หน้า 2 จากทั้งหมด 3
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 25, 2014 1:32 pm
โดย Ii'8N
cyber-shot เขียน:ขอบคุณคุณPicatosมากครับที่ให้ความรู้
นั่นสิครับ ผมว่าการได้ฟังความรู้ความเห็นต่าง เป็นเรื่องดีออก... ผมแอบนั่งอ่านเรื่องที่ผมไม่รู้มาก่อนหรือรู้ไม่ถึง (ที่เคยได้รู้มาแค่ท่องจำ) อยู่บ่อยๆ
เพราะปกติ เรามักจะมุ่งไปทางเดียว หรือบางทีก็ไปสนใจแต่แง่มุมที่เราคุ้นเคย การได้อ่านได้ฟังอีกทิศทาง เป็นการเรียนรู้ลัดกระตุ้นให้อยากรู้ในเรื่องในด้านที่ปกติเราไม่ได้สนใจจะไปรู้ด้วย
เหมือนที่มีคนพูดไว้เยอะ ถ้าบัฟเฟต์ ไม่ฟังเพื่อนทนายที่สไตล์ต่างแบบมังเกอร์ ก็อาจไม่ซื้อหุ้นโค้ก เพราะถ้าหาแต่หุ้นถูกตามแบบอาจารย์ตลอดไป port โตมากขนาดนั้น จะหาหุ้นถูกหุ้นก้นบุหรี่ตัวเล็กยากขึ้น อันนี้ เรามีที่ปรึกษาแบบมังเกอร์ ฟิชเชอร์ มีโซรอส ลินช์ มีบัฟเฟต (คห.ข้างบน) ด้วย
มีเต็มบอร์ดไปหมด ผมว่าเขียนกันออกมาเยอะๆ ไม่เหมือนกัน คนละแนวแบบนี้ดีแล้ว (ผมจะคอยแอบดูดความรู้อยู่เงียบๆ
)
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 25, 2014 1:58 pm
โดย maninpp
เขียนได้ดีทั้งสองคนละครับ ถ้าคนอ่านเอาไปปรับใช้
คนที่มีหุ้นอยู่จะได้มีกำลังใจถือ หลังจากรอให้วิกฤติคลี่คลายมานานแล้ว
คนที่ยังไม่มีหุ้น อ่านแล้วจะได้ระมัดระวังในการเลือกหุ้น ยิ่งขึ้น
ไม่ใช้ว่าซื้อหุ้นตอนนี้ แล้ว จะมีความเสี่ยงน้อยซะทีเดียว ยังมีความถูก
ความแพงของหุ้น และความแข็งแกร่งของ บ. เข้ามาให้พิจารณา
รวมถึงปัจจัยอื่นๆอีก
ปล. ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ให้ครับ
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 25, 2014 2:28 pm
โดย greenman
ผมไม่ใช่คนมองโลกสวยนะครับ เพียงแต่อยากให้คนไทยอยู่อย่างมีเหตุผล แบ่งปัน เข้าใจผู้อื่น มีภราดรภาพ มีความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น หุ้นดีเอง โตได้โดยไม่ต้องตกหนัก (บ่อย)แล้วค่อยซื้อ อยู่อย่างรักกันนะครับ ปึกแผ่น
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 25, 2014 3:51 pm
โดย SI Freedom
picatos เขียน:ได้กลับมาย้อนอ่านสิ่งที่ตัวเองโพสต์ลงไป รู้สึกว่า เป็นโพสต์ที่ไม่สำรวมระวัง ทำให้เกิดการกระทบกระทั่ง อาจะทำให้พี่ๆ และเพื่อนๆ ไม่สบายใจ ซึ่งดูแล้วไม่เหมาะสมเลย
ผมเสียใจต่อการกระทำอันไม่สมควรดังกล่าว จึงขอกราบขออภัยต่อพี่ๆ เพื่อนๆ โดยเฉพาะพี่ kissme ด้วยนะครับ ได้โปรดอโหสิให้กับข้อความอันไม่สมควรของผม เพื่อความสำรวมระวังในอนาคตของผมครับ
ผมขอโทษนะครับ
นับถือคุณ picatos มากๆครับ ทั้งๆที่ผมไม่เห็นรู้สึกเลยว่ามันจะเป็นชนวนให้ดราม่าได้ คุณตี่ ก็แค่เตือนให้ นลท. ระวังกันตามปกติ ว่า PE มันอาจจะแพงไป แค่นั้นเอง .. ส่วนหลังจากนี้เป็นยังไงต่อ คงไม่มีใครรู้ เดาเองกันทุกคน
อนาคตหลังจากนี้ ขึ้นอยู่กับแนวทางแก้ปัญหา และผลลัพท์ที่ตามมา .. เราทำได้แค่ดูหน้าไพ่ ที่หงายออกมาเรื่อยๆ
แต่ที่จั่วขึ้นมาตอนนี้แล้วเห็นชัด คือ
- กำไร บจ. หลายแห่งลดแบบไม่น่าลด (เป็นสาเหตุนึงที่ PE SET สูงขึ้น) แต่ถ้าคิดว่าการเมืองมันนิ่งขึ้น ความเชื่อมั่นดีขึ้น กำไรก็อาจกลับมาได้เหมือนกัน มองได้ 2 ทาง
- ปัญหาการเมืองที่จบไม่ลง นักวิชาการหลายสำนักแก้ไม่ได้ แต่ทหารจะแก้ได้ ?
- ต่างชาติเริ่มเบื่อ เตรียมปรับเรทติ้งประเทศ
โดยธรรมชาติ วิกฤติขนาดใหญ่มันก็เกิดจากวิกฤติเล็กๆก่อน หุ้นตกครั้งใหญ่มันก็เริ่มตกทีละน้อยๆก่อน
ขอให้นลท.ทุกคน รวมถึงผมเอง และประเทศชาติผ่านวิกฤตินี้ไปได้ด้วยดีครับ
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 25, 2014 5:11 pm
โดย jokerz
picatos เขียน:ได้กลับมาย้อนอ่านสิ่งที่ตัวเองโพสต์ลงไป รู้สึกว่า เป็นโพสต์ที่ไม่สำรวมระวัง ทำให้เกิดการกระทบกระทั่ง อาจะทำให้พี่ๆ และเพื่อนๆ ไม่สบายใจ ซึ่งดูแล้วไม่เหมาะสมเลย
ผมเสียใจต่อการกระทำอันไม่สมควรดังกล่าว จึงขอกราบขออภัยต่อพี่ๆ เพื่อนๆ โดยเฉพาะพี่ kissme ด้วยนะครับ ได้โปรดอโหสิให้กับข้อความอันไม่สมควรของผม เพื่อความสำรวมระวังในอนาคตของผมครับ
ผมขอโทษนะครับ
พี่ทำอะไรผิดครับ ??
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 25, 2014 8:39 pm
โดย ลูกหิน
ผมว่าดีทั้งคู่นะครับ อย่าคิดมากเลยครับ ขัดแย้งแบบสร้างสรรค์อย่างนี้ทำให้ก่อเกิดปัญญานะครับ
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 25, 2014 9:50 pm
โดย kissme
เพิ่งมาอ่านมีดราม่าด้วย สงสัยพิมแรงไปขออภัยด้วยนะครับ
ท่านอาจารย์ picatos ถกกันคนละมุม ไม่ได้ขัดแย้งอะไรเลยครับ
เหตุผลของอาจารย์ ผมอ่านยิ่งทึ่ง น่าสนใจมากครับ ผมชอบมาก ความรู้ดีๆทั้งนั้น
ส่วนของผมด้านจิตวิทยาการลงทุน ประสบการณ์ล้วนๆ ถือเป็นอีกมุมมองละกันครับ
สิ่งที่ผมเขียน เห็นว่ามีประโยชน์ในมุมมองผมครับ จึงอยากแชร์ให้พี่น้องนักลงทุนได้ถกกันครับ
ถ้าไม่สมควรลบได้นะครับ ขออภัยอีกทีครับ ต่อไปจะระมัดระวังให้มากขึ้นครับ
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 25, 2014 10:48 pm
โดย leky
ผมว่าบางทีการมองตลาดในภาพรวมมากเกินไป มันก็อาจจะทำให้เราเสียโอกาสได้เหมือนกันครับ เช่นการมอง PE ของตลาด จริงอยู่ PE ที่สูงเกินไป ย่อมหมายถึงตลาดที่มีโอกาสจะลง หุ้นรายตัวที่อยู่ในตลาดถึงแม้บางตัวจะราคาไม่แพง ก็อาจจะถูกลงไปอีก แต่สำหรับผม ถ้าให้ผมต้องมองในภาพใหญ่ขนาดนั้น ที่มีปัจจัยที่มีผลต่อตลาด "มากมาย" และยากจะคาดการ ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจในประเทศ การไหลของเงิน เศรษฐกิจของโลก สงคราม ฯลฯ ผมจะไม่พยายามเอามาเป็นเหตุผลหลักในการซื้อหุ้น เพราะโอกาสผิดพลาดมันสูงครับ ไม่ต้องอะไรเลยครับ ล่าสุดเรื่องการเมืองไทย เรื่องม็อบ เราคิดจะรอให้ม็อบมาหุ้นจะได้ลง เราจะได้ซื้อของถูก เอาเข้าจริงพอม็อบมาหุ้นกลับบวกก็บ่อย
สมมติ PE ตลาดปาเข้าไป 20 แต่ผมเจอหุ้น PE = 8 ผมควรจะรอให้ตลาดมันมี PE เหลือ 10 แล้วคิดไปว่าหุ้นตัวนี้ PE มันจะลดลงไปครึ่งหนึ่งคือ 4 ????? มันเป็นไปได้ไหม มันก็อาจจะเป็นไปได้ครับ แต่เท่าที่เคยเห็น ปรากฎการณ์แบบนี้มักจะเกิดในภาวะตลาดที่เลวร้ายมาก ๆ เศรษฐกิจแย่มาก ๆ อย่างปี 40 หรือการไหลของเงินออกอย่างรุนแรง แบบปี 51 เหตุการณ์แบบนี้ 10 ปีเกิดซักครั้ง เราจะรอขนาดนั้นเลยหรือครับ
