Re: แนวโน้ม ราคา LPG ใช้ในรถ เป็นอย่างไรคับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 06, 2012 9:50 am
'ยิ่งลักษณ์'ลอยตัว LPG 'เฮียเพ้ง'ลั่นกลางก.พ.ปีหน้าเอาแน่ /ครัวเรือนขยับ 7 บาทต่อกก. รัฐบาลอั้นไม่ไหว5ปีละเลงเกลี้ยงแสนล้าน
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Wednesday, December 05, 2012
"ยิ่งลักษณ์" ไฟเขียวปล่อยลอยตัวก๊าซหุงต้ม "เฮียเพ้ง" ยืนยันกลางกุมภาพันธ์ปีหน้า ทยอยปรับขึ้นทุกภาคส่วน ครัวเรือนขยับ 7 บาทต่อกก.อั้นไม่ไหว หลังชดเชยสะสมมานาน 5 ปี ทะลุกว่า 1 แสนล้านบาท ยันมีแนวทางช่วยเหลือคนจน ผู้มีรายได้น้อยกว่า 4 ล้านราย ทั้งหาบเร่ แผงลอย ใช้เดือนละ 69 ล้านบาท อุดหนุนต่อ แลกประหยัดเงินชดเชยได้เดือนละ 3 พันล้านบาท
จากถ้อยแถลงของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต่อรัฐสภา ที่จะดำเนินการปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ถือเป็นความพยายามของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จ เมื่อรัฐบาลห่วงว่าจะเสียคะแนน และกระทบไปถึงฐานคะแนนเสียง จึงกลายเป็นปัญหาที่หมักหมมสะสมมานานยากจะแก้ไข โดยเฉพาะปัญหาโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี แม้รัฐบาลชุดนี้ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นนายพิชัย นริพทะพันธุ์ และนายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ เข้ามาแก้ไข แต่ก็ต้องสะดุดจากนโยบายประชานิยม ที่ไม่ต้องการให้เป็นภาระต่อค่าครองชีพ
แต่เมื่อถึงเวลา นายกรัฐมนตรีก็ไม่สามารถทัดทานจากการอุ้มแอลพีจีไว้ได้ โดยเฉพาะการเปิดประชาคมเศรษฐ กิจอาเซียนหรือเออีซีใกล้เข้ามาทุกขณะ หากไม่เร่งแก้ปัญหาแล้วประเทศไทยจะกลายเป็นผู้อุดหนุนราคาพลังงานให้กับเพื่อนบ้านแทน
"พงษ์ศักดิ์" อ้างนายกฯไฟเขียว
ล่าสุดนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ออกมาเปิดเผยว่า จากการหารือกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในช่วงที่ผ่านมา ถึงการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน โดยเฉพาะการยกเลิกการอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี ทางนายกรัฐมนตรี มีความเห็นชอบที่จะให้มีการปล่อยลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มทุกภาคส่วนขึ้นไป ภายหลังจากสิ้นสุดมาตรการตรึงราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนสิ้นปีนี้
ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในเดือนธันวาคมนี้ กระทรวงพลังงานจะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มทุกภาคส่วนขึ้นไปให้ใกล้เคียงกับต้นทุนที่เป็นจริง ซึ่งจะเริ่มมีผลประ มาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า โดยในส่วนราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนจะปรับขึ้นไปไม่เกิน 25.30 บาทต่อกิโลกรัมหรือปรับขึ้นไป 7.17 บาทต่อกิโลกรัม จากปัจจุบันตรึงอยู่ที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม โดยอ้างอิงตามราคาก๊าซที่มาจากโรงแยกก๊าซภายในประเทศ
