กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 61
ขอบคุณครับอาจารย์ ผมจะได้เอาไปใช้กับบริษัทที่มีหนี้เยอะๆ ขาดทุนหลายปีติดต่อกัน
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 62
เวลาคำนวณอัตราส่วนต้องระมัดระวังเรื่องการใช้ค่าที่นำมานะครับ เพราะเจอหลายครั้ง ในหลายคำถามทั้งที่นี่และ เฟสบุ๊คของ ดร ภาพร ทีสงสัยถามบางเรื่อง แต่พอดูไปก็พบว่าคนที่ถามใช้ค่าในการคำนวณผิดครับ ขอให้ได้ประโยชน์จากการลงทุนครับcyber-shot เขียน:ขอบคุณครับอาจารย์ ผมจะได้เอาไปใช้กับบริษัทที่มีหนี้เยอะๆ ขาดทุนหลายปีติดต่อกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 63
อาจารย์ครับ นักลงทุนธรรมดาสามารถคิดreplacement cost เองได้มั้ยครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 64
นักลงทุนอาจไม่รู้ข้อมูลพอที่จะประเมิน replacement cost เอง ยกเว้นเรารู้จักสินทรัพย์ชิ้นนั้นดี เราก็อาจประเมินได้cyber-shot เขียน:อาจารย์ครับ นักลงทุนธรรมดาสามารถคิดreplacement cost เองได้มั้ยครับ
replacement cost ของคุณอยู่ในสถานการณ์ไหน? บางครั้งคำตอบขึ้นอยู่กับคำถาม
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 65
อย่างที่อาจารย์ภาพรบอกนะครับว่านักลงทุนยากที่จะรู้ เวลาดูงบยังไม่รู้ได้เลยว่าสินทรัพย์ เช่น เครื่องจักร ในงบบอกว่าราคาตามบัญชีมียอดคงหลืออยู่สุทธิ 234,387,821.94 บาท เป็นเครื่องจักรกี่ตัว แต่ละตัวอายุเหลือกี่ปี ที่รู้ๆได้ก็คือ ภาพรวมๆ ว่า สินทรัพย์ประเภทนี้มีมูลค่าสุทธิ รวมๆ เหลืออยู่เท่าไร ทั้งกลุ่มคัด่าเสื่อมมาเหลืออายุเฉลี่ยคร่าวๆ ราวกี่ปี คนที่อ่านงบการเงินต้องเข้าใจอย่างหนึ่งนะครับวา การอ่านงบการเงินนั้นแม้แต่นักบัญชีเองก็ไม่อาจรู้ไว่ซื้อมาวันไหน ซื้อกับใคร อันนั้นละเอียดเกินไป มีแต่คนทำบัญชีและผู้สอบบัญชีที่จะรู้ได้ ปัญหาอยู่ที่ (ควรถามตนเองทุกครั้ง) ว่าสิ่งที่รู้นั้นช่วยในการตัดสินใจลงทุนได้มากเพียงใด รู้เท่าไรและอะไรจึงเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นกังวลรายละเอียดไปหมด นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากมาย กูงบแบบกว้างๆทั้งนั้น ไม่ได้รู้ลึกมาก แตดูเป็น ใช้เป็น นี่คือสิ่งสำคัญในการลงทุน นักบัญชีไม่ใช่คนที่ลงทุนสำเร็จทุกราย มีทั้งคนที่สำเร็จ และคนที่ไม่สำเร็จเช่นกัน แต่การรู้บัญชีก็เป็นส่วนช่วยที่ทำให้ไม่สับสนที่มาที่ไปตัวเลข แต่ไม่ใช่ทั้งหมด อยากลงทุนต้องรู้วิชา บัญชี การเงิน เศรษฐศาตร์ การตลาด การบริหารเชิงกลยุทธ์ บางคร้งอาจต้องเข้าใจสถิติด้วย เข้าใจ รู้ไม่ถูกหลอก ไม่สับสน แต่ไม่ต้องทำเป็นก็ได้ครับparporn เขียน:นักลงทุนอาจไม่รู้ข้อมูลพอที่จะประเมิน replacement cost เอง ยกเว้นเรารู้จักสินทรัพย์ชิ้นนั้นดี เราก็อาจประเมินได้cyber-shot เขียน:อาจารย์ครับ นักลงทุนธรรมดาสามารถคิดreplacement cost เองได้มั้ยครับ
replacement cost ของคุณอยู่ในสถานการณ์ไหน? บางครั้งคำตอบขึ้นอยู่กับคำถาม
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 66
parporn เขียน:นักลงทุนอาจไม่รู้ข้อมูลพอที่จะประเมิน replacement cost เอง ยกเว้นเรารู้จักสินทรัพย์ชิ้นนั้นดี เราก็อาจประเมินได้cyber-shot เขียน:อาจารย์ครับ นักลงทุนธรรมดาสามารถคิดreplacement cost เองได้มั้ยครับ
replacement cost ของคุณอยู่ในสถานการณ์ไหน? บางครั้งคำตอบขึ้นอยู่กับคำถาม
ตามความหมายเลยครับ มูลค่าทดแทนของกิจการนั้นทั้งหมด ถ้าเราจะลงทุนทำธุรกิจนั้น เราจะลงทุนเองหรือtake over เขาดี แบบไหนคุ้มกว่ากัน ผมอ่านใน value investing for graham from buffet and beyond เห็นเขามีการประเมิน intangible asset ด้วย ครับ ที่ดิน บ้างที่ถูกบันทึกราคาทุน ไม่รู้มูลค่าตลาดเท่าไร มีการปรับค่าinventory แล้ว account receivable เงินลงทุน ตามราคา private-market value ที่คนมีความรู้ซื้อขายกัน อะไรต่อมิอะไรหลายๆอย่างเป็นต้นครับparporn เขียน:cyber-shot เขียน:อาจารย์ครับ นักลงทุนธรรมดาสามารถคิดreplacement cost เองได้มั้ยครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 67
โดยปกติ deal แบบนี้ หากจะมีการเจรจาต่อรองเข้าซื้อเพื่อ take over กัน ผู้ซื้อจะขอข้าไปทำ deal diligent หรือง่ายๆ คือเข้าไปตรวจจสอบสินทรัพย์หนี้สินทั้งหมดว่ามีอยู่จริงเท่าไร เพื่อประเมินราคาของกิจการในเบื้องต้นขั้นแรก จากนั้นผู้ซื้อก็ต้ดงมาทำการบ้านเองต่อในการหามูลค่า จะใช้ dcf model p/e comparative หรือ อื่นก็แล้วแต่ stept ค่อมาคือการเจราจาต่อรองราคาหุ้นกัน ถ้าได้ราคาที่ต้งฝ่ายต่างพอใจ deal ก็เกิด ถ้าไม่ก็ต่างคนต่างไป แบบนี้เป็น friendly takeover แต่ถ้าเก็บซื้อในกระดานจนถึงเกณฑ์จนต้องทำ tender offer เรียกว่า hostile takeover เวลาซื้อขายกิจการกัน ไม่ใช่หิ้วตระกร้าไปซื้อผักในตลาด การรู้เรื่องเหล่าคงต้งอคลุกคลีในวงการหุ้นนานครับ จึงเห็นภาพ เข้ามาปีสองปี อาจยากและงงครับ ตำราก็บอกไม่หมดในเล่มเดียวต้องอ่านมากๆ หลายเล่มทีเดียวcyber-shot เขียน:parporn เขียน:นักลงทุนอาจไม่รู้ข้อมูลพอที่จะประเมิน replacement cost เอง ยกเว้นเรารู้จักสินทรัพย์ชิ้นนั้นดี เราก็อาจประเมินได้cyber-shot เขียน:อาจารย์ครับ นักลงทุนธรรมดาสามารถคิดreplacement cost เองได้มั้ยครับ
replacement cost ของคุณอยู่ในสถานการณ์ไหน? บางครั้งคำตอบขึ้นอยู่กับคำถามตามความหมายเลยครับ มูลค่าทดแทนของกิจการนั้นทั้งหมด ถ้าเราจะลงทุนทำธุรกิจนั้น เราจะลงทุนเองหรือtake over เขาดี แบบไหนคุ้มกว่ากัน ผมอ่านใน value investing for graham from buffet and beyond เห็นเขามีการประเมิน intangible asset ด้วย ครับ ที่ดิน บ้างที่ถูกบันทึกราคาทุน ไม่รู้มูลค่าตลาดเท่าไร มีการปรับค่าinventory แล้ว account receivable เงินลงทุน ตามราคา private-market value ที่คนมีความรู้ซื้อขายกัน อะไรต่อมิอะไรหลายๆอย่างเป็นต้นครับparporn เขียน:cyber-shot เขียน:อาจารย์ครับ นักลงทุนธรรมดาสามารถคิดreplacement cost เองได้มั้ยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 68
เรียนผู้ที่เคยสอบถาม เรื่อง TCAP ทุนธนชาติมี่ถามว่า ส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมของงบการเงินรวม เกือบเท่ากับส่วนของผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นไปได้หรือไม่ อย่างไร และส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมนี้คืออะไร
ที่ได้เคยตอบไปตอนนั้น (จำได้ว่าน่าจะเป็นช่วงที่กำลังเริ่มไม่สบายก่อสงกรานต์) ผมได้ตอบไปว่าส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม ก็คือ ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่นั่นเอง (จาก minority interest เป็น non controlled interest) และได้บอกว่าส่วนนี้ที่สูงน่าจะเกิดจากกระบวนกาน้ขัถือหุ้นในวันสที่รายงานอาจยังไม่เบ็ดเสร็จเรียบร้อยนั้น
ผมได้ดูงบ TCAP ล่าสุดพบว่า ส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมของงบการเงินรวม ยังคงมีสัดส่วนสูงเกือบเท่ากับส่วนของผู้ถือหุ้นใหญ่เช่นเดิม จึงสงสัยเช่นกันแท่ที่ทราบกระบวนการการเข่าถือครองควบคุมเบ็ดเสร็จแล้ว จึงดูโดยละเอียด พบว่า TCAP คือ บริษัททุนธนชาต ไม่ใช่ ธนาคารธนชาต แต่ธนาคารธนชาต ได้เข้าถือหุ้นในธนาคารนครหลวงไทย ไม่ใช่บริษัททุนธนชาตธนาคารบริษัททุนธนชาต ที่เข้าถือธนาคารทุนธนชาต 50.96% ดังนั้นเมื่อ ธนาคารธนชาตถือในธนาคารนครหลวงไทย 100% ในด้านของบริษัททุนธนชาต จึงถือเพียง 50.96% ในธนาคารนครหลวงไทย ผมเข้าใจผิดแต่แรกว่า TCAP คือธนาคารธนชาต ที่จริงคือเงินทุนธนชาต
แต่การอ่นงบการเงินรวมนั้นอย่าดูเพียงชื่อบริษัทเพราะจะงงได้ ควรต้องมองเป็นภาพรวมทั้งกลุ่ม เป็นก้อนเดียวกัน ส้วนของผู้ถือหุ้นเพียงแต่บอกว่าส่วนทุนมีใครในรูปนิติบุคลและบุคคลทั่วไปมาถือหุ้นลงทุน ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยก็คือผู้ถือหุ้นร่วมลงทุนกับเราเช่นกัน จึงอย่าเตะออกจากงบเวลาวิเคราะห์ ROE, D/E ดังที่เคยบอกไว้ครับ
ที่ได้เคยตอบไปตอนนั้น (จำได้ว่าน่าจะเป็นช่วงที่กำลังเริ่มไม่สบายก่อสงกรานต์) ผมได้ตอบไปว่าส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม ก็คือ ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่นั่นเอง (จาก minority interest เป็น non controlled interest) และได้บอกว่าส่วนนี้ที่สูงน่าจะเกิดจากกระบวนกาน้ขัถือหุ้นในวันสที่รายงานอาจยังไม่เบ็ดเสร็จเรียบร้อยนั้น
ผมได้ดูงบ TCAP ล่าสุดพบว่า ส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมของงบการเงินรวม ยังคงมีสัดส่วนสูงเกือบเท่ากับส่วนของผู้ถือหุ้นใหญ่เช่นเดิม จึงสงสัยเช่นกันแท่ที่ทราบกระบวนการการเข่าถือครองควบคุมเบ็ดเสร็จแล้ว จึงดูโดยละเอียด พบว่า TCAP คือ บริษัททุนธนชาต ไม่ใช่ ธนาคารธนชาต แต่ธนาคารธนชาต ได้เข้าถือหุ้นในธนาคารนครหลวงไทย ไม่ใช่บริษัททุนธนชาตธนาคารบริษัททุนธนชาต ที่เข้าถือธนาคารทุนธนชาต 50.96% ดังนั้นเมื่อ ธนาคารธนชาตถือในธนาคารนครหลวงไทย 100% ในด้านของบริษัททุนธนชาต จึงถือเพียง 50.96% ในธนาคารนครหลวงไทย ผมเข้าใจผิดแต่แรกว่า TCAP คือธนาคารธนชาต ที่จริงคือเงินทุนธนชาต
