Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 22, 2012 12:58 am
รัฐควรเตรียมพร้อม กับสถานการณ์หนี้ยุโรป
โดย : ดร.บัณฑิต นิจถาวร
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%9B.html
สถานการณ์ยุโรปขณะนี้ต้องยอมรับว่าน่าห่วง เพราะไม่มีความชัดเจนว่าการเมืองในกรีซจะลงเอยอย่างไร และการแก้ไขปัญหาหนี้จะมีการดำเนินการอย่างไรต่อ
ถึงแม้กรีซจะมีเลือกตั้งใหม่ในเดือนมิถุนายน สิ่งที่ต้องตระหนักก็คือ ในภาวะที่ประเทศมีวิกฤต อย่างเช่นกรณีกรีซขณะนี้ การเมืองในประเทศมักจะเดินตามความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย ดังนั้น การตัดสินด้านนโยบายอาจตอบสนองความต้องการระยะสั้นของประชาชน มากกว่าเหตุผล ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ และสิ่งที่ประชาชนกรีซต้องการขณะนี้ เท่าที่เข้าใจก็มีอยู่สองเรื่อง ที่อาจไม่ค่อยสอดคล้องกันในแง่การแก้ปัญหา
อันแรก คือ การไม่ยอมรับการแก้ไขปัญหาหนี้โดยมาตรการรัดเข็มขัด ตามแนวทางที่ได้ดำเนินการมา ดังนั้น ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลกรีซต่อไป ก็คงต้องยอมรับประเด็นนี้และคงไม่สามารถใช้แนวทางรัดเข็มขัดในการแก้ไขปัญหาได้เหมือนเดิม
สอง ตัวเลขสำรวจความคิดเห็นประชาชนในกรีซ (Opinion Poll) ชี้ว่า ประชาชนกรีซกว่าร้อยละ 75 ยังคงอยากให้กรีซอยู่ในระบบเงินยูโรต่อไป ซึ่งความต้องการนี้จะจำกัดการใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา
ดังนั้นถ้ากรีซอยู่ในระบบเงินยูโร แต่ไม่พร้อมที่จะดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มเติมเพื่อลดการใช้จ่าย กรีซก็จะผิดเงื่อนไขการให้กู้ยืมที่รัฐบาลสหภาพยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ให้ความช่วยเหลือกรีซอยู่ ซึ่งถ้าผิดเงื่อนไข กรีซก็จะไม่สามารถเบิกเงินกู้งวดต่อๆ ไปได้ ทำให้กรีซจะไม่มีสภาพคล่องหรือมีเงินพอที่จะชำระหนี้ นำมาสู่การผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งในกรณีกรีซก็คือ หนี้รัฐบาลที่นักลงทุนต่างประเทศถืออยู่
การผิดนัดชำระหนี้ โดยรัฐบาลเป็นเรื่องใหญ่ และเมื่อรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ ผลที่ตามมาก็คือ ประเทศถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ เงินทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะเงินกู้ยืมภาคเอกชนที่กู้จากต่างประเทศก็จะหยุดตามไปด้วย ไม่มีเงินกู้ใหม่เข้ามา ประเทศจะเกิดปัญหาสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ยในประเทศจะยิ่งสูงขึ้น กระทบเศรษฐกิจและฐานะการเงินของบริษัทเอกชนและธนาคารพาณิชย์ ความรุนแรงของปัญหาจะกดดันให้กรีซไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากออกจากระบบเงินยูโร เพื่อใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา แต่อย่างที่เขียนไว้เมื่ออาทิตย์ก่อน การออกจากระบบเงินยูโรเป็นทางเลือกที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น รวมถึงประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เพราะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจะเป็นอย่างไร และรัฐบาลสหภาพยุโรปจะสามารถบริหารผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อกรีซและต่อประเทศอื่นๆ ในยุโรปได้หรือไม่
