พี่สุมาอี้ เขียน:นโยบายแบบนี้ที่ผ่านมาไปได้สวย เพราะแม้ว่าเงินเดือนจะน้อย แต่ของก็มีราคาถูก คนในประเทศจึงไม่เดือดร้อนอะไร ในขณะเดียวกัน การจ้างงานก็มีมากเพราะต่างชาติมาลงทุนกันมากเพื่อเอาค่าแรงถูก ดูๆ ไปก็เป็นนโยบายที่ลงตัว แต่พอนานๆ เข้า ราคาสินค้าในประเทศอื่นๆ ในโลกซึ่งเขาไม่ได้ใช้นโยบายกดราคากันก็สูงขึ้นเรื่อยๆ จนเริ่มทิ้งห่างราคาสินค้าในบ้านเราไปอย่างมีนัยสำคัญ บังเอิญว่าเราต้องซึ้อสินค้าหลายอย่างจากต่างประเทศเสียด้วย ทั้งน้ำมัน แร่เหล็ก รวมไปถึงสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ ระดับราคาสินค้าและรายได้ในประเทศที่ต่ำกว่าตลาดโลกมาก ทำให้คนไทยต้องซื้อสินค้าเหล่านั้นในราคาที่แพงมาก ในขณะเดียวกัน เรายังขายสินค้าของเราในราคาถูกๆ ให้กับโลกเหมือนเดิม
ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเลิกกลยุทธ์กดราคา ขืนยังปล่อยให้ระดับรายได้และระดับราคาของไทยต่ำกว่าประเทศอื่นๆ เช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ คนไทยจะตายอย่างเขียดในที่สุด.
ฟังพี่สุมาอี้พูดแล้ว นึกถึงภาพประเทศจีนชัดเจนเลยครับ ใช้นโยบายสองต่ำ ทั้งราคาต่ำ+กดค่าเงินตัวเองให้ต่ำ ค่าแรงก็กดให้ต่ำ ทำของได้ขายดิบขายดี เศรษฐกิจเฟื่องฟู เงินทุนสำรองเป็นล้านล้านเหรียญ ในอนาคตจีนจะตายอย่างเขียดไหมครับ รู้สึกว่าราคาน้ำมันที่กดให้ต่ำในประเทศโดนโรงกลั่นประท้วงแล้ว
พี่สุมาอี้ เขียน:ผมเชื่อว่าถ้าเราปรับเงินเดือนให้คนในประเทศ เงินเฟ้อจะไม่เพิ่มขึ้นเท่าไรนัก เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อในปัจจุบันเป็นปัญหาที่มาจากภายนอกประเทศเป็นหลัก ตลาดในประเทศเองมีแต่ตัดราคากันรุนแรงมาก เงินจึงไม่ค่อยจะเฟ้ออยู่แล้ว
ปัญหานอกประเทศทำให้เงินเฟ้อ แล้วเราจะเพิ่มปัญหาเงินเฟ้อในประเทศซ้ำเข้าไปอีกเหรอครับ (มันคนละส่วนกันนะ) โดนทั่วไปการปรับขึ้นเงินเดือนเพื่อชดเชยเงินเฟ้อเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ถ้าปรับเกินเงินเฟ้อก็จะเป็นการเร่งให้เฟ้อหนักเข้า
เห็นในข่าวว่าคลังปรับขึ้นเพดานเงินเดือนส่วนราชการ 20% จากที่ไม่ได้ขึ้นมาเป็น 10 ปี
ไม่รู้จริงรึเปล่าเรื่อง 10 ปี เพราะผมไม่ทราบ แต่พิจารณาในส่วนเงินเฟ้อ 10 ปี นับจาก ปี 2541-2550 แล้ว
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น 18.1%
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น 27.8%
อัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารเพิ่มขึ้น 34.1%
การขึ้นเงินเดือนครั้งนี้ดูไม่สมเหตุสมผลนักเพราะน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ผมอยากให้ขึ้นอีก ทั้งค่าแรงขั้นต่ำด้วย
พี่สุมาอี้ เขียน:อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ย่อมมีข้อเสียอยู่ด้วย นั่นคือ ต่อไปนี้ ประเทศไทยก็จะมีความน่าสนใจในฐานะของ OEMers ในเวทีโลกน้อยลง เพราะคนของเรามีราคาแพงขึ้น เราคงต้องปรับตัวโดยหันไปสร้างจุดเด่นอย่างอื่นขึ้นมาทดแทน แต่ผมก็คิดว่า เราก็มีทางเลือกอื่นอยู่ไม่น้อย ราคาสินค้าเกษตรกำลังเป็นขาขึ้นพอดี แต่ไหนแต่ไรมา เราคือประเทศเกษตรกรรมอยู่แล้ว ถ้าในอนาคตสาวโรงงานต้องหันกลับไปเป็นเกษตรกรกัน ผมก็คิดว่าไม่ใช่เรื่องเสียหาย เป็นเรื่องดีด้วยซ้ำ เพราะเกษตรกรรมคือ strength ที่แท้จริงของประเทศไทย
ภาคเกษตรเป็นความมั่นคงของทุกๆ ประเทศ ไม่เฉพาะประเทศไทย อาหารเป็นรากฐานความมั่นคงของทุกๆ ประเทศ ผมอยากฟังพี่สุมาอี้กล่าวแก้เรื่องเราส่งออกได้เงินสุทธิจากภาคเกษตรเข้าประเทศแค่ 3.55 แสนล้านบาท จาก GDP 8.5 ล้านล้านบาทน่ะครับ ว่านำไปสู่ความมั่นคั่งของประเทศได้อย่างไร
