การใช้มาร์จิ้นแบบดันโด
- SunShine@Night
- Verified User
- โพสต์: 2196
- ผู้ติดตาม: 0
การใช้มาร์จิ้นแบบดันโด
โพสต์ที่ 31
อ่านไปอ่านมา
เริ่มสนใจใช้ Margin บ้างแล้วครับ
ไม่ทราบว่ามี Broker ไหน เปิดให้ใช้ Margin บ้างครับ
เริ่มสนใจใช้ Margin บ้างแล้วครับ
ไม่ทราบว่ามี Broker ไหน เปิดให้ใช้ Margin บ้างครับ
VI ฝึกหัด สำนักปีเตอร์ ลินช์
หวังผลต่อแทนทบต้นมากกว่า 15% ต่อปี
หวังผลต่อแทนทบต้นมากกว่า 15% ต่อปี
- sai
- Verified User
- โพสต์: 4090
- ผู้ติดตาม: 0
การใช้มาร์จิ้นแบบดันโด
โพสต์ที่ 32
ไม่เคยใช้มาร์จิ้นเหมือนกันครับ ลองแชร์ไอเดียดูนะครับ เท่าที่เข้าใจคือ โรจน์แนะนำให้ใช้มาร์จิ้นประมาณ 10-25 % ของพอร์ท และสมมติฐานคือในระยะยาวหุ้นโดยเฉลี่ยให้ผลตอบแทน 10 % (รวมเงินปันผล) และดอกเบี้ยมาร์จิ้นคิดกลางกลางที่ 6% ลองคิดเล่นเล่นนะครับ ถ้าเป็นแบบที่เราตั้งสมมติฐานสมมติเป็นสองกรณีคือ
1. สมมติว่าเราใช้มาร์จิ้น 10% เราลงทุนหุ้น 100 บาท มีมาร์จิ้นอีกสัก 10บาท รวมเป็น 110 % จะได้ผลตอบแทน หุ้นของเราตอนสิ้นปี เป็น 110 บาท และ ส่วนเพิ่มจากมาร์จิ้นที่ได้เพิ่มอีก 1 บาทหักดอกเบี้ยมาร์จิ้น 0.6 เหลือ 0.4 รวมเป็นมูลค่าพอร์ทของเราสิ้นปีที่ 110.4 บาท (ถ้าเราไม่ใช้มาร์จิ้นเลย พอร์ทของเราจะมีมูลค่าสุทธิที่ 110 บาท )
2. สมมติว่าเราใช้มาร์จิ้นที่ 25 % เราลงทุนในหุ้น 100 บาท ใช้มาร์จิ้นอีก 25 บาท รวมเป็น 125 % จะได้ผลตอบแทนหุ้นของเราตอนสิ้นปี เป็น 110 บาท และ ส่วนเพิ่มจากการใช้มาร์จิ้นอีก 2.5 บาท หักดอกเบี้ยมาร์จิ้น 1.5 บาท รวมเป็นมูลค่าพอร์ทของเราจะมีมูลค่าสุทธิเท่ากับ 111.5 บาท (ถ้าเราไม่ใช้มาร์จิ้นเลย พอร์ทของเราจะมีมูลค่าสูทธิที่ 110 บาท )
คราวนี้มาลองดูฝั่งความเสี่ยงบ้างครับ
1. หน้าตาพอร์ทของเราจะไม่เป็นอิสระหรือไม่ เพราะ การปล่อยมาร์จิ้น ไม่ได้ปล่อยหุ้นทุกตัวในตลาด โบรคเกอร์ส่วนมากจะปล่อยมาร์จิ้นในหุ้นกลุ่ม set 50 กลุ่มที่มีคนนิยม มีสภาพคล่องประมาณหนึ่ง ทำให้การเลือกหุ้นในการลงทุนของเรา อาจเปลี่ยนแปลงจากหลักการเดิมหรือเปล่า เพราะต้องเอาปัจจัยเรื่องหุ้นที่ปล่อยมาร์จิ้น และ ปล่อยเต็มหรือยังมาเป็นปัจจัยในการลงทุนเพิ่มเติม หรืออย่างกรณีเลวร้ายบางโบรคขอหุ้นที่คุณถือเอาดื้อดื้อ อ้างว่าไม่ปล่อยมาร์จิ้นตัวนี้แล้ว (ปี 2008 มีกรณีนี้เยอะครับ ) ทำให้เราต้องเลือกขายหุ้นที่ดีออกไปตอนขาลง
2. ความกังวลใจในเรื่องของการ ถูก call หรือถูก force จริงอยู่ว่าเราใช้ไม่มากโอกาสโดนน้อยมาก (แต่ใช่ว่าไม่มีเลย ) สมมติอีกแล้วว่าเราซื้อหุ้น 100 บาทใช้มาร์จิ้น 25 บาท เป็น 125 บาท หุ้นตกลง 10 % หุ้นในพอร์ทเราจะมีมูลค่าสุทธิเหลือ 90 บาท แต่หุ้นที่เราซื้อด้วยมาร์จิ้นลดลงในจำนวนเท่าเท่ากันคือ 2.5 บาท มูลค่าพอร์ทสุทธิเราจะเหลือ 87.5 บาท ครับ กรณีที่สองเราซื้อหุ้น 100 บาท ใช้มาร์จิ้น 25 บาท เป็น 125 บาท หุ้นของเราตกลง 20% ทำให้ หุ้นเราเหลือมูลค่า 80 บาท แต่หุ้นที่เราซื้อด้วยมาร์จิ้นของเราดันลดลง 20% เหมือนกัน ทำให้พอร์ทของเราลดลง เพิ่มอีก 5 บาท มูลค่าพอร์ทสุทธิเหลือเพียง 75 บาท เอาให้แรงอีกนิด สมมติว่าหุ้นเกิดตกลง 30% หุ้นส่วนของเงินสดเราจะมีมูลค่าเหลือแค่ 70 บาทแต่หุ้นที่เราซื้อด้วยมาร์จิ้นลดลงเท่ากันคือ 30% จะทำให้มูลค่าพอร์ทลดลงเพิ่มอีก 7.5 บาท มูลค่าพอร์ทสุทธิเหลือแค่ 62.5 บาทเท่านั้น (โอ้วเริ่มใจเสีย ) นี่ยังไม่คิดเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเพิ่มด้วยนะครับ ถ้าต้องจ่ายเพิ่มมูลค่าพอร์ทสุทธิก็จะลดลงอีก และ สภาพจิตใจตอบไม่ได้จริงจริงว่าเราจะรู้สึกยังไง เพราะแต่ละคนมีความอดทนต่อความกดดันไม่เท่ากัน(บางคนอาจจะตัดสินใจล้างพอร์ท หรือ ลดมาร์จิ้นตอนแถวนี้ก็ได้ เพื่อลดความกดดัน แล้วพอหุ้นขึ้นก็ยิ่งงงชีวิตเพิ่มครับ )
