมยังมองว่าธุรกิจบริการของบ้านเรายังไปได้อีกไกลครับ
วันแม่มีเพื่อนๆไปฮ่องกงกันหลายคน
รวมทั้งแม่ผมด้วย บ่นเกือบทุกคนว่าพนักงานที่นั่นมารยาทแย่
มากครับ เดินเข้าไปจะทานราเม็งกัน บอกว่ามี 5 คนปรากฎว่า
โดนไล่ออกมาเลย
อีกร้านนึง( ภายในห้างโซโก้ )
จะซื้อสินค้า ถามว่าใช้บัตรเครดิตได้ไหม พนักงาน
ตอบว่าไปถามธนาคารคุณอย่ามาถามผมด้วยสีหน้าและน้ำเสียง
ที่แย่มาก พอฟังแล้วโมโหถาม
ว่าผู้จัดการอยู่ไหม ก็ไม่ตอบไม่สนใจ
เค้าดูไม่มี service mind เหมือนคนไทยนะครับผมว่า