อันนี้คือ พัฒนาการของสถานการณ์ที่คงจะเกิดขึ้นจากนี้ไป ซึ่งไม่มีใครบอกได้ว่าจะใช้เวลาแค่ไหน ก่อนที่สถานการณ์จะคลี่คลายและจะคลี่คลายอย่างไร แต่ในช่วงที่ยังมีความไม่แน่นอน (ซึ่งอาจเป็นเดือนหรือหลายเดือน) ตลาดการเงินโลกจะผันผวนมาก และที่น่าห่วง ก็คือผลกระทบที่จะมีต่อประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศยุโรปอื่นๆ ที่มีปัญหาหนี้สูง เช่นสเปน ซึ่งขณะนี้สถานการณ์เศรษฐกิจมีความล่อแหลมที่จะแย่ลงกว่าปัจจุบัน จากปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบันการเงินที่มีอยู่ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่สถานการณ์เศรษฐกิจยุโรปจะแย่ลงกว่าที่เราเห็นขณะนี้ และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลกมากขึ้น
คำถามที่ตามมา ก็คือ ระบบเศรษฐกิจโลกขณะนี้มีความสามารถด้านนโนบายพอหรือไม่ ที่จะดูแลไม่ให้ปัญหาในยุโรปลามกระทบเศรษฐกิจโลกจนเกิดวิกฤตรุนแรง
ในประเด็นนี้ ผมเคยให้ความเห็นไว้ในคอลัมน์นี้ เมื่อเดือนที่แล้วในบทความ “จุดน่าห่วงของเศรษฐกิจโลกขณะนี้” ว่า ลึกๆ แล้ว สถานการณ์และความไม่แน่นอนที่มีในเศรษฐกิจโลกขณะนี้ น่าห่วงและข้อจำกัดในการแก้ไขปัญหาคราวนี้ก็มีมาก เทียบกับตอนเกิดเหตุการณ์ Lehman เมื่อปี 2008 ด้วยสามเหตุผล
หนึ่ง ก็คือ พื้นที่นโยบาย ช่วงปี 2008 -2009 ที่เกิดกรณี Lehman และวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทางการขณะนั้นมีพื้นที่นโยบายเต็มที่ ที่จะแก้ไขปัญหา ทั้งการใช้จ่ายภาครัฐ และการลดอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการอัดฉีดสภาพคล่องในรูปมาตรการ QE ต่างๆ แต่ปัจจุบันพื้นที่ที่ภาครัฐจะใช้จ่ายเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมีจำกัด เพราะหนี้สาธารณะได้เพิ่มขึ้นในระดับที่สูง ขณะที่อัตราดอกเบี้ย ก็อยู่ใกล้ศูนย์ จนอาจจะไม่สามารถปรับลดลงได้ ที่สำคัญการอัดฉีดสภาพคล่องให้กับระบบการเงินที่ได้ทำไป ทั้งโดยมาตรการ QE ของธนาคารกลางสหรัฐและการปล่อยกู้ระยะยาวที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำของธนาคารกลางสหภาพยุโรปก็พิสูจน์แล้วว่า มีผลเพียงช่วยประคับประคองสถานการณ์ไม่ให้เลวร้ายลง แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา ดังนั้น พื้นที่นโยบายที่จะช่วยดูแลเศรษฐกิจโลก คราวนี้มีจำกัดทั้งในแง่ขนาดและประสิทธิภาพ และถ้าปัญหากรีซลุกลามไปกระทบประเทศหนี้สูงอื่นๆ กำแพงกันไฟในรูปวงเงินช่วยเหลือที่ทางการยุโรปได้เตรียมไว้ก็อาจไม่พอ
สอง วิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2008 -2009 ทำให้เศรษฐกิจทั้งในยุโรปและสหรัฐถดถอย แต่เศรษฐกิจโลกได้ประโยชน์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่ ทำให้เศรษฐกิจโลกโดยรวมไม่ได้ชะลอลงมาก แต่ปัจจุบัน เศรษฐกิจเอเซียก็ถูกกระทบมากจากสถานการณ์ในยุโรป เศรษฐกิจเอเซียหลายประเทศ รวมถึงจีนและอินเดียขณะนี้ก็ชะลอ ทำให้เศรษฐกิจโลกคราวนี้ จะไม่มีการขยายตัวที่ดีของเศรษฐกิจเอเซีย เป็นตัวช่วย ที่จะดีหน่อยก็คือ เศรษฐกิจสหรัฐที่การฟื้นตัวกำลังมีต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่เข้มแข็ง
