หน้า 2 จากทั้งหมด 2
Re: กิตติรัตน์ - ค่าแรงขั้นต่ำ จำนำข้าว แหล่งงบประมาณรัฐ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 06, 2011 12:08 am
โดย ^^
เรื่องขึ้นราคามีผลต่อจิตวิทยาลูกค้าใน"ภาวะไม่ปกติ" นั่นคือเงินเฟ้อมาก
ถ้าคนหนึ่งเลือกที่จะขึ้นราคา ผู้บริโภคจะไปหาอีกคนหนึ่งทันที หรือลดคุณภาพการกินลง หรืออาจไม่บริโภคข้าวกันเลยเหมือนชาวแอฟริกาที่ใช้การบริโภคข้าวโพด มันสำปะหลังแทน เพราะข้าวแพง
เคสรายใหญ่ข้าวในประเทศก็เป็นนะ มีรายใหญ่คนหนึ่งครองตลาด60%
ประกาศขึ้นราคา เพราะคิดว่าจะกำหนดแนวโน้มราคาในประเทศได้
ปรากฏอีก40% ที่เป็นรายไม่ใหญ่ รู้ทัน ไม่บ้าจี้ขึ้นราคาตาม รายใหญ่ซวยไป
Re: กิตติรัตน์ - ค่าแรงขั้นต่ำ จำนำข้าว แหล่งงบประมาณรัฐ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 06, 2011 1:29 am
โดย simplelife
ayethebing เขียน:ตามข่าวที่คุณ simplelife เขียนเนี่ย เวียดนามอยู่เฉยๆ เค้าก็ได้ตังค์แฮะ 555 ขนาดเค้าขึ้นมาที่ 510$ ยังถูกกว่าไทยเลยครับ เห็นด้วยมากๆ กับคุณ nonation ถ้าเวียดนามพัฒนาข้าวพันธ์อะไรที่ดีพอๆ กับหอมมะลิละก้อ ไทยจะทำไงเนี่ย
เว็บ VI ก็ต้องคิดแบบธุรกิจหน่อยครับ ว่าถ้าไม่เป็น cost leadership ก็ต้องเอาเรื่อง differentiation strategy มาใช้ใ้ห้ได้ผลครับ ทำไมเขาขึ้นมาที่ $510 แล้วยังถูกกว่าไทยครับ เพราะข้าวเรามี premium กว่าข้าวเขาไงครับ ซึ่งตรงนี้เราควรจะเอาใช้ประโยชน์ ไม่ใช่ไปแข่งเป็น low-price leader อย่างที่พยายามทำอยู่ครับ
เหมือนพวกโรงงานอุตสาหกรรมที่ย้ายฐานเข้ามาไทยตอนค่าเงินเราถูกๆ ตอนนี้พอค่าเงินเราเริ่มแข็งขึ้นมา เท่ากับต้นทุนเขาเพิ่ม โรงงานธุรกิจประเภทสิ่งทอ ก็เริ่มไหลออกจากไทยไป แต่โรงงานประเภทที่ใช้ความเชี่ยวชาญสูงกว่า อย่างพวกอุตสาหกรรมอิเลกโทรนิค หรืออุตสาหกรรมรถยนต์ ก็ยังอยู่ เพราะในระดับนึง แรงงานเราทั้งระดับแรงงานและระดับวิศวกรมีคุณภาพสูงกว่าทางเลือกที่จะไปครับ อันนี้คือ premium ของแรงงานในประเทศเราครับ
เรื่องจำนำข้าว ถ้าบริหารจัดการกันได้ดีๆ โปร่งใสจริงๆ และมีการพยายามระบายข้าวไปจริงๆ รัฐอาจจะเสียเงินไปกับโครงงานน้อยกว่าการรับประกันราคาครับ เพราะดูอย่างแค่ประกาศนโยบายมา ราคาข้าวก็ขึ้นไปแล้วส่วนหนึ่ง พอรับจำนำจริงอาจจะไม่ต้องรับมาเยอะอย่างที่คิด เพราะชาวนาเอาข้าวไปขายใครก็ได้ราคาสูง ถ้ารัฐเอามาบริหารให้มีประสิทธิภาพมากๆ ตอนขายก็อาจจะขาดทุนแต่ไม่มากนัก และอาจจะได้กำไรด้วยซ้ำ บรรทัดสุดท้ายอาจจะดีกว่าการประกันราคาด้วยซ้ำ เพราะการประกันราคาแทบจะไม่ได้มีผลอะไรเลยกับราคาข้าวในตลาดครับ ถ้าราคาตลาดต่ำกว่ามากรัฐก็ต้องควักกระเป๋ามากครับ
กล้วแต่เดี๋ยวถ้ารัฐดันเอาข้าวไปแลกกับเครื่องบินรบ เรือดำน้ำ ปืนใหญ่ แล้วจะโดนกองทัพเขม่นเอาก็แค่นั้นเอง