ขณะที่ภาคขนส่งตรึงราคาอยู่ที่ 21.38 บาทต่อกิโลกรัม และภาคอุตสาห กรรม 30.13 บาทต่อกิโลกรัม จะปรับราคาขึ้นไปตามราคาตลาดโลก จากปัจจุ บันอยู่ที่ 986 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตันหรือตกประมาณ 38 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งการปรับครั้งนี้จะเป็นลักษณะทยอยปรับขึ้นไปเดือนละประมาณ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม
ยันลดภาระกองทุนน้ำมันฯ
ทั้งนี้ การปล่อยลอยตัวราคาดังกล่าว เนื่องจากเวลานี้ประเทศนำเข้าแอลพีจีค่อนข้างมาก หากย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ประเทศต้องนำเข้าก๊าซหุงต้มมียอดถึง 5.64 ล้านตัน ต้องใช้เงินในการอุดหนุนราคาส่วนต่างนำเข้ากว่า 9.3 หมื่นล้านบาท และต้องชดเชยราคาหน้าโรงกลั่นไปแล้วกว่า 2.4 หมื่นล้านบาท รวมแล้วต้องชดเชยราคาแอลพีจีกว่า 1.17 แสนล้านบาท หรือต้องใช้เงินในการอุดหนุนราคาเดือนละราว 3 พันล้านบาท หากไม่ปรับราคาจะส่งผลให้ต้องนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาอุดหนุนมากขึ้น จากปัจจุบันที่ติดลบอยู่ประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาท และเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีแล้ว ประเทศไทยจะกลายเป็นผู้อุดหนุนราคาพลังงานให้กับเพื่อนบ้านแทน ซึ่งการปรับราคาขึ้นไปครั้งนี้กระ ทรวงพลังงานมีเป้าหมายที่จะให้กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะกลับมาเป็นบวกภายในปี 2556
ช่วยผู้มีรายได้น้อย 4 ล้านราย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวยืนยันว่า การปล่อยลอยตัวราคาแอลพีจีครั้งนี้ ทางรัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยในสัปดาห์นี้กระทรวงพลังงานจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือมาตรการช่วยเหลือ ซึ่งเบื้องต้นจะเร่งนำบัตรเครดิตพลังงานมาใช้ โดยจะช่วยเหลือครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน คาดว่าจะมี 3.7 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนที่ไม่ได้ใช้ไฟ ฟ้า คาดว่าจะมี 1.9 แสนครัวเรือน และหาบเร่แผงลอย จำนวน 4 แสนราย รวมผู้ที่จะได้รับการช่วยเหลือทั้งสิ้นคาดว่าจะอยู่ที่กว่า 4 ล้านราย ทั้งนี้จะให้ผู้ที่เข้าข่ายได้รับการช่วยเหลือดังกล่าวมาลงทะเบียน เพื่อรับบัตรเครดิตพลังงาน
โดยกระทรวงพลังงานจะเร่งให้ผู้มีรายได้น้อยดังกล่าว มาลงทะเบียนในส่วนของผู้ที่เข้าข่ายขอรับเงินอุดหนุนราคาแอลพีจี ซึ่งน่าจะเริ่มได้ภายในเดือนธันวาคมนี้ และจะเสร็จภายในกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2556 หลังจากนั้นจะประกาศขึ้นราคาแอลพีจีทันที ซึ่งในส่วนของผู้ที่มีรายได้น้อย จะไม่มีผลกระทบ เพราะมีบัตรเครดิตพลังงานช่วยแบกรับภาระนี้ไว้ แต่ผู้ที่ไม่เข้าข่ายจะต้องใช้ก๊าซหุงต้มในราคาที่เป็นจริง
"ปริมาณความต้องการใช้แอลพีจีในภาคครัวเรือนของผู้มีรายได้น้อยจะอยู่ที่ประมาณ 3-4 กิโลกรัมต่อเดือน แต่กระทรวงจะให้การอุดหนุนอยู่ที่ 6 กิโล กรัมต่อเดือน ส่วนร้านค้าหาบเร่แผงลอย มีความต้องการใช้แอลพีจีอยู่ที่ประมาณ 150 กิโลกรัมต่อเดือน หากราคาแอลพีจีที่ปรับขึ้น 1 บาทต่อกิโลกรัม คาดว่าจะใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอุด หนุนประมาณ 69 ล้านบาทต่อเดือน"
