หน้า 2 จากทั้งหมด 2

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 20, 2005 12:11 am
โดย เพื่อนพูห์
แหะๆ คุยกันมันส์กว่า "ถึงลูกถึงคน" อีกนะครับ
เพิ่งจะได้ดู clip รายการ เมื่อวันที่ 17

รมต. คมนาคมกับผู้ว่าการรฟม. ยืนยันว่า ถ้าเกิดอุบัติเหตุกับ รฟม. อีก
คงอยู่เป็น รมต กับ ผู้ว่าฯ ไม่ได้แล้ว ...

มีอยู่คำพูดนึงที่ รมต. บอกว่า "สาเหตุไม่ใช่เพราะระบบควบคุมรถผิดพลาด ไม่งั้นผมคงต้องรับผิดชอบ ที่ไปเร่งให้รีบเปิดใช้งาน"

แหม! มีความรับผิดชอบกันดีจริงๆ !! :roll:

เน้นกันจังว่า ระบบควบคุมไม่มีทางผิดพลาด ก้อรู้ว่าระบบควบคุมมันเจ๊ง แต่ระบบอื่นล่ะ
- ระบบความปลอดภัยล่ะ พนักงานยกเลิกระบบเบรคได้เฉยเลย
- ระบบรางน่าจะการออกแบบป้องกันกรณีที่ขบวนรถไหลจากทางลาดชันจากรางซ่อมบำรุง ลงไปที่ระบบรางโดยสาร (ตรงนี้คงคิดไม่ถึงกัน ว่าจะมีใครไปยกเลิกระบบเบรค)
- ตู้รถเองก้อน่าจะมีระบบเบรคสำรอง จากระบบเบรคหลัก

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 20, 2005 11:11 am
โดย เพื่อน
ข่าวล่าสุด ฟังมาจากจากการสัมภาษณ์ผ่านรายการวิทยุคลื่นFM.94เมื่อเช้านี้ โดยคณะกรรมการสอบสวนกรณีนี้ให้สัมภาษณ์ไว้

ทราบมาว่า เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นมาประมาณ3-4ครั้งก่อนแล้ว แต่ทุกครั้งโชคดีที่รถไม่ไหลกลับ

แสดงว่ามีปัญหากับการส่งรถโดยใช้แรงส่งจริงๆสิครับ
การแก้ใขน่าจะต้องได้รับความเอาใจใส่ย่างสูงตั้งแต่ครั้งแรกแล้ว แต่กลับใช้วิธีการผิดๆมาทุกครั้งเป็นประเพณี จนเกิดเรื่องขึ้นจริงๆ
ผมว่าความผิดอย่างแรงน่าจะไปตกอยู่ที่ระดับสั่งการแล้วนะครับ ทั้งๆที่รู้ว่ามีความผิดพลาดแต่ไม่แก้ใข
ต้องรอดูผลการโยนความผิดกันต่อๆไปอีกรอบละครับ

การดีไซน์ระบบรถไฟฟ้า ให้มีโอกาสผิดพลาดด้วยคน

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 20, 2005 11:05 pm
โดย ปุย
ระบบที่ควบคุมด้วยคน ต่อให้ระบบดีขนาดไหน ก็ห้าม Human Error ไม่ได้
เพียงแต่ ถ้ามี Human Error แล้ว ต้องไม่มีผลกระทบ / ความเสียหายมากขนาดนี้
ถ้าความเสียหายมากขนาดนี้ แล้วบอกว่าผิดที่คน แสดงว่า ระบบสุดห่วยครับ

ผมอ่าน คห.ใน MGR เค้าcomment ตั้งแต่ตอนออกแบบ ทางลาด
เค้าเปรียบเทียบทำนองว่า คนออกแบบประตูบ้าน สูง 1.50 เมตร
แต่เขียน manual ว่า เวลาเข้าบ้าน ให้ก้มหัวเข้า น่าคิดนะครับ
แต่ก็ไม่ทราบว่า เท็จ จริงเป็นยังไง