ที่ post ข้างต้นเป็นแค่กรณีสมมตินะครับ จะเห็นว่ามองมุมที่ดีก็มีข้อดี มองต่างมุมก็เจอความเสียง จริงจริง ตลาดหุ้นออกได้หลายหน้ามาก อาจไม่เลวร้ายแบบที่ผมคิดก็ได้ครับ แต่เวลาเรามองโอกาสอยากให้มองความเสี่ยงควบคู่ไปด้วยเท่านั้นเอง เพราะถ้ายิ่งเรามองหลายมุมแค่ไหน ก็ปลอดภัยขึ้นเท่านั้นครับ ผมเองสนับสนุนการใช้มาร์จิ้นนะครับ(ผมเพิ่งเปิดพอร์ทไว้เช่นกันครับ ) แต่ควรจะเป็นการใช้มาร์จิ้นในภาวะทีเราได้เปรียบ (เหมือนอย่างช่วงที่ ดร. นิเวศน์ใช้ ) แล้วเราไม่มีเงินสดมีแต่หุ้นอยู่ และหุ้นในตลาดมี pe ต่ำกว่าปกติมากมาก และ ปันผล เกินกว่า 10 % ขึ้นไป อย่างนั้นจะค่อนข้างปลอดภัยกว่าครับ แม่ผมเคยสอนว่า เจ้าหนี้ จะให้เรายืมเงินตอนทุกอย่างในชีวิตเรากำลังดูดี แต่ชอบทวงคืนตอนเรากำลังเดือดร้อนเสมอครับ
ปล. สำหรับท่านอื่นหากผมคิดต่างไม่โกรธกันนะครับ โรจน์ไม่เป็นไร เพราะปกติผมกะ newbie_12 รักกันมากครับ เสียดายที่ต่างฝ่ายต่างมีแฟนแล้วเท่านั้นเอง เหอเหอ
1. สมมติว่าเราใช้มาร์จิ้น 10% เราลงทุนหุ้น 100 บาท มีมาร์จิ้นอีกสัก 10บาท รวมเป็น 110 % จะได้ผลตอบแทน หุ้นของเราตอนสิ้นปี เป็น 110 บาท และ ส่วนเพิ่มจากมาร์จิ้นที่ได้เพิ่มอีก 1 บาทหักดอกเบี้ยมาร์จิ้น 0.6 เหลือ 0.4 รวมเป็นมูลค่าพอร์ทของเราสิ้นปีที่ 110.4 บาท (ถ้าเราไม่ใช้มาร์จิ้นเลย พอร์ทของเราจะมีมูลค่าสุทธิที่ 110 บาท )
2. สมมติว่าเราใช้มาร์จิ้นที่ 25 % เราลงทุนในหุ้น 100 บาท ใช้มาร์จิ้นอีก 25 บาท รวมเป็น 125 % จะได้ผลตอบแทนหุ้นของเราตอนสิ้นปี เป็น 110 บาท และ ส่วนเพิ่มจากการใช้มาร์จิ้นอีก 2.5 บาท หักดอกเบี้ยมาร์จิ้น 1.5 บาท รวมเป็นมูลค่าพอร์ทของเราจะมีมูลค่าสุทธิเท่ากับ 111.5 บาท (ถ้าเราไม่ใช้มาร์จิ้นเลย พอร์ทของเราจะมีมูลค่าสูทธิที่ 110 บาท )
คราวนี้มาลองดูฝั่งความเสี่ยงบ้างครับ
1. หน้าตาพอร์ทของเราจะไม่เป็นอิสระหรือไม่ เพราะ การปล่อยมาร์จิ้น ไม่ได้ปล่อยหุ้นทุกตัวในตลาด โบรคเกอร์ส่วนมากจะปล่อยมาร์จิ้นในหุ้นกลุ่ม set 50 กลุ่มที่มีคนนิยม มีสภาพคล่องประมาณหนึ่ง ทำให้การเลือกหุ้นในการลงทุนของเรา อาจเปลี่ยนแปลงจากหลักการเดิมหรือเปล่า เพราะต้องเอาปัจจัยเรื่องหุ้นที่ปล่อยมาร์จิ้น และ ปล่อยเต็มหรือยังมาเป็นปัจจัยในการลงทุนเพิ่มเติม หรืออย่างกรณีเลวร้ายบางโบรคขอหุ้นที่คุณถือเอาดื้อดื้อ อ้างว่าไม่ปล่อยมาร์จิ้นตัวนี้แล้ว (ปี 2008 มีกรณีนี้เยอะครับ ) ทำให้เราต้องเลือกขายหุ้นที่ดีออกไปตอนขาลง
2. ความกังวลใจในเรื่องของการ ถูก call หรือถูก force จริงอยู่ว่าเราใช้ไม่มากโอกาสโดนน้อยมาก (แต่ใช่ว่าไม่มีเลย ) สมมติอีกแล้วว่าเราซื้อหุ้น 100 บาทใช้มาร์จิ้น 25 บาท เป็น 125 บาท หุ้นตกลง 10 % หุ้นในพอร์ทเราจะมีมูลค่าสุทธิเหลือ 90 บาท แต่หุ้นที่เราซื้อด้วยมาร์จิ้นลดลงในจำนวนเท่าเท่ากันคือ 2.5 บาท มูลค่าพอร์ทสุทธิเราจะเหลือ 87.5 บาท ครับ กรณีที่สองเราซื้อหุ้น 100 บาท ใช้มาร์จิ้น 25 บาท เป็น 125 บาท หุ้นของเราตกลง 20% ทำให้ หุ้นเราเหลือมูลค่า 80 บาท แต่หุ้นที่เราซื้อด้วยมาร์จิ้นของเราดันลดลง 20% เหมือนกัน ทำให้พอร์ทของเราลดลง เพิ่มอีก 5 บาท มูลค่าพอร์ทสุทธิเหลือเพียง 75 บาท เอาให้แรงอีกนิด สมมติว่าหุ้นเกิดตกลง 30% หุ้นส่วนของเงินสดเราจะมีมูลค่าเหลือแค่ 70 บาทแต่หุ้นที่เราซื้อด้วยมาร์จิ้นลดลงเท่ากันคือ 30% จะทำให้มูลค่าพอร์ทลดลงเพิ่มอีก 7.5 บาท มูลค่าพอร์ทสุทธิเหลือแค่ 62.5 บาทเท่านั้น (โอ้วเริ่มใจเสีย ) นี่ยังไม่คิดเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเพิ่มด้วยนะครับ ถ้าต้องจ่ายเพิ่มมูลค่าพอร์ทสุทธิก็จะลดลงอีก และ สภาพจิตใจตอบไม่ได้จริงจริงว่าเราจะรู้สึกยังไง เพราะแต่ละคนมีความอดทนต่อความกดดันไม่เท่ากัน(บางคนอาจจะตัดสินใจล้างพอร์ท หรือ ลดมาร์จิ้นตอนแถวนี้ก็ได้ เพื่อลดความกดดัน แล้วพอหุ้นขึ้นก็ยิ่งงงชีวิตเพิ่มครับ )