สำหรับตัวเลขความต้องการใช้แอลพีจีภาคครัวเรือนในปี 2555 อยู่ที่ 2.5 แสนตันต่อเดือน คิดเป็น 42%, ภาคขนส่งอยู่ที่ 8.9 หมื่นตันต่อเดือน คิดเป็น 15%, ภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 5.1 หมื่นตันต่อเดือน คิดเป็น 8% และภาคปิโตร เคมีอยู่ที่ 2.12 แสนตันต่อเดือน คิดเป็น 35% ของปริมาณการใช้ทั้งหมด รวมปริมาณการใช้แอลพีจีทั้งสิ้น 6.01 แสนตันต่อเดือน
นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า นอก จากนี้ยังสั่งการให้กรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) เร่งหามาตรการป้องกันการลักลอบใช้ผิดประเภท และลักลอบขายข้ามประเทศ เบื้องต้นได้สั่งการให้ติดมิเตอร์ที่โรงแยกก๊าซ โรงบรรจุก๊าซ และสถานีบริการแอลพีจี เพื่อตรวจสอบการเคลื่อน ไหวของแอลพีจี โดยผู้ที่รับแอลพีจีจากผู้ค้ามาตรา 7 จะต้องรายงานอย่างละเอียด การเคลื่อนย้ายแอลพีจี หากพบว่ามีการลักลอบใช้ผิดประเภท หรือขายข้ามเขต แดน ก็จะมีมาตรการลงโทษตามกฎ หมาย นอกจากนี้ได้พิจารณาเพื่อเพิ่มบทลงโทษดังกล่าวด้วย
ครัวเรือนจ่ายเพิ่ม 105 บาทต่อเดือน
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า หากรัฐบาลสามารถปรับราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนขึ้นไปได้ 7 บาทต่อกิโลกรัม จะช่วยลดเงินจากการอุด หนุนของกองทุนน้ำมันฯ ได้ประมาณเดือนละ 1.75 พันล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมในส่วนของภาคขนส่ง หากปรับราคาขึ้นไปเต็มเพดานที่ 16 บาทต่อกิโลกรัม จะลดภาระเงินอุดหนุน 1.424 พันล้านบาท และในส่วนของอุตสาหกรรมปรับขึ้นอีก 7-8 บาทต่อกิโลกรัม ลดเงินอุดหนุนได้ประมาณ 357-408 ล้านบาท รวมแล้วลดการอุดหนุนได้ประมาณ 3.5พันล้านบาทต่อเดือน
ในขณะที่ภาคครัวเรือนปกติจะใช้ก๊าซหุงต้มถังขนาด 15 กิโลกรัม เฉลี่ยเดือนละ 1 ถัง หากราคาปรับเพิ่มขึ้นไป 7 บาทต่อกิโลกรัม จะทำให้มีภาระเพิ่มขึ้นประมาณ 105 บาทต่อเดือน จากปัจจุบันราคาก๊าซหุงต้ม 15 กิโลกรัมของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อยู่ที่ประมาณ 280-290 บาทต่อถัง
ทุกฝ่ายรับลูกปรับราคา
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวให้ความเห็นว่า เห็นด้วยกับนโยบายปรับขึ้นราคาแอลพีจีเพื่อสะท้อนกับราคาตลาดโลก เพราะปัจจุบันราคาโรงแยกก๊าซถูกตรึงไว้ที่ 333 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน หรือ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำเกินไป เมื่อเทียบกับราคาตลาดโลกที่ 986 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน หรือที่ประมาณ 38 บาทต่อกิโลกรัม นอกจากนี้จะช่วยลดภาระกองทุนน้ำมันฯ ที่ต้องอุดหนุนราคานำเข้าแอลพีจีด้วย
อย่างไรก็ตาม ราคาแอลพีจีควรมาจากโครงสร้างเดียวกัน ซึ่งควรมีราคาเดียวเพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อน โดยมาจากราคานำเข้าบวกราคาโรงแยกก๊าซ จากนั้นก็นำมาเฉลี่ยกัน และขายแอลพีจีเป็นราคาเดียว หลังจากนั้นก็ใช้บัตรเครดิตพลังงานเพื่อช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม เพื่อลดผลกระทบสำหรับผู้มีรายได้น้อย ขณะเดียวกันเชื่อว่าราคาแอลพีจีที่ไม่แตกต่างกันมากนัก จะทำให้ความจูงใจลักลอบใช้ผิดประเภทเกิดขึ้นน้อยลง
สอดรับกับนายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ที่ระบุว่า เห็นด้วยกับนโยบายการทยอยปรับขึ้นราคาแอลพีจีดังกล่าว แต่ควรทยอยปรับขึ้นเดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้บริโภคมากเกินไป โดยเฉพาะกลุ่มขนส่ง อาทิ กลุ่มแท็กซี่ จะต้องหารือร่วมกันว่าราคาแอลพีจีที่เพิ่มขึ้นจะกระทบต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเท่าไร แต่เชื่อว่าหากราคาแอลพีจีเป็นราคาตลาดโลก หรือประมาณ 16-17 บาทต่อลิตร ก็เป็นราคาที่ยังต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน เชื่อว่าเป็นระดับราคาที่ภาคขนส่งรับได้
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาคครัว เรือน กระทรวงจะใช้บัตรเครดิตพลังงานเพื่อช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม แต่สิ่งที่ยังกังวลคือ การใช้บัตรเครดิตพลังงานจะใช้รูปแบบใด เนื่องจากพฤติกรรมการใช้แอลพีจีของประชาชนจะสั่งผ่านร้านค้าชุมชนขนาดเล็ก ที่มีบริการส่งถึงบ้าน ดังนั้นการใช้บัตรจะเป็นปัญหายุ่งยากหรือไม่
ทั้งนี้ จากการรายงานของกระ ทรวงพาณิชย์ พบว่า หากมีการทยอยปรับราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนขึ้นไปกิโลกรัมละ 50 สตางค์ต่อเดือนหรือประ มาณ 6 บาทต่อปี จะมีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้น 0.0094% ต่อเดือนและสูงขึ้น 0.1228% ต่อปี ซึ่งต้นทุนที่เพิ่มขึ้นยังไม่มีผลต่อราคาสินค้ามากนัก
--จบ--
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Wednesday, December 05, 2012
"ยิ่งลักษณ์" ไฟเขียวปล่อยลอยตัวก๊าซหุงต้ม "เฮียเพ้ง" ยืนยันกลางกุมภาพันธ์ปีหน้า ทยอยปรับขึ้นทุกภาคส่วน ครัวเรือนขยับ 7 บาทต่อกก.อั้นไม่ไหว หลังชดเชยสะสมมานาน 5 ปี ทะลุกว่า 1 แสนล้านบาท ยันมีแนวทางช่วยเหลือคนจน ผู้มีรายได้น้อยกว่า 4 ล้านราย ทั้งหาบเร่ แผงลอย ใช้เดือนละ 69 ล้านบาท อุดหนุนต่อ แลกประหยัดเงินชดเชยได้เดือนละ 3 พันล้านบาท
จากถ้อยแถลงของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต่อรัฐสภา ที่จะดำเนินการปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ถือเป็นความพยายามของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จ เมื่อรัฐบาลห่วงว่าจะเสียคะแนน และกระทบไปถึงฐานคะแนนเสียง จึงกลายเป็นปัญหาที่หมักหมมสะสมมานานยากจะแก้ไข โดยเฉพาะปัญหาโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี แม้รัฐบาลชุดนี้ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นนายพิชัย นริพทะพันธุ์ และนายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ เข้ามาแก้ไข แต่ก็ต้องสะดุดจากนโยบายประชานิยม ที่ไม่ต้องการให้เป็นภาระต่อค่าครองชีพ
แต่เมื่อถึงเวลา นายกรัฐมนตรีก็ไม่สามารถทัดทานจากการอุ้มแอลพีจีไว้ได้ โดยเฉพาะการเปิดประชาคมเศรษฐ กิจอาเซียนหรือเออีซีใกล้เข้ามาทุกขณะ หากไม่เร่งแก้ปัญหาแล้วประเทศไทยจะกลายเป็นผู้อุดหนุนราคาพลังงานให้กับเพื่อนบ้านแทน
