กลุ่มธุรกิจประกันภัย
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news29/08/07
โพสต์ที่ 61
ครม.คลอดกม.ประกันชีวิต บีบ20บริษัทเป็น"มหาชน"
คณะรัฐมนตรี ไฟเขียวร่าง พ.ร.บ. ด้านเงินสำคัญๆ 3 ฉบับ โดยเฉพาะ กม.ประกันชีวิต ที่บีบให้ ผู้ประกอบการเพิ่มทุน แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน ทำไม่โดนโดนยึดใบอนุญาต
นางสาวชำเลือง ชาติสุวรรณ รองอธิบดีกรมการประกันภัย กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประกันชีวิต และร่าง พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย โดยกำหนดให้ธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ต้องทำการเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดมหาชนภายใน 5 ปี และขยายเวลาให้อีก 3 ปี แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวห้ามขยายธุรกิจเพิ่มเติม หากเลยกำหนดระยะเวลาที่ผ่อนปรนไม่สามารถแปรสภาพเป็นมหาชนได้จะต้องถูกยึดใบอนุญาต แต่ไม่รวมถึงธุรกิจประกันภัยของต่างชาติที่มีสาขาในประเทศไทย เนื่องจากมีข้อกำหนดกฎระเบียบต่าง ๆ ในการเข้ามาดำเนินธุรกิจประกันภัยในไทยอยู่แล้ว
ทั้งนี้โดยการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้เกิดความมั่นคงมีการดำรงเงินกองทุน การบริหารความเสี่ยงให้มีมาตรฐานสากล ตลอดจนการกำกับดูแลการโฆษณา เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดจากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และมีการตรวจสอบการกำหนดเบี้ยประกัน เพื่อคุ้มครองผู้ซื้อประกัน นอกจากนี้ ยังขยายให้ธุรกิจประกันสามารถดึงผู้ร่วมทุนต่างชาติจากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 49 และคาดว่าธุรกิจประกันจะสามารถแปรสภาพได้ตามกำหนด โดยปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิตมี 25 ราย เป็นบริษัทจำกัดมหาชน 5 ราย บริษัทจำกัด 20 ราย ส่วนธุรกิจประกันวินาศภัยมี 74 ราย เป็นบริษัทจำกัดมหาชน 23 ราย บริษัทจำกัด 51 ราย
ขณะที่นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาพร้อมกับร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ดังกล่าว มีการเปลี่ยนชื่อจากร่างพ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝาก เป็นร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ตัดบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดให้กระทรวงการคลังมีอำนาจค้ำประกันการกู้เงินของสถาบันคุ้มครองเงินฝากเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝากจากไม่น้อยกว่า 7 คน เป็นจำนวน 7 คน แต่ไม่เกิน 9 คน และเพิ่มเติมคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการเงินการคลังและกฎหมาย อย่างน้อยด้านละ 1 คน การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของสถาบันคุ้มครองเงินฝากให้นำกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่มาใช้บังคับกับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของสถาบัน คุ้มครองเงินฝาก การนำส่งเงินเข้ากองทุนได้กำหนดให้สถาบันการเงินต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ทั้งนี้จำนวนเงินที่ได้รับการคุ้มครอง ได้กำหนดให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากให้ความคุ้มครองเงินฝากให้แก่ผู้ฝากเงินแต่ละรายในแต่ละสถาบันการเงินตามจำนวนเงินที่ฝากไว้ในทุกบัญชีรวมกันไม่เกิน 1 ล้านบาท
http://www.naewna.com/news.asp?ID=73169
คณะรัฐมนตรี ไฟเขียวร่าง พ.ร.บ. ด้านเงินสำคัญๆ 3 ฉบับ โดยเฉพาะ กม.ประกันชีวิต ที่บีบให้ ผู้ประกอบการเพิ่มทุน แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน ทำไม่โดนโดนยึดใบอนุญาต
นางสาวชำเลือง ชาติสุวรรณ รองอธิบดีกรมการประกันภัย กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประกันชีวิต และร่าง พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย โดยกำหนดให้ธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ต้องทำการเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดมหาชนภายใน 5 ปี และขยายเวลาให้อีก 3 ปี แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวห้ามขยายธุรกิจเพิ่มเติม หากเลยกำหนดระยะเวลาที่ผ่อนปรนไม่สามารถแปรสภาพเป็นมหาชนได้จะต้องถูกยึดใบอนุญาต แต่ไม่รวมถึงธุรกิจประกันภัยของต่างชาติที่มีสาขาในประเทศไทย เนื่องจากมีข้อกำหนดกฎระเบียบต่าง ๆ ในการเข้ามาดำเนินธุรกิจประกันภัยในไทยอยู่แล้ว
ทั้งนี้โดยการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้เกิดความมั่นคงมีการดำรงเงินกองทุน การบริหารความเสี่ยงให้มีมาตรฐานสากล ตลอดจนการกำกับดูแลการโฆษณา เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดจากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และมีการตรวจสอบการกำหนดเบี้ยประกัน เพื่อคุ้มครองผู้ซื้อประกัน นอกจากนี้ ยังขยายให้ธุรกิจประกันสามารถดึงผู้ร่วมทุนต่างชาติจากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 49 และคาดว่าธุรกิจประกันจะสามารถแปรสภาพได้ตามกำหนด โดยปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิตมี 25 ราย เป็นบริษัทจำกัดมหาชน 5 ราย บริษัทจำกัด 20 ราย ส่วนธุรกิจประกันวินาศภัยมี 74 ราย เป็นบริษัทจำกัดมหาชน 23 ราย บริษัทจำกัด 51 ราย
ขณะที่นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาพร้อมกับร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ดังกล่าว มีการเปลี่ยนชื่อจากร่างพ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝาก เป็นร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ตัดบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดให้กระทรวงการคลังมีอำนาจค้ำประกันการกู้เงินของสถาบันคุ้มครองเงินฝากเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝากจากไม่น้อยกว่า 7 คน เป็นจำนวน 7 คน แต่ไม่เกิน 9 คน และเพิ่มเติมคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการเงินการคลังและกฎหมาย อย่างน้อยด้านละ 1 คน การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของสถาบันคุ้มครองเงินฝากให้นำกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่มาใช้บังคับกับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของสถาบัน คุ้มครองเงินฝาก การนำส่งเงินเข้ากองทุนได้กำหนดให้สถาบันการเงินต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ทั้งนี้จำนวนเงินที่ได้รับการคุ้มครอง ได้กำหนดให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากให้ความคุ้มครองเงินฝากให้แก่ผู้ฝากเงินแต่ละรายในแต่ละสถาบันการเงินตามจำนวนเงินที่ฝากไว้ในทุกบัญชีรวมกันไม่เกิน 1 ล้านบาท
http://www.naewna.com/news.asp?ID=73169
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/08/07
โพสต์ที่ 62
อู่บี้สัมพันธ์ฯจ่ายหนี้พันล้านก่อนเจ๊ง
โพสต์ทูเดย์ อู่ซ่อมรถรวมตัวบุกกรมการประกันภัยจี้สัมพันธ์ฯ ให้จ่ายหนี้ ค่าซ่อมคืน 950 ล้าน หลังขาดเงินหมุน
นายวรวรรธน์ สังฆสุบรรณ ตัวแทนอู่ซ่อมรถในเครือบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย กล่าวว่า เจ้าของและตัวแทนอู่ซ่อมรถในเครือบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย ประมาณ 100 ราย ได้ยื่นหนังสือกับกรมการประกันภัยเพื่อให้ช่วยเหลือกรณีที่บริษัทยังไม่จ่ายเงินค่าซ่อมรถให้กับอู่ในเครือมาตั้งแต่เดือน พ.ย. 2549 คิดเป็นหนี้รวมประมาณ 950 ล้านบาท จึงทำให้อู่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องในการทำธุรกิจ
นอกจากนี้ ทางอู่ยังไปยื่นเรื่องที่บริษัท โดยขอให้ทยอยจ่ายหนี้ที่ค้างชำระ แบ่งเป็นงวดแรก 25% ของยอดหนี้แต่ละอู่ก่อน ส่วนที่เหลือให้ผู้บริหารบริษัทลงนามในหนังสือยอมรับสภาพหนี้ แล้วทยอยจ่ายอู่จนกว่าจะครบตามหนี้ แต่หากบริษัทไม่ยอมทำตามข้อเสนอ อู่จากทั่วประเทศจะรวมตัวกันและชุมนุมใหญ่ที่หน้าบริษัทอีกครั้ง
นางจันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดี กรมการประกันภัย กล่าวว่า ได้เรียก ผู้บริหารของบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย มาชี้แจงถึงเรื่องที่เกิดขึ้น แต่บริษัท อ้างว่ามีความเดือดร้อนเนื่องจากกรมสรรพากรอายัดบัญชีไว้ ทำให้ไม่สามารถนำเงินออกมาชำระหนี้ได้ และอยู่ระหว่างแก้ไขผ่อนคลายอายัดบัญชีอยู่ โดยบริษัทยืนยันว่าจะนำเงินที่มีบางส่วนมาชำระหนี้คืนให้อู่ซ่อมรถไปก่อน
น.ส.ชำเลือง ชาติสุวรรณ รองอธิบดีกรมการประกันภัย กล่าวว่า กรมจะเร่งรัดให้บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย แก้ไขปัญหาฐานะการเงินให้ได้เร็ว ที่สุด เพื่อจะได้มีเงินมาจ่ายทดแทนให้กับผู้เอาประกันและอู่ซ่อมรถ ซึ่งบริษัทแจ้งว่ากำลังอยู่ระหว่างเจรจากับผู้ร่วมทุนรายใหม่ ซึ่งมีผู้ร่วมทุนหลายราย ยังให้ความสนใจในการร่วมทุนกับบริษัทอยู่
สำหรับผู้ร่วมทุนรายใหม่ที่สนใจ เข้าร่วมทุนกับบริษัท สัมพันธ์ประกันภัยนั้น ขณะนี้ยังบอกไม่ได้ แต่ในส่วน ของผู้รวมทุนจากประเทศออสเตรเลีย พบว่ายังมีความสนใจอยู่
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=188182
โพสต์ทูเดย์ อู่ซ่อมรถรวมตัวบุกกรมการประกันภัยจี้สัมพันธ์ฯ ให้จ่ายหนี้ ค่าซ่อมคืน 950 ล้าน หลังขาดเงินหมุน
นายวรวรรธน์ สังฆสุบรรณ ตัวแทนอู่ซ่อมรถในเครือบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย กล่าวว่า เจ้าของและตัวแทนอู่ซ่อมรถในเครือบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย ประมาณ 100 ราย ได้ยื่นหนังสือกับกรมการประกันภัยเพื่อให้ช่วยเหลือกรณีที่บริษัทยังไม่จ่ายเงินค่าซ่อมรถให้กับอู่ในเครือมาตั้งแต่เดือน พ.ย. 2549 คิดเป็นหนี้รวมประมาณ 950 ล้านบาท จึงทำให้อู่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องในการทำธุรกิจ
นอกจากนี้ ทางอู่ยังไปยื่นเรื่องที่บริษัท โดยขอให้ทยอยจ่ายหนี้ที่ค้างชำระ แบ่งเป็นงวดแรก 25% ของยอดหนี้แต่ละอู่ก่อน ส่วนที่เหลือให้ผู้บริหารบริษัทลงนามในหนังสือยอมรับสภาพหนี้ แล้วทยอยจ่ายอู่จนกว่าจะครบตามหนี้ แต่หากบริษัทไม่ยอมทำตามข้อเสนอ อู่จากทั่วประเทศจะรวมตัวกันและชุมนุมใหญ่ที่หน้าบริษัทอีกครั้ง
นางจันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดี กรมการประกันภัย กล่าวว่า ได้เรียก ผู้บริหารของบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย มาชี้แจงถึงเรื่องที่เกิดขึ้น แต่บริษัท อ้างว่ามีความเดือดร้อนเนื่องจากกรมสรรพากรอายัดบัญชีไว้ ทำให้ไม่สามารถนำเงินออกมาชำระหนี้ได้ และอยู่ระหว่างแก้ไขผ่อนคลายอายัดบัญชีอยู่ โดยบริษัทยืนยันว่าจะนำเงินที่มีบางส่วนมาชำระหนี้คืนให้อู่ซ่อมรถไปก่อน
น.ส.ชำเลือง ชาติสุวรรณ รองอธิบดีกรมการประกันภัย กล่าวว่า กรมจะเร่งรัดให้บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย แก้ไขปัญหาฐานะการเงินให้ได้เร็ว ที่สุด เพื่อจะได้มีเงินมาจ่ายทดแทนให้กับผู้เอาประกันและอู่ซ่อมรถ ซึ่งบริษัทแจ้งว่ากำลังอยู่ระหว่างเจรจากับผู้ร่วมทุนรายใหม่ ซึ่งมีผู้ร่วมทุนหลายราย ยังให้ความสนใจในการร่วมทุนกับบริษัทอยู่
สำหรับผู้ร่วมทุนรายใหม่ที่สนใจ เข้าร่วมทุนกับบริษัท สัมพันธ์ประกันภัยนั้น ขณะนี้ยังบอกไม่ได้ แต่ในส่วน ของผู้รวมทุนจากประเทศออสเตรเลีย พบว่ายังมีความสนใจอยู่
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=188182
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/08/07
โพสต์ที่ 63
ประกันรถประเภท 5 ทะลัก! [ ฉบับที่ 823 ประจำวันที่ 29-8-2007 ถึง 31-8-2007]
> หวั่นประชาชนสับสน เหตุตัวแทนพูดความจริงไม่หมด
ประกันรถยนต์คึกคัก สินค้าใหม่ทะลักรองรับลูกค้ารัดเข็มขัด ค่ายใหญ่ขยับชิมลาง 2 พลัส หรือประเภท 5 วิริยะฯ ซุ่มคลอดกรมธรรม์ใหม่วางแผนขาย 1 ก.ย.วันเดียวกับมิตรแท้ฯ ที่ชิงทดลองขาย มิตรแท้เพิ่มพูน (พิเศษ) เบี้ย 9,999 บาท ซ่อมรถคันเอาประกันบวกไฟไหม้และรถหาย 180,000 บาท ก่อนขายประ- เภท 5 ของจริงทุน 2 แสน-5 ล้าน 1 กันยา นี้ ขณะที่สินมั่นคงฯ ทดลองขายภายใน เบี้ยเท่ากับมิตรแท้ฯ แต่คุ้มครองสูงกว่า 250,000 บาท เตือนตัวแทนให้ข้อมูลครบถ้วนหวั่นลูกค้าเข้าใจผิด
ภายหลังกรมการประกันภัยอนุมัติกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแบบใหม่ ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย หรือ 2 พลัสหรือประเภท 5 ซึ่งเป็นการรวมความคุ้มครองของประเภท 2 รถสูญหาย ไฟไหม้และความคุ้มครองประเภท 3 เข้าไว้ด้วยกันพร้อมเพิ่มความคุ้มครองรถคันเอาประกันภัยที่เป็นความคุ้มครองประเภท 1 เฉพาะกรณีการชนกับยานพาหนะทางบกหรือรถชนรถเท่านั้นเข้าไปด้วย โดยกำหนดวงเงินความคุ้มครองหรือทุนประกันภัยต่ำสุด 50,000 บาท สูงสุด 5 ล้านบาทเพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าที่ยังต้องการความคุ้มครองประเภท 1 อยู่แต่ต้องการจ่ายค่าเบี้ยถูกลง
ล่าสุดค่ายวินาศภัยยักษ์ใหญ่ในวงการหลายบริษัทขยับเปิดเกมรุกกรมธรรม์ 2 พลัสหรือประเภท 5 จริงจังหลังซุ่มดูแนวโน้มตลาดมาระยะหนึ่ง โดยนายบุญเลิศ กุศลเพิ่มพูน ผู้จัดการฝ่ายบุคคลและผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด เปิดเผยสยามธุรกิจ ว่า บริษัทอยู่ระหว่างจัดทำกรมธรรม์รถยนต์แบบใหม่ประเภท 5 ออกมาสู่ตลาดเช่นกันวงเงินความคุ้มครองสูงสุดตามเพดานกรมธรรม์มาตรฐานที่กรมการประกันภัยอนุมัติไว้ 5 ล้านบาท ส่วนวงเงินความคุ้มครองขั้นต่ำสุดและเบี้ยประกันภัยกำลังเคาะกันอยู่ ทั้งนี้เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าทั้งเก่าและใหม่ซึ่งที่ผ่านมามีลูกค้าสอบถามเข้ามามากเกี่ยวกับกรมธรรม์ตัวนี้โดยตามแผนจะเริ่มทำตลาดสินค้าใหม่วันที่ 1 กันยายนนี้
การทำตลาดสินค้าใหม่ต้องระวังเรื่องการให้ข้อมูล การทำความเข้าใจกับลูกค้า เพราะอย่าง 3 พลัสที่หลายบริษัทออกมาก็มีปัญหาเกิดขึ้นเกี่ยวกับการให้ข้อมูลลูกค้าไม่ครบโดยเฉพาะความคุ้มครองและข้อจำกัดต่างๆ เพราะลูกค้าไม่รู้ว่าถ้าเป็นการชนต้นไม้ ชนเสาหรือเฉี่ยวชนอะไรก็ตามกรมธรรม์ไม่จ่าย จ่ายเฉพาะการชนที่มีคู่กรณีหรือรถชนรถเท่านั้น ซึ่งในตลาดการชนที่มีคู่กรณีมีแค่ 20-30 % ของค่าเสียหายทั้งหมดเท่านั้นอีก 70% เป็นการชนที่ไม่มีคูกรณี ดังนั้นการให้ข้อมูลกับลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญ เราได้อบรมตัวแทนให้ความรู้กับพวกเขาก่อน
นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด(มหาชน) เปิดเผยสยามธุรกิจว่า บริษัททดลองขายกรมธรรม์ 2 พลัสมาประมาณ 2 สัปดาห์แล้วเปิดขายเป็นการภายในกล่าวคือหากลูกค้าติดต่อเข้ามาจะเสนอขายให้ อัตราเบี้ย 9,999 บาท วงเงินความคุ้มครองทั้งค่าซ่อมรถคันเอาประกันภัย รถสูญหายและไฟไหม้ 250,000 บาท กระแสตอบรับน้อยมากเพิ่งเริ่มทดลองหากเทียบกับกรมธรรม์ 3 คุ้มในช่วงเริ่มขายเหมือนกันยังสู้ 3 คุ้มไม่ได้
เป็นการลองเซิร์ฟตลาดดูก่อนที่จะเอาของจริงออกมากำลังคิดอยู่จะฟิกซ์ทุนประกันหรือไม่ฟิกซ์ ทุนประกันสูงสุดคงประมาณ 5 ล้านบาทตามเพดานกรมธรรม์ประเภท 5 ส่วนจะออกมาเมื่อไหร่ขึ้นอยู่กับไทมมิ่ง ถามว่า 2 พลัสในแง่การตอบรับจากผู้บริโภคมีกลุ่มของมันอยู่พอสมควร ถามว่าฐานลูกค้าส่วนหนึ่งจะย้ายมาจากประกันชั้น 1 มั๊ยอาจจะมีบ้างก็ขึ้นอยู่กับโพสิชั่นนิ่งที่เราวางไว้
ส่วนบริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด ขยับรุกตลาดกรมธรรม์ประเภท 5 เช่นกันนำร่องด้วยการออกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ชุดใหม่ซีรี่ส์ 2 เป็นการขยายผลต่อยอดจากกรมธรรม์ มิตรแท้เพิ่มพูน ที่เปิดตัวไปเมื่อช่วงต้นปี 2550 ซึ่งเป็นประเภท 3+ 1 เฉพาะความคุ้มครองรถคันเอาประกัน โดยกรมธรรม์ซีรี่ส์ 2 ชื่อ มิตรแท้เพิ่มพูน (พิเศษ) เพิ่มความคุ้มครองกรณีรถสูญหายและไฟไหม้เข้าไปในกรมธรรม์นี้ด้วย
นายอรัญ ศรีว่องไทย กรรมการบริหารและรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส เปิดเผยสยามธุรกิจ ว่าวงเงินคุ้มครองรถคันเอาประกันในส่วนของรถสูญหายและไฟไหม้ 180,000 บาท เท่ากับวงเงินค่าซ่อมรถคันเอาประกันที่จ่ายให้สูงสุด 180,000 บาท ขณะที่อัตราเบี้ย 9,999 ล้านบาทราคาเดียว ส่วนความคุ้มครองอื่นๆ เหมือนมิตรแท้เพิ่มพูนทุกอย่าง โดยเริ่มนำออกขายเป็นการภายในเมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมาสาเหตุที่ออกกรมธรรม์ตัวนี้เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับลูกค้า
อย่างไรก็ดี ในวันที่ 1 กันยายนนี้บริษัทจะนำกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 ของจริงที่มีวงเงินความคุ้มครองให้ลูกค้าเลือกได้ตามความต้องการสูงสุด 5 ล้านบาทตามเพดานกรมธรรม์มาตรฐานที่กรมการประกันภัยอนุมัติไว้ออกสู่ตลาด โดยสินค้าใหม่จะมีวงเงินความคุ้มครองต่ำสุดเริ่มต้นที่ 200,000 บาท ส่วนเบี้ยกำลังหาข้อสรุปอยู่แต่คงมีราคาแพงกว่ามิตรแท้เพิ่มพูน(พิเศษ)อยู่แล้ว
วันนี้รถที่ทำประกันภัยพ.ร.บ.เอาเฉพาะรถเก๋งไม่รวมรถจักรยานยนต์มีประมาณ 10 ล้านคันในจำนวนนี้มีที่ทำประกันภาคสมัครใจด้วยแค่ 3-4 ล้านคันที่เหลือซื้อพ.ร.บ.อย่างเดียวถามว่าทำไมพวกนี้ไม่ซื้อภาคสมัครใจเพราะไม่มีสินค้าให้เลือก ประเภท1,2,3 ที่มีอยู่ไม่ตรงกับความต้องการของเขานี่คือสาเหตุที่หลายบริษัทต้องออกสินค้าใหม่ทั้ง 3 พลัสและประเภท 5 ออกมาเพื่อเป็นทางเลือกให้กับคนกลุ่มนี้ซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่มาก อย่าง 3 พลัสที่เราออกมาลูกค้าตอบรับดีแต่ไม่รู้ยอดขายเท่าไหร่ ซึ่งในอนาคตหากสินค้าพวกนี้ออกมาเยอะ ลูกค้าชินตาอาจจะมีสินค้าใหม่ๆ ออกมาอีกก็ได้
นายอรัญกล่าวว่า สินค้าใหม่อาจจะมีผลกระทบต่อตลาดประเภท 1 บ้าง แต่ไม่มากเพราะต้องยอมรับว่ายังมีลูกค้ากลุ่มหนึ่งที่ซื้อรถยนต์ผ่านไฟแนนซ์กลุ่มนี้จะไม่มีสิทธิ์เลือกทำประกันประเภทอื่นเพราะไฟแนนซ์บังคับให้ทำประกันประเภท 1 อยู่แล้วตลาดกลุ่มนี้ใหญ่มาก และยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ภักดีอยากทำประเภท 1 อยู่แล้วกลุ่มนี้จะไม่สนใจประกันประเภทอื่นไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดีก็ตาม
นายนิค จันทรวิทุร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด ผู้บุกเบิกกรมธรรม์ 3+1 หรือ 3 พลัสจ้าวแรกกล่าวว่า บริษัทฯขายกรมธรรม์ 2 พลัสมาระยะหนึ่งแล้วเบี้ย 7,900 บาท บวกเพิ่มจาก เอเชีย 3 พลัส ที่จำหน่ายในราคา 6,800 บาทอีก 1,100 บาทโดยให้ความคุ้มครองรถสูญหายและไฟไหม้วงเงิน 100,000 บาทเท่ากับวงเงินค่าซ่อมรถคันเอาประกันภัยที่กรมธรรม์เอเชีย 3 พลัส จ่ายให้ โดยวงเงินความคุ้มครองขยายให้สูงสุดแค่ 200,000 บาท เบี้ยจะแพงขึ้นไปอีก
เราขายสินค้าตัวนี้แบบภายในมา 5-6 เดือนแล้วหลังออกเอเชีย 3 พลัสได้ไม่นานเพียงแต่เราไม่โปรโมตหรือโฆษณามากเหมือน เอเชีย 3 พลัสเท่านั้นเพราะไม่อยากให้ตัวแทนและลูกค้าสับสน ถ้าลูกค้าอยากได้เราก็มีให้ อีกทั้งหากเทียบกันแล้วตัวเอเชีย 3 พลัสโดนใจลูกค้ามากกว่าและกลายเป็นแบรนด์ของเราไปแล้ว ยอดขาย 2 พลัสที่ผ่านมาเป็นหลัก 1,000 ฉบับ สัดส่วนเบี้ยประมาณ 20% จากเบี้ยทั้งหมดของเอเชีย 3 พลัส ซึ่ง ณ มิถุนายน 3 พลัสมีเบี้ยเข้ามาแล้ว 300 กว่าล้านบาทจากเบี้ยทั้งหมดประมาณ 600 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนราว 47-48%
นายนิคกล่าวว่า บริษัทไม่มีแนวคิดที่จะขยับวงเงินความคุ้มครอง 2 พลัสให้สูงกว่านี้ไปถึง 5 ล้านบาทตามเพดานที่กรมการประกันภัยอนุมัติให้เพราะหากเพิ่มวงเงินความคุ้มครองสูงกว่านี้ อาทิ 500,000-600,000 บาทเบี้ยจะขยับใกล้ประเภท 1 เข้าไปมากยิ่งขึ้นต่างกันแค่ 2,000-3,000 บาทเท่านั้นหากเป็นเช่นนั้นให้ลูกค้าซื้อประกันประเภท 1 ดีกว่าเพราะให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากกว่า อีกทั้งวงเงินความคุ้มครองสูงสุดที่ 200,000 บาทคิดว่าเพียงพอแล้ว
อนึ่ง บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด(มหาชน) เป็นค่ายแรกที่เปิดตัวกรมธรรม์ใหม่ 2 พลัสหรือประเภท5 อย่างเป็นทางการ ใช้ชื่อว่า 1st Car & Save เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าที่ต้องการความคุ้มครองเหมือนการประกันภัยชั้น 1 แต่เบี้ยถูกว่าถึง 50% โดยให้ความคุ้มครองรถคันเอาประกันที่ได้รับความเสียหายจากการชนที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบกทุนประกันตั้งแต่ 350,000 - 5 ล้านบาท เบี้ยเริ่มต้น 8,300 บาท อีกทั้งยังให้ความคุ้มครองกรณีรถหาย และไฟไหม้ตามทุนประกันสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาทรวมถึงคุ้มครองภัยก่อการร้ายสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท แต่กรณีที่รถคันที่เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิด ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) 2,000 บาทต่อครั้ง
นอกจากนี้ ยังให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ได้แก่ ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย 1 ล้านบาทต่อคน สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาทบาทต่อครั้ง และความเสียหายต่อทรัพย์สิน 1 ล้านต่อครั้ง รวมถึงคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) 100,000 บาทต่อคนต่อครั้ง ค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 100,000 บาทต่อคนต่อครั้ง และการประกันตัวผู้ขับขี่ 250,000 บาทต่อครั้ง โดยตั้งเป้าหมายลูกค้า 15,000 คนในสิ้นปีนี้
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=5991
> หวั่นประชาชนสับสน เหตุตัวแทนพูดความจริงไม่หมด
ประกันรถยนต์คึกคัก สินค้าใหม่ทะลักรองรับลูกค้ารัดเข็มขัด ค่ายใหญ่ขยับชิมลาง 2 พลัส หรือประเภท 5 วิริยะฯ ซุ่มคลอดกรมธรรม์ใหม่วางแผนขาย 1 ก.ย.วันเดียวกับมิตรแท้ฯ ที่ชิงทดลองขาย มิตรแท้เพิ่มพูน (พิเศษ) เบี้ย 9,999 บาท ซ่อมรถคันเอาประกันบวกไฟไหม้และรถหาย 180,000 บาท ก่อนขายประ- เภท 5 ของจริงทุน 2 แสน-5 ล้าน 1 กันยา นี้ ขณะที่สินมั่นคงฯ ทดลองขายภายใน เบี้ยเท่ากับมิตรแท้ฯ แต่คุ้มครองสูงกว่า 250,000 บาท เตือนตัวแทนให้ข้อมูลครบถ้วนหวั่นลูกค้าเข้าใจผิด
ภายหลังกรมการประกันภัยอนุมัติกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแบบใหม่ ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย หรือ 2 พลัสหรือประเภท 5 ซึ่งเป็นการรวมความคุ้มครองของประเภท 2 รถสูญหาย ไฟไหม้และความคุ้มครองประเภท 3 เข้าไว้ด้วยกันพร้อมเพิ่มความคุ้มครองรถคันเอาประกันภัยที่เป็นความคุ้มครองประเภท 1 เฉพาะกรณีการชนกับยานพาหนะทางบกหรือรถชนรถเท่านั้นเข้าไปด้วย โดยกำหนดวงเงินความคุ้มครองหรือทุนประกันภัยต่ำสุด 50,000 บาท สูงสุด 5 ล้านบาทเพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าที่ยังต้องการความคุ้มครองประเภท 1 อยู่แต่ต้องการจ่ายค่าเบี้ยถูกลง
ล่าสุดค่ายวินาศภัยยักษ์ใหญ่ในวงการหลายบริษัทขยับเปิดเกมรุกกรมธรรม์ 2 พลัสหรือประเภท 5 จริงจังหลังซุ่มดูแนวโน้มตลาดมาระยะหนึ่ง โดยนายบุญเลิศ กุศลเพิ่มพูน ผู้จัดการฝ่ายบุคคลและผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด เปิดเผยสยามธุรกิจ ว่า บริษัทอยู่ระหว่างจัดทำกรมธรรม์รถยนต์แบบใหม่ประเภท 5 ออกมาสู่ตลาดเช่นกันวงเงินความคุ้มครองสูงสุดตามเพดานกรมธรรม์มาตรฐานที่กรมการประกันภัยอนุมัติไว้ 5 ล้านบาท ส่วนวงเงินความคุ้มครองขั้นต่ำสุดและเบี้ยประกันภัยกำลังเคาะกันอยู่ ทั้งนี้เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าทั้งเก่าและใหม่ซึ่งที่ผ่านมามีลูกค้าสอบถามเข้ามามากเกี่ยวกับกรมธรรม์ตัวนี้โดยตามแผนจะเริ่มทำตลาดสินค้าใหม่วันที่ 1 กันยายนนี้
การทำตลาดสินค้าใหม่ต้องระวังเรื่องการให้ข้อมูล การทำความเข้าใจกับลูกค้า เพราะอย่าง 3 พลัสที่หลายบริษัทออกมาก็มีปัญหาเกิดขึ้นเกี่ยวกับการให้ข้อมูลลูกค้าไม่ครบโดยเฉพาะความคุ้มครองและข้อจำกัดต่างๆ เพราะลูกค้าไม่รู้ว่าถ้าเป็นการชนต้นไม้ ชนเสาหรือเฉี่ยวชนอะไรก็ตามกรมธรรม์ไม่จ่าย จ่ายเฉพาะการชนที่มีคู่กรณีหรือรถชนรถเท่านั้น ซึ่งในตลาดการชนที่มีคู่กรณีมีแค่ 20-30 % ของค่าเสียหายทั้งหมดเท่านั้นอีก 70% เป็นการชนที่ไม่มีคูกรณี ดังนั้นการให้ข้อมูลกับลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญ เราได้อบรมตัวแทนให้ความรู้กับพวกเขาก่อน
นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด(มหาชน) เปิดเผยสยามธุรกิจว่า บริษัททดลองขายกรมธรรม์ 2 พลัสมาประมาณ 2 สัปดาห์แล้วเปิดขายเป็นการภายในกล่าวคือหากลูกค้าติดต่อเข้ามาจะเสนอขายให้ อัตราเบี้ย 9,999 บาท วงเงินความคุ้มครองทั้งค่าซ่อมรถคันเอาประกันภัย รถสูญหายและไฟไหม้ 250,000 บาท กระแสตอบรับน้อยมากเพิ่งเริ่มทดลองหากเทียบกับกรมธรรม์ 3 คุ้มในช่วงเริ่มขายเหมือนกันยังสู้ 3 คุ้มไม่ได้
เป็นการลองเซิร์ฟตลาดดูก่อนที่จะเอาของจริงออกมากำลังคิดอยู่จะฟิกซ์ทุนประกันหรือไม่ฟิกซ์ ทุนประกันสูงสุดคงประมาณ 5 ล้านบาทตามเพดานกรมธรรม์ประเภท 5 ส่วนจะออกมาเมื่อไหร่ขึ้นอยู่กับไทมมิ่ง ถามว่า 2 พลัสในแง่การตอบรับจากผู้บริโภคมีกลุ่มของมันอยู่พอสมควร ถามว่าฐานลูกค้าส่วนหนึ่งจะย้ายมาจากประกันชั้น 1 มั๊ยอาจจะมีบ้างก็ขึ้นอยู่กับโพสิชั่นนิ่งที่เราวางไว้
ส่วนบริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด ขยับรุกตลาดกรมธรรม์ประเภท 5 เช่นกันนำร่องด้วยการออกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ชุดใหม่ซีรี่ส์ 2 เป็นการขยายผลต่อยอดจากกรมธรรม์ มิตรแท้เพิ่มพูน ที่เปิดตัวไปเมื่อช่วงต้นปี 2550 ซึ่งเป็นประเภท 3+ 1 เฉพาะความคุ้มครองรถคันเอาประกัน โดยกรมธรรม์ซีรี่ส์ 2 ชื่อ มิตรแท้เพิ่มพูน (พิเศษ) เพิ่มความคุ้มครองกรณีรถสูญหายและไฟไหม้เข้าไปในกรมธรรม์นี้ด้วย
นายอรัญ ศรีว่องไทย กรรมการบริหารและรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส เปิดเผยสยามธุรกิจ ว่าวงเงินคุ้มครองรถคันเอาประกันในส่วนของรถสูญหายและไฟไหม้ 180,000 บาท เท่ากับวงเงินค่าซ่อมรถคันเอาประกันที่จ่ายให้สูงสุด 180,000 บาท ขณะที่อัตราเบี้ย 9,999 ล้านบาทราคาเดียว ส่วนความคุ้มครองอื่นๆ เหมือนมิตรแท้เพิ่มพูนทุกอย่าง โดยเริ่มนำออกขายเป็นการภายในเมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมาสาเหตุที่ออกกรมธรรม์ตัวนี้เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับลูกค้า
อย่างไรก็ดี ในวันที่ 1 กันยายนนี้บริษัทจะนำกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 ของจริงที่มีวงเงินความคุ้มครองให้ลูกค้าเลือกได้ตามความต้องการสูงสุด 5 ล้านบาทตามเพดานกรมธรรม์มาตรฐานที่กรมการประกันภัยอนุมัติไว้ออกสู่ตลาด โดยสินค้าใหม่จะมีวงเงินความคุ้มครองต่ำสุดเริ่มต้นที่ 200,000 บาท ส่วนเบี้ยกำลังหาข้อสรุปอยู่แต่คงมีราคาแพงกว่ามิตรแท้เพิ่มพูน(พิเศษ)อยู่แล้ว
วันนี้รถที่ทำประกันภัยพ.ร.บ.เอาเฉพาะรถเก๋งไม่รวมรถจักรยานยนต์มีประมาณ 10 ล้านคันในจำนวนนี้มีที่ทำประกันภาคสมัครใจด้วยแค่ 3-4 ล้านคันที่เหลือซื้อพ.ร.บ.อย่างเดียวถามว่าทำไมพวกนี้ไม่ซื้อภาคสมัครใจเพราะไม่มีสินค้าให้เลือก ประเภท1,2,3 ที่มีอยู่ไม่ตรงกับความต้องการของเขานี่คือสาเหตุที่หลายบริษัทต้องออกสินค้าใหม่ทั้ง 3 พลัสและประเภท 5 ออกมาเพื่อเป็นทางเลือกให้กับคนกลุ่มนี้ซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่มาก อย่าง 3 พลัสที่เราออกมาลูกค้าตอบรับดีแต่ไม่รู้ยอดขายเท่าไหร่ ซึ่งในอนาคตหากสินค้าพวกนี้ออกมาเยอะ ลูกค้าชินตาอาจจะมีสินค้าใหม่ๆ ออกมาอีกก็ได้
นายอรัญกล่าวว่า สินค้าใหม่อาจจะมีผลกระทบต่อตลาดประเภท 1 บ้าง แต่ไม่มากเพราะต้องยอมรับว่ายังมีลูกค้ากลุ่มหนึ่งที่ซื้อรถยนต์ผ่านไฟแนนซ์กลุ่มนี้จะไม่มีสิทธิ์เลือกทำประกันประเภทอื่นเพราะไฟแนนซ์บังคับให้ทำประกันประเภท 1 อยู่แล้วตลาดกลุ่มนี้ใหญ่มาก และยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ภักดีอยากทำประเภท 1 อยู่แล้วกลุ่มนี้จะไม่สนใจประกันประเภทอื่นไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดีก็ตาม
นายนิค จันทรวิทุร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด ผู้บุกเบิกกรมธรรม์ 3+1 หรือ 3 พลัสจ้าวแรกกล่าวว่า บริษัทฯขายกรมธรรม์ 2 พลัสมาระยะหนึ่งแล้วเบี้ย 7,900 บาท บวกเพิ่มจาก เอเชีย 3 พลัส ที่จำหน่ายในราคา 6,800 บาทอีก 1,100 บาทโดยให้ความคุ้มครองรถสูญหายและไฟไหม้วงเงิน 100,000 บาทเท่ากับวงเงินค่าซ่อมรถคันเอาประกันภัยที่กรมธรรม์เอเชีย 3 พลัส จ่ายให้ โดยวงเงินความคุ้มครองขยายให้สูงสุดแค่ 200,000 บาท เบี้ยจะแพงขึ้นไปอีก
เราขายสินค้าตัวนี้แบบภายในมา 5-6 เดือนแล้วหลังออกเอเชีย 3 พลัสได้ไม่นานเพียงแต่เราไม่โปรโมตหรือโฆษณามากเหมือน เอเชีย 3 พลัสเท่านั้นเพราะไม่อยากให้ตัวแทนและลูกค้าสับสน ถ้าลูกค้าอยากได้เราก็มีให้ อีกทั้งหากเทียบกันแล้วตัวเอเชีย 3 พลัสโดนใจลูกค้ามากกว่าและกลายเป็นแบรนด์ของเราไปแล้ว ยอดขาย 2 พลัสที่ผ่านมาเป็นหลัก 1,000 ฉบับ สัดส่วนเบี้ยประมาณ 20% จากเบี้ยทั้งหมดของเอเชีย 3 พลัส ซึ่ง ณ มิถุนายน 3 พลัสมีเบี้ยเข้ามาแล้ว 300 กว่าล้านบาทจากเบี้ยทั้งหมดประมาณ 600 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนราว 47-48%
นายนิคกล่าวว่า บริษัทไม่มีแนวคิดที่จะขยับวงเงินความคุ้มครอง 2 พลัสให้สูงกว่านี้ไปถึง 5 ล้านบาทตามเพดานที่กรมการประกันภัยอนุมัติให้เพราะหากเพิ่มวงเงินความคุ้มครองสูงกว่านี้ อาทิ 500,000-600,000 บาทเบี้ยจะขยับใกล้ประเภท 1 เข้าไปมากยิ่งขึ้นต่างกันแค่ 2,000-3,000 บาทเท่านั้นหากเป็นเช่นนั้นให้ลูกค้าซื้อประกันประเภท 1 ดีกว่าเพราะให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากกว่า อีกทั้งวงเงินความคุ้มครองสูงสุดที่ 200,000 บาทคิดว่าเพียงพอแล้ว
อนึ่ง บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด(มหาชน) เป็นค่ายแรกที่เปิดตัวกรมธรรม์ใหม่ 2 พลัสหรือประเภท5 อย่างเป็นทางการ ใช้ชื่อว่า 1st Car & Save เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าที่ต้องการความคุ้มครองเหมือนการประกันภัยชั้น 1 แต่เบี้ยถูกว่าถึง 50% โดยให้ความคุ้มครองรถคันเอาประกันที่ได้รับความเสียหายจากการชนที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบกทุนประกันตั้งแต่ 350,000 - 5 ล้านบาท เบี้ยเริ่มต้น 8,300 บาท อีกทั้งยังให้ความคุ้มครองกรณีรถหาย และไฟไหม้ตามทุนประกันสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาทรวมถึงคุ้มครองภัยก่อการร้ายสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท แต่กรณีที่รถคันที่เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิด ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) 2,000 บาทต่อครั้ง
นอกจากนี้ ยังให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ได้แก่ ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย 1 ล้านบาทต่อคน สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาทบาทต่อครั้ง และความเสียหายต่อทรัพย์สิน 1 ล้านต่อครั้ง รวมถึงคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) 100,000 บาทต่อคนต่อครั้ง ค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 100,000 บาทต่อคนต่อครั้ง และการประกันตัวผู้ขับขี่ 250,000 บาทต่อครั้ง โดยตั้งเป้าหมายลูกค้า 15,000 คนในสิ้นปีนี้
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=5991
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news31/08/07
โพสต์ที่ 64
คลังระเบิดตั้ง กก.คุมกรมประกันฯ
โดย เดลินิวส์ วัน ศุกร์ ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550 11:50 น.
