เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
sarawut_p
Verified User
โพสต์: 304
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 31

โพสต์

ลองทานรสน้ำผึ้่งวันนี้ รสจัดและหวานแสบคอไปหน่อย สัมผัสถึงรสชาติชาเขียวไม่ได้เลยครับ
Go within, be at peace.
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 32

โพสต์

ถ้าใครดื่มชาเขียวกันจริงๆแล้ว
ทุกยี่ห้อในตลาดนั้น แทบเรียกได้ว่าไม่ใช่ชาเขียวเลยอ่ะ

ผมลองชาเขียวที่ใส่ซองมาชงดู มันมีสีเขียวทุกยี่ห้อสำหรับชาเขียว
ไม่ว่านำเข้ามาจากญี่ปุ่นเองหรือชาเมืองไทยที่เรียกว่าชาเขียวก็ตาม

ส่วนชาขาวยังคงมีสีสันเหมือนชาดำอยู่ แต่ชาเขียวนั้นสีสันยังมีสีเขียวอยู่
บ้างทิ้งไว้นานขมอีกต่างหาก

ส่วนที่ชอบมาสุดคือชากุหลาบ หอมครับแต่ของยูนิฟ ตัวใหม่รสชาิติไม่ได้เรื่อง
หอมก็ไม่ค่อยหอมล่ะ เสียเงินซื้ออย่างอื่นๆดีกว่า
:)
:)
Jarut
Verified User
โพสต์: 9
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 33

โพสต์

ไว้ต้องไปลองกินดู ผมชอบคุณตันครับ เก่งจากข้างในกันเลยทีเดียว :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
^^
Verified User
โพสต์: 519
ผู้ติดตาม: 1

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 34

โพสต์

ซื้อมาแล้วครับ แต่เป็นโออิชินะ....แป่ว
Side effect ได้กินโออิชิถูกลง
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
ภาพประจำตัวสมาชิก
MO101
Verified User
โพสต์: 3226
ผู้ติดตาม: 1

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 35

โพสต์

วันนี้ไปลองสำรวจมาแล้วครับ
ชั้นวางของ 7-11 โออิชิเจ้าเดิม มี 7 ส่วนอิชิตันมี 3
ขอเปรียบเทียบชาเขียว 2 ยี่ห้อดังนี้
1. ขวดของอิชิตันไม่มีพลาสติกหุ้ม ซึ่งน้ำดืมราคาถูกกว่ามากยังมี
2. ปากขวดไม่มีพลาสติกสีขาวแสดงว่าไม่ได้บรรจุโดยใช้ความร้อน นั่นคือใช้เทคโนโลยีด้อยกว่าของโออิชิ
3. ตัวขวด ทรง 8 เหลี่ยมเหมือนกันแ่ต่บรรจุน้อยกว่าคือบรรจุ 420 ml โออิชิ 500ml ต่างกันกว่า 10%
4. คาเฟอีน ขวดหนึ่งประมาณ 50 mm สามารถดื่มได้ประมาณ 4 ขวด/วัน เท่ากันกับโออิชิแม้ปริมาณจะน้อยกว่า
มองจาก 4 ข้อข้างต้นแล้วต้นทุนของอิชิตัน ถูกกว่าโออิชิประมาณ 10%
ที่แปลกคือเบอร์รองๆ ไม่คิดต่อกรเลย ปล่อยไว้แบบนี้ผมว่าเบอร์รองๆ ทางด้านชาเขียวโดนตัดจบแน่นอน

อีกเรื่องที่ควรระวัง 7-11 ห้ามถ่ายรูปนะ แอบถ่ายมาแบบนี้จะโดนอะไรบ้างก็ไม่รู้ระวังไว้หน่อย
ภาพประจำตัวสมาชิก
simplelife
Verified User
โพสต์: 756
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 36

โพสต์

MO101 เขียน:ชั้นวางของ 7-11 โออิชิเจ้าเดิม มี 7 ส่วนอิชิตันมี 3

มองจาก 4 ข้อข้างต้นแล้วต้นทุนของอิชิตัน ถูกกว่าโออิชิประมาณ 10%
อิชิตันมีน้อยกว่าไม่ได้แปลว่าขายดีกว่าอย่างเดียวนะครับ อาจจะแปลได้ว่า
1. 7 สั่งมาน้อยกว่า เพราะกลัวขายไม่ออก หรือขายจน oishi restock ไปแล้วรอบนึง ishitan ยังขายไม่ถึง trigger
2. หรือ production line หรือ สายส่งที่ ishitan ใช้มีประสิทธิภาพน้อยกว่า สั่งแล้วของเข้าช้ากว่า

ส่วนอีกเรื่องผมว่า ต้นทุนของอิชิตัน เผลอๆแพงกว่าโออิชิอีก อิชิตันเสียเปรียบหลายชั้นมาก เพราะว่า
1. อิชิตันจ้างเขาผลิตแค่ตีตราขาย โออิชิผลิตเองอยู่แล้ว กำไรทั้งผลิต ทั้งขาย
2. ประสิทธิภาพสายส่ง โดยอย่างยิ่งเฉพาะการขายที่อยู่นอก 7-11 ในขณะที่ oishi ใช้เสริมสุข ซึ่งคุณเจริญก็ถือหุ้น คุณตันจะไปใช้บริการเสริมสุขก็คงจะยากหน่อย ถ้าขายให้ 7-11 ก็อาจจะแค่ส่งตาม distribution center แต่ถ้าอยากขายข้างนอกหล่ะ โดยเฉพาะต่างจังหวัดจะเอาปัญญาที่ไหนไปส่ง อย่าลืมว่าค่าขนส่งเป็นต้นทุนหลักของน้ำดื่มขวดสำเร็จรูป หมายความว่าค่าขนส่งพวกนี้น่าจะประมาณ 10% ของราคาขายชาเขียวทีเดียว หลายปีก็มีชาเขียวอะไรผมจำไม่ได้นัก "นะมาชะ"? ที่ลงทุนจ้างพี่เบิร์ดมา present ก็ยังล้มไม่เป็นท่า เพราะว่าเรื่อง distributor
3. economy of scale ถ้าเจอ โออิชิ ยอดขายซัก 1 ล้านขวดต่อเดือน ทำโปรแจกตั๋วเครื่องบินราคาซักแสน รางวัลรวมซักล้านนึง ในขณะที่อิชิตัน ยอดขายซัก 1 แสนขวด จะทำโปรเดียวกันได้หรือครับ ถ้าลดขนาดรางวัลลงมา ลูกค้าก็หนี

ผมเองไม่เข้าใจจริงๆ ว่าคุณตันเขาคิดอะไร ที่ทำได้ก็แค่ ขอให้คุณตันโชคดีครับ
"I believe what I said yesterday. I don't know what I said, but I know what I think... and I assume it's what I said." -- Donald Rumsfeld
ภาพประจำตัวสมาชิก
cashcycle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 329
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 37

โพสต์

ได้ลองรสเก๊กฮวยแล้วครับ ชอบมากๆ ดีกว่า Double Drink เยอะเลยครับ
รู้สึกเหมือนของ Ichitan จะหวานน้อยกว่าของโออิชินะครับ ไม่รู้รู้สึกไปเองรึเปล่า :oops:
"One good day out of 365 does not make a champion - It takes a lifetime of dedication." - Adam Copeland
ภาพประจำตัวสมาชิก
simplelife
Verified User
โพสต์: 756
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 38

โพสต์

http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000064092

เอารายละเอียดมาให้อ่านเพิ่ม
1. distributor ใช้ดีทแฮล์มเจ้าเก่า (ปัจจุบันชื่อ DKSH) เมื่อก่อนโออิชิก็ใช้ดีทแฮล์มทำตลาดโมเดิร์นเทรด
2. เตรียมสร้างโรงงานราคา 2400 ล้าน เสร็จปลายปีนี้

สรุปว่า ต้องรอดูต่อไปครับ
"I believe what I said yesterday. I don't know what I said, but I know what I think... and I assume it's what I said." -- Donald Rumsfeld
patongpa
Verified User
โพสต์: 1904
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 39

โพสต์

อ่านดูก็พอเข้าใจเหตุผลนะครับว่าทำไมคุณตันถึงต้องกลับมาทำชาเขียวอีก แต่ๆๆ ถามจริงๆเหอะครับ เก่งๆฉลาดเป็นกรดแบบคุณตันตอนขายโออิชิให้เสี่ยเจริญไปน่ะ ไม่ได้คาดการณ์อนาคตหรือครับว่าวันนึงจะต้องโดนกดดันจากคนของเสี่ย แล้วก็จะต้องโดนเฉดออกมา ผมว่าคุณตันก็มองออกแหละครับว่าเสี่ยเจริญยังไงก็ต้องยึดอำนาจเบ็ดเสร็จแน่ๆหลังครบ 3ปีที่ยังให้คุณตันป้วนเปี้ยนในบริษัท ดังนั้นการออกมาทำอิชิตันแข่งเนี่ยเป็นแผนที่คิดไว้แล้วตั้งแต่หลายปีก่อนครับ

ผมว่านิยายเรื่องนี้ก็เหมือนอ่านเรื่องชาวนากับงูเห่าภาคชาเขียวแค่นั้นเอง ถ้าคุณตันแกดีจริงเก่งจริงก็ไม่ควรกลับมาทำธุรกิจเซคเตอร์นี้อีก ทำแบบนี้เหมือนพวกหลอกลวงต้มตุ๋นซะมากกว่าจะพยามเอาข้ออ้างหาความชอบธรรมว่าทำเพราะโดนเด็กรุ่นใหม่ของเสี่ยดูถูกก็เหอะ แต่ในเมื่อขายแบรนให้เค้าไปแล้วก็ควรจะจบบทบาทของตัวเองลง นักการตลาดที่เก่งจริงๆไปขายอะไรก็ได้ครับ เช่นคุณธนาแห่งค่ายดีแทค พอออกจากดีแทคก็ไปขายกางเกงยีนเฉยเลย ทั้งที่จะไปอยู่แอดวานหรือทรูผมว่าเค้าก็ยินดีต้อนรับนะ แต่เค้าคงตัดสินใจไม่ไปเอง คนเก่งต้องมีคุณธรรม เวลาดูพวกซีรี่หนังจีนสังเกตดูแรกๆพวกตัวร้ายมักจะเก่งฉลาดกว่าพระเอกเสมอ พระเอกมักจะเป็นพวกซื่อมีคุณธรรมดีแสนดี โดนกลั่นแกล้ง แต่ตอนจบของหนังส่วนมากจะหักมุมให้พระเอกก็มักจะชนะเสมอด้วยความมีคุณธรรม ในชีวิตจริงไม่เป็นยังงั้นเพราะเราไม่สามารถแยกออกได้หรอกครับว่าใครคือพระเอกใครคือผู้ร้ายกันแน่ ผมแค่อยากขอเตือนว่าอย่ามองคุณตันดีเทพเกินไปนักเท่านั้นแหละครับ
Rovershearer
Verified User
โพสต์: 16
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 40

โพสต์

ในด้าน นักการตลาดแกเป็นไอดอลผม

ในด้าน ความเป็นบุคคล ขอไม่เอ่ย ไม่เชื่อไปถามคนชลบุรีดู
springs
Verified User
โพสต์: 49
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 41

โพสต์

อย่าลืมน่ะครับ ว่าตอนนี้อิชิตัน เพิ่งเริ่มทำตลาดเท่านั้น เรื่องของขุมกำลังอาจจะสู้ไม่ได้ในระยะสั้น แต่ในระยะยาวไม่แน่(เนื่องจากถ้าคุณตันคิดว่าสู้ไม่ได้ คงไม่กล้าลงมาฉะกับเจ้าใหญ่อย่าง โออิชิ แน่ๆ) ดังนั้นผมคิดว่าเร็วๆนี้น่าจะมีทีเด็ดปล่อยออกมาแน่ๆ ไทยเบฟจึงชิงตัดไฟตั้งแต่ต้นลมเสียก่อน นอกจากนี้ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ดีในการอัดโปรโมชั้น เนื่องจากเบอร์สองเองก็เริ่มรุกคืบมาเรื่อยๆ โดยใช้ตลาดชาขาว ชาดำเป็นกำลังหลักในการรุก อาจจะดูเหมือนเป็นคู่แข่งทางอ้อม แต่ก็สามารถมากินแชร์ชาเขียวได้บ้างบางส่วน ดังนั้นผมคิดว่าการที่โออิชิ นำกลยุทธ์เรื่องลดราคามาใช้ในขณะนี้เหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว 1) เพื่อกันไม่ให้คนเปลี่ยนไปกินชาชาว+ชาดำเพิ่มขึ้น 2)เพื่อกันให้อิชิตันทำการตลาดยากขึ้นกว่าเดิม
ภาพประจำตัวสมาชิก
MO101
Verified User
โพสต์: 3226
ผู้ติดตาม: 1

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 42

โพสต์

อัพเดตข้อมูลครับ
คุนตันเปลี่น FB ไปเรียบร้อย เป็น tanmaitan ไปแล้ว ไวเกินคาด

ข้อมูลคราวๆ
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... &subcatid=

จะเห็นว่า ยูนิฟ (4) เพียวริขุ(3) ไม่ได้เตรียมการรับน้องแต่อย่างใด
ประมาณการโฆษณาของ อิชิตัน นี่น่าจะมีงบสูงถึง 150 ล้าน ดูๆแล้วอันดับ 4 โดนแซงแน่นอนในปีนี้
ส่วนจะแซงอันดับ 3 ได้หรือไม่ก็ลองดูกันต่อไป
คาดว่าอิชิตันน่าจะมียอดถึงสิ้นปีนี้ 1000 ล้าน แล้วโรงงานใหม่ที่ลงทุนไป 2400 ล้านก็น่าจะเสร็จทันต้นปี
ดังนั้นต้นปีหน้า มีโรงงานใหม่ยอดขายปีหน้าส่าจะประมาณ 3-4000 ล้านซึ่งก็จะเป็นการสู้กัน ของ เบอร์ 1 2 กับอิชิตัน
ปีหน้ามันส์จริงๆ :D
thanadee
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 92
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 43

โพสต์

ผมว่าในแวดวงชาเขียวที่กล่าวอ้างคุณภาพกันในแต่ล่ะเจ้า มันได้คุณภาพจริงหรือเปล่า ที่รู้แน่ๆ ในแต่ละเดือนมีโทรศัพท์จาก กทม เพื่อสั่งซื้อชากันหลายร้อยกิโล เป็นชาจากมาเลย์มาแบ่งเป็นถุงๆเพื่อส่งต่อโดยรถไฟไป กทม ต้นทางแจ้งว่าเพื่อไปเข้าโรงงานผลิตชาเขียว อย่างนี้พอรู้เราเลยสงสัย คุณภาพจริงๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
chuakai
Verified User
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 44

โพสต์

ไอ้หย๋า ในตู้เย็นยังมีชาเขียวโออิชิ ราคาเก่าอยู่ 1 ขวด ติดดอยแล้วจ้า อิอิ :D
sarawut_p
Verified User
โพสต์: 304
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 45

โพสต์

chuakai เขียน:ไอ้หย๋า ในตู้เย็นยังมีชาเขียวโออิชิ ราคาเก่าอยู่ 1 ขวด ติดดอยแล้วจ้า อิอิ :D
เมื่อเช้าตอนนั่งรถเมล์ผมก็คิดว่าเิกิดร้านโชว์ห่วยของลุง ๆ ป้า ๆ ซื้อในราคาทุนไปก่อนหน้าราคาที่ยังไม่ลดหลาย ๆ ลังแล้ว เค้าจะขาดทุนขนาดไหนกัน
Go within, be at peace.
Delux
Verified User
โพสต์: 146
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 46

โพสต์

อิอิ รู้สึกคนในห้องชื่นชม คุณ ตัน จัง


ส่วนผมไม่ได้ชอบคนๆนี้เลย แต่ผมออกไปทางแนว กลัว มากกว่า คนคนนี้ผมดูแล้วเป็นนักการตลาดจริงๆ นักสร้างภาพตัวฉกาจ เป็นคนคิดเลขเก่ง อิอิ :mrgreen: สงสัยอาจจะระแวงมากไปก็ได้ครับ

มีสุภาษิต เจอ งู กับ เจอ แขก ให้ตีแขกก่อน แต่ถ้ามี ตัน ด้วย


ผมรีบหนีเลย กลัวครับ :B
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 47

โพสต์

เรื่องสายส่งไม่ต้องกลัวหรอก
จำตอนที่ยูนิฟเป็นเจ้าตลาด ส่งหนอนเขียวลงมาในตลาดชาเขียว
แต่เจอโอเอชิ ให้สายส่งแบบผูกติดกับรถแป๊บซี่ไม่พอบ้างแห่ง
มียี่ปั้วเลย ไม่ให้รถแป๊บซี่ส่งอ่ะ แบบว่าหมดเมื่อไรมีเติมให้ตลอด
แถมปลายปี เฉพาะร้านที่ขายมากๆและสายส่งด้วย ไปเลี้ยงแบบปิดโรงแรมเลี้ยงอีกต่างหาก
:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Unstablemind
Verified User
โพสต์: 405
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 48

โพสต์

Personally i think that Oishi cutting down the price to 16 baht is showing fear. They are afraid of losing market share. If they just kept the price of twenty baht. Its like basically showing weakness.

Tan is really scaring them for sure.
Its all about getting alpha.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 49

โพสต์

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id ... 5&gblog=15

อิชิตันชาเขียว - การย้อนเกล็ดโออิชิที่เจ็บแสบ ภาค6

การทำดีนั้น ไม่ว่าจะตั้งใจทำจากใจจริง หรือมีผลประโยชน์แอบแฝงก็ล้วนดีกว่าคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลย ดีกว่าการไม่ได้ออกแรงทำอะไร แล้วไปวิพากษ์วิจารณ์เขา

แต่เมื่อตันเลือกหนทางนี้แล้ว ย่อม ไม่อาจหวนกลับ ต้องยอมที่จะถูกสปอตไลท์สาดส่องไปในทุกพื้นที่ที่เดินทางไปถึง หากทำดีมีคนชื่นชม หากทำผิดพลาดก็ย่อมถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์ เพราะเขาคือ “ตัวอย่างที่ดีของสังคม” หรือว่า “ไอดอล” ของคนเป็นจำนวนมาก

เมื่ออิชิตันปรากฎตัวพร้อมด้วยเสียงวิจารณ์ในระดับหนึ่งว่า “ผิดมารยาททางธุรกิจ” แต่น่าจะมีหลายๆคนที่เคยชื่นชมเขา “ผิดหวัง” มากกว่า

จากเรื่องอื่นๆที่เคยย้ำในภารกิจเพื่อสังคมมาก่อนหน้านี้ ตอนนี้กลายเป็นการตอบคำถามว่า

เขาไม่เคยพูดว่าจะไม่กลับมาทำชาเขียวอีกแล้ว

ไม่ได้มีสัญญากับเจ้าสัวเจริญว่าจะไม่ทำชาเขียวมาแข่งด้วย

แค่รับปากว่าจะบริหารให้อย่างน้อย 3 ปี แต่ก็อยู่มา 5 ปี พร้อมดันตลาดชาเขียวมูลค่าถึงหมื่นล้านบาท

อิชิตันไม่ได้สนใจจะเป็นเบอร์หนึ่งของชาเขียว แต่จะเป็นผู้นำของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

และพยายามจะทำให้อิชิตันแตกต่างจากโออิชิ เมื่อเวลาตันพูดคำว่าชาเขียวก็จะต้องลงท้ายด้วยคำว่า “ออร์แกนิค” ทุกครั้ง

แต่คำตอบทุกอย่างเป็นการยืนยัน "ระดับความแค้นต่อโออิชิ" ว่าไม่ธรรมดา

ถ้าบอกว่าไม่แค้น แล้วจะทำชาเขียวแข่งกันทำไม

ถ้าแข่งกับตัวเองแล้วจะสร้างโรงงานมูลค่าสองพันกว่าล้านอยู่ไปทำไม ถ้าไม่ใช่เพื่อโค่น "โออิชิ"เ

พราะเมื่อขายชาเขียวเหมือนกัน การที่ยอดขาย "อิชิตัน" เพิ่มขึ้น หรือการที่ยอดขาย "โออิชิ" ลดลงนั่นเอง

ถ้าบอกว่าอยากทำเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ก็มีไปทำเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอย่างอื่นได้มากมาย

เขาอาจจะต้องตอบคำถามแบบนี้แบบไม่เต็มปากนักในช่วงนี้ แต่ สิ่งที่คุณตันอ่านขาดคือนิสัยของคนไทยที่ “ลืมง่าย” เมื่อเปิดตัวไปสักพัก คุณตันก็จะหาEVENTใหม่ๆ มาทำให้คนทั่วไปลืมเรื่องนี้กันหมด อย่างน้อยก็เริ่มด้วยการเปิดตัวที่ราคา 16 บาท ด้วยขนาดที่ย่อมเยาลงนิดหน่อยเหลือ 420 มิลลิลิตร แทรกพื้นที่เข้าไประหว่างขวดเล็ก 10 บาท กับขวดใหญ่ 20 บาท ได้อย่างพอเหมาะพอดี