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง PE ่ของตลาดที่สูง มันก็ไม่ได้บอกว่ามันจะลงมาต่ำเมื่อไหร่ ผมหมายถึงลงมาต่ำเพราะราคาหุ้นถูกลงนะครับ ไม่ใช่เพราะกำไรมากขึ้น บางทีมันอาจจะสูงอยู่อย่างนั้น 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี 2 ปี 3 ปี...... ระหว่างที่เราพยายามจะรอ "ของถูก" ที่ว่านั้น สมมตินะครับ หุ้นตัวที่ PE 8 มันเกิดวิ่งขึ้นไปเป็น PE 16 เราจะเสียโอกาสไปเท่าไหร่
ตัวอย่างข้างบนผมสมมติตัวเลขแบบง่าย ๆ นะครับ
ไม่ว่าตลาดจะสูงจะต่ำ ผมยังเชื่อว่าหุ้นถูกมันต้องมีอยู่ครับ ก่อนจะบอกว่าไม่มี ถามตัวเองก่อนครับว่า "ตัวเรา" ดูดีแล้วหรือยัง ถ้าบอกว่าไล่ดูครบทั้ง 500-600 ตัวแล้ว มันไม่มีจริง ๆ อันนี้โอเคครับ ผมก็เชื่อว่ามันอาจจะไม่มีจริง ๆ เพราะนิยามของคำว่า "ถูก" ในแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันครับ แต่ถ้าเรายังดูไม่หมด ยังพลิกหินไม่ครบทุกก้อน ก็อย่าเพิ่งสรุปว่า "มันไม่มีครับ"
เพราะจุดผิดพลาดอย่างหนึ่งของนลท.ก็คือ มักจะไม่ดูหุ้นที่ตัวเองไม่รู้หรือไม่ถนัดครับ นั่นก็แปลว่า บางครั้งก็พลาดโอกาสเจอหุ้นดี ๆ ครับ ข้อนี้ผมเองก็เป็นครับ แต่ก็พยายามจะอุดช่องโหว่ของตัวเองอยู่เช่นกันครับ
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 12:20 am
โดย amornkowa
ขอบคุณคุณPicatos ครับที่แชร์ในส่วนอีกด้านให้พวกเราฟัง ผมเห็นด้วยครับ การลงทุนต้องระวังตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เงินต้นขาดทุน ตามกฎข้อ 1 warren buffet ส่วนการลงทุนในต่างประเทศ คุณ picatos ทำไว้ดีมากๆ ถ้ามีโอกาส จะมาแชร์ให้พวกเราฟัง จะขอบคุณ
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 8:16 am
โดย cobain_vi
leky เขียน:ผมว่าบางทีการมองตลาดในภาพรวมมากเกินไป มันก็อาจจะทำให้เราเสียโอกาสได้เหมือนกันครับ เช่นการมอง PE ของตลาด จริงอยู่ PE ที่สูงเกินไป ย่อมหมายถึงตลาดที่มีโอกาสจะลง หุ้นรายตัวที่อยู่ในตลาดถึงแม้บางตัวจะราคาไม่แพง ก็อาจจะถูกลงไปอีก แต่สำหรับผม ถ้าให้ผมต้องมองในภาพใหญ่ขนาดนั้น ที่มีปัจจัยที่มีผลต่อตลาด "มากมาย" และยากจะคาดการ ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจในประเทศ การไหลของเงิน เศรษฐกิจของโลก สงคราม ฯลฯ ผมจะไม่พยายามเอามาเป็นเหตุผลหลักในการซื้อหุ้น เพราะโอกาสผิดพลาดมันสูงครับ ไม่ต้องอะไรเลยครับ ล่าสุดเรื่องการเมืองไทย เรื่องม็อบ เราคิดจะรอให้ม็อบมาหุ้นจะได้ลง เราจะได้ซื้อของถูก เอาเข้าจริงพอม็อบมาหุ้นกลับบวกก็บ่อย
สมมติ PE ตลาดปาเข้าไป 20 แต่ผมเจอหุ้น PE = 8 ผมควรจะรอให้ตลาดมันมี PE เหลือ 10 แล้วคิดไปว่าหุ้นตัวนี้ PE มันจะลดลงไปครึ่งหนึ่งคือ 4 ????? มันเป็นไปได้ไหม มันก็อาจจะเป็นไปได้ครับ แต่เท่าที่เคยเห็น ปรากฎการณ์แบบนี้มักจะเกิดในภาวะตลาดที่เลวร้ายมาก ๆ เศรษฐกิจแย่มาก ๆ อย่างปี 40 หรือการไหลของเงินออกอย่างรุนแรง แบบปี 51 เหตุการณ์แบบนี้ 10 ปีเกิดซักครั้ง เราจะรอขนาดนั้นเลยหรือครับ
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง PE ่ของตลาดที่สูง มันก็ไม่ได้บอกว่ามันจะลงมาต่ำเมื่อไหร่ ผมหมายถึงลงมาต่ำเพราะราคาหุ้นถูกลงนะครับ ไม่ใช่เพราะกำไรมากขึ้น บางทีมันอาจจะสูงอยู่อย่างนั้น 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี 2 ปี 3 ปี...... ระหว่างที่เราพยายามจะรอ "ของถูก" ที่ว่านั้น สมมตินะครับ หุ้นตัวที่ PE 8 มันเกิดวิ่งขึ้นไปเป็น PE 16 เราจะเสียโอกาสไปเท่าไหร่
ตัวอย่างข้างบนผมสมมติตัวเลขแบบง่าย ๆ นะครับ
ไม่ว่าตลาดจะสูงจะต่ำ ผมยังเชื่อว่าหุ้นถูกมันต้องมีอยู่ครับ ก่อนจะบอกว่าไม่มี ถามตัวเองก่อนครับว่า "ตัวเรา" ดูดีแล้วหรือยัง ถ้าบอกว่าไล่ดูครบทั้ง 500-600 ตัวแล้ว มันไม่มีจริง ๆ อันนี้โอเคครับ ผมก็เชื่อว่ามันอาจจะไม่มีจริง ๆ เพราะนิยามของคำว่า "ถูก" ในแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันครับ แต่ถ้าเรายังดูไม่หมด ยังพลิกหินไม่ครบทุกก้อน ก็อย่าเพิ่งสรุปว่า "มันไม่มีครับ"
เพราะจุดผิดพลาดอย่างหนึ่งของนลท.ก็คือ มักจะไม่ดูหุ้นที่ตัวเองไม่รู้หรือไม่ถนัดครับ นั่นก็แปลว่า บางครั้งก็พลาดโอกาสเจอหุ้นดี ๆ ครับ ข้อนี้ผมเองก็เป็นครับ แต่ก็พยายามจะอุดช่องโหว่ของตัวเองอยู่เช่นกันครับ
นึกถึงคำพูดพี่โจลูกอีสานตอนงานมีตติ้งชลบุรีเลยครับ ว่า"ถ้าเรามัวรอแต่วิกฤตซึ่งนานๆจะมาซักครั้งนึง เราจะพลาดหุ้นดีๆที่อยู่ในช่วงไม่เกิดวิกฤต"
"ถึงจะมีวิกฤตถ้าหุ้นเราดีจริงมันอาจจะลงแป้บเดียวแต่เดี๋ยวมันก็วิ่งขึ้นมา"
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 9:15 am
โดย Nevercry.boy
leky เขียน:ผมว่าบางทีการมองตลาดในภาพรวมมากเกินไป มันก็อาจจะทำให้เราเสียโอกาสได้เหมือนกันครับ เช่นการมอง PE ของตลาด จริงอยู่ PE ที่สูงเกินไป ย่อมหมายถึงตลาดที่มีโอกาสจะลง หุ้นรายตัวที่อยู่ในตลาดถึงแม้บางตัวจะราคาไม่แพง ก็อาจจะถูกลงไปอีก แต่สำหรับผม ถ้าให้ผมต้องมองในภาพใหญ่ขนาดนั้น ที่มีปัจจัยที่มีผลต่อตลาด "มากมาย" และยากจะคาดการ ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจในประเทศ การไหลของเงิน เศรษฐกิจของโลก สงคราม ฯลฯ ผมจะไม่พยายามเอามาเป็นเหตุผลหลักในการซื้อหุ้น เพราะโอกาสผิดพลาดมันสูงครับ ไม่ต้องอะไรเลยครับ ล่าสุดเรื่องการเมืองไทย เรื่องม็อบ เราคิดจะรอให้ม็อบมาหุ้นจะได้ลง เราจะได้ซื้อของถูก เอาเข้าจริงพอม็อบมาหุ้นกลับบวกก็บ่อย
สมมติ PE ตลาดปาเข้าไป 20 แต่ผมเจอหุ้น PE = 8 ผมควรจะรอให้ตลาดมันมี PE เหลือ 10 แล้วคิดไปว่าหุ้นตัวนี้ PE มันจะลดลงไปครึ่งหนึ่งคือ 4 ????? มันเป็นไปได้ไหม มันก็อาจจะเป็นไปได้ครับ แต่เท่าที่เคยเห็น ปรากฎการณ์แบบนี้มักจะเกิดในภาวะตลาดที่เลวร้ายมาก ๆ เศรษฐกิจแย่มาก ๆ อย่างปี 40 หรือการไหลของเงินออกอย่างรุนแรง แบบปี 51 เหตุการณ์แบบนี้ 10 ปีเกิดซักครั้ง เราจะรอขนาดนั้นเลยหรือครับ
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง PE ่ของตลาดที่สูง มันก็ไม่ได้บอกว่ามันจะลงมาต่ำเมื่อไหร่ ผมหมายถึงลงมาต่ำเพราะราคาหุ้นถูกลงนะครับ ไม่ใช่เพราะกำไรมากขึ้น บางทีมันอาจจะสูงอยู่อย่างนั้น 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี 2 ปี 3 ปี...... ระหว่างที่เราพยายามจะรอ "ของถูก" ที่ว่านั้น สมมตินะครับ หุ้นตัวที่ PE 8 มันเกิดวิ่งขึ้นไปเป็น PE 16 เราจะเสียโอกาสไปเท่าไหร่
ตัวอย่างข้างบนผมสมมติตัวเลขแบบง่าย ๆ นะครับ