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับนางจันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดีกรมการประกันภัย เพื่อเตรียมการจัดตั้ง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ว่า หลังจากที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาจะทำให้คปภ.มีฐานะเป็นหน่วยงานอิสระ และอยู่ภายใต้กระทรวงการคลังอย่างเป็นทางการ ทำให้การดูแลภาพรวมเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุนและประกันภัย
นอกจากนี้ยังเห็นว่าควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการกลาง เพื่อทำหน้าที่ในการประสานงานเชิงนโยบายระหว่างกันเพื่อทำให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนสถานภาพเหมือนกับสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) นั้นจะทำให้เกิดความคล่องตัวและเป็นอิสระแต่ยังอยู่ภายใต้การดูแลของรมว.คลังและคณะกรรมการคปภ.รวม 13 คน.
http://news.sanook.com/economic/economic_176262.php
โดย เดลินิวส์ วัน ศุกร์ ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550 11:50 น.
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับนางจันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดีกรมการประกันภัย เพื่อเตรียมการจัดตั้ง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ว่า หลังจากที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาจะทำให้คปภ.มีฐานะเป็นหน่วยงานอิสระ และอยู่ภายใต้กระทรวงการคลังอย่างเป็นทางการ ทำให้การดูแลภาพรวมเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุนและประกันภัย
นอกจากนี้ยังเห็นว่าควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการกลาง เพื่อทำหน้าที่ในการประสานงานเชิงนโยบายระหว่างกันเพื่อทำให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนสถานภาพเหมือนกับสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) นั้นจะทำให้เกิดความคล่องตัวและเป็นอิสระแต่ยังอยู่ภายใต้การดูแลของรมว.คลังและคณะกรรมการคปภ.รวม 13 คน.
http://news.sanook.com/economic/economic_176262.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/09/07
โพสต์ที่ 65
ออมสินร่วมวง ลุยขายประกัน ชีวิต-สุขภาพ
โพสต์ทูเดย์ ธนาคารออมสินลุยขยายธุรกิจประกัน ดึงพรูเด็นเชียล และทิพยฯ เป็นพันธมิตรเสริม
นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี รองผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารออมสิน กล่าวว่า แม้ปัจจุบันธนาคารจะมีธุรกิจประกันชีวิตในรูปแบบเงินฝากสงเคราะห์ชีวิตให้บริการกับลูกค้าอยู่แล้ว แต่มองว่ายังไม่ครบวงจรจึงต้องหาพันธมิตรด้านประกันอื่นเพิ่มเติม โดยล่าสุดได้ร่วมกับบริษัท พรูเด็นเชียล ทีเอสไลฟ์ ประกันชีวิต เพื่อนำแบบประกันชีวิตชดเชยรายได้มาเสนอให้ลูกค้า และร่วมกับบริษัท ทิพยประกันภัย เพื่อนำแบบประกันสุขภาพมาเสนอขายให้กับลูกค้า
ออมสินต้องการต่อยอดสินค้าประกันชีวิตของตัวเองให้ครบวงจร และมีฐานลูกค้าได้กว้างขึ้น เพราะยังมีลูกค้าบางกลุ่มต้องการสินค้าการเงินอื่นนอกเหนือจากที่เราให้บริการเป็นปกติอยู่แล้ว นายวรวิทย์ กล่าว
นายเท็ด ซี ริดจ์เวย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรูเด็นเชียล ทีเอสไลฟ์ ประกันชีวิต กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนยอดขายจากช่องทางขายโดยตรง หรือไดเรกต์มาร์เก็ตติงมากที่สุดถึง 85% ซึ่งถือได้ว่าเป็นช่องทางที่เติบโตได้เร็วและเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายสุด ส่วนที่เหลือเป็นช่องทางตัวแทน และแบงก์แอสชัวรันส์ หรือขายผ่านธนาคาร ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 6 แห่ง โดยแต่ละช่องทางขายนั้นก็จะมีการออกแบบกรมธรรม์ขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อให้ตอบสนองได้ตรงกับความต้องการของฐานลูกค้าแต่ละแห่ง
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา บริษัทเติบโตถึง 78% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยมีฐานลูกค้าประมาณ 3 แสนกรมธรรม์ อย่างไรก็ตาม ในด้านแผนการตลาดนั้นบริษัทยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างยี่ห้อ หรือแบรนด์พรูเด็นเชียลให้เป็นที่รู้จักอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาท ซึ่งยอมรับว่าแม้ระยะเวลา 12 ปี ที่เข้ามาทำธุรกิจในไทย แบรนด์พรูเด็นเชียลก็ยังไม่สามารถเข้าถึงคนไทยได้ แต่เมื่อปีที่ผ่านมา หลังจากมีโฆษณาออกไปทางโทรทัศน์ก็ทำให้ได้ลูกค้า และบริษัทเป็นที่รู้จักมากขึ้น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=189032
โพสต์ทูเดย์ ธนาคารออมสินลุยขยายธุรกิจประกัน ดึงพรูเด็นเชียล และทิพยฯ เป็นพันธมิตรเสริม
นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี รองผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารออมสิน กล่าวว่า แม้ปัจจุบันธนาคารจะมีธุรกิจประกันชีวิตในรูปแบบเงินฝากสงเคราะห์ชีวิตให้บริการกับลูกค้าอยู่แล้ว แต่มองว่ายังไม่ครบวงจรจึงต้องหาพันธมิตรด้านประกันอื่นเพิ่มเติม โดยล่าสุดได้ร่วมกับบริษัท พรูเด็นเชียล ทีเอสไลฟ์ ประกันชีวิต เพื่อนำแบบประกันชีวิตชดเชยรายได้มาเสนอให้ลูกค้า และร่วมกับบริษัท ทิพยประกันภัย เพื่อนำแบบประกันสุขภาพมาเสนอขายให้กับลูกค้า
ออมสินต้องการต่อยอดสินค้าประกันชีวิตของตัวเองให้ครบวงจร และมีฐานลูกค้าได้กว้างขึ้น เพราะยังมีลูกค้าบางกลุ่มต้องการสินค้าการเงินอื่นนอกเหนือจากที่เราให้บริการเป็นปกติอยู่แล้ว นายวรวิทย์ กล่าว
นายเท็ด ซี ริดจ์เวย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรูเด็นเชียล ทีเอสไลฟ์ ประกันชีวิต กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนยอดขายจากช่องทางขายโดยตรง หรือไดเรกต์มาร์เก็ตติงมากที่สุดถึง 85% ซึ่งถือได้ว่าเป็นช่องทางที่เติบโตได้เร็วและเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายสุด ส่วนที่เหลือเป็นช่องทางตัวแทน และแบงก์แอสชัวรันส์ หรือขายผ่านธนาคาร ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 6 แห่ง โดยแต่ละช่องทางขายนั้นก็จะมีการออกแบบกรมธรรม์ขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อให้ตอบสนองได้ตรงกับความต้องการของฐานลูกค้าแต่ละแห่ง
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา บริษัทเติบโตถึง 78% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยมีฐานลูกค้าประมาณ 3 แสนกรมธรรม์ อย่างไรก็ตาม ในด้านแผนการตลาดนั้นบริษัทยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างยี่ห้อ หรือแบรนด์พรูเด็นเชียลให้เป็นที่รู้จักอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาท ซึ่งยอมรับว่าแม้ระยะเวลา 12 ปี ที่เข้ามาทำธุรกิจในไทย แบรนด์พรูเด็นเชียลก็ยังไม่สามารถเข้าถึงคนไทยได้ แต่เมื่อปีที่ผ่านมา หลังจากมีโฆษณาออกไปทางโทรทัศน์ก็ทำให้ได้ลูกค้า และบริษัทเป็นที่รู้จักมากขึ้น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=189032
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news04/09/07
โพสต์ที่ 66
เมืองไทยลุย ตะกาฟุลฮัจญ์ จับลูกค้า7ล.
โพสต์ทูเดย์ เมืองไทยประกันชีวิตโดดร่วมตลาดประกันตะกาฟุล จับกลุ่มเป้าหมายหาทุนไปฮัจญ์
นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต กล่าวว่า บริษัทได้เปิดตัวโครงการ ตะกาฟุลเมืองไทย ประกันภัยฮาลาล โดยมีคณะกรรมการตะกาฟุลเมืองไทย (ชาริอะห์) เป็นผู้คอยดูแล เพื่อให้ตรงตามหลักศาสนาอิสลาม โดยกรมธรรม์แรกที่จะเปิดขายคือ เมืองไทยตะกาฟุลเพื่อฮัจญ์ 10/7 ซึ่งลูกค้าจะจ่ายเงินสมทบทุน 7 ปี มีระยะสัญญา 10 ปี ซึ่งสามารถเลือกจ่ายเงินสมทบราย 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี กำหนดเงินหลักประกันตะกาฟุลขั้นต่ำไว้ที่ 1 แสนบาท เพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการไปทำฮัจญ์เมื่อครบสัญญา 10 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 หลักปฏิบัติศาสนกิจของชาวไทยมุสลิม
นายสาระ กล่าวว่า หากลูกค้าอยู่ครบสัญญา จะได้ผลตอบแทนจากลงทุน ถ้าเสียชีวิตก่อนจะได้เงินตามหลักประกันขั้นต่ำพร้อมเงินปันผลพิเศษ
ทั้งนี้ บริษัทได้จัดตั้งทีมขายพิเศษ 50 คน ที่ผ่านการฝึกอบรมวิธีขายอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม เพื่อเจาะตลาดลูกค้าชาวไทยมุสลิมที่อาศัยอยู่ใน 36 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 7 ล้านคน
นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาส 4 จะมีกรมธรรม์ตะกาฟุลเพื่อการศึกษา และกรมธรรม์ประกันชีวิตที่อิงผลตอบแทนจากการลงทุนเสนอขายให้นักลงทุนทั่วไปด้วย
เงินสมทบที่ได้มาจากกรมธรรม์ตะกาฟุล จะให้ บลจ.กรุงไทย เป็นผู้บริหารให้ตามหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งบริษัทได้ตั้งกองทุนตะกาฟุล วงเงิน 20 ล้านบาท นายสาระ กล่าว
ปัจจุบันมีบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย หันมาออกกรมธรรม์ตะกาฟุล เพื่อให้บริการลูกค้าชาวไทยมุสลิมมากขึ้น ประกอบด้วย บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต บริษัท กมลประกันภัย เพิ่งไปเปิดตลาดอย่างเป็นทางการใน จ.ปัตตานี เมื่อปลายเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา และบริษัท ทิพยประกันภัย เน้นให้บริการกลุ่มลูกค้าชาวไทยมุสลิมของธนาคารกรุงไทย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=189233
โพสต์ทูเดย์ เมืองไทยประกันชีวิตโดดร่วมตลาดประกันตะกาฟุล จับกลุ่มเป้าหมายหาทุนไปฮัจญ์
นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต กล่าวว่า บริษัทได้เปิดตัวโครงการ ตะกาฟุลเมืองไทย ประกันภัยฮาลาล โดยมีคณะกรรมการตะกาฟุลเมืองไทย (ชาริอะห์) เป็นผู้คอยดูแล เพื่อให้ตรงตามหลักศาสนาอิสลาม โดยกรมธรรม์แรกที่จะเปิดขายคือ เมืองไทยตะกาฟุลเพื่อฮัจญ์ 10/7 ซึ่งลูกค้าจะจ่ายเงินสมทบทุน 7 ปี มีระยะสัญญา 10 ปี ซึ่งสามารถเลือกจ่ายเงินสมทบราย 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี กำหนดเงินหลักประกันตะกาฟุลขั้นต่ำไว้ที่ 1 แสนบาท เพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการไปทำฮัจญ์เมื่อครบสัญญา 10 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 หลักปฏิบัติศาสนกิจของชาวไทยมุสลิม
นายสาระ กล่าวว่า หากลูกค้าอยู่ครบสัญญา จะได้ผลตอบแทนจากลงทุน ถ้าเสียชีวิตก่อนจะได้เงินตามหลักประกันขั้นต่ำพร้อมเงินปันผลพิเศษ
ทั้งนี้ บริษัทได้จัดตั้งทีมขายพิเศษ 50 คน ที่ผ่านการฝึกอบรมวิธีขายอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม เพื่อเจาะตลาดลูกค้าชาวไทยมุสลิมที่อาศัยอยู่ใน 36 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 7 ล้านคน
นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาส 4 จะมีกรมธรรม์ตะกาฟุลเพื่อการศึกษา และกรมธรรม์ประกันชีวิตที่อิงผลตอบแทนจากการลงทุนเสนอขายให้นักลงทุนทั่วไปด้วย
เงินสมทบที่ได้มาจากกรมธรรม์ตะกาฟุล จะให้ บลจ.กรุงไทย เป็นผู้บริหารให้ตามหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งบริษัทได้ตั้งกองทุนตะกาฟุล วงเงิน 20 ล้านบาท นายสาระ กล่าว
ปัจจุบันมีบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย หันมาออกกรมธรรม์ตะกาฟุล เพื่อให้บริการลูกค้าชาวไทยมุสลิมมากขึ้น ประกอบด้วย บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต บริษัท กมลประกันภัย เพิ่งไปเปิดตลาดอย่างเป็นทางการใน จ.ปัตตานี เมื่อปลายเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา และบริษัท ทิพยประกันภัย เน้นให้บริการกลุ่มลูกค้าชาวไทยมุสลิมของธนาคารกรุงไทย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=189233
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news11/09/07
โพสต์ที่ 67
คปภ.ยอมงอ แก้กฎประกัน ตามใจเอกชน
โพสต์ทูเดย์ บริษัทประกันได้เฮประกาศเตือนภัยใหม่ คปภ. ไม่คุมถึงเรื่องถ่วงเวลาจ่ายค่าสินไหม
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า ขณะนี้ทาง คปภ. ได้นำระบบประกาศเตือนภัยเรื่องฐานะการเงิน ทั้งในส่วนของบริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัยมาใช้แล้ว ซึ่งต่อไปหากตรวจสอบพบว่าบริษัทไหนเริ่มมีปัญหาเรื่องฐานะการเงินไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คปภ.ก็จะเตือนไปยังบริษัทนั้นทันที เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนกับที่ผ่านมาอีก
ทั้งนี้ เกณฑ์ใหม่ที่กำหนดขึ้นนั้น หากบริษัทประกันใดที่มีฐานะเงินกองทุนติดลบ จะถูกสั่งให้หยุดขายประกันเป็นเวลา 6 เดือนทันที โดยไม่มีการสั่งปรับแล้วให้แก้ไขอีก และหากไม่ส่งรายงานฐานะการเงินประจำเดือนติดต่อกัน 3 รอบ จะถูกสั่งให้หยุดขายประกันเป็นเวลา 3 เดือน
สำหรับกรณีที่ถูกคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับเรื่องการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน 4 ครั้ง ในรอบ 12 เดือน และต้องถูกสั่งหยุดขายประกันเป็นเวลา 10 วัน ได้ถูกถอนออกไปก่อน เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากบริษัทประกันเป็นอย่างมาก ว่าเป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรม เพราะบางครั้งบริษัทประกันไม่ได้ตั้งใจประวิงการจ่ายค่าสินไหมล่าช้า แต่เป็นเรื่องเข้าใจผิดระหว่างลูกค้ากับบริษัทประกันมากกว่า
ทั้งนี้ มีโอกาสเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่มีฐานลูกค้าจำนวนมาก คปภ.จึงเห็นว่าหากให้ความสำคัญและเข้มงวด โดยมีการตรวจสอบเรื่องเงินกองทุนและสภาพคล่องให้เพียงพอตามที่กำหนด ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุแล้ว ก็คงไม่มีเรื่องการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้าอีกสำหรับมาตรการดังกล่าวนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทประกันสร้างความเสียหายให้กับประชาชนอีก จากเดิมที่ปล่อยให้ประชาชนได้รับความเสียหายไปก่อน แล้วถึงได้มีการสั่งให้หยุดรับประกัน เปลี่ยนมาเป็นการสกัดปัญหาก่อนที่ประชาชนจะเดือดร้อน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=190727
โพสต์ทูเดย์ บริษัทประกันได้เฮประกาศเตือนภัยใหม่ คปภ. ไม่คุมถึงเรื่องถ่วงเวลาจ่ายค่าสินไหม
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า ขณะนี้ทาง คปภ. ได้นำระบบประกาศเตือนภัยเรื่องฐานะการเงิน ทั้งในส่วนของบริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัยมาใช้แล้ว ซึ่งต่อไปหากตรวจสอบพบว่าบริษัทไหนเริ่มมีปัญหาเรื่องฐานะการเงินไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คปภ.ก็จะเตือนไปยังบริษัทนั้นทันที เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนกับที่ผ่านมาอีก
ทั้งนี้ เกณฑ์ใหม่ที่กำหนดขึ้นนั้น หากบริษัทประกันใดที่มีฐานะเงินกองทุนติดลบ จะถูกสั่งให้หยุดขายประกันเป็นเวลา 6 เดือนทันที โดยไม่มีการสั่งปรับแล้วให้แก้ไขอีก และหากไม่ส่งรายงานฐานะการเงินประจำเดือนติดต่อกัน 3 รอบ จะถูกสั่งให้หยุดขายประกันเป็นเวลา 3 เดือน
สำหรับกรณีที่ถูกคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับเรื่องการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน 4 ครั้ง ในรอบ 12 เดือน และต้องถูกสั่งหยุดขายประกันเป็นเวลา 10 วัน ได้ถูกถอนออกไปก่อน เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากบริษัทประกันเป็นอย่างมาก ว่าเป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรม เพราะบางครั้งบริษัทประกันไม่ได้ตั้งใจประวิงการจ่ายค่าสินไหมล่าช้า แต่เป็นเรื่องเข้าใจผิดระหว่างลูกค้ากับบริษัทประกันมากกว่า
ทั้งนี้ มีโอกาสเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่มีฐานลูกค้าจำนวนมาก คปภ.จึงเห็นว่าหากให้ความสำคัญและเข้มงวด โดยมีการตรวจสอบเรื่องเงินกองทุนและสภาพคล่องให้เพียงพอตามที่กำหนด ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุแล้ว ก็คงไม่มีเรื่องการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้าอีกสำหรับมาตรการดังกล่าวนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทประกันสร้างความเสียหายให้กับประชาชนอีก จากเดิมที่ปล่อยให้ประชาชนได้รับความเสียหายไปก่อน แล้วถึงได้มีการสั่งให้หยุดรับประกัน เปลี่ยนมาเป็นการสกัดปัญหาก่อนที่ประชาชนจะเดือดร้อน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=190727
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news11/09/07
โพสต์ที่ 68
จัดระเบียบตัวแทนประกัน
โพสต์ทูเดย์ คปภ.เตรียมจัดระเบียบ ตัวแทน นายหน้า กำหนดต้องสอบความรู้เฉพาะ วัดระดับ ก่อนเสนอขายประกัน
นายสรศักดิ์ ทันตสุวรรณ อดีตรองอธิบดีกรมการประกันภัย หรือนิติกร 9 สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ผลการประชุมร่วมกับภาคเอกชน หัวข้อการดูแลสิทธิประโยชน์ของประชาชน เพื่อเป็นแนวทางการทำงานของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ควรจะยกระดับคุณภาพของตัวกลางการประกันภัย ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทน นายหน้า ผู้สำรวจภัย พนักงานประเมินราคาความเสียหาย
เนื่องจากคนกลางเป็นคนแรกที่มีการติดต่อให้ข้อมูลกับลูกค้า และเป็น ผู้บริการหลังการขายให้ลูกค้าด้วย มีการติดต่อกับลูกค้าตลอดเวลา หากต้องการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับลูกค้าตั้งแต่ต้นทาง จึงต้องควบคุมคุณภาพและลงโทษที่เข้มงวด
นายสรศักดิ์ กล่าวว่า คปภ.จะเป็นผู้ดำเนินการเรื่องดังกล่าว โดยจะเป็นผู้กำหนดหลักสูตรการอบรม การจัดหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สถานที่ จัดสอบวัดระดับความรู้ และออกใบรับรองหลักสูตร
ปัจจุบันคนกลางสอบครั้งเดียวก็ทำงานได้ตลอดชีวิตและมีระดับเดียว ต่อไปตัวแทนที่มีลูกค้ามาก เช่น 1,000 ราย จะต้องมีระดับความรู้ที่สูงกว่า ตัวแทนที่มีลูกค้า 100 ราย เพราะความรับผิดชอบต่างกัน ซึ่งบริษัทต้อง ส่งมาสอบ ถ้าสอบไม่ผ่านอาจจะต้อง ถูกลดระดับลง เพราะถือว่าไม่ผ่านคุณสมบัติ นายสรศักดิ์ กล่าว
นายสรศักดิ์ กล่าวว่า แนวทางดังกล่าวจะส่งผลดีต่อคนกลางและต่อประชาชน เพราะเมื่อตัวแทน นายหน้า ผู้สำรวจภัย ผู้ประเมินราคาความเสียหาย ที่ไต่ระดับขึ้นไปสูงๆ จะทำงานอย่างระมัดระวัง เพื่อรักษาระดับของตัวเองเอาไว้ ด้วยการไม่สร้างความเสียหายแก่ลูกค้าและประชาชน ลูกค้าจะได้รับการดูแลที่ดี ทำให้ภาพลักษณ์ของธุรกิจดีขึ้น
นางภคินีนาถ ติยะชาติ ประธานคณะอนุกรรมการระบบบัญชีและ ภาษี บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต กล่าวว่า วิธีการดังกล่าวถือเป็นแนวคิดที่ดีในการจัดอบรมความรู้ให้กับ ตัวแทน แต่ปัญหาอยู่ที่การบังคับ ว่าตัวแทนที่จะขายประกันได้ จะต้องสอบผ่านหลักสูตรที่ คปภ.กำหนด จะขัดแย้งกับความเป็นจริงในปัจจุบัน เพราะหากจะต้องรอสอบหลักสูตร ตัวแทนจะไม่มีรายได้ในการไปเลี้ยงครอบครัว
ปัจจุบันระหว่างที่รอสอบใบอนุญาตสามารถที่จะเสนอขายประกันได้ โดยการแนะนำลูกค้าไปให้กับหัวหน้าทีม
น่าจะมีทางออกให้ผู้ที่สนใจเข้าสู่อาชีพตัวแทน ระหว่างที่รอสอบใบรับรองจาก คปภ.ควรจะมีการออกใบรับรองชั่วคราวให้ เพื่อจะได้ขายและมีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัว นางภคินีนาถ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=190726
โพสต์ทูเดย์ คปภ.เตรียมจัดระเบียบ ตัวแทน นายหน้า กำหนดต้องสอบความรู้เฉพาะ วัดระดับ ก่อนเสนอขายประกัน
นายสรศักดิ์ ทันตสุวรรณ อดีตรองอธิบดีกรมการประกันภัย หรือนิติกร 9 สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ผลการประชุมร่วมกับภาคเอกชน หัวข้อการดูแลสิทธิประโยชน์ของประชาชน เพื่อเป็นแนวทางการทำงานของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ควรจะยกระดับคุณภาพของตัวกลางการประกันภัย ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทน นายหน้า ผู้สำรวจภัย พนักงานประเมินราคาความเสียหาย
เนื่องจากคนกลางเป็นคนแรกที่มีการติดต่อให้ข้อมูลกับลูกค้า และเป็น ผู้บริการหลังการขายให้ลูกค้าด้วย มีการติดต่อกับลูกค้าตลอดเวลา หากต้องการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับลูกค้าตั้งแต่ต้นทาง จึงต้องควบคุมคุณภาพและลงโทษที่เข้มงวด
นายสรศักดิ์ กล่าวว่า คปภ.จะเป็นผู้ดำเนินการเรื่องดังกล่าว โดยจะเป็นผู้กำหนดหลักสูตรการอบรม การจัดหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สถานที่ จัดสอบวัดระดับความรู้ และออกใบรับรองหลักสูตร
ปัจจุบันคนกลางสอบครั้งเดียวก็ทำงานได้ตลอดชีวิตและมีระดับเดียว ต่อไปตัวแทนที่มีลูกค้ามาก เช่น 1,000 ราย จะต้องมีระดับความรู้ที่สูงกว่า ตัวแทนที่มีลูกค้า 100 ราย เพราะความรับผิดชอบต่างกัน ซึ่งบริษัทต้อง ส่งมาสอบ ถ้าสอบไม่ผ่านอาจจะต้อง ถูกลดระดับลง เพราะถือว่าไม่ผ่านคุณสมบัติ นายสรศักดิ์ กล่าว