เมื่อ รสชาติมาจากเพื่อนไต้หวันที่ปรุงชาโออิชิ จึงไม่แปลกใจเลยว่าอิชิตันรสน้ำผึ้งมะนาวจะเหมือนกับโออิชิทุกประการ ต่างกันแค่ความหวานเท่านั้น ซึ่งถือว่าคุณตันใช้จุดแข็งของตัวเองที่กำความลับทุกอย่างของโออิชิไว้ แม้กระทั่งสูตรชา มาโจมตีแบรนด์เก่าของตัวเอง

ถ้าสินค้ารสชาติเหมือนกัน ราคาถูกกว่า ใครจะไม่ซื้อครับ

เมื่อตลาดชาเขียวไม่มีผู้เล่นรายใหญ่ที่สร้างความฮือฮาได้เลยในช่วง3-4ปีหลัง ทั้งที่ตลาดมูลค่าเป็นหมื่นล้าน ถ้าตันไม่ทำก็อาจจะมีคนอื่นทำในที่สุด แต่สุดท้ายผู้บริโภคคนไทยโดยส่วนใหญ่ก็คงไม่สนใจที่ใครจะมาแข่งกับใคร หรือแก้แค้นใคร เพราะคนที่ได้ประโยชน์จากการแข่งขันก็คือประชาชนที่จะได้ของถูกลง

น่าแปลกที่คุณตันใช้คำว่าชาเขียวออร์แกนิคได้อย่างมั่นใจมาก โดยที่ไม่ได้ดูส่วนประกอบอื่นๆว่ามาจากธรรมชาติหรือเปล่าหากไปเสริชดูGOOGLEด้วยคำว่า ORGANIC GREENTEA ก็จะเห็นแต่ใบชาเขียวแบบกล่องเท่านั้น หากเป็นชาเขียวออร์แกนิคพร้อมดื่มก็ต้องหมายถึงส่วนผสมทุกอย่างในนั้นต้องออร์แกนิคด้วยถึงจะสามารถใช้คำนี้ได้

ออร์แกนิค ORGANIC แปลง่ายๆว่ามาจากธรรมชาติ 100% จะอันตรายไม่อันตรายก็อีกเรื่องหนึ่ง

ชาเขียวออร์แกนิค หมายถึงต้องปลูกโดยไม่ใช่สารเคมี อย่างที่คุณตันได้โพสรูปไร่ชาเขียวในอินเทอร์เนต

แต่ น้ำตาล มะนาว ฟรุคโตส ที่อยู่ในชาเขียวใช้วิธีปลูกและสกัดมาแบบอินทรีย์หรือเปล่า คุณตันกลับไม่เคยพูดถึง แต่หากเปรียบเทียบง่ายๆ ก็น่าจะบอกได้ว่า เหมือนคุณเอาผักออร์แกนิค ไปต้มมาม่ากิน แล้วคุณจะเรียกมาม่าชามนั้นว่า มาม่าออร์แกนิค หรือมาม่าเพื่อสุขภาพได้หรือเปล่า? ผักที่ดีก็ทำให้มาม่ามีคุณค่ามากขึ้นเท่านั้น ไม่ได้เปลี่ยนองค์ประกอบอื่นของมาม่าให้เป็นออร์แกนิคแต่อย่างใด

ปัจจุบัน กระแสรักสุขภาพมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่เครื่องดื่มน้ำอัดลมก็ยังมียอดขายสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องโฆษณาเกินจริง เพราะคนมีความรู้ความเข้าใจที่จะบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม ให้ความสดชื่น และพลังงานในยามที่จำเป็นเท่านั้น เหมือนที่ไม่มีใครดื่มน้ำอัดลม กาแฟ แทนน้ำเปล่า อยู่แล้ว

แนวคิดเพื่อสุขภาพเป็นสิ่งที่ดี อิชิตันก็เป็นชาเขียวที่รสชาติดี มีประโยชน์กับร่างกายระดับหนึ่ง ไม่ จำเป็นต้องอวดอ้างสรรพคุณพิเศษใดๆ ก็ขายดีอยู่แล้ว เพราะคุณตันมีต้นทุนทางสังคมที่สูงมากๆอยู่แล้ว เมื่อพูดอะไรแล้ว มีคนเป็นแสนเป็นล้านคนพร้อมจะเชื่อในสิ่งที่เขาพูดโดยไม่ลังเล
สุดท้ายแล้วสื่อมวลชนก็คงจะไม่เล่นประเด็นนี้ เพราะเป็นน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า สื่อได้เม็ดเงินจากงบโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ตันก็ได้พื้นที่ออกสื่อ คงไม่มีใครทำร้ายตัวเองอยู่แล้ว แล้วคนไทยก็คงจะไม่ได้ใส่ใจเท่าไหร่ว่ามันออร์แกนิคจริงหรือเปล่า
เพราะคนไทยลืมง่ายจริงๆ
***โปรดติดตามต่อภาค 7 ภาคสุดท้าย***ถ้าเห็นว่าดี น่าสนใจ ช่วยCOMMENTเยอะๆนะครับ ต้องการกำลังใจพอสมควร
ภาพประจำตัวสมาชิก
OutOfMyMind
Verified User
โพสต์: 1242
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 50

โพสต์

ชนกันก็ดี ผู้บริโภคจะได้ดื่มชาเขียวในราคาที่ถูกลง
แต่ชาเขียววันนี้มันไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ที่สร้างความตะลึงได้เหมือนเมื่อ 5 ปีก่อนแล้ว
อิชิตันต้องสร้างความแตกต่างอย่างสุด ๆ ถึงจะเบียดแทรกขึ้นมาได้
ผมว่ายากสุด ๆ นะงานนี้
คุณตันเองก็คงคิดอยากท้าทายตัวเอง ถึงได้ลงมาทำ
บางที การเอาชาเขียว 16 บาทลงมา แล้วล่อให้โออิชิ ลงมาสู้
อาจเป็นแผนโปรโมตธุรกิจเครื่องดื่มอื่นที่เตรียมนำออกมาในอนาคตก็ได้
เพราะตอนนี้ โออิชิ หลงกลงลงราคามาชน จนเป็น talk of the town
มันก็ทำให้คนหันมารู้จักอิชิตันแล้ว
บทความดีดีสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.facebook.com/OutOfMyMindOnValueInvestment
ferdinu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 149
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 51

โพสต์

Bakery ---- Boyd ----- Love is
โออิชิ ----- ตัน ------ อิชิตัน
DemonInvesting
Verified User
โพสต์: 805
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 52

โพสต์

จากที่อ่านมานี้ทำให้เข้าใจได้ว่า คนอย่าง"ตัน"ไม่มีทางคิดอะไรชั้นเดียวแน่ ... การออกชาเขียวมาชนกับโออิชิครั้งนี้คงไม่ได้เป็นแค่เรื่องมีความแค้นฝังใจอะไรจนอยากจะเอาคืนไทยเบฟเป็นแน่ ... เพราะที่ผ่านมาตันทำอะไรมักคิดถึงกำไรขาดทุนไว้ก่อนเสมอ... ส่วนไทยเบฟของเสี่ยเจริญเอง ก็ไม่ใช่ธรรมดา ถ้าศึกษาจากประวัติการทำธุรกิจมาจะพบว่าใช้กลยุทธ์ใต้ดิน ชกใต้เข็มขัดอัดคู่แข่งมาอยู่หลายครั้ง นับตั้งแต่ครั้งนำ หงส์ทอง บดขยี้แม่โขงแล้ว ... ไม่แน่ว่าครั้งนี้ อิชิตัน กับ โออิชิ อาจจะไม่ใช่คู่แข่ง แต่เป็นพันธมิตรในการฮุบตลาดชาเขียวจากเบอร์สองเบอร์สาม ... รอจนอิชิตันแย่งตลาดจากคู่แข่งของโออิชิไปได้สักระยะ อย่าแปลกใจถ้าตันจะขายบริษัทให้กับเสี่ยเจริญอีกครั้ง

แต่ถ้าการกลับมาทำชาเขียวของตัน เป็นการแก้แค้นไทยเบฟจริงๆ ... ก็ชวนให้ย้อนคิดไปถึงสมัย เสี่ยเจริญออกเหล้าหงส์ทอง มาชนกับแม่โขง โดยใช้คนปรุงสูตรเหล้าคนเดียวกัน ทำให้รสออกมาเหมือนกัน แต่ขายราคาต่ำกว่า ไม่ได้...
ถึงตลาดจะฟูมฟายมากแค่ไหน ก็ยินดียืมไหล่ให้เธอซบ ยืมอกให้เธอซับน้ำตา
DemonInvesting
Verified User
โพสต์: 805
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 53

โพสต์

กะเทาะ “เสี่ยเจริญ” ผ่านงานวิจัย “นวลน้อย ตรีรัตน์”
23 พฤษภาคม 2011

เจ้าพ่อน้ำเมา : ผูกขาดที่ไม่ผูกขาด -> อ.นวลน้อย ตรีรัตน์ นักวิชาการจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงเส้นทางการทำธุรกิจของเสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี ผ่านหนังสือ “การต่อสู้ของทุนไทย การปรับตัวและพลวัต” ซึ่งมีผาสุก พงษ์ไพจิตร เป็นบรรณาธิการ
งานศึกษาจำนวนมากในหลายประเทศได้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการสะสมทุนที่โยงกับเส้นสายอำนาจทางการเมืองมาหาผลประโยชน์ หรือที่เรียกว่า การแสวงหาค่าเช่าที่เกี่ยวข้องกับการเมือง โดยความเกี่ยวเนื่องทางการเมืองอาจจะแสดงอยู่ในลักษณะการเข้าสู่การเมืองโดยตรง หรือการเป็นผู้อุปถัมภ์ หรือบริจาคให้กับพรรคการเมืองโดยชัดแจ้ง (Bunkanwanicha and Wiwattanakantang, 2005; Faccio,et.al.2005; Khwaja and Mian, 2004; Morck and Yeung, 2003; Fishman, 2001; ธานี ชัยวัฒน์, 2546) โดยนักธุรกิจเหล่านี้มักจะอยู่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลของภาครัฐ (regulated industries) ทั้งนี้เพื่อรักษาหรือเพิ่มแนวทางในการดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจของตนเองในรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนรายได้ และ/หรือเป็นธุรกิจที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลในรูปแบบต่าง โดยผลการศึกษาในหลายประเทศ

พบว่า มูลค่าของสินทรัพย์ของธุรกิจเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นอย่างอย่างเห็นได้ชัด หรือเพิ่มขึ้นมากกว่าการเพิ่มขึ้นของธุรกิจประเทศอื่นๆ โดยเฉลี่ย ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ พบว่าแนวทางในการสะสมทุนหรือการตักตวงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเหล่านี้อาจดำเนินการโดยผ่านตลาดหุ้นหรือไม่ก็ตาม แต่ธุรกิจเหล่านี้ยังคงรูปแบบธุรกิจครอบครัวอย่างชัดเจน และผลการศึกษาในบางประเทศก็แสดงให้เห็นว่า มูลค่าของทรัพย์สินหรือราคาหุ้นของธุรกิจเหล่านี้จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนเช่นเดียวกันเมื่อบุคคลเหล่านั้นออกจากการยุ่งเกี่ยวทางการเมือง อย่างไรก็ตามงานศึกษาเหล่านี้มักไม่ได้ประเมินความเสี่ยงจากความล้มเหลวในการเข้าเกี่ยวข้องกับการเมืองโดยตรง

การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการสะสมทุน และค่าเช่าทางเศรษฐกิจในช่วงหลัง มักให้ความสำคัญกับเรื่องการมีสายสัมพันธ์ทางการเมือง และการเข้าสู่กระบวนการทางการเมือง เพื่อที่จะรักษาระดับของการผูกขาด โดยผ่านการทำงานของกฎ กติกา ภาครัฐ ทั้งนี้เพื่อคงไว้ซึ่งค่าเช่าในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อกลุ่มธุรกิจได้เข้าสู่การเมืองโดยตรง โดยไม่ผ่านตัวแทนที่เรียกว่านักการเมืองมืออาชีพ เพื่อกำหนดกฎ กติกา เพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ในรูปต่างๆ โดยตรง ทำให้เข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้จะเป็นทิศทางการสะสมทุนแบบใหม่ของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่กรณีของกลุ่มทุนสุราได้บอกให้เห็นว่า ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในแบบเก่ามิได้หมดไปในทันใด กลุ่มทุนเก่าที่อาศัยการสร้างเส้นสายในระบบราชการที่เกี่ยวข้อง และการสร้างเส้นสายทางการเมืองสนับสนุน โดยที่ไม่ได้เป็นผู้เข้าไปเล่นโดยตรง หรือยุ่งเกี่ยวกับพรรคใดพรรคหนึ่งอย่างชัดเจนเพียงพรรคเดียว ก็ยังสามารถที่จะกอบโกยผลประโยชน์ หรือทำให้การบังคับใช้กฎ กติกาต่างๆ เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มของตนได้เช่นเดียวกัน และการมีสายสัมพันธ์ที่แอบแฝงอยู่เบื้องหลัง อาจจะทำให้การเอื้อประโยชน์กระทำได้ง่าย เพราะไม่ผ่านการตรวจสอบจากองค์กรต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการ และกลุ่มประชาสังคม ตลอดจนสื่อมวลชน

เจ้าสัวที่มีชื่อเสียงของไทยจำนวนมาก ล้วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจน้ำเมาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นตระกูล เตชะไพบูลย์, ล่ำซำ, สารสิน, เอี่ยมสกุลรัตน์, ภัทรประสิทธิ์, ไชยวรรณ, ตันติวิวัฒน์พันธ์, ศรีเฟื่องฟุ้ง, รัตนรักษ์, กาญจนลักษณ์, เหล่าจินดา, มหาคุณ, ณรงค์เดช, พิศาลบุตร, อัสสรรัตน์, วิชิตบุญญเศรษฐ, ชีวะศิริ, สิริวัฒนภักดี และแม้กระทั่ง โสภณพานิช ก็ได้ชื่อว่าเกี่ยวข้องกับธุรกิจน้ำเมา ตระกูลเหล่านี้มักจะมีช่วงหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องหรือการสร้างความร่ำรวยที่มาจากธุรกิจน้ำเมา นักธุรกิจจำนวนหนึ่งได้ถอนตัวออกจากธุรกิจนี้แล้ว บางส่วนถูกมรสุมทางเศรษฐกิจในปี 2540 จนถอยออกไปอยู่แนวหลังจำนวนหนึ่งยังคงเกี่ยวพันกับธุรกิจน้ำเมาต่อไป แต่ในบรรดาตระกูลเหล่านี้ก็ต้องยอมยกให้ตระกูลสิริวัฒนภักดี ซึ่งเป็นตระกูลที่ตั้งขึ้นในปี 2530 เป็นตระกูลเจ้าพ่อน้ำเมา เพียงหนี่งเดียวที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในธุรกิจนี้ และเป็นเจ้าสัวที่สร้างความร่ำรวยอย่างชัดเจนจากธุรกิจน้ำเมาเพียงอย่างเดียว จนกลายเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในประเทศไทย

ญิบพัน ผู้เขียน เจ้าสัว Yesterday โศกนาฏกรรมนายทุน ได้ให้สมญานามเจริญ สิริวัฒนภักดี ว่าเป็น “นายทุนผูกขาดคนสุดท้ายของประเทศไทย” โดยได้อธิบายรูปแบบการสร้างความร่ำรวยของเจริญไว้ว่า

“ในบรรดาคนที่ขึ้นมายืนในแถวชนชั้นเจ้าสัวแล้ว “เจริญ สิริวัฒนภักดี” เป็นคนที่มีรูปแบบการสะสมทุนแตกต่างจากเจ้าสัวคนอื่นไม่ว่าจะเป็นเจ้าสัวยุคก่อนปี 2550 อย่าง “ชิน โสภณพานิช” “อุเทน เตชะไพบูลย์” หรือเจ้าสัวยุคหลังปี 2530 เช่น “พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร” หัวหน้าพรรคไทยรักไทย นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของประเทศไทย ที่ประกาศตัวอย่างโอ่อ่าว่า จะขอวางมือจากการเมืองอย่างรัฐบุรุษ

หนึ่ง เพราะเจริญมิได้มีธนาคารพาณิชย์เป็นฐานสะสมทุนเหมือนเจ้าสัวยุคต้นๆ และสอง เขามิได้ทดเกียร์สะสมหุ้นด้วยการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นเหมือนเจ้าสัวยุคใหม่ในยุคโลกาภิวัฒน์

หากเจริญเริ่มต้นด้วยสุราและกำลังก้าวต่อไปด้วยสุรา อุตสาหกรรมผูกขาดประเภทสุดท้ายของไทย” (ญิบพัน, 2545 : 167)

ณ ปี 2548 เจริญ สิริวัฒนภักดี ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์บส์ให้เป็นเศรษฐีอันดับ 194 ของโลก ด้วยสินทรัพย์ประมาณ 120,000 ล้านบาท และเป็นคนไทยที่รวยที่สุดของประเทศ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อศึกษาพฤติกรรมการสะสมทุนของประเทศไทยโดยใช้ธุรกิจสุราเป็นกรณีศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากธุรกิจสุราเป็นธุรกิจหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจผูกขาดที่เกิดจาการกำหนดกฎ กติกา ในภาครัฐ ซึ่งมีผลให้ภายในชั่วอายุคนเดียว ตระกูลหนึ่งคือ สิริวัฒนภักดี สามารถสร้างทรัพย์สมบัติได้อย่างมากมายในเวลาอันรวดเร็ว ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 6 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนที่ 1 เจ้าพ่อน้ำเมามาจากไหน โดยจะวิเคราะห์ในบริบทของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจสุรา พ.ศ. 2502 ถึงปัจจุบัน ส่วนที่ 2 การขยับขยายสู่ธุรกิจอื่นๆ ส่วนที่ 3 การสะสมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ ส่วนที่ 4 วิเคราะห์กลยุทธ์การธำรงการผูกขาดจากมุมมองของเศรษฐศาสตร์การเมือง และส่วนสุดท้ายคือ บทสรุป

เจ้าพ่อน้ำเมามาจากไหน

เจริญ สิริวัฒนภักดี มีนามสกุลเดิมคือ “ศรีสมบูรณานนท์” เปลี่ยนมาเป็น “สิริวัฒนภักดี” ในปี 2530 เมื่อสามารถครอบครองธุรกิจสุราได้สำเร็จ เดิมมีชื่อจีนว่า “เคียกเม้ง แซ่โซว” เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2487 ที่ย่านทรงวาด เป็นคนจีนแต้จิ๋ว บิดา-มารดามีอาชีพขายหอยทอด มีพี่น้อง 11 คน เจริญเรียนจบ ป.4 ที่โรงเรียนเผยอิง

ได้เริ่มเข้าสู่ธุรกิจสุราในปี 2504 เมื่อไปเป็นลูกจ้างบริษัทย่งฮะเส็ง จำกัด และเข้าช่วยงานห้างหุ้นส่วนจำกัด แพนอินเตอร์ ซึ่งเป็นผู้ส่งสินค้าให้โรงงานสุราบางยี่ขัน และต่อมาได้กลายเป็นผู้หนึ่งที่เข้าไปขายสินค้าให้กับโรงงานบางยี่ขัน และได้รู้จักกับจุล กาญจนลักษณ์ และ เถลิง เหล่าจินดา ในขณะที่เถลิงดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการบริษัทควบคุมฝ่ายโรงงานและจัดซื้อ ต่อมาได้เข้าทำงานในบริษัทสุรามหาคุณและกลายเป็นคนสนิทของเถลิง เหล่าจินดา

ปฐมบทของสงครามสุรา:

จาการผูกขาดเฉพาะส่วนสู่การยึดครองอาณาจักรสุรา

ถ้าจะแบ่งช่วงการเติบโตของอาณาจักรสุราของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ช่วงด้วยกัน คือเริ่มตั้งแต่การเรียนรู้เข้าอาณาจักร ต่อด้วยการต่อสู้ช่วงชิง ครอบครอง และขยายอาณาจักร ติดตามด้วยการใช้ฐานอาณาจักรสุราในการรุกคืบเข้าสู่ธุรกิจอื่นๆและสุดท้ายการเข้าสู่ยุคผลัดใบในตลาดหุ้น