ไม่ว่าตลาดจะสูงจะต่ำ ผมยังเชื่อว่าหุ้นถูกมันต้องมีอยู่ครับ ก่อนจะบอกว่าไม่มี ถามตัวเองก่อนครับว่า "ตัวเรา" ดูดีแล้วหรือยัง ถ้าบอกว่าไล่ดูครบทั้ง 500-600 ตัวแล้ว มันไม่มีจริง ๆ อันนี้โอเคครับ ผมก็เชื่อว่ามันอาจจะไม่มีจริง ๆ เพราะนิยามของคำว่า "ถูก" ในแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันครับ แต่ถ้าเรายังดูไม่หมด ยังพลิกหินไม่ครบทุกก้อน ก็อย่าเพิ่งสรุปว่า "มันไม่มีครับ"
เพราะจุดผิดพลาดอย่างหนึ่งของนลท.ก็คือ มักจะไม่ดูหุ้นที่ตัวเองไม่รู้หรือไม่ถนัดครับ นั่นก็แปลว่า บางครั้งก็พลาดโอกาสเจอหุ้นดี ๆ ครับ ข้อนี้ผมเองก็เป็นครับ แต่ก็พยายามจะอุดช่องโหว่ของตัวเองอยู่เช่นกันครับ
ขอบคุณ อ.หมอเล็กที่เตือนสติครับ
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 9:25 am
โดย PLUSLOVE
การเพิ่งซื้อหุ้นที่ผลประกอบการดี ตอนงบออกก้มีความเสี่ยงพอๆกับการมองไม่เห็นว่าข้างหน้ารั้วสูง7เมตรหรือรั้วสูงแค่เมตรเดียว
ถ้า PEตอบโจทย์ไม่ได้ว่าแพงหรือถูก quantitative method PBV PE ROE ROA คงไม่ต้องนำมาใช้ในการคัดเลือกหุ้นของVI
ผมมองไม่ออกว่าทำไมคุณ picatosต้องมาขอโทษ ตรงกันข้าม ผมกลับมองว่าน่าชื่นชมและน่ายกย่อง ที่เอาเรื่องจริงๆขึ้นมาพูดกันถึงเรื่อง PEตลาดและผลตอบแทนในตลาด
เพื่อเป็นการเตือนเพื่อนพี่และน้อง ที่ร่วมเดินทางบนถนนการลงทุนด้วยกัน สิ่งที่ผมเห็นคือ มันจะซ้ำรอยกับ จากเปียงยางสู่ปูซาน ความจริงที่หลายคนไม่คาดคิด
แต่รอบนี้ จากปูซานสู่ปักกิ่ง จากดอยเก่าสู่ดอยใหม่ จากโต5%สู่ 1% เมื่อทุกคนเห็นแต่แสงสว่างที่เป็นเพียงแสงหิ่งห้อยโดยไม่มองว่าถูกหรือแพง สุดท้ายธรรมชาติก้จะตอบเอง
สุดท้ายนี้ ผมขอยกคำพูดของท่านอาจารย์ ดร นิเวศน์เพื่อเตือนสติเพื่อนๆพี่ๆและน้องๆ
รายได้เพิ่ม กำไรเพิ่ม ปันผลเพิ่ม สุดท้ายราคาหุ้นก้จะวิ่งไปรับผลประกอบการ
จากคำสอนของท่านอาจารย์ ทุกคนก้รู้อยู่แล้วว่า ถ้ารายได้ลด กำไรลด ปันผลลด อะไรจะเกิดขึ้น แน่นอนเมื่อผลประกอบการไม่ดี ราคาหุ้นก้จะไม่สวย
ถ้าเปรียบประเทศไทยเป็นหุ้น ทุกคนก้น่าจะรู้ว่า ข้างหน้าเนี่ย หลุมลึกหรือหลุมตื้นๆที่ก้าวเท้าข้ามไปได้
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 9:38 am
โดย PLUSLOVE
ถ้าเอาอารมณ์ไปผูกกับ MM คุณก้จะเป็น MM เหมือนวงไพ่ที่ทุกคนเล่นด้วยอารมณ์ คนที่ยืนนอกวงเท่านั้น จึงจะเห็นนายตลาดMMว่า นายตลาดกำลังทำอะไร
เรามีหน้าที่ ฉกฉวยผลประโยชน์จากนายตลาด ต้องไม่เอาอารมณ์ไปรวมกับ MM ซะเอง
อย่าซ้ำรอย จากเปียงยางสู่ปูซาน วอเรนท์ บัฟเฟตได้สอนถูกต้องแล้วว่า
กฎข้อที่1 ต้องไม่ขาดทุน เพราะขาดทุน50% ต้องทำผลตอบแทน100% จึงจะกลับมายืนเท่าเดิมได้
กฎข้อที่2 ย้อนกลับไปดูกฎข้อที่1
กฎข้อที่3 ทุกๆการลดลงของราคา50%ของหุ้นที่ดี จะสร้างผลตอบแทนได้ 100%ถ้ามันผ่านไปและกลับไปยืนที่ราคาเดิม
ข้อที่3 วอเรนท์บัฟเฟตไม่ได้กล่าวไว้ และไม่ได้ยืมเอารูปมาแปะ ไม่ได้จินและไม่ได้ฟิน แต่ผมตีแตกขึ้นมาเอง ถ้าไม่เชื่อ ลองย้อนกลับไปตอนน้ำท่วมใหญ่ได้
กลุ่มอิเล็กทรอนิคส์ อย่าง KCE DELTA HANA จากวันนั้นสู่วันนี้
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 10:14 am
โดย Nevercry.boy
micky1115 เขียน:
กฎข้อที่3 ทุกๆการลดลงของราคา50%ของหุ้นที่ดี จะสร้างผลตอบแทนได้ 100%ถ้ามันผ่านไปและกลับไปยืนที่ราคาเดิม
ข้อที่3 วอเรนท์บัฟเฟตไม่ได้กล่าวไว้ และไม่ได้ยืมเอารูปมาแปะ ไม่ได้จินและไม่ได้ฟิน แต่ผมตีแตกขึ้นมาเอง ถ้าไม่เชื่อ ลองย้อนกลับไปตอนน้ำท่วมใหญ่ได้
กลุ่มอิเล็กทรอนิคส์ อย่าง KCE DELTA HANA จากวันนั้นสู่วันนี้
ขอบคุณคุณมิกกี้มากครับ ผมขาย Hana ออกไปเพราะดันเอาผลตอบแทนของ Hana มาเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของตลาดจึงคัดออกเพราะนึกว่าเป็นวัชพืช ช่างเป็นความคิดที่ตื้นเขินจริง ๆ
ขอบคุณอีกครั้งครับ
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 10:30 am
โดย leky
Nevercry.boy เขียน:micky1115 เขียน:
กฎข้อที่3 ทุกๆการลดลงของราคา50%ของหุ้นที่ดี จะสร้างผลตอบแทนได้ 100%ถ้ามันผ่านไปและกลับไปยืนที่ราคาเดิม
ข้อที่3 วอเรนท์บัฟเฟตไม่ได้กล่าวไว้ และไม่ได้ยืมเอารูปมาแปะ ไม่ได้จินและไม่ได้ฟิน แต่ผมตีแตกขึ้นมาเอง ถ้าไม่เชื่อ ลองย้อนกลับไปตอนน้ำท่วมใหญ่ได้
กลุ่มอิเล็กทรอนิคส์ อย่าง KCE DELTA HANA จากวันนั้นสู่วันนี้
ขอบคุณคุณมิกกี้มากครับ ผมขาย Hana ออกไปเพราะดันเอาผลตอบแทนของ Hana มาเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของตลาดจึงคัดออกเพราะนึกว่าเป็นวัชพืช ช่างเป็นความคิดที่ตื้นเขินจริง ๆ
ขอบคุณอีกครั้งครับ
ในกรณีของหุ้นเหล่านี้ เท่าที่ผมลองติดตามดู บางครั้งการเกิดวิกฤติของบ. มันก็กลับกลายเป็นเรื่องที่ดีครับ บางบ.น้ำท่วม เลยได้เงินประกันก้อนโต ปรับปรุงการผลิต ซื้อเครื่องจักรใหม่ที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม พอกลับมาเดินเครื่องใหม่ ทุกอย่างมันก็กลายเป็นดีกว่าเดิม หุ้นกลุ่มนี้เหมือนจะโลกข่าวเรื่องเศรษฐกิจโลก "กด" ไว้มาตลอด แต่ผลประกอบการก็ดีขึ้นแบบเงียบ ๆ ไม่กระโตกกระตาก ราคาขยับขึ้นมาเรื่อย ๆ
กรณีของ HANA ผมเองก็ตกรถไปเหมือนกันครับ เพราะยังติดใจในบางเรื่องว่าจะทำผลงานได้ดีต่อเนื่องหรือไม่
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 11:08 am
โดย Nevercry.boy
มันเป็นอะไรบางอย่างครับ อ.หมอเล็ก ผมถือว่าโชคดีมั๊ย ที่ขาย Hana ไปครั้งนั้นแล้วไปซื้อ Mint กับ Makro ก็ถือว่าโชคดีพอสมควรครับ
แต่นั่นคือจุดที่เป็นจุดที่ผมไม่สามารถกลับไปซื้อ Hana ได้อีก เหมือนมันมี chip บางอย่างฝังลงไปใน Memory ว่าอย่าซื้อเพราะมันยากมากที่ผมจะกลับไปซื้อ ผมก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน
จะเป็นความกลัวที่ถูกฝังลงไปในจิตสำนึกเพราะ Bias ที่ตอกลงไปหรือเปล่า?
สรุปหุ้นมันก็เลยขึ้นแบบนี้แหละครับ ฮ่าฮ่าฮ่า
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 11:19 am
โดย PLUSLOVE
Nevercry.boy เขียน:มันเป็นอะไรบางอย่างครับ อ.หมอเล็ก ผมถือว่าโชคดีมั๊ย ที่ขาย Hana ไปครั้งนั้นแล้วไปซื้อ Mint กับ Makro ก็ถือว่าโชคดีพอสมควรครับ
แต่นั่นคือจุดที่เป็นจุดที่ผมไม่สามารถกลับไปซื้อ Hana ได้อีก เหมือนมันมี chip บางอย่างฝังลงไปใน Memory ว่าอย่าซื้อเพราะมันยากมากที่ผมจะกลับไปซื้อ ผมก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน
จะเป็นความกลัวที่ถูกฝังลงไปในจิตสำนึกเพราะ Bias ที่ตอกลงไปหรือเปล่า?