แต่การอ่นงบการเงินรวมนั้นอย่าดูเพียงชื่อบริษัทเพราะจะงงได้ ควรต้องมองเป็นภาพรวมทั้งกลุ่ม เป็นก้อนเดียวกัน ส้วนของผู้ถือหุ้นเพียงแต่บอกว่าส่วนทุนมีใครในรูปนิติบุคลและบุคคลทั่วไปมาถือหุ้นลงทุน ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยก็คือผู้ถือหุ้นร่วมลงทุนกับเราเช่นกัน จึงอย่าเตะออกจากงบเวลาวิเคราะห์ ROE, D/E ดังที่เคยบอกไว้ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 69
ขอบคุณครับอาจารย์
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 70
งั้นอาจารย์จะเห็นด้วยกับผมมั้ยครับ ว่าการประเมินมูํลค่าทดแทนนั้นยากกว่าการประเมินแบบDCF ครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 71
ยากคนละแบบครับ ผมเคยทำ deal แบบนี้ทั้งสองวิธี แบบแรก จะยุงยากมากน้อยอยู่ที่ระบบฐานข้อมูลทางบัญชี และความหลากหลายของ assets กิจการที่มีเครื่องจักรมากและระบบการจัดเก็บข้อมูลทางบัญชีของสินทรัพย์ ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ไม่ดี ทำให้อาจพิสูจน์ยาก กิจการที่มีเครื่องจักรน้อย ส่วนใหญ่เป็นที่ดิน อาคาร ก็อาจประเมินง่าย กิจการที่เงินลงทุนมาก มีบริษษัทลูกในต่างประเทศสักสามสี่ประเทศขึ้นไปก็ยากมากขึ้น ทั้งมูลค่าและ ค่านิยม หรือสินค้ามีหลากหลาย เช่นผลิตชิ้นส่วนรถยนต์หลากหลายรุ่น หลากหลายแบบ ย่อมยากกว่า ประเภทที่ไม่มากเช่น ทำแต่เหล็กแผ่นรีดร้อนย่อมง่ายกว่า เป็นต้นcyber-shot เขียน:งั้นอาจารย์จะเห็นด้วยกับผมมั้ยครับ ว่าการประเมินมูํลค่าทดแทนนั้นยากกว่าการประเมินแบบDCF ครับ
ส่วนการประเมินมูลค่าด้วยกระแสเงิยสดคิดลด ดูเหมือนง่าย แต่ความจริงไม่ง่ายถ้าเอาให้ทุกอย่างต้องมีข้อมูล back up เช่นแค่อัตราการเติฐโตยอดขาย จะใช้เลขใด บางคนทำง่ายเฉลี่ยตัวเลข สองสามปี สำหรับผมไม่ได้ เพราะไม่มีฐานข้อเท็จจริงใดสนับสนุน ถ้าเรียน MBA กับผม แล้วใช้แค่นี้ในการสอบงานนิพนธ์กับผม โดนให้กลับไปทำใหม่ ต้องหาว่าอุตสาหกรรมโตกี่เปอร์เซ็นต์ และให้ดีขึ้นถ้าหา relationship กับ GDP ยิ่งดี รู้มาร์เก็ตแชร์ด้วยยิ่งดี รู้ market size ด้วยไหม เป็นต้น นี่เพียงด้านขายย่อๆ ครับ ค่าใช้จ่ายแต่ละอย่างรายละเอียดมากน้อยต่างกัน Gross margin กี่% ดี ถ้ามีการวิเคราะห์ five forces ประกอบการกำหนดgross margin ได้ยิ่งมีน้ำหนัก ค่าใช้จ่ายจะโตเท่าไร อดีตมาอย่างไร จะคงที่จะเพิ่ม เพิ่มเท่าไร อัตราเงินเฟ้อ? ใช้ได้เหมาะสมไหม ดูจากการวิเคราะห์ common size ใช้เปรียบเทียบกี่ปี บางบริษัทอาจใช้สองสามปี บางบริษัทอาจมากหรือน้อยขึ้นกับธุรกิจนั้นว่า เข้าสู่วงจรใด เพิ่งเริ่มต้น เริ่มเติบโต (eary growth) หรือปลายวงจรเติบโต หรืออิ่มตัว อัตราคิดลด discounted rate ใช้ค่าใด WACC หรือไม่ ต้นทุนหนี้เท่าใด ต้นทุน equity ต้นทุนหุ้น ใช้เท่าใด หามาจากไหน หรือใช้ CAPM model ก็ต้องดูถึงrisk free, beta เป็นต้น และยังต้องกำหนด D/E ratio ที่ต้องใช้ใน model WACC ด้วย จะใช้ D/E เท่าไร ปัจจุบันเหมาะไหม ทำไม ถ้าเป็น expeced D/E ดีกว่าไหม แล้วเอามาจากอะไร ยังมีค่า terminal value อีก
บางทีนึกว่าเวอร์ไปไหม ผมเคยทำเรื่องให้ ช การช่าง เข้าซื้อ BECL มาแล้ว ทำกันเป็นทีมหลายคน deal นี้ตกลงซื้อขายได้ ต้นทุน ช การช่างได้ราคาที่ดี ตกมาจากราคาจองถึงปัจจุบันยังไม่ขาดทุนครับ กูมาไกกูมิ ก็แฮปปี้ ใช้เวลา หลายเดือนในการสรุปทำ DCF แล้วสรุปให้ผ้ซื้อ
จะเห็นว่าของจริงยากทั้งคู่ แต่ถ้าทำพื่อซื้อหุ้นเองอาจไม่ถึงแบบที่บอกไว้ แต่เราก็ควรตอบตัวเองได้ระดับหนึ่งไม่เช่นนั้นใช้ P/E หรือ P/BV market comparation จะดีกว่าเยอะดูยังมั่วน้อยกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 72
โอโหทำไมยากจัง งั้นงานเขียนแบบนี้ผมจะไปหาอ่านได้ที่ไหนเหรอครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 73
แนะนำหนังสือ Value Invesing: From Graham to Buffett and Beyond เป็นหนังสือด้านการลงทุนที่ใช้สอนและอ่าน ในมหาวิทยาลัย Columbia มีแปลขายในไทยชื่อ การลงทุนแบบเน้นคุณค่า หลักสูตร มหาวิยาลัยโคลัมเบีย เป็นหนังสือการลงทุนเล่มหนึ่งทีอ่านง่ายกว่า Securities Analysis ของ Graham แต่ไม่ทิ้งคุณค่าทางทฤษฎีหรือวิชาการ มีตัวอย่างมากจากของจริง ถ้าหาอ่านอย่างหลักการลงทุนในแนว VI จริงๆ เป็นเล่มที่แนะนำอีกเล่มหนึ่ง ส่วนถ้าใครสนใจการวิเคราะทางการเงิน แนะนำ The Techniques of Financial Analysis; A Guide to Value Creation 10th Edition: Erich Healfert และ The Analysis and Use of Financial Statements: Gerald I. White, Ashwinpual C. Sondhi, Dov Fried สำหรับคนที่เรียนรู้ทางวิชาการและจะต้องการรู้ซึ้งจริงๆ ที่จริงยังมีหนงสือเกี่ยวกับการเงิน เช่น Value Creation อีก แต่เอาสามเล่มข้างต้นคงพอสำหรับ VIcyber-shot เขียน:โอโหทำไมยากจัง งั้นงานเขียนแบบนี้ผมจะไปหาอ่านได้ที่ไหนเหรอครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 74
ขอบคุณครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 75
เขาจะมีเขียนเกี่ยวกับ DCF replacement value แบบละเอียดเลยใช่เปล่าครับ ผมจะได้ไปหาอ่าน
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 76
ไม่ได้ละเดียดอย่างที่ผมเขียน ซึ่งที่เขียนก็ยังไม่ละเอียด 100% อยากรู้ละเอียดจริงๆ ต้องไปเริ่มเรียน ป.ตรีด้ารการเงิน หรือบัญชีรับ เพราะคนที่ทำงานด้านี้ เขาจบโท จบตรีกัน แต่หนังสือที่แนะนำนั้นเป็นแนวคิดที่นักลงทุนใช้ การลงทุนในโลกของนักลงทุน เขาไม่เอาะละเอียดแบบที่คุณคิดหรอกครับ ส่วนใหญ่ที่จะทำแบบนั้นก็คือ บริษัทลงทุนขนาดใหญ่ กองทุนมากๆ จ้างคนทำงานประจำ เช่น บริษัมที่ปรึกษาการเงิน การลงทุน แนวคิดเรื่อง pricing valuation มากกว่ทคุณรู้จักมาก DCF ตามทฤษฎี ดีครับ แต่ก็มีข้อแย้งในเรื่องการหาข้อมูลสนับสนุนสมมติฐานที่จะใช้ ดังนั้นเวลาใช้ต้องใช้เป็น และนี่ก็คือ ความเสี่ยงอีกตัวหนึ่ง ที่ดันโด ไม่กล่าวถึง garbage input garbagr outputcyber-shot เขียน:เขาจะมีเขียนเกี่ยวกับ DCF replacement value แบบละเอียดเลยใช่เปล่าครับ ผมจะได้ไปหาอ่าน
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 77
ขอบคุณครับอาจารย์ ผมจะศึกษาเท่าที่ตัวเองจะศึกษาได้ครับ จริงๆ ไปเรียนตรี นี้ก็คิดเหมือนกัน แต่คงต้องรอให้ทุกอย่างพร้อมก่อนครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 78
ตอนแรกที่ผมทำDCF เพราะอยากลองทำดู จะได้รู้ว่าเป็นไง พอทำไปทำมา ก็รู้สึกมันเป็นการดูไปทั้งหน้า ทั้งหลังของบริษัทเลย เห็นภาพต่างๆมากขึ้น จริงๆ ผมแค่เอาเป็นหลักยึดไว้ไม่ให้เครียด เพราะพีอี forward ไม่สามารถหยุดความเครียดผมได้ โดยเฉพาะถ้าตลาดหรือหุ้นที่เราถืออยู่เกิดตกอย่างแรง โดยที่พื้นฐานไม่เปลี่ยน สรุปDCFสำหรับผมเป็นแค่หลักยึดเวลาตลาดเกิดpanic แรงๆครับ
ที่ผมถามละเอียด เพราะว่า ผมอยากคิด replacement value , มูลค่าเลิกกิจการ sum of the parts ของหุ้นสถาบันการเงินได้ครับ หรือหุ้นพวก อสังหาก็ดี เพราะผมอยากได้หุ้นพวกนี้ และจะรอซื้อต้อง bubble แตกครับ ซึ่งถ้าคนธรรมดาอย่า่งผมประเมินไม่ได้ คงต้องอาศัยบทวิเคาะห์โบรกช่วยแล้วละครับ
ที่ผมถามละเอียด เพราะว่า ผมอยากคิด replacement value , มูลค่าเลิกกิจการ sum of the parts ของหุ้นสถาบันการเงินได้ครับ หรือหุ้นพวก อสังหาก็ดี เพราะผมอยากได้หุ้นพวกนี้ และจะรอซื้อต้อง bubble แตกครับ ซึ่งถ้าคนธรรมดาอย่า่งผมประเมินไม่ได้ คงต้องอาศัยบทวิเคาะห์โบรกช่วยแล้วละครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 79
รบกวนถามอาจารย์ 3-4 คำถามนะครับ ออกจะเป็นแนววิเคราะห์นิดนึงขออภัยล่วงหน้านะครับ
1)บริษัทที่มีธุรกรรมเกี่ยวกับพวกนำเข้าและส่งออก ที่มีการป้องกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน
ผมเห็นรายงานผลประกอบการกำไรขาดทุนรายไตรมาส บางบริษัทจะรายงานกำไรค่าเงิน บางบริษัทรายงานขาดทุน ในแต่ละไตรมาส อยากทราบว่า รายการพวกนี้เป็นรายการ กำไร และ ขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ครับ
ถ้าเป็นรายการที่เกิดขึ้นจริง เราจะสามารถดูได้จากที่ไหน ในงบดุล หรืองบกระแสเงินสดครับ เพราะผมเคยลองเทียบดู เห็นในงบเงินสด มันก็มีรายการอยู่ (เป็นรายงานที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง) แต่มันมักจะไม่เท่ากัน กับที่แจ้งในงบกำไรขาดทุน
ถ้าไม่ใช่รายการที่เกิดขึ้นจริง ณ ไตรมาสนั้นๆ อยากทราบว่าจะทำไว้ ทำไมครับ โดยเฉพาะงบกระแสเงินสด ซึ่งก็ควรรายงานสภาพเงินสดจริงๆที่บริษัทประเมินไว้ ณ ไตรมาสนั้นๆ (แต่เห็นใส่ไว้ในงบกระแสเงินสด -ว่าเป็นรายที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง)
