หน้า 3 จากทั้งหมด 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 04, 2012 9:34 am
โดย pak
รับเหมาสุดเฮงงานทะลัก SEAFCO-CK-ITD-STEC [ นสพ.ทันหุ้น, 4 ม.ค. 54 ]

รับเหมาปี 2555 เข้าข่ายหุ้นเด็ด ล่าสุดประสานเสียงตุนแบ็กล็อกทะลักทั้ง SEAFCO-CK-ITD-STEC
ด้านผู้บริหาร SEAFCO เปิด ปี 2555 งานรุมเพียบ ล่าสุดอยู่ระหว่างรอผลประมูล 500 ล้านบาท คาดได้
เกิน 300 ล้านบาท รู้ผลไตรมาสแรกปีหน้า แถมล่าสุดฟันงานใหม่สดๆ ร้อนๆ สายสีน้ำเงินส่วน ITD-CK-
STEC ไม่น้อยหน้า ตั้งเป้าโตปี 2555 เทิร์นอะราวนด์หลังคาดโครงการสร้างพื้นฐาน-รถไฟฟ้าผุดเพียบ

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 24, 2012 9:22 am
โดย pak
ต้นทุนวัสดุพุ่งสร้างบ้านใหม่ราคาขึ้น10% [ โพสต์ทูเดย์, 23 ม.ค. 55 ]

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน คาดตลาดรวมรับสร้างบ้านปีนี้แตะ 1.2 หมื่นล้าน ชี้ราคาขยับตามต้นทุน
5-10%

นางพัชรา ตัณฑยรรยง นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านเปิดเผยว่า ภาพรวมของตลาดรับสร้างใน
เขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑลปีนี้จะมีมูลค่าอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท เติบโตขึ้นจากปีก่อนที่มี
มูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่ได้มีการเติบโตด้านจำนวนหน่วยก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น แต่มูลค่าตลาดที่เพิ่ม
สูงขึ้นมาจากราคาบ้านที่ก่อสร้างนั้นจะแพงขึ้นเฉลี่ย 5-10% จากต้นทุนวัสดุก่อสร้างและต้นทุนพลังงาน ทำให้
ราคาบ้านแพงขึ้น

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 24, 2012 3:07 pm
โดย et al.
ไม่รู้ว่าพี่โจ จะบอกเป็นนัยว่า รับเหมาบางตัวถ้าไม่ Turnaround อย่างที่คาด นักลงทุนก็ต้องยอมรับกับผลที่จะเกิดขึ้นตามมา

จะได้ลงทุนกันอย่างระมัดระวัง

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 24, 2012 6:29 pm
โดย SS22
จะลงทุนหุ้นบริษัทรับเหมา ควรอ่านบทความของ อ.นิเวศน์ เรื่อง "คำสาปของผู้ชนะ" ที่เขียนไว้ในปี 2553 ก่อนพิจารณาลงทุน

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 24, 2012 7:02 pm
โดย patongpa
ประมูลงานในประเทศพอได้เงินต้องแบ่งค่าหัวคิวให้นักการเมือง กำไรเลยไม่ค่อยมีครับ ผมเลยเลือกลงทุนแต่รับเหมาที่รับงานนอก วัดกันที่ผลงานกำไรส่งกลับให้ผู้ถือหุ้นเต็มๆไม่ต้องหักให้ใคร

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 24, 2012 8:38 am
โดย pak
รับเหมาเฮ!งาน 3 หมื่นล.ผุดพนังกั้นน้ำ [ โพสต์ทูเดย์, 24 ก.พ. 55 ]

"กลุ่มรับเหมาฯ" ลูบปากรองานสร้างกำแพงเขื่อนริมน้ำ 3 หมื่นล้านบาท โครงการด่วน ประมูลเร็ว
ปีนี้ลุ้นรถไฟฟ้าอีก 2.4 แสนล้านบาท

นายชาตรี ศรีสมัยเจริญ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กรุงศรีเปิดเผยว่า กรณี
รัฐบาลเปิดโครงการบริหารจัดการน้ำระยะแรกที่ต้องทำให้ทันในเดือน พ.ค.นี้ วงเงิน 9 หมื่นล้านบาท
แบ่งเป็นสร้างกำแพงเขื่อนริมน้ำ 3 หมื่นล้านบาท และชดเชยพื้นที่รับน้ำ 6 หมื่นล้านบาท จะส่งผลดีต่อ
กลุ่มรับเหมา เพราะเป็นโครงการเร่งด่วนที่ต้องเปิดประมูลเร็วและการต่อรองราคาจากรัฐมีน้อย

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.พ. 25, 2012 6:26 am
โดย patongpa
ต้องเลือกบริษัทที่เค้าไม่ซุกกำไรสิครับ stec. Stpi. Ttcl. Ck

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 28, 2012 9:45 am
โดย pak
หุ้นรับเหมาฯไม่โดดเด่นปีนี้ ค่าจ้าง-วัสดุขึ้นราคากดดัน โบรกเกอร์เชียร์แค่ STEC [ โพสต์ทูเดย์, 28 ก.พ. 55 ]

โบรกเกอร์ เหนื่อยใจหุ้นรับเหมาก่อสร้าง ปีนี้ไม่เชียร์ลงทุน ชี้รายได้เพิ่ม แต่ค่าจ้าง-วัสดุ ก่อสร้าง
เพิ่มสูงกว่า

หุ้นรับเหมาก่อสร้างทยอยประกาศผลประกอบการปี 2554 ออกมาปรากฎว่า หุ้นบริษัท ชิโน-ไทย
เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) ดูดีที่สุด กำไรสุทธิ 904 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 104% จากปี 2553
จากยอดขาย 1.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่ 61%

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 15, 2012 1:16 pm
โดย pak
ธุรกิจรับเหมาของรัฐเลิกเพดานค่า K 'STEC-TPOLY' ปีนี้รายได้เติบโตดี [ โพสต์ทูเดย์, 15 มี.ค. 55 ]

ธุรกิจรับเหมาเสนอรัฐยกเลิกเพดานค่า K สะท้อนต้นทุนหลังค่าจ้าง-เงินเฟ้อพุ่ง STEC
พึ่งเครื่องจักร-TPOLY ไม่กังวล

นายวัลลภ รุ่งกิจวรเสถียร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น
(STEC) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาทางสมาคมรับเหมาก่อสร้างได้เสนอเรื่องถึงรัฐบาล เพื่อขอให้ปรับราคา
กลางใหม่และยกเลิกการกำหนดเพดานค่างานก่อสร้าง (ค่าเค) เพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่พุ่งขึ้นทั้งในส่วนของ
ค่าจ้างและเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 16, 2012 3:42 pm
โดย Pekko
มี BACKLOG มาก ใช่จะกำไรนะครับ

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 17, 2012 1:05 am
โดย charonp
patongpa เขียน:ต้องเลือกบริษัทที่เค้าไม่ซุกกำไรสิครับ stec. Stpi. Ttcl. Ck

มีด้วยเหรอครับ บริษัทรับเหมาที่ไม่ซุกกำไร ผมค่อนข้างไม่เชื่อนะครับ จากประสบการณ์ตรง


เอ่อ รบกวนขอแย้งด้วยนะครับเรื่อง บริษัท ฤทธา ไม่มีโอที มีแต่โอฟรี แล้วต้องทำด้วยครับ แต่ยังดีที่ปีหลังๆมานี้ปรับฐานเงินเดือนสูงขึ้นเกือบเท่า TTCL แล้วอ่ะครับ

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 17, 2012 2:27 am
โดย multipleceilings
ถือหุ้นรับเหมาแล้วต้องมี negative surprise tolerance threshold ที่สูงครับ

:cry:

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 18, 2012 9:20 pm
โดย Neverland
multipleceilings เขียน:ถือหุ้นรับเหมาแล้วต้องมี negative surprise tolerance threshold ที่สูงครับ

:cry:
เห็นด้วยครับ ผมเองถ้าตระหนักได้เร็วกว่านี้คงดีครับ

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 22, 2012 1:33 pm
โดย pak
ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/ว 72 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2555 เรื่อง มาตรการการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย
สาระสำคัญ
เป็นมาตรการช่วยเหลือผู้รับจ้างที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย
- สัญญาจ้างก่อสร้าง ขยายเวลา 180 วัน
- สัญญาซื้อขาย ขยายเวลา 120 วัน
ให้ใช้มาตรการนี้ กับ หน่วยงานต่างๆของรัฐ เพื่อความเป็นธรรมและเท่าเทียม (รวม อปท.)