สาม ความอดทนของประชาชนที่จะยอมรับภาระการปรับตัวจากมาตรการลดการใช้จ่ายก็มีน้อยลง เช่นในกรณีของกรีซ ทำให้ทางเลือกด้านนโยบายยิ่งจะจำกัด ที่สำคัญ การประสานนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ร่วมกันแก้ไขปัญหาเหมือนช่วงหลังเหตุการณ์ Lehman ก็คงทำได้ไม่เข้มแข็งเหมือนเดิม เพราะแต่ละประเทศมุ่งให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาประเทศของตน ทำให้ความพร้อมที่จะตัดสินใจร่วมกันแก้ปัญหาให้กับเศรษฐกิจโลกจะมีน้อยลงกว่าเดิม
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูง ที่สถานการณ์หนี้ยุโรปจากนี้ไปจะแก้ไขยากขึ้น รุนแรงขึ้น และยืดเยื้อ ส่งผลกระทบมากต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลก ซึ่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นเศรษฐกิจเปิดก็จะถูกกระทบตามไปด้วย ดังนั้น เราควรเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ในยุโรปที่จะเลวร้ายลง ซึ่งขณะนี้หลายประเทศได้เริ่มปรับนโยบายเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวแล้ว ล่าสุด ธนาคารกลางออสเตรเลียก็ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงถึงร้อยละ 0.5 ธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราส่วนเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องดำรงกับทางการ ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษกำลังทำแผนรับมือสถานการณ์ในยุโรป และภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจถดถอยลง
ก็ขอแสดงความเห็นไว้ตรงนี้ เพื่ออาจจะเป็นประโยชน์
โดย : ดร.บัณฑิต นิจถาวร
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%9B.html
สถานการณ์ยุโรปขณะนี้ต้องยอมรับว่าน่าห่วง เพราะไม่มีความชัดเจนว่าการเมืองในกรีซจะลงเอยอย่างไร และการแก้ไขปัญหาหนี้จะมีการดำเนินการอย่างไรต่อ
ถึงแม้กรีซจะมีเลือกตั้งใหม่ในเดือนมิถุนายน สิ่งที่ต้องตระหนักก็คือ ในภาวะที่ประเทศมีวิกฤต อย่างเช่นกรณีกรีซขณะนี้ การเมืองในประเทศมักจะเดินตามความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย ดังนั้น การตัดสินด้านนโยบายอาจตอบสนองความต้องการระยะสั้นของประชาชน มากกว่าเหตุผล ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ และสิ่งที่ประชาชนกรีซต้องการขณะนี้ เท่าที่เข้าใจก็มีอยู่สองเรื่อง ที่อาจไม่ค่อยสอดคล้องกันในแง่การแก้ปัญหา
อันแรก คือ การไม่ยอมรับการแก้ไขปัญหาหนี้โดยมาตรการรัดเข็มขัด ตามแนวทางที่ได้ดำเนินการมา ดังนั้น ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลกรีซต่อไป ก็คงต้องยอมรับประเด็นนี้และคงไม่สามารถใช้แนวทางรัดเข็มขัดในการแก้ไขปัญหาได้เหมือนเดิม
สอง ตัวเลขสำรวจความคิดเห็นประชาชนในกรีซ (Opinion Poll) ชี้ว่า ประชาชนกรีซกว่าร้อยละ 75 ยังคงอยากให้กรีซอยู่ในระบบเงินยูโรต่อไป ซึ่งความต้องการนี้จะจำกัดการใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา
ดังนั้นถ้ากรีซอยู่ในระบบเงินยูโร แต่ไม่พร้อมที่จะดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มเติมเพื่อลดการใช้จ่าย กรีซก็จะผิดเงื่อนไขการให้กู้ยืมที่รัฐบาลสหภาพยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ให้ความช่วยเหลือกรีซอยู่ ซึ่งถ้าผิดเงื่อนไข กรีซก็จะไม่สามารถเบิกเงินกู้งวดต่อๆ ไปได้ ทำให้กรีซจะไม่มีสภาพคล่องหรือมีเงินพอที่จะชำระหนี้ นำมาสู่การผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งในกรณีกรีซก็คือ หนี้รัฐบาลที่นักลงทุนต่างประเทศถืออยู่
การผิดนัดชำระหนี้ โดยรัฐบาลเป็นเรื่องใหญ่ และเมื่อรัฐบาลผิดนัดชำระหนี้ ผลที่ตามมาก็คือ ประเทศถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ เงินทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะเงินกู้ยืมภาคเอกชนที่กู้จากต่างประเทศก็จะหยุดตามไปด้วย ไม่มีเงินกู้ใหม่เข้ามา ประเทศจะเกิดปัญหาสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ยในประเทศจะยิ่งสูงขึ้น กระทบเศรษฐกิจและฐานะการเงินของบริษัทเอกชนและธนาคารพาณิชย์ ความรุนแรงของปัญหาจะกดดันให้กรีซไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากออกจากระบบเงินยูโร เพื่อใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา แต่อย่างที่เขียนไว้เมื่ออาทิตย์ก่อน การออกจากระบบเงินยูโรเป็นทางเลือกที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น รวมถึงประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เพราะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจะเป็นอย่างไร และรัฐบาลสหภาพยุโรปจะสามารถบริหารผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อกรีซและต่อประเทศอื่นๆ ในยุโรปได้หรือไม่
อันนี้คือ พัฒนาการของสถานการณ์ที่คงจะเกิดขึ้นจากนี้ไป ซึ่งไม่มีใครบอกได้ว่าจะใช้เวลาแค่ไหน ก่อนที่สถานการณ์จะคลี่คลายและจะคลี่คลายอย่างไร แต่ในช่วงที่ยังมีความไม่แน่นอน (ซึ่งอาจเป็นเดือนหรือหลายเดือน) ตลาดการเงินโลกจะผันผวนมาก และที่น่าห่วง ก็คือผลกระทบที่จะมีต่อประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศยุโรปอื่นๆ ที่มีปัญหาหนี้สูง เช่นสเปน ซึ่งขณะนี้สถานการณ์เศรษฐกิจมีความล่อแหลมที่จะแย่ลงกว่าปัจจุบัน จากปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบันการเงินที่มีอยู่ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่สถานการณ์เศรษฐกิจยุโรปจะแย่ลงกว่าที่เราเห็นขณะนี้ และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลกมากขึ้น
คำถามที่ตามมา ก็คือ ระบบเศรษฐกิจโลกขณะนี้มีความสามารถด้านนโนบายพอหรือไม่ ที่จะดูแลไม่ให้ปัญหาในยุโรปลามกระทบเศรษฐกิจโลกจนเกิดวิกฤตรุนแรง
ในประเด็นนี้ ผมเคยให้ความเห็นไว้ในคอลัมน์นี้ เมื่อเดือนที่แล้วในบทความ “จุดน่าห่วงของเศรษฐกิจโลกขณะนี้” ว่า ลึกๆ แล้ว สถานการณ์และความไม่แน่นอนที่มีในเศรษฐกิจโลกขณะนี้ น่าห่วงและข้อจำกัดในการแก้ไขปัญหาคราวนี้ก็มีมาก เทียบกับตอนเกิดเหตุการณ์ Lehman เมื่อปี 2008 ด้วยสามเหตุผล