พี่สุมาอี้ เขียน:ไม่อยากให้มองว่าเจ้าสัวพูดเพื่อตัวเอง โลกธุรกิจไม่ใช่ zero sum game ไม่ใช่ว่าคนหนึ่งได้ประโยชน์อีกคนจะต้องเสียประโยชน์เสมอไป แม้ว่าเจ้าสัวจะได้ประโยชน์จากการปล่อยให้ราคาสินค้าเกษตรลอยตัว แต่ประเทศไทยโดยรวมก็ได้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน (win-win) ไม่ต้องกลัวคนในประเทศซึ้อข้าวแพงแล้วจะลำบาก ลองดูประเทศอาหรับสิครับ เขาปล่อยให้ราคาน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าของประเทศเขาเองลอยตัว แล้วมันทำให้คนในประเทศของเขารวยหรือว่าจนล่ะครับ แขกเขารู้จักทำราคาสินค้าของเขาให้แพงๆ ก็เลยรวยเอา รวยเอา แต่บ้านเราพยายามทำราคาสินค้าของเราให้ถูกๆ ได้เงินมาก็เอาซื้อของที่ราคาแพงๆ ก็เลยจนเอา จนเอา อยู่อย่างนี้แหละครับ
ผมอธิบายเรื่องนี้เปรียบเทียบสูงเดียวกับสองสูงแล้ว ประเทศอาหรับรวยเพราะ
เขาได้เม็ดเงินใหม่จากต่างประเทศเข้าระบบ เขาปล่อยน้ำมันลอยตัวในประเทศได้เพราะรวยแล้ว การปล่อยลอยตัวเป็น
ผลครับ ไม่ใช่
เหตุ UAE มีประชากร 4 ล้านกว่าคนเท่านั้น แต่ไทยมีประชากรทะลุ 66 ล้านคนแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาฯ สินค้าเกษตรไทย ครึ่งหนึ่งเราบริโภคเอง ครึ่งหนึ่งส่งออก หักนำเข้าก็เหลือนิดเดียว เม็ดเงินใหม่นิดเดียว เราพายเรือในอ่าง รีดเลือดกับปูกับคนจนที่ต้องบริโภคอาหารในประเทศแล้วจะได้อะไรนักหนา
ที่กล่าวว่าเรื่องกลไกตลาดเป็นจุดอ่อนเพราะพี่สุมาอี้กล่าวขัดกันในตอนต้นกับตอนท้าย ถ้าเชื่อเรื่องกลไกตลาด เราต้องยอมรับความจริงว่า สินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่ไม่มีมูลค่าเพิ่ม ราคามันจะไม่สูงเพราะคนจนจำนวนมากในไทยและในโลกจะเป็นปัจจัยกดมันเอาไว้ ที่กล่าวไปนั้นไม่ใช่ว่าผมเห็นด้วยกับการให้ราคาสินค้าเกษตรต่ำนะครับ แต่การแก้ปัญหาด้วยกลไกตลาดนั้น ผมเสนอให้เราต้อง
ลดการผลิตสินค้าเกษตรลง ในเมื่อเราผลิตแค่ครึ่งหนึ่งก็พอกินพอใช้แล้ว ผลิตมากเกินไปกลไกตลาดก็กดให้ราคามันต่ำเหมือนที่ CP เจอในการทำเรื่องไก่ ผลผลิตลดลงราคาจะสูงขึ้นเอง เกษตรกรที่เคยทำงานมูลค่าต่ำอยู่ตลอดเวลาจะได้เปลี่ยนไปทำงานที่มูลค่าสูงขึ้น สิ่งที่ผมเสนอคล้ายๆ กับบทความที่ 124 เรื่องแบบจำลองประเทศของพี่สุมาอี้นั่นเอง
โครงสร้างเงินเดือนเป็นแบบนี้สืบเนื่องจากนโยบายดังที่พี่สุมาอี้กล่าว เงินเดือนต่ำจึงกลายเป็นผลไปแล้วครับ ไม่ใช่เหตุ เพราะระบบมันเกิดขึ้นแล้ว แล้วมันก็ดำรงอยู่ การปล่อยไปตามกลไกตลาดมันฟังดูดี แต่เมื่อไม่ได้เปลี่ยนระบบ โครงสร้างแบบเศรษฐกิจเดิมๆ นี้เองจึงเป็นกลไกตลาดที่จะกดให้เงินเดือนมันขึ้นไม่ได้ เม็ดเงินใหม่ก็ไม่ได้ไหลเข้าระบบ ถ้าจะขึ้นเงินเดือนเกินกว่าเงินเฟ้อก็ต้องกู้เอาเท่านั้น และสิ่งที่จะตามมาคือเงินเฟ้อที่หนักกว่าเดิม
เห็นด้วยครับว่าประเทศไทยหมดยุคที่จะสู้เรื่องค่าแรงแล้ว เราต้องเปลี่ยนนโยบายเราซะใหม่ แต่ค่าแรงนั้นพูดกันทีหลังได้เพราะถ้าเราทำงานที่ดีขึ้นมูลค่าสูงขึ้น เงินก็จะมาของมันเอง ซึ่งเป็นไปตามกลไกตลาด
แต่สำหรับพี่ๆ ทุกท่านที่สนับสนุนสองสูง
ผมอยากเห็นการพิสูจน์เรื่องสองสูงนี้ว่าประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษที่สมการแลกเปลี่ยนของ Irving Fisher ใช้ไม่ได้
เรื่องนี้สำคัญครับเพราะเราอาจจะได้ฉีกตำราเศรษฐศาสตร์ของอเมริกาทิ้งเลยถ้าพิสูจน์ได้จริง
อยากให้พี่สุมาอี้มาคุยด้วยจัง