แล้วการบ้องกันความเสี่ยงค่าเงินนี้มีผลดี และผลเสียอย่างไรบ้างครับ ที่ไม่เข้าใจ คือ บริษัทที่ทำการป้องกันความเสี่ยง ปกติส่วนใหญ่จะรายงานกำไรค่าเงิน (แต่ในทางปฏิบัติถ้าบริษัทนึงได้ประโยชน์ ก็ต้องมีบางบริษัทหรือหน่วยงานหรือคู่ค้าที่เสียผลประโยชน์ จริงหรือไม่ครับ) และเห็นบางบริษัทก็ไม่นิยมการทำการป้องกันความเสี่ยงตรงนี้ไว้ด้วย
2)กับบริษัทที่ทำธุรกิจพวกสินค้าcommodity และ มีรายการกำไร ขาดทุนจากราคา สินค้า และวัตถุดิบล่วงหน้า คำถามจะคล้ายๆกับข้อแรกนะครับ คือ
2.1 เป็นการบันทึก กำไร และ ขาดทุนจริงๆ หรือไม่ ณ ไตรมาสนั้นๆ ดูได้จากไหนใน งบดุล และงบกระแสเงินสด ถ้าบันทึกจริง หรือไม่ได้บันทึกจริง คือผมพยายามเทียบกันระหว่าง 3 งบ แต่หาไม่เจอ ถึงหาเจอ ตัวเลขก็ไม่เท่ากัน เลยอยากทราบคร่าวๆว่าเค้า คำนวนกันอย่างไร
2.2 การป้องกันความเสี่ยง โดยการซื้อขาย วัตถุดิบ และ สินค้าล่วงหน้า มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย หรือ ข้อเสียมากกว่าข้อดีครับ เพราะหลายๆบริษัทก็ไม่นิยมทำกัน
2.3 ผมมองว่าการแจ้งกำไรขาดทุน ของบริษัท โดยเฉพาะบางไตรมาสที่ กำไร(หรือขาดทุน) ของการป้องกันความเสี่ยงตรงนี้ มีผลมากกระทบกับงบกำไร ขาดทุนที่ออกมา มันไม่ใช่รายการที่ควรจะเอามาเป็นสาระสำคัญอะไร ถ้าบริษัทไม่ได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจนเกินตัว เพราะถึงบริษัทจะบันทึกผลขาดทุนความเสี่ยง ในความเป็นจริง บริษัทก็ไม่ควรจะขาดทุน ในทางกลับกัน บริษัทควรจะมีกำไรเพิ่ม ในไตรมาสถัดๆไป
ตัวอย่างเช่น การขายสินค้าล่วงหน้า แต่ราคาสินค้าขึ้นไปเกินกว่าที่ทำสัญญาไว้ <== ณ จุดนี้ บริษัทบันทึกขาดทุน
แต่ในไตรมาสถัดไป บริษัทก็สามารถผลิตสินค้าออกมาส่งมอบตามจำนวนที่ทำสัญญาไว้ และผลิตสินค้าขายให้ลูกค้าในส่วนที่นอกเหนือจากสัญญาส่งมอบ ซึ่งเผลอๆจะขายได้มากกำไรขึ้นด้วย <== ณ จุดนี้บริษัทก็ควรที่จะมีกำไรที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาก บริษัทได้ล็อคจำนวนสินค้า และส่วนต่างของราคาขายไว้แล้ว บวกกับ กำไรเพิ่มจาก ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากสินค้าที่ส่งมอบไป
3)บริษัทที่ให้บริการสินเชื่อเครดิตล่วงหน้า เช่นพวกบัตรเครดิตต่างๆ การบันทึกหนี้สูญ หรือ หนี้สงสัยจะสูญ บริษัทเค้าเอาเกณพ์อะไรมาเป็นตัวชี้วัดครับ ว่านายคนนี้ ถือเป็นหนี้สูญ หรือไม่ เพราะผมเห็นว่ามีการบันทึกประจำ(เพิ่มบ้าง ลดบ้าง) และก็มีกลับรายการกันประจำ
สมมติว่าผมซื้อสินค้าผ่านบัตรเครเครดิต หรือ ผ่อนเงินกับบัตรเครดิต กำหนดระยะเวลา 2 ปี แต่ผมจ่าย ขั้นต่ำให้ธนาคารทุกเดือน แบบนี้ผมจัดอยู๋ในหนี้ประเภทไหนครับ แล้วหนี้แบบ ไหนที่ถือเป็นหนี้สูญ และแบบไหนที่ สงสัยจะสูญ เราจะแยกประเภทลูกหนี้ได้อย่างไร ดูตรงไหนในงบบัญชีครับ
แล้วการกลับรายการ เค้าหลักวิเคราะห์ยังไงมา กลับรายการครับ
1)บริษัทที่มีธุรกรรมเกี่ยวกับพวกนำเข้าและส่งออก ที่มีการป้องกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน
ผมเห็นรายงานผลประกอบการกำไรขาดทุนรายไตรมาส บางบริษัทจะรายงานกำไรค่าเงิน บางบริษัทรายงานขาดทุน ในแต่ละไตรมาส อยากทราบว่า รายการพวกนี้เป็นรายการ กำไร และ ขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ครับ
ถ้าเป็นรายการที่เกิดขึ้นจริง เราจะสามารถดูได้จากที่ไหน ในงบดุล หรืองบกระแสเงินสดครับ เพราะผมเคยลองเทียบดู เห็นในงบเงินสด มันก็มีรายการอยู่ (เป็นรายงานที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง) แต่มันมักจะไม่เท่ากัน กับที่แจ้งในงบกำไรขาดทุน
ถ้าไม่ใช่รายการที่เกิดขึ้นจริง ณ ไตรมาสนั้นๆ อยากทราบว่าจะทำไว้ ทำไมครับ โดยเฉพาะงบกระแสเงินสด ซึ่งก็ควรรายงานสภาพเงินสดจริงๆที่บริษัทประเมินไว้ ณ ไตรมาสนั้นๆ (แต่เห็นใส่ไว้ในงบกระแสเงินสด -ว่าเป็นรายที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง)
แล้วการบ้องกันความเสี่ยงค่าเงินนี้มีผลดี และผลเสียอย่างไรบ้างครับ ที่ไม่เข้าใจ คือ บริษัทที่ทำการป้องกันความเสี่ยง ปกติส่วนใหญ่จะรายงานกำไรค่าเงิน (แต่ในทางปฏิบัติถ้าบริษัทนึงได้ประโยชน์ ก็ต้องมีบางบริษัทหรือหน่วยงานหรือคู่ค้าที่เสียผลประโยชน์ จริงหรือไม่ครับ) และเห็นบางบริษัทก็ไม่นิยมการทำการป้องกันความเสี่ยงตรงนี้ไว้ด้วย
2)กับบริษัทที่ทำธุรกิจพวกสินค้าcommodity และ มีรายการกำไร ขาดทุนจากราคา สินค้า และวัตถุดิบล่วงหน้า คำถามจะคล้ายๆกับข้อแรกนะครับ คือ
2.1 เป็นการบันทึก กำไร และ ขาดทุนจริงๆ หรือไม่ ณ ไตรมาสนั้นๆ ดูได้จากไหนใน งบดุล และงบกระแสเงินสด ถ้าบันทึกจริง หรือไม่ได้บันทึกจริง คือผมพยายามเทียบกันระหว่าง 3 งบ แต่หาไม่เจอ ถึงหาเจอ ตัวเลขก็ไม่เท่ากัน เลยอยากทราบคร่าวๆว่าเค้า คำนวนกันอย่างไร
2.2 การป้องกันความเสี่ยง โดยการซื้อขาย วัตถุดิบ และ สินค้าล่วงหน้า มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย หรือ ข้อเสียมากกว่าข้อดีครับ เพราะหลายๆบริษัทก็ไม่นิยมทำกัน
2.3 ผมมองว่าการแจ้งกำไรขาดทุน ของบริษัท โดยเฉพาะบางไตรมาสที่ กำไร(หรือขาดทุน) ของการป้องกันความเสี่ยงตรงนี้ มีผลมากกระทบกับงบกำไร ขาดทุนที่ออกมา มันไม่ใช่รายการที่ควรจะเอามาเป็นสาระสำคัญอะไร ถ้าบริษัทไม่ได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจนเกินตัว เพราะถึงบริษัทจะบันทึกผลขาดทุนความเสี่ยง ในความเป็นจริง บริษัทก็ไม่ควรจะขาดทุน ในทางกลับกัน บริษัทควรจะมีกำไรเพิ่ม ในไตรมาสถัดๆไป
ตัวอย่างเช่น การขายสินค้าล่วงหน้า แต่ราคาสินค้าขึ้นไปเกินกว่าที่ทำสัญญาไว้ <== ณ จุดนี้ บริษัทบันทึกขาดทุน
แต่ในไตรมาสถัดไป บริษัทก็สามารถผลิตสินค้าออกมาส่งมอบตามจำนวนที่ทำสัญญาไว้ และผลิตสินค้าขายให้ลูกค้าในส่วนที่นอกเหนือจากสัญญาส่งมอบ ซึ่งเผลอๆจะขายได้มากกำไรขึ้นด้วย <== ณ จุดนี้บริษัทก็ควรที่จะมีกำไรที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาก บริษัทได้ล็อคจำนวนสินค้า และส่วนต่างของราคาขายไว้แล้ว บวกกับ กำไรเพิ่มจาก ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากสินค้าที่ส่งมอบไป
3)บริษัทที่ให้บริการสินเชื่อเครดิตล่วงหน้า เช่นพวกบัตรเครดิตต่างๆ การบันทึกหนี้สูญ หรือ หนี้สงสัยจะสูญ บริษัทเค้าเอาเกณพ์อะไรมาเป็นตัวชี้วัดครับ ว่านายคนนี้ ถือเป็นหนี้สูญ หรือไม่ เพราะผมเห็นว่ามีการบันทึกประจำ(เพิ่มบ้าง ลดบ้าง) และก็มีกลับรายการกันประจำ
สมมติว่าผมซื้อสินค้าผ่านบัตรเครเครดิต หรือ ผ่อนเงินกับบัตรเครดิต กำหนดระยะเวลา 2 ปี แต่ผมจ่าย ขั้นต่ำให้ธนาคารทุกเดือน แบบนี้ผมจัดอยู๋ในหนี้ประเภทไหนครับ แล้วหนี้แบบ ไหนที่ถือเป็นหนี้สูญ และแบบไหนที่ สงสัยจะสูญ เราจะแยกประเภทลูกหนี้ได้อย่างไร ดูตรงไหนในงบบัญชีครับ
แล้วการกลับรายการ เค้าหลักวิเคราะห์ยังไงมา กลับรายการครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 80
ขอตอบทีละคำถามนะครับ ที่เหลือจะทยอยให้ครับfirewalker เขียน:รบกวนถามอาจารย์ 3-4 คำถามนะครับ ออกจะเป็นแนววิเคราะห์นิดนึงขออภัยล่วงหน้านะครับ
1)บริษัทที่มีธุรกรรมเกี่ยวกับพวกนำเข้าและส่งออก ที่มีการป้องกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน
ผมเห็นรายงานผลประกอบการกำไรขาดทุนรายไตรมาส บางบริษัทจะรายงานกำไรค่าเงิน บางบริษัทรายงานขาดทุน ในแต่ละไตรมาส อยากทราบว่า รายการพวกนี้เป็นรายการ กำไร และ ขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ครับ
ถ้าเป็นรายการที่เกิดขึ้นจริง เราจะสามารถดูได้จากที่ไหน ในงบดุล หรืองบกระแสเงินสดครับ เพราะผมเคยลองเทียบดู เห็นในงบเงินสด มันก็มีรายการอยู่ (เป็นรายงานที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง) แต่มันมักจะไม่เท่ากัน กับที่แจ้งในงบกำไรขาดทุน
ถ้าไม่ใช่รายการที่เกิดขึ้นจริง ณ ไตรมาสนั้นๆ อยากทราบว่าจะทำไว้ ทำไมครับ โดยเฉพาะงบกระแสเงินสด ซึ่งก็ควรรายงานสภาพเงินสดจริงๆที่บริษัทประเมินไว้ ณ ไตรมาสนั้นๆ (แต่เห็นใส่ไว้ในงบกระแสเงินสด -ว่าเป็นรายที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง)
แล้วการบ้องกันความเสี่ยงค่าเงินนี้มีผลดี และผลเสียอย่างไรบ้างครับ ที่ไม่เข้าใจ คือ บริษัทที่ทำการป้องกันความเสี่ยง ปกติส่วนใหญ่จะรายงานกำไรค่าเงิน (แต่ในทางปฏิบัติถ้าบริษัทนึงได้ประโยชน์ ก็ต้องมีบางบริษัทหรือหน่วยงานหรือคู่ค้าที่เสียผลประโยชน์ จริงหรือไม่ครับ) และเห็นบางบริษัทก็ไม่นิยมการทำการป้องกันความเสี่ยงตรงนี้ไว้ด้วย
2)กับบริษัทที่ทำธุรกิจพวกสินค้าcommodity และ มีรายการกำไร ขาดทุนจากราคา สินค้า และวัตถุดิบล่วงหน้า คำถามจะคล้ายๆกับข้อแรกนะครับ คือ
2.1 เป็นการบันทึก กำไร และ ขาดทุนจริงๆ หรือไม่ ณ ไตรมาสนั้นๆ ดูได้จากไหนใน งบดุล และงบกระแสเงินสด ถ้าบันทึกจริง หรือไม่ได้บันทึกจริง คือผมพยายามเทียบกันระหว่าง 3 งบ แต่หาไม่เจอ ถึงหาเจอ ตัวเลขก็ไม่เท่ากัน เลยอยากทราบคร่าวๆว่าเค้า คำนวนกันอย่างไร