นายสรศักดิ์ กล่าวว่า แนวทางดังกล่าวจะส่งผลดีต่อคนกลางและต่อประชาชน เพราะเมื่อตัวแทน นายหน้า ผู้สำรวจภัย ผู้ประเมินราคาความเสียหาย ที่ไต่ระดับขึ้นไปสูงๆ จะทำงานอย่างระมัดระวัง เพื่อรักษาระดับของตัวเองเอาไว้ ด้วยการไม่สร้างความเสียหายแก่ลูกค้าและประชาชน ลูกค้าจะได้รับการดูแลที่ดี ทำให้ภาพลักษณ์ของธุรกิจดีขึ้น
นางภคินีนาถ ติยะชาติ ประธานคณะอนุกรรมการระบบบัญชีและ ภาษี บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต กล่าวว่า วิธีการดังกล่าวถือเป็นแนวคิดที่ดีในการจัดอบรมความรู้ให้กับ ตัวแทน แต่ปัญหาอยู่ที่การบังคับ ว่าตัวแทนที่จะขายประกันได้ จะต้องสอบผ่านหลักสูตรที่ คปภ.กำหนด จะขัดแย้งกับความเป็นจริงในปัจจุบัน เพราะหากจะต้องรอสอบหลักสูตร ตัวแทนจะไม่มีรายได้ในการไปเลี้ยงครอบครัว
ปัจจุบันระหว่างที่รอสอบใบอนุญาตสามารถที่จะเสนอขายประกันได้ โดยการแนะนำลูกค้าไปให้กับหัวหน้าทีม
น่าจะมีทางออกให้ผู้ที่สนใจเข้าสู่อาชีพตัวแทน ระหว่างที่รอสอบใบรับรองจาก คปภ.ควรจะมีการออกใบรับรองชั่วคราวให้ เพื่อจะได้ขายและมีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัว นางภคินีนาถ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=190726
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news19/09/07
โพสต์ที่ 69
จันทราขีดเส้นตาย1ธันวาคมออนไลน์ประกันพ.ร.บ.ทุกวัน [ ฉบับที่ 829 ประจำวันที่ 19-9-2007 ถึง 21-9-2007]
จันทรา เอาใจวินาศภัย ยอม ยืดเวลารายงานข้อมูลประกันพ.ร.บ. จากเดิมให้รายงานแบบออนไลน์วันต่อวันทันทีที่รับประกันเป็นรายงานภายใน 3 วัน ยอมรับบริษัทมีปัญหาเชื่อมโยงระบบงานส่วนกลาง-ภูมิภาคไม่ทัน แต่ให้เวลาแค่ 1 ธันวานี้เท่านั้น หลังจากนั้นต้องรายงานข้อมูลลูกค้าทุกวันหมดสิทธิ์ต่อรอง
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออก ประกาศนายทะเบียนเรื่องขยายระยะเวลา ผ่อนผันการรายงานการรับประกันภัยรถตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535 จากเดิมที่กำหนดให้บริษัทจัด ส่งรายงานการรับประกันภัยรถตามพ.ร.บ. โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านระบบออนไลน์ต่อนายทะเบียนทันทีหลังจากที่ได้รับประกันภัยรถโดยระยะเริ่มต้นมีการผ่อนผันให้สามารถส่งข้อมูลได้ภายใน 7 วันหลังจากที่มีการรับประกันภัยรถนั้น
แต่ปรากฏว่าเมื่อครบระยะเวลาผ่อนผันแล้ว บริษัทยังไม่สามารถรายงานข้อมูลได้ทันทีเนื่องจากยังมีปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระบบงานอยู่ ดังนั้นเพื่อให้บริษัทมีระยะเวลาในการปรับปรุงระบบเพื่อให้การรายงานข้อมูลมีคุณภาพจึงได้ได้ขยายระยะเวลาการรายงานข้อมูลการรับประกันภัยรถตามพ.ร.บ.โดยผ่อนผันให้บริษัทสามารถจัดส่งรายงานได้ภายใน 3 วันหลังจากที่ได้มีการรับประกันภัยรถเริ่มตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน โดยระยะเวลาผ่อนผันสิ้นสุดในวันที่ 1 ธันวาคม 2550 นี้ หลังจากนั้นต้องรายงานข้อมูลในทันที
การที่เลขาธิการคปภ.สั่งให้บริษัทประกันภัยส่งข้อมูลการประกันภัยพ.ร.บ.เป็นรายวันหรือทันทีที่รับประกันภัย(เรียล ไทม์) เพื่อให้กรมการขนส่งทางบกเข้ามาตรวจสอบข้อมูลที่ทำประกันภัยพ.ร.บ.ก่อนรับจดทะเบียนรถใหม่หรือรับชำระภาษีป้ายประจำปีได้ตลอดเวลาเนื่องจากพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฉบับแก้ไขใหม่ที่เริ่มใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2550 กำหนดให้กรมการขนส่งทางบกต้องตรวจสอบรถทุกคันต้องมีประกันภัยพ.ร.บ.ก่อนรับจดทะเบียนหรือรับชำระภาษีได้
แต่เนื่องจากกฎหมายได้ยกเลิกเครื่องหมายประกันภัยพ.ร.บ.หรือสติกเกอร์ไปพร้อมกันโดยสติกเกอร์เป็นหลักฐานสำคัญแสดงการมีประกันภัยของรถแต่ละคัน ดังนั้นเมื่อไม่มีสติกเกอร์การตรวจสอบการทำประกันภัยจึงจำเป็นต้องเช็คจากฐานข้อมูลของกรมการประกันภัยเพื่อยืนยันการทำประกันภัยของรถแต่ละคัน
อีกทั้งการรายงานข้อมูลประกันภัยพ.ร.บ.ทันทียังอำนวยความสะดวกให้กับโรงพยาบาลที่รับผู้บาดเจ็บจากรถสามารถเข้ามาตรวจสอบสิทธิพ.ร.บ.ของผู้บาดเจ็บเพื่อให้การรักษาอย่างทันท่วงทีโดยการเรียกเก็บค่ารักษาผ่านระบบอินเตอร์เน็ตกับบริษัทบริษัทประกันภัยหรืออีเคลมได้
นายสรศักดิ์ ทันตสุวรรณ รองเลขาธิการคปภ. กล่าวว่า การรายงานข้อมูลประกันพ.ร.บ.แบบออนไลน์ขึ้นอยู่กับระบบคอมพิวเตอร์ปัญหาอยู่ที่ว่าบริษัทสามารถสร้างระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงระบบงานระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคได้หรือยังหากยังจะไม่สามารถรายงานข้อมูลได้ทันที
ขณะที่บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด โดยนายสมพร สืบถวิลกุล เปิดเผย"สยามธุรกิจ"ว่า ขณะนี้บริษัทได้สั่งซื้อเครื่องขายประกันพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์แบบอัตโนมัติแล้ว 400 เครื่องเป็นการใช้เองในสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาทั่วประเทศประมาณ 100 เครื่อง อีก 300 เครื่องให้ตัวแทนมาเช่าซื้อไปเพื่อนำไปใช้ออกกรมธรรม์ได้ทันทีและรายงานข้อมูลลูกค้ามายังบริษัททันทีที่รับประกันเช่นกันซึ่งจากปริมาณเครื่องที่มีทางบริษัทสามารถที่จะออนไลน์ข้อมูลประกันภัยพ.ร.บ.ส่งตรงไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(สำนักงานคปภ.)ได้ทันทีแบบวันต่อวันหากสำนักงานคปภ.ต้องการ
อย่างไรก็ดี นายสมพรยอมรับว่า การรายงานข้อมูลลูกค้าแบบวันต่อวันไม่สามารถทำได้ครอบคลุมทั่วประเทศเนื่องจากยังมีตัวแทนส่วนใหญ่ของบริษัทอีกประมาณ 1,500-1,600 คนที่ยังไม่มีเครื่องขายประกันพ.ร.บ.แบบอัตโนมัติและต้องสั่งซื้อเองทำให้การรายงานข้อมูลลูกค้ายังทำไม่ได้ทั่วประเทศหากจะให้ครอบคลุมทั้งหมดต้องใช้เครื่อง 1,500 เครื่อง แต่แม้จะไม่มีเครื่องขายประกันพ.ร.บ.อัตโนมัติหากตัวแทนคนใดมีคอมพิวเตอร์สามารถออนไลน์ข้อมูลลูกค้ามายังบริษัทได้ทันที แต่อาจจะต้องไปหาซื้อเครื่องพริ้นเตอร์เพิ่มเพื่อพิมพ์กรมธรรม์เท่านั้น
ก่อนหน้านี้มีบริษัทประกันภัยหลายแห่ง อาทิ บมจ.ทิพยประกันภัย บมจ.เทเวศประกันภัย บริษัท ไอโออิประกันภัย บมจ.ไทยเศรษฐกิจประกันภัย บมจ.สินมั่นคงประกันภัย ได้ทำการสั่งซื้อเครื่องขายประกันภัยพ.ร.บ.อัตโนมัติไปใช้ในพื้นที่ห่างไกลซึ่งยังไม่มีโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อสะดวกต่อการนำส่งข้อมูลประกันภัยพ.ร.บ.ทุกวัน
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=6763
จันทรา เอาใจวินาศภัย ยอม ยืดเวลารายงานข้อมูลประกันพ.ร.บ. จากเดิมให้รายงานแบบออนไลน์วันต่อวันทันทีที่รับประกันเป็นรายงานภายใน 3 วัน ยอมรับบริษัทมีปัญหาเชื่อมโยงระบบงานส่วนกลาง-ภูมิภาคไม่ทัน แต่ให้เวลาแค่ 1 ธันวานี้เท่านั้น หลังจากนั้นต้องรายงานข้อมูลลูกค้าทุกวันหมดสิทธิ์ต่อรอง
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออก ประกาศนายทะเบียนเรื่องขยายระยะเวลา ผ่อนผันการรายงานการรับประกันภัยรถตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535 จากเดิมที่กำหนดให้บริษัทจัด ส่งรายงานการรับประกันภัยรถตามพ.ร.บ. โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านระบบออนไลน์ต่อนายทะเบียนทันทีหลังจากที่ได้รับประกันภัยรถโดยระยะเริ่มต้นมีการผ่อนผันให้สามารถส่งข้อมูลได้ภายใน 7 วันหลังจากที่มีการรับประกันภัยรถนั้น
แต่ปรากฏว่าเมื่อครบระยะเวลาผ่อนผันแล้ว บริษัทยังไม่สามารถรายงานข้อมูลได้ทันทีเนื่องจากยังมีปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระบบงานอยู่ ดังนั้นเพื่อให้บริษัทมีระยะเวลาในการปรับปรุงระบบเพื่อให้การรายงานข้อมูลมีคุณภาพจึงได้ได้ขยายระยะเวลาการรายงานข้อมูลการรับประกันภัยรถตามพ.ร.บ.โดยผ่อนผันให้บริษัทสามารถจัดส่งรายงานได้ภายใน 3 วันหลังจากที่ได้มีการรับประกันภัยรถเริ่มตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน โดยระยะเวลาผ่อนผันสิ้นสุดในวันที่ 1 ธันวาคม 2550 นี้ หลังจากนั้นต้องรายงานข้อมูลในทันที
การที่เลขาธิการคปภ.สั่งให้บริษัทประกันภัยส่งข้อมูลการประกันภัยพ.ร.บ.เป็นรายวันหรือทันทีที่รับประกันภัย(เรียล ไทม์) เพื่อให้กรมการขนส่งทางบกเข้ามาตรวจสอบข้อมูลที่ทำประกันภัยพ.ร.บ.ก่อนรับจดทะเบียนรถใหม่หรือรับชำระภาษีป้ายประจำปีได้ตลอดเวลาเนื่องจากพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฉบับแก้ไขใหม่ที่เริ่มใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2550 กำหนดให้กรมการขนส่งทางบกต้องตรวจสอบรถทุกคันต้องมีประกันภัยพ.ร.บ.ก่อนรับจดทะเบียนหรือรับชำระภาษีได้
แต่เนื่องจากกฎหมายได้ยกเลิกเครื่องหมายประกันภัยพ.ร.บ.หรือสติกเกอร์ไปพร้อมกันโดยสติกเกอร์เป็นหลักฐานสำคัญแสดงการมีประกันภัยของรถแต่ละคัน ดังนั้นเมื่อไม่มีสติกเกอร์การตรวจสอบการทำประกันภัยจึงจำเป็นต้องเช็คจากฐานข้อมูลของกรมการประกันภัยเพื่อยืนยันการทำประกันภัยของรถแต่ละคัน
อีกทั้งการรายงานข้อมูลประกันภัยพ.ร.บ.ทันทียังอำนวยความสะดวกให้กับโรงพยาบาลที่รับผู้บาดเจ็บจากรถสามารถเข้ามาตรวจสอบสิทธิพ.ร.บ.ของผู้บาดเจ็บเพื่อให้การรักษาอย่างทันท่วงทีโดยการเรียกเก็บค่ารักษาผ่านระบบอินเตอร์เน็ตกับบริษัทบริษัทประกันภัยหรืออีเคลมได้
นายสรศักดิ์ ทันตสุวรรณ รองเลขาธิการคปภ. กล่าวว่า การรายงานข้อมูลประกันพ.ร.บ.แบบออนไลน์ขึ้นอยู่กับระบบคอมพิวเตอร์ปัญหาอยู่ที่ว่าบริษัทสามารถสร้างระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงระบบงานระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคได้หรือยังหากยังจะไม่สามารถรายงานข้อมูลได้ทันที
ขณะที่บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด โดยนายสมพร สืบถวิลกุล เปิดเผย"สยามธุรกิจ"ว่า ขณะนี้บริษัทได้สั่งซื้อเครื่องขายประกันพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์แบบอัตโนมัติแล้ว 400 เครื่องเป็นการใช้เองในสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาทั่วประเทศประมาณ 100 เครื่อง อีก 300 เครื่องให้ตัวแทนมาเช่าซื้อไปเพื่อนำไปใช้ออกกรมธรรม์ได้ทันทีและรายงานข้อมูลลูกค้ามายังบริษัททันทีที่รับประกันเช่นกันซึ่งจากปริมาณเครื่องที่มีทางบริษัทสามารถที่จะออนไลน์ข้อมูลประกันภัยพ.ร.บ.ส่งตรงไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(สำนักงานคปภ.)ได้ทันทีแบบวันต่อวันหากสำนักงานคปภ.ต้องการ
อย่างไรก็ดี นายสมพรยอมรับว่า การรายงานข้อมูลลูกค้าแบบวันต่อวันไม่สามารถทำได้ครอบคลุมทั่วประเทศเนื่องจากยังมีตัวแทนส่วนใหญ่ของบริษัทอีกประมาณ 1,500-1,600 คนที่ยังไม่มีเครื่องขายประกันพ.ร.บ.แบบอัตโนมัติและต้องสั่งซื้อเองทำให้การรายงานข้อมูลลูกค้ายังทำไม่ได้ทั่วประเทศหากจะให้ครอบคลุมทั้งหมดต้องใช้เครื่อง 1,500 เครื่อง แต่แม้จะไม่มีเครื่องขายประกันพ.ร.บ.อัตโนมัติหากตัวแทนคนใดมีคอมพิวเตอร์สามารถออนไลน์ข้อมูลลูกค้ามายังบริษัทได้ทันที แต่อาจจะต้องไปหาซื้อเครื่องพริ้นเตอร์เพิ่มเพื่อพิมพ์กรมธรรม์เท่านั้น
ก่อนหน้านี้มีบริษัทประกันภัยหลายแห่ง อาทิ บมจ.ทิพยประกันภัย บมจ.เทเวศประกันภัย บริษัท ไอโออิประกันภัย บมจ.ไทยเศรษฐกิจประกันภัย บมจ.สินมั่นคงประกันภัย ได้ทำการสั่งซื้อเครื่องขายประกันภัยพ.ร.บ.อัตโนมัติไปใช้ในพื้นที่ห่างไกลซึ่งยังไม่มีโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อสะดวกต่อการนำส่งข้อมูลประกันภัยพ.ร.บ.ทุกวัน
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=6763
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news19/09/07
โพสต์ที่ 70
แมนูไลฟ์ฯ5ปีติดกลุ่มท็อปเทนหัวหอก ตัวแทน-บลจ.-แบงก์ [ ฉบับที่ 829 ประจำวันที่ 19-9-2007 ถึง 21-9-2007]
แมนูไลฟ์ประกันชีวิต พร้อมรบ หลังได้มือดีร่วมทัพผู้บริหารระดับสูงครบทีม ตั้งเป้าอีก 5 ปี ติด ท็อปเทน ประกันชีวิตเมืองไทย ผนึก 3 ช่องทาง ตัวแทน-บลจ.-เทเลฯ พ่วงแบงก์แอสชัวรันส์ หัวหอกก้าวสู่ความสำเร็จเดินหน้าเร่งปั้นมือทอง ฟูลไทม์ ดึงระบบอบรม SMT พัฒนามาตรฐานการทำงาน เตรียมจับมือ บลจ.แมนูไลฟ์ ดันตัวแทนขายกองทุน เพิ่มช่องทางการทำงาน
นายบรูส เอ็ม ฮ็อดเจส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สิ่งที่บริษัทต้องทำ คือ การวางโครงสร้างพื้นฐานทีมงานให้มีแข็งแกร่งก่อน ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้ใช้เวลาในการเตรียมทีมงานผู้บริหารระดับสูงจนถึงขณะนี้มีบุคคลากรที่มีความพร้อมในการทำงานครบทุกด้านแล้ว
สำหรับยุทธศาสตร์การทำงาน บริษัทจะเน้นให้ความสำคัญในช่องทางตัวแทน โดยมุ่งให้ตัวแทนมีความเป็นมืออาชีพ เช่นเดียวกับบลจ.แมนูไลฟ์ นอกจากนั้นยังเพิ่มช่องทางการขายใหม่ อาทิ การขายผ่านทางโทรศัพท์หรือเทเลมาร์เก็ตติ้งรวมถึงแบงก์แอสชัวรันส์เพื่อนำไปสู่วิสัยทัศน์การเป็นบริษัทประกันชีวิตที่มีความเป็นมืออาชีพ โดยการให้บริการจัดการความคุ้มครองและการออมทางการเงินที่ดีที่สุด และตรงตามความต้องการของลูกค้าในทุกตลาดที่ดำเนินธุรกิจ ภายใต้แนวทาง PRIDE โดย P คือ Professionalism หรือความเป็นมืออาชีพ เพื่อให้ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานความเป็นมืออาชีพ พนักงานและตัวแทนประกันชีวิตจะต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญเพื่อเอื้อผลประโยชน์สูงสุดต่อลูกค้า
R มาจาก Real Value to Our Customers หรือคุณค่าที่แท้จริงต่อลูกค้า ด้วยการเสนอสินค้า คำแนะนำ ที่มีคุณภาพดีที่สุดอย่างต่อเนื่อง และสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าว่าจะได้รับคำแนะนำที่เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละบุคคล I คือ Integrity ความซื่อสัตย์ ขณะที่ D คือ Demonstrated Financial Strength หรือความเข้มแข็งทางการเงิน และE หรือ Employer of choice หรือการเป็นนายจ้างที่ทุกคนอยากทำงานด้วย เนื่องจากพนักงานเป็นผู้กำหนดความสำเร็จในอนาคต ดังนั้นการที่จะดึงพนักงานที่มีคุณภาพต้องมีการลงทุนในเรื่องของการพัฒนาทรัพยกรบุคคล
นายบรูสกล่าวว่า ตั้งเป้าหมายอีก 5 ปี ข้างหน้าจะเป็นบริษัทที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของธุรกิจประกันชีวิตไทยซึ่งตนมั่นใจในความพร้อมของทีมงาน สินค้าและตัวแทน ซึ่งจะเป็นปัจจัยในการก้าวสู่ความสำเร็จได้ แต่อย่างไรก็ดีจะต้องพยายามให้ช่องทางการทำงานทั้ง 3 ส่วน คือ ตัวแทนประกันชีวิต บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และช่องทางการขายอื่นๆ เช่น แบงก์แอสชัวรันส์ก้าวไปด้วยกันให้ได้ อย่างไรก็ดี การที่บริษัทไม่มีธนาคารในเครือถือเป็นจุดได้เปรียบทำให้บริษัทสามารถเข้าไปเจรจากับธนาคารได้หลายแห่ง
ด้านนายภรต ยมจินดา รองประธานบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายตัวแทน กล่าวว่า บริษัทจะนำโปรแกรมการฝึกอบรมตัวแทน Sale Management Trainee หรือ SMT ซึ่งเป็นโปรแกรมการฝึกอบรมของแมนูไลฟ์ที่นำมาใช้ในการพัฒนาตัวแทน โดยจะนำโมเดลทีประสบความสำเร็จมาจากจีน ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้นและกำลังศึกษาถึง key Successes ของโมเดลอยู่ ซึ่งหลักสูตรจะใช้เวลาในการเรียน 1 ปี
นอกจากนั้นยังมุ่งสร้างตัวแทนที่ทำงานแบบเต็มเวลาที่มีมาตรฐาน เนื่องจากปัญหาที่ประเทศไทยประสบอยู่คือ ตัวแทนส่วนใหญ่ทำงานแบบพาร์ทไทม์ ซึ่งเมื่อถึงระดับหนึ่งตัวแทนกลุ่มนี้จะชะลอการพัฒนาตัวเอง โดยขณะนี้ได้เริ่มสัมภาษณ์ผู้ที่สนใจเข้ามาเป็นตัวแทนไปแล้ว โดยสัมภาษณ์ 300 คนจะได้ตัวแทนที่มีคุณสมบัติครบประมาณ 30 คน เนื่องจากกลุ่มนี้ต้องทำงานกับบริษัทเป็นเวลาทุกวัน ดังนั้นจะต้องปลูกฝังวัฒนธรรมการทำงานให้ ขณะที่ตัวแทนเก่าที่มีอยู่มีจำนวนไม่มากต้องปลูกฝังแนวคิดการทำงานแบบเต็มเวลาให้ด้วยเช่นกัน
นายอลัน แคม กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บลจ.แมนูไลฟ์ ถือว่าเป็น 1 ใน 3 ของ บลจ.ใหม่ที่ได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2550 โดยมีกองทุนอยู่ทั้งหมด 5 กองทุน เช่น FIF ซึ่งมีมูลค่า 900 ล้านบาท เป็นต้น และในไตรมาสสุดท้าย จะออกกองทุนเพิ่ม อีก 2 กอง ตั้งเป้ารายได้ 1,200 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ทางบลจ.ได้มีการคุยกับทาง แมนูไลฟ์ประกันชีวิต แล้วว่าในอนาคตอาจจะให้ตัวแทนประกันชีวิตเข้ามาขายเรื่องกองทุนด้วย
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=6765
แมนูไลฟ์ประกันชีวิต พร้อมรบ หลังได้มือดีร่วมทัพผู้บริหารระดับสูงครบทีม ตั้งเป้าอีก 5 ปี ติด ท็อปเทน ประกันชีวิตเมืองไทย ผนึก 3 ช่องทาง ตัวแทน-บลจ.-เทเลฯ พ่วงแบงก์แอสชัวรันส์ หัวหอกก้าวสู่ความสำเร็จเดินหน้าเร่งปั้นมือทอง ฟูลไทม์ ดึงระบบอบรม SMT พัฒนามาตรฐานการทำงาน เตรียมจับมือ บลจ.แมนูไลฟ์ ดันตัวแทนขายกองทุน เพิ่มช่องทางการทำงาน
นายบรูส เอ็ม ฮ็อดเจส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สิ่งที่บริษัทต้องทำ คือ การวางโครงสร้างพื้นฐานทีมงานให้มีแข็งแกร่งก่อน ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้ใช้เวลาในการเตรียมทีมงานผู้บริหารระดับสูงจนถึงขณะนี้มีบุคคลากรที่มีความพร้อมในการทำงานครบทุกด้านแล้ว
สำหรับยุทธศาสตร์การทำงาน บริษัทจะเน้นให้ความสำคัญในช่องทางตัวแทน โดยมุ่งให้ตัวแทนมีความเป็นมืออาชีพ เช่นเดียวกับบลจ.แมนูไลฟ์ นอกจากนั้นยังเพิ่มช่องทางการขายใหม่ อาทิ การขายผ่านทางโทรศัพท์หรือเทเลมาร์เก็ตติ้งรวมถึงแบงก์แอสชัวรันส์เพื่อนำไปสู่วิสัยทัศน์การเป็นบริษัทประกันชีวิตที่มีความเป็นมืออาชีพ โดยการให้บริการจัดการความคุ้มครองและการออมทางการเงินที่ดีที่สุด และตรงตามความต้องการของลูกค้าในทุกตลาดที่ดำเนินธุรกิจ ภายใต้แนวทาง PRIDE โดย P คือ Professionalism หรือความเป็นมืออาชีพ เพื่อให้ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานความเป็นมืออาชีพ พนักงานและตัวแทนประกันชีวิตจะต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญเพื่อเอื้อผลประโยชน์สูงสุดต่อลูกค้า
R มาจาก Real Value to Our Customers หรือคุณค่าที่แท้จริงต่อลูกค้า ด้วยการเสนอสินค้า คำแนะนำ ที่มีคุณภาพดีที่สุดอย่างต่อเนื่อง และสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าว่าจะได้รับคำแนะนำที่เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละบุคคล I คือ Integrity ความซื่อสัตย์ ขณะที่ D คือ Demonstrated Financial Strength หรือความเข้มแข็งทางการเงิน และE หรือ Employer of choice หรือการเป็นนายจ้างที่ทุกคนอยากทำงานด้วย เนื่องจากพนักงานเป็นผู้กำหนดความสำเร็จในอนาคต ดังนั้นการที่จะดึงพนักงานที่มีคุณภาพต้องมีการลงทุนในเรื่องของการพัฒนาทรัพยกรบุคคล
นายบรูสกล่าวว่า ตั้งเป้าหมายอีก 5 ปี ข้างหน้าจะเป็นบริษัทที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของธุรกิจประกันชีวิตไทยซึ่งตนมั่นใจในความพร้อมของทีมงาน สินค้าและตัวแทน ซึ่งจะเป็นปัจจัยในการก้าวสู่ความสำเร็จได้ แต่อย่างไรก็ดีจะต้องพยายามให้ช่องทางการทำงานทั้ง 3 ส่วน คือ ตัวแทนประกันชีวิต บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และช่องทางการขายอื่นๆ เช่น แบงก์แอสชัวรันส์ก้าวไปด้วยกันให้ได้ อย่างไรก็ดี การที่บริษัทไม่มีธนาคารในเครือถือเป็นจุดได้เปรียบทำให้บริษัทสามารถเข้าไปเจรจากับธนาคารได้หลายแห่ง
ด้านนายภรต ยมจินดา รองประธานบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายตัวแทน กล่าวว่า บริษัทจะนำโปรแกรมการฝึกอบรมตัวแทน Sale Management Trainee หรือ SMT ซึ่งเป็นโปรแกรมการฝึกอบรมของแมนูไลฟ์ที่นำมาใช้ในการพัฒนาตัวแทน โดยจะนำโมเดลทีประสบความสำเร็จมาจากจีน ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้นและกำลังศึกษาถึง key Successes ของโมเดลอยู่ ซึ่งหลักสูตรจะใช้เวลาในการเรียน 1 ปี
นอกจากนั้นยังมุ่งสร้างตัวแทนที่ทำงานแบบเต็มเวลาที่มีมาตรฐาน เนื่องจากปัญหาที่ประเทศไทยประสบอยู่คือ ตัวแทนส่วนใหญ่ทำงานแบบพาร์ทไทม์ ซึ่งเมื่อถึงระดับหนึ่งตัวแทนกลุ่มนี้จะชะลอการพัฒนาตัวเอง โดยขณะนี้ได้เริ่มสัมภาษณ์ผู้ที่สนใจเข้ามาเป็นตัวแทนไปแล้ว โดยสัมภาษณ์ 300 คนจะได้ตัวแทนที่มีคุณสมบัติครบประมาณ 30 คน เนื่องจากกลุ่มนี้ต้องทำงานกับบริษัทเป็นเวลาทุกวัน ดังนั้นจะต้องปลูกฝังวัฒนธรรมการทำงานให้ ขณะที่ตัวแทนเก่าที่มีอยู่มีจำนวนไม่มากต้องปลูกฝังแนวคิดการทำงานแบบเต็มเวลาให้ด้วยเช่นกัน
นายอลัน แคม กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บลจ.แมนูไลฟ์ ถือว่าเป็น 1 ใน 3 ของ บลจ.ใหม่ที่ได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2550 โดยมีกองทุนอยู่ทั้งหมด 5 กองทุน เช่น FIF ซึ่งมีมูลค่า 900 ล้านบาท เป็นต้น และในไตรมาสสุดท้าย จะออกกองทุนเพิ่ม อีก 2 กอง ตั้งเป้ารายได้ 1,200 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ทางบลจ.ได้มีการคุยกับทาง แมนูไลฟ์ประกันชีวิต แล้วว่าในอนาคตอาจจะให้ตัวแทนประกันชีวิตเข้ามาขายเรื่องกองทุนด้วย
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=6765
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news24/09/07
โพสต์ที่ 71
ประกันชีวิตพุ่ง 7เดือนโต6เท่า โทร.ขาย714ล.