หนึ่ง ก็คือ พื้นที่นโยบาย ช่วงปี 2008 -2009 ที่เกิดกรณี Lehman และวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทางการขณะนั้นมีพื้นที่นโยบายเต็มที่ ที่จะแก้ไขปัญหา ทั้งการใช้จ่ายภาครัฐ และการลดอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการอัดฉีดสภาพคล่องในรูปมาตรการ QE ต่างๆ แต่ปัจจุบันพื้นที่ที่ภาครัฐจะใช้จ่ายเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมีจำกัด เพราะหนี้สาธารณะได้เพิ่มขึ้นในระดับที่สูง ขณะที่อัตราดอกเบี้ย ก็อยู่ใกล้ศูนย์ จนอาจจะไม่สามารถปรับลดลงได้ ที่สำคัญการอัดฉีดสภาพคล่องให้กับระบบการเงินที่ได้ทำไป ทั้งโดยมาตรการ QE ของธนาคารกลางสหรัฐและการปล่อยกู้ระยะยาวที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำของธนาคารกลางสหภาพยุโรปก็พิสูจน์แล้วว่า มีผลเพียงช่วยประคับประคองสถานการณ์ไม่ให้เลวร้ายลง แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา ดังนั้น พื้นที่นโยบายที่จะช่วยดูแลเศรษฐกิจโลก คราวนี้มีจำกัดทั้งในแง่ขนาดและประสิทธิภาพ และถ้าปัญหากรีซลุกลามไปกระทบประเทศหนี้สูงอื่นๆ กำแพงกันไฟในรูปวงเงินช่วยเหลือที่ทางการยุโรปได้เตรียมไว้ก็อาจไม่พอ
สอง วิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2008 -2009 ทำให้เศรษฐกิจทั้งในยุโรปและสหรัฐถดถอย แต่เศรษฐกิจโลกได้ประโยชน์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่ ทำให้เศรษฐกิจโลกโดยรวมไม่ได้ชะลอลงมาก แต่ปัจจุบัน เศรษฐกิจเอเซียก็ถูกกระทบมากจากสถานการณ์ในยุโรป เศรษฐกิจเอเซียหลายประเทศ รวมถึงจีนและอินเดียขณะนี้ก็ชะลอ ทำให้เศรษฐกิจโลกคราวนี้ จะไม่มีการขยายตัวที่ดีของเศรษฐกิจเอเซีย เป็นตัวช่วย ที่จะดีหน่อยก็คือ เศรษฐกิจสหรัฐที่การฟื้นตัวกำลังมีต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่เข้มแข็ง
สาม ความอดทนของประชาชนที่จะยอมรับภาระการปรับตัวจากมาตรการลดการใช้จ่ายก็มีน้อยลง เช่นในกรณีของกรีซ ทำให้ทางเลือกด้านนโยบายยิ่งจะจำกัด ที่สำคัญ การประสานนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ร่วมกันแก้ไขปัญหาเหมือนช่วงหลังเหตุการณ์ Lehman ก็คงทำได้ไม่เข้มแข็งเหมือนเดิม เพราะแต่ละประเทศมุ่งให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาประเทศของตน ทำให้ความพร้อมที่จะตัดสินใจร่วมกันแก้ปัญหาให้กับเศรษฐกิจโลกจะมีน้อยลงกว่าเดิม
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูง ที่สถานการณ์หนี้ยุโรปจากนี้ไปจะแก้ไขยากขึ้น รุนแรงขึ้น และยืดเยื้อ ส่งผลกระทบมากต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลก ซึ่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นเศรษฐกิจเปิดก็จะถูกกระทบตามไปด้วย ดังนั้น เราควรเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ในยุโรปที่จะเลวร้ายลง ซึ่งขณะนี้หลายประเทศได้เริ่มปรับนโยบายเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวแล้ว ล่าสุด ธนาคารกลางออสเตรเลียก็ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงถึงร้อยละ 0.5 ธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราส่วนเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องดำรงกับทางการ ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษกำลังทำแผนรับมือสถานการณ์ในยุโรป และภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจถดถอยลง
ก็ขอแสดงความเห็นไว้ตรงนี้ เพื่ออาจจะเป็นประโยชน์