"พงษ์ศักดิ์" อ้างนายกฯไฟเขียว
ล่าสุดนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ออกมาเปิดเผยว่า จากการหารือกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในช่วงที่ผ่านมา ถึงการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน โดยเฉพาะการยกเลิกการอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี ทางนายกรัฐมนตรี มีความเห็นชอบที่จะให้มีการปล่อยลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มทุกภาคส่วนขึ้นไป ภายหลังจากสิ้นสุดมาตรการตรึงราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนสิ้นปีนี้
ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในเดือนธันวาคมนี้ กระทรวงพลังงานจะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มทุกภาคส่วนขึ้นไปให้ใกล้เคียงกับต้นทุนที่เป็นจริง ซึ่งจะเริ่มมีผลประ มาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า โดยในส่วนราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนจะปรับขึ้นไปไม่เกิน 25.30 บาทต่อกิโลกรัมหรือปรับขึ้นไป 7.17 บาทต่อกิโลกรัม จากปัจจุบันตรึงอยู่ที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม โดยอ้างอิงตามราคาก๊าซที่มาจากโรงแยกก๊าซภายในประเทศ
ขณะที่ภาคขนส่งตรึงราคาอยู่ที่ 21.38 บาทต่อกิโลกรัม และภาคอุตสาห กรรม 30.13 บาทต่อกิโลกรัม จะปรับราคาขึ้นไปตามราคาตลาดโลก จากปัจจุ บันอยู่ที่ 986 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตันหรือตกประมาณ 38 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งการปรับครั้งนี้จะเป็นลักษณะทยอยปรับขึ้นไปเดือนละประมาณ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม
ยันลดภาระกองทุนน้ำมันฯ
ทั้งนี้ การปล่อยลอยตัวราคาดังกล่าว เนื่องจากเวลานี้ประเทศนำเข้าแอลพีจีค่อนข้างมาก หากย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ประเทศต้องนำเข้าก๊าซหุงต้มมียอดถึง 5.64 ล้านตัน ต้องใช้เงินในการอุดหนุนราคาส่วนต่างนำเข้ากว่า 9.3 หมื่นล้านบาท และต้องชดเชยราคาหน้าโรงกลั่นไปแล้วกว่า 2.4 หมื่นล้านบาท รวมแล้วต้องชดเชยราคาแอลพีจีกว่า 1.17 แสนล้านบาท หรือต้องใช้เงินในการอุดหนุนราคาเดือนละราว 3 พันล้านบาท หากไม่ปรับราคาจะส่งผลให้ต้องนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาอุดหนุนมากขึ้น จากปัจจุบันที่ติดลบอยู่ประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาท และเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีแล้ว ประเทศไทยจะกลายเป็นผู้อุดหนุนราคาพลังงานให้กับเพื่อนบ้านแทน ซึ่งการปรับราคาขึ้นไปครั้งนี้กระ ทรวงพลังงานมีเป้าหมายที่จะให้กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะกลับมาเป็นบวกภายในปี 2556
