news09/02/08
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.พ. 09, 2008 2:31 pm
ขาใหญ่เตรียมเพิ่มไลน์ผลิตทีวี เทคนิคบาลานซ์ "จอบาง-จอแบน"
คอลัมน์ จับกระแสตลาด
แม้ว่า "แอลซีดีทีวี" จะมาแรงแต่ก็คงต้องใช้เวลาอีกสักพักใหญ่ๆ เหมือนกันกว่าที่จะรุกคืบเข้ามากินส่วนแบ่งตลาดทั้งหมดของจอซีอาร์ทีที่ยังครองฐานขนาดใหญ่จากจำนวนตลาดรวมกว่า 3 ล้านยูนิตของกลุ่มจอภาพ
ยกตัวอย่างราคาแอลซีดีทีวีในขนาดรุ่นเริ่มต้น 32 นิ้ว ประมาณ 24,000 บาท และจอซีอาร์ที ขนาด 29 นิ้ว ที่ได้รับความนิยมสูงสุดราคาเฉลี่ย 8,000-10,000 บาท
ส่วนต่างของราคาขนาดนี้ยังทำให้กลุ่มลูกค้าทั่วไปหรือกลุ่มแมสที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลักของธุรกิจยังมองไม่เห็นถึงความจำเป็นต้องซื้อเปลี่ยนใหม่ในภาวะท่ามกลางเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ยังท้าทายตลอดเวลา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันแม้ว่าบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆ ค่ายจะเคยประกาศไว้เมื่อก่อนหน้านี้ว่ามีแผนจะยกเลิกการผลิตและการขายทีวีจอแบน เพื่อมารุกเปิดตลาดจอบางอย่างเต็มรูปแบบยังต้องหันกลับมาทบทวนไม่กล้าทิ้งซีอาร์ที
ที่ผ่านมาทีวีจอแบนอย่างซีอาร์ทีก็มีการปรับตัวเพื่อเปลี่ยนโฉมและเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดูมีสีสันและสร้างกระแสอยู่เสมอ โดยเฉพาะการเปิด เซ็กเมนต์ใหม่ของตลาดด้วยคอนเซ็ปต์ "จอสลิม"
เริ่มจาก 2 ยักษ์ใหญ่ค่ายเกาหลี ซัมซุง ที่เปิดตัวสลิมฟิต ขณะที่ค่ายแอลจีก็ลอนช์ซูเปอร์สลิมเข้ามาทำตลาด ด้านค่ายญี่ปุ่นมีเปอร์เฟ็กต์สลิมของค่ายเจวีซี และทีวีสลิมของซันโย เป็นต้น
เป้าหมายสำคัญก็เพื่อการรักษายอดขายและมาร์เก็ตแชร์ในตลาด
ความเคลื่อนไหวของตลาดจอภาพเมืองไทย ทั้งแอลซีดีและซีอาร์ทีจึงยังคงต้องเดินควบคู่ไปด้วยกันต่อไปอีก แม้ว่าใจผู้ผลิตต่างล้วนอยากให้เป็นไปตามเทรนด์ของกระแสโลกที่เปลี่ยนไป ทั้งญี่ปุ่น อเมริกา และยุโรปที่เปลี่ยนผ่านแทบจะเกือบทั้งหมดแล้ว
"อลงกรณ์ ชูจิตร" รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในเรื่องนี้ว่า แอลจีจะให้ความสำคัญของการทำตลาดจอบางและจอแบนไปพร้อมๆ กัน เพราะตลาดซีอาร์ทียังคงโตได้อีกเรื่อยๆ นโยบายของแอลจีจึงไม่ทิ้งตลาดนี้ พร้อมกันนี้ก็ต้องการจะสร้างสินค้าเซ็กเมนต์ใหม่ในกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ขึ้นมาควบคู่กันไป แทนที่จะต้องไปแข่งกับกลุ่มลูกค้า จอแบนทั่วไป ซึ่งซูเปอร์สลิมจะเข้ามาเป็นหลัก
"ส่วนต่างราคาจอแบบซูเปอร์สลิมจะแพงกว่าประมาณ 10% แต่ด้วยฟังก์ชันและดีไซน์เชื่อว่าจะดึงทาร์เก็ตใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับ จอแอลซีดีทีวีที่บริษัทได้ขยายไลน์การผลิตเพิ่มจาก 1 หมื่นยูนิตต่อเดือน เป็น 2 หมื่นยูนิต" รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทแอลจีฯ
ขณะที่ "อาณัติ จ่างตระกูล" รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด ให้มุมมองในเรื่องเดียวกันนี้ว่า ตอนนี้กระแสแอลซีดีทีวีในเมืองไทยมีมากขึ้นเรื่อยๆ และถ้าดูในแง่มูลค่าจากตลาดรวมทีวีทั้งหมด แอลซีดีมีสัดส่วนถึง 40% ซึ่งเป้าหมายของซัมซุงคือการรักษาตำแหน่งผู้นำในตลาดเอาไว้และเพิ่มส่วนแบ่งตลาดจาก 38% เป็น 40% โดยซัมซุงวางงบประมาณทางด้านการตลาดสินค้าในกลุ่มเอวี 920 ล้านบาท พร้อมทั้งมีแผนจะลอนช์สินค้าครบไลน์ คือ แอลซีดีทีวี 19 รุ่น ตั้งแต่ 22-70 นิ้ว สลิมฟิต 8 รุ่น และแฟลชทีวี 2 รุ่น
นอกจากนี้ ซัมซุงยังเตรียมแผนการลงทุนต่อจากนี้ไป คือ เพิ่มไลน์การผลิตแอลซีดีรองรับความต้องการของตลาด
ด้านผู้บริหารระดับสูง บริษัท ซันโย (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ผ่านมาทราบว่าผู้ประกอบการทั้งค่ายญี่ปุ่นและเกาหลีหลายๆ ค่ายได้ลดบทบาทการทำตลาดทีวี ซีอาร์ทีลง และมีบางค่ายที่ได้เริ่มลดไลน์การผลิตในส่วนนี้ลงไป และหันไปให้ความสำคัญกับการสร้างตลาดแอลซีดีทีวีกันอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามสำหรับซันโยเองแม้ว่าค่ายอื่นๆ จะไม่สนใจการทำตลาดซีอาร์ทีมากนัก แต่บริษัทไม่ได้มองอย่างนั้น และซันโยก็ยังมีแผนจะเดินหน้าทำตลาดซีอาร์ทีต่อไป
"เมื่อหลายๆ ค่ายเลิกทำจอซีอาร์ที ตลาดตรงนี้ก็จะเกิดช่องว่างขึ้น และมั่นใจว่าตลาดนี้ยังเป็นตลาดที่มีความต้องการสูง ยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจและกำลังซื้อไม่เอื้อเช่นนี้จึงมองว่าน่าจะเป็นโอกาสของซันโยที่จะเข้ามาเก็บตลาดในส่วนนี้ได้ นอกจากนี้ตัวแปรจากการแข่งขังฟุตบอลยูโร 2008 ที่จะมีขึ้นในช่วงกลางปีนี้ก็จะช่วยให้ตลาดนี้ยังเติบโตต่อไปได้"
ไม่ต้องรอกระแสยูโรและโอลิมปิกกลางปีนี้ ผู้ผลิตต่างก็ฟันธงไปในทิศทางเดียวกันแล้วว่า ตลาดทีวีเมืองไทยโตได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0207
คอลัมน์ จับกระแสตลาด
แม้ว่า "แอลซีดีทีวี" จะมาแรงแต่ก็คงต้องใช้เวลาอีกสักพักใหญ่ๆ เหมือนกันกว่าที่จะรุกคืบเข้ามากินส่วนแบ่งตลาดทั้งหมดของจอซีอาร์ทีที่ยังครองฐานขนาดใหญ่จากจำนวนตลาดรวมกว่า 3 ล้านยูนิตของกลุ่มจอภาพ
ยกตัวอย่างราคาแอลซีดีทีวีในขนาดรุ่นเริ่มต้น 32 นิ้ว ประมาณ 24,000 บาท และจอซีอาร์ที ขนาด 29 นิ้ว ที่ได้รับความนิยมสูงสุดราคาเฉลี่ย 8,000-10,000 บาท
ส่วนต่างของราคาขนาดนี้ยังทำให้กลุ่มลูกค้าทั่วไปหรือกลุ่มแมสที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลักของธุรกิจยังมองไม่เห็นถึงความจำเป็นต้องซื้อเปลี่ยนใหม่ในภาวะท่ามกลางเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ยังท้าทายตลอดเวลา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันแม้ว่าบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆ ค่ายจะเคยประกาศไว้เมื่อก่อนหน้านี้ว่ามีแผนจะยกเลิกการผลิตและการขายทีวีจอแบน เพื่อมารุกเปิดตลาดจอบางอย่างเต็มรูปแบบยังต้องหันกลับมาทบทวนไม่กล้าทิ้งซีอาร์ที
ที่ผ่านมาทีวีจอแบนอย่างซีอาร์ทีก็มีการปรับตัวเพื่อเปลี่ยนโฉมและเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดูมีสีสันและสร้างกระแสอยู่เสมอ โดยเฉพาะการเปิด เซ็กเมนต์ใหม่ของตลาดด้วยคอนเซ็ปต์ "จอสลิม"
เริ่มจาก 2 ยักษ์ใหญ่ค่ายเกาหลี ซัมซุง ที่เปิดตัวสลิมฟิต ขณะที่ค่ายแอลจีก็ลอนช์ซูเปอร์สลิมเข้ามาทำตลาด ด้านค่ายญี่ปุ่นมีเปอร์เฟ็กต์สลิมของค่ายเจวีซี และทีวีสลิมของซันโย เป็นต้น
