Re: สถานการณ์ อสังหาริมทรัพย์
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 27, 2014 10:12 am
ยอดขายผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ 7 รายใหญ่ พบยอดขาย 2 เดือนแรกปีนี้ลดลงเฉียด 60% ประเมินลูกค้ายกเลิกใบจองเพิ่มคาดทั้งระบบสูงถึง 20%
"ภัทร" เผยผลสำรวจยอดขายผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ 7 รายใหญ่ พบยอดขาย 2 เดือนแรกปีนี้ลดลงเฉียด 60% หลังเทียบกับปีก่อน และประเมินลูกค้ายกเลิกใบจองที่อยู่อาศัยเพิ่มคาดทั้งระบบสูงถึง 20% ใน 1-2 โครงการ เพราะไม่มั่นใจเศรษฐกิจ ส่งผลภาพรวมปีนี้คาดปรับตัวลง 18% ด้านผู้ประกอบการ เชื่อการเมืองยืดเยื้อและไม่จบในปีนี้ ดึงกำลังซื้อตลาดบ้านร่วงตาม ผู้ประกอบการหั่นขนาดโครงการเพื่อลดเสี่ยง "แลนด์แอนด์เฮ้าส์" ชี้เป็นปีแห่งการพักยก แนะควรตรวจสอบภายใน-พัฒนาศักยภาพรองรับ วอนสถาบันการเงินคลายความเข้มงวดปล่อยสินเชื่อ
ธนาคารเกียรตินาคิน จัดสัมมนา "สินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์" เพื่อระดมความคิดเห็นผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และสถาบันการเงิน ท่ามกลางปัจจัยลบที่ฉุดตลาด ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และกำลังซื้อที่หดตัววานนี้ (25 มี.ค.)
โดย นางสาวจิราภรณ์ ลินมณีโชติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บล.ภัทร ได้สำรวจยอดขายที่อยู่อาศัยจากผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ดีเวลล็อปเปอร์) รายใหญ่ 7 แห่ง ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ พบว่า ยอดขาย 2 เดือนแรกปีนี้ ลดลงมากถึง 59.6% เมื่อเทียบกับ 2 เดือนแรกของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการปรับลดลงของที่อยู่อาศัยแนวสูง หรือคอนโดมิเนียมมากถึง 88.7% ขณะที่แนวราบลดลง 9.9% ส่วนใหญ่เกิดจากผู้บริโภค ที่มีการยกเลิกสัญญาการจอง เพราะไม่เชื่อมั่นเศรษฐกิจและการเมือง
"ตั้งแต่ต้นปีคอนโดขยายตัวได้แค่ 2.9% เทียบกับปลายปีก่อน ส่วนบ้านเดี่ยวทาวน์เฮ้าส์เติบโต 11.4% แม้จะไม่ได้ติดลบ แต่โตน้อยหากเทียบกับ 2 เดือนแรกของปีก่อนที่เติบโต 21.1% และ 15.2% ตามลำดับ"
นอกจากนี้ เริ่มเห็นลูกค้ายกเลิกการจองที่อยู่อาศัยมากขึ้น โดยใน 1-2 โครงการ เฉลี่ยยกเลิก 20% ของปริมาณการจอง โดยเฉพาะโครงการที่เก็บเงินดาวน์ต่ำ เพราะที่ผ่านมาเกิดความล่าช้าจากการขออนุญาตก่อสร้างโครงการ และปริมาณการก่อสร้างโครงการยังปรับลดลง
ดังนั้น ภาพรวมธุรกิจปีนี้ คาดปรับตัวลดลง 18% จากปี 2556 อยู่ที่ 1.62 แสนยูนิต เหลือ 8.5 หมื่นยูนิต โดยเฉพาะคอนโด ซึ่งจะปรับตัวลดลง 30-40%
ส่วนภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อที่อยู่อาศัยปี 2556 มีมูลค่าอยู่ที่ 2.6 ล้านล้านบาท ขณะที่ปีนี้ขยายตัว 10% หรือมีมูลค่า 500,000 ล้านบาท ขณะที่สถาบันการเงิน ยังเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยช่วงที่ผ่านมาพบระยะเวลาในการปล่อยสินเชื่อนานขึ้นจาก 2-3 สัปดาห์ เป็น 1-2 เดือน
