$$ รวมหุ้น Turnaround $$
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 61
"โครงการเรื่องการลงทุนในการจัดหาน้ำจืดโดยผลิตจากน้ำทะเล
โดยใช้เรือที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงมากลั่นน้ำจืดจากน้ำทะเล
และเรือดังกล่าวมีศักยภาพในการจัดหาน้ำได้สูงสุด 150,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
โดยโครงการมีมูลค่าทั้งสิ้น 250 ล้านดอลล่าสหรัฐ ระยะเวลาของโครงการไม่เกิน 30 ปี
โดยบริษัทจะทำหน้าที่เป็นคนกลางในการรับซื้อและขายน้ำให้แก่ลูกค้าในพื้นที่เมืองพัทยา และเกาะสมุย"
"โครงการพลังงานสะอาด ที่ดำบลท่าแลง จังหวัดเพชรบุรี
โครงการได้เริ่มดำเนินการได้ระยะหนึ่ง โดยบริษัทได้มีความตั้งใจที่จะทำโครงการแปลงขยะเป็นพลังงานสะอาด
และได้มีการลงนามใจบันทึกความเข้าใจกับบริษัทในประเทศเยอรมันชื่อ WEHRLE Umwelt GmbH
ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตเครื่องจักรในการกำจัดขยะและแปลงขยะเป็น RDF เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการให้พลังงาน"
คุณเคยได้ยินไหมว่า...
"อัจฉริยะกับคนบ้า" ห่างกันเพียงเส้นบางๆเท่านั้น!!!
วันนี้ แม้คุณจะมองว่าเขาบ้า แต่ไม่แน่..เขาอาจเป็นอัจฉริยะก็ได้!!!
ซึ่งไม่ต่างอะไรกับหุ้น Turnaround เท่าไหร่นัก
ใครๆก็อยาก Turnaround ด้วยกันทั้งนั้น
"Story ต่างๆมากมายที่น่าสนใจ" และ กลยุทธ์ทางธุรกิจ และ Business Model ใหม่ๆ...จึงถูกคิดค้นขึ้น
และนำเสนอเรื่องราวเหล่านั้นออกมาแก่นักลงทุน
นี่คืออีกรูปแบบหนึ่งของการ Turnaround นั่นก็คือ "Implement New Business Model"
"จินตนาการ ,ความฝัน และความจริง" มันก็อยู่ห่างกันเพียงแค่เส้นบางๆเช่นเดียวกัน
การ Turnaround ของหุ้น ไม่ได้มีเพียงแค่ "การเปลี่ยน CEO , การปรับโครงสร้างทุน หรือการทำ Reorganization บริษัทฯ" เท่านั้น
แต่การ Implement New Business Model คือการ Turnaround ที่สำคัญอีกรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งมันเป็นการ Shift Paradigm รูปแบบการทำธุรกิจของบริษัทฯนั้นๆไปอย่างสิ้นเชิง
หลายๆบริษัทฯ ก็อยากจะพลิกฟื้นจากภาวะการขาดทุนกลับมามีกำไรอย่างยั่งยืนด้วยกันทั้งนั้น
แต่จะมีซักกี่บริษัทฯที่ทำได้จริง
จะมีซักกี่บริษัทฯ ที่จะสามารถกลับมามีกำไร ,สามารถกลับมาเข้มแข็ง และสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
"โอกาสมักแอบซ่อนตัวอยู่ภายในซอกมุมของวิกฤตเสมอ"
อยู่ที่ว่า...คุณจะเปิดใจให้โอกาสตัวเอง และให้โอกาสบริษัทฯเหล่านั้นหรือไม่?
หากคุณนั่งอ่านความฝันของบริษัทฯต่างๆ เสมือนอ่านนิยายชั้นดีซักเรื่อง
แล้วคุณก็แค่ เลือกที่จะเชื่อในเรื่องไหน? และเลือกที่จะเชื่อใคร?
ไม่แน่นะครับ นิยายบางเรื่อง มันอาจจะกลายเป็นเรื่องจริงในสักวันก็ได้
Enjoy กับการลงทุนครับผม (^_^)
ปล.
- ตัวอย่างแผนธุรกิจที่ผมยกตัวอย่างไว้ข้างต้น นำมาจากข่าวของบริษัท WIN
ที่ http://www.set.or.th/dat/news/201011/10037102.pdf
- วันนี้ผมแค่นึกอยากจะเขียนอะไรบางอย่าง ก็เลยเข้ามาเขียนเอาไว้สั้นๆอ่ะนะครับ
ถ้านึกออกอีก จะกลับมาเขียนใหม่นะครับ
โดยใช้เรือที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงมากลั่นน้ำจืดจากน้ำทะเล
และเรือดังกล่าวมีศักยภาพในการจัดหาน้ำได้สูงสุด 150,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
โดยโครงการมีมูลค่าทั้งสิ้น 250 ล้านดอลล่าสหรัฐ ระยะเวลาของโครงการไม่เกิน 30 ปี
โดยบริษัทจะทำหน้าที่เป็นคนกลางในการรับซื้อและขายน้ำให้แก่ลูกค้าในพื้นที่เมืองพัทยา และเกาะสมุย"
"โครงการพลังงานสะอาด ที่ดำบลท่าแลง จังหวัดเพชรบุรี
โครงการได้เริ่มดำเนินการได้ระยะหนึ่ง โดยบริษัทได้มีความตั้งใจที่จะทำโครงการแปลงขยะเป็นพลังงานสะอาด
และได้มีการลงนามใจบันทึกความเข้าใจกับบริษัทในประเทศเยอรมันชื่อ WEHRLE Umwelt GmbH
ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตเครื่องจักรในการกำจัดขยะและแปลงขยะเป็น RDF เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการให้พลังงาน"
คุณเคยได้ยินไหมว่า...
"อัจฉริยะกับคนบ้า" ห่างกันเพียงเส้นบางๆเท่านั้น!!!
วันนี้ แม้คุณจะมองว่าเขาบ้า แต่ไม่แน่..เขาอาจเป็นอัจฉริยะก็ได้!!!
ซึ่งไม่ต่างอะไรกับหุ้น Turnaround เท่าไหร่นัก
ใครๆก็อยาก Turnaround ด้วยกันทั้งนั้น
"Story ต่างๆมากมายที่น่าสนใจ" และ กลยุทธ์ทางธุรกิจ และ Business Model ใหม่ๆ...จึงถูกคิดค้นขึ้น
และนำเสนอเรื่องราวเหล่านั้นออกมาแก่นักลงทุน
นี่คืออีกรูปแบบหนึ่งของการ Turnaround นั่นก็คือ "Implement New Business Model"
"จินตนาการ ,ความฝัน และความจริง" มันก็อยู่ห่างกันเพียงแค่เส้นบางๆเช่นเดียวกัน
การ Turnaround ของหุ้น ไม่ได้มีเพียงแค่ "การเปลี่ยน CEO , การปรับโครงสร้างทุน หรือการทำ Reorganization บริษัทฯ" เท่านั้น
แต่การ Implement New Business Model คือการ Turnaround ที่สำคัญอีกรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งมันเป็นการ Shift Paradigm รูปแบบการทำธุรกิจของบริษัทฯนั้นๆไปอย่างสิ้นเชิง
หลายๆบริษัทฯ ก็อยากจะพลิกฟื้นจากภาวะการขาดทุนกลับมามีกำไรอย่างยั่งยืนด้วยกันทั้งนั้น
แต่จะมีซักกี่บริษัทฯที่ทำได้จริง
จะมีซักกี่บริษัทฯ ที่จะสามารถกลับมามีกำไร ,สามารถกลับมาเข้มแข็ง และสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
"โอกาสมักแอบซ่อนตัวอยู่ภายในซอกมุมของวิกฤตเสมอ"
อยู่ที่ว่า...คุณจะเปิดใจให้โอกาสตัวเอง และให้โอกาสบริษัทฯเหล่านั้นหรือไม่?
หากคุณนั่งอ่านความฝันของบริษัทฯต่างๆ เสมือนอ่านนิยายชั้นดีซักเรื่อง
แล้วคุณก็แค่ เลือกที่จะเชื่อในเรื่องไหน? และเลือกที่จะเชื่อใคร?
ไม่แน่นะครับ นิยายบางเรื่อง มันอาจจะกลายเป็นเรื่องจริงในสักวันก็ได้
Enjoy กับการลงทุนครับผม (^_^)
ปล.
- ตัวอย่างแผนธุรกิจที่ผมยกตัวอย่างไว้ข้างต้น นำมาจากข่าวของบริษัท WIN
ที่ http://www.set.or.th/dat/news/201011/10037102.pdf
- วันนี้ผมแค่นึกอยากจะเขียนอะไรบางอย่าง ก็เลยเข้ามาเขียนเอาไว้สั้นๆอ่ะนะครับ
ถ้านึกออกอีก จะกลับมาเขียนใหม่นะครับ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 62
value trap
-
- Verified User
- โพสต์: 39
- ผู้ติดตาม: 0
Re:
โพสต์ที่ 63
..turnaround จำกัดความว่ามาแล้ว ต้องไปกลับไปเหมือนเดิมด้วยภายในระยะเวลา ...chotipat เขียน:Turnaround กับ Growth มีประเด็นไหนที่แตกต่างกันบ้างครับ :?:
อาจจะต้องดูกันนานนิดนึงหรือเปล่า ???
การเติบโตของผลกำไรก็คือเจ้ามือที่ดีที่สุดในระยะยาว....
-
- Verified User
- โพสต์: 6
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 64
บริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผมเป็นซัพพลายเออร์ให้กับบริษัทนี้ หากใครจะลงทุุนต้องดูให้ดีๆ
บริษัทนี้จะมีโรงงานและบริษัทในเครือ อยู่หลายที่กระจายอยู่แถบบางปู โรงงานค่อนข้างเก่า ระบบการทำงานแบบครอบครัว จัดซื้อไม่มีการเปรียบเทียบราคาจะซื้ออยู่แต่เจ้าเดิม หนังสัตว์ส่วนใหญ่มาจากแอฟริกาแล้วนำมาฟอก และ
ยังมีธุรกิจอาหารสัตว์ด้วย เช่น กระดูกปลอมที่ทำจากหนัง
บริษัทนี้จะมีโรงงานและบริษัทในเครือ อยู่หลายที่กระจายอยู่แถบบางปู โรงงานค่อนข้างเก่า ระบบการทำงานแบบครอบครัว จัดซื้อไม่มีการเปรียบเทียบราคาจะซื้ออยู่แต่เจ้าเดิม หนังสัตว์ส่วนใหญ่มาจากแอฟริกาแล้วนำมาฟอก และ
ยังมีธุรกิจอาหารสัตว์ด้วย เช่น กระดูกปลอมที่ทำจากหนัง
โจ บางมด
- unnop.t
- Verified User
- โพสต์: 924
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 65
ขอให้ความเห็นเพิ่มเิติมหน่อยครับ .....ซึ่งไม่ต่างอะไรกับหุ้น Turnaround เท่าไหร่นัก
ใครๆก็อยาก Turnaround ด้วยกันทั้งนั้น
"Story ต่างๆมากมายที่น่าสนใจ" และ กลยุทธ์ทางธุรกิจ และ Business Model ใหม่ๆ...จึงถูกคิดค้นขึ้น
และนำเสนอเรื่องราวเหล่านั้นออกมาแก่นักลงทุน
นี่คืออีกรูปแบบหนึ่งของการ Turnaround นั่นก็คือ "Implement New Business Model"
"จินตนาการ ,ความฝัน และความจริง" มันก็อยู่ห่างกันเพียงแค่เส้นบางๆเช่นเดียวกัน
การ Turnaround ของหุ้น ไม่ได้มีเพียงแค่ "การเปลี่ยน CEO , การปรับโครงสร้างทุน หรือการทำ Reorganization บริษัทฯ" เท่านั้น
แต่การ Implement New Business Model คือการ Turnaround ที่สำคัญอีกรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งมันเป็นการ Shift Paradigm รูปแบบการทำธุรกิจของบริษัทฯนั้นๆไปอย่างสิ้นเชิง
การขายความฝันว่าด้วยการเปลี่ยน Business model ทุกบริษัทฯย่อมต้องขาย story ให้นักลงทุน และนักลงทุนจะฝันตาม
สิ่งที่แยกว่าความฝัน หรือความจริงที่เป็นไปได้ อยู่ที่ความเป็นเหตุเป็นผลของ business model นั้น องค์ประกอบหรือ infra structure
ของบริษัทไม่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด มันก็คือการขายฝันอย่างเดียว
เช่น บริษัทเป็นผู้ผลิตสินค้า แต่อยากเปลี่ยนมาทำตลาดค้าปลีกเอง ตั้งเป้าเติบโตเป็นเจ้าตลาดภายใน 2 ปี แต่ไม่ได้บอกเลยว่าจะสร้าง
distribution channel อย่างไร?
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
-
- Verified User
- โพสต์: 12
- ผู้ติดตาม: 0
Re:
โพสต์ที่ 66
คุณ pak ครับ CWT เข้าข่ายหรือเปล่าครับpak เขียน:"หุ้น Turnaround ตัวพ่อ...รู้ทันเจ้าของ"
ข้อความด้านบนที่ผมเขียนไว้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ หุ้น Turnaround แบบตรงไปตรงมา
แต่เพราะโลกวันนี้ วิศวกรรมศาสตร์ ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกใบนี้เปลี่ยนแปลงไป
ไม่เว้นแม้แต่วงการตลาดหุ้นของเรา
นั่นก็คือศาสตร์ที่เรียกว่า "Finance Engineering"
ซึ่งเป็นที่มาของบทความนี้ นั่นก็คือ "หุ้น Turnaround ตัวพ่อ...รู้ทันเจ้าของ"
สำหรับผมแล้ว "หุ้น Turnaround ตัวพ่อ" หรือ "หุ้น Turnaround แบบไม่ปกติ" นั่นก็คือ หุ้นที่เจ้าของมีเจตนาจงใจทำให้หุ้นของตัวเองตกต่ำลง โดยทำให้ผลประกอบการตัวเองดูแย่ลง เพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป
เช่น ต้องการซุกผลประกอบการที่ดีเอาไว้, ต้องการซื้อหุ้นของตัวเองในราคาที่ถูก หรือแม้แต่เพื่อผลประโยชน์ทางด้านภาษีของบริษัทฯ
อาทิเช่น การทำเทคนิค Cookie Jar Reserve ซึ่งมักจะมีการตั้งค่าเผื่อ หรือสำรองทางบัญชี ซึ่งมักจะทำให้กำไรในปัจจุบันลดลง แต่ในปีต่อๆไปอาจมีการกลับรายการ
และที่สำคัญที่สุดในวงการหุ้น Turnaround นั่นก็คือเทคนิคที่เรียกว่า "Big Bath"
ซึ่งก็คือ การล้างบางตัวเลขทางบัญชี เพื่อรอการ Turnaround รอบใหญ่
อาทิเช่น การตั้งสำรองหนี้สินเพื่อกดดันกำไรของบริษัทฯตัวเอง หรือการเอาของเสียๆมารวมกันครั้งใหญ่
และเหตุการณ์แบบนี้ จะทำให้เกิด Panic ในนักลงทุนรายย่อย และก็จะเข้าทางเจ้าของทันที
โดยมักจะเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ บริษัทฯมักจะเลือกใช้เทคนิคต่างๆเหล่านี้เพื่อตบตานักลงทุนรายย่อยทั่วไป
อย่างที่บอกครับ เพื่อผลประโยชน์ที่แตกต่างกันไป
แต่ถ้าเราสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ ในหุ้น Turnaround เจอแล้วหล่ะก็
นั่นแปลว่า คุณกำลังจะเจอกับ "หุ้น Turnaround ตัวพ่อ" เลยหล่ะครับ
นั่นแปลว่า "ได้ 2 เด้ง" ทั้ง Turnaround แบบ "ปกติ" และ "เจ้าของจงใจ(โดยวาง Road Map ไว้ทั้งหมดแล้ว)
ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้ว มันไม่ง่ายเลย ถ้าเราไม่มีข้อมูล Inside
เราคงทำได้แค่สังเกตจาก "งบการเงิน" และ "การซื้อขายหุ้นในกระดาน" เท่านั้นเอง
ผมเคยเห็นบริษัทฯพยายามซุกผลประกอบการที่ดีเอาไว้ จนมันไม่สามารถจะซุกได้อีกต่อไป (เรียกว่าผลประกอบการที่ดีกำลังจะระเบิดออกมา)
บางบริษัทฯซุกไม่ไหว จึงขอทำเรื่อง Tender Offer ออกจากตลาดหลักทรัพย์ไปเลยก็มี
และแน่นอนครับ ในราคาที่ต่ำกว่าพื้นฐานที่แท้จริง
แต่ถ้าบริษัทฯไม่ออกจากตลาดหลักทรัพย์ นั่นแหล่ะครับ "หุ้น Turnaround ตัวพ่อ...สุดยอดของสุดยอดหุ้น Turnaround"
และไม่ง่ายเลยที่จะค้นหาเจอ
แต่ที่แน่ๆ นอกจาก Criteria พื้นฐานในการดูหุ้น Turnaround แล้ว เราต้องรู้ทันเจ้าของด้วยนะครับ
ย้ำนะครับ ใน Case นี้ เราต้องเรียกว่า "รู้ทันเจ้าของ" ไม่ใช่ "เจ้ามือ" นะครับ
- Sorgios
- Verified User
- โพสต์: 368
- ผู้ติดตาม: 0
Re:
โพสต์ที่ 68
เห็นด้วยครับpak เขียน:ขอเขียนจากความเข้าใจส่วนตัวนะครับ เพราะผมก็เป็นอีกคนนึงที่หลงไหลหุ้นประเภทนี้อยู่มากๆเช่นกัน
ถ้าพูดถึง "หุ้น Turnaround" ก็ต้องนึกถึงคำสำคัญที่สุดคำหนึ่ง
นั่นก็คือคำว่า "จุดต่ำสุด" หรือ "จุดวกกลับ" นั่นเอง
คล้ายๆกับภาพ "กราฟพาราโบลาหงาย" ที่เราเรียนสมัยมัธยมอ่ะนะครับ
หุ้น Turnaround มี Criteria มากมายในการสังเกต
แต่มันต้องใช้ระยะเวลายาวนานเพียงพอ ในการ Confirm การเป็นหุ้น Turnaround จริงๆ
การลงทุนหุ้นประเภทนี้ มีผลตอบแทนที่ดีมากๆ
จะว่าไปแล้ว อาจจะมากพอๆกับหุ้น Super Stock เลยก็ว่าได้
เพราะระหว่าง การเติบโตจากสิ่งที่เลวร้าย(ฐานเก่าต่ำ) กับ การเติบโตจากสิ่งที่ดีอยู่แล้ว
สองอย่างนี้ มี Momentum ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย
แต่ปัญหาคือว่า เรามั่นใจได้แค่ไหนว่า หุ้นที่เราสนใจ จะเป็น "หุ้น Turnaround แท้" หรือเป็นแค่ "หุ้น Turnaround เก๊"
*** และสิ่งที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือ...
ระหว่างคำว่า "หุ้น Turnaround" กับคำว่า "หุ้นที่เข้าข่ายน่าจะ Turnaround"
สองคำนี้ความหมายต่างกันฟ้ากับเหวเลยนะครับ!!!
เพราะ"หุ้นที่เข้าข่ายน่าจะ Turnaround" มีมากมายอยู่เกลื่อนตลาด หรือบางคนอาจเรียกว่า "หุ้นก้นบุหรี่"
อาทิเช่น P/BV ต่ำ, ผลประกอบการเริ่มดีขึ้น จากขาดทุนเป็นกำไร, มีการปรับ Business Model ,มีการปรับโครงสร้างหนี้ หรือมี Hidden Asset มากมาย
แต่ในหุ้นจำนวนมากมายเหล่านี้...
คงมีเพียงแค่ไม่กี่ตัวที่จะเป็น "หุ้น Turnaroundแท้ๆ" ที่จะสามารถพลิกฟื้นได้อย่างแข็งแรง และยั่งยืน
และถ้าคุณค้นพบ มันจะเป็นหุ้นที่คุณจะถือได้อย่างมั่นใจและสบายใจในระยะยาว
ผมไม่เชื่อว่าจะมีใครมอง "หุ้น Turnaround" ออกได้ภายในไม่กี่วัน
เพราะผมมองว่า ระยะเวลาและผลประกอบการเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ "เพชรในตม" เม็ดนี้
การซื้อที่ "จุดวกกลับ" หรือ "จุดต่ำสุด" นั้น ว่ากันว่าเป็นสิ่งที่ยากมากแล้ว
แต่ผมว่า การซื้อก่อนถึงจุดวกกลับนั้นยากเย็นยิ่งกว่า
สิ่งที่น่าจะเป็นไปได้ที่สุด คือ...
"เราซื้อเมื่อมั่นใจว่า มันได้ผ่านจุดต่ำที่สุด" มาแล้ว และมันกำลังจะฟื้นตัวได้อีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งคุณต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า "เพราะอะไร?" มิใช่เพียงหลับหูหลับตาซื้อตามคนอื่น
สรุปว่าสำหรับผมแล้ว...
การลงทุนใน "หุ้น Turnaround" นั้นก็คือ "การซื้อของดีในราคาถูกเหลือเชื่อ" ก็เท่านั้นเองครับ
CHIN UP, Do not give up !!!
-
- Verified User
- โพสต์: 14
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 69
ที่น่าจับตา ส่วนตัวผมมอง CIMBT
เพราะกลุ่ม CIMB ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ถือว่าเป็นกลุ่มพลังทางการเงินที่ใหญ่
แต่ ณ ปัจจุบันยังถือได้ว่าอยู่ขั้นเริ่มต้นของการเตรียมความพร้อมมากกว่า
โดยเน้นการขยายสาขา มากกว่าการทำกำไร
และการได้ อ.สุภัค เป็นผู้บริหารผมคิดว่าเป็น Jigsaw ส่วนสำคัญสำหรับอนาคตของ CIMBT
แต่คงไม่ได้กลับตัวโดดเด่นภายในปีหน้า คาดว่าเป็น 2555 เป็นต้นไปเราน่าจะเห็นอะไรดีๆจาก CIMBT
เพราะกลุ่ม CIMB ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ถือว่าเป็นกลุ่มพลังทางการเงินที่ใหญ่
แต่ ณ ปัจจุบันยังถือได้ว่าอยู่ขั้นเริ่มต้นของการเตรียมความพร้อมมากกว่า
โดยเน้นการขยายสาขา มากกว่าการทำกำไร
และการได้ อ.สุภัค เป็นผู้บริหารผมคิดว่าเป็น Jigsaw ส่วนสำคัญสำหรับอนาคตของ CIMBT
แต่คงไม่ได้กลับตัวโดดเด่นภายในปีหน้า คาดว่าเป็น 2555 เป็นต้นไปเราน่าจะเห็นอะไรดีๆจาก CIMBT
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 73
Criteria ในการคัดเลือกหุ้น Turnaround
พอพูดถึงคำว่า "Criteria" ในการคัดเลือกหุ้น Turnaround หรือหุ้นที่เราจะลงทุนแล้ว
หลายคนอาจจะนึกถึงตัวเลขต่างๆ เช่น
- Revenue , expenses , Gross Profit Margin , P/E Ratio , Book Value , %ROE , Debt , Backlog
- จำนวนพนักงานที่ปรับลดลง และจำนวนลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น
- Cash Flow , ความสามารถในการชำระหนี้ หรือแม้แต่ผลประกอบการที่เริ่มมีแนวทางที่ดีขึ้น(หรือเริ่มฟื้นตัวขึ้น) และแนวโน้มในการจ่ายเงินปันผล
ในขณะที่บางคนอาจจะใช้กราฟ , ค่าเฉลี่ยต่างๆ และหลักการทาง Technical หรือแม้แต่ข้อมูลการซื้อขายของผู้บริหารฯ ในการช่วย Confirm การเป็นหุ้น Turnaround อีกทางหนึ่ง
ผมเองใช้ Criteria ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้นเกือบครบถ้วนครับ
แต่มากกว่านั้นผมมี Criteria อีก 3 ข้อก่อนตัดสินใจการลงทุน หรือ "ตีแตก" ในหุ้นใดๆก็ตาม
นั่นก็คือ "ความตื่นเต้น" , "ความศรัทธา" และ "ความผูกพัน"
ประเด็นที่ 1 คือ "ความตื่นเต้น"
ถ้าคุณอ่านงบการเงิน หรือฟอร์ม 56-1 แล้วรู้สึกเฉยๆ ก็แปลว่า "มันอาจจะไม่ใช่ล่ะ!!!"