สรุปหุ้นมันก็เลยขึ้นแบบนี้แหละครับ ฮ่าฮ่าฮ่า
ความกลัวเป็นศัตรูกับสติครับพี่ NB ถ้าผลกระทบเป็นเรื่องแค่ชั่วคราว โอกาศซื้อย่อมเป็นโอกาศของคนมีสติ
บาทไม่เคยอ่อนข้างเดียว หรือแข็งข้างเดียว น้ำท่วมก้ย่อมมีน้ำลด ครั้งนี้ก้เช่นกัน เมื่อหุ้นลงก้เป็นโอกาศดีๆในการเลือกหุ้นไว้
เพราะเมื่อไหร่ที่หนี้ครัวเรือนลดลง กำลังการซื้อ+ต่างจังหวัดได้เงินจำนำข้าวแล้ว การกินการใช้ก้จะกลับมาได้ พวกที่ได้ไปAECก้ยังคงรายได้เพิ่มอยู่ดี เพราะ
รัฐประหารไม่ได้ไปบีบบังคับ ว่า เราต้องห้ามเปิด AEC
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 11:22 am
โดย Nevercry.boy
micky1115 เขียน:Nevercry.boy เขียน:มันเป็นอะไรบางอย่างครับ อ.หมอเล็ก ผมถือว่าโชคดีมั๊ย ที่ขาย Hana ไปครั้งนั้นแล้วไปซื้อ Mint กับ Makro ก็ถือว่าโชคดีพอสมควรครับ
แต่นั่นคือจุดที่เป็นจุดที่ผมไม่สามารถกลับไปซื้อ Hana ได้อีก เหมือนมันมี chip บางอย่างฝังลงไปใน Memory ว่าอย่าซื้อเพราะมันยากมากที่ผมจะกลับไปซื้อ ผมก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน
จะเป็นความกลัวที่ถูกฝังลงไปในจิตสำนึกเพราะ Bias ที่ตอกลงไปหรือเปล่า?
สรุปหุ้นมันก็เลยขึ้นแบบนี้แหละครับ ฮ่าฮ่าฮ่า
ความกลัวเป็นศัตรูกับสติครับพี่ NB ถ้าผลกระทบเป็นเรื่องแค่ชั่วคราว โอกาศซื้อย่อมเป็นโอกาศของคนมีสติ
บาทไม่เคยอ่อนข้างเดียว หรือแข็งข้างเดียว น้ำท่วมก้ย่อมมีน้ำลด ครั้งนี้ก้เช่นกัน เมื่อหุ้นลงก้เป็นโอกาศดีๆในการเลือกหุ้นไว้
เพราะเมื่อไหร่ที่หนี้ครัวเรือนลดลง กำลังการซื้อ+ต่างจังหวัดได้เงินจำนำข้าวแล้ว การกินการใช้ก้จะกลับมาได้ พวกที่ได้ไปAECก้ยังคงรายได้เพิ่มอยู่ดี เพราะ
รัฐประหารไม่ได้ไปบีบบังคับ ว่า เราต้องห้ามเปิด AEC
จริงครับท่านกุนซือ Mickey ความกลัวเป็นศัตรูกับสติ
ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว
กุนซือมองว่าใครมีผลดีกับ เออีซีครับ
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 11:31 am
โดย PLUSLOVE
ขอแค่เราไม่โลภและกลัว และไปมองสนามหญ้าข้างๆบ้านว่าเขียวกว่าเรา เราจะเล่นในเกมของเราครับ
ในปีที่ domestic consumption หดตัว ราคาหุ้นในกลุ่มนี้ย่อมหดตัวลง ตามแรงคาดหวังและความกลัว เช่นกัน กฎข้อที่ 3ก้ย่อมกลับมาใช้ได้
ทุกๆส่วนลดที่เค้าลดให้มา50% คือ กำไร100%ของเราในอนาคต
หนี้ครัวเรือนมันจะโตไปตลอด เศรษฐกิจมันจะแย่ตลอด ก้ให้มันรู้ไปครับ อย่างที่พี่ฉัตรชัยบอกไว้ ถ้าซื้อเบนซ์ในราคาวีออส ก้ย่อมจะดีกว่าซื้อเบนซ์ราคาปอร์เช่หรือ
ซื้อวีออสราคาเบนซ์ การที่เราเอาอารมณ์ไปรวมกับ MMทำให้เรา ตาบอดครับ ทางที่ดีเราควรขอบคุณข่าวร้ายและคนกลัวที่ยอมขายถูกๆ เพราะเวลาปกติใครจะยอมขาย
คนที่กลัวย่อมจะ take action กับหุ้นมากๆ ขณะที่คนร้อนเงินก้มักจะ take action ทุกราคา ขอบคุณความกลัวและความโลภ ที่ทำให้เวลาซื้ออย่าอายถ้าจะต้องต่อให้ถูกๆ
และเวลาขายก้ไม่อายที่จะเรียกราคา ให้แพงสุดๆถ้าไม่แพงไม่ขาย ขอบคุณธรรมชาติที่สร้างความกลัวและความโลภครับ
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 11:32 am
โดย SawScofield
picatos เขียน:kissme เขียน:นิวลง นิวโล อะไร ไม่มีแล้วครัชชช แหม่ ฟันธง คอนเฟิร์ม ทายผิดเอาขี้หมามาพ่นใส่หน้าผมเลย
อย่าไปดู pe
ถ้าเปรียบ set ตอนนี้ก็เหมือนหุ้น turn around pe n.a.
ข่าวร้ายชิ้นสุดท้ายที่กดดันตลาดมานาน ได้ผ่านไปเรียบร้อยโรงเรียนรัฐประหารแล้วครัชชช
หลังจากนี้ อาจมี after shock ตามมาอีกสักพัก
จริงๆ ไม่อยาก comment แนวนี้มาก ออกไปแนวเก็งกำไร
แต่ รายใหญ่เค้าไม่ขายตอนแมงเม่ากลัวหรอกครับ
ที่สำคัญตอนนี้แม้แต่ vi ยังกลัว
มันครบองค์ประกอบที่หุ้นต้องขึ้น
ผมให้ worst case ไม่ต่ำกว่า 1300 แต่ด้านบน ปีหน้าผมมอง all time high เลยทีเดียว
การขายเพื่อไปรับของถูกข้างล่าง เสี่ยงกับการตกรถไฟขบวนใหญ่มาก
จริงๆถ้าทำใจได้ ว่าหุ้นจะลงอีกนิดๆหน่อย ไหนๆก็ทนกับการเมืองมาได้เกือบปี
ไม่น่าขายครับ
มาขายอะไร เอาตอนทุกอย่างเคลียร์ชัดขนาดนี้ ใครแพ้ ใครชนะ ตอนนี้หวยออกแล้ว
เข้าสู่โหมดฟื้นฟูกันแล้ว ท่านประยุทธ์ลุยภารกิจแรกแล้ว ให้รีบจ่ายเงินชาวนา
บอลโลกก็จะมาแล้ว เงินสะพัดมหาศาล
แถวบ้านใครมีขี้หมาเยอะๆบ้างครับ ผมจะได้ไม่ผ่านแถวนั้น
พอดีผมก็ไม่มีความสามารถในการเก็งกำไร แล้วก็ไม่มีความสามารถในการเดาตลาด... ขนาดคนที่จบ Ph.D. อยู่ในตลาดมา 20-30 ปี ผมก็เห็นเดาทิศทางตลาดถูกบ้าง ผิดบ้าง (แต่เห็นผิดซะส่วนใหญ่) เพราะ ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่แน่นอน ดังนั้นผมคงไม่สามารถไปแย้งสิ่งพี่ kissme ฟันธงได้ ... ส่วนเรื่องรายใหญ่ขาย ไม่ขาย หรือ VI กลัวหรือไม่กลัว อันนี้ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะ ตัวผมเองที่ (คิดว่าตัวผม) เป็น VI บางขณะจิตผมก็กลัว บางขณะจิตผมก็ไม่กลัว บางวันผมก็อยากซื้อ บางวันผมก็อยากขาย เลยรู้สึกว่าการเดาพฤติกรรมหรืออารมณ์ความรู้สึกคนอื่นยิ่งเป็นเรื่องที่เดายากกว่าเดาทิศทางตลาดเสียอีก (แค่จะเดาอารมณ์ตัวเอง เดาพฤติกรรมตัวเองยังเดาไม่ค่อยถูกเลย 555)
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผมรู้ ก็คือว่า อัตราผลตอบแทน (ระยะยาว) คาดหวังเฉลี่ยของหุ้นไทยในพอร์ตผมตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 8-9% ในขณะที่อัตราผลตอบแทน (ระยะยาว) คาดหวังของหุ้นต่างประเทศของผมอยู่ที่ 19-20% ในขณะที่ Earning Revision ของหุ้นไทยช่วงที่ผ่านมาปรับลงมาตลอด เทียบกับ Earning Revision ของหุ้นต่างประเทศปรับขึ้นมาตลอด ในขณะที่ผมก็ Question กับการเติบโตของผลประกอบการของกิจการไทยในช่วงที่ผ่านมาว่าเป็น Structural Change หรือว่าเป็นผลของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นเพียงแค่ One-Time Gain แต่ผมค่อนข้างมั่นใจว่ากิจการต่างประเทศที่ผมเลือกเติบโตได้ดีจาก Stuctural Change จริงๆ
ผมเดาตลาดไม่เป็น ผมเลยทำได้แค่จัดพอร์ตตามหน้าไพ่ที่ออกมา ถ้ามีโอกาสตีแตก ผมก็พร้อมจะถือหุ้นตัวเดียวอัดมาร์จิ้น แต่ถ้า Probability แบบนี้ ผมก็ทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าการจัดพอร์ตส่วนใหญ่ให้เป็นหุ้นต่างประเทศ ส่วนน้อยเป็นหุ้นในประเทศ และมีเงินสดที่เผื่อว่าจะมีหุ้นไทยที่ให้อัตราผลตอบแทนในระยะยาวสัก 15% ผ่านเข้ามาให้ได้ลงทุนบ้าง