ชี้ลดดอกเบี้ยช่วงนี้ไร้ประโยชน์
ทั้งนี้ นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานคณะกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ กล่าวว่า ปัญหาการเมืองที่ไร้ความชัดเจน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและกำลังซื้อลดลง ซึ่งหลายฝ่ายประเมินหากการเมืองนิ่ง จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น
"ส่วนเศรษฐกิจต่างประเทศ แม้จะไม่ดีมาก แต่คงไม่แย่ไปกว่านี้ โดยของไทยการลดดอกเบี้ยช่วงนี้ ถือว่าช้าไป ควรลดตั้งแต่ 6 เดือนที่แล้ว เพราะตอนนี้เศรษฐกิจไม่ดีแล้ว ลดดอกเบี้ยตอนนี้ก็ไม่มีประโยชน์"
สำหรับภาพรวมคิดว่า ปีนี้ควรเป็นปีแห่งการ "พักยก" แม้ภาพรวมเดือนมี.ค.จะเริ่มดีขึ้นบ้าง ต่างจากช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (ธ.ค.-ก.พ.) ตลาดแย่มาก และที่มีปัญหาค่อนข้างมาก คือ ตลาดคอนโดกว่าล้านบาท ที่มีการเปิดมากช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีสัดส่วนมากกว่า 50-60% ของตลาดรวมคอนโด โดยเปิดตัวเฉลี่ยปีละ 5 หมื่นยูนิต ขณะที่ความต้องการของตลาดอยู่ที่ 2-3 หมื่นยูนิต
เช่นเดียวกับตลาดคอนโดต่างจังหวัด พบว่า หลายจังหวัด เช่น จังหวัดภูเก็ต นครราชสีมา ขอนแก่น เริ่มมีปัญหาเรื่องลูกค้าไม่รับโอน โดยเฉพาะโครงการที่วางเงินดาวน์ต่ำแค่ 5% แม้ลูกค้าจะรับโอนแล้ว ยังเสี่ยงผ่อนต่อไม่ไหว เพราะชินกับการผ่อนต่ำๆ มานาน ปัญหานี้ทำให้สถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเห็นตัวเลขเอ็นพีแอล จากกว่า 1% เป็น 2% ซึ่งเยอะมาก
"คอนโดล้านต้นๆ เกิดได้ เพราะดอกเบี้ยต่ำลง ทำให้คนเอื้อมถึง แต่ตลาดนี้มีวันหมด จะค่อยๆ ชะลอลง ตอนนี้ไม่ได้ง่ายเหมือนเดิมกว่าจะได้โอน ลูกค้าอาจจะเปลี่ยนใจ หรือมีปัญหาโอนไม่ได้ ถ้ามีลูกค้าสัก 10 คนที่จะโอนเดือนนี้ ถ้าพลาดสัก 4 คน เท่ากับรายได้หายไป 40%"
นายอนันต์ กล่าวต่อว่า เมื่อให้ปีนี้เป็นปีพักยก ผู้ประกอบการควรหันมาตรวจสอบ (QC) ภายในองค์กรของตนเอง 3 เรื่อง คือ ตรวจสอบคุณภาพสินค้า ตรวจสอบคุณภาพบริการ ต้องดูแลลูกค้าตั้งแต่วันแรกเข้ามา ที่สำคัญ คือ การบริการหลังการขาย เพราะจะเป็นการบอกต่อของลูกค้า และตรวจสอบเวลาว่าการก่อสร้างตรงตามเวลา หรือส่งมอบได้เร็วหรือไม่
ยอดขายคอนโดภาคตะวันออกลด
ด้าน นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ภาพรวมตลาดอสังหาฯ ภาคตะวันออก คือ จังหวัดชลบุรี และ ระยอง มีโอกาสขยายตัวได้ เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ เพราะเป็นจังหวัดที่มีหลายปัจจัย ทั้งการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม และการค้า ในการขับเคลื่อนการเติบโตเศรษฐกิจ