เพราะถ้ามันจะเป็นหุ้น Turnaround จริงๆ ผมเชื่อว่า...คุณต้องรู้สึก "ตื่นเต้น!!!"
ตื่นเต้นประมาณว่า...
"เฮ้ย...ทำไมหุ้นดีๆแบบนี้ ราคามันถึงได้ถูกขนาดนี้ฟร่ะ!!!"
"ไม่ใช่ล่ะ...มันต้องมีอะไรผิดแน่ๆ ทำไมคนถึงมองข้ามหุ้นตัวนี้ไปได้ยังไงกันหว่า?"
"เมื่อไหร่จะสิบโมงเช้าฟร่ะ ชั้นอยากจะซื้อหุ้นตัวนี้จริงๆนะ สาธุขอให้มีคนตั้ง Offer เยอะๆทีเถิด"
"บริษัทฯนี้มันเยี่ยมจริงๆ...ฉันอยากเป็นเจ้าของบริษัทฯนี้จริงๆนะ แม้ว่าฉันจะต้องยอมขายหุ้นอีกบริษัทฯนึงที่ฉันรักมากๆออกมาบ้างก็ตาม"
"ถ้าจะให้ฉันสร้างธุรกิจดีๆแบบนี้ขึ้นมาเอง ฉันคงทำไม่ได้ หรือถ้าทำได้มันจะต้องใช้เงินมากกว่าที่จะซื้อหุ้นจากบนกระดานนี้มากมายนัก"
ผมเชื่อว่า...คุณต้องรู้สึก "ตื่นเต้น" ก่อนครับ
ประเด็นที่ 2 คือ "ความศรัทธา"
คุณต้องศรัทธาในอะไรซักอย่างของบริษัทฯนั้น
อาทิเช่น...
คุณอาจจะศรัทธาใน "ตัวสินค้าและบริการของบริษัท , งบการเงิน , Business Model , ระบบ Supply Chain , ความสามารถในการทำกำไร , ความสามารถในการขยายเครือข่าย หรือแม้แต่ Hidden Asset ของบริษัทฯนั้นๆ"
คุณอาจจะศรัทธาใน "Brand ของบริษัทฯนั้นๆ"
คุณอาจศรัทธาใน "การสร้างธุรกิจและประวัติความเป็นมาของบริษัทฯนั้นๆ"
คุณอาจศรัทธาและชื่นชอบใน "การปรับโครงสร้างองค์กร (Reorganization)"
คุณอาจศรัทธาใน "Vision , Mission หรือ Objective ขององค์กร"
หรือแม้แต่คุณอาจจะศรัทธาในตัวของ "ผู้นำ ,เจ้าของ หรือ CEO"
ผมเชื่อว่าคุณควรจะต้อง "ศรัทธา" ในอะไรซักอย่าง ก่อนที่คุณจะเลือกหุ้นตัวนั้นเข้ามาไว้ในพอร์ตของคุณ
ประเด็นที่ 3 คือ "ความผูกพัน"
ถ้าคุณยังมี "ความกลัว , ความหวั่นไหว หรือแม้แต่ขายหมู" ออกไป
แปลว่าคุณยัง "ผูกพัน" กับมันไม่เพียงพอ...
"ถ้ามันเป็นหุ้น Turnaround ที่ดีจริง คุณจะไม่อยากทำกำไรบนมัน
แต่คุณจะรู้สึกว่า อยากเติบโตไปพร้อมๆกับมัน!!!"
เปรียบเสมือนการปลูกต้นไม้ต้นหนึ่ง และเรานั่งเฝ้ามองการเติบโตของมันอย่างเชื่องช้า วันข้ามวัน เดือนข้ามเดือน ปีข้ามปี
นั่นคือ ความผูกพัน ที่คุณมีต่อความตื่นเต้นและความศรัทธาสำหรับ "บริษัทฯในฝัน" ของคุณเอง
แต่ท้ายที่สุด...
"ต้นไม้ที่เราเฝ้านั่งมอง มันจะออกดอกออกผลบานสพรั่ง หรืออาจจะเหี่ยวตายคาต้น ก็คงยังไม่มีใครรู้ได้แน่นอน เพราะการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ!!!"
สำหรับคำตอบสุดท้าย...คงต้องถามหัวใจของตัวคุณเองแล้วหล่ะครับ (^_^)
By : pak
พอพูดถึงคำว่า "Criteria" ในการคัดเลือกหุ้น Turnaround หรือหุ้นที่เราจะลงทุนแล้ว
หลายคนอาจจะนึกถึงตัวเลขต่างๆ เช่น
- Revenue , expenses , Gross Profit Margin , P/E Ratio , Book Value , %ROE , Debt , Backlog
- จำนวนพนักงานที่ปรับลดลง และจำนวนลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น
- Cash Flow , ความสามารถในการชำระหนี้ หรือแม้แต่ผลประกอบการที่เริ่มมีแนวทางที่ดีขึ้น(หรือเริ่มฟื้นตัวขึ้น) และแนวโน้มในการจ่ายเงินปันผล
ในขณะที่บางคนอาจจะใช้กราฟ , ค่าเฉลี่ยต่างๆ และหลักการทาง Technical หรือแม้แต่ข้อมูลการซื้อขายของผู้บริหารฯ ในการช่วย Confirm การเป็นหุ้น Turnaround อีกทางหนึ่ง
ผมเองใช้ Criteria ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้นเกือบครบถ้วนครับ
แต่มากกว่านั้นผมมี Criteria อีก 3 ข้อก่อนตัดสินใจการลงทุน หรือ "ตีแตก" ในหุ้นใดๆก็ตาม
นั่นก็คือ "ความตื่นเต้น" , "ความศรัทธา" และ "ความผูกพัน"
ประเด็นที่ 1 คือ "ความตื่นเต้น"
ถ้าคุณอ่านงบการเงิน หรือฟอร์ม 56-1 แล้วรู้สึกเฉยๆ ก็แปลว่า "มันอาจจะไม่ใช่ล่ะ!!!"
เพราะถ้ามันจะเป็นหุ้น Turnaround จริงๆ ผมเชื่อว่า...คุณต้องรู้สึก "ตื่นเต้น!!!"
ตื่นเต้นประมาณว่า...
"เฮ้ย...ทำไมหุ้นดีๆแบบนี้ ราคามันถึงได้ถูกขนาดนี้ฟร่ะ!!!"
"ไม่ใช่ล่ะ...มันต้องมีอะไรผิดแน่ๆ ทำไมคนถึงมองข้ามหุ้นตัวนี้ไปได้ยังไงกันหว่า?"
"เมื่อไหร่จะสิบโมงเช้าฟร่ะ ชั้นอยากจะซื้อหุ้นตัวนี้จริงๆนะ สาธุขอให้มีคนตั้ง Offer เยอะๆทีเถิด"
"บริษัทฯนี้มันเยี่ยมจริงๆ...ฉันอยากเป็นเจ้าของบริษัทฯนี้จริงๆนะ แม้ว่าฉันจะต้องยอมขายหุ้นอีกบริษัทฯนึงที่ฉันรักมากๆออกมาบ้างก็ตาม"
"ถ้าจะให้ฉันสร้างธุรกิจดีๆแบบนี้ขึ้นมาเอง ฉันคงทำไม่ได้ หรือถ้าทำได้มันจะต้องใช้เงินมากกว่าที่จะซื้อหุ้นจากบนกระดานนี้มากมายนัก"
ผมเชื่อว่า...คุณต้องรู้สึก "ตื่นเต้น" ก่อนครับ
ประเด็นที่ 2 คือ "ความศรัทธา"
คุณต้องศรัทธาในอะไรซักอย่างของบริษัทฯนั้น
อาทิเช่น...
คุณอาจจะศรัทธาใน "ตัวสินค้าและบริการของบริษัท , งบการเงิน , Business Model , ระบบ Supply Chain , ความสามารถในการทำกำไร , ความสามารถในการขยายเครือข่าย หรือแม้แต่ Hidden Asset ของบริษัทฯนั้นๆ"
คุณอาจจะศรัทธาใน "Brand ของบริษัทฯนั้นๆ"
คุณอาจศรัทธาใน "การสร้างธุรกิจและประวัติความเป็นมาของบริษัทฯนั้นๆ"
คุณอาจศรัทธาและชื่นชอบใน "การปรับโครงสร้างองค์กร (Reorganization)"
คุณอาจศรัทธาใน "Vision , Mission หรือ Objective ขององค์กร"
หรือแม้แต่คุณอาจจะศรัทธาในตัวของ "ผู้นำ ,เจ้าของ หรือ CEO"
ผมเชื่อว่าคุณควรจะต้อง "ศรัทธา" ในอะไรซักอย่าง ก่อนที่คุณจะเลือกหุ้นตัวนั้นเข้ามาไว้ในพอร์ตของคุณ
ประเด็นที่ 3 คือ "ความผูกพัน"
ถ้าคุณยังมี "ความกลัว , ความหวั่นไหว หรือแม้แต่ขายหมู" ออกไป
แปลว่าคุณยัง "ผูกพัน" กับมันไม่เพียงพอ...
"ถ้ามันเป็นหุ้น Turnaround ที่ดีจริง คุณจะไม่อยากทำกำไรบนมัน
แต่คุณจะรู้สึกว่า อยากเติบโตไปพร้อมๆกับมัน!!!"
เปรียบเสมือนการปลูกต้นไม้ต้นหนึ่ง และเรานั่งเฝ้ามองการเติบโตของมันอย่างเชื่องช้า วันข้ามวัน เดือนข้ามเดือน ปีข้ามปี
นั่นคือ ความผูกพัน ที่คุณมีต่อความตื่นเต้นและความศรัทธาสำหรับ "บริษัทฯในฝัน" ของคุณเอง
แต่ท้ายที่สุด...
"ต้นไม้ที่เราเฝ้านั่งมอง มันจะออกดอกออกผลบานสพรั่ง หรืออาจจะเหี่ยวตายคาต้น ก็คงยังไม่มีใครรู้ได้แน่นอน เพราะการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ!!!"
สำหรับคำตอบสุดท้าย...คงต้องถามหัวใจของตัวคุณเองแล้วหล่ะครับ (^_^)
By : pak
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 74
ผมชอบบทความนี้มากๆ ครับ ขออนุญาติ เอาไป ฝากในห้อง JAS กับ RS หน่อยได้ไหมครับpak เขียน:Criteria ในการคัดเลือกหุ้น Turnaround
พอพูดถึงคำว่า "Criteria" ในการคัดเลือกหุ้น Turnaround หรือหุ้นที่เราจะลงทุนแล้ว
หลายคนอาจจะนึกถึงตัวเลขต่างๆ เช่น
- Revenue , expenses , Gross Profit Margin , P/E Ratio , Book Value , %ROE , Debt , Backlog
- จำนวนพนักงานที่ปรับลดลง และจำนวนลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น
- Cash Flow , ความสามารถในการชำระหนี้ หรือแม้แต่ผลประกอบการที่เริ่มมีแนวทางที่ดีขึ้น(หรือเริ่มฟื้นตัวขึ้น) และแนวโน้มในการจ่ายเงินปันผล
ในขณะที่บางคนอาจจะใช้กราฟ , ค่าเฉลี่ยต่างๆ และหลักการทาง Technical หรือแม้แต่ข้อมูลการซื้อขายของผู้บริหารฯ ในการช่วย Confirm การเป็นหุ้น Turnaround อีกทางหนึ่ง
ผมเองใช้ Criteria ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้นเกือบครบถ้วนครับ
แต่มากกว่านั้นผมมี Criteria อีก 3 ข้อก่อนตัดสินใจการลงทุน หรือ "ตีแตก" ในหุ้นใดๆก็ตาม
นั่นก็คือ "ความตื่นเต้น" , "ความศรัทธา" และ "ความผูกพัน"
ประเด็นที่ 1 คือ "ความตื่นเต้น"
ถ้าคุณอ่านงบการเงิน หรือฟอร์ม 56-1 แล้วรู้สึกเฉยๆ ก็แปลว่า "มันอาจจะไม่ใช่ล่ะ!!!"
เพราะถ้ามันจะเป็นหุ้น Turnaround จริงๆ ผมเชื่อว่า...คุณต้องรู้สึก "ตื่นเต้น!!!"
ตื่นเต้นประมาณว่า...
"เฮ้ย...ทำไมหุ้นดีๆแบบนี้ ราคามันถึงได้ถูกขนาดนี้ฟร่ะ!!!"
"ไม่ใช่ล่ะ...มันต้องมีอะไรผิดแน่ๆ ทำไมคนถึงมองข้ามหุ้นตัวนี้ไปได้ยังไงกันหว่า?"
"เมื่อไหร่จะสิบโมงเช้าฟร่ะ ชั้นอยากจะซื้อหุ้นตัวนี้จริงๆนะ สาธุขอให้มีคนตั้ง Offer เยอะๆทีเถิด"
"บริษัทฯนี้มันเยี่ยมจริงๆ...ฉันอยากเป็นเจ้าของบริษัทฯนี้จริงๆนะ แม้ว่าฉันจะต้องยอมขายหุ้นอีกบริษัทฯนึงที่ฉันรักมากๆออกมาบ้างก็ตาม"
"ถ้าจะให้ฉันสร้างธุรกิจดีๆแบบนี้ขึ้นมาเอง ฉันคงทำไม่ได้ หรือถ้าทำได้มันจะต้องใช้เงินมากกว่าที่จะซื้อหุ้นจากบนกระดานนี้มากมายนัก"
ผมเชื่อว่า...คุณต้องรู้สึก "ตื่นเต้น" ก่อนครับ
ประเด็นที่ 2 คือ "ความศรัทธา"
คุณต้องศรัทธาในอะไรซักอย่างของบริษัทฯนั้น
อาทิเช่น...
คุณอาจจะศรัทธาใน "ตัวสินค้าและบริการของบริษัท , งบการเงิน , Business Model , ระบบ Supply Chain , ความสามารถในการทำกำไร , ความสามารถในการขยายเครือข่าย หรือแม้แต่ Hidden Asset ของบริษัทฯนั้นๆ"
คุณอาจจะศรัทธาใน "Brand ของบริษัทฯนั้นๆ"
คุณอาจศรัทธาใน "การสร้างธุรกิจและประวัติความเป็นมาของบริษัทฯนั้นๆ"
คุณอาจศรัทธาและชื่นชอบใน "การปรับโครงสร้างองค์กร (Reorganization)"
คุณอาจศรัทธาใน "Vision , Mission หรือ Objective ขององค์กร"
หรือแม้แต่คุณอาจจะศรัทธาในตัวของ "ผู้นำ ,เจ้าของ หรือ CEO"
ผมเชื่อว่าคุณควรจะต้อง "ศรัทธา" ในอะไรซักอย่าง ก่อนที่คุณจะเลือกหุ้นตัวนั้นเข้ามาไว้ในพอร์ตของคุณ
ประเด็นที่ 3 คือ "ความผูกพัน"
ถ้าคุณยังมี "ความกลัว , ความหวั่นไหว หรือแม้แต่ขายหมู" ออกไป
แปลว่าคุณยัง "ผูกพัน" กับมันไม่เพียงพอ...
"ถ้ามันเป็นหุ้น Turnaround ที่ดีจริง คุณจะไม่อยากทำกำไรบนมัน
แต่คุณจะรู้สึกว่า อยากเติบโตไปพร้อมๆกับมัน!!!"
เปรียบเสมือนการปลูกต้นไม้ต้นหนึ่ง และเรานั่งเฝ้ามองการเติบโตของมันอย่างเชื่องช้า วันข้ามวัน เดือนข้ามเดือน ปีข้ามปี
นั่นคือ ความผูกพัน ที่คุณมีต่อความตื่นเต้นและความศรัทธาสำหรับ "บริษัทฯในฝัน" ของคุณเอง
แต่ท้ายที่สุด...
"ต้นไม้ที่เราเฝ้านั่งมอง มันจะออกดอกออกผลบานสพรั่ง หรืออาจจะเหี่ยวตายคาต้น ก็คงยังไม่มีใครรู้ได้แน่นอน เพราะการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ!!!"
สำหรับคำตอบสุดท้าย...คงต้องถามหัวใจของตัวคุณเองแล้วหล่ะครับ (^_^)
By : pak
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 75
ฮั่นแน่....คุณ pak อยู่ในห้อง pantip ด้วยใช่ไหม
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 69785.html
ถ้าไม่ใช่แสดงว่า Bata (Again-With-Love) กำลังเข้าข่าย plagiarism
ถ้าใช่ใช้ชื่อบาจา แสดงว่ามีความหลังกับหุ้นกิจการอายุยืนยาวบริษัทนี้
น่าจะตรงกับ rep ก่อน ที่บอกว่า
ไม่รู้ว่าคุณ pak ประวัติหวานหรือขมขื่นกับ Tender Offer เพราะผมได้ยินมาเลาๆ เกี่ยวกับ Bata ว่าคนบ่นเสียดายไปเยอะ
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 69785.html
ถ้าไม่ใช่แสดงว่า Bata (Again-With-Love) กำลังเข้าข่าย plagiarism
ถ้าใช่ใช้ชื่อบาจา แสดงว่ามีความหลังกับหุ้นกิจการอายุยืนยาวบริษัทนี้
น่าจะตรงกับ rep ก่อน ที่บอกว่า
และบทสรุปpak เขียน:"หุ้น Turnaround ตัวพ่อ...รู้ทันเจ้าของ"
ผมเคยเห็นบริษัทฯพยายามซุกผลประกอบการที่ดีเอาไว้ จนมันไม่สามารถจะซุกได้อีกต่อไป (เรียกว่าผลประกอบการที่ดีกำลังจะระเบิดออกมา)
บางบริษัทฯซุกไม่ไหว จึงขอทำเรื่อง Tender Offer ออกจากตลาดหลักทรัพย์ไปเลยก็มี
และแน่นอนครับ ในราคาที่ต่ำกว่าพื้นฐานที่แท้จริง
pak เขียน:"หุ้น Turnaround ตัวพ่อ...รู้ทันเจ้าของ"
ย้ำนะครับ ใน Case นี้ เราต้องเรียกว่า "รู้ทันเจ้าของ" ไม่ใช่ "เจ้ามือ" นะครับ
ไม่รู้ว่าคุณ pak ประวัติหวานหรือขมขื่นกับ Tender Offer เพราะผมได้ยินมาเลาๆ เกี่ยวกับ Bata ว่าคนบ่นเสียดายไปเยอะ
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 76
1) ยินดีครับ K.dome@perth
2) แหม K.Ii'8N รู้ทันทุกเรื่องเลยอ่ะ
ชื่อ Bata(Again-With-Love) กับ pak ก็คนเดียวกันทั้งหมดแล่ะครับ
สำหรับชื่อ Bata เป็นชื่อที่ใช้ใน Pantip.com ครับ ทั้งการตอบกระทู้และในห้อง Chat
สำหรับชื่อ pak เป็นชื่อที่ใช้ใน ThaiVI ครับผม มาจากหุ้นตัวแรกที่ผมสนใจและเข้าลงทุน คือ L&E
โดยดัดแปลงมาจากชื่อของท่านประธาน คือ Mr. Pakorn Borimasporn อ่ะนะขอรับ
(^_^)
2) แหม K.Ii'8N รู้ทันทุกเรื่องเลยอ่ะ
ชื่อ Bata(Again-With-Love) กับ pak ก็คนเดียวกันทั้งหมดแล่ะครับ
สำหรับชื่อ Bata เป็นชื่อที่ใช้ใน Pantip.com ครับ ทั้งการตอบกระทู้และในห้อง Chat
สำหรับชื่อ pak เป็นชื่อที่ใช้ใน ThaiVI ครับผม มาจากหุ้นตัวแรกที่ผมสนใจและเข้าลงทุน คือ L&E
โดยดัดแปลงมาจากชื่อของท่านประธาน คือ Mr. Pakorn Borimasporn อ่ะนะขอรับ
(^_^)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 77
ปล.
อีกประการหนึ่ง ผมมองว่า...
"ถ้าเราจะซื้อหุ้น Turnaround ซักตัว เราจะต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้อย่างน้อย 2 ข้อ คือ
1. ที่ผ่านมามันเจ๊งเพราะอะไร?
2. แล้วอนาคตข้างหน้า...มันจะฟื้นขึ้นมาได้ ด้วยเหตุผลอะไร?"
ถ้าตอบ 2 คำถามนี้ได้ค่อนข้างชัดเจนแล้วหล่ะก็
ต้องบอกว่า..."ก็แล้วจะรออะไรหล่ะครับ"
(^_^)
อีกประการหนึ่ง ผมมองว่า...
"ถ้าเราจะซื้อหุ้น Turnaround ซักตัว เราจะต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้อย่างน้อย 2 ข้อ คือ
1. ที่ผ่านมามันเจ๊งเพราะอะไร?
2. แล้วอนาคตข้างหน้า...มันจะฟื้นขึ้นมาได้ ด้วยเหตุผลอะไร?"
ถ้าตอบ 2 คำถามนี้ได้ค่อนข้างชัดเจนแล้วหล่ะก็
ต้องบอกว่า..."ก็แล้วจะรออะไรหล่ะครับ"
(^_^)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 78
คือผมเห็นกระทู้ใน pantip เมื่อวาน คุ้นๆว่าเคยผ่านตาใน ThaiVI อ่านมาตั้งแต่ต้น
กลับมาดูปรากฎว่าเป็นเนื้อหาเดียวกัน จริงๆ
ชอบครับ ...ได้ย้ำแนว turnaround จากการที่เคยอ่านกระทู้ของพี่หมอสามัญชนและอ่านหนังสือ Peter Lynch ที่อ.นิเวศน์แปล
มาเพิ่มความรู้จากประสบการณ์คุณ pak จะได้ไม่ติดกับของงบการเงินด้วย
กลับมาดูปรากฎว่าเป็นเนื้อหาเดียวกัน จริงๆ
ชอบครับ ...ได้ย้ำแนว turnaround จากการที่เคยอ่านกระทู้ของพี่หมอสามัญชนและอ่านหนังสือ Peter Lynch ที่อ.นิเวศน์แปล
มาเพิ่มความรู้จากประสบการณ์คุณ pak จะได้ไม่ติดกับของงบการเงินด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 80
บางทีก็เขียนเองบ้าง
แต่วันนี้ขอลอกเค้ามาบ้างนะขอรับ
จะได้เป็นแหล่งรวมข้อมูลเรื่อง Turnaround Stock ครับผม
==============================================
Subject : ถือหุ้นตามพฤติกรรม
“เนี่ยะ พอร์ตของป้ามีแต่หุ้นเน่าๆ” ป้าคนนึงทำหน้าตาซึมเศร้า เล่าเรื่องพอร์ตลงทุน
“อ้าว แล้วทำไมคุณป้าไม่ซื้อหุ้นที่ไม่เน่าล่ะครับ” ผมสมองช้า เลยถามกลับไปอย่างนั้น
“ปตท. ปูนต์ใหญ่ แบ็งค์กรุงเทพ ป๋าก็มี ป้าเห็นว่าได้กำไรแล้ว 3-4 บาท ป้าก็ขาย ส่วนที่เหลืออยู่ มันขายไม่ได้ มันขาดทุน เลยถือไว้ก่อน นี่ ดูสิ ตอนนี้ ในพอร์ตป้าขาดทุนไป 46% แล้ว” ป้ากางพอร์ตให้ดูตัวเลขสีแดง
ท่านเป็นคนหนึ่งหรือเปล่า ที่นิยม “ลงทุน” ในหุ้นเก็งกำไร และ “เทรดดิ้ง” ในหุ้นบลูชิพ!
