หน้า 2 จากทั้งหมด 3

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 9:06 am
โดย chatchai
007-s เขียน:แหมเฮียบุช พิมพ์แบงค์สนุกเลย
น้ำมันพุ่งกระฉูดทันที วิ่งไปไฮในวันบวก 25-26 แล้วลงมาปิดบวก 16 หัวแหลมเปี๊ยบ อิอิ
ฟังเฮียสรยุทธในรถ  บอกว่าราคาน้ำมันพุ่งยี่สิบกว่าเหรียญภายในวันเดียว  ไปที่ 125 เหรียญ  ด้วยท่าทีตกใจ

แต่เออ  เมื่อเช้าตอนตื่นนอน  เราก็เปิด CNBC ดู  ก็เห็นราคาน้ำมันอยู่แถวๆ 106 เหรียญนี่หว่า  ใครดูผิดกันแน่

เข้ามาดูเวบ  ราคาก็แถวๆ 106 เหรียญ  แต่มี High แถว 125 เหรียญ  เกิดอะไรขึ้นครับ  ทำไมถึงแกว่งตัวมากขนาดนั้น

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 9:12 am
โดย chatchai
007-s เขียน:ประเทศไหนอมดอลล์ไว้เยอะๆ หน้าเขียวแน่ๆ ดอลล่าร์ใกล้จะเหมือนกงเต๊กเข้าไปทุกที

สงกะสัยจะได้มีโอกาสเห็นยักษ์อย่างเมกาสิ้นลายคาตาเป็นบุญตาในเร็ววันแหงๆ
ครองโลกมานานแล้ว คงได้เวลาอำลาเวทีเสียที

:shock:
คิดๆแล้วก็แปลก  ช่วงหลายปีที่ผ่านมา  ประชาชนชาวสหรัฐใช้ชีวิตสุขสบาย  บริโภคกันสุดๆ  บริโภคสินค้าจากน้ำพักน้ำแรงของชาวโลก  โดยเฉพาะชนชาวจีน  แถมไม่มีเงินชำระ  ติดหนี้ไว้ก่อน

เมื่อวันเวลาผ่านไป  ค่าเงินดอลล่าร์ก็อ่อนค่าลง  หนี้สินของชนชาติอเมริกาก็ลดลงด้วย  ซึ่งก็ส่งผลให้เงินของชนชาวจีนที่อุตส่าห์ทนทำงานเก็บเงินมานานหายไปในพริบตา

แบบนี้  ถือได้ว่า  คนอเมริกาใช้ของฟรีๆ  ส่วนคนจีนทำงานฟรีๆ  หรือเปล่าเนี่ย

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 9:17 am
โดย 007-s
ดิฉันว่ามาจากข้ออ้างเดิมๆที่ว่า การเอาแบงค์กงเต็ก(ดอลล์)เข้าอุ้มเยอะขึ้น (เดิมขอไว้เจ็ดแสนล้าน แต่อยากจะได้เพิ่มเติม กลัวเจ้ดแสนไม่พอ)
ดังนั้น ดอลล์จึงอ่อนไปก่อนเลย ยังไม่ทันต้องรออนุมัติแบงค์กงเต๊ก ดอลลขยับลงก่อน

น้ำมันจึงได้โอกาสมั่วนิ่มค่ะ ปั่นอีกรอบ ทำไมว่าปั่น เพราะอาการงี้ชัดเจนค่ะ ไฮแหลมเปี๊ยบ คือหมายถึง ไฮในวันนั้น +25 แต่ปิดจริงๆแค่ +16
ถ้าเป็นมวยก็ ลักษณะนี้คือคล้ายๆแบบ เหมือนออกอาการค่ะ ทำคึกเดินหน้าต่อยแหลก แต่หน้าตานี่ปูดแผลแตกหมดแล้ว คะแนนตามห่างด้วย ออกอาการแพ้ชัดมาก ทำนองนั้น
:lol:

ไม่ว่าดัชนีอะไร ถ้ามีโอกาสได้รีบาวขึ้นบ้าง จะพบว่า หมีที่ดักรออยู่ด้านบนดุมาก อย่าเผยอขึ้นไปเชียว พี่หมีทุบยุบไม่เลี้ยง
ว่าประสาเม่าก็คือ คนข้างบนรู้ตัวแล้วว่าชั้นติดดอย รีบาวขึ้นมาเมื่อไหร่ เจอกัน เพราะชั้นจะรอที่ลงดอย

:lol:

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 9:23 am
โดย 007-s
[quote="chatchai"]
แบบนี้

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 9:24 am
โดย chatchai
ช็อก!!น้ำมันทะยานวันเดียว$16สูงสุดเป็นประวัติการณ์

เอเอฟพี - ราคาน้ำมันทะยานกว่า 16 ดอลลาร์หรือราว 15 เปอร์เซนต์เมื่อวันจันทร์(22) ทำสถิติถีบตัวมากที่สุดในรอบ 1 วันเป็นประวัติการณ์ ณ ตลาดนิวยอร์ก เนื่องจากเป็นวันหมดอายุสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าและแผนกอบกู้ภาคการเงินครั้งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา รวมถึงการอ่อนค่าของดอลลาร์
     
      สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนตุลาคม ที่หมดอายุสัญญาซื้อขายในวันจันทร์(22) ทะยานขึ้นไปถึง 16.37 ดอลลาร์หรือ 15.7 เปอร์เซนต์ ปิดที่ 120.92 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มากกว่าสถิติเดิมที่เคยกระโดดขึ้นไปวันเดียว 10.75 ดอลลาร์เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน
     
      "มันสูงขึ้นแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน" อันโตนี ฮาลฟ์ฟ นักวิเคราะห์จากนิวเอดจ์กรุ๊ปกล่าว
     
      ด้านตลาดลอนดอน สัญญาซื้อขายน้ำมันดิบเบรนท์ทะเลเหนือ งวดส่งมอบเดือนพฤศจิกายน กระโดดขึ้นไป 6.43 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ปิดที่ 106.04 ดอลลาร์
     
      การถีบตัวของราคาน้ำมันยังได้รับแรงกระตุ้นจากปัจจัยทางเทคนิคที่เชื่อมโยงกับวันหมดอายุสัญญาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าในตลาดนิวยอร์กด้วย นักวิเคราะห์กล่าว
     