ที่ post ข้างต้นเป็นแค่กรณีสมมตินะครับ จะเห็นว่ามองมุมที่ดีก็มีข้อดี มองต่างมุมก็เจอความเสียง จริงจริง ตลาดหุ้นออกได้หลายหน้ามาก อาจไม่เลวร้ายแบบที่ผมคิดก็ได้ครับ แต่เวลาเรามองโอกาสอยากให้มองความเสี่ยงควบคู่ไปด้วยเท่านั้นเอง เพราะถ้ายิ่งเรามองหลายมุมแค่ไหน ก็ปลอดภัยขึ้นเท่านั้นครับ ผมเองสนับสนุนการใช้มาร์จิ้นนะครับ(ผมเพิ่งเปิดพอร์ทไว้เช่นกันครับ ) แต่ควรจะเป็นการใช้มาร์จิ้นในภาวะทีเราได้เปรียบ (เหมือนอย่างช่วงที่ ดร. นิเวศน์ใช้ ) แล้วเราไม่มีเงินสดมีแต่หุ้นอยู่ และหุ้นในตลาดมี pe ต่ำกว่าปกติมากมาก และ ปันผล เกินกว่า 10 % ขึ้นไป อย่างนั้นจะค่อนข้างปลอดภัยกว่าครับ แม่ผมเคยสอนว่า เจ้าหนี้ จะให้เรายืมเงินตอนทุกอย่างในชีวิตเรากำลังดูดี แต่ชอบทวงคืนตอนเรากำลังเดือดร้อนเสมอครับ
ปล. สำหรับท่านอื่นหากผมคิดต่างไม่โกรธกันนะครับ โรจน์ไม่เป็นไร เพราะปกติผมกะ newbie_12 รักกันมากครับ เสียดายที่ต่างฝ่ายต่างมีแฟนแล้วเท่านั้นเอง เหอเหอ
Small Details Make a Big Difference
- crazyrisk
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4562
- ผู้ติดตาม: 0
การใช้มาร์จิ้นแบบดันโด
โพสต์ที่ 33
ดันโด ดันโด่ .... โอ มายก๊อดดsai เขียน:โรจน์ไม่เป็นไร เพราะปกติผมกะ newbie_12 รักกันมากครับ เสียดายที่ต่างฝ่ายต่างมีแฟนแล้วเท่านั้นเอง เหอเหอ
:lol:
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
การใช้มาร์จิ้นแบบดันโด
โพสต์ที่ 34
ผมคิดว่าผลการใช้มาร์จิ้น มันมี หลายหน้า มากกว่า หัว หรือ ก้อย ครับnewbie_12 เขียน: ผมคิดว่าการจัด port โดยอิงดัชนีจะเหมาะสมครับ เพราะปกติ การจัด port โดยให้ผลตอบแทนอิงดัชนีนั้น จะให้ผลตอบแทนราว 10% ต่อปี แต่ดอกเบี้ยที่กู้นั้น ก็อยู่ราว 4-8% แล้วแต่โบรก
จะเห็นได้ว่า แค่จัด port ให้ผลตอบแทนอิงกับดัชนี ผลตอบแทนก็ชนะดอกเบี้ยอย่างน้อย 2% แล้ว
ทีนี้ หลักของดันโด คือ
"ออกหัวผมได้เงิน ออกก้อยผมเสียเงินนิดหน่อย"
ในกรณีนี้ผมคิดว่าในกรณีที่ออกหัวก็คือผลตอบแทนของ port เรา เป็นไปตามดัชนีดังในอดีต คือประมาณ 10% ต่อปี ในระยะยาว
ส่วนกรณีออกก้อย คือเสียเงินแค่ดอกเบี้ยเท่านั้นเองครับ
ถ้าออกมาเป็น หัว ก็ได้ 2%
ถ้าออกมาเป็น หัว หัว ได้มากกว่า 2%
ถ้าออกมาเป็น หัว หัว หัว อาจได้หลาย 10%
ทางกลับกัน
ถ้าออกมาเป็น ก้อย ก็เสีย ดอกเบี้ยขึ้นต่ำ 4-8%
ถ้าออกมาเป็น ก้อย ก้อย ก็เสีย ดอกเบี้ยขึ้นต่ำ 4-8% + ค่าเสียโอกาสเงิน Call
ถ้าออกมาเป็น ก้อย ก้อย ก้อย ก็เสีย ดอกเบี้ยขึ้นต่ำ 4-8% + ค่าเสียโอกาสเงิน Call + โดนบังคับขายขาดทุน(เงินต้นหาย)
ปล. เป็นแค่ความคิดเห็นอีกมุมมอง ของคนที่ยังไม่เคยใช้มาร์จิน
ได้แต่คัน :lol:
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
- newbie_12
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2912
- ผู้ติดตาม: 1
การใช้มาร์จิ้นแบบดันโด
โพสต์ที่ 35
ผมโสดเวลาที่ไม่อยู่กับแฟนครับปล. สำหรับท่านอื่นหากผมคิดต่างไม่โกรธกันนะครับ โรจน์ไม่เป็นไร เพราะปกติผมกะ newbie_12 รักกันมากครับ เสียดายที่ต่างฝ่ายต่างมีแฟนแล้วเท่านั้นเอง เหอเหอ
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
.