แต่ก่อนจะวิเคราะห์ในหัวข้อดังกล่าวจะต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจสุรา ซึ่งเริ่มต้นจากนโยบายรัฐที่ให้มีการผูกขาดได้เฉพาะพื้นที่ และมีจำนวนของผู้ประกอบการสุราหลายราย ไปสู่การเข้ายึดครองและสามารถจะสร้างอำนาจในการผูกขาดธุรกิจสุราได้หลายทศวรรษ ในส่วนนี้จะได้วิเคราะห์เพื่อให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยแบ่งเป็นแต่ละช่วงเหตุการณ์

จุดเริ่มต้นของสงคราม

ปี พ.ศ.2502 เป็นปีที่เรียกว่าเป็นจุดพลิกผันของอุตสาหกรรมสุรา เดิมมีโรงงานสุราทั่วประเทศอยู่ประมาณ 33 โรง เป็นโรงงานขนาดใหญ่จำนวน 1 โรง คือ โรงงานสุราบางยี่ขัน ผลิตสุราอยู่ประมาณ 3 ประเภท คือ สุราขาว สุราผสมเชี่ยงชุน และสุราปรุงพิเศษแม่โขง ส่วนอีก 32 โรง เป็นโรงงานขนาดเล็กตั้งกระจายอยู่ในหลายจังหวัดทั่วประเทศผลิตเฉพาะสุราขาว และสุราผสมเชี่ยงชุน โรงงานสุราบางยี่ขันมีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ ส่วนอีก 32 โรงนั้นให้เอกชนรับสัมปทานเข้าเป็นผู้ผลิตและจำหน่าย

ในปี 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนนะรัชต์ ได้จัดระเบียบโรงงานสุราทั่วประเทศ โดยกำหนดให้โรงงานสุราบางยี่ขันซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ในความดูแลของกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกิจ ซึ่งอยู่ในสภาพขาดทุนให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานในการผลิตและจำหน่าย ส่วนโรงงานอีก 32 แห่งให้ขึ้นกับกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง และให้มีการกำหนดพื้นที่การจัดจำหน่ายของสุราแต่ละโรงงานอย่างชัดเจน โดยสุราขาวและสุราผสมจากโรงงานสุราบางยี่ขันสามารถจัดจำหน่ายได้ในเขตเมืองหลวงและปริมณฑล ส่วนสุราปรุงพิเศษแม่โขงสามารถจัดจำหน่ายได้ทั่วประเทศ ส่วนสุราขาวและสุราผสมจากโรงงานอีก 32 แห่ง ให้จัดจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดที่เป็นแหล่งที่ตั้ง และจังหวัดใกล้เคียง(กรณีไม่มีโรงงานตั้งอยู่) โดยมีหลักคือไม่ให้พื้นที่การจัดจำหน่ายทับซ้อนกัน ดังนั้น นโยบายสุราในยุคนี้ก็คือ การให้เอกชนซึ่งได้รับสัมปทานโรงงานสุราสามารถผูกขาดการผลิตและจัดจำหน่ายสุราได้เป็นพื้นที่ไป

สำหรับโรงงานสุราบางยี่ขันซึ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่ และเป็นผู้ผลิตสุราปรุงพิเศษแม่โขง ซึ่ง
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ตัดสินใจโดยผ่านความเห็นชอบคณะรัฐมนตรีให้บริษัทสุรามหาคุณ จำกัดและจำหน่ายสุราของโรงงานสุราบางยี่ขัน โดยไม่ต้องมีการประมูลใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้ให้มีกำหนดระยะเวลา 10 ปี นับจากวันที่ 1 มกราคม 2503 ถึง 31 ธันวาคม 2512 โดยมีการกำหนดค่าเช่าไว้ปีละ 41 ล้านบาท กำหนดปริมาณการผลิตขั้นต่ำและให้ทำการแบ่งแยกพื้นที่การจัดจำหน่ายเฉพาะสุราขาวและสุราผสมโดยโรงงานสุราบางยี่ขันสามารถจัดจำหน่ายในเขตเมืองหลวงและปริมณฑล ประกอบด้วย พระนคร ธนบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี และปทุมธานี ส่วนสุราปรุงพิเศษแม่โขงสามารถจัดจำหน่ายได้ทั่วประเทศ ดังนั้น ผลประโยชน์มหาศาลของโรงงานสุราบางยี่ขันจึงอยู่ที่สุราแม่โขง ซึ่งขณะที่ตลาดแม่โขงกำลังมีการขยายตัวเป็นอย่างมากและปราศจากคู่แข่ง และภายหลังได้มีการออกยี่ห้อใหม่ตามมาอีกคือ กวางทอง ในนาม “กวางทองน้องโสม”

ทั้งนี้จุดเริ่มต้นของการให้สัมปทานกับโรงงานสุรามหาคุณ มาจากความสนิทสนมของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับนายสหัท มหาคุณ และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต้องการให้นายสหัท มหาคุณ เป็นผู้บริหารโรงงานสุราบางยี่ขัน แต่เนื่องจากการลงทุนในสุราจำเป็นต้องใช้ทั้งความชำนาญและเงินทุนสูง ทำให้นาย สหัท มหาคุณ ซึ่งไม่พร้อมทั้ง 2 อย่าง จำเป็นต้องหาพันธมิตรในการลงทุน จึงได้ชักชวนอุเทน เตชะไพบูลย์ ผู้นำตระกูลล่ำซำ และเถลิง เหล่าจินดา ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดและเคยทำงานทางด้านการค้าสุรามาร่วมทุน โดยจัดตั้งบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2502 โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ 4 ตระกูลคือ ตระกูลมหาคุณ ตระกูลเหล่าจินดา ตะกูลล่ำซำ และตระกูลเตชะไพบูลย์

เมื่อพิจารณาผู้ร่วมทุนทั้งหมด ตระกูลเตชะไพบูลย์เป็นผู้ที่มีความพร้อมมากที่สุด ทั้งเงินทุนและประสบการณ์ธุรกิจน้ำเมา ดังนั้น เตชะไพบูลย์จึงได้กุมตำแหน่งสำคัญในการบริหาร โดยอุเทน เตชะไพบูลย์ เป็นประธานกรรมการและผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัท สุเมธ เตชะไพบูลย์ (น้องชาย) คุมด้านโรงงานและการจัดซื้อ บัญชา ล่ำซำ คุมฝ่ายบริหารงานทั่วไป (ธุรการและการโฆษณา) และเถลิง เหล่าจินดา คุมฝ่ายการตลาด

ทั้งนี้ สำหรับตระกูลมหาคุณกลับมามีบทบาทไม่มากนัก โดยมีลูกชายของสหัส คือศุภสิทธิ์ มหาคุณ เข้าเป็นกรรมการบริษัท แต่บทบาทในบริษัทมีไม่มากนัก เช่นเดียวกับนายเถลิง เหล่าจินดา ที่คุมอยู่ฝ่ายการตลาด ซึ่งมีการวางระบบการตลาดแบบผูกขาดโดยใช้ยี่ปั๊วเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายทั้งหมด จึงทำให้นายเถลิงแทบไม่มีบทบาทอะไรเช่นกัน สิ่งนี้ได้สร้างความอึดอัดให้กับศุภสิทธิ์และเถลิงเป็นอย่างมาก เนื่องจากถือว่าตนเองเป็นผู้ได้สิทธิ์โรงงานสุราบางยี่ขันจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สภาพภายในบริษัทจึงแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มศุภสิทธิ์ มหาคุณ และเถลิง เหล่าจินดา และกลุ่มตระกูลเตละไพบูลย์ และล่ำซำ

การเข้าดำเนินการของนักธุรกิจกลุ่มนี้มีผลทำให้โรงงานสุราบางยี่ขันฟื้นตัวทำรายได้อย่างมากมาย จนกลายเป็นแหล่งผลประโยชน์ที่สำคัญ และเป็นแหล่งส่งส่วยรายได้ให้กับผู้มีอำนาจ

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากการเสียชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี 2506 จมพลถนอมกิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร ได้เข้ามากุมอำนาจคนใหม่ของประเทศไทยกลุ่มศุภสิทธิ์และเถลิงซึ่งพยายามจะลดทอนอำนาจของกลุ่มเตชะไพบูลย์และล่ำซำลง จึงได้ดึงผู้มีอำนาจทางการเมืองกลุ่มใหม่เข้ามาถือหุ้นในบริษัทมหาคุณ โดยการจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาคือบริษัทบวรวงศ์ จำกัด ซึ่งมีผู้ถือหุ้นคนสำคัญคือ ถนอม กิตติขจร, จอมพลประภาส จารุเสถียร, พล.ต.อ.ประเสริฐ, พล.อ.อ.ทวี จุลทรัพย์ และ พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา

วิธีการที่จะทำให้บริษัทบวรวงศ์เข้ามาถือหุ้นในบริษัทสุรามาหาคุณทำโดยการผลักดันให้มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทสุรามหาคุณ จาก 35 ล้านบาท เป็น 50 ล้านบาท ในปี 2510 และขอให้ตระกูลเตชะไพบูลย์และตระกลูล่ำซำขายหุ้นให้บางส่วน โดยมีข้อแลกเปลี่ยนว่าบริษัทสุรามหาคุณจะได้รับการต่อสัมปทานของโรงงานสุราบางยี่ขันต่อไปอีก 10 ปี

เมื่อบริษัทบวรวงศ์สามารถเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นส่วนรายใหญ่ได้แล้วก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทมหาคุณ โดยเพิ่มกรรมการส่วนที่เป็นทหารเข้ามา

เมื่อครบสัญญาบริษัทมหาคุณ จำกัด จึงได้รับการต่อสัญญาอีก 10 ปี ในช่วงรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร คือตั้งแต่ปี 2513-2522 และเพื่อไม่ให้เป็นที่ครหา จึงได้มีการเพิ่มเติมผลประโยชน์ให้กับรัฐอีกเล็กน้อย กล่าวคือ ให้เสียค่าเช่าปีละ 51 ล้านบาท และส่วนแบ่งกำไรสุทธิอีกร้อยละ 25

การดึงกลุ่มทหารเข้ามามีบทบาทในบริษัทสุรามหาคุณได้ มีผลให้ดุลอำนาจของตระกูลมาหาคุณ และเหล่าจินดาเพิ่มมากขึ้น จนสามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือ เถลิง เหล่าจินดา ได้ควบคุมฝ่ายจัดซื้อ และผลักนายสุเมธ เตชะไพบูลย์ ไปอยู่ฝ่ายการตลาด ทั้งนี้ เนื่องจากว่าผลประโยชน์จากโรงงานสุราส่วนใหญ่อยู่ที่ฝ่ายจัดซื้อ คนที่คุมฝ่ายจัดซื้อสามารถยักย้ายถ่ายเทผลกำไรออกจากบริษัทได้ง่าย เพราะสามารถแสวงหาผลประโยชน์จากการจัดซื้อฝาจุก ขวด ฉลาก กล่อง กระดาษ และรวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในการผลิต โดยมักถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในวงการค้าไทยที่บริษัทจัดจำหน่ายสินค้าเหล่านี้จะเป็นผู้จัดสรรผลประโยชน์ให้ผู้มีอำนาจในการจัดซื้อ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการเรียกร้องแต่อย่างใด

ความขัดแย้งนี้ทำให้นายสุเมธ เตชะไพบูลย์ ได้สร้างสายสัมพันธ์ขึ้นมาใหม่อย่างลับๆ กับกลุ่มเอเย่นต์น้ำเมาเขตภูธรคือ นายวิศาล ภัทรประสิทธิ์ จากภาคเหนือตอนล่าง นายวาณิช ไชยวรรณ ภาคใต้ และนายโกเมน ตันติวัฒนพันธ์ ภาคอีสาน และได้จัดตั้งบริษัทสุรามหาชน ส่วนกลุ่มของนายเถลิง เหล่าจินดา ในภายหลังได้นายเจริญ ศรีสมบูรณานนท์ เข้ามาเป็นผู้ช่วยคนสำคัญ และกลุ่มของนายเถลิงก็มีการสร้างเครือข่ายของตนขึ้นใหม่เช่นกัน ที่นายเจริญถูกดึงเข้ามาร่วมวงกับกลุ่มของนายเถลิง แม้ว่าจะเป็นหน้าใหม่ในวงการสุรา ก็เป็นเพราะว่าเขารู้จักนายเถลิง เหล่าจินดา จากการเข้ามาขายของให้โรงงานสุราบางยี่ขัน ในสมัยที่นายเถลิงคุมฝ่ายซื้อ และต่อมาสนิทสนมจนกลายเป็นคนสนิทและเป็นผู้ช่วยนายเถลิงในการดำเนินงานเรื่องต่างๆ และที่สำคัญนายเจริญได้กลายเป็นลูกเขยของนายกึ้งจู แซ่จิว ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ของโรงงานสุราบางยี่ขัน และเป็นกัมประโดในธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานขาว และมีความสนิทสนมกับตระกูลเตชะไพบูลย์ค่อนข้างมากได้ร่วมงานในบริษัทเงินทุนที่อยู่ในเครือของตระกูลเตชะไพบูลย์เมื่อออกจากธนาคารกรุงเทพ

การเตรียมการเพื่อเปิดศึก

เมื่อสัญญาสัมปทานของโรงงานสุราบางยี่ขันใกล้จะหมดลงอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2522 คณะรัฐมนตรีได้มีมติตามข้อเสนอของนายเกษม จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในสมัยนั้นว่าจะต้องให้มีการเปิดประมูลโรงงานสุราบางยี่ขันใหม่ โดยมีระยะเวลาผูกผัน 15 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2522 ถึง 31 ธันวาคม 2537 โดยสัญญาสัมปทานฉบับใหม่นี้ได้เพิ่มเติมผลประโยชน์ของรัฐที่จะได้จากผู้ชนะการประมูล 2 ทางด้วยกัน คือ ค่าสิทธิหรือเงินให้เปล่า และภาษีสุรา โดยที่ภาษีสุรายังคงใช้ระบบการจัดเก็บแบบเก่าคือการคิดเป็นรายขวด ส่วนค่าสิทธิหรือเงินให้เปล่าจะให้ผู้เข้าประมูลเสนอตัวเลขที่จะให้แก่รัฐเป็นรายปี โดยให้กำหนดเป็นร้อยละของราคาขายปลีก และกำหนดให้เงินค่าตอบแทนจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ผู้ที่เสนอตัวเลขเป็นจำนวนมากที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะการประมูลไป และได้เพิ่มเติมเงื่อนไขให้มีการสร้างโรงงานสุราขึ้นมาใหม่อีก 1 โรงงานในมูลค่า 700-900 ล้านบาท และให้ปรับปรุงโรงงานเก่า

ในขณะนั้นทั้ง 2 ฝ่ายได้เตรียมการสำหรับการแย่งชิงสัมปทานครั้งใหม่ไว้เหลายประการคือ การสร้างเครือข่ายพันธมิตรในกลุ่มของตน การแสวงหาฐานอำนาจทางการเมือง ทั้งนี้สืบเนื่องจากธุรกิจสุราเป็นธุรกิจที่มีการอิงกับการเมืองค่อนข้างสูง การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วง 2516-19 มีผลทำให้ขั้วอำนาจเดิมหมดบทบาทลง เกิดขั้วอำนาจทางใหม่ที่มีทั้งทหารและนักการเมือง ทั้ง 2 ฝ่ายจึงได้พยายามเข้าหาฐานอิงทางการเมืองอีกครั้ง

การประมูลในครั้งนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการแย่งชิงผลประโยชน์มูลค่ามหาศาลของธุรกิจสุราระหว่างสองกลุ่มคือ กลุ่มนายสุเมธ เตชะไพบูลย์ และกลุ่มนายเถลิง เหล่าจินดา ซึ่งขณะนี้มีนายเจริญ ศรีสมบรูณานนท์ เข้ามาร่วมด้วย กลุ่มของนายสุเมธมีจุดแข็งคือ ได้สร้างสายสัมพันธ์กับเอเย่นต์ค้าสุราภูธรทั้ง 3 ภาคแล้ว นอกจากนั้น สำหรับเส้นสายทางการเมืองที่สำคัญ คือความสนิทสนมกับพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นอีกด้วย

ส่วนกลุ่มของนายเถลิง เหล่าจินดา สามารถยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว จากการเข้าไปซื้อโรงงานสุราธาราวิสกี้ ที่ตั้งอยู่ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ในปี 2519 จากนายประสิทธิ์ ณรงค์เดช และนายพงส์ สารสิน นักธุรกิจและนักการเมืองคนสำคัญของพรรคกิจสังคมเพื่อใช้เป็นฐานรองรับการผลิตสุรากรณีไม่สามารถประมูลสัมปทานโรงงานสุราบางยี่ขันได้ ตามแนะนำของนายจุล กาญจนลักษณ์ ซึ่งในเวลาต่อมาโรงงานแห่งนี้ก็ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการออกสุราผสมยี่ห้อใหม่ คือ แสงโสมและหงส์ทอง เพื่อไว้ต่อกรกับแม่โขงและกวางทอง

นอกจากจะได้ฐานการผลิตสุราแล้ว ยังสามารถสร้างสายสัมพันธ์กับเครือข่ายทางการเมืองกับพรรคกิจสังคม ที่มีอิทธิพลค่อนข้างมากในสมัยนั้น เพราะในเวลาต่อมานายประสิทธิ์ ณรงค์เดช ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมที่มีการประมูลสัมปทานโรงงานสุราบางยี่ขันใหม่

ในการประมูลสัมปทานโรงงานสุราบางยี่ขันในครั้งนี้มีผู้ซื้อซองประมูล 32 ราย แต่มีการยื่นซองเพียง 7 ราย ซึ่ง 1 ใน 7 รายนี้อาจจะสรุปออกเป็น 3 กลุ่มเท่านั้น คือกลุ่มนายสุเมธ เตชะไพบูลย์ กลุ่มนายเถลิงและนายเจริญ และกลุ่มนายเกียรติ เอี่ยมสกุลรัตน์ ซึ่งมีความสนิทสนมกับกลุ่มของนายเถลิงเป็นอย่างดี การประมูลในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนอีกครั้งว่า เครือข่ายสายสัมพันธ์ทางการเมืองกำลังเป็นอำนาจหลักที่จะจัดสรรผลประโยชน์นับหมื่นล้านบาท และขณะที่อำนาจไม่ได้รวมอยู่ที่ใดที่หนึ่งแล้ว การแสวงหาค่าเช่าและการจัดสรรผลประโยชน์ให้กับกลุ่มต่างๆ จะเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะก่อนหน้าการเปิดซองประมูลเพียงไม่กี่วัน ก็มีข่าวลือไปทั่วว่ามีการจ่ายเงินกันอย่างมโหฬารให้กับกลุ่มโน้นกลุ่มนี้ และในการเปิดซองประมูลนายกรัฐมนตรีพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ (ผู้ที่นายสุเมธมีความสนิทสนมอยู่) ได้ลงมาควบคุมการเปิดซองด้วยตัวเอง ทั้งๆ ที่มีคณะกรรมการรับผิดชอบอยู่แล้ว

ผลการประมูลครั้งนี่กลุ่มนายสุเมธ เตชะไพบูลย์ ในนามาบริษัทสุรามหาชน (เปลี่ยนเป็นสุรามหาราษฎร์ในเวลาต่อมา) ชนะการประมูลโดยที่มีนายเถลิง เหล่าจินดา และนายเจริญ ศรีสมบูรณานนท์ ตามมาเป็นอันดับสอง บริษัทสุรามหาชนได้เสนอให้ผลประโยชน์ตอบแทนให้รัฐบาลถึงร้อยละ 45.67 ของราคาขาย ขณะที่กลุ่มของนายเถลิงและนายเจริญเสนอให้เพียงร้อยละ 36 ของราคาขาย ข้อเสนอที่จะให้ผลต่อรัฐสูงถึงร้อยละ 45 ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากว่าไม่น่าเป็นไปได้ เพราะเป็นเงินผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายเมื่อเทียบกับเงินผลประโยชน์ที่รัฐเคยได้รับในอดีต แต่กลุ่มของนายสุเมธก็ได้แสดงให้เห็นว่าสามารถทำได้ จนกระทั่งถูกกระหน่ำโจมตีจากสินค้าของกลุ่มนายเถลิงและนายเจริญ และเกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น ระหว่างแม่โขง-กวางทอง และหงส์ทอง โดยความช่วยเหลือของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ

แล้วสงครามก็เริ่มขึ้น

ความพ่ายแพ้จากการประมูลโรงงานสุราบางยี่ขัน ทำให้กลุ่มของนายเถลิงและนายเจริญต้องถอยออกไปตั้งหลักที่โรงงานสุราธาราวิสกี้และได้ออกสุราผสมยี่ห้อใหม่คือ แสงโสมและหงส์ทอง ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับแม่โขง-กวางทอง และต่อมากลุ่มนี้เห็นว่าฐานโรงงานที่สุราธาราวิสกี้มีกำลังการผลิตที่ไม่เพียงพอ จึงได้พยายามหาฐานการผลิตแห่งอื่นเพิ่มเติม สุดท้ายไปได้โรงงานที่อยู่ในความดูแลของกรม สรรพสามิต ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมีเขตจัดจำหน่ายถึง 8 จังหวัด คือ อยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี นครราชสีมา อุทัยธานี และชัยนาท

การได้ฐานการผลิตและจัดจำหน่ายที่กว้างขวางกว่าเดิม ทำให้กลุ่มเถลิง-เจริญสามารถขยายแนวรบได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ข้อเสียเปรียบของกลุ่มนี้คือ สามารถขายได้เฉพาะเขตที่กำหนด จึงได้มีการใช้เส้นสายและกลยุทธ์ต่างๆ ทั้งที่ถูกกฎหมาย คือทำให้กรมอธิบดีกรมสรรพาสามิตในขณะนั้นอนุญาต และที่ผิดกฎหมาย คือมีการลักลอบขนข้ามเขต จนทำให้สุราหงส์ทองซึ่งเป็นสุรายี่ห้อใหม่ของกลุ่มและมีรสชาติคล้ายคลึงกับแม่โข่งสามารถบินข้ามเขตไปอยู่ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ นี่เป็นที่มาของคำว่า “หงส์ทองสามารถบินว่อนได้”

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการได้โรงงานสุราที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจะทำให้เถลิงและเจริญสามารถเปิดศึกกับค่ายแม่โขง-กวางทองได้ก็ตามแต่จากยุทธวิธีที่ขายสินค้าราคาถูก เพื่อตีตลาดแม่โขง-กวางทองให้ได้ มีผลให้โรงงานต้องประสบกับการขาดทุน เป็นเหตุให้นายเถลิง เหล่าจินดาซึ่งเริ่มเข้าสู่วัยชราท้อถอยต่อการช่วงชิง ซึ่งแตกต่างจากนายเจริญซึ่งอยู่ในวัยไม่ถึง 40 ปี และยังมีฐานเงินสนับสนุนสำคัญจากพ่อตา นายเถลิงจึงได้ขายหุ้นของตนบางส่วนให้กับนายเจริญ โดยวิธีผ่อนจ่าย ณ จุดนี้เองนายเจริญจึงได้ขยับขยายขึ้นมาเป็นผู้ถือหุ้นสำคัญในบริษัทและมีบทบาทขึ้นในการเป็นหัวหน้ากลุ่ม ขณะที่บทบาทของนายเถลิงเริ่มลดลง แต่ยังไม่หมดไป เนื่องจากถ้าจะพูดกันในวงการสุราแล้ว นายเจริญก็ยังเป็นหน้าใหม่อยู่ ยังคงต้องพึ่งพาอิทธิพลในวงการค้าของนายเถลิง

การแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดและผลประโยชน์ในธุรกิจสุราทำให้การแข่งขันระหว่างแม่โขง-กวางทองกับแสงโสมและหงส์ทองเป็นไปด้วยความรุนแรง มีการใช้กลยุทธ์ทางการค้าและการตลาด “ลด-แลก-แจก-แถม-ข้ามเขต”อย่างมากมายนับจากปี 2523 เป็นต้นมา สร้างความเสียหายและผลกระทบให้กับกลุ่มสุรามหาราษฎรเป็นอย่างมาก

แม้ว่าแสงโสมจะไม่ประสบความสำเร็จทางการตลาดมากนัก แต่หงส์ทองสามารถตีตลาดแม่โขงและกวางทองอย่างรุนแรง ด้วยภาพลักษณ์ที่ว่า รสชาติใกล้เคียงแม่โขง แต่ขายในราคาที่ถูกกว่ากันมาก เนื่องจากอัตราภาษีที่หงส์ต้องจ่ายอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าแม่โขงและกวางทองมาก และขณะเดียวกันก็มีการลักลอบขายข้ามเขตทั่วประเทศ นอกจากนี้ก็มีการผลักดันให้นักการเมืองที่ดูแลกระทรวงอุตสาหกรรมกดดันให้แม่โขงขึ้นราคา เพื่อให้ผู้บริโภคหันมาดื่มหงส์ทองมากขึ้น และปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมในสมัยนั้นไม่ดำเนินตาม จึงถูกตั้งกรรมการสอบและถูกย้าย
เหตุการณ์การแข่งขันระหว่าง 2 กลุ่มดำเนินไปท่ามกลางข่าวลือถึงเครือข่ายทางการเมือง ระบบราชการ การอุปถัมภ์ และเงินผลประโยชน์ในการวิ่งเต้น

สงครามระหว่างกลุ่มสุรามหาราษฎร์เจ้าของแม่โขงและกวางทองและกลุ่มเถลิง-เจริญ เจ้าของแสงโสม-หงส์ทองที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่ปี 2523 จนถึงปี 2527 แม้ว่ามีความรุนแรง แต่ยังคงไม่มีฝ่ายใดอ่อนกำลังลง แต่ละฝ่ายยังคงเสริมกำลังการเงินเข้ามา ทว่าในปี 2527 ซึ่งเป็นปีที่สัญญาสัมปทานโรงงานสุราทั้ง 32 แห่งซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมสรรพสามิตจะสิ้นสุดลง นายเจริญจึงเห็นช่องทางที่จะขยายฐานของตัวเองออกไป โดยการเข้าประมูลโรงงานสุราเหล่านี้

ทางด้านกรมสรรพสามิตเองได้มีนโยบายเปิดให้เอกชนประมูลสิทธิในการการผลิตและจำหน่ายสุรา แต่ไม่มีการแบ่งเขตและกำหนดเงื่อนไขใหม่ โดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่ประมูลได้จะต้องสร้างโรงงานสุราขึ้นใหม่ 12 โรงงาน แทนโรงงานเก่า 32 แห่ง ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมมากแล้ว (เขตของการจำหน่ายสุราเปลี่ยนเป็น 12 เขต แทน 32 เขตเดิม ไม่นับรวมเขตที่อยู่ภายใต้โรงงานสุราบางยี่ขัน) โดยกำหนดอายุสัญญาเป็นเวลา 15 ปี สิ้นสุดสัญญาในปี 2542 เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงโรงงานทั้ง 12 แห่งจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ และผู้ชนะการประมูลจะต้องจ่ายค่าผลประโยชน์ปีแรกแก่กรมสรรพสามิตล่วงหน้าทันทีที่ประมูลเสร็จ การประมูลเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2526

หลังจากที่นายเถลิงขายหุ้นของตัวเองบางส่วนให้กับนายเจริญคนสำคัญของกลุ่มนี้ก็กลายเป็นนายเจริญ ซึ่งมีนายพงส์ สารสิน และตระกูลเอี่ยมสกุลรัตน์เป็นพันธมิตรสำคัญ ซึ่งนายพงส์ สารสิน มีบาทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายพงส์มีน้องชายร่วมสายโลหิตที่ใช้คนละนามสกุล คือนายบัณฑิต บุณยะปานะ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังและต่อมาเป็นอธิบดีกรรมสรรพาสามิตในช่วงปี 2523-25 และเคยออกคำสั่ง 5 ครั้งในช่วงปี 2519-2525 ซึ่งมีผลดีต่อเหล้าในตระกูลหงส์แต่สร้างผลกระทบอย่างมากต่อแม่โขง ได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นใหม่ชื่อสุราทิพย์ ได้เข้าประมูลงานสุราทั้ง 12 โรง และเสนอเงินค่าผลประโยชน์ให้แก่กรมสรรพสามิตปีแรกสูงสุดทั้ง 12 โรง เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 5,884.24 ล้านบาท ทิ้งอันดับ 2 ขาด แต่ในวันที่ต้องทำสัญญากลุ่มบริษัทกลุ่มสุราทิพย์สามารถจ่ายเงินได้เพียง 5 โรงงาน เพราะได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกรุงเทพเพียงแห่งเดียว ทำให้เสียเงินคำประกันซองไปฟรีๆ 105 ล้านบาท และต้องมีการเปิดประมูลโรงงานที่เหลืออีก 7 โรงงานในรอบสอง

ครั้นเมื่อถึงการประมูลครั้งที่ 2 บริษัทสุราทิพย์ยังคงคว้าชัยชนะได้อีกครั้ง แต่ได้ลดค่าผลประโยชน์ที่เสนอลงเกือบ 800 ล้านบาท สำหรับ 7 โรงงานที่ประมูลได้ในครั้งที่ 2 นี้ กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ กสิกร ไทยทนุ และสหธนาคาร ให้การสนับสนุนเงินกู้จำนวน 6 โรง ส่วนอีก 1 โรง ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารนครหลวงไทย การปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 6 แห่ง(รวมธนาคารกรุงเทพ) ใช้วิธีการแบบ “โปรเจคโลน” ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่ใช้บุคคลค้ำประกัน นับเป็นการปล่อยกู้ก้อนใหญ่ แต่ใช้เพียงบุคคลเท่านั้นค้ำประกัน ซึ่งในยุคนั้นคนที่จะทำได้จะต้องมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและได้รับความเชื่อถือจากธนาคารเท่านั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าสายสัมพันธ์ของนายเจริญร่วมกับนายพงส์ สารสิน และตระกูลเอี่ยมสกุลรัตน์ รวมทั้งแรงหนุนจากนายเถลิงซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายราชการและการเมือง เป็นตัวช่วยในครั้งนี้

ภายหลังจากการประมูลโรงงานสุรา 12 โรงได้ กลุ่มบริษัทสุราทิพย์ต้องใช้เงินในการดำเนินธุรกิจสุราหลายด้าน คือ การจ่ายเงินค่าผลประโยชน์ล่วงหน้าในปีแรก การลงทุนซื้อที่ดินและก่อสร้างโรงงานใหม่และซื้อเครื่องจักรใหม่ และการซื้อสุราเก่าที่โรงงานสุรา 32 โรงผลิตไว้ในช่วงปี พ.ศ.2526-27 โดยโรงงานทั้ง 32 โรงงานนั้นเดิมเป็นของผู้ถือหุ้นสุรามหาราษฎรคู่แข่งเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การสร้างภาระให้คู่ต่อสู้จึงเริ่มด้วยการผลิตสุราขาวออกมาให้มากที่สุดก่อนที่การสร้างโรงงานทั้ง 12 โรงงานใหม่จะเสร็จ เพราะสุราเก่าดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ขอองโรงงาน 32 โรงงานอยู่ จำนวนสุราเก่าที่ต้องซื้อทั้งหมดมีจำนวนถึงครึ่งหนึ่งของโควตาขั้นต่ำของสัมปทานปีแรก เป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 4,000 ล้านบาท

ภาระทางการเงินด้านการก่อสร้างโรงงานและค่าเครื่องจักร ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะตกประมาณ 2,838 บาท ก็บานปลายไปเกือบ 4,000 ล้านบาท จากการลดค่าเงินบาทเมื่อปี พ.ศ.2527 ทำให้ราคาเครื่องจักรที่สั่งนำเข้าจากเยอรมันมีราคาสูงตามไปด้วย

ดังนั้น ในการจ่ายค่าผลประโยชน์ในปี 2529 กลุ่มสุราทิพย์จึงจำเป็นต้องหาแหล่งเงินกู้เพิ่มเติมซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแห่งอื่นๆ เข้ามาอีกหลายแห่ง รวมเป็นจำนวนธนาคารที่ให้กู้กลับกลุ่มสุราทิพย์ถึง 13-14 ธนาคาร

เมื่อสัญญาสัมปทานของโรงงานสุราทั้ง 12 โรง มีผลเริ่มต้นในปี พ.ศ.2528 การต่อสู้ระหว่างค่ายสุรามหาราษฎรของกลุ่มเตะไพบูลย์กับค่ายสุราทิพย์ของกลุ่มนายเจริญก็เริ่มรุนแรงขึ้นตามลำดับ เนื่องจากฐานการผลิตของสุราที่ทั้งสองฝ่ายมีทัดเทียมกัน สุราทิพย์ของนายเจริญสามารถจัดจำหน่ายได้ทั่วประเทศจากฐานการผลิตทั้ง 12 โรง ทั้ง 2 ฝ่ายจึงต้องเพิ่มงบประมาณในการโฆษณาของฝ่ายประชาสัมพันธ์ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด ตัวเลขงบประมาณของฝ่ายประชาสัมพันธ์พุ่งพรวดขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นมีการใช้กลยุทธ์ด้านการตลาด ทั้งการแจกแถม การลดราคา มีผลทำให้ตัวเลขขาดทุนของทั้งสองฝ่ายเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันตลาดสุราก็มีอัตราการเติบโตต่ำ และในบางพื้นที่หดตัวด้วยซ้ำจากผลของการตกต่ำทางเศรษฐกิจในช่วงปี พ.ศ.2527-28

บทสรุปของสงคราม

การแข่งขันที่หนักหน่วงของทั้งสองค่ายสุรา ทำให้ภาระหนี้สินและยอดการขาดทุนของทั้ง 2 ฝ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในวันที่ 7 มีนาคม 2529 ค่ายสุราทิพย์และสุรามหาราษฎร์ได้ตกลงยุติสงครามสุราที่รุนแรงและยาวนานกว่า 6 ปี และมีการรวมตัวให้เป็นบริษัทเดียวกันอยู่ภายใต้เครือสุรามหาราษฎร เพื่อยุติความขัดแย้งทั้งปวง โดยทั้ง 2 ฝ่ายถือหุ้นฝ่ายละร้อยละ 49 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 2 ให้ธนาคารเจ้าหนี้ถือไว้ โดยในการเจรจาครั้งนี้มีนายวรรณ ชันซื่อ เป็นคนกลาง

ในการรวมตัวกันนี้ บริษัทสุรามหาราษฎรต้องเพิ่มทุนจาก 2,000 ล้านบาท เป็น 4,000 ล้านบาท โดยหุ้นที่เพิ่มให้ขายให้กับบริษัทสุราทิพย์ และขณะเดียวกันบริษัทสุรามหาราษฎรจะซื้อหุ้นทั้งหมดจากสุราทิพย์ดังนั้น โครงสร้างใหม่ของธุรกิจสุรา มีสุรามหาราษฎรเป็นบริษัทแม่ มีผู้ถือหุ้น 2 กลุ่ม ในสัดส่วนเท่าๆ กัน คือกลุ่มแรก เป็นของตระกูลเตชะไพบูลย์ และ 3 ตระกูลจากเอเย่นต์ขายสุราภูธรที่ร่วมก่อตั้งบริษัทสุรามหาราษฎร คือตระกูลภัทรประสิทธิ์, ตระกูลไชยวรรณ และตระกูลตันติวิวัฒน์พันธ์ ส่วนกลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มของนายเจริญ ศรีสมบรูณานนท์ เท่ากับว่า ณ จุดนี้นายเจริญได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทสุรามหาราษฎร์

ตัวเร่งที่ทำให้เกิดการรวมตัวในครั้งนี้ก็คือ แรงบีบของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นเจ้าหนี้เพราะปรากฏยอดขาดทุนในทั้ง 2 กลุ่มบริษัทเป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้คืนให้กับธนาคาร และขณะเดียวกันได้เริ่มมีการติดค้างการจ่ายภาษีและเงินผลประโยชน์ให้กับรัฐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงรายได้รัฐบาล

แม้ว่าธนาคารพาณิชย์ได้พยายามแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยให้เงินกู้เพิ่มเติม 4,000 ล้านบาท และช่วยให้เดิมที่ขาดทุน ถัวเฉลี่ยเดือนละ 500 ล้านบาท เหลืองขาดทุนเพียง 347 ล้านบาท ในเดือนพฤศจิกายน 2529 และสงครามสุราก็สงบลงแล้ว แต่ธนาคารพาณิชย์คาดว่ากลุ่มบริษัทสุราทิพย์จะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้โดยปราศจากความช่วยเหลือจากรัฐบาล ซึ่งในขณะนั้นบริษัทสุราทิพย์มีหนี้สินกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอยู่ประมาณ 14,000 ล้านบาท และหนี้สินที่ต้องจ่ายให้รัฐตามสัญญาผลประโยชน์เป็นเงินรวมอีกประมาณ 6,000 ล้านบาท
สมาคมธนาคารไทย นำโดยชาตรี โสภณพานิช ในฐานะประธานสมาคมได้ยื่นหนังสือไปยัง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาสุรา ในที่สุดกระทรวงการคลังได้ตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาหาทางแก้ไข โดยมีเป้าหมายให้บริษัทดำเนินการได้ ธนาคารได้รับเงินคืน และรัฐได้รายได้ตามสัญญาแน่นอนสม่ำเสมอ

จึงเป็นที่มาของการแก้ไขสัญญา โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2530 ให้กลุ่มสุราทิพย์จ่ายภาษีและเงินผลประโยชน์เท่ากับปริมาณการผลิตขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในสัญญา ตลอดอายุสัญญาจนถึงปี 2542 เป็นเงินภาษีเท่ากับ 2,611 ล้านบาทต่อปี และผลประโยชน์เท่ากับ 5,394 ล้านบาทต่อปี เมื่อนับรวมตลอดอายุสัญญารัฐบาลจะมีรายได้เท่ากับ 137,070 ล้านบาท นอกจากนี้ยังให้โรงงานทั้ง 12 แห่งสามารถผลิตสุราทดแทนกันได้
การแก้ไขสัญญาสุราครั้งนี้ ถ้าดูผิวเผินเหมือนว่ารัฐบาลจะไม่ได้เสียผลประโยชน์ เพราะรายได้ยังได้ตามเป้าหมาย แต่ในความเป็นจริงถ้าเอกชนผลิตสุรามากกว่าโควตาขั้นต่ำ รัฐบาลจะไม่ได้รายได้ในส่วนที่เกินนั้นเลย

ท่ามกลางการต่อสู้ของกลุ่มสุรา บทบาทของคนอื่นๆ ในวงการสุราลดลงตามลำดับ แต่บทบาทของนายเจริญ สิริ-วัฒนภักดี โดดเด่นขึ้นอย่างมากมาย เพราะนายสุเมธ เตชะไพบูลย์ ซึ่งคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการรวมตัวในครั้งนี้ เพราะถือว่าตนเป็นผู้ทำตามกฎ กติกา ที่ถูกต้อง แต่อีกฝ่ายไม่ใช่ ได้ขายหุ้นทั้งหมดของตนในบริษัทสุรามหาราษฎร พร้อมทั้งหุ้นอื่นๆ ที่มีอยู่ในเครือสุรามหาราษฎร ให้กับพี่ชายนายอุเทน เตชะไพบูลย์ และถอนตัวตัวจากวงการสุรา ขณะที่นายอุเทน เตชะไพบูลย์ มีธุรกิจอื่นๆ ที่ต้องดูแลอีกมาก อำนาจในการบริหารงานทั้งหมดจึงตกอยู่ในมือของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี

ดังนั้น ครั้นถึงปี พ.ศ.2529 นายเจริญ สิริวัฒนภักดี จึงสามารถควบคุมโรงสุราของรัฐได้ทั้งหมด และในเวลาต่อมาสามารถสร้างเครือข่ายพันธมิตรทั้งในวงการเหล้า และเครือข่ายทางการเมืองและวงราชการจนอาจจะกล่าวได้ว่านโยบายหรือมาตรการสุราของรัฐที่ออกมา มักจะเอื้อประโยชน์หรือคุ้มครองกลุ่มนายเจริญเสมอ เงื่อนไขเหล่านี้สุดท้ายจึงทำให้นายเจริญ สิริวัฒนภักดี สามารถมีบทบาทควบคุมตลาดสุราในประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จนได้รับการการขนานนามเป็น “เจ้าพ่อน้ำเมา”

การเป็นเจ้าของสัมปทานโรงงานสุราทั้งหมดของประเทศ มีผลให้เครือสุรามหาราษฎรมีส่วนแบ่งทางการตลาดถึงประมาณร้อยละ 98 โดยมีการประมาณการมูลค่าตลาดของธุรกิจสุราในช่วงปี พ.ศ. 2530-39 น่าจะมีมูลค่าเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี และที่สำคัญธุรกิจสุราเป็นธุรกิจเงินสด และร้านค้าต้องจ่ายเงินล่วงหน้าเป็นเงินสด 1 เดือน ให้กับเอเย่นต์หรือตัวแทนทางการค้า ซึ่งเท่ากับว่าในแต่ละปีนายเจริญจะมียอดขายถึงปีละ 49,000 ล้านบาท หรือวันละ 134 ล้านบาท เงินสดอย่างมากมายที่ไหลเข้ามือบริษัทสุรามหาราษฎร ซึ่งมีนายเจริญเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และยึดกุมอำนาจบริหาร ทำให้นายเจริญกลายเป็นนักซื้อที่ขึ้นชื่อในยุคนั้น เช่น ในปี พ.ศ.2530 เจริญได้ซื้อหมู่บ้านเสนานิเวศน์ ในปีถัดมาได้ซื้อพันธ์ทิพย์พลาซ่า และอื่นๆ อีกมากมาย