2.2 การป้องกันความเสี่ยง โดยการซื้อขาย วัตถุดิบ และ สินค้าล่วงหน้า มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย หรือ ข้อเสียมากกว่าข้อดีครับ เพราะหลายๆบริษัทก็ไม่นิยมทำกัน
2.3 ผมมองว่าการแจ้งกำไรขาดทุน ของบริษัท โดยเฉพาะบางไตรมาสที่ กำไร(หรือขาดทุน) ของการป้องกันความเสี่ยงตรงนี้ มีผลมากกระทบกับงบกำไร ขาดทุนที่ออกมา มันไม่ใช่รายการที่ควรจะเอามาเป็นสาระสำคัญอะไร ถ้าบริษัทไม่ได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจนเกินตัว เพราะถึงบริษัทจะบันทึกผลขาดทุนความเสี่ยง ในความเป็นจริง บริษัทก็ไม่ควรจะขาดทุน ในทางกลับกัน บริษัทควรจะมีกำไรเพิ่ม ในไตรมาสถัดๆไป
ตัวอย่างเช่น การขายสินค้าล่วงหน้า แต่ราคาสินค้าขึ้นไปเกินกว่าที่ทำสัญญาไว้ <== ณ จุดนี้ บริษัทบันทึกขาดทุน
แต่ในไตรมาสถัดไป บริษัทก็สามารถผลิตสินค้าออกมาส่งมอบตามจำนวนที่ทำสัญญาไว้ และผลิตสินค้าขายให้ลูกค้าในส่วนที่นอกเหนือจากสัญญาส่งมอบ ซึ่งเผลอๆจะขายได้มากกำไรขึ้นด้วย <== ณ จุดนี้บริษัทก็ควรที่จะมีกำไรที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาก บริษัทได้ล็อคจำนวนสินค้า และส่วนต่างของราคาขายไว้แล้ว บวกกับ กำไรเพิ่มจาก ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากสินค้าที่ส่งมอบไป
3)บริษัทที่ให้บริการสินเชื่อเครดิตล่วงหน้า เช่นพวกบัตรเครดิตต่างๆ การบันทึกหนี้สูญ หรือ หนี้สงสัยจะสูญ บริษัทเค้าเอาเกณพ์อะไรมาเป็นตัวชี้วัดครับ ว่านายคนนี้ ถือเป็นหนี้สูญ หรือไม่ เพราะผมเห็นว่ามีการบันทึกประจำ(เพิ่มบ้าง ลดบ้าง) และก็มีกลับรายการกันประจำ
สมมติว่าผมซื้อสินค้าผ่านบัตรเครเครดิต หรือ ผ่อนเงินกับบัตรเครดิต กำหนดระยะเวลา 2 ปี แต่ผมจ่าย ขั้นต่ำให้ธนาคารทุกเดือน แบบนี้ผมจัดอยู๋ในหนี้ประเภทไหนครับ แล้วหนี้แบบ ไหนที่ถือเป็นหนี้สูญ และแบบไหนที่ สงสัยจะสูญ เราจะแยกประเภทลูกหนี้ได้อย่างไร ดูตรงไหนในงบบัญชีครับ
แล้วการกลับรายการ เค้าหลักวิเคราะห์ยังไงมา กลับรายการครับ
1) กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนมีทั้งที่เกิดจริงและยังเกิดจริง ที่เกิดจริงได้แก่รายการที่มีการรับหรือจ่ายชำระแล้วระหว่างงวด เช่นขาย 100 USD ลงไว้โดยบันทึกขาย 3,000 บาท ลูกหนี้การค้าวันน้น 3,000 บาท สมมติมีมีการป้องกันความเสี่ยงต่อมาดีก 2 เดือนในปีเดียวกัน ได้รับชำระและแลกเปลี่ยนเป็นบาท ณ วันที่รับเงิน 3,100 บาท บริษัทจะบันทึกกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 100 บาท อันนี้เป็นกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจริง (เป็นเงินสด) ต่อมาบริษัทขายอีก 200 USD ณ วันนั้นอัตราอยู่ที่ 30.5 B/US บันทึกขาย 6,100 บาท ลูกหนี้การค้าวันนั้น 6,100 บาท และรายการดังกล่าววันสิ้นงวดปิดบัญชียังไม่ครบกำหนดชำระ จึงคงค้างยอดลูกหนี้ก่อนปรับปรุงอัราแลกเปลียน ณ วันสิ้นงวด 6,100บาท ณวันวิ้นงวดมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ 31.5 B/US ยอดลูกหนี้จะถูกปรับปรุงมูลค่าในงบจาก 6,100 เป็น 6,300 บาท จำนวนที่เพิ่มในลูกหนี้อีก 200 บาท (ไม่เป็นเงินสด) จะบันทึกเป็นกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน สมมติมีเพียงสองรายการ กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจะแสดงเท่ากับ 300 บาท ซึ่งมีส่วนที่เกิดจริงแล้ว 100 บาท และยังไม่เกิดจริง200 บาท ส่วนหลังนี้เกิดจากการปรับปรุงมูลค่าลูกหนี้การค้า ในกรณีที่ขาดทุนก็จะเป็นหลักการเดียวกัน ในทางบัญชีจะไม่เปิดบัญชีแยกกันทั้งกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และไม่แยกว่าเกิดจริงหรือไม่เกิดจริง (เป็นเงินสด) ที่ไม่เกิดจริง(เป็นเงินสด) จะเกิดครั้งเดียวตอนสิ้นงวด
รายการที่เกิดไม่จริงนี้จะปรับปรุงกลับ (ถ้ากำไรจะลบ ขาดทุนจะบวกกลับ) ในงบกระแสเงินสด ที่เห็นตัวเลขไม่เท่ากันเพราะ รายการกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนในงบกำไรขาดทุนมีทั้งเกิดจริงและไม่จริง ส่วนที่ปรับปรุงในงบกระแสเงินสดเป็นรายการไม่เกิดเป็นเงินสดจริง
ส่วนที่ถามว่าคนหนึ่งมีกำไรต้องมีคนหนึ่งขาดทุน ถูกต้องครับ ที่บอกว่าเห็นแต่รายงานกำไรนั้น เพราะด็งวดเดียวหรือเปล่า และการป้องกันความเสี่ยงนั้น คิดง่ายๆ มันคือการป้องกันความเสี่ยงจากระบบ ดังนั้นถ้าเงินบาทอ่อน บริษัทส่ออก มักจะแสดงกำไร หรือบริษัทที่นำเข้าและซื้อล่วงหน้าไว้จะกำไร และก็จะเหมือนๆกันเพราะทำธุรกิจส่งออกหรือนำเข้าเหมือนกัน ส่วนคู่ค้าอยู่ต่างประเทศ จะกำไรขาดทุนก็อย๋ที่เขาทำ hedging ด้วยหรือเปล่า และทำอย่างร และเขาก็บันทึกด้วยเงินสกุลเขา หาได้เกี่ยวกับเราไม่ ส่วนธนาคาที่รับทำธุรกรรม ย่อมได้ผลตรงข้ามแน่นอน แต่ธนาคารเขาก็มีคู่ค้าทั้งสองขา เขาพยายามที่จะบริหารอยู่แล้ว
forward futures options swaps เป็นเครื่องมือทางอนุพันธ์ (Derivatives) เบื้องต้น ในตลาดเงินเป็น zero sum game instrument ถ้ามองทั้งระบบ (buyer and writer หรือ long กับ short) เรื่องนี้ยาวครับ เอาเท่านี้ก่อน
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 81
2)กับบริษัทที่ทำธุรกิจพวกสินค้าcommodity และ มีรายการกำไร ขาดทุนจากราคา สินค้า และวัตถุดิบล่วงหน้า คำถามจะคล้ายๆกับข้อแรกนะครับ คือ
2.1 เป็นการบันทึก กำไร และ ขาดทุนจริงๆ หรือไม่ ณ ไตรมาสนั้นๆ ดูได้จากไหนใน งบดุล และงบกระแสเงินสด ถ้าบันทึกจริง หรือไม่ได้บันทึกจริง คือผมพยายามเทียบกันระหว่าง 3 งบ แต่หาไม่เจอ ถึงหาเจอ ตัวเลขก็ไม่เท่ากัน เลยอยากทราบคร่าวๆว่าเค้า คำนวนกันอย่างไร
2.2 การป้องกันความเสี่ยง โดยการซื้อขาย วัตถุดิบ และ สินค้าล่วงหน้า มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย หรือ ข้อเสียมากกว่าข้อดีครับ เพราะหลายๆบริษัทก็ไม่นิยมทำกัน
2.3 ผมมองว่าการแจ้งกำไรขาดทุน ของบริษัท โดยเฉพาะบางไตรมาสที่ กำไร(หรือขาดทุน) ของการป้องกันความเสี่ยงตรงนี้ มีผลมากกระทบกับงบกำไร ขาดทุนที่ออกมา มันไม่ใช่รายการที่ควรจะเอามาเป็นสาระสำคัญอะไร ถ้าบริษัทไม่ได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจนเกินตัว เพราะถึงบริษัทจะบันทึกผลขาดทุนความเสี่ยง ในความเป็นจริง บริษัทก็ไม่ควรจะขาดทุน ในทางกลับกัน บริษัทควรจะมีกำไรเพิ่ม ในไตรมาสถัดๆไป
ตัวอย่างเช่น การขายสินค้าล่วงหน้า แต่ราคาสินค้าขึ้นไปเกินกว่าที่ทำสัญญาไว้ <== ณ จุดนี้ บริษัทบันทึกขาดทุน
แต่ในไตรมาสถัดไป บริษัทก็สามารถผลิตสินค้าออกมาส่งมอบตามจำนวนที่ทำสัญญาไว้ และผลิตสินค้าขายให้ลูกค้าในส่วนที่นอกเหนือจากสัญญาส่งมอบ ซึ่งเผลอๆจะขายได้มากกำไรขึ้นด้วย <== ณ จุดนี้บริษัทก็ควรที่จะมีกำไรที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาก บริษัทได้ล็อคจำนวนสินค้า และส่วนต่างของราคาขายไว้แล้ว บวกกับ กำไรเพิ่มจาก ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากสินค้าที่ส่งมอบไป
1) คำถามเรื่องนี้ตอบได้แบบบัญชี แต่ก็จะทำให้ไม่เข้าใจอยู่ดี เพราะเรื่องนี้นักบัญชีก็ยังงงๆ ทำไปตามตัวอักษร ก่อนอื่นต้องถามตัวเองก่อนสองเรื่องว่า เข้าใจเครื่องมืออนุพันธ์ทางการเงินมากน้อยเท่าไร และ เข้าใจหลักบัญชี โดยฌพาะสมการบัญชี และ รายการสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่ายว่า แต่ละอย่างหลักๆ มันไปมาอย่างไร เมื่อไรเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย มาเมื่อไร ไปเมื่อไร ไปแล้วไปไหน เป็นต้น วัตถุประสงค์ของเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงคือการป้องกันการเปลี่ยนแปลงราคาหรือมูลค่าที่จะได้รับหรือจ่ายในอนาคต เครื่องมือทางอนุพันธ์ (Derivatives) ต่างๆ เช่น forward futures options swaps บางตัวต้องส่งมอบสินทรัย์หรือหลักทรัพย์จริงในอนาคต บางตัว เพียงแต่ส่งมอบส่วนต่างราคาระหว่างทาง เช่น futures แต่ในทางบัญชีเป็นเรื่องของรายงาน เครื่องมือเหล่านี้มาตราฐานกำหนดให้ต้องวัดมูลค่า และมูค่าของเครื่องมือเหล่านี้หากทำได้ดีควรจะ offset ผลต่างราคาของสินทรัพย์หนี้สินที่ mark to market หรือต้องแสดงตามราคาตลาดยุติธรรม แค่นี้ก็คิดว่าจะงงๆ แล้ว เอาว่ามันพยายามหำให้มูลค่าไม่แกว่งถ้าใช้ได้ถูกทาง บางบริษัทตัดสินใจผิด แทนที่จะลดขาดทุนกลายเป็นยิ่งขาดทุนก็ได้
อย่างที่บอกไปในข้อ 1) ว่ามีทั้งที่เกิดเป็นตัวเงินจริงและไม่จริง สิ่งที่เราควรสนใจในแง่นักลงทุนน่าจะเป็นภาพรวม มากกว่าว่ารายละเอียดคืออะไร (คำอธิบายมีในข้อ 3) โดยปกติผมจะไม่ชอบบริษัทที่มีรายการกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนสูงๆ เพราะอย่างไร มันสะท้อนว่าสินทรัพย์หรือหนี้สินในงบดุลมีความผันผวนด้านราคามาก ตัวเลขในงบแสดงฐานะการเงิน (งบดุล) เป็นการแสดงมูลค่า ณ วันที่สิ้นงวด ถ้ามันแกว่งมากอาจแปลว่าวันนี้ที่ดูงบราคาไม่รู้เป็นอย่างไร เหมือนกับ เพีมอร์แกน เชส หรือ แบริ่ง ที่ข้าสัปดาห์ล้มละลายทั้งที่ล่าสุดยังรายงานกำไรดีๆอยู่ เอนรอนก็เช่นกัน และนอกจากนี้นอกจากรายการในงบกำไรขาดทุนที่มีรายการพวกนี้มากๆ หากในงบแสดงฐานะการเงินที่มีสินทรัพย์หรือหนี้สินจากเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงหรืออนุพันธ์สูงๆ ผมก็ไม่ชอบจะเลี่ยงหรือระวังเป็นพิเศษ