ไม่รู้เหมือนกันว่า VI คนอื่นๆ คิดอย่างไร และจัดพอร์ตอย่างไรกันบ้าง... ช่วงหลังๆ ไม่ค่อยได้เจอใคร ไม่ค่อยได้คุยกับใคร... หากไม่มีการรบกวน อยากได้ไอเดียในการลงทุนจากเพื่อนๆ VI ท่านอื่นๆ บ้างเหมือนกันครับ ว่าแต่ละคนจัดสัดส่วนพอร์ตกันอย่างไรใน Valuation ของตลาดแบบนี้ และมีกลยุทธ์อย่างไรกันบ้าง
ขอบคุณครับ
อาจจะเป็นความเห็นที่พี่ picatos ไม่ค่อยสบายใจ แต่ได้ประโยชน์มากเลยครับ แน่นอนว่าความเห็นของพี่ kiss me แม้จะเป็นอีกมุมแต่ก็เป็นประโยชน์กับเพื่อนพี่น้องนักลงทุนเช่นกันครับ ขอบคุณนะครับพี่ๆ
เห็นพี่ picatos พูดถึงการลงทุนในต่างประเทศ ไม่ทราบว่ามีข้อแนะนำหรือข้อควรระวังกับการออกนอกพื้นที่ที่เราคุ้นเคยอย่างไรบ้างครับ รวมถึง structural change ที่พี่ได้พบมา พอจะมีกรณีตัวอย่างให้น้องๆศึกษาต่ออย่างไรบ้างครับ
ขอบคุณล่วงหน้านะครับพี่ ^/\^
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 11:43 am
โดย sorawitch
ท่าน picatos แสดงความเห็นพร้อมด้วยตัวเลขอ้างอิง
ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้ ref เอาไว้ว่ามาจากไหน แต่ส่วนตัวไม่เคยคิดว่าท่านจะแต่งตัวเลข
แต่อีกท่านไม่มีอะไรเลย มีแต่ถ้อยคำที่น่าจะเต็มไปด้วยอารมณ์บางอย่าง
ผมนับถือท่าน picatos จากใจจริงๆครับ
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 11:46 am
โดย PLUSLOVE
leky เขียน:Nevercry.boy เขียน:micky1115 เขียน:
กฎข้อที่3 ทุกๆการลดลงของราคา50%ของหุ้นที่ดี จะสร้างผลตอบแทนได้ 100%ถ้ามันผ่านไปและกลับไปยืนที่ราคาเดิม
ข้อที่3 วอเรนท์บัฟเฟตไม่ได้กล่าวไว้ และไม่ได้ยืมเอารูปมาแปะ ไม่ได้จินและไม่ได้ฟิน แต่ผมตีแตกขึ้นมาเอง ถ้าไม่เชื่อ ลองย้อนกลับไปตอนน้ำท่วมใหญ่ได้
กลุ่มอิเล็กทรอนิคส์ อย่าง KCE DELTA HANA จากวันนั้นสู่วันนี้
ขอบคุณคุณมิกกี้มากครับ ผมขาย Hana ออกไปเพราะดันเอาผลตอบแทนของ Hana มาเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของตลาดจึงคัดออกเพราะนึกว่าเป็นวัชพืช ช่างเป็นความคิดที่ตื้นเขินจริง ๆ
ขอบคุณอีกครั้งครับ
ในกรณีของหุ้นเหล่านี้ เท่าที่ผมลองติดตามดู บางครั้งการเกิดวิกฤติของบ. มันก็กลับกลายเป็นเรื่องที่ดีครับ บางบ.น้ำท่วม เลยได้เงินประกันก้อนโต ปรับปรุงการผลิต ซื้อเครื่องจักรใหม่ที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม พอกลับมาเดินเครื่องใหม่ ทุกอย่างมันก็กลายเป็นดีกว่าเดิม หุ้นกลุ่มนี้เหมือนจะโลกข่าวเรื่องเศรษฐกิจโลก "กด" ไว้มาตลอด แต่ผลประกอบการก็ดีขึ้นแบบเงียบ ๆ ไม่กระโตกกระตาก ราคาขยับขึ้นมาเรื่อย ๆ
กรณีของ HANA ผมเองก็ตกรถไปเหมือนกันครับ เพราะยังติดใจในบางเรื่องว่าจะทำผลงานได้ดีต่อเนื่องหรือไม่
ท่านขุนพลหมอleky ทุกสิ่งล้วนเป็นไปตามธรรมชาติของมันครับ น้ำที่ท่วมไม่ได้แปลว่า กิจการขายของไม่ดี ไม่มีความสามารถแข่งขัน ดังนั้น
เมื่อน้ำลด กำลังการซื้อย่อมจะตามมา ทุกอย่างถ้าไม่ซื้อตอนถูกๆ เราก้จะไม่มีของมาขาย เวลาที่เราต้องการเรียกขายแพงๆครับ
อย่าอายที่จะฝ่า MASSเข้าซื้อ เวลาลดราคามากๆขณะที่massมองไม่ดี และอย่าอายที่จะสวน MASS ขายให้แพงที่สุด เมื่อเค้ามองว่าดีและต้องการมัน
เราจะเรียนหลักการเรื่อง PE PBV ROE ROAไปทำไม ถ้าเราไม่เชื่อว่า สิ่งเหล่านี้กรองหุ้นให้เราได้ว่าถูกหรือแพง
เราจะลืมหลักการที่เราใช้ เราจะเปลี่ยนจากเบ็ดไปใช้แห เราจะบอกว่าตัวเลือกเหล่านี้ใช้ไม่ได้ เปล่าเลย ใจเราต่างหากที่เปลี่ยน วิธีคิดไม่เคยเปลี่ยนไปเลย
ทั้ง qualitative และ quantitative จะไม่มีความหมาย ถ้าคุณเอามันกองไว้ แล้วใช้สติเดินตาม MM เราจะไม่รู้เลยว่าถูกหรือแพงถ้าใช้แต่อารมณ์และไร้สติ
ต้องขอบคุณพี่ตี่ picatosมากนะครับ มิตรแท้ดูได้เมื่อยามภัยมา
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 12:08 pm
โดย PLUSLOVE
Nevercry.boy เขียน:micky1115 เขียน:Nevercry.boy เขียน:มันเป็นอะไรบางอย่างครับ อ.หมอเล็ก ผมถือว่าโชคดีมั๊ย ที่ขาย Hana ไปครั้งนั้นแล้วไปซื้อ Mint กับ Makro ก็ถือว่าโชคดีพอสมควรครับ
แต่นั่นคือจุดที่เป็นจุดที่ผมไม่สามารถกลับไปซื้อ Hana ได้อีก เหมือนมันมี chip บางอย่างฝังลงไปใน Memory ว่าอย่าซื้อเพราะมันยากมากที่ผมจะกลับไปซื้อ ผมก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน
จะเป็นความกลัวที่ถูกฝังลงไปในจิตสำนึกเพราะ Bias ที่ตอกลงไปหรือเปล่า?
สรุปหุ้นมันก็เลยขึ้นแบบนี้แหละครับ ฮ่าฮ่าฮ่า
ความกลัวเป็นศัตรูกับสติครับพี่ NB ถ้าผลกระทบเป็นเรื่องแค่ชั่วคราว โอกาศซื้อย่อมเป็นโอกาศของคนมีสติ
บาทไม่เคยอ่อนข้างเดียว หรือแข็งข้างเดียว น้ำท่วมก้ย่อมมีน้ำลด ครั้งนี้ก้เช่นกัน เมื่อหุ้นลงก้เป็นโอกาศดีๆในการเลือกหุ้นไว้
เพราะเมื่อไหร่ที่หนี้ครัวเรือนลดลง กำลังการซื้อ+ต่างจังหวัดได้เงินจำนำข้าวแล้ว การกินการใช้ก้จะกลับมาได้ พวกที่ได้ไปAECก้ยังคงรายได้เพิ่มอยู่ดี เพราะ
รัฐประหารไม่ได้ไปบีบบังคับ ว่า เราต้องห้ามเปิด AEC
จริงครับท่านกุนซือ Mickey ความกลัวเป็นศัตรูกับสติ
ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว
กุนซือมองว่าใครมีผลดีกับ เออีซีครับ
พี่NBครับ มองแบบนี้สิครับ คนไทยเมื่อ20ปีที่แล้วขาดอะไร ต้องการอะไร พอเปิด AECประเทศพวกนั้นก้จะตามเรามา คนเหล่านั้นจะกินดีขึ้น จะแต่งตัวดีขึ้น
จะเปลี่ยนจากบ้านสังกะสี มาเป็นบ้านปูน จากเดิมขี่มอไซด์ก้จะเปลี่ยนมาขับรถยนต์ มันหนีไปไม่ได้หรอกครับ ความจริงในธรรมชาติ
เพชรก้คือเพชร ทองก้คือทอง ขยะก้คือขยะ ทุกสิ่งเมื่อเรารู้แล้ว ต่อให้เพชรมันตกลงไปในโคลน คุณค่าก้ไม่มีทางลดลงไปได้ เพราะล้างน้ำก้ออก
ไทยเมื่อ20ปีที่แล้ว มาวันนี้ก้เห็นๆแล้ว พัฒนาไป ข้างบ้านเราสักวันก้จะพัฒนาตามเรา ที่ดินบ้านเราแพง อีกหน่อยบ้านเค้าก้แพง เรามีหมู่บ้าน อีกหน่อยเค้าก้มี
เรามีความเจริญไปต่างจังหวัด เด๋วเค้าก้กระจายความเจริญไปต่างจังหวัด ทุกสิ่งล้วนเดินไปข้างหน้าครับ
โรงพยาบาลดีๆ บ้านที่มีคุณภาพขึ้น รถไฟฟ้า ระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้าประปา ยานพาหนะ
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 12:10 pm
โดย leky
micky1115 เขียน:
เราจะเรียนหลักการเรื่อง PE PBV ROE ROAไปทำไม ถ้าเราไม่เชื่อว่า สิ่งเหล่านี้กรองหุ้นให้เราได้ว่าถูกหรือแพง