Peter Lynch อัครมหาเศรษฐีหุ้นระดับโลก แยกนโยบายการลงทุนตามพฤติกรรมหุ้นออกจากกันอย่างชัดเจน เรามาดูกันว่าในพอร์ตของ Peter Lynch มีหุ้นประเภทไหนอยู่มั่ง
หุ้นห่านทองคำ มีพฤติกรรมราคาเฉื่อยๆ ราคาหุ้นนิ่งๆหรือโตแบบเนิบๆ แต่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ หุ้นกลุ่มนี้ Peter Lynch จะถือไปเรื่อยๆ ตราบใดที่อัตราเงินปันผลที่ได้รับ ยังสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ
หุ้นบลูชิพ มีพฤติกรรมราคาโตแบบเนิบๆ ไม่ก้าวกระโดดให้หวือหวาตื่นเต้นมากนัก แต่มีความทนทานสูงเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ หุ้นกลุ่มนี้ Peter Lynch จะถือไปเรื่อยๆตราบใดที่ราคาหุ้นยังไม่ overpriced
หุ้นมาเป็นรอบ มีพฤติกรรมราคามาเป็นรอบๆ พอถึงรอบขาขึ้น มันก็จะขึ้นๆๆ พอถึงรอบขาลง มันก็จะลงๆๆ หุ้นกลุ่มนี้ เช่น หุ้นกลุ่มปิโตรเคมี หุ้นกลุ่มเดินเรือ Peter Lynch จะซื้อเมื่อวัฏจักรเข้าสู่ช่วงเริ่มฟื้นตัว และจะขายออกไปเมื่อวัฏจักรเข้าสู่ช่วงพีค
Growth Stock มีพฤติกรรมราคาโตก้าวกระโดด วิ่งขึ้นไปเรื่อยๆเหมือนโดนกระทิงขวิด โดยมากเป็นหุ้นของบริษัทที่นำเสนอ นวัตกรรม หรือ บริษัทที่มีผลประกอบการก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ หุ้นบริษัท Texas Instrument ซึ่ง Philip A. Fisher ผู้เชี่ยวชาญด้าน Growth Stock เคยเข้าไปลงทุนตั้งแต่ราคายังไม่ถึง 3 เหรียญและขายออกไปเมื่อราคาวิ่งเลย 200 เหรียญ หุ้นกลุ่มนี้ Peter Lynch จะซื้อเมื่อผลประกอบการเริ่มมีแนวโน้มก้าวกระโดด และจะขายออกไปเมื่อราคาขึ้นสูงมากจนค่าพีอีขึ้นสูงกว่า growth rate
Turnaround Stock มีพฤติกรรมราคาเหมือนผีตายซากในช่วงต้น แล้วโตก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วเหมือนตายแล้วเกิดใหม่ หุ้นกลุ่มนี้อยู่ใน industry ที่มีอนาคต และ ตัวบริษัทเองก็ยังมีอนาคต หากได้รับการแก้ไขปัญหาทางการเงินจนลุล่วงไปได้ด้วยดี หุ้นกลุ่มนี้สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างมหาศาล หากฟื้นตัวได้ดังคาด เข้าข่ายประเภท high risk, high returns อย่างเต็มรูปแบบ
หุ้นกลุ่มไหนควรถือ ก็อย่ารีบขายทิ้งทำกำไร หุ้นกลุ่มไหนควรขาย ก็ขายออกแล้วถือเงินสดเพื่อรอซื้อตัวใหม่ที่มีอนาคต และ หุ้นกลุ่มไหน ต้องตัดขาดทุน ก็รีบตัดขาดทุนนะ อย่าไปถือลงทุน ….. Peter Lynch สรุป ในรายงานฉบับหนึ่ง
ติดตามแนวโน้มตลาดและหุ้นเด่นรายวันได้ที่
http://www.ThaiDayTrade.com
Source : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id ... 5&gblog=19
แต่วันนี้ขอลอกเค้ามาบ้างนะขอรับ
จะได้เป็นแหล่งรวมข้อมูลเรื่อง Turnaround Stock ครับผม
==============================================
Subject : ถือหุ้นตามพฤติกรรม
“เนี่ยะ พอร์ตของป้ามีแต่หุ้นเน่าๆ” ป้าคนนึงทำหน้าตาซึมเศร้า เล่าเรื่องพอร์ตลงทุน
“อ้าว แล้วทำไมคุณป้าไม่ซื้อหุ้นที่ไม่เน่าล่ะครับ” ผมสมองช้า เลยถามกลับไปอย่างนั้น
“ปตท. ปูนต์ใหญ่ แบ็งค์กรุงเทพ ป๋าก็มี ป้าเห็นว่าได้กำไรแล้ว 3-4 บาท ป้าก็ขาย ส่วนที่เหลืออยู่ มันขายไม่ได้ มันขาดทุน เลยถือไว้ก่อน นี่ ดูสิ ตอนนี้ ในพอร์ตป้าขาดทุนไป 46% แล้ว” ป้ากางพอร์ตให้ดูตัวเลขสีแดง
ท่านเป็นคนหนึ่งหรือเปล่า ที่นิยม “ลงทุน” ในหุ้นเก็งกำไร และ “เทรดดิ้ง” ในหุ้นบลูชิพ!
Peter Lynch อัครมหาเศรษฐีหุ้นระดับโลก แยกนโยบายการลงทุนตามพฤติกรรมหุ้นออกจากกันอย่างชัดเจน เรามาดูกันว่าในพอร์ตของ Peter Lynch มีหุ้นประเภทไหนอยู่มั่ง
หุ้นห่านทองคำ มีพฤติกรรมราคาเฉื่อยๆ ราคาหุ้นนิ่งๆหรือโตแบบเนิบๆ แต่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ หุ้นกลุ่มนี้ Peter Lynch จะถือไปเรื่อยๆ ตราบใดที่อัตราเงินปันผลที่ได้รับ ยังสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ
หุ้นบลูชิพ มีพฤติกรรมราคาโตแบบเนิบๆ ไม่ก้าวกระโดดให้หวือหวาตื่นเต้นมากนัก แต่มีความทนทานสูงเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ หุ้นกลุ่มนี้ Peter Lynch จะถือไปเรื่อยๆตราบใดที่ราคาหุ้นยังไม่ overpriced
หุ้นมาเป็นรอบ มีพฤติกรรมราคามาเป็นรอบๆ พอถึงรอบขาขึ้น มันก็จะขึ้นๆๆ พอถึงรอบขาลง มันก็จะลงๆๆ หุ้นกลุ่มนี้ เช่น หุ้นกลุ่มปิโตรเคมี หุ้นกลุ่มเดินเรือ Peter Lynch จะซื้อเมื่อวัฏจักรเข้าสู่ช่วงเริ่มฟื้นตัว และจะขายออกไปเมื่อวัฏจักรเข้าสู่ช่วงพีค
Growth Stock มีพฤติกรรมราคาโตก้าวกระโดด วิ่งขึ้นไปเรื่อยๆเหมือนโดนกระทิงขวิด โดยมากเป็นหุ้นของบริษัทที่นำเสนอ นวัตกรรม หรือ บริษัทที่มีผลประกอบการก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ หุ้นบริษัท Texas Instrument ซึ่ง Philip A. Fisher ผู้เชี่ยวชาญด้าน Growth Stock เคยเข้าไปลงทุนตั้งแต่ราคายังไม่ถึง 3 เหรียญและขายออกไปเมื่อราคาวิ่งเลย 200 เหรียญ หุ้นกลุ่มนี้ Peter Lynch จะซื้อเมื่อผลประกอบการเริ่มมีแนวโน้มก้าวกระโดด และจะขายออกไปเมื่อราคาขึ้นสูงมากจนค่าพีอีขึ้นสูงกว่า growth rate
Turnaround Stock มีพฤติกรรมราคาเหมือนผีตายซากในช่วงต้น แล้วโตก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วเหมือนตายแล้วเกิดใหม่ หุ้นกลุ่มนี้อยู่ใน industry ที่มีอนาคต และ ตัวบริษัทเองก็ยังมีอนาคต หากได้รับการแก้ไขปัญหาทางการเงินจนลุล่วงไปได้ด้วยดี หุ้นกลุ่มนี้สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างมหาศาล หากฟื้นตัวได้ดังคาด เข้าข่ายประเภท high risk, high returns อย่างเต็มรูปแบบ
หุ้นกลุ่มไหนควรถือ ก็อย่ารีบขายทิ้งทำกำไร หุ้นกลุ่มไหนควรขาย ก็ขายออกแล้วถือเงินสดเพื่อรอซื้อตัวใหม่ที่มีอนาคต และ หุ้นกลุ่มไหน ต้องตัดขาดทุน ก็รีบตัดขาดทุนนะ อย่าไปถือลงทุน ….. Peter Lynch สรุป ในรายงานฉบับหนึ่ง
ติดตามแนวโน้มตลาดและหุ้นเด่นรายวันได้ที่
http://www.ThaiDayTrade.com
Source : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id ... 5&gblog=19
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 81
Subject : Turnaround
What It Is:
A turnaround occurs when a company takes successful steps to correct a period of deteriorating financial performance.
How It Works/Example:
To turn a business' financial results around, companies often obtain special financing for revitalization projects or hire managers with a proven track record of improving the financial results at struggling companies. Famous "turnaround" CEOs include Al "Chainsaw" Dunlap, who was hired in 1996 to turn Sunbeam around, or Jacques "The Knife" Nasser, who was tapped in 1999 to revitalize operations at Ford (NYSE: F).
Turnarounds frequently involve stabilizing the business and then cutting costs, reducing the workforce, selling superfluous assets, divesting entire divisions, retiring excess debt, and/or dramatically changing how the company markets or sells its products. In some cases, turnarounds also involve filing for bankruptcy in an effort to reduce/restructure heavy debt loads.
Why It Matters:
Turnaround efforts can be risky and don't always end in success. According to a Harvard Business Review study, about 70% of all turnaround efforts fail. However, some companies -- like MCI and K-Mart -- have emerged from bankruptcy, addressed critical problems, and made gradual improvements.
By definition, companies in need of a turnaround have reported declining financial results, and many have seen their shares collapse as investors lost faith and sold their positions. As a result, companies seeking to turn around their operations often trade at a sharp discount. Such firms often capture the attention of value investors, particularly when there is a strong possibility that turnaround efforts are likely to deliver improved financial performance in the near future. In fact, the mere announcement that a company plans to engage in turnaround efforts often results in an increased stock price.
Source : http://www.investinganswers.com/term/turnaround-888
What It Is:
A turnaround occurs when a company takes successful steps to correct a period of deteriorating financial performance.
How It Works/Example:
To turn a business' financial results around, companies often obtain special financing for revitalization projects or hire managers with a proven track record of improving the financial results at struggling companies. Famous "turnaround" CEOs include Al "Chainsaw" Dunlap, who was hired in 1996 to turn Sunbeam around, or Jacques "The Knife" Nasser, who was tapped in 1999 to revitalize operations at Ford (NYSE: F).
Turnarounds frequently involve stabilizing the business and then cutting costs, reducing the workforce, selling superfluous assets, divesting entire divisions, retiring excess debt, and/or dramatically changing how the company markets or sells its products. In some cases, turnarounds also involve filing for bankruptcy in an effort to reduce/restructure heavy debt loads.
Why It Matters:
Turnaround efforts can be risky and don't always end in success. According to a Harvard Business Review study, about 70% of all turnaround efforts fail. However, some companies -- like MCI and K-Mart -- have emerged from bankruptcy, addressed critical problems, and made gradual improvements.
By definition, companies in need of a turnaround have reported declining financial results, and many have seen their shares collapse as investors lost faith and sold their positions. As a result, companies seeking to turn around their operations often trade at a sharp discount. Such firms often capture the attention of value investors, particularly when there is a strong possibility that turnaround efforts are likely to deliver improved financial performance in the near future. In fact, the mere announcement that a company plans to engage in turnaround efforts often results in an increased stock price.
Source : http://www.investinganswers.com/term/turnaround-888
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 82
Subject : Turnaround Strategy (1)
ธุรกิจ ก็เฉกเช่นมนุษย์ มีวงจรชีวิตคล้ายคลึงกัน ตั้งแต่ปฏิสนธิจนคลอดเป็นทารก แล้วเติบโตเป็นเด็ก เป็นวัยรุ่น เป็นผู้ใหญ่ และย่างเข้าสู่วัยชรา สุดท้ายก็ต้องตาย ม้วยมลายไปจากโลก เหลือไว้เพียงชื่อให้คนรุ่นหลังได้ระลึกถึง
ชั่วแต่ช่วงชีวิตมนุษย์และองค์กรธุรกิจเท่านั้นที่ต่างกัน เพราะอันว่ามนุษย์นั้นไซร้ หากอยู่ได้เกินร้อยปี ก็ถือว่าอายุยืนมากแล้ว ทว่า องค์กรธุรกิจบางองค์กร มีอายุยาวกว่า 500 ปี ก็เคยมี
แต่ละช่วงชีวิตของมนุษย์ต้องอาศัยกลวิธีในการดำรงชีวิตต่างกันฉันใด องค์กรธุรกิจก็ต้องอาศัยกลยุทธ์ในแต่ละช่วงชีวิตที่แตกต่างกันฉันนั้น
กลยุทธ์ในช่วงแรกเกิด ย่อมต่างจากช่วงกำลังโต และต้องต่างจากช่วงเป็นผู้ใหญ่ หรือช่วงถดถอย
ในช่วงเกิดและเติบโต ธุรกิจต้องการเงินลงทุนจำนวนมากเพื่อยึดครองส่วนแบ่งตลาด และขยายกำลังการผลิต ตอนที่ธุรกิจกำลังโตนั้น ผู้บริหารอาจเลือกขยายตัวด้วยกลยุทธ์ “ผนวกหน้าผนวกหลัง” (Vertical Integration) หรือผนวกเอากิจกรรมที่เกี่ยวข้องใน Value Chain เข้ามาอยู่กับตัวให้หมด ทั้งธุรกิจต้นน้ำและปลายน้ำ
ใครก็ตามที่เคยเรียนหรืออ่านงานทางด้าน Business Strategy คงเคยผ่านตากรณีศึกษาที่ถือว่าคลาสสิกอันหนึ่ง คือ Saturday Morning Post ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นสมาทานกลยุทธ์การขยายตัวในแนวตั้ง (Vertical Integration) อย่างเต็มที่ จึงขยายไปทำโรงงานกระดาษและเยื่อกระดาษเอง แม้กระทั่งปลูกป่าเองก็ยังทำ ตัวอย่างกิจการระดับโลกที่เลือกใช้กลยุทธ์นี้แล้วประสบความสำเร็จมาก ก็คือ Coke
อีกกลยุทธ์หนึ่งที่ใช้กันมากในช่วงขยายตัวก็คือ กลยุทธ์ “ผนวกซ้ายผนวกขวา” (Diversification) หรือการขยายไปสู่ธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมเลยแม้แต่น้อย (บางทีก็เรียกการขยายตัวในแนวนอน หรือ Horizontal Integration) โดยมากมักใช้วิธีการควบรวมกิจการหรือ Takeover กิจการอื่นมาเป็นของตน
เหตุผลเบื้องหลังกลยุทธ์นี้คือการลดความเสี่ยงอันเนื่องมาแต่การผูกพันรายได้และอนาคตไว้กับธุรกิจเดียว ผู้บริหารที่สมาทานกลยุทธ์นี้เชื่อว่า การทำธุรกิจหลายอย่างในเวลาเดียวกัน เป็นการลดความเสี่ยงให้กิจการโดยรวม เพราะเมื่อธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งแย่ ก็จะไม่แย่ทั้งหมด ตัวอย่างกิจการระดับโลกที่เลือกกลยุทธ์นี้แล้วประสบความสำเร็จมากในยุคที่ผ่านมา คือ General Electric ที่ทำตั้งแต่ “ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ” อนึ่ง กิจการที่ต้องการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ย่อมสามารถใช้การผนวก ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง ไปพร้อมๆ กันก็ได้
การดำเนินกลยุทธ์ขยายตัว ทั้งแบบแนวตั้งและแนวนอนดังว่ามานั้น กระทำได้ทั้งโดย พึ่งกำลังตนเองเพียงลำพัง (Internal Growth) หรือไม่ก็พึ่งพาผู้อื่นแบบเต็มร้อย (External Growth) หรือผสมผสานโดยพึ่งตัวเองบางส่วนและพึ่งคนอื่นบางส่วนก็ได้ เพราะหากตัวเองขยายไปเองไม่ได้ถนัด ก็สามารถเข้าร่วมผนึกกำลังหรือแต่งงานกับพันธมิตรเพื่อเสริมความแข็งแกร่ง หรือยอมตัวให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่พร้อมกว่าได้
ฝ่ายธุรกิจที่เติบโตจนเต็มอิ่มแล้ว (Matured business) อุปมาเหมือนหนุ่มใหญ่สาวใหญ่ ที่ผ่านชีวิตและการงานหนักมาอย่างโชกโชน พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวการลงทุนแต่หนหลัง ครั้นจะขยายตัวก็ติดว่า ตลาดอิ่มเสียแล้ว ลงทุนไปก็คงจะเสียเปล่า จึงมองหาช่องสบาย ด้วยวิธีลดการลงทุนที่ไม่จำเป็น เหลือไว้แต่เพียงที่ต้องทำเพื่อให้ทุกอย่างทรงไปได้ด้วยดี แล้วนั่งเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างเต็มที่ ยักย้ายถ่ายเทให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด กลยุทธ์นี้เรียกว่า Harvesting หรือ “เก็บเกี่ยว”
ฝ่ายก๊กที่เคยรุ่งเรือง แต่ต้องมาเจอกับปัญหา จนผลการดำเนินงานตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย อุปมาเหมือนดังคนป่วย ที่ต้องไปให้หมอวินิจฉัยโรค แล้วรักษาตามเหตุปัจจัยแห่งโรคนั้น ธุรกิจในกลุ่มนี้ เราเรียกว่า “กลุ่มถดถอย” ที่กำลังเข้าสู่ภาวะเสื่อมถอย อ่อนเปลี้ย มีปัญหา ก๊กนี้แลที่คนส่วนใหญ่ในโลก ณ วินาทีนี้ กำลังให้ความสนใจ เพราะเนื่องมาแต่วิกฤตอันใหญ่หลวงที่กดทับอยู่ในขณะนี้ และก็เป็นกลุ่มกิจการที่เรากำลังจะสืบสวนหามูลเหตุรากฐานของภาวะเสื่อมถอย ตลอดจนวิธีวินิจฉัยและรักษาฟื้นฟูภาวะเสื่อมถอยดังกล่าวนั้นโดยละเอียด ในบทความนี้
เพราะเราเชื่อว่า ในเมื่อคนป่วยยังรักษากันได้ ไหนเลยกิจการป่วยจะรักษา ไม่ได้!