การพยายามกระทบยอด ได้หรือไม่ได้ ในหลักการลงทุน ผมมองว่าบริษัมมี risky asset/liability ยอมเสี่ยงทั้งสิ้น กระทบยอดได้ก็เสี่ยงอยู่ดี
ส่วนการขายสินค้าล่วงหน้า และราคาสินค้าขึ้นไปเกินกว่าที่ทำสัญญาไว้ การขายแบบที่บอกมาน่าจะเป็นการขายสัญญาล่วงหน้าแบบการทำ forward บัญชีถือว่ายังไม่มีการส่งมอบจริงจะยังไม่มีการลงบันทึกขาย ต่างกับรับเงินขายมาล่วงหน้า และผูกพันว่าต้องส่งสินค้า สองแบบต่างกัน แบบแรกแค่สัญญาตกลงกัน แต่ ยังไม่เกิดการแลกเปลี่ยนใดๆ แบบที่สองมีการจ่ายแลกเปลี่ยน บริษัทรับเงินมาแล้วขายเกิดขึ้นแล้ว อนาคตราคาจะเท่าไรก็ไม่เกิดผลทางบัญชี แต่ผลทางโอกาสอาจเกิดในความรู้สึก ส่วนมากสินค้า commodity ที่มีสภาพคล่องสูง จะมีตลาด future เพื่อให้ซื้อขายตราสาร เพื่อให้ผลเปลี่ยนแปลงในราคาตลาดของตราสารอนุพันธ์เกิด hedge กับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (forward) เช่นน้ำมัน กาแฟ ยาง ถั่วเหลือง เป็นต้น สัญญา forward จึงไม่บันทึก แต่ future มีราคาที่เทรดกัน จึงบันทึกและรับรู้ผลต่างราคาในงบการเงิน ดังนั้นที่ถาทว่าการขายสินค้าล่วงหน้า แต่ราคาสินค้าขึ้นไปเกินกว่าที่ทำสัญญาไว้ <== ณ จุดนี้ บริษัทบันทึกขาดทุน ต้องดูว่าทำแบบไหน ถ้าแค่สัญญา forward ก็บันทึกตามปกติเพียงแต่ลงขายที่ราคาสูงตามสัญญาล่วงหน้า การขายราคาแพงกว่าตลาดไม่ได้บอกว่าต้องลงกำไรแยกออกมาวันนั้นครับ
ส่วนที่หลายบริษัทไม่นิยมทำเพราะ สินค้านั้นไม่มีตลาด future ชัดเจน จึงไม่นิยมทำ forward และจะเห็นว่า ตราสารอนุพันธ์จริงๆไม่ใช่เรื่อง่ายที่ตาสีตาสาจะเข้าไปทำธุรกรรม เช่นตลาดข้าว ที่ทำก็มีแต่บริษัทส่งออกใหญ่เท่านั้น โรงสียังกลัวๆ กันเลย เพราะเนื้อหาดัง้เดิมของตลาด derivative คือ speculative market
2.1 เป็นการบันทึก กำไร และ ขาดทุนจริงๆ หรือไม่ ณ ไตรมาสนั้นๆ ดูได้จากไหนใน งบดุล และงบกระแสเงินสด ถ้าบันทึกจริง หรือไม่ได้บันทึกจริง คือผมพยายามเทียบกันระหว่าง 3 งบ แต่หาไม่เจอ ถึงหาเจอ ตัวเลขก็ไม่เท่ากัน เลยอยากทราบคร่าวๆว่าเค้า คำนวนกันอย่างไร
2.2 การป้องกันความเสี่ยง โดยการซื้อขาย วัตถุดิบ และ สินค้าล่วงหน้า มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย หรือ ข้อเสียมากกว่าข้อดีครับ เพราะหลายๆบริษัทก็ไม่นิยมทำกัน
2.3 ผมมองว่าการแจ้งกำไรขาดทุน ของบริษัท โดยเฉพาะบางไตรมาสที่ กำไร(หรือขาดทุน) ของการป้องกันความเสี่ยงตรงนี้ มีผลมากกระทบกับงบกำไร ขาดทุนที่ออกมา มันไม่ใช่รายการที่ควรจะเอามาเป็นสาระสำคัญอะไร ถ้าบริษัทไม่ได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจนเกินตัว เพราะถึงบริษัทจะบันทึกผลขาดทุนความเสี่ยง ในความเป็นจริง บริษัทก็ไม่ควรจะขาดทุน ในทางกลับกัน บริษัทควรจะมีกำไรเพิ่ม ในไตรมาสถัดๆไป
ตัวอย่างเช่น การขายสินค้าล่วงหน้า แต่ราคาสินค้าขึ้นไปเกินกว่าที่ทำสัญญาไว้ <== ณ จุดนี้ บริษัทบันทึกขาดทุน
แต่ในไตรมาสถัดไป บริษัทก็สามารถผลิตสินค้าออกมาส่งมอบตามจำนวนที่ทำสัญญาไว้ และผลิตสินค้าขายให้ลูกค้าในส่วนที่นอกเหนือจากสัญญาส่งมอบ ซึ่งเผลอๆจะขายได้มากกำไรขึ้นด้วย <== ณ จุดนี้บริษัทก็ควรที่จะมีกำไรที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาก บริษัทได้ล็อคจำนวนสินค้า และส่วนต่างของราคาขายไว้แล้ว บวกกับ กำไรเพิ่มจาก ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากสินค้าที่ส่งมอบไป
1) คำถามเรื่องนี้ตอบได้แบบบัญชี แต่ก็จะทำให้ไม่เข้าใจอยู่ดี เพราะเรื่องนี้นักบัญชีก็ยังงงๆ ทำไปตามตัวอักษร ก่อนอื่นต้องถามตัวเองก่อนสองเรื่องว่า เข้าใจเครื่องมืออนุพันธ์ทางการเงินมากน้อยเท่าไร และ เข้าใจหลักบัญชี โดยฌพาะสมการบัญชี และ รายการสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่ายว่า แต่ละอย่างหลักๆ มันไปมาอย่างไร เมื่อไรเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย มาเมื่อไร ไปเมื่อไร ไปแล้วไปไหน เป็นต้น วัตถุประสงค์ของเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงคือการป้องกันการเปลี่ยนแปลงราคาหรือมูลค่าที่จะได้รับหรือจ่ายในอนาคต เครื่องมือทางอนุพันธ์ (Derivatives) ต่างๆ เช่น forward futures options swaps บางตัวต้องส่งมอบสินทรัย์หรือหลักทรัพย์จริงในอนาคต บางตัว เพียงแต่ส่งมอบส่วนต่างราคาระหว่างทาง เช่น futures แต่ในทางบัญชีเป็นเรื่องของรายงาน เครื่องมือเหล่านี้มาตราฐานกำหนดให้ต้องวัดมูลค่า และมูค่าของเครื่องมือเหล่านี้หากทำได้ดีควรจะ offset ผลต่างราคาของสินทรัพย์หนี้สินที่ mark to market หรือต้องแสดงตามราคาตลาดยุติธรรม แค่นี้ก็คิดว่าจะงงๆ แล้ว เอาว่ามันพยายามหำให้มูลค่าไม่แกว่งถ้าใช้ได้ถูกทาง บางบริษัทตัดสินใจผิด แทนที่จะลดขาดทุนกลายเป็นยิ่งขาดทุนก็ได้
อย่างที่บอกไปในข้อ 1) ว่ามีทั้งที่เกิดเป็นตัวเงินจริงและไม่จริง สิ่งที่เราควรสนใจในแง่นักลงทุนน่าจะเป็นภาพรวม มากกว่าว่ารายละเอียดคืออะไร (คำอธิบายมีในข้อ 3) โดยปกติผมจะไม่ชอบบริษัทที่มีรายการกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนสูงๆ เพราะอย่างไร มันสะท้อนว่าสินทรัพย์หรือหนี้สินในงบดุลมีความผันผวนด้านราคามาก ตัวเลขในงบแสดงฐานะการเงิน (งบดุล) เป็นการแสดงมูลค่า ณ วันที่สิ้นงวด ถ้ามันแกว่งมากอาจแปลว่าวันนี้ที่ดูงบราคาไม่รู้เป็นอย่างไร เหมือนกับ เพีมอร์แกน เชส หรือ แบริ่ง ที่ข้าสัปดาห์ล้มละลายทั้งที่ล่าสุดยังรายงานกำไรดีๆอยู่ เอนรอนก็เช่นกัน และนอกจากนี้นอกจากรายการในงบกำไรขาดทุนที่มีรายการพวกนี้มากๆ หากในงบแสดงฐานะการเงินที่มีสินทรัพย์หรือหนี้สินจากเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงหรืออนุพันธ์สูงๆ ผมก็ไม่ชอบจะเลี่ยงหรือระวังเป็นพิเศษ
การพยายามกระทบยอด ได้หรือไม่ได้ ในหลักการลงทุน ผมมองว่าบริษัมมี risky asset/liability ยอมเสี่ยงทั้งสิ้น กระทบยอดได้ก็เสี่ยงอยู่ดี
ส่วนการขายสินค้าล่วงหน้า และราคาสินค้าขึ้นไปเกินกว่าที่ทำสัญญาไว้ การขายแบบที่บอกมาน่าจะเป็นการขายสัญญาล่วงหน้าแบบการทำ forward บัญชีถือว่ายังไม่มีการส่งมอบจริงจะยังไม่มีการลงบันทึกขาย ต่างกับรับเงินขายมาล่วงหน้า และผูกพันว่าต้องส่งสินค้า สองแบบต่างกัน แบบแรกแค่สัญญาตกลงกัน แต่ ยังไม่เกิดการแลกเปลี่ยนใดๆ แบบที่สองมีการจ่ายแลกเปลี่ยน บริษัทรับเงินมาแล้วขายเกิดขึ้นแล้ว อนาคตราคาจะเท่าไรก็ไม่เกิดผลทางบัญชี แต่ผลทางโอกาสอาจเกิดในความรู้สึก ส่วนมากสินค้า commodity ที่มีสภาพคล่องสูง จะมีตลาด future เพื่อให้ซื้อขายตราสาร เพื่อให้ผลเปลี่ยนแปลงในราคาตลาดของตราสารอนุพันธ์เกิด hedge กับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (forward) เช่นน้ำมัน กาแฟ ยาง ถั่วเหลือง เป็นต้น สัญญา forward จึงไม่บันทึก แต่ future มีราคาที่เทรดกัน จึงบันทึกและรับรู้ผลต่างราคาในงบการเงิน ดังนั้นที่ถาทว่าการขายสินค้าล่วงหน้า แต่ราคาสินค้าขึ้นไปเกินกว่าที่ทำสัญญาไว้ <== ณ จุดนี้ บริษัทบันทึกขาดทุน ต้องดูว่าทำแบบไหน ถ้าแค่สัญญา forward ก็บันทึกตามปกติเพียงแต่ลงขายที่ราคาสูงตามสัญญาล่วงหน้า การขายราคาแพงกว่าตลาดไม่ได้บอกว่าต้องลงกำไรแยกออกมาวันนั้นครับ
ส่วนที่หลายบริษัทไม่นิยมทำเพราะ สินค้านั้นไม่มีตลาด future ชัดเจน จึงไม่นิยมทำ forward และจะเห็นว่า ตราสารอนุพันธ์จริงๆไม่ใช่เรื่อง่ายที่ตาสีตาสาจะเข้าไปทำธุรกรรม เช่นตลาดข้าว ที่ทำก็มีแต่บริษัทส่งออกใหญ่เท่านั้น โรงสียังกลัวๆ กันเลย เพราะเนื้อหาดัง้เดิมของตลาด derivative คือ speculative market
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 82
3)บริษัทที่ให้บริการสินเชื่อเครดิตล่วงหน้า เช่นพวกบัตรเครดิตต่างๆ การบันทึกหนี้สูญ หรือ หนี้สงสัยจะสูญ บริษัทเค้าเอาเกณพ์อะไรมาเป็นตัวชี้วัดครับ ว่านายคนนี้ ถือเป็นหนี้สูญ หรือไม่ เพราะผมเห็นว่ามีการบันทึกประจำ(เพิ่มบ้าง ลดบ้าง) และก็มีกลับรายการกันประจำ
สมมติว่าผมซื้อสินค้าผ่านบัตรเครเครดิต หรือ ผ่อนเงินกับบัตรเครดิต กำหนดระยะเวลา 2 ปี แต่ผมจ่าย ขั้นต่ำให้ธนาคารทุกเดือน แบบนี้ผมจัดอยู๋ในหนี้ประเภทไหนครับ แล้วหนี้แบบ ไหนที่ถือเป็นหนี้สูญ และแบบไหนที่ สงสัยจะสูญ เราจะแยกประเภทลูกหนี้ได้อย่างไร ดูตรงไหนในงบบัญชีครับ
ทาง กลต ได้ออกเกณฑ์ให้พวกที่ให้เครดิตประเภท non-bank ในการปฏิบัติ โดยปกติเวลาผมวิเคราะห์หุ้นจะไม่สนใจว่าใช้อะไร วัดหรือวัดด้วยวิธีไหน เอาอัตราส่วนหลักๆ มาดูเลยครับ เช่นถ้าพวกสถาบันการเงินจะดูอย่างน้อย 2-3 ค่า ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ และอัตราดอกเบี้ยรับสุทธิว่าเพิ่มหรือลดอยางไร แนวโน้มตามภาพรวมอุตสาหกรรมหรือไม่ และดูอัตราส่วนว่าตั้งสำรองรวมเป็นกี่ % ของยอดปล่อยกู้ก่อนหักสำรอง หากส่วนต่างฯและอัตราดอกเบี้ยรับลดลงมาก (และมากกว่าอุตสาหกรรมด้วยแล้ว)