เยี่ยมครับ จะใช้หลักการอะไรอยู่ที่มุมมอง อยากได้ปลาจะใช้เบ็ด แห ยอ อวน กระชอน ก็ใช้ ตามแต่จะถนัด เพราะสิ่งที่ต้องการก็คือปลา อยู่ที่เราจะถนัดแบบไหน ขอเพียงแต่อย่าสะเปะสะปะ ไม่มีหลักการ ใช้อารมณ์
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 12:29 pm
โดย leky
micky1115 เขียน:
พี่NBครับ มองแบบนี้สิครับ คนไทยเมื่อ20ปีที่แล้วขาดอะไร ต้องการอะไร พอเปิด AECประเทศพวกนั้นก้จะตามเรามา คนเหล่านั้นจะกินดีขึ้น จะแต่งตัวดีขึ้น
จะเปลี่ยนจากบ้านสังกะสี มาเป็นบ้านปูน จากเดิมขี่มอไซด์ก้จะเปลี่ยนมาขับรถยนต์ มันหนีไปไม่ได้หรอกครับ ความจริงในธรรมชาติ
เพชรก้คือเพชร ทองก้คือทอง ขยะก้คือขยะ ทุกสิ่งเมื่อเรารู้แล้ว ต่อให้เพชรมันตกลงไปในโคลน คุณค่าก้ไม่มีทางลดลงไปได้ เพราะล้างน้ำก้ออก
ไทยเมื่อ20ปีที่แล้ว มาวันนี้ก้เห็นๆแล้ว พัฒนาไป ข้างบ้านเราสักวันก้จะพัฒนาตามเรา ที่ดินบ้านเราแพง อีกหน่อยบ้านเค้าก้แพง เรามีหมู่บ้าน อีกหน่อยเค้าก้มี
เรามีความเจริญไปต่างจังหวัด เด๋วเค้าก้กระจายความเจริญไปต่างจังหวัด ทุกสิ่งล้วนเดินไปข้างหน้าครับ
โรงพยาบาลดีๆ บ้านที่มีคุณภาพขึ้น รถไฟฟ้า ระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้าประปา ยานพาหนะ
มันก็คงจะเป็นแบบนั้นครับ แต่ผมว่าเราจะเหมารวมไปแบบนั้นหมดก็ไม่ได้ซะทีเดียวครับ เพราะโดยพื้นฐานของแต่ละประเทศมันเอื้ออำนวยต่างกันครับ นั่นก็แปลว่าถึงมันจะเกิดการพัฒนาแบบนั้น แต่ในบางประเทศมันก็อาจจะเป็นไปในอัตราที่ช้ากว่า
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเมืองในแต่ละประเทศ ทรัพยากรทางธรรมชาติ (ตรงนี้คงไม่ใช่ปัญหา) ทรัพยากรมนุษย์ทั้งความรู้ รายได้ ฐานะ จำนวนประชากรของแต่ละประเทศ บางประเทศอย่างลาวเองก็มีประชากรค่อนข้างน้อย 6-7 ล้านคน กัมพูชา 15 ล้านคน ยังไม่นับว่ารายได้เฉลี่ยต่อปีก็ยังต่ำ กำลังซื้อน้อยกว่า พวกสินค้าแพง ๆ อาจจะเข้าไปทำตลาดได้ยากกว่า
มองย้อนมาที่ไทย สมัยปี 2500 ต้น ๆ ก็มีประชากรน้อยเช่นกัน ถ้าผมจำไม่ผิดก็ไม่ถึง 10 ล้านคน ตอนนั้นถึงมีนโยบายให้คนมีลูกมาก ๆ ประชากรก็เพิ่มขึ้นมาก พร้อม ๆ กับมีการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ประชากรที่เพิ่มขึ้นมากทำให้มีแรงงานจะพัฒนาประเทศ แต่กว่าจะเริ่มเห็นผลก็ปาเข้าไปหลายสิบปี
ส่วนประเทศที่ไม่ได้ติดกับไทย อย่างเวียดนามเองจะว่าไปก็เป็นคู่แข่งเราด้วยซ้ำ ยังไม่นับประเทศที่ไกลออกไปอีกอย่างอินโดฯ ก็มีวัฒนธรรมที่ต่างจากไทย และดูเหมือนจะเป็นคู่แข่งด้วยเช่นกัน
มองในเชิงลบก็ใช่ว่าจะไม่มีนะครับ ฐานการผลิตในสินค้าที่เน้นเรื่องค่าแรง ก็มีแนวโน้มจะย้ายไปประเทศเพื่อนบ้าน อย่างกัมพูชา พม่า เพราะแรงงานราคาถูกกว่า ในขณะที่แรงงานไทย ถ้าไม่ปรับปรุงด้านฝีมือ ถ้าการย้ายฐานมันมากขึ้น คนเหล่านี้ก็อาจจะประสบปัญหาได้เช่นกันครับ ค่าแรงไม่ปรับขึ้น ธุรกิจหันมาใช้เครื่องจักรมากขึ้น เพราะไม่ต้องมาบริหารเรื่องคน สุดท้ายรายได้ของแรงงานก็จะหยุดนิ่งอยู่กับที่ กำลังซื้อก็อาจจะลดลง
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 12:49 pm
โดย PLUSLOVE
leky เขียน:micky1115 เขียน:
พี่NBครับ มองแบบนี้สิครับ คนไทยเมื่อ20ปีที่แล้วขาดอะไร ต้องการอะไร พอเปิด AECประเทศพวกนั้นก้จะตามเรามา คนเหล่านั้นจะกินดีขึ้น จะแต่งตัวดีขึ้น
จะเปลี่ยนจากบ้านสังกะสี มาเป็นบ้านปูน จากเดิมขี่มอไซด์ก้จะเปลี่ยนมาขับรถยนต์ มันหนีไปไม่ได้หรอกครับ ความจริงในธรรมชาติ
เพชรก้คือเพชร ทองก้คือทอง ขยะก้คือขยะ ทุกสิ่งเมื่อเรารู้แล้ว ต่อให้เพชรมันตกลงไปในโคลน คุณค่าก้ไม่มีทางลดลงไปได้ เพราะล้างน้ำก้ออก
ไทยเมื่อ20ปีที่แล้ว มาวันนี้ก้เห็นๆแล้ว พัฒนาไป ข้างบ้านเราสักวันก้จะพัฒนาตามเรา ที่ดินบ้านเราแพง อีกหน่อยบ้านเค้าก้แพง เรามีหมู่บ้าน อีกหน่อยเค้าก้มี
เรามีความเจริญไปต่างจังหวัด เด๋วเค้าก้กระจายความเจริญไปต่างจังหวัด ทุกสิ่งล้วนเดินไปข้างหน้าครับ
โรงพยาบาลดีๆ บ้านที่มีคุณภาพขึ้น รถไฟฟ้า ระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้าประปา ยานพาหนะ
มันก็คงจะเป็นแบบนั้นครับ แต่ผมว่าเราจะเหมารวมไปแบบนั้นหมดก็ไม่ได้ซะทีเดียวครับ เพราะโดยพื้นฐานของแต่ละประเทศมันเอื้ออำนวยต่างกันครับ นั่นก็แปลว่าถึงมันจะเกิดการพัฒนาแบบนั้น แต่ในบางประเทศมันก็อาจจะเป็นไปในอัตราที่ช้ากว่า
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเมืองในแต่ละประเทศ ทรัพยากรทางธรรมชาติ (ตรงนี้คงไม่ใช่ปัญหา) ทรัพยากรมนุษย์ทั้งความรู้ รายได้ ฐานะ จำนวนประชากรของแต่ละประเทศ บางประเทศอย่างลาวเองก็มีประชากรค่อนข้างน้อย 6-7 ล้านคน กัมพูชา 15 ล้านคน ยังไม่นับว่ารายได้เฉลี่ยต่อปีก็ยังต่ำ กำลังซื้อน้อยกว่า พวกสินค้าแพง ๆ อาจจะเข้าไปทำตลาดได้ยากกว่า
มองย้อนมาที่ไทย สมัยปี 2500 ต้น ๆ ก็มีประชากรน้อยเช่นกัน ถ้าผมจำไม่ผิดก็ไม่ถึง 10 ล้านคน ตอนนั้นถึงมีนโยบายให้คนมีลูกมาก ๆ ประชากรก็เพิ่มขึ้นมาก พร้อม ๆ กับมีการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ประชากรที่เพิ่มขึ้นมากทำให้มีแรงงานจะพัฒนาประเทศ แต่กว่าจะเริ่มเห็นผลก็ปาเข้าไปหลายสิบปี
ส่วนประเทศที่ไม่ได้ติดกับไทย อย่างเวียดนามเองจะว่าไปก็เป็นคู่แข่งเราด้วยซ้ำ ยังไม่นับประเทศที่ไกลออกไปอีกอย่างอินโดฯ ก็มีวัฒนธรรมที่ต่างจากไทย และดูเหมือนจะเป็นคู่แข่งด้วยเช่นกัน
มองในเชิงลบก็ใช่ว่าจะไม่มีนะครับ ฐานการผลิตในสินค้าที่เน้นเรื่องค่าแรง ก็มีแนวโน้มจะย้ายไปประเทศเพื่อนบ้าน อย่างกัมพูชา พม่า เพราะแรงงานราคาถูกกว่า ในขณะที่แรงงานไทย ถ้าไม่ปรับปรุงด้านฝีมือ ถ้าการย้ายฐานมันมากขึ้น คนเหล่านี้ก็อาจจะประสบปัญหาได้เช่นกันครับ ค่าแรงไม่ปรับขึ้น ธุรกิจหันมาใช้เครื่องจักรมากขึ้น เพราะไม่ต้องมาบริหารเรื่องคน สุดท้ายรายได้ของแรงงานก็จะหยุดนิ่งอยู่กับที่ กำลังซื้อก็อาจจะลดลง
ตามนั้นครับ ไม่ถือว่ามองแง่ลบหรอกครับ คือการพัฒนาก้มีทั้งที่เดินไปได้เร็ว เดินได้ช้า โนฮาวของแรงงานและแหล่งเงินทุนรวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน
ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความเห็นครับ มองต่างแต่มีหลักการ ผมถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนแนวคิดครับ ขอบคุณครับ
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 4:28 pm
โดย picatos
SawScofield เขียน:...