Download หนังสือที่ https://yotathai.box.com/s/uh5i6jbvams1lhv7s3vy

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 26, 2012 12:20 pm
โดย pak
ทริสจับตารับเหมาฯ ค่าจ้างน้ำมันพุ่งทุบมาร์จินลด ธุรกิจดิ้นใช้เครื่องจักร-คุมโอที [ โพสต์ทูเดย์, 26 มี.ค. 55 ]

ทริสเกาะติดรับเหมาฯ ความเสี่ยงสูง กดมาร์จินแคบลง หลังค่าจ้าง-เงินเฟ้อทะยานผู้ประกอบการ
ใช้เครื่องจักรแทนคนงาน ลดเวลาโอที

น.ส.สุชาดา พันธุ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยอันดับเครดิต บริษัท ทริสเรตติ้ง เปิดเผยว่า ทริสได้
ติดตามอย่างใกล้ชิดสำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง หลังจากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ
300 บาท ที่รัฐบาลจะเริ่มใช้ในวันที่ 1 เม.ย.นี้ รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้
ต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน และอนาคตก็จะส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรหรือมี
อัตรากำไรขั้นต้นน้อยลง

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 27, 2012 6:09 pm
โดย pak
นักวิชาการ ชี้เสี่ยงแรงงานระดับล่างตกงาน เหตุนโยบายดีเดย์ 1 เม.ย. ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท
วันอังคารที่ 27 มีนาคม 2012
โดยฐานเศรษฐกิจออนไลน์


นักวิชาการ ชี้เสี่ยงแรงงานระดับล่างตกงาน เหตุนโยบายดีเดย์ 1 เม.ย. ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท นายจ้างแบกรับต้นทุนค่าแรงไม่ไหว แห่ย้ายฐานการผลิต แนะรัฐสร้างจุดแข็ง เร่งพัฒนาฝีมือแรงงานระดับล่างให้คุ้มค่าจ้าง

รศ.ดร. ศิริยุพา รุ่งเริงสุข หัวหน้าหลักสูตรบริหารทรัพยากรบุคคล (HRM) สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของไทย กล่าวถึงนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทของรัฐบาล ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย.นี้ ที่คาดว่าจะมีผลต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลในระบบเศรษฐกิจของไทยว่า ในระบบเศรษฐกิจมีโครงสร้างทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วย แรงงานที่มีทักษะระดับสูง ระดับกลาง และระดับต่ำ ซึ่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจนั้น นักลงทุนต้องการแรงงานระดับล่างราคาถูก ถ้าวิเคราะห์แรงงานไทย พบว่า แรงงานระดับล่างที่ไม่มีฝีมือของไทยนั้น มีค่าจ้างที่แพงกว่าแรงงานระดับล่างในประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก เพราะปัจจัยค่าแรงจะเป็นตัวสนับสนุนให้นักธุรกิจอาจย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่า รวมทั้งอาจลดคนงานแล้วเพิ่มปริมาณงานให้คนงานที่เหลืออยู่ ทั้งนี้ผู้บริหารต้องคำนึงถึงการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ให้กับแรงงานในกลุ่มนี้ และสรรหาแรงงานที่มีศักยภาพมาพัฒนาองค์กร

รศ.ดร.ศิริยุพา กล่าวต่อไปว่า รัฐบาลต้องมีวิสัยทัศน์และนโยบายในระยะยาว โดยเฉพาะด้านการศึกษาที่ควรพัฒนาให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจ และควรพัฒนาแรงงานระดับล่างให้มีทักษะ มีคุณค่า และสร้างความแตกต่างในเรื่องผลงาน จะเห็นได้จากประเทศเกาหลีใต้ที่มีนโยบายชัดเจนทางเศรษฐกิจในการเป็นเจ้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ก็พัฒนาฝึกอบรมแรงงานทุกระดับให้เชี่ยวชาญในสาขาดังกล่าว ในอนาคตเราจะเห็นภาคธุรกิจของไทยออกมาเปิดโรงเรียนหรือวิทยาลัยของตัวเองเพื่อพัฒนาบุคคลากรมากขึ้น เนื่องจากไม่สามารถรอให้รัฐบาลมาพัฒนาในเรื่องนี้ได้ทันการ ดังนั้นการจัดการศึกษาและอบรมเพื่อพัฒนาแรงงานจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่สุด เพื่ออบรมคนให้ทันต่อการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้แรงงานเองก็ต้องมีความตื่นตัวในการพัฒนาตนเอง

“ปัจจุบันรัฐบาลเจอปัญหาเฉพาะหน้ามาก จนอาจลืมมองในระยะยาวว่า ในอนาคตจุดขายของไทยคืออะไร เราต้องสร้างจุดเด่นของระบบเศรษฐกิจไทย การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไม่ควรเป็นนโยบายประชานิยมเพียงอย่างเดียว แต่รัฐบาลควรคำนึงถึงค่าครองชีพ อุปสงค์และอุปทานในตลาดว่า นายจ้างสามารถแบกรับต้นทุนของค่าแรงตามอัตราเหล่านี้ได้หรือไม่ สำหรับในภาพรวมของประเทศรัฐบาลต้องวิเคราะห์ให้ได้ด้วยว่า หากขึ้นค่าแรงแล้ว จะมีผลกระทบหรือไม่ ค่าแรงเป็นจริงหรือไม่สำหรับผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เพราะปัญหาในขณะนี้คือค่าแรงงานขั้นต่ำของแรงงานไทยมีราคาแพงและไม่มีศักยภาพที่เหมาะสมกับค่าจ้างงาน เราจึงอาจเสียเปรียบจากการที่แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมีราคาถูกกว่า ดังนั้นจึงเสี่ยงกับการที่แรงงานระดับล่างของเราอาจตกงานในระยะยาว” รศ.ดร.ศิริยุพา กล่าว

จากคุณ : Wild Rabbit

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 29, 2012 8:34 am
โดย pak
ตะลึงอี-อ็อกชั่นทำบ้านเมืองล่มจม [ ไทยรัฐ, 29 มี.ค. 55 ]