การตั้งสำรองควรน่าจะต้องมากกว่า อุตสาหกรรมเพราะมีแนวโน้มที่ชี้ว่า NPL น่าจะมาก ไม่อย่างนั้นส่วนต่างดอกเบียรับและอัตราดอกเบี้ยรับไม่น่าจะลดลงมาก ดังนั้นจะตั้งด้วยเกณฑ์อไร ไม่สำคัญ คุณภาพที่เห็นสำคัญกว่า ถ้ามีคุณภาพดี ต้องสามารถ generate income ได้ดีด้วย
เวลาผมวิเคราะห์หุ้นมักจะไม่ได้มุ่งหาราคาหุ้นถูกก่อน แต่สิ่งแรกคือ หาหุ้นคุณภาพดีก่อน วันนี้อาจแพง ก็รอไปก่อนหาจังหวะค่อยซื้อทีหลัง หุ้นคุฑด้อย จะไม่มองเลยแม้ราคาจะต่ำมากๆ บางคนบอกนั่นคือโอกาส อันนี้ก็แล้วแต่ปรัชญาการลงทุนแต่ละคน เพราะผมยึดหลักว่าราคาที่ว่าถูกอาจจะยังมีถูกกว่าได้อีก (อาจจะล้มละลายลยก็ได้)
การวิเคราะห์หุ้นตัวหนึ่งไม่เคยดูตัวเดียวโดดๆ จะวิเคราะห์อย่างน้อยรวม 3 ตัว คือหุ้นตัวนั้น หุ้นทีมี positioning ใกล้กัน (เช่น ขนาด market position เป็นต้น) และ blue ship ของกลุ่ม (หรือ leader) เพื่อดูคุณภาพ เพราะจะถามตัวเองตลอดเวลาว่าทำไมต้องหุ้น A ไม่เป็นหุ้น B ในอุตสาหกรรมเดียวกันนั้น ถ้าจะซื้อ BBL ทำไมไม่เป็น KBANK SCB หรืออื่นๆ เป็นต้น หลักการนี้ใช้กับหุ้นทุกกลุ่มครับ อาจจะเป็นแนว prudent สักหน่อย แบบ fund manager เพราะชีวิตการทำงานที่ผ่านมามนวงการต้องตอบคำถามมาตลอดว่า ทำไมเลือกหุ้นนี้ ไม่เลือกหุ้นนั้น
จ่ายขั้นต่ำให้ธนาคารทุกเดือน จัดอยู๋ในหนี้ประเภท ปกติครับ
สมมติว่าผมซื้อสินค้าผ่านบัตรเครเครดิต หรือ ผ่อนเงินกับบัตรเครดิต กำหนดระยะเวลา 2 ปี แต่ผมจ่าย ขั้นต่ำให้ธนาคารทุกเดือน แบบนี้ผมจัดอยู๋ในหนี้ประเภทไหนครับ แล้วหนี้แบบ ไหนที่ถือเป็นหนี้สูญ และแบบไหนที่ สงสัยจะสูญ เราจะแยกประเภทลูกหนี้ได้อย่างไร ดูตรงไหนในงบบัญชีครับ
ทาง กลต ได้ออกเกณฑ์ให้พวกที่ให้เครดิตประเภท non-bank ในการปฏิบัติ โดยปกติเวลาผมวิเคราะห์หุ้นจะไม่สนใจว่าใช้อะไร วัดหรือวัดด้วยวิธีไหน เอาอัตราส่วนหลักๆ มาดูเลยครับ เช่นถ้าพวกสถาบันการเงินจะดูอย่างน้อย 2-3 ค่า ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ และอัตราดอกเบี้ยรับสุทธิว่าเพิ่มหรือลดอยางไร แนวโน้มตามภาพรวมอุตสาหกรรมหรือไม่ และดูอัตราส่วนว่าตั้งสำรองรวมเป็นกี่ % ของยอดปล่อยกู้ก่อนหักสำรอง หากส่วนต่างฯและอัตราดอกเบี้ยรับลดลงมาก (และมากกว่าอุตสาหกรรมด้วยแล้ว)
การตั้งสำรองควรน่าจะต้องมากกว่า อุตสาหกรรมเพราะมีแนวโน้มที่ชี้ว่า NPL น่าจะมาก ไม่อย่างนั้นส่วนต่างดอกเบียรับและอัตราดอกเบี้ยรับไม่น่าจะลดลงมาก ดังนั้นจะตั้งด้วยเกณฑ์อไร ไม่สำคัญ คุณภาพที่เห็นสำคัญกว่า ถ้ามีคุณภาพดี ต้องสามารถ generate income ได้ดีด้วย
เวลาผมวิเคราะห์หุ้นมักจะไม่ได้มุ่งหาราคาหุ้นถูกก่อน แต่สิ่งแรกคือ หาหุ้นคุณภาพดีก่อน วันนี้อาจแพง ก็รอไปก่อนหาจังหวะค่อยซื้อทีหลัง หุ้นคุฑด้อย จะไม่มองเลยแม้ราคาจะต่ำมากๆ บางคนบอกนั่นคือโอกาส อันนี้ก็แล้วแต่ปรัชญาการลงทุนแต่ละคน เพราะผมยึดหลักว่าราคาที่ว่าถูกอาจจะยังมีถูกกว่าได้อีก (อาจจะล้มละลายลยก็ได้)
การวิเคราะห์หุ้นตัวหนึ่งไม่เคยดูตัวเดียวโดดๆ จะวิเคราะห์อย่างน้อยรวม 3 ตัว คือหุ้นตัวนั้น หุ้นทีมี positioning ใกล้กัน (เช่น ขนาด market position เป็นต้น) และ blue ship ของกลุ่ม (หรือ leader) เพื่อดูคุณภาพ เพราะจะถามตัวเองตลอดเวลาว่าทำไมต้องหุ้น A ไม่เป็นหุ้น B ในอุตสาหกรรมเดียวกันนั้น ถ้าจะซื้อ BBL ทำไมไม่เป็น KBANK SCB หรืออื่นๆ เป็นต้น หลักการนี้ใช้กับหุ้นทุกกลุ่มครับ อาจจะเป็นแนว prudent สักหน่อย แบบ fund manager เพราะชีวิตการทำงานที่ผ่านมามนวงการต้องตอบคำถามมาตลอดว่า ทำไมเลือกหุ้นนี้ ไม่เลือกหุ้นนั้น
จ่ายขั้นต่ำให้ธนาคารทุกเดือน จัดอยู๋ในหนี้ประเภท ปกติครับ
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 83
ได้ประโยชน์มากๆเลยครับ
ขอบคุณครับ ทั้งคนถาม และ อาจารย์คนตอบครับผม
ขอบคุณครับ ทั้งคนถาม และ อาจารย์คนตอบครับผม
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- Verified User
- โพสต์: 547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 84
ขอบคุณมากครับอาจารย์สรรพงศ์มากครับ สำหรับคำตอบ ผมอ่านไปแล้วรอบนึงยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ จริงๆเรื่องการhedgeตอนแรกผมคิดผมว่าเข้าใจในหลักการแล้วนะครับ แต่พอมาลงในงบบัญชี เลยชักสับสน ว่าที่ผมเข้าใจมันถูกหรือผิด ขออ่านอีกซัก 2-3 รอบก่อนนะครับเผื่อคงมีคำถามเพิ่มเติมอีก
ผมขอรบกวนถามคำถามเพิ่มเติมหัวข้อใหม่นะครับ พอดีไล่ย้อนไปอ่านช่วงต้น เห็นพี่เค้าสอบถามอาจารย์เรื่องการเอาอัตราส่วนการเงินมาใช้งาน เลยอยากสอบถามอาจารย์ 2 ประเด็นครับ
1. เห็นอาจารย์พูดถึง ประสิทธิภาพในการบริหารงาน และความสามารถในการอยู่รอด ไม่ทราบว่าอัตราส่วนนี้คำนวนยังไงเหรอ และใช้งานยังไง
2. เรื่อง ROE ที่อาจารย์พูดถึง ถ้าต่ำกว่า 10 จะมองข้ามไปเลย และเคยอ่านเจอว่าอาจารย์เคยทำงานด้าน fund management มาแล้ว เลยอยากทราบว่าพวกกองทุนต่างๆเวลาที่เค้าเอาเงินมาลงในหุ้นพวกนี้นะ เค้าเอาอัตราส่วนพวกนี้มาใช้บ้างรึปล่าวครับ ถ้าใช้ เค้าเอาอะไรมาใช้บ้างครับ ขอยกตัวอย่างสัก 5-6 กองทุนนะครับ
2.1) กองทุนgrowth หรือหุ้นเติบโต
2.2) กองทุนหุ้นระยะยาว หรือ หุ้นปันผล
2.3) ผมเห็นบางกองทุนเค้าลงทุนพวกหุ้น commodities ด้วย เช่น เรือ น้ำมัน ยาง สินค้าโภคภัณฑ์
ผมอยากทราบว่าเค้าเอาเกณฑ์อะำไรมาตัดสินครับ เพราะว่าถ้าดูจาก ROE นี่ คงไม่มีโอกาสได้เจอหุ้นพวกนี้ก่อนชาวบ้านแน่ เผลอไปซื้อที่ ROE 20-30% หรือกลางๆดอยแล้ว
2.4) พวกบริษัทประกันที่มีนโยบายมาลงทุนในหุ้น พวกนี้วิเคราะห์หลักการเดียวกับกองทุนต่างๆหรือไม่ครับ เห็นพวกนี้เค้าลงทุนในหุ้นบางตัว ดูแล้วค่อนข้างเสี่ยงเหมือนกัน เพราะบางบริษัท %ปันผลก็แกว่ง มากบ้างน้อยบ้าง ดูแล้วไม่น่าจะมาลงทุนได้ หรือลงหุ้นบางตัวก็พวก commodities เลย
คือผมเข้าใจว่า พวกประกันส่วนใหญ่จะเน้น conservative นะครับ แต่ลักษณะการลงทุน บางดูแล้วเหมือนเน้น high risk high return
2.5) กองทุนต่างชาติหลักการคล้ายๆกันมั้ยครับ
2.6) hedgefund ใช้อัตราส่วนอะไรบ้าง หรือดูพื้นฐานอะไรบ้างมั้ยครับ ก่อนที่จะพิจารณาลงทุน หรือว่าไม่สนใจ เน้นตีหัวเข้าบ้าน หาโอกาสจากความผันผวนของตลาดอย่างเดียวเลย
กองทุนพวกนี้แต่ละกองทุน มีระยะเวลาการถือหุ้นแต่ละประเภท ยาวนานแค่ไหนครับ
ผมขอรบกวนถามคำถามเพิ่มเติมหัวข้อใหม่นะครับ พอดีไล่ย้อนไปอ่านช่วงต้น เห็นพี่เค้าสอบถามอาจารย์เรื่องการเอาอัตราส่วนการเงินมาใช้งาน เลยอยากสอบถามอาจารย์ 2 ประเด็นครับ
1. เห็นอาจารย์พูดถึง ประสิทธิภาพในการบริหารงาน และความสามารถในการอยู่รอด ไม่ทราบว่าอัตราส่วนนี้คำนวนยังไงเหรอ และใช้งานยังไง
2. เรื่อง ROE ที่อาจารย์พูดถึง ถ้าต่ำกว่า 10 จะมองข้ามไปเลย และเคยอ่านเจอว่าอาจารย์เคยทำงานด้าน fund management มาแล้ว เลยอยากทราบว่าพวกกองทุนต่างๆเวลาที่เค้าเอาเงินมาลงในหุ้นพวกนี้นะ เค้าเอาอัตราส่วนพวกนี้มาใช้บ้างรึปล่าวครับ ถ้าใช้ เค้าเอาอะไรมาใช้บ้างครับ ขอยกตัวอย่างสัก 5-6 กองทุนนะครับ
2.1) กองทุนgrowth หรือหุ้นเติบโต
2.2) กองทุนหุ้นระยะยาว หรือ หุ้นปันผล
2.3) ผมเห็นบางกองทุนเค้าลงทุนพวกหุ้น commodities ด้วย เช่น เรือ น้ำมัน ยาง สินค้าโภคภัณฑ์
ผมอยากทราบว่าเค้าเอาเกณฑ์อะำไรมาตัดสินครับ เพราะว่าถ้าดูจาก ROE นี่ คงไม่มีโอกาสได้เจอหุ้นพวกนี้ก่อนชาวบ้านแน่ เผลอไปซื้อที่ ROE 20-30% หรือกลางๆดอยแล้ว
2.4) พวกบริษัทประกันที่มีนโยบายมาลงทุนในหุ้น พวกนี้วิเคราะห์หลักการเดียวกับกองทุนต่างๆหรือไม่ครับ เห็นพวกนี้เค้าลงทุนในหุ้นบางตัว ดูแล้วค่อนข้างเสี่ยงเหมือนกัน เพราะบางบริษัท %ปันผลก็แกว่ง มากบ้างน้อยบ้าง ดูแล้วไม่น่าจะมาลงทุนได้ หรือลงหุ้นบางตัวก็พวก commodities เลย
คือผมเข้าใจว่า พวกประกันส่วนใหญ่จะเน้น conservative นะครับ แต่ลักษณะการลงทุน บางดูแล้วเหมือนเน้น high risk high return
2.5) กองทุนต่างชาติหลักการคล้ายๆกันมั้ยครับ
2.6) hedgefund ใช้อัตราส่วนอะไรบ้าง หรือดูพื้นฐานอะไรบ้างมั้ยครับ ก่อนที่จะพิจารณาลงทุน หรือว่าไม่สนใจ เน้นตีหัวเข้าบ้าน หาโอกาสจากความผันผวนของตลาดอย่างเดียวเลย
กองทุนพวกนี้แต่ละกองทุน มีระยะเวลาการถือหุ้นแต่ละประเภท ยาวนานแค่ไหนครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 85
1) ประสิทธิภาพในการบริหารงาน และความสามารถในการอยู่รอด เอาย่อนะครับว่า คือกลุมอุคราส่วนพวก turnover เช่น inventory turnover, AR turnover, AP turnover, Asset turnover, Fixes assets turnover เป็นต้น อาจมีหลายตัย แต่นี่เป็นอัตราส่วนหลักที่นักลงทุนสามารถคำนวณได้จากงบการเงิน โดยเบื้องในการลงทุน เราอยากรู้ว่าธุรกิจที่พิจรณาลงทุนนั้น
-กิจการมีสภาพคล่อง (สามารถหมุนเงิน) ได้ดี?