      ขณะที่น้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดงวดส่งมอบเดือนพฤศจิกายน สัญญาซื้อขายถัดไป ราคาขยับขึ้นไปเพียง 6.62 ดอลลาร์ ปิดที่ 109.37 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
     
      ปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมราคาสัญญาซื้อขายเดือนตุลาคม คือสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯมีนัยว่าอาจต่ำกว่าการหยุดชะงักด้านการผลิตในอ่าวเม็กซิโกหลังได้รับผลกระทบจากเฮอร์ริเคนกุสตาฟและไอค์ ฮาลฟ์ฟระบุ
     
      เมื่อวันศุกร์(19) ราคาน้ำมันดิบกระโดดขึ้นไปกว่า 6 ดอลลาร์ในตลาดนิวยอร์กและ 4 ดอลลาร์ในลอนดอน หลังได้แรงหนุนจากแผนกอบกู้ภาคการเงินครั้งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา
     
      นักวิเคราะห์กล่าวว่าแผนกอบกู้ภาคการเงินมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาคองเกรส ได้คลี่คลายความกังวลว่าเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลกใกล้ล่มสลาย
     
      "หลายคนกำลังคาดหวังว่าแผนดังกล่าว ซึ่งยังคงต้องผ่านสภาคองเกรส จะช่วยสร้างเสถียรภาพในกับตลาดเงินและกอบกู้เศรฐกิจของสหรัฐฯจากความมืดมน ด้วยเหตุนี้จึงสนับสนุนให้ดีมานด์น้ำมันของสหรัฐฯเติบโตขึ้น" ไมเคิล เดวิส นักวิเคราะห์จากซัคเดนในอังกฤษกล่าว
     
      นอกจากนี้ราคาน้ำมันยังได้แรงหนุนจากดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง เพราะนักลงทุนกังวลว่า มาตรการกู้วิกฤติในตลาดการเงินสหรัฐฯ อาจเป็นปัจจัยลบที่สกัดกั้นความแข็งแกร่งของดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนมองว่ามาตรการดังกล่าวใช้งบประมาณสูงเกินไปและอาจส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐฯขาดทุนงบประมาณมากขึ้น
http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000112557

เท่าที่เข้าใจ  ราคาที่ว่าเป็นราคาน้ำมันดิบล่วงเฉพาะเดือน ต.ค.  ซึ่งมีการซื้อขายกันเมื่อคืนเป็นวันสุดท้าย

แต่ราคาดิบล่วงหน้าเดือนอื่นๆ  ปรับตัวสูงขึ้น  แต่ก็ไม่ได้มากมายจนน่าตกใจมากนัก

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 9:37 am
โดย chode
[quote="chatchai"]
ตามตัวเลขที่คุณ chode ได้มา

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 9:49 am
โดย chatchai
chode เขียน:แต่ขอถามคุณ chatchaiเป็นความรู้หน่อยซิครับ หากดอกเบี้ยลอยตัวสูงๆเช่น 10% ธนาคารยังคิดค่าผ่อนสูงกว่าราคาคำนวณหรือเปล่าครับ
ก็น่าจะเป็นเช่นนั้นครับ

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 10:29 am
โดย mprandy
[quote="chatchai"]สินเชื่อบ้านนั้น

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 11:48 am
โดย por_jai
007-s เขียน:
ประเทศไหนอมดอลล์ไว้เยอะๆ หน้าเขียวแน่ๆ ดอลล่าร์ใกล้จะเหมือนกงเต๊กเข้าไปทุกที
แรกๆจะัเ้หมือนแบ๊งค์กงเต็กก่อนคือพอใช้ในงานบางงานได้
หลังๆจะเข้าไปเป็นม้วนๆอยู่ในห้องน้ำครับ
เหลือประโยชน์อยู่อย่างเดียว

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 12:35 pm
โดย Dimsum
ผมก็เคยคิดแบบพี่พอใจนะ แต่คิดไปคิดมามีผลเสียมากกว่าผลดีน่ะพี่
เพราะมันจะแสบก้น เผลอ ๆ ต้องไปรักษา  ริดซี่  อีก ไม่คุ้มหรอกครับ
ผมว่าเอาไว้เผาให้ กง+ม่า ดีก่า หวังว่าท่านคงไม่ว่าหลาน ๆ นะ ว่าส่งอะไรมาให้ GU

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 12:59 pm
โดย chatchai
por_jai เขียน: แรกๆจะัเ้หมือนแบ๊งค์กงเต็กก่อนคือพอใช้ในงานบางงานได้
หลังๆจะเข้าไปเป็นม้วนๆอยู่ในห้องน้ำครับ
เหลือประโยชน์อยู่อย่างเดียว
ถ้าแบ๊งค์ดอลล่าร์สหรัฐเป็นแบ๊งค์กงเต๊ก  แล้ว

แบ๊งค์เงินบาทของเราจะเป็นอะไร  ในเมื่อเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ใช้หนุนค่าเงินบาทของเราเกือบทั้งหมดก็เป็นแบ๊งค์ดอลล่าร์    :cry:    :cry:  

ซึ่งก็รวมถึงแบ๊งค์แทบทุกประเทศในโลกใบนี้    :cry:    :cry:    :cry:

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 2:10 pm
โดย wattae
[quote="007-s"]บรรยากาศมาคุแล้ว เข้าใจว่า เมกาเริ่มมีแนวคิดเพิ่มเติม ว่าไอ่เจ็ดแสนล้านที่ว่านั่น เห็นทีจะไม่พอ อยากจะให้อุ้มหนี้สินพวกผ่อนรถ หนี้บัตร อะไรต่ออะไรไปด้วยเลย อะจ๊ากละงานนี้
ตะกี้ฟังผ่านๆจากคุณบัญชามันนี่ชาแน่นว่า ประมาณขอเป็น 1.8ล้าน จะพอมั้ย
อะจ๊ากค่ะ

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 2:16 pm
โดย chode
ผมเข้าใจว่า
เดี่ยวนี้ไม่ต้องเปลืองกระดาษพิมพ์ครับ  แค่คีย์ปล่อยกู้จากเฟดไปให้ธนาคารที่กู้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 2:59 pm
โดย mprandy
[quote="wattae"]
ผมสงสัยว่าทำไม อเมริกา ถึงได้พิมพ์แบงค์เพิ่มได้เลย ไม่ต้องดูเงินสำรองอะไรพวกนี้เหรอ