สู่การเปิดเสรี

ในปี พ.ศ.2535 สมัยรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ได้ผลักดันให้รัฐบาลมีนโยบายเปิดเสรีเบียร์และสุรา แต่เนื่องจากโรงงานสุรายังติดสัญญาสัมปทานอยู่ จึงได้มีการให้เปิดเสรีเมื่ออายุสัมปทานหมดลงในปี พ.ศ.2542 และให้มีการเปิดเสรีธุรกิจเบียร์ในปี พ.ศ. 2536 ทันที
ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2541 อันเป็นปีก่อนที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ได้มีการออกนโยบายการบริหารงานสุราใหม่ โดยกำหนดให้เปิดเสรีในการผลิตและจำหน่ายสุราทุกชนิด ผู้ใดจะทำการผลิตและจำหน่ายสุราสามารถขออนุญาตผลิตและจำหน่ายสุรากลั่นจากกรมสรรพสามิตได้อย่างเสรี ไม่จำกัดแหล่งผลิต แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด ภายใต้กฎหมายว่าด้วยสุราของกฎหมายโรงงาน กฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และต้องเสียภาษีสรรพสามิตที่กฎหมายกำหนดด้วย สำหรับโรงงานสุราของรัฐกำหนดให้มีการประมูลขายให้กับเอกชน

คณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการประมูลจำหน่ายโรงงานดังกล่าวเสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2542 โดยสามารถประมูลจำหน่ายกิจการโรงงานสุรา (ประกอบด้วยที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต) ของกรมสรรพสามิตในส่วนที่กลุ่มสุราทิพย์เคยได้สัมปทานไป ให้เอกชนได้จำนวน 11 แห่ง (ยกเว้นโรงงานสุราที่จังหวัดฉะเชิงเทรา) เป็นวงเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 7,200 ล้านบาท ซึ่งผลการประมูลโรงงานสุราทั้งหมดก็ตกเป็นของกลุ่มของนายเจริญและพันธมิตร

สำหรับโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ซึ่งเคยเปิดประมูลจำหน่ายให้เอกชนทั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ ตลอดจนวัสดุ-ครุภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตรวมถึงสิทธิใบอนุญาตพร้อมเครื่องหมายการค้า ปรากฏว่า บริษัทสราญชัยจำกัด (ของกลุ่มบริษัทสุรามหาราษฎร จำกัด) เป็นผู้ประมูลได้ โดยเสนอราคาประมูลสูงถึง 8,251.99 ล้านบาท

ภายหลังการจับมือพันธมิตรกันระหว่างกลุ่มสุราทิพย์และสุรามหาราษฎร เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2529 และมีการรวมตัวกันเป็นบริษัทเดียวกันภายใต้เครือสุรามหาราษฎร ดังกล่าวมาแล้วในเบื้องต้นมีผลทำให้ตลาดสุรามีการผูกขาดอย่างชัดเจนภายใต้ผู้ผลิตกลุ่มเดียวซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่าร้อยละ 90 โดยกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เป็นผู้มีบทบาทหลักในการกำหนดตลาดสุราต่างประเทศ และนายเจริญได้มีการจัดเตรียมการหลายประการเพื่อรองรับการเปิดเสรีสุรา ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ.2543 โดยการ

จัดโครงการสร้างเครือข่ายสายสัมพันธ์กลุ่มพันธมิตร โดยการให้บริษัทแสงโสมซึ่งเป็นบริษัทที่นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ถือหุ้นอยู่มากกว่าร้อยละ 70 ทำหน้าที่เป็นโฮลดิ้ง เข้าไปถือหุ้นในบริษัทสุราต่างๆ ทั้งที่เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องในสายการผลิตและการจัดจำหน่าย และบริษัทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในสายการผลิตและการจัดจำหน่ายในสัดส่วนร้อยละ 25 ทุกบริษัท โดยบริษัทเหล่านั้นส่วนหนึ่งเป็นบริษัทของนายเจริญเอง หรือที่นายเจริญร่วมหุ้นกับคนอื่น หรือเป็นของเครือข่ายพันธมิตร เช่น กลุ่มตันติวิวัฒน์พันธ์ กลุ่มเตชะไพบูลย์ กลุ่มภัทรประสิทธิ์ กลุ่มไชยวรรณ กลุ่มวิชิตบุญญเศรษฐ และกลุ่มชีวะศิริ
การผลิตสุราไว้ในสต็อกเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นที่คาดกันว่า หลังการเปิดเสรีภาษีสุราจะต้องเพิ่มมากขึ้น การมีสุราเป็นสต็อกไว้ในมือจะทำให้มีต้นทุนการผลิตสินค้าถูกกว่าของคู่แข่งที่จะเข้ามาใหม่
จัดเตรียมความพร้อมทางด้านเงินทุนไว้สำหรับเตรียมการประมูลซื้อโรงงานสุราของรัฐ ดำเนินการโดยการออกหุ้นกู้ผ่านบริษัทแอลเอ็สพีวีจำนวน 18,000 ล้านบาท โดยใช้สต็อกสุราเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
การจัดเตรียมความพร้อมทางด้านวัตถุดิบ ได้มีการการทุ่มทุนซื้อโรงงานน้ำตาลเพิ่มเพื่อผลิตโมลาส ซึ่งวัตถุดิบสำคัญของการผลิตสุรา
การเตรียมความพร้อมดังกล่าวมีผลให้กลุ่มของนายเจริญมีความพร้อมค่อนข้างสูง มากกว่าผู้ประกอบการรายใหม่อยู่หลายช่วงตัว นอกจากนั้นสุราที่ผลิตโดยกลุ่มของนายเจริญยังมีรสชาติที่คนไทยคุ้นเคยมากนาน บวกกับความพร้อมด้านการผลิตและเครือข่ายการขายส่งที่มีทั่วประเทศ และการมีสต็อกสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อีกหลายปี จึงทำให้ไม่มีผู้ประกอบการรายใดที่จะมีศักยภาพเทียบเท่ากับกลุ่มนายเจริญได้เลยในระยะเวลาอันสั้น และผลก็ปรากฏว่านับจากปี 2543 จนถึง 2548 ไม่มีผู้ประกอบการรายใหญ่รายใหม่เข้ามาเป็นคู่แข่งกับสุราของกลุ่มนายเจริญ ทั้งนี้ยกเว้นสุราต่างประเทศที่เริ่มมีการนำเข้าสุราต่างประเทศราคาถูกเข้ามาขายในประเทศมากขึ้น

ปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลได้แก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้ผลิตสุรารายย่อย มีผลให้มีผู้ประกอบการรายย่อยหรือชุมชนเข้ามาเป็นผู้ผลิตจำนวนมาก โดยเคยมีจำนวนที่สูงมากถึง 6,000 กว่าแห่ง แต่ในแง่ส่วนแบ่งทางการตลาด ปรากฏว่าสุราจากชุมชนหรือผู้ผลิตรายย่อยสามารถมีส่วนแบ่งทางการตลาดของสุราขาวเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ผลิตรายย่อยเหล่านี้พบกับปัญหาอุปสรรคมากมายทั้งเงื่อนไขการขออนุญาตจากกรมสรรพสามิต เงื่อนไขการจ่ายภาษี-การจดทะเบียนการค้า ความเสียเปรียบในศักยภาพการบริหารเชิงธุรกิจ และการแข่งขันในเรื่องราคา จึงทำให้โครงสร้างของธุรกิจสุรายังคงผูกขาดอยู่ที่กลุ่มของนายเจริญซึ่งสามารถมีส่วนแบ่งทางการตลาดของสุราขาวถึงร้อยละ 90 และถ้ามองในภาพรวมของสินค้าสุราทั้งหมด ปรากฏว่าสินค้าสุรากลุ่มนายเจริญมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั้งหมดประมาณร้อยละ 75

ทุนต่อทุน : สู่การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์

ภายหลังเข้าครอบครองอาณาจักรสุราอย่างเด็ดขาด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 นายเจริญ ศรีสมบรูณานนท์ ได้เปลี่ยนนามสกุลมาเป็น สิริวัฒนภักดี ได้ดำเนินการสร้างอาณาจักรส่วนตัว โดยดำเนินรอยตามเจ้าสัวยุคเก่า นั้นคือ การย่างก้าวเข้าสู่ธุรกิจที่เคยเป็นแหล่งสะสมทุนของเจ้าสัวรุ่นเก่าจำนวนมาก ได้แก่ ธุรกิจธนาคาร ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์และโรงแรม ทั้งที่เป็นการซื้อโดยตรงและการซื้อหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์

นอกจากนี้เขายังมีธุรกิจอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากกระจัดกระจายอยู่ เพราะการขยายการลงทุนของเจริญไม่ได้ตัดสินใจเพราะผลตอบแทนทางธุรกิจเท่านั้น หากยึดหลักลงทุนเพื่อเชื่อมไมตรี เพื่ออนาคตของธุรกิจในเครือ หรือบางครั้งเพื่อเป็นการตอบแทนไมตรี หรือบางครั้งเขาก็ซื้อธุรกิจเหล่านั้นมาด้วยความเกรงใจและต้องการผูกมิตรด้วย

วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 มีผลให้ธุรกิจธนาคารและบริษัทเงินทุนที่นายเจริญเข้าไปถือหุ้นใหญ่ประสบปัญหาอย่างหนัก ได้แก่ ธนาคารมหานคร และ บงล.มหาธนกิจ โดย บงล.มหาธนกิจถูกปิดกิจการพร้อมๆ กับบริษัททุนอีก 56 แห่งในเดือนธันวาคม 2540 ขณะที่ธนาคารมหานครก็ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ายึด เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2541 นับเป็นการปิดฉากธุรกิจการเงินของนายเจริญอย่างเจ็บปวดที่สุด แต่เขาก็ไม่ได้ย่นย่อ ถอยกลับมาที่ฐานมั่นสำคัญคือธุรกิจสุราโดยเตรียมความพร้อมรับมือกับการจะเปิดเสรีสุรา เพื่อรักษาฐานที่มั่นที่สำคัญแห่งนี้ จากความบอบช้ำจากธุรกิจการเงินทำให้นายเจริญต้องระดมทุนจากตลาดการเงินโดยการออกหุ้นกู้และใช้สต็อกสุราค้ำประกัน เพื่อนำมาใช้ในการชำระภาษีก่อนสิ้นอายุสัมปทานของกิจการสุรา และสำหรับเตรียมประมูลซื้อโรงงานสุราทั้งหมด ซึ่งปรากฏว่าแผนการดังกล่าวเป็นไปตามที่วางไว้ นายเจริญและพันธมิตรสามารถเป็นเจ้าของโรงงานสุราที่เพิ่งจะหมดอายุสัมปทานลงได้ทั้งหมด

นายเจริญได้รับผลกระทบอย่างหนักจากธุรกิจการเงิน สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เขาเป็นเจ้าของทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่ปรากฏว่าทรัพย์สินเหล่านั้นสร้างรายได้ให้กับนายเจริญได้มาก แต่ธุรกิจเบียร์ที่นายเจริญได้เข้าไปลงทุนในสมัยที่มีการเปิดเสรีเบียร์ เมื่อกลางทศวรรษ 2530 นั่นต่างหากที่ให้รายได้แก่เขามากพอ จนทำให้นายเจริญสามารถกลับมายืนผงาดได้อีกครั้ง ธุรกิจค่ายเบียร์ช้างของนายเจริญมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด กลายเป็นรากฐานทางการเงินที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง

สำหรับธุรกิจเบียร์นั้น นายเจริญได้ร่วมมือกับบริษัทยูไนเต็ดบริวเวอรี่ จำกัด จากประเทศเดนมาร์ก เจ้าของเบียร์คาร์ลสเบอร์ก และสามารถก่อตั้งบริษัทคาร์ลสเบอร์กบริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินการผลิตเบียร์คาร์ลเบอร์กในประเทศไทย โดยตั้งโรงงานผลิตที่จังหวัดอยุธยา มีกำลังการผลิต 200 ล้านลิตรต่อปี ผลิตแข่งกับอีก 2 บริษัทคือ บุญรอด บริวเวอรี่ เจ้าของเบียร์สิงห์ และบริษัทเบียร์อมฤต

การเข้าร่วมในธุรกิจเบียร์ของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ซึ่งเป็นเจ้าตลาดทางด้านสุรา มีกลไกการจัดจำหน่ายที่ดีและกว้างขวาง ช่วยทำให้เบียร์คาร์ลสเบอร์กมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ดีมาก เพราะอาศัยช่องทางการจัดจำหน่ายของสุราในการเจาะตลาด โดยไม่เป็นคู่แข่งกับตลาดสุราแม่โขง หงส์ทองโดยตรง เพราะว่าผู้ที่ดื่มเบียร์ในขณะนั้นเป็นคนละกลุ่มกับแม่โขง-หงส์ทอง ในทางการตลาดเบียร์คาร์ลสเบอร์กถูกจัดวางให้เป็นเบียร์ระดับสูง และได้มีการปรับราคาเบียร์คาร์ลสเบอร์กมาอยู่ในระดับเดียวกับเบียร์สิงห์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก ในปี 2537 คาร์ลสเบอร์กสามารถแย่งส่วนแย่งทางตลาดได้ร้อยละ 13 เท่านั้น และในปี 2541 ส่วนแบ่งทางการตลาดก็ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 2

นอกจากการตั้ง บริษัทคาร์ลสเบอร์กบริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จำกัดแล้ว กลุ่มเจริญ สิริวัฒนภักดี ยังได้จัดตั้งบริษัทเบียร์ไทย (1991) จำกัดขึ้น เพื่อดำเนินการผลิตเบียร์ในตลาดเดียวกับสิงห์โดยตรง ในปี พ.ศ. 2538 เบียร์ช้างจึงได้ถือกำเนิดขึ้น โดยเบียร์ช้างเป็นเบียร์ที่มีดีกรีแรงและรสชาติเข้มข้น ขณะที่ราคาถูกกว่าเบียร์สิงห์มาก จากการจ่ายภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า การเปิดตัวของเบียร์ช้างได้สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับเบียร์สิงห์เป็นอย่างมาก เพราะถือว่าเป็นการต่อสู้กันในตลาดเบียร์ระดับเดียวกัน ผลลัพธ์ก็คือเบียร์ช้างสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดจากเบียร์สิงห์ได้สำเร็จ และสามารถขยายตัวจนมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุดในตลาดเบียร์

สำหรับโรงงานผลิตเบียร์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2538 อีกแห่งก็คือ บริษัทไทยเอเชีย แปซิฟิก จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ไฮเนเก้น ซึ่งเป็นเบียร์สัญชาติฮอลแลนด์ แต่ทำการผลิตในประเทศไทย บริษัทไทยเอเชียฯ เป็นการร่วมทุนระหว่างเอเชียบริวเวอรี่ จำกัด จากประเทศสิงคโปร์ โดยมีนายวาณิช ไชยวรรณ แห่งกลุ่มบริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ร่วมด้วยบริษัทไทยน้ำทิพย์และธนาคารทหารไทย

ไฮเนเก้นถูกว่างตำแหน่งให้เป็นสินค้าในตลาดระดับบน ซึ่งอยู่ในตลาดคนละระดับกับเบียร์สิงห์และเบียร์ช้าง ในขณะที่เบียร์คลอสเตอร์ของบริษัทไทยอมฤตบริเวอรี่ จำกัด ที่เป็นเบียร์บนเช่นเดียวกันมีปัญหาในเรื่องของกำลังการผลิตที่ไม่เพียงพอ ขณะที่เบียร์ไฮเนเก้นได้ใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านบริษัทไทยน้ำทิพย์ และมีสถาบันการเงินอย่างธนาคารทหารไทยเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านเงินทุน ส่งผลให้เบียร์ไฮเนเก้นก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาดพรีเมี่ยมในประเทศไทยแทน

ในอดีต เบียร์สิงห์ของตระกูลภิรมย์ภักดีถือว่าเป็นการผูกขาดและมีอิทธิพลอย่างมากในตลาดเบียร์ไทย การก้าวเข้าสู่ธุรกิจเบียร์ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ซึ่งมีความพร้อมค่อนข้างมาก ทั้งฐานการผลิต ฐานเงินทุน ฐานการจัดจำหน่าย แต่ที่สำคัญน่าจะเป็นฐานความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอำนาจรัฐ ซึ่งทำให้เบียร์ช้างสามารถใช้กลยุทธ์ “เหล้าพ่วงเบียร์” ได้โดยง่าย มีผลทำให้อาณาจักรของบุญรอดบริวเวอรี่สั่นคลอนอย่างมาก

กลยุทธ์เก่าสมัยสงครามสุราได้ถูกนำมาใช้อีกครั้งหนึ่ง คือการขายในราคาถูก ขณะที่ราคาขายปลีกเบียร์สิงห์อยู่ที่ 49-50 บาท เบียร์ช้างสามารถตัดราคาขายปลีกลงมาที่ 33.33 บาท การตั้งราคาในระดับต่ำกว่าเบียร์สิงห์ถึง 30% มีผลอย่างมากต่อผู้บริโภค ขณะเดียวกันสามารถเข้าถึงตลาดในทุกระดับทั่วประเทศโดยผ่านการจัดจำหน่ายของเครือสุราที่ตนเองเป็นเจ้าของ และการบังคับขายพ่วงสินค้า ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา กำลังซื้อในประเทศลดลง ผู้บริโภคจึงเลือกบริโภคสินค้าที่มีราคาถูกกว่าและทดแทนกันได้ เบียร์ช้างจึงประสบความสำเร็จในการครองความเป็นเจ้าตลาดเบียร์แทนเบียร์สิงห์ได้อย่างรวดเร็วเพียงระยะเวลา 4-5 ปีเท่านั้น บริษัทบุญรอดฯ ไม่สามารถกดราคาเบียร์สิงห์ให้ต่ำลงเท่ากับเบียร์ช้างได้ ขณะเดียวกันบุญรอดฯเองก็กังวลถึงภาพลักษณ์มาตรฐานของสิงห์อาจจะแย่ลงในสายตาผู้บริโภค ดังนั้นจึงออกผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งมีกุล่มเป้าหมายและระดับราคาเดียวกับเบียร์ช้างในชื่อ เบียร์ลีโอ โดยออกสู่ตลาดครั้งแรกในปี 2541 และมีผลต่อการแย่งส่วนแบ่งตลาดกลับคืนมาได้ การสัประยุทธ์ระหว่างค่ายเบียร์ช้างและค่ายเบียร์สิงห์ยังคงดำเนินต่อไปด้วยความคู่คี่

ผลที่เกิดขึ้นในสงครามระหว่างค่ายเบียร์ช้างและเบียร์สิงห์ ทำให้กรมสรรพสามิต มีการจัดระดับของสินค้าประเภทเบียร์ออกเป็น 3 ระดับคือ ระดับพรีเมี่ยม ระดับสแตนดาร์ด และระดับอีโคโนมี่ โดยทั้ง 3 ระดับนั้นมีการเสียภาษีที่แตกต่างกัน โดยระดับพรีเมี่ยมเสียภาษีสูงสุด ซึ่งได้แก่ เบียร์ไฮเนเก้น ระดับสแตนดาร์ดเสียภาษีรองลงมา ซึ่งได้แก่เบียร์สิงห์ และระดับอีโคโนมี่เสียภาษีต่ำสุด ได้แก่ เบียร์ช้าง เบียร์ลีโอ เบียร์อาชา เป็นต้น ทั้งๆ ที่การแบ่งระดับเช่นนี้ไม่มีการกำหนดเส้นแบ่งที่ชัดเจน ซึ่งก็เคยเกิดปัญหามาแล้วกับกรณีของแม่โขง-กวางทอง ซึ่งเป็นสุราปรุงพิเศษและหงส์ทองซึ่งถูกจัดเป็นสุราผสมที่เสียภาษีต่ำกว่า แต่ไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่าแตกต่างกันอย่างไร เพราะปรากฏว่าหงส์ทองเป็นเหล่าที่มีรสชาติเหมือนแม่โขง