ช่วยผู้มีรายได้น้อย 4 ล้านราย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวยืนยันว่า การปล่อยลอยตัวราคาแอลพีจีครั้งนี้ ทางรัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยในสัปดาห์นี้กระทรวงพลังงานจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือมาตรการช่วยเหลือ ซึ่งเบื้องต้นจะเร่งนำบัตรเครดิตพลังงานมาใช้ โดยจะช่วยเหลือครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน คาดว่าจะมี 3.7 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนที่ไม่ได้ใช้ไฟ ฟ้า คาดว่าจะมี 1.9 แสนครัวเรือน และหาบเร่แผงลอย จำนวน 4 แสนราย รวมผู้ที่จะได้รับการช่วยเหลือทั้งสิ้นคาดว่าจะอยู่ที่กว่า 4 ล้านราย ทั้งนี้จะให้ผู้ที่เข้าข่ายได้รับการช่วยเหลือดังกล่าวมาลงทะเบียน เพื่อรับบัตรเครดิตพลังงาน
โดยกระทรวงพลังงานจะเร่งให้ผู้มีรายได้น้อยดังกล่าว มาลงทะเบียนในส่วนของผู้ที่เข้าข่ายขอรับเงินอุดหนุนราคาแอลพีจี ซึ่งน่าจะเริ่มได้ภายในเดือนธันวาคมนี้ และจะเสร็จภายในกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2556 หลังจากนั้นจะประกาศขึ้นราคาแอลพีจีทันที ซึ่งในส่วนของผู้ที่มีรายได้น้อย จะไม่มีผลกระทบ เพราะมีบัตรเครดิตพลังงานช่วยแบกรับภาระนี้ไว้ แต่ผู้ที่ไม่เข้าข่ายจะต้องใช้ก๊าซหุงต้มในราคาที่เป็นจริง
"ปริมาณความต้องการใช้แอลพีจีในภาคครัวเรือนของผู้มีรายได้น้อยจะอยู่ที่ประมาณ 3-4 กิโลกรัมต่อเดือน แต่กระทรวงจะให้การอุดหนุนอยู่ที่ 6 กิโล กรัมต่อเดือน ส่วนร้านค้าหาบเร่แผงลอย มีความต้องการใช้แอลพีจีอยู่ที่ประมาณ 150 กิโลกรัมต่อเดือน หากราคาแอลพีจีที่ปรับขึ้น 1 บาทต่อกิโลกรัม คาดว่าจะใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอุด หนุนประมาณ 69 ล้านบาทต่อเดือน"
สำหรับตัวเลขความต้องการใช้แอลพีจีภาคครัวเรือนในปี 2555 อยู่ที่ 2.5 แสนตันต่อเดือน คิดเป็น 42%, ภาคขนส่งอยู่ที่ 8.9 หมื่นตันต่อเดือน คิดเป็น 15%, ภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 5.1 หมื่นตันต่อเดือน คิดเป็น 8% และภาคปิโตร เคมีอยู่ที่ 2.12 แสนตันต่อเดือน คิดเป็น 35% ของปริมาณการใช้ทั้งหมด รวมปริมาณการใช้แอลพีจีทั้งสิ้น 6.01 แสนตันต่อเดือน
นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า นอก จากนี้ยังสั่งการให้กรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) เร่งหามาตรการป้องกันการลักลอบใช้ผิดประเภท และลักลอบขายข้ามประเทศ เบื้องต้นได้สั่งการให้ติดมิเตอร์ที่โรงแยกก๊าซ โรงบรรจุก๊าซ และสถานีบริการแอลพีจี เพื่อตรวจสอบการเคลื่อน ไหวของแอลพีจี โดยผู้ที่รับแอลพีจีจากผู้ค้ามาตรา 7 จะต้องรายงานอย่างละเอียด การเคลื่อนย้ายแอลพีจี หากพบว่ามีการลักลอบใช้ผิดประเภท หรือขายข้ามเขต แดน ก็จะมีมาตรการลงโทษตามกฎ หมาย นอกจากนี้ได้พิจารณาเพื่อเพิ่มบทลงโทษดังกล่าวด้วย
ครัวเรือนจ่ายเพิ่ม 105 บาทต่อเดือน
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า หากรัฐบาลสามารถปรับราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนขึ้นไปได้ 7 บาทต่อกิโลกรัม จะช่วยลดเงินจากการอุด หนุนของกองทุนน้ำมันฯ ได้ประมาณเดือนละ 1.75 พันล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมในส่วนของภาคขนส่ง หากปรับราคาขึ้นไปเต็มเพดานที่ 16 บาทต่อกิโลกรัม จะลดภาระเงินอุดหนุน 1.424 พันล้านบาท และในส่วนของอุตสาหกรรมปรับขึ้นอีก 7-8 บาทต่อกิโลกรัม ลดเงินอุดหนุนได้ประมาณ 357-408 ล้านบาท รวมแล้วลดการอุดหนุนได้ประมาณ 3.5พันล้านบาทต่อเดือน