Re: กิตติรัตน์ - ค่าแรงขั้นต่ำ จำนำข้าว แหล่งงบประมาณรัฐ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 06, 2011 7:34 am
โดย terati20
ขออนุญาติเอาบทความ ดร ศุภวุฒิ สายเชื้อ มาเเชร์ครับ
โมเดลแยก 2 ตลาดข้าว
โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
•
•
more
o
ผมได้อ่านบทความในกรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมาเรื่อง "ชงยิ่งลักลักษณ์วางโมเดลแยก 2 ตลาดข้าว" ซึ่งพอสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ข้อมูลได้มาจากแหล่งข่าวจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งสรุปภาพใหญ่ได้ว่ารัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทหลักในการค้าข้าวของประเทศไทยทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศผ่านองค์การคลังสินค้า (อคส.) ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การแยกตลาดข้าวออกเป็น 2 ตลาด คือ ตลาดภายในประเทศ ซึ่ง อคส.จะบริหารจัดการการสีข้าวและบรรจุถุงเพื่อขายข้าวราคาถูกให้คนไทยบริโภคและสำหรับตลาดต่างประเทศนั้น อคส.จะทำหน้าที่สต็อกข้าว 6 ล้านตันและเป็นผู้ส่งออกข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลเพื่อผลักดันให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูงเท่ากับ (หรือสูงกว่า) ราคาจำนำ (15,000 บาทต่อตัน) ทำให้รัฐบาลไม่ประสบปัญหาขาดทุน
2. บทบาทของรัฐนั้นจะเริ่มจากการเปิดให้เกษตรกรมาลงทะเบียนแจ้งพื้นที่เพาะปลูกกับกระทรวงเกษตรหรือ ธ.ก.ส.เพื่อคำนวณวงเงินสินเชื่อสำหรับซื้อปัจจัยการผลิตที่เกษตรกรแต่ละรายจะได้รับผ่านเครดิตของ ธ.ก.ส. แปลว่าภาครัฐจะมีบทบาทหลักในด้านสินเชื่อและการผลิตของเกษตรกร ร้านค้าที่จำหน่ายปัจจัยการผลิตให้เกษตรกรผ่านบัตรเครดิตก็จะต้องมาลงทะเบียนกับภาครัฐและจะต้องเปิดบัญชีเงินฝากกับ ธ.ก.ส.รวมทั้งลงทุนติดตั้งเครื่องรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตเครื่องละ 1 หมื่นบาทด้วยตัวเอง โดยจะให้วงเงินกู้กับเกษตรกรเท่ากับ 70% ของมูลค่ารวมของผลผลิตของเกษตรกรคำนวณจากปริมาณการผลิตและราคารับจำนำของภาครัฐ โดยเกษตรกรจะต้องทำสัญญาซื้อ-ขายล่วงหน้ากับโรงสีที่ร่วมโครงการของรัฐเพื่อนำมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันวงเงินสินเชื่อ (แต่เงินกู้นี้จะปลอดดอกเบี้ย 6 เดือนโดยรัฐจะจ่ายดอกเบี้ยให้แทน)
3. โรงสีจะทำหน้าที่เป็นลูกจ้างของรัฐในการรับข้าวจากชาวนา สีข้าวและรับฝากเก็บข้าวในโกดัง โดยได้รับค่าสีข้าวและเก็บข้าวจากภาครัฐ ทั้งนี้ อคส.จะเข้ามาดูแลสต็อกข้าวทั้งหมดของรัฐ รวมทั้งการนำข้าวที่สต็อกไว้มาใส่ถุงเพื่อขายในราคาถูกให้กับประชาชนในประเทศ แต่ในส่วนที่ขายกับต่างประเทศนั้นจะขายในราคาแพงเท่ากับ (หรือสูงกว่า) ราคาจำนำของรัฐ ทำให้รัฐไม่ขาดทุนจากการเข้ามามีบทบาทหลักในการชักจูงการผลิตและค้าขาย-ข้าว