นายต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิด
เผยภายหลังการสัมมนาโต๊ะกลมเรื่อง "เฝ้าระวังโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม" จัดโดยภาคีเครื่อข่ายต่อต้าน
คอรัปชันว่า ผลการวิจัยของภาคีเครือข่ายต้านคอรัปชันพบว่า งานก่อสร้างไม่ควรใช้วิธีการประกวดราคา
ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-อ็อกชั่น) ทั้งที่ความจริงการประมูลแบบอี-อ็อกชั่น ควรจะช่วยประหยัดเงินได้ 7%
แต่กลับประหยัดได้เพียง 1% เท่านั้น หากแก้ปัญหานี้ได้จะช่วยประหยัดเงินได้อีก 50,000-100,000
ล้านบาท จากงบประมาณก่อสร้างภาครัฐที่ราว 1.1 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ในเบื้องต้นทางภาคีฯจะเน้นจับตา
ดูการประมูลงานก่อสร้างใน 5 หน่วยงานที่มีปัญหาร้องเรียนมาก เช่น กรมทางหลวงชนบท เป็นต้น
"ผู้รับเหมาที่ได้รับเลือกให้มีสิทธิ์ในการประมูลงานก่อสร้างส่วนใหญ่ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาจะเป็นกลุ่มเดิมๆ
ที่วนเวียนได้งานซ้ำกัน โดยจุดอ่อนของระบบอี-อ็อกชั่นอยู่ที่ตอนเคาะราคา เพราะระบบนี้จะมีการใช้หลัก
เกณฑ์คุณสมบัติมาเป็นตัวขัดขวางทำให้ไม่มีผู้แข่งขันหรือชนะงานกันเพียงแค่ไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้น"

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 07, 2012 3:15 pm
โดย pak
รัฐช่วยแน่! สร้างเขื่อนป้องนิคม

นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เปิดเผยว่า ในเร็วๆนี้จะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งในการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม ซึ่งจากการหารือกับ ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รมว.อุตสาหกรรม ได้ข้อสรุปในหลักการแล้วว่า รัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณให้เปล่าจำนวน 2 ใน 3 ในการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 7 แห่งอย่างแน่นอน เบื้องต้นเสนองบประมาณที่จะใช้วงเงินประมาณ 5,000 ล้านบาท แต่ขอให้ไปปรับลดงบประมาณลงมา ซึ่งคาดว่ารัฐบาลจะต้องใช้เงินให้เปล่าสนับสนุนวงเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท

“หลังจากหารือกันพบว่าต้นทุนต่อหน่วยในการสร้างเขื่อนของนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 7 แห่งไม่เท่ากัน จึงขอให้ทางนิคมอุตสาหกรรมไปปรับราคาต้นทุนต่อหน่วยให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน แล้วนำกลับมาเสนอ กบอ.อีกครั้ง หลังจากนั้นจะเสนอให้ กนอช.พิจารณา แล้วส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติต่อไป”.


ที่มา http://www.thairath.co.th/content/eco/251292

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 18, 2012 8:57 am
โดย pak
CK ลงนามโรงไฟฟ้า "ไซยะบุรี" หนุน Backlog ทะลุ 1.1 แสนล้านบ. [ นสพ.ทันหุ้น, 18 เม.ย. 55 ]

CK ลงนามเซ็นสัญญาประกาศเดินหน้า ลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำไซยะบุรีในประเทศลาว กับ
บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด มูลค่าลงทุนโดยรวมสูงถึง 76,000 ล้านบาท ฟากโบรกส่องอนาคตการ
ลงนามครึ่งนี้ ส่งผลให้งานในมือ CK ทะลุทะลวงกว่า 1.1 แสนล้านบาท และยังมีงานขนาดใหญ่เรียงคิวรอ
อีกเพียบ คาดว่าการดำเนินงานปีนี้จะพลิกฟื้นมีกำไรปกติ 384 ล้านบาท เทียบจากปีก่อน ที่ขาดทุนกว่า
1,355 ล้านบาท แนะสอย เป้าหมาย 9 บาท

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 25, 2012 9:35 am
โดย pak
ช.การช่างกำไรมั่นคง 6 ปี 'ปลิว' รับประกันงานในมือเพียบเงินลงทุนออกผล [ โพสต์ทูเดย์, 25 เม.ย. 55 ]

"ปลิว" ลั่น 5-6 ปีจากนี้ช.การช่าง จะมีรายได้-กำไรมั่นคงสม่ำเสมอ ไม่ขาดทุนอีก เหตุงานในมือ
ทะลักเริ่มเก็บเกี่ยวเงินลงทุน รักษากำไรขั้นต้นไม่ให้ต่ำกว่า 10%

นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช.การช่าง (CK)
เปิดเผยว่า กลยุทธ์สำคัญในการทำธุรกิจของบริษัท คือพยายามสร้างความมั่นคงของรายได้และกำไรอย่าง
ต่อเนื่องไปอีก 5-6 ปี ซึ่งจะไม่ผันผวนมีทั้งกำไรสลับขาดทุนเหมือนในอดีต
เพราะปัจจุบันบริษัทมีงานในมือ
(แบ็กล็อก) สูงถึง 1.19 แสนล้านบาท

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 02, 2012 9:19 am
โดย pak
รับเหมางานล้นคอนโดผุดเพียบ [ โพสต์ทูเดย์, 2 พ.ค. 55 ]

วิศวภัทร์ ชี้ก่อสร้างคอนโดมิเนียมเมืองกรุง-หัวเมืองท่องเที่ยวยังรุ่ง คาดปีนี้รายได้แตะ2,500 ล้าน
โต 100%

นายพงศ์พันธ์ ธีระจรุงเกียรติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วิศวภัทร์ผู้ดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
เปิดเผยว่า ภาพรวมของการรับเหมาก่อสร้างในปีนี้ยังเติบโตได้ โดยเฉพาะงานของภาคเอกชน เนื่องจาก
มีงานก่อสร้างโครงการคอนโดมิเนียมแห่งใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในกรุงเทพมหานคร(กทม.) และ
จังหวัดหัวเมืองท่องเที่ยว ที่หัวหินและพัทยา ซึ่งในปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า2,500 ล้านบาท เติบโต
ขึ้นจากปีก่อน100% เนื่องจากบริษัทมีการเซ็นสัญญาเพื่อรับงานกับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 02, 2012 9:21 am
โดย pak
ข่าวจาก ไทยรัฐ, 2 พ.ค. 55


รัฐเข็นงบลงทุนแสนล้านแก้น้ำท่วม
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่าในช่วง
เดือน ส.ค.นี้ รัฐบาลเตรียมผลักดันงบลงทุนวงเงินประมาณ 100,000 ล้านบาทเพื่อนำไปใช้ในการแก้ไข
ปัญหาน้ำท่วม โดยงบลงทุนดังกล่าวอยู่ในวงเงินกู้ตาม พ.ร.บ. เพื่อลงทุนวางระบบบริหารจัดการน้ำ และ
สร้างอนาคตของประเทศ พ.ศ. 2555 ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดวงเงินไว้รวม 350,000 ล้านบาท ภายใต้
เงื่อนไขต้องดำเนินการกู้เงินให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิ.ย. 56

สร้างเขื่อนล้อมนิคมสะดุดกึ้ก! เงินช่วยเหลือสักแดงยังไม่ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงอุตสาหกรรมว่า การประชุมผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อติดตาม
ความก้าวหน้าการป้องกันอุทกภัย มีการรายงานความคืบหน้าการก่อสร้างแนวป้องการถาวรของ 6 นิคม
โดยเขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนคืบหน้าเพียง 15% นิคมฯไฮเทคคืบหน้า 28% นิคมฯบางปะอิน คืบหน้า
27% ซึ่งข้อมูลดังกล่าวแสดงความคืบหน้าเฉลี่ยกว่า 20% เท่านั้น ถือว่าล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดให้
แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ส.ค. 55 ที่ประชุมจึงสั่งการให้ผู้บริหารระดับอธิบดีและรองอธิบดี เร่งติดตาม
และช่วยเหลือหากเกิดปัญหาติดขัดด้านการก่อสร้าง

