แฉ “แคลิฟอร์เนีย ว้าว” ไม่เจ๊งจริง แอบขน 1.6 พันล้านออกนอก

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
วรันศ์ บัฟเฟต
Verified User
โพสต์: 1679
ผู้ติดตาม: 0

Re: แฉ “แคลิฟอร์เนีย ว้าว” ไม่เจ๊งจริง แอบขน 1.6 พันล้านออกน

โพสต์ที่ 31

โพสต์

งี้ major มีโอกาสส้มหล่นไหม ถือว่าเป็นผู้เสียหายหลักเหมือนกัน น่าจะฟ้องได้ (รึป่าว)
value trap
รูปภาพ
buglife
Verified User
โพสต์: 942
ผู้ติดตาม: 0

Re: แฉ “แคลิฟอร์เนีย ว้าว” ไม่เจ๊งจริง แอบขน 1.6 พันล้านออกน

โพสต์ที่ 32

โพสต์

รูปภาพ

ผมไม่รู้จักแกมาก่อน เลยอยากเห็นหน้าตา
ไปหามาเลยแปะให้ดู เผื่อใครเจอจะได้ถามหาค่าสมาชิกได้ :twisted:
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 0

Re: แฉ “แคลิฟอร์เนีย ว้าว” ไม่เจ๊งจริง แอบขน 1.6 พันล้านออกน

โพสต์ที่ 33

โพสต์

"ฟิตเนส"หน้าใหม่จ่อคิวเข้าตลาด "เมเจอร์"ปั้นแบรนด์เสียบแทน"แคลิฟอร์เนียว้าว"
updated: 17 มิ.ย. 2556 เวลา 11:58:52 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=1100

"เมเจอร์ฯ" หวนสู่ธุรกิจฟิตเนสอีกรอบ ส่งแบรนด์ "วี ฟิตเนส โซไซตี้" เสียบแทนพื้นที่เดิมแคลิฟอร์เนีย ว้าว หวังดึงลูกค้าเก่ากลับใช้บริการในศูนย์ ชี้เป็นกลุ่มผู้บริหารเดียวกับ "วี สลิม แอนด์ บิวตี้" ธุรกิจพันธมิตรของ "วิชา-เมเจอร์ฯ" หน้าเดิมเร่งปักธงสาขา ด้านฟิตเนสเฟิรส์ท ชี้ไม่กระทบ เหตุจุดขายแตกต่าง มองตลาดไทยยังมีช่องว่างขยายตัวอีกมาก คาดปีหน้าฟ้าใหม่เตรียมบุกเพียบ

หลังจากผู้ให้บริการฟิตเนสแบรนด์ดังอย่าง "แคลิฟอร์เนีย ว้าว" ได้ทยอยปิดสาขาทุกแห่งลงตั้งแต่กลางปีที่แล้ว พร้อมกับเข้าสู่สถานะล้มละลาย ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวในศูนย์การค้าเมเจอร์ฯของ "เมเจอร์

ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป" เว้นว่างลงมากว่า 1 ปี แม้ก่อนหน้านี้ "วิชา พูลวรลักษณ์" หัวเรือใหญ่เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เคยออกมาระบุว่ามีแผนดึงร้านค้าปลีกมาเช่าพื้นที่แทน เพราะรายได้ดีและใช้พื้นที่ต่อร้านประมาณ 150-200 ตร.ม.เท่านั้น แตกต่างจากฟิตเนสที่ต้องใช้พื้นที่ประมาณ 2,500-4,000 ตร.ม.ต่อสาขา อย่างไรก็ตามล่าสุดมีความชัดเจนแล้วว่า เมเจอร์ฯเตรียมเปิดฟิตเนสแบรนด์ใหม่ ภายใต้ชื่อ "วี ฟิตเนส โซไซตี้" ปักธงในพื้นที่เดิมทั้ง 4 สาขา