แนวทางและวิธีรักษาธุรกิจให้หายป่วยและดูแลจนฟื้นคืนมาให้ดีดังเดิมนั้นแล คือสิ่งที่เราเรียกว่า “Turnaround Strategy” หรือ “กลยุทธ์การพลิกฟื้นกิจการ”
อันที่จริง ความสนใจเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการมีมาช้านานแล้ว เพียงแต่องค์ความรู้ทางด้านนี้ยังไม่ได้รับการบ่มเพาะและรวบรวมอย่างเป็นระบบ นักคิดทางด้านการจัดการสมัยก่อน มิได้ให้ความสนใจเจาะจงไปที่กลยุทธ์ด้านนี้โดยเฉพาะ จะมาเริ่มสนใจกันอย่างจริงจัง ก็เห็นจะมาจากกลุ่มคนเล็กๆ ที่ Harvard Business School เมื่อปลายทศวรรษที่ 70 ตอนต้นทศวรรษที่ 80 นำโดย Michael E. Porter ด็อกเตอร์หนุ่มจากสถาบันดังกล่าว ที่ยุคนั้นยังเป็นนักคิดรุ่นใหม่ไฟแรงอยู่
ด็อกเตอร์พอร์เตอร์และสหาย ตลอดจนลูกศิษย์ลูกหาที่แวดล้อมเขา ต่างพากันทำวิจัย สืบสวนสอบสวนข้อมูลด้านนี้อย่างจริงจัง หลายกรณีก็ได้ตีพิมพ์ในฐานะวิทยา นิพนธ์ปริญญาเอกของสถาบันแห่งนั้นด้วย แต่ที่เริ่มแพร่หลายไปในหมู่นักธุรกิจชั้นนำและคนทั่วไป ก็ด้วยการขมวดเอาหัวใจของมันมาตีพิมพ์เป็นบทหนึ่งของหนังสือ Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and Competitors หนังสือเล่มสำคัญที่สุดของแวดวงการจัดการและบริหาร ธุรกิจสมัยใหม่ ซึ่งทรงอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ ต่อนักคิด นักธุรกิจ ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงทั่วโลก สืบเนื่องมาจนกระทั่งทุกวันนี้
หลังจากหนังสือเล่มนั้นตีพิมพ์ในปี 2525 ไม่นาน ธุรกิจในอเมริกา ก็ได้เข้าสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างขนานใหญ่ ด้วยได้มีกระบวนการซื้อขายกิจการ (M&A) และยึดครองกิจการ (Takeover) กันอย่างเป็นประวัติการณ์ ทั้งในตลาดหุ้นและนอกตลาดหุ้น จนเมื่อเกิดกรณีการล่มสลายของตลาด Junk Bond ก็เกิดวิกฤตเศรษฐกิจควบคู่กันไปด้วย เป็นผลให้นักธุรกิจและผู้บริหาร ต้องหันมาให้ความสนใจกับ Turnaround Strategy กันอย่างจริงจังนับแต่บัดนั้น
ในช่วงนั้น แวดวงธุรกิจและการศึกษาระดับสูงของสังคมไทย ก็เริ่มให้ความสนใจกับแนวคิดดังกล่าวบ้างแล้ว นักวิชาการที่เผยแพร่แนวคิดนี้อย่างจริงจังในขณะนั้น ก็คือ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ซึ่งเพิ่งกลับมาจาก Kellogg Graduate School of Management ที่แม้จะไม่ได้เป็นลูกศิษย์หรืออยู่ในแวดวงของ Michael Porter โดยตรง แต่ก็รับอิทธิพลทางความคิดจาก Porter มาอย่างมาก
ด็อกเตอร์สมคิดได้นำเอาแนวคิด ดังกล่าวมาขึ้นโครงและปรับเปลี่ยนให้ เหมาะสมกับสังคมธุรกิจไทย แล้วสืบสวนหาข้อมูลและกรณีศึกษาของไทยเพิ่มเติมขึ้นภายใต้หัวข้อ “กลยุทธ์การฟื้นฟูกิจการ” ที่ท่านได้เขียนเผยแพร่ และบรรยายให้กับโรงเรียนบริหารธุรกิจและกิจการชั้นนำของสังคมไทยจำนวนมาก เป็นเวลากว่าสิบปี จนกระทั่งได้หันเหชีวิตมาสู่แวดวงการเมืองอย่างเต็มตัว เมื่อไม่นานมานี้
นานมาแล้ว ด็อกเตอร์สมคิดได้แนะนำหนังสือให้กับผมเล่มหนึ่งชื่อ Corporate Recovery: A Guide to Turnaround Management โดยผมได้ทำสำเนาไว้ทั้งฉบับ หนังสือเล่มนั้น เป็นผลจากงานวิจัยเชิงลึกของ Professor Stuart Slatter แห่ง London Business School มีรายละเอียดเกี่ยวกับ Turnaround Strategy และกรณีศึกษาของกิจการธุรกิจระดับโลกจำนวนมากอย่างพิสดาร นับว่ามีประโยชน์มากกับผู้บริหารระดับสูงที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการพลิกฟื้นกิจการ ตลอดจนนักเรียนนักศึกษาและผู้สนใจในแนวนี้
ปัจจุบัน ด็อกเตอร์สแล็ตเตอร์มีกิจการส่วนตัว ให้คำปรึกษากับกิจการธุรกิจระดับโลกทั้งในยุโรปและอเมริกา และยังเขียนหนังสือเกี่ยวกับ Turnaround Strategy อยู่ เมื่อหลายปีก่อน นิตยสาร MBA เคยนัดไปพูดคุยกับท่านที่บ้านพักของท่านในกรุงลอนดอน แต่เมื่อถึงเวลากลับคลาดกันไปด้วยเหตุผลบางประการอย่างน่าเสียดาย
บทความนี้ ได้ดำเนินโครงเรื่องโดยอาศัยแนวคิดของด็อกเตอร์ทั้งสองเป็นหลัก โดยมิได้พูดคุย Update กับเจ้าตัวแต่อย่างใด เพราะเห็นว่า “แก่นความคิดหลัก” ยังคงดึงดูดและกระตุ้นความสำนึกได้อย่างแรงกล้า น่าอัศจรรย์ใจ แม้วันเวลาจะผันผ่านมาเนิ่นนาน
สำหรับบทความนี้ ผมก็ได้ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม จากที่เคยเขียนไว้เดิมเมื่อหลายปีก่อน โดยหวังว่ามันจะเป็นประโยชน์ต่อการรับมือกับ “วิกฤตโลก” ที่กำลังคุกคามและลุกลามมาสู่สังคมเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและทั่วด้านในรอบนี้
อาการแห่งหายนะ
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เคยเปรียบไว้ว่า ธุรกิจที่กำลังถดถอย อุปมาก็เหมือนคนป่วย หากไม่รีบรักษา โรคร้ายก็จะกำเริบ ทำให้ตายได้ ธุรกิจบางธุรกิจ อาจเป็นธุรกิจอมโรค คือดูเผินๆ ไม่รู้ว่ามีปัญหาอะไร เพราะผลดำเนินงานยังดีอยู่ แต่เมื่อส่องกล้องดูวิธีดำเนินงานและภาวะอุตสาหกรรมอย่างละเอียด กลับพบอาการอย่างอื่นที่บ่งบอกว่า หากปล่อยไปแบบเดิม ธุรกิจนั้นจะเริ่มถดถอยและถึงกาลอวสานในที่สุด
บางธุรกิจก็ประสบวิกฤตกะทันหัน อย่างธุรกิจไทย หลังวิกฤตค่าเงินบาทรอบก่อน หรือธุรกิจอเมริกัน หลังวิกฤตซับไพรม์รอบนี้ แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง ผู้บริหารเก่ง สามารถนำ Turnaround Strategies ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะนำกิจการ “พ้นพงหนาม” มาได้ อุปมาเหมือนคนแข็งแรงที่ประสบอุบัติเหตุ แต่ก็ฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาดีดังเดิมได้
ฝ่ายธุรกิจส่วนมากที่อมโรคอยู่ก่อน พอมาเจอวิกฤตรุนแรงก็ฟื้นไม่ได้ ต้องขายสินทรัพย์ (Liquidate) หรือสูญสลายไปเฉยๆ ทำเอาเจ้าหนี้เจ็บตัวไปด้วยก็มาก
ที่ว่าอมโรคอยู่ก่อนนั้น หมายถึงธุรกิจที่มีหนี้สินอยู่ต่างประเทศจำนวนมาก หรือเป็นธุรกิจที่ขยายจนเกินตัว โดยกิจการลูกที่ขยายไปส่วนใหญ่ยังไม่ได้กำไร หรือเป็นธุรกิจที่ต่างก็ทำกันจน Supply ล้นตลาด หรือไม่ก็เป็นธุรกิจที่รั่วไหล ผู้บริหารไม่เอาใจใส่ หรือเอาใจใส่แต่ไม่มีความสามารถเพียงพอ
ธุรกิจจอมโรคก๊กนี้ เมื่อยังไม่ปะทะวิกฤตเศรษฐกิจ ก็ดูเหมือนจะไปได้เรื่อยๆ แต่พอเจอวิกฤตโรคร้ายก็ปะทุ พากันพับไปเป็นแถว เพราะ Fundamental หรือพื้นฐานสุขภาพมีปัญหาอยู่ก่อนแล้ว
คนเมื่อยามเจ็บป่วย ก็ออกอาการต่างๆนานา ให้รู้ว่าป่วย เช่น วิงเวียน ปวดหัว ตัวร้อน ไอ ท้องร่วง ท้องอืด ครั่นเนื้อครั่นตัว เลือดออก ฯลฯ ด้วยอาการเหล่านี้แล ที่หมอสามารถไล่ย้อนกลับไปหาสาเหตุแห่งโรคหรือต้นเหตุแห่งของการเจ็บป่วยนั้นได้
ถ้าวินิจฉัยเหตุแห่งการเจ็บป่วยนั้นได้แม่นยำ โอกาสจะรักษาฟื้นฟูให้หายนั้นกลับมาดังเดิมก็มีสูง ฉะนั้นการหมั่นสังเกตอาการแห่งความเจ็บป่วยอยู่เสมอ ย่อมเป็นเรื่องสำคัญในเบื้องแรก
การดำเนินธุรกิจก็เฉกเช่นกัน เราก็ต้องหมั่นเช็กสุขภาพองค์กรและสุขภาพของอุตสาหกรรมที่กิจการของเราสังกัดอยู่เสมอ เพราะหากมีปัญหาซ่อนอยู่ จะได้หาทางแก้เสียแต่เนิ่นๆ
เมื่อธุรกิจป่วย มักออกอาการ ที่เรียกภาษาอังกฤษว่า Symptoms of decline บางประการ Dr.Stuart Slatter เคยทำวิจัยไว้ในหนังสือ Corporate Recovery โดยสืบสวนสอบสวนข้อมูล เกี่ยวกับกิจการสัญชาติอังกฤษที่เคยประสบภาวะถดถอยจำนวนมาก แล้วก็พบว่า Symptom สำคัญ ที่มักออกอาการให้เห็นเมื่อธุรกิจเจ็บป่วย สามารถจัดเป็นกลุ่มได้ดังนี้คือ
1. กำไรหด
หากภาวะเศรษฐกิจและอุตสาห กรรมโดยรวมไม่ตก แต่ความสามารถในการทำกำไรของกิจการตก ก็แสดงว่าธุรกิจนั้นกำลังมีปัญหา ยิ่งอาการ “กำไรตก” รุนแรงและต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายเดือนติดต่อกัน ยิ่งต้องรีบสำเหนียกว่าความถดถอยมาเยือนกิจการของท่านแล้ว
2. ยอดขายตก
เมื่อใดก็ตามที่คุณสังเกตเห็นว่า ยอดขายของกิจการใดเริ่มตกหรือสินค้าขายได้น้อยลงกว่าช่วงเวลาที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่ราคาขายเท่าเดิม ก็อาจเป็นไปได้ว่ากิจการนั้นหรือสินค้าชนิดนั้นเริ่มประสบปัญหาถดถอยเข้าให้แล้ว
3. หนี้เพิ่ม
กิจการบางกิจการอาจแสดงความอ่อนแอออกมาผ่านข้างขวาของงบดุล เพราะการที่หนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วผิดปกติ มันอาจหมายถึงการที่กิจการนั้นกำลัง “อมโรค” บางอย่างไว้ก็เป็นได้
4. เงินฝืดเคือง
ธุรกิจก็เหมือนคน เมื่อเงินขาดมือ การดำเนินชีวิตย่อมฝืดเคือง หากธุรกิจใดขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ย่อมอยู่ไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น ปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างยืดเยื้อ ย่อมสะท้อนถึงความถดถอยอย่างถาวรของกิจการได้เหมือนกัน
5. งดเงินปันผล
กิจการที่ประกาศงดจ่ายปันผลส่วนใหญ่ มักเป็นกิจการที่ประสบปัญหา ซึ่งบางทีก็เป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดประเดี๋ยวประด๋าวแล้วก็กลับดีดังเดิม กระนั้นก็ตาม การประกาศงดจ่ายปันผลย่อมเป็นอาการอย่างหนึ่งของปัญหาที่มิอาจมองข้ามได้ หากเราเป็นนักลงทุนที่ถือครองหลักทรัพย์นั้นอยู่ เราคงต้องตรวจสอบในเชิงลึกว่าการงดจ่ายเงินปันผลนั้น เป็นอาการของปัญหาใหญ่ยิ่งที่แฝงอยู่เบื้องหลังหรือเปล่า
6. การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานทางบัญชี
บางทีการเปลี่ยนวิธีลงบัญชี, การประกาศตัวเลขกำไรล่าช้า, หรือการประกาศเปลี่ยนตัวผู้ตรวจสอบบัญชี จากผู้สอบบัญชีที่มีชื่อเสียงได้มาตรฐาน มาเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีที่ไม่ค่อยมีชื่อเสียงเท่าใดนัก ก็อาจเป็นอาการแห่งความถดถอยได้เช่นกัน ตัวอย่างสำคัญเมื่อวิกฤตรอบก่อนหน้านี้ คือกรณีของ Enron ที่ทำเอาตลาดทุนของอเมริกาป่วนไปทั้งประเทศ
7. ผู้บริหารออกอาการ
คำให้สัมภาษณ์หรือคำพูดของผู้บริหารทุกระดับ ทั้งในที่สาธารณะและในที่รโหฐาน ย่อมสะท้อนได้ถึงสถานะและสุขภาพของกิจการ หากพวกเขาแสดงความห่วงใยอนาคตของกิจการหรือความกลัวลึกๆ บางอย่างออกมา ก็จงพึงสังวรว่า กิจการนั้นอาจกำลังเผชิญปัญหาใหญ่อยู่ ก็เป็นได้
8. เปลี่ยนผู้บริหารบ่อย
กิจการใดที่ผู้บริหารเข้าออกเป็นว่าเล่น ย่อมต้องมีปัญหาอย่างแน่นอน หากไม่หาทางป้องกันแต่เนิ่นๆ โอกาสที่จะถด ถอยอย่างถาวร หรือล่มสลายไปเลย ก็มีสูง
9. ส่วนแบ่งตลาดตก
สินค้าและบริการใดที่ Market Share ลดลง โดยเฉพาะกับการลดลงอย่างฮวบฮาบ หรือลดลงอย่างต่อเนื่อง ติดต่อกันเป็นเวลายาวนานนั้น ก็ต้องทำใจได้เลยว่าสินค้าและบริการดังกล่าวกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย
10. ไร้กระบวนท่า
กิจการที่ไม่มีแผน หรือผู้บริหารขาดความคิดเชิงกลยุทธ์ สักแต่ว่าดำเนินธุรกิจไปวันๆ ก็เป็นอาการอย่างหนึ่งที่น่าวิตก หากเราต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการประเภทนี้ ไม่ว่าจะในฐานะลูกจ้าง ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ ลูกค้า หรือซัพพลายเออร์ ก็ต้องเอะใจไว้ก่อน และก็ต้องหาข้อมูลเชิงลึกดูว่า “ความไร้กระบวนท่า” ดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องจริงจังแค่ไหน เป็นเพียงภาพลวงเพื่อหลอกคู่แข่งให้ตายใจหรือเปล่า... แต่ถ้ามันโบ๋เบ๋จริง ก็ทำใจได้เลยว่ากิจการที่ท่านเกี่ยวข้องนั้นกำลังเผชิญความถดถอยเข้าให้แล้ว
ที่มา : http://www.mbamagazine.net/home/index.p ... strategy-1
ธุรกิจ ก็เฉกเช่นมนุษย์ มีวงจรชีวิตคล้ายคลึงกัน ตั้งแต่ปฏิสนธิจนคลอดเป็นทารก แล้วเติบโตเป็นเด็ก เป็นวัยรุ่น เป็นผู้ใหญ่ และย่างเข้าสู่วัยชรา สุดท้ายก็ต้องตาย ม้วยมลายไปจากโลก เหลือไว้เพียงชื่อให้คนรุ่นหลังได้ระลึกถึง
ชั่วแต่ช่วงชีวิตมนุษย์และองค์กรธุรกิจเท่านั้นที่ต่างกัน เพราะอันว่ามนุษย์นั้นไซร้ หากอยู่ได้เกินร้อยปี ก็ถือว่าอายุยืนมากแล้ว ทว่า องค์กรธุรกิจบางองค์กร มีอายุยาวกว่า 500 ปี ก็เคยมี
แต่ละช่วงชีวิตของมนุษย์ต้องอาศัยกลวิธีในการดำรงชีวิตต่างกันฉันใด องค์กรธุรกิจก็ต้องอาศัยกลยุทธ์ในแต่ละช่วงชีวิตที่แตกต่างกันฉันนั้น
กลยุทธ์ในช่วงแรกเกิด ย่อมต่างจากช่วงกำลังโต และต้องต่างจากช่วงเป็นผู้ใหญ่ หรือช่วงถดถอย
ในช่วงเกิดและเติบโต ธุรกิจต้องการเงินลงทุนจำนวนมากเพื่อยึดครองส่วนแบ่งตลาด และขยายกำลังการผลิต ตอนที่ธุรกิจกำลังโตนั้น ผู้บริหารอาจเลือกขยายตัวด้วยกลยุทธ์ “ผนวกหน้าผนวกหลัง” (Vertical Integration) หรือผนวกเอากิจกรรมที่เกี่ยวข้องใน Value Chain เข้ามาอยู่กับตัวให้หมด ทั้งธุรกิจต้นน้ำและปลายน้ำ
ใครก็ตามที่เคยเรียนหรืออ่านงานทางด้าน Business Strategy คงเคยผ่านตากรณีศึกษาที่ถือว่าคลาสสิกอันหนึ่ง คือ Saturday Morning Post ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นสมาทานกลยุทธ์การขยายตัวในแนวตั้ง (Vertical Integration) อย่างเต็มที่ จึงขยายไปทำโรงงานกระดาษและเยื่อกระดาษเอง แม้กระทั่งปลูกป่าเองก็ยังทำ ตัวอย่างกิจการระดับโลกที่เลือกใช้กลยุทธ์นี้แล้วประสบความสำเร็จมาก ก็คือ Coke
อีกกลยุทธ์หนึ่งที่ใช้กันมากในช่วงขยายตัวก็คือ กลยุทธ์ “ผนวกซ้ายผนวกขวา” (Diversification) หรือการขยายไปสู่ธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมเลยแม้แต่น้อย (บางทีก็เรียกการขยายตัวในแนวนอน หรือ Horizontal Integration) โดยมากมักใช้วิธีการควบรวมกิจการหรือ Takeover กิจการอื่นมาเป็นของตน
เหตุผลเบื้องหลังกลยุทธ์นี้คือการลดความเสี่ยงอันเนื่องมาแต่การผูกพันรายได้และอนาคตไว้กับธุรกิจเดียว ผู้บริหารที่สมาทานกลยุทธ์นี้เชื่อว่า การทำธุรกิจหลายอย่างในเวลาเดียวกัน เป็นการลดความเสี่ยงให้กิจการโดยรวม เพราะเมื่อธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งแย่ ก็จะไม่แย่ทั้งหมด ตัวอย่างกิจการระดับโลกที่เลือกกลยุทธ์นี้แล้วประสบความสำเร็จมากในยุคที่ผ่านมา คือ General Electric ที่ทำตั้งแต่ “ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ” อนึ่ง กิจการที่ต้องการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ย่อมสามารถใช้การผนวก ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง ไปพร้อมๆ กันก็ได้
การดำเนินกลยุทธ์ขยายตัว ทั้งแบบแนวตั้งและแนวนอนดังว่ามานั้น กระทำได้ทั้งโดย พึ่งกำลังตนเองเพียงลำพัง (Internal Growth) หรือไม่ก็พึ่งพาผู้อื่นแบบเต็มร้อย (External Growth) หรือผสมผสานโดยพึ่งตัวเองบางส่วนและพึ่งคนอื่นบางส่วนก็ได้ เพราะหากตัวเองขยายไปเองไม่ได้ถนัด ก็สามารถเข้าร่วมผนึกกำลังหรือแต่งงานกับพันธมิตรเพื่อเสริมความแข็งแกร่ง หรือยอมตัวให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่พร้อมกว่าได้
ฝ่ายธุรกิจที่เติบโตจนเต็มอิ่มแล้ว (Matured business) อุปมาเหมือนหนุ่มใหญ่สาวใหญ่ ที่ผ่านชีวิตและการงานหนักมาอย่างโชกโชน พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวการลงทุนแต่หนหลัง ครั้นจะขยายตัวก็ติดว่า ตลาดอิ่มเสียแล้ว ลงทุนไปก็คงจะเสียเปล่า จึงมองหาช่องสบาย ด้วยวิธีลดการลงทุนที่ไม่จำเป็น เหลือไว้แต่เพียงที่ต้องทำเพื่อให้ทุกอย่างทรงไปได้ด้วยดี แล้วนั่งเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างเต็มที่ ยักย้ายถ่ายเทให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด กลยุทธ์นี้เรียกว่า Harvesting หรือ “เก็บเกี่ยว”
ฝ่ายก๊กที่เคยรุ่งเรือง แต่ต้องมาเจอกับปัญหา จนผลการดำเนินงานตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย อุปมาเหมือนดังคนป่วย ที่ต้องไปให้หมอวินิจฉัยโรค แล้วรักษาตามเหตุปัจจัยแห่งโรคนั้น ธุรกิจในกลุ่มนี้ เราเรียกว่า “กลุ่มถดถอย” ที่กำลังเข้าสู่ภาวะเสื่อมถอย อ่อนเปลี้ย มีปัญหา ก๊กนี้แลที่คนส่วนใหญ่ในโลก ณ วินาทีนี้ กำลังให้ความสนใจ เพราะเนื่องมาแต่วิกฤตอันใหญ่หลวงที่กดทับอยู่ในขณะนี้ และก็เป็นกลุ่มกิจการที่เรากำลังจะสืบสวนหามูลเหตุรากฐานของภาวะเสื่อมถอย ตลอดจนวิธีวินิจฉัยและรักษาฟื้นฟูภาวะเสื่อมถอยดังกล่าวนั้นโดยละเอียด ในบทความนี้
เพราะเราเชื่อว่า ในเมื่อคนป่วยยังรักษากันได้ ไหนเลยกิจการป่วยจะรักษา ไม่ได้!