-ขายสินค้าได้คล่อง? ลูกหนี้มีปัญหา?
-ขายได้ผลตอบแทนดี? หรือคุ้มกับการลงทุน?
-เครดิต หรืออำนาจต่อรองกับซัพพลายเออร์เป็นอย่างไร?
ส่วนความสามารถในการอยู่รอด ก็จะดูเบื้องต้นว่า
-ตอนนี้มีความเสี่ยงเป็นอย่างไร?
-มีความสามารถจ่ายดอกเบี้ย จ่ายเงินต้นได้?
ความจริงก็อาจมีเพิ่มเติมได้อีก แต่ขอเอาหลักใหญ่ ส่วนมากก็คืออัตราส่วนที่รู้จักกัน ความสำคัญของการวิเคราะห์ไม่ใช่สูตร และการแทนค่าสูตรเท่านั้น สิ่งที่ยากยิ่งกว่าคือการตีความค่าและมองความสัมพันธ์อัตราส่วนแต่ละตัวอย่างเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งการวิเคราะห์จริงๆ นั้น ต้องเข้าใจอุตสาหกรรมและช่วงวงจรอุตสาหกกรมด้วย เช่น อัตราส่วนทุนหมุนเวียน current ratio เรียนกันมาว่า มากกว่า 1 จะดี จริงหรือ สามเท่าดีไหม หรือถ้าใกล้ 1 นี่เสี่ยงมากขึ้นหรือ อุตสาหกรรมแตกต่าง ช่วงวงจรอุตสาหกรรมที่ต่างกันในบนิษัทเดียวกัน อาจมีค่าที่เหมาะสมแต่ละช่วงต่างกัน ลึกๆ กว่านั้นกิจการที่มีนโยบายการบริการสินค้า เก็บเงินลูกหนี้ (ระยะเวลาให้เครดิต) หรือการได้เครดิตซื้อต่างกัน อัตราส่วนทุนหมุนเวียน current ratio ก็ต่างกันไป บางกิจการสองกว่าๆ ก็อาจจะไม่พอ บางแห่งแค่ 1 นิดๆ อาจจะสบายๆเหลือเฟือ ทั้งที่อยู่ในอุตสากกรรรมเดียวกัน ต่างกันยื่งไม่ต้องพูดถึง นี่แค่ตัวอย่างเรื่องเดียว การด่านค่าอัตราส่วนไม่ง่ายเหมือนที่เรียนกันแค่วันครึ่งวันครับ
กองทุนใช้ครับมากน้อยต่างกัน แล้วแต่วัตถุประลงค์การลงทุน กองทุนส่วนมากดูไม่มาก จะมีแค่บางตัวหลักๆ เพราะการลงทุนที่กระจายหลายตัว ทำให้เกิดการ diversified หรือกระจายความเสี่ยง ดังนั้นความเสี่ยงที่เหลือจึงมีเฉพาะ systematic risk ดังนั้น turnover ข้างต้นจะส่งผลน้อยต่อ return portfolio กองทุนจะดูผลตอบแทนภาพรวมไม่ใช่หุ้นเป็นตัว มีหุ้น 4 เด้งต้วเดียว แต่อีก 10 ตัวขาดทุนหมดแบบ หนักๆ รวมๆแล้วเงินกอนนับพันๆ ล้านไม่โต อย่างนี้ไท่ถือว่าเก่งครับ ถาถามว่าแล้วทำไมไม่ลงต้วเดียว เงินเป็นพันๆล้าน ลงตัวเดียว อาจโดนยิงตายได้ถ้าสิ้นปีทำคนเป็นพันขาดทุนอาจถึงขั้นหมดตัว แต่กองทุนส่วนบุคคลที่ไม่ใหญ่หรือรายย่อยๆ ประเภทไม่เกินหรือไม่กี่ร้อยล้าน จะมองลึกและละเอียดกว่า เพราะเป็นเรื่องส่วนต้ว ความโลภเฉพาะเจาะจง คนที่เคยมีเงินเป๊พัน ล้าน เกิดวิกฤตปึ 2540 ขาดทุนหมดตัวก็มีให้เห็นมาแล้วในไทยนี่แหละ ผมเคยเจอคนเล่นหุ้นสามปีจากเงินแสน มาเป็นหลายร้อยล้าน ทุกวันนี้กลับคืนสู่สามัญหลายคน
กองทุนเค้าลงทุนพวก commodities ด้วย เช่น น้ำมัน ยาง สินค้าโภคภัณฑ์ ผมอยากทราบว่าเค้าเอาเกณฑ์อะำไรมาตัดสินครับ บอกเลยครับ ใช้ technical analysis ประกอบร่วมกับการวิเคราะข้อมูลข่าวสารทางเศรษฐกิจประกอบ น้ำมันก็ดูดีมานด์ประเทศใหญ่ๆ เช่น ระดับการสำรองน้ำมัน การเติบโตเศรษฐกิจ เป็นต้น ดูยหาปัญหาความขัดแย้งระดับภูมิภาคในตะวันออกกลาง ส่วนสินค้าเกษตรต้องตามดูภาวะการเปลี่ยนปลงเอลนิญโญ่ ว่ามันไปอยู่ที่ไหน และส่งผลต่อผู้ผลิตหลักสินค้านั้นไหม เป็นต้น fund manager จะเป็นนักบริโภคข้อมูลข่าวสาร และคนที่เก่งคือรู้ว่าอะไรที่รับมาย่อยได้ ไม่ได้ ไม่ปิด แต่เลือกกิน ถ้าปิดจะขาดอาจไม่ได้กินอาหารที่ดีที่มีในตลาด วิธีหาของกินต่างกันไป ลองดูตัวอย่างปีเตอร์ ลินท์ แต่เขาไม่ได้บอกวิธีกาวิเคราะห์เชิงปริมาณ ดย่าด่วนคิดว่าเขาซื้อหุ้นแต่ไปเดินตลาดเท่านั้นนะ แต่เขามักมีเซ้นท์ว่า เอ๊ะจากวิธีไม่เหมือนใคร หุ้น ROE จะต้อง 20-30% หรือไม่นั้นเขาต้องดูว่า risk สูงไหม ลองทบทวนเรื่องข้างบนดีๆ แล้วจะบอกได้ว่า จะตัดสินใจอย่างใดเมื่อไร และผู้จัดการการลงทุนไม่ใช่คิดจะลงก็เอาได้เลย ปกติจะมีกรรมการการลงทุน คุณจะซื้อต้องซื้อตาม policy ก่อน ถ้าจะเพิ่มต้อง convince กรรมการด้วยครับ อะไรคือข้อมูลที่ใช้บอกละครับ สุดท้ายหนีไม่พ้นต้องมีแตะๆ ratios บ้างแหละครับ ประมาณการก็ต้องถูกซักเรื่องลมมตฺฐานที่ใช้ เจอบอร์อ่อนๆ ก็สบาย เจอเคี่ยว ก็เหนื่อยหน่อย ที่บอกมาส่วนใหญ่คือ กองทุนบริษัทประกัน, provident fund, pension fund มักจะต้องเน้น conservative เดี๋ยวนี้เขาเรียกว่า prudent ดูดีกว่าเยอะแต่ก้ไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่ ผมว่านะ ส่วนพวก hedge fund ชื่อก็บอกว่ากองทุนป้องกั้นความเสี่ยง แต่กองทุนพวกนี้เสี่ยงสุดๆ มักมอบอำนาจตัอสินใจให้ fund manager เหทือนกษัตริย์มอยดาบอาญาสิทธิ์ ประหารได้ก่อนรายงาน จึงมักได้ข่าวธนาคารล้มเพราะคนคนเดียว เช่นยุคที่ธนาคารแบริ่งล้ม เพราะนิค ลีสัน ปัจจุบันที่ เจพี มอร์แกน เชส ก็ได้ข่าวว่าขาดทุนพุ่งเพราะ เกิดกรณีขาดทุนจากการเทรดตราสารอนุพันธ์ส่วนหนึ่วด้วยจากหลายๆเหตุรวมรวมกัน
ส่วนกองทุนgrowth หรือหุ้นเติบโต จะจะเลืกแบบเน้นๆ แต่เขาจะเตือนว่า กองทุนนี้มีความเสี่ยงสูง ปีหน้าอาจมีกำไร 40-50% หรืออาจโตต่ำ 0% หรือติดลบก็ได้ ไม่มีอะไรดีๆ ประเภท low risk high return ชัวร์ๆ ครับ อยากได้ศุงต้อง bet ครับ นี่คือโลกการลงทุนจริง ถ้ากองทุนหันเติบโตดีจริงๆ ความเสี่ยงจะลงทุนน้อย คงไม่มีเหตุผลที่ต้องไทตั้งกองทุนตรสารหนี้ หรืออื่นๆ เพราะหัวใจที่เกิดกองทุนหลากหลายเพราะ high risk high return นั่นเอง ผลตอบแทนที่หลากหลายขึ้นกับความเสี่ยงที่รับได้ต่างกันไป
กองทุนหุ้นระยะยาว หรือ หุ้นปันผล เน้นหุ้นที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอ หุ้นที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอและ yield ดีๆ จ่ายสูงๆ กับ yield ดีๆ ต่างกัน จ่ายหุ้นละ 10 บาท แต่ราคาหุ้น 400 กับจ่ายหุ้นละ 2.5 แต่ราคาหุ้น 50 บาท ตัวแรก dividend yield 2.5% ตัวหลัง dividend yield 5% ตัวหลังดีกว่า ส่วนสม่ำเสมอคือจ่ายเฉลี่ยที่ผ่านมา 7 ปี 1.2, 1.8, 2.0, 2.2, 2.6, 3.1, 3.3 กับอีกตัว 3.5, 1.7, 2.8, 2.4, 1.8, 3.9, 1.7 ตัวแรกเดาแนวโน้มง่ายกว่า ชัดเจน ตัวหลังเดายากแม้ราคาจะเท่ากัน 100 บาท เป็นต้น
hedge fund ใช้อัตราส่วน หรือดูคล้ายกับ commodity ครับ
ระยะเวลาไม่มีมาตรฐาน ขึ้นกับเป็นกองทุนเปิด open-end หรือกองทุนปิด close-end กองทุนเปิดแล้วแต่คนถือหน่วยครับ ส่วนปิด กำหนดอายุแน่นอนแต่มักเปิดให้ซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดรอง (ตลาดหุ้น)
-กิจการมีสภาพคล่อง (สามารถหมุนเงิน) ได้ดี?
-ขายสินค้าได้คล่อง? ลูกหนี้มีปัญหา?
-ขายได้ผลตอบแทนดี? หรือคุ้มกับการลงทุน?
-เครดิต หรืออำนาจต่อรองกับซัพพลายเออร์เป็นอย่างไร?
ส่วนความสามารถในการอยู่รอด ก็จะดูเบื้องต้นว่า
-ตอนนี้มีความเสี่ยงเป็นอย่างไร?
-มีความสามารถจ่ายดอกเบี้ย จ่ายเงินต้นได้?