4. ในส่วนของการ "ปั่น" ราคาข้าวในต่างประเทศให้สูงนั้นรัฐบาลจะต้องซื้อข้าวเข้ามาสต็อกเอาไว้ประมาณ 6 ล้านตัน โดย "เชื่อว่าเมื่อรัฐมีการดึงข้าวออกมาจากตลาดจะช่วยผลักดันให้ราคาข้าวสูงขึ้น" กล่าวคือ ความสำเร็จของโครงการข้าว 15,000 บาทต่อตันนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของประเทศไทยในการกำหนดราคาข้าวในตลาดโลก โดยอาศัยการที่รัฐบาลไทยจะซื้อข้าวมาเก็บเอาไว้ เพื่อทำให้เกิดการขาดแคลนในตลาดโลกนั่นเอง
หากพิจารณาปริมาณการส่งออกข้าวในตลาดโลก (ตาราง 1) ก็จะเห็นได้ว่าประเทศไทยส่งออกข้าวมากถึง 10 ล้านตันต่อปี ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่า 30% ของการส่งออกข้าวทั้งหมดประมาณ 31-32 ล้านตันต่อปี โดยมีเวียดนามและสหรัฐรวมกันส่งออกในปริมาณใกล้เคียงกับไทย ทำให้สรุปได้ว่าผู้ส่งออกรายใหญ่ 3-4 รายแรกน่าจะมีอำนาจทางการตลาดสามารถกำหนดราคาตลาดโลกได้ เพราะผู้ส่งออก 5 รายแรกของโลกนั้นส่งออกข้าวคิดเป็นสัดส่วนกว่า 80% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด
แต่หากพิจารณาปริมาณการผลิตข้าวทั่วโลก (ตาราง 2) จะเห็นว่ามีการผลิตข้าวมากถึง 450 ล้านตันต่อปี ดังนั้น ปริมาณการผลิตของไทย (20 ล้านตันต่อปี) นั้นคิดเป็นสัดส่วนเพียง 5.6% ของการผลิตทั้งโลก ซึ่งจะมีลักษณะของการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศเป็นหลักและหากมีส่วนเกินก็จะส่งออก มีเพียง 3 ประเทศเท่านั้นที่ "ตั้งใจ" ส่งออกข้าว (เพราะสัดส่วนการส่งออกสูงเมื่อเทียบกับการบริโภคภายในประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนามและสหรัฐ)
ประเด็นคือการที่ประเทศไทยจะเป็นผู้กำหนดราคาข้าวของโลกน่าจะเป็นเรื่องยากมากกว่าเรื่องง่าย เพราะราคาข้าวน่าจะผันผวนได้มากในระยะสั้นหากประเทศใหญ่ เช่น จีนและอินเดียมีผลผลิตเพิ่มขึ้นหรือลดลงเพียง 5% เพราะจะทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มหรือลดลงได้มาก นอกจากนั้น หากราคาข้าวในตลาดโลกปรับสูงขึ้นมากในระยะยาวประเทศใหญ่ เช่น จีน อินเดียและสหรัฐอาจหันมามุ่งเน้นการเพิ่มการผลิตอย่างจริงจัง ทำให้ผลผลิตข้าวเพื่อการส่งออกขยายตัวอย่างรวดเร็ว และทำให้ราคาข้าวปรับลดลงได้อย่างมากครับ
Re: กิตติรัตน์ - ค่าแรงขั้นต่ำ จำนำข้าว แหล่งงบประมาณรัฐ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 06, 2011 7:46 am
โดย matee
เห็นด้วยกับความเห็นของ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