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 03, 2012 1:13 pm
โดย pak
หุ้นรับเหมาก่อสร้าง ราคาล้วนสูงกว่ามูลค่าหุ้นทางบัญชีหรือบุ๊คแวลู แต่สำหรับหุ้นบมจ. ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น (SYNTEC) พยายาม ตะเกียก ตะกายเต็มบาทหรือสูงกว่าบาทให้จงได้ แต่ดูเหมือนแรงพยายามยังไม่พอ ต้องใช้ระยะเวลา ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น เพราะด้วยบุ๊คแวลูของ SYNTEC สิ้นปี54 อยู่ที่ 1.43 บาท ซึ่งเป็นจุดดึงดูดความสนใจของนักลงทุน นักเก็งกำไร ยิ่งกระแสรับเหมาก่อสร้าง คงมีตลอดปี ซึ่งปีที่แล้ว นับว่าได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม กดดันให้ มีกำไรสุทธิแค่ 97 ล้านบาทเทียบกับปี2553 มีกำไรสุทธิ 203 ล้านบาท

มาปีนี้ สถานการณ์ต่างๆดีขึ้น งานประมูลเกิดขึ้นมากมายทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผู้บริหาร SYNTEC ได้ออกมาเปิดเผยตัวเลขงานในมือปัจจุบันที่ยังไม่ได้ส่งมอบสูงถึง 6,657 ล้านบาท ทำสถิติสูงสุดใหม่ มีทั้งหมด 29 โครงการ โดยมีโครงการที่ใหญ่สุดคือ UBC-III & EM-2 มูลค่าโครงการ 2,008 ล้านบาท คาดงานในมือดังกล่าวจะรับรู้ในปีนี้ประมาณ 3 พันล้านบาท ในปีนี้SYNTEC กำลังอยู่ระหว่างประมูลงานใหม่ทั้งหมด 35 โครงการ เป็นงานเอกชน 32 โครงการ คาดจะได้งานประมาณ 5-5.5 พันล้านบาท โดยเพียงไตรมาสแรกSYNTEC ได้งานมาแล้วทั้งหมด 5 โครงการ มูลค่ารวม 2,364 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 50% ที่ตั้งเป้าหมายไว้และยังผู้บริหารยังประเมินยอดรับรู้รายได้งานก่อสร้างใน ปีนี้ประมาณ 5,200-5,300 ล้านบาท หรือ เติบโต 10-12%และ อัตรากำไรขั้นต้นคาดจะปรับขึ้นเป็นประมาณ 10% จากปีก่อนที่ลดลงเหลือเพียง 7.1% เนื่องจากปีก่อนถูกกระทบจากน้ำท่วม และ ต้นทุนจากการเก็บงานบางโครงการ


นับจากนี้ไป คงต้องการนั่งติดตาม SYNTEC เพราะอนาคตไม่ใช่ มีแค่รายได้จากงานรับเหมาก่อสร้าง แต่บริษัทฯยังได้เปิดเกมรุก เพิ่มช่องทางหารายได้เพิ่ม นั่นคือ จัดตั้งบริษัทย่อย ภายใต้ชื่อ บริษัท เอส ซี อาร์ แอสเซ็ท แมเนจเม้นท์ จำกัดทำธุรกิจลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการให้เช่า.... คนเชียร์พร้อมแล้ว แบบนี้คนเล่น นักลงทุน นักเก็งกำไร เตรียมออกรบ จะยกทัพลุย แบบลูกผู้ชายไม้ตะพต หรือ รบแบบกองโจร ชาวหุ้นต้องสำรวจตัวเองว่า ถนัดแบบไหนกันแน่........

บทวิเคราะห์ บล.ทรีนีตี้ ระบุว่า ยอดขาย และกำไรของ SYNTEC ในปี 2554 ถูกกระทบจากปัญหาน้ำท่วม และ บางโครงการที่สร้างเสร็จซึ่งบันทึกต้นทุนแล้ว แต่มีปัญหากับลูกค้า ทำให้ยังไม่สามารถรับรู้รายได้ได้ จึงทำให้กำไรปี 2554 ต่ำกว่าปกติเพียง 97 ล้านบาท จากปกติจะมีกำไรปีละประมาณ 200-300 ล้านบาท เราคาดผลประกอบการปี 2555 จะพลิกฟื้นมาสู่ระดับปกติ โดย ยอดขายคาดจะโต 10% สู่ระดับ 5,200 ล้านบาท และ มีกำไรสุทธิเท่ากับ 200 ล้านบาท (กำไรต่อหุ้น 0.12 บาท) โตถึง 106%"แนะนำ ซื้อSYNTEC ราคาพื้นฐาน ที่ 1.20 บาท"บทวิเคราะห์ระบุ


บล.เอเซียพลัส ได้ออกบทวิเคราะห์ระบุว่า ฝ่ายวิจัยได้ปรับลดประมาณการ gross margin ปี 2555 ลงจากเดิมที่ 9.5% เหลือเพียง 8.5% บนหลักของความอนุรักษ์นิยม อย่างไรก็ตาม ข้อดีในปีนี้คือ การตังสำรองหนี้สงสัญจะสูญจะลดลงมาก เปรียบเทียบกับปี 2554 ที่ SYNTEC มีการตังสำรองหนี้สูญสำหรับกิจการร่วมค้า SMJV ไปถึง 126 ล้านบาท โดยกิจการร่วมค้า SMJV จะถูกยกเลิกในเดือน มิ.ย. 55 หลังครบกำหนด 2 ปี ในการประกันผลงานโครงการบ้านเอืออาทร และ SYNTEC สามารถนำ Tax Shield ราว 400 ล้านบาท ที่เกิดจากผลขาดทุนในโครงการดังกล่าว ไปใช้ในการหักลดหย่อนภาษีได้


"แม้ฝ่ายวิจัย จะปรับลดประมาณการกำไรจากการดำเนินงาน SYNTEC ลงจากเดิม 27% เหลือ 194 ล้านบาท แต่ Fair Value ที่ประเมินโดยอิง PBV 0.8 เท่า ยังให้ราคาเหมาะสมอยู่ที่ 1.22 บาท เทียบเท่า PER 9.8 เท่า มี Upside ถึง 39% ฝ่ายวิจัยจึงคงคำแนะนำ ซื้อ ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยยังไม่ได้รวมกำไรพิเศษที่อาจเกิดขึ้นในปี 2555 และ 2556 ไม่ว่าจะเป็นกำไรจากการขายที่ดิน และกำไรหาก SYNTEC ชนะคดี เคมปิน สยาม ซึ่งเป็น Upside ที่อาจมีเพิ่มขึ้นได้อีกในอนาคต "บทวิเคราะห์ระบุ


บทวิเคราะห์ระบุว่า SYNTEC ได้จัดตั้งบริษัทย่อยคือ SCR Asset Management โดยเข้าถือหุ้น 52% เพื่อลงทุนทำ Service Apartment ให้เช่า โครงการแรกอยู่ที่ศรีราชา จะเริ่มก่อสร้าง 3Q55 เสร็จกลางปี 2556มูลค่าประมาณ 300 ล้านบาท และจะทยอยเปิดโครงการลักษณะนี้เพิ่มเป็น 2 โครงการ ภายในเวลา 3 ปี เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงในอนาคต สำหรับแหล่งเงินทุน จะมาจากเงินทุนหมุนเวียนภายในบริษัท และการขายที่ดิน 55 ไร่ บริเวณ ถ.รามอินทรา ซึ่งน่าจะมีกำไรเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ( คำนวนจากราคาทุนของที่ดิน 1.8 ล้านบาท/ไร่ ขณะที่ราคาปัจจุบันอยู่สูงกว่า 4 ล้านบาท/ไร่ ) ส่วนคดีฟ้องร้อง ลูกหนี้บริษัท เคมปิน สยาม ทุนทรัพย์ ณ วันฟ้อง จำนวน 301 ล้านบาท ปัจจุบันเรื่องอยู่ในศาลชั้นต้น คาดว่าจะรู้ผลอย่างช้าภายใน 1Q56 หาก SYNTEC ชนะคดี ก็น่าจะบันทึกกำไรพิเศษเข้ามาได้อีกไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