ความจริงก็อาจมีเพิ่มเติมได้อีก แต่ขอเอาหลักใหญ่ ส่วนมากก็คืออัตราส่วนที่รู้จักกัน ความสำคัญของการวิเคราะห์ไม่ใช่สูตร และการแทนค่าสูตรเท่านั้น สิ่งที่ยากยิ่งกว่าคือการตีความค่าและมองความสัมพันธ์อัตราส่วนแต่ละตัวอย่างเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งการวิเคราะห์จริงๆ นั้น ต้องเข้าใจอุตสาหกรรมและช่วงวงจรอุตสาหกกรมด้วย เช่น อัตราส่วนทุนหมุนเวียน current ratio เรียนกันมาว่า มากกว่า 1 จะดี จริงหรือ สามเท่าดีไหม หรือถ้าใกล้ 1 นี่เสี่ยงมากขึ้นหรือ อุตสาหกรรมแตกต่าง ช่วงวงจรอุตสาหกรรมที่ต่างกันในบนิษัทเดียวกัน อาจมีค่าที่เหมาะสมแต่ละช่วงต่างกัน ลึกๆ กว่านั้นกิจการที่มีนโยบายการบริการสินค้า เก็บเงินลูกหนี้ (ระยะเวลาให้เครดิต) หรือการได้เครดิตซื้อต่างกัน อัตราส่วนทุนหมุนเวียน current ratio ก็ต่างกันไป บางกิจการสองกว่าๆ ก็อาจจะไม่พอ บางแห่งแค่ 1 นิดๆ อาจจะสบายๆเหลือเฟือ ทั้งที่อยู่ในอุตสากกรรรมเดียวกัน ต่างกันยื่งไม่ต้องพูดถึง นี่แค่ตัวอย่างเรื่องเดียว การด่านค่าอัตราส่วนไม่ง่ายเหมือนที่เรียนกันแค่วันครึ่งวันครับ
กองทุนใช้ครับมากน้อยต่างกัน แล้วแต่วัตถุประลงค์การลงทุน กองทุนส่วนมากดูไม่มาก จะมีแค่บางตัวหลักๆ เพราะการลงทุนที่กระจายหลายตัว ทำให้เกิดการ diversified หรือกระจายความเสี่ยง ดังนั้นความเสี่ยงที่เหลือจึงมีเฉพาะ systematic risk ดังนั้น turnover ข้างต้นจะส่งผลน้อยต่อ return portfolio กองทุนจะดูผลตอบแทนภาพรวมไม่ใช่หุ้นเป็นตัว มีหุ้น 4 เด้งต้วเดียว แต่อีก 10 ตัวขาดทุนหมดแบบ หนักๆ รวมๆแล้วเงินกอนนับพันๆ ล้านไม่โต อย่างนี้ไท่ถือว่าเก่งครับ ถาถามว่าแล้วทำไมไม่ลงต้วเดียว เงินเป็นพันๆล้าน ลงตัวเดียว อาจโดนยิงตายได้ถ้าสิ้นปีทำคนเป็นพันขาดทุนอาจถึงขั้นหมดตัว แต่กองทุนส่วนบุคคลที่ไม่ใหญ่หรือรายย่อยๆ ประเภทไม่เกินหรือไม่กี่ร้อยล้าน จะมองลึกและละเอียดกว่า เพราะเป็นเรื่องส่วนต้ว ความโลภเฉพาะเจาะจง คนที่เคยมีเงินเป๊พัน ล้าน เกิดวิกฤตปึ 2540 ขาดทุนหมดตัวก็มีให้เห็นมาแล้วในไทยนี่แหละ ผมเคยเจอคนเล่นหุ้นสามปีจากเงินแสน มาเป็นหลายร้อยล้าน ทุกวันนี้กลับคืนสู่สามัญหลายคน
กองทุนเค้าลงทุนพวก commodities ด้วย เช่น น้ำมัน ยาง สินค้าโภคภัณฑ์ ผมอยากทราบว่าเค้าเอาเกณฑ์อะำไรมาตัดสินครับ บอกเลยครับ ใช้ technical analysis ประกอบร่วมกับการวิเคราะข้อมูลข่าวสารทางเศรษฐกิจประกอบ น้ำมันก็ดูดีมานด์ประเทศใหญ่ๆ เช่น ระดับการสำรองน้ำมัน การเติบโตเศรษฐกิจ เป็นต้น ดูยหาปัญหาความขัดแย้งระดับภูมิภาคในตะวันออกกลาง ส่วนสินค้าเกษตรต้องตามดูภาวะการเปลี่ยนปลงเอลนิญโญ่ ว่ามันไปอยู่ที่ไหน และส่งผลต่อผู้ผลิตหลักสินค้านั้นไหม เป็นต้น fund manager จะเป็นนักบริโภคข้อมูลข่าวสาร และคนที่เก่งคือรู้ว่าอะไรที่รับมาย่อยได้ ไม่ได้ ไม่ปิด แต่เลือกกิน ถ้าปิดจะขาดอาจไม่ได้กินอาหารที่ดีที่มีในตลาด วิธีหาของกินต่างกันไป ลองดูตัวอย่างปีเตอร์ ลินท์ แต่เขาไม่ได้บอกวิธีกาวิเคราะห์เชิงปริมาณ ดย่าด่วนคิดว่าเขาซื้อหุ้นแต่ไปเดินตลาดเท่านั้นนะ แต่เขามักมีเซ้นท์ว่า เอ๊ะจากวิธีไม่เหมือนใคร หุ้น ROE จะต้อง 20-30% หรือไม่นั้นเขาต้องดูว่า risk สูงไหม ลองทบทวนเรื่องข้างบนดีๆ แล้วจะบอกได้ว่า จะตัดสินใจอย่างใดเมื่อไร และผู้จัดการการลงทุนไม่ใช่คิดจะลงก็เอาได้เลย ปกติจะมีกรรมการการลงทุน คุณจะซื้อต้องซื้อตาม policy ก่อน ถ้าจะเพิ่มต้อง convince กรรมการด้วยครับ อะไรคือข้อมูลที่ใช้บอกละครับ สุดท้ายหนีไม่พ้นต้องมีแตะๆ ratios บ้างแหละครับ ประมาณการก็ต้องถูกซักเรื่องลมมตฺฐานที่ใช้ เจอบอร์อ่อนๆ ก็สบาย เจอเคี่ยว ก็เหนื่อยหน่อย ที่บอกมาส่วนใหญ่คือ กองทุนบริษัทประกัน, provident fund, pension fund มักจะต้องเน้น conservative เดี๋ยวนี้เขาเรียกว่า prudent ดูดีกว่าเยอะแต่ก้ไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่ ผมว่านะ ส่วนพวก hedge fund ชื่อก็บอกว่ากองทุนป้องกั้นความเสี่ยง แต่กองทุนพวกนี้เสี่ยงสุดๆ มักมอบอำนาจตัอสินใจให้ fund manager เหทือนกษัตริย์มอยดาบอาญาสิทธิ์ ประหารได้ก่อนรายงาน จึงมักได้ข่าวธนาคารล้มเพราะคนคนเดียว เช่นยุคที่ธนาคารแบริ่งล้ม เพราะนิค ลีสัน ปัจจุบันที่ เจพี มอร์แกน เชส ก็ได้ข่าวว่าขาดทุนพุ่งเพราะ เกิดกรณีขาดทุนจากการเทรดตราสารอนุพันธ์ส่วนหนึ่วด้วยจากหลายๆเหตุรวมรวมกัน
ส่วนกองทุนgrowth หรือหุ้นเติบโต จะจะเลืกแบบเน้นๆ แต่เขาจะเตือนว่า กองทุนนี้มีความเสี่ยงสูง ปีหน้าอาจมีกำไร 40-50% หรืออาจโตต่ำ 0% หรือติดลบก็ได้ ไม่มีอะไรดีๆ ประเภท low risk high return ชัวร์ๆ ครับ อยากได้ศุงต้อง bet ครับ นี่คือโลกการลงทุนจริง ถ้ากองทุนหันเติบโตดีจริงๆ ความเสี่ยงจะลงทุนน้อย คงไม่มีเหตุผลที่ต้องไทตั้งกองทุนตรสารหนี้ หรืออื่นๆ เพราะหัวใจที่เกิดกองทุนหลากหลายเพราะ high risk high return นั่นเอง ผลตอบแทนที่หลากหลายขึ้นกับความเสี่ยงที่รับได้ต่างกันไป
กองทุนหุ้นระยะยาว หรือ หุ้นปันผล เน้นหุ้นที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอ หุ้นที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอและ yield ดีๆ จ่ายสูงๆ กับ yield ดีๆ ต่างกัน จ่ายหุ้นละ 10 บาท แต่ราคาหุ้น 400 กับจ่ายหุ้นละ 2.5 แต่ราคาหุ้น 50 บาท ตัวแรก dividend yield 2.5% ตัวหลัง dividend yield 5% ตัวหลังดีกว่า ส่วนสม่ำเสมอคือจ่ายเฉลี่ยที่ผ่านมา 7 ปี 1.2, 1.8, 2.0, 2.2, 2.6, 3.1, 3.3 กับอีกตัว 3.5, 1.7, 2.8, 2.4, 1.8, 3.9, 1.7 ตัวแรกเดาแนวโน้มง่ายกว่า ชัดเจน ตัวหลังเดายากแม้ราคาจะเท่ากัน 100 บาท เป็นต้น
hedge fund ใช้อัตราส่วน หรือดูคล้ายกับ commodity ครับ
ระยะเวลาไม่มีมาตรฐาน ขึ้นกับเป็นกองทุนเปิด open-end หรือกองทุนปิด close-end กองทุนเปิดแล้วแต่คนถือหน่วยครับ ส่วนปิด กำหนดอายุแน่นอนแต่มักเปิดให้ซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดรอง (ตลาดหุ้น)
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 86
คือว่า วันนี้ IR เขาคงหยุดอ่ะครับ เลยรบกวนถามอาจารย์เลยละกันครับ ว่า พวกนี้เขาคำนวณยังไงครับ เวลางบรายไตรมาสออก มาผมจะได้ดูได้ทันทีเลยไม่ต้องรอให้เขาคำนวณให้ครับsun_cisa2 เขียน:3)บริษัทที่ให้บริการสินเชื่อเครดิตล่วงหน้า เช่นพวกบัตรเครดิตต่างๆ การบันทึกหนี้สูญ หรือ หนี้สงสัยจะสูญ บริษัทเค้าเอาเกณพ์อะไรมาเป็นตัวชี้วัดครับ ว่านายคนนี้ ถือเป็นหนี้สูญ หรือไม่ เพราะผมเห็นว่ามีการบันทึกประจำ(เพิ่มบ้าง ลดบ้าง) และก็มีกลับรายการกันประจำ
สมมติว่าผมซื้อสินค้าผ่านบัตรเครเครดิต หรือ ผ่อนเงินกับบัตรเครดิต กำหนดระยะเวลา 2 ปี แต่ผมจ่าย ขั้นต่ำให้ธนาคารทุกเดือน แบบนี้ผมจัดอยู๋ในหนี้ประเภทไหนครับ แล้วหนี้แบบ ไหนที่ถือเป็นหนี้สูญ และแบบไหนที่ สงสัยจะสูญ เราจะแยกประเภทลูกหนี้ได้อย่างไร ดูตรงไหนในงบบัญชีครับ
ทาง กลต ได้ออกเกณฑ์ให้พวกที่ให้เครดิตประเภท non-bank ในการปฏิบัติ โดยปกติเวลาผมวิเคราะห์หุ้นจะไม่สนใจว่าใช้อะไร วัดหรือวัดด้วยวิธีไหน เอาอัตราส่วนหลักๆ มาดูเลยครับ เช่นถ้าพวกสถาบันการเงินจะดูอย่างน้อย 2-3 ค่า ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ และอัตราดอกเบี้ยรับสุทธิว่าเพิ่มหรือลดอยางไร แนวโน้มตามภาพรวมอุตสาหกรรมหรือไม่ และดูอัตราส่วนว่าตั้งสำรองรวมเป็นกี่ % ของยอดปล่อยกู้ก่อนหักสำรอง หากส่วนต่างฯและอัตราดอกเบี้ยรับลดลงมาก (และมากกว่าอุตสาหกรรมด้วยแล้ว)
การตั้งสำรองควรน่าจะต้องมากกว่า อุตสาหกรรมเพราะมีแนวโน้มที่ชี้ว่า NPL น่าจะมาก ไม่อย่างนั้นส่วนต่างดอกเบียรับและอัตราดอกเบี้ยรับไม่น่าจะลดลงมาก ดังนั้นจะตั้งด้วยเกณฑ์อไร ไม่สำคัญ คุณภาพที่เห็นสำคัญกว่า ถ้ามีคุณภาพดี ต้องสามารถ generate income ได้ดีด้วย
เวลาผมวิเคราะห์หุ้นมักจะไม่ได้มุ่งหาราคาหุ้นถูกก่อน แต่สิ่งแรกคือ หาหุ้นคุณภาพดีก่อน วันนี้อาจแพง ก็รอไปก่อนหาจังหวะค่อยซื้อทีหลัง หุ้นคุฑด้อย จะไม่มองเลยแม้ราคาจะต่ำมากๆ บางคนบอกนั่นคือโอกาส อันนี้ก็แล้วแต่ปรัชญาการลงทุนแต่ละคน เพราะผมยึดหลักว่าราคาที่ว่าถูกอาจจะยังมีถูกกว่าได้อีก (อาจจะล้มละลายลยก็ได้)
การวิเคราะห์หุ้นตัวหนึ่งไม่เคยดูตัวเดียวโดดๆ จะวิเคราะห์อย่างน้อยรวม 3 ตัว คือหุ้นตัวนั้น หุ้นทีมี positioning ใกล้กัน (เช่น ขนาด market position เป็นต้น) และ blue ship ของกลุ่ม (หรือ leader) เพื่อดูคุณภาพ เพราะจะถามตัวเองตลอดเวลาว่าทำไมต้องหุ้น A ไม่เป็นหุ้น B ในอุตสาหกรรมเดียวกันนั้น ถ้าจะซื้อ BBL ทำไมไม่เป็น KBANK SCB หรืออื่นๆ เป็นต้น หลักการนี้ใช้กับหุ้นทุกกลุ่มครับ อาจจะเป็นแนว prudent สักหน่อย แบบ fund manager เพราะชีวิตการทำงานที่ผ่านมามนวงการต้องตอบคำถามมาตลอดว่า ทำไมเลือกหุ้นนี้ ไม่เลือกหุ้นนั้น
จ่ายขั้นต่ำให้ธนาคารทุกเดือน จัดอยู๋ในหนี้ประเภท ปกติครับ
อัตราดอกเบี้ยรับ(%) Interest Income(%) 34.8 33.8 34.9 35.7 34.7
อัตราดอกเบี้ยจ่าย(%) Interest Expenses(%) 4.2 3.9 4.2 4.2 4.6
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(%)Spread (%) 30.6 29.9 30.7 31.5 30.2
จริงๆ ผมเข้าใจว่า อัตราดอกเบี้ยรับนี้คือกำไรขั้นต้นรึเปล่าครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 87
ลืมบอก จริงๆ ข้อมูลผมเอามาจา่ก link นี้ครับ http://tkw03.thespi.com/tkweb/tk/th/03i ... ncial.html
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 88
ไปเรียนวิเคราะห์อุตสาหกรรมกับอาจารย์ภาพรสิครับ มีเรื่องการวิเราะห์อัตาส่วนเหล่านี้สำรับกลุมธนาคาด้วยครับ อธิบายในที่รี้คงยาว สั้นๆ คูรก็จะไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิด แค่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยต้องเป็น % ครับไม่ใช่จำนวนเงินcyber-shot เขียน:ลืมบอก จริงๆ ข้อมูลผมเอามาจา่ก link นี้ครับ http://tkw03.thespi.com/tkweb/tk/th/03i ... ncial.html
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 89
ขอบคุณครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 90
ขอบคุณมากครับ