ลักษณะการขายพ่วงสามารถสรุปให้เห็นภาพบางส่วนได้ดังนี้คือโดยปกติเบียร์ช้างจะขายพ่วงสุราขาวของบริษัทสุรามหาราษฎรในกลุ่มแสงโสมให้กับตัวแทนจำหน่ายในปริมาณ 1 เท (32 ขวด) โดยเอเย่นต์ต้องซื้อพ่วงเบียร์ช้าง 3 โหล ต่อมาในปี 2541 ในช่วงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่เบียร์ลีโอออกสู่ตลาดนั้น เบียร์ช้างใช้กลยุทธ์ในการพ่วงสินค้ามากขึ้นเป็นเหล้า 1 เท พ่วงเบียร์ 6 โหล ในปี 2542 และ 2543 กลยุทธ์การขายพ่วงและการแถมก็ยังคงดำรงอยู่โดยการพ่วงอยู่ในระดับ 4 โหลต่อสุรา 1 เท นอกจากนั้นแล้วขณะที่นายเจริญขายเบียร์ช้างในราคาถูก ราคาสุราของกลุ่มกลับมีราคาเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นการถ่ายโอนราคาระหว่างสินค้า 2 กลุ่ม

การขายเหล้าพ่วงเบียร์ของกลุ่มนายเจริญมิได้หยุดยั้งเพียงเท่านี้ยังมีการขายพ่วงผลิตภัณฑ์น้ำดื่มหรือโซดาช้างเข้าไปด้วย ส่งผลให้ยอดขายเบียร์ช้างติดตลาดและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว และยังคงใช้กลยุทธ์ขายพ่วงสินค้าต่างๆ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม บริษัทบุญรอดฯ ก็เคยใช้การขายพ่วงสินค้าในเครือของตนเองไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มสิงห์ และน้ำผลไม้ของบริษัท เพื่อเป็นช่องทางในการระบายสินค้าในระยะหนึ่ง พอสินค้าติดตลาดและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคแล้วบริษัทก็เลิกใช้วิธีดังกล่าว

กลยุทธ์การขายพ่วงสินค้าสินค้าสามารถเป็นช่องทางหนึ่งที่กระจายสินค้าออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วและเห็นผล แต่ถ้ากลยุทธ์นี้ถูกนำมาใช้เป็นเวลานานก็จะเป็นช่องทางในการสร้างการผูกขาดในตลาดและลดอำนาจของผู้บริโภคได้ในที่สุด

ขณะที่ชัยชนะของสุราทิพย์ก็คือ การทำให้หงส์ทองสามารถบินว่อนได้ ชัยชนะของเบียร์ช้างก็คือความสามารถทำให้เกิดการบังคับขายพ่วงสินค้าได้

การสะสมความมั่งคั่งในธุรกิจเบียร์ ยังเกิดจากตลาดเบียร์ที่มีอัตราการเติบโตในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ถึงกว่าร้อยละ 10 ต่อปี ซึ่งแม้ว่าทั้ง 2 ค่ายจะต่อสู้กันอย่างหนักหน่วง สภาพการณ์กลับแตกต่างจากสมัยสงครามสุรา ทั้งนี้เพราะการแข่งขันครั้งนี้เกิดขึ้นในยุคเปิดเสรีธุรกิจเบียร์ ซึ่งมีผลให้ผู้ผลิตเบียร์จ่ายแต่เพียงภาษี ไม่มีค่าสิทธิประโยชน์อื่นๆ ให้กับรัฐ ซึ่งส่วนนี้เป็นต้นทุนสำคัญของธุรกิจ ดังนั้น ท่ามกลางการต่อสู้ทั้ง 2 ค่ายยังคงสามารถสะสมความมั่งคั่งได้อย่างเป็นกอบเป็นกำอย่างต่อเนื่อง
ถึงตลาดจะฟูมฟายมากแค่ไหน ก็ยินดียืมไหล่ให้เธอซบ ยืมอกให้เธอซับน้ำตา
DemonInvesting
Verified User
โพสต์: 805
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 54

โพสต์

กะเทาะ “เสี่ยเจริญ” ผ่านงานวิจัย “นวลน้อย ตรีรัตน์” (ต่อ)

การสะสมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ : ยุคผลัดใบ

ในปี พ.ศ.2546 นายเจริญวางแผนที่จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งถือเป็นรูปแบบการสะสมทุนและความมั่งคั่งของเจ้าสัวสมัยใหม่

สาเหตุที่อาณาจักรน้ำเมาของนายเจริญต้องปรับเปลี่ยนเพื่อเข้าสู่รูปแบบการสะสมทุนแบบใหม่อาจจะมาจาก

เป็นการเข้าสู่ยุคการผลัดใบ ที่นายเจริญจะต้องถ่ายโอนการบริหารไปสู่คนในตระกูลรุ่นต่อไป ซึ่งคงยากที่จะทำธุรกิจในรูปแบบเดียวกันกับที่นายเจริญเคยดำเนินการ
การเปิดเสรีในตลาดสุรา ทำให้สภาพการแข่งขันสูงขั้น โดยเฉพาะจากสุราราคาถูกจากต่างประเทศ ขณะเดียวกันการขยายตัวของตลาดสุราและเบียร์ในประเทศชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อม และขยายตัวสู่ต่างประเทศ เพื่อขยายตลาดเพิ่มขึ้น
ทรัพย์สินและความมั่งคั่ง ทั้งที่อยู่ในรูปสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ ล้วนแต่มีมูลค่าตลาดสูง แต่ถ้าไม่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ไหนเลยจะแปรเปลี่ยนเป็นเงินได้
ถึงแม้ว่ากลุ่มของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี จะสามารถกุมส่วนแบ่งการตลาดโดยส่วนใหญ่ไว้ได้ ทั้งในตลาดสุราและเบียร์ก็ตาม แต่การแข่งขันที่เกิดขึ้นในระดับหนึ่ง ทำให้ค่าเช่าทางเศรษฐกิจที่เคยได้หรือการใช้อำนาจในการผูกขาดในธุรกิจไปแสวงหาค่าเช่าอื่นๆ เพิ่มเติมมีข้อจำกัดมากยิ่งขึ้น ในที่สุดแล้วกลุ่มเครือข่ายสุราและเบียร์โดยมีนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เป็นแกนที่สำคัญ ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างของธุรกิจอีกครั้งหนึ่งเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ โดยอยู่ภายใต้บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บมจ. ไทยเบฟเวอเรจได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2546 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 20,000 ล้านบาท (เพิ่มทุนเป็น 22,000 ล้านบาทในเดือนธันวาคม 2546) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจการลงทุนโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับการผลิตเบียร์ น้ำดื่มและโซดา ผลิตสุรา ผลิตแอลกอฮอล์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม การเป็นผู้แทนจำหน่าย การตลาด ส่งออกและการขนส่ง และธุรกิจต่อเนื่องอื่นๆ

โครงสร้างผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 2 กันยายน 2548 มีนายเจริญ สิริวัฒนภักดี และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี เป็นผู้ถือหุ้นรวมกันร้อยละ 40.91 โดยเป็นการถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 28.70 และถือหุ้นทางอ้อมอีกร้อยละ 12.21

อย่างไรก็ตาม บริษัทไทยเบฟเวอเรจไม่ประสบความสำเร็จในการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย เนื่องจากเผชิญแรงต้านจากกลุ่มเครือข่ายประชาสังคมที่นำโดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ไม่ได้ให้ความสนับสนุนมากมายเพียงใด ซึ่งอาจเป็นเพราะตระหนักดีว่ามีสาธารณชนที่ต่อต้านธุรกิจสุราอยู่ตามสมควร และมีกลุ่มที่ต่อต้านการดื่มสุราที่นำโดยจำลอง ศรีเมือง เป็นขบวนการประชาชนที่เข้มแข็ง และอาจจำให้ความนิยมของรัฐบาลลดลง และอาจจะลายเป็นประเด็นทางเมืองขึ้นมาก็ได้ ถ้ารัฐบาลออกมาสนับสนุนนอกหน้าก็จะเสียคะแนนนิยมกับกลุ่มผู้ที่ต่อต้านการดื่มสุรา ในที่สุดบริษัทไทยเบฟเวอรเรจจึงไปเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์แทน

เศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องสุรา

ในการวิเคราะห์ข้างต้นได้ชี้ให้เห็นความเป็นมาของธุรกิจสุราซึ่งเกี่ยวโยงกับการเมืองมาโดยตลอด รวมทั้งการเข้าสู่ธุรกิจสุราของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี จากที่เคยเป็นเพียงลูกพ่อค้าขายหอยทอด มาเป็นผู้ที่มีหุ้นใหญ่ในธุรกิจผูกขาดสุรา และต่อมาได้ใช้รายได้ (ที่ได้เกินระดับปกติที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่าค่าเช่า) ขยับขยายการลงทุนสู่ธุรกิจอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ในส่วนนี้จะได้วิเคราะห์ถึงสูตรสำเร็จการเข้าสู่การยึดครองการผูกขาดของนายเจริญ ซึ่งประกอบด้วยกลยุทธ์การยึดครองสัมปทาน การสร้างเครือข่ายพันธมิตรและการอิงอำนาจรัฐ การใช้กลไกรัฐในการเอื้อประโยชน์ และกลยุทธ์กีดกันคู่แข่งรายใหม่

ยึดครองสัมปทาน : คว้าชัยไว้ก่อนพลิกแพลงทีหลัง

ดูเหมือนว่าสูตรสำเร็จสำคัญประการหนึ่งของการเข้าสู่การยึดครองผูกขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีธุรกิจสัมปทานภาครัฐ ก็คือจะต้องพยายามยึดครองสัมปทานให้ได้เสียก่อน แล้วค่อยไปแก้ปัญหาต่างๆทีหลัง โดยผ่านการสร้างเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ขึ้นมาก แต่ถ้าหากว่าสถานการณ์ทางการเมืองอยู่ในภาวะที่ไม่รวมศูนย์โดยเด็ดขาด มีผู้ที่พยายามเข้าแย่งชิงผลประโยชน์หลายรายแล้ว กลยุทธ์ที่จะใช้ในกรณีนี้คือการเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้กับรัฐเป็นจำนวนที่สูงมาก เพื่อให้ได้สัมปทาน หลังจากที่ได้ผูกขาดแล้วก็จะหาทางเพื่อให้มีการแก้ไขข้อสัญญาในสัมปทานโดยเฉพาะในประเด็นเรื่องผลตอบแทน

ในกรณีของธุรกิจสุราก็เช่นเดียวกัน การแข่งขันระหว่างกลุ่มนายสุเมธ เตชะไพบูลย์ และกลุ่มเถลิง-เจริญ ทำให้ข้อเสนอการให้ผลประโยชน์ตอบแทนต่อโรงงานสุราบางยี่ขันในปี 2522 เพิ่มขึ้นจากสัมปทานเก่าค่อนข้างมาก จากการเสียค่าเช่าปีละ 51 ล้านบาท และส่วนแบ่งกำไรสุทธิอีกร้อยละ 25 เพิ่มเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 45 ของราคาขายปลีก และเช่นเดียวกันเพื่อให้ได้สัมปทานโรงงานสุราในเครือของกรมสรรพสามิต เพื่อใช้เป็นฐานในการต่อสู้กับกลุ่มนายสุเมธ กลุ่มเถลิง-เจริญได้เสนอผลประโยชน์ให้กับรัฐถึง 5,884 ล้านบาทในปีแรก สูงกว่ากลุ่มเจ้าของสัมปทานเดิมที่มีจำนวน 29 ราย ที่เสนอให้ 3,200 ล้านบาท กรณีนี้ได้ถูกวิจารณ์อย่างมากมายในวงการธุรกิจสุรา ว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเสนอผลตอบแทนให้สูงถึงเพียงนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลาจ่ายเงินปรากฏว่ากลุ่มเถลิงและเจริญมีเงินจ่ายเพียง 5 โรงเท่านั้น ต้องเปิดประมูลรอบใหม่ ซึ่งเถลิงกับเจริญก็ชนะเช่นเดิมอีก แต่ผลประโยชน์ที่เสนอให้รัฐลดลง 796 ล้านบาท ทั้งนี้เงินที่กลุ่มนำมาจ่ายให้รัฐมาจากเงินกูจากธนาคาร 6 แห่ง โดยมีธนาคารกรุงเทพเป็นหลัก การกู้เงินครั้งนี้ใช้เพียง 5 คนค้ำประกัน คือ เถลิง เหล่าจินดา, นายพงส์ สารสิน, เจริญ ศรีสมบูรณานนท์, เกียรติ เอี่ยมสกุลรัตน์ และกมล เอี่ยมสกุลรัตน์

การประมูลโรงงานสุราในราคาที่สูง มีผลให้ต้นทุนในการผลิตสุรามีราคาที่สูงขึ้นมาก และจะต้องมีการผลิตตามจำนวนขั้นต่ำเพื่อจ่ายค่าผลประโยชน์ขั้นต่ำให้กับรัฐ ก่อนที่สัมปทานจะเริ่มในปี 2528 กลุ่มสุราทิพย์ได้รับเซ้งหรือร่วมกิจการกับผู้ผลิตเดิม เพื่อผลิตสต็อกสุราเป็นจำนวนถึง 7.8 ล้านเท โดยสุราเหล่านี้ผลิตขึ้นโดยเสียภาษีและค่าผลประโยชน์ตามเดิม ซึ่งถูกกว่าสัญญาใหม่ค่อนข้างมากและในปี 2528 กลุ่มสุราทิพย์ได้เสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาลดจำนวนการผลิตตามสัญญาขั้นต่ำ ตามจำนวนสต็อกเหล้าที่มีอยู่ ซึ่งถ้ากระทรวงการคลังอนุมัติก็จะมีผลให้รัฐสูญเสียค่าภาษีและค่าสิทธิ์เป็นจำนวน 4,000 กว่าล้าน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ผ่านความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง แม้ว่าจะมีการผลักดันให้พิจารณาถึง 2 รอบก็ตาม

ภายหลังยุทธการสุรา ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายบาดเจ็บไปค่อนข้างมากภาระหนี้สินและยอดการขาดทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2529 สมาคมธนาคารนำโดยนายชาตรี โสภณพานิช ในฐานะประธานสมาคมได้ยื่นหนังสือไปยัง พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาสุรา เพราะในขณะนั้นกลุ่มสุราทิพย์เป็นหนี้สถาบันการเงินอยู่ประมาณ 14,000 ล้านบาท และหนี้ที่จะต้องจ่ายให้รัฐตามสัญญาผลประโยชน์รวมอีกประมาณ 5,000 กว่าล้านบาท โดยอ้างเหตุผลว่าถ้ากลุ่มสุราทิพย์ไม่สามารถจ่ายหนี้คืนให้กับสถาบันการเงินได้อาจจะมีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ตลอดรวมถึงรายได้รัฐบาล ปรากฏการณ์นี้ทำให้รัฐต้องเข้าสู่วงจรของกลุ่มทุนที่ว่า “ใหญ่เกินไปที่จะล้ม”
กลยุทธ์คว้าชัยไว้ก่อนพลิกแพลงที่หลัง ได้ปรากฏผลว่า ในที่สุดกระทรวงการคลังต้องยินยอมให้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทานโดยให้สุราทิพย์จ่ายเงินผลประโยชน์เหมาจ่ายให้รัฐเท่ากับรายได้ขั้นต่ำ (ตามข้อกำหนดการผลิตสุราตามจำนวนขั้นต่ำ) ในการเสนอประมูลตลอดช่วงอายุสัญญาถึงปี 2542 และให้โรงงานทั้ง 12 โรงงานสามารถผลิตสุราทดแทนกันได้

นอกจากนี้ภายหลังกลุ่มสุรามหาราษฎรและสุราทิพย์รวมตัวกันเป็นบริษัทเดียวกันแล้ว กระทรวงการคลังได้ลดเงินผลประโยชน์ที่บริษัทต้องจ่ายให้รัฐลดลงด้วย

กลยุทธ์การยึดครองสัมปทาน เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อมีการประมูลขายโรงงานสุราบางยี่ขันในปี 2542 ตามนโยบายเปิดเสรีสุรา กลุ่มบุญรอดบริวเวอรี่ได้ออกข่าวอย่างต่อเนื่องว่าจะเข้ามาในธุรกิจสุรา ทำให้กลุ่มเจริญเสนอราคาประมูลถึง 8,251 ล้านบาท ขณะที่บุญรอดบริวเวอรี่เสนอเพียง 2,544 บาท

สร้างเครือข่ายพันธมิตร อิงฐานอำนาจรัฐ

กล่าวกันว่าการประกอบธุรกิจการค้าในประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จนั้นไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎีการค้าแบบตะวันตกแต่อย่างใดแต่จะต้องเป็นไปตามวิถีตะวันออก กล่าวคือ จะต้องมีการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ แปรเปลี่ยนคู่แข่งให้เป็นเครือข่าย สร้างสายสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กับฐานอำนาจรัฐ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์และหรือเพื่อรักษาผลประโยชน์ และสร้างเส้นสายกับฐานอำนาจทางการเงิน เพื่อการขยายตัวของทุนได้โดยง่าย ถ้าทำได้ทั้ง 3 ประการ ก็สามารถยึดครองอาณาจักรธุรกิจนั้นอย่างง่ายดายได้

ณ จุดเริ่มต้นการได้เป็นเขยของนาย “กึ้งจู แซ่จิว” ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์รายสำคัญให้กับบริษัทสุรามหาคุณและมีสายสัมพันธ์กับตระกูลเตชะไพบูลย์ นักธุรกิจระดับนำ นับว่าเป็นจุดได้เปรียบเริ่มแรก และการที่นายเจริญถูกดึงเข้าสู่วงการผลิตสุราร่วมกับนายเถลิง เหล่าจินดา ซึ่งมีเครือข่ายเส้นสายในสายทหารค่อนข้างมาก ต่อจากนั้นก็ได้มีการเสริมสร้างเครือข่ายพันธมิตรอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายพันธมิตรในวงการค้า อำนาจรัฐ และฐานการเงิน อาจจะกล่าวได้ว่าเริ่มตั้งแต่การสามารถดึงตัวนายจุล กาญจนลักษณ์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความชำนาญในการปรุงสุราที่เก่งที่สุดในสมัยนั้นเข้ามาเป็นพวก และจัดตั้งเป็นบริษัท ที.ซี.ซี และนายจุลเป็นผู้แนะนำให้ซื้อโรงงานธาราวิสกี้ ของนายประสิทธิ์ ณรงค์เดช และนายพงส์ สารสิน

การได้ตัวนายจุลซึ่งเป็นผู้ปรุงเหล้าแม่โขง-กวางทองมาเป็นพวกทำให้กลุ่มนายเถลิง-เจริญ สามารถออกสุราแสงโสมและหงส์ทอง ซึ่งมีรสชาติที่เหมือนกับแม่โขง แต่ราคาถูกกว่ากันมาก เพราะแม่โขงเป็นสุราปรุงพิเศษที่สามารถจัดจำหน่ายได้ทั่วประเทศ ขณะที่แสงโสมและหงส์ทองถูกจัดอยู่ในประเภทสุราผสม ซึ่งเสียภาษีต่ำกว่ามาก แต่มีข้อจำกัดที่ขายได้เฉพาะเขต ซึ่งต่อมาได้เกิดยุทธการ “หงส์บินว่อน” ซึ่งเกิดขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ของกรรมสรรพสามิตกระทำตนแบบ “เอาหูไปนาเอาตาไปไร่” ทั้งเรื่องผลิตสุราเลียนแบบและขายข้ามเขต

การได้นายพงส์ สารสิน มาเป็นเครือข่ายพันธมิตรนับว่าเป็นจุดเชื่อมที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง เพราะในขณะนั้นนายพงส์ สารสิน คือนักการเมืองคนสำคัญของพรรคกิจสังคม เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในปี 2529 ขณะเดียวกันนายพงส์ยังเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญกับการสร้างสายสัมพันธ์กับกระทรวงการคลัง ทั้งนี้เพราะน้องชายของนายพงส์คือนายบัณฑิต บุณยะปานะ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และต่อมาเป็นอธิบดีกรมสรรพสามิต และได้ออกคำสั่งหลายครั้งที่เป็นผลดีต่อกลุ่มของนายเถลิง-เจริญ-พงส์ โดยเฉาะอย่างยิ่งการอนุญาตให้มีการขนสุราหงส์ทองข้ามเขตได้

การได้นายเกียรติ เอี่ยมสกุลรัตน์ มาร่วมในกลุ่มสุราทิพย์ มีผลสำคัญที่ทำให้เครือข่ายทางการค้ามีความมั่นคงมากขึ้น เพราะนายเกียรติเป็นผู้หนึ่งที่มีความชำนาญในวงการสุรา และเป็นน้องชายของนายกมล เอี่ยมสกุลรัตน์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งสุรามหาคุณ นอกจากนี้นายเกียรติยังเป็นจุดเชื่อมต่อกับฐานการเงินที่สำคัญ คือ ธนาคารกรุงเทพ ทั้งนี้เพราะนายเกียรติมีความสนิทสนมกับนายชาตรี โสภณพานิช ประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพเป็นอย่างดี ซึ่งส่งผลต่อการได้เงินกู้จากธนาคารกรุงเทพ สำหรับจ่ายค่าสัมปทานและการสร้างโรงงานใหม่ทั้ง 12 แห่ง ของกรมสรรพสามิต