เมเจอร์ฯปั้นฟิตเนสแบรนด์ใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ทางเมเจอร์ฯมีการเปิดบูทรับสมัครสมาชิกของฟิตเนสแบรนด์ใหม่ ภายใต้ชื่อ "วี ฟิตเนส โซไซตี้" ซึ่งบริษัทดังกล่าวได้ถูกตั้งขึ้นเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ด้วยทุนจดทะเบียน 3.9 ล้านบาท มีนายวรุต ตันติพิภพ และนางซุย ฮา แองเจิล ชาน เป็นกรรมการบริษัท โดยนายวรุตนั้นยังเป็นกรรมการในบริษัท วิชญะแพลน จำกัด ที่ทำธุรกิจด้านการเช่าห้องพักรีสอร์ตในเครือของเมเจอร์ฯ โดยมีนายวิชา พูลวรลักษณ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ขณะเดียวกัน นางแองเจิล ชาน ก็รั้งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของวี สลิม แอนด์ บิวตี้ สปา ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างนายวิชา พูลวรลักษณ์ โรงแรมวี โฮเต็ล และนางแองเจิล ชาน เช่นกัน


ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อนหน้านี้ เครือเมเจอร์ฯ เคยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในฟิตเนส "แคลิฟอร์เนีย ว้าว" ซึ่งเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงสร้างเทรนด์การออกกำลังกายให้กับคนเมือง แต่จากการขาดทุนอย่างหนักเป็นเวลาหลายปี ส่งผลให้ "วิชา พูลวรลักษณ์" ตัดสินใจทยอยขายหุ้นที่ถืออยู่ออกไปตั้งแต่ช่วงปี 2553 และทำการขายหุ้นออกจนหมดก่อนที่แคลิฟอร์เนีย ว้าว จะเข้าสู่สถานะล้มละลายเมื่อกลางปีที่แล้ว

แหล่งข่าวจาก "วี ฟิตเนส โซไซตี้" ระบุว่า แบรนด์ดังกล่าวจะเปิดให้บริการยังพื้นที่เดิมของ "แคลิฟอร์เนีย ว้าว" โดยขยายพื้นที่เพิ่มเติม ชูความเป็นคลับที่หรูหรา และมีบริการที่ตอบสนองลูกค้าอย่างครบถ้วนทั้งฟิตเนสและโยคะ โดยในปีนี้จะเปิดจำนวน 4 สาขา เริ่มจากเมเจอร์รัชโยธินสาขาแรก ใช้พื้นที่ 3,200 ตร.ม. เปิดให้บริการในเดือนสิงหาคมนี้ ใช้พื้นที่ระหว่างชั้น 2-4 จากนั้นจะมีแผนเปิดตัวที่เมเจอร์ฯ เอกมัย, เอสพลานาด รัชดาฯ และเมเจอร์ฯ ปิ่นเกล้าต่อไป ส่วนในปีหน้าเตรียมเปิดอีก 5-8 สาขา

โดยขณะนี้มีการทำโปรโมชั่นสำหรับผู้สมัครสมาชิก 100 คนแรก ในราคาตั้งแต่ 1,600-2,000 บาท หากเป็นราคาปกติทั้งแบบรายเดือนและรายปี เฉพาะฟิตเนสอยู่ที่ประมาณ 2,500 บาทต่อเดือน สามารถใช้บริการเพียงสาขาที่สมัครเท่านั้น ส่วน 2,800 บาทต่อเดือน จะสามารถเล่นได้ทั้งฟิตเนสและโยคะ รวมถึงใช้บริการได้ทุกสาขา โดยมีค่าธรรมเนียมแรกเข้า 5,000 บาท

ดึงลูกค้าเดิมกลับใช้บริการ

แหล่งข่าวจากเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า พื้นที่เดิมของแคลิฟอร์เนีย ว้าว ทั้ง 4 แห่งในเมเจอร์ฯล้วนเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ในแง่การทำธุรกิจแล้วก็เหมาะกับการทำเป็นฟิตเนสมากกว่าจะเป็นร้านค้าปลีก หรือร้านค้าเช่ารูปแบบอื่น ๆ ที่สำคัญการเลือกฟิตเนสเสียบแทนพื้นที่ดังกล่าว จุดประสงค์เพื่อดึงฐานลูกค้าของแคลิฟอร์เนีย ว้าว กลับมาใช้บริการ ซึ่งก็จะช่วยดึงกลุ่มลูกค้าเหล่านี้กลับเข้ามาใช้บริการในศูนย์การค้าเมเจอร์ฯด้วย