การผลิตข้าว ประเทศที่ผลิตได้เยอะสุดในโลกคือ จีน แต่เขาไม่ได้ผลิตเพื่อส่งออกส่วนใหญ่ผลิตเพื่อ คนของเขา
ถ้าข้าวในตลาดโลกราคาสูงขึ้น เขาคงเร่งผลิต รับรองข้าวล้นตลาดแน่นอน
อีกอย่าง จีนนำเข้าข้าวเพียงปีละ ไม่กี่แสนตัน มันนิดเดียวเอง
แล้วข้าวที่นำเข้าก็เอาไปใช้ เฉพาะ เท่านั้น
เหมือนไทยผลิตข้าว เหลือเยอะ และยังเป็นผู้ส่งออก รายใหญ่ของโลก
แต่ก็ยัง มีการนำเข้าข้าวอีก ซึ่งก็คือข้าวยี่ปุ่น นำมาให้คนยี่ป่นหรือ คนที่ชอบอาหารยี่ปุ่น
รับประทาน พวกร้านอาหารยี่ปุ่น
Re: กิตติรัตน์ - ค่าแรงขั้นต่ำ จำนำข้าว แหล่งงบประมาณรัฐ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 06, 2011 8:48 am
โดย ayethebing
คุณเชื่อหรือไม่ว่ารัฐ และข้าราชการจะบริหาร ผลิต ขาย ได้ต้นทุนที่ต่ำกว่าเอกชน เชื่อหรือไม่ว่าองค์กรของรัฐเข้ามาดูแลแล้วจะไม่มีการทุจริต เชื่อหรือไม่ว่าไทยสามารถกำหนดราคาข้าวในตลาดโลกได้โดยไม่สนใจคู่แข่ง เชื่อหรือไม่ว่าถ้าข้าวขายได้ราคาดีแล้วประสิทธิภาพการผลิตจะดีขึ้นโดยอัตโนมัติ
ผมว่าถ้ารัฐจะทำการจำนำจริงอยากให้ :
1. ควบคุมการซื้อของโรงสี ไม่ต้องเก็บสต็อกข้าวเอง เช่นให้ชาวนาและโรงสีมาขึ้นทะเบียนกับรัฐ การซื้อขายยังทำกันระหว่างชาวนากับโรงสี แต่โรงสีต้องจ่ายเงินให้กับชาวนาตามราคาประกัน (โรงสีไม่มีทางยอม)
2. กำหนดและควบคุม margin ของโรงสีและผู้ส่งออกอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ราคาส่งออกข้าวยังสามารถสู้ได้
3. ถ้าราคาส่งออกต่ำกว่าราคารับประกัน+margin ควบคุม รัฐบาลทำหน้าที่ซื้อจากโรงสีแล้วขายต่อให้กับลูกค้าเมื่อมี order เท่านั้น
4. ส่วนในราคาขายในประเทศ อคส จะทำการผลิตบางส่วนก็ได้เพื่อ พูดเพราะๆ ก็บริหาร พูดไม่เพราะก็แทรกแซงราคาขายข้าวในประเทศให้ลดลง เรียกยี่ห้อว่าข้าวช่วยชาติ ข้าคนยาก ก็ได้
5. ยังให้มีการประกันภัยผลผลิตจากภัยธรรมชาติอยู่เพื่อป้องกันการขาดทุนหมดเนื้อหมดตัวจากเหตุการณ์ที่ควบคุมไม่ได้
6. ให้กระทรวงเกษตรเพิ่มการวิจัยพัฒนาการผลิตข้าว เช่น วิจัยพันธ์ข้าว วิจัยการใช้ปุ๋ย วิจัยการปลูกให้ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเป็นต้น
นโยบายจำนำอย่างเดียวจะช่วยเกษตรกร และโรงสี แถมด้วยประเทศคู่แข่ง แต่ใช้เงินภาษีเยอะครับ
Re: กิตติรัตน์ - ค่าแรงขั้นต่ำ จำนำข้าว แหล่งงบประมาณรัฐ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ย. 08, 2011 1:25 am
โดย DemonInvesting
ปัญหาเรื่องอุตสาหกรรมข้าว .... เราควรจะถามตัวเองว่า ประเทศไทย มีความได้เปรียบในการผลิต "ข้าว" จริงหรือ ... ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วทำไมผ่านมาเกือบร้อยปี เกษตรกรในอุตสาหกรรมนี้มีแต่ยากจนลง ... มีเพียงกลุ่มพ่อค้าคนกลาง โรงสี และ ผู้ส่งออกที่ร่ำรวย ...