โพสต์ทูเดย์ เบี้ยประกันชีวิต 7 เดือนแรกปี 2550 พุ่งพรวดเกือบ 6 เท่า จากงวดเดียวกันของปีก่อน
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า ธุรกิจประกันชีวิตไทยเดือน ม.ค.-ก.ค. 2550 มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 110,307.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันในปี 2549 ถึง 17% หรือประมาณเกือบ 6 เท่า ของปีก่อนที่โต เพียง 3%
ทั้งนี้ แยกเป็นเบี้ยประกันภัยรับปีแรก 22,910.4 ล้านบาท เติบโต 31% เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนเพียง 4% เบี้ยประกันภัยรับปีต่ออายุ 76,389.5 ล้านบาท อัตราความคงอยู่ 85% จากปีก่อนอยู่ที่ 88% และเบี้ยประกันภัยรับจ่ายครั้งเดียว 11,007.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 143% ในขณะที่ระยะเวลาเดียวกันของปี 2549 มีอัตราการเติบโตเป็นลบ 50%
สำหรับช่องทางการจำหน่ายที่มีเบี้ยประกันภัยรับสูงสุด 3 อันดับแรก ในไตรมาส 2 ปี 2550 อันดับที่ 1 ขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต 31,676.02 ล้านบาท อันดับที่ 2 ผ่าน Bancassurance 6,852.05 ล้านบาท อันดับที่ 3 เป็นการจำหน่ายผ่าน Tele Marketing 714 ล้านบาท
นายสาระ กล่าวว่า จะเห็นว่าช่องทางการจำหน่ายใหม่ๆ ที่ นอกเหนือจากการจำหน่ายผ่านตัวแทนประกันชีวิตเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจประกันชีวิตมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงโอกาส ในการจำหน่ายผ่านแต่ละช่องทาง อีกทั้งการพัฒนาวิธีการจำหน่ายแต่ละช่องทางให้มีคุณภาพ มากขึ้น
การจำหน่ายผ่านช่องทางใหม่ ไม่ควรรบกวนประชาชน ทั่วไปจนก่อให้เกิดความรำคาญ นายสาระ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=193216
โพสต์ทูเดย์ เบี้ยประกันชีวิต 7 เดือนแรกปี 2550 พุ่งพรวดเกือบ 6 เท่า จากงวดเดียวกันของปีก่อน
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า ธุรกิจประกันชีวิตไทยเดือน ม.ค.-ก.ค. 2550 มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 110,307.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันในปี 2549 ถึง 17% หรือประมาณเกือบ 6 เท่า ของปีก่อนที่โต เพียง 3%
ทั้งนี้ แยกเป็นเบี้ยประกันภัยรับปีแรก 22,910.4 ล้านบาท เติบโต 31% เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนเพียง 4% เบี้ยประกันภัยรับปีต่ออายุ 76,389.5 ล้านบาท อัตราความคงอยู่ 85% จากปีก่อนอยู่ที่ 88% และเบี้ยประกันภัยรับจ่ายครั้งเดียว 11,007.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 143% ในขณะที่ระยะเวลาเดียวกันของปี 2549 มีอัตราการเติบโตเป็นลบ 50%
สำหรับช่องทางการจำหน่ายที่มีเบี้ยประกันภัยรับสูงสุด 3 อันดับแรก ในไตรมาส 2 ปี 2550 อันดับที่ 1 ขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต 31,676.02 ล้านบาท อันดับที่ 2 ผ่าน Bancassurance 6,852.05 ล้านบาท อันดับที่ 3 เป็นการจำหน่ายผ่าน Tele Marketing 714 ล้านบาท
นายสาระ กล่าวว่า จะเห็นว่าช่องทางการจำหน่ายใหม่ๆ ที่ นอกเหนือจากการจำหน่ายผ่านตัวแทนประกันชีวิตเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจประกันชีวิตมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงโอกาส ในการจำหน่ายผ่านแต่ละช่องทาง อีกทั้งการพัฒนาวิธีการจำหน่ายแต่ละช่องทางให้มีคุณภาพ มากขึ้น
การจำหน่ายผ่านช่องทางใหม่ ไม่ควรรบกวนประชาชน ทั่วไปจนก่อให้เกิดความรำคาญ นายสาระ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=193216
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news26/09/07
โพสต์ที่ 72
คปภ.ล็อบบี้สนช.ผลักดัน คลอดกม.ประกันอุ้มผู้ซื้อ
โพสต์ทูเดย์ คปภ.ล็อบบี้ สนช.โหวตรับร่าง พ.ร.บ.ประกันชีวิต-วินาศภัย ชี้ประชาชนได้ประโยชน์
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวในการสัมมนาที่คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ และคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน จัดขึ้นว่า กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ จำเป็นต้องปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์
ขณะที่บริษัทประกันภัยก็จะมีฐานะการเงินที่มั่นคงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้ปรับปรุงให้บริษัทต้องดำรงเงินกองทุนตามขนาดความเสี่ยงที่ดำเนินงานตามมาตรฐานสากล ช่วยประชาชนมั่นใจในการทำประกันมากขึ้น
นอกจากนี้ ประชาชนยังได้รับความคุ้มครองที่เป็นธรรม เกี่ยวกับการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย เพราะได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อให้ประชาชนได้รู้ข้อมูลที่ถูกต้องก่อนตัดสินใจซื้อ ประกันและป้องกันไม่ให้ประชาชนถูกเอาเปรียบและได้รับผลประโยชน์ตามที่ได้โฆษณาไว้ โดยกำหนดให้ข้อความที่โฆษณานั้นต้องเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ด้วย
นอกจากนี้ ยังให้ความคุ้มครองประชาชนไม่ให้ได้รับความเสียหายจากการกระทำการของตัวแทนของบริษัทประกันภัย กำหนดให้บริษัทต้องร่วมรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเป็นตัวแทนของบริษัทประกัน รวมถึงการจัดตั้งกองทุนคุ้มครองผู้เอาประกันภัย เพื่อให้ความคุ้มครองประชาชนผู้เอาประกันภัยให้ได้รับการจ่ายเงินตามกรมธรรม์ ในกรณีที่บริษัทต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาต รวมถึงกำหนดให้บริษัทประกันต้องเปิดเผยข้อมูลในเรื่องฐานะการเงิน
นายไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต ในฐานะสมาชิก สนช. กล่าวว่า โดยหลักการแล้วเห็นด้วยกับร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ เพียงแต่ในทางปฏิบัติแล้วจะมีปัญหาหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=193643
โพสต์ทูเดย์ คปภ.ล็อบบี้ สนช.โหวตรับร่าง พ.ร.บ.ประกันชีวิต-วินาศภัย ชี้ประชาชนได้ประโยชน์
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวในการสัมมนาที่คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ และคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน จัดขึ้นว่า กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ จำเป็นต้องปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์
ขณะที่บริษัทประกันภัยก็จะมีฐานะการเงินที่มั่นคงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้ปรับปรุงให้บริษัทต้องดำรงเงินกองทุนตามขนาดความเสี่ยงที่ดำเนินงานตามมาตรฐานสากล ช่วยประชาชนมั่นใจในการทำประกันมากขึ้น
นอกจากนี้ ประชาชนยังได้รับความคุ้มครองที่เป็นธรรม เกี่ยวกับการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย เพราะได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อให้ประชาชนได้รู้ข้อมูลที่ถูกต้องก่อนตัดสินใจซื้อ ประกันและป้องกันไม่ให้ประชาชนถูกเอาเปรียบและได้รับผลประโยชน์ตามที่ได้โฆษณาไว้ โดยกำหนดให้ข้อความที่โฆษณานั้นต้องเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ด้วย
นอกจากนี้ ยังให้ความคุ้มครองประชาชนไม่ให้ได้รับความเสียหายจากการกระทำการของตัวแทนของบริษัทประกันภัย กำหนดให้บริษัทต้องร่วมรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเป็นตัวแทนของบริษัทประกัน รวมถึงการจัดตั้งกองทุนคุ้มครองผู้เอาประกันภัย เพื่อให้ความคุ้มครองประชาชนผู้เอาประกันภัยให้ได้รับการจ่ายเงินตามกรมธรรม์ ในกรณีที่บริษัทต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาต รวมถึงกำหนดให้บริษัทประกันต้องเปิดเผยข้อมูลในเรื่องฐานะการเงิน
นายไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต ในฐานะสมาชิก สนช. กล่าวว่า โดยหลักการแล้วเห็นด้วยกับร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ เพียงแต่ในทางปฏิบัติแล้วจะมีปัญหาหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=193643
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news26/09/07
โพสต์ที่ 73
ทุนประกันชีวิต2แสนล้านอุ้มรัฐบาล [ ฉบับที่ 831 ประจำวันที่ 26-9-2007 ถึง 28-9-2007]
> เททันทีงวดแรก 3หมื่นล้าน
> ให้กู้ยืมผ่านสบน.นาน20ปี
สมาคมประกันชีวิตไทยฮึดแจ้งเกิด อินชัวรันส์ บอนด์ อีกยก ล่าสุดเปลี่ยน แนวรบหันหารือสบน. ชงออกพันธบัตรเฉพาะธุรกิจอายุ 20-30 ปี วงเงิน 20,000-30,000 ล้านบาท ฟุ้งผลประชุมเบื้อง ต้นราบรื่น เตรียมจัดทัพคุยรายละเอียดอีกครั้ง ทั้งระยะเวลา ผลตอบแทน รวมถึงรูปแบบการลงทุน เผยลงในเมกะโปรเจกต์เหมาะสุด เหตุสอดคล้องกับระยะเวลากรมธรรม์ส่วนใหญ่ยาว 15-20 ปี มั่นใจไม่สะดุดเพียงแค่หาการลงทุนที่เหมาะสมเท่านั้น พร้อมซื้อไม่อั้น แบเงินเย็นเต็มกระเป๋าตอนนี้ 200,000 ล้านบาท
เป็นความพยายามอย่างยิ่งของภาคธุรกิจประกันชีวิต ที่ จะหาช่องทางลงทุนที่ให้ผลตอบ แทนที่แน่นอนและเป็นช่องทาง ลงทุนในระยะยาวให้กับภาคธุรกิจ โดยช่องทางหนึ่งที่ธุรกิจ พยายามที่จะผลักดันให้เกิดขึ้นคือให้ภาครัฐออกพันธบัตรเฉพาะธุรกิจประกันชีวิตหรือ อินชัวรันส์ บอนด์ (Insurance Bond) ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยงและพันธบัตรก็เป็นช่องทางลงทุนหลักของบริษัทประกันชีวิตอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าที่ผ่านมาปริมาณพันธบัตรในตลาดยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งยังเสียเปรียบธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ที่มักจะได้โอกาสในการซื้อพันธบัตรในตลาดหลัก ขณะที่ภาคธุรกิจประกันชีวิตต้องซื้อพันธบัตรเหล่านี้ในตลาดรอง ทำให้นอกจากปริมาณที่ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการเหมือนกับการซื้อโดยตรงแล้ว ยังต้องซื้อในราคาที่แพงขึ้นอีกด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้สมาคมประกันชีวิตไทยในฐานะศูนย์กลางของบริษัทสมาชิก จึงพยายามอย่างยิ่งที่จะเสนอให้ภาครัฐมองเห็นความต้องการของธุรกิจประกันชีวิต พร้อมกับชี้ให้เห็นความสำคัญ และประโยชน์ของธุรกิจประกันชีวิตในการเป็นแหล่งเงินออมขนาดใหญ่ของประเทศที่ภาครัฐสามารถที่จะนำไปพัฒนาประเทศได้ โดยที่ผ่านมาได้พยายามจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในเรื่องของการออกพันธบัตรเฉพาะธุรกิจ แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า เสมือนเป็นการประสานไม่ถูกจุด กระทั่งล่าสุดความฝันของธุรกิจประกันชีวิตส่อเค้าเป็นจริงอีกครั้ง เมื่อสมาคมประกันชีวิตไทยเปลี่ยนแนวรบใหม่ หันไปหารือกับทางสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) และดูเหมือนว่ามีความคืบหน้า และมีความเป็นไปมากกว่าที่คิด
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยสยามธุรกิจว่า ทางสมาคมฯ ได้หารือกับสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) 2 ครั้งแล้วถึงเรื่องการออกพันธบัตรเฉพาะให้กับธุรกิจประกันชีวิต เพื่อให้ภาครัฐนำไปพัฒนาประเทศ โดยครั้งล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือว่าการหารือน่าพอใจ และมีความคืบหน้า โดยทางสมาคมฯ ได้เสนอให้ออกพันธบัตรระยะยาว (Long Term Bond) อายุ 20-25 ปีให้กับธุรกิจประกันชีวิต ซึ่งทางสบน.ก็เห็นชอบด้วย พร้อมกับเสนอมูลค่าของพันธบัตรที่ภาคธุรกิจสามารถซื้อได้ทันทีประมาณ 20,000-30,000 ล้านบาท โดยทางสบน.ก็รับไว้พิจารณา และนัดหมายให้ทางสมาคมฯ จัดคณะทำงานไปหารือในรายละเอียดในเรื่องความเหมาะสมของรูปแบบพันธบัตรดังกล่าว ซึ่งสมาคมฯ เตรียมให้คณะอนุกรรมการลงทุน เป็นคณะทำงานในเรื่องนี้
รายละเอียดที่ต้องไปคุย คือ เรื่องของระยะเวลา เพราะทางธุรกิจประกันชีวิตต้องการพันธบัตรระยะยาว ขณะที่พันธบัตรในตลาดมีอายุเฉลี่ย 6-7 ปี ก็ต้องไปคุยกันว่าระยะเวลาที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไร จากที่เราเสนอไป 20-25 ปีนั้น เหมาะสมหรือไม่ หรือจะเป็นระยะยาวมากกว่านั้น นอกจากนี้ยังต้องคุยกันถึงความเสี่ยง รวมถึงผลตอบแทนที่เหมาะสม ซึ่งตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่าควรจะเป็นเท่าไร คงต้องรอจัดทีมไปคุยกันก่อน แต่โดยปกติพันธบัตรในตลาดอายุ 6-7 ปี เฉลี่ยผลตอบแทนจะอยู่ที่ประมาณ 4-6%
นายสาระ กล่าวว่า นอกจากนี้ประเด็นสำคัญที่ต้องไปคุย คือ พันธบัตรที่ออกมานี้ภาครัฐจะเอาเม็ดเงินไปลงทุนอะไร ซึ่งหากถามความเหมาะสมของพันธบัตรดังกล่าว ก็น่าจะเหมาะกับการลงทุนในระยะยาว เช่น โครงการเมกกะโปรเจกค์ (Mega Project) ต่างๆ ของภาครัฐ เพราะสอดคล้องกับธุรกิจประกันชีวิตที่กรมธรรม์ส่วนใหญ่เป็นกรมธรรม์ระยะยาวอายุ 15-20 ปีอยู่แล้ว ขณะเดียวกันก็มีเม็ดเงินจากเบี้ยประกันชีวิตก็ถือเป็นแหล่งเงินออมขนาดใหญ่ของประเทศด้วยเม็ดเงินใหม่ที่เข้ามาในแต่ละปีประมาณ 100,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลถือเป็นการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยง และยังให้ผลตอบแทนที่แน่นอน (Fix Income) ตรงกับกฎเกณฑ์การลงทุนของธุรกิจด้วย
ทั้งนี้ปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิตมีเงินสดที่ถือเป็นเงินเย็นราว 200,000 ล้านบาท โดยในปี2549 ที่ผ่านมามีจำนวน 170,000 ล้านบาท ขณะที่สินทรัพย์ลงทุนมีการเติบโตเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% ทุกปี โดยปี2549 ที่ผ่านมามีสินทรัพย์ลงทุน 666,245 ล้านบาท มีรายได้สุทธิจากการลงทุนทั้งสิ้น 32,235 ล้านบาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 5.9% ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล 294,743 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปริมาณสินทรัพย์ลงทุนทั้งหมดจะเห็นว่ายังไม่มากนัก ดังนั้นหากรัฐบาลออกพันธบัตรเฉพาะให้กับธุรกิจประกันชีวิต บริษัทประกันชีวิตสามารถจะซื้อไว้ได้ทั้งหมด และยังมีเม็ดเงินที่สามารถซื้อได้ต่อเนื่องทุกปี ทำให้รัฐไม่ต้องไปหาแหล่งเงินกู้จากนอกประเทศ
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... 12DDS45231
> เททันทีงวดแรก 3หมื่นล้าน
> ให้กู้ยืมผ่านสบน.นาน20ปี
สมาคมประกันชีวิตไทยฮึดแจ้งเกิด อินชัวรันส์ บอนด์ อีกยก ล่าสุดเปลี่ยน แนวรบหันหารือสบน. ชงออกพันธบัตรเฉพาะธุรกิจอายุ 20-30 ปี วงเงิน 20,000-30,000 ล้านบาท ฟุ้งผลประชุมเบื้อง ต้นราบรื่น เตรียมจัดทัพคุยรายละเอียดอีกครั้ง ทั้งระยะเวลา ผลตอบแทน รวมถึงรูปแบบการลงทุน เผยลงในเมกะโปรเจกต์เหมาะสุด เหตุสอดคล้องกับระยะเวลากรมธรรม์ส่วนใหญ่ยาว 15-20 ปี มั่นใจไม่สะดุดเพียงแค่หาการลงทุนที่เหมาะสมเท่านั้น พร้อมซื้อไม่อั้น แบเงินเย็นเต็มกระเป๋าตอนนี้ 200,000 ล้านบาท
เป็นความพยายามอย่างยิ่งของภาคธุรกิจประกันชีวิต ที่ จะหาช่องทางลงทุนที่ให้ผลตอบ แทนที่แน่นอนและเป็นช่องทาง ลงทุนในระยะยาวให้กับภาคธุรกิจ โดยช่องทางหนึ่งที่ธุรกิจ พยายามที่จะผลักดันให้เกิดขึ้นคือให้ภาครัฐออกพันธบัตรเฉพาะธุรกิจประกันชีวิตหรือ อินชัวรันส์ บอนด์ (Insurance Bond) ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยงและพันธบัตรก็เป็นช่องทางลงทุนหลักของบริษัทประกันชีวิตอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าที่ผ่านมาปริมาณพันธบัตรในตลาดยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งยังเสียเปรียบธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ที่มักจะได้โอกาสในการซื้อพันธบัตรในตลาดหลัก ขณะที่ภาคธุรกิจประกันชีวิตต้องซื้อพันธบัตรเหล่านี้ในตลาดรอง ทำให้นอกจากปริมาณที่ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการเหมือนกับการซื้อโดยตรงแล้ว ยังต้องซื้อในราคาที่แพงขึ้นอีกด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้สมาคมประกันชีวิตไทยในฐานะศูนย์กลางของบริษัทสมาชิก จึงพยายามอย่างยิ่งที่จะเสนอให้ภาครัฐมองเห็นความต้องการของธุรกิจประกันชีวิต พร้อมกับชี้ให้เห็นความสำคัญ และประโยชน์ของธุรกิจประกันชีวิตในการเป็นแหล่งเงินออมขนาดใหญ่ของประเทศที่ภาครัฐสามารถที่จะนำไปพัฒนาประเทศได้ โดยที่ผ่านมาได้พยายามจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในเรื่องของการออกพันธบัตรเฉพาะธุรกิจ แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า เสมือนเป็นการประสานไม่ถูกจุด กระทั่งล่าสุดความฝันของธุรกิจประกันชีวิตส่อเค้าเป็นจริงอีกครั้ง เมื่อสมาคมประกันชีวิตไทยเปลี่ยนแนวรบใหม่ หันไปหารือกับทางสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) และดูเหมือนว่ามีความคืบหน้า และมีความเป็นไปมากกว่าที่คิด
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยสยามธุรกิจว่า ทางสมาคมฯ ได้หารือกับสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) 2 ครั้งแล้วถึงเรื่องการออกพันธบัตรเฉพาะให้กับธุรกิจประกันชีวิต เพื่อให้ภาครัฐนำไปพัฒนาประเทศ โดยครั้งล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือว่าการหารือน่าพอใจ และมีความคืบหน้า โดยทางสมาคมฯ ได้เสนอให้ออกพันธบัตรระยะยาว (Long Term Bond) อายุ 20-25 ปีให้กับธุรกิจประกันชีวิต ซึ่งทางสบน.ก็เห็นชอบด้วย พร้อมกับเสนอมูลค่าของพันธบัตรที่ภาคธุรกิจสามารถซื้อได้ทันทีประมาณ 20,000-30,000 ล้านบาท โดยทางสบน.ก็รับไว้พิจารณา และนัดหมายให้ทางสมาคมฯ จัดคณะทำงานไปหารือในรายละเอียดในเรื่องความเหมาะสมของรูปแบบพันธบัตรดังกล่าว ซึ่งสมาคมฯ เตรียมให้คณะอนุกรรมการลงทุน เป็นคณะทำงานในเรื่องนี้
รายละเอียดที่ต้องไปคุย คือ เรื่องของระยะเวลา เพราะทางธุรกิจประกันชีวิตต้องการพันธบัตรระยะยาว ขณะที่พันธบัตรในตลาดมีอายุเฉลี่ย 6-7 ปี ก็ต้องไปคุยกันว่าระยะเวลาที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไร จากที่เราเสนอไป 20-25 ปีนั้น เหมาะสมหรือไม่ หรือจะเป็นระยะยาวมากกว่านั้น นอกจากนี้ยังต้องคุยกันถึงความเสี่ยง รวมถึงผลตอบแทนที่เหมาะสม ซึ่งตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่าควรจะเป็นเท่าไร คงต้องรอจัดทีมไปคุยกันก่อน แต่โดยปกติพันธบัตรในตลาดอายุ 6-7 ปี เฉลี่ยผลตอบแทนจะอยู่ที่ประมาณ 4-6%
นายสาระ กล่าวว่า นอกจากนี้ประเด็นสำคัญที่ต้องไปคุย คือ พันธบัตรที่ออกมานี้ภาครัฐจะเอาเม็ดเงินไปลงทุนอะไร ซึ่งหากถามความเหมาะสมของพันธบัตรดังกล่าว ก็น่าจะเหมาะกับการลงทุนในระยะยาว เช่น โครงการเมกกะโปรเจกค์ (Mega Project) ต่างๆ ของภาครัฐ เพราะสอดคล้องกับธุรกิจประกันชีวิตที่กรมธรรม์ส่วนใหญ่เป็นกรมธรรม์ระยะยาวอายุ 15-20 ปีอยู่แล้ว ขณะเดียวกันก็มีเม็ดเงินจากเบี้ยประกันชีวิตก็ถือเป็นแหล่งเงินออมขนาดใหญ่ของประเทศด้วยเม็ดเงินใหม่ที่เข้ามาในแต่ละปีประมาณ 100,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลถือเป็นการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยง และยังให้ผลตอบแทนที่แน่นอน (Fix Income) ตรงกับกฎเกณฑ์การลงทุนของธุรกิจด้วย
ทั้งนี้ปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิตมีเงินสดที่ถือเป็นเงินเย็นราว 200,000 ล้านบาท โดยในปี2549 ที่ผ่านมามีจำนวน 170,000 ล้านบาท ขณะที่สินทรัพย์ลงทุนมีการเติบโตเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% ทุกปี โดยปี2549 ที่ผ่านมามีสินทรัพย์ลงทุน 666,245 ล้านบาท มีรายได้สุทธิจากการลงทุนทั้งสิ้น 32,235 ล้านบาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 5.9% ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล 294,743 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปริมาณสินทรัพย์ลงทุนทั้งหมดจะเห็นว่ายังไม่มากนัก ดังนั้นหากรัฐบาลออกพันธบัตรเฉพาะให้กับธุรกิจประกันชีวิต บริษัทประกันชีวิตสามารถจะซื้อไว้ได้ทั้งหมด และยังมีเม็ดเงินที่สามารถซื้อได้ต่อเนื่องทุกปี ทำให้รัฐไม่ต้องไปหาแหล่งเงินกู้จากนอกประเทศ
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... 12DDS45231
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news13/10/07
โพสต์ที่ 74
ครึ่งแรกประกันมารีนแผ่วเบี้ยแค่ 1,457 ล้าน [ ฉบับที่ 836 ประจำวันที่ 13-10-2007 ถึง 16-10-2007]
>> บาทแข็งฉุดนำเข้าทุบเบี้ยขนส่งสินค้าในปท.ร่วง
เปิดผลงานประกันมารีน 6 เดือนเก็บเบี้ยได้เพียง 1,457 ล้านบาท ลดลง 1.38% ผลพวงเงินบาทแข็งกดยอดนำเข้าสินค้าตกวูบ ทุบเบี้ยขนส่งภายในประเทศถดถอยตาม แม้เบี้ยส่งออกเติบโตแต่ดันไม่ขึ้น ขณะที่มูลค่าความเสียหาย 566 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อนก็จริงแต่ Loss Ratio เพิ่มเป็น 38% เหตุค่าเสียหายเฉลี่ยต่อครั้งเพิ่มจาก 66,600 บาทเป็น 79,630 บาท
บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด(มหาชน)หรือไทยรีรายงานสถิติการประกันภัยทางทะเลและขนส่งสินค้า(มารีน)ของบริษัทประกันวินาศภัยในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาว่า แม้ภาวะค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจะกระทบต่อภาคธุรกิจการค้าระหว่างประเทศก็ตาม แต่จากข้อมูลของธนารแห่งประเทศไทยตัวเลขมูลค่าการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2550 นี้ขยายตัว 18.4% คิดเป็นมูลค่า 70,641.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเมื่อคิดในรูปเงินบาทยังคงเพิ่มขึ้น 7.5%
เนื่องจากกลุ่มผู้ส่งออกส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติและเป็นกลุ่มผู้ผลิตสินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ โดยสินค้าส่งออกส่วนใหญ่คือ กลุ่มสินค้าไฮเทคซึ่งมีมูลค่าคิดเป็น 64% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดจึงทำให้การส่งออกไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากสถาณการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ในส่วนของธุรกิจประกันภัยมารีนประเภทการส่งออกมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงเพิ่มขึ้น 3.20% คิดเป็นเบี้ย 488.80 ล้านบาทตามมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นประกอบกับอัตราเบี้ยประกันภัยเฉลี่ยของการประกันภัยมารีนประเภทการส่งออกก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
สำหรับการนำเข้าในช่วงครึ่งปีแรกนี้ มีมูลค่าเท่ากับ 65,560.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.4% แต่เมื่อคิดอยู่ในรูปของเงินบาทกลับลดลง 3.47% สะท้อนให้เห็นถึงการชะลอตัวด้านการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศแม้จะมีการนำเข้าวัตถุดิบอยู่ก็ตามแต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้การนำเข้าสินค้าขยายตัวมากนัก บวกกับอัตราเบี้ยประกันภัยเฉลี่ยของการประกันภัยมารีนประเภทการนำเข้าและขนส่งภายในประเทศลดลง ส่งผลให้ผลการประกันภัยมารีนประเภทการนำเข้าในช่วงเดือน 6 เดือนมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง 532.78 ล้านบาท ลดลง 4.62% และยังส่งผลต่อเนื่องทำให้การรับประกันภัยมารีนการขนส่งสินค้าภายในประเทศมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง 435.37 ล้านบาท ลดลง 2.18% เช่นกัน
จากสถาณการณ์ดังกล่าวเห็นได้ว่าเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงของการนำเข้าสินค้าและการขนส่งสินค้าภายในประเทศลดลงในอัตราที่มากกว่าการเพิ่มขึ้นของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงของการส่งออกทำให้ผลการรับประกันภัยมารีนโดยรวมทั้งหมดมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงทั้งสิ้น 1,457 ล้านบาท ลดลง 1.38% จาก 1,477 ล้านบาท มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น 556 ล้านบาท ลดลง 1.88% จาก 566 ล้านบาท ส่งผลให้อัตราความเสียหายต่อเบี้ยประกันภัยที่ถือเป็นรายได้(Loss Ratio) เพิ่มขึ้นจาก 36.5% เป็น 38%
ทั้งนี้ หากทิศทางการส่งออกและนำเข้าสินค้ายังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป คาดว่าเบี้ยประกันภัยมารีนในช่วงไตรมาส 3 จะลดลงในอัตราไม่สูงมากนัก
สำหรับในช่วงครึ่งปีแรกนี้การประกันภัยมารีนมีความเสียหายเกิดขึ้นทั้งหมด 6,978 ครั้งลดลงจาก 8,503 ครั้งในช่วงเดียวกันของปี 2549 แต่ความเสียหายเฉลี่ยต่อครั้งมีมูลค่าสูงกว่าอยู่ที่ 79,630 บาทเทียบกับ 66,600 บาท โดยภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุดคือภัยเปียกน้ำเกิดขึ้นทั้งหมด 201 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 265.71 ล้านบาทเทียบกับในปี 2549 ที่มีความเสียหายเกิดขึ้น 234 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 37.75 ล้านบาท
รองลงมาเป็นภัยแตกหักมีความเสียหายเกิดขึ้นทั้งสิ้น 1,030 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 75.17 ล้านบาท เทียบกับ 1,273 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 20.71 ล้านบาทในช่วงเดียวกันปี 2549 และภัยจากการงอและบุบของสินค้ามีความเสียหายเกิดขึ้น 2,477 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 69.04 ล้านบาท ลดลงจาก 2,741 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 73.96 ล้านบาทในปี 2549
สินค้าที่มีการทำประกันภัยมารีนมากที่สุดคือยานพาหนะ ชิ้นส่วนประกอบและอะไหล่รถยนต์มีวงเงินความคุ้มครอง 733.05 ล้านบาท ลดลง 2.22% แต่มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงเพิ่มขึ้น 5.44% คิดเป็นเบี้ย 263.54 ล้านบาท มูลค่าความเสียหาย 32.15 ล้านบาท ลดลง 80.76% ทำให้อัตราความเสียหายต่อเบี้ยที่ถือเป็นรายได้ลดลงจาก 67.61% เหลือเพียง 12.36%
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=7609
>> บาทแข็งฉุดนำเข้าทุบเบี้ยขนส่งสินค้าในปท.ร่วง
เปิดผลงานประกันมารีน 6 เดือนเก็บเบี้ยได้เพียง 1,457 ล้านบาท ลดลง 1.38% ผลพวงเงินบาทแข็งกดยอดนำเข้าสินค้าตกวูบ ทุบเบี้ยขนส่งภายในประเทศถดถอยตาม แม้เบี้ยส่งออกเติบโตแต่ดันไม่ขึ้น ขณะที่มูลค่าความเสียหาย 566 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อนก็จริงแต่ Loss Ratio เพิ่มเป็น 38% เหตุค่าเสียหายเฉลี่ยต่อครั้งเพิ่มจาก 66,600 บาทเป็น 79,630 บาท
บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด(มหาชน)หรือไทยรีรายงานสถิติการประกันภัยทางทะเลและขนส่งสินค้า(มารีน)ของบริษัทประกันวินาศภัยในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาว่า แม้ภาวะค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจะกระทบต่อภาคธุรกิจการค้าระหว่างประเทศก็ตาม แต่จากข้อมูลของธนารแห่งประเทศไทยตัวเลขมูลค่าการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2550 นี้ขยายตัว 18.4% คิดเป็นมูลค่า 70,641.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเมื่อคิดในรูปเงินบาทยังคงเพิ่มขึ้น 7.5%
เนื่องจากกลุ่มผู้ส่งออกส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติและเป็นกลุ่มผู้ผลิตสินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ โดยสินค้าส่งออกส่วนใหญ่คือ กลุ่มสินค้าไฮเทคซึ่งมีมูลค่าคิดเป็น 64% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดจึงทำให้การส่งออกไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากสถาณการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ในส่วนของธุรกิจประกันภัยมารีนประเภทการส่งออกมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงเพิ่มขึ้น 3.20% คิดเป็นเบี้ย 488.80 ล้านบาทตามมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นประกอบกับอัตราเบี้ยประกันภัยเฉลี่ยของการประกันภัยมารีนประเภทการส่งออกก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
สำหรับการนำเข้าในช่วงครึ่งปีแรกนี้ มีมูลค่าเท่ากับ 65,560.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.4% แต่เมื่อคิดอยู่ในรูปของเงินบาทกลับลดลง 3.47% สะท้อนให้เห็นถึงการชะลอตัวด้านการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศแม้จะมีการนำเข้าวัตถุดิบอยู่ก็ตามแต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้การนำเข้าสินค้าขยายตัวมากนัก บวกกับอัตราเบี้ยประกันภัยเฉลี่ยของการประกันภัยมารีนประเภทการนำเข้าและขนส่งภายในประเทศลดลง ส่งผลให้ผลการประกันภัยมารีนประเภทการนำเข้าในช่วงเดือน 6 เดือนมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง 532.78 ล้านบาท ลดลง 4.62% และยังส่งผลต่อเนื่องทำให้การรับประกันภัยมารีนการขนส่งสินค้าภายในประเทศมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง 435.37 ล้านบาท ลดลง 2.18% เช่นกัน
จากสถาณการณ์ดังกล่าวเห็นได้ว่าเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงของการนำเข้าสินค้าและการขนส่งสินค้าภายในประเทศลดลงในอัตราที่มากกว่าการเพิ่มขึ้นของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงของการส่งออกทำให้ผลการรับประกันภัยมารีนโดยรวมทั้งหมดมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงทั้งสิ้น 1,457 ล้านบาท ลดลง 1.38% จาก 1,477 ล้านบาท มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น 556 ล้านบาท ลดลง 1.88% จาก 566 ล้านบาท ส่งผลให้อัตราความเสียหายต่อเบี้ยประกันภัยที่ถือเป็นรายได้(Loss Ratio) เพิ่มขึ้นจาก 36.5% เป็น 38%
ทั้งนี้ หากทิศทางการส่งออกและนำเข้าสินค้ายังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป คาดว่าเบี้ยประกันภัยมารีนในช่วงไตรมาส 3 จะลดลงในอัตราไม่สูงมากนัก
สำหรับในช่วงครึ่งปีแรกนี้การประกันภัยมารีนมีความเสียหายเกิดขึ้นทั้งหมด 6,978 ครั้งลดลงจาก 8,503 ครั้งในช่วงเดียวกันของปี 2549 แต่ความเสียหายเฉลี่ยต่อครั้งมีมูลค่าสูงกว่าอยู่ที่ 79,630 บาทเทียบกับ 66,600 บาท โดยภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุดคือภัยเปียกน้ำเกิดขึ้นทั้งหมด 201 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 265.71 ล้านบาทเทียบกับในปี 2549 ที่มีความเสียหายเกิดขึ้น 234 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 37.75 ล้านบาท
รองลงมาเป็นภัยแตกหักมีความเสียหายเกิดขึ้นทั้งสิ้น 1,030 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 75.17 ล้านบาท เทียบกับ 1,273 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 20.71 ล้านบาทในช่วงเดียวกันปี 2549 และภัยจากการงอและบุบของสินค้ามีความเสียหายเกิดขึ้น 2,477 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 69.04 ล้านบาท ลดลงจาก 2,741 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 73.96 ล้านบาทในปี 2549
สินค้าที่มีการทำประกันภัยมารีนมากที่สุดคือยานพาหนะ ชิ้นส่วนประกอบและอะไหล่รถยนต์มีวงเงินความคุ้มครอง 733.05 ล้านบาท ลดลง 2.22% แต่มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงเพิ่มขึ้น 5.44% คิดเป็นเบี้ย 263.54 ล้านบาท มูลค่าความเสียหาย 32.15 ล้านบาท ลดลง 80.76% ทำให้อัตราความเสียหายต่อเบี้ยที่ถือเป็นรายได้ลดลงจาก 67.61% เหลือเพียง 12.36%
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=7609
