ขอบคุณครับ ผมเข้าใจผิดเองครับ การลดทุนโดยการลดหุ้น จำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมต้องลดลง และผมคิดว่าบริษัทส่วนใหญ่จะเลือกลดทุนโดยลดพาร์มากกว่าเพราะลดพาร์ไม่ทำให้ราคาปรับสูงขึ้น ซึ่งน่าจะมีผลต่อจิตวิทยาของคนที่จะเข้ามาถือหุ้นใหม่winnermax เขียน:ขอตอบ ข้อ 1. เข้าใจถูกต้องแล้วครับ0
UpvoteDownvote
winnermax wrote:
sun_cisa2 wrote:
มีกำไรแล้วลดทุน ???? น่าสนมีด้วยหรือในตลาด ลดไปทำไม
มักเจอแต่บริษัทมีขาดทุนสะสมและลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม เพื่อเริมกันใหม่ ล้างไพ่ เพราะจะให้มีคนใหม่มาลงทุนด้วย ช่วยบอกทีว่ามีบริษัทไหนมีกำไร (สะสม) แล้วลดทุนบ้าง
แต่ถ้ามีขาดทุนสะสมมาหลายปี พอมีกำไรฟื้นขึ้นมา แล้วลดทุน เป็นเพราะอยากจ่ายปันผล เพราะบริษัทจ่ายปันผลไม่ได้กฎหมายไม่ให้หากยังมีขาดทุนสะสมอยู่ ต้องเอากไรล้างให้หมดก่อนถึงจ่ายได้
วิธีล้างขาดทุนสะสมได้เร็วสุดคือลดทุน กำไรปีต่อไปก็จ่ายปันผลได้แล้ว
การลดทุนโดยการตัดขาดทุนสะสมกับหุ้นทุน ส่วนผู้ถือหุ้นรวมไม่กระทบ เพราะขาดทุนสะสมก็นำมาหักลดส่วนผู้ถือหุ้นอยู่แล้ว ข้อเสียคือ หุ้นเราหายไปแน่นอน ข้อดีคือ ถ้าปีหน้ามีกำไรจะจ่ายปันผลได้ เพราะถ้ามีขาดทุนสะสมอยู่ต้องเอากำไรไปล้างให้หมดก่อน จึงจ่ายปันผลได้ หลายบริษัทที่ลดทุนเพราะเมื่อปรับโครงสร้างหนี้ นักลงทุนใหม่จะมาเขาไม่มาแบกขาดทุนสะสมหลายๆปีหรอก เขาเข้ามาแล้วถ้ามีกำไร เขาต้องได้ผลอบแทนคืน
การลดทุนแล้วได้กำไร?? ใครได้ครับ?? ผู้ถือหุ้นเดิมหุ้นหายเงินหายทันที แต่ที่ได้ประโยชน์คือ คนเข้ามาลงทุนใหม่
อ่านเพิ่มเติมได้ใน topic ทุนจดทะเบียน
การลดทุนน่าจะมี 2 แบบใช่ไหมครับ คือ 1. การลดจำนวนหุ้น แต่ราคาพาร์เท่าเดิม กรณีนี้ผู้ถือหุ้นเดิมมีจำนวนหุ้นลดแน่นอน แล้วมีผลกระทบอย่างอื่นอีกไหมครับ 2. การลดราคาพาร์ แต่จำนวนหุ้นเท่าเดิม กรณีนี้ไม่แน่ใจว่าผู้ถือหุ้นเดิมจะได้รับผลกระทบยังไงบ้างครับ
แล้วทั้งสองกรณี มีผลดี ผลเสียกับผู้ถือหุ้นเดิม และผู้ถือหุ้นที่จะเข้าใหม่ยังไงบ้างครับ แล้วส่วนใหญ่บริษัทต่างๆนิยมลดทุนแบบไหนครับ ขอบคุณครับ ถ้าข้อมูลผิดพลาดต้องขออภัยด้วยครับ
Quote:
การลดทุนมี ๒ วิธี ใช่แล้วครับ ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นเดิม ไม่แตกต่างกันครับ เพียงแต่ ราคาต่อหุ้นจะแตกต่างกัน กล่าวคืน หากใช้วิธีลดจำนวนหุ้น มูลค่าต่อหุ้นหลังจากลดทุน จะสูงกว่า การใช้วิธีลดพาร์ แต่จำนวนหุ้นจะน้อยกว่าวิธีลดพาร์ ดังนั้นมูลค่าหุ้น (จำนวนหุ้นxราคาต่อหุ้น) หลังลดทุน ทั้งสองวิธีจะให้ผลเท่ากัน การลดทุนโดยเฉพาะกรณีเพื่อล้างขาดทุนสะสมนั้น หมายความว่า ผู้ถือหุ้นเดิมแสดงความรับผิดชอบต่อผลประกอบการที่ผ่านมา ผู้ถือหุ้นใหม่จึงจะยินดีเข้ามาลงทุน หากไม่ยอมล้างขาดทุนสะสม การระดมทุนใหม่จะยากยิ่ง เพราะตราบใดที่ยังมีขาดทุนสะสมอยู่ การจ่ายปันผลจะกระทำไม่ได้ ผลตอบแทนอย่างเดียว
ที่คาดหวังคือ capital gain เท่านั้นครับ
ถ้าเป็นอย่างนั้น
1. การลดทุนโดยการลดหุ้น หลังจากลดทุน ราคาหุ้นน่าจะสูงขึ้นเนื่องจาก ถ้ากำไรเท่าเดิม จำนวนหุ้นน้อยลง ทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น ถ้าพีอีเท่าเดิม ราคาก็น่าจะเพิ่มขึ้น
2. การลดทุนโดยการลดพาร์ หลังจากลดทุน ราคาหุ้นน่าจะเท่าเดิม เนื่องจาก ถ้ากำไรเท่าเดิม จำนวนหุ้นเท่าเดิม ทำให้กำไรต่อหุ้นเท่าเดิม ถ้าพีอีเท่าเดิม ราคาหุ้นก็น่าจะเท่าเดิม
3. ถ้าเป็นอย่างนี้การลดทุนโดยการลดหุ้น น่าจะดีกับผู้ถือหุ้นมากว่าเพราะการลดทุนไม่ได้ทำให้จำนวนหุ้นที่เราถือมีการเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นการที่ราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นหลังลดทุนย่อมดีกว่า
ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกไหมครับ
2. เข้าใจถูกต้องแล้วครับ
3. ทั้งสองวิธีการ ผลคล้ายคลึงกันครับ ดังนั้นการสรุปว่าการลดทุนโดยการลดหุ้นดีกว่า ไม่น่าจะสรุปเช่นนั้น เพราะราคาต่อหุ้นที่สูงขึ้น แลกมาด้วยจำนวนหุ้นที่ลดลง ได้อย่าง เสียอย่างครับ
การปรับโครงสร้างหนี้ กำไร???
-
- Verified User
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การปรับโครงสร้างหนี้ กำไร???
โพสต์ที่ 31
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การปรับโครงสร้างหนี้ กำไร???
โพสต์ที่ 32
การลงทุนควรดูเป็นภาพรวมทั้งหมดด้วย (portfolio) อย่าดูแค่ราคาหรือจำนวนหุ้น ในความจริงไม่ว่าจะลดทุนด้วยวิธีไหน ลดพาร์หรือลดหุ้น ถ้าเราถือหุ้นนั้นอยู่ ตังหายแน่นอนไม่อยุ่ครบ ส่วนการจะลงทุนใหม่หรือลงทุนต่อนั้น ก็วิเคราะห์ปกติเหมือนกับบริษัทมีหุ้นจำนวนใหม่เท่านั้นหรือราคาใหม่เท่านั้น แล้วดูว่าจากจุดนั้นถูกหรือแพง มีอนาคตไปต่อคุ้มที่จะลงทุหรือไม่ ลงทุนใหม่ไม่ยากนัก แต่ที่ลงทุนแวจะถือต่อหรือไม่คงต้องดูว่ามูลค่ารวมจะคืนกลับมาคุ้มกว่าเดิมนานไหม หรือ switch ไปลงทุนอย่างอื่นดีกว่า