เห็นพี่ picatos พูดถึงการลงทุนในต่างประเทศ ไม่ทราบว่ามีข้อแนะนำหรือข้อควรระวังกับการออกนอกพื้นที่ที่เราคุ้นเคยอย่างไรบ้างครับ รวมถึง structural change ที่พี่ได้พบมา พอจะมีกรณีตัวอย่างให้น้องๆศึกษาต่ออย่างไรบ้างครับ
ขอบคุณล่วงหน้านะครับพี่ ^/\^
สำหรับผม การลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ถ้าไม่ติดเรื่องกฎเกณฑ์ในการนำเงินเข้าออก และเรื่องภาษี ผมมองการลงทุนในกิจการต่างประเทศ เหมือนกับการลงทุนกิจการในไทยเลยครับ
ทั้งนี้ทั้งนั้นช่วงหลังๆ ผมจะลงทุนในกิจการที่ผมเข้าใจ เป็นกิจการที่ทำสินค้าและบริการที่ผมใช้บริการอยู่แล้ว ถ้าเป็นกิจการที่ผมเข้าไม่ถึง ไม่ได้ใช้บริการ จำเป็นต้องศึกษาในเชิงลึก ต้องคุยกับผู้บริหาร Sensitive กับ กฎหมายหรือลูกค้ามากๆ นี่ผมจะผ่านเลยครับ เนื่องจากในช่วงหลังๆ Life Style ของผมจำเป็นต้องออกจากตลาดไปทีนึง 2-3 เดือน ดังนั้นจึงสามารถลงทุนได้แต่กิจการที่ภาพใหญ่แข็งแรงจริงๆ ถ้ากิจการที่ยังไม่แข็งแรง Sensitive กับข้อมูลในเชิงลึกมากๆ นี่หากทิ้งตลาดไป เกิดอะไรสักอย่างที่ผิดความคาดหมายขึ้นมา หายนะมาเยือนแน่นอน และผลของการลงทุนที่ภาพใหญ่จริงๆ เลยทำให้การเลือกกิจการลงทุนในไทยหรือต่างประเทศไม่ได้ต่างกันมากนัก
แต่ถ้าหาก Style การลงทุนของเราเป็นพวกเจาะลึก ต้องคุยกับผู้บริหารถึงโครงการใหม่ๆ Sensitive กับความสำเร็จล้มเหลวของโครงการมากๆ ขอบเขตการเข้าถึงข้อมูลในการลงทุนต่างประเทศคงจะทำได้ไม่ถึงกับระดับที่เราทำได้ในไทย
ดังนั้นสำหรับผม ผมไม่ได้รู้สึกว่าผมออกจากพื้นที่ๆ ผมคุ้นเคย แต่กลับรู้สึกว่าได้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ๆ ผมเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้นด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะโดยพื้นฐานการศึกษาของผมแล้ว ผมรัก หลงใหล และศึกษาคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่ ป.2 เรียนจบทางด้านวิศวฯ คอมฯ ดังนั้นการบริโภคข่าวสารข้อมูลทางด้านเทคโนโลยี หรือความเข้าใจในทางเทคโนโลยนีนี่น่าจะอยู่ในสายเลือดระดับหนึ่ง การได้ไปลงทุนในต่างประเทศที่มีบริษัททางด้านเทคโนโลยีทำให้เราได้ใช้องค์ความรู้ที่เรามีอยู่จริงๆ ในขณะที่เราไม่สามารถหากิจการแบบนี้ได้ในไทยเลย
การติดตามการลงทุน ผมก็ติดตามภาพใหญ่ ติดตามปัจจัยเชิงคุณภาพ และผลการดำเนินงานที่ออกมาสะท้อนปัจจัยเชิงคุณภาพที่เปลี่ยนแปลงไป แถมกิจการที่ผมลงทุนเป็นกิจการที่ผมใช้บริการอยู่ทุกวัน หรือเป็นระยะๆ (กิจการพวก Software ที่รายได้หลักมาจากโฆษณาและการท่องเที่ยว) ข่าวพัฒนาการทางด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของกิจการที่เราลงทุนก็มีมาให้อ่านวันหนึ่งมากมาย เรียกว่าข่าวที่มีให้อ่านมีมากกว่ากิจการในไทยเสียอีก ก็เลยทำให้ติดตามได้ไม่ยาก เวลาประกาศงบเค้าก็จะมี Conference Call ประชุมประจำปีก็มี WebCast ให้ดู นักวิเคราะห์และคนที่ทำบทความให้อ่านก็มีมากมาย ติดตามได้ไม่ยากเลยครับ
สำคัญคือ กิจการต่างประเทศที่เราลงทุน เราต้องเป็นกิจการที่เราเข้าใจ ได้สัมผัส และใช้บริการมัน ถ้าจะให้ผมไปลงทุนกิจการที่ผมไม่เคยใช้บริการ ผมก็ไม่รู้ว่าจะไปลงทุนอย่างไร เหมือนกับกิจการในไทยที่ทำโรงงานแปลกๆ ที่เราไม่รู้จักทั้งผลิตภัณฑ์ ลูกค้า กระบวนการผลิต ทำได้แค่เอาแผนที่ผู้บริหารมาขายฝันเรา มาทำ Financial Projection ได้แค่ 1-2 ปี แล้วเราก็ไม่รู้ว่าหลังจากนั้นจะเป็นอย่างไร อันนี้ผมก็ขอผ่าน ซึ่งภาพของการลงทุนในต่างประเทศ หากเป็นกิจการที่เราไม่เคยใช้ ไม่ได้ใช้ ถึงใครจะบอกว่าดีขนาดไหน ก็จำเป็นต้องผ่านเหมือนกัน
ทีนี้ในส่วนของ Structural Change ตัวอย่างที่พอจะเห็นภาพ ก็อย่างเช่น
- Modern Trade ที่เข้ามาแทนที่ Traditional Trade
- การทำธุรกรรมทางออนไลน์ต่างๆ ที่เข้ามาแทนที่ Physical
- โฆษณาทาง Digital ที่เข้ามาแทนที่ Physical
- Technology, Robot, AI ที่เข้ามาแทนที่พนักงานที่ทำงานเป็น Routine ทำให้ตำแหน่งงานหลายๆ อย่างหายไป
- การศึกษา การเข้าถึงข้อมูล ทางออนไลน์ ที่เข้ามาแทนที่ห้องสมุดและโรงเรียน
โดยสรุปก็คือ กิจการที่มี Disruptive Innovation ทั้งหลาย รวมไปถึง Economy of Scale ที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงกว่า Technology เก่า ผู้เล่นเดิม เลยทำให้เขมือบตลาดเดิมได้ เขี่ยผู้เล่นรายเดิมออกจากตลาด กิจการเหล่านี้จะมีอัตราการเติบโตเหนือธรรมดาได้จากการกินผู้เล่นรายเก่า ซึ่งหากเราเจอกิจการที่กำลังเขมือบผู้เล่นรายเก่าด้วยอะไรบางอย่างที่เหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัด กิจการเหล่านี้ซื้อที่ราคาที่ดูเหมือนแพงแล้วก็ยังให้อัตราผลตอบแทนที่ดีได้
ในขณะที่การเติบโตจากการขยายกำลังการผลิต การได้ลูกค้าใหม่ การได้โปรเจ็คใหม่ หรือการได้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ลดภาษี เหล่านี้จะเป็นแค่ One-Time Gain ซึ่งผลประกอบการอาจจะ Jump แค่ครั้งเดียว และก็ทรงๆ ไปเรื่อยๆ หรือดีไม่ดี อาจจะเป็นแค่กำไรพิเศษที่โผล่มางวด 2 งวด ซึ่งคุณค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดกับกิจการระยะยาวมีไม่มาก แต่กิจการแบบนี้เก็งกำไรสนุกกว่ากันมาก เพราะ กำไรโต 100% คงจะฟังดูน่าตื่นเต้นกว่ากำไรโต 20%
พอดีพี่ sorawitch พูดถึง reference ของตัวเลขอ้างอิงที่ผมใช้... จริงๆ ผมก็นั่งเทียนเอาจากโมเดลที่ผมใช้ Valuation นั่นแหละครับ 555...
เอาจริงๆ นะครับพี่ sorawitch การทำ Valuation มันก็คือการนั่งเทียนส่วนหนึ่ง เพราะ มันเป็นอนาคตที่ยังมาไม่ถึง โอเค เราอาจจะพอเดาอนาคต 1-2 ปีได้ แต่ไกลกว่านั้นออกไปนี่นั่งเทียนอย่างเดียว ซึ่งโมเดลที่ผมใช้นี่จะเป็น DCF Model ที่จำเป็นต้องเดาอนาคตออกไป 10 ปี
อย่างไรก็ตาม DCF นี่ผมว่ามันยากไปหน่อย ผมเลยเอา DCF มา Adjust ปรับให้เป็นแบบของผมเอง กลับเข้าไปสู่ Earnings Model เพื่อเอาไปใช้คำนวณหา P/E จากอัตราผลตอบแทนคาดหวังที่เราต้องการ โดยสามารถใส่ Assumption ของ Growth ออกไปได้ 10 ปี แล้วที่ Terminal Value ก็ให้เป็น Perpetual Cashflow ที่ Terminal Growth ที่ค่าเฉลี่ยของ GDP ระยะยาวสักประมาณ 3%
อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยนี่ใช้เป็นค่าเฉลี่ยเลขคณิตถ่วงน้ำหนัก จาก Implied Expected Return โดยใช้ราคาปัจจุบันของหุ้นแต่ละตัวใส่เข้าไปในโมเดลของแต่ละกิจการ แล้วถ่วงน้ำหนักตามมูลค่าหุ้นที่ถือ โดยแบ่งส่วนของไทย กับ เทศ
แต่เนื่องจากว่าโมเดลเหล่านี้เป็นเรื่องที่นั่งเทียนเยอะอยู่มาก แม้ว่าจะพยายามนั่งเทียนด้วยความอนุรักษ์นิยมแล้วก็ตาม ก็ยังมีจุดอ่อนอยู่อีกเยอะจากอคติของเราเอง จึงต้องดูปัจจัยเชิงคุณภาพ และทิศทางรวมไปถึงพัฒนาการของปัจจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย จึงทำให้เวลาผมบอกว่า อัตราผลตอบแทนเท่านี้เท่านั้น ประกอบกับ ภาพของคุณภาพกิจการที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในช่วงที่ผ่านมา รวมไปถึงคุณภาพของการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา
คร่าวๆ ที่มาที่ไปก็ประมาณนี้... จะว่านั่งเทียน แต่งตัวเลขก็ไม่ผิดอะไรครับ... ผมรู้ว่าผมนั่งเทียนเอา และก็พร้อมที่จะรับกรรมจากการคำนวณของตัวเองครับ
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 8:18 pm
โดย อินทรีย์ทองแดง
picatos เขียน:
คร่าวๆ ที่มาที่ไปก็ประมาณนี้... จะว่านั่งเทียน แต่งตัวเลขก็ไม่ผิดอะไรครับ... ผมรู้ว่าผมนั่งเทียนเอา และก็พร้อมที่จะรับกรรมจากการคำนวณของตัวเองครับ
น้ำคำยังคงเฉียบคมไม่เปลี่ยนแปลงเลยนะครับ
สบายดีนะครับทั่นปิ๊กาโต๊ส ^0^
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 8:56 pm
โดย dome@perth
^^ เยียมเลยครับ picatos ขอบคุณครับ
ผมใช้ความหรูๆ ขึ้นมาหน่อย "จินตนการ" แทนคำว่า "นั่งเทียน"
หรือจะเป็นทางการหน่อยก็ "ประมาณการ"
แต่ส่วนใหญ่แล้ว จะใช้คำพื้นๆชาวบ้านๆ "เดา" อิอิ
Re: เกิดเหตุปฏิวัติ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 26, 2014 11:25 pm
โดย SawScofield
picatos เขียน:SawScofield เขียน:...