"เมื่อพิจารณาดูแล้ว ในเมเจอร์ฯการมีฟิตเนสก็ช่วยเติมเต็มและเป็นแม็กเนตดึงลูกค้า จริง ๆ เรามีลูกค้าฟิตเนสที่อยู่บริเวณใกล้เคียงทั้ง 4 สาขา ซึ่งแต่เดิมมาใช้บริการแคลิฟอร์เนีย ว้าว อยู่แล้ว พอแบรนด์ปิดตัวลง กลุ่มนี้ก็หายไป ครั้งนี้ก็เป็นการดึงให้ลูกค้ากลุ่มนี้กลับมา"

หน้าใหม่จ่อคิวเข้าตลาดเพียบ

นางอรวรรณ เกลียวปฏินนท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัทฟิตเนส เฟิรส์ท กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้ยินข่าวนี้มาเช่นกัน แต่เชื่อว่าไม่ส่งผลกระทบกับบริษัทแต่อย่างใด เนื่องจากแต่ละแบรนด์มีจุดขายที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะการที่ฟิตเนส เฟิรส์ท มีจุดแข็งในเรื่องอุปกรณ์เครื่องเล่นที่หลากหลายรูปแบบ รวมถึงพื้นที่ให้บริการภายในศูนย์ที่กว้างขวาง และการมีฐานเดิมของลูกค้าที่มากและครอบคลุมกว่ารายใหม่ที่จะเข้ามา

ทั้งนี้มองว่าตลาดเอเชียยังมีศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจฟิตเนสอีกมาก โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งจะดึงดูดนักลงทุนใหม่ ๆ ไม่ว่าจากอเมริกาหรือยุโรป จากเทรนด์การเติบโตของธุรกิจฟิตเนสของภูมิภาคดังกล่าวไม่ค่อยดีนัก ทั้งนี้เชื่อว่าในปีนี้หรือปีหน้าจะมีแบรนด์ใหม่ ๆ เข้ามาทำตลาดอีก

รายเก่าเดินหน้าเปิดสาขา

ก่อนหน้านี้ นางอรวรรณระบุว่า หลังจากแคลิฟอร์เนีย ว้าว ได้ปิดกิจการลง ทำให้ฟิตเนส เฟิรส์ท ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาด ทั้งในแง่ของจำนวนสาขาที่มีอยู่ถึง 22 สาขา และสาขาที่ 23 เตรียมเปิดตัวในปลายเดือนมิถุนายนนี้ที่สยามพารากอน ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของแคลิฟอร์เนีย ว้าว โดยปัจจุบันมีฐานสมาชิกประมาณ 5.5 หมื่นราย โดยปีนี้เตรียมงบประมาณอีก 550 ล้านบาท แบ่งเป็นงบฯสำหรับขยายสาขา 450 ล้านบาท โดยเฉลี่ยจะเปิดปีละ 2-4 สาขา และ 100 ล้านบาทเป็นงบฯเพื่อการรีโนเวตสาขาเดิม

ขณะที่ผู้เล่นสำคัญอีกรายคือ "ทรู ฟิตเนส" นายแพทริค วี ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทรู ฟิตเนส กรุ๊ป กล่าวว่า ในปี 2556 มีแผนใช้งบฯลงทุนอย่างต่ำ 400 ล้านบาท เพื่อขยายทรู ฟิตเนส เพิ่มอีก 4 สาขา จากปัจจุบันมีอยู่จำนวน 3 สาขา มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 3,500 ตร.ม. ไปจนถึง 6,500 ตร.ม. และมีฐานสมาชิกของฟิตเนสรวมกับสปาและเอสอีกกว่า 36,000 ราย โดยสาขาปัจจุบันอยู่ที่อาคารเอ็กซ์เชน ทาวเวอร์, เซ็นทรัลเวิลด์ ฝั่งเซน และเอสพลานาด แคราย โดยแหล่งข่าวจากทรู ฟิตเนสระบุว่า เร็ว ๆ นี้บริษัทเตรียมเปิดสาขาที่ 4 ในบริเวณใกล้เคียงกับเมเจอร์ฯ รัชโยธินอีกด้วย