แนวทางและวิธีรักษาธุรกิจให้หายป่วยและดูแลจนฟื้นคืนมาให้ดีดังเดิมนั้นแล คือสิ่งที่เราเรียกว่า “Turnaround Strategy” หรือ “กลยุทธ์การพลิกฟื้นกิจการ”
อันที่จริง ความสนใจเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการมีมาช้านานแล้ว เพียงแต่องค์ความรู้ทางด้านนี้ยังไม่ได้รับการบ่มเพาะและรวบรวมอย่างเป็นระบบ นักคิดทางด้านการจัดการสมัยก่อน มิได้ให้ความสนใจเจาะจงไปที่กลยุทธ์ด้านนี้โดยเฉพาะ จะมาเริ่มสนใจกันอย่างจริงจัง ก็เห็นจะมาจากกลุ่มคนเล็กๆ ที่ Harvard Business School เมื่อปลายทศวรรษที่ 70 ตอนต้นทศวรรษที่ 80 นำโดย Michael E. Porter ด็อกเตอร์หนุ่มจากสถาบันดังกล่าว ที่ยุคนั้นยังเป็นนักคิดรุ่นใหม่ไฟแรงอยู่
ด็อกเตอร์พอร์เตอร์และสหาย ตลอดจนลูกศิษย์ลูกหาที่แวดล้อมเขา ต่างพากันทำวิจัย สืบสวนสอบสวนข้อมูลด้านนี้อย่างจริงจัง หลายกรณีก็ได้ตีพิมพ์ในฐานะวิทยา นิพนธ์ปริญญาเอกของสถาบันแห่งนั้นด้วย แต่ที่เริ่มแพร่หลายไปในหมู่นักธุรกิจชั้นนำและคนทั่วไป ก็ด้วยการขมวดเอาหัวใจของมันมาตีพิมพ์เป็นบทหนึ่งของหนังสือ Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and Competitors หนังสือเล่มสำคัญที่สุดของแวดวงการจัดการและบริหาร ธุรกิจสมัยใหม่ ซึ่งทรงอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ ต่อนักคิด นักธุรกิจ ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงทั่วโลก สืบเนื่องมาจนกระทั่งทุกวันนี้
หลังจากหนังสือเล่มนั้นตีพิมพ์ในปี 2525 ไม่นาน ธุรกิจในอเมริกา ก็ได้เข้าสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างขนานใหญ่ ด้วยได้มีกระบวนการซื้อขายกิจการ (M&A) และยึดครองกิจการ (Takeover) กันอย่างเป็นประวัติการณ์ ทั้งในตลาดหุ้นและนอกตลาดหุ้น จนเมื่อเกิดกรณีการล่มสลายของตลาด Junk Bond ก็เกิดวิกฤตเศรษฐกิจควบคู่กันไปด้วย เป็นผลให้นักธุรกิจและผู้บริหาร ต้องหันมาให้ความสนใจกับ Turnaround Strategy กันอย่างจริงจังนับแต่บัดนั้น
ในช่วงนั้น แวดวงธุรกิจและการศึกษาระดับสูงของสังคมไทย ก็เริ่มให้ความสนใจกับแนวคิดดังกล่าวบ้างแล้ว นักวิชาการที่เผยแพร่แนวคิดนี้อย่างจริงจังในขณะนั้น ก็คือ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ซึ่งเพิ่งกลับมาจาก Kellogg Graduate School of Management ที่แม้จะไม่ได้เป็นลูกศิษย์หรืออยู่ในแวดวงของ Michael Porter โดยตรง แต่ก็รับอิทธิพลทางความคิดจาก Porter มาอย่างมาก
ด็อกเตอร์สมคิดได้นำเอาแนวคิด ดังกล่าวมาขึ้นโครงและปรับเปลี่ยนให้ เหมาะสมกับสังคมธุรกิจไทย แล้วสืบสวนหาข้อมูลและกรณีศึกษาของไทยเพิ่มเติมขึ้นภายใต้หัวข้อ “กลยุทธ์การฟื้นฟูกิจการ” ที่ท่านได้เขียนเผยแพร่ และบรรยายให้กับโรงเรียนบริหารธุรกิจและกิจการชั้นนำของสังคมไทยจำนวนมาก เป็นเวลากว่าสิบปี จนกระทั่งได้หันเหชีวิตมาสู่แวดวงการเมืองอย่างเต็มตัว เมื่อไม่นานมานี้
นานมาแล้ว ด็อกเตอร์สมคิดได้แนะนำหนังสือให้กับผมเล่มหนึ่งชื่อ Corporate Recovery: A Guide to Turnaround Management โดยผมได้ทำสำเนาไว้ทั้งฉบับ หนังสือเล่มนั้น เป็นผลจากงานวิจัยเชิงลึกของ Professor Stuart Slatter แห่ง London Business School มีรายละเอียดเกี่ยวกับ Turnaround Strategy และกรณีศึกษาของกิจการธุรกิจระดับโลกจำนวนมากอย่างพิสดาร นับว่ามีประโยชน์มากกับผู้บริหารระดับสูงที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการพลิกฟื้นกิจการ ตลอดจนนักเรียนนักศึกษาและผู้สนใจในแนวนี้
ปัจจุบัน ด็อกเตอร์สแล็ตเตอร์มีกิจการส่วนตัว ให้คำปรึกษากับกิจการธุรกิจระดับโลกทั้งในยุโรปและอเมริกา และยังเขียนหนังสือเกี่ยวกับ Turnaround Strategy อยู่ เมื่อหลายปีก่อน นิตยสาร MBA เคยนัดไปพูดคุยกับท่านที่บ้านพักของท่านในกรุงลอนดอน แต่เมื่อถึงเวลากลับคลาดกันไปด้วยเหตุผลบางประการอย่างน่าเสียดาย
บทความนี้ ได้ดำเนินโครงเรื่องโดยอาศัยแนวคิดของด็อกเตอร์ทั้งสองเป็นหลัก โดยมิได้พูดคุย Update กับเจ้าตัวแต่อย่างใด เพราะเห็นว่า “แก่นความคิดหลัก” ยังคงดึงดูดและกระตุ้นความสำนึกได้อย่างแรงกล้า น่าอัศจรรย์ใจ แม้วันเวลาจะผันผ่านมาเนิ่นนาน
สำหรับบทความนี้ ผมก็ได้ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม จากที่เคยเขียนไว้เดิมเมื่อหลายปีก่อน โดยหวังว่ามันจะเป็นประโยชน์ต่อการรับมือกับ “วิกฤตโลก” ที่กำลังคุกคามและลุกลามมาสู่สังคมเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและทั่วด้านในรอบนี้
อาการแห่งหายนะ
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เคยเปรียบไว้ว่า ธุรกิจที่กำลังถดถอย อุปมาก็เหมือนคนป่วย หากไม่รีบรักษา โรคร้ายก็จะกำเริบ ทำให้ตายได้ ธุรกิจบางธุรกิจ อาจเป็นธุรกิจอมโรค คือดูเผินๆ ไม่รู้ว่ามีปัญหาอะไร เพราะผลดำเนินงานยังดีอยู่ แต่เมื่อส่องกล้องดูวิธีดำเนินงานและภาวะอุตสาหกรรมอย่างละเอียด กลับพบอาการอย่างอื่นที่บ่งบอกว่า หากปล่อยไปแบบเดิม ธุรกิจนั้นจะเริ่มถดถอยและถึงกาลอวสานในที่สุด
บางธุรกิจก็ประสบวิกฤตกะทันหัน อย่างธุรกิจไทย หลังวิกฤตค่าเงินบาทรอบก่อน หรือธุรกิจอเมริกัน หลังวิกฤตซับไพรม์รอบนี้ แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง ผู้บริหารเก่ง สามารถนำ Turnaround Strategies ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะนำกิจการ “พ้นพงหนาม” มาได้ อุปมาเหมือนคนแข็งแรงที่ประสบอุบัติเหตุ แต่ก็ฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาดีดังเดิมได้
ฝ่ายธุรกิจส่วนมากที่อมโรคอยู่ก่อน พอมาเจอวิกฤตรุนแรงก็ฟื้นไม่ได้ ต้องขายสินทรัพย์ (Liquidate) หรือสูญสลายไปเฉยๆ ทำเอาเจ้าหนี้เจ็บตัวไปด้วยก็มาก
ที่ว่าอมโรคอยู่ก่อนนั้น หมายถึงธุรกิจที่มีหนี้สินอยู่ต่างประเทศจำนวนมาก หรือเป็นธุรกิจที่ขยายจนเกินตัว โดยกิจการลูกที่ขยายไปส่วนใหญ่ยังไม่ได้กำไร หรือเป็นธุรกิจที่ต่างก็ทำกันจน Supply ล้นตลาด หรือไม่ก็เป็นธุรกิจที่รั่วไหล ผู้บริหารไม่เอาใจใส่ หรือเอาใจใส่แต่ไม่มีความสามารถเพียงพอ
ธุรกิจจอมโรคก๊กนี้ เมื่อยังไม่ปะทะวิกฤตเศรษฐกิจ ก็ดูเหมือนจะไปได้เรื่อยๆ แต่พอเจอวิกฤตโรคร้ายก็ปะทุ พากันพับไปเป็นแถว เพราะ Fundamental หรือพื้นฐานสุขภาพมีปัญหาอยู่ก่อนแล้ว
คนเมื่อยามเจ็บป่วย ก็ออกอาการต่างๆนานา ให้รู้ว่าป่วย เช่น วิงเวียน ปวดหัว ตัวร้อน ไอ ท้องร่วง ท้องอืด ครั่นเนื้อครั่นตัว เลือดออก ฯลฯ ด้วยอาการเหล่านี้แล ที่หมอสามารถไล่ย้อนกลับไปหาสาเหตุแห่งโรคหรือต้นเหตุแห่งของการเจ็บป่วยนั้นได้
ถ้าวินิจฉัยเหตุแห่งการเจ็บป่วยนั้นได้แม่นยำ โอกาสจะรักษาฟื้นฟูให้หายนั้นกลับมาดังเดิมก็มีสูง ฉะนั้นการหมั่นสังเกตอาการแห่งความเจ็บป่วยอยู่เสมอ ย่อมเป็นเรื่องสำคัญในเบื้องแรก
การดำเนินธุรกิจก็เฉกเช่นกัน เราก็ต้องหมั่นเช็กสุขภาพองค์กรและสุขภาพของอุตสาหกรรมที่กิจการของเราสังกัดอยู่เสมอ เพราะหากมีปัญหาซ่อนอยู่ จะได้หาทางแก้เสียแต่เนิ่นๆ
เมื่อธุรกิจป่วย มักออกอาการ ที่เรียกภาษาอังกฤษว่า Symptoms of decline บางประการ Dr.Stuart Slatter เคยทำวิจัยไว้ในหนังสือ Corporate Recovery โดยสืบสวนสอบสวนข้อมูล เกี่ยวกับกิจการสัญชาติอังกฤษที่เคยประสบภาวะถดถอยจำนวนมาก แล้วก็พบว่า Symptom สำคัญ ที่มักออกอาการให้เห็นเมื่อธุรกิจเจ็บป่วย สามารถจัดเป็นกลุ่มได้ดังนี้คือ
1. กำไรหด
หากภาวะเศรษฐกิจและอุตสาห กรรมโดยรวมไม่ตก แต่ความสามารถในการทำกำไรของกิจการตก ก็แสดงว่าธุรกิจนั้นกำลังมีปัญหา ยิ่งอาการ “กำไรตก” รุนแรงและต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายเดือนติดต่อกัน ยิ่งต้องรีบสำเหนียกว่าความถดถอยมาเยือนกิจการของท่านแล้ว
2. ยอดขายตก
เมื่อใดก็ตามที่คุณสังเกตเห็นว่า ยอดขายของกิจการใดเริ่มตกหรือสินค้าขายได้น้อยลงกว่าช่วงเวลาที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่ราคาขายเท่าเดิม ก็อาจเป็นไปได้ว่ากิจการนั้นหรือสินค้าชนิดนั้นเริ่มประสบปัญหาถดถอยเข้าให้แล้ว
3. หนี้เพิ่ม
กิจการบางกิจการอาจแสดงความอ่อนแอออกมาผ่านข้างขวาของงบดุล เพราะการที่หนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วผิดปกติ มันอาจหมายถึงการที่กิจการนั้นกำลัง “อมโรค” บางอย่างไว้ก็เป็นได้
4. เงินฝืดเคือง
ธุรกิจก็เหมือนคน เมื่อเงินขาดมือ การดำเนินชีวิตย่อมฝืดเคือง หากธุรกิจใดขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ย่อมอยู่ไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น ปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างยืดเยื้อ ย่อมสะท้อนถึงความถดถอยอย่างถาวรของกิจการได้เหมือนกัน
5. งดเงินปันผล
กิจการที่ประกาศงดจ่ายปันผลส่วนใหญ่ มักเป็นกิจการที่ประสบปัญหา ซึ่งบางทีก็เป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดประเดี๋ยวประด๋าวแล้วก็กลับดีดังเดิม กระนั้นก็ตาม การประกาศงดจ่ายปันผลย่อมเป็นอาการอย่างหนึ่งของปัญหาที่มิอาจมองข้ามได้ หากเราเป็นนักลงทุนที่ถือครองหลักทรัพย์นั้นอยู่ เราคงต้องตรวจสอบในเชิงลึกว่าการงดจ่ายเงินปันผลนั้น เป็นอาการของปัญหาใหญ่ยิ่งที่แฝงอยู่เบื้องหลังหรือเปล่า
6. การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานทางบัญชี
บางทีการเปลี่ยนวิธีลงบัญชี, การประกาศตัวเลขกำไรล่าช้า, หรือการประกาศเปลี่ยนตัวผู้ตรวจสอบบัญชี จากผู้สอบบัญชีที่มีชื่อเสียงได้มาตรฐาน มาเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีที่ไม่ค่อยมีชื่อเสียงเท่าใดนัก ก็อาจเป็นอาการแห่งความถดถอยได้เช่นกัน ตัวอย่างสำคัญเมื่อวิกฤตรอบก่อนหน้านี้ คือกรณีของ Enron ที่ทำเอาตลาดทุนของอเมริกาป่วนไปทั้งประเทศ
7. ผู้บริหารออกอาการ
คำให้สัมภาษณ์หรือคำพูดของผู้บริหารทุกระดับ ทั้งในที่สาธารณะและในที่รโหฐาน ย่อมสะท้อนได้ถึงสถานะและสุขภาพของกิจการ หากพวกเขาแสดงความห่วงใยอนาคตของกิจการหรือความกลัวลึกๆ บางอย่างออกมา ก็จงพึงสังวรว่า กิจการนั้นอาจกำลังเผชิญปัญหาใหญ่อยู่ ก็เป็นได้
8. เปลี่ยนผู้บริหารบ่อย
กิจการใดที่ผู้บริหารเข้าออกเป็นว่าเล่น ย่อมต้องมีปัญหาอย่างแน่นอน หากไม่หาทางป้องกันแต่เนิ่นๆ โอกาสที่จะถด ถอยอย่างถาวร หรือล่มสลายไปเลย ก็มีสูง
9. ส่วนแบ่งตลาดตก
สินค้าและบริการใดที่ Market Share ลดลง โดยเฉพาะกับการลดลงอย่างฮวบฮาบ หรือลดลงอย่างต่อเนื่อง ติดต่อกันเป็นเวลายาวนานนั้น ก็ต้องทำใจได้เลยว่าสินค้าและบริการดังกล่าวกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย
10. ไร้กระบวนท่า
กิจการที่ไม่มีแผน หรือผู้บริหารขาดความคิดเชิงกลยุทธ์ สักแต่ว่าดำเนินธุรกิจไปวันๆ ก็เป็นอาการอย่างหนึ่งที่น่าวิตก หากเราต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการประเภทนี้ ไม่ว่าจะในฐานะลูกจ้าง ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ ลูกค้า หรือซัพพลายเออร์ ก็ต้องเอะใจไว้ก่อน และก็ต้องหาข้อมูลเชิงลึกดูว่า “ความไร้กระบวนท่า” ดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องจริงจังแค่ไหน เป็นเพียงภาพลวงเพื่อหลอกคู่แข่งให้ตายใจหรือเปล่า... แต่ถ้ามันโบ๋เบ๋จริง ก็ทำใจได้เลยว่ากิจการที่ท่านเกี่ยวข้องนั้นกำลังเผชิญความถดถอยเข้าให้แล้ว
ที่มา : http://www.mbamagazine.net/home/index.p ... strategy-1
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 83
Subject : Turnaround Strategy (2)
ธุรกิจที่ถดถอยก็เหมือนคนที่กำลังเจ็บป่วย เมื่อไปหาหมอ หมอก็ไถ่ถามอาการก่อน เพื่อหาสมมติฐานของโรค หมอที่เก่งๆ ผ่าน Case มาเยอะ พอเห็นอาการก็บอกได้เลยว่าเป็นโรคอะไร คนทั่วไปป่วยเป็นโรคพื้นๆ ที่รู้กันอยู่แล้ว ประเภทเห็นอาการปุ๊บ ก็จ่ายยากันได้เลย จะมีส่วนน้อยเท่านั้นที่ป่วยเป็นโรคซับซ้อนต้องเสียเวลาตรวจเชื้อ กว่าจะรู้ว่าเป็นอะไร
ธุรกิจที่กำลังจะล่มสลายก็เหมือนกัน ส่วนใหญ่มีที่มาจากสาเหตุพื้นๆ ซึ่งคล้าย คลึงกัน เช่น ผู้บริหารไม่เก่ง หรือผู้บริหารโกง หรือไม่ก็ควบคุมเรื่องเงินทองไม่ทั่วถึง ทำให้รั่วไหล เกิดการใช้เงินผิดประเภท หรือใช้จ่ายเกินตัวโดยพลั้งเผลอไป ฯลฯ
เหตุแห่งหายนะ
สาเหตุหลักแห่งความถดถอยของธุรกิจตามที่ Stuart Slatter รวบรวมจากกิจการในประเทศอังกฤษซึ่งก็น่าจะคล้ายคลึงกับกิจการที่กำลังถดถอยในเมืองไทย สามารถจัดเป็นกลุ่มสำคัญๆ ได้ดังต่อไปนี้คือ
1. ผู้บริหารไร้ความสามารถ
Carl Von Clausewitz เคยกล่าวไว้ในหนังสือ On War ซึ่งถือเป็นตำราพิชัยสงครามเล่มสำคัญของฝรั่งว่า
“การรบนั้นจะชนะศึกได้หรือไม่ แม่ทัพเป็นตัวชี้ขาด”
Clausewitz มองว่า ความสามารถทางสติปัญญา ความมุ่งมั่น ตลอดจนคุณธรรมของผู้นำ มีความสำคัญมากในการศึก หรือแม้แต่ซุนวู ก็เคยกล่าวทำนองนี้มาก่อน
ในทางธุรกิจก็เช่นเดียวกัน หากผู้นำหรือคณะผู้นำไร้ความสามารถ ขาดความรู้ความชำนาญในธุรกิจของบริษัท หรือขาดคุณธรรมในเชิงการจัดการ ไม่สามารถเป็นตัวอย่างในทางสร้างสรรค์ให้ลูกน้องได้แล้วไซร้ โอกาสที่ธุรกิจนั้นจะล้มเหลวก็มีสูง กิจการที่ผู้คณะบริหารละเลยไม่ใส่ใจต่อบริษัท เอาแต่หาผลประโยชน์ส่วนตัว หรือละเลย Core Business ของบริษัท ไปสนใจเรื่องเล็กเรื่องน้อย หรือเรื่องอื่นที่ไม่ใช่หัวใจสำคัญแห่งการอยู่รอดหรือเจริญเติบโตของกิจการ ก็อาจถึงการถดถอยในไม่ช้า ตัวอย่างในทำนองนี้ มีให้เห็นมากมายในแวดวงธุรกิจไทย
2. หละหลวมเรื่องเงินทอง
กิจการใดที่ระบบควบคุมทางการเงินไม่มีประสิทธิภาพ โอกาสที่จะเกิดรั่วไหลก็มีสูง การรั่วไหลในที่นี้ อาจเกิดเพราะมีคนตั้งใจโกง หรือรั่วไหลแบบไม่ได้ตั้งใจ เนื่องเพราะไม่มีระบบเตือนภัยทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นงบคาดการณ์กระแสรับจ่าย (Cash - forecasts) ระบบควบคุมต้นทุน (Costing systems) หรือระบบงบประมาณรวม (Budgetary Control) การป้องกันปัญหานี้ทำได้ด้วย การวางระบบบัญชี และ MIS (Manag ement Information System) ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับองค์กรนั้นๆ ตลอดจนง่ายแก่การที่ผู้บริหารจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบการตัดสินใจ
3. การแข่งขันสูง
การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งในแง่ของการตัดราคาและการแข่งกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ มักทำให้บริษัทที่อ่อนแอกว่าถดถอยลงได้ บางกิจการที่ไม่เคยเจอการแข่งขันอย่างรุนแรงมาก่อน พอมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาในอุตสาหกรรม แล้วเปลี่ยนกฎเกณฑ์การแข่งขันใหม่อย่างรวดเร็ว ก็อาจทำให้กิจการเดิมนั้นปรับตัวไม่ทันจนถดถอยอย่างไม่เป็นท่าก็มี
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในเมืองไทยเมื่อสิบกว่าปีก่อนคือกิจการค้าปลีก อย่าง เซ็นทรัล กับ โรบินสัน ก่อนหน้านั้นก็แข่งกันมาดีๆ อยู่กันมาอย่างราบเรียบ ทั้งคู่แข่งกันบน Rule of the game อันหนึ่งที่ต่างก็รู้อยู่แก่ใจ เช่น ไม่มีการตัดราคา หรือการให้ Margin กับซัพพลายเออร์ในระดับเดียวกัน ฯลฯ แต่พอซีพีที่ไม่เคยทำกิจการค้าปลีกมาก่อน กระโดดเข้ามาในอุตสาห กรรม ซีพีก็เปลี่ยนกฎเกณฑ์การแข่งขันเสียใหม่ ด้วยการร่วมทุนกับยักษ์ค้าปลีกโลก นำ Convenient Store และ Hypermart เข้ามา ทำให้ผู้เล่นเดิมต้องปรับตัวขนานใหญ่ โรบินสันที่ปรับตัวไม่ทันก็ถดถอยอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดก็ถูกเซ็นทรัลกลืนไป
ในสภาพแวดล้อมใหม่ของอุตสาหกรรมค้าปลีกไทยนั้น เซ็นทรัลกลับเป็นผู้ที่อยู่รอด เพราะสามารถปรับตัวให้เข้ากับ Pattern ของการแข่งขันใหม่ได้ ด้วยการขยาย Line ของผลิตภัณฑ์ (ซึ่งแต่เดิมมุ่งเน้นเฉพาะห้างสรรพสินค้า) เพื่อต่อกรกับผู้เล่นหน้าใหม่ซึ่งถึงเวลานี้ก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะซีพีแล้ว แต่รวมถึงคาร์ฟูร์ โลตัส และ แม็คโคร ฯลฯ
การปรับตัวของผู้ประกอบการเดิม ย่อมต้องอาศัยปัจจัยหลายประการถึงจะประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นทุน ความคิดสร้างสรรค์ และความเข้าใจแบบใหม่ ที่ไม่จำกัดตัวเองกับความสำเร็จในอดีตของตน
ส่วนการหลีกเลี่ยง “สงครามราคา” นั้น ต้องทำโดยการควบคุมต้นทุนให้ต่ำกว่าคู่แข่งขัน พร้อมกับต้องพัฒนาความแตกต่างของสินค้าและบริการของตนเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
4. ต้นทุนสูง
กิจการที่มีโครงสร้างต้นทุนสูงกว่าคู่แข่งขัน ย่อมเสียเปรียบ ซึ่งถ้าแก้ไขไม่ได้ ในระยะยาวแล้ว กิจการนั้น มักเข้าสู่ภาวะถดถอย เพราะต้องสูญเสียส่วนแบ่งการตลาด เนื่องจากต้องขายแพงกว่าคู่แข่ง หรือ ถ้าขายเท่ากัน กำไรก็จะลดลงเรื่อยๆ จนขาดทุนในที่สุด
โดยทั่วไปแล้ว โครงสร้างต้นทุนที่สูงกว่าคู่แข่งขัน จะเกิดจากสาเหตุใหญ่ๆ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นสาเหตุที่ยังพอแก้ไขได้ด้วยการเพิ่ม Economy of Scale ในการผลิต และทักษะความชำนาญในการผลิตให้กับพนักงาน
ทว่า สาเหตุกลุ่มที่สองซึ่งทำให้โครงสร้างต้นทุนของเราสูงกว่าคู่แข่งนั้นเป็นแบบถาวรที่ปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ยาก หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Absolute cost disadvantages เช่น การที่คู่แข่งสามารถครอบครองแหล่งวัตถุดิบได้อย่างถาวร หรือการที่คู่แข่งสามารถจัดจ้างพนักงานที่ค่าตัวถูกได้อยู่เรื่อยๆ ตลอดเวลา หรือการที่คู่แข่งเป็นเจ้าของครอบครองสูตร หรือ know-how การผลิต หรือการที่คู่แข่งได้เปรียบในเรื่องสถานที่ตั้งและการขนส่ง เป็นต้น หากกิจการของเราต้องปะทะกับ คู่แข่งที่เหนือกว่าเราในเชิงต้นทุนแบบถาวรนี้ โอกาสที่เราจะแพ้และเจ๊งก็มีสูง
นอกจากนั้น สาเหตุอื่นที่ทำให้โครงสร้างต้นทุนของเราสูงกว่าคู่แข่งขันอาจเกิดเนื่องมาแต่ความไร้ประสิทธิภาพในการทำงานหรือความซับซ้อนของการจัดองค์กร หรือ สไตล์ของผู้บริหารเป็นแบบฟุ่มเฟือย หรือ บางทีก็อาจเป็นเพราะเราเพิ่งจะขยายไปสู่ธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม ทำให้การเกื้อกูลในเชิงต้นทุนไม่มี หรือ บางทีกฎเกณฑ์ของรัฐบาลและกฎหมายบางอย่าง ก็อาจทำให้ต้นทุนของกิจการบางประเภทสูงกว่าคู่แข่งขันได้เช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นต้นเหตุของปัญหาความถดถอยของธุรกิจทั้งสิ้น