เป้าหมายสำคัญก็เพื่อการรักษายอดขายและมาร์เก็ตแชร์ในตลาด
ความเคลื่อนไหวของตลาดจอภาพเมืองไทย ทั้งแอลซีดีและซีอาร์ทีจึงยังคงต้องเดินควบคู่ไปด้วยกันต่อไปอีก แม้ว่าใจผู้ผลิตต่างล้วนอยากให้เป็นไปตามเทรนด์ของกระแสโลกที่เปลี่ยนไป ทั้งญี่ปุ่น อเมริกา และยุโรปที่เปลี่ยนผ่านแทบจะเกือบทั้งหมดแล้ว
"อลงกรณ์ ชูจิตร" รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในเรื่องนี้ว่า แอลจีจะให้ความสำคัญของการทำตลาดจอบางและจอแบนไปพร้อมๆ กัน เพราะตลาดซีอาร์ทียังคงโตได้อีกเรื่อยๆ นโยบายของแอลจีจึงไม่ทิ้งตลาดนี้ พร้อมกันนี้ก็ต้องการจะสร้างสินค้าเซ็กเมนต์ใหม่ในกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ขึ้นมาควบคู่กันไป แทนที่จะต้องไปแข่งกับกลุ่มลูกค้า จอแบนทั่วไป ซึ่งซูเปอร์สลิมจะเข้ามาเป็นหลัก
"ส่วนต่างราคาจอแบบซูเปอร์สลิมจะแพงกว่าประมาณ 10% แต่ด้วยฟังก์ชันและดีไซน์เชื่อว่าจะดึงทาร์เก็ตใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับ จอแอลซีดีทีวีที่บริษัทได้ขยายไลน์การผลิตเพิ่มจาก 1 หมื่นยูนิตต่อเดือน เป็น 2 หมื่นยูนิต" รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทแอลจีฯ
ขณะที่ "อาณัติ จ่างตระกูล" รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด ให้มุมมองในเรื่องเดียวกันนี้ว่า ตอนนี้กระแสแอลซีดีทีวีในเมืองไทยมีมากขึ้นเรื่อยๆ และถ้าดูในแง่มูลค่าจากตลาดรวมทีวีทั้งหมด แอลซีดีมีสัดส่วนถึง 40% ซึ่งเป้าหมายของซัมซุงคือการรักษาตำแหน่งผู้นำในตลาดเอาไว้และเพิ่มส่วนแบ่งตลาดจาก 38% เป็น 40% โดยซัมซุงวางงบประมาณทางด้านการตลาดสินค้าในกลุ่มเอวี 920 ล้านบาท พร้อมทั้งมีแผนจะลอนช์สินค้าครบไลน์ คือ แอลซีดีทีวี 19 รุ่น ตั้งแต่ 22-70 นิ้ว สลิมฟิต 8 รุ่น และแฟลชทีวี 2 รุ่น
นอกจากนี้ ซัมซุงยังเตรียมแผนการลงทุนต่อจากนี้ไป คือ เพิ่มไลน์การผลิตแอลซีดีรองรับความต้องการของตลาด
ด้านผู้บริหารระดับสูง บริษัท ซันโย (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ผ่านมาทราบว่าผู้ประกอบการทั้งค่ายญี่ปุ่นและเกาหลีหลายๆ ค่ายได้ลดบทบาทการทำตลาดทีวี ซีอาร์ทีลง และมีบางค่ายที่ได้เริ่มลดไลน์การผลิตในส่วนนี้ลงไป และหันไปให้ความสำคัญกับการสร้างตลาดแอลซีดีทีวีกันอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามสำหรับซันโยเองแม้ว่าค่ายอื่นๆ จะไม่สนใจการทำตลาดซีอาร์ทีมากนัก แต่บริษัทไม่ได้มองอย่างนั้น และซันโยก็ยังมีแผนจะเดินหน้าทำตลาดซีอาร์ทีต่อไป
"เมื่อหลายๆ ค่ายเลิกทำจอซีอาร์ที ตลาดตรงนี้ก็จะเกิดช่องว่างขึ้น และมั่นใจว่าตลาดนี้ยังเป็นตลาดที่มีความต้องการสูง ยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจและกำลังซื้อไม่เอื้อเช่นนี้จึงมองว่าน่าจะเป็นโอกาสของซันโยที่จะเข้ามาเก็บตลาดในส่วนนี้ได้ นอกจากนี้ตัวแปรจากการแข่งขังฟุตบอลยูโร 2008 ที่จะมีขึ้นในช่วงกลางปีนี้ก็จะช่วยให้ตลาดนี้ยังเติบโตต่อไปได้"
ไม่ต้องรอกระแสยูโรและโอลิมปิกกลางปีนี้ ผู้ผลิตต่างก็ฟันธงไปในทิศทางเดียวกันแล้วว่า ตลาดทีวีเมืองไทยโตได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0207