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
- nanoVI
- Verified User
- โพสต์: 487
- ผู้ติดตาม: 0
การใช้มาร์จิ้นแบบดันโด
โพสต์ที่ 37
Monday, 29 June 2009
:D ใช้มาร์จินลงทุน :D
ในการลงทุนทำธุรกิจโดยทั่วไปนั้น เราต้องมีเงินส่วนตัวหรือเงินจากหุ้นส่วนมาร่วมกันลงทุน นอกจากเงินที่เป็น ส่วนของเจ้าของ แล้ว ธุรกิจส่วนใหญ่ก็ยังมักจะ กู้เงิน หรือยืมเงินคนอื่นมาใช้ในการลงทุนด้วย ในเรื่องของธุรกิจแล้ว เงินที่กู้มามักจะมีมากกว่าเงินในส่วนของเจ้าของเองด้วยซ้ำ ดังนั้น เงินกู้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งยวด ถ้าขาดเงินกู้ โครงการหรือธุรกิจก็เดินไม่ได้ หรือไม่อย่างนั้น เราก็ต้องลดขนาดของธุรกิจลง การลดขนาดของธุรกิจลงก็ทำให้กำไรลดน้อยลง ผลตอบแทนการลงทุนของเราก็น้อยลง การลงทุนก็อาจจะไม่คุ้มค่า สรุปอย่างง่ายก็คือ เรากู้เงินมาใช้ก็เพื่อที่จะเพิ่มผลตอบแทนการลงทุนของเรา
แต่การกู้เงินมาใช้นั้นมีความเสี่ยง เพราะเงินกู้นั้นต้องมีกำหนดเวลาใช้คืนและต้องมีดอกเบี้ยที่จะต้องจ่าย บางทีทุกเดือน ถ้าบริหารกระแสเงินสดไม่ดี และ/หรือ ธุรกิจเกิดประสบปัญหาขาดทุน เราอาจจะถูกฟ้องล้มละลาย เงินส่วนของเราก็สูญไปด้วย หรือในกรณีที่ไม่เลวร้ายเกินไปนัก เราอาจจะไม่ถึงกับล้มละลาย แต่ธุรกิจทำกำไรได้น้อยในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่า แบบนี้แทนที่เราจะได้กำไรบ้างถ้าเราไม่ได้กู้เงิน เราก็อาจจะไม่มีกำไรเลยหรือขาดทุนได้ ดังนั้น การที่เราจะกู้เงินหรือไม่จึงอยู่ที่การชั่งน้ำหนักว่า ระหว่างผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้เพิ่มขึ้น กับความเสี่ยงที่ว่าเราอาจจะล้มละลายหรือผลตอบแทนน้อยลงหรือขาดทุน เราจะเลือกอย่างไหน?
สำหรับ นักธุรกิจ แล้ว ส่วนใหญ่มักจะเลือกการกู้เงิน เพราะการลงทุนทำธุรกิจมักจะต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูง บางทีเกินกำลังเงินส่วนตัวที่มีอยู่ นอกจากนั้น นักธุรกิจมักมองว่าผลตอบแทนที่จะได้จากธุรกิจนั้นสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย ดังนั้น การกู้เงินจะทำให้ได้กำไรเพิ่มขึ้น ส่วนความเสี่ยงที่จะล้มละลาย เขามักจะให้ความใส่ใจน้อยกว่า เขาคงคิดว่าเขาเข้าใจและรู้จักธุรกิจดีพอ เหนือสิ่งอื่นใด เขาเป็นคน คุมธุรกิจ นั้นเอง แต่ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เขาอาจจะคิดว่า ถ้าเลวร้ายมากและธุรกิจต้องล้มละลาย เขาก็แค่เสียเงินส่วนตัวที่ลงทุนไปเท่านั้นและก็อาจจะเป็นเงินที่ไม่มาก และหลังจากล้มละลายเพียง 3-4 ปีเขาก็ หลุด จากการล้มละลายและกลับมาลองใหม่ได้อีก แต่ถ้าเขาโชคดี ธุรกิจประสบความสำเร็จงดงาม กำไรของเขาจะมหาศาลและมากกว่าการไม่กู้เงินหลายเท่า ดังนั้น สำหรับนักธุรกิจบางคนแล้ว เขาต้องการกู้เงินมาลงทุนให้มากที่สุด เขารู้ว่านี่เป็น เกม ที่เขาได้เปรียบ คือ ถ้าเขาชนะ เขาได้ 10 ถ้าแพ้ อย่างมากเขาก็เสีย 1 คนที่รับความเสี่ยงมากจริง ๆ ก็คือคนให้กู้ ซึ่งก็คือสถาบันการเงินที่เชื่อเขา
การลงทุนในหุ้นสำหรับผมก็คือ การลงทุนคล้ายกับการทำธุรกิจเหมือนกัน สิ่งที่แตกต่างจริง ๆ สำหรับผมก็คือ ผมสามารถค่อย ๆ ทยอยลงทุนทีละน้อยไปเรื่อย ๆ เมื่อมีเงินเพิ่มเติมขึ้นมาจากแหล่งไหนก็ตาม อีกความแตกต่างหนึ่งก็คือ การกู้เงินมาใช้ซื้อหุ้นลงทุนนั้น สถาบันการเงินอื่นมักไม่ให้กู้ จะมีก็แต่โบรกเกอร์ที่เราเป็นลูกค้าอยู่ที่จะให้กู้ที่เรียกกันว่าการซื้อหุ้นด้วย มาร์จิน แต่โบรกเกอร์นั้นก็ให้กู้แบบมีข้อจำกัด นั่นคือ เราไม่สามารถกู้ได้เกินหนึ่งเท่าของเงินส่วนตัวที่เราเอามาลงทุน และที่สำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ เราจะกู้ได้เฉพาะเพื่อที่จะลงทุนซื้อหุ้นที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง เราไม่สามารถจะซื้อหุ้นของกิจการที่ดีแต่หุ้นไม่มีสภาพคล่องพอได้