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news22/10/07
โพสต์ที่ 75
ต่างชาติแห่ซื้อประกันบริหารดีกำไรอื้อ
โพสต์ทูเดย์ นักลงทุนทั้งไทย และเทศ สนซื้อกิจการบริษัทประกันภัยไทย เหตุกำไรดีจากที่รัฐกำหนดเพดานเบี้ยประกันบวกส่วนต่าง บริหารดีรับทรัพย์อื้อ
แหล่งข่าวจากบริษัทประกันภัย เปิดเผยว่า ตลาดประกันภัยไทยยังเป็นที่สนใจของนักลงทุนไทย และนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นตลาดที่ยังสามารถทำกำไรจากการรับประกันภัยได้ค่อนข้างสูง เนื่องจากราคาเบี้ยประกันยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของภาครัฐ ซึ่งมีการกำหนดราคาเบี้ยประกันขั้นต่ำที่บวกกำไรไว้ระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ หากมีการบริหารจัดการที่ดี จะทำให้บริษัทประกันภัยกว่า 70 แห่ง ยังคงดำเนินธุรกิจอยู่ได้ ทั้งที่มีขนาดธุรกิจ หรือส่วนแบ่งตลาดไม่ถึง 1% ของเบี้ยรับรวมในแต่ละปี และบางบริษัทมีเบี้ยประกันไม่ถึง 10 ล้านบาทต่อปี แต่ก็ยังอยู่ได้
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของกฎเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนต่อเบี้ยประกันภัยยังเข้มงวด จากปัจจุบันที่บริษัทประกันภัยต้องดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำ 10% ของเบี้ยรับในปีที่ผ่านมา เกณฑ์ใหม่จะต้องดำรงเงินกองทุนให้ครบ 100% ของเบี้ยประกันภัยแต่ละประเภท จะเป็นภาระของนักลงทุนที่มีสายป่านไม่ยาว จึงเป็นช่วงจังหวะที่นักลงทุนที่มีเงินหนาจะเข้ามาหาซื้อกิจการ
สำหรับนักลงทุนต่างประเทศที่สนใจเข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัทประกันภัยไทย ประกอบด้วย กองทุนเอเชีย พาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ (APFG) ที่มีฐานธุรกิจอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ในวงเงินประมาณ 1-1.4 พันล้านบาท และต้องเป็นบริษัทประกันที่ให้ผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 15% ซึ่งหวังจะใช้ไทยเป็นประตูรุกสู่ธุรกิจในประเทศอื่นๆ แถบเอเชียใต้
บริษัท แอกซ่า เอเชีย แปซิฟิก ที่มีฐานธุรกิจอยู่ในฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาบริษัทที่จะลงทุน โดย 1 ใน 12 บริษัทที่อยู่ในมือมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย บริษัท ไอเอจี ที่มีฐานธุรกิจอยู่ในออสเตรเลีย ยังคงนโยบายขยายธุรกิจในไทยด้วยการซื้อกิจการเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่มีการซื้อบริษัท ประกันคุ้มภัย เมื่อปีที่ผ่านมา
นักลงทุนจากตะวันออกกลางที่สนใจจะเข้ามาซื้อกิจการของบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย ที่กำลังประสบความล้มเหลวในการบริหารจัดการ ทำให้ถูกสั่งหยุดรับประกันภัย และต้องเพิ่มทุนอีกกว่า 1 พันล้านบาท แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป
สำหรับนักลงทุนไทยหน้าใหม่ที่เข้าสู่วงการประกันภัยในช่วงปี 2550 ประกอบด้วย นายธีรศักดิ์ แสนวรางกุล เจ้าของธุรกิจค้าปุ๋ย และค้าข้าวรายใหญ่ของ จ.บุรีรัมย์ เข้ามาซื้อหุ้นจำนวน 65% ของทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท ในบริษัท ธนวัฒน์ประกันภัย ที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ฟินิกซ์ประกันภัย (ประเทศไทย)
นายธนัท พรหมเมศ ณ อยุธยา เจ้าของธุรกิจส่งออกสินค้าเกษตร ที่เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ธนสินประกันภัย แต่ยังมีปัญหาการเพิ่มทุนใหม่อีก 250 ล้านบาท
ล่าสุด นางกาญจน์ญาณ์ ลิ้มกุนะ ผู้บริหารกลุ่ม DKK Capital เจ้าของธุรกิจน้ำมัน ยื่นซื้อบริษัท สหประกันชีวิต 53% หรือเป็นเงิน 300 ล้านบาท แต่ยังมีปัญหาการหาเงินเพิ่มทุนเข้ามา
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=198869
โพสต์ทูเดย์ นักลงทุนทั้งไทย และเทศ สนซื้อกิจการบริษัทประกันภัยไทย เหตุกำไรดีจากที่รัฐกำหนดเพดานเบี้ยประกันบวกส่วนต่าง บริหารดีรับทรัพย์อื้อ
แหล่งข่าวจากบริษัทประกันภัย เปิดเผยว่า ตลาดประกันภัยไทยยังเป็นที่สนใจของนักลงทุนไทย และนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นตลาดที่ยังสามารถทำกำไรจากการรับประกันภัยได้ค่อนข้างสูง เนื่องจากราคาเบี้ยประกันยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของภาครัฐ ซึ่งมีการกำหนดราคาเบี้ยประกันขั้นต่ำที่บวกกำไรไว้ระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ หากมีการบริหารจัดการที่ดี จะทำให้บริษัทประกันภัยกว่า 70 แห่ง ยังคงดำเนินธุรกิจอยู่ได้ ทั้งที่มีขนาดธุรกิจ หรือส่วนแบ่งตลาดไม่ถึง 1% ของเบี้ยรับรวมในแต่ละปี และบางบริษัทมีเบี้ยประกันไม่ถึง 10 ล้านบาทต่อปี แต่ก็ยังอยู่ได้
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของกฎเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนต่อเบี้ยประกันภัยยังเข้มงวด จากปัจจุบันที่บริษัทประกันภัยต้องดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำ 10% ของเบี้ยรับในปีที่ผ่านมา เกณฑ์ใหม่จะต้องดำรงเงินกองทุนให้ครบ 100% ของเบี้ยประกันภัยแต่ละประเภท จะเป็นภาระของนักลงทุนที่มีสายป่านไม่ยาว จึงเป็นช่วงจังหวะที่นักลงทุนที่มีเงินหนาจะเข้ามาหาซื้อกิจการ
สำหรับนักลงทุนต่างประเทศที่สนใจเข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัทประกันภัยไทย ประกอบด้วย กองทุนเอเชีย พาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ (APFG) ที่มีฐานธุรกิจอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ในวงเงินประมาณ 1-1.4 พันล้านบาท และต้องเป็นบริษัทประกันที่ให้ผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 15% ซึ่งหวังจะใช้ไทยเป็นประตูรุกสู่ธุรกิจในประเทศอื่นๆ แถบเอเชียใต้
บริษัท แอกซ่า เอเชีย แปซิฟิก ที่มีฐานธุรกิจอยู่ในฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาบริษัทที่จะลงทุน โดย 1 ใน 12 บริษัทที่อยู่ในมือมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย บริษัท ไอเอจี ที่มีฐานธุรกิจอยู่ในออสเตรเลีย ยังคงนโยบายขยายธุรกิจในไทยด้วยการซื้อกิจการเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่มีการซื้อบริษัท ประกันคุ้มภัย เมื่อปีที่ผ่านมา
นักลงทุนจากตะวันออกกลางที่สนใจจะเข้ามาซื้อกิจการของบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย ที่กำลังประสบความล้มเหลวในการบริหารจัดการ ทำให้ถูกสั่งหยุดรับประกันภัย และต้องเพิ่มทุนอีกกว่า 1 พันล้านบาท แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป
สำหรับนักลงทุนไทยหน้าใหม่ที่เข้าสู่วงการประกันภัยในช่วงปี 2550 ประกอบด้วย นายธีรศักดิ์ แสนวรางกุล เจ้าของธุรกิจค้าปุ๋ย และค้าข้าวรายใหญ่ของ จ.บุรีรัมย์ เข้ามาซื้อหุ้นจำนวน 65% ของทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท ในบริษัท ธนวัฒน์ประกันภัย ที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ฟินิกซ์ประกันภัย (ประเทศไทย)
นายธนัท พรหมเมศ ณ อยุธยา เจ้าของธุรกิจส่งออกสินค้าเกษตร ที่เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ธนสินประกันภัย แต่ยังมีปัญหาการเพิ่มทุนใหม่อีก 250 ล้านบาท
ล่าสุด นางกาญจน์ญาณ์ ลิ้มกุนะ ผู้บริหารกลุ่ม DKK Capital เจ้าของธุรกิจน้ำมัน ยื่นซื้อบริษัท สหประกันชีวิต 53% หรือเป็นเงิน 300 ล้านบาท แต่ยังมีปัญหาการหาเงินเพิ่มทุนเข้ามา
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=198869
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news29/10/07
โพสต์ที่ 76
เศรษฐกิจซบ"ประกันภัย"หนาวยอดสินไหมพุ่ง140%
บริษัทประกันภัยหนาว เศรษฐกิจซบ ธุรกิจชอร์ตเงิน เผาเอาประกันเพียบ ชี้ตัวเลขเรียกร้องค่าสินไหมพุ่งลิ่ว ขณะที่เบี้ยเท่าเดิม "ไทยรี" ระบุ ยอดจ่ายสินไหมเพิ่มผิดปกติ 140% จาก 679 ล้านบาทปีก่อน พรวดขึ้นเป็น 1,625 ล้านบาท แจง "ธุรกิจเอสเอ็มอี" เสี่ยงสูง ขาดระบบป้องกัน อัคคีภัย สั่งคุมเข้มเพิ่มเกณฑ์ตรวจความน่าเชื่อถือลูกค้า และสำรวจความเสี่ยงก่อนขายประกัน
รายงานข่าวจากบริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) หรือไทยรี เปิดเผยข้อมูลความ เสียหายที่เกิดขึ้นของการประกันอัคคีภัยในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ว่า ได้เพิ่มขึ้นสูงถึง 1,625 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าความเสียหายเพียง 679 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 140% และหากเทียบกับปี 2548 ที่มีความเสียหาย 822 ล้านบาท ก็เพิ่มขึ้นเกือบ 98% ทำให้บริษัทประกันวินาศภัยหลายแห่งเกิดความวิตกกังวลว่าการเพิ่มขึ้นของความเสียหายที่เกิดกับประกันอัคคีภัยจะมาจากความต้องการทางการเงินของธุรกิจบางแห่ง
หวั่นเผาเอาเงินประกัน
นายสมนึก สงวนสิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ข้อมูลการจ่ายค่าสินไหมประกันอัคคีภัยของไทยรีเห็นได้ชัดเจนว่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดสังเกต ขณะที่ยอดเบี้ยประกันไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด ทำให้สงสัยว่าผู้เอาประกันบางรายอาจเผาเพื่อเรียกเอาค่าสินไหมในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เนื่องจากอุบัติภัยประเภทนี้พิสูจน์สาเหตุและหาหลักฐานได้ยาก
"การวางเพลิงเพื่อเผาเอาประกัน เป็นการพิสูจน์ที่ยากมาก ทำให้บริษัทประกันต้องรับผิดชอบจ่ายชดเชยค่าสินไหมตามเงื่อนไขให้แก่ผู้เอาประกัน ฉะนั้นมองว่าถ้าเศรษฐกิจยังแย่อย่างนี้ต่อไปอีกก็อาจจะเห็นตัวเลขค่าสินไหมจากประกันอัคคีภัยเพิ่มขึ้นอีก ประกอบกับเป็นช่วงปลายปีเข้าสู่ฤดูหนาว เป็นช่วงที่เกิดไฟไหม้ค่อนข้างมากด้วย"
นายสมนึกกล่าวยอมรับว่า ในส่วนของสินทรัพย์ประกันภัยเองมีอัตราการจ่ายค่าสินไหมของประกันอัคคีภัยเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ในสัดส่วนที่ไม่ได้มากนัก แต่ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกัน ทางบริษัทได้เพิ่มมาตรการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้ซื้อประกันกัย เพื่อควบคุมการรับประกันอัคคีภัยด้วยการส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจสถานที่จะรับประกันด้วยตนเอง รวมถึงตรวจสอบงบกำไรขาดทุนว่าธุรกิจที่จะมาทำประกันมีปัญหาการขาดทุนอยู่หรือไม่ และตรวจสอบพฤติกรรมการจ่ายภาษีว่าเหมาะสมกับกำไรที่ได้รับหรือไม่ด้วย
อย่างไรก็ตาม การรับประกันอัคคีภัยจะครอบ คลุมไปถึงความเสียหายเกิดขึ้นจากอุทกภัยด้วย ซึ่งน่าจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ยอดการชดใช้ค่าสินไหมจากประกันอัคคีภัยเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
"ภัทรฯ" ชี้ เอสเอ็มอีดึงลอสฯพุ่ง
นายวาสิต ล่ำซำ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทมีอัตราการเรียกร้องค่าสินไหม (loss ratio) จากความเสียหายของการประกันอัคคีภัยเพิ่มขึ้นจาก 25% มาอยู่ที่เกือบ 30% แต่ยังถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของระบบที่สูงถึง 45% ซึ่งเหตุผลหลักที่ทำให้ลอสเรโชของบริษัทในปีนี้เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากจำนวนรายที่เกิดเหตุและเรียกค่าสินไหมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งมีระบบการทำงานที่ซับซ้อน ขาดระบบป้องกันอัคคีภัยที่ได้ประสิทธิภาพ รวมถึงมีวัตถุอันตรายที่ไม่ได้จัดเก็บในสถานที่ที่เหมาะสม
นายวาสิตกล่าวว่า การบริหารลอสเรโชที่เพิ่มสูงขึ้น จะเน้นการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการที่ซื้อประกันอัคคีภัยเกี่ยวกับปัญหาที่เคยเกิดขึ้น รวมถึงวิธีระวังป้องกันภัยที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงการสำรวจความเสี่ยงเพื่อให้เลือกรับเฉพาะที่ความเสี่ยงไม่สูงเกินไป ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ลอสเรโชปรับลดลงมาได้
"ไทยเศรษฐกิจฯ" จับรายย่อยเสี่ยงต่ำ
นายพุทธิพงษ์ ด่านบุญสุต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ลอสเรโชด้านประกันอัคคีภัยของบริษัทยังไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด และขณะนี้ยังอยู่ในระดับไม่เกิน 20% ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงมาจากปัญหาเพลิงไหม้มากกว่าน้ำท่วม เนื่องจากพื้นที่ซึ่งบริษัทเน้นทำตลาดไม่ได้อยู่ในบริเวณที่เป็นทางน้ำ
ส่วนกรณีที่อัตราการจ่ายค่าสินไหมประกันอัคคีภัยของธุรกิจประกันภัยเพิ่มสูงขึ้นนั้น นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า น่าจะเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีอาจจะดูแลและให้ความสำคัญในการป้องกันอัคคีภัยไม่เพียงพอ ซึ่งบางส่วนอาจเป็นเพราะปัญหาทางการเงินจึงละเลยระบบป้องกันดังกล่าวไป และอีกปัจจัยหนึ่งคือ ปัญหาอุทกภัยในเขตภาคเหนือตอนบนและภาคกลาง ที่มีมูลค่าความเสียหายมากพอสมควร
นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า วิธีการเฉลี่ยภัยที่ดีของไทยเศรษฐกิจประกันภัยที่ทำอยู่ปัจจุบัน ซึ่งทำให้ลอสเรโชไม่สูงมาก คือ การรับประกันอัคคีภัยในระดับทุนประกันไม่สูงมากประมาณ 3-5 ล้านบาท/ต่อกรมธรรม์ ทำให้ได้จำนวนกรมธรรม์ที่มากและหลากหลาย ช่วยเฉลี่ยความเสี่ยงให้ต่ำลง ยกตัวอย่าง โรงงานมูลค่า 100 ล้านบาท กับบ้านมูลค่า 1 ล้านบาท จำนวน 100 คูหา บริษัทประกันย่อมเลือกขายประกันให้บ้าน 100 คูหาดีกว่า เพราะการที่จะเกิดไฟไหม้บ้านพร้อมกันทั้ง 100 หลังมีโอกาสเกิดยากกว่า ค่าความเสี่ยงจึงต่ำกว่าการรับประกันโรงงานมูลค่า 100 ล้านบาท ที่ไฟไหม้ครั้งเดียวต้องจ่ายเลย 100 ล้านบาท
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0201
บริษัทประกันภัยหนาว เศรษฐกิจซบ ธุรกิจชอร์ตเงิน เผาเอาประกันเพียบ ชี้ตัวเลขเรียกร้องค่าสินไหมพุ่งลิ่ว ขณะที่เบี้ยเท่าเดิม "ไทยรี" ระบุ ยอดจ่ายสินไหมเพิ่มผิดปกติ 140% จาก 679 ล้านบาทปีก่อน พรวดขึ้นเป็น 1,625 ล้านบาท แจง "ธุรกิจเอสเอ็มอี" เสี่ยงสูง ขาดระบบป้องกัน อัคคีภัย สั่งคุมเข้มเพิ่มเกณฑ์ตรวจความน่าเชื่อถือลูกค้า และสำรวจความเสี่ยงก่อนขายประกัน
รายงานข่าวจากบริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) หรือไทยรี เปิดเผยข้อมูลความ เสียหายที่เกิดขึ้นของการประกันอัคคีภัยในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ว่า ได้เพิ่มขึ้นสูงถึง 1,625 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าความเสียหายเพียง 679 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 140% และหากเทียบกับปี 2548 ที่มีความเสียหาย 822 ล้านบาท ก็เพิ่มขึ้นเกือบ 98% ทำให้บริษัทประกันวินาศภัยหลายแห่งเกิดความวิตกกังวลว่าการเพิ่มขึ้นของความเสียหายที่เกิดกับประกันอัคคีภัยจะมาจากความต้องการทางการเงินของธุรกิจบางแห่ง
หวั่นเผาเอาเงินประกัน
นายสมนึก สงวนสิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ข้อมูลการจ่ายค่าสินไหมประกันอัคคีภัยของไทยรีเห็นได้ชัดเจนว่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดสังเกต ขณะที่ยอดเบี้ยประกันไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด ทำให้สงสัยว่าผู้เอาประกันบางรายอาจเผาเพื่อเรียกเอาค่าสินไหมในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เนื่องจากอุบัติภัยประเภทนี้พิสูจน์สาเหตุและหาหลักฐานได้ยาก
"การวางเพลิงเพื่อเผาเอาประกัน เป็นการพิสูจน์ที่ยากมาก ทำให้บริษัทประกันต้องรับผิดชอบจ่ายชดเชยค่าสินไหมตามเงื่อนไขให้แก่ผู้เอาประกัน ฉะนั้นมองว่าถ้าเศรษฐกิจยังแย่อย่างนี้ต่อไปอีกก็อาจจะเห็นตัวเลขค่าสินไหมจากประกันอัคคีภัยเพิ่มขึ้นอีก ประกอบกับเป็นช่วงปลายปีเข้าสู่ฤดูหนาว เป็นช่วงที่เกิดไฟไหม้ค่อนข้างมากด้วย"
นายสมนึกกล่าวยอมรับว่า ในส่วนของสินทรัพย์ประกันภัยเองมีอัตราการจ่ายค่าสินไหมของประกันอัคคีภัยเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ในสัดส่วนที่ไม่ได้มากนัก แต่ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกัน ทางบริษัทได้เพิ่มมาตรการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้ซื้อประกันกัย เพื่อควบคุมการรับประกันอัคคีภัยด้วยการส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจสถานที่จะรับประกันด้วยตนเอง รวมถึงตรวจสอบงบกำไรขาดทุนว่าธุรกิจที่จะมาทำประกันมีปัญหาการขาดทุนอยู่หรือไม่ และตรวจสอบพฤติกรรมการจ่ายภาษีว่าเหมาะสมกับกำไรที่ได้รับหรือไม่ด้วย
อย่างไรก็ตาม การรับประกันอัคคีภัยจะครอบ คลุมไปถึงความเสียหายเกิดขึ้นจากอุทกภัยด้วย ซึ่งน่าจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ยอดการชดใช้ค่าสินไหมจากประกันอัคคีภัยเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
"ภัทรฯ" ชี้ เอสเอ็มอีดึงลอสฯพุ่ง
นายวาสิต ล่ำซำ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทมีอัตราการเรียกร้องค่าสินไหม (loss ratio) จากความเสียหายของการประกันอัคคีภัยเพิ่มขึ้นจาก 25% มาอยู่ที่เกือบ 30% แต่ยังถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของระบบที่สูงถึง 45% ซึ่งเหตุผลหลักที่ทำให้ลอสเรโชของบริษัทในปีนี้เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากจำนวนรายที่เกิดเหตุและเรียกค่าสินไหมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งมีระบบการทำงานที่ซับซ้อน ขาดระบบป้องกันอัคคีภัยที่ได้ประสิทธิภาพ รวมถึงมีวัตถุอันตรายที่ไม่ได้จัดเก็บในสถานที่ที่เหมาะสม
นายวาสิตกล่าวว่า การบริหารลอสเรโชที่เพิ่มสูงขึ้น จะเน้นการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการที่ซื้อประกันอัคคีภัยเกี่ยวกับปัญหาที่เคยเกิดขึ้น รวมถึงวิธีระวังป้องกันภัยที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงการสำรวจความเสี่ยงเพื่อให้เลือกรับเฉพาะที่ความเสี่ยงไม่สูงเกินไป ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ลอสเรโชปรับลดลงมาได้
"ไทยเศรษฐกิจฯ" จับรายย่อยเสี่ยงต่ำ
นายพุทธิพงษ์ ด่านบุญสุต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ลอสเรโชด้านประกันอัคคีภัยของบริษัทยังไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด และขณะนี้ยังอยู่ในระดับไม่เกิน 20% ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงมาจากปัญหาเพลิงไหม้มากกว่าน้ำท่วม เนื่องจากพื้นที่ซึ่งบริษัทเน้นทำตลาดไม่ได้อยู่ในบริเวณที่เป็นทางน้ำ
ส่วนกรณีที่อัตราการจ่ายค่าสินไหมประกันอัคคีภัยของธุรกิจประกันภัยเพิ่มสูงขึ้นนั้น นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า น่าจะเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีอาจจะดูแลและให้ความสำคัญในการป้องกันอัคคีภัยไม่เพียงพอ ซึ่งบางส่วนอาจเป็นเพราะปัญหาทางการเงินจึงละเลยระบบป้องกันดังกล่าวไป และอีกปัจจัยหนึ่งคือ ปัญหาอุทกภัยในเขตภาคเหนือตอนบนและภาคกลาง ที่มีมูลค่าความเสียหายมากพอสมควร
นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า วิธีการเฉลี่ยภัยที่ดีของไทยเศรษฐกิจประกันภัยที่ทำอยู่ปัจจุบัน ซึ่งทำให้ลอสเรโชไม่สูงมาก คือ การรับประกันอัคคีภัยในระดับทุนประกันไม่สูงมากประมาณ 3-5 ล้านบาท/ต่อกรมธรรม์ ทำให้ได้จำนวนกรมธรรม์ที่มากและหลากหลาย ช่วยเฉลี่ยความเสี่ยงให้ต่ำลง ยกตัวอย่าง โรงงานมูลค่า 100 ล้านบาท กับบ้านมูลค่า 1 ล้านบาท จำนวน 100 คูหา บริษัทประกันย่อมเลือกขายประกันให้บ้าน 100 คูหาดีกว่า เพราะการที่จะเกิดไฟไหม้บ้านพร้อมกันทั้ง 100 หลังมีโอกาสเกิดยากกว่า ค่าความเสี่ยงจึงต่ำกว่าการรับประกันโรงงานมูลค่า 100 ล้านบาท ที่ไฟไหม้ครั้งเดียวต้องจ่ายเลย 100 ล้านบาท
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0201
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news31/10/07
โพสต์ที่ 77
แอกซ่าฯเปิด ผลวิจัยตลาด ปรับกลยุทธ์
โพสต์ทูเดย์ กรุงไทยแอกซ่า นำผลวิจัยทำกลยุทธ์การตลาดใหม่ พุ่งเป้าขายกระหน่ำ
นายไมค์ แพล็กซ์ตัน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กรุงไทยแอกซ่า ประกันชีวิต กล่าวว่า จากการสำรวจดัชนีชี้วัดมุมมองต่อชีวิตของประชาชนในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทย ต่อทัศนคติในการบริหารจัดการทางการเงิน และทัศนคติที่มีต่อการใช้ชีวิตและสังคมในปัจจุบันและอนาคต 5 ปีข้างหน้า พบว่า 67% ของคนไทยที่มีรายได้ปานกลางถึงสูงไม่ได้เริ่มวางแผนการเตรียมความพร้อมในชีวิตหลังเกษียณอย่างจริงจัง
นอกจากนี้ คนไทยจะเริ่มวางแผนเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตหลังเกษียณเมื่ออายุ 44 ปี ซึ่งช้ากว่าเกณฑ์โดยเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียที่ 39 ปี ทั้งที่คนไทยส่วนใหญ่มีแผนที่จะเกษียณเมื่ออายุ 58 ปี
สำหรับการวางแผนด้านสุขภาพ มีเพียง 37% ของคนไทยที่มีการซื้อประกันสุขภาพส่วนบุคคล และในอีก 5 ปีข้างหน้า และมีความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในการดูแลสุขภาพ
นายแพล็กซ์ตัน กล่าวว่า จากผลการสำรวจ ทำให้เข้าใจมุมมองและความพึงพอใจในการใช้ชีวิตของคนไทย และสามารถปรับปรุงวิธีการดำเนินธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ บริการต่างๆ ให้เหมาะสมกับลูกค้า ทั้งในด้านการศึกษาของบุตรหลาน ด้านสุขภาพ และการเกษียณอายุที่มีเพิ่มมากขึ้น
9 เดือนเรามีเบี้ยรับรวมเพิ่มขึ้น 75% และเราตั้งใจจะเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้ขึ้นมาอยู่อันดับ 6 ให้ได้ภายในปีนี้ จากปัจจุบันที่เราอยู่อันดับ 8 นายแพล็กซ์ตัน กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=200672
โพสต์ทูเดย์ กรุงไทยแอกซ่า นำผลวิจัยทำกลยุทธ์การตลาดใหม่ พุ่งเป้าขายกระหน่ำ
นายไมค์ แพล็กซ์ตัน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กรุงไทยแอกซ่า ประกันชีวิต กล่าวว่า จากการสำรวจดัชนีชี้วัดมุมมองต่อชีวิตของประชาชนในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทย ต่อทัศนคติในการบริหารจัดการทางการเงิน และทัศนคติที่มีต่อการใช้ชีวิตและสังคมในปัจจุบันและอนาคต 5 ปีข้างหน้า พบว่า 67% ของคนไทยที่มีรายได้ปานกลางถึงสูงไม่ได้เริ่มวางแผนการเตรียมความพร้อมในชีวิตหลังเกษียณอย่างจริงจัง
นอกจากนี้ คนไทยจะเริ่มวางแผนเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตหลังเกษียณเมื่ออายุ 44 ปี ซึ่งช้ากว่าเกณฑ์โดยเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียที่ 39 ปี ทั้งที่คนไทยส่วนใหญ่มีแผนที่จะเกษียณเมื่ออายุ 58 ปี
สำหรับการวางแผนด้านสุขภาพ มีเพียง 37% ของคนไทยที่มีการซื้อประกันสุขภาพส่วนบุคคล และในอีก 5 ปีข้างหน้า และมีความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในการดูแลสุขภาพ
นายแพล็กซ์ตัน กล่าวว่า จากผลการสำรวจ ทำให้เข้าใจมุมมองและความพึงพอใจในการใช้ชีวิตของคนไทย และสามารถปรับปรุงวิธีการดำเนินธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ บริการต่างๆ ให้เหมาะสมกับลูกค้า ทั้งในด้านการศึกษาของบุตรหลาน ด้านสุขภาพ และการเกษียณอายุที่มีเพิ่มมากขึ้น
9 เดือนเรามีเบี้ยรับรวมเพิ่มขึ้น 75% และเราตั้งใจจะเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้ขึ้นมาอยู่อันดับ 6 ให้ได้ภายในปีนี้ จากปัจจุบันที่เราอยู่อันดับ 8 นายแพล็กซ์ตัน กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=200672
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news02/11/07
โพสต์ที่ 78
จับมือกสิกร-ธสน.รุกประกันมารีน ภัทรผนึกเมืองไทยฯบริการครบเครื่อง
"ภัทรประกันภัย" วางกลยุทธ์ปีหน้าสร้างสมดุลพอร์ตโปรดักต์ เล็งสร้างทุกตลาดเติบโตระดับเดียวกันต้อนรับการควบรวม 1 เม.ย.51 พร้อมใส่เกียร์รุกประกันมารีนที่เติบโตต่ำด้วยกลยุทธ์เจาะลูกค้าสถาบันและธุรกิจวอลุ่มใหญ่ความเสี่ยงดี อาศัยจับมือกสิกรไทยและเอ็กซิมแบงก์เจาะตลาด แจงแผนควบรวมใกล้คลอดแล้ว มั่นใจแต่ละบริษัทมีจุดแข่งเฉพาะเมื่อรวมกันยิ่งดีขึ้น
นายวาสิต ล่ำซำ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงแผนการทำตลาดในปี หน้าว่า บริษัทจะสร้างความสมดุลในการทำตลาดกรมธรรม์ประกันภัยทุกประเภทให้อยู่ระดับใกล้เคียงกัน เนื่องจากปัจจุบันโปรดักต์บางกลุ่มเติบโตได้ดีและติดอันดับ 1 ใน 10 แล้ว อาทิ ประกันอัคคีภัย ประกันภัยทรัพย์สิน และประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ขณะที่บางกลุ่ม เช่น ประกันภัยทางทะเลหรือมารีน ยังมีมาร์เก็ตแชร์ในระดับต่ำ จึงต้องการจะรุกตลาดนี้เป็นหลักในปีหน้า เพื่อให้บริษัทเติบโตแบบก้าวกระโดดเป็นอย่างดีภายหลังควบรวมกิจการกับบริษัทเมืองไทยประกันภัย ในวันที่ 1 เม.ย.2551
สำหรับกลยุทธ์ของภัทรประกันภัยในการ รุกตลาดมารีน นายวาสิตกล่าวว่า บริษัทจะเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าสถาบันและธุรกิจที่มีวอลุ่มการ ส่งออกขนาดใหญ่ ซึ่งมีความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ดี โดยจะใช้กลยุทธ์ด้านราคาเนื่องจากมองว่าอัตราเบี้ยประกันของบริษัทสามารถสู้กับในตลาดได้ ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า ด้วยบริการด้านการบริหารจัดการกรมธรรม์ และออกกรมธรรม์แบบออนไลน์ เพื่อความสะดวกในการทำธุรกิจที่ต้องส่งออกเป็นจำนวนมาก ส่วนการประเมินความเสี่ยงจะเลือกพิจารณาลักษณะของสินค้าที่มีความเสี่ยงน้อย เช่น เหล็ก รวมถึงพิจารณาประวัติความเสี่ยงภัยในอดีตประกอบด้วย
"การเจาะตลาดมารีนถือว่าเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร เพราะตลาดไม่ใหญ่มากนักมูลค่าประมาณ 4-5 พันล้านบาทต่อปี และเติบโตเพียงปีละ 5% เท่านั้น ซึ่งเจ้าตลาดส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทประกันจากญี่ปุ่นซึ่งเชี่ยวชาญด้านนี้ สำหรับภัทรประกันภัยในขณะนี้มีเบี้ยประกันมารีนเพียง 50-60 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าการรุกตลาดมารีนมากขึ้นจะทำให้ภายใน 3 ปีจากนี้บริษัทจะมีเบี้ยประกันภัยส่วนนี้ไม่ต่ำกว่า 150 ล้านบาทได้อย่างแน่นอน"
ทั้งนี้ ภัทรประกันภัยจะอาศัยการจับมือกับธนาคารที่เป็นพันธมิตรเพื่อเสนอขายกรมธรรม์ให้กับลูกค้าธุรกิจของธนาคาร รวมถึงการพัฒนาโปรดักต์ขึ้นมาเฉพาะเพื่อให้สอดคล้องกับโปรดักต์ทางการเงินของธนาคาร และเสนอขายลูกค้าเป็นแพ็กเกจได้ ซึ่งธนาคารที่บริษัทเป็นพันธมิตรด้วยในขณะนี้นอกจากกสิกรไทยแล้ว ยังมีแผนจะขยาย ความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเอ็กซิมแบงก์ (ธสน.) เพื่อเป็นช่องทางขายประกันมารีนเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่ขายเฉพาะประกันภัยทรัพย์สินเพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ นายวาสิตยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการควบรวมกิจการระหว่างภัทรประกันภัย และเมืองไทยประกันภัย ว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างจัดทำแผนธุรกิจของบริษัทใหม่ที่จะเกิดขึ้นภายหลังการควบรวม ซึ่งคาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยภายใน 1-2 เดือนจากนี้ ดังนั้นประมาณปลายปีนี้น่าจะเห็นแผนและกลยุทธ์ของบริษัทใหม่ได้ชัดเจนขึ้น
สำหรับจุดแข็งในการควบรวมครั้งนี้ นายวาสิตกล่าวว่า แต่ละบริษัทต่างก็มีความเชี่ยวชาญและช่องทางในการทำตลาดที่ไม่ซ้ำกัน โดยภัทรประกันภัยเติบโตในตลาดประกันภัยทรัพย์สินหรือน็อนมอเตอร์เพียงอย่างเดียว และทำตลาดกับลูกค้าธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ โดยมีศูนย์บริการลูกค้าอยู่ที่สำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียว ขณะที่เมืองไทยประกันภัยจะมีพอร์ตมอเตอร์เป็นส่วนใหญ่ และทำตลาดด้วยช่องทางตัวแทนจำนวนมาก รวมถึงมีสำนักงานตัวแทนกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ ทำให้เมื่อมารวมกิจการกันจะสามารถครอบคลุมความต้องการในตลาดได้มากขึ้น
"เราเชื่อว่าเมื่อควบรวมกันแล้วจะทำให้บริษัทที่จะเกิดขึ้นมาใหม่มีพอร์ตใหญ่ขึ้นจนติดท็อปเทน ของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย ซึ่งจากข้อมูลเบี้ยประกันภัยรับรวมในปีที่ผ่านมาภัทรประกันภัยอยู่ในอันดับ 31 และเมืองไทยประกันภัยอยู่ในอันดับ 16 คาดว่าเมื่อควบรวมบริษัทแล้วจะทำให้บริษัทใหม่สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดด มีมูลค่าพอร์ตอยู่ในอันดับ 8 และต้องเติบโตดีกว่าแยกกันทำ รวมถึงต้องใช้จุดแข็งร่วมกันขยายพอร์ตให้เติบโตขึ้น โดยเฉพาะพอร์ตที่ยังเติบโตในระดับต่ำ" นายวาสิตกล่าว
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0206
"ภัทรประกันภัย" วางกลยุทธ์ปีหน้าสร้างสมดุลพอร์ตโปรดักต์ เล็งสร้างทุกตลาดเติบโตระดับเดียวกันต้อนรับการควบรวม 1 เม.ย.51 พร้อมใส่เกียร์รุกประกันมารีนที่เติบโตต่ำด้วยกลยุทธ์เจาะลูกค้าสถาบันและธุรกิจวอลุ่มใหญ่ความเสี่ยงดี อาศัยจับมือกสิกรไทยและเอ็กซิมแบงก์เจาะตลาด แจงแผนควบรวมใกล้คลอดแล้ว มั่นใจแต่ละบริษัทมีจุดแข่งเฉพาะเมื่อรวมกันยิ่งดีขึ้น
นายวาสิต ล่ำซำ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงแผนการทำตลาดในปี หน้าว่า บริษัทจะสร้างความสมดุลในการทำตลาดกรมธรรม์ประกันภัยทุกประเภทให้อยู่ระดับใกล้เคียงกัน เนื่องจากปัจจุบันโปรดักต์บางกลุ่มเติบโตได้ดีและติดอันดับ 1 ใน 10 แล้ว อาทิ ประกันอัคคีภัย ประกันภัยทรัพย์สิน และประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ขณะที่บางกลุ่ม เช่น ประกันภัยทางทะเลหรือมารีน ยังมีมาร์เก็ตแชร์ในระดับต่ำ จึงต้องการจะรุกตลาดนี้เป็นหลักในปีหน้า เพื่อให้บริษัทเติบโตแบบก้าวกระโดดเป็นอย่างดีภายหลังควบรวมกิจการกับบริษัทเมืองไทยประกันภัย ในวันที่ 1 เม.ย.2551
สำหรับกลยุทธ์ของภัทรประกันภัยในการ รุกตลาดมารีน นายวาสิตกล่าวว่า บริษัทจะเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าสถาบันและธุรกิจที่มีวอลุ่มการ ส่งออกขนาดใหญ่ ซึ่งมีความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ดี โดยจะใช้กลยุทธ์ด้านราคาเนื่องจากมองว่าอัตราเบี้ยประกันของบริษัทสามารถสู้กับในตลาดได้ ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า ด้วยบริการด้านการบริหารจัดการกรมธรรม์ และออกกรมธรรม์แบบออนไลน์ เพื่อความสะดวกในการทำธุรกิจที่ต้องส่งออกเป็นจำนวนมาก ส่วนการประเมินความเสี่ยงจะเลือกพิจารณาลักษณะของสินค้าที่มีความเสี่ยงน้อย เช่น เหล็ก รวมถึงพิจารณาประวัติความเสี่ยงภัยในอดีตประกอบด้วย
"การเจาะตลาดมารีนถือว่าเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร เพราะตลาดไม่ใหญ่มากนักมูลค่าประมาณ 4-5 พันล้านบาทต่อปี และเติบโตเพียงปีละ 5% เท่านั้น ซึ่งเจ้าตลาดส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทประกันจากญี่ปุ่นซึ่งเชี่ยวชาญด้านนี้ สำหรับภัทรประกันภัยในขณะนี้มีเบี้ยประกันมารีนเพียง 50-60 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าการรุกตลาดมารีนมากขึ้นจะทำให้ภายใน 3 ปีจากนี้บริษัทจะมีเบี้ยประกันภัยส่วนนี้ไม่ต่ำกว่า 150 ล้านบาทได้อย่างแน่นอน"