"เริ่มพบตลาดคอนโด เมืองพัทยา มีอัตราการขายลดลง เช่นเดียวกับในจังหวัดภูเก็ต เพราะมีซัพพลายใหม่คอนโดเปิดตัวขึ้นมาก ทั้งจากผู้ประกอบการส่วนกลาง และผู้ประกอบการท้องถิ่น โดยมีตัวโครงการเพิ่มเข้าสู่ตลาดเฉลี่ยเดือนละ 1-2 พันยูนิต แต่ความต้องการซื้อเติบโตไม่เร็วเท่า ทำให้ตลาดดูดซับไม่ทัน"
ผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่เข้ามาลงทุนในชลบุรี ควรแข่งขันกันสร้างบ้านและคอนโดมิเนียมที่มีคุณภาพ มากกว่าแข่งกันขึ้นโครงการใหม่ๆ แต่ไม่มีคุณภาพ เพื่อให้ต่างชาติ คนต่างถิ่น หรือคนชลบุรี ที่เข้ามาซื้ออสังหาฯ มั่นใจว่าเป็นโครงการที่มีคุณภาพ โดยที่ผ่านมายังเห็นหลายโครงการบ้านจัดสรร เน้นกำไรมากเกินไป ส่งผลเสียกับผู้ซื้อบ้าน จึงอยากให้ปรับวิธีคิดใหม่
เผยแนวราบยังมีโอกาสเติบโต
ส่วน นายอิสระ บุญยัง กรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา กรุ๊ป จำกัด บอกว่า ไตรมาสแรกปีนี้ยอดขายลดลงแล้ว 10-20% แต่ยังไม่น่ากังวล เพราะยังมีโอกาสฟื้นตัวได้ช่วงครึ่งปีหลัง และแนวราบยังมีโอกาสเติบโต เพราะได้รับอานิสงส์จากปีก่อนที่เติบโตไม่มากนัก อยู่ที่ 40,000 ยูนิต ส่วนแนวสูงไม่น่าจะปรับตัวลดลงมากถึง 60% โดยส่วนใหญ่ต้องการซื้อคอนโดเพื่ออยู่อาศัยอย่างแท้จริง
ส่วนการเมืองยืดเยื้อเช่นนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัว ส่วนใหญ่เน้นการดาวน์ไซด์โครงการลง ซึ่งมองว่าเป็นผลดีต่อภาพรวมทั้งหมด ต่อผู้ซื้อบ้าน วัสดุก่อสร้างก็ไม่ขาดแคลน จากเดิมเคยมองจะมีโครงการ 2.2 ล้านล้านบาท เป็นตัวกระตุ้น
"ยอดเปิดตัวโครงการปีนี้คาดลดลงเหลือ 100,000 ยูนิต แน่นอนว่าจากปีก่อน 130,000 ยูนิต หายไป 20-30% ซึ่งตัวคอนโดจะหายไปเยอะ ส่วนยอดจดทะเบียน ปีนี้น่าจะเหลือ 120,000 ล้านบาท จาก 130,000 ล้านบาท ยอดโอนกรรมสิทธิ์ ปีนี้ถ้าได้ที่ 160,000 ล้านบาท จาก 181,000 ล้านบาท ถือว่าดี ที่ทำได้ระดับนี้"
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... เยื้อ.html
"ภัทร" เผยผลสำรวจยอดขายผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ 7 รายใหญ่ พบยอดขาย 2 เดือนแรกปีนี้ลดลงเฉียด 60% หลังเทียบกับปีก่อน และประเมินลูกค้ายกเลิกใบจองที่อยู่อาศัยเพิ่มคาดทั้งระบบสูงถึง 20% ใน 1-2 โครงการ เพราะไม่มั่นใจเศรษฐกิจ ส่งผลภาพรวมปีนี้คาดปรับตัวลง 18% ด้านผู้ประกอบการ เชื่อการเมืองยืดเยื้อและไม่จบในปีนี้ ดึงกำลังซื้อตลาดบ้านร่วงตาม ผู้ประกอบการหั่นขนาดโครงการเพื่อลดเสี่ยง "แลนด์แอนด์เฮ้าส์" ชี้เป็นปีแห่งการพักยก แนะควรตรวจสอบภายใน-พัฒนาศักยภาพรองรับ วอนสถาบันการเงินคลายความเข้มงวดปล่อยสินเชื่อ
ธนาคารเกียรตินาคิน จัดสัมมนา "สินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์" เพื่อระดมความคิดเห็นผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และสถาบันการเงิน ท่ามกลางปัจจัยลบที่ฉุดตลาด ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และกำลังซื้อที่หดตัววานนี้ (25 มี.ค.)