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 3:53 pm
โดย wattae
ขอบคุณครับ หมอ mprandy ที่ช่วยอธิบาย

ผลิตทองเอง เลยพิมพ์แบงค์ได้เอง นี่ขี้โกงชะมัด  :lol:

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 4:03 pm
โดย noooon010
ขอบคุณพี่ mprandy มากๆครับ  :D

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 6:32 pm
โดย wr
ตามประวัติอเมริกา
เขาจะยอมเสียบางอย่างไปเพื่อแลกกับผลที่คุ้มค่ากว่าเสมอ
ตั้งแต่ การจมเรือโดยสารข้ามสมุทรยุคสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เพิร์ลฮาร์เบอร์ สงครามโลกครั้งที่สอง
หักหน้าอังกฤษ เพื่อช่วยไทย หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
การยกเลิกอ้างอิงทองคำ
การย่อหย่อนจนเกิดเวิร์ลเทรด นำไปสู่กำไรมหาศาลจากน้ำมัน
ตอนนี้การด้อยค่าของเงินเหรียญก็มีทั่วโลกมาช่วยรับไปคนละหนุบหนับ
ผมล่ะตามอเมริกาไม่ทันจริงๆ เห็นมีจีนแดงที่พอจะทันเขาครับ

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 7:50 pm
โดย Alastor
ที่ usa พิมพ์แบงค์เองได้ไม่ใช่เพราะมีทองนะครับ แต่เพราะคนเชื่อมั่นใน US Dollar ถ้ามีความเชื่อมั่นกระดาษก็จะกลายเป็นเงินเป็นทองได้

ถ้าคนเชื่อว่า 1 USD ที่เค้าถือจะสามารถนำมาซื้อสินทรัพย์ของอเมริกาได้ เงิน USD ก็จะมีมูลค่า
ลองถ้าชาติต่างๆคิดว่าถือเงิน USD แล้วไม่สามารถซื้อสินทรัพย์ในอเมริกาได้ USD ก็จะกลายเป็นเศษกระดาษครับ

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 7:56 pm
โดย chatchai
ทำไมธนาคารกลางส่วนใหญ่ยังคงเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในรูปเงินสกุลดอลล่าร์

ผมเดาว่า  เป็นเพราะนักลงทุนต่างประเทศ  ผู้นำเข้า  ต่างต้องการนำเงินบาทมาแลกเป็นสกุลเงินดอลล่าร์  ดังนั้นธปท.จึงต้องมีเงินสกุลดอลล่าร์ไว้ให้แลก

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 9:28 pm
โดย TheHee
[quote="wattae"]
ผมสงสัยว่าทำไม อเมริกา ถึงได้พิมพ์แบงค์เพิ่มได้เลย ไม่ต้องดูเงินสำรองอะไรพวกนี้เหรอ

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 10:52 pm
โดย MindTrick
ตอนนี้ที่เห็น 3วันดี 4วันไข้ ยังไม่ถือว่าร้ายแบบหมดอาลัยตายอยากกัน ผู้คนยังไม่กังวลกับการใช้เงินอย่างวิตกจริต ประมาณแบบปี40นัก

คือมัน เหมือนก้อนมะเร็งยังอยู่ แต่ตอนเข้าโรงบาลครั้แรก August 2007 หมอแค่ให้ยาแก้ปวด พาราไปกินก่อน ไม่นานมานี้ตาแฟรดดี้บ่นปวดมาก ก็ฉีดมอร์ฟีน ให้หายปวดไวๆ ซะ

....ก้อนมะเร็งเน่าๆ ยังอยู่ครับ ไม่ได้ผ่าออกไป ไม่ได้หาย

โรคนี้ มันไม่ดีขึ้นง่ายๆ ในปี2008นี้แน่นอน


หากใครพอจะมีเวลามองภาพหาข้อมูลทั้งแนวกว้างและลึัก

จะพบว่า...
แท้จริงแล้ว วิกฤตต้มยำกุ้งบ้านเรา ระดับแค่ น้ำจิ้มถ้วยน้อยๆ หกเลอะอยู่ ข้างจานใบโต(คือโลกใบนี้)

แต่งวดนี้ เป็นดังหม้อไอน้ำ.. ระเบิด..ครับ

นึกไม่ออก ลองดูภาพปลากรอบ ...

รูปภาพ

รูปภาพ

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 23, 2008 11:07 pm
โดย สวนหย่อม
ฮ่าๆๆ ไม่รู้จะหัวเราะหรือร้องไห้ดีครับพี่ MindTrick
:rofl:  :rofl:  :'O  :'O

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 24, 2008 8:47 am
โดย คนเรือ VI
ตอนเปลี่ยนจาก USD เป็นระบบตะกร้าเงินก็เพราะเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงมากๆ ในยุค 70s

ผมว่าเราน่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินโลก เพราะ ความอ่อนค่าของดอลล่าร์ ด้วย สงคราม การขาดดุล อุ้มแบงค์

ความเชื่อมันอยู่ได้ไม่นานมากหรอกครับ

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 24, 2008 9:14 am
โดย 007-s
**ทุ่ม 1.8 ล้านล.เหรียญฯกู้วิกฤติ

กระแสหุ้นออนไลน์ - Finance 24/09/2008 08:54:09


บรรยากาศการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 ก.ย. ปรากฏดัชนียังคงแกว่งตัวในแดนลบตลอดทั้งวันและเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลกที่ยังคงไม่มั่นใจว่า แผนการกอบกู้วิกฤตการณ์ ทางการเงิน และระบบสถาบันการเงินมูลค่า 1.8 ล้านล้านเหรียญฯ หรือประมาณ 61.2 ล้านล้านบาท (34 บาทต่อดอลลาร์) ของรัฐบาลสหรัฐฯ จะทำให้ระบบสถาบันการเงินของสหรัฐฯกลับมามีเสถียรภาพได้หรือไม่ ในขณะที่หลายฝ่ายคาดการณ์ ล่วงหน้าว่า เงินจำนวนมหาศาลดังกล่าวอาจป้องกันภาวะถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้ด้วย   ขณะที่นักลงทุนภายในประเทศประเมินว่า โฉมหน้า ครม.ใหม่ โดยเฉพาะ ครม.เศรษฐกิจ จะไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นได้โดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจประเทศกำลังถูกปัจจัยภายนอกรุมเร้าอย่างหนัก นักลงทุนส่วนใหญ่จึงยังคงเทขายเพื่อลดความเสี่ยง และทำกำไรระยะสั้นออกมา โดยดัชนีหุ้นไทยปิดทำการไปที่ 608.25 จุด ลดลง 6.24 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 9,177 ล้านบาท โดยต่างชาติขายสุทธิ 502 ล้านบาท เช่นเดียวกับตลาดหุ้นในเอเชียส่วนใหญ่ที่ร่วงลงอย่างหนัก โดยมีฮั่งเส็งร่วงลงหนักสุด 2.7% ออสเตรเลียร่วง 2% คัมโพสิตโซล 0.24% สิงคโปร์ร่วง 1.56% ส่วนดัชนี MSCI หุ้นเอเชีย-แปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่น ซึ่งปิดทำการในวันชาติ ร่วงลง 1.9% ขณะที่หุ้นยุโรปเปิดตลาดร่วงลง 1%
นายวิวัฒน์ วิชิตบุญญเศรษฐ รองกรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ประเมินว่า ในระยะใกล้ๆนี้คงยังไม่เห็นเงินต่างชาติโซนยุโรป และสหรัฐฯ เข้ามา เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นรอบนี้ลึก และกว้าง โดยข้อมูลในอดีตที่เคยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปี 2523 พบว่า หลังออกมาตรการแล้วยังต้องใช้เวลาอีก 1 ปีกว่าตลาดหุ้นจะถึงจุดต่ำสุด นอกจากนี้ยังพบว่าบรรดากองทุนเก็งกำไรต่างชาติ หรือเฮดจ์ ฟันด์หลายรายได้รับความเสียหายอย่างหนักจากวิกฤติรอบนี้จนต้องปิดตัวลง อย่างไรก็ตามกระแสเงินที่จะไหลเข้ามาแทนที่นั้นประเมินว่า น่าจะเป็นเงินจากกองทุนเพื่อความมั่งคั่งจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และเอเชียเอง
วันเดียวกัน ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช เสนอแผนต่อสภาคองเกรสเพื่อให้อำนาจอย่างกว้างขวางแก่กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ในอันที่จะหาแนวทางการให้ความช่วยเหลือแก่ระบบสถาบันการเงิน รวมถึงการตัดสินใจ ซื้อ กำหนดวงเงิน จัดการ ขาย จำนอง และจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อรับประกันความมีเสถียรภาพ และป้อง กันความผันผวนในตลาดเงิน โดยอำนาจนี้ ศาล หรือหน่วยงานใดๆของรัฐบาล จะไม่สามารถทบทวนการตัดสินใจของ รมว.คลังได้
สำหรับแผนของกระทรวงการคลังที่จะส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐฯอาจต้องใช้เม็ดเงินรวมกันราว 1.8 ล้านล้านเหรียญฯในการกอบกู้วิกฤติภาคการเงิน มีดังนี้ 1.ซื้อสินทรัพย์ เช่น สัญญาจำนองบ้าน และอาคารพาณิชย์จากสถาบันการเงินที่มีปัญหา 700,000 ล้านเหรียญฯ 2.ค้ำประกันเงินต้นในกองทุนรวมที่ลงทุนในตลาดตรา สารหนี้ระยะสั้นเพื่อผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในกองทุนรวมเหมือนที่เชื่อมั่นในเงินฝากธนาคารที่ได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาล 50,000 ล้านเหรียญฯ 3.อัดฉีดเม็ดเงินให้แฟนนี่เมและเฟรดดี้แมคซื้อหลักทรัพย์ ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนองเพิ่มอีก 144,000 ล้านเหรียญฯเพื่อให้สามารถจะปรับเพดานการลงทุนของทั้ง 2 องค์กรนี้ขึ้นสู่ระดับ 850,000 ล้านเหรียญฯ 4.ใส่เงินให้บริษัทเอไอจี 85,000 ล้านเหรียญฯซึ่งทำให้รัฐเข้าถือหุ้น 79.9% เพื่อบริษัทจะไม่ต้องยื่นเรื่องขอพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาลจากภาวะล้มละลายโดยมีการปลดคณะผู้บริหารออก
5.ใช้เงินอีกอย่างน้อย 87,000 ล้านเหรียญฯในการชำระคืนบริษัทเจพี มอร์แกน เชส แอนด์ โค สำหรับการจัดหาเงินทุนไว้ใช้รองรับการทำธุรกรรมบางอย่างของบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้ง อิงค์ ที่อยู่ในภาวะล้มละลาย 6.ใช้อีก 200,000 ล้านเหรียญฯซื้อหุ้นบุริมสิทธิเพื่อพยุงระดับเงินทุนของแฟนนี่เมและเฟรดดี้แมคตามความจำเป็น 7.ใช้ 300,000 ล้านเหรียญฯสำหรับสำนักงานการเคหะของรัฐบาลกลางเพื่อช่วยเหลือเจ้าของบ้านที่ประสบปัญหาให้สามารถทำสัญญาจำนองที่มีการปรับลดเงินต้นลง และได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาล และออกจากสัญญาจำนองที่คิดดอกเบี้ยสูงเกินไปจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ (รีไฟแนนซ์)
8. กันเงินให้เปล่า 4,000 ล้านเหรียญฯสำหรับชุมชนในท้องถิ่นเพื่อช่วยเหลือให้ชุมชนสามารถซื้อและซ่อมแซมบ้านที่ถูกธนาคารยึดเพราะเจ้าของบ้านไม่สามารถชำระหนี้จำนองได้ 9.จัดหาเงินทุน 30,000 ล้านเหรียญฯที่ใช้ในการซื้อบริษัท แบร์ สเติร์น แอนด์ โค วาณิชธนกิจอันดับ 5 เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาคืนแก่เจพีมอร์แกนที่ได้ช่วยรัฐเข้าไปซื้อ และยอมแบกรับภาระการขาดทุน 1,000 ล้านเหรียญฯไว้ และ 10.ต้องใช้ อีกอย่างน้อย 200,000 ล้านเหรียญฯผ่านธนาคารในการปล่อยกู้แก่สถาบันเงินฝาก
อุแม่เจ้า  :shock:  :shock:  :shock:

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ย. 25, 2008 10:03 pm
โดย Noonino
เมื่อวานได้ชมรายการ Hard talk(มังครับ) ทาง money channel ที่มีการสัมภาษณ์ คุณทนง พิทยะ เกี่ยวกับเรื่องนี้

โดยทางคุณทนง มีมุมมองว่าวิกฤติครั้งนี้เป็นวิกฤติทางด้านการเงินเท่านั้น ยังไม่ลุกลามไปที่ภาค real sector โดยคุณทนงกล่าวว่า "เงินกระดาษ" ที่มีการปั่นกันขึ้นมาในช่วงก่อนนี้นั้นมีมูลค่าถึง 10 เท่าของ GDP โลก ในขณะที่ความต้องการ "เงิน" จริงๆ ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของโลกนั้นมีความต้องการประมาณ 2 เท่าของ GDP โลก ดังนั้นเรื่องของสภาพคล่องที่กลัวว่าจะแห้งหายไปนั้นคุณทนงมองว่าน่าจะแก้ได้ โดยคุณทนงกล่าวว่า เงินกระดาษ ที่สถาบันการเงินขาดทุนกันไปนั้น ก็จะถูกอุดด้วยเงินกระดาษ เหมือนกัน

ฟังแล้วเป็นไงมั่งครับ

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 26, 2008 11:45 am
โดย 007-s
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 35485.html

หน่วยแปะค่ะ :lol:
UPDATE1/USA:คองเกรสประชุมถกแผนฟื้นฟูต่อวันนี้ หลัง"แมคเคน"ทำเจรจาล่ม

      (เพิ่มรายละเอียด)

      วอชิงตัน--26 ก.ย.--รอยเตอร์

      นายบาร์นีย์ แฟรงค์ สมาชิกสภานิติบัญญัติจากพรรคเดโมแครต เปิดเผย
ต่อผู้สื่อข่าวในวันนี้ว่า การเจรจาในสภาคองเกรสเกี่ยวกับแผนช่วยเหลือภาคการเงิน
มูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์จะดำเนินต่อไปในวันนี้ แต่ไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่า ส.ส.พรรค
รีพับลิกันที่คัดค้านจะเข้าร่วมการเจรจา
      นายแฟรงค์ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการบริการการเงิน ประจำ
สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐกล่าวกับผู้สื่อข่าวหลังการประชุมร่วมกับ นายเฮนรี พอลสัน
รมว.คลังสหรัฐ และสมาชิกสภานิติบัญญัติคนอื่นๆว่า  "การที่ส.ส.พรรครีพับลิกัน
ในสภาผู้แทนฯจะไม่เข้าร่วมการประชุมนั้น ถือว่าน่าตกใจมาก" โดยเสริมว่า
เขาหวังว่าประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชและนายจอห์น แมคเคน ผู้สมัคร
ชิงตำแหน่งประธานาธิบดี สหรัฐ จะสามารถโน้มน้าวให้พวกเขาเข้าร่วม
      ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือภาคการเงินของสหรัฐเผชิญกับความยุ่งยาก
เมื่อวานนี้ ท่ามกลางความสับสนเกี่ยวกับจุดยืนของนายแมคเคน เกี่ยวกับมาตรการ
ดังกล่าว
      สมาชิกสภานิติบัญญัติจากพรรครีพับลิกันกลุ่มหนึ่งเสนอแผนฉบับใหม่
โดยให้รัฐบาลเข้าค้ำประกันการจำนอง ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการหลีกเลี่ยง
แผนความช่วยเหลือตลาดวอลล์สตรีทของฝ่ายบริหารของปธน.จอร์จ ดับเบิลยู บุช
      นอกจากนี้ พวกเขายังเรียกร้องให้มีการลดภาษีชั่วคราว และผ่อนคลาย
กฎระเบียบสำหรับธุรกิจ และเสริมว่า สถาบันการเงินที่เข้าร่วมในโครงการ
ที่พวกเขาเสนอ จะต้องเปิดเผยข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับการถือครองสินทรัพย์
เพื่อการจำนอง
      อย่างไรก็ดี ขณะทื่พรรคเดโมแครตแสดงความไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับ
มาตรการฉบับใหม่ของพรรครีพับลิกัน สมาชิกสภานิติบัญญัติหลายคนก็ได้มีกระแส
รายงานที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับจุดยืนของนายแมคเคน โดยสมาชิกพรรคเดโมแครต
เปิดเผยว่า พวกเขารับทราบในการประชุมที่ทำเนียบขาวว่า นายแมคเคนจะ
สนับสนุนแผนฉบับใหม่ ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากแผนที่มีการหารือกัน
      แต่นายเอริค แคนเตอร์ ส.ส.พรรครีพับลิกันจากรัฐเวอร์จิเนีย
และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำแผนฉบับใหม่ดังกล่าว เปิดเผยว่า นายแมคเคนยังไม่ได้
เห็นชอบต่อแผนใหม่แต่อย่างใด
     "วุฒิสมาชิกแม็คเคนสนับสนุนพรรครีพับลิกันซึ่งต้องการเริ่มแนวทาง
ที่แตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง และปฏิเสธสิ่งที่ปธน.บุชเสนอ" ส.ส.เฮนรี
แว็กซ์แมน ประธานคณะกรรมาธิการการกำกับดูแลและการปฏิรูปรัฐบาล
ของสภาผู้แทนราษฎร กล่าว
      "เป็นการยากที่จะจินตนาการว่า เราจะเป็นอย่างไรจากจุดนี้"
เขากล่าว
      แผนของกลุ่มดังกล่าวเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐเสนอการประกัน
สำหรับหลักทรัพย์ราวครึ่งหนึ่งที่ใช้ค้ำประกันการจำนองซึ่งรัฐบาลยังไม่ได้
ให้การรับประกัน
      ในช่วงเช้าวานนี้ สมาชิกสภานิติบัญญัติดูเหมือนใกล้บรรลุข้อตกลง
ขั้นสุดท้ายเรื่องแผนช่วยเหลือภาคการเงิน ซึ่งก็ได้ส่งผลให้ตลาดหุ้นพุ่งขึ้นทั่วโลก
และหนุนดอลลาร์แข็งค่าขึ้น แต่สถานการณ์ต่างๆก็ไม่เป็นไปตามนั้นในการประชุม
ฉุกเฉินที่ทำเนียบขาวจัดขึ้นระหว่างผู้นำสภาคองเกรสกับประธานาธิบดีจอร์จ
ดับเบิลยู บุช
      ก่อนการประชุมดังกล่าว ซึ่งมีนายบารัค โอบามา ผู้สมัครชิงตำแหน่ง
ประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต และนายแมคเคนเข้าร่วมหารือด้วยนั้น
ทั้งสองพรรคใกล้จะบรรลุข้อตกลงร่วมสองพรรคแล้ว
      แต่หลังการประชุม ผู้นำสภาคองเกรสเปิดเผยว่า การทำข้อตกลง
อาจต้องใช้เวลาจนถึงช่วงสุดสัปดาห์นี้ หรือนานกว่านั้น
      นายริชาร์ด เชลบี ส.ว.พรรครีพับลิกันกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า
"ผมไม่เชื่อว่าเราจะทำข้อตกลงกันได้" เขากล่าวอีกว่า ข้อตกลงดังกล่าว
อยู่ใน "ภาวะไม่แน่นอน"
      ด้านนายเฮนรี พอลสัน รมว.คลังสหรัฐและนายเบน เบอร์นันเก้
ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งเป็นผู้จัดทำแผนฉบับเดิม เร่งรีบ
ไปยังรัฐสภาเพื่อเข้าร่วมการประชุมในช่วงดึก เพื่อเรียกร้องให้สมาชิกพรรค
รีพับลิกันในสภาผู้แทนราษฎรให้การสนับสนุนตามแนวทางเดิม
      "เป็นสิ่งสำคัญที่ว่า ร่างกฎหมายนี้จะต้องมีการดำเนินการที่รวดเร็ว"
นายโทนี แฟรตโต โฆษกทำเนียบขาวกล่าว "เรามีความวิตกอย่างมากเกี่ยวกับ
ภาวะตลาดสินเชื่อของเรา"
      ขณะที่นายคริสโตเฟอร์ ด็อดด์ ประธานคณะกรรมาธิการการธนาคาร
ของวุฒิสภาสหรัฐกล่าวว่า อาจจะต้องใช้เวลาหลังวันนี้ในการบรรลุข้อตกลง
และเขาได้กล่าวโจมตีนายแม็คเคนซึ่งก่อนหน้านี้ได้ยกเลิกการรณรงค์หาเสียง
ชั่วคราวเพื่อเข้าร่วมการเจรจาข้อตกลงดังกล่าว
:roll:

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 28, 2008 3:16 pm
โดย ...
พี่ริวอธิบายเรื่องค่าเงินได้อย่างดีมากเลยครับในกระทู้ของพี่พอใจที่ห้องนั่งเล่น

ผมขออนุญาินำมาแปะรวมไว้ที่นี่ด้วยนะครับ
พี่ริวสุดหล่อ เขียน:บ่นๆ ต่อเรื่องเงินๆ ทองๆ ผมรู้สึกว่าจะมีคนพูดตามๆ กันซะเยอะ คนพูดคนแรกคงจะรู้อยู่ แต่คนหลังๆ ผมไม่แน่ใจ
การเพิ่มเงินเข้าระบบไม่ว่าจะเงินตราหรือตราสารหนี้ใด ภาระหนี้สินย่อมตกกับผู้ออกคือธนาคารกลาง
เรื่องสหรัฐฯ พิมพ์เงินเองโดยไม่มีทองคำสำรองนั้น หลายๆ ท่านก็รู้กันอยู่

ตอนเรียน อาจารย์ผมเคยถามว่าธนาคารพิมพ์แบงก์ออกมาเขาเอาอะไรสำรอง ผมตอบว่าทองคำ อาจารย์ว่าก็ถูกส่วนหนึ่ง แต่ที่สำคัญที่สุดคือเงินตราต่างประเทศต่างหาก
ผมเลยรู้เรื่องนี้ครั้งแรกตอน ม.2 อาจารย์ที่สอนเศรษฐศาสตร์ผมคนแรกพูดให้ฟัง ตอนนั้นลอยตัวค่าเงินบาทพอดี

ในอดีต ณ เวลาที่เศรษฐกิจโลกยังมีขนาดเล็กมาก ทองคำเคยเป็นเงินตราทั้งจำนวน แต่เมื่อเศรษฐกิจโลกเจริญพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ การผลิตทองคำก็เริ่มตามไม่ทันกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เมื่อทองคำไม่พอใช้ ฐานะของทองคำจึงเริ่มถดถอยลงจากเงินตรากลายเป็นสินค้า

ทุกวันนี้ทองคำเป็นเพียงส่วนหนึ่งของทุนสำรองเงินตราซึ่งหนุนหลังธนบัตรและเหรียญ แต่น้ำหนักของทองคำนั้นน้อยมาก ยิ่งเศรษฐกิจโลกเติบโตรุดหน้าไปเท่าไหร่ ทองคำก็ยิ่งมีบทบาทลดลงมากขึ้นเท่านั้น

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 28, 2008 3:17 pm
โดย ...
พี่ริวสุดหล่อ เขียน:ประเทศไทยเราเอง เมื่อก่อนทองคำอาจจะอยู่ราวๆ 6-8% ของมูลค่าธนบัตรที่ออกมา แต่ในช่วงหลังก็มีขึ้นมาแตะแถว 10% ทั้งนี้ก็เพราะราคาทองคำในตลาดโลกสูงขึ้น แต่มากกว่า 80% ขึ้นไปของทุนสำรองเงินตรา ล้วนเป็นเงินตราต่างประเทศหรือสินทรัพย์ในสกุลเงินต่างประเทศทั้งสิ้น และที่สำคัญ เกือบทั้งหมดมันอยู่ในสกุล USD

เรื่องนี้มันบอกอะไรเราหรือ การที่เกือบทั้งหมดของทุนสำรองเงินตราเป็นเงินตราต่างประเทศนั้นก็หมายความว่าสิ่งที่หนุนหลังมูลค่าของเงินตราก็คือ อำนาจการซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศนั่นเอง ก็ถือเป็นการยืนยันแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ว่าสิ่งที่ทำให้เงินมีค่าก็คือผลผลิต ขอให้ดูซิมบับเวเป็นตัวอย่าง การดำเนินการตามนโยบายงี่เง่าของเขาที่ไปทำลายโครงสร้างการผลิตของประเทศ ตลอนจนไปสะเทือนอารมณ์กลุ่มประเทศฝรั่งจนเขาหมั่นไส้อย่างสุดซึ้งนั้น เป็นผลให้ผลผลิตในประเทศขาดแคลนอย่างหนัก เพียงเพราะผลผลิตขาดแคลน เงินในประเทศก็เลยเฟ้อขึ้นไปมากกว่าสิบล้านเปอร์เซ็นต์

การพิมพ์เงินของธนาคารกลางย่อมถือเป็นภาระหนี้สิน ในการทำสัญญากู้ยืมเงินเป็นธรรมดาที่เราจะเซ็นชื่อเป็นพยานให้ตัวเองหรือเซ็นเป็นผู้ค้ำประกันตัวเองไม่ได้ เมื่อประเทศอื่นๆ ทั่วโลกใช้ USD ค้ำประกันมูลค่าเงินตัวเอง แล้วสหรัฐฯ จะเอาเงินใครไปค้ำล่ะ ในเมื่อหลายสิบปีนับแต่ยุคสงครามเวียดนามมา พี่ท่านขาดดุลการค้ามาตลอดและหนักขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย

นานาประเทศทั่วโลกจริงๆ ก็ไม่ได้ต่างจากไทยนัก เพราะทุนสำรองเงินตราส่วนใหญ่ก็เป็น USD เหมือนๆ กัน ไม่ต้องเป็นห่วงไปหรอก หากเงินเหรียญสหรัฐฯ เป็นกงเต๊กเมื่อไหร่ เงินทุกสกุลทั่วโลกก็จะกงเต๊กน้อยกว่ากันนิดเดียวเท่านั้นแหละ ทองคำถือว่ามีบทบาทน้อยมากนะครับ ความบิดเบี้ยวของระบบการเงินโลกจากการยัดเยียดให้ประเทศอื่นๆ ทำตามอย่างที่ตัวเองต้องการของสหรัฐฯ ตลอดจนการที่ประเทศต่างๆ ยังไม่พร้อมใจกันมีฉันทามติให้ USD อ่อนค่าลงอย่างที่มันควรจะเป็นนั้น น่าสนใจมากว่าสุดท้ายจะลงเอยอย่างไร

ปริมาณเงินทั้งระบบของไทยรวมกันยังไม่ถึง 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ เลยด้วยซ้ำ ในขณะที่สินทรัพย์ของเอกชนมะกันเพียงรายเดียวอย่าง Citigroup ยังมีมากกว่า 2 ล้านล้านเหรียญเสียอีก เมื่อยักษ์ล้ม อะไรจะเกิดขึ้นต่อไปนะ น่าสนุกจริงๆ  :8)

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 28, 2008 3:19 pm
โดย ...
พี่ริวสุดหล่อ เขียน:อันก่อนนี่ ผมบ่นๆ บ้าๆ นิดหน่อยน่ะครับ เพราะเห็นคนเขาพูดตามๆ กันว่าสหรัฐฯ พิมพ์แบงก์ไม่มีทองคำสำรอง ประเทศอื่นมีทองคำสำรอง พูดไปพูดมายังกับว่าประเทศอื่นๆ นั้นเขามีทองคำสำรองมากมายซะเต็มประดายังงั้นแหละแต่สหรัฐฯ กลับโบ๋เบ๋ไม่มีอะไรเลย

ทองคำเป็นแค่ส่วนหนึ่งของทุนสำรองเงินตราและปกติมันก็เป็นแค่ส่วนเล็กๆ น้อยๆ เงินทุกบาททุกสตางค์ที่เราใช้กันอยู่ตอนนี้ไม่ได้มีทองคำสำรองเต็มจำนวนนะครับ ประเทศไหนๆ ก็เป็นแบบนี้ทั้งนั้น เหตุผลก็ง่ายมากเพราะว่าทองคำน่ะมันมีไม่พอ ราคาทองคำผันผวนได้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศก็ผันผวนได้ ถ้าเราตัดปัจจัยพวกนี้ออกไป การถือทองคำมากๆ กลับเป็นภาระต้นทุนค่าเสียโอกาสเพราะเงินฝากหรือตราสารหนี้ในสกุลเงินต่างประเทศนั้นมีดอกเบี้ยแต่ทองคำไม่มี การค้าระหว่างประเทศนั้นช่วยลดต้นทุนทางเศรษฐกิจและยังช่วยจัดสรรทรัพยากรโลกอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปกติถ้าทำมาค้าขายระหว่างประเทศอยู่แล้วการมีทุนสำรองเงินตราเป็นเงินตราต่างประเทศก็สะดวกด้วยประการทั้งปวง ปกติเราไม่เห็นผู้ซื้อผู้ขาย ผู้ประกอบการทั้งหลายเขาซื้อของขายของกันแล้วจ่ายเป็นทองคำหรอก

เดือนที่แล้ว ธปท. แถลงตัวเลขทองคำสำรอง ก็มีแค่ 76,695 ล้านบาท แต่มีธนบัตร(กรกฎาคม) 791,160 ล้านบาท อัตราสำรองของทองคำก็แค่ 9.7% พวกสิทธิพิเศษถอนเงิน หรือสินทรัพย์ส่งสมทบกองทุนการเงินระหว่างประเทศก็เล็กๆ น้อยๆ ไม่มีนัยสำคัญอะไรเพราะมีไม่ถึงเปอร์เซ็นต์ ที่เหลือทั้งหมดก็เป็นเงินตราต่างประเทศ+สินทรัพย์สกุลเงินต่างประเทศ (USD ตรึมๆ)

สิ่งที่ทำให้เงินมีค่าคือเศรษฐกิจนะครับไม่ใช่ทองคำ ตอนปี 40 เงินบาทอ่อนยวบจาก 25 กว่าๆ เป็น 50 กว่าๆ นั้น ทองคำไม่ได้หายไปไหนเลย แต่ที่หายน่ะดอลลาร์  :8)

เปรียบเทียบ Tom Yam Kung Crisis กับ Hamburger Crisis

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 28, 2008 3:21 pm
โดย ...
พี่ริวสุดหล่อ เขียน:ที่สำคัญผมคิดว่าคนส่วนมากไม่ได้เข้าใจกระบวนการของอุปทานเงิน เงินตรา(ธนบัตรและเหรียญ) ที่หมุนเวียนใช้กันในระบบเศรษฐกิจนั้นเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยของปริมาณเงินทั้งระบบ การที่ต้องมีทุนสำรองเงินตราก็สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ นั่นเพราะมันต้องเข้ามาหมุนเวียนจับจ่ายใช้สอยในระบบเศรษฐกิจ หากไม่มีอะไรสำรองเลยแล้วกระดาษเป็นใบๆ นั้นมันจะมีค่าได้อย่างไร

การสร้างปริมาณเงินหลักๆ แล้วธนาคารกลางจะดำเนินการผ่านช่องทางของธนาคารพาณิชย์/สถาบันการเงินทั้งระบบ หนี้สินเริ่มแรกจะอยู่ในรูปของเงินรับฝากในขณะที่ด้านสินทรัพย์เริ่มแรกจะเป็นสินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์/สถาบันการเงินก็จะพากันเข้าสู่กระบวนการสร้างเงินฝากแล้วจากนั้นก็ปล่อยเงินกู้ สิ่งที่ค้ำประกันสินเชื่อสำหรับผู้กู้ภาครัฐก็คืออำนาจในการเก็บภาษี แต่สำหรับผู้กู้เอกชนมักจะเป็นอสังหาริมทรัพย์

สำหรับอสังหาริมทรัพย์ มันจะมีค่ามากน้อยเท่าไหร่ค้ำประกันเงินกู้ได้แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่า อสังหาริมทรัพย์แห่งนั้นสามารถสร้างกระแสเงินสดได้มากเท่าไหร่ (ไม่ว่าจะอยู่ในรูปการนำไปขาย เก็บค่าเช่า หรือลงทุนทำให้มันเป็นธุรกิจอะไรไปสักอย่างนึงก็แล้วแต่ ซึ่งทั้งหมดจะนำไปสู่ราคาประเมินของที่ดิน) จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ค้ำประกันสินเชื่อแท้จริงแล้วก็คือกระแสเงินสดรับของผู้กู้เงินตามสินเชื่อนั้นนั่นเอง

ขอให้พิจารณาเทียบกัน เงินตราถือเป็นหนี้สินของธนาคารกลางผู้ออก อีกด้านหนึ่งของหนี้สินจึงต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกันในรูปของทุนสำรองเงินตรา ส่วนเงินรับฝาก+ตราสารหนี้+เงินกู้ยืมในระบบสถาบันการเงินทั้งหมดมีสินทรัพย์ในรูปของสินเชื่อค้ำอยู่ และสิ่งที่ค้ำมูลค่าของสินเชื่อก็คือกระแสเงินสดรับของผู้กู้

เห็นได้ว่าเงินตรานั้นถูกค้ำประกันด้วยสินทรัพย์เช่นทองคำหรือเงินตราต่างประเทศ ในขณะที่เงินส่วนใหญ่ของระบบทั้งหมด ณ ปัจจุบัน ถูกค้ำด้วยกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคต (คืออยู่ในรูปเอาเงินมาค้ำเงินเป็นงูกินหาง) มูลค่าที่แท้จริงของเงินจึงไม่มี สิ่งที่มีมูลค่าจริงๆ ก็คือผลผลิต

ปัจจุบันเงินทั้งระบบของไทยมีมากกว่า 8.7 ล้านล้านบาท แต่ในจำนวนนี้เป็นเงินตราที่ออกโดยธนาคารกลางซึ่งมีทุนสำรองเงินตราค้ำไว้โดยประมาณเพียง 8 แสนล้านบาทเท่านั้น มากกว่า 90% ของเงินในระบบเศรษฐกิจไทยไม่มีทองคำหรือเงินตราต่างประเทศอะไรไปสำรองทั้งสิ้น นานาประเทศทั่วโลกเขาก็เหมือนกับเรานี่แหละ สิ่งที่ค้ำมูลค่าของเงินไว้คือเศรษฐกิจ ที่บ่นๆ มาทั้งหมดนี้เพราะผมเกิดเซ็งเล็กน้อยที่เขาชอบพูดตามๆ กันซะเหลือเกินว่าสหรัฐฯ พิมพ์เงินไม่มีทองคำสำรอง ประเทศอื่นมีทองคำสำรอง เอาแค่ไทยเรา ทองคำสำรองที่มียังไม่ถึง 1% ของปริมาณเงินในระบบเลย เศรษฐกิจยุคใหม่ที่มีแต่จะเจริญวัฒนาก้าวหน้าไปเรื่อยๆ นั้น ทองคำมันไม่ได้มีความสำคัญอะไรนักหนาหรอก  :8)

หมายเหตุ - เฉพาะทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยเรา ในอดีตเคยตกต่ำอย่างแรงเมื่อกรกฎาคม 2540 คือเหลือเพียง 1,144 ล้านเหรียญ (ปริมาณเงินทั้งระบบขณะนั้นมี 5.1 ล้านล้านบาท เป็นธนบัตร 3.25 แสนล้านบาท ข้อให้สังเกตว่า ณ เวลานั้น ทุนสำรองระหว่างประเทศซึ่งเป็นของ ธปท. เพียงส่วนหนึ่งนั้น รวมกันทั้งหมดยังไม่พอจะค้ำประกันธนบัตรซะด้วยซ้ำ) มาถึงปัจจุบันทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยมีมากกว่า 100,000 ล้านเหรียญ (3.5 ล้านล้านบาท) ในจำนวนนี้ส่วนหนึ่งเป็นทุนสำรองเงินตรา ที่เหลือก็ดำรงฐานะเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศนั่นแหละ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในอันจะไปค้ำประกันอะไรกับเงินในระบบของเรา (ว่าจะจบแล้วแต่ต่ออีกนิด เงินนั้นก็มีสองด้านคือด้านสินทรัพย์ กับด้านหนี้สิน+ทุน การออกเงินถือเป็นภาระหนี้สินจึงต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกัน แต่การทำมาหาได้มากขึ้นอย่างที่ไทยเราเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมาต่อเนื่องก็เป็นการทำให้ส่วนทุนเพิ่มขึ้น ด้านสินทรัพย์ก็เพิ่มขึ้นพอๆ กัน มันจึงไม่ได้เป็นอะไรที่ค้ำกัน)