ทั้งนี้ ภัทรประกันภัยจะอาศัยการจับมือกับธนาคารที่เป็นพันธมิตรเพื่อเสนอขายกรมธรรม์ให้กับลูกค้าธุรกิจของธนาคาร รวมถึงการพัฒนาโปรดักต์ขึ้นมาเฉพาะเพื่อให้สอดคล้องกับโปรดักต์ทางการเงินของธนาคาร และเสนอขายลูกค้าเป็นแพ็กเกจได้ ซึ่งธนาคารที่บริษัทเป็นพันธมิตรด้วยในขณะนี้นอกจากกสิกรไทยแล้ว ยังมีแผนจะขยาย ความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเอ็กซิมแบงก์ (ธสน.) เพื่อเป็นช่องทางขายประกันมารีนเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่ขายเฉพาะประกันภัยทรัพย์สินเพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ นายวาสิตยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการควบรวมกิจการระหว่างภัทรประกันภัย และเมืองไทยประกันภัย ว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างจัดทำแผนธุรกิจของบริษัทใหม่ที่จะเกิดขึ้นภายหลังการควบรวม ซึ่งคาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยภายใน 1-2 เดือนจากนี้ ดังนั้นประมาณปลายปีนี้น่าจะเห็นแผนและกลยุทธ์ของบริษัทใหม่ได้ชัดเจนขึ้น
สำหรับจุดแข็งในการควบรวมครั้งนี้ นายวาสิตกล่าวว่า แต่ละบริษัทต่างก็มีความเชี่ยวชาญและช่องทางในการทำตลาดที่ไม่ซ้ำกัน โดยภัทรประกันภัยเติบโตในตลาดประกันภัยทรัพย์สินหรือน็อนมอเตอร์เพียงอย่างเดียว และทำตลาดกับลูกค้าธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ โดยมีศูนย์บริการลูกค้าอยู่ที่สำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียว ขณะที่เมืองไทยประกันภัยจะมีพอร์ตมอเตอร์เป็นส่วนใหญ่ และทำตลาดด้วยช่องทางตัวแทนจำนวนมาก รวมถึงมีสำนักงานตัวแทนกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ ทำให้เมื่อมารวมกิจการกันจะสามารถครอบคลุมความต้องการในตลาดได้มากขึ้น
"เราเชื่อว่าเมื่อควบรวมกันแล้วจะทำให้บริษัทที่จะเกิดขึ้นมาใหม่มีพอร์ตใหญ่ขึ้นจนติดท็อปเทน ของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย ซึ่งจากข้อมูลเบี้ยประกันภัยรับรวมในปีที่ผ่านมาภัทรประกันภัยอยู่ในอันดับ 31 และเมืองไทยประกันภัยอยู่ในอันดับ 16 คาดว่าเมื่อควบรวมบริษัทแล้วจะทำให้บริษัทใหม่สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดด มีมูลค่าพอร์ตอยู่ในอันดับ 8 และต้องเติบโตดีกว่าแยกกันทำ รวมถึงต้องใช้จุดแข็งร่วมกันขยายพอร์ตให้เติบโตขึ้น โดยเฉพาะพอร์ตที่ยังเติบโตในระดับต่ำ" นายวาสิตกล่าว
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0206
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news05/11/07
โพสต์ที่ 79
ขึ้นเบี้ยประกันกลุ่ม20%
โพสต์ทูเดย์ ลูกค้าร้องจ๊าก ประกันภัย-ประกันชีวิตดาหน้าขึ้นเบี้ยประกัน ประกันภัยกลุ่มขึ้น 20%
นายวินัย นิยโมสถ กรรมการผู้จัดการ สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สหกรณ์ตัดสินใจเปลี่ยนบริษัทประกันภัยที่รับทำประกันอุบัติเหตุ และประกันสุขภาพกลุ่มของสมาชิกสหกรณ์ จากบริษัท เอ็มเอสไอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) เป็นบริษัท นำสินประกันภัย เนื่องจากบริษัท เอ็มเอสไอจี ปรับราคาเบี้ยประกันกลุ่มปีที่ 4 ขึ้นอีก 20% ทุกช่วงอายุ
ทั้งนี้ บริษัทให้เหตุผลว่า เพราะค่าสินไหมทดแทนสูง โดยปีแรก เกิน 100% ของเบี้ยประกัน ปีที่ 2 ค่าสินไหม 90% และปีที่ 3 เกิน 100% โดยบริษัท ไอเอ็นจี ประกันภัยนั้นทางกลุ่มได้ทำประกันต่อเนื่องมานาน 3 ปีแล้ว
สำหรับการทำประกันกับบริษัท นำสินประกันภัย ราคาเบี้ยประกัน จะแบ่งตามช่วงอายุ อายุไม่เกิน 60 ปี เบี้ยประกันต่อหัวต่อปีอยู่ที่ 3 พันบาท อายุ 61-65 ปี เบี้ยประกัน อยู่ที่ 4 พันบาท และอายุ 66-71 ปี เบี้ยประกันอยู่ที่ 5.5 พันบาท อายุ 72 ขึ้นไป เบี้ยประกัน 7 พันบาท สมาชิกที่อายุมากที่สุดอยู่ที่ 73 ปี
การประกันครั้งนี้จะเริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2550-31 ต.ค. 2551 มีสมาชิกที่ยื่นความจำนงทำประกันอุบัติเหตุ และประกันสุขภาพกลุ่มทั้งหมด 6,673 คน เพิ่มขึ้น 1.4 พันคน เมื่อเทียบกับปี 2549
สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ กฟผ. จะได้รับความคุ้มครองกรณีการเข้านอนในโรงพยาบาล 1.8 หมื่นบาทต่อครั้ง หากเสียชีวิต คุ้มครอง 1 แสนบาท ทำประกันเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะต้องการเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน เพราะสะดวกกว่าการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ นายวินัย กล่าว
แหล่งข่าวจากสหกรณ์ออมทรัพย์องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัท สยามซัมซุง ประกันชีวิต จะขึ้นเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มของสมาชิกสหกรณ์เช่นเดียวกัน ซึ่งทางสหกรณ์ยังไม่ตกลงเซ็นสัญญาต่ออายุประกัน โดยมีการทำประกันชั่วคราวออกไปอีก 3 เดือน ขณะนี้ อยู่ระหว่างการให้บริษัทประกันเสนอราคาเข้ามา ซึ่งมีด้วยกัน 5 บริษัท และอยู่ระหว่างการคัดเลือก
สำหรับปีนี้มีสมาชิกทำประกันชีวิตกลุ่ม 1.2 หมื่นคน ซึ่งมีจำนวนมาก เพราะเป็นการบังคับให้สมาชิกที่ขอกู้เงินจากสหกรณ์ทุกคนต้องทำประกันชีวิต เพื่อป้องกันหนี้เสียของสหกรณ์ โดยจ่ายเบี้ยประกันคนละ 500 บาทต่อปี ได้รับความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต 1 แสนบาทต่อคน
บริษัทขอขึ้นเบี้ยประกันโดยไม่มีเหตุผล เพราะปีที่ผ่านมาทางบริษัทมีกำไรจากการรับประกันภัย 20 ล้านบาทต่อปี และตามข้อตกลงเบื้องต้นต้องคืนโบนัส หรือเงินสดให้ในกรณีที่มีกำไร แต่บริษัทไม่คืน ซึ่งข้อตกลงเบื้องต้นทำไว้หละหลวมมาก จึงต้องหาบริษัทใหม่ แหล่งข่าวเปิดเผย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=201677
โพสต์ทูเดย์ ลูกค้าร้องจ๊าก ประกันภัย-ประกันชีวิตดาหน้าขึ้นเบี้ยประกัน ประกันภัยกลุ่มขึ้น 20%
นายวินัย นิยโมสถ กรรมการผู้จัดการ สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สหกรณ์ตัดสินใจเปลี่ยนบริษัทประกันภัยที่รับทำประกันอุบัติเหตุ และประกันสุขภาพกลุ่มของสมาชิกสหกรณ์ จากบริษัท เอ็มเอสไอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) เป็นบริษัท นำสินประกันภัย เนื่องจากบริษัท เอ็มเอสไอจี ปรับราคาเบี้ยประกันกลุ่มปีที่ 4 ขึ้นอีก 20% ทุกช่วงอายุ
ทั้งนี้ บริษัทให้เหตุผลว่า เพราะค่าสินไหมทดแทนสูง โดยปีแรก เกิน 100% ของเบี้ยประกัน ปีที่ 2 ค่าสินไหม 90% และปีที่ 3 เกิน 100% โดยบริษัท ไอเอ็นจี ประกันภัยนั้นทางกลุ่มได้ทำประกันต่อเนื่องมานาน 3 ปีแล้ว
สำหรับการทำประกันกับบริษัท นำสินประกันภัย ราคาเบี้ยประกัน จะแบ่งตามช่วงอายุ อายุไม่เกิน 60 ปี เบี้ยประกันต่อหัวต่อปีอยู่ที่ 3 พันบาท อายุ 61-65 ปี เบี้ยประกัน อยู่ที่ 4 พันบาท และอายุ 66-71 ปี เบี้ยประกันอยู่ที่ 5.5 พันบาท อายุ 72 ขึ้นไป เบี้ยประกัน 7 พันบาท สมาชิกที่อายุมากที่สุดอยู่ที่ 73 ปี
การประกันครั้งนี้จะเริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2550-31 ต.ค. 2551 มีสมาชิกที่ยื่นความจำนงทำประกันอุบัติเหตุ และประกันสุขภาพกลุ่มทั้งหมด 6,673 คน เพิ่มขึ้น 1.4 พันคน เมื่อเทียบกับปี 2549
สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ กฟผ. จะได้รับความคุ้มครองกรณีการเข้านอนในโรงพยาบาล 1.8 หมื่นบาทต่อครั้ง หากเสียชีวิต คุ้มครอง 1 แสนบาท ทำประกันเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะต้องการเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน เพราะสะดวกกว่าการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ นายวินัย กล่าว
แหล่งข่าวจากสหกรณ์ออมทรัพย์องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัท สยามซัมซุง ประกันชีวิต จะขึ้นเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มของสมาชิกสหกรณ์เช่นเดียวกัน ซึ่งทางสหกรณ์ยังไม่ตกลงเซ็นสัญญาต่ออายุประกัน โดยมีการทำประกันชั่วคราวออกไปอีก 3 เดือน ขณะนี้ อยู่ระหว่างการให้บริษัทประกันเสนอราคาเข้ามา ซึ่งมีด้วยกัน 5 บริษัท และอยู่ระหว่างการคัดเลือก
สำหรับปีนี้มีสมาชิกทำประกันชีวิตกลุ่ม 1.2 หมื่นคน ซึ่งมีจำนวนมาก เพราะเป็นการบังคับให้สมาชิกที่ขอกู้เงินจากสหกรณ์ทุกคนต้องทำประกันชีวิต เพื่อป้องกันหนี้เสียของสหกรณ์ โดยจ่ายเบี้ยประกันคนละ 500 บาทต่อปี ได้รับความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต 1 แสนบาทต่อคน
บริษัทขอขึ้นเบี้ยประกันโดยไม่มีเหตุผล เพราะปีที่ผ่านมาทางบริษัทมีกำไรจากการรับประกันภัย 20 ล้านบาทต่อปี และตามข้อตกลงเบื้องต้นต้องคืนโบนัส หรือเงินสดให้ในกรณีที่มีกำไร แต่บริษัทไม่คืน ซึ่งข้อตกลงเบื้องต้นทำไว้หละหลวมมาก จึงต้องหาบริษัทใหม่ แหล่งข่าวเปิดเผย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=201677
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news05/11/07
โพสต์ที่ 80
ประกันสุขภาพ 5 บกกินรวบ [ ฉบับที่ 841 ประจำวันที่ 31-10-2007 ถึง 2-11-2007]
>กวาดเบี้ยเรียบแค่ 6 เดือน 8,510 ล้านบาท
5 ค่ายยักษ์ประกันชีวิตกุมตลาดประกันสุขภาพเบ็ดเสร็จ เอไอเอไทยประกันชีวิต เอเอซีพี เมืองไทยฯ กรุงเทพประกันชีวิต 6 เดือนกำเบี้ยในมือถึง 8,510 ล้านบาท มากกว่าวินาศภัยทั้งระบบถึง 7 เท่า เผยทิศทางตลาดแค่เสมอตัว เหตุต้นทุนค้ำคอ ยอดเคลมยังสูงลิ่วถึง 60-65% พร้อมงัดกลยุทธ์ใหม่คุมค่ารักษา ทั้งจัดเกรดโรงพยาบาล จัดกลุ่มลูกค้า จัดโซน ค่ารักษาตามภูมิภาค หวังลดเคลม คุมค่าใช้จ่ายให้พออยู่ได้
เป็นที่ทราบกันดีว่า ตลาดประกันสุขภาพส่วนใหญ่อยู่ในมือบริษัทประกันชีวิต โดยเฉพาะ 5 บริษัทใหญ่ที่มีเบี้ยรวมกันมากกว่าเบี้ยประกันสุขภาพทั้งหมดของธุรกิจประกันวินาศภัยด้วยซ้ำ แม้ว่าโดยกฎหมายแล้วสินค้าจะเป็นของธุรกิจประกันวินาศภัยโดยตรง แต่กระนั้นความพยายามที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งให้กลับมาอยู่ในมือของบริษัทประกันวินาศภัยให้มากที่สุดก็ยังไม่อาจที่จะทำได้ จากปัจจัยในเรื่องของต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ซึ่งฝั่งประกันชีวิตมีความได้เปรียบกว่าในด้านระบบการบริหารจัดการที่มีต้นทุนต่ำกว่า จากขนาดของฐานลูกค้าที่ใหญ่กว่า โดยในปี 2549 ที่ผ่านมา จากสถิติธุรกิจประกันภัยของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พบว่า ธุรกิจประกันภัยทั้งระบบมีเบี้ยประกันสุขภาพรวมทั้งสิ้น 20,243.38 ล้านบาท แบ่งเป็นเบี้ยจากสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพของธุรกิจประกันชีวิต 18,572.959 ล้านบาท และเป็นเบี้ยประกันสุขภาพจากธุรกิจประกันวินาศภัย 1,670.417 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันสุขภาพมากกว่าธุรกิจประกันวินาศภัยถึง 11 เท่า หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 92% ของเบี้ยประกันสุขภาพทั้งระบบ ขณะธุรกิจประกันวินาศภัยกุมส่วนแบ่งเพียง 8% เท่านั้น
ส่วนในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ ธุรกิจประกันภัยทั้งระบบมีเบี้ยประกันสุขภาพรวม 10,924.277 ล้านบาท แบ่งเป็นส่วนของประกันชีวิตมีเบี้ย 9,750.902 ล้านบาท และประกันวินาศภัย 1,173.375 ล้านบาท โดยเบี้ยสุขภาพของธุรกิจประกันชีวิตสูงกว่าประกันวินาศภัยถึง 8 เท่าทีเดียว
ซึ่งหากแยกเฉพาะเบี้ยประกันสุขภาพของ 5 บริษัทใหญ่ที่คุมตลาดนี้อยู่ ได้แก่ เอไอเอ หรือบริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด, บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด, บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือเอเอซีพี, บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด และบริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด ออกมา พบว่า ทั้ง 5 บริษัทนี้มีเบี้ยรวมกันสูงถึง 8,510.470 ล้านบาท โดยเอไอเอมีเบี้ยสูงสุด 5,024.822 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ ไทยประกันชีวิต 1,533.671 ล้านบาท, เอเอซีพี 839.609 ล้านบาท, เมืองไทยประกันชีวิต 676.760 ล้านบาท และกรุงเทพประกันชีวิต 435.608 ล้านบาท ขณะที่ธุรกิจประกันวินาศภัย บริษัทที่มีเบี้ยประกันสุขภาพมากที่สุด คือ บริษัท บูพา ประกันสุขภาพ จำกัด มีเบี้ยรวม 602.390 ล้านบาทเท่านั้น
อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากรายงานสถิติธุรกิจประจำปี 2549 ของสมาคมประกันชีวิตไทย พบว่า ในปี 2549 ที่ผ่านมา ธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยรับตรงของสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพรวมทั้งสิ้น 18,607.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% เมื่อเทียบกับปี 2548 ที่มีเบี้ยอยู่ที่ 17,962.42 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็นเบี้ยรับตรงของสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพของการประกันชีวิตประเภทสามัญอันเป็นตลาดหลักของธุรกิจ 15,719.93 ล้านบาท ลดลง 1% เมื่อเทียบกับปี 2548 ทีมีเบี้ย 15,877.03 ล้านบาท และเป็นเบี้ยรับตรงสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพในส่วนของการประกันชีวิตกลุ่ม 2,887.17 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38% เมื่อเทียบกับ 2,085.39 ล้านบาทในปี 2548
ส่วน 5 บริษัทประกันชีวิตดังกล่าว ในปี 2549 มีเบี้ยประกันสุขภาพรวมกันถึง 16,577.60 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 89% ของเบี้ยประกันสุขภาพของธุรกิจประกันชีวิตทั้งหมด ขณะที่อีก 19 บริษัทที่เหลือกุมส่วนแบ่งแค่ 11% หรือมีเบี้ยรวมกันแค่ 2,029.50 ล้านบาท เท่านั้น โดยเอไอเอมีเบี้ยมากที่สุดถึง 10,051.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับ 8,752.12 ล้านบาทในปี 2548 ครองส่วนแบ่งตลาด 54% ของเบี้ยประกันสุขภาพของธุรกิจประกันชีวิตทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ไทยประกันชีวิตมีเบี้ยจำนวน 3,050.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับ 2,728.82 ล้านบาท ในปี 2548 ครองส่วนแบ่ง 16%, เอเอซีพีมีเบี้ย 1,719.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับ 1,595.68 ล้านบาท ในปี 2548 ครองส่วนแบ่ง 9%, เมืองไทยประกันชีวิตมีเบี้ย 1,106.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับ 1,004.92 ล้านบาทในปี 2548 ครองส่วนแบ่ง 6% และกรุงเทพประกันชีวิตมีเบี้ย 650.22 ล้านบาท ลดลงหรือติดลบถึง 74% เมื่อเทียบกับ 2,485.63 ล้านบาท ในปี 2548 ครองส่วนแบ่ง 3%
ด้านค่าใช้จ่ายในส่วนของเงินจ่ายเพื่อการประกันสุขภาพ ปรากฏว่า ในปี 2549 ที่ผ่านมา ธุรกิจประกันชีวิตมีค่าใช้จ่ายเพื่อการประกันสุขภาพทั้งสิ้น 7,718.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับปี 2548 ที่จ่ายไป 6,563.22 ล้านบาท โดยที่ 5 บริษัทใหญ่นั้นมีการจ่ายเพื่อการประกันสุขภาพไปทั้งสิ้น 6,759.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับที่จ่ายไป 5,851.50 ล้านบาท ในปี 2548 หรือคิดเป็นสัดส่วน 88% ของค่าใช้จ่ายด้านการประกันสุขภาพทั้งหมดของธุรกิจประกันชีวิต
อย่างไรก็ดี แม้ว่าทั้ง 5 บริษัทจะคุมตลาดประกันสุขภาพทั้งระบบ แต่หากมองในแง่ของการขยายตัวของเบี้ยแล้ว ถือว่าแทบจะไม่ขยายตัวเลย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ซึ่งส่วนหนึ่งนอกเหนือจากความก้าวหน้าด้านการแพทย์ที่ทำให้ระบบการรักษาต้องพึ่งยา และเครื่องไม้เครื่องมือที่มีสมรรถนะมากขึ้นแล้ว อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะเลห์เหลี่ยมของโรงพยาบาลบางแห่งที่คิดค่ารักษาพยาบาลไม่เป็นธรรมต่อลูกค้าประกันชีวิต เพราะถือเป็นลูกค้าระดับวีไอพีมั่นใจได้ว่ามีเงินจ่าย โรงพยาบาลทุกแห่งจึงพร้อมอ้าแขนรับทุกเมื่อ ดังนั้นบริษัทประกันชีวิตทั้ง 5 บริษัทจึงเริ่มมีการรวมตัวแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ทั้งด้านการรักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นธรรมต่อลูกค้า และการบริหารต้นทุนที่แท้จริง พร้อมทั้งจัดทีมไปเจรจากับโรงพยาบาลที่มีปัญหา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
ดร.อภิรักษ์ ไทพัฒนกุล กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่ทั้ง 5 บริษัทมีการรวมตัวกันในเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการประกันสุขภาพ พร้อมกับจัดทีมไปเจรจากับโรงพยาบาลที่ตุกติกด้านค่ารักษาพยาบาล ขณะนี้ก็ได้นำเรื่องเข้าสู่สมาคมประกันชีวิตไทย เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทประกันชีวิตอื่นๆ ได้มาร่วมด้วย
ทั้งนี้นอกเหนือจากการรวมตัวในสมาคมฯ แล้ว บริษัทประกันชีวิตแต่ละแห่งยังหันมาควบคุมค่าใช้จ่ายควบคู่ไปด้วย ซึ่งโดยเฉลี่ยเบี้ยประกันสุขภาพที่รับมา 70%ของเบี้ยจะเป็นส่วนที่ต้องจ่ายเคลม ดังนั้นในส่วนของไทยประกันชีวิตได้มีการตั้งเป้าหมายภายใน 70% ที่ต้องจ่ายเคลมนั้น ต้องพยายามบริหารให้มียอดเคลมไม่เกิน 70% เพื่อให้อัตราเบี้ยที่รับมาเพียงพอ และพออยู่ได้
การประกันสุขภาพถือเป็นการรับประกันที่มีการเคลมสูงโดยอัตราการเคลม (Loss Ratio) สูงถึง 60-65% ทำให้ทุกบริษัทต่างก็ต้องพยายามควบคุมค่าใช้จ่าย ซึ่งหากว่าสามารถบริหารให้อยู่ในระดับไม่เกิน 15% ถือว่าพออยู่ได้
นายโทมัส ไวท์ รองประธานบริหารระดับสูงและผู้จัดการทั่วไป เอไอเอ เปิดเผยว่า จากผลสำรวจดัชนีไลฟ์แมทเทอร์ส เกี่ยวกับความเสี่ยงทั้งจากการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ พบว่า ควรจะต้องจำแนกสินค้าประกันชีวิต รวมถึงการจัดเกรดโรงพยาบาล และยังต้องแบ่งแยกย่อยตามภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้า และอัตราเบี้ยที่เหมาะสมกับค่ารักษาพยาบาลในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเอไอเอคงจะเป็นผู้นำร่องธุรกิจรายแรก โดยได้นำผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเมดิแคร์มาเข้าร่วมทีมในการวางกลยุทธ์ด้านประกันสุขภาพ เพื่อให้บริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า
ทั้งนี้จากการศึกษา พบว่า ค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลมีการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20% ต่อปี และมีการคาดการณ์กันว่า อีก 4 ปีข้างหน้าโรงพยาบาลระดับ 5 ดาว ค่ารักษาพยาบาลจะเพิ่มขึ้นอีก 30%
นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด เปิดเผยสยามธุรกิจว่า ตลาดประกันสุขภาพถือเป็นตลาดที่พออยู่ได้ ไม่มีกำไร โดยการคำนวณเบี้ยจะอาศัยตารางความเจ็บป่วย (Morbidity Table) เป็นหลักเหมือนกับตารางอัตรามรณะ (Mortality Table) ในการคำนวณอัตราเบี้ยประกันชีวิต ซึ่งการปรับปรุงอัตราเบี้ยก็ขึ้นอยู่กับตารางดังกล่าว โดยส่วนใหญ่จะปรับปรุงทุก 5-10 ปี โดยทุกบริษัทต่างก็มุ่งพัฒนาด้านสินค้า และบริการเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าได้ครอบคลุม
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=8259
>กวาดเบี้ยเรียบแค่ 6 เดือน 8,510 ล้านบาท
5 ค่ายยักษ์ประกันชีวิตกุมตลาดประกันสุขภาพเบ็ดเสร็จ เอไอเอไทยประกันชีวิต เอเอซีพี เมืองไทยฯ กรุงเทพประกันชีวิต 6 เดือนกำเบี้ยในมือถึง 8,510 ล้านบาท มากกว่าวินาศภัยทั้งระบบถึง 7 เท่า เผยทิศทางตลาดแค่เสมอตัว เหตุต้นทุนค้ำคอ ยอดเคลมยังสูงลิ่วถึง 60-65% พร้อมงัดกลยุทธ์ใหม่คุมค่ารักษา ทั้งจัดเกรดโรงพยาบาล จัดกลุ่มลูกค้า จัดโซน ค่ารักษาตามภูมิภาค หวังลดเคลม คุมค่าใช้จ่ายให้พออยู่ได้
เป็นที่ทราบกันดีว่า ตลาดประกันสุขภาพส่วนใหญ่อยู่ในมือบริษัทประกันชีวิต โดยเฉพาะ 5 บริษัทใหญ่ที่มีเบี้ยรวมกันมากกว่าเบี้ยประกันสุขภาพทั้งหมดของธุรกิจประกันวินาศภัยด้วยซ้ำ แม้ว่าโดยกฎหมายแล้วสินค้าจะเป็นของธุรกิจประกันวินาศภัยโดยตรง แต่กระนั้นความพยายามที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งให้กลับมาอยู่ในมือของบริษัทประกันวินาศภัยให้มากที่สุดก็ยังไม่อาจที่จะทำได้ จากปัจจัยในเรื่องของต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ซึ่งฝั่งประกันชีวิตมีความได้เปรียบกว่าในด้านระบบการบริหารจัดการที่มีต้นทุนต่ำกว่า จากขนาดของฐานลูกค้าที่ใหญ่กว่า โดยในปี 2549 ที่ผ่านมา จากสถิติธุรกิจประกันภัยของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พบว่า ธุรกิจประกันภัยทั้งระบบมีเบี้ยประกันสุขภาพรวมทั้งสิ้น 20,243.38 ล้านบาท แบ่งเป็นเบี้ยจากสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพของธุรกิจประกันชีวิต 18,572.959 ล้านบาท และเป็นเบี้ยประกันสุขภาพจากธุรกิจประกันวินาศภัย 1,670.417 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันสุขภาพมากกว่าธุรกิจประกันวินาศภัยถึง 11 เท่า หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 92% ของเบี้ยประกันสุขภาพทั้งระบบ ขณะธุรกิจประกันวินาศภัยกุมส่วนแบ่งเพียง 8% เท่านั้น
ส่วนในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ ธุรกิจประกันภัยทั้งระบบมีเบี้ยประกันสุขภาพรวม 10,924.277 ล้านบาท แบ่งเป็นส่วนของประกันชีวิตมีเบี้ย 9,750.902 ล้านบาท และประกันวินาศภัย 1,173.375 ล้านบาท โดยเบี้ยสุขภาพของธุรกิจประกันชีวิตสูงกว่าประกันวินาศภัยถึง 8 เท่าทีเดียว
ซึ่งหากแยกเฉพาะเบี้ยประกันสุขภาพของ 5 บริษัทใหญ่ที่คุมตลาดนี้อยู่ ได้แก่ เอไอเอ หรือบริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด, บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด, บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือเอเอซีพี, บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด และบริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด ออกมา พบว่า ทั้ง 5 บริษัทนี้มีเบี้ยรวมกันสูงถึง 8,510.470 ล้านบาท โดยเอไอเอมีเบี้ยสูงสุด 5,024.822 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ ไทยประกันชีวิต 1,533.671 ล้านบาท, เอเอซีพี 839.609 ล้านบาท, เมืองไทยประกันชีวิต 676.760 ล้านบาท และกรุงเทพประกันชีวิต 435.608 ล้านบาท ขณะที่ธุรกิจประกันวินาศภัย บริษัทที่มีเบี้ยประกันสุขภาพมากที่สุด คือ บริษัท บูพา ประกันสุขภาพ จำกัด มีเบี้ยรวม 602.390 ล้านบาทเท่านั้น
อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากรายงานสถิติธุรกิจประจำปี 2549 ของสมาคมประกันชีวิตไทย พบว่า ในปี 2549 ที่ผ่านมา ธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยรับตรงของสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพรวมทั้งสิ้น 18,607.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% เมื่อเทียบกับปี 2548 ที่มีเบี้ยอยู่ที่ 17,962.42 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็นเบี้ยรับตรงของสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพของการประกันชีวิตประเภทสามัญอันเป็นตลาดหลักของธุรกิจ 15,719.93 ล้านบาท ลดลง 1% เมื่อเทียบกับปี 2548 ทีมีเบี้ย 15,877.03 ล้านบาท และเป็นเบี้ยรับตรงสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพในส่วนของการประกันชีวิตกลุ่ม 2,887.17 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38% เมื่อเทียบกับ 2,085.39 ล้านบาทในปี 2548
ส่วน 5 บริษัทประกันชีวิตดังกล่าว ในปี 2549 มีเบี้ยประกันสุขภาพรวมกันถึง 16,577.60 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 89% ของเบี้ยประกันสุขภาพของธุรกิจประกันชีวิตทั้งหมด ขณะที่อีก 19 บริษัทที่เหลือกุมส่วนแบ่งแค่ 11% หรือมีเบี้ยรวมกันแค่ 2,029.50 ล้านบาท เท่านั้น โดยเอไอเอมีเบี้ยมากที่สุดถึง 10,051.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับ 8,752.12 ล้านบาทในปี 2548 ครองส่วนแบ่งตลาด 54% ของเบี้ยประกันสุขภาพของธุรกิจประกันชีวิตทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ไทยประกันชีวิตมีเบี้ยจำนวน 3,050.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับ 2,728.82 ล้านบาท ในปี 2548 ครองส่วนแบ่ง 16%, เอเอซีพีมีเบี้ย 1,719.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับ 1,595.68 ล้านบาท ในปี 2548 ครองส่วนแบ่ง 9%, เมืองไทยประกันชีวิตมีเบี้ย 1,106.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับ 1,004.92 ล้านบาทในปี 2548 ครองส่วนแบ่ง 6% และกรุงเทพประกันชีวิตมีเบี้ย 650.22 ล้านบาท ลดลงหรือติดลบถึง 74% เมื่อเทียบกับ 2,485.63 ล้านบาท ในปี 2548 ครองส่วนแบ่ง 3%
ด้านค่าใช้จ่ายในส่วนของเงินจ่ายเพื่อการประกันสุขภาพ ปรากฏว่า ในปี 2549 ที่ผ่านมา ธุรกิจประกันชีวิตมีค่าใช้จ่ายเพื่อการประกันสุขภาพทั้งสิ้น 7,718.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับปี 2548 ที่จ่ายไป 6,563.22 ล้านบาท โดยที่ 5 บริษัทใหญ่นั้นมีการจ่ายเพื่อการประกันสุขภาพไปทั้งสิ้น 6,759.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับที่จ่ายไป 5,851.50 ล้านบาท ในปี 2548 หรือคิดเป็นสัดส่วน 88% ของค่าใช้จ่ายด้านการประกันสุขภาพทั้งหมดของธุรกิจประกันชีวิต
อย่างไรก็ดี แม้ว่าทั้ง 5 บริษัทจะคุมตลาดประกันสุขภาพทั้งระบบ แต่หากมองในแง่ของการขยายตัวของเบี้ยแล้ว ถือว่าแทบจะไม่ขยายตัวเลย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ซึ่งส่วนหนึ่งนอกเหนือจากความก้าวหน้าด้านการแพทย์ที่ทำให้ระบบการรักษาต้องพึ่งยา และเครื่องไม้เครื่องมือที่มีสมรรถนะมากขึ้นแล้ว อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะเลห์เหลี่ยมของโรงพยาบาลบางแห่งที่คิดค่ารักษาพยาบาลไม่เป็นธรรมต่อลูกค้าประกันชีวิต เพราะถือเป็นลูกค้าระดับวีไอพีมั่นใจได้ว่ามีเงินจ่าย โรงพยาบาลทุกแห่งจึงพร้อมอ้าแขนรับทุกเมื่อ ดังนั้นบริษัทประกันชีวิตทั้ง 5 บริษัทจึงเริ่มมีการรวมตัวแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ทั้งด้านการรักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นธรรมต่อลูกค้า และการบริหารต้นทุนที่แท้จริง พร้อมทั้งจัดทีมไปเจรจากับโรงพยาบาลที่มีปัญหา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
ดร.อภิรักษ์ ไทพัฒนกุล กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่ทั้ง 5 บริษัทมีการรวมตัวกันในเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการประกันสุขภาพ พร้อมกับจัดทีมไปเจรจากับโรงพยาบาลที่ตุกติกด้านค่ารักษาพยาบาล ขณะนี้ก็ได้นำเรื่องเข้าสู่สมาคมประกันชีวิตไทย เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทประกันชีวิตอื่นๆ ได้มาร่วมด้วย
ทั้งนี้นอกเหนือจากการรวมตัวในสมาคมฯ แล้ว บริษัทประกันชีวิตแต่ละแห่งยังหันมาควบคุมค่าใช้จ่ายควบคู่ไปด้วย ซึ่งโดยเฉลี่ยเบี้ยประกันสุขภาพที่รับมา 70%ของเบี้ยจะเป็นส่วนที่ต้องจ่ายเคลม ดังนั้นในส่วนของไทยประกันชีวิตได้มีการตั้งเป้าหมายภายใน 70% ที่ต้องจ่ายเคลมนั้น ต้องพยายามบริหารให้มียอดเคลมไม่เกิน 70% เพื่อให้อัตราเบี้ยที่รับมาเพียงพอ และพออยู่ได้
การประกันสุขภาพถือเป็นการรับประกันที่มีการเคลมสูงโดยอัตราการเคลม (Loss Ratio) สูงถึง 60-65% ทำให้ทุกบริษัทต่างก็ต้องพยายามควบคุมค่าใช้จ่าย ซึ่งหากว่าสามารถบริหารให้อยู่ในระดับไม่เกิน 15% ถือว่าพออยู่ได้
นายโทมัส ไวท์ รองประธานบริหารระดับสูงและผู้จัดการทั่วไป เอไอเอ เปิดเผยว่า จากผลสำรวจดัชนีไลฟ์แมทเทอร์ส เกี่ยวกับความเสี่ยงทั้งจากการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ พบว่า ควรจะต้องจำแนกสินค้าประกันชีวิต รวมถึงการจัดเกรดโรงพยาบาล และยังต้องแบ่งแยกย่อยตามภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้า และอัตราเบี้ยที่เหมาะสมกับค่ารักษาพยาบาลในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเอไอเอคงจะเป็นผู้นำร่องธุรกิจรายแรก โดยได้นำผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเมดิแคร์มาเข้าร่วมทีมในการวางกลยุทธ์ด้านประกันสุขภาพ เพื่อให้บริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า
ทั้งนี้จากการศึกษา พบว่า ค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลมีการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20% ต่อปี และมีการคาดการณ์กันว่า อีก 4 ปีข้างหน้าโรงพยาบาลระดับ 5 ดาว ค่ารักษาพยาบาลจะเพิ่มขึ้นอีก 30%
นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด เปิดเผยสยามธุรกิจว่า ตลาดประกันสุขภาพถือเป็นตลาดที่พออยู่ได้ ไม่มีกำไร โดยการคำนวณเบี้ยจะอาศัยตารางความเจ็บป่วย (Morbidity Table) เป็นหลักเหมือนกับตารางอัตรามรณะ (Mortality Table) ในการคำนวณอัตราเบี้ยประกันชีวิต ซึ่งการปรับปรุงอัตราเบี้ยก็ขึ้นอยู่กับตารางดังกล่าว โดยส่วนใหญ่จะปรับปรุงทุก 5-10 ปี โดยทุกบริษัทต่างก็มุ่งพัฒนาด้านสินค้า และบริการเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าได้ครอบคลุม
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=8259
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news07/11/07
โพสต์ที่ 81
เอไอเอยันรับประกันชีวิตเกย์
โพสต์ทูเดย์ เอไอเอ ยัน ไม่เคยปฏิเสธรับประกันชีวิตให้ลูกค้าเกย์
นายสุทธิ รจิตรังสรรค์ รองประธานอาวุโสฝ่ายบริหาร บริษัทอเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ (เอไอเอ) สาขาประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทยืนยันว่า ไม่เคยปฏิเสธรับประกันชีวิตเกย์ บริษัทมีลูกค้าที่เปิดเผยตัวเองต่อสังคมว่าเป็นเกย์หลายราย และรายที่ร้องเรียนสื่อมวลชนยังไม่ได้ยื่นใบคำขอทำประกัน จะกล่าวหาว่าบริษัทปฏิเสธไม่ได้
หากเราจะไม่รับประกัน ไม่ใช่เพราะเขาเป็นเกย์ เนื่องจากไม่มีเส้นแบ่งให้รู้ว่าใครเป็นอะไร แต่เป็นเพราะการใช้ชีวิตมีความเสี่ยงสูงเกินกว่าจะรับได้ นายสุทธิ กล่าว
ทั้งนี้ ในจำนวนผู้ยื่นขอประกันภัยกับเอไอเอ ในปีนี้ ประมาณ 6 แสนฉบับ บริษัทรับประกัน 95% ในจำนวนนี้มี 3% ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่บริษัทกำหนด แต่ผู้ยื่นขอทำประกันภัย กลุ่มนี้ยินดีจ่ายเบี้ยประกันเพิ่ม ในขณะที่ 1.4% อยู่ในข่ายความเสี่ยงสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่บริษัทสามารถรับได้
ดังนั้น บริษัทจึงต้องปฏิเสธการรับประกัน หรืออาจขอเลื่อนการประกันภัยออกไป ส่วนอีก 3.6% อยู่ในข่ายถอนใบคำขอเอาประกันออกไปเอง จากการที่บริษัทเพิ่มเบี้ยประกันสูงกว่าคนทั่วไป 0.25 บาทต่อความคุ้มครอง 100 บาท หรือ 25 บาทต่อความคุ้มครอง 1 พันบาท
นายสุทธิ กล่าวว่า ธุรกิจประกันชีวิตเป็นการรับบริหารความเสี่ยงภัยของคนหมู่มาก หลักการพิจารณารับประกันภัยจึงต้องยึดถือมาตรฐานความเสี่ยงภัยของคนส่วนใหญ่ เป็นเกณฑ์ นอกจากนี้ ยังต้องบริหารเงินเบี้ยประกันภัยของผู้ถือกรม ธรรม์ในระยะยาว การพิจารณารับประกันภัยจึงต้องมีความรัดกุม
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=202104
โพสต์ทูเดย์ เอไอเอ ยัน ไม่เคยปฏิเสธรับประกันชีวิตให้ลูกค้าเกย์