โดย นางสาวจิราภรณ์ ลินมณีโชติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บล.ภัทร ได้สำรวจยอดขายที่อยู่อาศัยจากผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ดีเวลล็อปเปอร์) รายใหญ่ 7 แห่ง ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ พบว่า ยอดขาย 2 เดือนแรกปีนี้ ลดลงมากถึง 59.6% เมื่อเทียบกับ 2 เดือนแรกของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการปรับลดลงของที่อยู่อาศัยแนวสูง หรือคอนโดมิเนียมมากถึง 88.7% ขณะที่แนวราบลดลง 9.9% ส่วนใหญ่เกิดจากผู้บริโภค ที่มีการยกเลิกสัญญาการจอง เพราะไม่เชื่อมั่นเศรษฐกิจและการเมือง
"ตั้งแต่ต้นปีคอนโดขยายตัวได้แค่ 2.9% เทียบกับปลายปีก่อน ส่วนบ้านเดี่ยวทาวน์เฮ้าส์เติบโต 11.4% แม้จะไม่ได้ติดลบ แต่โตน้อยหากเทียบกับ 2 เดือนแรกของปีก่อนที่เติบโต 21.1% และ 15.2% ตามลำดับ"
นอกจากนี้ เริ่มเห็นลูกค้ายกเลิกการจองที่อยู่อาศัยมากขึ้น โดยใน 1-2 โครงการ เฉลี่ยยกเลิก 20% ของปริมาณการจอง โดยเฉพาะโครงการที่เก็บเงินดาวน์ต่ำ เพราะที่ผ่านมาเกิดความล่าช้าจากการขออนุญาตก่อสร้างโครงการ และปริมาณการก่อสร้างโครงการยังปรับลดลง
ดังนั้น ภาพรวมธุรกิจปีนี้ คาดปรับตัวลดลง 18% จากปี 2556 อยู่ที่ 1.62 แสนยูนิต เหลือ 8.5 หมื่นยูนิต โดยเฉพาะคอนโด ซึ่งจะปรับตัวลดลง 30-40%
ส่วนภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อที่อยู่อาศัยปี 2556 มีมูลค่าอยู่ที่ 2.6 ล้านล้านบาท ขณะที่ปีนี้ขยายตัว 10% หรือมีมูลค่า 500,000 ล้านบาท ขณะที่สถาบันการเงิน ยังเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยช่วงที่ผ่านมาพบระยะเวลาในการปล่อยสินเชื่อนานขึ้นจาก 2-3 สัปดาห์ เป็น 1-2 เดือน
ชี้ลดดอกเบี้ยช่วงนี้ไร้ประโยชน์
ทั้งนี้ นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานคณะกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ กล่าวว่า ปัญหาการเมืองที่ไร้ความชัดเจน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและกำลังซื้อลดลง ซึ่งหลายฝ่ายประเมินหากการเมืองนิ่ง จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น
"ส่วนเศรษฐกิจต่างประเทศ แม้จะไม่ดีมาก แต่คงไม่แย่ไปกว่านี้ โดยของไทยการลดดอกเบี้ยช่วงนี้ ถือว่าช้าไป ควรลดตั้งแต่ 6 เดือนที่แล้ว เพราะตอนนี้เศรษฐกิจไม่ดีแล้ว ลดดอกเบี้ยตอนนี้ก็ไม่มีประโยชน์"
สำหรับภาพรวมคิดว่า ปีนี้ควรเป็นปีแห่งการ "พักยก" แม้ภาพรวมเดือนมี.ค.จะเริ่มดีขึ้นบ้าง ต่างจากช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (ธ.ค.-ก.พ.) ตลาดแย่มาก และที่มีปัญหาค่อนข้างมาก คือ ตลาดคอนโดกว่าล้านบาท ที่มีการเปิดมากช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีสัดส่วนมากกว่า 50-60% ของตลาดรวมคอนโด โดยเปิดตัวเฉลี่ยปีละ 5 หมื่นยูนิต ขณะที่ความต้องการของตลาดอยู่ที่ 2-3 หมื่นยูนิต
เช่นเดียวกับตลาดคอนโดต่างจังหวัด พบว่า หลายจังหวัด เช่น จังหวัดภูเก็ต นครราชสีมา ขอนแก่น เริ่มมีปัญหาเรื่องลูกค้าไม่รับโอน โดยเฉพาะโครงการที่วางเงินดาวน์ต่ำแค่ 5% แม้ลูกค้าจะรับโอนแล้ว ยังเสี่ยงผ่อนต่อไม่ไหว เพราะชินกับการผ่อนต่ำๆ มานาน ปัญหานี้ทำให้สถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเห็นตัวเลขเอ็นพีแอล จากกว่า 1% เป็น 2% ซึ่งเยอะมาก
