ดำ เขียน:
ทัศนคติในการลงทุนเยี่ยมจริงๆ ครับ
พอจะเล่ารายละเอียดของหลักการในการคัดเลือกหุ้นที่สนใจลงทุนมั้ยครับ
ยินดีครับ การคัดเลือกหุ้นของผมปัจจุบันคงแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนหลักๆ คือ กรองหุ้น แล้ว วิเคราะห์หุ้น
1) กรองหุ้น .. เนื่องจากหุ้นในตลาดมีเยอะมาก การพลิกหินทุกก้อนย่อมมีโอกาสเจอขุมทรัพย์มากกว่าเป็นเรื่องที่จริงครับ แต่ทุกคนมีต้นทุนเวลาไม่เท่ากัน สำหรับคนที่มีเวลาไม่มากพอที่จะพลิกหินทุกก้อน การเลือกว่าพลิกหินก้อนไหน
ก่อนดีจะมีโอกาสชนะมากกว่าตามกฎ 80/20 (
http://en.wikipedia.org/wiki/Pareto_principle) และใช้เวลาคุ้มค่าที่สุด จึงเป็นส่วนสำคัญ ผมแบ่งเป็นประเภทย่อยได้ตามนี้ครับ:
1.1) กรองหุ้นผ่านการใช้ชีวิตประจำวัน (ไม่จำเป็นต้องมีเวลาว่างเป็นพิเศษ ทำตัวตามธรรมชาติ) .. อาทิเช่น
1.1.1) อ่านหนังสือพิมพ์ตอนเช้าๆ ... เวลาเดินทางไปทำงานขณะอยู่บนรถไฟฟ้าหรือรถประจำทาง (ถ้าใครเคยอ่าน Common Stocks and Uncommon Profits ของ Philip A. Fisher กับชีวประวัติของเขา ในวันธรรมดาผมก็ใช้ชีวิตคล้ายๆอย่างนั้น) เพื่อหาข่าวสารที่อาจมีผลกระทบกับอุตฯของบริษัทที่เราถืออยู่และอุตฯอื่นๆที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจที่อาจมีผลต่อกิจการโดยรวม ผมจะอ่านเฉพาะ fact ที่เกิดขึ้นจริงแล้วหรือมีการเซ็นต์สัญญาแล้วหรือมีการลงทุนอย่างเป็นรูปธรรมแล้วของผู้บริหารเท่านั้น ผมจะอ่านข้ามข่าวเก็ง ข่าวลือ ใครจะคาดอย่างนั้น เซียนว่าอย่างนี้ เพราะมันจะทำให้การวิเคราะห์มี bias เพิ่มขึ้น (และไม่มีประโยชน์เพราะผลเกิดขึ้นจากการกระทำ และผู้มีอำนาจกระทำ คือ ผู้บริหารในบริษัทเท่านั้น ไม่ใช่เซียน) ถ้ามีอุตฯไหนที่เข้าตาก็จะจำไว้เพื่อนำมากรองหุ้นแบบนั่งกรองกันเลยจริงๆ (ข้อ 1.2.1) เพื่อ scope down ให้เหลือแค่ 1-2 บริษัทสำหรับวิเคราะห์ (ข้อ 2) ในภายหลังเมื่อมีเวลา
1.1.2) พลิกทุกอย่างที่กินที่ใช้ ... โดยเฉพาะที่ชอบ ผมชอบลองกิน ลองใช้อะไรใหม่ๆ และผมจะพลิกดูชื่อผู้ผลิตและบริษัทจัดจำหน่ายทุกครั้ง รวมถึงบริการของสถานที่ต่างๆที่เราไปใช้บริการ แล้วพยายามโยงความสัมพันธ์กับฐานข้อมูลธุรกิจในไทยที่เราเคยมีในหัวเดิม แล้วคิดว่ามีโอกาสรุ่งมั้ย ถ้ามีก็จำไว้เพื่อนำไปวิเคราะห์ (ข้อ 2) ในภายหลังเมื่อมีเวลา
1.1.3) คนอื่นเขาว่าดี ... ในที่นี้ไม่ใช่หุ้น แต่เวลาคนรอบตัวทั้ง พ่อแม่, พี่น้อง, แฟน, เพื่อน, หัวหน้า, ลูกน้อง, คนรู้จัก, คนเดินสวนกันแล้วเขาคุยกับเพื่อนข้างๆ หรือกระทั่งกระทู้ใน facebook line twitter พันทิพ พันแท้ พันอะไรต่างๆ ฯลฯ บอกว่าผลิตภัณฑ์ไหนออกใหม่มาดี ร้านอาหารเปิดใหม่อร่อยฝุดๆต้องลอง ก็เร่งเข้าสอบถามอากู๋ Google หาข้อมูลผู้ผลิตและบริษัทจัดจำหน่าย แล้วพยายามโยงความสัมพันธ์กับฐานข้อมูลธุรกิจในไทยที่เราเคยมีในหัวเดิม แล้วคิดว่ามีโอกาสรุ่งมั้ย ถ้ามีก็จำไว้เพื่อนำไปวิเคราะห์ (ข้อ 2) ในภายหลังเมื่อมีเวลา