นายสุทธิ รจิตรังสรรค์ รองประธานอาวุโสฝ่ายบริหาร บริษัทอเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ (เอไอเอ) สาขาประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทยืนยันว่า ไม่เคยปฏิเสธรับประกันชีวิตเกย์ บริษัทมีลูกค้าที่เปิดเผยตัวเองต่อสังคมว่าเป็นเกย์หลายราย และรายที่ร้องเรียนสื่อมวลชนยังไม่ได้ยื่นใบคำขอทำประกัน จะกล่าวหาว่าบริษัทปฏิเสธไม่ได้
หากเราจะไม่รับประกัน ไม่ใช่เพราะเขาเป็นเกย์ เนื่องจากไม่มีเส้นแบ่งให้รู้ว่าใครเป็นอะไร แต่เป็นเพราะการใช้ชีวิตมีความเสี่ยงสูงเกินกว่าจะรับได้ นายสุทธิ กล่าว
ทั้งนี้ ในจำนวนผู้ยื่นขอประกันภัยกับเอไอเอ ในปีนี้ ประมาณ 6 แสนฉบับ บริษัทรับประกัน 95% ในจำนวนนี้มี 3% ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่บริษัทกำหนด แต่ผู้ยื่นขอทำประกันภัย กลุ่มนี้ยินดีจ่ายเบี้ยประกันเพิ่ม ในขณะที่ 1.4% อยู่ในข่ายความเสี่ยงสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่บริษัทสามารถรับได้
ดังนั้น บริษัทจึงต้องปฏิเสธการรับประกัน หรืออาจขอเลื่อนการประกันภัยออกไป ส่วนอีก 3.6% อยู่ในข่ายถอนใบคำขอเอาประกันออกไปเอง จากการที่บริษัทเพิ่มเบี้ยประกันสูงกว่าคนทั่วไป 0.25 บาทต่อความคุ้มครอง 100 บาท หรือ 25 บาทต่อความคุ้มครอง 1 พันบาท
นายสุทธิ กล่าวว่า ธุรกิจประกันชีวิตเป็นการรับบริหารความเสี่ยงภัยของคนหมู่มาก หลักการพิจารณารับประกันภัยจึงต้องยึดถือมาตรฐานความเสี่ยงภัยของคนส่วนใหญ่ เป็นเกณฑ์ นอกจากนี้ ยังต้องบริหารเงินเบี้ยประกันภัยของผู้ถือกรม ธรรม์ในระยะยาว การพิจารณารับประกันภัยจึงต้องมีความรัดกุม
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=202104
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news09/11/07
โพสต์ที่ 82
INGคึกลั่น5ปีติดอันดับ5
โพสต์ทูเดย์ บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต ฮึกเหิม หลังซื้อแบงก์ทหารไทยได้ปักธงอีก 5 ปี ติดอันดับ 5 จากอันดับ 7
นายราเจซ เสฐฐี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต กล่าวว่า บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตของเบี้ยประกันรับรวมติดอันดับ 5 ภายใน 5 ปีข้างหน้า โดยจะมีรายได้หรือยอดขายประกันชีวิตผ่านช่องทางการขายใหม่เข้ามาเพิ่มในสัดส่วน 30% ส่วนอีก 70% ยังเป็นรายได้จากตัวแทนที่มีความแข็งแกร่งอย่างมาก
สำหรับช่องทางขายใหม่ๆ การขายประกันผ่านธนาคารทหารไทยจัดว่ามีศักยภาพการเติบโตที่รวดเร็วที่สุด เมื่อดูจากคู่แข่งขันที่ทำการขายประกันผ่านช่องทางดังกล่าว
นายราเจซ กล่าวว่า บริษัทคาดหวังว่าจะสามารถทำยอดขายผ่านธนาคารทหารไทยที่ไอเอ็นจี กรุ๊ป บริษัทแม่เป็นผู้ถือหุ้น 30% และธนาคารอื่นๆ ได้ในสัดส่วน 5% ภายใน 6-7 ปีข้างหน้า
การขายประกันผ่านธนาคารของไอเอ็นจี กรุ๊ป ในเอเชียแปซิฟิกมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยทำรายได้มากถึง 5-7% ของรายได้รวมในปัจจุบัน เราหวังว่าในประเทศไทยน่าจะมีทิศทางเดียวกัน นายราเจซ กล่าว
นายราเจซ กล่าวว่า บริษัทจะมีการเจรจากับผู้ถือหุ้น ผู้บริหารของธนาคารทหารไทย ในการขอเสนอความเห็นชอบขายประกันชีวิตผ่านสาขาธนาคารอย่างเป็นทางการในต้นปี 2551 และคาดว่าจะสามารถขายประกันชีวิตได้กลางปี 2551
นอกจากนี้ แบบประกันที่จะขายผ่านธนาคารจะมีเงื่อนไขที่เข้าใจง่ายทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย มีให้เลือกหลายแบบหลายราคา และระยะเวลาการชำระเบี้ยที่หลากหลาย และให้ประโยชน์สูงสุดเมื่อเทียบกับแบบประกันของคู่แข่งรายอื่นๆ
นอกจากนี้ จะขยายฐานลูกค้าผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ด้วยแบบประกันกลุ่ม จากปัจจุบันที่ประกันกลุ่มของบริษัทยังมีรายได้ไม่มากนัก การเปิดช่องทางการขายผ่านคู่ค้าใหม่ๆ เช่น สโมสร
นายราเจซ กล่าวอีกว่า บริษัทยังคงมองหาโอกาสที่จะซื้อบริษัทประกันชีวิตเข้ามาควบรวมกิจการเพื่อเพิ่มขนาดทางธุรกิจ ส่วนเรื่องผลกำไรเป็นเรื่องระยะยาว ซึ่งในเกาหลีใต้ใช้เวลาร่วม 20 ปีถึงมีกำไร และปัจจุบันเป็นบริษัทที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของตลาด
ทั้งนี้ 10 เดือนแรก บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต มีเบี้ยปีแรก หรือเบี้ยลูกค้ารายใหม่ 1.33 พัน ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44% คาดว่าสิ้นปีจะมีถึง 1.88 พันล้านบาท มีเบี้ยรับรวม 3.63 พันล้านบาท และคาดว่าสิ้นปีจะถึง 4 พันล้านบาท ตามที่ ตั้งเป้าหมายไว้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=202454
โพสต์ทูเดย์ บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต ฮึกเหิม หลังซื้อแบงก์ทหารไทยได้ปักธงอีก 5 ปี ติดอันดับ 5 จากอันดับ 7
นายราเจซ เสฐฐี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต กล่าวว่า บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตของเบี้ยประกันรับรวมติดอันดับ 5 ภายใน 5 ปีข้างหน้า โดยจะมีรายได้หรือยอดขายประกันชีวิตผ่านช่องทางการขายใหม่เข้ามาเพิ่มในสัดส่วน 30% ส่วนอีก 70% ยังเป็นรายได้จากตัวแทนที่มีความแข็งแกร่งอย่างมาก
สำหรับช่องทางขายใหม่ๆ การขายประกันผ่านธนาคารทหารไทยจัดว่ามีศักยภาพการเติบโตที่รวดเร็วที่สุด เมื่อดูจากคู่แข่งขันที่ทำการขายประกันผ่านช่องทางดังกล่าว
นายราเจซ กล่าวว่า บริษัทคาดหวังว่าจะสามารถทำยอดขายผ่านธนาคารทหารไทยที่ไอเอ็นจี กรุ๊ป บริษัทแม่เป็นผู้ถือหุ้น 30% และธนาคารอื่นๆ ได้ในสัดส่วน 5% ภายใน 6-7 ปีข้างหน้า
การขายประกันผ่านธนาคารของไอเอ็นจี กรุ๊ป ในเอเชียแปซิฟิกมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยทำรายได้มากถึง 5-7% ของรายได้รวมในปัจจุบัน เราหวังว่าในประเทศไทยน่าจะมีทิศทางเดียวกัน นายราเจซ กล่าว
นายราเจซ กล่าวว่า บริษัทจะมีการเจรจากับผู้ถือหุ้น ผู้บริหารของธนาคารทหารไทย ในการขอเสนอความเห็นชอบขายประกันชีวิตผ่านสาขาธนาคารอย่างเป็นทางการในต้นปี 2551 และคาดว่าจะสามารถขายประกันชีวิตได้กลางปี 2551
นอกจากนี้ แบบประกันที่จะขายผ่านธนาคารจะมีเงื่อนไขที่เข้าใจง่ายทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย มีให้เลือกหลายแบบหลายราคา และระยะเวลาการชำระเบี้ยที่หลากหลาย และให้ประโยชน์สูงสุดเมื่อเทียบกับแบบประกันของคู่แข่งรายอื่นๆ
นอกจากนี้ จะขยายฐานลูกค้าผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ด้วยแบบประกันกลุ่ม จากปัจจุบันที่ประกันกลุ่มของบริษัทยังมีรายได้ไม่มากนัก การเปิดช่องทางการขายผ่านคู่ค้าใหม่ๆ เช่น สโมสร
นายราเจซ กล่าวอีกว่า บริษัทยังคงมองหาโอกาสที่จะซื้อบริษัทประกันชีวิตเข้ามาควบรวมกิจการเพื่อเพิ่มขนาดทางธุรกิจ ส่วนเรื่องผลกำไรเป็นเรื่องระยะยาว ซึ่งในเกาหลีใต้ใช้เวลาร่วม 20 ปีถึงมีกำไร และปัจจุบันเป็นบริษัทที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของตลาด
ทั้งนี้ 10 เดือนแรก บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต มีเบี้ยปีแรก หรือเบี้ยลูกค้ารายใหม่ 1.33 พัน ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44% คาดว่าสิ้นปีจะมีถึง 1.88 พันล้านบาท มีเบี้ยรับรวม 3.63 พันล้านบาท และคาดว่าสิ้นปีจะถึง 4 พันล้านบาท ตามที่ ตั้งเป้าหมายไว้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=202454
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news09/11/07
โพสต์ที่ 83
เมืองไทยรอ พรรครัฐบาล ก่อนตั้งเป้าโต
โพสต์ทูเดย์ เมืองไทยประกันชีวิต ขอรอดูทิศทางการเมืองอีกครั้ง ก่อนลุยปีหน้า
นายปราโมทย์ ศักดิ์กำจร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต กล่าวว่า บริษัทยังไม่สามารถตั้งเป้าหมายการเติบโตทางธุรกิจที่ชัดเจนได้ จนกว่าจะเห็นทิศทางการเมืองหลังผลการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธ.ค. นี้ ว่าพรรคใดจะเข้ามาบริหารประเทศและมีนโยบายด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ หวังว่าถ้ารัฐบาลใหม่จะได้ทีมเศรษฐกิจที่เข้มแข็งเข้ามาดูแลเศรษฐกิจของประเทศ ก็จะทำให้เศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวและวิ่งต่อไปได้ และส่งผลต่อธุรกิจประกันชีวิตตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงใช้กลยุทธ์ผ่านช่องทางขายที่หลากหลายต่อไปในปี 2551 เพื่อให้ต่อเนื่องกับในปีนี้ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยเฉพาะช่องทางผ่านสาขาของ ธนาคารกสิกรไทยหรือแบงก์แอสชัวรันส์ที่เติบโตระดับ 100% และจะบุกตลาดขายตรงด้วย
นายปราโมทย์ กล่าวว่า ปี 2550 ถือว่าเป็นปีพิเศษของธุรกิจประกันชีวิตที่อุตสาหกรรมโดยรวมมีการเติบโตถึง 16% สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง เนื่องมาจากผลของการขยายช่องทางขายที่หลากหลายของแต่ละบริษัท ทำให้สามารถดึงกำลังซื้อจากลูกค้ากลับคืนมาได้ แต่ส่วนใหญ่เกินกว่า 50% ก็ยังมีแบบประกันสะสมทรัพย์เป็นหลัก เนื่องจากลูกค้าต้องการเห็นเงินของตัวเองกลับคืนมาบ้าง จึงต้องทำการปลูกฝังให้ลูกค้าเห็นความสำคัญของแบบประกันคุ้มครองที่เป็นการวางแผนในอนาคตให้ตัวเองมากกว่านี้ ซึ่งไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่หลายประเทศก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน
ทั้งนี้ 9 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทมีเบี้ยรับรวมที่ 10,035 ล้านบาท เติบโต 38% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่าเป็นการเติบโตที่มั่นคง โดยขณะนี้มีตัวแทนอยู่ประมาณ 1.3 หมื่นคน และมีสัดส่วนสร้างยอดขาย 80%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=202455
โพสต์ทูเดย์ เมืองไทยประกันชีวิต ขอรอดูทิศทางการเมืองอีกครั้ง ก่อนลุยปีหน้า
นายปราโมทย์ ศักดิ์กำจร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต กล่าวว่า บริษัทยังไม่สามารถตั้งเป้าหมายการเติบโตทางธุรกิจที่ชัดเจนได้ จนกว่าจะเห็นทิศทางการเมืองหลังผลการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธ.ค. นี้ ว่าพรรคใดจะเข้ามาบริหารประเทศและมีนโยบายด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ หวังว่าถ้ารัฐบาลใหม่จะได้ทีมเศรษฐกิจที่เข้มแข็งเข้ามาดูแลเศรษฐกิจของประเทศ ก็จะทำให้เศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวและวิ่งต่อไปได้ และส่งผลต่อธุรกิจประกันชีวิตตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงใช้กลยุทธ์ผ่านช่องทางขายที่หลากหลายต่อไปในปี 2551 เพื่อให้ต่อเนื่องกับในปีนี้ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยเฉพาะช่องทางผ่านสาขาของ ธนาคารกสิกรไทยหรือแบงก์แอสชัวรันส์ที่เติบโตระดับ 100% และจะบุกตลาดขายตรงด้วย
นายปราโมทย์ กล่าวว่า ปี 2550 ถือว่าเป็นปีพิเศษของธุรกิจประกันชีวิตที่อุตสาหกรรมโดยรวมมีการเติบโตถึง 16% สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง เนื่องมาจากผลของการขยายช่องทางขายที่หลากหลายของแต่ละบริษัท ทำให้สามารถดึงกำลังซื้อจากลูกค้ากลับคืนมาได้ แต่ส่วนใหญ่เกินกว่า 50% ก็ยังมีแบบประกันสะสมทรัพย์เป็นหลัก เนื่องจากลูกค้าต้องการเห็นเงินของตัวเองกลับคืนมาบ้าง จึงต้องทำการปลูกฝังให้ลูกค้าเห็นความสำคัญของแบบประกันคุ้มครองที่เป็นการวางแผนในอนาคตให้ตัวเองมากกว่านี้ ซึ่งไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่หลายประเทศก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน
ทั้งนี้ 9 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทมีเบี้ยรับรวมที่ 10,035 ล้านบาท เติบโต 38% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่าเป็นการเติบโตที่มั่นคง โดยขณะนี้มีตัวแทนอยู่ประมาณ 1.3 หมื่นคน และมีสัดส่วนสร้างยอดขาย 80%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=202455
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news14/11/07
โพสต์ที่ 84
ประกันจุกกฎสำรองใหม่
โพสต์ทูเดย์ ธุรกิจประกันวินาศภัย เร่งจัดพอร์ตลูกค้าใหม่ ตัดงานขาดทุนทิ้ง กันกำไรตั้งสำรอง รับ คปภ.ประกาศใช้เกณฑ์บริหารความเสี่ยงภัยทุกชนิดปี 51
นายอรรณพ พรธิติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) หรือ MSIG กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างจัดพอร์ตลูกค้าใหม่ โดยจะตัดงานหรือกลุ่มลูกค้าที่มีความเสียหายสูงระดับ 100% ทิ้ง เนื่องจากเป็นตัวฉุดความสามารถในการทำกำไร หรือเพิ่มค่าเบี้ยประกันในปีต่ออายุ เช่นปีนี้บริษัทได้ขอเพิ่มเบี้ยประกันอุบัติเหตุและประกันสุขภาพกลุ่มของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เนื่องจากมีอัตราค่าสินไหมทดแทน 100% ของเบี้ยประกันภัยที่รับมา เมื่อรวมค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัยอื่นๆ ทำให้บริษัทขาดทุนจากการรับประกันลูกค้ากลุ่มดังกล่าว
ปี 2550 เรางดจ่ายเงินปันผลผู้ถือหุ้น เพราะเอากำไรที่ได้ไปเพิ่มทุนใหม่อีก 100 ล้านบาท รองรับเกณฑ์การตั้งสำรองเบี้ยประกันแต่ละประเภท Risk-based capital ในปีหน้า เพื่อให้แน่ใจว่ามีเงินเพียงพอที่จะจ่ายสินไหมลูกค้าแต่ละประเภทได้อย่างแน่นอน หากใครไม่เตรียมตัวจะแย่ นายอรรณพ กล่าว
นายอรรณพ กล่าวว่า บริษัทที่มีนักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะเข้าใจถึงผลกระทบที่จะตามมาหลังจากมีการใช้เกณฑ์ดังกล่าว ทำให้เร่งจัดระเบียบฐานะการเงินให้เข้มแข็งล่วงหน้า เพื่อลดแรงกดดันเมื่อถึงเวลาต้องปฏิบัติตาม
ทั้งนี้ ปี 2549 บริษัท MSIG มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 142 ล้านบาท
สำหรับปี 2550 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ประกาศใช้กฎเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับบริษัทประกันวินาศภัยที่มีเงินกองทุนต่ำกว่า 45 ล้านบาท เมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา เพื่อผลักดันให้บริษัทประกันภัยเร่งทำการปรับปรุงฐานะการเงิน
ทั้งนี้ จากบัญชีงบดุลปี 2549 พบว่ามีบริษัทที่เงินกองทุนต่ำกว่า 45 ล้านบาท ประกอบด้วย บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย บริษัท ธนสินประกันภัย โดยมีเงินกองทุนติดลบจนไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ลูกค้าได้ และถูก คปภ.สั่งให้หยุดรับประกันภัย บริษัท แอ๊ดวานซ์ อินชัวรันส์ คปภ.ประเมินเงินกองทุนพบว่าติดลบ 180.65 ล้านบาท อยู่ในขั้นตอนการเปรียบเทียบปรับจาก คปภ.
นอกจากนี้ ยังมีบริษัท ศูนย์สุขภาพประเทศไทย มีเงินกองทุนตามราคาประเมิน 14.60 ล้านบาท ซึ่งได้เพิ่มทุนใหม่ 9 ล้านบาท ในปี 2550 บริษัท เอเพ็กซ์ประกันสุขภาพ มีเงินกองทุน 27.21 ล้านบาท บริษัท กรุงเทพประกันสุขภาพ มีเงินกองทุน 37.65 ล้านบาท และบริษัท ไทยประกันสุขภาพ มีเงินกองทุน 43.74 ล้านบาท ถึงเดือน ต.ค.ปีนี้ ยังไม่มีการเพิ่มทุนใหม่
ทั้งนี้ นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คปภ. มีความตั้งใจจะให้บริษัทประกันภัยที่เงินกองทุนติดลบเพิ่มทุนภายในสิ้นเดือน พ.ย.นี้ ส่วนบริษัทที่เงินกองทุนต่ำกว่า 45 ล้านบาทให้เร่งเพิ่มทุนทันที
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=203427
โพสต์ทูเดย์ ธุรกิจประกันวินาศภัย เร่งจัดพอร์ตลูกค้าใหม่ ตัดงานขาดทุนทิ้ง กันกำไรตั้งสำรอง รับ คปภ.ประกาศใช้เกณฑ์บริหารความเสี่ยงภัยทุกชนิดปี 51
นายอรรณพ พรธิติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) หรือ MSIG กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างจัดพอร์ตลูกค้าใหม่ โดยจะตัดงานหรือกลุ่มลูกค้าที่มีความเสียหายสูงระดับ 100% ทิ้ง เนื่องจากเป็นตัวฉุดความสามารถในการทำกำไร หรือเพิ่มค่าเบี้ยประกันในปีต่ออายุ เช่นปีนี้บริษัทได้ขอเพิ่มเบี้ยประกันอุบัติเหตุและประกันสุขภาพกลุ่มของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เนื่องจากมีอัตราค่าสินไหมทดแทน 100% ของเบี้ยประกันภัยที่รับมา เมื่อรวมค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัยอื่นๆ ทำให้บริษัทขาดทุนจากการรับประกันลูกค้ากลุ่มดังกล่าว
ปี 2550 เรางดจ่ายเงินปันผลผู้ถือหุ้น เพราะเอากำไรที่ได้ไปเพิ่มทุนใหม่อีก 100 ล้านบาท รองรับเกณฑ์การตั้งสำรองเบี้ยประกันแต่ละประเภท Risk-based capital ในปีหน้า เพื่อให้แน่ใจว่ามีเงินเพียงพอที่จะจ่ายสินไหมลูกค้าแต่ละประเภทได้อย่างแน่นอน หากใครไม่เตรียมตัวจะแย่ นายอรรณพ กล่าว
นายอรรณพ กล่าวว่า บริษัทที่มีนักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะเข้าใจถึงผลกระทบที่จะตามมาหลังจากมีการใช้เกณฑ์ดังกล่าว ทำให้เร่งจัดระเบียบฐานะการเงินให้เข้มแข็งล่วงหน้า เพื่อลดแรงกดดันเมื่อถึงเวลาต้องปฏิบัติตาม
ทั้งนี้ ปี 2549 บริษัท MSIG มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 142 ล้านบาท
สำหรับปี 2550 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ประกาศใช้กฎเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับบริษัทประกันวินาศภัยที่มีเงินกองทุนต่ำกว่า 45 ล้านบาท เมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา เพื่อผลักดันให้บริษัทประกันภัยเร่งทำการปรับปรุงฐานะการเงิน
ทั้งนี้ จากบัญชีงบดุลปี 2549 พบว่ามีบริษัทที่เงินกองทุนต่ำกว่า 45 ล้านบาท ประกอบด้วย บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย บริษัท ธนสินประกันภัย โดยมีเงินกองทุนติดลบจนไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ลูกค้าได้ และถูก คปภ.สั่งให้หยุดรับประกันภัย บริษัท แอ๊ดวานซ์ อินชัวรันส์ คปภ.ประเมินเงินกองทุนพบว่าติดลบ 180.65 ล้านบาท อยู่ในขั้นตอนการเปรียบเทียบปรับจาก คปภ.
นอกจากนี้ ยังมีบริษัท ศูนย์สุขภาพประเทศไทย มีเงินกองทุนตามราคาประเมิน 14.60 ล้านบาท ซึ่งได้เพิ่มทุนใหม่ 9 ล้านบาท ในปี 2550 บริษัท เอเพ็กซ์ประกันสุขภาพ มีเงินกองทุน 27.21 ล้านบาท บริษัท กรุงเทพประกันสุขภาพ มีเงินกองทุน 37.65 ล้านบาท และบริษัท ไทยประกันสุขภาพ มีเงินกองทุน 43.74 ล้านบาท ถึงเดือน ต.ค.ปีนี้ ยังไม่มีการเพิ่มทุนใหม่
ทั้งนี้ นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คปภ. มีความตั้งใจจะให้บริษัทประกันภัยที่เงินกองทุนติดลบเพิ่มทุนภายในสิ้นเดือน พ.ย.นี้ ส่วนบริษัทที่เงินกองทุนต่ำกว่า 45 ล้านบาทให้เร่งเพิ่มทุนทันที
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=203427
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news15/11/07
โพสต์ที่ 85
ฟินิกซ์คว้าชัยประกันขสมก.ขอชื่อแจ้งเกิด
โพสต์ทูเดย์ ฟินิกซ์หวังสร้างชื่อ ผ่านงานประกันรถ ขสมก. เสนอเบี้ยต่ำกว่าคู่แข่งถึง 29 ล้านบาท
นายนเรศ บุญเปี่ยม ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กล่าวว่า บริษัท ฟินิกซ์ประกันภัย เป็นผู้ชนะประกวดราคางานรับประกันภัยรถโดยสาร จำนวน 3.6 พันคัน โดยฟินิกส์เสนอค่าเบี้ยที่ 47.3 ล้านบาท เพื่อทำทั้งประกันภัยตาม พ.ร.บ. และประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 โดยมีระยะเวลาคุ้มครองตลอดปี 2551
ทั้งนี้ ในส่วนของ บริษัท กมลประกันภัย เสนอค่าเบี้ยที่ 76.2 ล้านบาท และบริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย เสนอ 71.2 ล้านบาท บริษัทนำสินประกันภัย เสนอ 64.8 ล้านบาท
นายนเรศ กล่าวว่า ทาง ขสมก.ได้ต่อรองกับฟินิกซ์แล้ว แต่บริษัทแจ้งว่าค่าเบี้ยที่เสนอมาเป็นราคาที่ต่ำแล้ว จึงขอสนับสนุนเงิน 5 แสนบาท เพื่อให้ ขสมก.จัดเป็นรางวัลขับรถดีแทน ซึ่งทาง ขสมก.จะเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ การที่ฟินิกซ์เสนอค่าเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าคู่แข่งเป็นจำนวนมาก ฟินิกซ์คงต้องคิดถึงความเป็นไปได้ทางธุรกิจและการรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นไว้แล้ว รวมถึงตัว ขสมก.เองด้วย เพราะจากข้อมูลใน 2 ปีที่ผ่านมา พบว่า ผู้เสียหายจะเรียกค่าเสียหายเพิ่มขึ้นตลอด รายละไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ขณะที่เงื่อนไขกรมธรรม์จะให้ความคุ้มครองจะจ่ายค่าสินไหมสูงสุดได้เพียงรายละ 7.5 แสนบาท หรือวงเงินรวมไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อครั้ง ส่วนค่าเสียหายที่เกินค่าสินไหมนั้น ทาง ขสมก.ก็ต้องรับความเสี่ยงไว้เอง
นายพีระ นีรพิทักษ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ฟินิกซ์ประกันภัย กล่าวว่า การที่บริษัทเสนอค่าเบี้ยต่ำได้ เพราะเป็นการติดต่อตรงระหว่างบริษัทกับ ขสมก.ทำให้ไม่ต้องเสียค่านายหน้า แม้โอกาสทางธุรกิจจะมีกำไรน้อย แต่เห็นว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำการประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปเป็นที่รู้จักมากขึ้น
สหกรณ์จับมือบริษัทประกัน
โพสต์ทูเดย์ สหกรณ์ออมทรัพย์ยุคใหม่ รุกให้บริการผลิตภัณฑ์การเงินครบวงจร ตั้งโต๊ะขายประกัน หารายได้เพิ่ม และลดหนี้เอ็นพีแอล
นายวินัย นิยโมสถ กรรมการผู้จัดการ สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ในอนาคตสหกรณ์ออมทรัพย์ยุคใหม่ จะพัฒนาไปสู่การให้บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ครบวงจรให้กับสมาชิกสห กรณ์ ณ จุดเดียว เช่น ที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งสหกรณ์ออมทรัพย์ มีการพัฒนาไปถึงจุดนั้นแล้ว และสหกรณ์ออมทรัพย์ไทยน่าจะมีทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะทำไห้รายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ การให้บริการผลิตภัณฑ์ที่บริหารความเสี่ยงแก่สมาชิกสหกรณ์ รวมถึงสินทรัพย์ ของสหกรณ์จะมีมากขึ้น โดยปัจจุบันการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ชั้นนำส่วนใหญ่จะดึงบริษัทประกันชีวิตและประกันภัย เข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยงจากการ ปล่อยสินเชื่อให้แก่สมาชิก ซึ่งทางสหกรณ์ออมทรัพย์ กฟผ. จะให้สมาชิกทำประกันชีวิต เพื่อคุ้มครองสินเชื่อกรณีเสียชีวิตบริษัทประกันจะเป็นผู้ชำระหนี้ที่เหลือให้กับสหกรณ์ ลดปัญหาการเกิดหนี้เสียหรือเอ็นพีเอล
นายวินัย กล่าวว่า การเป็นตัวแทนจำหน่ายประกันอัคคีภัย ประกันภัยรถยนต์ ประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต แก่สมาชิกสหกรณ์ โดยจะทำการเปิดรับข้อเสนอบริษัทประกันภัย ประกันชีวิต ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดแก่สมาชิกสหกรณ์ ซึ่งสามารถทำรายได้จากค่านายหน้าประมาณปีละ 20 ล้านบาท
เรามีสมาชิกกว่า 3 หมื่นคน ปีนี้สามารถปล่อยสินเชื่อได้ถึง 1.8 หมื่นล้านบาทแน่นอน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 3 พันล้านบาท มีหนี้เสียไม่ถึง 1 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการที่สมาชิกถูกให้ออกจากงาน และถูกไล่ออก นายวินัยกล่าว
นายวินัย กล่าวว่า ปีนี้จะมีกำไร 1.2 พันล้านบาท จากปีที่ผ่านมา 1 พันล้านบาท จากสินทรัพย์รวม 3.2 หมื่นล้านบาท โดยกำไรมาจากส่วนต่างดอกเบี้ยเงินกู้ที่คิดจากสมาชิกซึ่งปีนี้ลดลงเหลือ 6.1% จากปีที่ผ่านมา 6.3% และรายได้จากการลงทุน ซึ่งเน้นลงทุนในตราสารหนี้ และตราสารการเงินระยะสั้น พันธบัตรรัฐบาล โดยจะมีการจ่ายเงินปันผลให้แก่สมาชิกในปีนี้ 5.75% สูงกว่าผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝาก หากสมาชิกจ่ายดอกเบี้ยตรงตามเวลาที่กำหนดจะมีรางวัลตอบแทนด้วยการคืนเงิน 7-8% ของเบี้ยที่จ่าย เช่น ดอกเบี้ย 2 พันบาท สมาชิกจะได้เงินคืน 140 บาท เหมือนกับจ่ายเบี้ยแค่ 1,860 บาทเท่านั้น
ความสามารถในการทำกำไร และทุนจดทะเบียนชำระแล้วของเรา สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ตั้ง ใหม่หลายแห่ง ขณะที่ต้นทุนการดำเนินงานต่ำกว่าหลายเท่าตัว ซึ่งใช้คนเพียง 40 คนเท่านั้นในการบริหารเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ เมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์ ที่มีสาขาและคนจำนวนมาก นายวินัย กล่าว
แหล่งข่าวจากสหกรณ์ออมทรัพย์ บริษัท ทีโอที เปิดเผยว่า ได้หันมาใช้ประกันชีวิต เพื่อคุ้มครองสินเชื่อแก่สมาชิกสหกรณ์เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา โดยสมาชิกที่ขอกู้เงินจะต้องทำประกันชีวิตทุกราย เพื่อป้องกันหนี้เสีย และในอนาคตจะนำประกันเข้ามาช่วยในการบริหารความเสี่ยงแก่สมาชิก
ปีนี้เราจะมีการจ่ายปันผลแก่สมาชิก 6.5% ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา เพราะสมาชิกเรายังน้อยเพียง 1.7 หมื่นคน จึงสามารถปันผลได้สูง แหล่งข่าวระบุ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=203679
โพสต์ทูเดย์ ฟินิกซ์หวังสร้างชื่อ ผ่านงานประกันรถ ขสมก. เสนอเบี้ยต่ำกว่าคู่แข่งถึง 29 ล้านบาท
นายนเรศ บุญเปี่ยม ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กล่าวว่า บริษัท ฟินิกซ์ประกันภัย เป็นผู้ชนะประกวดราคางานรับประกันภัยรถโดยสาร จำนวน 3.6 พันคัน โดยฟินิกส์เสนอค่าเบี้ยที่ 47.3 ล้านบาท เพื่อทำทั้งประกันภัยตาม พ.ร.บ. และประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 โดยมีระยะเวลาคุ้มครองตลอดปี 2551
ทั้งนี้ ในส่วนของ บริษัท กมลประกันภัย เสนอค่าเบี้ยที่ 76.2 ล้านบาท และบริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย เสนอ 71.2 ล้านบาท บริษัทนำสินประกันภัย เสนอ 64.8 ล้านบาท
นายนเรศ กล่าวว่า ทาง ขสมก.ได้ต่อรองกับฟินิกซ์แล้ว แต่บริษัทแจ้งว่าค่าเบี้ยที่เสนอมาเป็นราคาที่ต่ำแล้ว จึงขอสนับสนุนเงิน 5 แสนบาท เพื่อให้ ขสมก.จัดเป็นรางวัลขับรถดีแทน ซึ่งทาง ขสมก.จะเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ การที่ฟินิกซ์เสนอค่าเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าคู่แข่งเป็นจำนวนมาก ฟินิกซ์คงต้องคิดถึงความเป็นไปได้ทางธุรกิจและการรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นไว้แล้ว รวมถึงตัว ขสมก.เองด้วย เพราะจากข้อมูลใน 2 ปีที่ผ่านมา พบว่า ผู้เสียหายจะเรียกค่าเสียหายเพิ่มขึ้นตลอด รายละไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ขณะที่เงื่อนไขกรมธรรม์จะให้ความคุ้มครองจะจ่ายค่าสินไหมสูงสุดได้เพียงรายละ 7.5 แสนบาท หรือวงเงินรวมไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อครั้ง ส่วนค่าเสียหายที่เกินค่าสินไหมนั้น ทาง ขสมก.ก็ต้องรับความเสี่ยงไว้เอง
นายพีระ นีรพิทักษ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ฟินิกซ์ประกันภัย กล่าวว่า การที่บริษัทเสนอค่าเบี้ยต่ำได้ เพราะเป็นการติดต่อตรงระหว่างบริษัทกับ ขสมก.ทำให้ไม่ต้องเสียค่านายหน้า แม้โอกาสทางธุรกิจจะมีกำไรน้อย แต่เห็นว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำการประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปเป็นที่รู้จักมากขึ้น
สหกรณ์จับมือบริษัทประกัน
โพสต์ทูเดย์ สหกรณ์ออมทรัพย์ยุคใหม่ รุกให้บริการผลิตภัณฑ์การเงินครบวงจร ตั้งโต๊ะขายประกัน หารายได้เพิ่ม และลดหนี้เอ็นพีแอล
นายวินัย นิยโมสถ กรรมการผู้จัดการ สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ในอนาคตสหกรณ์ออมทรัพย์ยุคใหม่ จะพัฒนาไปสู่การให้บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ครบวงจรให้กับสมาชิกสห กรณ์ ณ จุดเดียว เช่น ที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งสหกรณ์ออมทรัพย์ มีการพัฒนาไปถึงจุดนั้นแล้ว และสหกรณ์ออมทรัพย์ไทยน่าจะมีทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะทำไห้รายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ การให้บริการผลิตภัณฑ์ที่บริหารความเสี่ยงแก่สมาชิกสหกรณ์ รวมถึงสินทรัพย์ ของสหกรณ์จะมีมากขึ้น โดยปัจจุบันการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ชั้นนำส่วนใหญ่จะดึงบริษัทประกันชีวิตและประกันภัย เข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยงจากการ ปล่อยสินเชื่อให้แก่สมาชิก ซึ่งทางสหกรณ์ออมทรัพย์ กฟผ. จะให้สมาชิกทำประกันชีวิต เพื่อคุ้มครองสินเชื่อกรณีเสียชีวิตบริษัทประกันจะเป็นผู้ชำระหนี้ที่เหลือให้กับสหกรณ์ ลดปัญหาการเกิดหนี้เสียหรือเอ็นพีเอล
นายวินัย กล่าวว่า การเป็นตัวแทนจำหน่ายประกันอัคคีภัย ประกันภัยรถยนต์ ประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต แก่สมาชิกสหกรณ์ โดยจะทำการเปิดรับข้อเสนอบริษัทประกันภัย ประกันชีวิต ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดแก่สมาชิกสหกรณ์ ซึ่งสามารถทำรายได้จากค่านายหน้าประมาณปีละ 20 ล้านบาท
เรามีสมาชิกกว่า 3 หมื่นคน ปีนี้สามารถปล่อยสินเชื่อได้ถึง 1.8 หมื่นล้านบาทแน่นอน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 3 พันล้านบาท มีหนี้เสียไม่ถึง 1 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการที่สมาชิกถูกให้ออกจากงาน และถูกไล่ออก นายวินัยกล่าว
นายวินัย กล่าวว่า ปีนี้จะมีกำไร 1.2 พันล้านบาท จากปีที่ผ่านมา 1 พันล้านบาท จากสินทรัพย์รวม 3.2 หมื่นล้านบาท โดยกำไรมาจากส่วนต่างดอกเบี้ยเงินกู้ที่คิดจากสมาชิกซึ่งปีนี้ลดลงเหลือ 6.1% จากปีที่ผ่านมา 6.3% และรายได้จากการลงทุน ซึ่งเน้นลงทุนในตราสารหนี้ และตราสารการเงินระยะสั้น พันธบัตรรัฐบาล โดยจะมีการจ่ายเงินปันผลให้แก่สมาชิกในปีนี้ 5.75% สูงกว่าผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝาก หากสมาชิกจ่ายดอกเบี้ยตรงตามเวลาที่กำหนดจะมีรางวัลตอบแทนด้วยการคืนเงิน 7-8% ของเบี้ยที่จ่าย เช่น ดอกเบี้ย 2 พันบาท สมาชิกจะได้เงินคืน 140 บาท เหมือนกับจ่ายเบี้ยแค่ 1,860 บาทเท่านั้น
ความสามารถในการทำกำไร และทุนจดทะเบียนชำระแล้วของเรา สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ตั้ง ใหม่หลายแห่ง ขณะที่ต้นทุนการดำเนินงานต่ำกว่าหลายเท่าตัว ซึ่งใช้คนเพียง 40 คนเท่านั้นในการบริหารเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ เมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์ ที่มีสาขาและคนจำนวนมาก นายวินัย กล่าว
แหล่งข่าวจากสหกรณ์ออมทรัพย์ บริษัท ทีโอที เปิดเผยว่า ได้หันมาใช้ประกันชีวิต เพื่อคุ้มครองสินเชื่อแก่สมาชิกสหกรณ์เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา โดยสมาชิกที่ขอกู้เงินจะต้องทำประกันชีวิตทุกราย เพื่อป้องกันหนี้เสีย และในอนาคตจะนำประกันเข้ามาช่วยในการบริหารความเสี่ยงแก่สมาชิก
ปีนี้เราจะมีการจ่ายปันผลแก่สมาชิก 6.5% ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา เพราะสมาชิกเรายังน้อยเพียง 1.7 หมื่นคน จึงสามารถปันผลได้สูง แหล่งข่าวระบุ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=203679
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news16/11/07
โพสต์ที่ 86
ประกันต้นทุนพุ่งกำไรหด
โพสต์ทูเดย์ ประกันกำไรไตรมาส 3 หดถ้วนหน้า ผลค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน และสินไหมเพิ่ม
นายอรรณพ พรธิติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทประกันภัยมีการจ่ายค่าสินไหมเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากเกิดเหตุเพลิงไหม้รายใหญ่บ่อยครั้ง รวมถึงการรับประกันภัยรถยนต์ที่มีการแข่งขันสูงทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ขณะที่การเกิดอุบัติเหตุทางรถเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้กำไรจากการรับประกันภัยลดลง แต่ยังดีที่มีกำไรจากการลงทุนมาชดเชย