ด้วยข้อจำกัดในการกู้ดังกล่าว ประกอบกับการที่ผมค่อนข้างที่จะเน้นความปลอดภัยในการลงทุนเป็นพิเศษเนื่องจากเราไม่อยู่ในฐานะที่เสี่ยงต่อความสูญเสียที่รุนแรงได้ ผมจึงเลือกที่จะลงทุนโดยไม่กู้เลยตั้งแต่แรกที่ผมเริ่มลงทุนในหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ของเงินส่วนตัวของผมเมื่อกว่าสิบปีที่แล้ว ผมรู้สึกว่า ผมไม่จำเป็นที่จะต้อง เร่ง ผลตอบแทนการลงทุนไปมากกว่านั้น ว่าที่จริง การลงทุนในหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ของเงินเก็บทั้งหมดนั้น ถ้ามันให้ผลตอบแทนที่พอสมควรเช่นปีละ 10% เงินมันก็โตเร็วมากอยู่แล้ว พูดโดยสรุปก็คือ การลงทุนโดยการกู้หรือที่เรียกว่าซื้อขายหุ้นด้วยมาร์จิน ไม่เคยอยู่ในความคิดผมเลยมากกว่าสิบปีนับตั้งแต่ประมาณปี 2538 หรือ 2539
ประมาณเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน 2551 หรือปลายปีที่แล้ว วิกฤติเศรษฐกิจก็ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นตกลงมาอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเดือนเดียวดัชนีตกลงมาเข้าใจว่าเกือบ 30% หุ้นจำนวนมากมีราคาตกต่ำลงอย่างไม่น่าเชื่อ หลายบริษัททำกิจการที่ผมมั่นใจว่าจะต้องอยู่ต่อไปในประเทศไทยและจะกลับมาทำกำไรได้เท่าเดิมและมากกว่าเมื่อวิกฤติผ่านพ้นไป แต่ราคาหุ้นของบริษัทนั้นตกต่ำเกินความเป็นจริง โอกาสในการลงทุนเกิดขึ้นแต่ผมกลับไม่มีเงินสดเลยเพราะผมถือหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว ผมไม่อยากขายหุ้นตัวอื่นที่อยู่ในพอร์ตเพราะหุ้นเหล่านั้นก็มีราคาต่ำเกินไปเหมือนกัน ดังนั้น ผมจึงตัดสินใจ กู้ โดยการเปิดพอร์ตการซื้อขายหุ้นด้วยมาร์จินเป็นครั้งแรก
การกู้เงินซื้อหุ้นของผมนั้น ผมคิดไว้ว่า ข้อหนึ่ง มันไม่ควรมากกว่า 10-20% ของมูลค่าพอร์ต ข้อสอง หุ้นที่ซื้อจะต้องเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องที่ดีที่เราสามารถขายทิ้งได้อย่างรวดเร็วถ้าจำเป็นแต่ที่สำคัญเท่า ๆ กันก็คือ ข้อสาม หุ้นจะต้องมีราคาต่ำมากและกำไรของบริษัทไม่ได้อยู่ในภาวะสูงผิดปกติ ตรงกันข้าม มันควรที่จะมีกำไรลดลงไปมากแต่ทุกอย่างกำลังดีขึ้นในเวลาไม่นานนัก และสุดท้าย เราต้องมี Exit Strategy หรือ ทางออกจากหนี้ ซึ่ง สำหรับผมก็คือ การนำเงินปันผลที่จะได้มาจากพอร์ตโดยรวมมาลดหนี้ การทยอยขายหุ้นที่ซื้อมาเมื่อมันมีราคาเพิ่มขึ้น และถ้าจำเป็น อาจต้องขายหุ้นตัวอื่นเพื่อมาล้างหนี้
ผมโชคดีที่การตัดสินใจถูกต้อง เพราะหลังจากนั้น ราคาหุ้นที่ซื้อมาปรับตัวขึ้นมาก และแม้ว่าหนี้ก็ยังคงอยู่แต่พอร์ตก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาก ความเสี่ยงจากการกู้ไม่สูงนัก อย่างไรก็ตาม ผมตระหนักอยู่เสมอว่า หนี้นั้นเป็นสิ่งที่อันตราย เราต้องมองป้าย ทางออก อยู่เสมอ และถ้าไม่มั่นใจจริง ๆ ก็ อย่าลอง จะดีกว่า
Posted by nivate at 4:08 PM in โลกในมุมมองของ Value Investor :D :D
ที่มา http://portal.settrade.com/blog/nivate/2009/06/29/570
:D ใช้มาร์จินลงทุน :D