1.1.4) ข้อมูล Insider จากงานที่ทำ ... บางคนใช้วิธีนี้ แต่ผมขอไม่ใช้ด้วยความเชื่อส่วนตัวว่า เราไม่ชอบให้คนอื่นโกง เราก็อย่าโกงเสียเอง ผมเลยไม่ลงทุนในอุตฯที่เราทำงานในหมวกของลูกจ้างที่อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนโดยตรงครับ
1.1.5) คุยกับเพื่อนคอเดียวกัน ... ถ้าเป็นเพื่อน VI ด้วยกันที่เรารู้ว่าเขามีสไตล์การมองธุรกิจคล้ายๆเรา บางครั้งก็ได้บริษัทที่เราคิดว่าน่าสนใจเพื่อนำไปวิเคราะห์ (ข้อ 2) ในภายหลังเมื่อมีเวลา (อย่าเชื่อ เพียงเพราะคนอื่นเชื่อ ต้องเชื่อเพราะเราประจักษ์แล้วด้วยตัวเอง)
1.2) กรองหุ้นแบบนั่งกรองกันเลยจริงๆ (อันนี้ต้องมีเวลาว่าง มี laptop 1 เครื่อง มีอินเตอร์เน็ตต่อได้ แล้วลุยกัน) .. อาทิเช่น
1.2.1) กรองงบการเงินด้วยอัตราส่วนต่างๆ ... อันนี้น่าจะมีคนเขียนรายละเอียดไว้เยอะอยู่แล้วครับ ลองหาหนังสืออ่านได้ แล้วแต่ใครศรัทธาอัตราส่วนไหนบ้างนำมาใช้ทุกตัวแล้วแต่อุตฯที่เหมาะสมด้วย เช่น P/E, P/BV, D/E, CL/CA, % growth yoy, Dividend yield, Dividend payout ratio, Market capital, Market share, ROE, ROA, GPM, NPM, PEG, PEGR, ... (โอว เยอะ!) หรือจะสร้างอัตราส่วนของตัวเองเพื่อใช้ในการคัดกรองก็ได้ครับ แล้วแต่ศรัทธา โดย common sense เราจะทราบอยู่แล้วว่าตัวเลขไหนคือ ดี ตัวเลขไหนคือ โยนทิ้งเถอะ แล้วเรียงบริษัททั้งตลาดเลยจากตัวเลขดีสุดของอัตราส่วนที่เราเลือกมาใช้ แล้วโหลดงบสามเทพ (I/S, B/S, CF/S) มา scan (ดูคร่าวๆนะครับ ยังไม่ดูละเอียด) จนได้ short list ที่เราคิดว่า scan แล้วดูพอมีอนาคตมาเพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อ (ข้อ 2) ในภายหลังเมื่อมีเวลา (จากประสบการณ์ถ้านั่งร้านกาแฟตั้งแต่ห้างเปิดยันมื้อเย็นก็น่าจะscan ได้สัก 200+ ตัว แต่ short list มาได้ไม่เกิน 5 ตัว ขึ้นอยู่กับว่าตอนนั้นเราใช้อัตราส่วนไหนเป็นเกณฑ์)
1.2.2) Demographic analysis ... เป็นการวิเคราะห์เชิงทำเลที่ตั้ง โดยผมใช้หลัก Diamond Model ของ Michael E. Porter ตามที่เคยเรียนวิชา Microeconomics มาวิเคราะห์ (
http://en.wikipedia.org/wiki/Diamond_model) ก็ต้องกำหนดก่อนว่าเราจะมองภาพใหญ่แค่ไหน เช่น ตลาดเอเชีย, ตลาดอาเซียน, ตลาดไทย, หรือเฉพาะภาคเหนือ-กลาง-ใต้-ออก-ตก ซึ่งจะช่วยให้เรา scope down อุตฯที่เราควรจะสนใจได้ ก่อนจะนำไปกรองละเอียด (ข้อ 1.2.1) เพื่อ scope down ให้เหลือแค่ 1-2 บริษัทสำหรับวิเคราะห์ (ข้อ 2) ในภายหลังเมื่อมีเวลา
1.2.3) ฟังสัมมนา ... ตามนั้นครับ บางทีวิทยากรก็อาจพูดถึง Mega Trend หรือบริษัทมาแรง หรือหุ้นเด็ดที่เราอาจสนใจและนำไปวิเคราะห์ (ข้อ 2) ในภายหลังเมื่อมีเวลา แต่ส่วนตัวผมเชื่อว่า (แค่เชื่อแบบไม่มีหลักการ) ข้อมูลที่ได้จากการสัมมนาใหญ่ๆโดยเฉพาะตลาดร้อนๆช่วงนี้ มักเป็นข้อมูลของตลาดวายแล้ว เลยบางทีทำตรงกันข้าม คือ บริษัทที่ถูกเอ่ยถึงในงานสัมมนาแทนที่จะนำไปวิเคราะห์ต่อ กลับหลีกเลี่ยงที่จะสนใจเพราะคงมีโบรกเกอร์อีกเป็นร้อยที่มีเวลายิ่งกว่า full-time และนักลงทุนรายย่อยอีกเป็นพันกำลังจ้องตัวนั้นอยู่
(อันนี้ คือ วิธีกรองหุ้นเท่าที่นึกได้ตอนนี้ครับ)
2) วิเคราะห์หุ้น .. คร่าวๆที่ผมวิเคราะห์ คือ งบสามเทพย้อนหลังอย่างน้อย 10 ปีและอย่างละเอียดรายไตรมาสย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี, อัตราส่วนทางการเงินเพื่อการดำเนินธุรกิจ, เป้าหมายและทัศนคติของบริษัท, Five Force (+1), 4P (+1), ผู้บริหาร, โครงสร้างผู้ถือหุ้นและโครงสร้างทุน, Organization chart, SWOT, SPEELTD, กลยุทธ์ของบริษัท (แบ่งปัน Offensive, Defensive, Win without War), Diamond Model, Scuttlebutt (เกี่ยวกับธุรกิจ เช่น Customer, Supplier, Competitor, ลองใช้เอง), Scuttlebutt (นักลงทุน VI ด้วยกัน), สรุปข้อดี-ข้อเสียบริษัทใน 2 นาที (ตามสูตร One Up on Wall street โดย Peter Lynch คือ ถ้าคุณคิดแล้วว่าคุณเข้าใจจริง ไหนลองสรุปให้เพื่อนข้างๆที่ไม่รู้จักบริษัทนี้เลยภายใน 2 นาทีสิ) และสุดท้าย คือ วิเคราะห์ ราคา Price spread เทียบกับผลตอบแทนและ MOS ในใจ
เขียนไปเขียนมาเริ่มยาวครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้เพื่อนๆนักลงทุนคนอื่นๆไม่มากก็น้อยมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และช่วยกันปรัปรุงคุณภาพการวิเคราะห์ของแต่ละคนกันนะครับ ไว้ถ้าสนใจ มีเวลา จะมาเขียนต่อรายละเอียดของการวิเคราะห์หุ้น (ข้อ 2) ครับ หรือถ้าสนใจถามรายละเอียดเพิ่มเติมของการกรองหุ้น (ข้อ 1) ก็ถามได้ครับ
หมายเหตุ: รวมทฤษฎีทางวิชาการที่ผมนำมาวิเคราะห์หุ้นโดยสามารถเข้า wiki (
http://en.wikipedia.org/) แล้ว search keyword ตามด้านล่าง (ความรู้ฟรี) ดังนี้ครับ
- Theory of planned behavior
- Strategic planning
- Value theory
- Porter five forces analysis
- Marketing mix
- Capital structure
- Enterprise value
- Cost of capital
- Weighted average cost of capital
- Shareholder
- Shareholder value
- Organizational chart
- Organizational structure
- SWOT analysis
- PEST analysis
- Strategic management
- Game theory
- Strategic thinking
- Diamond model
- Market research
- Mystery shopping
- Competitive advantage
- Gambler's fallacy
- Herd mentality
- Stock selection criterion