นายสมบุญ ฟูศรีบุญ กรรมการรองผู้อำนวย บริษัท นำสินประกันภัย รายงาน ผลประกอบการไตรมาส 3 ขาดทุนสุทธิ 5.31 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 127.8% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 19.34 ล้านบาท เนื่องจากมีอัตราค่าสินไหม ทดแทน (Loss Ratio) 68.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.93% จากการที่ค่าสินไหมทดแทนประกันภัยเบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งได้ปรับราคาเบี้ย ขึ้นแล้ว
บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ ไตรมาส 3 ขาดทุน 3.27 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 21.03 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
บริษัท เทเวศประกันภัย ไตรมาส 3 บริษัทมีกำไรสุทธิ 14.29 ล้านบาท ลดลง 47% จากการลดลงของกำไร จากการลงทุน
บริษัท ไทยประกันภัย มีกำไรสุทธิ 5.11 ล้านบาท ลดลง 99.49% เนื่องจากไม่มีรายได้อื่นๆ เหมือนปี 2549 ที่มีการขายอาคารสำนักงานที่ไม่ได้ใช้ออกไป
บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย มีกำไรสุทธิ 4.39 ล้านบาท ลดลง 90.53% จากงวดไตรมาส 3 ของปีก่อน เนื่องจากเปลี่ยนวิธีบันทึกบัญชีใหม่ รายได้จากเบี้ยประกันภัยรับลดลง เพราะการแข่งขันสูง โดยเฉพาะตลาดประกันภัยรถยนต์ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัย รวมถึงค่าสินไหมที่ค่อนข้างสูง
บริษัท ประกันคุ้มภัย รายงาน งวด 9 เดือน มีกำไรสุทธิ 93.41 ล้านบาท ลดลง 19.96% ซึ่งเป็นผลมาจากเบี้ยประกันภัยรับลดลง
บริษัท กรุงเทพประกันภัย มีผลกำไรไตรมาส 3 สุทธิ 233 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.6% สาเหตุมาจากรายได้เงินปันผลรับกำไรจากการขายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น
บริษัท นวกิจประกันภัย มีกำไรไตรมาส 3 ก่อนหักภาษี 80.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36.50% ผลจากกำไรจากการรับประกันเพิ่มขึ้น และการตัดจำหน่ายค่าตอบแทนการโอนธุรกิจประกันภัย จากบริษัท ไทยสมุทรประกันภัยลดลง
บริษัท สินมั่นคงประกันภัย มีกำไรไตรมาส 3 สุทธิ 83.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 343.29% เนื่องจากมีกำไรจากการลงทุนและเบี้ยรับสุทธิเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง
บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต กำไรไตรมาส 3 สุทธิ 217.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.79% บริษัท ทิพยประกันภัย มีกำไรไตรมาส 3 จำนวน 164 ล้านบาท ลดลง 9.39% จากงวดเดียวกัน ของปีก่อน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=203879
โพสต์ทูเดย์ ประกันกำไรไตรมาส 3 หดถ้วนหน้า ผลค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน และสินไหมเพิ่ม
นายอรรณพ พรธิติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทประกันภัยมีการจ่ายค่าสินไหมเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากเกิดเหตุเพลิงไหม้รายใหญ่บ่อยครั้ง รวมถึงการรับประกันภัยรถยนต์ที่มีการแข่งขันสูงทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ขณะที่การเกิดอุบัติเหตุทางรถเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้กำไรจากการรับประกันภัยลดลง แต่ยังดีที่มีกำไรจากการลงทุนมาชดเชย
นายสมบุญ ฟูศรีบุญ กรรมการรองผู้อำนวย บริษัท นำสินประกันภัย รายงาน ผลประกอบการไตรมาส 3 ขาดทุนสุทธิ 5.31 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 127.8% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 19.34 ล้านบาท เนื่องจากมีอัตราค่าสินไหม ทดแทน (Loss Ratio) 68.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.93% จากการที่ค่าสินไหมทดแทนประกันภัยเบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งได้ปรับราคาเบี้ย ขึ้นแล้ว
บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ ไตรมาส 3 ขาดทุน 3.27 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 21.03 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
บริษัท เทเวศประกันภัย ไตรมาส 3 บริษัทมีกำไรสุทธิ 14.29 ล้านบาท ลดลง 47% จากการลดลงของกำไร จากการลงทุน
บริษัท ไทยประกันภัย มีกำไรสุทธิ 5.11 ล้านบาท ลดลง 99.49% เนื่องจากไม่มีรายได้อื่นๆ เหมือนปี 2549 ที่มีการขายอาคารสำนักงานที่ไม่ได้ใช้ออกไป
บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย มีกำไรสุทธิ 4.39 ล้านบาท ลดลง 90.53% จากงวดไตรมาส 3 ของปีก่อน เนื่องจากเปลี่ยนวิธีบันทึกบัญชีใหม่ รายได้จากเบี้ยประกันภัยรับลดลง เพราะการแข่งขันสูง โดยเฉพาะตลาดประกันภัยรถยนต์ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัย รวมถึงค่าสินไหมที่ค่อนข้างสูง
บริษัท ประกันคุ้มภัย รายงาน งวด 9 เดือน มีกำไรสุทธิ 93.41 ล้านบาท ลดลง 19.96% ซึ่งเป็นผลมาจากเบี้ยประกันภัยรับลดลง
บริษัท กรุงเทพประกันภัย มีผลกำไรไตรมาส 3 สุทธิ 233 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.6% สาเหตุมาจากรายได้เงินปันผลรับกำไรจากการขายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น
บริษัท นวกิจประกันภัย มีกำไรไตรมาส 3 ก่อนหักภาษี 80.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36.50% ผลจากกำไรจากการรับประกันเพิ่มขึ้น และการตัดจำหน่ายค่าตอบแทนการโอนธุรกิจประกันภัย จากบริษัท ไทยสมุทรประกันภัยลดลง
บริษัท สินมั่นคงประกันภัย มีกำไรไตรมาส 3 สุทธิ 83.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 343.29% เนื่องจากมีกำไรจากการลงทุนและเบี้ยรับสุทธิเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง
บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต กำไรไตรมาส 3 สุทธิ 217.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.79% บริษัท ทิพยประกันภัย มีกำไรไตรมาส 3 จำนวน 164 ล้านบาท ลดลง 9.39% จากงวดเดียวกัน ของปีก่อน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=203879
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news19/11/07
โพสต์ที่ 87
ปลุกประกันภัยวัยเกษียณ
โพสต์ทูเดย์ อลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ เผย 9 ประเทศเอเชียแปซิฟิกรวมทั้งไทย มีแนวโน้ม เพิ่มการออมภาคบังคับรับมือคนเกษียณ
บริษัท อลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ หนึ่งในบริษัทจัดการสินทรัพย์รายใหญ่ที่สุดในโลก รายงานผลการศึกษาวิจัยตลาดบริหารกองทุนบำนาญสำหรับผู้เกษียณอายุในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก 9 ประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จำนวนประชากรวัยทำงานลดลง อัตราการมีบุตรต่ำ แต่บทบาทของสถาบันครอบครัวที่เคยให้ความมั่นคงทางการเงินแก่ผู้สูงอายุกลับลดลง
รัฐบาลในประเทศต่างๆ จึงได้ หาทางในการให้ความคุ้มครอง ผู้เกษียณอายุอย่างเป็นระบบ ตลอดจนขยายขอบเขตของกองทุนบำนาญโดยผ่านแผนปฏิรูปต่างๆ ของภาค รัฐ รวมถึงแผนใหม่ๆ ของภาคเอกชน
ทั้งนี้ รัฐบาลของประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก เริ่มกำหนดเงินสมทบในลักษณะที่เป็นการออมภาคบังคับกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เช่น ฮ่องกง อินเดีย และไต้หวันใช้แผนดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2543 ส่วนประเทศไทยจะใช้ในปี 2551 ใน ขณะที่จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เริ่มใช้แผนกำหนดเงินสมทบแบบสมัครใจ ส่วนออสเตรเลีย และสิงคโปร์ใช้แผนกำหนดเงินสมทบในลักษณะที่เป็นการออมภาคบังคับ
บริจิต มิคซา หัวหน้าแผนกบำนาญสากล บริษัท อลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ กล่าวว่า การจัดตั้งเงินทุนสำรองบำเหน็จบำนาญ (Pension Reserve) ในญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้านประชากรได้
โจคิม ฟาเบอร์ กรรมการบอร์ดบริหารของอลิอันซ์ เอสอี (Allianz SE) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของอลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ (AGI) กล่าวว่า ยังมีโอกาสอีกมากสำหรับสถาบันการเงินที่สามารถ นำเสนอบริการที่หลากหลาย เช่น ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ บริหารสินทรัพย์ และการเงินการธนาคาร รัฐบาลกับนายจ้างจะต้องรู้จักเลือก ผู้ให้บริการอย่างชาญฉลาด
นายฟาเบอร์ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่จะต้องพิจารณา ได้แก่ ความแข็งแกร่งทางด้านการเงิน ดูได้จากอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) รวมถึงความสามารถในการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจการของรัฐ
สำหรับประเทศไทยมีแนวคิด ที่จะจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) เป็นกองทุนภาคบังคับที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้คนทำงานทั่วประเทศได้ออมเงินไว้ใช้ภายหลังเกษียณ โดยให้ลูกจ้าง และนายจ้างสมทบฝ่ายละ 3% ของรายได้ต่อเดือน เพื่อให้การออมครบทั้ง 3 ด้าน คือ ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กบช. จะได้มีเงินออมที่เพียงพอไว้ใช้หลังจากเกษียญอายุการทำงาน โดยจากการวิเคราะห์พบว่า รายได้ที่เหมาะสมสำหรับใช้หลังเกษียณอย่างมีศักดิ์ศรี อย่างน้อยต้องมี 50% ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐบาลในชุดนี้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=204370
โพสต์ทูเดย์ อลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ เผย 9 ประเทศเอเชียแปซิฟิกรวมทั้งไทย มีแนวโน้ม เพิ่มการออมภาคบังคับรับมือคนเกษียณ
บริษัท อลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ หนึ่งในบริษัทจัดการสินทรัพย์รายใหญ่ที่สุดในโลก รายงานผลการศึกษาวิจัยตลาดบริหารกองทุนบำนาญสำหรับผู้เกษียณอายุในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก 9 ประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จำนวนประชากรวัยทำงานลดลง อัตราการมีบุตรต่ำ แต่บทบาทของสถาบันครอบครัวที่เคยให้ความมั่นคงทางการเงินแก่ผู้สูงอายุกลับลดลง
รัฐบาลในประเทศต่างๆ จึงได้ หาทางในการให้ความคุ้มครอง ผู้เกษียณอายุอย่างเป็นระบบ ตลอดจนขยายขอบเขตของกองทุนบำนาญโดยผ่านแผนปฏิรูปต่างๆ ของภาค รัฐ รวมถึงแผนใหม่ๆ ของภาคเอกชน
ทั้งนี้ รัฐบาลของประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก เริ่มกำหนดเงินสมทบในลักษณะที่เป็นการออมภาคบังคับกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เช่น ฮ่องกง อินเดีย และไต้หวันใช้แผนดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2543 ส่วนประเทศไทยจะใช้ในปี 2551 ใน ขณะที่จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เริ่มใช้แผนกำหนดเงินสมทบแบบสมัครใจ ส่วนออสเตรเลีย และสิงคโปร์ใช้แผนกำหนดเงินสมทบในลักษณะที่เป็นการออมภาคบังคับ
บริจิต มิคซา หัวหน้าแผนกบำนาญสากล บริษัท อลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ กล่าวว่า การจัดตั้งเงินทุนสำรองบำเหน็จบำนาญ (Pension Reserve) ในญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้านประชากรได้
โจคิม ฟาเบอร์ กรรมการบอร์ดบริหารของอลิอันซ์ เอสอี (Allianz SE) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของอลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ (AGI) กล่าวว่า ยังมีโอกาสอีกมากสำหรับสถาบันการเงินที่สามารถ นำเสนอบริการที่หลากหลาย เช่น ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ บริหารสินทรัพย์ และการเงินการธนาคาร รัฐบาลกับนายจ้างจะต้องรู้จักเลือก ผู้ให้บริการอย่างชาญฉลาด
นายฟาเบอร์ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่จะต้องพิจารณา ได้แก่ ความแข็งแกร่งทางด้านการเงิน ดูได้จากอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) รวมถึงความสามารถในการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจการของรัฐ
สำหรับประเทศไทยมีแนวคิด ที่จะจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) เป็นกองทุนภาคบังคับที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้คนทำงานทั่วประเทศได้ออมเงินไว้ใช้ภายหลังเกษียณ โดยให้ลูกจ้าง และนายจ้างสมทบฝ่ายละ 3% ของรายได้ต่อเดือน เพื่อให้การออมครบทั้ง 3 ด้าน คือ ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กบช. จะได้มีเงินออมที่เพียงพอไว้ใช้หลังจากเกษียญอายุการทำงาน โดยจากการวิเคราะห์พบว่า รายได้ที่เหมาะสมสำหรับใช้หลังเกษียณอย่างมีศักดิ์ศรี อย่างน้อยต้องมี 50% ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐบาลในชุดนี้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=204370
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news21/11/07
โพสต์ที่ 88
ประกันภัยปี51ยังคึก
โพสต์ทูเดย์ ธุรกิจประกันภัยยังรุ่ง คาดปี 51 เบี้ยประกันชีวิตถึง 2.1 แสนล้านบาท โต 5-6%
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า แนวโน้มการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงในปี 2551 จะเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวเมื่อเทียบกับปีนี้ เป็นประมาณ 5.0-6.0% หรือเป็นเบี้ยประกัน 2.02-2.1 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ ธุรกิจประกันชีวิตในไทยยังมีโอกาสในการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นช่วงการปรับฐานเศรษฐกิจ หรือจังหวะที่เศรษฐกิจฟื้นตัว เพียงแต่การเติบโตอาจจะลดความหวือหวาลง ยกเว้นจะมีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้น เช่น รัฐบาลอนุญาตให้เพิ่มค่าลดหย่อนในการนำเบี้ยประกันชีวิตมาคำนวณภาษีเงินได้จากปัจจุบันที่จำกัดไว้ไม่เกิน 5 หมื่นบาท/คน/ปี
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่าอัตราเพิ่มของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง ที่มาจากช่องทางการขายผ่านธนาคาร น่าจะยังคงเป็นตัวนำในการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตต่อไป
ขณะที่มีแนวโน้มช่องทางการขายผ่านตัวแทน อาจทำได้แค่เพียงการรักษาระดับส่วนแบ่งตลาดไม่ให้ลดลงรวดเร็วเกินไป ซึ่งทิศทางเช่นนี้น่าจะทำให้บริษัทประกันชีวิตหันมาพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ขายผ่านธนาคารให้มีความหลากหลาย และเหมาะสมกับลูกค้าในแต่ละช่วงอายุเพิ่มขึ้น
ไม่เพียงแต่จับกลุ่มเป้าหมายในวัยทำงานที่ใช้ประโยชน์เรื่องการลดหย่อนภาษีเป็นตัวจูงใจเท่านั้น เพราะหากมุ่งเน้นเฉพาะเรื่องดังกล่าว อาจทำให้การขยายฐานลูกค้าเริ่มสะดุดลง หลังการเติบโตอย่างก้าวกระโดดติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 3 ปี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ
สำหรับผลการดำเนินงานในงวดครึ่งหลังของบริษัทประกันชีวิต น่าจะยังได้รับผลกระทบทางลบไม่เต็มที่ แต่ก็มีผลให้อัตราการเติบโตของเบี้ยประกันรับโดยตรงรวมทั้งปีอ่อนตัวลงเป็นประมาณ 10.0-14.0% จากสิ้นปีที่แล้ว หรือคิดเป็นจำนวนเบี้ยประกันประมาณ 1.92-1.99 แสนล้านบาท เทียบกับในงวดครึ่งแรกของปีนี้ที่มีอัตราการขยายตัวประมาณ 15.6%
ทั้งนี้ งวดครึ่งแรกของปี 2550 ธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน 15.6% เป็น 9.06 หมื่นล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นอัตรา การขยายตัวที่สูงที่สุดในรอบ 3-4 ปีที่ผ่านมา
เป็นที่น่าสังเกตว่า เป็นการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับที่มาจากการขยายธุรกิจใหม่ ไม่ใช่จากการนำส่งเบี้ยปีต่อไปเพื่อรักษาสถานภาพความคงอยู่ของกรมธรรม์เดิม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ธุรกิจประกันชีวิตกลับมาขยายตัวในอัตราเร่งอีกครั้ง หลังจาก ที่เติบโตในอัตราชะลอตัวลงเป็นลำดับมาถึง 5 ปีติดต่อกัน (2545-2549) จากระดับ 24.8% ในปี 2544 เหลือเพียง 4.6% ในปี 2549 นั้น เป็นผลจากทิศทางดอกเบี้ยเงินฝากประจำในระบบสถาบันการเงินที่อ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว จากที่ขึ้นสูงสุดกว่า 5.0% ในปี 2549 มาอยู่ที่ประมาณ 2.0% ในช่วงต้นปี 2550
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=204697
โพสต์ทูเดย์ ธุรกิจประกันภัยยังรุ่ง คาดปี 51 เบี้ยประกันชีวิตถึง 2.1 แสนล้านบาท โต 5-6%
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า แนวโน้มการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงในปี 2551 จะเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวเมื่อเทียบกับปีนี้ เป็นประมาณ 5.0-6.0% หรือเป็นเบี้ยประกัน 2.02-2.1 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ ธุรกิจประกันชีวิตในไทยยังมีโอกาสในการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นช่วงการปรับฐานเศรษฐกิจ หรือจังหวะที่เศรษฐกิจฟื้นตัว เพียงแต่การเติบโตอาจจะลดความหวือหวาลง ยกเว้นจะมีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้น เช่น รัฐบาลอนุญาตให้เพิ่มค่าลดหย่อนในการนำเบี้ยประกันชีวิตมาคำนวณภาษีเงินได้จากปัจจุบันที่จำกัดไว้ไม่เกิน 5 หมื่นบาท/คน/ปี
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่าอัตราเพิ่มของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง ที่มาจากช่องทางการขายผ่านธนาคาร น่าจะยังคงเป็นตัวนำในการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตต่อไป
ขณะที่มีแนวโน้มช่องทางการขายผ่านตัวแทน อาจทำได้แค่เพียงการรักษาระดับส่วนแบ่งตลาดไม่ให้ลดลงรวดเร็วเกินไป ซึ่งทิศทางเช่นนี้น่าจะทำให้บริษัทประกันชีวิตหันมาพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ขายผ่านธนาคารให้มีความหลากหลาย และเหมาะสมกับลูกค้าในแต่ละช่วงอายุเพิ่มขึ้น
ไม่เพียงแต่จับกลุ่มเป้าหมายในวัยทำงานที่ใช้ประโยชน์เรื่องการลดหย่อนภาษีเป็นตัวจูงใจเท่านั้น เพราะหากมุ่งเน้นเฉพาะเรื่องดังกล่าว อาจทำให้การขยายฐานลูกค้าเริ่มสะดุดลง หลังการเติบโตอย่างก้าวกระโดดติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 3 ปี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ
สำหรับผลการดำเนินงานในงวดครึ่งหลังของบริษัทประกันชีวิต น่าจะยังได้รับผลกระทบทางลบไม่เต็มที่ แต่ก็มีผลให้อัตราการเติบโตของเบี้ยประกันรับโดยตรงรวมทั้งปีอ่อนตัวลงเป็นประมาณ 10.0-14.0% จากสิ้นปีที่แล้ว หรือคิดเป็นจำนวนเบี้ยประกันประมาณ 1.92-1.99 แสนล้านบาท เทียบกับในงวดครึ่งแรกของปีนี้ที่มีอัตราการขยายตัวประมาณ 15.6%
ทั้งนี้ งวดครึ่งแรกของปี 2550 ธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน 15.6% เป็น 9.06 หมื่นล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นอัตรา การขยายตัวที่สูงที่สุดในรอบ 3-4 ปีที่ผ่านมา
เป็นที่น่าสังเกตว่า เป็นการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับที่มาจากการขยายธุรกิจใหม่ ไม่ใช่จากการนำส่งเบี้ยปีต่อไปเพื่อรักษาสถานภาพความคงอยู่ของกรมธรรม์เดิม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ธุรกิจประกันชีวิตกลับมาขยายตัวในอัตราเร่งอีกครั้ง หลังจาก ที่เติบโตในอัตราชะลอตัวลงเป็นลำดับมาถึง 5 ปีติดต่อกัน (2545-2549) จากระดับ 24.8% ในปี 2544 เหลือเพียง 4.6% ในปี 2549 นั้น เป็นผลจากทิศทางดอกเบี้ยเงินฝากประจำในระบบสถาบันการเงินที่อ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว จากที่ขึ้นสูงสุดกว่า 5.0% ในปี 2549 มาอยู่ที่ประมาณ 2.0% ในช่วงต้นปี 2550
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=204697
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news23/11/07
โพสต์ที่ 89
อลิอันซ์ตื่นตัวส่งสินค้าใหม่จับเฉพาะกลุ่ม
โพสต์ทูเดย์ อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันภัย หันออกสินค้าใหม่ 10 แบบรวด เน้นจับลูกค้าเฉพาะกลุ่มก่อนคู่แข่งไหวตัว
นายปกิต เอี่ยมโอภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันภัย กล่าวว่า บริษัทได้ออกแบบประกันใหม่ 10 แบบ เพื่อขยายฐานลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น สามี ภรรยา ที่เดินทางไปทำงานพร้อมกัน
นอกจากนี้ มีการประกันคุ้มครองความเสี่ยงทุกชนิดสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย การประกันทรัพย์สินธุรกิจขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ซึ่งลูกค้าทุกกลุ่มจะได้รับความคุ้มครองกรณีธุรกิจหยุดชะงัก โดยไม่ต้องแยกซื้อต่างหากเหมือนในตลาดทั่วๆ ไป หรือ การประกันภัยรถยนต์ เช่น จับเฉพาะกลุ่มรถผู้บริหาร หรือรถ ที่มีขนาดเครื่องยนต์ 2000 ซีซี ขึ้นไป ที่จะให้ความคุ้มครองที่เฉพาะเจาะจงมากๆ และตรงกับความต้องการของลูกค้ามากๆ
สินค้าใหม่จะเริ่มขายเดือนหน้านี้ และจะเปิดตัวให้ครบ 10 แบบภายต้นปีหน้า ซึ่งประกันทุกแบบจะมีบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนตลอด 24 ชั่วโมง ต่างจากคู่แข่งที่ให้บริการเฉพาะลูกค้าทำประกันภัยรถยนต์เท่านั้น นายปกิต กล่าว
นายปกิต กล่าวว่า สำหรับประกันภัยรถยนต์ จะเน้นขยายตลาดต่างจังหวัดมากขึ้นผ่านบริษัทนายหน้าและตัวแทนที่มีอยู่ 800 คน
ทั้งนี้ บริษัทจะพยายามบริหารฐานลูกค้าให้เกิดความสมดุลระหว่างประกันภัยรถยนต์กับประกันภัยประเภทอื่น ในสัดส่วน 50 ต่อ 50 เน้นขายสินค้าที่มีราคาในระดับกลางๆ และเพิ่มฐานลูกค้าต่างจังหวัดให้มากขึ้นจากปัจจุบันมีเพียง 10% ของเบี้ยรับรวม จะเพิ่มเป็น 25% เพื่อเพิ่มสัดส่วนของลูกค้ารายย่อยให้เป็น 50% ในระยะยาว จากปัจจุบันมีสัดส่วน 33% ของเบี้ยรับรวม ลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดประกันภัยลูกค้ารายใหญ่ ที่จะมีการเคลื่อนไหวตามภาวะเศรษฐกิจ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=205193
โพสต์ทูเดย์ อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันภัย หันออกสินค้าใหม่ 10 แบบรวด เน้นจับลูกค้าเฉพาะกลุ่มก่อนคู่แข่งไหวตัว
นายปกิต เอี่ยมโอภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันภัย กล่าวว่า บริษัทได้ออกแบบประกันใหม่ 10 แบบ เพื่อขยายฐานลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น สามี ภรรยา ที่เดินทางไปทำงานพร้อมกัน
นอกจากนี้ มีการประกันคุ้มครองความเสี่ยงทุกชนิดสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย การประกันทรัพย์สินธุรกิจขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ซึ่งลูกค้าทุกกลุ่มจะได้รับความคุ้มครองกรณีธุรกิจหยุดชะงัก โดยไม่ต้องแยกซื้อต่างหากเหมือนในตลาดทั่วๆ ไป หรือ การประกันภัยรถยนต์ เช่น จับเฉพาะกลุ่มรถผู้บริหาร หรือรถ ที่มีขนาดเครื่องยนต์ 2000 ซีซี ขึ้นไป ที่จะให้ความคุ้มครองที่เฉพาะเจาะจงมากๆ และตรงกับความต้องการของลูกค้ามากๆ
สินค้าใหม่จะเริ่มขายเดือนหน้านี้ และจะเปิดตัวให้ครบ 10 แบบภายต้นปีหน้า ซึ่งประกันทุกแบบจะมีบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนตลอด 24 ชั่วโมง ต่างจากคู่แข่งที่ให้บริการเฉพาะลูกค้าทำประกันภัยรถยนต์เท่านั้น นายปกิต กล่าว
นายปกิต กล่าวว่า สำหรับประกันภัยรถยนต์ จะเน้นขยายตลาดต่างจังหวัดมากขึ้นผ่านบริษัทนายหน้าและตัวแทนที่มีอยู่ 800 คน
ทั้งนี้ บริษัทจะพยายามบริหารฐานลูกค้าให้เกิดความสมดุลระหว่างประกันภัยรถยนต์กับประกันภัยประเภทอื่น ในสัดส่วน 50 ต่อ 50 เน้นขายสินค้าที่มีราคาในระดับกลางๆ และเพิ่มฐานลูกค้าต่างจังหวัดให้มากขึ้นจากปัจจุบันมีเพียง 10% ของเบี้ยรับรวม จะเพิ่มเป็น 25% เพื่อเพิ่มสัดส่วนของลูกค้ารายย่อยให้เป็น 50% ในระยะยาว จากปัจจุบันมีสัดส่วน 33% ของเบี้ยรับรวม ลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดประกันภัยลูกค้ารายใหญ่ ที่จะมีการเคลื่อนไหวตามภาวะเศรษฐกิจ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=205193
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news26/11/07
โพสต์ที่ 90
รุมจีบแบงก์ยึดพื้นที่ขาย
โพสต์ทูเดย์ ประกันวิ่งขาขวิดเจรจาแบงก์ ขอขายแบบประกันตามสาขา หลังพบการเติบโตสูงลิ่ว
นายบรูส เอ็ม ฮ็อดเจส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทมีการเจรจากับธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง เพื่อทำการเสนอแบบประกันชีวิตของบริษัทให้กับลูกค้าของธนาคาร เชื่อว่าจะได้รับการตอบรับ เนื่องจากแบบประกันชีวิตของบริษัทให้ผลตอบแทนที่ดีเมื่อเทียบกับคู่แข่งขัน คาดว่าจะสามารถขายได้ในต้นปี 2551
นายแกลน เดวิดสัน ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอซ อินชัวรันซ์ กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับสถาบันการเงิน เพื่อเพิ่มช่องทางการขายประกันภัย จากปัจจุบันที่ขายผ่านโทรศัพท์เป็นหลัก เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้น
นายถนัด จีรไชยไพศาล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท สามัคคีประกันภัย กล่าวว่า ผลจากการขายผ่านธนาคารไทยพาณิชย์เป็นหลัก ทำให้ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2550 เบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 97% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมทั้งระบบที่เพิ่มขึ้นเพียง 27%
นายไมค์ แพล็กซ์ตัน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับธนาคารกรุงไทย (KTB) ผู้ถือหุ้นใหญ่ ตลอด 9 ปีที่ผ่านมามีความแข็งแกร่ง และได้รับการสนับสนุนมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง คือ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ และพนักงานทุกระดับ ขณะนี้การขายประกันผ่านธนาคารของบริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงมีแผนจะรับที่ปรึกษาทางการเงินเพิ่มอีก 20 คน จากปัจจุบันที่มีอยู่ 480 คน เพื่อรองรับการให้คำแนะนำแก่ลูกค้าของธนาคารกรุงไทยที่มีความสนใจออมเงินผ่านประกันชีวิตเพิ่มขึ้น
สำหรับแบบประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมจะเป็นแบบสะสมทรัพย์ระยะสั้น การวางแผนเพื่อการเกษียณอายุ และแบบประกันยูนิเวอร์แซลไลฟ์ ซึ่งจะไม่แข่งขันผลตอบ แทนกับสินค้าของธนาคารกรุงไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ส่วนแบ่งเบี้ยประกันที่ขายผ่านธนาคารจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ 10.8% เป็น 13% ในปี 2550 และเพิ่มเป็น 15% ของเบี้ยรับรวมในปี 2551 เนื่องจากเป็นช่องทางเข้าถึงลูกค้าบางกลุ่มที่ตัวแทนประกันชีวิตเข้าไม่ถึง ซึ่งเป็น กลุ่มลูกค้าที่เชื่อถือธนาคารมากกว่าตัวแทน ทำให้ยอดขายประกันผ่านธนาคารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ปี 2549 ยอดขายผ่านธนาคารเพิ่มขึ้น 120% ขณะที่ยอดขายผ่านตัวแทนเพิ่มขึ้นเพียง 6%
ก่อนหน้านี้ นายอภิรักษ์ ไทพัฒนกุล กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต กล่าวว่า การขยายตลาดผ่านช่องทางแบงก์แอสชัวรันส์ มีแนวโน้มการเติบโตในทิศทางที่ดี ซึ่งจะเห็นได้ จากปี 2550 ที่สามารถสร้างเบี้ยประกันภัยรับปีแรกคิดเป็นประมาณ 30% ของเบี้ยปีแรกทั้งหมด การเพิ่มสินค้าในรูปแบบใหม่ เช่น สินค้าควบการลงทุน ที่ทำให้เกิดกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ในกลุ่มลูกค้าระดับบน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=205679
โพสต์ทูเดย์ ประกันวิ่งขาขวิดเจรจาแบงก์ ขอขายแบบประกันตามสาขา หลังพบการเติบโตสูงลิ่ว
นายบรูส เอ็ม ฮ็อดเจส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทมีการเจรจากับธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง เพื่อทำการเสนอแบบประกันชีวิตของบริษัทให้กับลูกค้าของธนาคาร เชื่อว่าจะได้รับการตอบรับ เนื่องจากแบบประกันชีวิตของบริษัทให้ผลตอบแทนที่ดีเมื่อเทียบกับคู่แข่งขัน คาดว่าจะสามารถขายได้ในต้นปี 2551
นายแกลน เดวิดสัน ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอซ อินชัวรันซ์ กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับสถาบันการเงิน เพื่อเพิ่มช่องทางการขายประกันภัย จากปัจจุบันที่ขายผ่านโทรศัพท์เป็นหลัก เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้น
นายถนัด จีรไชยไพศาล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท สามัคคีประกันภัย กล่าวว่า ผลจากการขายผ่านธนาคารไทยพาณิชย์เป็นหลัก ทำให้ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2550 เบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 97% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมทั้งระบบที่เพิ่มขึ้นเพียง 27%
นายไมค์ แพล็กซ์ตัน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับธนาคารกรุงไทย (KTB) ผู้ถือหุ้นใหญ่ ตลอด 9 ปีที่ผ่านมามีความแข็งแกร่ง และได้รับการสนับสนุนมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง คือ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ และพนักงานทุกระดับ ขณะนี้การขายประกันผ่านธนาคารของบริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงมีแผนจะรับที่ปรึกษาทางการเงินเพิ่มอีก 20 คน จากปัจจุบันที่มีอยู่ 480 คน เพื่อรองรับการให้คำแนะนำแก่ลูกค้าของธนาคารกรุงไทยที่มีความสนใจออมเงินผ่านประกันชีวิตเพิ่มขึ้น
สำหรับแบบประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมจะเป็นแบบสะสมทรัพย์ระยะสั้น การวางแผนเพื่อการเกษียณอายุ และแบบประกันยูนิเวอร์แซลไลฟ์ ซึ่งจะไม่แข่งขันผลตอบ แทนกับสินค้าของธนาคารกรุงไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ส่วนแบ่งเบี้ยประกันที่ขายผ่านธนาคารจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ 10.8% เป็น 13% ในปี 2550 และเพิ่มเป็น 15% ของเบี้ยรับรวมในปี 2551 เนื่องจากเป็นช่องทางเข้าถึงลูกค้าบางกลุ่มที่ตัวแทนประกันชีวิตเข้าไม่ถึง ซึ่งเป็น กลุ่มลูกค้าที่เชื่อถือธนาคารมากกว่าตัวแทน ทำให้ยอดขายประกันผ่านธนาคารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ปี 2549 ยอดขายผ่านธนาคารเพิ่มขึ้น 120% ขณะที่ยอดขายผ่านตัวแทนเพิ่มขึ้นเพียง 6%
ก่อนหน้านี้ นายอภิรักษ์ ไทพัฒนกุล กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต กล่าวว่า การขยายตลาดผ่านช่องทางแบงก์แอสชัวรันส์ มีแนวโน้มการเติบโตในทิศทางที่ดี ซึ่งจะเห็นได้ จากปี 2550 ที่สามารถสร้างเบี้ยประกันภัยรับปีแรกคิดเป็นประมาณ 30% ของเบี้ยปีแรกทั้งหมด การเพิ่มสินค้าในรูปแบบใหม่ เช่น สินค้าควบการลงทุน ที่ทำให้เกิดกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ในกลุ่มลูกค้าระดับบน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=205679