ติดตามวิกฤติยุโรป
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 31
รัฐสภาสเปนผ่านร่างงบประมาณฉบับรัดเข็มขัดปี 2011
เมื่อวานนี้ (21 ธ.ค.) รัฐสภาแห่งประเทศสเปนลงมติอนุมัติแผนลดการใช้จ่ายของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2011 ที่มีเป้าหมายจะลดการขาดดุลและแก้ปัญหาหนี้ของประเทศ โดยตามแผนของนายกรัฐมนตรีโฆเซ่ หลุยส์ โรดริเกวซ ซาปาเตโร่จะลดการใช้จ่ายของภาครัฐลง 7.9% เหลืองบ 1.22 แสนล้านยูโร
การลดการใช้จ่ายดังกล่าวจะทำให้การขาดดุลของรัฐต่ออัตราส่วนของจีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) ลดลงจาก 11.1% ในปี 2009 เหลือ 6.0% ในปี 2011 และจะลดลงเหลือ 3.0% ตามที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ภายในปี 2013 ส่วนการขาดดุลในปี 2010 นั้นคาดว่าจะอยู่ที่ 9.3%
สำหรับมาตรการที่จะใช้ในการลดรายจ่ายนั้นรวมถึง การลดค่าใช้จ่ายของกระทรวงต่างๆลง 16% ลดการใช้จ่ายในระดับรัฐลง 7.9% รวมทั้งเพิ่มภาษีเงินได้สำหรับผู้ที่มีรายได้เกิน 120,000 ยูโรต่อปี
ทั้งนี้ร่างงบประมาณดังกล่าวผ่านการโหวตด้วยคะแนน 177 ต่อ 171 แสดงให้เห็นถึงแรงต่อต้านมาตรการดังกล่าวที่มีอยู่เกือบทั่วประเทศ
โดยเอเลน่า ซัลกาโด้ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังกล่าวว่าปี 2011 นั้นจะเป็น “ปีที่ยากลำบาก” เนื่องจากมาตรการรัดเข็มขัดต่างๆ อย่างไรก็ตามการปฏิรูปจะต้องเดินหน้าต่อไป และการปรับระบบการคลังจะเป็น “หลักไมล์ของการกลับไปสู่การขยายตัวตามปกติ”
http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=525
เมื่อวานนี้ (21 ธ.ค.) รัฐสภาแห่งประเทศสเปนลงมติอนุมัติแผนลดการใช้จ่ายของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2011 ที่มีเป้าหมายจะลดการขาดดุลและแก้ปัญหาหนี้ของประเทศ โดยตามแผนของนายกรัฐมนตรีโฆเซ่ หลุยส์ โรดริเกวซ ซาปาเตโร่จะลดการใช้จ่ายของภาครัฐลง 7.9% เหลืองบ 1.22 แสนล้านยูโร
การลดการใช้จ่ายดังกล่าวจะทำให้การขาดดุลของรัฐต่ออัตราส่วนของจีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) ลดลงจาก 11.1% ในปี 2009 เหลือ 6.0% ในปี 2011 และจะลดลงเหลือ 3.0% ตามที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ภายในปี 2013 ส่วนการขาดดุลในปี 2010 นั้นคาดว่าจะอยู่ที่ 9.3%
สำหรับมาตรการที่จะใช้ในการลดรายจ่ายนั้นรวมถึง การลดค่าใช้จ่ายของกระทรวงต่างๆลง 16% ลดการใช้จ่ายในระดับรัฐลง 7.9% รวมทั้งเพิ่มภาษีเงินได้สำหรับผู้ที่มีรายได้เกิน 120,000 ยูโรต่อปี
ทั้งนี้ร่างงบประมาณดังกล่าวผ่านการโหวตด้วยคะแนน 177 ต่อ 171 แสดงให้เห็นถึงแรงต่อต้านมาตรการดังกล่าวที่มีอยู่เกือบทั่วประเทศ
โดยเอเลน่า ซัลกาโด้ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังกล่าวว่าปี 2011 นั้นจะเป็น “ปีที่ยากลำบาก” เนื่องจากมาตรการรัดเข็มขัดต่างๆ อย่างไรก็ตามการปฏิรูปจะต้องเดินหน้าต่อไป และการปรับระบบการคลังจะเป็น “หลักไมล์ของการกลับไปสู่การขยายตัวตามปกติ”
http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=525
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 32
EU ออกพันธบัตรระดมทุนช่วยไอร์แลนด์
Posted on Wednesday, December 22, 2010
คณะกรรมาธิการยุโรปเปิดเผยว่า สหภาพยุโรป (EU) และสำนักงานกำกับเสถียรภาพการเงินยุโรป เตรียมออกพันธบัตรในเดือนมกราคมนี้ เพื่อระดมทุนช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประเทศไอร์แลนด์ ภายใต้โครงการสร้างกลไกกำหนดเสถียรภาพด้านการเงินของยุโรป และคาดว่าสำนักงานกำกับเสถียรภาพการเงินยุโรปจะออกพันธบัตรในเวลาต่อมาช่วงปลายเดือนมกราคม
สำหรับพันธบัตรที่ออกโดย EU และสำนักงานกำกับเสถียรภาพการเงินยุโรปได้รับการจัดอันดับที่ AAA จากสถาบันจัดอันดับเครดิตชื่อดัง 3 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยฟิทช์ มูดีส์ และสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส โดยในช่วงไตรมาส 1/54 นั้น EU และสำนักงานกำกับเสถียรภาพการเงินยุโรปมีแผนเบิกจ่ายเงินให้กับไอร์แลนด์เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 1.17 หมื่นล้านยูโร
Posted on Wednesday, December 22, 2010
คณะกรรมาธิการยุโรปเปิดเผยว่า สหภาพยุโรป (EU) และสำนักงานกำกับเสถียรภาพการเงินยุโรป เตรียมออกพันธบัตรในเดือนมกราคมนี้ เพื่อระดมทุนช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประเทศไอร์แลนด์ ภายใต้โครงการสร้างกลไกกำหนดเสถียรภาพด้านการเงินของยุโรป และคาดว่าสำนักงานกำกับเสถียรภาพการเงินยุโรปจะออกพันธบัตรในเวลาต่อมาช่วงปลายเดือนมกราคม
สำหรับพันธบัตรที่ออกโดย EU และสำนักงานกำกับเสถียรภาพการเงินยุโรปได้รับการจัดอันดับที่ AAA จากสถาบันจัดอันดับเครดิตชื่อดัง 3 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยฟิทช์ มูดีส์ และสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส โดยในช่วงไตรมาส 1/54 นั้น EU และสำนักงานกำกับเสถียรภาพการเงินยุโรปมีแผนเบิกจ่ายเงินให้กับไอร์แลนด์เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 1.17 หมื่นล้านยูโร
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 33
FED ขยายเวลาสว็อปดอลลาร์กับ 5 แบงก์ชาติรับมือวิกฤติยุโรป
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศขยายการทำข้อตกลงสว็อปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกับธนาครกลางแคนาดา ธนาคารกลางอังกฤษ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ธนาคารกลางญี่ปุ่น และธนาคารกลางสวิส ออกไปจนถึงเดือนส.ค.2554
โดยมีเป้าหมายที่จะรับมือกับภาวะตึงตัวในตลาดการเงินในยุโรป อันเป็นผลมาจากวิกฤตหนี้สาธารณะ และเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านการเงินทั่วโลก
ทั้งนี้ ธนาคารกลางรายใหญ่ทั้ง 6 ได้ทำข้อตกลงสว็อปค่าเงินตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 พ.ค.ปีนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะกระตุ้นสภาพคล่องในตลาดการเงินทั่วโลก และเพื่อจำกัดความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้ยุโรปไม่ให้ลุกลามไปยังสหรัฐและภูมิภาคอื่นๆของโลก ซึ่งเดิมนั้นข้อตกลงดังกล่าวถูกกำหนดให้หมดอายุลงในเดือนม.ค.ปีหน้า
ทั้งนี้ เฟดได้กลับมาจัดตั้งกองทุนสว็อปค่าเงินอีกครั้งหลังจากที่เคยดำเนินการในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์การเงินโลกปี 2551-2552
ข้อตกลงที่เฟดทำร่วมกับธนาคารกลางทั้ง 5 กำหนดว่า เฟดจะต้องอัดฉีดเงินกู้เข้าสู่ตลาดการเงินของประเทศเหล่านี้ด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่ ซึ่งเหมือนกับที่เคยดำเนินการเมื่อปี 2551-2552
Deutsche Bank จ่อลดเกณฑ์สำรองทุน แลกผลตอบแทนสูงขึ้น
อุตสาหกรรมการเงินกำลังถูกท้าทายอีกครั้ง เมื่อธนาคารยักษ์ใหญ่ในยุโรปมีแนวโน้มที่จะเลือกคงอัตราสำรองเงินทุนไว้ในช่วงต่ำของเกณฑ์มาตรฐาน และน้อยกว่าแบงก์คู่แข่งรายใหญ่แห่งอื่นๆ เนื่องจากเชื่อว่าลูกค้ายินดีที่จะเลือกธนาคารที่ให้ผลตอบแทนแก่ตนได้สูงกว่า
สำนักข่าว Bloomberg เผยคำให้สัมภาษณ์ของนักวิเคราะห์ธุรกิจการเงินรายหนึ่ง ที่ระบุว่า core capital ratio ของ Deutsche Bank ซึ่งเป็นเงินสำรองเผื่อการขาดทุน อาจจะร่วงลงสู่ระดับต่ำที่สุดในบรรดาแบงก์คู่แข่งทั้งหมด 8 ราย ภายใต้กฏเกณฑ์ใหม่ Basel III ที่จะเกิดในปี 2555 แม้ว่าทางธนาคารจะระดมเงินทุนด้วยการออกขายหุ้นและได้เงินมา 10,200 ล้านยูโร หรือราว 13,400 ล้านเหรียญ เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
นาย Josef Ackermann ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Deutsche Bank เคยออกโรงเตือนผ่านการประชุมที่กรุงแฟรงเฟิร์ทเมื่อเดือนกันยายนปีนี้ ให้เพื่อนร่วมวงการระมัดระวังในเรื่องการแข่งขันที่หวังจะขึ้นไปนั่งแท่นอันดับหนึ่งของธุรกิจ ด้วยการยกระดับอัตราสำรองทุนให้ขึ้นไปอยู่เหนือเกณฑ์ Basel III ก่อนหน้าที่จะมีการบังคับใช้จริง ซึ่งเขาได้ใช้คำว่า เป็นการแข่งขันที่อันตรายเพื่อแย่งกันขึ้นไปเป็นผู้นำของอุตสาหกรรม
นักวิเคราะห์รวมถึงนักลงทุนหลายคนประเมินว่า ธนาคารรายใหญ่ที่สุดของเยอรมันแห่งนี้ อาจจะสามารถคงระดับเงินทุนได้น้อยกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ และอาจกู้ยืมเงินได้มากขึ้นเพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทน ซึ่งเหตุผลก็เพราะ การที่ลูกค้าถูกตอกย้ำให้มั่นใจว่ารัฐบาลจะไม่ยอมปล่อยให้แบงก์ใหญ่แห่งนี้ล้มครืนลงโดยเด็ดขาด
EU เตรียมออกพันธบัตรระดมทุนช่วยไอร์แลนด์
สหภาพยุโรป ( EU ) และสำนักงานกำกับเสถียรภาพการเงินยุโรป (European Financial Stability Facility: EFSF) เตรียมออกพันธบัตรเพื่อระดมทุนช่วยเหลือด้านการเงินแก่ไอร์แลนด์
EU เตรียมออกพันธบัตรล็อตแรกในต้นเดือนมกราคมนี้ ขณะที่ EFSF จะออกพันธบัตรในเวลาต่อมาช่วงปลายเดือนมกราคม
" EU และสำนักงานกำกับเสถียรภาพการเงินยุโรปจะวิเคราะห์สถานการณ์ในตลาดอย่างระมัดระวังหลังจากที่ตลาดเริ่มเปิดการซื้อขายในปีหน้าและอาจมีการปรับแผนการด้านการเงินให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในตลาด"
พันธบัตรที่ออกโดย EU และสำนักงานกำกับเสถียรภาพการเงินยุโรปได้รับการจัดอันดับที่ AAA จากสถาบันจัดอันดับชื่อดัง 3 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยฟิทช์ มูดีส์ และสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส
ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 EU และสำนักงานกำกับเสถียรภาพการเงินยุโรปเบิกจ่ายเงินให้กับไอร์แลนด์เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 11,700 ล้านยูโร
อังกฤษปรับลด GDP / Q3 เหลือ 0.7%
สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษได้ปรับทบทวนการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ลงสู่ระดับ 0.7% จากตัวเลขประมาณการก่อนหน้านี้ที่ 0.8%
นอกจากนี้ สำนักงานฯ ยังได้ปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจอังกฤษในไตรมาส 2 ลงสู่ระดับ 1.1% จาก 1.2% ด้วย
สำหรับสาเหตุของการปรับลดการขยายตัวของจีดีพีทั้งสองไตรมาสนั้น เป็นเพราะการขยายตัวในภาคการก่อสร้าง การบริการทางธุรกิจ และการผลิตอ่อนแอลง
ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์บางรายเกรงว่า ราคาสินค้าที่สูงขึ้นอันเนื่องมาจากการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มกราคมที่จะถึงนี้ จะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอตัวลงในปีหน้า เนื่องจากผู้บริโภคลดการใช้จ่าย
สวีเดนประกาศปิดสถานทูต 5 แห่งเพื่อลดงบฯ
สวีเดนประกาศปิดสถานทูต 5 แห่งในเอเชีย แอฟริกา ลาตินอเมริกา และยุโรป โดยจะเริ่มดำเนินการในช่วงปี 2554
กระทรวงการต่างประเทศของสวีเดนระบุในแถลงการณ์ว่า รัฐบาลตัดสินใจปิดสถานทูตสวีเดนในกรุงบูเอโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และกรุงลูอันดา ประเทศแองโกลา
คาร์ล บิลต์ รัฐมนตรีต่างประเทศของสวีเดนกล่าวว่า การตัดสินใจดังกล่าวเป็นเรื่องที่เจ็บปวด ซึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐสภามีมติเมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา ให้ลดงบประมาณสำหรับหน่วยงานของรัฐบาลลง 300 ล้านโครน (44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตั้งแต่ปี 2554
การตัดสินใจดังกล่าวของรัฐสภาสวีเดนมีขึ้นหลังจากที่ฝ่ายค้านวิพากษ์วิจารณ์ว่า งบประมาณสำหรับหน่วยงานของรัฐขยายตัวเร็วเกินไปและมากเกินไป
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศขยายการทำข้อตกลงสว็อปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกับธนาครกลางแคนาดา ธนาคารกลางอังกฤษ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ธนาคารกลางญี่ปุ่น และธนาคารกลางสวิส ออกไปจนถึงเดือนส.ค.2554
โดยมีเป้าหมายที่จะรับมือกับภาวะตึงตัวในตลาดการเงินในยุโรป อันเป็นผลมาจากวิกฤตหนี้สาธารณะ และเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านการเงินทั่วโลก
ทั้งนี้ ธนาคารกลางรายใหญ่ทั้ง 6 ได้ทำข้อตกลงสว็อปค่าเงินตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 พ.ค.ปีนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะกระตุ้นสภาพคล่องในตลาดการเงินทั่วโลก และเพื่อจำกัดความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้ยุโรปไม่ให้ลุกลามไปยังสหรัฐและภูมิภาคอื่นๆของโลก ซึ่งเดิมนั้นข้อตกลงดังกล่าวถูกกำหนดให้หมดอายุลงในเดือนม.ค.ปีหน้า
ทั้งนี้ เฟดได้กลับมาจัดตั้งกองทุนสว็อปค่าเงินอีกครั้งหลังจากที่เคยดำเนินการในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์การเงินโลกปี 2551-2552
ข้อตกลงที่เฟดทำร่วมกับธนาคารกลางทั้ง 5 กำหนดว่า เฟดจะต้องอัดฉีดเงินกู้เข้าสู่ตลาดการเงินของประเทศเหล่านี้ด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่ ซึ่งเหมือนกับที่เคยดำเนินการเมื่อปี 2551-2552
Deutsche Bank จ่อลดเกณฑ์สำรองทุน แลกผลตอบแทนสูงขึ้น
อุตสาหกรรมการเงินกำลังถูกท้าทายอีกครั้ง เมื่อธนาคารยักษ์ใหญ่ในยุโรปมีแนวโน้มที่จะเลือกคงอัตราสำรองเงินทุนไว้ในช่วงต่ำของเกณฑ์มาตรฐาน และน้อยกว่าแบงก์คู่แข่งรายใหญ่แห่งอื่นๆ เนื่องจากเชื่อว่าลูกค้ายินดีที่จะเลือกธนาคารที่ให้ผลตอบแทนแก่ตนได้สูงกว่า
สำนักข่าว Bloomberg เผยคำให้สัมภาษณ์ของนักวิเคราะห์ธุรกิจการเงินรายหนึ่ง ที่ระบุว่า core capital ratio ของ Deutsche Bank ซึ่งเป็นเงินสำรองเผื่อการขาดทุน อาจจะร่วงลงสู่ระดับต่ำที่สุดในบรรดาแบงก์คู่แข่งทั้งหมด 8 ราย ภายใต้กฏเกณฑ์ใหม่ Basel III ที่จะเกิดในปี 2555 แม้ว่าทางธนาคารจะระดมเงินทุนด้วยการออกขายหุ้นและได้เงินมา 10,200 ล้านยูโร หรือราว 13,400 ล้านเหรียญ เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
นาย Josef Ackermann ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Deutsche Bank เคยออกโรงเตือนผ่านการประชุมที่กรุงแฟรงเฟิร์ทเมื่อเดือนกันยายนปีนี้ ให้เพื่อนร่วมวงการระมัดระวังในเรื่องการแข่งขันที่หวังจะขึ้นไปนั่งแท่นอันดับหนึ่งของธุรกิจ ด้วยการยกระดับอัตราสำรองทุนให้ขึ้นไปอยู่เหนือเกณฑ์ Basel III ก่อนหน้าที่จะมีการบังคับใช้จริง ซึ่งเขาได้ใช้คำว่า เป็นการแข่งขันที่อันตรายเพื่อแย่งกันขึ้นไปเป็นผู้นำของอุตสาหกรรม
นักวิเคราะห์รวมถึงนักลงทุนหลายคนประเมินว่า ธนาคารรายใหญ่ที่สุดของเยอรมันแห่งนี้ อาจจะสามารถคงระดับเงินทุนได้น้อยกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ และอาจกู้ยืมเงินได้มากขึ้นเพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทน ซึ่งเหตุผลก็เพราะ การที่ลูกค้าถูกตอกย้ำให้มั่นใจว่ารัฐบาลจะไม่ยอมปล่อยให้แบงก์ใหญ่แห่งนี้ล้มครืนลงโดยเด็ดขาด
EU เตรียมออกพันธบัตรระดมทุนช่วยไอร์แลนด์
สหภาพยุโรป ( EU ) และสำนักงานกำกับเสถียรภาพการเงินยุโรป (European Financial Stability Facility: EFSF) เตรียมออกพันธบัตรเพื่อระดมทุนช่วยเหลือด้านการเงินแก่ไอร์แลนด์
EU เตรียมออกพันธบัตรล็อตแรกในต้นเดือนมกราคมนี้ ขณะที่ EFSF จะออกพันธบัตรในเวลาต่อมาช่วงปลายเดือนมกราคม
" EU และสำนักงานกำกับเสถียรภาพการเงินยุโรปจะวิเคราะห์สถานการณ์ในตลาดอย่างระมัดระวังหลังจากที่ตลาดเริ่มเปิดการซื้อขายในปีหน้าและอาจมีการปรับแผนการด้านการเงินให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในตลาด"
พันธบัตรที่ออกโดย EU และสำนักงานกำกับเสถียรภาพการเงินยุโรปได้รับการจัดอันดับที่ AAA จากสถาบันจัดอันดับชื่อดัง 3 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยฟิทช์ มูดีส์ และสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส
ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 EU และสำนักงานกำกับเสถียรภาพการเงินยุโรปเบิกจ่ายเงินให้กับไอร์แลนด์เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 11,700 ล้านยูโร
อังกฤษปรับลด GDP / Q3 เหลือ 0.7%
สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษได้ปรับทบทวนการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ลงสู่ระดับ 0.7% จากตัวเลขประมาณการก่อนหน้านี้ที่ 0.8%