-จบ-
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 0

Re: แฉ “แคลิฟอร์เนีย ว้าว” ไม่เจ๊งจริง แอบขน 1.6 พันล้านออกน

โพสต์ที่ 34

โพสต์

ลอกคราบแคลิฟอร์เนีย ว้าว (ตอน1) บทเรียนแสนแพงคนไทย

Publication: Than News - Thansettakij
Provider: Than News

June 26, 2013

ใครเลยจะคาดคิดว่า ธุรกิจ หรือ แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ เดิม ธุรกิจออกกำลัง แบรนด์ระดับโลกจากสหรัฐอเมริกาซึ่งก่อตั้งโดย "แอริค มาร์ค เลอวีน" นักธุรกิจหนุ่มก้ามปูภาพลักษณ์ดีกับพวก ที่เติบโตอย่างหวือหวาในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมาจนกลายเป็นธุรกิจดาวเด่น จะปิดฉากเหมือนกิจการต้มตุ๋น เมื่อ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง. หรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ออกมาระบุอย่างไม่ลังเลว่า ผู้บริหารแห่งนี้วางแผนโกงมาตั้งแต่ต้น โดยโอนเงินออกนอกประเทศในช่วง 10 ปีของการดำเนินธุรกิจเป็นเงินรวมกว่า 1.699 พันล้านบาท และเป็นการโอนตั้งแต่ปีแรก ทั้ง ๆ ที่บริษัทแจ้งผลขาดทุนมาตลอด
ย้อนกลับปี 2543 หลังวิกฤติต้มยำกุ้งไม่นาน แอริค มาร์ค เลวิน ชาวอเมริกัน หอบประสบการณ์ธุรกิจฟิตเนสจากฮ่องกงมาปักหลักในไทย ในชื่อ "แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์" ที่อาคารลิเบอร์ตี้สแควร์ บนถนนสีลม โดยชูแนวคิด Exertainment ศูนย์ออกกำลังกายครบวงจรในบรรยากาศ แสง สี เสียง และความสนุกสนาน แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ ได้รับการตอบรับจากตลาดคนชั้นกลางเจนเอ็กซ์ ที่เน้นดูดี ทันทีด้วยภาพลักษณ์สถานที่ทันสมัย สอดรับกระแสดูแลสุขภาพที่เริ่มก่อตัวขึ้นในสังคมไทยเวลานั้น
แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ มาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อ แอริค บรรลุข้อตกลงร่วมทุนกับ วิชา พูลวรลักษณ์ ซีอีโอกลุ่มเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ในสัดส่วน 51 : 49 ในปี 2546 ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น แคลิฟอร์เนีย ว้าว เอ็กซ์พีเรียนซ์ ในปี 2547 และนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ช่วงปลายปี 2548 โดยมีชื่อย่อว่า CAWOW
หลังเข้าระดมทุนจากตลาดหุ้น แคลิฟอร์เนียว้าว เพิ่มทุนเป็น 150 ล้านบาท พร้อมกับขยายสาขา2 ที่เมเจอร์ปิ่นเกล้า สาขา3 ที่สุขุมวิท 23 สาขา สาขา4 เมเจอร์รัชโยธิน สาขา5 ที่พารากอนก่อนขยายไปรุกต่างจังหวัดโดยเปิดสาขา 9 ที่เชียงใหม่ และ 10 ที่พัทยา นับว่าในช่วงเวลานั้น แคลิฟอร์เนีย ว้าว เติบโตอย่างก้าวกระโดด และสามารถยึดครองฟิตเนสอันดับหนึ่งของตลาดได้อย่างเบ็ดเสร็จ ด้วยกลยุทธ์ของแอริคที่สร้างสถานที่ทันสมัย สร้างความนิยมผ่านดาราดังที่เขาจ้างมาเป็นพรีเซนเตอร์ อาทิ ลูกเกด-เมทินี กิ่งโพยม อดีตมิสไทยแลนด์เวิลด์ สินจัย หงส์ไทย