ประสบการณ์ที่สำคัญที่นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้รับในช่วงสงครามสุราก็คือ ยิ่งก่อสงครามต่อกัน สุดท้ายก็อาจจะล่มจมด้วยกันทั้งคู่ และสุดท้ายแม่ทัพใหญ่ทั้ง 2 ฝ่ายคือ นายเถลิง เหล่าจินดาและนายสุเมธ เตชะไพบูลย์ ก็ต้องถอนตัวออกจากวงการสุราด้วยความบอบช้ำ ปล่อยให้นายเจริญเข้าครอบครองอาณาจักรสุราอย่างเบ็ดเสร็จ อีกกลยุทธ์หนึ่งก็คือ ถ้าสามารถแปรคนที่มีแนวโน้มจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญให้กลายเป็นพันธมิตรได้ นายเจริญจะทำทันทีเพื่อลดสภาวะการแข่งขันข้อมูลที่ยืนยันสิ่งนี้ได้ก็คือ เมื่อครั้งนายเฉลียว อยู่วิทยา เจ้าพ่อเครื่องดื่มชูกำลัง “กระทิงแดง” ต้องการเข้าสู่ธุรกิจสุรา โดยต้องการจะผลิตสุรากระทิงแดง กลุ่มนายเจริญได้เข้าเจรจาเพื่อให้นายเฉลียวเปลี่ยนใจ ในที่สุดนายเจริญได้รับซื้อบริษัทสุรากระทิงแดงจากนายเฉลียว

หรือว่าภายหลังการเปิดเสรี บริษัทยูไนเต็ดไวน์เนอรี่ จำกัด ของกลุ่มนายไพศาล ชีวะศิริ เจ้าของสุรายี่ห้อ “แบล็กแคท” ที่กำลังมาแรง ได้ขอใบอนุญาตผลิตสุรา โดยได้มีการเปิดตัวว่าจะมีการผลิตสุราขาวยี่ห้อ “ไผ่ทอง” ออกมาจำหน่ายในราคาขวดละ 51 บาท ในการจัดการกับคู่แข่งรายนี้นายเจริญเริ่มต้นด้วยการใช้เทคนิคการตลาดเพราะว่ามีเงินหนามาก คือ ได้ลดราคาสุราขาวลงมาอยู่ที่ 39 บาทจากราคา 60 บาท ก่อนทีไผ่ทองจะเข้าสู่ตลาด ทำโอกาสของไผ่ทองเป็นไปค่อนข้างยาก ต่อมาก็มีข้อเสนอให้บริษัทมาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน และสุดท้ายบริษัทยูไนเต็ดไวน์เนอรี่ จำกัด ก็ตกไปเป็นบริษัทหนึ่งในเครือของนายเจริญ โดยนายไพศาล ชีวะศิริ เข้าไปถือหุ้นในกลุ่มบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) แทน ขณะที่บริษัทบริษัทยูไนเต็ดนั้นนายไพศาลไม่ได้มีตำแหน่งใดๆ อีกทั้งสิ้นกลับเป็นนายเจริญเข้ามาเป็นประธานกรรมการแทน การเข้ามาครอบครองบริษัทยูไนเต็ดไวน์เนอรี่ จำกัด ทำให้สินค้ามีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น เพราะสินค้าของกลุ่มยูไนเต็ดไวเนอรี่มีหลายชนิดทำให้สามารถเข้าไปกลุ่มผู้บริโภคที่มีความหลากหลายมากขึ้น

ในการสร้างอาณาจักรของนายเจริญ เขาได้สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับส่วนต่างๆ ไว้มาก โดยเฉพาะในวงราชการ ทหาร และนักการเมือง จนกล่าวว่า ไม่ว่าหน่วยราชการใดจัดเลี้ยง ขอความอนุเคราะห์มา ก็จะมีการขนสุราหงส์ทองไปแจกเป็นว่าเล่น หรือว่ากรรมการในเครือบริษัทต่างๆ ของเขาจะเต็มไปด้วยอดีตข้าราชการและนายทหารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำเมามาแล้วทั้งสิ้น

นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ยังใช้วิธีการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ฝังรากลึกและยาวนานกับข้าราชการที่มีอำนาจหน้าที่ที่สามารถเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจของเขาได้ จึงปรากฏว่าข้าราชการระดับสูงที่เกษียณราชการออกมาแล้วทั้งจากกรมสรรพสามิตและกระทรวงอุตสาหกรรมมักจะได้รับเชิญให้ไปนั่งในตำแหน่งต่างๆ ของบริษัทในเครือของนายเจริญ และหรือยังคงความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน ซึ่งเป็นที่มาของผู้เขียนที่เขียนถึงนายเจริญ สิริวัฒนภักดี มักจะอ้างถึงลักษณะนิสัยของเขาว่า เป็นบุคคลประเภท “บุญคุณต้องทดแทน” นอกจากนี้เขายังเป็นบุคคลที่ชอบสร้างเครือข่าย ในนิตยสารดอกเบี้ย ฉบับวันที่ 3-9 ธันวาคม 2544 มีความตอนหนึ่งว่า

“ในสถานที่ทำงานของเขาในแต่ละวัน โดยเฉพาะที่โรงแรมพลาซ่าแอทธินีจะมีผู้มารอคอยพบเขานับเป็นสิบๆ คนในแต่ละวัน และที่น่าสนใจก็คือ คนที่มารอคอยพบเขาเหล่านี้ไม่ใช่คนเดินดินธรรมดาสามัญเสียด้วย แต่ละคนล้วนเป็นใหญ่เป็นโตที่มีชื่อเสียงในแวดวงสังคมทั้งสิ้น”
และอีกตอนหนึ่งว่า
“กล่าวคือเขาพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือกับทุกๆ คนที่เข้ามาขอความช่วยเหลือ ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดาสามัญหรือนักการเมืองระดับใด ซึ่งมันเหมือนกับว่าเป็นความคิดที่อยู่ในจิตสำนึกว่า หากโปรยเงินให้คนเหล่านี้ไปแล้ว เงินเหล่านี้จะกลับมาตอบแทนเขาไม่ในชาตินี้ก็ชาติหน้า”
จากลักษณะเช่นนี้จึงมีผลให้นายเจริญ สิริวัฒนภักดี มีเพื่อนฝูงในแวดวงต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เขาจะต้องจ่ายเพื่อคงไว้ซึ่งเครือข่ายเชิงอุปถัมภ์ที่มีต่อกัน ดังนั้น ถึงแม้ว่านายเจริญจะมีรายได้มหาศาล แต่ก็มีค่าใช้จ่ายไม่น้อยทีเดียว

ขณะที่กลุ่มน้ำเมาได้พยายามสร้างภาพลักษณ์ของบริษัทเบียร์ไทย ว่าเป็นบริษัทที่อุดหนุนเกื้อกูลสังคมไทย จากโครงการต่างๆ เช่น “เบียร์ช้างต้านภัยหนาว” การให้ทุนการศึกษา การบริจาคให้กับองค์กรสาธารณกุศลต่างๆ ตลอดจนโครงการส่งเยาวชนไทยไปฝึกและเล่นบอลกับสโมสรในต่างประเทศ

แต่ทว่าในอีกด้านหนึ่ง บริษัทเบียร์ไทยได้เป็นโจทก์ฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาด ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตเบียร์ ที่จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อขอให้คืนภาษีโรงเรือนและที่ดินของปี 2547 ที่จำเลยได้ประเมินและจัดเก็บไปจำนวน 7.2 ล้านบาท เป็นจำนวน 4.5 ล้านบาท ซึ่งศาลภาษีอากรกลางได้มีคำพิพากษายกฟ้อง และในปี 2548 บริษัทเบียร์ไทยดำเนินการฟ้องร้องในประเด็นเดิมสำหรับการจัดเก็บภาษีปี 2548 ซึ่งศาลภาษีอากรกลางได้มีคำพิพากษายกฟ้องอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับพรรคการเมืองแล้ว นายเจริญเป็นผู้บริจาคให้กับพรรคการเมืองต่างๆ ทั้งที่อยู่ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านมาโดยตลอด เขาจึงเป็นผู้กว้างขวาง ซึ่งไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะขึ้นมาเป็นรัฐบาล อาณาจักรธุรกิจของเขาจะไม่ได้รับผลกระเทือนแต่อย่างใด และนี่อาจจะเป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยแทบจะไม่มีการผลิตนโยบายที่จะมีผลต่อการลดการบริโภคสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จนกระทั่งถูกกดดันจากองค์กรภาคประชาสังคม

ใช้กลไกรัฐในการเอื้อประโยชน์

จากการมีเครือข่ายความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ มีผลทำให้นโยบายต่างๆ ที่ออกมามักจะเอื้อประโยชน์กับกลุ่มเหล้าของนายเจริญ ในช่วงสงครามสุราระหว่างแม่โขงกับสุราตระกูลหงส์มีนโยบายจำนวนมากที่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มของนายเถลิงและเจริญ จากทั้งกรมสรรพสามิตและจากกระทรวงอุสาหกรรม นโยบายหรือมาตรการเหล่านี้ได้แก่

ก่อนการประมูลโรงงาสุราของกรมสรรพสามิตจำนวน 12 โรง ได้มีมติคณะรัฐมนตรีในเดือนมีนาคม 2526 ห้ามไม่ให้ผู้ที่ประมูลสุราทั้ง 12 โรงได้มีการปรุงสุราที่ใช้สูตรปรุงพิเศษของแม่โขงและกวางทอง เพราะปรากฏว่าได้มีการปรุงสุราที่มีรสชาติใกล้เคียง โดยผู้ปรุงคนเดียวกัน ในชื่อสุราตระกูลหงส์ออกจำหน่ายแล้ว อย่างไรก็ตาม กรมสรรพสามิตมิได้สนใจที่จะให้เอกชนปฏิบัติตามมติคณะรัฐมานตรีดังกล่าวทั้งๆ ที่แม่โขง-กวางทองจ่ายภาษีในอัตราที่สูงกว่าหงส์ทอง ซึ่งเท่ากับเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายใหม่จนสามารถสร้างสุรายี่ห้อใหม่ได้ คือหงส์ทอง การเอื้อประโยชน์นี้ได้ถูกนำมาใช้ในกรณีของสงครามเบียร์เช่นเดียวกัน จนค่ายเบียร์ช้างสามารถลงหลักปักฐานได้อย่างแน่นหนา
การอนุญาตให้มีการขนสุราหงส์ทองข้ามเขตได้ ซึ่งมีผลให้สุราหงส์ทองที่แต่เดิมมีขายในเขตเท่านั้น เพราะเป็นสุราผสมที่เสียภาษีต่ำกว่าแม่โขงและกวางทอง ซึ่งเป็นสุราปรุงพิเศษที่สามารถขายได้ทั่วประเทศ ทำให้การแข่งขันทั้ง 2 ค่ายเป็นไปอย่างไม่ยุติธรรม กรณีหงส์บิน ก็เฉกเช่นเดียวกันกับการบังคับขายพ่วงในธุรกิจเบียร์
แม้เมื่อกลุ่มสุราทิพย์ซึ่งสามารถประมูลโรงงานสุราได้ทั้ง 12 โรง แต่สามารถจ่ายเงินได้เพียง 5โรง มีผลทำให้ต้องมีการประมูลใหม่กลุ่มสุราทิพย์ก็ยังสามารถมีสิทธิ์เข้าประมูลได้ และชนะการประมูลได้อีกครั้ง แต่เสนอผลประโยชน์ให้รัฐลดลงเกือบ 800 ล้านบาท
ความพยายามในการผลักดันให้แม่โขงขึ้นราคา ของนายอบ วสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในสมัยนั้น(2527) เมื่อมีการคัดค้านจากปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมก็ถูกสั่งย้ายและตั้งคณะกรรมการสอบ และในที่สุดก็สามารถสั่งให้แม่โขงและกวางทองขึ้นราคาได้ ซึ่งส่งผลต่อการแข่งขันมาก เพราะมีผลทำให้ราคาของแม่โขงและกวางทองเพิ่มสูงขึ้นกว่าสุราในตระกูลหงส์ ซึ่งผู้บริโภครู้สึกว่ามีรสชาติเหมือนกันและต่อมาในปี 2528 กระทรวงการคลังได้เพิ่มภาษีสุราอีกครั้งหนึ่ง มีผลให้ราคาขายของแม่โขงและกวางทองสูงห่างจากหงส์ทองต่อไป ผลของนโยบายดังกล่าวมีผลให้ยอดการจำหน่ายของแม่โขงและกวางทองลดลงอย่างชัดเจน

กลยุทธ์ในการทำให้ราคาของคู่แข่งอยู่สูงกว่าสินค้าในกลุ่มของตนโดยใช้กลไกรัฐในการอำนวยประโยชน์ถูกนำมาใช้เช่นกันในสงครามระหว่างค่ายเบียร์ช้างและค่ายเบียร์สิงห์เช่นเดียวกัน โดยกลยุทธ์ที่มีผลให้ค่ายเบียร์สิงห์ต้องสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับเบียร์ช้าง นอกจากจะมาจากการใช้กลยุทธ์ขายเหล้าพ่วงเบียร์แล้ว การที่เบียร์ช้างเสียภาษีต่อขวดถูกกว่า ก็เป็นปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง

การแสวงหาประโยชน์ที่สำคัญจากวงการสุราประการหนึ่งคือ ประเด็นเรื่องสต็อกเหล้า เพราะในอดีตผู้ที่ได้รับสัมปทานโรงงานสุราของรัฐจะเร่งการผลิตสุราไว้เป็นจำนวนมากเมื่อเวลาที่ใกล้จะหมดสัญญาและตนเองไม่ได้รับสัมปทานใหม่ เพราะรายใหม่จะต้องรับซื้อสุราจากรายเก่า แต่ในกรณีที่สุรามหาราษฎรได้เร่งผลิตสต็อกเหล้าแม่โขงไว้เป็นจำนวนมากก่อนการเปิดเสรี ผู้ที่มีสต็อกสุราอยู่ในมือจะมีต้นทุนที่ถูกกว่า แต่ปรากฏว่าทางกรมโรงงานไม่ได้มีการตรวจสต็อกสุรา ทำให้ไม่ทราบจำนวนที่ชัดเจนว่ามีการผลิตไว้จำนวนเท่าใดแน่ และอนุญาตให้มีการโอนขายสุราในสต็อกซึ่งจะต้องตกเป็นทรัพย์สินของกรมโรงงานในราคาต้นทุนให้บริษัทบางยี่ขัน จำกัด ซึ่งต่อมาได้มาขอคืนภาษีและค่าสิทธิ์ต่างๆ ที่จ่ายไปเนื่องจากสุราที่เสื่อมสภาพ
จากการพิจารณาของคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาสอบสวนและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต วุฒิสภาได้มีผลสรุป 2 ประการสำคัญเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 คือ (1)อธิบดีกรมโรงงาน นายเทียร เมฆานนท์ชัย ไม่มีอำนาจในการอนุญาตให้บริษัทสุรามหาราษฎร จำกัด โอนขายน้ำสุราให้บริษัทบางยี่ขัน จำกัด (มหาชน) ในปี 2542 การอนุญาตทั้งที่ไม่มีอำนาจนั้น มีผลให้รัฐเสียหาย ทั้งนี้เพราะตามข้อสัญญานั้น บริษัทสุรามหาราษฎรจะต้องผลิตสุราและขายให้กรมโรงงานในราคาต้นทุน โดยสต็อกนั้นจะต้องเท่ากับยอดขายเฉลี่ย 1 เดือนในปี 2541 ของสุราแต่ละชนิด ถ้ามีมากว่านั้นจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ของกรมโรงงานโดยไม่คิดมูลค่า แต่ปรากฏว่านายเทียรไม่ได้ตรวจสอบสต็อกคงเหลือของสุรามหาราษฎรก่อนหมดสัญญา และยังอนุญาตให้โอนขายให้กับโรงงานสุราบ่างยี่ขัน ซึ่งเป็นของกลุ่มทุนกลุ่มเดียวกันในราคาต้นทุน ซึ่งเป็นเหตุอ้างให้มีการมาขอคืนภาษีสุราในเวลาต่อมา ในช่วงปี 2543-2546 เป็นจำนวนเงินรวม 1,370.95 บาท ทั้งๆ ที่ในช่วงของอายุสัมปทานที่บริษัทสุรามหาราษฎร จำกัด ได้ไป ไม่เคยปรากฏข้อมูลการขอคืนภาษีสุราที่แปรสภาพ คณะกรรมการวิสามัญฯ จึงมีมติแจ้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อดำเดินการแจ้งกรมโรงงานในฐานะผู้เสียหายเพื่อดำเนินการตามกฎหมายทั้งอาญา ทางแพ่ง และทางวินัย นายเทียรและบุคคลที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด

กีดกันคู่แข่งรายใหม่

โครงสร้างธุรกิจสุรามีลักษณะตลาดแบบผู้ขายน้อยราย ซึ่งมีความโน้มเอียงไปสู่การผูกขาดได้โดยง่ายจากการรวมตัวกัน เนื่องจากผู้เข้าร่วมแข่งขันในธุรกิจกล่าวได้ว่ามีเพียง 1-2 ราย และยังมีผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ครอบครองสัมปทานสุราของรัฐเกือบหมดและมีส่วนแบ่งในตลาดมากที่สุด ปัจจัยดังกล่าวเป็นอุปสรรคกีดขวางการเข้ามาแข่งขันของผู้ประกอบการรายใหม่ ทั้งนี้ในอดีตกลไกที่สำคัญในการกีดกันผู้ประกอบรายใหม่คือนโยบายของรัฐ อย่างไรก็ตาม หลังการเปิดเสรีแล้วพบว่าผู้ประกอบการรายใหม่ก็ยากที่จะเข้ามาแข่งขันกับผู้ประกอบการรายเก่าได้เวลาอันสั้น ทั้งนี้เป็นเพราะธุรกิจนี้ต้องอาศัยเงินลงทุนค่อนข้างสูง กติกาของรัฐเองก็ไม่เอื้อให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีศักยภาพ เพราะนโยบายบริหารงานสุราหลังปี 2542 ยังอำนวยประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการรายเก่าทั้งในแง่กฎเกณฑ์และภาษี และนอกจากนี้ผู้ประกอบการรายเก่ายังสามารถใช้ความได้เปรียบหรือยังสามารถแสดงพฤติกรรมที่สามารถกีดกันผู้ประกอบการรายใหม่ได้

สำหรับธุรกิจสุราสามารถจำแนกรูปแบบอุปสรรคออกเป็น 2 กลุ่มสำคัญ กล่าวคือ อุปสรรคที่เกิดจากการกำหนด กฎ กติกา ภาครัฐ และ อุปสรรคที่เกิดจากพฤติกรรมในการกีดกันการเข้าสู่ตลาดของรายใหม่

แม้ว่าจะได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อให้มีการเปิดเสรีการผลิตสุราโดยประกาศของกระทรวงการคลังฉบับที่ 1 ในปี 2543 แต่กฎระเบียบจำนวนมากที่ใช้ในการกำกับดูแลตลาดสุรายังคงยึดตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 ซึ่งมีผลให้โครงสร้างผู้ผลิตในตลาดสุรามีการเปลี่ยนแปลงไปน้อยมาก ผู้ผลิตรายเก่ายังคงบทบาทผูกขาดในตลาดสุรา โดยไม่มีผู้ผลิตขนาดใหญ่ในตลาดสุรา และมีผู้ผลิตรายย่อยในนามผู้ผลิตสุราชุมชนอีกจำนวนมากเข้าสู่ตลาด แต่มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันเพียงประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น

กฎ ระเบียบ ที่ใช้ในการกำกับดูแล และเป็นอุปสรรคในตลาดสุราสามารถแยกออกได้เป็น 2 กรณี กล่าวคือ แต่เดิมการเปิดเสรีการผลิตสุรามุ่งเน้นสำหรับผู้ประกอบการที่เข้ามาใหม่ จะต้องเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตรายย่อยในชุมชน ซึ่งแต่เดิมเคยลักลอบผลิตสุราเถื่อนได้รวมตัวกันเรียกร้องสิทธิในการเป็นผู้ผลิตสุราที่ถูกกฎหมาย จึงได้มีการออกกฎ ระเบียบเพิ่มเติมสำหรับกรณีผู้ผลิตรายย่อย แต่อย่างไรก็ตาม กฎ ระเบียบที่ออกมาทั้งสำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อยเป็นอุปสรรคต่อการเข้ามา การคงอยู่ในธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป

กรณีผู้ประกอบการรายใหญ่ กฎ ระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดที่สำคัญ อยู่ในเรื่องการกำหนดพื้นที่ตั้งโรงงานและขนาดของโรงงานในการผลิตและการทำสุรา ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยระเบียบวิธีบริหารงานสุรา พ.ศ. 2543 กำหนดให้โรงงานจะต้องมีขนาดกำลังการผลิตคิดเทียบเป็นน้ำสุราที่มีแรงแอลกอฮอล์ 28 ดีกรีขั้นต่ำวันละ 90,000 ลิตร จะต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 350 ไร่ หากกำลังการผลิตเกินกว่าวันวันละ 90,000 ลิตร จะต้องเพิ่มขนาดพื้นที่ให้มากขึ้น และสถานที่ตั้งโรงงานสุราจะต้องห่างจากแม่น้ำลำคลองสาธารณะที่ใช้การสัญจรทางน้ำปกติ เป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 2 กิโลเมตร ข้อกำหนดนี้เมื่อเปรียบเทียบกับโรงงานสุราในอดีต พบว่ามีความแตกต่างกัน กล่าวคือ การสร้างโรงงานใหม่ของกรมสรรพสามิตในปี 2525 จำนวน 12 โรง มีการระบุพื้นที่โรงงานต้องติดน้ำบางส่วน และขนาดพื้นที่อยู่ระหว่าง 100-150 ไร่ จากข้อกำหนดดังกล่าวทำให้แทบไม่มีเอกชนรายใดเข้ามาลงทุนในธุรกิจสุรา เพราะจะต้องลงทุนในขนาดที่ค่อนข้างสูง จนกระทั่งในปี 2547 บริษัทสุรางค์การสุรา จำกัด ได้ยื่นจดทะเบียนโรงงานเพื่อผลิตสุราขาว โยมีการสร้างโรงงานในพื้นที่กว่า 400 ไร่ และใช้เงินลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท และผลิตสุราขาวยี่ห้อเสือขาวออกจำหน่ายในเดือนกันยายน 2548

ส่วนกรณีของผู้ของผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งเกิดจากการผลักดันของกลุ่มสุราชุมชนที่มีการผลิตสุราพื้นบ้านได้กดดันให้ภาครัฐแก้ไขกฎระเบียบวิธีบริหารงานสุรา ซึ่งเดิมอนุญาตให้เฉพาะผู้ผลิตรายใหญ่เท่านั้น มาอนุญาตให้มีการผลิตสำหรับผู้ผลิตรายย่อย จนออกมาเป็นประกาศกระทรวงการคลังเรื่องวิธีการบริหารงานสุรา พ.ศ.2546 มีข้อกำหนดมากมายในการผลิตของผู้ผลิตรายย่อย ตั้งแต่การรวมกลุ่ม การผลิต การบรรจุ การใช้วัตถูดิบ การใช้ฉลาก ตลอดจนวิธีการติดแสตมป์และการเสียภาษี ซึ่งมีผลให้การขยายตัวของสุราชุมชนเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เพราะมีกฎ ระเบียบ จำนวนมากที่ต้องพึ่งปฏิบัติ

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการรายย่อยยังต้องเผชิญกับกลยุทธ์ทางการตลาดจากผู้ประกอบการรายเดิม ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการรายย่อยที่ถึงแม้จะมีจำนวนมาก แต่ก็อยู่ในสภาพ “บอนไซ” อุปสรรคเหล่านี้ประกอบด้วย การจำกัดช่องทางการจัดจำหน่าย การควบคุมทางด้านบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะขวดที่ใช้ในการบรรจุ และการใช้กลยุทธ์ทางด้านราคาเพื่อกดดันสุราชุมชน

ตลอดระยะเวลาเจ็ดปีที่ผ่านหลังการเปิดเสรีธุรกิจสุราซึ่งเริ่มในปี 2543 ปรากฏว่าธุรกิจสุรายังคงมีการกระจุกตัวในระดับสูง โดยกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่คือกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ยังคงมีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 90 ในสุราขาว ทำให้แนวโน้มของธุรกิจนี้ใกล้เคียงกับตลาดผูกขาด แม้ว่าจะมีผู้ผลิตรายย่อยจำนวนมาก แต่ส่วนแบ่งการตลาดของผู้ผลิตรายย่อยเหล่านี้มีเพียงประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น แต่เมื่อบริบทของตลาดสุราทั้งหมด ก็กล่าวได้ว่าสุราในเครือของนายเจริญมีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณร้อยละ 75 จึงอาจกล่าวได้ว่ายังคงไม่มีคู่แข่งทางการธุรกิจที่จะเข้ามาแข่งขันกับกลุ่มนายเจริญ

สรุป

ในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา คงเป็นการยากที่จะปฏิเสธว่านายเจริญ สิริวัฒนภักดี เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ และจากรายงานของฟอร์บส์ เขาเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศ เพราะไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไรที่เขาเข้าไปหยิบจับมักกระตุ้นให้เกิดความคึกคักในกิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้นๆ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขาได้รับการจับตาและสนใจคงเกิดจากลักษณะของการดำเนินธุรกิจที่เรียกได้ว่าทุ่มทุนซื้อทุกสิ่งไว้ในครอบครอง ซึ่งรวมถึงการกล้าทุ่มในการใช้เงินเพื่อสร้างเครือข่ายทางอำนาจธุรกิจ และความกล้าเสี่ยงตรงนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขาสามารถซื้อคนในวงการต่างๆ ได้อย่างไม่ยุ่งยากไม่ว่าสายการเมืองที่เขาให้ทุนสนับสุนนแก่นักการเมืองทุกพรรคมาโดยตลอด สายธุรกิจ สายข้าราชการในกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจน้ำเมาหรือแม้กระทั่งสายทหาร ทำให้เกิดการสร้างเส้นสายในวงการต่างๆ อย่างกว้างขวาง ดังนั้น ความสำเร็จของธุรกิจของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี จึงขนานไปกับความสำเร็จในการสร้างสายสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นทางการเมืองและฐานอำนาจในการเข้าถึงนโยบายต่างๆ ของรัฐนั่นเอง ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าธุรกิจของกลุ่มเจริญจึงเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับพัฒนาการของทุนนิยมในประเทศไทย ที่ทุนนิยมพวกพ้อง (Crony Capitalism) มีบทบาทเป็นด้านหลัก

ภายใต้เครือข่ายอุปถัมภ์ที่มีนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เป็นผู้ประกอบการที่แสวงหาค่าเช่า โดยมีนักการเมือง ข้าราชการ นายทหาร เป็นผู้ควบคุมการเข้าถึงและการบริหารจัดการค่าเช่า รูปธรรมที่ชัดเจนสามารถเห็นได้จากการแสวงหาค่าเช่าที่พบในการดำเนินธุรกิจของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ก็คือ การที่ผลประกอบการของธุรกิจมีกำไรจากการได้ครอบครองสิทธิผูกขาดตลาด ซึ่งก็คือการได้รับสัมปทานในธุรกิจสุรา

ธุรกิจหลักของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ไม่ว่าจะเป็นสุราหรือเบียร์ถือว่ามีโครงสร้างตลาดผูกขาดหรือกึ่งผูกขาด แม้ว่าจะมีนโยบายสุราเสรีในปี 2542 แล้วก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาจะพบว่าในปัจจุบันยังไม่มีคู่แข่งกลุ่มใดที่จะมีศักยภาพได้เท่ากับกลุ่มนายเจริญ ซึ่งยังคงได้รับการเอื้อประโยชน์จากนโยบายของรัฐ ผ่านสายสัมพันธ์ทางการเมืองและฐานอำนาจในการเข้าถึงนโยบายต่างๆ ของรัฐ ทำให้ธุรกิจของเขาเป็นผู้ผลิตรายเดียวที่ได้รับสิทธิการจัดการระดับผลผลิตในตลาดจนกลายเป็นผู้ผูกขาดรายเดียว ผลที่ตามมาก็คือ การสะสมทุนที่เพิ่มมากขึ้นและขยายไปสู่อาณาจักรอื่นๆ

ค่าเช่าที่เกิดจากการโอนทรัพยากรและการผูกขาดในตลาด ได้นำไปสู่การสะสมทุนของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี แม้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 กิจการต่างๆ ค่อยๆ ล้มหายไปจากสังคม รวมถึงกิจการของนายเจริญที่ได้สูญเสียฐานที่มั่นในธุรกิจการเงิน โดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มหาธนกิจ จำกัด ถูกสั่งปิดพร้อมสถาบันการเงิน 56 แห่ง และธนาคารมหานครถูกธนาคารแห่งประเทศไทยยึดเป็นกิจการของรัฐเพื่อแก้ปัญหาด้านฐานะทางการเงิน แต่เพียงระยะเวลา 2-3 ปี เขาก็สามารถฟื้นฐานะของตนเองได้จากธุรกิจสุราและเบียร์ที่สร้างกำไรให้เขาอย่างมหาศาล

ตัวชี้วัดการฟื้นตัวของเจริญ สิริวัฒนภักดี ก็คือไล่ซื้อกิจการต่างๆ ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์เป็นจำนวนมาก เช่น การซื้อบริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์ในปี 2544 ในราคา 5,532 ล้านบาท การซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2002 ของบริษัททศภาคแบบไม่มีโฆษณาคั่นด้วยมูลค่า 300 กว่าล้านบาท ในเดือนเมษายน 2545 มีการลงทุนการสร้างโรงแรมระดับเกรดเอที่พรั่งพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันด้วยขนาดห้องพัก 224 ห้อง ตั้งอยู่ในจังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา อยู่ใกล้กับนครวัดแหล่งสถาปัตยกรรมและมรดกโลกอันเลื่องชื่อ โดยให้ชื่อว่า โรงแรมอิมพีเรียล อังกอร์ พาเลส และในเดือนกันยายนปีเดียวกัน ยังได้ร่วมทุนกับบริษัทแคปปิตอลแลนด์จากสิงคโปร์ เพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ด้วยมูลค่า 2,000 ล้านบาท

ดังนั้น สำหรับสังคมไทย บุคคลที่มีความพร้อมสรรพทั้งฐานการเงิน ฐานทางอำนาจอย่างเจริญ สิริวัฒนภักดี การผูกขาดอำนาจทั้งสองเข้าด้วยกันและนำมาใช้ในสังคมย่อมสร้างผลสะเทือนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน แม้ว่านายเจริญจะประกาศวางมือในวงการธุรกิจและจะให้บรรดาทายาทเข้ามาดูแลกิจการต่างๆ แทน เพื่อให้ภาพพจน์ของธุรกิจในกลุ่มมีความโปร่งใสตามหลักการค้าเสรีและเป็นธรรม แต่อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเกิดจากการผูกขาดธุรกิจต่างๆ จนสามารถสร้างเครือข่ายในวงการต่างๆ โดยอาศัยการสร้างสายสัมพันธ์ในระบบราชการและเส้นสายทางการเมือง อันเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าความสำคัญของระบบอุปถัมภ์ในประเทศไทยยังไม่หมดไป และยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักธุรกิจสามารถก้าวขึ้นไปเป็นผู้มีอิทธิพลได้อีกด้วย

การดำรงอยู่ของธุรกิจผูกขาดหรือเกือบผูกขาด ซึ่งมีนักธุรกิจที่มีเส้นสายทางการเมืองแน่นหนาเป็นเจ้าของ ไม่ได้มีแต่ในธุรกิจสุราเท่านั้น ยังพบในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมและอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก และนี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การนำ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้ามาใช้ยังไม่ได้ผล

ความพยายามขยายบทบาทเข้าสู่การสะสมทุนสมัยใหม่ในปัจจุบัน คือการเข้าสู่กลไกตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งปรากฏว่าได้เกิดแรงต่อต้านขึ้นเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะจากกลุ่มชาวพุทธจำนวนหนึ่ง โดยมีผู้นำกลุ่มที่สำคัญในเมืองไทยคือพลตรีจำลอง ศรีเมือง ซึ่งเคยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย แต่ในภายหลังพลิกบทบาทตัวเองมาสู่การเป็นแกนนำคนหนึ่งในกลุ่มพันธมิตรที่ต่อต้าน ทักษิณ ชินวัตร ผลของการต่อต้าน หุ้นของอุตสาหกรรมสุราและเบียร์ไม่รับอนุญาตเข้าจดทะเบียนในตลาด จนกว่าจะมีกฎหมายที่กำกับดูแลการบริโภคสินค้าประเภทนี้เสียก่อน ได้สะท้อนให้เห็นว่าบทบาทที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มประชาสังคมน่าจะมีผลทำให้รูปแบบและลักษณะของการสะสมทุนไม่สามารถดำเนินการโดยผ่านเครือข่ายแบบอุปถัมภ์แบบเดิมได้โดยง่ายนัก

ก่อนหน้าการประมูลครั้งนี้ ทางสุรามหาราษฎรได้เตรียมเร่งผลิตสต็อกเหล้าแม่โขงไว้เป็นจำนวนมาก แต่ปรากฏว่าทางกรมโรงงานไม่ได้มีการตรวจสต็อกสุรา ทำให้ไม่ทราบจำนวนที่ชัดเจนว่ามีการผลิตไว้จำนวนเท่าใดแน่ และต่อมาได้มีการมาขอคืนภาษีและค่าสิทธิ์จำนวนกว่าพันล้านบาทในช่วงปี พ.ศ.2543-45 ด้วยเหตุว่าต้องปรับปรุงสุราเสื่อมสภาพ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้วุฒิสภาต้องเข้าตรวจสอบในปี พ.ศ.2548 และมีมติให้แจ้งความดำเนินคดีกับอธิบดีกรมโรงงาน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบมีผลให้รัฐสูญเสียเงินกว่าพันล้านบาท

http://www.tcijthai.com/investigative-story/464
ถึงตลาดจะฟูมฟายมากแค่ไหน ก็ยินดียืมไหล่ให้เธอซบ ยืมอกให้เธอซับน้ำตา
ภาพประจำตัวสมาชิก
Unstablemind
Verified User
โพสต์: 405
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 55

โพสต์

DemonInvesting เขียน:จากที่อ่านมานี้ทำให้เข้าใจได้ว่า คนอย่าง"ตัน"ไม่มีทางคิดอะไรชั้นเดียวแน่ ... การออกชาเขียวมาชนกับโออิชิครั้งนี้คงไม่ได้เป็นแค่เรื่องมีความแค้นฝังใจอะไรจนอยากจะเอาคืนไทยเบฟเป็นแน่ ... เพราะที่ผ่านมาตันทำอะไรมักคิดถึงกำไรขาดทุนไว้ก่อนเสมอ... ส่วนไทยเบฟของเสี่ยเจริญเอง ก็ไม่ใช่ธรรมดา ถ้าศึกษาจากประวัติการทำธุรกิจมาจะพบว่าใช้กลยุทธ์ใต้ดิน ชกใต้เข็มขัดอัดคู่แข่งมาอยู่หลายครั้ง นับตั้งแต่ครั้งนำ หงส์ทอง บดขยี้แม่โขงแล้ว ... ไม่แน่ว่าครั้งนี้ อิชิตัน กับ โออิชิ อาจจะไม่ใช่คู่แข่ง แต่เป็นพันธมิตรในการฮุบตลาดชาเขียวจากเบอร์สองเบอร์สาม ... รอจนอิชิตันแย่งตลาดจากคู่แข่งของโออิชิไปได้สักระยะ อย่าแปลกใจถ้าตันจะขายบริษัทให้กับเสี่ยเจริญอีกครั้ง

แต่ถ้าการกลับมาทำชาเขียวของตัน เป็นการแก้แค้นไทยเบฟจริงๆ ... ก็ชวนให้ย้อนคิดไปถึงสมัย เสี่ยเจริญออกเหล้าหงส์ทอง มาชนกับแม่โขง โดยใช้คนปรุงสูตรเหล้าคนเดียวกัน ทำให้รสออกมาเหมือนกัน แต่ขายราคาต่ำกว่า ไม่ได้...
If he does sell it to Charoen...that just sums up the whole story.....no further comment.
Its all about getting alpha.
RZENON
Verified User
โพสต์: 23
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 56

โพสต์

จริงๆ หากสังเกตย้อนกลับไปในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ชาเขียวโออิชิ มีการทำโปรโมชั่น 2 ขวด 30 บาท

หรือตกขวดละ 15 บาท ใน 7-11 มาตลอดอยู่แล้วครับ เป็นช่วงๆ ตามธีมของ 7-11 เอง

หรือบางครั้งเป็นแลกซื้อในราคา 15 บาทก็มี

ไม่ใช่เพราะกลัวมากจนต้องลดมาสู้หรอก

ส่วนตัวเชื่อว่าที่ลดราคาครั้งนี้ส่วนหนึ่งก็เอามาชนกับอิชิตันนั่นแหละ

แต่ไม่ได้ลดขนาดมากเป็นพิเศษเพราะกลัวขนาดนั้น แต่เค้าลดเท่านี้หรือมากกว่า มานานแล้ว

น้ำดื่มประเภทนี้ Margin เค้าสูงครับ เลยสามารถลดราคาได้เยอะ

ส่วนทางฝั่งคุณตันเอง แค้นไม่แค้นผมไม่รู้ แต่ที่ออกชาเขียวมา ส่วนหนึ่งเพราะ

หลังไปจับตลาด Functional Drink ซึ่งเป็นตลาดที่โตวันโตคืนอย่างมาก ปีที่ผ่านๆ มาโตถึง 100 %

แต่แกพลาดเรื่องรสชาติ หรือทั้งกีวีตะไคร้ และเบอร์รี่ ของแก ความอร่อยยังไม่ค่อยผ่าน

ทำให้แม้จะเป็นสินค้าในกระแสที่ใครๆ ก็ออกกัน (แม้แต่โอเล่ที่สินค้าหลักเป็นลูกอม หรือทิปโก้ที่เป็นน้ำผลไม้เอง ยังต้องออก Functional Drink มาแข่ง) แต่ยอดขายกลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร สังเกตในตู้แช่ที่ 7-11 ขาของสินค้ากลับมีเท่าเดิม หรือบางที่ลดลงด้วยครับ

ทำให้แกต้องออกชาเขียวเพิ่ม เพื่อที่จะให้เกิดความ economy of scale ในการผลิต โดยไม่ต้องจ้างเค้าผลิต สามารถสร้างโรงงานได้เอง เพราะมันเป็นสินค้าในไลน์เดียวกัน

ทีนี่ก็ต้องมามองว่ารสชาติของอิชิตันเป็นอย่างไร เพราะหากรสชาติผ่านก็จะสู้กันสนุกในตลาดนี้ เพราะมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามา แม้จะเป็นตลาดที่เริ่มอิ่มตัวแล้วก็ตาม แต่อาจเกิดการแข่งขันกันจน ดันตลาดให้โตไปพร้อมๆ กันทุกเจ้าได้ เหมือนที่คาราบาวแดงเข้าตลาดมาแล้วทำให้ตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลัง โตกันแบบก้าวกระโดดไปในปีแรกเลย
ภาพประจำตัวสมาชิก
ni_fahsai
Verified User
โพสต์: 35
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 57

โพสต์

รออ่านภาค 7 อย่างใจจดใจจ่อค่ะ
*** สูตรลับ คือ ไม่มีสูตรลับ ***
soolloos
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 58

โพสต์

แย่จัง ขายให้เค้าแล้ว ทำไมยังทำออกมาแข่งอีก
คนคอน
Verified User
โพสต์: 883
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 59

โพสต์

อยากรู้ว่าขายดีไม่ดี ดูที่ ป้ายราคาของสินค้าครับ ถ้า มี1F เปลี่ยนว่าขายดีอันดับ1 ถ้า2F ก็ขายดีน้อยลงมา
verapongzz
Verified User
โพสต์: 124
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 60

โพสต์

ผมว่า คุณตันทำไม่ถูกต้อง

ในฐานะคนทำมาค้าขาย ถ้าผมเป็นคุณตัน ถึงจะมีความสามารถทำได้ผมก็จะไม่ทำ เพราะยังไงเราก็เคยเป็นลุกน้องเก่าของเขา
แถมยังขายธุรกิจให้เขา แล้วมาทำแข่งกับเขา แค่คิดก็ไม่ถูกต้องแล้ว
ลองคิดกลับกันถ้าโดนลูกน้องเก่าหักเหลี่ยมโหด เปิดบริษัทขายของแบบเดียวกันจะรู้สึกอย่างไร

ไม่เข้าใจว่าคุณตันคิดอะไรอยู่ หรือแต่ในแง่ธุรกิจอย่างเดียว :cry: