เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 331

โพสต์

ขอเพิ่มเติมนิดหนึ่ง สำหรับคนที่ไม่ได้มีเป้าหมายถึงการเอามรรคเอาผล

แม้ว่าการเหวี่ยงลูกตุ้มของเรา ในการเจริญมรรค 8 จะยังไม่มีกำลังมากเพียงพอที่จะก้าวข้ามผ่านทุกข์ทั้งหมด มากพอที่จะถูกโยนข้ามแม่น้ำไปได้ แต่การเหวี่ยงลูกตุ้มนี้เมื่อสะสมกำลังและเหวี่ยงออกไปก็มีกำลังในระดับหนึ่งที่จะทำประโยชน์อื่นๆ ได้มากหลาย

ทางดำเนินนี้ จึงเป็นทางที่นำไปสู่ความสงบสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต ใจของเราจะผ่องใส เบายิ่งขึ้น อยู่กับสภาวะต่างๆ ไม่ว่าดีหรือร้ายได้อย่างสงบสุข เป็นหนทางที่จะช่วยให้เราก้าวข้ามผ่านทุกข์ต่างๆ ในทางโลก ไม่ว่าการพลัดพลากจากสิ่งที่รัก และประจวบเหมาะกับสิ่งที่ไม่รัก เป็นทางที่จะทำให้เราอยู่กับความทุกข์ทางกายที่เกิดจากโรคภัย วัยชรา รวมไปถึงความตายที่มีเป็นธรรมดาของชีวิตมนุษย์

อีกทั้งยังเป็นทางที่นำไปสู่ความสมบูรณ์พูนพร้อมของร่างกาย ผิวพันธ์ที่ผ่องใส โภคทรัพย์ และความร่ำรวยต่างๆ ที่ยิ่งเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปจากการสร้างเหตุที่เหมาะสมนี้ จึงเป็นทางที่ควรค่าแก่การทดลองก้าวเดิน ใช้เวลา ใช้ความพยายามกับทางสายนี้ไม่มากก็น้อย เพราะ คนที่จะได้รับประโยชน์อย่างถึงที่สุดก็คือตัวเราเอง
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
cobain_vi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 358
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 332

โพสต์

เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:
มีอีกวิธีหนึ่งคือ การใช้ความคิดพิจารณาธรรมเอาตรงๆ นี่แหละครับ
เช่นพิจารณาร่างกาย ให้เห็นเป็นธาตุ เป็นอสุภะ หรือพิจารณาความตาย
เมื่อพิจารณาไปแล้ว ถ้าจิตเกิดสลด หรือจิตเห็นจริงในระดับหนึ่ง(ไม่ถึงขั้นเห็นแจ้ง)
จิตจะวางการพิจารณา แล้วรวมสงบเข้ามาเป็นสมาธิเป็นคราวๆ ไป
แต่สมาธิด้วยวิธีนี้มักจะไปได้เพียงอุปจารสมาธิ
และใช้เวลามากกว่าวิธีแรกที่แยกอารมณ์อันเป็นศัตรูของสมาธิออกไปเลย

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)
เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2542

ไม่แน่ใจว่าอันนี้ใช่ไหมครับ
กรุณาชี้แนะด้วยครับ
ใช่แล้วครับการดูจิตจะทำแบบนี้
ขอเสริมนิด ที่เรียกว่าดูจิตในขั้นนี้มันจะไม่ถึงจิตจริงๆ ดูได้แค่เจตสิกแต่ก็ต้องดูเพราะเราเห็นได้แค่นี้จะให้เห็นจิตจริงๆก็ตอนเกิดมรรคนั่นแหละครับ
เวลาดูไปจิตจะพลิกเข้าพลิกออกระหว่างสมถะและวิปัสนา(วิปัสนาแท้ๆจะไม่มีความคิดมาเจือปนนะครับ เห็นไตรลักษณ์ในแง่มุมไหนก็ได้ ) คือตอนที่เราเห็นสภาวะที่จิตเราทำงานบางครั้งจิตก็จะทำสมถะ(ในขั้นนี้ส่วนใหญ่จะทำได้แค่อุปจารสมาธิ) ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยถึงขั้นอัปณาสมาธิ ไม่เหมือนที่เราทำฌาณก่อน
ที่หลวงพ่อบอกว่าใช้เวลานานกว่า เพราะส่วนใหญ่การดูจิตไปตรงๆเลย จะไม่ค่อยเกิดสมาธิยกเว้นคนที่ทำอย่างชำนาญแล้วก็จะเข้าสมาธิได้ง่าย ไม่เหมือนพวกที่ทำฌาณก่อนพวกนี้ผ่านฌาณเลยเป็นขั้นๆไป แต่บางคนทำฌาณไม่ได้เพราะไม่ถูกจริตผมเคยเห็นคนทำมาสิบๆปีแค่ขั้นอุปจารสมาธิก็ยังทำไม่ได้เลยก็มีครับ
พูดถึงเรื่องสมาธิ ถ้าอาจารย์เคยอ่านหนังสือของหลวงตาหรือครูบาอาจารย์ท่านอื่นจะทราบว่ามีความสำคัญมาก สมาธิที่เราทำส่วนใหญ่กำลังมันไม่พอ(สมาธิ แปลว่าจิตตั้งมั่น ถ้าในหนังสือมิลินทปัญาจะอุปมาว่า "มีลักษณะจับ" ถ้าจับไม่แน่นก็คือกำลังไม่พอ เหมือนจับปลาถ้าเราจะฆ่าปลาตัดหัวปลา แล้วเราจับไม่แน่น ปลามันก็ดินได้ เราจะตัดหัวมันก็จะตัดไม่สำเร็จ ปลาจะได้ไปดิ้นมา) สมาธิที่ใช้ฟันกิเลสตอนเกิดมรรคเกิดผลจะเป็นสมาธิที่เกิดอัตโนมัติ(หลังจากเราซ้อมมาหลายครั้งจนชำนาญ สมาธิและปัญญาเราต้องทำบ่อยๆเหมือนกับการซ้อมมวยนั่นแหละครับ เวลาขึ้นชกจะน็อคคู่ต่อสู้เราก็ต้องปล่อยหมัดซ้ำๆ จนคู่ต่อสู้แย่แล้วค่อยปล่อยหมัดน็อค อริยมรรคก็คือหมัดน็อค) พ้นจากการจงใจ เป็นสมาธิที่เกิดขึ้นเองอัตโนมัติจึงทำให้มีกำลังมาก (สมาธิในฌาณก็เกิดขึ้นเองอัตโนมัติเหมือนกันนะครับ พ้นจากการจงใจ มันจะถอยเข้าถอยออกของมันเองอัตโนมัติ)
ขอเสริมอีกนิดครับ เดี๋ยวนี้ผมเห็นคนดูจิตกันมากๆ เพราะคงจะถูกจริตกับคนสมัยนี้ แต่ก็อย่าคิดว่าง่ายนะครับ ถ้าไม่อดทน ใจไม่เด็ดเดี่ยวจริงๆไม่ผ่านไปได้ง่ายๆหรอกครับ ที่สำคัญที่สุดที่ผมเห็นข้อบกพร่องของคนอื่นๆคือไม่เคยสวดมนต์ไหว้พระกันเลย พอถึงเวลาก็จะไปดูจิตๆ ไหว้พระสวดมนต์กันเดือนๆนึงทำสักครั้งบ้างหรือป่าวก็ไม่รู้ เรื่องศีลอีกครับศีล5ยังไม่มีเลยงดเหล้านี่เป็นเรื่องสำคัญมากนะครับ อย่าคิดว่าการดื่มเหล้าเล็กๆน้อยๆแล้วจะไม่เป็นไร ถ้าจะเอามรรคเอาผลจริงๆเหล้าหยดเดียวก็อย่าไปกินครับ(ผมพูดจริงๆนะครับ เรื่องนี้สำคัญมากนะครับ )
ปล. มีหนังสือแนะนำซึ่งผมคิดว่าเป็นสุดยอดหนังสือในดวงใจที่เกี่ยวกับการปฏิบัติล้วนๆเลยของหลวงตามหาบัว ชื่อ"กายคตาสติ" ไม่ทราบว่าเคยอ่านหรือยังครับ ถ้ายังรีบหามาเป็นเจ้าของเลยครับ เล่มนี้ดีมากๆครับ
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4940
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 333

โพสต์

ขออนุโมทนากับทุกท่านนะครับ
เรื่องหนังสือที่พี่ cobain_vi แนะนำนั้น
ให้ไปซื้อนะครับ เล่มละ 100 บาท เท่านั้นครับ อุดหนุนคนพิมพ์หน่อยครับ
ถ้าใครจะหาซื้อ ที่มูลนิธิหลวงปู่มั่น ถนนจรัลสนิทวงค์ 37 มีขายตลอดนะครับ

รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ

พอพี่ cobain_vi พูดถึง จึงลอง search ดู เจอมาครับ

http://www.ebooks.in.th/ebook/4808/%E0% ... %B8%A7%5D/

ใน link นี้มีให้ download ครับ
เชิญตามสะดวก รูปสวย น่าดูทุกรูปครับ ลองเปิดดูเองนะครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
Pekko
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 676
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 334

โพสต์

เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:หากผมจะรบกวนขอความรู้จากพวกเรา จะได้ไหมครับ

ผมอยากได้คำแนะนำถึง
"ปัญญาอบรมสมาธิ"
ว่าควรต้องนำไปปฏิบัติอย่างไรครับ

ผมฟัง mp3 หลวงตามหาบัวเรื่องนี้หลายครั้งมาก
แต่ยังไม่แน่ใจว่าควรนำไปปฏิบัติอย่างไร

และได้เคยเรียนถามพระอาจารย์สุชาติ วัดญาณ
รวมทั้งได้ฟัง mp3 ที่ท่านตอบคำถามเดียวกันนี้กับคนอื่น
ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ และไม่แน่ใจครับ

ท่านใดจะกรุณาแนะนำเป็นธรรมทานด้วยจะเป็นพระคุณครับ
ก่อนอื่น ผมต้องออกตัวก่อนว่า ผมจะเป็นผู้รู้หรือเปล่านั้น ผมไม่ทราบ แต่ผมขอแสดงความคิดเห็นนะครับ
ผมคิดว่าคุณ picatos อธิบายไว้น่าจะครบถ้วนแล้ว แต่ผมจะพยายามอธิบายในส่วนที่ผมเข้าใจตามที่สิ่งที่ผมประพฤติปฏิบัติเองดังนี้ ครับ

หัวใจศาสนาพุทธ = โอวาทปาฏิโมกข์ ทาน+ศีล +ภาวนา ซึ่งต้องมีครบทั้ง 3 เสมือนเป็นจุด 3 จุดบนเส้นรอบวงของวงกลมเดียวกัน
ภาวนา คือ ทำจิตใจให้ผ่องแพ้ว สมกับคำว่า พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คือ ใช้ปัญญากำหนดรู้เพื่อตีแตก"อวิชชา" โดยใช้กำลัง สมถะ+วิปัสสนา เพื่อให้เกิดภาวนมยปัญญา

จะเห็นได้ว่า ทาน+ศีล+สมถะ+วิปัสสนา รวมความคือ มรรค ข้อปฏิบัติในการดับทุกข์ เมื่อเข้าใจมรรคแจ่มแจ้ง ธรรมอีก 3 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ ก็จะปรากฏตัวและเฉลยตัวมันเอง

สมถะ คือ กรรมฐาน 40 กอง และวิปัสสนา คือ ความรู้แจ้งแทงไตรลักษณ์ กำหนดรู้ว่า อะไรคืออนิจจะลักษณะ อะไรคือทุกขลักษณะ และอะไรคืออนัตตะลักษณะ โดยใช้ปัญญามาพิจารณาสิ่งที่อยู่ในกายในจิต(เรา) และร่วมใช้กรรมฐานบางกองได้เช่นกัน

ผู้ปฏิบัติมักจะทำสมาธิก่อนเพื่อรวบรวมกำลัง สำรวมอินทรีย์ โดยมีจุดหมายคือข่มนิวรณ์เบื้องต้นไว้ชั่วคราว เช่น ใช้คำบริกรรม กำหนดลมหายใจ เดินจงกรม เพ่งกสิณ ฯลฯ จากนั้นจะเจริญวิปัสสนาปัญญาญาณ เช่น กายคตานุสติ เพ่งอสุภะ กรรมฐาน 5 (ผม ขน เล็บ ฟัน และหนัง) หรือหาคู่ธรรมนำมาเปรียบเทียบ เพื่อให้จิตเดินปัญญารู้แจ้งแทงไตรลักษณ์ ดับอวิชชา กำจัดล้างนิวรณ์

แต่ผู้ปฏิบัติถ้ายังไม่ถึงขั้นอริยะบุคคลขั้นสูง ในบางครั้งกำลังสมาธิอาจจะมีหรือสั่งสมไม่มากพอที่จะข่มนิวรณ์ไว้ชั่วคราวได้ แต่ถ้าบุคคลนั้นในภาวะปกติมีกำลังปัญญาใกล้เคียงกับกำลังสมาธิก็อาจจะพลิกใช้ปัญญาพิจารณา เช่น หากใช้อานาปานสติภาวนาดูลมหายใจ ก็ให้พิจารณาธรรมง่ายๆ ทันทีว่า ลมหายใจที่เข้าออกนั้นสั้นยาว หยาบหรือละเอียดอย่างไร หรือนำไปเปรียบเทียบก่อนหน้านี้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร (ดึงอนิจจังขึ้นมาพิจารณาอย่างง่ายๆ) ให้จิตมาจดจ่ออยู่ที่สติโดยใช้ปัญญาเป็นเครื่องมือ หรืออาจจะกำหนดว่าแม้แต่สมาธิก็อาจมีลักษณะไตรลักษณ์ไม่เที่ยงเช่นกัน คือมีเหตุและมีปัจจัยปรุงแต่งว่าทำไมเข้าสมาธิได้บ้างหรือไม่ได้บ้างเมื่อดำริคิดได้อย่างนี้ จิตก็จะวกกลับมาสู่ภายในตัวธรรมตามธรรมชาติของมันเอง (เหมือนคำกล่าวเรื่องจิตในจิตนอกและผลของจิต) ส่งให้สติก็กลับมาเด่นชัดขึ้น เมื่อปัญญาถึงพร้อมด้วยสติ นิวรณ์ก็อยู่ไม่ได้ สมาธิก็จะเริ่มตั้งมั่นขึ้นเองครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nanjeng
Verified User
โพสต์: 102
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 335

โพสต์

เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:"ปัญญาอบรมสมาธิ"ว่าควรต้องนำไปปฏิบัติอย่างไรครับ
เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:
มีอีกวิธีหนึ่งคือ การใช้ความคิดพิจารณาธรรมเอาตรงๆ นี่แหละครับ
เช่นพิจารณาร่างกาย ให้เห็นเป็นธาตุ เป็นอสุภะ หรือพิจารณาความตาย
เมื่อพิจารณาไปแล้ว ถ้าจิตเกิดสลด หรือจิตเห็นจริงในระดับหนึ่ง(ไม่ถึงขั้นเห็นแจ้ง)
จิตจะวางการพิจารณา แล้วรวมสงบเข้ามาเป็นสมาธิเป็นคราวๆ ไป
แต่สมาธิด้วยวิธีนี้มักจะไปได้เพียงอุปจารสมาธิ
และใช้เวลามากกว่าวิธีแรกที่แยกอารมณ์อันเป็นศัตรูของสมาธิออกไปเลย

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)
เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2542
ไม่แน่ใจว่าอันนี้ใช่ไหมครับ
กรุณาชี้แนะด้วยครับ
คุณเด็กใหม่ไฟแรงครับ ผมขอตอบตามที่ผมเข้าใจ ผิดหรือถูกโปรดพิจารณาครับ

"ปัญญาอบรมสมาธิ" ตามที่คุณสันตินันท์(ขณะนั้น) แจงนั้นถูกแล้ว ขอขยายความดังนี้
คือเป็นการใช้ปัญญาแบบโลกๆหรือทางโลกในการคิด ซึ่งปัญญาที่เกิดจากการคิดนั้นยังไม่สามารถตัดกิเลสได้
เพียงแต่ข่มเอาไว้ พอสลดสังเวชก็เกิดกำลังเป็นสมาธิ เพราะทำให้นิวรณ์นั้นระงับไปชั่วคราว
ตัวอย่างเช่น เกิดกามราคะ พอทำสมาธิก็ฟุ้งซ่าน จิตไม่รวมตั้งมั่น ดังนั้นจึงคิดถึง อสุภะบ้าง กายคตาบ้าง หรือพิจารณาความตายบ้าง

ฉะนั้นการคิดถึงอสุภะบ้าง กายคตาบ้าง หรือพิจารณาความตายบ้าง จึงเป็นปัญญาแบบทางโลก จัดอยู่ในโลกียะ
ยังไม่ใช่ปัญญาในชั้นโลกุตระ ที่จะละกิเลสตามสังโยชน์ 10 ได้

ตามที่คุณสันตินันท์(ขณะนั้น) แนะนำนั้น เป็นกุศโลบายในการทำจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ซึ่งแต่ละคนก็จะมีจริตนิสัยต่างกัน ควรหากุศโลบายที่เหมาะสมกับจริตนิสัยของตนเองเป็นที่ตั้งครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nanjeng
Verified User
โพสต์: 102
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 336

โพสต์

ส่วนปัญญาในชั้นโลกุตรขอยกจาก "หนังสือธรรมะทรงคุณค่า ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา" หน้า 3-4
โดยพระธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี ถาม
ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ตอบ
----------------------------------------
พระธรรมเจดีย์ :
องค์มรรค 8 ทำไมจึงยกสัมมาทิฎฐิ ซึ่งเป็นกองปัญญาขึ้นแสดงก่อน
ส่วนการปฏิบัติของผู้ดำเนินทางมรรค ต้องทำศีลไปก่อน แล้วจึงทำสมาธิ แลปัญญา ซึ่งเรียกว่าสิกขาทั้ง 3 ?

พระอาจารย์มั่น :
ตามความเห็นของข้าพเจ้าว่าจะเป็น 2 ตอน
ตอนแรกส่วนโลกียกุศลต้องทำศีล สมาธิ ปัญญา เป็นลำดับไป ปัญญาที่เกิดขึ้นยังไม่เห็นอริยสัจทั้ง 4 สังโยชน์ 3 ยังละไม่ได้ ขีดของใจเพียงนี้เป็นโลกีย์
ตอนที่เห็นอริยสัจแล้วละสังโยชน์ 3 ได้ ตอนนี้เป็นโลกุตตร
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 337

โพสต์

..
"ญาณทัสสนะ" เห็นเป็นเช่นนั้นจริงๆ ซึ่งจิตที่ได้ผ่านการอบรมสมาธิมาจนมีกำลังดีแล้ว ย่อมมีพลังให้เกิดญาณทัสสะหรือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวได้ เรียกกันว่า

"สมาธิอบรมปัญญา" คือสมาธิทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น และเมื่อวิปัสสนาญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลง จิตก็ย่อมจะเบาและใสสะอาดบางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับ สมาธิจิตก็จะยิ่งก้าวหน้าและตั้งมั่นมากยิ่งๆขึ้นไปอีก เรียกว่า

"ปัญญาอบรมสมาธิ" ฉะนั้นทั้งสมาธิและวิปัสสนาจึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกันและอุปการะซึ่งกันและกัน จะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นโดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของขณิกสมาธิเป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่ม สมาธิจึงเปรียบเหมือนกับหินลับมีด ส่วนวิปัสสนานั้นเหมือนกับมีดที่ได้ลับกับหินคมดีแล้ว ย่อมมีอำนาจถากถางตัดฟันบรรดากิเลสทั้งหลายให้ขาดและพังลงได้ อันสังขารธรรมทั้งหลายนั้นล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใด ทุกสรรพสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นแค่ดิน น้ำ ลม และไฟ มาประชุมรวมกันชั่วคราวตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ในเมื่อจิตได้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว จิตก็จะละคลายจากอุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่น โดยคลายกำหนัดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทั้งหลาย ความโลภ ความโกรธ และความหลงก็เบาบางลงไปตามลำดับปัญญาญาณจนหมดสิ้นจากกิเลสทั้งมวล บรรลุซึ่งพระอรหัตผล
ฉะนั้น การที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน หากทำสมาธิยังไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้น สมาธิจึงเป็นเพียงบันไดขั้นต้นที่จะก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้วว่า "ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจนจิตเป็นฌานได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม

ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม"

ดังนี้ จะเห็นได้ว่า วิปัสสนาภาวนานั้น เป็นสุดยอดของการสร้างบุญบารมีโดยแท้จริง และการกระทำก็ไม่เหนื่อยยากลำบาก ไม่ต้องแบกหาม ไม่ต้องลงทุนหรือเสียทรัพย์แต่อย่างใด
 แต่ก็ได้กำไรมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบการให้ทานเหมือนกับกรวด และทราบ ก็เปรียบวิปัสสนาได้กับเพชรน้ำเอก ซึ่งทานย่อมไม่มีทางที่จะเทียบศีล ศีลก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับสมาธิ และสมาธิก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับวิปัสสนา



แต่ตราบใดที่เราท่านทั้งหลายยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุกๆทางเพื่อความไม่ประมาท โดยทำทั้งทาน ศีล และภาวนา สุดแต่โอกาสจะอำนวยให้ จะถือว่าการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้นลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้กำไรมากที่สุด ก็เลยทำแต่วิปัสสนาอย่างเดียว โดยไม่ยอมลงทุนทำบุญให้ทานใดๆไว้เลย ก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่มีจะกินจะใช้ ก็เห็นจะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งพระนิพพานไปไม่ได้เหมือนกัน



อนึ่ง พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ว่า "ผู้ใดมีปัญญาพิจารณาจนจิตเห็นความจริงว่า ร่างกายนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คน สัตว์ แม้จะนานเพียงชั่วช้างยกหูขึ้นกระดิก ก็ยังดีเสียกว่าผู้ที่มีอายุยืนนานถึง ๑๐๐ ปี แต่ไม่มีปัญญาเห็นความเป็นจริงดังกล่าว" กล่าวคือแม้ว่าอายุของผู้นั้นจะยืนยาวมานานเพียงใด ก็ย่อมโมฆะเสียเปล่าไปชาติหนึ่ง จัดว่าเป็น "โมฆบุรุษ" คือบุรุษที่สูญเปล่า

quote ข้างต้น
มาจาก..
..
https://sites.google.com/site/dhammatvonline/9
วิธีสร้างบุญบารมี
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙
วัดบวรนิเวศวิหาร
...
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 338

โพสต์

อนึ่ง พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ว่า "ผู้ใดมีปัญญาพิจารณาจนจิตเห็นความจริงว่า ร่างกายนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คน สัตว์ แม้จะนานเพียงชั่วช้างยกหูขึ้นกระดิก ก็ยังดีเสียกว่าผู้ที่มีอายุยืนนานถึง ๑๐๐ ปี แต่ไม่มีปัญญาเห็นความเป็นจริงดังกล่าว" กล่าวคือแม้ว่าอายุของผู้นั้นจะยืนยาวมานานเพียงใด ก็ย่อมโมฆะเสียเปล่าไปชาติหนึ่ง จัดว่าเป็น "โมฆบุรุษ" คือบุรุษที่สูญเปล่า


ต่อไปนี้เป็นการเจริญสมถะและวิปัสสนาอย่างง่ายๆประจำวัน ซึ่งควรจะได้ทำให้บ่อยๆ ทำเนืองๆ ทำให้มากๆ ทำจนจิตเป็นอารมณ์แนบแน่น ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใด คือไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ก็คิดและใคร่ครวญถึงความเป็นจริง ๔ ประการ ดังต่อไปนี้ หากทำแล้วพระพุทธองค์ตรัสว่า "จิตของผู้นั้นไม่ห่างจากวิปัสสนา และเป็นผู้ที่ไม่ห่างจากมรรค ผล นิพพาน" คือ
(๑) มีจิตใคร่ครวญถึงมรณัสสติกรรมฐาน หรือมรณานุสสติกรรมฐาน ซึ่งก็คือการใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ อันความมรณะนั้นเป็นธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครสามารถที่จะเอาชนะได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงบรรลุถึงพระธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ตาย แต่ก็ยังต้องทรงทอดทิ้งพระสรีระร่างกายไว้ในโลก การระลึกถึงความตายจึงเป็นการเตือนสติให้ตื่น รีบพากเพียรชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ก่อนที่ความตายจะมาถึง พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญมรณัสสติว่า "มรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย)
ต่อไปจะ quote เหลือเพียง
หัวข้อ




(๒) มีจิตใคร่ครวญถึงอสุภกรรมฐาน...
(๓) มีจิตใคร่ครวญถึงกายคตานุสสติกรรมฐาน..


(๔) มีจิตใคร่ครวญถึงธาตุกรรมฐาน คือนอกจากจะมีจิตใคร่ครวญถึงความเป็นจริงของร่างกายดังกล่าวมาในข้อ (๓) แล้ว พึงพิจารณาแยกให้เห็นความเป็นจริงที่ว่า อันที่จริงร่างกายของเราเองก็ดี ของผู้อื่นก็ดี ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใดเลย เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ มาประชุม เกาะกุมรวมกันเพียงชั่วคราวเท่านั้นเอง ได้แก่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ แล้วสิ่งเหล่านี้ก็ทนอยู่ในสภาพที่รวมกันเช่นนั้นไม่ได้ นานไปก็เก่าแก่แล้วแตกสลายตายไป ธาตุน้ำก็กลับไปสู่ความเป็นน้ำ ธาตุดินก็กลับไปสู่ความเป็นดิน ธาตุลมก็กลับไปสู่ความเป็นลม และธาตุไฟก็กลับไปสู่ความเป็นไฟตามเดิม เนื้อตัวร่างกายของเราเมื่อได้แยกส่วนออกมาดูแล้ว ก็มิได้มีตัวตนที่ตรงไหนแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงเนื้อ กระดูก ตับ ไต ไส้ กระเพาะ เส้น เอ็น หนัง พังผืด เนื้อเยื่อ มันสมอง ไขข้อ ฯลฯ มาเกาะกุมกัน ตัวตนของเราไม่มี ครั้นเมื่อแยกแยะอวัยวะย่อยๆดังกล่าวออกไปจนถึงหน่วยย่อยๆของชีวิต คือเซลล์เล็กๆ ที่มาเกาะกุมรวมกัน ก็จะเห็นว่าเซลล์เองก็เนื่องมาจากแร่ธาตุทั้งหลายซึ่งไม่มีชีวิตจิตใจ มารวมกันเป็นกลุ่มก้อนเล็กๆ ไม่มีตัวตนของเราแต่อย่างใด แม้แร่ธาตุต่างๆนั้น ก็เนื่องมาจากพลังงานโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่านั้น หาใช่ตัวตนของเราแต่อย่างใดไม่ ที่หลงกันอยู่ว่า ตัวเราของเราหาที่ไหนมิได้เลย ทุกสรรพสิ่งที่ดิ้นรนแสวงหา สะสมกันเข้าไว้ ในที่สุดก็ต้องทิ้ง ต้องจาก ซึ่งป่วยการที่จะกล่าวไปถึงสมบัติที่จะนำเอาติดตัวไปด้วย แม้แต่เนื้อตัว ร่างกายที่ว่าเป็นของเรา ก็ยังเอาติดตัวไปไม่ได้ และก็เป็นความจริงที่ได้เห็นและรู้กันมานานนับล้ายๆปี คนแล้วคนเล่า ท่านทั้งหลายที่ได้เคยยิ่งใหญ่ด้วยยศศักดิ์อำนาจวาสนาและทรัพย์สมบัติในอดีตกาล จนเป็นถึงมหาจักรพรรดิ มีสมบัติที่สร้างสมมาด้วยเลือดและน้ำตาของผู้อื่นจนค่อนโลก แต่แล้วในที่สุดก็ต้องทิ้งต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของท่านที่เคยยิ่งใหญ่ จนถึงกับเป็นผู้ที่ไม่อาจจะแตะต้องได้ แต่แล้วก็ต้องทอดทิ้งจมดินและทราย จนในที่สุดก็สลายไปจนหาไม่พบว่าเนื้อหนัง กระดูก ขน เล็บ ตับ ไต ไส้ กระเพาะของท่านอยู่ที่ตรงไหน คงเหลืออยู่แต่สิ่งที่เป็นดิน น้ำ ลม และไฟ ตามสภาพเดิมที่ก่อเกิดกำเนิดมาเป็นตัวของท่านเพียงชั่วคราวเท่านั้น แล้วตัวของเราท่านทั้งหลายก็เพียงเท่านี้ มิได้ยิ่งใหญ่เกินไปกว่าท่านในอดีต จะรอดพ้นจากสัจธรรมนี้ไปได้หรือ



เมื่อความเป็นจริงก็เห็นๆ กันอยู่เช่นนี้แล้ว เหตุใดเราท่านทั้งหลายจึงต้องพากันดิ้นรนขวนขวายสะสมสิ่งที่ในที่สุดก็จะต้องทิ้งจะต้องจากไป ซึ่งเท่ากันเป็นการทำลายวันเวลาอันมีค่าของพวกเราซึ่งก็คงมีไม่เกินคนละ ๑๐๐ ปี ให้ต้องโมฆะเสียเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดมิได้ เหตุใดไม่เร่งขวนขวายสร้างสมบุญบารมีที่เป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐ ซึ่งจะติดตามตัวไปได้ในชาติหน้า แม้หากสิ่งเหล่านี้จะไม่มีจริง ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ อย่างเลวพวกเราก็เพียงเสมอตัว มิได้ขาดทุนแต่อย่างใด หากสิ่งที่
พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนไว้มีจริง ดังที่ปราชญ์ในอดีตกาลยอมรับ แล้วเราท่านทั้งหลายไม่สร้างสมบุญและความดีไว้ สร้างสมแต่ความชั่วและบาปกรรมตามติดตัวไป เราท่านทั้งหลายมิขาดทุนหรือ เวลาในชีวิตของเราที่ควรจะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์กลับต้องมาโมฆะเสียเปล่า ก็สมควรที่จะได้ชื่อว่าเป็น "โมฆบุรุษ" โดยแท้.
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 339

โพสต์

ต่อด้วย
่่
สมาธิในอารมณ์ของสติปัฏฐานนั้น ต่างกับสมาธิในอารมณ์ของกรรมฐานอื่น คือองค์ของสัมมาสมาธิ ได้แก่ วิริยะ สติ สมาธิ ซึ่งเป็นองค์ของสมาธิ ในกลุ่มมรรคที่เรียกว่าสัมมาสมาธิ และ การเจริญสติปัฏฐาน ก็ต้องมีความเพียร เรียกว่า อาตาปี ต้องมีสัมปชัญญะ คือ สัมปชาโน และ ต้องมีสติ เรียกว่า สติมา สมาธิต้องเกิดตามองค์ธรรมต่อไปนี้จึงจะได้ชื่อว่าเจริญสมาธิไปด้วย กิจของสมาธิก็ต้องเข้าร่วมเป็นไปในอารมณ์ของวิปัสสนา แต่ว่าเป็นขณิกสมาธิ

คำว่าขณิกสมาธิ หมายถึงในขณะที่รองรับอารมณ์หนึ่งๆ คือ ธรรมดาของสมาธิที่จะให้เข้าถึงอปัปนาสมาธิ อารมณ์ต้องเป็นอันเดียวกัน จะเปลี่ยนหรือย้ายอารมณ์ไม่ได้ จะใช้อะไรภาวนาหรือจะใช้กรรมฐานอะไรก็ตามก็ต้องใช้อารมณ์นั้นอย่างเดียว ถ้าเปลี่ยนอารมณ์หรือย้ายอารมณ์ไป สมาธิก็ไม่มั่นคง จะเข้าอัปปนาไม่ได้
ส่วนขณิกสมาธิที่เป็นกรรมฐานของวิปัสสนานั้น เปลี่ยนอารมณ์ได้ คือจะเปลี่ยนเป็นอะไรก็ได้ ในอารมณ์ทั้ง 6 แต่สมาธิยังคงมีอยู่ โดยจะกำหนดอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งก็ตาม ก็เป็นปัจจุบันทุกๆอารมณ์ จะย้ายไปในอารมณ์ใดก็ได้ แต่ว่าตองกำหนดให้ได้อารมณ์ รูปนาม ที่เป็นปัจจุบัน ก็เป็นสมาธิในอารมณ์นั้น คือจะย้ายไปทางหูที่ได้ หรือทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็ได้ หรือจะย้ายไปทางอิริยาบถนั่ง นอน ยืน หรือเดินก็ได้ เป็นสมาธิได้ทุกอิริยาบถ แต่ว่าสมาธินั้นเป็นขณิกสมาธิ

สมาธิมีอยู่ 3 ขั้น ( บาลี . ขุ . ปฏิ . 31 / 246 ; อรรถกถา วิสุทธิมรรค ภาค 2 / 9 ) คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ขณิกสมาธิเป็นได้ทั่วไปในอารมณ์ ทั้ง 6 คือ ขณะที่ย้ายอารมณ์ไป โดยจะเป็นเพราะเหตุใดก็ตาม ขณิกสมาธิก็ติดตามไปด้วย เหมือนอย่างกระจก เงาที่ใสแล้ว ส่องเมื่อไรก็ย่อมเห็นเงาปรากฏชัดเจนเมื่อนั้น

ขณิกสมาธิดังกล่าวนี้ เป็นปัจจัยหรือเป็นบาทที่จะให้เกิดวิปัสสนาปัญญา เพราะการที่เปลี่ยนอารมณ์ที่เป็นไปตามเหตุตามผลนั่นเอง จึงเป็นเหตุให้เห็นความเกิดขึ้น และดับไป ของอารมณ์และของจิตได้ ถ้าหากไม่เปลี่ยนอารมณ์แล้วจะไม่เป็นเหตุให้เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของจิตและอารมณ์นั้นเลย

http://www.noyshop.com/web-board/board.php?newsId=1431

วิสุทธิ 7 จากการบรรยายของ ท่านอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 340

โพสต์

จิตตวิสุทธิหรือสมาธิวิสุทธิ ก็เป็นในทำนองเดียวกันกับศีลวิสุทธิ คือว่าทำสมาธิเพื่ออะไร ถ้าทำเพื่อต้องการให้จิตสงบ หรือเพื่อจะได้มีความสุข ความเข้าใจอย่างนี้หรือความรู้สึกอย่างนี้ สมาธินั้นก็ไม่บริสุทธิ์ เพราะติดกามความสุข ไม่ต้องการพ้นทุกข์ แต่ถ้าทำสมาธิเพื่ออานิสงส์ที่จะให้เป็นปัจจัยแก่การพ้นทุกข์ สมาธิเช่นนี้จึงชื่อว่าบริสุทธิ์เป็นจิตตวิสุทธิได้

จิตตวิสุทธิ หรือ สมาธิวิสุทธิ มีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฉะนั้นสมาธิวิสุทธิหรือจิตตวิสุทธิ จึงเป็นญาณของวิปัสสนา หรือเป็นไปในอารมณ์ของวิปัสสนา คือ ถ้าศีลและสมาธิที่เป็นไปในอารมณ์ของสติปัฏฐานเพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อความหมดกิเลสแล้ว ศีลและสมาธินั้นก็วิสุทธิ แม้ปัญญาก็เช่นเดียวกัน คือปัญญาที่จะวิสุทธิได้ ต้องมาจากอารมณ์ของสติปัฏฐานซึ่งเป็นปัญญาที่เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ของร่างกายหรือของเวทนา หรือของจิต หรือของธรรม ปัญญานี้จึงวิสุทธิ เพราะเป็นปัญญาที่ปหานกิเลสได้แน่นอน กิเลสจึงไม่สามารถเข้าอาศัยได้

หน้าที่หลักของสมาธิในในสติปัฏฐาน ท่านแสดงไว้ว้าทำลายอภิชฌาและโทมนัสให้พินาศไป คือ ทำลายความยินดี ยินร้าย อยู่ในใจ


การทำลายเช่นนี้ ศีลไม่สามารถทำลายได้ เพราะถ้าเพียงแต่คิดรัก คิดโกรธ คิดชอบใจหรือไม่ชอบใจ เช่นนี้ศีลก็ไม่ขาด แต่ถ้าล่วงออกมาทางกาย ทางวาจา คือครบองค์ของศีลแล้ว ศีลจึงขาด

เมื่อความยินดียินร้ายไม่มีแล้ว นิวรณ์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของสมาธิจะต้องปหานก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อนิวรณ์เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว กิจของสมาธิก็มีอยู่ใจขณะเจริญสติปัฏฐาน แต่ว่าสมาธินั้นเป็น ขณิกสมาธิ

นิวรณ์นั้นจะเกิดได้ต้องอาศัยอารมณ์ที่เป็นอดีต หรืออนาคต ถ้าขณะใดจิตตั้งอยู่ในอารมณ์ปัจจุบันแล้วนิวรณ์ก็เกิดขึ้นมาไม่ได้เลย ก็จะเป็นอันปหานกิเลสไปในตัว

เพราะฉะนั้น ในขณะที่เจริญสติปัฏฐานอยู่โดยจะพิจารณากาย เวทนา จิต หรือธรรมก็ตาม จะต้องใช้อารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน เพราะถ้าใช้อารมณ์ปัจจุบันแล้วนิวรณ์ก็เข้าไม่ได้เป็นการกั้นนิวรณ์อยู่ใจตัวจึงเรียกว่า มีสมาธิวิสุทธิอยู่ในที่นั้นแล้ว
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 341

โพสต์

ขณิกสมาธิดังกล่าวนี้ เป็นปัจจัยหรือเป็นบาทที่จะให้เกิดวิปัสสนาปัญญา เพราะการที่เปลี่ยนอารมณ์ที่เป็นไปตามเหตุตามผลนั่นเอง จึงเป็นเหตุให้เห็นความเกิดขึ้น และดับไป ของอารมณ์และของจิตได้ ถ้าหากไม่เปลี่ยนอารมณ์แล้วจะไม่เป็นเหตุให้เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของจิตและอารมณ์นั้นเลย

ความเกิดของจิตในอารมณ์หนึ่งๆนั้น รวดเร็วมาก หมุนเร็วจนกระทั้งไม่สามารถจะเห็นความดับของจิตได้ แต่จะเห็นความสืบเนื่องติดต่อกันอยู่เรื่อยไป เพราะฉะนั้น สมาธิแน่วแน่จึงไม่เป็นบาทของวิปัสสนาปัญญาและไม่เป็นเหตุที่จะให้เห็นความเกิดขึ้นและดับไปของจิตและอารมณ์ได้ การพิจารณาที่สามารถจะรู้ทุกข์ในจิตหรือในอารมณ์ได้นั้น ไม่ใช่ด้วยสมาธิ แต่ต้องรู้ได้ด้วยปัญญา

อารมณ์ของสติปัฏฐาน 4 มีความสำคัญอย่างไร สำหรับวิปัสสนาแล้วจะใช้อารมณ์อื่นที่นอกไปจากสติปัฏฐาน 4 ไม่ได้เลย พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า เอกายโน มัคโค มีการศึกษาหรือเป็นหนทางเดียวที่จะดำเนินไปสู่ วิสุทธิ คือ พระนิพพาน

ฉะนั้นเมื่อจิตตั้งอยู่บนอารมณ์ของสติปัฏฐานแล้ว ก็เป็นบาทที่จะให้เห็นความเกิดขึ้นและดับไปหรือไตรลักษณ์ มีอนิจจัง เป็นต้น คือพิจารณากายก็เห็นกาย พิจารณาเวทนาก็เห็นเวทนา เป็นต้น ทางของสติปัฏฐานสืบเนื่องกันอย่างนี้ เพราะฉะนั้นในอารมณ์เดียวกันก็เป็นได้ทั้ง สมาธิ ปัญญา ความสำคัญจึงอยู่ทีอารมณ์ที่จะนำมาใช้เพื่อให้เกิดวิปัสสนาเท่านั้น

ผู้บำเพ็ญเพียรโดยจะเป็นสมถะก็ดี หรือวิปัสสนาก็ดี ข้อสำคัญอยู่ที่อารมณ์ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จะต้องศึกษาเรี่องอารมณ์ว่าจะใช้อารมณ์อะไรจึงจะเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาและอารมณ์อะไรเป็นปัจจัยแก่สมถะ

สมาธิเป็นจิตตวิสุทธินั้น จะต้องเป็นไปในอารมณ์ของสติปัฏฐาน ถ้าสมาธิเกิดจากอารมณ์ของ
สติปัฏฐานแล้ว ก็เป็นจิตตวิสุทธิ เพราะทำลายกิเลส กิเลสจะจับไม่ได้ ถ้าสมาธิไม่มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์แล้ว ก็จะทำให้เกิดความสงบ มีความสุขแล้วก็มีความพอใจใจความสุขหรือความสงบนั้น ความพอใจเกิดขึ้นได้โดยอาศัยสมาธิ สมาธิเช่นนี้จึงไม่สามารถจะเป็นปัจจัยที่จะทำลายอารมณ์ที่วิปลาสได้

วิปลาสคือ ความสำคัญผิดว่า นามรูป เป็นของงาม เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวเป็นตน ฉะนั้น สมาธิที่เกิดจากอารมณ์นอกจากสติปัฏฐานแล้วสมาธินั้นก็เป็นที่อาศัยของวิปลาสเพราะอะไรเพราะสำคัญว่าเที่ยง ว่าสุข ว่าเป็นตัวตนเช่นนี้ จะทำให้ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของนามของรูปได้เลย
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 342

โพสต์

เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:หากผมจะรบกวนขอความรู้จากพวกเรา จะได้ไหมครับ

ผมอยากได้คำแนะนำถึง
"ปัญญาอบรมสมาธิ"
ว่าควรต้องนำไปปฏิบัติอย่างไรครับ

ผมฟัง mp3 หลวงตามหาบัวเรื่องนี้หลายครั้งมาก
แต่ยังไม่แน่ใจว่าควรนำไปปฏิบัติอย่างไร

และได้เคยเรียนถามพระอาจารย์สุชาติ วัดญาณ
รวมทั้งได้ฟัง mp3 ที่ท่านตอบคำถามเดียวกันนี้กับคนอื่น
ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ และไม่แน่ใจครับ

ท่านใดจะกรุณาแนะนำเป็นธรรมทานด้วยจะเป็นพระคุณครับ
....
แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน
ในเมืองนาลันทานั้น ก็ทรงทำธรรมมีกถานี้แล เป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ศีลมีอยู่ด้วยประการฉะนี้ สมาธิ มีอยู่ด้วยประการฉะนี้ ปัญญามีอยู่ด้วย
ประการฉะนี้ สมาธิอันศีลอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอัน
สมาธิอบรมแล้ว
มีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ก็หลุดพ้น
ด้วยดี โดยแท้จากอาสวะทั้งหลาย กล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
ดังนี้.


...

ภิกษุ ท.! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุ ท.! ภิกษุ
ผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง. รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งอะไรเล่า ?
รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่ง ความจริงอันประเสริฐ ว่า "นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิด
ทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์, และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับ
ไม่เหลือของทุกข์;" ดังนี้. ภิกษุ ท.! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด.
ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง.

ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้พวกเธอพึง ทำความเพียร
เพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า "นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้เป็น
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์;"
ดังนี้เถิด.
...


พยัคฆปัชชะ ! ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ? พยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีปัญญาประกอบด้วยปัญญาเครื่องให้ถึงสัจจะแห่งการเกิดดับ เป็นเครื่องไปจากข้าศึก เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นเครื่องถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ.


...
สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส
แห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
ไม่ประมาท
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 343

โพสต์

....
:D

การทำสมาธิและดำเนินจิตสู่วิปัสสนา (ภาคต้น)

การที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน หากทำสมาธิยังไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้น สมาธิจึงเป็นบันไดขั้นต้นที่ก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาปัญญา เมื่อจิตของผู้ปฏิบัติตั้งมั่นในสมาธิจนมีกำลังดีแล้ว แม้แต่จะอยู่แค่เพียงอุปจารสมาธิ จิตของผู้ปฏิบัติก็ย่อมมีกำลังและอยู่ในสภาพที่นุ่มนวล ควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไปได้



การทำสมาธิ โดยการกำหนดอิริยาบถทางกายทั้ง 4 ได้แก่ การยืน การเดินจงกรม การนั่ง ( พองยุบ,พุทโธ ฯลฯ) การนอน โดยใช้สติ-สัมปชัญญะ ตามดู รู้ทัน จิต ให้อยู่กับอิริยาบถที่ กาย ทำอยู่ในปัจจุบันนั้น เมื่อ จิต แวบออกไปจากอิริยาบถนั้น ก็ กำหนดรู้ ตามอารมณ์ ที่ จิตไปรับรู้ แล้ว กลับมาอยู่ที่อิริยาบถที่ กาย ทำอยู่ในปัจจุบันนั้นต่อไป เมื่อทำเช่นนี้ได้เป็น สิบ, ร้อย, พัน, หมื่นๆ ครั้ง จิตจะเริ่มละจากอารมณ์ที่ไปเกาะยึดภายนอก กลับมารวมตัวกันทำให้มีกำลังและความละเอียดเพิ่มมากขึ้น เกิดเป็น สมาธิ



กำลังสมาธิที่ได้ เราสามารถเลือกดำเนินไปในแนวทาง สมถภาวนา คือ การทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น โดยใช้กรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ ซึ่งผู้ปฏิบัติอาจจะใช้กรรมฐานบทใดบทหนี่ง ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตนก็ย่อมได้ หรือ ดำเนินจิตเข้าสู่วิปัสสนาภาวนา โดยมีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เรียกสั้น ๆ ว่า มีแต่รูปกับนาม

สิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ "ขันธ์ ๕" (ที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น 5 อย่าง) ซึ่งนิยมเรียกกันว่า "รูป - นาม" โดย รูป มี ๑ ส่วน นาม นั้นมี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

ในที่นี้ เป็นแนวทางดำเนินจิตเข้าสู่วิปัสสนาภาวนา เมื่อเรากำหนดรู้ทันจิตที่แวบออกไปคิด (ไปยึดติด-ปรุงแต่ง) เรื่องอื่นใด(อารมณ์ใด) นั้น จิตก็เหมือนถูกปลุกให้ตื่นจากที่ไปยึดหรือปรุงแต่งความคิดนั้น เมื่อไม่ไปยึดไว้ เรื่องที่คิดหรืออารมณ์นั้นๆ ก็จะจางหายไปเอง คือ เมื่อ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ก็ดับไป ตามกฎไตรลักษณ์ นี่คือ วิปัสสนาภาวนาอย่างง่าย นั้นคือ การตามดู-รู้อารมณ์ –ละอารมณ์ของตนเองก่อน เมื่อละอารมณ์นั้นแล้ว ก็กลับมาทำสมาธิต่อไปโดยใช้สติ-สัมปชัญญะ ตามดู รู้ทัน จิต ให้อยู่กับอิริยาบถที่ กาย ทำอยู่ในปัจจุบันนั้น และทุกครั้งที่ จิต แวบออกไปจากอิริยาบถนั้น ก็ กำหนดรู้ ตามอารมณ์ ที่ จิตไปรับรู้ แล้วละอารมณ์โดยเห็นตามจริงตามกฎไตรลักษณ์ เมื่อละอารมณ์นั้นแล้ว ก็กลับมาทำสมาธิต่อไป ทำเช่นนี้ต่อเนื่องหมุนเวียนกันไป

จิตก็จะมีสมาธิและความละเอียดยิ่งขึ้นไปตามลำดับ สามารถกำหนดรู้อารมณ์นั้น ว่าเป็นนิวรณ์ธรรมใด (ความพอใจ , ฟุ้งซ่าน, …) เป็นอุปาทานใด (ธรรมารมณ์, ทิฐิ,…) เมื่อละอารมณ์นั้นแล้ว ก็กลับมาทำสมาธิต่อไป ทำเช่นนี้ต่อเนื่องหมุนเวียนกันไป เมื่อจิตได้รับการสอน รู้และละอารมณ์ จนสามารถแยกแยะอารมณ์ระหว่างจิตที่เป็นอิสระ กับ จิตที่เข้าไปยึดมั่นในรูป-นาม (จิตที่ทุรนทุราย เศร้าหมอง จิตที่ เป็นทุกข์) จะช่วยให้สามารถละวาง ด้วยความรู้ตามจริงตามหลักพระไตรลักษณ์ ได้ดีขึ้น

จิตที่มีกำลัง ว่องไว ชำนาญจะสามารถแยกแยะ รูป-นาม ที่ผัสสะผ่านทางอายตนะทั้ง 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เห็นกระบวนการเกิดซึ่งอารมณ์เหล่านั้น การชักนำโดย โลภะ โทสะ โมหะ การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลายอันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้นล้วนแต่มีอาการเป็น พระไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เกิดนิพพิทาญาณ คือ ญาณเห็นด้วยปัญญาถึงความไร้สาระและเกิดความหน่ายต่อการปรุงแต่งทั้งหลาย (ไม่ใช่อารมณ์เบื่อ ไม่พอใจ ของคนขี้เกียจ เซ็ง)

การเจริญสมาธิและวิปัสสนาควบคู่ต่อเนื่องกันไปตามที่กล่าวข้างต้นแล้วนั้น เป็นไปตามหลัก "สมาธิอบรมปัญญา" และ "ปัญญาอบรมสมาธิ"

เมื่อใดที่จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาจริง เรียกว่า จิตตกระแสธรรมตัดกิเลสได้ ปัญญาที่จะเห็นสภาพความเป็นจริงดังกล่าว ไม่ใช่แต่เพียงปัญญาที่จะนึกคิดและคาดหมายเอาเท่านั้น แต่เป็นการแจ้งในจิต ที่พระท่านเรียกว่า "ญาณทัสสนะ" เห็นเป็นเช่นนั้นจริง ๆ



ซึ่งจิตที่ได้ผ่านการอบรมสมาธิมาจนมีกำลังดีแล้ว ย่อมมีพลังให้เกิดญาณทัสสนะหรือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวได้ เรียกกันว่า "สมาธิอบรมปัญญา" คือสมาธิทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น และเมื่อวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นแล้ว ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลง จิตก็ย่อมจะเบาและใสสะอาดบางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับ สมาธิจิตก็จะยิ่งก้าวหน้าและตั้งมั่นมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก เรียกว่า "ปัญญาอบรมสมาธิ"



ทั้งสมาธิและวิปัสสนาจึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกันและอุปการะซึ่งกันและกันจะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นโดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของขณิกสมาธิเป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่ม สมาธิจึงเปรียบเสมือนกับหินลับมีด ส่วนวิปัสสนานั้นเหมือนกับมีดที่ได้ลับกับหินคมดีแล้ว ก็ย่อมมีอำนาจถากถางตัดฟันบรรดากิเลสทั้งหลายให้ขาดและพังลงได้



การดำเนินจิตเข้าสู่ วิปัสสนาภาวนา ในทางปฏิบัตินั้น คือ การนำสมาธิที่ได้จากการเจริญสติ-สัมปชัญญะ ดังกล่าวมาตามดู-รู้อารมณ์ ตนเอง กำหนดรู้ แล้วละวาง ด้วยความรู้ตามจริงตามหลักพระไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่มีสิ่งใดทนทานหรือตั้งอยู่ได้ มีความเสื่อมสลายและดับไปเป็นธรรมดา ทำให้เกิดความหน่าย (นิพพิทาญาณ) คลายความยึดมั่น ถือมั่นในอารมณ์นั้น หากกำลังสมาธิและวิปัสสนาญาณยังอ่อน ก็จะเห็นในรูป นิวรณ์ธรรม เราก็กำหนดรู้ แล้วละวางมาสู่อิริยาบถในปัจจุบัน เมื่อเรากำหนดรู้ทัน ว่าสิ่งที่เกิดเหล่านั้นเป็นอนิจจัง คือ ถ้าเราไม่ไปยึดหรือคิดฟุ้งซ่าน เมื่อเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ก็ดับไปเอง การฝึกหัดเช่นนี้ทำให้เกิดความชำนาญในการรู้และละอารมณ์ เป็นญาณทัสสนะเบื้องต้นในการรู้ตามจริง
http://www.jaisabuy.com/index.php?lay=s ... =538646255

..
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 344

โพสต์

ปุจฉา แยกแยะได้อย่างไรว่า ปฏิบัติอย่างไรเป็นสมถสมาธิ ปฏิบัติอย่างไรเป็นการวิปัสสนา

วิสัชนา มีหลักในการพิจารณาง่ายๆดังนี้

หลักปฏิบัติ สมถสมาธิ(สมถกรรมฐาน)

- ให้หยุดคิดหยุดนึกทั้งปวง มีแต่สติหรือจิตตั้งมั่นอยู่แต่ในอารมณ์ อันมีกำลังยิ่ง

หลักปฏิบัติ วิปัสสนา(วิปัสสนากรรมฐาน)

- ให้หยุดแต่การคิดนึกปรุงแต่ง มีแต่สติหรือจิตอยู่กับการคิดพิจารณา(ใช้ปัญญา)ในเหล่าธรรมอันเป็นกุศล อันเป็นปัญญายิ่ง

หลักปฎิบัติ สมถวิปัสสนา คือ การใช้ทั้งสมถสมาธิและการวิปัสสนาร่วมกัน

- เมื่อปฏิบัติสมถสมาธิ(สมถกรรมฐาน)เป็นกำลังแล้ว ให้เจริญวิปัสสนา(วิปัสสนากรรมฐาน) จึงยังทั้งกำลังและปัญญาอันยิ่งๆขึ้น

และหนึ่งในสมถวิปัสสนาอันดีงามยิ่ง คือการใช้ วิปัสสนาสมาธิ ในการปฏิบัติ

(ไปหัวข้อปุจฉา)



ปุจฉา สมาธิระดับใดที่ใช้ในการเจริญวิปัสสนา

วิสัชนา เป็นปัญหาที่สงสัยใคร่รู้หรือวิจิกิจฉาในนักปฏิบัติ ว่าควรใช้สมาธิระดับใดในการปฏิบัติจะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องดีงาม การใช้สมาธิในการเป็นเครื่องเกื้อหนุนในกิจของการเจริญวิปัสสนา สมาธิที่ใช้ในการเจริญวิปัสสนานั้น พอแยกออกได้เป็น ๒ วิธีด้วยกัน คือ

๑.เข้าสมาธิ จนถึงฌาน ๔ หรือตามกำลังสมาธิของตนเอง แล้วเมื่อถอนออกมาก็ให้ดำเนินการวิปัสสนาในธรรม ที่ควรมีตระเตรียมไว้ในใจ

๒.สมาธิระดับขณิกสมาธิ แล้วเจริญวิปัสสนาเลย สมาธิระดับขณิกสมาธิก็คือในระดับที่จิตตั้งมั่น ตั้งอยู่ในกิจหรือในงานได้อย่างมั่นคง ไม่สอดแส่ ซัดส่ายไปในกิจอื่นๆนั่นเอง ลองพิจารณาจากงานที่กระทำด้วยความตั้งใจ ด้วยความชอบ นั่นเป็นอาการของขณิกสมาธิ จะสังเกตุได้ว่าจิตจะอยู่ในกิจของตนได้อย่างแน่วแน่พอควร ไม่ซัดส่ายสอดแส่ไปในสิ่งต่างๆ ตั้งอกตั้งใจอยู่ในกิจหรือในธรรม และในการปฏิบัติแบบที่ ๒ นี้ เมื่อเจริญวิปัสสนาหรือปัญญาอยู่นั้น ฌานสมาธิก็สามารถประณีตขึ้นไปเป็นลำดับ กล่าวคือ เข้าสู่สภาวะของฌานสมาธิอันประณีตขึ้นเองได้โดยธรรมหรือธรรมชาติเช่นกัน อันเนื่องจากจิต วิตก วิจาร อยู่ในธรรมได้อย่างแน่วแน่นั่นเองจึงดำเนินไปในฌาน (อ่านรายละเอียดในเรื่อง ฌานสมาธิ) อันมีข้อดีคือขาดตัณหาในองค์ฌานของฌานสมาธิโดยตรง แต่เกิดขึ้นและเป็นไปโดยธรรม หรือเรียกวิธีนี้ว่า "วิปัสสนาสมาธิ"

ถ้าถามผู้เขียนว่า แล้วปฏิบัติอย่างใดดี ก็ต้องตอบว่า ปฏิบัติแบบข้อ ๒ เหตุที่กล่าวดังนี้เพราะ

ในสมัยนี้การปฏิบัติฌานสมาธิให้ถึงระดับประณีตโดยตรงทุกครั้งเป็นเรื่องลำบากทีเดียว ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาส กล่าวคือต้องมีระยะเวลาในช่วงปฏิบัติ ที่สงัด สงบ ไม่ใช่ ๗ วัน ๑๐ วันเท่านั้น กล่าวคือต้องปลีกวิเวก มิฉนั้นก็ถูกรบกวนด้วยสิ่งหรือเรื่องราวทางโลกต่างๆ อันวุ่นวายตามวิวัฒนาการความเจริญของโลก จึงเป็นการยากลำบากในการเจริญเจโตวิมุตติแต่ฝ่ายเดียวจนเชี่ยวชาญชำนาญยิ่งอย่างจริงจัง และมีโอกาสเกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้นก่อน จนเสียการได้ง่ายมากๆ หากขาดการเจริญวิปัสสนาอย่างจริงจังควบคู่กันไปด้วย และการขาดครูบาอาจารย์ผู้รู้ธรรมที่ต้องอบรมควบคุมจิตไม่ให้ออกไปนอกลู่ผิดทางในการปฏิบัติสมถสมาธิ ที่เมื่อพลาดพลั้งไปแล้ว มักจะไม่ยอมฟัง ยอมเชื่อใครง่ายๆเนื่องด้วยแต่อำนาจของฌานสมาธิเป็นเหตุให้ดึงดันในมิจฉาทิฏฐิ หรือมิจฉาญาณที่เกิดขึ้น อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน สมาธิขั้นใด? ที่จำเป็นในการปฏิบัติ

http://www.nkgen.com/708.htm
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 345

โพสต์

พระพุทธศาสนานี้มีความพิเศษอยู่ที่วิปัสสนา
เพราะเรื่องของสมถะนั้น ในสมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ฤาษีดาบสต่างๆเขาก็ทำกันอยู่แล้ว ทั้งการเหาะเหินเดินอากาศ การระลึกชาติได้การแสดงฤทธิ์ต่างๆได้ เขาทำกันได้อยู่ก่อนนานแล้ว ดังตัวอย่างของพระเทวทัตที่หลงทำกรรมชั่วจึงต้องตกนรก นี่ก็เพราะไม่ได้ทำวิปัสสนาเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามเป็นจริง
ถ้าได้เจริญวิปัสสนาต่อจนเป็นพระอริยบุคคลแล้วก็จะไม่หลงทำกรรมชั่วอีก พระอริยบุคคลทุกระดับท่านจะไม่หลงกลับไปทำกรรมชั่ว ทำให้ท่านไม่ตกต่ำอีก สามารถปิดอบายภูมิได้ เพียงแค่พระโสดาบัน (อริยบุคคล[๖] ชั้นที่๑) ท่านเป็นผู้ที่มีศีลอันบริสุทธิ์จะไม่หลงทำกรรมชั่วใดๆอีก ยิ่งระดับพระอรหันต์[๗] ท่านเป็นผู้ที่มีจิตบริสุทธิ์หมดจดจากอาสวะกิเลสทั้งหลายแล้วไม่ต้องเวียนเกิดอีก
ดังนั้น การปฏิบัติกรรมฐานไม่ว่าจะทำในรูปแบบใด สุดท้ายก็ต้องมาต่อวิปัสสนาให้ได้ ใครที่มีความถนัดสมถะก็ทำก่อน ให้มันได้สมาธิให้ได้จริงๆ แล้วยกจิตที่มีสมาธิให้เข้าสู่ไตรลักษณ์ให้เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ส่วนการเจริญสมถะนั้นพระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ มีอารมณ์ให้เพ่งมากมาย มีถึง ๔๐ อย่าง เช่น การเพ่งลมหายใจเข้า – ออก, การเพ่งซากศพ, การเจริญพรหมวิหาร ๔ เหล่านี้ก็ทำให้ได้ฌาน เพื่อทำสมถะ ได้ฌานแล้วก็มาต่อวิปัสสนาอีกทีหนึ่ง
————————-
[๖] อริยบุคคล มี ๔ ประเภท คือ
พระโสดาบัน = ท่านผู้เวียนเกิในสุคติภพอีกอย่างมากไม่เกิน ๗ ครั้ง ก็จะบรรลุอรหันต์
พระสกิทาคามี = ท่านผู้กลับมาอีกเพียงครั้งเดียว
พระอนาคามี = ท่านผู้ไม่กลับมาเกิดอีกในโลก นิพพานอยู่บนสวรรค์ชั้นสุทธาวาส
พระอรหันต์ = ท่านผู้ไม่เกิดอีกในภพใดๆ

[๗] พระอรหันต์ มี ๒ ประเภท คือ
สุกขวิปัสสก = ผู้สำเร็จอรหัตด้วยการเจริญวิปัสสนาล้วนๆ
สมถยานิก = ผู้เจริญสมถะจนได้ฌานสมาบัติแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาต่อจนได้สำเร็จอรหัต


รูปแบบที่ ๒ วิปัสสนาบุพพังคมสมถะ
บางคนสามารถปฏิบัติวิปัสสนาไปได้เลยตั้งแต่ต้น ไม่ต้องไปทำสมาธิก่อน ถ้าใช้สมาธิก็เพียงเล็กน้อยแค่ขณิกสมาธิ ผู้ปฏิบัติสามารถทำวิปัสสนาได้เลยโดยเจริญสติกำหนดรู้สภาวะปรมัตถธรรมต่างๆ ที่กำลังปรากฏทางกาย-ทางใจ ตลอดทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น
ทางกาย ก็โดยการกำหนดรู้ความรู้สึกที่กาย ได้แก่ ความเย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง หย่อน-ตึง สบาย-ไม่สบาย ที่กาย
ทางใจ ก็โดยการกกำหนดรู้ดูความนึกคิด ดูความรู้สึกของจิตใจ รู้สึกเป็นอย่างไรก็รู้ มีราคะ-ไม่มีราคะ มีโทสะ-ไม่มีโทสะ สงบ-ไม่สงบ ขุ่นมัว-ผ่องใส สบายใจ-ไม่สบายใจ ได้ยินก็รู้สภาพได้ยิน เห็นก็รู้สภาพเห็น รู้กลิ่น-รู้รสต่างๆ ก็มีสติระลึกรู้เป็นไปในสภาวปรมัตถ์ที่กำลังปรากฏโดยไม่เลือกอารมณ์ อารมณ์อันใดปรากฏ จะเป็นสี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่ปรากฏขึ้นมาในปัจจุบัน สติก็ระลึกรู้หมด รู้ตรงๆ รู้ปรมัตถ์ไปต่างๆ ผู้ที่จะเจริญสติหรือทำในรูปแบบที่ ๒ นี้ได้ ต้องมีปัญญามีความเข้าใจปริยัติ ไม่เช่นนั้นจะกำหนดไม่ถูก จะดูปรมัตถ์ไม่ถูก
การศึกษาปริยัติก็อาจจะศึกษาเพียงย่อๆ ศึกษาพอให้รู้ว่าอะไรเป็นบัญญัติ อะไรเป็นปรมัตถ์ อะไรเป็นรูป-เป็นนาม แล้วก็ลงมือปฏิบัติ บางคนอาจจะศึกษาอย่างละเอียดลงลึกในภาคทฤษฏี แต่สุดท้ายก็ต้องสรุปย่อความเพื่อนำมาปฏิบัติ บางคนเรียนมากก็เตลิดไปเลย จับมาปฏิบัติไม่ถูก บางคนก็เรียนพอให้รู้ในการนำมาปฏิบัติ ก็สามารถปฏิบัติไปได้ คือเรียนเฉพาะที่นำมาใช้ได้เท่านั้น ก็สำเร็จประโยชน์ได้
การเรียนก็ได้แก่ การฟัง การอ่าน การสนทนา การสอบถามก็สามารถจะนำสิ่งที่รู้เหล่านี้มาปฏิบัติได้เลย บางคนเรียนโดยละเอียดรู้ปริยัติกว้างขวางก็เป็นผู้ที่รอบรู้มากขึ้น มีโอกาสที่จะตัดสินอะไรต่างๆ ได้มากขึ้น แต่ว่าภาคปฏิบัตินั้นอาจจะปฏิบัติไม่เป็นก็ได้ มีความรู้ในด้านปริยัติมากมาย แต่ว่าท่านปฏิบัติไม่เป็นตัวอย่าง เช่น พระโปฐิละ
ท่านพระโปฐิละมีความรู้แตกฉานมากมายในพระไตรปิฏกมีลูกศิษย์ลูกหามาก แต่ว่าท่านก็ยังคงเป็นปุถุชนอยู่ สอนลูกศิษย์ให้เป็นถึงอรหันต์ก็เยอะ ทั้งภิกษุทั้งสามเณรเป็นอริยบุคคลมากมายแต่ตัวท่านยังไม่สำเร็จอะไรเลยเพราะว่ามัวแต่ศึกษาและสอน ไม่ได้ลงมือปฏิบัติเอง
วันหนึ่งท่านโปฐิละไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “ท่านโปฐิละ คัมภีร์เปล่ามาแล้วรึ?” เวลาจะกลับพระองค์ทรงตรัสว่า “โปฐิละ คัมภีร์เปล่าไปแล้วรึ” ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเรียกเช่นนั้น ก็เพื่อที่จะให้ท่านโปฐิละเกิดความสำนึกตัว
พระโปฐิละท่านเก็บคำตรัสเรียกเช่นนั้นมาคิดด้วยความแปลกใจว่า ทั้งๆที่ท่านก็มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฏก แต่ทำไมพระองค์ทรงตรัสเรียกเช่นนั้น ต่อมาท่านสำนึกได้ว่าท่านยังไม่ได้สำเร็จขั้นใดขั้นหนึ่งเลย ยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติเพื่อละกิเลสส่วนลูกศิษย์สำเร็จกันไปมากแล้ว
ดังนั้น ท่านจึงตั้งใจที่จะเข้าสู่ภาคปฏิบัติ คือ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน แต่พอจะลงมือปฏิบัติจริงๆ ท่านโปฐิละท่านไม่รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไร ทั้งๆที่ท่านรอบรู้ในภาคทฤษฏี แต่กลับไม่รู้ว่าจะเริ่มปฏิบัติที่ตรงไหนก่อน เสมือนคนที่เรียนวิชาชีพมา รู้แต่ทฤษฏีแต่ว่าไม่เคยจับเครื่องไม้เครื่องมือ พอถึงเวลาก็ทำไม่ถูกหรอก เพราไม่เคยทำเลย ทุกอย่างอยู่ในตำราหมด ต้องมาฝึกหัดงานให้เป็นก่อนจึงจะทำได้ ท่านโปฐิละนี่ก็เหมือนกัน ไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไร
ในที่สุดพระโปฐิละตัดสินใจไปถามภิกษุรูปหนึ่งซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่าน ลูกศิษย์รูปนั้นท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านทราบวาระจิตของอาจารย์ จึงตอบไปว่า “ท่านมีความรู้มากมาย เหตุใดท่านอาจารย์จึงมาถามกระผมเล่า? นิมนต์ท่านถามรูปอื่นเถิด” ลูกศิษย์ของท่านต่างก็เป็นพระอรหันต์ ปรากฏว่าไม่มีภิกษุรูปใดยอมสอนท่าน
พระโปฐิละไม่ทราบว่าจะทำประการใด ด้วยความที่อยากปฏิบัติมาก วันหนึ่งท่านจึงยอมบากหน้าไปถามสามเณรรูปหนึ่งที่ท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว สามเณรอรหันต์จึงถามว่า “ท่านจะเชื่อผมหรือ ผมเป็นแค่สามเณร” ท่านโปฐิละตอบว่า “บอกมาเถิดท่านเณร เราจะยอมทำตามทุกอย่าง”
นี่คือผู้หวังความเจริญ เขาจะยอมตัวได้ ไม่ว่าผู้ที่สอนจะเป็นผู้ใหญ่ หรือเด็ก หรือเป็นใครก็ตาม ผู้ที่หวังความรู้นั้นจะต้องลดตัวลงได้ มิฉะนั้นแล้วจะไปต่อไม่ได้
สามเณรท่านต้องการทดสอบว่าท่านโปฐิละจะทำตามจริงหรือเปล่า จึงบอกว่า “ถ้าอย่างนั้น ขอท่านอาจารย์เดินลงไปในสระน้ำนี่” ท่านโปฐิละก็เดินลงสระไปอย่างว่าง่าย พอสามเณรเห็นว่าเชื่อแน่แล้ว จึงบอกว่า “ท่านอาจารย์เชิญขึ้นมาได้”
เมื่อสามเณรทดสอบจนแน่ใจแล้วเช่นนั้น จึงบอกอุบายการปฏิบัติว่า “มีจอมปลวกอยู่จอมปลวกหนึ่ง มันมีช่องอยู่ ๖ ช่อง มีตัวเหี้ยเข้าไปในจอมปลวกนั้น จะจับมันได้อย่างไร?”
ท่านโปฐิละมีความรู้ในด้านปริยัติมาก พอฟังเพียงเท่านี้ก็บอกสามเณรว่า “พอแล้ว แค่นี้พอแล้วเณร” ท่านฟังอุปมาเพียงเท่านี้ก็เข้าใจในวิธีปฏิบัติ แล้วท่านก็นำมาปฏิบัติได้เลย
ประโยคที่สามเณรพูดนั้น หมายความว่า ช่องทั้ง ๖ นั้นเปรียบได้กับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นทางผ่าน จิตเป็นตัวไปรับอารมณ์ซึ่งผ่านเข้ามาทางทวารทั้ง ๖ นี้แหละ ผ่านช่องตาไปรับสี ผ่านช่องหูไปรับเสียง ผ่านช่องจมูกไปรับกลิ่น ผ่านช่องลิ้นไปรับรส ผ่านช่องกายไปรับโผฏฐัพพารมณ์ เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง หย่อน-ตึง ผ่านช่องใจไปรับธรรมารมณ์ต่างๆ
กิเลสเปรียบเสมือนตัวเหี้ย เราจะจับมันได้อย่างไร เจ้ากิเลสนี่สามเณรท่านหมายความว่า ให้ปิดช่องอื่นๆเสียก่อน ให้เหลือแต่ใจเพียงช่องเดียว ก็จะง่าย เปรียบเหมือนกับการปฏิบัติที่ต้องปฏิบัติทางใจ ดำเนินการทางใจโดยมีสติตามรู้ไป ตามพิจารณาไปในที่สุดพระโปฐิละก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์
http://dhammaway.wordpress.com/2012/05/ ... n-samatha/



:D
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 346

โพสต์

[๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมือง-
*โกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุ
อรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ
เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อม-
*สิ้นสุด ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอ
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ
ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอ
เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละ
สังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... em=170#170
....




http://dhammaway.wordpress.com/2011/12/ ... on-3-line/
ต่อไปนี้ก็จะได้ ปรารถธรรมะ ตามหลักธรรมคำสั่งสอน
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพื่อความรู้ความเข้าใจในแนวทางของการปฏิบัติ
ในการปฏิบัติกรรมฐานตามหลักที่พระพุทธองค์ได้แสดงไว้
ก็จะมีอยู่ 3 แบบด้วยกัน มีแนวทางอยู่ 3แบบ 3อย่าง
....
(ดึงหัวข้อมาก่อน)
ประการที่1 ก็คือการเจริญสมถะนำหน้า วิปัสสนาตามหลัง
ที่ท่านเรียกว่า สมถปุพพังคมวิปัสสนา วิปัสสนาที่มีสมถะนำหน้า
สำหรับในแบบที่ 2
แบบที่สองเป็นการเจริญวิปัสสนานำหน้า สมถะตามหลัง
เรียกว่า วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ
แบบที่ 3 ที่เรียกว่า ยุคนัทธสมถวิปัสสนา
การเจริญสมถะวิปัสสนาควบคู่กัน

ในทีนี้จะ ดึงมาเฉพาะ
แบบ2 วิปัสสนานำหน้า สมถะตามหลัง (ปัญญา-นำหน้า-สมาธิ)
สำหรับในแบบที่ 2
แบบที่สองเป็นการเจริญวิปัสสนานำหน้า สมถะตามหลัง
เรียกว่า วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ สมถะที่มีวิปัสสนานำหน้า
ก็คือเจริญวิปัสสนาไปเลย กำหนดรู้รูปนาม
กำหนดสภาวะปรมัตถ์ที่กำลังปรากฏ
ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เพียงขณิกสมาธิ สมาธิเล็กน้อย

แต่เป็นการใส่ใจระลึกรู้ตรงๆ
ต่อสภาวะ ต่อรูปนามที่ปรากฏ ไม่ใช้บัญญัติ
คนที่เจริญวิปัสสนานำหน้า ก็จะระลึกรู้ตรงๆ
ต่อสภาวะที่ปรากฏ ไม่ได้เจาะจงที่ใดที่หนึ่ง
แล้วก็เจริญได้ทุกอิริยาบท
ไม่ว่าจะอยู่ในการ ยืน เดิน นั่ง นอน
คู้ เหยียด เคลื่อนไหว
หลับตา ลืมตาอยู่ก็แล้วแต่
สติก็จะระลึกรู้ตรงๆ สัมผัสตรงต่อสภาวะที่ปรากฏ

เช่นระลึกรู้ทางตา ก็ตรงๆที่สภาพการเห็น
ระลึกรู้ทางหู ก็ตรงๆที่สภาพได้ยินเสียง
ทางจมูก ก็ระลึกตรงๆต่อสภาพรู้กลิ่น
ทางลิ้น ก็ระลึกรู้ตรงๆต่อสภาพรู้รส
ทางกาย ก็ระลึกรู้ตรงๆต่อความรู้สึกเย็นบ้าง ร้อนบ้าง
อ่อน แข็ง หย่อน ตึง รู้สึกสบาย ไม่สบาย
ทางใจก็ระลึกรู้ตรงๆต่อความคิด
มีความคิด ก็ระลึกลักษณะความคิด
ความรู้สึก อาการในจิต
เกิดการวิตก วิจาร วิจัย สงสัย พอใจ ไม่พอใจ
ก็ใส่ใจระลึกรู้ตรงๆ ต่อความรู้สึกอาการในจิตใจ
สบายใจก็รู้ว่าสบายใจตรงๆ
ไม่สบายใจก็รู้ความไม่สบายใจตรงๆ
สงบก็รู้ความสงบตรงๆ ไม่สงบก็รู้อาการไม่สงบ
ชอบก็รู้ ไม่ชอบก็รู้ ฟุ้งก็รู้ สงสัยก็รู้
จิตใจอิ่มเอิบก็รู้ จิตใจมีความสงบกายสงบใจก็รู้
มีสติเกิดขึ้นก็รู้ มีการพิจารณาในธรรมก็รู้
ใจมีความเพียรอยู่ก็รู้ ใจมีความเป็นกลางสม่ำเสมอดีก็รู้
รู้ตรงๆต่อลักษณะของสภาวะธรรมที่ปรากฏ

ไม่ได้ใช้บัญญัติ ไม่มีคำบริการรม
ไม่ตีความหมาย ไม่ขยายไปในสมมุติ
ระลึกรู้ตรงๆ อย่างปล่อยวาง อย่างสักแต่ว่า
อย่างไม่ว่าอะไร อย่างไม่เอาอะไร ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย

สติก็จะระลึกใส่ใจต่อสภาวะ ไม่เจาะจงที่ใดที่หนึ่ง
เมื่อเจริญสติระลึกรู้เท่าทันต่อสภาวะธรรมต่างๆ

ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง จมูก ลิ้น กาย ใจ
แล้วแต่สภาวะธรรมอะไรปรากฏ
เมื่อสติเท่าทันต่อสภาวะ
วางใจได้ดีเป็นกลางเหมาะสมถูกต้อง

สมาธิก็จะบวกขึ้นมาเองจิตจะเกิดสมาธิ รวมตัว ตั้งมั่น
เรียกว่าสมาธิก็เกิดขึ้นมา โดยไม่ต้องไปเพ่ง


ไม่ต้องไปเพ่งบัญญัติ อาศัยสติที่ระลึกรู้ต่อสภาวะเท่าทัน
อย่างปล่อยวาง สมาธิเกิดขึ้นมา
รวมตัว ตั้งมั่น แล้วสติก็ตามรู้สถาวะ
แม้จะสงบตั้งมั่น ในสภาวะสงบก็ยังรู้จิต รู้ใจ รู้ความรู้สึก
ที่สุดก็สามารถรู้แจ้งแทงตลอดในสัจธรรม


มีณาณหยั่งรู้เห็นความเปลี่ยนแปลง เห็นการเกิดดับ
เห็นสภาพบังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน
จิตรวมเข้าสู่สมาธิ ก็สามารถจะเกิดณานปัญญา

รู้แจ้งบรรลุมรรคผลนิพพาน
อันนี้เขาเรียกว่า เจริญวิปัสสนานำหน้า สมถะตามหลัง
เรียกว่า วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ
คือสมาธิเนี่ยเกิดขึ้นมาเอง ตามหลังขึ้นมา
เพราะยังไงๆมันก็ต้องมีสมาธิ
การจะเข้าถึงซึ่งความพ้นทุกข์ดับทุกข์นะ ต้องมีสมาธิ
ปัญญาต้องประกอบกันอยู่กับสมาธิ
.... :idea:
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 347

โพสต์

ข้างบน
ตรง
ท่านพระอานนท์
นั้นทั้งหมดมี 4 ข้อ
จึงเอาข้อ 4 มาไว้ด้วยกัน
อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้น
ย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัต
ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใด
อย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ
๔. ธัมมุทธัจจวิคคหิตมานัส วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์ คือความฟุ้งซ่านหรือตื่นธรรม คือการเข้าใจผิดยึดถือเอาผลที่ประสบในการระหว่าง ว่าเป็นมรรคผลนิพพาน
..
..
ง. วิธีปฏิบัติเมื่อจิตเขวเพราะธรรมุธัจจ์ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ อธิบายความหมายว่า เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ ๕ อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่โดยไตรลักษณ์เกิดมีโอภาส (แสงสว่าง) ญาณ ปิติ ปัสสัทธิ (ความสงบเย็น) สุข อธิโมกข์ (ความปลงใจเชื่อหรือสัทธาแก่กล้า) ปัคคาหะ (ความเพียรที่พอดี) อุปัฎฐาน (สติชัดหรือสติกำกับอยู่) อุเบกขา (จิตเรียบเสมอเป็นกลาง) หรือนิกันติ (ความติดใจ) ขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ปฏิบัตินึกถึงโอภาส ณาน ปิติ ปัสสัทธิ เป็นต้น นั้นว่าเป็นธรรม (คือเข้าใจว่ามรรค ผล หรือนิพพาน) เพราะเป็นการนึกไปเช่นนั้น ก็จะเกิดความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ผู้ปฏิบัติมีใจถูกชักให้เขวไปด้วยอุทธัจจะแล้ว ก็จะไม่รู้ตามความเป็นจริงซึ่งสภาพที่ปรากฏอยู่ โดยภาวะเป็นของไม่เที่ยง โดยภาวะเป็นทุกข์ โดยภาวะเป็นอนัตตา ดังนั้นจึงเรียกว่า มีจิตชักไปให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์ แต่ครั้งมีเวลาเหมาะที่จิตตั้งมั่นสวงสนิทลงภายในเด่นชัดเป็นสมาธิ มรรคก็เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัตินั้นได้ วิธีปฏิบัติที่จะให้จิตสวงเป็นสมาธิได้ ก็คือกำหนดด้วยปัญญา รู้เท่าทันฐานะทั้ง ๑๐ มีโอภาสเป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้ติตกวัดแกว่งหวั่นไหวเหล่านี้ เมื่อรู้เท่านทันก็จะเป็นผู้ฉลาดในธรรมุธัจจ์ จะไม่ลุ่มหลงคล้อยไป จิตก็ไม่หวั่นไหว จะบริสุทธิ์ ไม่หวงมัว จิตภาวนาก็จะไม่คลาด ไม่เสื่อม
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=702995
:|


rea
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 348

โพสต์

imerlot เขียน:....
การทำสมาธิและดำเนินจิตสู่วิปัสสนา (ภาคต้น)

การที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้.......
......
...... การฝึกหัดเช่นนี้ทำให้เกิดความชำนาญในการรู้และละอารมณ์ เป็นญาณทัสสนะเบื้องต้นในการรู้ตามจริง
http://www.jaisabuy.com/index.php?lay=s ... =538646255
ขอบคุณครับสำหรับบทความ โดยเฉพาะอันนี้ อ่านแล้วได้ประโยชน์มากเลยครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 349

โพสต์

key word
กะตะมา จัตตาโร. สติปัฏฐาน ๔ อย่าง คืออะไรบ้าง?,
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่,
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา. มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ,
วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง. พึงนำอภิชฌาและโทมนัส (ความยินดียินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ

...เพื่อเห็น..ทุกข์
....ไม่ยินดี ยินร้าย
ผู้ที่เกิดวิปัสสนาปัญญา เห็นโทษของเบญจขันธ์แล้ว
ก็เกิดความเบื่อหน่ายในทุกข์
ก็คือ เบื่อหน่ายในเบญจขันธ์นั่นเอง ไม่อยาก ไม่ยินดี ในเบญจขันธ์เลย

เมื่อเห็นทุกข์เห็นโทษอย่างนั้น ก็รู้สึกขึ้นมาว่า เพราะมีเบญจขันธ์นี่เอง ทุกข์โทษต่าง ๆ จึงมี และจะต้องได้รับความบีบคั้นคุกคาม ตราบเท่าทียังมีเบญจขันธ์อยู่ และท่านอุปมาเบญจขันธ์เหมือนกับเพชฌฆาต ที่กำลังเงื้อดาบจะฟันคอเพียงแต่ว่า ลงดาบเมื่อไหร่ เมื่อนั้นแหละเราก็จะตาย

ผู้ที่เจริญวิปัสสนาเห็นทุกข์โทษของเบญจขันธ์ว่าร้ายกาจเช่นนี้ ก็คลายความกำหนัดยินดีในเบญจขันธ์ และจะมีความรู้สึกเกิดขึ้นตามลำดับของวิปัสสนาญาณ โดยเห็นเบญจขันธ์เป็นภัย เห็นเป็นโทษและเกิดความเบื่อหน่ายเอง เห็นว่าเบญจขันธ์นี้เป็นทุกข์เป็นโทษมากมายเหลือเกิน ก็เบื่อหน่ายคลายความกำหนัดยินดีในเบญจขันธ์

ใจของผู้เจริญวิปัสสนาในเวลานั้นต้องการแต่จะพ้นเท่านั้น รู้สึกทีเดียวว่า ถ้าหากเรายังมีเบญจขันธ์อยู่ หรือความเกิดของนามรูปยังมีอยู่ แม้จะไปเกิดในสวรรค์ ในรูปพรหม อรูปพรหมก็ตาม ทุกข์ก็ต้องติดตามอยู่เรื่อยไป ไม่ชื่อว่าจะพ้นทุกข์ได้เลย จะไปอยู่ที่ภพไหน ภูมิไหนก็ตาม

เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา ท่านก็เห็นแล้วว่า เบญจขันธ์เป็นทุกข์ทั้งนั้น ก็เกิดความเบื่อหน่ายไม่มีความยินดี นิพพิทาญาณเกิดความเบื่อหน่ายในเบญจขันธ์ คือ ในทุกข์โทษของเบญจขันธ์ที่แลเห็นแล้วนั้น ท่านก็นึกทีเดียวว่า ถ้าเราไม่มีเบญจขันธ์เมื่อไหร่ เมื่อนั้นแหละก็จะพ้นทุกข์

แต่จะทำอย่างไร จึงจะพ้นเบญจขันธ์เสียได้ ความรู้สึกอันนี้ ที่ท่านอยากจะพ้นจากเบญจขันธ์นั้น ตามนัยอรรถกถาจารย์ ท่านบอกว่า ความรู้สึกของท่านผู้นั้นได้หยั่งลงแล้วในพระนิพพาน คือมุ่งไปแล้ว บ่ายหน้าไปแล้วยังพระนิพพาน

เพราะอะไร ? เพราะเห็นโดยประจักษ์ชัดแล้วว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นโทษ ไม่อยากจะมีขันธ์ ๕ เห็นการเกิด การปฏิสนธิ เป็นภัย ท่านอุปมาไว้มากมายในความรู้สึกของท่าน

โดยเหตุนี้เอง กิเลส คือความยินดี ความกำหนัดในเบญจขันธ์จึงละได้ กิเลสเข้าไม่ได้ ทำลายความยินดีออกไป ยิ่งเห็นโทษมาก ก็ยิ่งคลายความกำหนัดยินดีออกไปทุกที ๆ ท่านบอกว่า จิตนี้ได้บ่ายหน้าเข้าหาพระนิพพานแล้ว

ผู้ที่เห็นว่าไม่มีเบญจขันธ์นี้แหละ จะพ้นทุกข์ เพราะว่าใน ๓๑ ภพภูมิ ที่ไม่มีขันธ์นั้นไม่มีเลย มีแห่งเดียวเท่านั้นที่ไม่มีขันธ์เลยคือพระนิพพาน

ดังนั้น ถึงแม้จะไม่รู้ ยังทำพระนิพพานให้แจ้งไม่ได้ แม้ทางพระนิพพานเป็นทางที่พ้นทุกข์ จะมีอยู่จริงหรือไม่ก็ตาม จิตนั้นก็ได้บ่ายไปในที่ตรงนั้นแล้ว คือ คลายความยินดีแล้วในขันธ์ ๕ ทุก ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นอะไร ไม่มีความยินดีเลย และจิตก็บ่ายไปหาความไม่มีเบญจขันธ์ นี่ชื่อว่า บ่ายหน้าเข้าหาพระนิพพาน

เมื่อเห็นทุกข์โทษว่า มาจากเบญจขันธ์เพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ ความอยากพ้นจากเบญจขันธ์ก็มากขึ้นเท่านั้น จิตก็เขยิบใกล้พระนิพพานเข้าไปทุกขณะ เพราะอะไร ? เพราะกิเลสก็น้อยลงไปและตัณหาก็น้อยลงไปทุกที จิตก็ยิ่งเพ่งแน่เข้าทุกขณะ เมื่อตัณหาหมดถึงที่สุดลงเมื่อไหร่ เมื่อนั้นก็สิ้นตัณหาถึงพระนิพพาน นี่เหตุผลต้องเป็นอย่างนี้

แต่เท่าที่เคยได้ยินได้ฟังท่านผู้ปฏิบัติวิปัสสนา คือ
แทนที่ท่านจะเห็นทุกข์ในเวลาเจริญวิปัสสนา ท่านกลับไปเห็นความสุข ความสงบ ปีติ เยือกเย็น แล้วก็เกิดความพอใจ พอใจอะไร ก็พอใจเบญจขันธ์ นั่นเอง ตัวสงบ ปีติ เยือกเย็น เหล่านี้ ก็คือ เบญจขันธ์ ทั้งนั้น ไม่ใช่อะไรอื่นเลย เบญจขันธ์ที่เกิดกับสุขเวทนาก็มี เกิดกับทุกขเวทนาก็มี หากแต่ว่า ผู้ปฏิบัตินั้น รู้จักแต่ชื่อ

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-06.htm
..
เรื่องจอมปลวกที่มี 6 รู
ก่อนหน้านี้

ทำให้กลับมาทบทวน
สมมติว่า ชอบกินอาหารปรุงเผ็ดๆ
แต่กระเพราะไม่ดี
เวลาเรากินนะ ปากกับลิ้น มีความสุข รับรู้ว่า อร่อย.. ซึ่งมันสั้นมาก
แค่คัดกรองให้ผ่านเข้าปาก
แต่กระเพราะ มันไม่มีตุ่มรับรู้ อร่อย หรอก แต่ มันต้อง มาทรมานกับ
ความเผ็ด..อีกหลายๆชั่วโมง

กระเพาะ มัน
ไม่ยินดียินร้าย กับ รสชาติ รูปสวยงามหรอก
เข้าไปแล้ว มันก็ปนๆกันหมด
กระเพาะต้องการแต่ สารอาหารที่มีประโยชนื กับร่างกาย
แต่มันไม่มีอำนาจ เลือก
ปากมีอำนาจ แต่ก็เลือก ตาม ที่มันปรุงแต่งๆๆ...ที่ตอบสนองความพอใจ..ของปาก
ไม่ได้ดูเนื้อหา..
???
..เข้าทำนอง ตามใจปากลำบากท้อง..555
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 350

โพสต์

keyword
อาตาปี ได้แก่ วิริยะ คือ ความเพียรในสัปปธาน ๔
สัมปชาโน ได้แก่ ปัญญา คือ ปัญญาในสัมปชัญญะ ๔
สติมา ได้แก่ สติ ที่ระลึกรู้รูปนาม ในสติปัฏฐาน ๔
....


credit
source:

http://topicstock.pantip.com/religious/ ... 76840.html
..
http://group.wunjun.com/agaligohome/topic/214341-5704
..


หลักของวิปัสสนาโดยสังเขป (อาจารย์แนบ มหานีรานนท์)

หลักของวิปัสสนาโดยสังเขป

วิปัสสนา เป็นหลัก สำคัญในพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง ผู้ประสงค์จะปฏิบัติวิปัสสนากรรม ฐานนั้น ควรทำความเข้าใจในเรื่องวิปัสสนาให้ถูกต้องเสียก่อน หลักของวิปัสสนาที่ควรเข้าใจ มีดังนี้ คือ :-

• วิปัสสนา คืออะไร ?
วิปัสสนา เป็นชื่อของ ปัญญา ที่เห็นนามรูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ไม่ใช่เห็นพระพุทธเจ้า, พระอินทร์, พระพรหม, เห็นนรก, เห็นสวรรค์ หรือเห็นอะไรอื่น ๆ

• อารมณ์ของวิปัสสนา ได้แก่อะไร ?
เมื่อวิปัสสนา คือ ปัญญา ที่เห็นนามรูปไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นอนัตตาแล้ว อารมณ์ของวิปัสสนาก็ได้แก่ นามรูป นั่นเอง
การ เจริญวิปัสสนา จะต้องกำหนด นามรูป ที่เป็น ปัจจุบัน จึงเห็นนามรูปที่เป็นไตรลักษณ์ได้ ถ้ากำหนดดูอย่างอื่นแล้ว ก็ไม่มีเหตุผลเลยที่จะเห็นสภาวะของนามรูปเป็นไตรลักษณ์ได้

• ประโยชน์ของวิปัสสนา มีอย่างไร ?
ประโยชน์เบื้องต้น ย่อมทำลายวิปลาสธรรม คือ ความเห็นรูปนามผิดไปจากความจริง ๔ ประการ คือ

สุภวิปลาส ได้แก่ เห็นรูปนามว่า เป็นของดีงาม
สุขวิปลาส ได้แก่ เห็นรูปนามว่า เป็นสุข
นิจวิปลาส ได้แก่ เห็นรูปนามว่า เป็นของเที่ยง
อัตตวิปลาส ได้แก่ เห็นรูปนามว่า เป็นตัวเป็นตน
ประโยชน์สูงสุด ทำให้ถึงสันติสุข คือ แจ้งพระนิพพาน

• ธรรมที่เป็นอุปสรรคแก่วิปัสสนาได้แก่อะไร ?
อุปสรรค ของวิปัสสนา คือธรรมที่เป็นเครื่องปิดบังไตรลักษณ์ไม่ให้เห็นความจริงของนามรูป โดยเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้น โดยสังเขปมีดังนี้

๑) สันตติ ปิดบังอนิจจัง สันตติ หมายถึง การเกิดขึ้นติดต่อสืบเนื่องกันของนามและรูปอย่างรวดเร็ว ทำให้เห็นเหมือนกับว่า นามและรูปนั้น ยังมีอยู่เรื่อย ๆ ไป จึงเป็นเครื่องปิดบังไม่ให้เห็น อนิจจัง คือความไม่เที่ยงของนามและรูป เมื่อเห็นความจริงของนามและรูปไม่ได้ ก็ต้องเกิดความสำคัญผิดเรียกว่า นิจจวิปลาส คือความเห็นผิดว่า นามรูปเป็นของ “ เที่ยง ”

๒) อิริยาบถ ปิดบังทุกข์ หมาย ถึงการที่ไม่ได้พิจารณาอิริยาบถ จึงไม่เห็นว่านามและรูปนี้ มีทุกข์เบียดเบียนบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เมื่อไม่เห็นว่าเป็นทุกข์ก็เข้าใจว่าเป็นสุข เรียกว่า “ สุขวิปลาส ” สำคัญ ว่า นามรูปเป็นสุข เป็นของดี อำนาจของทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดจึงเกิดขึ้นและเป็นปัจจัยแก่ตัณหา ทำให้ปรารถนาดิ้นรนไปตามอำนาจของตัณหาที่อาศัยนามรูปเกิดขึ้น เพราะเหตุที่ไม่ได้พิจารณาอิริยาบถ จึงทำให้ไม่เห็นทุกข์ และทำให้ “ สุขวิปลาส ” เกิดขึ้น

๓) ฆนสัญญา ปิดบังอนัตตา ฆนสัญญา คือ ความสำคัญผิดของสภาวธรรม ที่รวมกันอยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อน คือรูปนามขันธ์ ๕ นั้นว่า เป็นตัวเป็นตน เป็นคน เป็นสัตว์ และสำคัญว่า มีสาระแก่นสารจึงทำให้ไม่สามารถมีความเห็นแยกกันของนามรูปแต่ละรูป แต่ละนาม เป็นคนละอย่างได้

เมื่อไม่สามารถกระจายความเป็นกลุ่มเป็น ก้อน คือฆนสัญญา ให้แยกออกจากกันได้แล้ว เราก็ไม่มีโอกาสที่จะเห็นอนัตตา คือ ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนได้ เมื่อไม่เห็นอนัตตา วิปลาสที่เรียกว่า “ อัตตวิปลาส ” คือความสำคัญผิด คิดว่าเป็นตัวเป็นตน หรือเป็นเราก็ต้องเกิดขึ้น และจะเป็นปัจจัยแก่ตัณหา ทำให้มีความปรารถนา เห็นว่าเป็นของดี มีสาระเกิดขึ้น

การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จึงจำเป็นต้องทำลายอุปสรรคสิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ทั้ง ๓ นี้ให้หมดไป เมื่อสิ่งที่ปิดบังนี้ถูกทำลายไปแล้ว วิปลาส ซึ่งเป็นผล ก็ต้องถูกทำลายไปด้วย

• ธรรมที่เป็นอุปการะแก่วิปัสสนา มีอะไรบ้าง ?
การเจริญวิปัสสนา ต้องปฏิบัติตามสติปัฏฐาน ๔ ฉะนั้น สติปัฏฐาน จึงเป็นเหตุให้เกิดวิปัสสนาโดยตรงและมีธรรมที่เข้าร่วมประกอบกับวิปัสสนาอีก เช่น วิปัสสนาภูมิ ๖, ญาณ ๑๖ หรือวิปัสสนาญาณ ๙ และวิสุทธิ ๗ เป็นต้น
สติ ปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน คือฐานที่ตั้งของสติหรือฐานที่รองรับการกำหนดของสติอย่างประเสริฐ สามารถนำจิตให้ดำเนินไปถึงพระนิพพานได้มี ๔ หมวด คือ
หมวดที่ ๑ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มี ๑๔ ปัพพะ ได้แก่

๑) อานาปานปัพพะ ๒) อิริยาบถปัพพะ๓) สัมปชัญญปัพพะ ๔) ปฏิกูลปัพพะ๕) จตุธาตุปัพพะ ๖) อสุภะ ๙ ปัพพะ

หมวดที่ ๒ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มี ๙ ปัพพะ ได้แก่
๑) สุขเวทนา ๒) ทุกขเวทนา๓) อุเบกขาเวทนา เป็นต้น
เมื่อมีเวทนาอันใดอันหนึ่งปรากฏขึ้น ก็รู้ นามเวทนา นั้นฯ

หมวดที่ ๓ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มี ๑๖ ปัพพะ ได้แก่
๑) จิตมีราคะ ๒) จิตไม่มีราคะ๓) จิตมีโทสะ ๔) จิตไม่มีโทสะ๕) จิตมีโมหะ ๖) จิตไม่มีโมหะ๗) จิตฟุ้งซ่าน ๘) จิตไม่หดหู่ เป็นต้น เมื่อจิตใดปรากฏขึ้น ก็รู้ นามจิต นั้นฯ

หมวดที่ ๔ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน มี ๕ ปัพพะ ได้แก่

๑) นิวรณปัพพะ ๒) ขันธปัพพะ๓) อายตนปัพพะ ๔) โพชฌงค์ปัพพะ๕) อริยสัจปัพพะ เมื่อธรรมใดปรากฏขึ้น ก็รู้ นามรูป นั้นฯ

สติปัฏฐาน ๔ นี้ มีทั้งสมถะ และวิปัสสนา
กายะนุปัสสนาสติปัฏฐาน อิริยาบถ, สัมปชัญญะ และจตุธาตุมนสิการ เป็นวิปัสสนา ส่วนอานาปานปัพพะ, ปฏิกูลปัพพะ และอสุภ ๙ ปัพพะ ต้องเจริญสมถะก่อน แล้วจึงยกขึ้นสู่วิปัสสนาภายหลัง
สำหรับ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน, จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นวิปัสสนาล้วน ๆ

สงเคราะห์สติปัฏฐาน ๔ ลงในขันธ์ ๕ หรือรูปนาม ได้ดังนี้
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ รูปขันธ์ เป็น รูปธรรม
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ เวทนาขันธ์ เป็น นามธรรม
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ วิญญาณขันธ์ เป็น นามธรรม
ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ ขันธ์ ๕ เป็น รูปกับนาม
สรุปอารมณ์ของสติปัฏฐานโดยย่อ ก็ได้แก่ รูปธรรม กับ นามธรรม

ความหมายของสติปัฏฐาน
สติปัฏฐานมีอย่างเดียว ด้วยอำนาจแห่งการระลึก
สติปัฏฐานมี ๔ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์

ฉะนั้น สติปัฏฐาน จึงเป็นได้ทั้ง ผู้เพ่งอารมณ์ กับ อารมณ์ที่ถูกเพ่ง ส่วนตัวเห็นเป็น วิปัสสนา คือปัญญาที่เห็นรูปนามไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา นั่นเอง

องค์ธรรมของสติปัฏฐาน โดยฐานะผู้เพ่งอารมณ์ที่จะทำลายอภิชฌาและโทมนัสให้พินาศนั้นประกอบด้วย อาตาปิ สัมปชาโน สติมา
อาตาปี ได้แก่ วิริยะ คือ ความเพียรในสัปปธาน ๔
สัมปชาโน ได้แก่ ปัญญา คือ ปัญญาในสัมปชัญญะ ๔
สติมา ได้แก่ สติ ที่ระลึกรู้รูปนาม ในสติปัฏฐาน ๔

อารมณ์ ของวิปัสสนา ได้แก่ วิปัสสนาภูมิ ๖ คือ ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๒๒, อริยสัจ ๔ และปฏิจจสมุปบาทองค์ ๑๒ ซึ่งเมื่อย่อวิปัสสนาภูมิ ๖ ลงแล้วก็ได้แก่ รูป กับ นามรูปกับนาม เป็นตัวกรรมฐาน ที่จะทำไปใช้ในการปฏิบัติหรือเป็นครูที่จะสอนให้เกิดปัญญาที่เรียกว่า “ วิปัสสนา ” ได้
ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษารูปนามให้เข้าใจ จนคล่องแคล้วเสียก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติ

รูปนามตามทวารทั้ง ๖
เวลาเห็น สีต่าง ๆ กับจักขุปสาท เป็นรูป
ผู้เห็น คือ จักขุวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลาได้ยิน เสียงต่าง ๆ กับโสตปสาท เป็นรูป
ผู้ที่ได้ยิน คือ โสตวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลาได้กลิ่น กลิ่นต่าง ๆ กับฆานปสาท เป็นรูป
ผู้ที่รู้กลิ่น คือฆานวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลารู้รส รสต่าง ๆ กับชิวหาปสาท เป็นรูป
ผู้ที่รู้รส คือ ชิวหาวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลาถูกต้อง ดิน, ไฟ, ลม กับกายปสาท เป็นรูป
ผู้รู้สึกถูกต้องคือกายวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลาคิดนึก อาการนั่ง, นอน, ยืน, เดิน เป็นรูป
ผู้รู้อาการนั่ง, นอน, ยืน, เดิน เป็นนาม
หรือ อาการที่ง่วง, ฟุ้ง, สงบ เป็นนาม
ผู้รู้อาการง่วง, ฟุ้ง,สงบ เป็นนาม

เมื่อ เข้าใจนามรูปตามทวารทั้ง ๖ ดีแล้ว และจะเจริญสติปัฏฐาน ต้องกำหนดที่นาม หรือรูป ตรงที่ทิฏฐิกิเลสอาศัยในอารมณ์นั้นเพื่อไถ่ถอนสักกายทิฏฐิ หรือทำลายวิปลาสธรรม คือ :-

เวลาเห็น ให้กำหนด นามเห็น เพราะทิฏฐิกิเลสยึดนามเห็นว่า เป็น เรา เห็น
เวลาได้ยิน ให้กำหนด นามได้ยิน เพราะสำคัญผิดที่นามได้ยินว่า เรา ได้ยิน
เวลารู้กลิ่น ให้กำหนด รูปกลิ่น เพราะสำคัญผิดที่รูปกลิ่นเป็น เราว่า เราเหม็นหรือเราหอม
เวลารู้รส ให้กำหนด รูปรส เพราะสำคัญผิดที่รูปรสเป็น เราว่า เราอร่อยหรือเราไม่อร่อย
เวลาถูกต้อง ให้กำหนด รูปแข็ง-อ่อน, เย็น-ร้อน, เคร่งตึง-เคลื่อนไหว เพราะสำคัญผิดที่รูปว่า เป็นเรา เป็นต้นว่า เราร้อน หรือเราหนาว|
เวลา คิดนึก กำหนด ได้ทั้งรูป หรือนาม แล้วแต่ทิฏฐิกิเลสอาศัยอยู่ในอารมณ์ใด ก็กำหนดรู้ตามความจริงของอารมณ์นั้น เช่น เวลานั่ง, นอน, ยืน, เดิน ให้กำหนด รูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน หรือ รูปเดิน ขณะที่รูปกายตั้งอยู่ในอาการ นั้นเวลานึกคิด, ง่วง, ฟุ้ง, สงบ ให้กำหนด นามคิดนึก, นามง่วง, นามฟุ้ง, นามสงบ เป็นต้น


อารมณ์ปัจจุบัน มีความสำคัญในการเจริญวิปัสสนามาก เพราะเป็นอารมณ์ของ สติสัมปชัญญะที่จะทำลายอภิชฌาและโทมนัส คำว่า “ ปัจจุบัน ” ในที่นี้มี ๒ อย่างคือ ปัจจุบันธรรม กับ ปัจจุบันอารมณ์

ปัจจุบันธรรม ได้แก่ รูปนาม ที่กำลังปรากฏอยู่ตามธรรมดาของสภาวธรรมนั้น ๆ
ปัจจุบันอารมณ์ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติจับปัจจุบันธรรมที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้านั้นมาเป็นอารมณ์ได้ อารมณ์นั้น จึงชื่อว่า ปัจจุบันอารมณ์

การกำหนดอิริยาบถ
การเจริญวิปัสสนานั้น เพื่อสะดวกแก่ผู้ที่ยังใหม่ต่อการปฏิบัติ หรือผู้ที่มีกิเลสหนาปัญญาน้อยควรกำหนดอิริยาบถตามในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะเป็นอารมณ์ที่ปรากฏชัด และมีอยู่เป็นประจำจึงพิจารณาได้ง่าย และการพิจารณาอิริยาบถ ก็เพื่อทำลายสิ่งที่ปิดบังทุกข์ สิ่งที่ปิดบังถูกทำลายลงเมื่อใด ก็จะเห็นทุกข์ของความจริงได้เมื่อนั้น

ฉะนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติ มีความเข้าใจนามรูปจากการศึกษาดีแล้ว ก็พึงกำหนดนามรูปใน อิริยาบถ ปัพพะ ดังนี้
ในเวลาที่นั่งอยู่ ก็ให้มีความรู้สึกตัวว่า ดู รูปนั่ง
เวลานอน ก็ให้มีความรู้สึกตัวว่า ดู รูปนอน
เวลายืน ก็ให้มีความรู้สึกตัวว่า ดู รูปยืน
เวลาเดิน ก็ให้มีความรู้สึกตัวว่า ดู รูปเดิน


ความรู้สึกตัว คือ สติสัมปชัญญะของผู้ปฏิบัติขณะที่กำหนดรูปอิริยาบถอยู่ ซึ่งขณะนั้น ผู้ปฏิบัติรู้สึกตัวว่า กำลังดูรูปอะไรอยู่

มีหลักอยู่ว่า ขณะปฏิบัตินั้น มีตัวกรรมฐานกับผู้เจริญกรรมฐาน ตัวกรรมฐาน ได้แก่รูปอิริยาบถเป็นตัวถูกเพ่ง

ส่วน ผู้เจริญกรรมฐาน ได้แก่สติสัมปชัญญะเป็นตัวเพ่ง ความรู้สึกตัว คือรู้สึกว่า ตัวผู้เพ่ง กำลังดู ตัวที่ถูกเพ่ง อยู่ ความรู้สึกตัวนี้ มีความสำคัญยิ่งในการเจริญวิปัสสนา

ถ้าความรู้สึกตัวมีมากเท่าไร ก็ได้อารมณ์ปัจจุบันมากเท่านั้น
การ ให้มีความรู้สึกตัวดูรูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน, รูปเดิน ในเวลาที่นั่ง, นอน, ยืน, เดิน อยู่ก็เพื่อแยกรูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน, รูปเดิน ออกไปเป็นคนละส่วนเพื่อทำลายฆนสัญญาที่ปิดบังอนัตตาและการกำหนดที่จะต้องให้ ได้อารมณ์ปัจจุบัน คือเวลาที่กำลังนั่ง, กำลังนอน, กำลังยืน, กำลังเดินอยู่ ต้องทำความรู้สึกตัวให้อยู่กับอารมณ์ปัจจุบันนั้น ๆ เสมอ
รูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน, รูปเดิน อยู่ที่อาการหรือท่าทาง ที่นั่ง, ที่นอน, ที่ยืน, ที่เดิน นั้น ๆ ในสติปัฏฐาน แสดงว่า
“ เมื่อกายตั้งไว้ในอาการอย่างไรก็ให้รู้ชัดในอาการของกายที่ตั้งไว้แล้วในอาการอย่างนั้นๆ ” คือ
รู้รูปนั่ง ตรงอาการ หรือท่าทางที่นั่ง
รู้รูปนอน ตรงอาการหรือท่าทางที่นอน เป็นต้น
ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่ดูรูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน, รูปเดิน ขณะกำลังปรากฏเป็นอารมณ์ปัจจุบันอยู่เท่านั้น
รูปอิริยาบถนี้แหละ จะทำหน้าที่เป็นครูสอนให้รู้ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือเป็นอนัตตา

ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติ จึงมีหน้าที่เข้าไปพบครู รูปนาม ก่อนเท่านั้น และการเข้าพบครู รูปนาม ได้อย่างนั้นโปรดพิจารณาได้จาก “ หลักปฏิบัติ ๑๕ ข้อ ” สำหรับผู้เริ่มเข้ากรรมฐานต่อไป

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ฯ
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ฯ
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ
ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

เมื่อใดเห็นด้วยปัญญาว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง, เป็นทุกข์ เห็นธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตาเมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี่เป็นทางให้ถึงธรรมที่หมดจดวิเศษ.

โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
...
:bow: :bow: :bow:
happymom
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 108
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 351

โพสต์

ขอขอบพระคุณ คำถามของท่านอาจารย์ และ ความเห็นของทุกท่านค่ะ

ขอเรียนว่าเป็น "กระทู้ในดวงใจ" ค่ะ :P
cobain_vi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 358
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 352

โพสต์

[quote="Dech"]ขออนุโมทนากับทุกท่านนะครับ
เรื่องหนังสือที่พี่ cobain_vi แนะนำนั้น
ให้ไปซื้อนะครับ เล่มละ 100 บาท เท่านั้นครับ อุดหนุนคนพิมพ์หน่อยครับ
ถ้าใครจะหาซื้อ ที่มูลนิธิหลวงปู่มั่น ถนนจรัลสนิทวงค์ 37 มีขายตลอดนะครับ

ตามนั้นครับ :D เล่มนี้เมื่อก่อนเค้าพิมพ์แจกเฉพาะพระครับ พอโยมเห็นคงชอบกันหลายคนเลยพิมพ์แจกกันเต็มเลย ไปตามวัดครูบาอาจารย์จะเห็นวางแจกเยอะมาก ปีที่แล้วผมไปอยู่ที่วัดภูสังโฆ ยังเห็นคนเอามาวางไว้เต็มเลย เล่มนี้ดีจริงๆ ผมพกไว้ในรถตลอด อ่านกี่ทีๆก็ไม่เบื่อเลยครับ
ถ้าไม่สะดวกหาก็โหลดเก็บไว้ในรูปebookได้เลยครับ แต่ถ้าจะได้อรรถรสต้องอ่านจากหนังสือกระดาษครับ
เคยตั้งใจไว้ว่าอยากจะพิมพ์หนังสือเล่มนี้แจก เดี๋ยวไว้ใครอยากร่วมทำบุญพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ผมจะขออนุญาติชวนนะครับ ร่วมทำบุญด้วยกัน เอาไปแจกตามวัดครูบาอาจารย์กันครับ
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 353

โพสต์

cobain_vi เขียน:เดี๋ยวไว้ใครอยากร่วมทำบุญพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ผมจะขออนุญาติชวนนะครับ ร่วมทำบุญด้วยกัน เอาไปแจกตามวัดครูบาอาจารย์กันครับ
ทำเมื่อไหร่ อย่าลืมแจ้งด้วยนะครับ
ผมกำลังอยากได้อยู่พอดี จะเอาไปแจกด้วยคน

ก่อนหน้านั้น เคยนำเรื่อง ชาติสุดท้าย ไปแจก แป๊ปเดียวก็แจกหมดครับ
เป็นอะไรที่ทำแล้วมีความสุขมากครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 354

โพสต์

ปล ผมเห็นในเวบบางแห่งเมื่อเดือนที่แล้ว
เห็นเขาร่วมกันพิมพ์เล่มล่ะ 67 บาทครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
koko8889
Verified User
โพสต์: 39
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 355

โพสต์

ผมอยากได้คำแนะนำถึง "ปัญญาอบรมสมาธิ" ว่าควรต้องนำไปปฏิบัติอย่างไรครับ

ปัญญาเกิดเมื่อเห็นความจริงตรงตามความเป็นจริงในปัจจุบัน

สมาธิเกิดเมื่อหมดความคิด, หมดประสบการณ์,หมดความรู้ตามปริญญาตรี โท เอก,หมดความสงสัย, หมดเงื่อนไขวิชาการต่าง ๆ, หมดข้อถกเถียง, หมดเงื่อนไขต่างๆ ที่ตัวเองและผู้อื่นสร้างขึ้นมา ฯลฯ

วิธีปฏิบัติ “ปัญญาอบรมสมาธิ” คือ การเข้าใจ “ผล” เพื่อไปอบรม “เหตุ” สิ่งนี้เหมาะกับคนเมืองใหญ่ที่วุ่นวายเกี่ยวกับความคิดและสิ่งเร้าต่าง ๆ

วิธีปฏิบัติ “สมาธิอบรมปัญญา” คือ การสร้าง “เหตุ” มากขึ้นจนได้ระดับที่สมบูรณ์ “ผล” เกิดขึ้นมาเอง

สองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ถกเถียงกันตามสำนักต่างๆ โดยทั่วไป แท้จริงแล้วก็คือ ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อนกัน ซึ่งไม่มีคำตอบในตอนนี้ แต่ถ้าท่านปฏิบัติแล้วผลเป็นสิ่งเดียวกับธรรมะแล้ว ท่านจะรู้ว่าคำตอบคืออะไร รู้เองเข้าใจเอง หมดคำถามหมดคำตอบ หมดการแสวงหาครูบาอาจารย์ เห็นสิ่งเดียวกันหมด จบปริญญาทางธรรมเบื้องต้น..จากนั้นก็ยังต้องปฏิบัติสม่ำเสมอเพื่อนำไปใช้สำหรับผ่าน..ปริญญาทางธรรมขั้นสุดท้าย..ตัดสินตอนช่วงเวลาที่จากโลก(ขันธ์5 แตกดับคืนสู่ธรรมชาติ) สิ่งที่เข้าใจทั้งหมดนั้นจะมาใช้ทันช่วงเวลาแห่งการพลัดพรากไหม..ถ้าทันเวลา สะอาด สงบ สันติ ก็จบบริบูรณ์อวสานไม่มีตอนต่อไป..แต่ถ้าไม่ทันเวลา ห่วง เสียดาย อาลัยอาวรณ์ ก็ไม่จบมีต่อ ภาค 2, ภาค 3, และภาคต่าง ๆ

อนึ่ง สิ่งที่ผมเขียนอธิบายนี้ไม่ต้องการอ้างอิงตามคัมภีร์ใดหรืออ้างอิงจากอาจารย์ท่านใด เพราะท่านทั้งหลายทั้งปวงและผมก็อยู่ภายใต้สภาวธรรม(สัจจะธรรม)เดียวกัน ดังนั้น ขอให้ทุกท่านทุกคนเจริญทางธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อส่งผลจบบริบูรณ์อวสานไม่มีตอนต่อไปเทอญ.
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4940
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 356

โพสต์

ขออนุโมนาสาธุกับทุกท่านนะครับ

สมมุติว่าผมไม่เคยสนใจเรื่องนี้ พึ่งมาสนใจ
มาอ่านแบบนี้ไม่รู้เรียกว่ามันส์หรืองงดี
แต่ที่แน่ๆ คงคิดว่าธรรมะนี้ มีเรื่องให้ศึกษาเยอะแยะไปหมด
แล้วเราจะเริ่มจากจุดไหนดีนะ
นี้ก็ดี นั่นก็ถูก นี่ก็ถูก นี่ก็บอกว่าตรง อะไรก็ดีไปทั้งหมด จะปฏิบัติอย่างไรดี

จึงขอแนะนำว่า ผู้ที่สนใจธรรมทั้งหลายว่า ให้ท่านเริ่มปฏิบัติธรรม
ด้วยการหยุดแสวงหาปัญญาหยุดแสวงหาสมาธิก่อนอย่างอื่น
หยุดถามก่อน เพราะยิ่งถามมากยิ่งสงสัยมาก
ยิ่งหายิ่งไม่เจอปัญญาและสมาธิ เพราะมัวแต่สงสัย
มัวแต่ฟุ้งซ่านทางปัญญาฟุ้งซ่านทางสมาธิ
สับสนอย่างไหนเรียกปัญญาสมาธิอย่างไหนคือสมาธิปัญญา
หยุดหาหยุดสงสัยหยุดถาม

แล้วมาสังเกตุตัวเอง
ว่ามีอะไรที่เรากระทบพบเจอ ในวันหนึ่งคืนหนึ่ง
มีอะไรที่เป็นตนบ้างมีตนบ้างเป็นของตนบ้างเป็นของของตนบ้าง
แล้วมันยั่งยืนหรือเปล่า มันสุขหรือทุกข์หรือเฉยๆ แล้วอยากมีอยากเป็นอีกมั้ย
ลองดูว่าถ้าหยุดหาปัญญาและสมาธิจากภายนอก
แล้วการมาถามตอบตัวเองแบบนี้
แค่นี้ พอมั้ย

เริ่มตรงนี้ก่อน
ถ้าอยากจะนั่งสมาธิก็ให้พิจารณาแบบนี้
ถ้าอยากจะเจริญปัญญาก็ให้พิจารณาแบบนี้
ได้มั้ย
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 357

โพสต์

ลอง
สรุปดู
(อาจไม่ถูกต้อง โปรดใช้วิจารณญาน)
(คำสะกด ผิดถูก ขออภัย)



1. คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา
คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔
เพื่อให้เห็นว่า ทั้งนามธรรม (จิต + เจตสิก) และรูปธรรม (รูป)
มีสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ ได้ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้
มีการเกิดดับ ๆ ตลอดเวลา
หาแก่นสาร หาตัวตน หาเจ้าของไม่ได้เลย
เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้ง ในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว
ก็จะนำไปสู่การประหาณกิเลส
และเข้าถึงพระนิพพาน ได้ในที่สุด

2. แม้นเราอาจจะไม่มีสามารถเข้าถึงนิพพานได้ ในชาตินี้ (เพราะไม่มี โอกาสได้ อริยบุคคล แนะนำ)
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน นั้น นับว่ามี อานิสงค์มาก เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ได้พบ
พระพุทธศาสนาแล้วก็ควรขวนขวายปฏิบัติ อย่าได้เป็น คนเสียโอกาสแบบ ""โมฆบุรุษ"
"ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจนจิตเป็นฌานได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม" ดังนี้ จะเห็นได้ว่า วิปัสสนาภาวนานั้น เป็นสุดยอดของการสร้างบุญบารมีโดยแท้จริง และการกระทำก็ไม่เหนื่อยยากลำบาก ไม่ต้องแบกหาม ไม่ต้องลงทุนหรือเสียทรัพย์แต่อย่างใด https://sites.google.com/site/dhammatvonline/9


3. แต่ถ้าจะให้ วิปัสสนากรรมฐาน ได้ผลดี นั้น
ควรมี ฐานมั่นคง จาก การมี
3.1 ศีลวิสุทธิ์ หรืิอ อธิศีลก็ได้ เช่น จตุปาริสุทธิศีล
หิริภายในย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาเห็นทุคติภัย หิรินั้นย่อมยังความสำรวมให้เกิดในไตรทวารของเขา. ความสำรวมในไตรทวาร จัดเป็นจตุปาริสุทธิศีล. เธอตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีลนั้นแล้ว เจริญวิปัสสนาย่อมตั้งอยู่ในผลอันเลิศ. http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=21&i=121

3.2 สมาธิวิสุทธิ์ หรือ จิตวิสุทธิ์ หรือ อธิจิต เช่น อุปจาระและอัปปนาสมาธิ แปลง่ายว่า มีจิตสงบ จิตตั้งมั่น จิตเป็นหนึ่ง มีจิตเป็นสมาธินั่นเอง

ซึ่ง 3.1 และ 3.2 นั้น ปุถุชน หรือ โยคาวจร อันมีกิจมากมาย ยากที่จะทำได้

4. จึงถอยลงมาว่า หาก มี ฐานแค่ มาศีลพอประมาณ ศีล5 ศีล8 กุศลกรรมบท10
มี สมาธิพอ ประมาณ เช่น ขณิกสมาธิ (ภาวะที่จิตสงบระงับได้ชั่วคราว)
เราจะปฎิบัติอย่างไร ไม่ให้ปฎบัติแบบหลงทาง..และทำได้ไหม
ข้อมูลประกอบ ข้างต้น เรื่อง
แบบที่สองเป็นการเจริญวิปัสสนานำหน้า สมถะตามหลัง
เรียกว่า วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ สมถะที่มีวิปัสสนานำหน้า
ก็คือเจริญวิปัสสนาไปเลย กำหนดรู้รูปนาม
กำหนดสภาวะปรมัตถ์ที่กำลังปรากฏ
ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เพียงขณิกสมาธิ สมาธิเล็กน้อย
http://dhammaway.wordpress.com/2011/12/ ... on-3-line/

นั้นเป็นแผนที่อย่างดี แสดงว่าทำได้ แปลง่ายๆว่า ปุถุชนก็ ปฎิบัติได้

5. ส่วนรายละเอียดว่า จะทำอย่างไร ยากที่จะ ย่อ ลงมาได้
5.1 คงต้องไปอ่านวิธีปฏิบัติ โดยสังเขบก่อน ของท่าน อจ. ต่างๆ หลายท่านที่ปฎิบัติด้านวิปัสสนา ว่าเข้าใจไหม
อย่าไหน ตรงกับจริต ของเรา
5.2 หรือ จะอยากศึกษา อ่านขั้นสูงละเอียดอย่างยิ่ง ก็ ไป อ่าน ปัญญานิเทศ์ เล่ม3 ของ วิสุทธิมรรค
5.3 หรือ จะเอาของดั้งเดิม ให้ ไปท่อง บาลี-ไทย มหาสติปัฏฐานสูตร ให้ได้ก่อน
http://goo.gl/IQewjS

..
:B

6. หรือจะถอยลงมาอีก
เอาแค่ ตามวิธี..
https://sites.google.com/site/dhammatvonline/9
วิธีสร้างบุญบารมี
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙
วัดบวรนิเวศวิหาร
ต่อไปนี้เป็นการเจริญสมถะและวิปัสสนาอย่างง่ายๆประจำวัน ซึ่งควรจะได้ทำให้บ่อยๆ ทำเนืองๆ ทำให้มากๆ
ทำจนจิตเป็นอารมณ์แนบแน่น ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใด คือไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน
ก็คิดและใคร่ครวญถึงความเป็นจริง ๔ ประการ ดังต่อไปนี้ หากทำแล้วพระพุทธองค์ตรัสว่า
"จิตของผู้นั้นไม่ห่างจากวิปัสสนา และเป็นผู้ที่ไม่ห่างจากมรรค ผล นิพพาน" คือ


6.1(๑) มีจิตใคร่ครวญถึงมรณัสสติกรรมฐาน
6.2(๒) มีจิตใคร่ครวญถึงอสุภกรรมฐาน
6.3 (๓) มีจิตใคร่ครวญถึงกายคตานุสสติกรรมฐาน
6.4 (๔) มีจิตใคร่ครวญถึงธาตุกรรมฐาน
อยู่เสมอๆ ก็ควรจะได้อานิสงค์มาก..โข

[/size][/color]

สาธุ
...

:|
ลูกเต่า
Verified User
โพสต์: 504
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 358

โพสต์

เห็นด้วยครับ :D

"คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยคิดนั่นแหละจึงรู้"
หลวงปู่ดุลย์
ปัจจุบันขณะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 359

โพสต์

Dech เขียน: มัวแต่ฟุ้งซ่านทางปัญญาฟุ้งซ่านทางสมาธิ
สับสนอย่างไหนเรียกปัญญาสมาธิอย่างไหนคือสมาธิปัญญา
ที่พี่ Dech แนะนำมาเป็นข้อคิดที่ดีมากครับ
ผมได้ฟังเทศน์ของหลวงปู่มั่น เรื่องมุตโตทัย ฟังแล้วน่าสนใจดีครับ
แต่อาจจะไม่ตรงประเด็นที่กำลังถกกันเท่าไหร่นะครับ

"พระอรหันต์ทั้งหลายไม่ว่าประเภทใดย่อมบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ...ที่ปราศจากอาสวะในปัจจุบัน หาได้แบ่งแยกไว้ว่า ประเภทนั้นบรรลุแต่เจโตวิมุตติ หรือปัญญาวิมุติไม่ ที่เกจิอาจารย์แต่งอธิบายไว้ว่า เจโตวิมุตติเป็นของพระอรหันต์ผู้ได้สมาธิก่อน ส่วนปัญญาวิมุตติเป็นของพระอรหันต์สุกขวิปัสสกผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ นั้นย่อมขัดแย้งต่อมรรค มรรคประกอบด้วยองค์ 8 มีทั้งสัมมาทิฏฐิ ทั้งสัมมาสมาธิ ผู้จะบรรลุวิมุตติธรรมจำต้องบำเพ็ญมรรค 8 บริบูรณ์ มิฉะนั้นก็บรรลุวิมุตติธรรมไม่ได้ ไตรสิกขาก็มีทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา อันผู้จะได้อาสวักขยญาณจำต้องบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์ทั้ง 3 ส่วน ฉะนั้นจึงว่า พระอรหันต์ทุกประเภทต้องบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติด้วยประการฉะนี้แลฯ"


นักปฏิบัติทั้งหลาย เมื่อได้ลงมือปฏิบัติ ก็มักจะมีเรื่องให้สงสัย
แต่เมื่อได้ลงมือปฏิบัติจริง ก็จะรู้ว่านั้นเป็นอย่างนั้น นั้นเป็นอย่างนี้
จนสุดท้ายก็จะหายสงสัย เพราะได้รู้แล้วครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 360

โพสต์

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเอกนั้นมีอยู่ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์; ครั้นธรรมทั้ง ๔ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์; ครั้นธรรมทั้ง ๗ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๒ ให้บริบูรณ์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธินี้แล เป็นธรรมอันเอก ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์; สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์; โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้.

...ตถาคตผู้อรหันต์สัมมาสัมพุทธะ


"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมอย่างหนึ่งมีอยู่หรือไม่หนอ ซึ่งเมื่อภิกษุละได้
แล้ว อวิชชาย่อมละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ?"
ภิกษุ ! ธรรมอย่างหนึ่งนั้น มีอยู่แล ....ฯลฯ....
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมอย่างหนึ่งนั้คืออะไรเล่าหนอ ....ฯลฯ....?"
ภิกษุ ! อวิชชา นั่นแล เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่ง เมื่อภิกษุละได้แล้ว
อวิชชายอมละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้น.
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร อวิชชาจึงจะ
ละไปวิชชาจึงจะเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ?"
ภิกษุ ! หลักธรรมอันภิกษุในกรณีนี้ได้สดับแล้ว ย่อมมีอยู่ว่า "สิ่ง
ทั้งหลายทั้งปวง อันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"
ดังนี้.
ภิกษุ! ถ้าภิกษุได้สดับหลักธรรมข้อนั้นอย่างนี้ว่า "สิ่งทั้หลายทั้งปวง อันใคร ๆ
ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้นย่อม รู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง; ครั้น
รู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อม รอ บ รู้ซึ่งธรรม ทั้งป วง; ครั้นรอบรู้ซึ่งธรรม
ทั้งปวงแล้ว เธอย่อม เห็นซึ่งนิมิตทั้งหลายของสิ่งทั้งปวง โดยประการอื่น ๑;
คือย่อมเห็นซึ่ง จักษุโดยประการอื่น; เห็นซึ่ง รูป ทั้งหลายโดยประการอื่น;
เห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ โดยประการอื่น; เห็นซึ่ง จักขุสัมผัส โดยประการอื่น;
เห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น.

...ตถาคตผู้อรหันต์สัมมาสัมพุทธะ
ไม่ประมาท