ซุปตาร์ยอดนิยมฝ่ายหญิง หรือ จอย-วราลักษณ์ วาณิชย์กุล (ภายหลังเปลี่ยนสถานะมาเป็นภรรยาของเขา) และสาขาอยู่ในทำเลย่านคนทำงาน ประมาณว่าในช่วงพีกสุดของ "แคลิฟอร์เนีย ว้าว" สามารถครองมาร์เก็ตแชร์ในอุตสาหกรรมนี้กว่า 55% ได้โดยไม่ยาก จากสมาชิกในปีแรกที่มีเพียง 8.5 พันราย ณ สิ้นปี 2544 ในปีแรกภายในเวลา 3 ปีโตขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เป็น 3 หมื่นรายในปี 2547 ก่อนเพิ่มเป็น 1 แสนรายในปี 2550 และสูงสุดเมื่อกลางปี 2553 ด้วยยอดสมาชิกถึง 1.6 แสนราย หรือมีผู้ใช้บริการต่อวันถึง 2 หมื่นราย
*สัญญาณผิดปกติ
ในช่วงเวลานั้น แคลิฟอร์เนีย ว้าว ถือเป็นลูกค้าชั้นดี แบงก์ทุกแห่งยินดีต้อนรับ แอริค ราวกับราชา และด้วยภาพลักษณ์ของ แอริค ที่นำเสนอตัวเองในภาพของหนุ่มใหญ่กล้ามโต เจ้าของฟิตเนสทันสมัย และดูร่ำรวย เป็นใบเบิกทางเข้าสู่สังคมไฮโซ เขาเป็นข่าวในคอลัมน์ซุบซิบถี่พอกับ แคลิฟอร์เนีย ว้าวเป็นข่าวในหน้าเศรษฐกิจ แต่เรื่องราวความสำเร็จของ แคลิฟอร์เนีย ว้าว และ แอริค มาพร้อมกับเสียงวิจารณ์ ทั้งวิธีการขายดุดัน ตั้งแต่ล่อให้เข้าใช้บริการก่อนนำเสนอขายภายหลัง บุกประชิดตัวถึงกลุ่มเป้าหมาย สัญญาการขายสมาชิกที่ผูกมัดลูกค้าไว้ตลอดกาล
หนึ่งในผู้มีประสบการณ์เล่าว่า พนักงานขายสมาชิกจะหว่านล้อมให้ซื้อบริการแบบผูกปีหลายคนหลวมตัวทำสัญญาตลอดชีพก็มี (ระบบสมาชิกของ แคลิฟอร์เนียว้าวมี 2ประเภทหลัก รายเดือน และรายปี-ผู้เขียน) และที่เล่าตรงกันคือการชำระค่าบริการ ต้องใช้บัตรเครดิตเท่านั้น หรือผู้เสียหายรายหนึ่งที่เสียเงินสมัครสมาชิกและบริการอื่นๆ เป็นเงินหลายแสนบาท เล่าว่า บริษัทผิดสัญญาเพราะลูกค้าได้ทำสัญญาสมัครสมาชิกฟิตเนสตลอดชีพ คือ เล่นได้ทุกสาขา ไม่จำกัด แต่บริษัทกลับทยอยปิดตัวไปทีละสาขาจนหมด โดยไม่มีใครสามารถแจ้งสถานะของบริษัท (ขณะนั้น)ได้ว่าจะปิดหรือดำเนินต่อ เชื่อว่าสมาชิกทั่วประเทศกว่า 1.5 แสนคน ยังมีผู้เสียหายจำนวนมากที่ไม่ได้ออกมาร้องเรียน
ในด้านหนึ่งผู้หลวมตัวเป็นสมาชิกของ แคลิฟอร์เนีย ว้าว จำนวนมากได้เข้าร้องเรียนกับ สคบ. หรือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าไม่ได้รับการปฏิบัติตามสัญญา "เวลานั้นกรณีร้องเรียน แคลิฟอร์เนียพุ่งขึ้นเป็นอันดับหนึ่งทีเดียว" หนึ่งในผู้รู้เรื่องดีให้ข้อมูล
*เริ่มเซ !!!
เสียงร้องเรียนและก่นด่าจากสมาชิกที่หลวมตัวเป็นสมาชิกแต่ได้รับบริการไม่เป็นอย่างที่คาดหวังค่อยๆ บ่อนแซะความน่าเชื่อถือของ แคลิฟอร์เนีย ว้าว ทีละน้อย สิ่งบอกเหตุสำคัญที่สุดคือการประกาศถอนตัวจาก "แคลิฟอร์เนีย ว้าว" ของกลุ่มเมเจอร์ในปี 2552 หลังร่วมทุนมาไม่ถึง 6 ปีดี โดย วิชาซีอีโอกลุ่มเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ทยอยขายหุ้น แคลิฟอร์เนีย ว้าว จำนวน 53.37 ล้านหุ้น หรือสัดส่วน 17.79% เฉลี่ยที่หุ้นละ 0.74 บาท จากที่ถือรวม 37.7% ตัดหน้าก่อนที่บอร์ดจะอนุมัติแผนเพิ่มทุนล็อตใหม่จำนวน 402 ล้านบาทที่หุ้นละ 0.45 บาท ในปลายเดือนเดียวกัน ซึ่งเทียบกับราคาหุ้นไอพีโอปี 2548 ที่ราคาหุ้นละ 6 บาท เท่ากับวิชา ยอมขายขาดทุน ก่อนที่จะตัดขายหุ้นทั้งหมดอีก 19% ภายในปี 2554 แหล่งข่าวในเมเจอร์บอกว่า คุณวิชาไม่แฮปปี้กับข่าวการร้องเรียน แคลิฟอร์เนีย ว้าว ที่ออกมาอย่างต่อเนื่องเพราะเกรงว่าจะกระทบภาพลักษณ์บริษัทและราคาหุ้นเมเจอร์