5. ผู้บริโภคเปลี่ยนรสนิยม
ในอดีต เคยมีประเทศเล็กประเทศหนึ่งที่หากินด้วยการส่งออกไม้มะฮอกกานีให้กับตลาดสหรัฐอเมริกา และสามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศตนเสมอมา ทว่า วันดีคืนดี คนสหรัฐฯ เกิดเลิกนิยมเฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้ชนิดดังกล่าวไปแบบดื้อๆ ทำให้ผู้ส่งออกของประเทศเล็กนั้น เกิดปัญหาทันทีเช่นกัน
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบัน คือการที่ผู้บริโภคในยุโรปปฏิเสธการกินอาหารแบบตัดต่อยีน (GMO Food) ก็ทำให้บริษัทอาหารทั่วโลกที่พึ่งเทคโนโลยีนี้กระเทือนอย่างแรง หรือ แม้แต่เจ้าแห่งฟาสต์ฟู้ด อย่าง McDonald ก็กำลังประสบปัญหา เนื่องเพราะคนรุ่นใหม่เริ่มมองว่าอาหารฟาสต์ฟู้ดไม่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นภัยต่อสุขภาพ
หรืออย่างเมื่อไม่นานมานี้ Black Label ยังเป็นเหล้าที่ขายดีมาก แต่มาบัดนี้ ยอดขายของ Black Label ตกฮวบ เนื่องเพราะคนรุ่นใหม่ไม่นิยมดื่มวิสกี้อีกต่อไป พวกเขาหันไปดื่มวอดก้าหรือเตกิลากันแทน
ตัวอย่างที่ยกมา ล้วนเป็นสาเหตุของความถดถอยทางธุรกิจอันเนื่องมาแต่การเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภคทั้งสิ้น
บางทีการเกิดสินค้าทดแทน ก็อาจทำให้ธุรกิจเดิมถดถอยได้เช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นชัดในบ้านเราคือ การรับส่งโทรเลขและจดหมาย เพราะเมื่อมีคนคิดและให้บริการ E-mail ฟรีอย่างกว้างขวางทั่วถึง กิจการไปรษณีย์โทรเลขก็เกือบจะถึงกาลอวสาน หรืออย่างกรณี MP3 ก็ได้ทำให้ค่ายเพลงใหญ่ๆ จำนวนมาก ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์กันแบบขนานใหญ่
เมื่อกิจการของเราประสบกับเหตุการณ์ดังว่ามา เราต้องพิจารณาว่า พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคนั้น เกิดขึ้นแบบประเดี๋ยวประด๋าว หรือเป็นแบบถาวร เพราะถ้าเป็นแบบหลังแล้วละก็ จงเตรียมใจได้เลยว่า ปัญหาใหญ่กำลังมา
6. ราคาวัตถุดิบผันผวน
อันที่จริง กิจการ “สามยักษ์” หรือ The Big Three คือ General Motors, Ford, และ Chrysler ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของอเมริกาที่กำลังซวนเซจวนจะล้มไม่ล้ม เป็น “ลูกผีลูกคน” จนต้องร้องขอรัฐบาลให้เข้าไปอุ้มอยู่ในขณะนี้ มิใช่เพิ่งจะมามีปัญหา กิจการเหล่านี้อมโรคมาช้านาน ตั้งแต่ช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันในยุค 70 โน่นแล้ว ขณะนั้น บริษัทรถยนต์ของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นโตโยต้า ฮอนด้า และมาสด้า สามารถผงาดขึ้นมาเป็นผู้เล่นในระดับโลกอย่างรวดเร็ว และพร้อมๆ กันนั้น “สามยักษ์” แห่งอเมริกา ก็ประสบภาวะถดถอยนับแต่นั้นเป็นต้นมา
กรณีศึกษานี้ ชี้ให้เห็นว่า แม้แต่กิจการยักษ์ใหญ่ยังถดถอยได้ เมื่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ผันผวน เนื่องเพราะ “สามยักษ์” ไม่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่หันมานิยมรถเล็กที่ประหยัดน้ำมันกว่า และราคาถูกกว่า ทำให้ค่ายรถที่จับจุด ถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดไปได้อย่างรวดเร็ว
อันนี้ยังไม่นับว่า หลายกิจการที่ต้องอาศัยสินค้าโภคภัณฑ์อื่นที่นอกเหนือจากน้ำมันเป็นวัตถุดิบในการผลิต เวลาเจอราคาสินค้าพวกนี้ผันผวนอย่างรวดเร็ว ก็อาจเจ๊งได้ง่ายๆ
ตัวอย่างที่เห็นชัดในบ้านเรา ครั้งวิกฤตเศรษฐกิจรอบก่อน คือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว บริษัท Real Estate ก็ประสบปัญหาทันที ทั้งนี้เพราะอัตราดอกเบี้ยก็เป็นวัตถุดิบอย่างหนึ่งเช่นกัน
หรืออย่างที่น้ำมันผันผวนรอบนี้ ก็ได้ทำให้บริษัทการบินไทย ขาดทุนอย่างมโหฬาร ในรอบปีที่ผ่านมา เป็นต้น
7. องค์กรไร้ความสามัคคี
องค์กรที่มีแต่ความขัดแย้ง ผู้บริหารและพนักงานแบ่งเป็นฝักฝ่าย ตั้งป้อมต่อสู้กันแต่เรื่องส่วนตัวบนต้นทุนของส่วนรวม องค์กรนั้นก็ยากที่จะเจริญได้ องค์กรประเภทนี้ สุดท้ายแล้ว จะไม่เหลือคนดีมีความสามารถอยู่ ผู้บริหารและพนักงานที่มีอยู่ส่วนมาก จะไม่ใส่ความพยายามอย่างถึงที่สุด กระทั่งอาจจะเฉื่อยเนือย ทำงานไปวันๆ ตอบสนองต่อปัญหาช้า สุดท้ายก็จะสู้คู่แข่งไม่ได้ และถดถอยไปเอง
8. ลงทุนเกินตัว
ในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ ธุรกิจในประเทศไทยส่วนใหญ่ ล้วนลงทุนเกินตัว ดังนั้น เมื่อมีการลอยค่าเงินบาท และเศรษฐกิจชะงักงันกะทันหัน ธุรกิจเหล่านั้นจึงเจ๊งกันระนาว แม้แต่ยักษ์ใหญ่บางราย ยังต้องปลดคนงาน เบี้ยวหนี้ หรือถดถอยไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือเลยก็มี เพราะฉะนั้น การลงทุนเกินตัวจึงเหมือนเหรียญสองด้าน หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดี โอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดดก็มี แต่ถ้าทุกอย่างไม่เป็นไปตามคาด ก็อาจนำความหายนะมาสู่กิจการได้เหมือนกัน
9. ซื้อกิจการผิดพลาด
บางทีการขยายตัวด้วยการ Takeover คนอื่น ทำให้กิจการเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่หากกระทำโดยไม่รอบคอบ การ Takeover นั้น อาจนำปัญหามาสู่บริษัทแม่ได้เหมือนกัน อย่างเช่นการประเมินเป้าหมายผิดพลาด ดันไปซื้อกิจการประเภท Loser หรือกิจการที่อ่อนแอเข้ามา เหมือนเอาน้ำเน่ามารวมกับน้ำดี พออยู่ๆ ไป ก็พลอยทำให้น้ำดีเสียไปด้วย
หรือบางที การจ่ายราคาซื้อกิจการอาจสูงมากเสียจนทำให้บริษัทแม่ซวนเซก็มีอยู่บ่อยๆ แต่ที่พบบ่อยมากกว่านั้น คือ ปัญหาอันเนื่องมาแต่การจัดการ หลังจากผนวกกิจการอื่นเข้ามาแล้ว เช่น วัฒนธรรมองค์กรเข้ากันไม่ได้ หรือผู้บริหารจัดสรรอำนาจกันไม่ลงตัว ฯลฯ เหล่านี้ย่อมทำให้ส่วนรวมถดถอยไปด้วยอย่างแน่นอน
10. นโยบายการเงินผิดพลาด
นโยบายการเงินที่ผิดพลาดก็อาจเป็นที่มาแห่งความถดถอยได้เช่นเดียวกัน ที่พบบ่อยที่สุดก็คือการกู้หนี้ยืมสินเกินตัว หรือกู้ยืมเงินจากแหล่งนอกระบบที่อัตราดอกเบี้ยสูง หรือใช้เงินผิดประเภท เช่น กู้หนี้ระยะสั้นมาลงทุนระยะยาว เป็นต้น ในทางกลับกัน นโยบายการเงินที่ Conservative เกินไป ก็อาจทำให้องค์กรเกิดปัญหาได้เหมือนกัน
11. ค้าขายเกินตัว
กิจการที่กำลังเติบโตส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นที่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของยอดขาย แต่ละเลยในเรื่องกำไร บางทีการมองที่การเติบโตฝ่ายเดียว อาจทำให้มาร์จิ้นโดยรวมลดลง เพราะการขายเพิ่มก็ต้องลงทุนเพิ่มเป็นเงาตามตัว และอาจต้องเพิ่มจำนวนลูกค้าบางประเภทที่ไม่ทำให้บริษัทได้กำไร ทำให้กิจการเกิดปัญหาการเงินขึ้นได้
กลยุทธ์การพลิกฟื้นกิจการ
1. เปลี่ยนผู้นำ
ในสถานการณ์ที่ต้องพลิกฟื้นกิจการหรือ Turnaround Situation ส่วนใหญ่ มักต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารระดับสูงเสมอ ทั้งนี้ เพราะผู้บริหารเดิมมักเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กิจการเกิดปัญหาชะงักงันหรือถดถอย ไม่ว่าจะเกิดจากการโกง ความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารงาน หรือการขาดวิสัยทัศน์ก็ตามที แต่บางทีก็มีเหมือนกันที่แม้ความถดถอยขององค์กรนั้นเกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ทว่า ผู้บริหารก็ถูกเปลี่ยนอยู่ดี เพราะสถานการณ์โดยรวมต้องการ “แพะรับบาป” ที่ทุกคนจะชี้นิ้วหาคนรับผิดชอบ
ผู้บริหารใหม่ที่จะเข้ามาเป็น Turnaround Manager นั้น ไม่จำเป็นต้องอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมเดียวกันก็ได้ อย่างกรณีของไอบีเอ็มที่ไม่เคยเอาคนนอกเข้ามาเป็นผู้บริหารระดับสูงมาก่อนนั้น หลังจากที่ประสบปัญหาอย่างหนักจน จอห์น เอเคอร์ ต้องออกแล้ว คณะสรรหาก็ต้องตัดสินใจว่าจ้าง ลู เกิร์ตสเนอร์ จาก RJR NABISCO ซึ่งเป็นกิจการอาหาร เข้ามาเป็นซีอีโอแทน และเมื่อเวลาผ่านไป ก็พิสูจน์แล้วว่า เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะเกิร์ตสเนอร์มาพร้อมกับกระบวนทัศน์ในการสร้างความมั่งคั่งให้กับไอบีเอ็มในรูปแบบใหม่ พร้อมกับความคิดแหวกแนวต่างๆ ที่คนในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ด้วยกันยากจะคิดออก
การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารนั้น บางทีก็ต้องเปลี่ยนกัน “ทั้งคณะ” หรือทั้งทีม เพื่อแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จ และป้องกันปัญหาหาใหม่ที่อาจเกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารกลุ่มใหม่กับกลุ่มเดิม
ในทางปฏิบัติ การเปลี่ยนทีมบริหาร ต้องเริ่มจากหา “หัว” หรือ Chief Executive ให้ได้เสียก่อน เพื่อให้หัวนั้นไปหาทีมของเขาเอง
อันที่จริงแนวคิดของ Turnaround Strategy นั้น มิได้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องธุรกิจ แม้การบริหารประเทศหรือบริหารราชการแผ่นดิน ก็ใช้แนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ด้วย เพราะเมื่อรัฐบาลใดบริหารงานผิดพลาด พาประเทศชาติไปผิดทิศผิดทาง ประชาชนซึ่งอุปมาเหมือนผู้ถือหุ้น ก็ต้องแสวงหาผู้นำคนใหม่ที่มีแนวทางพลิกฟื้นประเทศอย่างชัดเจนมาแทน
2. คุมเข้มเงินทอง
หลังเปลี่ยนผู้บริหารชุดใหม่แล้ว กลยุทธ์แรกที่นิยมนำมาใช้ในการพลิกฟื้นกิจการคือ “การเข้มงวดทางการเงิน” การเข้มงวดเรื่องเงินทอง มิได้หมายความว่า บริษัทจะไม่ใช้จ่ายเงิน แต่หมายถึง ความเข้มงวดในการตรวจสอบและการให้ความสำคัญกับข้อมูลทางการเงิน เพื่อป้องกันการรั่วไหล ทั้งทางด้านรายได้ที่ต้องติดตามเก็บเงินให้ได้ตามเป้าภายในระยะเวลาที่กำหนด และทางด้านรายจ่ายที่ต้องใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยทั่วไปแล้ว ในระยะแรก ผู้บริหารชุดใหม่จะต้องลงมาเล่นเองในเรื่องเงินทอง โดยการรวมศูนย์นโยบายการเงินเข้ามาไว้ที่ส่วนกลาง เพราะยิ่งเป็นกิจการใหญ่ที่มีบริษัทลูกจำนวนมาก โอกาสที่จะควบคุมไม่ถึงก็มี
3. ปรับโครงสร้าง
การปรับโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อให้รองรับกับแนวคิดหรือกระบวนทัศน์ใหม่เป็นเรื่องที่ต้องทำ และพร้อมกันนี้ ก็อาจมีการประเมินบุคลากรทั้งระบบใหม่ โดยมีจุดหมายที่การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งเพื่อบรรจุตามโครงสร้างใหม่ ซึ่งถ้าบุคลากรข้างในคุณสมบัติไม่ตรง ก็ต้องหามาจากข้างนอก
พร้อมกันนี้ ก็อาจทำการกระจายอำนาจไปยังหน่วยบริหารย่อยต่างๆ เพื่อเตรียมบุกอีกรอบ หลังจากที่ปัดกวาดบ้านเสร็จแล้ว
คำว่ากระจายอำนาจ หมายถึงการกระจายความรับผิดชอบและอำนาจการตัดสินใจ ในเชิงการบริหาร ทว่า นโยบายการเงินนั้น ส่วนใหญ่จะถูกควบคุมไว้ที่ส่วนกลางเหมือนเดิม
4. หาตลาดใหม่
หลังจากปัดกวาดบ้านและปรับองค์กรใหม่ หรือ ตั้งมั่นในลักษณะ “พร้อมรบ” แล้ว ก็ถึงคราวที่จะต้องหันมามองทางด้านการตลาดกันอย่างจริงจัง
ในกระบวนการกำหนดแผนการตลาดเชิงยุทธ์ หรือ Marketing Strategy นั้น จะต้องประเมินตลาด คู่แข่งขัน และ ทรัพยากรของเราไปพร้อมกัน การหาตลาดใหม่ และการคิดค้นผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการฟื้นฟูกิจการ
5. ยกระดับการตลาด
การยกระดับการตลาด นับเป็นมิติหนึ่งของกลยุทธ์การฟื้นฟูกิจการ การยกระดับที่ว่านี้ ต้องยกระดับทั้ง Value Chain ตั้งแต่กระบวนการวางแผน การตั้งเป้าหมาย การกำหนดกลยุทธ์ของแต่ละผลิตภัณฑ์ ยุทธวิธีที่จะใช้ในแต่ละช่วง ไปจนถึงการควบคุมให้ได้ผลในเชิงปฏิบัติ
6. เข้าซื้อกิจการ
บางทีการเข้าซื้อกิจการอื่นอาจเป็นทางเลือกที่ดีในการพลิกฟื้นสถานะขององค์กรที่กำลังถดถอย กลยุทธ์แบบนี้ อุปมาเหมือน “หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง” คือ เมื่อกิจการของเรากำลังถดถอยเพราะคู่แข่งขัน เราก็ต้องหาทางเข้า Takeover คู่แข่งขันรายนั้นเสีย หรือ หาทางเอาคู่แข่งขันที่เหลือมาเป็นพวกเพื่อสร้างให้ฐานเราแข็งขึ้น
การซื้อกิจการ อาจเป็นการซื้อข้ามอุตสาหกรรม เช่น กิจการ บุหรี่ในสหรัฐอเมริกา เมื่อเริ่มรู้ตัวว่า ธุรกิจบุหรี่นั้น อิ่มตัวแล้ว เพราะคนรุ่นใหม่สูบบุหรี่น้อยลง อีกทั้งกระแสรักสุขภาพที่กำลังมาแรงมาก หากปล่อยแบบนี้ ในอนาคตเขาจะแย่ จึงหาทางแก้ลำโดยการเข้าซื้อกิจการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ (เช่นธุรกิจอาหาร) โดยหวังว่าจะสามารถยึดกิจการนั้นเป็นหลักในอนาคต เมื่อบุหรี่ถดถอยไป
หรือบางที การใช้กลยุทธ์ Takeover เพื่อพลิกฟื้นสถานะของกิจการ อาจต้องทำโดยการเข้าซื้อกิจการต้นน้ำและปลายน้ำให้หมดเพื่อครอบครองตลาดแต่ผู้เดียว ในกรณีที่รู้แน่แล้วว่า โครงสร้างอุตสาหกรรมนั้น กำลังถดถอยทั้งระบบ ดังนั้น การซื้อคู่แข่งออกไปให้หมด พร้อมทั้งเข้าควบคุม Value Chain ตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงตลาด ก็จะทำให้เรากำหนดเกมของอุตสาหกรรมได้คนเดียว หลังจากนั้น ถึงจะดำเนินกลยุทธ์ “เก็บเกี่ยว” หรือ Harvest อย่างเต็มที่ โดยเริ่มขายสินทรัพย์ที่ไม่เกี่ยวข้องทิ้ง ลดต้นทุน และหยุดลงทุน เพื่อรีดเงินสดเข้ากระเป๋าให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
บางทีเราเรียกกลยุทธ์แบบนี้ว่า End-game Strategy หรือ “กลยุทธ์ทิ้งทวนธุรกิจ” ซึ่งอุปมาเหมือนกับพระเจ้าตากสั่งทุบหม้อข้าวหม้อแกงก่อนตีเมืองจันทบุรี
7. ตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต
การตัดสินทรัพย์ขายทอดตลาด หรือ Devestment ก็สามารถนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการพลิกฟื้นกิจการได้เช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว กลยุทธ์นี้ จะใช้ร่วมกับกลยุทธ์แบบอื่น เช่น การลดต้นทุน หรือการลงทุนเพิ่มในกิจการหลัก เพราะสินทรัพย์ที่ถูกตัดขาย จะเป็นสินทรัพย์ที่มิใช่ Core Business หรือ ธุรกิจหลักของกิจการ
ตัวอย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์นั้น หลังวิกฤตรอบก่อน ก็ได้ตัดขายกิจการที่ไม่ใช่ Core Business ไปจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ในเมืองจีน โรงงานเบียร์ กิจการน้ำมัน หรือ แม้แต่กิจการค้าปลีกในเมืองไทยบางส่วน ซึ่งทำเงินให้กับเครือฯ อย่างต่อเนื่อง
8. ลงทุนเพิ่ม
การลงทุนเพิ่มในภาวะถดถอย นับเป็นกลยุทธ์ประเภท “หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง” เช่นเดียวกัน โดยที่การลงทุนนั้น อาจเป็นไปเพื่อการเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ หรือ เข้าสู่ตลาดใหม่ หรือ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งหวังให้เป็น “อนาคตใหม่” ของกิจการ
การลงทุนในภาวะถดถอย ต้องอาศัยความหนักแน่นและมั่นใจในหมู่ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นมาก ดังนั้น ผู้บริหารต้องมีข้อมูลที่แน่ชัด เพราะในภาวะถดถอยนั้น ทุกคนจะเสียกำลังใจ และมองอะไรในแง่ร้ายไปหมด ผู้บริหารที่เชื่อในแนวทางนี้ ต้องมีความมุ่งมั่นสูงมาก เพราะเป็นการดำเนินกลยุทธ์แบบ “ฝืนจิตวิทยา” ของคนส่วนใหญ่ในองค์กร
แต่ขณะเดียวกัน การลงทุนเพิ่มในภาวะถดถอย ก็เป็นการสร้างความหวัง และแรงบันดาลใจ ให้กับคนในองค์กรได้เช่นกัน
9. ปรับโครงสร้างหนี้
การปรับโครงสร้างหนี้ เหมาะสำหรับกิจการที่ยังมีอนาคตดี แต่ประสบปัญหาเพราะมีหนี้สินเกินพอดี หรือใช้เงินผิด
ประเภท เช่น กู้เงินระยะสั้นมาลงทุนในโครงการที่ต้องอาศัยเวลานานกว่าจะคืนทุน หรือกู้เงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเกินควร เป็นต้น
การปรับโครงสร้างหนี้ หมายถึงการเจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อขอผ่อนผันการชำระเงิน การขอลดดอกเบี้ย หรือ ลดเงินต้น หรือขอ แปลงหนี้สินเป็นทุน เป็นต้น
ผู้ที่เคยผ่านวิกฤตรอบก่อนมาย่อมทราบอยู่แก่ใจดีว่า กิจการในเมืองไทยจำนวนมาก ที่ผ่านกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ แล้วกลับมาเติบโตอีกรอบนั้น มีให้เห็นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกิจการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ทั้งหลาย
กันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วอาจแก้ไม่ทัน
กลยุทธ์การพลิกฟื้นกิจการ อาจมีได้อีกหลายรูปแบบ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว เปรียบไปเหมือนการรักษาโรค หมอแต่ละคนก็มีวิธีของตัวเอง ยิ่งหมอที่ได้รับการอบรมต่างวัฒนธรรมกัน ก็ยิ่งใช้วิธีรักษาต่างกัน อย่างหมอจีนก็อาจให้ฝังเข็ม หรือ หมอแขกก็ให้กินสมุนไพร เป็นต้น
วัฒนธรรมองค์กร นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้การนำกลยุทธ์พลิกฟื้นกิจการมาใช้ให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น “นักฟื้นฟูกิจการ” ทั้งหลาย ต้องศึกษาวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องเข้าไปฟื้นฟูให้ถ่องแท้เสียก่อนที่จะตัดสินใจนำกลยุทธ์ข้างต้นไปใช้
แม้ “กลยุทธ์พลิกฟื้นกิจการ” หรือ “กลยุทธ์ฝ่าพงหนาม” หรือ Turnaround Strategy ที่ว่ามาแล้ว จะเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ผู้บริหารทุกคนต้องรู้ไว้ แต่ผู้บริหารที่เก่งกาจ ย่อมต้องเล็งเห็นการณ์ไกล และ “ป้องกัน” มิให้กิจการของตัวเองเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ก่อนในเบื้องแรก
เพราะแม้ว่า “วิธีฝ่า” พงหนามจะสำคัญ แต่การ “หลีก” พงหนาม หรือ “ถาง” (หรือไม่ก็เผา) พงหนามทิ้งแต่แรก ก่อนที่เราจะผ่านทางนั้น ย่อมสำคัญกว่า
วิกฤตเศรษฐกิจโลกรอบนี้ คงจะหนักหนาสาหัสอีกมาก ผมหวังว่า “แก่นความคิด” เรื่อง Turnaround Strategy ที่แสดงมาแล้วโดยพิสดาร จะช่วยให้ทุกคนรอดพ้นจากมหันตภัยครั้งนี้ไปได้โดยสวัสดี
ขอให้โชคดี!
......................................
โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
http://www.mba-magazine.blogspot.com
Source : http://www.mbamagazine.net/home/index.p ... strategy-2
ธุรกิจที่ถดถอยก็เหมือนคนที่กำลังเจ็บป่วย เมื่อไปหาหมอ หมอก็ไถ่ถามอาการก่อน เพื่อหาสมมติฐานของโรค หมอที่เก่งๆ ผ่าน Case มาเยอะ พอเห็นอาการก็บอกได้เลยว่าเป็นโรคอะไร คนทั่วไปป่วยเป็นโรคพื้นๆ ที่รู้กันอยู่แล้ว ประเภทเห็นอาการปุ๊บ ก็จ่ายยากันได้เลย จะมีส่วนน้อยเท่านั้นที่ป่วยเป็นโรคซับซ้อนต้องเสียเวลาตรวจเชื้อ กว่าจะรู้ว่าเป็นอะไร
ธุรกิจที่กำลังจะล่มสลายก็เหมือนกัน ส่วนใหญ่มีที่มาจากสาเหตุพื้นๆ ซึ่งคล้าย คลึงกัน เช่น ผู้บริหารไม่เก่ง หรือผู้บริหารโกง หรือไม่ก็ควบคุมเรื่องเงินทองไม่ทั่วถึง ทำให้รั่วไหล เกิดการใช้เงินผิดประเภท หรือใช้จ่ายเกินตัวโดยพลั้งเผลอไป ฯลฯ
เหตุแห่งหายนะ
สาเหตุหลักแห่งความถดถอยของธุรกิจตามที่ Stuart Slatter รวบรวมจากกิจการในประเทศอังกฤษซึ่งก็น่าจะคล้ายคลึงกับกิจการที่กำลังถดถอยในเมืองไทย สามารถจัดเป็นกลุ่มสำคัญๆ ได้ดังต่อไปนี้คือ
1. ผู้บริหารไร้ความสามารถ
Carl Von Clausewitz เคยกล่าวไว้ในหนังสือ On War ซึ่งถือเป็นตำราพิชัยสงครามเล่มสำคัญของฝรั่งว่า
“การรบนั้นจะชนะศึกได้หรือไม่ แม่ทัพเป็นตัวชี้ขาด”
Clausewitz มองว่า ความสามารถทางสติปัญญา ความมุ่งมั่น ตลอดจนคุณธรรมของผู้นำ มีความสำคัญมากในการศึก หรือแม้แต่ซุนวู ก็เคยกล่าวทำนองนี้มาก่อน
ในทางธุรกิจก็เช่นเดียวกัน หากผู้นำหรือคณะผู้นำไร้ความสามารถ ขาดความรู้ความชำนาญในธุรกิจของบริษัท หรือขาดคุณธรรมในเชิงการจัดการ ไม่สามารถเป็นตัวอย่างในทางสร้างสรรค์ให้ลูกน้องได้แล้วไซร้ โอกาสที่ธุรกิจนั้นจะล้มเหลวก็มีสูง กิจการที่ผู้คณะบริหารละเลยไม่ใส่ใจต่อบริษัท เอาแต่หาผลประโยชน์ส่วนตัว หรือละเลย Core Business ของบริษัท ไปสนใจเรื่องเล็กเรื่องน้อย หรือเรื่องอื่นที่ไม่ใช่หัวใจสำคัญแห่งการอยู่รอดหรือเจริญเติบโตของกิจการ ก็อาจถึงการถดถอยในไม่ช้า ตัวอย่างในทำนองนี้ มีให้เห็นมากมายในแวดวงธุรกิจไทย
2. หละหลวมเรื่องเงินทอง
กิจการใดที่ระบบควบคุมทางการเงินไม่มีประสิทธิภาพ โอกาสที่จะเกิดรั่วไหลก็มีสูง การรั่วไหลในที่นี้ อาจเกิดเพราะมีคนตั้งใจโกง หรือรั่วไหลแบบไม่ได้ตั้งใจ เนื่องเพราะไม่มีระบบเตือนภัยทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นงบคาดการณ์กระแสรับจ่าย (Cash - forecasts) ระบบควบคุมต้นทุน (Costing systems) หรือระบบงบประมาณรวม (Budgetary Control) การป้องกันปัญหานี้ทำได้ด้วย การวางระบบบัญชี และ MIS (Manag ement Information System) ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับองค์กรนั้นๆ ตลอดจนง่ายแก่การที่ผู้บริหารจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบการตัดสินใจ
3. การแข่งขันสูง
การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งในแง่ของการตัดราคาและการแข่งกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ มักทำให้บริษัทที่อ่อนแอกว่าถดถอยลงได้ บางกิจการที่ไม่เคยเจอการแข่งขันอย่างรุนแรงมาก่อน พอมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาในอุตสาหกรรม แล้วเปลี่ยนกฎเกณฑ์การแข่งขันใหม่อย่างรวดเร็ว ก็อาจทำให้กิจการเดิมนั้นปรับตัวไม่ทันจนถดถอยอย่างไม่เป็นท่าก็มี
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในเมืองไทยเมื่อสิบกว่าปีก่อนคือกิจการค้าปลีก อย่าง เซ็นทรัล กับ โรบินสัน ก่อนหน้านั้นก็แข่งกันมาดีๆ อยู่กันมาอย่างราบเรียบ ทั้งคู่แข่งกันบน Rule of the game อันหนึ่งที่ต่างก็รู้อยู่แก่ใจ เช่น ไม่มีการตัดราคา หรือการให้ Margin กับซัพพลายเออร์ในระดับเดียวกัน ฯลฯ แต่พอซีพีที่ไม่เคยทำกิจการค้าปลีกมาก่อน กระโดดเข้ามาในอุตสาห กรรม ซีพีก็เปลี่ยนกฎเกณฑ์การแข่งขันเสียใหม่ ด้วยการร่วมทุนกับยักษ์ค้าปลีกโลก นำ Convenient Store และ Hypermart เข้ามา ทำให้ผู้เล่นเดิมต้องปรับตัวขนานใหญ่ โรบินสันที่ปรับตัวไม่ทันก็ถดถอยอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดก็ถูกเซ็นทรัลกลืนไป
ในสภาพแวดล้อมใหม่ของอุตสาหกรรมค้าปลีกไทยนั้น เซ็นทรัลกลับเป็นผู้ที่อยู่รอด เพราะสามารถปรับตัวให้เข้ากับ Pattern ของการแข่งขันใหม่ได้ ด้วยการขยาย Line ของผลิตภัณฑ์ (ซึ่งแต่เดิมมุ่งเน้นเฉพาะห้างสรรพสินค้า) เพื่อต่อกรกับผู้เล่นหน้าใหม่ซึ่งถึงเวลานี้ก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะซีพีแล้ว แต่รวมถึงคาร์ฟูร์ โลตัส และ แม็คโคร ฯลฯ
การปรับตัวของผู้ประกอบการเดิม ย่อมต้องอาศัยปัจจัยหลายประการถึงจะประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นทุน ความคิดสร้างสรรค์ และความเข้าใจแบบใหม่ ที่ไม่จำกัดตัวเองกับความสำเร็จในอดีตของตน
ส่วนการหลีกเลี่ยง “สงครามราคา” นั้น ต้องทำโดยการควบคุมต้นทุนให้ต่ำกว่าคู่แข่งขัน พร้อมกับต้องพัฒนาความแตกต่างของสินค้าและบริการของตนเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
4. ต้นทุนสูง
กิจการที่มีโครงสร้างต้นทุนสูงกว่าคู่แข่งขัน ย่อมเสียเปรียบ ซึ่งถ้าแก้ไขไม่ได้ ในระยะยาวแล้ว กิจการนั้น มักเข้าสู่ภาวะถดถอย เพราะต้องสูญเสียส่วนแบ่งการตลาด เนื่องจากต้องขายแพงกว่าคู่แข่ง หรือ ถ้าขายเท่ากัน กำไรก็จะลดลงเรื่อยๆ จนขาดทุนในที่สุด
โดยทั่วไปแล้ว โครงสร้างต้นทุนที่สูงกว่าคู่แข่งขัน จะเกิดจากสาเหตุใหญ่ๆ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นสาเหตุที่ยังพอแก้ไขได้ด้วยการเพิ่ม Economy of Scale ในการผลิต และทักษะความชำนาญในการผลิตให้กับพนักงาน
ทว่า สาเหตุกลุ่มที่สองซึ่งทำให้โครงสร้างต้นทุนของเราสูงกว่าคู่แข่งนั้นเป็นแบบถาวรที่ปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ยาก หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Absolute cost disadvantages เช่น การที่คู่แข่งสามารถครอบครองแหล่งวัตถุดิบได้อย่างถาวร หรือการที่คู่แข่งสามารถจัดจ้างพนักงานที่ค่าตัวถูกได้อยู่เรื่อยๆ ตลอดเวลา หรือการที่คู่แข่งเป็นเจ้าของครอบครองสูตร หรือ know-how การผลิต หรือการที่คู่แข่งได้เปรียบในเรื่องสถานที่ตั้งและการขนส่ง เป็นต้น หากกิจการของเราต้องปะทะกับ คู่แข่งที่เหนือกว่าเราในเชิงต้นทุนแบบถาวรนี้ โอกาสที่เราจะแพ้และเจ๊งก็มีสูง
นอกจากนั้น สาเหตุอื่นที่ทำให้โครงสร้างต้นทุนของเราสูงกว่าคู่แข่งขันอาจเกิดเนื่องมาแต่ความไร้ประสิทธิภาพในการทำงานหรือความซับซ้อนของการจัดองค์กร หรือ สไตล์ของผู้บริหารเป็นแบบฟุ่มเฟือย หรือ บางทีก็อาจเป็นเพราะเราเพิ่งจะขยายไปสู่ธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม ทำให้การเกื้อกูลในเชิงต้นทุนไม่มี หรือ บางทีกฎเกณฑ์ของรัฐบาลและกฎหมายบางอย่าง ก็อาจทำให้ต้นทุนของกิจการบางประเภทสูงกว่าคู่แข่งขันได้เช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นต้นเหตุของปัญหาความถดถอยของธุรกิจทั้งสิ้น
5. ผู้บริโภคเปลี่ยนรสนิยม
ในอดีต เคยมีประเทศเล็กประเทศหนึ่งที่หากินด้วยการส่งออกไม้มะฮอกกานีให้กับตลาดสหรัฐอเมริกา และสามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศตนเสมอมา ทว่า วันดีคืนดี คนสหรัฐฯ เกิดเลิกนิยมเฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้ชนิดดังกล่าวไปแบบดื้อๆ ทำให้ผู้ส่งออกของประเทศเล็กนั้น เกิดปัญหาทันทีเช่นกัน
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบัน คือการที่ผู้บริโภคในยุโรปปฏิเสธการกินอาหารแบบตัดต่อยีน (GMO Food) ก็ทำให้บริษัทอาหารทั่วโลกที่พึ่งเทคโนโลยีนี้กระเทือนอย่างแรง หรือ แม้แต่เจ้าแห่งฟาสต์ฟู้ด อย่าง McDonald ก็กำลังประสบปัญหา เนื่องเพราะคนรุ่นใหม่เริ่มมองว่าอาหารฟาสต์ฟู้ดไม่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นภัยต่อสุขภาพ
หรืออย่างเมื่อไม่นานมานี้ Black Label ยังเป็นเหล้าที่ขายดีมาก แต่มาบัดนี้ ยอดขายของ Black Label ตกฮวบ เนื่องเพราะคนรุ่นใหม่ไม่นิยมดื่มวิสกี้อีกต่อไป พวกเขาหันไปดื่มวอดก้าหรือเตกิลากันแทน
ตัวอย่างที่ยกมา ล้วนเป็นสาเหตุของความถดถอยทางธุรกิจอันเนื่องมาแต่การเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภคทั้งสิ้น
บางทีการเกิดสินค้าทดแทน ก็อาจทำให้ธุรกิจเดิมถดถอยได้เช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นชัดในบ้านเราคือ การรับส่งโทรเลขและจดหมาย เพราะเมื่อมีคนคิดและให้บริการ E-mail ฟรีอย่างกว้างขวางทั่วถึง กิจการไปรษณีย์โทรเลขก็เกือบจะถึงกาลอวสาน หรืออย่างกรณี MP3 ก็ได้ทำให้ค่ายเพลงใหญ่ๆ จำนวนมาก ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์กันแบบขนานใหญ่
เมื่อกิจการของเราประสบกับเหตุการณ์ดังว่ามา เราต้องพิจารณาว่า พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคนั้น เกิดขึ้นแบบประเดี๋ยวประด๋าว หรือเป็นแบบถาวร เพราะถ้าเป็นแบบหลังแล้วละก็ จงเตรียมใจได้เลยว่า ปัญหาใหญ่กำลังมา
6. ราคาวัตถุดิบผันผวน
อันที่จริง กิจการ “สามยักษ์” หรือ The Big Three คือ General Motors, Ford, และ Chrysler ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของอเมริกาที่กำลังซวนเซจวนจะล้มไม่ล้ม เป็น “ลูกผีลูกคน” จนต้องร้องขอรัฐบาลให้เข้าไปอุ้มอยู่ในขณะนี้ มิใช่เพิ่งจะมามีปัญหา กิจการเหล่านี้อมโรคมาช้านาน ตั้งแต่ช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันในยุค 70 โน่นแล้ว ขณะนั้น บริษัทรถยนต์ของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นโตโยต้า ฮอนด้า และมาสด้า สามารถผงาดขึ้นมาเป็นผู้เล่นในระดับโลกอย่างรวดเร็ว และพร้อมๆ กันนั้น “สามยักษ์” แห่งอเมริกา ก็ประสบภาวะถดถอยนับแต่นั้นเป็นต้นมา
กรณีศึกษานี้ ชี้ให้เห็นว่า แม้แต่กิจการยักษ์ใหญ่ยังถดถอยได้ เมื่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ผันผวน เนื่องเพราะ “สามยักษ์” ไม่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่หันมานิยมรถเล็กที่ประหยัดน้ำมันกว่า และราคาถูกกว่า ทำให้ค่ายรถที่จับจุด ถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดไปได้อย่างรวดเร็ว
อันนี้ยังไม่นับว่า หลายกิจการที่ต้องอาศัยสินค้าโภคภัณฑ์อื่นที่นอกเหนือจากน้ำมันเป็นวัตถุดิบในการผลิต เวลาเจอราคาสินค้าพวกนี้ผันผวนอย่างรวดเร็ว ก็อาจเจ๊งได้ง่ายๆ
ตัวอย่างที่เห็นชัดในบ้านเรา ครั้งวิกฤตเศรษฐกิจรอบก่อน คือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว บริษัท Real Estate ก็ประสบปัญหาทันที ทั้งนี้เพราะอัตราดอกเบี้ยก็เป็นวัตถุดิบอย่างหนึ่งเช่นกัน
หรืออย่างที่น้ำมันผันผวนรอบนี้ ก็ได้ทำให้บริษัทการบินไทย ขาดทุนอย่างมโหฬาร ในรอบปีที่ผ่านมา เป็นต้น
7. องค์กรไร้ความสามัคคี
องค์กรที่มีแต่ความขัดแย้ง ผู้บริหารและพนักงานแบ่งเป็นฝักฝ่าย ตั้งป้อมต่อสู้กันแต่เรื่องส่วนตัวบนต้นทุนของส่วนรวม องค์กรนั้นก็ยากที่จะเจริญได้ องค์กรประเภทนี้ สุดท้ายแล้ว จะไม่เหลือคนดีมีความสามารถอยู่ ผู้บริหารและพนักงานที่มีอยู่ส่วนมาก จะไม่ใส่ความพยายามอย่างถึงที่สุด กระทั่งอาจจะเฉื่อยเนือย ทำงานไปวันๆ ตอบสนองต่อปัญหาช้า สุดท้ายก็จะสู้คู่แข่งไม่ได้ และถดถอยไปเอง
8. ลงทุนเกินตัว
ในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ ธุรกิจในประเทศไทยส่วนใหญ่ ล้วนลงทุนเกินตัว ดังนั้น เมื่อมีการลอยค่าเงินบาท และเศรษฐกิจชะงักงันกะทันหัน ธุรกิจเหล่านั้นจึงเจ๊งกันระนาว แม้แต่ยักษ์ใหญ่บางราย ยังต้องปลดคนงาน เบี้ยวหนี้ หรือถดถอยไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือเลยก็มี เพราะฉะนั้น การลงทุนเกินตัวจึงเหมือนเหรียญสองด้าน หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดี โอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดดก็มี แต่ถ้าทุกอย่างไม่เป็นไปตามคาด ก็อาจนำความหายนะมาสู่กิจการได้เหมือนกัน
9. ซื้อกิจการผิดพลาด
บางทีการขยายตัวด้วยการ Takeover คนอื่น ทำให้กิจการเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่หากกระทำโดยไม่รอบคอบ การ Takeover นั้น อาจนำปัญหามาสู่บริษัทแม่ได้เหมือนกัน อย่างเช่นการประเมินเป้าหมายผิดพลาด ดันไปซื้อกิจการประเภท Loser หรือกิจการที่อ่อนแอเข้ามา เหมือนเอาน้ำเน่ามารวมกับน้ำดี พออยู่ๆ ไป ก็พลอยทำให้น้ำดีเสียไปด้วย
หรือบางที การจ่ายราคาซื้อกิจการอาจสูงมากเสียจนทำให้บริษัทแม่ซวนเซก็มีอยู่บ่อยๆ แต่ที่พบบ่อยมากกว่านั้น คือ ปัญหาอันเนื่องมาแต่การจัดการ หลังจากผนวกกิจการอื่นเข้ามาแล้ว เช่น วัฒนธรรมองค์กรเข้ากันไม่ได้ หรือผู้บริหารจัดสรรอำนาจกันไม่ลงตัว ฯลฯ เหล่านี้ย่อมทำให้ส่วนรวมถดถอยไปด้วยอย่างแน่นอน
10. นโยบายการเงินผิดพลาด
นโยบายการเงินที่ผิดพลาดก็อาจเป็นที่มาแห่งความถดถอยได้เช่นเดียวกัน ที่พบบ่อยที่สุดก็คือการกู้หนี้ยืมสินเกินตัว หรือกู้ยืมเงินจากแหล่งนอกระบบที่อัตราดอกเบี้ยสูง หรือใช้เงินผิดประเภท เช่น กู้หนี้ระยะสั้นมาลงทุนระยะยาว เป็นต้น ในทางกลับกัน นโยบายการเงินที่ Conservative เกินไป ก็อาจทำให้องค์กรเกิดปัญหาได้เหมือนกัน
11. ค้าขายเกินตัว
กิจการที่กำลังเติบโตส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นที่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของยอดขาย แต่ละเลยในเรื่องกำไร บางทีการมองที่การเติบโตฝ่ายเดียว อาจทำให้มาร์จิ้นโดยรวมลดลง เพราะการขายเพิ่มก็ต้องลงทุนเพิ่มเป็นเงาตามตัว และอาจต้องเพิ่มจำนวนลูกค้าบางประเภทที่ไม่ทำให้บริษัทได้กำไร ทำให้กิจการเกิดปัญหาการเงินขึ้นได้
กลยุทธ์การพลิกฟื้นกิจการ
1. เปลี่ยนผู้นำ
ในสถานการณ์ที่ต้องพลิกฟื้นกิจการหรือ Turnaround Situation ส่วนใหญ่ มักต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารระดับสูงเสมอ ทั้งนี้ เพราะผู้บริหารเดิมมักเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กิจการเกิดปัญหาชะงักงันหรือถดถอย ไม่ว่าจะเกิดจากการโกง ความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารงาน หรือการขาดวิสัยทัศน์ก็ตามที แต่บางทีก็มีเหมือนกันที่แม้ความถดถอยขององค์กรนั้นเกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ทว่า ผู้บริหารก็ถูกเปลี่ยนอยู่ดี เพราะสถานการณ์โดยรวมต้องการ “แพะรับบาป” ที่ทุกคนจะชี้นิ้วหาคนรับผิดชอบ
ผู้บริหารใหม่ที่จะเข้ามาเป็น Turnaround Manager นั้น ไม่จำเป็นต้องอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมเดียวกันก็ได้ อย่างกรณีของไอบีเอ็มที่ไม่เคยเอาคนนอกเข้ามาเป็นผู้บริหารระดับสูงมาก่อนนั้น หลังจากที่ประสบปัญหาอย่างหนักจน จอห์น เอเคอร์ ต้องออกแล้ว คณะสรรหาก็ต้องตัดสินใจว่าจ้าง ลู เกิร์ตสเนอร์ จาก RJR NABISCO ซึ่งเป็นกิจการอาหาร เข้ามาเป็นซีอีโอแทน และเมื่อเวลาผ่านไป ก็พิสูจน์แล้วว่า เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะเกิร์ตสเนอร์มาพร้อมกับกระบวนทัศน์ในการสร้างความมั่งคั่งให้กับไอบีเอ็มในรูปแบบใหม่ พร้อมกับความคิดแหวกแนวต่างๆ ที่คนในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ด้วยกันยากจะคิดออก
การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารนั้น บางทีก็ต้องเปลี่ยนกัน “ทั้งคณะ” หรือทั้งทีม เพื่อแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จ และป้องกันปัญหาหาใหม่ที่อาจเกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารกลุ่มใหม่กับกลุ่มเดิม
ในทางปฏิบัติ การเปลี่ยนทีมบริหาร ต้องเริ่มจากหา “หัว” หรือ Chief Executive ให้ได้เสียก่อน เพื่อให้หัวนั้นไปหาทีมของเขาเอง
อันที่จริงแนวคิดของ Turnaround Strategy นั้น มิได้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องธุรกิจ แม้การบริหารประเทศหรือบริหารราชการแผ่นดิน ก็ใช้แนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ด้วย เพราะเมื่อรัฐบาลใดบริหารงานผิดพลาด พาประเทศชาติไปผิดทิศผิดทาง ประชาชนซึ่งอุปมาเหมือนผู้ถือหุ้น ก็ต้องแสวงหาผู้นำคนใหม่ที่มีแนวทางพลิกฟื้นประเทศอย่างชัดเจนมาแทน
2. คุมเข้มเงินทอง
หลังเปลี่ยนผู้บริหารชุดใหม่แล้ว กลยุทธ์แรกที่นิยมนำมาใช้ในการพลิกฟื้นกิจการคือ “การเข้มงวดทางการเงิน” การเข้มงวดเรื่องเงินทอง มิได้หมายความว่า บริษัทจะไม่ใช้จ่ายเงิน แต่หมายถึง ความเข้มงวดในการตรวจสอบและการให้ความสำคัญกับข้อมูลทางการเงิน เพื่อป้องกันการรั่วไหล ทั้งทางด้านรายได้ที่ต้องติดตามเก็บเงินให้ได้ตามเป้าภายในระยะเวลาที่กำหนด และทางด้านรายจ่ายที่ต้องใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยทั่วไปแล้ว ในระยะแรก ผู้บริหารชุดใหม่จะต้องลงมาเล่นเองในเรื่องเงินทอง โดยการรวมศูนย์นโยบายการเงินเข้ามาไว้ที่ส่วนกลาง เพราะยิ่งเป็นกิจการใหญ่ที่มีบริษัทลูกจำนวนมาก โอกาสที่จะควบคุมไม่ถึงก็มี
3. ปรับโครงสร้าง
การปรับโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อให้รองรับกับแนวคิดหรือกระบวนทัศน์ใหม่เป็นเรื่องที่ต้องทำ และพร้อมกันนี้ ก็อาจมีการประเมินบุคลากรทั้งระบบใหม่ โดยมีจุดหมายที่การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งเพื่อบรรจุตามโครงสร้างใหม่ ซึ่งถ้าบุคลากรข้างในคุณสมบัติไม่ตรง ก็ต้องหามาจากข้างนอก
พร้อมกันนี้ ก็อาจทำการกระจายอำนาจไปยังหน่วยบริหารย่อยต่างๆ เพื่อเตรียมบุกอีกรอบ หลังจากที่ปัดกวาดบ้านเสร็จแล้ว
คำว่ากระจายอำนาจ หมายถึงการกระจายความรับผิดชอบและอำนาจการตัดสินใจ ในเชิงการบริหาร ทว่า นโยบายการเงินนั้น ส่วนใหญ่จะถูกควบคุมไว้ที่ส่วนกลางเหมือนเดิม
4. หาตลาดใหม่
หลังจากปัดกวาดบ้านและปรับองค์กรใหม่ หรือ ตั้งมั่นในลักษณะ “พร้อมรบ” แล้ว ก็ถึงคราวที่จะต้องหันมามองทางด้านการตลาดกันอย่างจริงจัง
ในกระบวนการกำหนดแผนการตลาดเชิงยุทธ์ หรือ Marketing Strategy นั้น จะต้องประเมินตลาด คู่แข่งขัน และ ทรัพยากรของเราไปพร้อมกัน การหาตลาดใหม่ และการคิดค้นผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการฟื้นฟูกิจการ
5. ยกระดับการตลาด
การยกระดับการตลาด นับเป็นมิติหนึ่งของกลยุทธ์การฟื้นฟูกิจการ การยกระดับที่ว่านี้ ต้องยกระดับทั้ง Value Chain ตั้งแต่กระบวนการวางแผน การตั้งเป้าหมาย การกำหนดกลยุทธ์ของแต่ละผลิตภัณฑ์ ยุทธวิธีที่จะใช้ในแต่ละช่วง ไปจนถึงการควบคุมให้ได้ผลในเชิงปฏิบัติ
6. เข้าซื้อกิจการ
บางทีการเข้าซื้อกิจการอื่นอาจเป็นทางเลือกที่ดีในการพลิกฟื้นสถานะขององค์กรที่กำลังถดถอย กลยุทธ์แบบนี้ อุปมาเหมือน “หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง” คือ เมื่อกิจการของเรากำลังถดถอยเพราะคู่แข่งขัน เราก็ต้องหาทางเข้า Takeover คู่แข่งขันรายนั้นเสีย หรือ หาทางเอาคู่แข่งขันที่เหลือมาเป็นพวกเพื่อสร้างให้ฐานเราแข็งขึ้น
การซื้อกิจการ อาจเป็นการซื้อข้ามอุตสาหกรรม เช่น กิจการ บุหรี่ในสหรัฐอเมริกา เมื่อเริ่มรู้ตัวว่า ธุรกิจบุหรี่นั้น อิ่มตัวแล้ว เพราะคนรุ่นใหม่สูบบุหรี่น้อยลง อีกทั้งกระแสรักสุขภาพที่กำลังมาแรงมาก หากปล่อยแบบนี้ ในอนาคตเขาจะแย่ จึงหาทางแก้ลำโดยการเข้าซื้อกิจการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ (เช่นธุรกิจอาหาร) โดยหวังว่าจะสามารถยึดกิจการนั้นเป็นหลักในอนาคต เมื่อบุหรี่ถดถอยไป
หรือบางที การใช้กลยุทธ์ Takeover เพื่อพลิกฟื้นสถานะของกิจการ อาจต้องทำโดยการเข้าซื้อกิจการต้นน้ำและปลายน้ำให้หมดเพื่อครอบครองตลาดแต่ผู้เดียว ในกรณีที่รู้แน่แล้วว่า โครงสร้างอุตสาหกรรมนั้น กำลังถดถอยทั้งระบบ ดังนั้น การซื้อคู่แข่งออกไปให้หมด พร้อมทั้งเข้าควบคุม Value Chain ตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงตลาด ก็จะทำให้เรากำหนดเกมของอุตสาหกรรมได้คนเดียว หลังจากนั้น ถึงจะดำเนินกลยุทธ์ “เก็บเกี่ยว” หรือ Harvest อย่างเต็มที่ โดยเริ่มขายสินทรัพย์ที่ไม่เกี่ยวข้องทิ้ง ลดต้นทุน และหยุดลงทุน เพื่อรีดเงินสดเข้ากระเป๋าให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
บางทีเราเรียกกลยุทธ์แบบนี้ว่า End-game Strategy หรือ “กลยุทธ์ทิ้งทวนธุรกิจ” ซึ่งอุปมาเหมือนกับพระเจ้าตากสั่งทุบหม้อข้าวหม้อแกงก่อนตีเมืองจันทบุรี
7. ตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต
การตัดสินทรัพย์ขายทอดตลาด หรือ Devestment ก็สามารถนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการพลิกฟื้นกิจการได้เช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว กลยุทธ์นี้ จะใช้ร่วมกับกลยุทธ์แบบอื่น เช่น การลดต้นทุน หรือการลงทุนเพิ่มในกิจการหลัก เพราะสินทรัพย์ที่ถูกตัดขาย จะเป็นสินทรัพย์ที่มิใช่ Core Business หรือ ธุรกิจหลักของกิจการ
ตัวอย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์นั้น หลังวิกฤตรอบก่อน ก็ได้ตัดขายกิจการที่ไม่ใช่ Core Business ไปจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ในเมืองจีน โรงงานเบียร์ กิจการน้ำมัน หรือ แม้แต่กิจการค้าปลีกในเมืองไทยบางส่วน ซึ่งทำเงินให้กับเครือฯ อย่างต่อเนื่อง
8. ลงทุนเพิ่ม
การลงทุนเพิ่มในภาวะถดถอย นับเป็นกลยุทธ์ประเภท “หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง” เช่นเดียวกัน โดยที่การลงทุนนั้น อาจเป็นไปเพื่อการเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ หรือ เข้าสู่ตลาดใหม่ หรือ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งหวังให้เป็น “อนาคตใหม่” ของกิจการ
การลงทุนในภาวะถดถอย ต้องอาศัยความหนักแน่นและมั่นใจในหมู่ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นมาก ดังนั้น ผู้บริหารต้องมีข้อมูลที่แน่ชัด เพราะในภาวะถดถอยนั้น ทุกคนจะเสียกำลังใจ และมองอะไรในแง่ร้ายไปหมด ผู้บริหารที่เชื่อในแนวทางนี้ ต้องมีความมุ่งมั่นสูงมาก เพราะเป็นการดำเนินกลยุทธ์แบบ “ฝืนจิตวิทยา” ของคนส่วนใหญ่ในองค์กร
แต่ขณะเดียวกัน การลงทุนเพิ่มในภาวะถดถอย ก็เป็นการสร้างความหวัง และแรงบันดาลใจ ให้กับคนในองค์กรได้เช่นกัน
9. ปรับโครงสร้างหนี้
การปรับโครงสร้างหนี้ เหมาะสำหรับกิจการที่ยังมีอนาคตดี แต่ประสบปัญหาเพราะมีหนี้สินเกินพอดี หรือใช้เงินผิด
ประเภท เช่น กู้เงินระยะสั้นมาลงทุนในโครงการที่ต้องอาศัยเวลานานกว่าจะคืนทุน หรือกู้เงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเกินควร เป็นต้น
การปรับโครงสร้างหนี้ หมายถึงการเจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อขอผ่อนผันการชำระเงิน การขอลดดอกเบี้ย หรือ ลดเงินต้น หรือขอ แปลงหนี้สินเป็นทุน เป็นต้น
ผู้ที่เคยผ่านวิกฤตรอบก่อนมาย่อมทราบอยู่แก่ใจดีว่า กิจการในเมืองไทยจำนวนมาก ที่ผ่านกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ แล้วกลับมาเติบโตอีกรอบนั้น มีให้เห็นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกิจการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ทั้งหลาย
กันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วอาจแก้ไม่ทัน
กลยุทธ์การพลิกฟื้นกิจการ อาจมีได้อีกหลายรูปแบบ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว เปรียบไปเหมือนการรักษาโรค หมอแต่ละคนก็มีวิธีของตัวเอง ยิ่งหมอที่ได้รับการอบรมต่างวัฒนธรรมกัน ก็ยิ่งใช้วิธีรักษาต่างกัน อย่างหมอจีนก็อาจให้ฝังเข็ม หรือ หมอแขกก็ให้กินสมุนไพร เป็นต้น
วัฒนธรรมองค์กร นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้การนำกลยุทธ์พลิกฟื้นกิจการมาใช้ให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น “นักฟื้นฟูกิจการ” ทั้งหลาย ต้องศึกษาวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องเข้าไปฟื้นฟูให้ถ่องแท้เสียก่อนที่จะตัดสินใจนำกลยุทธ์ข้างต้นไปใช้
แม้ “กลยุทธ์พลิกฟื้นกิจการ” หรือ “กลยุทธ์ฝ่าพงหนาม” หรือ Turnaround Strategy ที่ว่ามาแล้ว จะเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ผู้บริหารทุกคนต้องรู้ไว้ แต่ผู้บริหารที่เก่งกาจ ย่อมต้องเล็งเห็นการณ์ไกล และ “ป้องกัน” มิให้กิจการของตัวเองเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ก่อนในเบื้องแรก
เพราะแม้ว่า “วิธีฝ่า” พงหนามจะสำคัญ แต่การ “หลีก” พงหนาม หรือ “ถาง” (หรือไม่ก็เผา) พงหนามทิ้งแต่แรก ก่อนที่เราจะผ่านทางนั้น ย่อมสำคัญกว่า
วิกฤตเศรษฐกิจโลกรอบนี้ คงจะหนักหนาสาหัสอีกมาก ผมหวังว่า “แก่นความคิด” เรื่อง Turnaround Strategy ที่แสดงมาแล้วโดยพิสดาร จะช่วยให้ทุกคนรอดพ้นจากมหันตภัยครั้งนี้ไปได้โดยสวัสดี
ขอให้โชคดี!