"คอนโดล้านต้นๆ เกิดได้ เพราะดอกเบี้ยต่ำลง ทำให้คนเอื้อมถึง แต่ตลาดนี้มีวันหมด จะค่อยๆ ชะลอลง ตอนนี้ไม่ได้ง่ายเหมือนเดิมกว่าจะได้โอน ลูกค้าอาจจะเปลี่ยนใจ หรือมีปัญหาโอนไม่ได้ ถ้ามีลูกค้าสัก 10 คนที่จะโอนเดือนนี้ ถ้าพลาดสัก 4 คน เท่ากับรายได้หายไป 40%"
นายอนันต์ กล่าวต่อว่า เมื่อให้ปีนี้เป็นปีพักยก ผู้ประกอบการควรหันมาตรวจสอบ (QC) ภายในองค์กรของตนเอง 3 เรื่อง คือ ตรวจสอบคุณภาพสินค้า ตรวจสอบคุณภาพบริการ ต้องดูแลลูกค้าตั้งแต่วันแรกเข้ามา ที่สำคัญ คือ การบริการหลังการขาย เพราะจะเป็นการบอกต่อของลูกค้า และตรวจสอบเวลาว่าการก่อสร้างตรงตามเวลา หรือส่งมอบได้เร็วหรือไม่
ยอดขายคอนโดภาคตะวันออกลด
ด้าน นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ภาพรวมตลาดอสังหาฯ ภาคตะวันออก คือ จังหวัดชลบุรี และ ระยอง มีโอกาสขยายตัวได้ เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ เพราะเป็นจังหวัดที่มีหลายปัจจัย ทั้งการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม และการค้า ในการขับเคลื่อนการเติบโตเศรษฐกิจ
"เริ่มพบตลาดคอนโด เมืองพัทยา มีอัตราการขายลดลง เช่นเดียวกับในจังหวัดภูเก็ต เพราะมีซัพพลายใหม่คอนโดเปิดตัวขึ้นมาก ทั้งจากผู้ประกอบการส่วนกลาง และผู้ประกอบการท้องถิ่น โดยมีตัวโครงการเพิ่มเข้าสู่ตลาดเฉลี่ยเดือนละ 1-2 พันยูนิต แต่ความต้องการซื้อเติบโตไม่เร็วเท่า ทำให้ตลาดดูดซับไม่ทัน"
ผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่เข้ามาลงทุนในชลบุรี ควรแข่งขันกันสร้างบ้านและคอนโดมิเนียมที่มีคุณภาพ มากกว่าแข่งกันขึ้นโครงการใหม่ๆ แต่ไม่มีคุณภาพ เพื่อให้ต่างชาติ คนต่างถิ่น หรือคนชลบุรี ที่เข้ามาซื้ออสังหาฯ มั่นใจว่าเป็นโครงการที่มีคุณภาพ โดยที่ผ่านมายังเห็นหลายโครงการบ้านจัดสรร เน้นกำไรมากเกินไป ส่งผลเสียกับผู้ซื้อบ้าน จึงอยากให้ปรับวิธีคิดใหม่
เผยแนวราบยังมีโอกาสเติบโต
ส่วน นายอิสระ บุญยัง กรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา กรุ๊ป จำกัด บอกว่า ไตรมาสแรกปีนี้ยอดขายลดลงแล้ว 10-20% แต่ยังไม่น่ากังวล เพราะยังมีโอกาสฟื้นตัวได้ช่วงครึ่งปีหลัง และแนวราบยังมีโอกาสเติบโต เพราะได้รับอานิสงส์จากปีก่อนที่เติบโตไม่มากนัก อยู่ที่ 40,000 ยูนิต ส่วนแนวสูงไม่น่าจะปรับตัวลดลงมากถึง 60% โดยส่วนใหญ่ต้องการซื้อคอนโดเพื่ออยู่อาศัยอย่างแท้จริง
ส่วนการเมืองยืดเยื้อเช่นนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัว ส่วนใหญ่เน้นการดาวน์ไซด์โครงการลง ซึ่งมองว่าเป็นผลดีต่อภาพรวมทั้งหมด ต่อผู้ซื้อบ้าน วัสดุก่อสร้างก็ไม่ขาดแคลน จากเดิมเคยมองจะมีโครงการ 2.2 ล้านล้านบาท เป็นตัวกระตุ้น
"ยอดเปิดตัวโครงการปีนี้คาดลดลงเหลือ 100,000 ยูนิต แน่นอนว่าจากปีก่อน 130,000 ยูนิต หายไป 20-30% ซึ่งตัวคอนโดจะหายไปเยอะ ส่วนยอดจดทะเบียน ปีนี้น่าจะเหลือ 120,000 ล้านบาท จาก 130,000 ล้านบาท ยอดโอนกรรมสิทธิ์ ปีนี้ถ้าได้ที่ 160,000 ล้านบาท จาก 181,000 ล้านบาท ถือว่าดี ที่ทำได้ระดับนี้"
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... เยื้อ.html