การถอนตัวของเมเจอร์ ทำเอาแคลิฟอร์เนีย ว้าวถึงกับเซ พร้อมกับข่าวร้ายที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง ที่เป็นข่าวดังคือ แคลิฟอร์เนีย ว้าว ฟ้อง เมเจอร์ เรียกค่าเสียหายมูลค่า 370 ล้านบาท จากกรณี เมเจอร์ ตัดน้ำไฟ สาขาที่ เมเจอร์รัชโยธิน ปิ่นเกล้า และสุขุมวิท 23 จากการค้างค่าเช่า และค่าสาธารณูปโภค กว่า 50 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นแบงก์ที่เคยแย่งกันปล่อยสินเชื่อให้ แคลิฟอร์เนียว้าว ต้องหันมาเล่นบทใหม่ บทคนทวงหนี้ เมื่อ แคลิฟอร์เนียว้าว ผิดนัดชำระหนี้แบงก์หลายแห่ง อาทิแบงก์ทีเอ็มบี แบงก์กรุงศรีอยุธยา และแบงก์กรุงเทพเจ้าหนี้รายใหญ่ และต้นปี 2554 ชะตากรรมของ แคลิฟอร์เนียว้าว ก็เปลี่ยนไปตลอดกาลเมื่อ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศให้ฟื้นฟูกิจการ และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดต่อจากนั้นคือ แอริค แจ้งลาออกจากตำแหน่ง ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
*ขาดทุนต่อเนื่อง
กับความเสื่อมถอยของผลประกอบการในช่วงหลังปี 2553 แคลิฟอร์เนียว ว้าว ให้เหตุผลว่าเป็นผลจากวิกฤติการเมืองในปี 2553 และมหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 จากการไล่พลิกผลประกอบการ แคลิฟอร์เนีย ว้าว พบว่า บริษัทมีกำไร 29.48 ล้านบาทในปี 2549 เพียงปีเดียว ที่เหลือจากนั้นขาดทุนมาโดยตลอด นับจากปี 2550 - 2554 เป็นต้นมากลับขาดทุนต่อเนื่อง จากขาดทุนสุทธิ 93.68 ล้านบาท ในปี 2550 เป็น -120.60 ล้านบาท/ ปี 2551, - 274.09 ล้านบาท/ปี 2552, -467.36 ล้านบาท/ ปี 2553 และ -246.64 ล้านบาท /ปี 2554
แต่ทว่าท่ามกลางสถานการณ์ที่เจ้าหนี้รุมเร้าเข้ามาและผลประกอบการทรุดต่ำต่อเนื่อง แอริคที่ลาออกจากตำแหน่งบริหารแต่ยังคงถือหุ้นใหญ่ ได้เซอร์ไพรส์เจ้าหนี้ด้วยการประกาศหมั้นกับนางแบบชื่อดัง "วราลักษณ์ วาณิชย์กุล" ด้วยสินสอด เพชร 24 กะรัต มูลค่า 100 ล้านบาท เรือนหอบนเกาะภูเก็ตพื้นที่ 15 ไร่ที่ประเมินมูลค่าว่าแตะหลักพันล้านบาท และจัดพิธีแต่งงานอย่างเอิกเกริกทั้งในและต่างประเทศ
1 เดือนหลัง แอริค วิวาห์พันล้านบาท แบงก์กรุงเทพฟ้องล้มละลาย แคลิฟอร์เนีย ว้าว มูลหนี้ 75.87 ล้านบาท !!! ก่อนที่บริษัทตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งศาลฯมีคำสั่งรับคำร้องฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2555
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company