......................................
โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
http://www.mba-magazine.blogspot.com
Source : http://www.mbamagazine.net/home/index.p ... strategy-2
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 85
ตำนาน ( The Legend)
ยิ่งใหญ่และน่าจดจำมากกว่าเพียงแค่ "การเดินทาง"
นั่นคือ... "ตำนาน"
คุณยังคงจดจำ "ตำนาน" เหล่านี้ได้ไหม?
...
ตำนาน "ยางพารา" อาทิเช่น STA และ TRUBB
ตำนาน "ฟิลม์" อาทิเช่น PTL , AJ และ TFI
ตำนาน "ถ่านหิน" อาทิเช่น BANPU
ตำนานหุ้นเติบโต อาทิเช่น SNC และ STPI
ตำนานแห่ง CPALL ที่ราคาจาก 7 บาทมาสู่ราคา 40 บาท
หรือแม้แต่ตำนานที่ไม่ได้มีผู้บอกเล่ามากมายนัก เช่น TFS ซึ่งราคาทะยานจาก 0.10 บาทมาเป็น 1.40 บาทในวันนี้
.....
และอีกหลายๆตำนานมากมายในตลาดหลักทรัพย์แห่งนี้
ซึ่งผ่านมาแล้ว และจะยังคงเปิดตำนานบทใหม่ตลอดไป...
ทุกๆตำนานเหล่านี้ ได้สร้าง "เศรษฐีใหม่" ขึ้นมาจำนวนมากมาย
หุ้นทุกตัวเหล่านี้ บางตัวบวกมากกว่า 1000%
เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็น "ตำนาน" ที่ยังอยู่ในความทรงจำของพวกเรา
แต่ใน "ตำนาน" เหล่านี้..."คุณคิดว่าเค้าประสบความสำเร็จมาอย่างอย่างดาย อย่างนั้นหรือ?"
ผมว่า..."ไม่ใช่เลย!!!!!"
ผมมองว่า พวกเค้าต้องใช้ทั้งความรู้ ,ความสามารถ ,ความขยัน ,ความใส่ใจ และความอดทน
นอกจากสิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมดแล้ว
ผมเชื่อสนิทใจว่า "ผู้ที่ประสบความสำเร็จ" ทั้งหลาย ต้องผ่าน "การทดสอบ" หัวจิตหัวใจมาอย่างหนักหน่วงทีเดียว!!!
ไม่ใช่ว่า "ความสำเร็จจะได้มาอย่างง่ายดาย เหมือนการปลอกกล้วยเข้าปาก"
เพราะเค้าเหล่านั้น ต้องผ่านการทดสอบกับสิ่งที่เรียกว่า "ความโลภ" และ "ความกลัว"
ทั้งนี้ เจ้ามือและรายใหญ่ เค้ามีเทคนิคมากมายในการกดดันหัวจิตหัวใจของรายย่อยอย่างพวกเรา
ถ้าคุณไม่ผ่านการทดสอบนั้น คุณก็อาจจะเปรียบเสมือน "ตัวตลกออกแขก" ที่ออกมาเต้นๆก่อนการแสดงจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น
หรือที่เรารู้จักกันในชื่อคุ้นเคยว่า "ขายหมู"
นั่นเป็นเพราะ "คุณซื้อหุ้นถูกตัว ซื้อถูกจังหวะ แต่กลับขายไปผิดเวลา!!!"
กี่ครั้งที่เค้าถูกทดสอบ กี่ครั้งที่เค้าถูกท้าทาย
แต่ผู้ชนะเท่านั้น ที่จะบริหารหัวใจของตัวเองได้อย่างมั่นคง
อาทิเช่น ดร.นิเวศน์ แห่ง CPALL หรือแม้แต่ คุณ leaderinshadow แห่ง PTL
ผมชื่นชอบประโยคในภาพยนต์เรื่อง SAW VI
ในประโยคในเทปที่ John Kramer ตั้งคำถามกับ Mark Hoffman ที่ว่า...
"You feel you now have control, don't you? You think you will walk away untested?"
ผมเชื่อ และคิดแบบนี้จริงๆนะขอรับ
ว่าแต่...
"แล้วคุณหล่ะ...อยากเป็นหนึ่งในตำนานบทใหม่บ้างไหมครับ?"
(^_^)
ปล.
1) บทความนี้มาจากความรู้สึกแท้ๆของผม และไม่ได้มีเจตนาเชียร์หุ้นตัวใดตัวหนึ่งทั้งสิ้น
2) ยังมีอีกด้านหนึ่งของตำนานเหล่านี้ คือคนที่บาดเจ็บล้มตาย กับหุ้นหลายๆตัว ซึ่งเข้าทำนองว่า "คนตายไม่ได้พูด!!!" เพราะหุ้นปั่น และหุ้นเน่าๆ
ดังนั้นการลงทุนของท่านจึงต้องใช้วิจารณญาณ และตัดสินใจด้วยตนเองทุกครั้ง
"เงินของเรา ชีวิตของเรา...อย่าไปฝากไว้กับใครครับผม"
ยิ่งใหญ่และน่าจดจำมากกว่าเพียงแค่ "การเดินทาง"
นั่นคือ... "ตำนาน"
คุณยังคงจดจำ "ตำนาน" เหล่านี้ได้ไหม?
...
ตำนาน "ยางพารา" อาทิเช่น STA และ TRUBB
ตำนาน "ฟิลม์" อาทิเช่น PTL , AJ และ TFI
ตำนาน "ถ่านหิน" อาทิเช่น BANPU
ตำนานหุ้นเติบโต อาทิเช่น SNC และ STPI
ตำนานแห่ง CPALL ที่ราคาจาก 7 บาทมาสู่ราคา 40 บาท
หรือแม้แต่ตำนานที่ไม่ได้มีผู้บอกเล่ามากมายนัก เช่น TFS ซึ่งราคาทะยานจาก 0.10 บาทมาเป็น 1.40 บาทในวันนี้
.....
และอีกหลายๆตำนานมากมายในตลาดหลักทรัพย์แห่งนี้
ซึ่งผ่านมาแล้ว และจะยังคงเปิดตำนานบทใหม่ตลอดไป...
ทุกๆตำนานเหล่านี้ ได้สร้าง "เศรษฐีใหม่" ขึ้นมาจำนวนมากมาย
หุ้นทุกตัวเหล่านี้ บางตัวบวกมากกว่า 1000%
เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็น "ตำนาน" ที่ยังอยู่ในความทรงจำของพวกเรา
แต่ใน "ตำนาน" เหล่านี้..."คุณคิดว่าเค้าประสบความสำเร็จมาอย่างอย่างดาย อย่างนั้นหรือ?"
ผมว่า..."ไม่ใช่เลย!!!!!"
ผมมองว่า พวกเค้าต้องใช้ทั้งความรู้ ,ความสามารถ ,ความขยัน ,ความใส่ใจ และความอดทน
นอกจากสิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมดแล้ว
ผมเชื่อสนิทใจว่า "ผู้ที่ประสบความสำเร็จ" ทั้งหลาย ต้องผ่าน "การทดสอบ" หัวจิตหัวใจมาอย่างหนักหน่วงทีเดียว!!!
ไม่ใช่ว่า "ความสำเร็จจะได้มาอย่างง่ายดาย เหมือนการปลอกกล้วยเข้าปาก"
เพราะเค้าเหล่านั้น ต้องผ่านการทดสอบกับสิ่งที่เรียกว่า "ความโลภ" และ "ความกลัว"
ทั้งนี้ เจ้ามือและรายใหญ่ เค้ามีเทคนิคมากมายในการกดดันหัวจิตหัวใจของรายย่อยอย่างพวกเรา
ถ้าคุณไม่ผ่านการทดสอบนั้น คุณก็อาจจะเปรียบเสมือน "ตัวตลกออกแขก" ที่ออกมาเต้นๆก่อนการแสดงจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น
หรือที่เรารู้จักกันในชื่อคุ้นเคยว่า "ขายหมู"
นั่นเป็นเพราะ "คุณซื้อหุ้นถูกตัว ซื้อถูกจังหวะ แต่กลับขายไปผิดเวลา!!!"
กี่ครั้งที่เค้าถูกทดสอบ กี่ครั้งที่เค้าถูกท้าทาย
แต่ผู้ชนะเท่านั้น ที่จะบริหารหัวใจของตัวเองได้อย่างมั่นคง
อาทิเช่น ดร.นิเวศน์ แห่ง CPALL หรือแม้แต่ คุณ leaderinshadow แห่ง PTL
ผมชื่นชอบประโยคในภาพยนต์เรื่อง SAW VI
ในประโยคในเทปที่ John Kramer ตั้งคำถามกับ Mark Hoffman ที่ว่า...
"You feel you now have control, don't you? You think you will walk away untested?"
ผมเชื่อ และคิดแบบนี้จริงๆนะขอรับ
ว่าแต่...
"แล้วคุณหล่ะ...อยากเป็นหนึ่งในตำนานบทใหม่บ้างไหมครับ?"
(^_^)
ปล.
1) บทความนี้มาจากความรู้สึกแท้ๆของผม และไม่ได้มีเจตนาเชียร์หุ้นตัวใดตัวหนึ่งทั้งสิ้น
2) ยังมีอีกด้านหนึ่งของตำนานเหล่านี้ คือคนที่บาดเจ็บล้มตาย กับหุ้นหลายๆตัว ซึ่งเข้าทำนองว่า "คนตายไม่ได้พูด!!!" เพราะหุ้นปั่น และหุ้นเน่าๆ
ดังนั้นการลงทุนของท่านจึงต้องใช้วิจารณญาณ และตัดสินใจด้วยตนเองทุกครั้ง
"เงินของเรา ชีวิตของเรา...อย่าไปฝากไว้กับใครครับผม"
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 86
เทคนิคเล็กๆในการคัดเลือกหุ้นของผมyuyu353 เขียน:อยากสอบถาม แนวทางการลงทุนของคุณpakนะครับ เริ่มจากศึกษาเรื่องไหนก่อนครับ เช่น อ่านงบ หรือ การคำนวนมูลค่าของหุ้น การเมิน P/E forcast
By pak
คุณเคยได้ยินคำบอกเล่าประมาณนี้ไหมว่า...
"คนเรา...ถ้าจมอยู่หรือยึดติดกับอะไรนานๆ ก็มักจะมองอะไรไม่ค่อยเห็นได้อย่างชัดเจน
ส่องกระจกทุกวัน ก็คิดว่าตัวเองหน้าต่อดีเสมอ
มองสิ่งที่เราคุ้นเคยหรือสัมผัสอยู่เป็นประจำ มันจะทำให้เราทั้งมี Bias และเราก็มักจะยึดติดกับภาพเดิมๆ และความเข้าใจเดิมๆของเรา
เปรียบเสมือนพายเรือวนอยู่ในอ่างเล็กๆ ไม่มีที่สิ้นสุด!!!"
การคัดเลือกหุ้น...ก็เช่นเดียวกันครับ
แน่นอนว่าเราต้องดูสิ่งต่างๆมากมาย
อาทิเช่น
1) PE Ratio , P/BV , Market Cap. , ผลประกอบการ , รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ , รายชื่อท่านผู้บริหารหรือ CEO , รูปแบบการประกอบธุรกิจ , เว็บไซต์ของบริษัทฯ , Product&Service , ประวัติความเป็นมา , Vision-Mission-Objective
2) จากนั้นก็ดูงบการเงินคร่าวๆ ถึง Cash Flow , เงินสด , OD , ส่วนของผู้ถือหุ้น , กำไรสะสม , ส่วนเกิน(ต่ำ)มูลค่าหุ้น รวมทั้งค่าต่างๆเช่น %ROE และ %ROA และ ฯลฯ อีกมากมายล้านแปด
3) จากนั้นถ้าบริษัทฯมีความน่าสนใจ เราก็เข้าไปอ่าน 56-1
4) ถ้ายังน่าสนใจอยู่เราก็ตามหาข่าวทั่วๆไปที่มีอยู่บน Internet เช่นข่าวเก่าๆ ,การให้ข่าวของผู้บริหาร และที่สำคัญเรื่องธรรมมาภิบาล
5) จากนั้นคุณก็จะได้หุ้นที่คุณมีความสนใจมาแล้ว ซึ่งผมเชื่อว่า "ไม่ใช่ตัวเดียวอย่างแน่นอน"
เพราะคนเรามักจะมองหุ้น แอบชอบหุ้น หรืออยากซื้อหุ้นมากกว่า 1 ตัวอยู่แล้ว
^
^
ตรงนี้แหล่ะครับ ที่ผมมีเทคนิคเล็กๆของผม
นั่นก็คือผมจะทำการ "List รายชื่อหุ้นที่ผมได้ Scan มาแล้ว" จากขั้นตอนตามข้อ 1 - 5
และผมจะเดินถือ List รายชื่อนั้นเพื่อไปถามคนอื่นๆครับ โดยเฉพาะคนที่เค้าเล่นหุ้นไม่เป็นเอาเสียเลย!!!
เพราะผมไม่ต้องการมุมมองจากคนเล่นหุ้น แต่ผมต้องการมุมมองจากผู้บริโภคโดยทั่วไป
และถ้าให้ดี ผมมักจะไปถามจาก "กัลยาณมิตร" ซึ่งเรารู้ว่าเค้ารักและหวังดีกับเรา
ผมจะไม่บอกคนเหล่านั้นว่า "นี่คือเรื่องหุ้น หรือผมจะมาถามเรื่องหุ้น"
แต่ผมมักจะถามบุคคลเหล่านั้นว่า "ถ้าผมอยากจะเป็นเจ้าของกิจการซักกิจการนึง โดยจะไปร่วมลงขันกับเค้า พี่ว่า...กิจการไหนในรายชื่อบริษัทเหล่านี้ น่าสนใจที่สุดครับ?"
โดยเล่าให้เค้าฟังคร่าวๆว่าแต่ละบริษัทฯทำมาค้าขายอะไรบ้าง
จากประสบการณ์ที่ถามมา...
บางบริษัทฯเล่าให้ตายเค้าก็ไม่เกท แต่บางบริษัทฯไม่ต้องเล่าเค้าก็รู้จักแล้วเป็นอย่างดีอยู่แล้ว
ในเมื่อเค้าไม่รู้ว่าเป็นเรื่องหุ้น ดังนั้นเค้ามักจะมองที่ "ค่าความนิยม" และ "อนาคตของกิจการ" จากสายตาคนนอกอย่างแท้จริง
ซึ่งมุมมองเหล่านี้ล้วนมีค่าครับ
ผมเดินถามหลายคนมากๆ และได้รับข้อคิดเห็นดีๆมากมายมาประกอบการพิจารณา
ในคำตอบที่ผมได้มาจากคนที่เล่นหุ้นไม่เป็น มันไม่มีเรื่อง Bid ,ไม่มีเรื่อง Offer และไม่มีเรื่องการปั่นหรือเจ้ามือ
มันมีแต่ว่า เค้าอยากให้ผมเป็นเจ้าของกิจการไหน ที่มันน่าจะมีอนาคต และสามารถเจริญเติบโตได้ดี และยังสามารถสร้างความภาคภูมิใจให้กับตัวผมและวงศ์ตระกูลได้ในระยะยาว
เพราะนั่นคือ "สายตาที่บริสุทธิ์ที่สุด" คือ สายตาแห่งผู้บริโภคตัวจริง
และเป็นสายตาของคนที่รักเรา และหวังดีกับเราอย่างแท้จริง
ผมเองก็อ่านงานเขียนของนักวิเคราะห์นะครับ แต่ผมไม่ได้เชื่อนักวิเคราะห์
บทวิเคราะห์เหล่านั้น เป็นเพียงข้อมูลประกอบในการตัดสินใจเลือิกหุ้นของผมส่วนนึงเท่านั้นเอง
แต่ผมจะถูกผสมด้วยความคิดเห็นของผม และที่สำคัญที่สุด คือ ความคิดเห็นรอบตัวจากคนที่รักเรา
จริงไม่แปลกเลยที่มีคนบอกว่า "การเลือกหุ้น เปรียบเสมือนการหาคู่ครองเพื่อแต่งงาน"
ผมเองก็รู้สึกเช่นนั้นจริงๆ
ดังนั้นการคัดเลือกหุ้นต้องเป็นไปด้วย "ความละเอียดรอบคอบ" และ "ประณีต" เสมอ
คุณต้องถามตัวเองก่อนจะตัดสินใจซื้อหุ้นตัวนึง ให้หนักๆว่า...
"เราอยู่กับใคร แล้วเราถึงจะมีความสุข?
คนคนนั้น ทำให้เราเชื่อใจและศรัทธาในตัวเค้าได้ใช่ไหม?
เราควรอยู่กับคนที่เรา ไม่ต้องมาคอยระแวงมิใช่หรือ?
เราควรอยู่กับคนที่เรา สามารถบอกต่อกับผู้อื่นรอบตัวเราได้อย่างภาคภูมิใจ ว่าทำไมเราถึงเลือกคนคนนั้น
เรารู้ข้อดีมากมายของเค้า และมองข้ามข้อเสียเล็กๆน้อยๆของเค้าได้ ใช่หรือไม่?
เราสามารถบอกเล่าข้อดีของคนคนนี้ ให้กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและจริงใจ ใช่ไหม?
และที่สำคัญ...
เราจะรู้สึกมี "ความสุข" และ "อุ่นใจ" ใช่ไหม ที่ได้เดินจูงมือกับเค้า
และเราจะมีความสุขใช่ไหมที่จะมีเค้าคนนั้น คอยเดินอยู่เคียงข้างเราตลอดไป?"
ถ้าคิดทุกอย่างว่าใช่หมดแล้วหล่ะก้อ..."เคาะขวา" ครับผม
(^_^)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- เหล็งฮู้ชง
- Verified User
- โพสต์: 275
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 87
ผมขอเสนอ TEAM
แต่น่าจะ Turn ไปแล้วนะครับ
แต่น่าจะ Turn ไปแล้วนะครับ
จงอยู่ด้วยความไม่ประมาท
- Java The Boy
- Verified User
- โพสต์: 497
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 88
ขอบคุณมาก ผมชอบอ่านกระทู้นี้
เขียนได้ดี มีสาระดีๆ อยู่ในนี้มากมาย ...
เขียนได้ดี มีสาระดีๆ อยู่ในนี้มากมาย ...
ความสุขที่แท้จริงของมนุษย์มีอยู่ 4 ข้อคือ...
ได้อยู่ในที่อากาศปลอดโปร่ง
พ้นจากความทะเยอทะยาน
ทำงานสร้างสรรค์
และรักใครสักคน ...
"อัลแบร์ กามูส์"
ได้อยู่ในที่อากาศปลอดโปร่ง
พ้นจากความทะเยอทะยาน
ทำงานสร้างสรรค์
และรักใครสักคน ...
"อัลแบร์ กามูส์"
- canuseeme
- Verified User
- โพสต์: 302
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 89
เิกิด เทพองค์ใหม่ แล้ว
ชาบู ชาบู
ขอ อีกเยอะๆครับ ชุดใหย่เลย พี่ pak อ่านแล้ว spak เลย
จะเอาบทความพี่เอง หรือ จากที่อื่นที่ว่า เทพ ขอ อีก ขอ อีก
ชาบู ชาบู
ขอ อีกเยอะๆครับ ชุดใหย่เลย พี่ pak อ่านแล้ว spak เลย
จะเอาบทความพี่เอง หรือ จากที่อื่นที่ว่า เทพ ขอ อีก ขอ อีก
ปัญญาไม่มีในผู้ไม่พิจารณา
There is no fate but what we make
https://www.facebook.com/pages/คัดหุ้นซวย
There is no fate but what we make
https://www.facebook.com/pages/คัดหุ้นซวย
- Paul Octopus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 90
คุณ Pak
นี่แหละเป็นการตกผลึกทางความคิดอย่างแท้จริง
สุดยอดบทความครับ
นี่แหละเป็นการตกผลึกทางความคิดอย่างแท้จริง
สุดยอดบทความครับ