ในการลงทุนทำธุรกิจโดยทั่วไปนั้น เราต้องมีเงินส่วนตัวหรือเงินจากหุ้นส่วนมาร่วมกันลงทุน นอกจากเงินที่เป็น ส่วนของเจ้าของ แล้ว ธุรกิจส่วนใหญ่ก็ยังมักจะ กู้เงิน หรือยืมเงินคนอื่นมาใช้ในการลงทุนด้วย ในเรื่องของธุรกิจแล้ว เงินที่กู้มามักจะมีมากกว่าเงินในส่วนของเจ้าของเองด้วยซ้ำ ดังนั้น เงินกู้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งยวด ถ้าขาดเงินกู้ โครงการหรือธุรกิจก็เดินไม่ได้ หรือไม่อย่างนั้น เราก็ต้องลดขนาดของธุรกิจลง การลดขนาดของธุรกิจลงก็ทำให้กำไรลดน้อยลง ผลตอบแทนการลงทุนของเราก็น้อยลง การลงทุนก็อาจจะไม่คุ้มค่า สรุปอย่างง่ายก็คือ เรากู้เงินมาใช้ก็เพื่อที่จะเพิ่มผลตอบแทนการลงทุนของเรา
แต่การกู้เงินมาใช้นั้นมีความเสี่ยง เพราะเงินกู้นั้นต้องมีกำหนดเวลาใช้คืนและต้องมีดอกเบี้ยที่จะต้องจ่าย บางทีทุกเดือน ถ้าบริหารกระแสเงินสดไม่ดี และ/หรือ ธุรกิจเกิดประสบปัญหาขาดทุน เราอาจจะถูกฟ้องล้มละลาย เงินส่วนของเราก็สูญไปด้วย หรือในกรณีที่ไม่เลวร้ายเกินไปนัก เราอาจจะไม่ถึงกับล้มละลาย แต่ธุรกิจทำกำไรได้น้อยในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่า แบบนี้แทนที่เราจะได้กำไรบ้างถ้าเราไม่ได้กู้เงิน เราก็อาจจะไม่มีกำไรเลยหรือขาดทุนได้ ดังนั้น การที่เราจะกู้เงินหรือไม่จึงอยู่ที่การชั่งน้ำหนักว่า ระหว่างผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้เพิ่มขึ้น กับความเสี่ยงที่ว่าเราอาจจะล้มละลายหรือผลตอบแทนน้อยลงหรือขาดทุน เราจะเลือกอย่างไหน?
สำหรับ นักธุรกิจ แล้ว ส่วนใหญ่มักจะเลือกการกู้เงิน เพราะการลงทุนทำธุรกิจมักจะต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูง บางทีเกินกำลังเงินส่วนตัวที่มีอยู่ นอกจากนั้น นักธุรกิจมักมองว่าผลตอบแทนที่จะได้จากธุรกิจนั้นสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย ดังนั้น การกู้เงินจะทำให้ได้กำไรเพิ่มขึ้น ส่วนความเสี่ยงที่จะล้มละลาย เขามักจะให้ความใส่ใจน้อยกว่า เขาคงคิดว่าเขาเข้าใจและรู้จักธุรกิจดีพอ เหนือสิ่งอื่นใด เขาเป็นคน คุมธุรกิจ นั้นเอง แต่ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เขาอาจจะคิดว่า ถ้าเลวร้ายมากและธุรกิจต้องล้มละลาย เขาก็แค่เสียเงินส่วนตัวที่ลงทุนไปเท่านั้นและก็อาจจะเป็นเงินที่ไม่มาก และหลังจากล้มละลายเพียง 3-4 ปีเขาก็ หลุด จากการล้มละลายและกลับมาลองใหม่ได้อีก แต่ถ้าเขาโชคดี ธุรกิจประสบความสำเร็จงดงาม กำไรของเขาจะมหาศาลและมากกว่าการไม่กู้เงินหลายเท่า ดังนั้น สำหรับนักธุรกิจบางคนแล้ว เขาต้องการกู้เงินมาลงทุนให้มากที่สุด เขารู้ว่านี่เป็น เกม ที่เขาได้เปรียบ คือ ถ้าเขาชนะ เขาได้ 10 ถ้าแพ้ อย่างมากเขาก็เสีย 1 คนที่รับความเสี่ยงมากจริง ๆ ก็คือคนให้กู้ ซึ่งก็คือสถาบันการเงินที่เชื่อเขา
การลงทุนในหุ้นสำหรับผมก็คือ การลงทุนคล้ายกับการทำธุรกิจเหมือนกัน สิ่งที่แตกต่างจริง ๆ สำหรับผมก็คือ ผมสามารถค่อย ๆ ทยอยลงทุนทีละน้อยไปเรื่อย ๆ เมื่อมีเงินเพิ่มเติมขึ้นมาจากแหล่งไหนก็ตาม อีกความแตกต่างหนึ่งก็คือ การกู้เงินมาใช้ซื้อหุ้นลงทุนนั้น สถาบันการเงินอื่นมักไม่ให้กู้ จะมีก็แต่โบรกเกอร์ที่เราเป็นลูกค้าอยู่ที่จะให้กู้ที่เรียกกันว่าการซื้อหุ้นด้วย มาร์จิน แต่โบรกเกอร์นั้นก็ให้กู้แบบมีข้อจำกัด นั่นคือ เราไม่สามารถกู้ได้เกินหนึ่งเท่าของเงินส่วนตัวที่เราเอามาลงทุน และที่สำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ เราจะกู้ได้เฉพาะเพื่อที่จะลงทุนซื้อหุ้นที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง เราไม่สามารถจะซื้อหุ้นของกิจการที่ดีแต่หุ้นไม่มีสภาพคล่องพอได้