ในขณะที่ภาคครัวเรือนปกติจะใช้ก๊าซหุงต้มถังขนาด 15 กิโลกรัม เฉลี่ยเดือนละ 1 ถัง หากราคาปรับเพิ่มขึ้นไป 7 บาทต่อกิโลกรัม จะทำให้มีภาระเพิ่มขึ้นประมาณ 105 บาทต่อเดือน จากปัจจุบันราคาก๊าซหุงต้ม 15 กิโลกรัมของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อยู่ที่ประมาณ 280-290 บาทต่อถัง
ทุกฝ่ายรับลูกปรับราคา
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวให้ความเห็นว่า เห็นด้วยกับนโยบายปรับขึ้นราคาแอลพีจีเพื่อสะท้อนกับราคาตลาดโลก เพราะปัจจุบันราคาโรงแยกก๊าซถูกตรึงไว้ที่ 333 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน หรือ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำเกินไป เมื่อเทียบกับราคาตลาดโลกที่ 986 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน หรือที่ประมาณ 38 บาทต่อกิโลกรัม นอกจากนี้จะช่วยลดภาระกองทุนน้ำมันฯ ที่ต้องอุดหนุนราคานำเข้าแอลพีจีด้วย
อย่างไรก็ตาม ราคาแอลพีจีควรมาจากโครงสร้างเดียวกัน ซึ่งควรมีราคาเดียวเพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อน โดยมาจากราคานำเข้าบวกราคาโรงแยกก๊าซ จากนั้นก็นำมาเฉลี่ยกัน และขายแอลพีจีเป็นราคาเดียว หลังจากนั้นก็ใช้บัตรเครดิตพลังงานเพื่อช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม เพื่อลดผลกระทบสำหรับผู้มีรายได้น้อย ขณะเดียวกันเชื่อว่าราคาแอลพีจีที่ไม่แตกต่างกันมากนัก จะทำให้ความจูงใจลักลอบใช้ผิดประเภทเกิดขึ้นน้อยลง
สอดรับกับนายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ที่ระบุว่า เห็นด้วยกับนโยบายการทยอยปรับขึ้นราคาแอลพีจีดังกล่าว แต่ควรทยอยปรับขึ้นเดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้บริโภคมากเกินไป โดยเฉพาะกลุ่มขนส่ง อาทิ กลุ่มแท็กซี่ จะต้องหารือร่วมกันว่าราคาแอลพีจีที่เพิ่มขึ้นจะกระทบต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเท่าไร แต่เชื่อว่าหากราคาแอลพีจีเป็นราคาตลาดโลก หรือประมาณ 16-17 บาทต่อลิตร ก็เป็นราคาที่ยังต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน เชื่อว่าเป็นระดับราคาที่ภาคขนส่งรับได้
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาคครัว เรือน กระทรวงจะใช้บัตรเครดิตพลังงานเพื่อช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม แต่สิ่งที่ยังกังวลคือ การใช้บัตรเครดิตพลังงานจะใช้รูปแบบใด เนื่องจากพฤติกรรมการใช้แอลพีจีของประชาชนจะสั่งผ่านร้านค้าชุมชนขนาดเล็ก ที่มีบริการส่งถึงบ้าน ดังนั้นการใช้บัตรจะเป็นปัญหายุ่งยากหรือไม่
ทั้งนี้ จากการรายงานของกระ ทรวงพาณิชย์ พบว่า หากมีการทยอยปรับราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนขึ้นไปกิโลกรัมละ 50 สตางค์ต่อเดือนหรือประ มาณ 6 บาทต่อปี จะมีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้น 0.0094% ต่อเดือนและสูงขึ้น 0.1228% ต่อปี ซึ่งต้นทุนที่เพิ่มขึ้นยังไม่มีผลต่อราคาสินค้ามากนัก
--จบ--