ถ้าปัญหาเกิดจาก Value ในห่วงโซ่อุตสาหกรรมมันน้อย รบ. ต้องพยายามไปหาทางเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรม อย่าไปยึดติดกับการเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่ง คุณจะเป็นไปทำไมถ้าเป็นแล้วเกษตรกรในประเทศผู้ปลูกข้าวลืมตาอ้าปากไม่ได้ ... ถ้าต้นทุนการผลิตของเราแข็งขันไม่ได้ก็อย่าไปฝืน ... ต้องลองศึกษากลยุทธ์ของแอปเปิ้ลดูว่า เขาไม่ต้องเป็นผู้ขายสมาร์ทโฟนมากที่สุดในโลก แต่สามารถมีกำไรมากกว่าบริษัทอื่นรวมกันทั้งหมดได้อย่างไร ...
ถ้าปัญหาเกิดจากการจัดสรร Value ในห่วงโซ่อุตสาหกรรมมันบิดเืบือน ไม่เป็นธรรม กำไรไปตกอยู่กับพ่อค้าคนกลาง โรงสี ผู้ส่งออก เกือบหมด โดยมีเกษตรกรรับภาระหนักอยู่กลุ่มเดียว ... อันนี้ รบ. ก็ต้องหันมาปฏิรูปอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง เพิ่มการแข็งขันในส่วนของ พ่อค้าคนกลาง โรงสี ผู้ส่งออก หรือจะส่งเสริมให้มีการรวมตัวของเกษตรกรเพื่อจัดทำโรงสีของตัวเอง ...
โดยเนื้อแท้แล้วจะ ประกัน หรือ จำนำ มันก็แค่รูปแบบเท่านั้นที่แตกต่าง แต่เนื้อหาแล้วก็เหมือนกัน คือการชดเชยส่วนต่างราคาให้กับชาวนา (อันเนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงกว่าราคาตลาด) ... ประเด็นสำคัญคือ ราคาอ้างอิง ที่จะใช้ต่างหากที่ควรจะถกเถียงกัน ... ถ้ามองทางด้านหนึ่งก็อาจจะบอกว่าควรเป็นราคาที่ไม่บิดเบือนกลไกตลาด ... มองอีกด้านหนึ่งก็บอกว่าควรเป็นราคาที่ชาวนาอยู่ได้ด้วย ...