นอกจากนี้ สำนักงานฯ ยังได้ปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจอังกฤษในไตรมาส 2 ลงสู่ระดับ 1.1% จาก 1.2% ด้วย
สำหรับสาเหตุของการปรับลดการขยายตัวของจีดีพีทั้งสองไตรมาสนั้น เป็นเพราะการขยายตัวในภาคการก่อสร้าง การบริการทางธุรกิจ และการผลิตอ่อนแอลง
ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์บางรายเกรงว่า ราคาสินค้าที่สูงขึ้นอันเนื่องมาจากการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มกราคมที่จะถึงนี้ จะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอตัวลงในปีหน้า เนื่องจากผู้บริโภคลดการใช้จ่าย
สวีเดนประกาศปิดสถานทูต 5 แห่งเพื่อลดงบฯ
สวีเดนประกาศปิดสถานทูต 5 แห่งในเอเชีย แอฟริกา ลาตินอเมริกา และยุโรป โดยจะเริ่มดำเนินการในช่วงปี 2554
กระทรวงการต่างประเทศของสวีเดนระบุในแถลงการณ์ว่า รัฐบาลตัดสินใจปิดสถานทูตสวีเดนในกรุงบูเอโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และกรุงลูอันดา ประเทศแองโกลา
คาร์ล บิลต์ รัฐมนตรีต่างประเทศของสวีเดนกล่าวว่า การตัดสินใจดังกล่าวเป็นเรื่องที่เจ็บปวด ซึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐสภามีมติเมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา ให้ลดงบประมาณสำหรับหน่วยงานของรัฐบาลลง 300 ล้านโครน (44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตั้งแต่ปี 2554
การตัดสินใจดังกล่าวของรัฐสภาสวีเดนมีขึ้นหลังจากที่ฝ่ายค้านวิพากษ์วิจารณ์ว่า งบประมาณสำหรับหน่วยงานของรัฐขยายตัวเร็วเกินไปและมากเกินไป
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 34
จีนยืนยันพร้อมสนับสนุนยุโรปกู้วิกฤตหนี้
จีนยืนยันพร้อมให้ความช่วยเหลือกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร หรือ ยูโรโซน ต่อสู้กับวิกฤตหนี้สาธารณะ พร้อมระบุว่า ยุโรปยังคงเป็นตลาดสำคัญที่จีนจะนำทุนสำรองระหว่างประเทศเข้าไปลงทุน
เจียง หยู โฆษกหญิงของกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวเมื่อวานนี้ว่า จีนสนับสนุนมาตรการของสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในการสร้างเสถียรภาพการเงินการคลังในยุโรป
โฆษกหญิงกล่าวว่า "จีนพร้อมให้การสนับสนุนยูโรโซนผ่านพ้นวิกฤตการเงินและทำให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวได้อย่างแท้จริง" พร้อมระบุด้วยว่า ยุโรปเป็นตลาดหลักที่จีนจะนำทุนสำรองระหว่างประเทศเข้าไปลงทุน ซึ่งบ่งชี้ว่า จีนจะซื้อยูโรเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่จีนเอ่ยปากว่าจะไม่ทิ้งยุโรป หลังจากเมื่อต้นสัปดาห์นี้ นายหวัง ฉีชาน รองนายกรัฐมนตรีจีน ได้กล่าวว่า จีนจะให้การสนับสนุนทั้งไอเอ็มเอฟและอียูในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศในยูโรโซน
และก่อนหน้านั้น จีนก็ได้ประกาศสนับสนุนประเทศในยุโรปที่มีหนี้สูง โดยเมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมา จีนได้เสนอซื้อพันธบัตรของกรีซ
ขณะเดียวกันมีรายงานล่าสุดว่า สื่อโปรตุเกสได้รายงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า จีนได้ให้คำมั่นที่จะเพิ่มการสนับสนุนความพยายามของโปรตุเกสในการเอาชนะวิกฤตการเงิน ด้วยการรับปากที่จะช่วยซื้อตราสารหนี้ของรัฐบาลโปรตุเกสเป็นมูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์
ขณะที่ หนังสือพิมพ์ซูดดอยท์เชอ ไซตุงในเยอรมนีรายงานว่า หลายประเทศในยุโรปรวมทั้งเยอรมนีกำลังคิดตั้งกลไกช่วยเหลือถาวรในยูโรโซน เช่น ตั้งสถาบันให้เงินสนับสนุนแห่งใหม่ที่เป็นอิสระ
รายงานอ้างเอกสารของรัฐบาลว่า เยอรมนีกำลังพิจารณาเรื่องตั้งกองทุนเสถียรภาพ การเติบโตและการลงทุนยุโรป มีความเป็นอิสระเช่นเดียวกับธนาคารกลางยุโรป (ECB) ทำหน้าที่ช่วยเหลือประเทศในยูโรโซนที่มีปัญหาทางการเงินแลกกับเงื่อนไขเข้มงวด
รัฐบาลที่จะขอกู้ยืมจากกองทุนนี้ต้องวางหลักประกันเชื่อถือได้ เช่น ทองคำสำรอง หุ้นกู้เอกชน กองทุนนี้จะมีศักยภาพอย่างไม่จำกัดในการปล่อยเงินกู้ก้อนใหม่เพื่อให้นำไปชำระหนี้เก่า
เยอรมนีจะเสนอแนวคิดนี้ต่อที่ประชุมรัฐมนตรีคลังสหภาพยุโรป (EU) ในการประชุมกลางเดือนหน้า นอกจากเยอรมนีแล้ว ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ก็กำลังคิดเรื่องตั้งกลไกช่วยเหลือถาวรเช่นกัน
EU เคยตั้งกองทุนช่วยเหลือมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 30 ล้านล้านบาท) โดยได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เมื่อกรีซเกิดวิกติหนี้ แต่กองทุนนี้มีอายุเพียง 3 ปีเท่านั้น
ผู้นำ EU เห็นพ้องกันในการประชุมสุดยอดเมื่อต้นเดือนนี้ว่า จะตั้งกลไกถาวรขึ้นสานต่อกองทุนนี้ตั้งแต่กลางปี 2556 แต่ยังไม่มีการหารือในรายละเอียด
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
จีนยืนยันพร้อมให้ความช่วยเหลือกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร หรือ ยูโรโซน ต่อสู้กับวิกฤตหนี้สาธารณะ พร้อมระบุว่า ยุโรปยังคงเป็นตลาดสำคัญที่จีนจะนำทุนสำรองระหว่างประเทศเข้าไปลงทุน
เจียง หยู โฆษกหญิงของกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวเมื่อวานนี้ว่า จีนสนับสนุนมาตรการของสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในการสร้างเสถียรภาพการเงินการคลังในยุโรป
โฆษกหญิงกล่าวว่า "จีนพร้อมให้การสนับสนุนยูโรโซนผ่านพ้นวิกฤตการเงินและทำให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวได้อย่างแท้จริง" พร้อมระบุด้วยว่า ยุโรปเป็นตลาดหลักที่จีนจะนำทุนสำรองระหว่างประเทศเข้าไปลงทุน ซึ่งบ่งชี้ว่า จีนจะซื้อยูโรเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่จีนเอ่ยปากว่าจะไม่ทิ้งยุโรป หลังจากเมื่อต้นสัปดาห์นี้ นายหวัง ฉีชาน รองนายกรัฐมนตรีจีน ได้กล่าวว่า จีนจะให้การสนับสนุนทั้งไอเอ็มเอฟและอียูในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศในยูโรโซน
และก่อนหน้านั้น จีนก็ได้ประกาศสนับสนุนประเทศในยุโรปที่มีหนี้สูง โดยเมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมา จีนได้เสนอซื้อพันธบัตรของกรีซ
ขณะเดียวกันมีรายงานล่าสุดว่า สื่อโปรตุเกสได้รายงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า จีนได้ให้คำมั่นที่จะเพิ่มการสนับสนุนความพยายามของโปรตุเกสในการเอาชนะวิกฤตการเงิน ด้วยการรับปากที่จะช่วยซื้อตราสารหนี้ของรัฐบาลโปรตุเกสเป็นมูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์
ขณะที่ หนังสือพิมพ์ซูดดอยท์เชอ ไซตุงในเยอรมนีรายงานว่า หลายประเทศในยุโรปรวมทั้งเยอรมนีกำลังคิดตั้งกลไกช่วยเหลือถาวรในยูโรโซน เช่น ตั้งสถาบันให้เงินสนับสนุนแห่งใหม่ที่เป็นอิสระ
รายงานอ้างเอกสารของรัฐบาลว่า เยอรมนีกำลังพิจารณาเรื่องตั้งกองทุนเสถียรภาพ การเติบโตและการลงทุนยุโรป มีความเป็นอิสระเช่นเดียวกับธนาคารกลางยุโรป (ECB) ทำหน้าที่ช่วยเหลือประเทศในยูโรโซนที่มีปัญหาทางการเงินแลกกับเงื่อนไขเข้มงวด
รัฐบาลที่จะขอกู้ยืมจากกองทุนนี้ต้องวางหลักประกันเชื่อถือได้ เช่น ทองคำสำรอง หุ้นกู้เอกชน กองทุนนี้จะมีศักยภาพอย่างไม่จำกัดในการปล่อยเงินกู้ก้อนใหม่เพื่อให้นำไปชำระหนี้เก่า
เยอรมนีจะเสนอแนวคิดนี้ต่อที่ประชุมรัฐมนตรีคลังสหภาพยุโรป (EU) ในการประชุมกลางเดือนหน้า นอกจากเยอรมนีแล้ว ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ก็กำลังคิดเรื่องตั้งกลไกช่วยเหลือถาวรเช่นกัน
EU เคยตั้งกองทุนช่วยเหลือมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 30 ล้านล้านบาท) โดยได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เมื่อกรีซเกิดวิกติหนี้ แต่กองทุนนี้มีอายุเพียง 3 ปีเท่านั้น
ผู้นำ EU เห็นพ้องกันในการประชุมสุดยอดเมื่อต้นเดือนนี้ว่า จะตั้งกลไกถาวรขึ้นสานต่อกองทุนนี้ตั้งแต่กลางปี 2556 แต่ยังไม่มีการหารือในรายละเอียด
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 35
ฟิทช์ประกาศลดอันดับเครดิตฮังการี 1 ขั้น ระบุสถานะการคลังรัฐบาลย่ำแย่
Source - IQ Biz (Th) Friday, December 24, 2010 อินโฟเควสท์ (24 ธ.ค. 53)--
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของฮังการีลง 1 ขั้น สู่ระดับ BBB- ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดของ "สถานะที่น่าลงทุน" พร้อมกับให้แนวโน้มเป็นลบ ซึ่งหมายความว่ามีความเป็นไปได้มากขึ้นที่อันดับความน่าเชื่อถือของฮังการีจะถูกปรับลดลงสู่ "สถานะขยะ" หรือ "สถานะที่ไม่น่าลงทุน" และอันดับ BBB- ก็อยู่ห่างจาก "สถานะขยะ" เพียงขั้นเดียวเท่านั้น แถลงการณ์ของฟิทช์ระบุว่า "การลดอันดับความน่าเชื่อถือของฮังการีในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความย่ำแย่ของสถานะงบประมาณในระยะกลาง รวมทั้งตัวเลขหนี้ทั้งภายในและต่างประเทศที่เป็นสาเหตุให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในภาวะที่เปราะบางมาก" อย่างไรก็ตาม ฟิทช์คาดว่า รัฐบาลฮังการีจะสามารถบรรลุเป้าหมายการลดยอดขาดดุลงบประมาณปี 2554 ให้เหลือเพียง 2.9% ของจีดีพี จากตัวเลขประมาณการในปีนี้ที่ 3.8% ด้านกระทรวงเศรษฐกิจฮังการีออกแถลงการณ์ในวันนี้ว่า การที่ฟิทช์ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของฮังการีถือเป็นเรื่องที่น่าเสียใจ แต่รัฐบาลก็ไม่ได้แปลกใจ นอกจากนี้ ฟิทช์ยังลดอันดับความน่าเชื่อถือของฮังการีโดยไม่ได้พิจารณาถึงแผนการลดตัวเลขหนี้สาธารณะในปีหน้า
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]
Source - IQ Biz (Th) Friday, December 24, 2010 อินโฟเควสท์ (24 ธ.ค. 53)--
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของฮังการีลง 1 ขั้น สู่ระดับ BBB- ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดของ "สถานะที่น่าลงทุน" พร้อมกับให้แนวโน้มเป็นลบ ซึ่งหมายความว่ามีความเป็นไปได้มากขึ้นที่อันดับความน่าเชื่อถือของฮังการีจะถูกปรับลดลงสู่ "สถานะขยะ" หรือ "สถานะที่ไม่น่าลงทุน" และอันดับ BBB- ก็อยู่ห่างจาก "สถานะขยะ" เพียงขั้นเดียวเท่านั้น แถลงการณ์ของฟิทช์ระบุว่า "การลดอันดับความน่าเชื่อถือของฮังการีในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความย่ำแย่ของสถานะงบประมาณในระยะกลาง รวมทั้งตัวเลขหนี้ทั้งภายในและต่างประเทศที่เป็นสาเหตุให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในภาวะที่เปราะบางมาก" อย่างไรก็ตาม ฟิทช์คาดว่า รัฐบาลฮังการีจะสามารถบรรลุเป้าหมายการลดยอดขาดดุลงบประมาณปี 2554 ให้เหลือเพียง 2.9% ของจีดีพี จากตัวเลขประมาณการในปีนี้ที่ 3.8% ด้านกระทรวงเศรษฐกิจฮังการีออกแถลงการณ์ในวันนี้ว่า การที่ฟิทช์ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของฮังการีถือเป็นเรื่องที่น่าเสียใจ แต่รัฐบาลก็ไม่ได้แปลกใจ นอกจากนี้ ฟิทช์ยังลดอันดับความน่าเชื่อถือของฮังการีโดยไม่ได้พิจารณาถึงแผนการลดตัวเลขหนี้สาธารณะในปีหน้า
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 36
S&P คงอันดับเครดิตฝรั่งเศสที่ระดับ AAA
Posted on Friday, December 24, 2010
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ แสตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส (S&P) ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือฝรั่งเศสที่ระดับ AAA ซึ่งเป็นระดับสูงสุด หลังเชื่อมั่นว่า ฝรั่งเศสจะสามารถลดการขาดดุลงบประมาณได้ โดยการคงอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวสะท้อนถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของยุโรป พร้อมกับสะท้อนถึงความเชื่อมั่นว่า รัฐบาลฝรั่งเศสภายใต้การนำของประธานาธิบดีนิโคลัสซาร์โกซี่ จะสามารถเพิ่มความแข็งแกร่งของฐานะการคลังได้
ด้านนักวิเคราะห์ ประเมินว่า การที่เอสแอนด์พี ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือฝรั่งเศส จะช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อตราสารหนี้ของฝรั่งเศสท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ในภูมิภาคยุโรป หลังหลายประเทศในยูโรโซนถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
Posted on Friday, December 24, 2010
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ แสตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส (S&P) ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือฝรั่งเศสที่ระดับ AAA ซึ่งเป็นระดับสูงสุด หลังเชื่อมั่นว่า ฝรั่งเศสจะสามารถลดการขาดดุลงบประมาณได้ โดยการคงอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวสะท้อนถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของยุโรป พร้อมกับสะท้อนถึงความเชื่อมั่นว่า รัฐบาลฝรั่งเศสภายใต้การนำของประธานาธิบดีนิโคลัสซาร์โกซี่ จะสามารถเพิ่มความแข็งแกร่งของฐานะการคลังได้
ด้านนักวิเคราะห์ ประเมินว่า การที่เอสแอนด์พี ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือฝรั่งเศส จะช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อตราสารหนี้ของฝรั่งเศสท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ในภูมิภาคยุโรป หลังหลายประเทศในยูโรโซนถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 37
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ปี 2554 "โปรตุเกส" เล็งออกบอนด์ราว 2 หมื่นล้านยูโร
เอเอฟพี รายงานว่า โปรตุเกสวางแผนจะออกพันธบัตรมูลค่าราว 2 หมื่นล้านยูโรในปี 2554 ซึ่งรวมถึงพันธบัตรมูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรก เพื่อให้รองรับกับความจำเป็นทางการเงินของรัรฐบาล
IGCP ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารหนี้ของรัฐบาลโปรตุเกส ระบุว่า การกู้ยืมมีความจำเป็นสำหรับรัฐบาลกลางในปี 2554 ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าราวๆ 2 หมื่นล้านยูโร
ทั้งนี้ โปรตุเกสอาจมีต้นทุนกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น และอาจต้องขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ตามรอยกรีซและไอร์แลนด์ เนื่องจากปัญหาหนี้และการขาดดุลงบประมาณมหาศาลส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 4&catid=00
ปี 2554 "โปรตุเกส" เล็งออกบอนด์ราว 2 หมื่นล้านยูโร
เอเอฟพี รายงานว่า โปรตุเกสวางแผนจะออกพันธบัตรมูลค่าราว 2 หมื่นล้านยูโรในปี 2554 ซึ่งรวมถึงพันธบัตรมูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรก เพื่อให้รองรับกับความจำเป็นทางการเงินของรัรฐบาล
IGCP ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารหนี้ของรัฐบาลโปรตุเกส ระบุว่า การกู้ยืมมีความจำเป็นสำหรับรัฐบาลกลางในปี 2554 ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าราวๆ 2 หมื่นล้านยูโร
ทั้งนี้ โปรตุเกสอาจมีต้นทุนกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น และอาจต้องขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ตามรอยกรีซและไอร์แลนด์ เนื่องจากปัญหาหนี้และการขาดดุลงบประมาณมหาศาลส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 4&catid=00
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 38
เอสโทเนียประกาศใช้สกุลเงินยูโรอย่างเป็นทางการ
นายอังเดรส์ อันซิพ นายกรัฐมนตรีเอสโทเนียประกาศเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า เอสโทเนียเริ่มใช้สกุลเงินยูโรอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งทำให้เอสโทเนียกลายเป็นประเทศที่ 17 ที่เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มยูโรโซน หรือกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร
นายกรัฐมนตรีอังเดรส์ได้ใช้วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลง โดยนายกรัฐมนตรีได้กดเงินสกุลยูโรจากตู้เอทีเอ็มในเมืองหลวงของเอสโทเนีย ท่ามกลางประชาชนที่ร่วมเป็นสักขีพยานจำนวนมาก
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เอสโทเนีย ซึ่งมีประชากรราว 1.4 ล้านคนและมีแหล่งทรัพยากรไม่มากนัก ได้ประกาศตัวเป็นเอกราชจากอดีตสหภาพโซเวียตในปี 2534 และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ( EU) ตั้งแต่นั้นมา
นับจากนี้เป็นต้นไป เอสโทเนียจะต้องดำเนินการปฏิรูปอย่างเคร่งครัดตามมาตรฐานของยุโรป ซึ่งรวมถึงการปฏิรูประบบประกันสังคมและระบบภาษี การลดอัตราเงินเฟ้อ และลดอัตราว่างงาน
EU ขานรับเอสโตเนียร่วมกลุ่มยูโร สะท้อนสกุลเงินยูโรยังมีความสำคัญ
โอลลี เรห์น กรรมาธิการกิจการเศรษฐกิจและการเงินของสหภาพยุโรป กล่าวแสดงความยินดีที่ประเทศเอสโตเนียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกยูโรโซน ระบุเป็นพัฒนาการเชิงบวก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งประเทศเอสโตเนียเอง และส่งผลดีต่อสกุลเงินยูโรด้วย
ถ้อยแถลงของนายเรห์นมีขึ้นที่กรุงทาลลินน์ เมืองหลวงของประเทศเอสโตเนีย โดยนายเรห์นยังได้เน้นย้ำว่า การที่เอสโตเนียตัดสินใจใช้สกุลเงินยูโรนั้น เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า สกุลเงินยูโรยังคงมีความสำคัญมาก ยูโรโซนกำลังได้รับความเชื่อมั่นของประชาชนกลับคืนมา ด้วยการปฏิรูประบบและการที่ประเทศสมาชิกตัดสินใจถูกต้องในการสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ
เรห์นแสดงความเชื่อมั่นว่า สกุลเงินยูโรจะผ่านพ้นปี 2554 ไปได้ แม้ว่าประสบกับปัญหาอย่างหนักในปี 2553 ที่เพิ่งผ่านมาก็ตาม
นอกจากนี้ เขายังได้เรียกร้องให้สมาชิก EUและยูโรโซนตัดสินใจใช้มาตรการที่จะมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางในการเสริมสร้างสหภาพทางเศรษฐกิจ และทำให้โครงการช่วยเหลือทางด้านการเงินของ EUมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
นายอังเดรส์ อันซิพ นายกรัฐมนตรีเอสโทเนียประกาศเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า เอสโทเนียเริ่มใช้สกุลเงินยูโรอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งทำให้เอสโทเนียกลายเป็นประเทศที่ 17 ที่เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มยูโรโซน หรือกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร
นายกรัฐมนตรีอังเดรส์ได้ใช้วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลง โดยนายกรัฐมนตรีได้กดเงินสกุลยูโรจากตู้เอทีเอ็มในเมืองหลวงของเอสโทเนีย ท่ามกลางประชาชนที่ร่วมเป็นสักขีพยานจำนวนมาก
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เอสโทเนีย ซึ่งมีประชากรราว 1.4 ล้านคนและมีแหล่งทรัพยากรไม่มากนัก ได้ประกาศตัวเป็นเอกราชจากอดีตสหภาพโซเวียตในปี 2534 และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ( EU) ตั้งแต่นั้นมา
นับจากนี้เป็นต้นไป เอสโทเนียจะต้องดำเนินการปฏิรูปอย่างเคร่งครัดตามมาตรฐานของยุโรป ซึ่งรวมถึงการปฏิรูประบบประกันสังคมและระบบภาษี การลดอัตราเงินเฟ้อ และลดอัตราว่างงาน
EU ขานรับเอสโตเนียร่วมกลุ่มยูโร สะท้อนสกุลเงินยูโรยังมีความสำคัญ
โอลลี เรห์น กรรมาธิการกิจการเศรษฐกิจและการเงินของสหภาพยุโรป กล่าวแสดงความยินดีที่ประเทศเอสโตเนียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกยูโรโซน ระบุเป็นพัฒนาการเชิงบวก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งประเทศเอสโตเนียเอง และส่งผลดีต่อสกุลเงินยูโรด้วย
ถ้อยแถลงของนายเรห์นมีขึ้นที่กรุงทาลลินน์ เมืองหลวงของประเทศเอสโตเนีย โดยนายเรห์นยังได้เน้นย้ำว่า การที่เอสโตเนียตัดสินใจใช้สกุลเงินยูโรนั้น เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า สกุลเงินยูโรยังคงมีความสำคัญมาก ยูโรโซนกำลังได้รับความเชื่อมั่นของประชาชนกลับคืนมา ด้วยการปฏิรูประบบและการที่ประเทศสมาชิกตัดสินใจถูกต้องในการสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ
เรห์นแสดงความเชื่อมั่นว่า สกุลเงินยูโรจะผ่านพ้นปี 2554 ไปได้ แม้ว่าประสบกับปัญหาอย่างหนักในปี 2553 ที่เพิ่งผ่านมาก็ตาม
นอกจากนี้ เขายังได้เรียกร้องให้สมาชิก EUและยูโรโซนตัดสินใจใช้มาตรการที่จะมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางในการเสริมสร้างสหภาพทางเศรษฐกิจ และทำให้โครงการช่วยเหลือทางด้านการเงินของ EUมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 39
ประชาชาติธุรกิจ
เอกซเรย์ "ยูโรโซน" วัดความเสี่ยงเบี้ยวหนี้-ระดับการลุกลาม
หนึ่งในปัจจัยที่ต้องจับตามองในปีนี้ คือปัญหาหนี้สาธารณะ โดยเฉพาะในยุโรป ที่หลายประเทศกำลังแบกก้อนหนี้มหาศาลอยู่ ซึ่ง "นาดีม วาลายัต" ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับการผิดนัดชำระหนี้สาธารณะ ความเสี่ยงในการล้มละลาย และระดับของการลุกลามของวิกฤตผ่านบทวิเคราะห์ในเว็บไซต์ marketoracle.co.uk ไว้อย่างน่าสนใจ
การประเมินแนวโน้มการล้มละลายและขอรับความช่วยเหลือของประเทศต่าง ๆ ในบทวิเคราะห์ชิ้นนี้ได้อาศัยสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศ เช่น อัตราการเติบโตของจีดีพี ยอดรวมของหนี้สาธารณะ หนี้สินของภาคธนาคารและภาครัฐ การขาดดุล งบประมาณ ยอดรวมหนี้ต่างประเทศ อัตราผลตอบแทนตลาดพันธบัตรรัฐบาล ตลอดจนความสามารถในการลดค่าเงิน ซึ่งประการหลังเป็นสิ่งที่ประเทศสมาชิก ยูโรโซนไม่สามารถทำได้
บทวิเคราะห์นี้ชี้ว่า กลไกการอัดฉีดเงินช่วยเหลือที่ยูโรโซนมีอยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นเพียงการชะลอการล้มละลาย ขณะที่การช่วยเหลือกรีซและไอร์แลนด์เป็นการอัดฉีดเงินที่ยิ่งเพิ่มภาระหนี้ให้กับประเทศผู้รับเงินไปจนกว่าจะสามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จ
สำหรับระดับการลุกลามของวิกฤตหากเกิดการผิดนัดชำระหนี้นั้น ผลพวงจากวิกฤตที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศที่จะมีต่อระบบการเงินโลกนั้นมีความรุนแรงมากน้อยต่างกัน เช่น สหรัฐอาจมีระดับการลุกลามเท่ากับ 100% หากสหรัฐล้มละลาย ซึ่งตัวเลข 100% มีนัยว่า ระบบการเงิน ทั้งโลก หรืออาจรวมทั้งระบบเศรษฐกิจอาจถึงกาลต้องล่มสลาย
ต่างจากกรณีของไอซ์แลนด์ที่ล้มละลายเมื่อเดือนตุลาคม 2551 ที่มีผลกระทบลุกลามเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเป็นเขตเศรษฐกิจขนาดเล็ก ต่างจากปัญหาหนี้ ต่างประเทศของประเทศอย่างไอร์แลนด์ ที่อาจส่งผลกระทบลุกลามมากกว่า และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้สหภาพยุโรป ร่วมมือกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) อัดฉีดเงินช่วยเหลือ 8.5 หมื่นล้านยูโร ซึ่งถือว่าน้อยมากหากเทียบกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากไอร์แลนด์ต้องล้มละลาย ทั้งนี้หากไอร์แลนด์ ล้มละลายอาจเพิ่มความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ในประเทศขนาดใหญ่กว่า เนื่องจากมีการทำธุรกรรมร่วมกับธนาคารสัญชาติไอริช ขณะที่ผู้ถือตราสารหนี้ของไอร์แลนด์ก็จะยิ่งอยู่ภายใต้แรงกดดันที่มากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม การอัดฉีดเงินช่วยเหลือไม่ได้เป็นการขจัดระดับความเสี่ยงในการลุกลามของวิกฤตไปได้ทั้งหมด เพราะผู้ถือครองตราสารหนี้ และผู้ที่ทำธุรกรรมร่วมอยู่ยังคงมีความเสี่ยงผูกพันต่อการปรับโครงสร้างหนี้ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตนั่นเอง
วาลายัตประเมินว่า ทุกประเทศมี แนวโน้มที่จะผิดนัดชำระหนี้หรือจะต้องปรับโครงสร้างหนี้ แต่ความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้โดยสมบูรณ์สำหรับประเทศส่วนใหญ่นั้นยังอยู่ในระดับต่ำ เพราะมีความสามารถที่จะหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ได้
หากมองในรายประเทศ ตาม สถานการณ์ในเดือนพฤศจิกายน 2553 พบว่า "ไอร์แลนด์" ซึ่งได้รับการอัดฉีดเงินช่วยเหลือไปแล้ว 8.5 หมื่นล้านยูโร มีระดับการลุกลามของวิกฤต 15% หรือสูงกว่า กรีซ และเป็นการสะท้อนว่าหากไอร์แลนด์ผิดนัดชำระหนี้ภาคธนาคารและหนี้สาธารณะก็อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ดังนั้นทั้งอียูและไอเอ็มเอฟ จึงต้องเข้าไปอัดฉีดเงินช่วยเหลือ
ขณะที่ "โปรตุเกส" หากมองตามสถานการณ์ดังกล่าว มีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ 43% และตัวเลขดังกล่าวช่วยยืนยันความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ที่มองไปในทางเดียวกันว่าโปรตุเกสจะเป็นรายต่อไปที่จะต้องรับเงินช่วยเหลือเพื่อป้องกันการล้มละลาย อย่างไรก็ตาม ระดับในการลุกลามของวิกฤตต่อเศรษฐกิจโลก มีเพียง 4% หรือต่ำกว่าไอร์แลนด์มาก ดังนั้นหากต้องเข้าอุ้มโปรตุเกส ก็จะใช้ เม็ดเงินเพียง 8 หมื่นล้านยูโรเท่านั้น
ด้าน "เบลเยียม" ที่เข้ามาติดแผงประเทศที่ต้องจับตามองเช่นกัน มีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ 29% และยืนอยู่ในแถวต่อจากโปรตุเกส ในแง่ของการรับเงินช่วยเหลือกู้วิกฤต โดยเฉพาะเมื่อดูจากระดับของการลุกลามของวิกฤตที่จะมีต่อเศรษฐกิจโลกที่ยืนอยู่ที่ระดับ 10% หรือสูงกว่าโปรตุเกสกว่า 2 เท่า ดังนั้นหากจำเป็นต้องเข้าช่วยเหลือจริง ๆ ก็ต้องการเงินสูงถึง 1.75 แสนล้านยูโร
ส่วน "สเปน" มีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ 26% พร้อมระดับการลุกลามของวิกฤตที่ 16% แต่เนื่องจากขนาดเศรษฐกิจของสเปนใหญ่กว่าประเทศต่าง ๆ ข้างต้นมาก ดังนั้นจึงประเมินว่า ต้นทุนการอุ้มให้รอดวิกฤตอาจพุ่งสูงถึง 5.5 แสนล้านยูโร
ขณะเดียวกัน "อิตาลี" อีกหนึ่งประเทศที่ต้องจับตามอง ปัจจุบันมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ 17% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอิตาลีจะสามารถอยู่รอดได้อีกหลายปี อย่างไรก็ตาม หากมีการอัดฉีดเงินช่วยเหลือโปรตุเกส เบลเยียม และสเปน ก็จะทำให้อิตาลีตกอยู่ภายใต้แรงกดดันได้เช่นกัน ทั้งนี้ระดับของการลุกลามของวิกฤตอิตาลีอยู่ในระดับเดียวกับสเปนที่ 16% และหากต้องอุ้ม จริง ๆ เม็ดเงินช่วยเหลือก็จะตกอยู่ที่ประมาณ 8 แสนล้านยูโร
เมื่อมองต่อไปยังประเทศสำคัญอีกรายอย่าง "อังกฤษ" พบว่า มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ที่ระดับ 14% แต่หากประเทศข้างต้นผิดนัดชำระหนี้ หรือต้องรับเงินช่วยเหลือกู้วิกฤต แรงกดดันก็จะตกมาอยู่ที่อังกฤษสูงมาก ซึ่งอาจแสดงให้เห็นในรูปของการอ่อนค่าอย่างหนักของเงินปอนด์ อย่างไรก็ตาม แม้ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ของอังกฤษอาจไม่สูงนัก หากเทียบกับประเทศข้างต้น แต่กลับมีระดับของการลุกลามของวิกฤตต่อระบบการเงินโลกสูงถึง 61% หรือเป็นรองเพียงสหรัฐเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าหากอังกฤษผิดนัดชำระหนี้ ย่อมลากระบบการเงินโลกและเศรษฐกิจโลกให้ล้มตามไปด้วยอย่างแน่นอน สำหรับต้นทุนเงินช่วยเหลือในกรณีนี้อยู่ที่ประมาณ 8.5 แสนล้านยูโร
ส่วน "ฝรั่งเศส" มีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ 12% แต่มีระดับการลุกลามของวิกฤตสูงถึง 34% และสะท้อนว่าหากฝรั่งเศสผิดนัดชำระหนี้ ก็มีความเป็นไปได้ที่จะพังระบบการเงินโลกไปด้วย และเม็ดเงินช่วยเหลือที่ประเมินไว้จะสูงถึง 1 ล้านล้าน ยูโรในกรณีของแดนน้ำหอม
มาถึงจุดนี้ วาลายัตย้ำว่า พึงระลึกไว้ว่า การอัดฉีดเงินช่วยเหลือเพื่อให้ประเทศ ต่าง ๆ รอดพ้นจากวิกฤตผิดนัดชำระหนี้นั้น เป็นการยืดเวลาของการปรับโครงสร้างหนี้ที่เป็นเรื่องซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ออกไปเท่านั้น
แต่ปัจจัยสำคัญที่สุดกลับเป็น "ระดับการลุกลาม" หากประเทศดังกล่าวจะต้องผิดนัดชำระหนี้ เพราะแม้จะมีการไล่แจกเงินกู้วิกฤตกันทีละประเทศ แต่อาจมีความเสี่ยงที่จะล่มระบบการเงินโลกได้ หากระดับการลุกลามของวิกฤตสูง ดังเช่นในกรณีของอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี
อย่างไรก็ตาม ยังถือเป็นโชคดีที่ยังไม่มีสัญญาณใด ๆ ที่บ่งชี้ว่า 3 ประเทศนี้ใกล้จะถึงจุดวิกฤตที่เสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้หรือต้องรับเงินช่วยเหลือในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้านี้ ดังนั้นจึงยังมีเวลาให้ประเทศเหล่านี้จัดการกับปัญหาการขาดดุลงบประมาณและหนี้ของภาคธนาคาร
ขณะเดียวกัน แม้จะมีการคาดการณ์อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ของสหรัฐ แต่มหาอำนาจโลกรายนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ต่ำในระดับเพียง 5% ในเดือนพฤศจิกายนปีกลาย
ทั้งนี้วาลายัตสรุปว่า ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ต้องจับตามองโปรตุเกส เบลเยียม และสเปน เพราะอาจมีความ เป็นไปได้ที่จะต้องรับเงินช่วยเหลือเพื่อกู้วิกฤต แต่หากกลุ่มยูโรโซนมีการกำหนดกลไกใหม่สำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ บางส่วนอย่างมีระเบียบแบบแผนก็จะสามารถลดแรงกดดันให้กับประเทศอย่างอิตาลีและฝรั่งเศส ซึ่งจะทำให้ระดับการลุกลามของวิกฤตลดลง
แต่ในระหว่างนี้ บรรดานักออม ควรจะหาช่องทางปกป้องความมั่งคั่งและเงินออมของตนเอง จากความเสี่ยงหาก เกิดการลุกลามของวิกฤตประเทศ PIGIBS ซึ่งได้แก่ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ กรีซ อิตาลี เบลเยียม และสเปน โดยต้องสร้างความมั่นใจว่าตนเองมีความเสี่ยงผูกพันกับธนาคารในประเทศกลุ่มนี้ในระดับที่จำกัด
http://www.prachachat.net/view_news.php ... 2011-01-06
เอกซเรย์ "ยูโรโซน" วัดความเสี่ยงเบี้ยวหนี้-ระดับการลุกลาม
หนึ่งในปัจจัยที่ต้องจับตามองในปีนี้ คือปัญหาหนี้สาธารณะ โดยเฉพาะในยุโรป ที่หลายประเทศกำลังแบกก้อนหนี้มหาศาลอยู่ ซึ่ง "นาดีม วาลายัต" ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับการผิดนัดชำระหนี้สาธารณะ ความเสี่ยงในการล้มละลาย และระดับของการลุกลามของวิกฤตผ่านบทวิเคราะห์ในเว็บไซต์ marketoracle.co.uk ไว้อย่างน่าสนใจ
การประเมินแนวโน้มการล้มละลายและขอรับความช่วยเหลือของประเทศต่าง ๆ ในบทวิเคราะห์ชิ้นนี้ได้อาศัยสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศ เช่น อัตราการเติบโตของจีดีพี ยอดรวมของหนี้สาธารณะ หนี้สินของภาคธนาคารและภาครัฐ การขาดดุล งบประมาณ ยอดรวมหนี้ต่างประเทศ อัตราผลตอบแทนตลาดพันธบัตรรัฐบาล ตลอดจนความสามารถในการลดค่าเงิน ซึ่งประการหลังเป็นสิ่งที่ประเทศสมาชิก ยูโรโซนไม่สามารถทำได้
บทวิเคราะห์นี้ชี้ว่า กลไกการอัดฉีดเงินช่วยเหลือที่ยูโรโซนมีอยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นเพียงการชะลอการล้มละลาย ขณะที่การช่วยเหลือกรีซและไอร์แลนด์เป็นการอัดฉีดเงินที่ยิ่งเพิ่มภาระหนี้ให้กับประเทศผู้รับเงินไปจนกว่าจะสามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จ
สำหรับระดับการลุกลามของวิกฤตหากเกิดการผิดนัดชำระหนี้นั้น ผลพวงจากวิกฤตที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศที่จะมีต่อระบบการเงินโลกนั้นมีความรุนแรงมากน้อยต่างกัน เช่น สหรัฐอาจมีระดับการลุกลามเท่ากับ 100% หากสหรัฐล้มละลาย ซึ่งตัวเลข 100% มีนัยว่า ระบบการเงิน ทั้งโลก หรืออาจรวมทั้งระบบเศรษฐกิจอาจถึงกาลต้องล่มสลาย
ต่างจากกรณีของไอซ์แลนด์ที่ล้มละลายเมื่อเดือนตุลาคม 2551 ที่มีผลกระทบลุกลามเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเป็นเขตเศรษฐกิจขนาดเล็ก ต่างจากปัญหาหนี้ ต่างประเทศของประเทศอย่างไอร์แลนด์ ที่อาจส่งผลกระทบลุกลามมากกว่า และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้สหภาพยุโรป ร่วมมือกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) อัดฉีดเงินช่วยเหลือ 8.5 หมื่นล้านยูโร ซึ่งถือว่าน้อยมากหากเทียบกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากไอร์แลนด์ต้องล้มละลาย ทั้งนี้หากไอร์แลนด์ ล้มละลายอาจเพิ่มความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ในประเทศขนาดใหญ่กว่า เนื่องจากมีการทำธุรกรรมร่วมกับธนาคารสัญชาติไอริช ขณะที่ผู้ถือตราสารหนี้ของไอร์แลนด์ก็จะยิ่งอยู่ภายใต้แรงกดดันที่มากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม การอัดฉีดเงินช่วยเหลือไม่ได้เป็นการขจัดระดับความเสี่ยงในการลุกลามของวิกฤตไปได้ทั้งหมด เพราะผู้ถือครองตราสารหนี้ และผู้ที่ทำธุรกรรมร่วมอยู่ยังคงมีความเสี่ยงผูกพันต่อการปรับโครงสร้างหนี้ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตนั่นเอง
วาลายัตประเมินว่า ทุกประเทศมี แนวโน้มที่จะผิดนัดชำระหนี้หรือจะต้องปรับโครงสร้างหนี้ แต่ความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้โดยสมบูรณ์สำหรับประเทศส่วนใหญ่นั้นยังอยู่ในระดับต่ำ เพราะมีความสามารถที่จะหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ได้
หากมองในรายประเทศ ตาม สถานการณ์ในเดือนพฤศจิกายน 2553 พบว่า "ไอร์แลนด์" ซึ่งได้รับการอัดฉีดเงินช่วยเหลือไปแล้ว 8.5 หมื่นล้านยูโร มีระดับการลุกลามของวิกฤต 15% หรือสูงกว่า กรีซ และเป็นการสะท้อนว่าหากไอร์แลนด์ผิดนัดชำระหนี้ภาคธนาคารและหนี้สาธารณะก็อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ดังนั้นทั้งอียูและไอเอ็มเอฟ จึงต้องเข้าไปอัดฉีดเงินช่วยเหลือ
ขณะที่ "โปรตุเกส" หากมองตามสถานการณ์ดังกล่าว มีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ 43% และตัวเลขดังกล่าวช่วยยืนยันความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ที่มองไปในทางเดียวกันว่าโปรตุเกสจะเป็นรายต่อไปที่จะต้องรับเงินช่วยเหลือเพื่อป้องกันการล้มละลาย อย่างไรก็ตาม ระดับในการลุกลามของวิกฤตต่อเศรษฐกิจโลก มีเพียง 4% หรือต่ำกว่าไอร์แลนด์มาก ดังนั้นหากต้องเข้าอุ้มโปรตุเกส ก็จะใช้ เม็ดเงินเพียง 8 หมื่นล้านยูโรเท่านั้น
ด้าน "เบลเยียม" ที่เข้ามาติดแผงประเทศที่ต้องจับตามองเช่นกัน มีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ 29% และยืนอยู่ในแถวต่อจากโปรตุเกส ในแง่ของการรับเงินช่วยเหลือกู้วิกฤต โดยเฉพาะเมื่อดูจากระดับของการลุกลามของวิกฤตที่จะมีต่อเศรษฐกิจโลกที่ยืนอยู่ที่ระดับ 10% หรือสูงกว่าโปรตุเกสกว่า 2 เท่า ดังนั้นหากจำเป็นต้องเข้าช่วยเหลือจริง ๆ ก็ต้องการเงินสูงถึง 1.75 แสนล้านยูโร
ส่วน "สเปน" มีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ 26% พร้อมระดับการลุกลามของวิกฤตที่ 16% แต่เนื่องจากขนาดเศรษฐกิจของสเปนใหญ่กว่าประเทศต่าง ๆ ข้างต้นมาก ดังนั้นจึงประเมินว่า ต้นทุนการอุ้มให้รอดวิกฤตอาจพุ่งสูงถึง 5.5 แสนล้านยูโร
ขณะเดียวกัน "อิตาลี" อีกหนึ่งประเทศที่ต้องจับตามอง ปัจจุบันมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ 17% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอิตาลีจะสามารถอยู่รอดได้อีกหลายปี อย่างไรก็ตาม หากมีการอัดฉีดเงินช่วยเหลือโปรตุเกส เบลเยียม และสเปน ก็จะทำให้อิตาลีตกอยู่ภายใต้แรงกดดันได้เช่นกัน ทั้งนี้ระดับของการลุกลามของวิกฤตอิตาลีอยู่ในระดับเดียวกับสเปนที่ 16% และหากต้องอุ้ม จริง ๆ เม็ดเงินช่วยเหลือก็จะตกอยู่ที่ประมาณ 8 แสนล้านยูโร
เมื่อมองต่อไปยังประเทศสำคัญอีกรายอย่าง "อังกฤษ" พบว่า มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ที่ระดับ 14% แต่หากประเทศข้างต้นผิดนัดชำระหนี้ หรือต้องรับเงินช่วยเหลือกู้วิกฤต แรงกดดันก็จะตกมาอยู่ที่อังกฤษสูงมาก ซึ่งอาจแสดงให้เห็นในรูปของการอ่อนค่าอย่างหนักของเงินปอนด์ อย่างไรก็ตาม แม้ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ของอังกฤษอาจไม่สูงนัก หากเทียบกับประเทศข้างต้น แต่กลับมีระดับของการลุกลามของวิกฤตต่อระบบการเงินโลกสูงถึง 61% หรือเป็นรองเพียงสหรัฐเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าหากอังกฤษผิดนัดชำระหนี้ ย่อมลากระบบการเงินโลกและเศรษฐกิจโลกให้ล้มตามไปด้วยอย่างแน่นอน สำหรับต้นทุนเงินช่วยเหลือในกรณีนี้อยู่ที่ประมาณ 8.5 แสนล้านยูโร
ส่วน "ฝรั่งเศส" มีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ 12% แต่มีระดับการลุกลามของวิกฤตสูงถึง 34% และสะท้อนว่าหากฝรั่งเศสผิดนัดชำระหนี้ ก็มีความเป็นไปได้ที่จะพังระบบการเงินโลกไปด้วย และเม็ดเงินช่วยเหลือที่ประเมินไว้จะสูงถึง 1 ล้านล้าน ยูโรในกรณีของแดนน้ำหอม
มาถึงจุดนี้ วาลายัตย้ำว่า พึงระลึกไว้ว่า การอัดฉีดเงินช่วยเหลือเพื่อให้ประเทศ ต่าง ๆ รอดพ้นจากวิกฤตผิดนัดชำระหนี้นั้น เป็นการยืดเวลาของการปรับโครงสร้างหนี้ที่เป็นเรื่องซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ออกไปเท่านั้น
แต่ปัจจัยสำคัญที่สุดกลับเป็น "ระดับการลุกลาม" หากประเทศดังกล่าวจะต้องผิดนัดชำระหนี้ เพราะแม้จะมีการไล่แจกเงินกู้วิกฤตกันทีละประเทศ แต่อาจมีความเสี่ยงที่จะล่มระบบการเงินโลกได้ หากระดับการลุกลามของวิกฤตสูง ดังเช่นในกรณีของอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี
อย่างไรก็ตาม ยังถือเป็นโชคดีที่ยังไม่มีสัญญาณใด ๆ ที่บ่งชี้ว่า 3 ประเทศนี้ใกล้จะถึงจุดวิกฤตที่เสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้หรือต้องรับเงินช่วยเหลือในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้านี้ ดังนั้นจึงยังมีเวลาให้ประเทศเหล่านี้จัดการกับปัญหาการขาดดุลงบประมาณและหนี้ของภาคธนาคาร
ขณะเดียวกัน แม้จะมีการคาดการณ์อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ของสหรัฐ แต่มหาอำนาจโลกรายนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ต่ำในระดับเพียง 5% ในเดือนพฤศจิกายนปีกลาย
ทั้งนี้วาลายัตสรุปว่า ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ต้องจับตามองโปรตุเกส เบลเยียม และสเปน เพราะอาจมีความ เป็นไปได้ที่จะต้องรับเงินช่วยเหลือเพื่อกู้วิกฤต แต่หากกลุ่มยูโรโซนมีการกำหนดกลไกใหม่สำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ บางส่วนอย่างมีระเบียบแบบแผนก็จะสามารถลดแรงกดดันให้กับประเทศอย่างอิตาลีและฝรั่งเศส ซึ่งจะทำให้ระดับการลุกลามของวิกฤตลดลง
แต่ในระหว่างนี้ บรรดานักออม ควรจะหาช่องทางปกป้องความมั่งคั่งและเงินออมของตนเอง จากความเสี่ยงหาก เกิดการลุกลามของวิกฤตประเทศ PIGIBS ซึ่งได้แก่ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ กรีซ อิตาลี เบลเยียม และสเปน โดยต้องสร้างความมั่นใจว่าตนเองมีความเสี่ยงผูกพันกับธนาคารในประเทศกลุ่มนี้ในระดับที่จำกัด
http://www.prachachat.net/view_news.php ... 2011-01-06
แนบไฟล์
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 40
รูชี้กรีซยังเผชิญศึกหนักจากปัญหาหนี้
เคนเนธ โรจอฟฟ์ อาจารย์ชื่อดังจากมหาวิทยาลัย ฮาร์ดวาร์ด ได้แสดงความคิดเห็นว่า ถึงแม้กรีซจะได้รับเงินช่วยเหลือจาก EU และ IMF ไปแล้วก็ตาม แต่กรีซก็มีโอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้ หรือ Default ได้เช่นกัน ซึ่งโรจอฟฟ์กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งเราอาจจะได้เห็นในอนาคต
แม้ว่าการใช้เงินสกุลยูโรร่วมกันของประเทศสมาชิกจะยังคงดำเนินต่อไป แต่ประเทศสมาชิกบางประเทศอาจจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้
นอกจากกรีซ ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่ยังคงน่าเป็นห่วง เช่น โปรตุเกส ไอร์แลนด์ และ สเปน ซึ่งอาจจะจบปัญหาลงด้วยการปรับโครงสร้างหนี้
สเปนเผยอัตราการว่างงานลดลงในเดือนธ.ค.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของเสปน เปิดเผยว่า จำนวนคนว่างงานของสเปนลดลง 10,221 คน ในเดือนธันวาคม แตะระดับ 4.1 ล้านคน ส่งผลให้ตัวเลขรวมของคนว่างงานของสเปนเพิ่มขึ้น 176,470 ตำแหน่ง หรือ 4.5%
อย่างไรก็ตาม จังหวะการขยายตัวของอัตราการว่างงานได้ลดลงอย่างมากจากจากระดับของปี 2551 และ 2552 ซึ่งมียอดผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 999,416 และ 794,640 คนตามลำดับ
รายงานระบุว่า จำนวนคนว่างงานในเขตปกครองตนเองแอนดาลูเซีย ลดลง 17,335 คน และจำนวนคนว่างงานในเดมืองมาดริดลดลง 7,151 คน ในขณะที่เกาะคานารี มีตำแหน่งงานเพิ่มขึ้น 2,073 ตำแหน่ง และอีก 4 เขตที่เหลือต่างก็รายงานตัวเลขการจ้างงานที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ ยอดผู้ว่างงานของสเปนได้ลดลงในภาคเกษตรและภาคบริการ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและภาคก่อสร้างมียอดผู้ที่ออกจากงานสูงสุด
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
เคนเนธ โรจอฟฟ์ อาจารย์ชื่อดังจากมหาวิทยาลัย ฮาร์ดวาร์ด ได้แสดงความคิดเห็นว่า ถึงแม้กรีซจะได้รับเงินช่วยเหลือจาก EU และ IMF ไปแล้วก็ตาม แต่กรีซก็มีโอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้ หรือ Default ได้เช่นกัน ซึ่งโรจอฟฟ์กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งเราอาจจะได้เห็นในอนาคต
แม้ว่าการใช้เงินสกุลยูโรร่วมกันของประเทศสมาชิกจะยังคงดำเนินต่อไป แต่ประเทศสมาชิกบางประเทศอาจจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้
นอกจากกรีซ ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่ยังคงน่าเป็นห่วง เช่น โปรตุเกส ไอร์แลนด์ และ สเปน ซึ่งอาจจะจบปัญหาลงด้วยการปรับโครงสร้างหนี้
สเปนเผยอัตราการว่างงานลดลงในเดือนธ.ค.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของเสปน เปิดเผยว่า จำนวนคนว่างงานของสเปนลดลง 10,221 คน ในเดือนธันวาคม แตะระดับ 4.1 ล้านคน ส่งผลให้ตัวเลขรวมของคนว่างงานของสเปนเพิ่มขึ้น 176,470 ตำแหน่ง หรือ 4.5%
อย่างไรก็ตาม จังหวะการขยายตัวของอัตราการว่างงานได้ลดลงอย่างมากจากจากระดับของปี 2551 และ 2552 ซึ่งมียอดผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 999,416 และ 794,640 คนตามลำดับ
รายงานระบุว่า จำนวนคนว่างงานในเขตปกครองตนเองแอนดาลูเซีย ลดลง 17,335 คน และจำนวนคนว่างงานในเดมืองมาดริดลดลง 7,151 คน ในขณะที่เกาะคานารี มีตำแหน่งงานเพิ่มขึ้น 2,073 ตำแหน่ง และอีก 4 เขตที่เหลือต่างก็รายงานตัวเลขการจ้างงานที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ ยอดผู้ว่างงานของสเปนได้ลดลงในภาคเกษตรและภาคบริการ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและภาคก่อสร้างมียอดผู้ที่ออกจากงานสูงสุด
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 41
EU จำหน่ายบอนด์ช่วยเหลือไอร์แลนด์ได้ $6.5 พันล้าน
คณะกรรมาธิการยุโรปเปิดเผยว่า พันธบัตรล็อตแรกที่ออกโดยสหภาพยุโรป (EU) เพื่อระดมทุนให้กับไอร์แลนด์นั้น ได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี โดย EU สามารถจำหน่ายพันธบัตรอายุ 5 ปี มูลค่า 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้หมดภายในระยะเวลาเพียง 1 ชั่วโมง ขณะที่ความต้องการพันธบัตรมีมากกว่าจำนวนพันธบัตรที่นำออกจำหน่ายถึง 3 เท่า
ทั้งนี้ เงินที่ระดมทุนจากการออกพันธบัตรในครั้งนี้จะจัดส่งให้กับไอร์แลนด์ภายในเวลา 5 วันทำการ ซึ่งการระดมทุนครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงเงินช่วยเหลือมูลค่ารวม 29,400 ล้านดอลลาร์ ให้กับไอร์แลนด์ ซึ่งทางคณะกรรมาธิการยุโรปเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ
คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศเมื่อเดือนที่แล้วว่า จะออกพันธบัตรในช่วงปลายเดือนนี้ด้วย เพื่อระดมทุนเข้ากองทุนช่วยเหลือไอร์แลนด์
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
คณะกรรมาธิการยุโรปเปิดเผยว่า พันธบัตรล็อตแรกที่ออกโดยสหภาพยุโรป (EU) เพื่อระดมทุนให้กับไอร์แลนด์นั้น ได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี โดย EU สามารถจำหน่ายพันธบัตรอายุ 5 ปี มูลค่า 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้หมดภายในระยะเวลาเพียง 1 ชั่วโมง ขณะที่ความต้องการพันธบัตรมีมากกว่าจำนวนพันธบัตรที่นำออกจำหน่ายถึง 3 เท่า
ทั้งนี้ เงินที่ระดมทุนจากการออกพันธบัตรในครั้งนี้จะจัดส่งให้กับไอร์แลนด์ภายในเวลา 5 วันทำการ ซึ่งการระดมทุนครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงเงินช่วยเหลือมูลค่ารวม 29,400 ล้านดอลลาร์ ให้กับไอร์แลนด์ ซึ่งทางคณะกรรมาธิการยุโรปเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ
คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศเมื่อเดือนที่แล้วว่า จะออกพันธบัตรในช่วงปลายเดือนนี้ด้วย เพื่อระดมทุนเข้ากองทุนช่วยเหลือไอร์แลนด์
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 42
ความเชื่อมั่นเศรษฐกิจยูโรโซน-EUเดือนธ.ค.โตต่อเนื่อง
Posted on Friday, January 07, 2011
คณะกรรมาธิการยุโรป รายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจใน 17 ประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรเดือนธันวาคม ปี 2553 ปรับตัวสูงขึ้น 1.1 จุด มาอยู่ที่ระดับ 106.2 จุด ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นของ 27 ชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 จุด อยู่ที่ 106.1 จุด เนื่องจากความเชื่อมั่นที่มีต่อแนวเศรษฐกิจฝรั่งเศสและเยอรมนีปรับตัวดีขึ้น
นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรมยังคงเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ช่วยให้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในยุโรปปรับตัวสูงขึ้น โดยความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรมของกลุ่มยูโรโซน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.3 จุด และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในกลุ่มอียูเพิ่มขึ้น 3.6 จุด
ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นในส่วนของผู้บริโภคในกลุ่มยูโรโซนเดือนธันวาคมลดลง 1.6 จุด และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในกลุ่มอียูลดลง 1.1 สะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในยุโรป รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับอัตราว่างงานที่ยังสูงมาก
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
Posted on Friday, January 07, 2011
คณะกรรมาธิการยุโรป รายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจใน 17 ประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรเดือนธันวาคม ปี 2553 ปรับตัวสูงขึ้น 1.1 จุด มาอยู่ที่ระดับ 106.2 จุด ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นของ 27 ชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 จุด อยู่ที่ 106.1 จุด เนื่องจากความเชื่อมั่นที่มีต่อแนวเศรษฐกิจฝรั่งเศสและเยอรมนีปรับตัวดีขึ้น
นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรมยังคงเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ช่วยให้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในยุโรปปรับตัวสูงขึ้น โดยความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรมของกลุ่มยูโรโซน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.3 จุด และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในกลุ่มอียูเพิ่มขึ้น 3.6 จุด
ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นในส่วนของผู้บริโภคในกลุ่มยูโรโซนเดือนธันวาคมลดลง 1.6 จุด และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในกลุ่มอียูลดลง 1.1 สะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในยุโรป รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับอัตราว่างงานที่ยังสูงมาก
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 43
ยูโรกดดันโปรตุเกสขอความช่วยเหลือ EU –IMF
Posted on Monday, January 10, 2011
สมาชิกของสหภาพยุโรป 17 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นสกุลเงินหลัก บอกว่า เยอรมนี ฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆ ในยูโรโซน ได้เพิ่มแรงกดดัน ให้โปรตุเกสขอความช่วยเหลือทางการเงิน จากสหภาพยุโรป(EU) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อสกัด วิกฤติหนี้ไม่ให้ขยายวงกว้างออกไป โดยการหารือเบื้องต้น มีความเป็นไปได้ที่ โปรตุเกสจะขอความช่วยเหลือดังกล่าว หากต้นทุนการขอสินเชื่อในตลาด สูงเกินไป
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
Posted on Monday, January 10, 2011
สมาชิกของสหภาพยุโรป 17 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นสกุลเงินหลัก บอกว่า เยอรมนี ฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆ ในยูโรโซน ได้เพิ่มแรงกดดัน ให้โปรตุเกสขอความช่วยเหลือทางการเงิน จากสหภาพยุโรป(EU) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อสกัด วิกฤติหนี้ไม่ให้ขยายวงกว้างออกไป โดยการหารือเบื้องต้น มีความเป็นไปได้ที่ โปรตุเกสจะขอความช่วยเหลือดังกล่าว หากต้นทุนการขอสินเชื่อในตลาด สูงเกินไป
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 44
เยอรมันผ่อนท่าทีขวางเงินช่วยเหลือวิกฤติหนี้
มีรายงานข่าวว่า ประเทศเยอรมนีอาจผ่อนท่าทีที่เคยคัดค้านการขยายมาตรการช่วยเหลือวิกฤติหนี้ในภูมิภาค ที่มีมูลค่ากว่า 7 แสนล้านยูโร ขณะที่ล่าสุดธนาคารกลางยุโรปก็ต้องเข้าไปซื้อพันธบัตรของรัฐบาลโปรตุเกส ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติหนี้ในภูมิภาคที่ยังขยายวงอยู่ในขณะนี้
ต้นทุนในการประกันการผิดนัดชำระหนี้ของประเทศในยุโรปไต่ขึ้นทะลุทำสถิติใหม่ และทำให้ตลาดหุ้นของยุโรปร่วงดิ่งลง ด้วยความกังวลว่าประเทศโปรตุเกสจะเป็นรายต่อไปที่จะต้องเดินเข้าขอรับความช่วยเหลือจาก EU
การกอบกู้วิกฤติจำเป็นต้องใช้เงินทุนที่เพิ่มขึ้นจากรัฐบาลประเทศต่างๆ ซึ่งทางเยอรมันก่อนหน้านี้ก็ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มทุน ด้วยความที่ตนเป็นประเทศที่มีงบดุลที่แข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาค จึงเกรงว่าประเทศอาจจะต้องแบกรับภาระดังกล่าวไปมากที่สุด
แม้กระทั่งเมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา นางแองเจลล่า เมอร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมัน ก็ยังออกมาเน้นย้ำว่า ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือในการเพิ่มทุนดังกล่าว จนมาล่าสุด เมื่อการคัดค้านของเยอรมนีกลับมีท่าทีที่อ่อนลง หลังโฆษกรัฐบาลออกมาบอกว่า ยังไม่มีการตัดสินใจที่แน่ชัดในเรื่องของการให้เงินสนับสนุนการกอบกู้วิกฤตการณ์ในภูมิภาค
มาตรการภาษีกดดันกำไรแบงก์ยุโรป
Financial Times สื่อยักษ์แห่งยุโรปรายงานโดยอ้างเอกสารของ EU ที่ระบุว่า ธนาคารขนาดใหญ่ในภูมิภาคบางรายอาจต้องเผชิญกับกำไรที่หดหายไปถึงเกือบ 25% จากผลกระทบของการเก็บภาษีในหลายรายการทั่วภูมิภาค
ธนาคารจากฝรั่งเศส Credit Agricole จะถูกกระทบหนักที่สุด ซึ่งประเมินว่าอาจจะกระทบกำไรก่อนหักภาษีถึง 24%
ส่วนรายถัดมาที่จะถูกหางเลขหนักเป็นอันดับสอง ก็ได้แก่ กลุ่มการเงินจากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งก็คือ ING โดยมีการประเมินว่ากำไรของธุรกิจการเงินรายนี้จะหดหายไป 21% ส่วนรายต่อไป เป็นธนาคารสัญชาติเดนมาร์ก Danske Bank ซึ่งน่าจะสูญกำไรไปราวๆ 15%
บรรดาธนาคารทั้งหลายกล่าวหาว่า มาตรการจัดเก็บภาษีที่ไม่เหมือนกันเกิดจากการที่หารือกันน้อยไประหว่างภาครัฐ ซึ่งทำให้เกิดการจัดเก็บภาษีแบบซ้ำซ้อน โดยมีเพียงสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสเท่านั้นที่เห็นด้วยกับสนธิสัญญาการจัดเก็บภาษีซ้อนระหว่างสองประเทศ ณ ขณะนี้
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
มีรายงานข่าวว่า ประเทศเยอรมนีอาจผ่อนท่าทีที่เคยคัดค้านการขยายมาตรการช่วยเหลือวิกฤติหนี้ในภูมิภาค ที่มีมูลค่ากว่า 7 แสนล้านยูโร ขณะที่ล่าสุดธนาคารกลางยุโรปก็ต้องเข้าไปซื้อพันธบัตรของรัฐบาลโปรตุเกส ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติหนี้ในภูมิภาคที่ยังขยายวงอยู่ในขณะนี้
ต้นทุนในการประกันการผิดนัดชำระหนี้ของประเทศในยุโรปไต่ขึ้นทะลุทำสถิติใหม่ และทำให้ตลาดหุ้นของยุโรปร่วงดิ่งลง ด้วยความกังวลว่าประเทศโปรตุเกสจะเป็นรายต่อไปที่จะต้องเดินเข้าขอรับความช่วยเหลือจาก EU
การกอบกู้วิกฤติจำเป็นต้องใช้เงินทุนที่เพิ่มขึ้นจากรัฐบาลประเทศต่างๆ ซึ่งทางเยอรมันก่อนหน้านี้ก็ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มทุน ด้วยความที่ตนเป็นประเทศที่มีงบดุลที่แข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาค จึงเกรงว่าประเทศอาจจะต้องแบกรับภาระดังกล่าวไปมากที่สุด
แม้กระทั่งเมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา นางแองเจลล่า เมอร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมัน ก็ยังออกมาเน้นย้ำว่า ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือในการเพิ่มทุนดังกล่าว จนมาล่าสุด เมื่อการคัดค้านของเยอรมนีกลับมีท่าทีที่อ่อนลง หลังโฆษกรัฐบาลออกมาบอกว่า ยังไม่มีการตัดสินใจที่แน่ชัดในเรื่องของการให้เงินสนับสนุนการกอบกู้วิกฤตการณ์ในภูมิภาค
มาตรการภาษีกดดันกำไรแบงก์ยุโรป
Financial Times สื่อยักษ์แห่งยุโรปรายงานโดยอ้างเอกสารของ EU ที่ระบุว่า ธนาคารขนาดใหญ่ในภูมิภาคบางรายอาจต้องเผชิญกับกำไรที่หดหายไปถึงเกือบ 25% จากผลกระทบของการเก็บภาษีในหลายรายการทั่วภูมิภาค
ธนาคารจากฝรั่งเศส Credit Agricole จะถูกกระทบหนักที่สุด ซึ่งประเมินว่าอาจจะกระทบกำไรก่อนหักภาษีถึง 24%
ส่วนรายถัดมาที่จะถูกหางเลขหนักเป็นอันดับสอง ก็ได้แก่ กลุ่มการเงินจากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งก็คือ ING โดยมีการประเมินว่ากำไรของธุรกิจการเงินรายนี้จะหดหายไป 21% ส่วนรายต่อไป เป็นธนาคารสัญชาติเดนมาร์ก Danske Bank ซึ่งน่าจะสูญกำไรไปราวๆ 15%
บรรดาธนาคารทั้งหลายกล่าวหาว่า มาตรการจัดเก็บภาษีที่ไม่เหมือนกันเกิดจากการที่หารือกันน้อยไประหว่างภาครัฐ ซึ่งทำให้เกิดการจัดเก็บภาษีแบบซ้ำซ้อน โดยมีเพียงสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสเท่านั้นที่เห็นด้วยกับสนธิสัญญาการจัดเก็บภาษีซ้อนระหว่างสองประเทศ ณ ขณะนี้
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 45
Q3 ปี53 เศรษฐกิจกรีซและโรมาเนียยังถดถอย
วันอังคารที่ 11 มกราคม 2011 เวลา 12:35 น.
EUROSTAT รายงานว่าสภาวะเศรษฐกิจและการค้าของกรีซค่อนข้างถดถอย ซึ่งเป็นผลจากมาตรการเข้มงวดด้านงบประมาณและการเพิ่มการเก็บภาษีของรัฐบาล ที่ทำให้กำลังซื้อของประชาชนลดลง โดยเศรษฐกิจกรีซในไตรมาส 3 ของปี 2553 หดตัวลง 4.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ กรีซและโรมาเนียเป็นเพียง 2 ประเทศ ในกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรปที่ยังคงมีสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย (Recession) ในไตรมาส 3 ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป 27 ประเทศ มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น 2.2%
http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=525
วันอังคารที่ 11 มกราคม 2011 เวลา 12:35 น.
EUROSTAT รายงานว่าสภาวะเศรษฐกิจและการค้าของกรีซค่อนข้างถดถอย ซึ่งเป็นผลจากมาตรการเข้มงวดด้านงบประมาณและการเพิ่มการเก็บภาษีของรัฐบาล ที่ทำให้กำลังซื้อของประชาชนลดลง โดยเศรษฐกิจกรีซในไตรมาส 3 ของปี 2553 หดตัวลง 4.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ กรีซและโรมาเนียเป็นเพียง 2 ประเทศ ในกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรปที่ยังคงมีสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย (Recession) ในไตรมาส 3 ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป 27 ประเทศ มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น 2.2%
http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=525
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 46
กระแสตอบรับประมูลบอนด์โปรตุเกสดีเกินคาด
โปรตุเกสได้ประมูลขายพันธบัตรรัฐบาลมูลค่า 16,100 ล้านดอลลาร์ เมื่อคืนนี้ (12 ม.ค. 54) ตามเวลาประเทศไทย โดยความต้องการพันธบัตรอายุ 4 ปี มีมากกว่าการเสนอขายถึง 2.6 เท่า ส่วนความต้องการพันธบัตรอายุ 10 ปี มีมากกว่าการเสนอขายถึง 3.2 เท่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงกระแสตอบรับที่ค่อนข้างดี
ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ลดลงเล็กน้อยจาก 6.806% เป็น 6.719% แต่ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 4 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 4.041% เป็น 5.396%
โปรตุเกสกลายเป็นอีกหนึ่งเป็นประเทศที่นักลงทุนต่างกังวลว่าจะเป็นประเทศต่อไปที่ต้องรับความช่วยเหลือทางการเงินต่อจาก กรีซและไอร์แลนด์
นักวิเคราะห์กล่าวว่า แม้โปรตุเกสจะประสบความสำเร็จในการจำหน่ายพันธบัตรในครั้งนี้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าก็คือ โปรตุเกสจะสามารถรักษาผลตอบแทนพันธบัตรให้อยู่ในระดับนี้ได้หรือไม่ และจะใช้วิธีอย่างไร เพราะผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆ เดือน
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการคลังใน EU กำลังหารือกันเพื่อพิจารณาข้อเสนอที่จะให้มีการขยายวงเงินช่วยเหลือช่วยเหลือประเทศในภูมิภาค ที่ทำผ่านกองทุนสร้างเสถียรภาพทางการเงินแห่งยุโรป (EFSF) ที่มีมูลค่า 440,000 ล้านยูโร โดยการหารือดังกล่าวได้มีขึ้นในกรุงบลัสเซลล์เมื่อวันจันทร์และอังคารที่ผ่านมา และการเปลี่ยนแปลงที่กำลังถกกันอยู่นั้นก็รวมถึงการเพิ่มขนาดกองทุน และการยอมให้กองทุนดังกล่าวเข้ามาแทรกแซงในตลาดตราสารหนี้ด้วย
รมต. คลังฝรั่งเศสชื่นชมแผนการซื้อพันธบัตรยุโรปของญี่ปุ่น
คริสติน ลาการ์ด รัฐมนตรีคลังฝรั่งเศสยกย่องแผนการซื้อพันธบัตรยุโรปล็อตใหญ่ของทางการญี่ปุ่นในเร็วๆนี้ เพื่อสร้างเสถียรภาพทางในระบบการเงินที่มีปัญหาของไอร์แลนด์
รมว.คลังฝรั่งเศสกล่าวแสดงความเห็นในการประชุมร่วมกับโชซาบูโร ไจมิ รัฐมนตรีกระทรวงบริการการเงินของญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในระหว่างการเดินทางเยือนฝรั่งเศสว่า ฝรั่งเศสรู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่งกับแผนการซื้อพันธบัตร 20% ที่จะออกโดยกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ของญี่ปุ่นในเดือนนี้
รมว.คลังฝรั่งเศส กล่าวว่า การแสดงความพร้อมที่จะช่วยเหลือทางการเงินแก่ไอร์แลนด์นั้นถือเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นในระดับสากลที่มีต่อเงินยูโร
นอกจากนี้ นางลาการ์ดและรัฐมนตรีญี่ปุ่นยังได้หารือเรื่องการประชุมสุดยอด G-8 และการประชุม G-20 ที่ฝรั่งเศสจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในปีนี้ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายเห็นชอบเรื่องการให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดต่อไปเพื่อปฏิรูประบบการกำกับดูแลทั่วโลกในตลาดการเงิน
เยอรมนีชี้โปรตุเกสพร้อมใช้มาตรการแก้วิกฤติเพิ่มเติม
นางแองเจลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี กล่าวในระหว่างการเดินทางไปเยือนไซปรัสว่า โปรตุเกสยืนยันจะว่าพร้อมจะใช้มาตรการเพิ่มเติมในการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ
โดยนางแมร์เคลให้สัมภาษณ์ภายหลังการเข้าร่วมประชุมกับนายดีมิทรีส คริสโทเฟียส ประธานาธิบดีไซปรัสว่า "ประธานาธิบดีโปรตุเกสให้คำมั่นว่า หากคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป, ธนาคารกลางยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ พิจารณาเพิ่มมาตรการในการช่วยแก้ปัญหาของประเทศ เขาก็พร้อมจะรับความช่วยเหลือดังกล่าว"
นอกจากนี้ นางแมร์เคลกล่าวเสริมว่า โปรตุเกสได้ตัดงบค่าใช้จ่ายลงเป็นจำนวนมาก แต่ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าการดำเนินการดังกล่าวจะเห็นผล
GDP เยอรมันปี 2553 ฟื้นแรงตามคาด
ข้อมูลของทางการเยอรมันระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศกลับมาฟื้นตัวในปีที่แล้ว ในอัตราสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียว ขณะตัวช่วยที่สำคัญอย่างการใช้จ่ายผู้บริโภคกลับยังคงอ่อนแอ เมื่อเทียบกับการลงทุนภาคธุรกิจที่บูมขึ้นมาก
ข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติของเยอรมันแสดงให้เห็นว่า การขยายตัวของจีดีพีได้ดีดกลับขึ้นมาอยู่ที่ 3.6% หลังจากที่ร่วงลงตกต่ำที่สุดในยุคหลังสงคราม และดิ่งลงไปถึง 4.7% ในปี 2552
ถึงกระนั้น ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาล่าสุดยังไม่ได้ส่งสัญญาณใดๆ ที่แสดงว่าการใช้จ่ายผู้บริโภคขยับตัวดีขึ้นแล้ว เหมือนกับที่ประเทศต่างๆ ในยุโรปต่างกำลังคาดหวังถึงกำลังซื้อจากเยอรมัน ว่าจะเข้ามาช่วยชดเชยผลกระทบจากวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นในขณะนี้
การบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเพียง 0.5 % เมื่อเทียบกับยอดการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรที่พุ่งพรวดขึ้นถึงกว่า 9 % ขณะที่การลงทุนอื่นๆ เพิ่มขึ้น 6.4 %
และในขณะที่ตัวเลขส่งออกขยับสูงขึ้น 14 %เมื่อปีที่แล้ว ตัวเลขการนำเข้าของประเทศก็ทะยานขึ้นเช่นกัน ที่อัตรา 13 % โดยนักวิเคราะห์หลายคนก็ยังประเมินด้วยว่าตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคควรจะต้องดีขึ้นอย่างมากในปีนี้
บริษัทต่างๆ ในเยอรมันกำลังได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งสะท้อนได้จากดัชนี DAX ของตลาดหุ้นเยอรมัน อันประกอบไปด้วยหุ้นขนาดใหญ่ 30 บริษัท และในจำนวนนั้นก็มี 22 บริษัทที่ทำผลประกอบการทะลุเป้า
หนึ่งในข่าวดีนั้นก็มี Siemens ซึ่งเป็นบริษัทวิศวกรรมรายใหญ่ที่สุดของยุโรป เมื่อบริษัทคาดว่ากำไรและยอดขายในไตรมาสแรกของปีนี้จะสูงกว่าตัวเลขในปีที่แล้ว จากการที่ดีมานด์สินค้าพุ่งสูงขึ้น
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
โปรตุเกสได้ประมูลขายพันธบัตรรัฐบาลมูลค่า 16,100 ล้านดอลลาร์ เมื่อคืนนี้ (12 ม.ค. 54) ตามเวลาประเทศไทย โดยความต้องการพันธบัตรอายุ 4 ปี มีมากกว่าการเสนอขายถึง 2.6 เท่า ส่วนความต้องการพันธบัตรอายุ 10 ปี มีมากกว่าการเสนอขายถึง 3.2 เท่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงกระแสตอบรับที่ค่อนข้างดี
ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ลดลงเล็กน้อยจาก 6.806% เป็น 6.719% แต่ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 4 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 4.041% เป็น 5.396%
โปรตุเกสกลายเป็นอีกหนึ่งเป็นประเทศที่นักลงทุนต่างกังวลว่าจะเป็นประเทศต่อไปที่ต้องรับความช่วยเหลือทางการเงินต่อจาก กรีซและไอร์แลนด์
นักวิเคราะห์กล่าวว่า แม้โปรตุเกสจะประสบความสำเร็จในการจำหน่ายพันธบัตรในครั้งนี้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าก็คือ โปรตุเกสจะสามารถรักษาผลตอบแทนพันธบัตรให้อยู่ในระดับนี้ได้หรือไม่ และจะใช้วิธีอย่างไร เพราะผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆ เดือน
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการคลังใน EU กำลังหารือกันเพื่อพิจารณาข้อเสนอที่จะให้มีการขยายวงเงินช่วยเหลือช่วยเหลือประเทศในภูมิภาค ที่ทำผ่านกองทุนสร้างเสถียรภาพทางการเงินแห่งยุโรป (EFSF) ที่มีมูลค่า 440,000 ล้านยูโร โดยการหารือดังกล่าวได้มีขึ้นในกรุงบลัสเซลล์เมื่อวันจันทร์และอังคารที่ผ่านมา และการเปลี่ยนแปลงที่กำลังถกกันอยู่นั้นก็รวมถึงการเพิ่มขนาดกองทุน และการยอมให้กองทุนดังกล่าวเข้ามาแทรกแซงในตลาดตราสารหนี้ด้วย
รมต. คลังฝรั่งเศสชื่นชมแผนการซื้อพันธบัตรยุโรปของญี่ปุ่น
คริสติน ลาการ์ด รัฐมนตรีคลังฝรั่งเศสยกย่องแผนการซื้อพันธบัตรยุโรปล็อตใหญ่ของทางการญี่ปุ่นในเร็วๆนี้ เพื่อสร้างเสถียรภาพทางในระบบการเงินที่มีปัญหาของไอร์แลนด์
รมว.คลังฝรั่งเศสกล่าวแสดงความเห็นในการประชุมร่วมกับโชซาบูโร ไจมิ รัฐมนตรีกระทรวงบริการการเงินของญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในระหว่างการเดินทางเยือนฝรั่งเศสว่า ฝรั่งเศสรู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่งกับแผนการซื้อพันธบัตร 20% ที่จะออกโดยกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ของญี่ปุ่นในเดือนนี้
รมว.คลังฝรั่งเศส กล่าวว่า การแสดงความพร้อมที่จะช่วยเหลือทางการเงินแก่ไอร์แลนด์นั้นถือเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นในระดับสากลที่มีต่อเงินยูโร
นอกจากนี้ นางลาการ์ดและรัฐมนตรีญี่ปุ่นยังได้หารือเรื่องการประชุมสุดยอด G-8 และการประชุม G-20 ที่ฝรั่งเศสจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในปีนี้ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายเห็นชอบเรื่องการให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดต่อไปเพื่อปฏิรูประบบการกำกับดูแลทั่วโลกในตลาดการเงิน
เยอรมนีชี้โปรตุเกสพร้อมใช้มาตรการแก้วิกฤติเพิ่มเติม
นางแองเจลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี กล่าวในระหว่างการเดินทางไปเยือนไซปรัสว่า โปรตุเกสยืนยันจะว่าพร้อมจะใช้มาตรการเพิ่มเติมในการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ
โดยนางแมร์เคลให้สัมภาษณ์ภายหลังการเข้าร่วมประชุมกับนายดีมิทรีส คริสโทเฟียส ประธานาธิบดีไซปรัสว่า "ประธานาธิบดีโปรตุเกสให้คำมั่นว่า หากคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป, ธนาคารกลางยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ พิจารณาเพิ่มมาตรการในการช่วยแก้ปัญหาของประเทศ เขาก็พร้อมจะรับความช่วยเหลือดังกล่าว"
นอกจากนี้ นางแมร์เคลกล่าวเสริมว่า โปรตุเกสได้ตัดงบค่าใช้จ่ายลงเป็นจำนวนมาก แต่ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าการดำเนินการดังกล่าวจะเห็นผล
GDP เยอรมันปี 2553 ฟื้นแรงตามคาด
ข้อมูลของทางการเยอรมันระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศกลับมาฟื้นตัวในปีที่แล้ว ในอัตราสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียว ขณะตัวช่วยที่สำคัญอย่างการใช้จ่ายผู้บริโภคกลับยังคงอ่อนแอ เมื่อเทียบกับการลงทุนภาคธุรกิจที่บูมขึ้นมาก
ข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติของเยอรมันแสดงให้เห็นว่า การขยายตัวของจีดีพีได้ดีดกลับขึ้นมาอยู่ที่ 3.6% หลังจากที่ร่วงลงตกต่ำที่สุดในยุคหลังสงคราม และดิ่งลงไปถึง 4.7% ในปี 2552
ถึงกระนั้น ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาล่าสุดยังไม่ได้ส่งสัญญาณใดๆ ที่แสดงว่าการใช้จ่ายผู้บริโภคขยับตัวดีขึ้นแล้ว เหมือนกับที่ประเทศต่างๆ ในยุโรปต่างกำลังคาดหวังถึงกำลังซื้อจากเยอรมัน ว่าจะเข้ามาช่วยชดเชยผลกระทบจากวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นในขณะนี้
การบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเพียง 0.5 % เมื่อเทียบกับยอดการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรที่พุ่งพรวดขึ้นถึงกว่า 9 % ขณะที่การลงทุนอื่นๆ เพิ่มขึ้น 6.4 %
และในขณะที่ตัวเลขส่งออกขยับสูงขึ้น 14 %เมื่อปีที่แล้ว ตัวเลขการนำเข้าของประเทศก็ทะยานขึ้นเช่นกัน ที่อัตรา 13 % โดยนักวิเคราะห์หลายคนก็ยังประเมินด้วยว่าตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคควรจะต้องดีขึ้นอย่างมากในปีนี้
บริษัทต่างๆ ในเยอรมันกำลังได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งสะท้อนได้จากดัชนี DAX ของตลาดหุ้นเยอรมัน อันประกอบไปด้วยหุ้นขนาดใหญ่ 30 บริษัท และในจำนวนนั้นก็มี 22 บริษัทที่ทำผลประกอบการทะลุเป้า
หนึ่งในข่าวดีนั้นก็มี Siemens ซึ่งเป็นบริษัทวิศวกรรมรายใหญ่ที่สุดของยุโรป เมื่อบริษัทคาดว่ากำไรและยอดขายในไตรมาสแรกของปีนี้จะสูงกว่าตัวเลขในปีที่แล้ว จากการที่ดีมานด์สินค้าพุ่งสูงขึ้น
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 47
การประมูลพันธบัตรสเปนได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี CNBC
สเปนเปิดประมูลขายพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี มูลค่า 3,000 ล้านยูโร เมื่อคืนนี้ตามเวลาประเทศไทย และได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรขยับขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มยูโรโซนได้ดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อที่จะคลี่คลายปัญหาวิกฤติหนี้ในภูมิภาค
ทั้งนี้ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสเปนอายุ 5 ปี ปรับขึ้นไป 0.97% สู่ระดับ 4.542% (การประมูลครั้งก่อน 3.576%) ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะขยับขึ้นไปถึง 1.30%
การขายบอนด์ในครั้งนี้ ถือว่าเป็นบททดสอบแรกของสเปน ในปี 2554 นี้ เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดย ตลาดกังวลว่า สเปนและโปรตุเกสอาจจะเป็นรายต่อไปที่ต้องเข้ารับความช่วยเหลือจาก EU และ IMF ต่อจากกรีซและไอร์แลนด์
BID to Cover ratio สำหรับการขายบอนด์สเปนรอบนี้อยู่ที่ 2.1
ที่ประชุม ECB-BOE มีมติคงอัตราดอกเบี้ย
สำหรับการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) คณะกรรมการได้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1% ต่อไปซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 21
การตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ของธนาคารกลางยุโรปนั้น สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลต่อการลุกลามของวิกฤติหนี้ในภูมิภาคที่อาจจะขยายวงกว้างมากขึ้น
นักวิเคราะห์จากผลสำรวจของบลูมเบิร์ก มองว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อรับมือกับเงินเฟ้อนั้น ในยุโรปอาจจะได้เป็นประมาณไตรมาสที่ 4/54
ส่วนทางด้าน ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่
นอกจากนี้ ธนาคารกลางอังกฤษยังได้ตัดสินใจคงขนาดของโครงการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) มูลค่า 2 แสนล้านปอนด์ ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายของตลาดเช่นกัน
แบงก์ชาติอังกฤษตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ย แม้ว่าจะมีความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่อยู่เหนือเป้าหมายที่ 2% ของรัฐบาล โดยเงินเฟ้อล่าสุดได้ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.3%
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
สเปนเปิดประมูลขายพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี มูลค่า 3,000 ล้านยูโร เมื่อคืนนี้ตามเวลาประเทศไทย และได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรขยับขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มยูโรโซนได้ดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อที่จะคลี่คลายปัญหาวิกฤติหนี้ในภูมิภาค
ทั้งนี้ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสเปนอายุ 5 ปี ปรับขึ้นไป 0.97% สู่ระดับ 4.542% (การประมูลครั้งก่อน 3.576%) ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะขยับขึ้นไปถึง 1.30%
การขายบอนด์ในครั้งนี้ ถือว่าเป็นบททดสอบแรกของสเปน ในปี 2554 นี้ เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดย ตลาดกังวลว่า สเปนและโปรตุเกสอาจจะเป็นรายต่อไปที่ต้องเข้ารับความช่วยเหลือจาก EU และ IMF ต่อจากกรีซและไอร์แลนด์
BID to Cover ratio สำหรับการขายบอนด์สเปนรอบนี้อยู่ที่ 2.1
ที่ประชุม ECB-BOE มีมติคงอัตราดอกเบี้ย
สำหรับการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) คณะกรรมการได้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1% ต่อไปซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 21
การตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ของธนาคารกลางยุโรปนั้น สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลต่อการลุกลามของวิกฤติหนี้ในภูมิภาคที่อาจจะขยายวงกว้างมากขึ้น
นักวิเคราะห์จากผลสำรวจของบลูมเบิร์ก มองว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อรับมือกับเงินเฟ้อนั้น ในยุโรปอาจจะได้เป็นประมาณไตรมาสที่ 4/54
ส่วนทางด้าน ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่
นอกจากนี้ ธนาคารกลางอังกฤษยังได้ตัดสินใจคงขนาดของโครงการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) มูลค่า 2 แสนล้านปอนด์ ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายของตลาดเช่นกัน
แบงก์ชาติอังกฤษตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ย แม้ว่าจะมีความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่อยู่เหนือเป้าหมายที่ 2% ของรัฐบาล โดยเงินเฟ้อล่าสุดได้ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.3%
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 48
เศรษฐกิจอังกฤษเสี่ยงถึง 20% ที่จะถดถอยรอบใหม่
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจของอังกฤษ (CEBR) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจอังกฤษมีแนวโน้ม 20% ที่จะเผชิญกับภาวะถดถอยครั้งใหม่ เนื่องจากอัตราว่างงานสูงขึ้นและเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วยังคงเป็นอุปสรรคขัดขวางการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ CEBR คาดว่า เศรษฐกิจอังกฤษจะขยายตัว 1.1% ในปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัว 1.3% โดยจังหวะการขยายตัวที่ช้าลง ทำให้ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจอังกฤษจะเผชิญกับภาวะถดถอยรอบใหม่มีอยู่ถึง 20% เพิ่มขึ้นจากการประเมินก่อนหน้านี้ที่ 10%
นอกจากนี้ คาดว่าธนาคารกลางอังกฤษอาจจะขยายโครงการซื้อพันธบัตร (QE) แต่การดำเนินการดังกล่าวจะต้องขึ้นอยู่กับการลดลงของอัตราเงินเฟ้อด้วย โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนพ.ย.ยืนอยู่ที่ระดับ 3.3% ซึ่งสูงกว่าเพดานที่ธนาคารกลางอังกฤษกำหนดไว้
อย่างไรก็ดี CEBR ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจอังกฤษในปี 2553 เป็น 1.8% จากเดิม 1.5% และได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2555 เป็น 1.5% จากเดิม 1.4% นอกจากนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 4% ในปีนี้ ก่อนที่จะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 1.6% ในช่วงกลางปีหน้า
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจของอังกฤษ (CEBR) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจอังกฤษมีแนวโน้ม 20% ที่จะเผชิญกับภาวะถดถอยครั้งใหม่ เนื่องจากอัตราว่างงานสูงขึ้นและเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วยังคงเป็นอุปสรรคขัดขวางการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ CEBR คาดว่า เศรษฐกิจอังกฤษจะขยายตัว 1.1% ในปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัว 1.3% โดยจังหวะการขยายตัวที่ช้าลง ทำให้ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจอังกฤษจะเผชิญกับภาวะถดถอยรอบใหม่มีอยู่ถึง 20% เพิ่มขึ้นจากการประเมินก่อนหน้านี้ที่ 10%
นอกจากนี้ คาดว่าธนาคารกลางอังกฤษอาจจะขยายโครงการซื้อพันธบัตร (QE) แต่การดำเนินการดังกล่าวจะต้องขึ้นอยู่กับการลดลงของอัตราเงินเฟ้อด้วย โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนพ.ย.ยืนอยู่ที่ระดับ 3.3% ซึ่งสูงกว่าเพดานที่ธนาคารกลางอังกฤษกำหนดไว้
อย่างไรก็ดี CEBR ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจอังกฤษในปี 2553 เป็น 1.8% จากเดิม 1.5% และได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2555 เป็น 1.5% จากเดิม 1.4% นอกจากนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 4% ในปีนี้ ก่อนที่จะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 1.6% ในช่วงกลางปีหน้า
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 49
ที่ประชุมรมต.คลังยูโรมุ่งสร้างเครือข่ายป้องกันวิกฤติ
ที่ประชุมรัฐมนตรีกลุ่มประเทศยูโรโซน ได้ข้อสรุปในการขันน็อตมาตรการที่เรียกว่าเป็น safety net ของบรรดาประเทศที่กำลังประสบวิกฤติหนี้ พร้อมกับยืนยันว่าไม่ได้กดดันให้ประเทศต่างๆ รีบเร่งใช้มาตรการใดๆ ในทันทีเพื่อลดปัญหาการขาดดุลการคลังนี้
รัฐมนตรีคลังจาก 17 ประเทศในภูมิภาคยุโรป กำลังร่วมกันหาวิธีบริหารเงินทุนช่วยเหลือจำนวน 750,000 ล้านยูโรหรือ ล้านล้านเหรียญ เพื่อสามารถนำไปใช้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย รวมถึงพิจารณาหาวิธีที่ทำให้การใช้เงินทุนดังกล่าวมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และไม่ขัดขวางทางเลือกที่จะให้เพิ่มขนาดของกองทุนดังกล่าว
เยอรมนี ในฐานะประเทศผู้นำเศรษฐกิจในภูมิภาค ตอนนี้ก็ได้มีท่าทีที่อ่อนลงหลังจากไม่เห็นด้วยกับมาตรการกอบกู้วิกฤติโดยวิธีการเพิ่มขนาดกองทุนช่วยเหลือ
การประชุมสุดยอดของกลุ่มผู้นำ EU ที่จะเกิดขึ้นในปลายเดือนมีนาคมคาดว่าจะเป็นเส้นตายของร่างมาตรการต่างๆ ท่ามกลางความกังวลว่ากรีซกับไอร์แลนด์ว่าอาจต้องดิ้นรนในการฟื้นเศรษฐกิจต่อไป
ECB รุกซื้อพันธบัตรรัฐบาลยุโรปสูงสุดในรอบ 5 สัปดาห์
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ระบุว่า ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ECB ได้เข้าซื้อพันธบัตรของประเทศยุโรปเป็นวงเงินทั้งสิ้น 2,313 ล้านยูโร หรือ 3,070 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 สัปดาห์ โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นสภาพคล่องในระบบการเงินยุโรปให้ไหลเวียนดีขึ้น
หลังจากที่อีซีบีถูกบีบให้ขยายมาตรการกระตุ้นสภาพคล่องฉุกเฉินให้กับธนาคารพาณิชย์ ภายหลังจากการให้ความช่วยเหลือไอร์แลนด์ไม่สามารถทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่า รัฐบาลยุโรปสามารถลดยอดขาดดุลงบประมาณและป้องกันการลุกลามของวิกฤตหนี้ในยูโรโซนได้
รัฐมนตรีคลังกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ได้เริ่มการประชุมเพื่อหารือกันเรื่องการใช้กลยุทธ์ใหม่ๆในการรับมือกับวิกฤตหนี้เมื่อวานนี้ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังหารือกันเรื่องการเพิ่มขนาดและขีดความสามารถในการปล่อยเงินกู้ของกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ซึ่งมีมูลค่า 4.40 แสนล้านยูโร (5.80 แสนล้านดอลลาร์)
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
ที่ประชุมรัฐมนตรีกลุ่มประเทศยูโรโซน ได้ข้อสรุปในการขันน็อตมาตรการที่เรียกว่าเป็น safety net ของบรรดาประเทศที่กำลังประสบวิกฤติหนี้ พร้อมกับยืนยันว่าไม่ได้กดดันให้ประเทศต่างๆ รีบเร่งใช้มาตรการใดๆ ในทันทีเพื่อลดปัญหาการขาดดุลการคลังนี้
รัฐมนตรีคลังจาก 17 ประเทศในภูมิภาคยุโรป กำลังร่วมกันหาวิธีบริหารเงินทุนช่วยเหลือจำนวน 750,000 ล้านยูโรหรือ ล้านล้านเหรียญ เพื่อสามารถนำไปใช้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย รวมถึงพิจารณาหาวิธีที่ทำให้การใช้เงินทุนดังกล่าวมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และไม่ขัดขวางทางเลือกที่จะให้เพิ่มขนาดของกองทุนดังกล่าว
เยอรมนี ในฐานะประเทศผู้นำเศรษฐกิจในภูมิภาค ตอนนี้ก็ได้มีท่าทีที่อ่อนลงหลังจากไม่เห็นด้วยกับมาตรการกอบกู้วิกฤติโดยวิธีการเพิ่มขนาดกองทุนช่วยเหลือ
การประชุมสุดยอดของกลุ่มผู้นำ EU ที่จะเกิดขึ้นในปลายเดือนมีนาคมคาดว่าจะเป็นเส้นตายของร่างมาตรการต่างๆ ท่ามกลางความกังวลว่ากรีซกับไอร์แลนด์ว่าอาจต้องดิ้นรนในการฟื้นเศรษฐกิจต่อไป
ECB รุกซื้อพันธบัตรรัฐบาลยุโรปสูงสุดในรอบ 5 สัปดาห์
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ระบุว่า ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ECB ได้เข้าซื้อพันธบัตรของประเทศยุโรปเป็นวงเงินทั้งสิ้น 2,313 ล้านยูโร หรือ 3,070 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 สัปดาห์ โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นสภาพคล่องในระบบการเงินยุโรปให้ไหลเวียนดีขึ้น
หลังจากที่อีซีบีถูกบีบให้ขยายมาตรการกระตุ้นสภาพคล่องฉุกเฉินให้กับธนาคารพาณิชย์ ภายหลังจากการให้ความช่วยเหลือไอร์แลนด์ไม่สามารถทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่า รัฐบาลยุโรปสามารถลดยอดขาดดุลงบประมาณและป้องกันการลุกลามของวิกฤตหนี้ในยูโรโซนได้
รัฐมนตรีคลังกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ได้เริ่มการประชุมเพื่อหารือกันเรื่องการใช้กลยุทธ์ใหม่ๆในการรับมือกับวิกฤตหนี้เมื่อวานนี้ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังหารือกันเรื่องการเพิ่มขนาดและขีดความสามารถในการปล่อยเงินกู้ของกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ซึ่งมีมูลค่า 4.40 แสนล้านยูโร (5.80 แสนล้านดอลลาร์)
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 50
กรรมการ ECB ผ่อนท่าทีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ย
ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่กำลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ทางกรรมการของธนาคารกลางยุโรป (ECB) กลับออกมาแสดงท่าทีที่อ่อนลงในเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ย
เงินยูโรแข็งค่าขึ้นนับตั้งแต่ที่ประธาน ECB ออกมาเตือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่าทางธนาคารจะออกมาตรการรับมือหากจำเป็นเพื่อยั้บยั้งความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อ ซึ่งทางกรรมการ ECB นาย Ewald Nowotny ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ออกมาบอกว่าตลาดมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเห็นดังกล่าวมากเกินไป และเป็นจังหวะเดียวกับที่ทาง Citigroup ก็ได้ออกมาปรับคาดการณ์ของตนด้วยว่า ECB อาจจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แทนที่จะเป็นไตรมาส 1/55
เช่นเดียวกับ นักกลยุทธ์ของโบรกเกอร์ใหญ่ อย่าง Nomura ที่มองว่า ECB กำลังพยายามอย่างยิ่งที่จะปรับเปลี่ยนการคาดการณ์ของตลาด ซึ่งดูเหมือนว่าจะยังไม่ประสบความสำเร็จ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยจาก ECB ที่สูงขึ้นจะยังเพิ่มภาระให้กับประเทศที่เป็นหนี้ด้วย
เยอรมนีปรับคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2554 เป็น 2.3%
เยอรมนีได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2554 เป็น 2.3% จากระดับการคาดการณ์เมื่อเดือนต.ค. 2553 ที่ 1.8% เนื่องจากการส่งออกที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และการใช้จ่ายภาคเอกชนที่สูงขึ้น
รัฐบาลเยอรมนีคาดว่า อัตราการขยายตัวของการส่งออกในปีนี้จะอยู่ที่ 6.5% ซึ่งชะลอตัวลงจากระดับ 14.2% ในปีที่แล้ว
อังกฤษเผยจำนวนคนว่างงานเพิ่มขึ้น
สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยว่า จำนวนผู้ไม่มีงานทำในช่วง 3 เดือนจนถึงพ.ย. เพิ่มขึ้น 49,000 คน มาอยู่ที่ 2.5 ล้านคน โดยประชากรในช่วงอายุ 16 - 24 ปีตกงานเพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการเก็บสถิติในปี 2535 อย่างไรก็ตาม แม้จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น แต่อัตราว่างงานยังคงทรงตัวที่ 7.9%
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า จำนวนผู้ว่างงานในปีนี้จะสูงขึ้นเนื่องจากภาคเอกชนลดการจ้างงานลง
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่กำลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ทางกรรมการของธนาคารกลางยุโรป (ECB) กลับออกมาแสดงท่าทีที่อ่อนลงในเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ย
เงินยูโรแข็งค่าขึ้นนับตั้งแต่ที่ประธาน ECB ออกมาเตือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่าทางธนาคารจะออกมาตรการรับมือหากจำเป็นเพื่อยั้บยั้งความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อ ซึ่งทางกรรมการ ECB นาย Ewald Nowotny ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ออกมาบอกว่าตลาดมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเห็นดังกล่าวมากเกินไป และเป็นจังหวะเดียวกับที่ทาง Citigroup ก็ได้ออกมาปรับคาดการณ์ของตนด้วยว่า ECB อาจจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แทนที่จะเป็นไตรมาส 1/55
เช่นเดียวกับ นักกลยุทธ์ของโบรกเกอร์ใหญ่ อย่าง Nomura ที่มองว่า ECB กำลังพยายามอย่างยิ่งที่จะปรับเปลี่ยนการคาดการณ์ของตลาด ซึ่งดูเหมือนว่าจะยังไม่ประสบความสำเร็จ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยจาก ECB ที่สูงขึ้นจะยังเพิ่มภาระให้กับประเทศที่เป็นหนี้ด้วย
เยอรมนีปรับคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2554 เป็น 2.3%
เยอรมนีได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2554 เป็น 2.3% จากระดับการคาดการณ์เมื่อเดือนต.ค. 2553 ที่ 1.8% เนื่องจากการส่งออกที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และการใช้จ่ายภาคเอกชนที่สูงขึ้น
รัฐบาลเยอรมนีคาดว่า อัตราการขยายตัวของการส่งออกในปีนี้จะอยู่ที่ 6.5% ซึ่งชะลอตัวลงจากระดับ 14.2% ในปีที่แล้ว
อังกฤษเผยจำนวนคนว่างงานเพิ่มขึ้น
สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยว่า จำนวนผู้ไม่มีงานทำในช่วง 3 เดือนจนถึงพ.ย. เพิ่มขึ้น 49,000 คน มาอยู่ที่ 2.5 ล้านคน โดยประชากรในช่วงอายุ 16 - 24 ปีตกงานเพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการเก็บสถิติในปี 2535 อย่างไรก็ตาม แม้จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น แต่อัตราว่างงานยังคงทรงตัวที่ 7.9%
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า จำนวนผู้ว่างงานในปีนี้จะสูงขึ้นเนื่องจากภาคเอกชนลดการจ้างงานลง
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 51
นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลมั่นใจสกุลเงินยูโรไม่ล่มสลาย
คริสโตเฟอร์ พิสซารีดิส เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์กล่าวกับผู้สื่อข่าวในนิโคเซียในโอกาสที่เขารับงานเป็นอาจารย์สอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยไซปรัสว่า สกุลเงินยูโรยังไม่มีความเสี่ยงที่จะล่มสลาย เพราะได้รับการสนับสนุนจากชาติมหาอำนาจในยุโรปอย่างเยอรมนีและฝรั่งเศส
พิสซารีดิสกล่าวว่า ปัญหาท้าทายที่ใหญ่กว่าสกุลเงินยูโรและภาวะถดถอยของเศรษฐกิจในกลุ่มอียูก็คือ ปัญหาการขาดดุลงบประมาณในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (EU)
อย่างไรก็ตาม พิสซารีดิสมีมุมมองที่เป็นบวกว่า กรีซจะสามารถเอาชนะปัญหาการขาดดุลงบประมาณและหนี้สาธารณะได้ โดยเขากล่าวว่า รัฐบาลกรีซได้แสดงเจตนารมณ์อย่างแรงกล้าที่จะเอาชนะวิกฤตเศรษฐกิจ ด้วยการใช้มาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ นอกจากนี้ รัฐบาลกรีซกำลังดำเนินนโยบายอย่างถูกทาง และเชื่อว่ากรีซจะไม่เผชิญกับวิกฤตครั้งใหม่
ทั้งนี้ พิสซารีดิส เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวไซปรัสเชื้อสายกรีก เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2553 ร่วมกับปีเตอร์ ไดมอนด์ ศาสตราจารย์จากสถาบันเอ็มไอทีในรัฐแมสซาชูเซตส์ สำหรับผลงานวิจัยเรื่องความซับซ้อนของการคำนวณอุปสงค์และอุปทาน โดยเฉพาะในตลาดแรงงาน
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
คริสโตเฟอร์ พิสซารีดิส เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์กล่าวกับผู้สื่อข่าวในนิโคเซียในโอกาสที่เขารับงานเป็นอาจารย์สอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยไซปรัสว่า สกุลเงินยูโรยังไม่มีความเสี่ยงที่จะล่มสลาย เพราะได้รับการสนับสนุนจากชาติมหาอำนาจในยุโรปอย่างเยอรมนีและฝรั่งเศส
พิสซารีดิสกล่าวว่า ปัญหาท้าทายที่ใหญ่กว่าสกุลเงินยูโรและภาวะถดถอยของเศรษฐกิจในกลุ่มอียูก็คือ ปัญหาการขาดดุลงบประมาณในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (EU)
อย่างไรก็ตาม พิสซารีดิสมีมุมมองที่เป็นบวกว่า กรีซจะสามารถเอาชนะปัญหาการขาดดุลงบประมาณและหนี้สาธารณะได้ โดยเขากล่าวว่า รัฐบาลกรีซได้แสดงเจตนารมณ์อย่างแรงกล้าที่จะเอาชนะวิกฤตเศรษฐกิจ ด้วยการใช้มาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ นอกจากนี้ รัฐบาลกรีซกำลังดำเนินนโยบายอย่างถูกทาง และเชื่อว่ากรีซจะไม่เผชิญกับวิกฤตครั้งใหม่
ทั้งนี้ พิสซารีดิส เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวไซปรัสเชื้อสายกรีก เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2553 ร่วมกับปีเตอร์ ไดมอนด์ ศาสตราจารย์จากสถาบันเอ็มไอทีในรัฐแมสซาชูเซตส์ สำหรับผลงานวิจัยเรื่องความซับซ้อนของการคำนวณอุปสงค์และอุปทาน โดยเฉพาะในตลาดแรงงาน
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 52
ธนาคารกลางโปรตุเกสคาดเศรษฐกิจประเทศถดถอยในปีนี้
ธนาคารกลางโปรตุเกสคาดการณ์ว่า จีดีพีของประเทศ จะหดตัวลง 1.3% ในปีนี้ ซึ่งหากเป็นจริงดังคาด เศรษฐกิจโปรตุเกสก็จะกลับไปมีขนาดเท่ากับในปี 2552 หลังจากที่ขยายตัว 1.3% ในปี 2553
ปัจจัยหลักที่อาจทำให้เศรษฐกิจหดตัวคือ มาตรการทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลใช้รับมือกับวิกฤตหนี้สิน ซึ่งรวมไปถึงการขึ้นภาษี ลดค่าจ้าง และลดการใช้จ่ายภาครัฐ
อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโปรตุเกสเริ่มลดลงในช่วงไตรมาส 4/53 โดยในช่วงเวลาดังกล่าวกิจกรรมทางเศรษฐกิจหดตัวลง 0.1% จากที่ขยายตัว 0.2% ในไตรมาส 3 ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนก็หดตัว 0.5%
อย่างไรก็ดี การค้าระหว่างประเทศยังส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจโปรตุเกส โดยการส่งออกขยายตัว 13% และการนำเข้าเพิ่มขึ้น 4.5%
ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจเยอรมันพุ่งขึ้นทำสถิติใหม่
แม้หุ้นเอเชียจะร่วงลงหนักเมื่อวันศุกร์ แต่ก็มีข่าวดีที่ออกมาจากทางฝั่งยุโรป เมื่อผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมันพุ่งขึ้นทำสถิติใหม่ในเดือนมกราคม จากการขยายตัวของสินค้าส่งออกที่มายังเอเชีย รวมถึงการที่ผู้บริโภคยอมควักเงินจับจ่ายกันมากขึ้น
สถาบันวิจัยธุรกิจ ifo เผยว่า Business climate index ซึ่งสำรวจความเห็นผู้บริหาร 7,000 คน เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เยอรมนีรวมประเทศในปี 1991 ขณะนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าดัชนีดังกล่าวจะออกมาทรงตัว
เศรษฐกิจของเยอรมันขยายตัวทำสถิติใหม่ ที่ 3.6% เมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากการว่างงานที่ลดลง และผู้บริโภคใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่บริษัทต่างๆ ลงทุนเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับดีมานด์การส่งออก
คาดกันว่าการเติบโตเยอรมันมีส่วนช่วยชดเชยสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในภูมิภาค ในช่วงที่ประเทศต่างๆ กำลังต้องใช้มาตรการรัดเข็มขัดเพื่อควบคุมการขาดดุลงบประมาณท่ามกลางวิกฤติหนี้
ประธานธนาคารกลางเยอรมัน Axel Weber กล่าวในสัปดาห์ที่แล้วว่า ประเทศได้ประโยชน์ค่อนข้างมากจากการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชีย
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
ธนาคารกลางโปรตุเกสคาดการณ์ว่า จีดีพีของประเทศ จะหดตัวลง 1.3% ในปีนี้ ซึ่งหากเป็นจริงดังคาด เศรษฐกิจโปรตุเกสก็จะกลับไปมีขนาดเท่ากับในปี 2552 หลังจากที่ขยายตัว 1.3% ในปี 2553
ปัจจัยหลักที่อาจทำให้เศรษฐกิจหดตัวคือ มาตรการทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลใช้รับมือกับวิกฤตหนี้สิน ซึ่งรวมไปถึงการขึ้นภาษี ลดค่าจ้าง และลดการใช้จ่ายภาครัฐ
อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโปรตุเกสเริ่มลดลงในช่วงไตรมาส 4/53 โดยในช่วงเวลาดังกล่าวกิจกรรมทางเศรษฐกิจหดตัวลง 0.1% จากที่ขยายตัว 0.2% ในไตรมาส 3 ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนก็หดตัว 0.5%
อย่างไรก็ดี การค้าระหว่างประเทศยังส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจโปรตุเกส โดยการส่งออกขยายตัว 13% และการนำเข้าเพิ่มขึ้น 4.5%
ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจเยอรมันพุ่งขึ้นทำสถิติใหม่
แม้หุ้นเอเชียจะร่วงลงหนักเมื่อวันศุกร์ แต่ก็มีข่าวดีที่ออกมาจากทางฝั่งยุโรป เมื่อผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมันพุ่งขึ้นทำสถิติใหม่ในเดือนมกราคม จากการขยายตัวของสินค้าส่งออกที่มายังเอเชีย รวมถึงการที่ผู้บริโภคยอมควักเงินจับจ่ายกันมากขึ้น
สถาบันวิจัยธุรกิจ ifo เผยว่า Business climate index ซึ่งสำรวจความเห็นผู้บริหาร 7,000 คน เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เยอรมนีรวมประเทศในปี 1991 ขณะนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าดัชนีดังกล่าวจะออกมาทรงตัว
เศรษฐกิจของเยอรมันขยายตัวทำสถิติใหม่ ที่ 3.6% เมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากการว่างงานที่ลดลง และผู้บริโภคใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่บริษัทต่างๆ ลงทุนเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับดีมานด์การส่งออก
คาดกันว่าการเติบโตเยอรมันมีส่วนช่วยชดเชยสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในภูมิภาค ในช่วงที่ประเทศต่างๆ กำลังต้องใช้มาตรการรัดเข็มขัดเพื่อควบคุมการขาดดุลงบประมาณท่ามกลางวิกฤติหนี้
ประธานธนาคารกลางเยอรมัน Axel Weber กล่าวในสัปดาห์ที่แล้วว่า ประเทศได้ประโยชน์ค่อนข้างมากจากการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชีย
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 53
อังกฤษเผยจีดีพีไตรมาส 4/53 หดตัว 0.5%
สำนักงานสถิติอังกฤษเปิดเผยว่า จีดีพี ของอังกฤษในไตรมาส 4/53 หดตัวลง 0.5% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่ฟื้นตัวจากวิกฤติได้ในช่วงไตรมาส 3/52
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจอังกฤษไตรมาส 4 หดตัวลงเหนือความคาดหมาย เนื่องมาจาก (1) ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างดิ่งลง นอกจากนี้ (2) สภาพอากาศที่หนาวเย็นที่สุดในรอบ 100 ปีเมื่อเดือนธ.ค. ได้ส่งผลกระทบต่อภาคบริการและค้าปลีก
ภาคก่อสร้างหดตัว 3.3% ในไตรมาส 4/53 จากไตรมาส 3/53 ส่วนภาคบริการ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 76% ของเศรษฐกิจนั้น ลดลง 0.5%
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
สำนักงานสถิติอังกฤษเปิดเผยว่า จีดีพี ของอังกฤษในไตรมาส 4/53 หดตัวลง 0.5% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่ฟื้นตัวจากวิกฤติได้ในช่วงไตรมาส 3/52
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจอังกฤษไตรมาส 4 หดตัวลงเหนือความคาดหมาย เนื่องมาจาก (1) ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างดิ่งลง นอกจากนี้ (2) สภาพอากาศที่หนาวเย็นที่สุดในรอบ 100 ปีเมื่อเดือนธ.ค. ได้ส่งผลกระทบต่อภาคบริการและค้าปลีก
ภาคก่อสร้างหดตัว 3.3% ในไตรมาส 4/53 จากไตรมาส 3/53 ส่วนภาคบริการ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 76% ของเศรษฐกิจนั้น ลดลง 0.5%
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 54
สเปนเตรียมปฏิรูประบบบำเน็จบำนาญ-เพิ่มการเกษียณอายุ
รัฐบาลสเปนประกาศแผนการปฏิรูประบบบำเน็จบำนาญ ด้วยการเพิ่มการเกษียณอายุงานตามกฎหมายเป็น 67 ปี จากเดิม 65 ปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการรัดเข็มขัดที่มีเป้าหมายที่จะลดยอดขาดดุลงบประมาณและการใช้จ่ายของรัฐบาล
การใช้มาตรการรัดเข็มขัดของสเปนส่งผลให้เทรดเดอร์ในตลาดการเงินเกิดความไม่มั่นใจ โดยกังวลว่าสเปนอาจเผชิญกับปัญหาหนี้สาธารณะที่สูงขึ้น หลังจากรัฐบาลสเปนระดมทุนในตลาดการเงินด้วยการขายพันธบัตรมูลค่า 2,200 ล้านยูโรในช่วงกลางเดือนม.ค.
แผนการเพิ่มเกษียณอายุงานยังคงต้องรอการอนุมัติจากรัฐสภาสเปน โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติมองว่า แผนการปฏิรูปฉบับนี้มีความซับซ้อนและอาจจะต้องมีการอภิปรายหลายครั้งในสภา โดยคาดว่ารัฐบาลจะสามารถบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ในปี 2556
แองเจล เกอร์เรีย เลขาธิการ OECD กล่าวว่า "แผนการปฏิรูปฉบับนี้ถือเป็นย่างก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนของการใช้จ่ายด้านสาธารณะ และที่สำคัญก็คือแผนปฏิรูปฉบับดังกล่าวถูกร่างขึ้นด้วยความเห็นชอบของรัฐบาลและสภาพแรงงานในสเปน"
OECD กล่าวว่า การเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการคลัง จะช่วยให้สเปนสามารถหลีกเลี่ยงวิกฤตหนี้สาธารณะแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในกรีซและไอร์แลนด์ และการปฏิรูประบบบำเน็จบำนาญและการเพิ่มอายุการเกษียณงาน ถือเป็นหนึ่งในมาตรการที่จำเป็นสำหรับสเปนด้วย
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
รัฐบาลสเปนประกาศแผนการปฏิรูประบบบำเน็จบำนาญ ด้วยการเพิ่มการเกษียณอายุงานตามกฎหมายเป็น 67 ปี จากเดิม 65 ปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการรัดเข็มขัดที่มีเป้าหมายที่จะลดยอดขาดดุลงบประมาณและการใช้จ่ายของรัฐบาล
การใช้มาตรการรัดเข็มขัดของสเปนส่งผลให้เทรดเดอร์ในตลาดการเงินเกิดความไม่มั่นใจ โดยกังวลว่าสเปนอาจเผชิญกับปัญหาหนี้สาธารณะที่สูงขึ้น หลังจากรัฐบาลสเปนระดมทุนในตลาดการเงินด้วยการขายพันธบัตรมูลค่า 2,200 ล้านยูโรในช่วงกลางเดือนม.ค.