ด้วยข้อจำกัดในการกู้ดังกล่าว ประกอบกับการที่ผมค่อนข้างที่จะเน้นความปลอดภัยในการลงทุนเป็นพิเศษเนื่องจากเราไม่อยู่ในฐานะที่เสี่ยงต่อความสูญเสียที่รุนแรงได้ ผมจึงเลือกที่จะลงทุนโดยไม่กู้เลยตั้งแต่แรกที่ผมเริ่มลงทุนในหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ของเงินส่วนตัวของผมเมื่อกว่าสิบปีที่แล้ว ผมรู้สึกว่า ผมไม่จำเป็นที่จะต้อง เร่ง ผลตอบแทนการลงทุนไปมากกว่านั้น ว่าที่จริง การลงทุนในหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ของเงินเก็บทั้งหมดนั้น ถ้ามันให้ผลตอบแทนที่พอสมควรเช่นปีละ 10% เงินมันก็โตเร็วมากอยู่แล้ว พูดโดยสรุปก็คือ การลงทุนโดยการกู้หรือที่เรียกว่าซื้อขายหุ้นด้วยมาร์จิน ไม่เคยอยู่ในความคิดผมเลยมากกว่าสิบปีนับตั้งแต่ประมาณปี 2538 หรือ 2539
ประมาณเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน 2551 หรือปลายปีที่แล้ว วิกฤติเศรษฐกิจก็ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นตกลงมาอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเดือนเดียวดัชนีตกลงมาเข้าใจว่าเกือบ 30% หุ้นจำนวนมากมีราคาตกต่ำลงอย่างไม่น่าเชื่อ หลายบริษัททำกิจการที่ผมมั่นใจว่าจะต้องอยู่ต่อไปในประเทศไทยและจะกลับมาทำกำไรได้เท่าเดิมและมากกว่าเมื่อวิกฤติผ่านพ้นไป แต่ราคาหุ้นของบริษัทนั้นตกต่ำเกินความเป็นจริง โอกาสในการลงทุนเกิดขึ้นแต่ผมกลับไม่มีเงินสดเลยเพราะผมถือหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว ผมไม่อยากขายหุ้นตัวอื่นที่อยู่ในพอร์ตเพราะหุ้นเหล่านั้นก็มีราคาต่ำเกินไปเหมือนกัน ดังนั้น ผมจึงตัดสินใจ กู้ โดยการเปิดพอร์ตการซื้อขายหุ้นด้วยมาร์จินเป็นครั้งแรก
การกู้เงินซื้อหุ้นของผมนั้น ผมคิดไว้ว่า ข้อหนึ่ง มันไม่ควรมากกว่า 10-20% ของมูลค่าพอร์ต ข้อสอง หุ้นที่ซื้อจะต้องเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องที่ดีที่เราสามารถขายทิ้งได้อย่างรวดเร็วถ้าจำเป็นแต่ที่สำคัญเท่า ๆ กันก็คือ ข้อสาม หุ้นจะต้องมีราคาต่ำมากและกำไรของบริษัทไม่ได้อยู่ในภาวะสูงผิดปกติ ตรงกันข้าม มันควรที่จะมีกำไรลดลงไปมากแต่ทุกอย่างกำลังดีขึ้นในเวลาไม่นานนัก และสุดท้าย เราต้องมี Exit Strategy หรือ ทางออกจากหนี้ ซึ่ง สำหรับผมก็คือ การนำเงินปันผลที่จะได้มาจากพอร์ตโดยรวมมาลดหนี้ การทยอยขายหุ้นที่ซื้อมาเมื่อมันมีราคาเพิ่มขึ้น และถ้าจำเป็น อาจต้องขายหุ้นตัวอื่นเพื่อมาล้างหนี้
ผมโชคดีที่การตัดสินใจถูกต้อง เพราะหลังจากนั้น ราคาหุ้นที่ซื้อมาปรับตัวขึ้นมาก และแม้ว่าหนี้ก็ยังคงอยู่แต่พอร์ตก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาก ความเสี่ยงจากการกู้ไม่สูงนัก อย่างไรก็ตาม ผมตระหนักอยู่เสมอว่า หนี้นั้นเป็นสิ่งที่อันตราย เราต้องมองป้าย ทางออก อยู่เสมอ และถ้าไม่มั่นใจจริง ๆ ก็ อย่าลอง จะดีกว่า
Posted by nivate at 4:08 PM in โลกในมุมมองของ Value Investor :D :D
ที่มา http://portal.settrade.com/blog/nivate/2009/06/29/570
- nanoVI
- Verified User
- โพสต์: 487
- ผู้ติดตาม: 0
การใช้มาร์จิ้นแบบดันโด
โพสต์ที่ 38
:D
สำหรับนักธุรกิจบางคนแล้ว เขาต้องการกู้เงินมาลงทุนให้มากที่สุด เขารู้ว่านี่เป็น เกม ที่เขาได้เปรียบ คือ..
ถ้าเขาชนะ เขาได้ 10 ถ้าแพ้ อย่างมากเขาก็เสีย 1 คนที่รับความเสี่ยงมากจริง ๆ ก็คือคนให้กู้ ซึ่งก็คือสถาบันการเงินที่เชื่อเขา
การลงทุนในหุ้นสำหรับผมก็คือ การลงทุนคล้ายกับการทำธุรกิจเหมือนกัน
สำหรับนักธุรกิจบางคนแล้ว เขาต้องการกู้เงินมาลงทุนให้มากที่สุด เขารู้ว่านี่เป็น เกม ที่เขาได้เปรียบ คือ..