เห็นพี่ picatos พูดถึงการลงทุนในต่างประเทศ ไม่ทราบว่ามีข้อแนะนำหรือข้อควรระวังกับการออกนอกพื้นที่ที่เราคุ้นเคยอย่างไรบ้างครับ รวมถึง structural change ที่พี่ได้พบมา พอจะมีกรณีตัวอย่างให้น้องๆศึกษาต่ออย่างไรบ้างครับ
ขอบคุณล่วงหน้านะครับพี่ ^/\^
สำหรับผม การลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ถ้าไม่ติดเรื่องกฎเกณฑ์ในการนำเงินเข้าออก และเรื่องภาษี ผมมองการลงทุนในกิจการต่างประเทศ เหมือนกับการลงทุนกิจการในไทยเลยครับ
ทั้งนี้ทั้งนั้นช่วงหลังๆ ผมจะลงทุนในกิจการที่ผมเข้าใจ เป็นกิจการที่ทำสินค้าและบริการที่ผมใช้บริการอยู่แล้ว ถ้าเป็นกิจการที่ผมเข้าไม่ถึง ไม่ได้ใช้บริการ จำเป็นต้องศึกษาในเชิงลึก ต้องคุยกับผู้บริหาร Sensitive กับ กฎหมายหรือลูกค้ามากๆ นี่ผมจะผ่านเลยครับ เนื่องจากในช่วงหลังๆ Life Style ของผมจำเป็นต้องออกจากตลาดไปทีนึง 2-3 เดือน ดังนั้นจึงสามารถลงทุนได้แต่กิจการที่ภาพใหญ่แข็งแรงจริงๆ ถ้ากิจการที่ยังไม่แข็งแรง Sensitive กับข้อมูลในเชิงลึกมากๆ นี่หากทิ้งตลาดไป เกิดอะไรสักอย่างที่ผิดความคาดหมายขึ้นมา หายนะมาเยือนแน่นอน และผลของการลงทุนที่ภาพใหญ่จริงๆ เลยทำให้การเลือกกิจการลงทุนในไทยหรือต่างประเทศไม่ได้ต่างกันมากนัก
แต่ถ้าหาก Style การลงทุนของเราเป็นพวกเจาะลึก ต้องคุยกับผู้บริหารถึงโครงการใหม่ๆ Sensitive กับความสำเร็จล้มเหลวของโครงการมากๆ ขอบเขตการเข้าถึงข้อมูลในการลงทุนต่างประเทศคงจะทำได้ไม่ถึงกับระดับที่เราทำได้ในไทย
ดังนั้นสำหรับผม ผมไม่ได้รู้สึกว่าผมออกจากพื้นที่ๆ ผมคุ้นเคย แต่กลับรู้สึกว่าได้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ๆ ผมเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้นด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะโดยพื้นฐานการศึกษาของผมแล้ว ผมรัก หลงใหล และศึกษาคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่ ป.2 เรียนจบทางด้านวิศวฯ คอมฯ ดังนั้นการบริโภคข่าวสารข้อมูลทางด้านเทคโนโลยี หรือความเข้าใจในทางเทคโนโลยนีนี่น่าจะอยู่ในสายเลือดระดับหนึ่ง การได้ไปลงทุนในต่างประเทศที่มีบริษัททางด้านเทคโนโลยีทำให้เราได้ใช้องค์ความรู้ที่เรามีอยู่จริงๆ ในขณะที่เราไม่สามารถหากิจการแบบนี้ได้ในไทยเลย
การติดตามการลงทุน ผมก็ติดตามภาพใหญ่ ติดตามปัจจัยเชิงคุณภาพ และผลการดำเนินงานที่ออกมาสะท้อนปัจจัยเชิงคุณภาพที่เปลี่ยนแปลงไป แถมกิจการที่ผมลงทุนเป็นกิจการที่ผมใช้บริการอยู่ทุกวัน หรือเป็นระยะๆ (กิจการพวก Software ที่รายได้หลักมาจากโฆษณาและการท่องเที่ยว) ข่าวพัฒนาการทางด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของกิจการที่เราลงทุนก็มีมาให้อ่านวันหนึ่งมากมาย เรียกว่าข่าวที่มีให้อ่านมีมากกว่ากิจการในไทยเสียอีก ก็เลยทำให้ติดตามได้ไม่ยาก เวลาประกาศงบเค้าก็จะมี Conference Call ประชุมประจำปีก็มี WebCast ให้ดู นักวิเคราะห์และคนที่ทำบทความให้อ่านก็มีมากมาย ติดตามได้ไม่ยากเลยครับ
สำคัญคือ กิจการต่างประเทศที่เราลงทุน เราต้องเป็นกิจการที่เราเข้าใจ ได้สัมผัส และใช้บริการมัน ถ้าจะให้ผมไปลงทุนกิจการที่ผมไม่เคยใช้บริการ ผมก็ไม่รู้ว่าจะไปลงทุนอย่างไร เหมือนกับกิจการในไทยที่ทำโรงงานแปลกๆ ที่เราไม่รู้จักทั้งผลิตภัณฑ์ ลูกค้า กระบวนการผลิต ทำได้แค่เอาแผนที่ผู้บริหารมาขายฝันเรา มาทำ Financial Projection ได้แค่ 1-2 ปี แล้วเราก็ไม่รู้ว่าหลังจากนั้นจะเป็นอย่างไร อันนี้ผมก็ขอผ่าน ซึ่งภาพของการลงทุนในต่างประเทศ หากเป็นกิจการที่เราไม่เคยใช้ ไม่ได้ใช้ ถึงใครจะบอกว่าดีขนาดไหน ก็จำเป็นต้องผ่านเหมือนกัน
ทีนี้ในส่วนของ Structural Change ตัวอย่างที่พอจะเห็นภาพ ก็อย่างเช่น
- Modern Trade ที่เข้ามาแทนที่ Traditional Trade
- การทำธุรกรรมทางออนไลน์ต่างๆ ที่เข้ามาแทนที่ Physical
- โฆษณาทาง Digital ที่เข้ามาแทนที่ Physical
- Technology, Robot, AI ที่เข้ามาแทนที่พนักงานที่ทำงานเป็น Routine ทำให้ตำแหน่งงานหลายๆ อย่างหายไป
- การศึกษา การเข้าถึงข้อมูล ทางออนไลน์ ที่เข้ามาแทนที่ห้องสมุดและโรงเรียน
โดยสรุปก็คือ กิจการที่มี Disruptive Innovation ทั้งหลาย รวมไปถึง Economy of Scale ที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงกว่า Technology เก่า ผู้เล่นเดิม เลยทำให้เขมือบตลาดเดิมได้ เขี่ยผู้เล่นรายเดิมออกจากตลาด กิจการเหล่านี้จะมีอัตราการเติบโตเหนือธรรมดาได้จากการกินผู้เล่นรายเก่า ซึ่งหากเราเจอกิจการที่กำลังเขมือบผู้เล่นรายเก่าด้วยอะไรบางอย่างที่เหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัด กิจการเหล่านี้ซื้อที่ราคาที่ดูเหมือนแพงแล้วก็ยังให้อัตราผลตอบแทนที่ดีได้
ในขณะที่การเติบโตจากการขยายกำลังการผลิต การได้ลูกค้าใหม่ การได้โปรเจ็คใหม่ หรือการได้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ลดภาษี เหล่านี้จะเป็นแค่ One-Time Gain ซึ่งผลประกอบการอาจจะ Jump แค่ครั้งเดียว และก็ทรงๆ ไปเรื่อยๆ หรือดีไม่ดี อาจจะเป็นแค่กำไรพิเศษที่โผล่มางวด 2 งวด ซึ่งคุณค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดกับกิจการระยะยาวมีไม่มาก แต่กิจการแบบนี้เก็งกำไรสนุกกว่ากันมาก เพราะ กำไรโต 100% คงจะฟังดูน่าตื่นเต้นกว่ากำไรโต 20%
พอดีพี่ sorawitch พูดถึง reference ของตัวเลขอ้างอิงที่ผมใช้... จริงๆ ผมก็นั่งเทียนเอาจากโมเดลที่ผมใช้ Valuation นั่นแหละครับ 555...
เอาจริงๆ นะครับพี่ sorawitch การทำ Valuation มันก็คือการนั่งเทียนส่วนหนึ่ง เพราะ มันเป็นอนาคตที่ยังมาไม่ถึง โอเค เราอาจจะพอเดาอนาคต 1-2 ปีได้ แต่ไกลกว่านั้นออกไปนี่นั่งเทียนอย่างเดียว ซึ่งโมเดลที่ผมใช้นี่จะเป็น DCF Model ที่จำเป็นต้องเดาอนาคตออกไป 10 ปี
อย่างไรก็ตาม DCF นี่ผมว่ามันยากไปหน่อย ผมเลยเอา DCF มา Adjust ปรับให้เป็นแบบของผมเอง กลับเข้าไปสู่ Earnings Model เพื่อเอาไปใช้คำนวณหา P/E จากอัตราผลตอบแทนคาดหวังที่เราต้องการ โดยสามารถใส่ Assumption ของ Growth ออกไปได้ 10 ปี แล้วที่ Terminal Value ก็ให้เป็น Perpetual Cashflow ที่ Terminal Growth ที่ค่าเฉลี่ยของ GDP ระยะยาวสักประมาณ 3%
อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยนี่ใช้เป็นค่าเฉลี่ยเลขคณิตถ่วงน้ำหนัก จาก Implied Expected Return โดยใช้ราคาปัจจุบันของหุ้นแต่ละตัวใส่เข้าไปในโมเดลของแต่ละกิจการ แล้วถ่วงน้ำหนักตามมูลค่าหุ้นที่ถือ โดยแบ่งส่วนของไทย กับ เทศ
แต่เนื่องจากว่าโมเดลเหล่านี้เป็นเรื่องที่นั่งเทียนเยอะอยู่มาก แม้ว่าจะพยายามนั่งเทียนด้วยความอนุรักษ์นิยมแล้วก็ตาม ก็ยังมีจุดอ่อนอยู่อีกเยอะจากอคติของเราเอง จึงต้องดูปัจจัยเชิงคุณภาพ และทิศทางรวมไปถึงพัฒนาการของปัจจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย จึงทำให้เวลาผมบอกว่า อัตราผลตอบแทนเท่านี้เท่านั้น ประกอบกับ ภาพของคุณภาพกิจการที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในช่วงที่ผ่านมา รวมไปถึงคุณภาพของการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา
คร่าวๆ ที่มาที่ไปก็ประมาณนี้... จะว่านั่งเทียน แต่งตัวเลขก็ไม่ผิดอะไรครับ... ผมรู้ว่าผมนั่งเทียนเอา และก็พร้อมที่จะรับกรรมจากการคำนวณของตัวเองครับ
ไม่รู้จะขอบคุณอย่างไรเลยครับพี่ ปกติจะเห็นพี่ picatos คอยเตือนสติพวกเราให้ระลึกถึงอารมณ์บ้าง ระลึกถึงความไม่เที่ยงของตลาดบ้าง แต่ครั้งนี้นี่ขนลุกทั้งความจริงใจในการแบ่งปัน ทั้งความเป็น vi ตัวจริงอีกคนหนึ่ง ขอบคุณมากๆครับพี่ ขอบคุณจริงๆครับ