บล.ดีบีเอสวิคเคอร์สระบุว่า คาดว่า SYNTEC จะมีกำไรสุทธิปีนี้ จะพลิกฟื้นโตถึง 70% y-o-y โดยได้เพิ่มประมาณการปี 55อีก 26% จากเดิม เพราะ 1) รายได้เติบโต 13% y-o-y ซึ่งปลายปี 54 มีงานในมือ (Backlog) สูงเป็น 6.7 พันล้านบาท สูงสุดในรอบ 5 ปี และฐานรายได้ปี 54 ก็ต่ำ เพราะช่วงปลายปีได้รับผลลบจากน้ำท่วม และ 2) คาดว่าปีนี้จะมีกำไรรายการพิเศษ 5ล้านบาท เทียบปี 54 ที่สุทธิเป็นขาดทุน 46 ล้านบาท แม้ให้อัตรากำไรขั้นต้นเป็นเพียง 7% ลดจากปี 54 ที่ 7.1% ขณะที่บริษัทได้กล่าวว่าอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยใน Backlog นั้นมากกว่า 10% ก็ตามเพราะได้เผื่อให้บริษัทได้เผชิญการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน แต่เราก็ไม่ได้กำหนดให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลงไปมาก เนื่องจาก 1) งานที่ได้รับมาใหม่มีการรวมต้นทุนต่างๆที่สูงขึ้นแล้ว2)ไม่ได้ปรับขึ้นค่า แรงให้กับทุกราย ขึ้นกับการเจรจา 3) มีการเจรจากับเจ้าของงานหากราคาประมูลเดิมต่ำไปมาก และ 4) มีการใช้เครื่องจักรบางส่วนแทนแรงงานคน

อย่างไรก็ตามคาดการณ์อัตราเติบโตของกำไรปกติเติบโต 12% yo-y โดยรวมแล้ว เราเห็นว่าปีนี้ SYNTEC จะมีภาพฟื้นตัวดีปัจจัยบวก SYNTEC ที่มีแต่อาจไม่เกิดเร็วคือ 1) คดีกับสยามคาเปนสกี้หากชนะคดี ก็จะบันทึกกำไรได้ 100 ล้านบาท 2) การเรียกร้องความเสียหายจากบ้านเอื้ออาทรในอดีต 700-800 ล้านบาท และ 3) ที่ดินเปล่าเอกมัย-รามอินทรา จำนวน 55 ไร่ มีต้นทุนเพียง 1.8 ล้านบาทต่อไร่ เคยมีผู้มาขอซื้อที่ 4.5 ล้านบาทต่อไร่ หากในอนาคตขายก็จะมีกำไรก่อนภาษี 148 ล้านบาทคิดเป็น 0.09 บาทต่อหุ้น หรือ 10% จากราคาหุ้นปัจจุบัน


***เซียนหุ้น ส่องกล้อง SYNTEC พบราคาเเกว่งตัว หากรักกันจริงให้เล่นตามกรอบ***

นางสาวศศิมา หัตกิจนิกร นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่าราคาหุ้น บริษัท ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) SYNTEC พบว่าหากราคาหุ้นอยู่ในช่วงเเกว่งตัวในกรอบ จึงเเนะนำให้นักลงทุนเล่นเก็งกำไรในกรอบ
ทั้งนี้ ประเมินเเนวรับที่ 0.96 บาท เเละเเนวต้านที่ 1.03 บาท

ผู้สื่อข่าวรายงาน มูลค่าตามบัญชี หรือ Book Value ของหุ้นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้างพบว่า บริษัท พีเออี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) PAE อยู่ที่ Book Value 23.10 เท่า ,บริษัท โตโย-ไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) TTCL มี Book Valueอยู่ที่ 4.20 เท่า ,บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) STEC มี Book Valueอยู่ที่ 2.84 เท่า , บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) CK มีBook Valueอยู่ที่ 2.08 เท่า , บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ITD อยู่ที่Book Value 1.83 เท่า, บริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) EMC อยู่ที่Book Value1.12 เท่า , บริษัท ไทยโพลีคอนส์ จำกัด (มหาชน) TPOLY Book Value อยู่ที่ 1.01 เท่า, บริษัท ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) SYNTEC อยู่ที่Book Valueอยู่ที่ 1.43 เท่า เเละ บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) PLE มี Book Valueอยู่ที่ 0.57 เท่า



***ตารางเปรียบเทียบมูลค่าตามบัญชี หรือ Book Value ของหุ้นในกลุ่มรับเเหมาก่อสร้าง ***

ลำดับ ชื่อหุ้น Book Value ราคาปิด ส่วนต่าง (บ.)
1 SYNTEC 1.43 0.99 0.44

2 TTCL 3.48 15 -11.52

3 STEC 4.75 13.5 -8.75

4 CK 3.86 8 -4.14

5 ITD 1.92 3.56 -1.64

6 EMC 1.54 1.73 -0.19

7 TPOLY 1.8 1.81 -0.01

8 PLE 2.26 1.31 0.95

9 PAE 0.06 1.43 -1.37


พร้อมกันนี้ รายงานราคาปิด( 26 เม.ย.2555) ราคาปิด SYNTEC อยู่ที่ 0.99 บาท ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย112.47 ล้านบาท ,ราคาปิด PAE อยู่ที่ 1.43 บาท ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 3.73 ล้านบาท ,ราคาปิด TTCL อยู่ที่ 15.00บาท เพิ่มขึ้น 0.40บาท หรือ2.74 % มูลค่าการซื้อขาย82.49 ล้านบาท ,ราคาปิด STEC อยู่ที่ 13.50 บาท ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 64.80 ล้านบาท ,ราคาปิด CK อยู่ที่ 8.00 บาท ลดลง0.05 บาท หรือ0.62 % มูลค่าการซื้อขาย 48.96ล้านบาท ,ราคาปิด EMC อยู่ที่ 1.73บาท เพิ่มขึ้น 0.05บาท หรือ 2.98% มูลค่าการซื้อขาย0.99ล้านบาท ,ราคาปิด TPOLY อยู่ที่1.81 บาท ลดลง 0.01 บาท หรือ 0.55% มูลค่าการซื้อขาย11.07ล้านบาทและราคาปิด PLE อยู่ที่ 1.31บาท เพิ่มขึ้น 0.01บาท หรือ 0.77% มูลค่าการซื้อขาย 7.04ล้านบาท

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 04, 2012 9:22 am
โดย pak
พม่าชักเริ่มเสียวไส้ ITD เอาทวายไม่อยู่ จีบญี่ปุ่นร่วมลงทุน [ ข่าวหุ้น, 4 พ.ค. 55 ]

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า ที่ปรึกษาทางการเมืองคนสำคัญของประธานาธิบดีเทียนเส่งของพม่า
แสดงความสงสัยต่อความสามารถของ บริษัท อิตาเลียน-ไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD
ที่จะทำเขตเศรษฐกิจในพม่า มูลค่า 8,600 ล้านดอลลาร์ตามที่ได้วางแผนไว้ ความเห็นนี้ทำให้เกิดความ
สงสัยเกี่ยวกับความสำเร็จของโครงการทวาย