Re: กิตติรัตน์ - ค่าแรงขั้นต่ำ จำนำข้าว แหล่งงบประมาณรัฐ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 07, 2012 1:14 pm
โดย pak
ไนกี้-อดิดาสลดออร์เดอร์ไทยหนีต้นทุนพุ่งสูงกว่าจีน 20% [ เดลินิวส์, 7 ก.พ. 55 ]
นายชนินทร์ จิตต์โกมุท นายกสมาคม รองเท้าไทย เปิดเผยในงาน "ไลฟ์ สไตล์ ฟอร์ เลิฟ 55"
ว่า ในปัจจุบันเจ้าของสินค้ายี่ห้อ ดังระดับโลกเริ่มลดคำสั่งซื้อ (ออร์เดอร์) จากโรงงานในไทยแล้วหันไป
สั่งออร์เดอร์จากจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย แทน เนื่องจากไทยขาดแคลนฝีมือแรงงาน รวมถึงโรงงานใน
ไทย ขอปรับขึ้นราคาค่าจ้างในการผลิตตามต้นทุน การผลิตที่ค่อนข้างจะสูง โดยเฉพาะนโยบายการปรับขึ้น
ค่าจ้างแบบก้าวกระโดดของรัฐบาลในอัตรา 40% ทั่วประเทศ ส่งผลให้ผู้ผลิตรองเท้า ระดับเอสเอ็มอี
ดำเนินกิจการได้ลำบากยิ่งขึ้น
Re: กิตติรัตน์ - ค่าแรงขั้นต่ำ จำนำข้าว แหล่งงบประมาณรัฐ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 07, 2012 1:15 pm
โดย pak
"กิตติรัตน์" พร้อมชี้แจงศาลรัฐธรรมนูญ ยันซ้ำจำเป็นออก พ.ร.ก.การเงิน 4 ฉบับ [ ไทยรัฐ, 7 ก.พ. 55 ]
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยถึงกรณีที่คณะตุลาการศาลรัฐ
ธรรมนูญรับคำร้องวินิจฉัยการออก พ.ร.ก.การกู้เงินเพื่อบริหารจัดการน้ำ วงเงิน 350,000 ล้านบาท
และ พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.14 ล้านล้านบาท ให้ธนาคาร
แห่งประเทศไทยบริหารจัดการ ว่า ในการออก พ.ร.บ.การเงินทั้ง 4 ฉบับ รัฐบาลเชื่อมั่นว่ามีความ
จำเป็นเร่งด่วนและอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงเพื่อแสดงให้เห็นว่าปัญหาน้ำท่วมมีความ
ฉุกเฉิน ทั้งนี้ รัฐบาลมีหน้าที่ชี้แจงตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยวันที่ 15 ก.พ.นี้ ตนในฐานะรองนายก
รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และ รมว.คลัง ก็มีหน้าที่โดยตรงที่จะชี้แจง หากนายกรัฐมนตรีมอบหมาย "ผมยินดี
ไปชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ถึงความจำเป็นเร่งด่วนและฉุกเฉินในการออก พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับ ไม่อยาก
ให้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยมองการออก พ.ร.ก.ในแง่ลบ"
Re: กิตติรัตน์ - ค่าแรงขั้นต่ำ จำนำข้าว แหล่งงบประมาณรัฐ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 25, 2012 9:55 pm
โดย ayethebing
ขุดขึ้นมาไปงั้นแหละ ความจริงปรากฎแล้วว่าการจำนำข้าว ทำให้เกิดอะไรขึ้นกับการส่งออกข้าวไทย
ผมว่าอนาคตเราต้องเลิกผลิตข้าวเป็นหลัก (ผลิตกินในประเทศ และผลิตสินค้าเกรดสูง) แล้วไปปลูกอย่างอื่นแทน
ไม่ใช่ กลยุทธ์อะไรหรอก ความจริงของการตลาดของโลกมันบังคับให้เป็นอย่างงั้น
Re: กิตติรัตน์ - ค่าแรงขั้นต่ำ จำนำข้าว แหล่งงบประมาณรัฐ
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 26, 2012 9:12 am
โดย patongpa
เวียตนามคงต้องขอบคุณไทยที่ทำให้ข้าวเค้าขายได้กำไรเพิ่ม แต่ข้าวไทยกลับนอนนิ่งๆในโกดัง อีกปีนึงข้าวในโกดังก็ต้องไปขายเป็นอาหารสัตว์แทน ขาดทุนตอนนี้แค่แสนล้านปีหน้าคงหลายแสนล้าน อยากรู้ว่ารัฐจะทนขาดทุนไปได้สักกี่ปี