ถ้าเขาชนะ เขาได้ 10 ถ้าแพ้ อย่างมากเขาก็เสีย 1 คนที่รับความเสี่ยงมากจริง ๆ ก็คือคนให้กู้ ซึ่งก็คือสถาบันการเงินที่เชื่อเขา
การลงทุนในหุ้นสำหรับผมก็คือ การลงทุนคล้ายกับการทำธุรกิจเหมือนกัน
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 1
การใช้มาร์จิ้นแบบดันโด
โพสต์ที่ 39
เคยเจอ ก้อยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ มั๊ยครับ...dome@perth เขียน:ผมคิดว่าผลการใช้มาร์จิ้น มันมี หลายหน้า มากกว่า หัว หรือ ก้อย ครับ
ถ้าออกมาเป็น หัว ก็ได้ 2%
ถ้าออกมาเป็น หัว หัว ได้มากกว่า 2%
ถ้าออกมาเป็น หัว หัว หัว อาจได้หลาย 10%
ทางกลับกัน
ถ้าออกมาเป็น ก้อย ก็เสีย ดอกเบี้ยขึ้นต่ำ 4-8%
ถ้าออกมาเป็น ก้อย ก้อย ก็เสีย ดอกเบี้ยขึ้นต่ำ 4-8% + ค่าเสียโอกาสเงิน Call
ถ้าออกมาเป็น ก้อย ก้อย ก้อย ก็เสีย ดอกเบี้ยขึ้นต่ำ 4-8% + ค่าเสียโอกาสเงิน Call + โดนบังคับขายขาดทุน(เงินต้นหาย)
ปล. เป็นแค่ความคิดเห็นอีกมุมมอง ของคนที่ยังไม่เคยใช้มาร์จิน
ได้แต่คัน :lol:
ผมยังไม่เคยเจอในตลาดหุ้น
แต่ในบ่อน ผมเคยเจอก้อยติดกัน 15 ตา กำไรที่ทำมาหายไปครึ่งนึงแน่ะ :lol:
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
การใช้มาร์จิ้นแบบดันโด
โพสต์ที่ 40
เคยเจอ ก้อยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ มั๊ยครับ...yoyo เขียน:
ผมยังไม่เคยเจอในตลาดหุ้น
แต่ในบ่อน ผมเคยเจอก้อยติดกัน 15 ตา กำไรที่ทำมาหายไปครึ่งนึงแน่ะ
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2273
- ผู้ติดตาม: 0
การใช้มาร์จิ้นแบบดันโด
โพสต์ที่ 41
มาดูกันว่ารอบนี้เป็นก้อยๆๆๆๆๆหรือเปล่า
อยากนึงนะที่ผมว่าสำคัญมากที่สุด :D
คือการรักษาเงินต้น
ตังมากที่เหลือจะใช้แล้วไม่จำเป็นที่จะต้องใช้มาร์จิ้นแน่นอนครับ
แต่คำว่ามากที่เหลือจะใช้ขึ้นอยู่กับแต่ละคน
บางคนวันละ 200 (เช่นพี่พอใจ)
บางคนวันละเป็นหมืน
มาร์จิ้นเป็นดาบสองคมที่ทำให้คนตายได้
มีผุ้รู้สอนว่า low possiblity but it's castastrophy!
อยากนึงนะที่ผมว่าสำคัญมากที่สุด :D
คือการรักษาเงินต้น
ตังมากที่เหลือจะใช้แล้วไม่จำเป็นที่จะต้องใช้มาร์จิ้นแน่นอนครับ
แต่คำว่ามากที่เหลือจะใช้ขึ้นอยู่กับแต่ละคน
บางคนวันละ 200 (เช่นพี่พอใจ)
บางคนวันละเป็นหมืน
มาร์จิ้นเป็นดาบสองคมที่ทำให้คนตายได้
มีผุ้รู้สอนว่า low possiblity but it's castastrophy!
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1139
- ผู้ติดตาม: 0
การใช้มาร์จิ้นแบบดันโด
โพสต์ที่ 42
ตอนผมเรียนอยู่เภสัช จุฬาฯ คณะผมอยู่ติดสยามสแควร์
ผมเลยเดินที่สยามสแควร์แทบทุกวัน ตอนนั้น ด้วยความ
คึกคะนองตามแบบฉบับวัยรุ่นหน้าตาดีทั่วๆไป เวลาผมข้ามถนน
ในสยามฯ ผมจะข้ามแบบกระชั้นชิด ซึ่งทำให้ผมข้ามไปอีกฝั่งได้เร็ว
กว่าเพื่อนในกลุ่มแทบทุกครั้ง มองแง่นึง ผมสามารถข้ามถนนได้เร็วกว่าคนอื่น
แต่ผมก็รู้ตัวว่า ถ้าผมทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ วันนึง ผมต้องพลาดโดนรถชนแน่
เหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยในช่วงเวลาสั้นๆ ถ้าเรายืดระยะเวลาให้ยาวออกไป
โอกาสการเกิดขึ้นของเหตุการณ์นั้นๆจะสูงขึ้นอย่างมาก
ผมเลยเดินที่สยามสแควร์แทบทุกวัน ตอนนั้น ด้วยความ
คึกคะนองตามแบบฉบับวัยรุ่นหน้าตาดีทั่วๆไป เวลาผมข้ามถนน
ในสยามฯ ผมจะข้ามแบบกระชั้นชิด ซึ่งทำให้ผมข้ามไปอีกฝั่งได้เร็ว
กว่าเพื่อนในกลุ่มแทบทุกครั้ง มองแง่นึง ผมสามารถข้ามถนนได้เร็วกว่าคนอื่น
แต่ผมก็รู้ตัวว่า ถ้าผมทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ วันนึง ผมต้องพลาดโดนรถชนแน่
เหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยในช่วงเวลาสั้นๆ ถ้าเรายืดระยะเวลาให้ยาวออกไป
โอกาสการเกิดขึ้นของเหตุการณ์นั้นๆจะสูงขึ้นอย่างมาก
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
การใช้มาร์จิ้นแบบดันโด
โพสต์ที่ 47
เคยเจอ ก้อยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ มั๊ยครับ...picklife เขียน:
ผมยังไม่เคยเจอในตลาดหุ้น
แต่ในบ่อน ผมเคยเจอก้อยติดกัน 15 ตา กำไรที่ทำมาหายไปครึ่งนึงแน่ะ
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
การใช้มาร์จิ้นแบบดันโด
โพสต์ที่ 48
การเล่นมาร์จิ้น เหมือนการกู้เงินไปซื้อธุรกิจที่กำลังกู้เงินทำธุรกิจอยู่
และราคาธุรกิจที่เราซื้อราคามีความผันผวนมากในระยะสั้น ซึ่งเราควบคุมไม่ได้
ไม่เคยลองใช้ ไม่รู้ความรู้สึกเหมือนกัน
ถามคนที่ใช้อยู่ว่า ดอกเบี้ยและวงเงินมาร์จิ้น ขึ้นอยู่กับอะไรบ้างครับ ?
ที่ไหนถูกที่สุดครับ
และราคาธุรกิจที่เราซื้อราคามีความผันผวนมากในระยะสั้น ซึ่งเราควบคุมไม่ได้
ไม่เคยลองใช้ ไม่รู้ความรู้สึกเหมือนกัน
ถามคนที่ใช้อยู่ว่า ดอกเบี้ยและวงเงินมาร์จิ้น ขึ้นอยู่กับอะไรบ้างครับ ?
ที่ไหนถูกที่สุดครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.