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 20, 2012 11:34 pm
โดย pak
ผ่าอนาคต 'สองเสือก่อสร้าง''อิตาเลียนไทย-ช.การช่าง'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

สองบิ๊กก่อสร้าง ITD-CK โชว์แบ็คล็อกมูลค่ากว่า 'แสนล้านบาท' แต่ยังไม่เห็นมี 'กำไร' สองผู้นำสูงสุด 'เปรมชัย-ปลิว' เชื่อจากนี้จะกำไรยั่งยืน

หุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างเป็นอีกหนึ่ง "กลุ่มหุ้นยอดนิยม" ที่มักถูกหยิบขึ้นมา "เล่นเก็งกำไร” เป็นรอบๆ แต่ทว่ารอบนี้หุ้นรับเหมายังเงียบกริบ..!! ขณะที่ฝั่งผู้บริหารออกมาโชว์ตัวเลขงานในมือที่รอรับรู้รายได้มีมูลค่านับ "แสนล้านบาท" แต่ดูเหมือนยังเป็นการ “ขายฝัน” โดยเฉพาะสองบิ๊กก่อสร้างอย่าง บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ และ บมจ.ช.การช่าง ที่ผลการดำเนินงานยังกระท่อนกระแท่น

อิตาเลียนไทยและช.การช่าง ต่างก็ถือ "ไพ่เด็ด" ในมือ โดยอิตาเลียนไทยมีโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย และโครงการก่อสร้างในอินเดียเป็นแหล่งรายได้หลัก ขณะที่ ช.การช่างถือสัมปทานสร้างโรงไฟฟ้าไซยะบุรีในลาว เป็นงานก้อนใหญ่และหวังกินยาว

เปรมชัย กรรณสูต ประธานกรรมการบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ บริษัทรับเหมาก่อสร้างหมายเลขหนึ่งของไทย เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมาบริษัทยังมีมาร์เก็ตแชร์เป็นอันดับหนึ่งของกลุ่มรับเหมาก่อสร้างสัดส่วน 40.5%จากรายได้รวม 44,945 ล้านบาท โดยเป็นงานในต่างประเทศสัดส่วน 53.7% ถือเป็นปีแรกที่รายได้จากต่างประเทศมากกว่าในประเทศ โดยที่อินเดียมีสัดส่วนรายได้สูงสุดประมาณ 34%

ส่วนงานค้างที่รอรับรู้รายได้ปีนี้ น่าจะทำได้ถึง 200,000 ล้านบาท โดยไตรมาสแรกทำได้แล้ว 41,724 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการที่ประมูลได้แล้วและรอลงนามอีก 158,082 ล้านบาท รวมแล้วน่าจะมี Backlog ได้ถึง 332,310 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการที่ยื่นประมูลได้ราคาต่ำสุดอีก 40,000 ล้านบาท

สำหรับโครงการใหม่ที่บริษัทจะเข้าไปมีส่วนร่วม ไฮไลต์สำคัญอยู่ที่งานในต่างประเทศ เช่น งานสร้างถนนในเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย 58,000 ล้านบาท รถไฟฟ้าที่บังคาลอร์ 40,700 ล้านบาท สนามบินที่ฮาลองเบย์ เวียดนาม 77,500 ล้านบาท รวมถึงที่อยู่อาศัย 300,000 ยูนิต ที่ประเทศลิเบีย

“ต้องถือว่าอิตาเลียนไทยโตก้าวกระโดดเกินไป ปีนี้ เราน่าจะได้งาน 2 แสนล้านบาท ปีต่อไปน่าจะได้อีกหลายแสนล้านบาท ที่ผมเป็นห่วงตอนนี้คือจะหาเงินมาทำงานได้อย่างไร” เปรมชัยบอก

แผนธุรกิจที่บิ๊กอิตาเลียนไทย มองไว้ก็คือ บริษัทอาจจะต้อง “เพิ่มทุน” โดยขอมติผู้ถือหุ้นในการทำ General Mandate หรือขออนุมัติเพิ่มทุนล่วงหน้าไว้ก่อน 1,677 ล้านหุ้น อีกแผนคือ การขายเงินลงทุนโครงการต่างๆ ที่บริษัทเข้าไปถือหุ้น หลักๆ ตอนนี้คือการลงทุนในเหมืองโปแตชที่จังหวัดอุดรธานี มีอายุสัมปทาน 30 ปี ถือหุ้นอยู่ 90% กำลังจะได้ไลเซ่นผลิตจากรัฐบาลในปลายปีนี้ คาดว่าจะขายหุ้นบางส่วนให้ต่างชาติ ภายใน 2 ปีนี้ จะสามารถผลิตออกมาได้คาดว่าจะมีกำไรจากการขายตันละ 300 ดอลลาร์ คาดว่าจะขายได้ปีละ 4 ล้านตัน คิดเป็นกำไรเท่าไรต่อปีก็คำนวณเอาเอง...เปรมชัย กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนโครงการผลิตอะลูมิเนียมที่ประเทศลาว ตอนนี้ถือหุ้นอยู่ 45% และจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงให้เหลือ 30% ได้เชิญนักลงทุนจากจีนมาร่วมลงทุนแล้ว ปีนี้จะต้องใส่เงินลงทุนไปอีก 100 ล้านบาท เพื่อคงสัดส่วนการถือหุ้นเอาไว้

เปรมชัย กล่าวต่อว่า โครงการสำคัญของอิตาเลียนไทย คือ โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย บนพื้นที่ 1.5 แสนไร่ แต่เป็นพื้นที่ขายจริง 55% หรือประมาณ 80,000 ไร่ มูลค่าโครงการ 8,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 2.4 แสนล้านบาท ตอนนี้ได้ลงทุนระบบโครงสร้างสาธารณูปโภคภายในไปแล้ว 1,000 ล้านบาท แผนงานตอนนี้คือการเร่งขายที่ดินบางส่วนให้กับนักลงทุนที่สนใจจำนวน 12,500 ไร่ ถ้าบริษัทสามารถขายเงินลงทุนได้ก็จะมีเงินทุนหมุนเวียนบางส่วนกลับเข้ามาสู่บริษัท ถ้ามากพออาจจะไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนก็ได้

เปรมชัย คำนวณผลตอบแทนจากการลงทุนในโครงการทวายให้ฟังว่า อิตาเลียนไทยเป็นเจ้าของพื้นที่กว่า 1.5 แสนไร่ ถ้านำราคาขายจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมาเปรียบเทียบซึ่งมีราคาไร่ละ 3 ล้านบาท แม้จะเป็นพื้นที่ขายจริงเพียง 55% ดีดลูกคิดแล้วยังไงก็ “คุ้ม” คาดว่าโครงการทวายน่าจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการได้ในปลายปี 2558


ล่าสุดมีกระแสข่าวที่อ้างคำกล่าวของ นายโค โค ฮแลง ที่ปรึกษาฝ่ายการเมืองของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของพม่า ออกมาชี้ว่าอิตาเลียนไทยไม่มีประสบการณ์ดำเนินโครงการขนาดใหญ่ พร้อมส่งสัญญาณอยากได้นักลงทุนรายอื่นเข้าร่วมลงทุน โดยสื่อไปในทำนองว่าอิตาเลียนไทยขาดแคลนเงินทุนสนับสนุนด้านการก่อสร้าง ขณะที่ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ยืนยันที่จะไม่ปล่อยกู้โครงการทวาย