แผนการเพิ่มเกษียณอายุงานยังคงต้องรอการอนุมัติจากรัฐสภาสเปน โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติมองว่า แผนการปฏิรูปฉบับนี้มีความซับซ้อนและอาจจะต้องมีการอภิปรายหลายครั้งในสภา โดยคาดว่ารัฐบาลจะสามารถบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ในปี 2556
แองเจล เกอร์เรีย เลขาธิการ OECD กล่าวว่า "แผนการปฏิรูปฉบับนี้ถือเป็นย่างก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนของการใช้จ่ายด้านสาธารณะ และที่สำคัญก็คือแผนปฏิรูปฉบับดังกล่าวถูกร่างขึ้นด้วยความเห็นชอบของรัฐบาลและสภาพแรงงานในสเปน"
OECD กล่าวว่า การเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการคลัง จะช่วยให้สเปนสามารถหลีกเลี่ยงวิกฤตหนี้สาธารณะแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในกรีซและไอร์แลนด์ และการปฏิรูประบบบำเน็จบำนาญและการเพิ่มอายุการเกษียณงาน ถือเป็นหนึ่งในมาตรการที่จำเป็นสำหรับสเปนด้วย
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 55
EU จ่อพิจารณาปรับกองทุนช่วยเหลือวิกฤติหนี้
สื่อหัวใหญ่ Financial Times เผยว่า เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของประเทศในยุโรปกำลังพูดคุยเจรจากันในเรื่องการปฏิรูปกองทุนเงินช่วยเหลือวิกฤติหนี้ ที่มีมูลค่า 440,000 ล้านยูโร เพื่อแลกเปลี่ยนกับมาตรการรัดเข็มขัดและการถูกตรวจสอบที่เข้มงวด
ทางด้านสำนักข่าวรอยเตอร์ก่อนหน้านี้ก็ได้รายงานเช่นกันว่า อียูกำลังพิจารณาขยายวงเงินกู้ช่วยเหลือในกรณีของกรีซและไอร์แลนด์ ให้มีอายุนานถึง 30 ปี ด้วยความหวังที่จะรับมือกับวิกฤติหนี้ในภูมิภาค
นาย John Lipsky ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ บอกว่า กรณีของกรีซและไอร์แลนด์นั้น ถือเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบาก พร้อมกับบอกด้วยว่าการขยายเงินกู้ให้แก่ทั้งสองประเทศ ไม่ได้รับประกันถึงความสำเร็จใดๆ ด้วย และก็เป็นเรื่องที่ยากที่จะฟันธงว่ามาตรการช่วยเหลือด้านเงินกู้ของ EU และ IMF จะประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีหลายตัวแปรที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
เงินเฟ้อยูโรโซนขยายตัวสูงเกินคาดในเดือนม.ค.
สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือ ยูโรสแตท เปิดเผยว่า ราคาผู้บริโภคในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร 17 ประเทศ ปรับตัวขึ้นแตะ 2.4% ในเดือนมกราคม ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งเดือนที่ตัวเลขเงินเฟ้ออยู่สูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรป (ECB)
ราคาผู้บริโภคที่ได้รับการเปิดเผยล่าสุดนี้ถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 2.3% โดยการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมกราคม มีขึ้นก่อนที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายของ ECB จะประชุมเพื่อหารือเรื่องอัตราดอกเบี้ยในวันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์นี้
ในการประชุมเดือนที่แล้ว ECB มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1% ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นเดือนที่ 20 ขณะที่นายฌอง-คล้อด ทริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวภายหลังการประชุมว่า ยุโรปกำลังเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อมากขึ้นจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น
ยอดค้าปลีกเยอรมนีทำสถิติร่วง 2 เดือนซ้อน
สำนักงานสถิติของเยอรมนีเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกของประเทศร่วงลงโดยไม่ได้คาดหมายในเดือนธ.ค. และเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
ยอดค้าปลีกที่มีการปรับตามฤดูกาลและเงินเฟ้อลดลง 0.3% จากเดือนพ.ย.ที่ร่วงลง 1.9%
อเล็กซานเดอร์ คอช นักวิเคราะห์จากยูนิเครดิตกล่าวว่า นักวิเคราะห์คาดว่ายอดค้าปลีกของเยอรมนีจะเพิ่มขึ้น 2% แต่สภาพอากาศที่หนาวเย็นในฤดูหนาวทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากเก็บตัวอยู่ในบ้าน
ขณะเดียวกัน สำนักงานสถิติรายงานด้วยว่า ยอดค้าส่งของเยอรมนีขยายตัว 11.3% ในปี 2553 เมื่อคำนวณตามมูลค่าปกติ และเพิ่มขึ้น 6% เมื่อคำนวณตามมูลค่าที่แท้จริง ซึ่งไม่รวมผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ เมื่อเทียบกับปี 2552
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
สื่อหัวใหญ่ Financial Times เผยว่า เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของประเทศในยุโรปกำลังพูดคุยเจรจากันในเรื่องการปฏิรูปกองทุนเงินช่วยเหลือวิกฤติหนี้ ที่มีมูลค่า 440,000 ล้านยูโร เพื่อแลกเปลี่ยนกับมาตรการรัดเข็มขัดและการถูกตรวจสอบที่เข้มงวด
ทางด้านสำนักข่าวรอยเตอร์ก่อนหน้านี้ก็ได้รายงานเช่นกันว่า อียูกำลังพิจารณาขยายวงเงินกู้ช่วยเหลือในกรณีของกรีซและไอร์แลนด์ ให้มีอายุนานถึง 30 ปี ด้วยความหวังที่จะรับมือกับวิกฤติหนี้ในภูมิภาค
นาย John Lipsky ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ บอกว่า กรณีของกรีซและไอร์แลนด์นั้น ถือเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบาก พร้อมกับบอกด้วยว่าการขยายเงินกู้ให้แก่ทั้งสองประเทศ ไม่ได้รับประกันถึงความสำเร็จใดๆ ด้วย และก็เป็นเรื่องที่ยากที่จะฟันธงว่ามาตรการช่วยเหลือด้านเงินกู้ของ EU และ IMF จะประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีหลายตัวแปรที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
เงินเฟ้อยูโรโซนขยายตัวสูงเกินคาดในเดือนม.ค.
สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือ ยูโรสแตท เปิดเผยว่า ราคาผู้บริโภคในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร 17 ประเทศ ปรับตัวขึ้นแตะ 2.4% ในเดือนมกราคม ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งเดือนที่ตัวเลขเงินเฟ้ออยู่สูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรป (ECB)
ราคาผู้บริโภคที่ได้รับการเปิดเผยล่าสุดนี้ถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 2.3% โดยการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมกราคม มีขึ้นก่อนที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายของ ECB จะประชุมเพื่อหารือเรื่องอัตราดอกเบี้ยในวันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์นี้
ในการประชุมเดือนที่แล้ว ECB มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1% ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นเดือนที่ 20 ขณะที่นายฌอง-คล้อด ทริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวภายหลังการประชุมว่า ยุโรปกำลังเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อมากขึ้นจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น
ยอดค้าปลีกเยอรมนีทำสถิติร่วง 2 เดือนซ้อน
สำนักงานสถิติของเยอรมนีเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกของประเทศร่วงลงโดยไม่ได้คาดหมายในเดือนธ.ค. และเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
ยอดค้าปลีกที่มีการปรับตามฤดูกาลและเงินเฟ้อลดลง 0.3% จากเดือนพ.ย.ที่ร่วงลง 1.9%
อเล็กซานเดอร์ คอช นักวิเคราะห์จากยูนิเครดิตกล่าวว่า นักวิเคราะห์คาดว่ายอดค้าปลีกของเยอรมนีจะเพิ่มขึ้น 2% แต่สภาพอากาศที่หนาวเย็นในฤดูหนาวทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากเก็บตัวอยู่ในบ้าน
ขณะเดียวกัน สำนักงานสถิติรายงานด้วยว่า ยอดค้าส่งของเยอรมนีขยายตัว 11.3% ในปี 2553 เมื่อคำนวณตามมูลค่าปกติ และเพิ่มขึ้น 6% เมื่อคำนวณตามมูลค่าที่แท้จริง ซึ่งไม่รวมผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ เมื่อเทียบกับปี 2552
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 56
ECB ระงับการซื้อบอนด์ยูโรโซน เหตุวิกฤติหนี้เริ่มมีสัญญาณดีขึ้น
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ระงับการซื้อพันธบัตรรัฐบาลยูโรโซนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น เกี่ยวกับวิกฤติหนี้ในภูมิภาค และก็จะเป็นช่วงเวลาที่จะให้ ECB หันไปสนใจแรงกดดันจากเงินเฟ้อมากขึ้น
ECB ระบุว่า โครงการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ได้เริ่มกันมาตั้งแต่ปีที่แล้วเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับค่าเงินยูโรนั้น ได้ถูกระงับลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และ ถือว่าเป็นการหยุดครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ต.ค. ปีที่แล้ว
ตัวเลขของทางการยุโรปที่เปิดเผยออกมาเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาระบุว่า เงินเฟ้อของยูโรโซนนั้นทะยานขึ้น แตะระดับ 2.4% ในเดือน ม.ค. ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปี และสูงกว่ากรอบเงินเฟ้อของ ECB ที่ระดับ 2% อย่างไรก็ดี ตลาดคาดการณ์ว่าการประชุม ECB ในวันพฤหัสนี้นั้น ECB จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 1% ต่อไป
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ระงับการซื้อพันธบัตรรัฐบาลยูโรโซนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น เกี่ยวกับวิกฤติหนี้ในภูมิภาค และก็จะเป็นช่วงเวลาที่จะให้ ECB หันไปสนใจแรงกดดันจากเงินเฟ้อมากขึ้น
ECB ระบุว่า โครงการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ได้เริ่มกันมาตั้งแต่ปีที่แล้วเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับค่าเงินยูโรนั้น ได้ถูกระงับลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และ ถือว่าเป็นการหยุดครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ต.ค. ปีที่แล้ว
ตัวเลขของทางการยุโรปที่เปิดเผยออกมาเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาระบุว่า เงินเฟ้อของยูโรโซนนั้นทะยานขึ้น แตะระดับ 2.4% ในเดือน ม.ค. ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปี และสูงกว่ากรอบเงินเฟ้อของ ECB ที่ระดับ 2% อย่างไรก็ดี ตลาดคาดการณ์ว่าการประชุม ECB ในวันพฤหัสนี้นั้น ECB จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 1% ต่อไป
ติดตาม Money Insight ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ทาง Money Channel
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 57
S&P คงอันดับเครดิตสเปนที่ระดับ AA
Posted on Wednesday, February 02, 2011
แสตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนที่ระดับ AA หลังเชื่อว่าการปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญจะช่วยให้ประหยัดเงินงบประมาณได้อย่างมีนัยสำคัญ
ขณะเดียวกันเอสแอนด์พีได้คงมุมมองอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนที่ระดับ เชิงลบ ต่อไป พร้อมระบุว่า การปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญของสเปนจะทำให้การขาดดุลงบประมาณของสเปนอยู่ในกรอบเป้าหมายไม่เกิน 9.3% ของจีดีพีตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ในปีที่ผ่านมา และไม่เกิน 6% ในปีนี้
ทั้งนี้ เอสแอนด์พีคาดการณ์ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจสเปนในปีนี้ จะอยู่ที่ระดับ 0.7% จากที่ขยายตัว 1.3% ในปีที่ผ่านมา
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
Posted on Wednesday, February 02, 2011
แสตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนที่ระดับ AA หลังเชื่อว่าการปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญจะช่วยให้ประหยัดเงินงบประมาณได้อย่างมีนัยสำคัญ
ขณะเดียวกันเอสแอนด์พีได้คงมุมมองอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนที่ระดับ เชิงลบ ต่อไป พร้อมระบุว่า การปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญของสเปนจะทำให้การขาดดุลงบประมาณของสเปนอยู่ในกรอบเป้าหมายไม่เกิน 9.3% ของจีดีพีตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ในปีที่ผ่านมา และไม่เกิน 6% ในปีนี้
ทั้งนี้ เอสแอนด์พีคาดการณ์ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจสเปนในปีนี้ จะอยู่ที่ระดับ 0.7% จากที่ขยายตัว 1.3% ในปีที่ผ่านมา
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 58
ผู้นำ EU เตรียมถกแผนรับวิกฤติหนี้
ก่อนการประชุมสุดยอดของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป จะเกิดขึ้นในวันศุกร์นี้ (4 ก.พ.) ที่กรุงบรัสเซลส์ บรรดาผู้นำของประเทศต่างๆ ก็กำลังเตรียมตัวหาทางออกสำหรับวิกฤติหนี้ที่เกิดขึ้น พร้อมๆ กับการปกป้องค่าเงินยูโรที่กำลังถูกกดดันอยู่ในขณะนี้
Bloomberg รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า เยอรมนี ในฐานะที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในบรรดา 17 ชาติยูโรโซน เริ่มเผยถึงท่าทีที่ต้องการขยายขอบเขตการให้ความช่วยเหลือ พร้อมกับเงื่อนไขในการควบคุมสถานะการคลังของประเทศต่างๆ ที่เข้มงวดมากขึ้น
นักลงทุนตอนนี้ต่างเก็งกันว่า ประเทศในภูมิภาคน่าจะได้ข้อสรุปที่คืบหน้าในการขยายขอบเขตมาตรการต่างๆ สำหรับการจัดการกับปัญหาหนี้สินที่ดำเนินมาเป็นปีแล้ว โดยค่าเงินยูโรสามารถฟื้นขึ้นจนแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน ขณะที่ค่า risk premium ของพันธบัตรโปรตุเกสทำสถิติต่ำสุดใน 2 สัปดาห์
ความพยายามในการจัดการกับวิกฤติในภูมิภาค ถูกตอกย้ำโดยนายกรัฐมนตรี Angela Merkel ของเยอรมัน ที่ล่าสุดมีความเห็นในการประชุมที่เมืองดาวอสว่า พร้อมที่จะปกป้องเงินยูโร เช่นเดียวกับ ประธานาธิบดี Nicolas Sarkozy ของฝรั่งเศส ที่ย้ำว่า จะไม่ปล่อยให้เงินยูโรร่วงลงเป็นอันขาด
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
ก่อนการประชุมสุดยอดของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป จะเกิดขึ้นในวันศุกร์นี้ (4 ก.พ.) ที่กรุงบรัสเซลส์ บรรดาผู้นำของประเทศต่างๆ ก็กำลังเตรียมตัวหาทางออกสำหรับวิกฤติหนี้ที่เกิดขึ้น พร้อมๆ กับการปกป้องค่าเงินยูโรที่กำลังถูกกดดันอยู่ในขณะนี้
Bloomberg รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า เยอรมนี ในฐานะที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในบรรดา 17 ชาติยูโรโซน เริ่มเผยถึงท่าทีที่ต้องการขยายขอบเขตการให้ความช่วยเหลือ พร้อมกับเงื่อนไขในการควบคุมสถานะการคลังของประเทศต่างๆ ที่เข้มงวดมากขึ้น
นักลงทุนตอนนี้ต่างเก็งกันว่า ประเทศในภูมิภาคน่าจะได้ข้อสรุปที่คืบหน้าในการขยายขอบเขตมาตรการต่างๆ สำหรับการจัดการกับปัญหาหนี้สินที่ดำเนินมาเป็นปีแล้ว โดยค่าเงินยูโรสามารถฟื้นขึ้นจนแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน ขณะที่ค่า risk premium ของพันธบัตรโปรตุเกสทำสถิติต่ำสุดใน 2 สัปดาห์
ความพยายามในการจัดการกับวิกฤติในภูมิภาค ถูกตอกย้ำโดยนายกรัฐมนตรี Angela Merkel ของเยอรมัน ที่ล่าสุดมีความเห็นในการประชุมที่เมืองดาวอสว่า พร้อมที่จะปกป้องเงินยูโร เช่นเดียวกับ ประธานาธิบดี Nicolas Sarkozy ของฝรั่งเศส ที่ย้ำว่า จะไม่ปล่อยให้เงินยูโรร่วงลงเป็นอันขาด
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 59
S&P ลดเครดิตไอร์แลนด์เหลือ A-
Posted on Thursday, February 03, 2011
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของพันธบัตรรัฐบาลไอร์แลนด์ ลง 1 ขั้น มาอยู่ที่ระดับ A- จากระดับ A เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานะทางการเงินในภาคธนาคารของไอร์แลนด์
นอกจากนี้ S&P ยังคงให้แนวโน้มความน่าเชื่อถือของไอร์แลนด์เป็น "เชิงลบ" บ่งชี้ว่า มีความเป็นไปได้ที่ S&P จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไอร์แลนด์ลงอีก โดยภายในเดือนเมษายนนี้ S&P จะตัดสินใจว่า จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไอร์แลนด์ลงอีกหรือไม่ หลังจากที่ได้ตรวจสอบผลกระทบ จากการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินของรัฐบาล
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
Posted on Thursday, February 03, 2011
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของพันธบัตรรัฐบาลไอร์แลนด์ ลง 1 ขั้น มาอยู่ที่ระดับ A- จากระดับ A เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานะทางการเงินในภาคธนาคารของไอร์แลนด์
นอกจากนี้ S&P ยังคงให้แนวโน้มความน่าเชื่อถือของไอร์แลนด์เป็น "เชิงลบ" บ่งชี้ว่า มีความเป็นไปได้ที่ S&P จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไอร์แลนด์ลงอีก โดยภายในเดือนเมษายนนี้ S&P จะตัดสินใจว่า จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไอร์แลนด์ลงอีกหรือไม่ หลังจากที่ได้ตรวจสอบผลกระทบ จากการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินของรัฐบาล
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามวิกฤติยุโรป
โพสต์ที่ 60
คาดอีซีบีอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อคุมเงินเฟ้อก่อนสหรัฐฯ
วันพฤหัสบดีที่ 03 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 13:51 น.
นักวิเคราะห์คาดว่าอีซีบีอาจจะตัดสินใจประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อก่อนสหรัฐฯ หลังจากยูโรสแตท เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร 17 ประเทศ ปรับตัวขึ้นแตะ 2.4% ในเดือนมกราคม ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งเดือนที่ตัวเลขเงินเฟ้ออยู่สูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) หลังจากที่ขยายตัว 2.2% ในเดือนธันวาคม ทั้งนี้ การเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมกราคม มีขึ้นก่อนที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายของอีซีบีจะประชุมเพื่อหารือเรื่องอัตราดอกเบี้ยในวันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์นี้ ส่วนในการประชุมเดือนที่แล้ว อีซีบีมีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1% ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นเดือนที่ 20 ขณะที่นายฌอง-คล้อด ทริเชต์ ประธานอีซีบีกล่าวภายหลังการประชุมว่า ยุโรปกำลังเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อมากขึ้นในระยะสั้น ซึ่งสาเหตุหลักมาจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=525
วันพฤหัสบดีที่ 03 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 13:51 น.
นักวิเคราะห์คาดว่าอีซีบีอาจจะตัดสินใจประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อก่อนสหรัฐฯ หลังจากยูโรสแตท เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร 17 ประเทศ ปรับตัวขึ้นแตะ 2.4% ในเดือนมกราคม ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งเดือนที่ตัวเลขเงินเฟ้ออยู่สูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) หลังจากที่ขยายตัว 2.2% ในเดือนธันวาคม ทั้งนี้ การเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมกราคม มีขึ้นก่อนที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายของอีซีบีจะประชุมเพื่อหารือเรื่องอัตราดอกเบี้ยในวันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์นี้ ส่วนในการประชุมเดือนที่แล้ว อีซีบีมีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1% ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นเดือนที่ 20 ขณะที่นายฌอง-คล้อด ทริเชต์ ประธานอีซีบีกล่าวภายหลังการประชุมว่า ยุโรปกำลังเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อมากขึ้นในระยะสั้น ซึ่งสาเหตุหลักมาจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=525