ด้านแนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 2555 นายใหญ่อิตาเลียนไทย คาดว่าจะรับรู้รายได้ทั้งหมด 54,000 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 20% จากปีที่แล้ว ส่วนกำไรสุทธิปีนี้ จะได้เห็นแน่นอน เพราะงานที่เข้ามามีวอลุ่มสูงทำให้ควบคุมต้นทุนได้ดี และเท่าที่เห็นไม่มีโครงการไหนที่ทำแล้วขาดทุนเลย รวมถึงแผนการเข้าไปลงทุนด้วยเงินเยอะๆ ก็ไม่มีแล้วมีแต่จะรอขายหุ้นที่ถืออยู่ออกมา ส่วน Net Margin ปีนี้น่าจะทำได้ตั้งแต่ 3-5%

“ต่อจากนี้ไปเราจะมีกำไรทุกปีเพราะงานที่เข้ามามากขนาดนี้ทำให้ถึงจุดคุ้มทุนได้และโครงการลงทุนต่างๆ ก็เดินหน้าไปด้วยดี จากนี้อิตาเลียนไทยจะเริ่มรับรู้ดอกผลจากการลงทุนได้แล้ว” เปรมชัยกล่าว ท่ามกลางปัญหาโครงการทวายยังร้อนระอุ

ทางด้าน ปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ช.การช่าง เปิดเผยว่า ในปีนี้ บริษัทมีมูลค่างานในมือแล้วจำนวน 1.4 แสนล้านบาท โครงการสำคัญที่สุดคือโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีประเทศลาวมูลค่า 7.6 หมื่นล้านบาท บริษัทตั้งเป้าหมายจะรับงานในอนาคตที่มีอัตรากำไรขั้นต้นมากกว่า 10% โดยยังมีงานที่คาดว่าจะเซ็นสัญญาเร็วๆ นี้ คือ โครงการทางด่วนศรีรัช มูลค่างาน 2.5 หมื่นล้านบาท และโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า SPP นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน 5 พันล้านบาท ซึ่งบริษัทคาดว่า Backlog ณ สิ้นปี 2555 จะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 1.7 แสนล้านบาท

ส่วนโครงการเขื่อนและโรงไฟฟ้าไซยะบุรี มูลค่าสัญญา 7.6 หมื่นล้านบาท คาดว่าผลประโยชน์ที่ได้รับจากงานก่อสร้างจะสร้างผลตอบแทนไม่น้อยกว่า 10% และหลังจากงานก่อสร้างแล้วเสร็จยังได้สัมปทานอีก 29 ปี ซึ่งคาดว่ามีผลตอบแทนการลงทุนที่ 12-13% จากสัดส่วนที่บริษัทถือหุ้นอยู่ 30%

ทั้งนี้ โครงการไซยะบุรีได้มีการกู้เงินเรียบร้อยแล้วกับธนาคารพาณิชย์ 6 ราย เป็นเงิน 8.5 หมื่นล้านบาท ปีนี้ คาดว่าต้องใช้เงินเข้าไปเพิ่มทุน 300 ล้านบาท และน่าจะมีรายได้จากงานก่อสร้าง 4,500 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 30% ของรายได้รวม โดยช่วงแรกยังเป็นการลงทุนเบา และจะค่อยๆ เพิ่มเงินลงทุนเมื่อเข้าใกล้ปีที่ 6-8 ของการก่อสร้างซึ่งเป็นขั้นตอนการติดตั้งเครื่องปั่นไฟ

"ไฮไลต์สำคัญของ ช.การช่าง ในปีนี้ คือการนำบริษัท ซีเค พาวเวอร์ เข้าตลาดหลักทรัพย์คาดว่าจะเปิดขายหุ้น IPO ได้ในช่วงไตรมาส 4/2555 นี้"

ปลิว อธิบายสาเหตุที่ปีที่แล้วผลการดำเนินงานจริงออกมาขาดทุนประมาณ 1,300 ล้านบาท เพราะบริษัทใช้กลยุทธ์เข้าไปลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการทำให้มีต้นทุนทางการเงินสูงเห็นได้จากดอกเบี้ยจ่ายสูงถึงปีละ 1,100 ล้านบาทในปีที่แล้ว แต่หลังจากนี้จะเริ่มรับรู้รายได้จากการขายเงินลงทุนออกมาเพื่อเป็นกำไร ทำให้ ช.การช่าง ไม่จำเป็นต้องมีการเพิ่มทุนอีก

สำหรับโครงการใหม่ที่จะเข้ายื่นการประมูลน่าจะมีรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ตั้งแต่สายสีชมพู สีเหลือง สีส้ม สีม่วงส่วนขยาย ระบบป้องกันน้ำท่วม ซึ่งทั้งหมดนี้จะเริ่มเปิดประมูลในสิ้นปีนี้ นอกจากนี้ยังมีโครงการในอนาคตซึ่งจะเป็นโอกาสของบริษัทก่อสร้างทั้งหมด เช่น รถไฟฟ้าความเร็วสูงที่รัฐบาลไทยลงนามกับจีนซึ่งจะมีถึง 4 สายและโครงการรถไฟรางคู่ ประมาณการว่าน่าจะมีมูลค่าสูงถึง 620,000 ล้านบาท

รวมถึงโครงการก่อสร้างถนนสายมอเตอร์เวย์มูลค่า 575,033 ล้านบาท โครงการต่อเติมสนามบินสุวรรณภูมิเฟสสอง 62,503 ล้านบาท โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก 5,000 ล้านบาท ส่วนงานที่ ช.การช่าง มีโอกาสสูงคืองานสร้างเขื่อนในประเทศลาวมูลค่าที่รออยู่ประมาณ 127,000 ล้านบาท

สำหรับการถือหุ้นใน บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ที่ยังประสบปัญหาขาดทุนนั้น ปลิว เชื่อว่าหลังจากโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน สีม่วง และสีเขียวแล้วเสร็จ จะทำให้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ BMCL สามารถแก้ปัญหาการขาดทุนได้อย่างเบ็ดเสร็จภายใน 3 ปี

นายใหญ่ ช.การช่าง ตั้งเป้าหมายรายได้ของบริษัทในปีนี้ จะอยู่ที่ 1.5 หมื่นล้านบาท เติบโต 15% จากปีก่อน โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจากการรับรู้งานคงค้างในมือที่มีอยู่ 1.4 แสนล้านบาท ในแง่กำไรจากการดำเนินงานคาดว่าจะดีกว่าปีที่แล้วมาก เพราะได้ยกเลิกงานเก่าๆ ที่มาร์จินต่ำไปหมดแล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยก็ลดลงมาก ปีนี้ น่าจะยังมี “กำไรพิเศษ” จากการขายเงินลงทุนเช่นเคย แต่เท่าไรและเมื่อไรยังไม่สามารถบอกได้

“จากนี้ไปกำไร ช.การช่าง จะมีความมั่นคงและสามารถจ่ายเงินปันผลได้ต่อเนื่อง ผลจากโครงการลงทุนต่างๆ ที่เราได้ไปใส่เงินเอาไว้ คาดว่ากำไรในปี 2555-2556 จะไม่น้อยกว่าที่ผ่านมาแน่นอน” ปลิวให้ความหวังผู้ถือหุ้น

'ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง' ปีนี้ ตั้งเป้าโต 30% ด้านผู้เล่นอันดับสามในตลาดอย่าง บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น ของ "เสี่ยหนู" อนุทิน ชาญวีรกูล แม้ข่าวจะดูเงียบกว่าสองรายใหญ่ แต่ปีนี้ ยังตั้งเป้าเติบโตสูง วรพันธ์ ช้อนทอง กรรมการรองผู้จัดการ สายงานการเงินและบริหาร เปิดเผยว่า ปีนี้ บริษัทน่าจะมีรายได้รวม 18,000 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนที่มีรายได้อยู่ที่ 14,000 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 30% ปัจจุบันมีงานค้างรอรับรู้รายได้ 48,000 ล้านบาท ทยอยรับรู้ภายใน 3 ปีข้างหน้า โดยเป็นงานภาครัฐ 60% และเอกชน 40%

ปีนี้ บริษัทคาดหวังว่าจะหางานใหม่ให้ได้ 20,000 ล้านบาท จากการเข้าประมูลงานทั้งหมด 80,000 ล้านบาท โดยตอนนี้มีงานรอเซ็นสัญญาแล้ว 1,000 ล้านบาท ที่เหลือคาดว่าจะเริ่มมีการเปิดประมูล เช่น รถไฟฟ้าสายสีเขียวเส้นทางหมอชิต-ลำลูกกา รวมถึงงานขยายสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินภูเก็ต

ในส่วนของอัตรากำไรขั้นต้น คาดหวังว่าจะรักษาให้อยู่ในระดับเดียวกันกับปีก่อนที่ 8.1% โดยเน้นการลงทุนเครื่องจักรใหม่มูลค่า 400 ล้านบาท เพื่อนำมาทดแทนการใช้แรงงานคนเพื่อปรับตัวรับกับการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ในปีนี้


ที่มา : http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=31523

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 12, 2012 10:22 pm
โดย pak
ทริสลดเครดิต ITD ฐานะแย่ เสี่ยงทำไม่ได้ตามสัญญาเงินกู้ อนาคตลำบาก-ต้นทุนพุ่งอีก [ โพสต์ทูเดย์, 12 มิ.ย. 55 ]

ทริสลดเครดิต ITD ขาดทุนติด 6 ไตรมาส ทำฐานะการเงินอ่อนแอ เสี่ยงสูง ดำรงสัดส่วนหนี้ต่อผู้
ถือหุ้นไม่ได้ตามสัญญากู้เงินและหุ้นกู้

บริษัท ทริสเรทติ้ง ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ (เครดิต) ของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเว
ล๊อปเมนต์ (ITD) เหลือ BBB- แนวโน้มเชิงลบ จากเดิมอยู่ที่ BBB แนวโน้มเสถียรภาพ เพราะสถานะ
การเงินของบริษัทอ่อนแออย่างมากหลังขาดทุนติดต่อกัน 6 ไตรมาส และมีภาระหนี้สูง โดยล่าสุดมีหนี้ 2.76
หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,557 ล้านบาท จากสิ้นปีที่ผ่านมา แต่มีกำไรจากการดำเนินงานไม่เพียงพอ

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: พุธ มิ.ย. 13, 2012 9:42 am
โดย pak
คลอดทีโออาร์แผนลงทุนน้ำเชิญมาประมูล [ โพสต์ทูเดย์, 13 มิ.ย. 55 ]

ครม.ไฟเขียวหลักการร่างทีโออาร์ลงทุนโครงการน้ำ 3 แสนล้านบาท

น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติ
เห็นชอบหลักการร่างทีโออาร์เชิญชวนที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญจัดการน้ำทั้งในและต่างประเทศมารับจ้าง
ทำโครงการระบบน้ำในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาใหญ่ ภายใต้การใช้วงเงินกู้จาก พ.ร.ก.กู้เงินฯ 3.5 แสนล้าน
บาท

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 15, 2012 9:59 am
โดย pak
ซิโนไทยมีกลยุทธ์เด็ด มีเงินซื้อเหล็กตุนรับงานใหญ่ ฝ่าต้นทุนสูงแบ็กล็อกกินยาว [ โพสต์ทูเดย์, 15 มิ.ย. 55 ]

STEC เน้นกลยุทธ์ตุนเงินสดเยอะ ซื้อเหล็กราคาถูกเก็บไว้ มีศักยภาพรับงานสูง อัตรากำไรสุทธิ
เท่าปีก่อน 6% แบ็กล็อกกินยาวถึงปีหน้า

นายวัลลภ รุ่งกิจวรเสถียร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น
(STEC) เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทยังคงเน้นการใช้กลยุทธ์ตุนเงินสดในมือให้มากที่สุด เพราะทำให้บริษัทมี
ศักยภาพในการรับงานและเป็นที่ไว้วางใจจากเจ้าของโครงการ เนื่องจากมีสภาพคล่องในการดำเนินการ
ก่อสร้าง ที่สำคัญจะทำให้บริษัทมีความพร้อมในการซื้อวัสดุก่อสร้างได้ทันเวลาเมื่อราคาปรับตัวลง เช่น
ราคาเหล็กลงบริษัทก็จะซื้อเก็บสต๊อกไว้

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 15, 2012 12:42 pm
โดย Tsurumi
ผมว่าเรามีบมจ.รับเหมาหลากหลายมาก ตั้งแต่งานธรรมดาๆ ไปถึงกลุ่มรับเหมางานพิเศษที่ไม่ใช่ว่าบริษัทอื่นๆจะเลียนแบบได้ ถ้ารู้จักงานรับเหมาแม่นๆก็ลงทุนได้ผลตอบแทน--ทั้งๆที่มีจุดอ่อนการบริหารกระแสเงินสด ก็พลาดทั้งบริษัทได้ สาเหตุหนึ่งเพราะไปบิดงานราคาต่ำๆเข้าตอนไม่ค่อยมีงาน พอในตลาดมีงานเยอะตัวเองก็หมดแค็บอีก ต้องทนหน้าดำหน้าแดงทำงานส่งอีกหกดือนถึงปีกว่าจะเสร็จ จะรับงานต่างประเทศก็ไม่มีศักยภาพพอ ตัวเลขไตรมาสจะออกแต่ไม่มีของดีอวด ก็สร้างสตอรี่ขึ้นใหม่ เวียนเทียนกันอยู่อย่างนี้ก็มี. ทำให้บางทีเรื่องดีๆเช่นมี backlog. มากๆกลับเป็นฝันร้ายให้กับคนลงทุนกันอีก. คิดไปก็นึกถึงข่าวว่า ตอนนี้ชาวนาและคนขับแท็กซี่เขาสามารถมีบัตรเครดิตกันได้แล้ว แต่ธนาคารก็ยังก็ยังไม่อยากออกบัตรเครดิตให้ผู้รับเหมาอีก (ด้วยความเคารพผู้รับเหมาครับ แต่เป็นข้อเท็จจริง บางธนาคารแจ้งว่ารายได้คุณมากมายแต่ไม่สม่ำเสมอ ฯลฯ)

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 18, 2012 9:31 am
โดย pak
'ก่อสร้างไทย' ขยับรับเออีซี ผุดใบรับรองช่างฝีมือนำร่อง [ กรุงเทพธุรกิจ, 18 มิ.ย. 55 ]

สถาบันการก่อสร้างฯ ชี้ ไทยต้องสร้างมาตรฐานก่อสร้างให้พร้อม ก่อนจะถึงกำหนดเปิดประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) แนวทางล่าสุดที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานวางไว้ คือ การออกใบรับรองช่างฝ่ามือ
ซึ่งคาดว่าจะนำมาใช้ในเดือน ก.ย.นี้ นำร่องเดินหน้าเปิดธนาคารเพื่อการก่อสร้าง ด้าน ส.อุตฯ ก่อสร้าง
ย้ำไทยต้องตั้งสภาก่อสร้างและยกร่างกฎหมายคุมมาตรฐานต่างชาติ