หน้า 3 จากทั้งหมด 3
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 26, 2013 4:59 pm
โดย chatchai
ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ นักลงทุน เราก็ต้องพิจารณาความเสี่ยงด้านต่างๆให้รอบด้าน
ถ้าจำกันได้ เมื่อไม่กี่ปีก่อน อดีตผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยท่านหนึ่งเคยออกมาตรการช็อคนักลงทุนมาแล้ว นั่นก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่แทบจะไม่มีการเตือนล่วงหน้า
หรือแม้แต่เหตุการณ์ระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น อิรักบุกคูเวต กรณี World Trade Center ก็ไม่มีการเตือนล่วงหน้า มีนักลงทุนเสียหายมากมาย
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 26, 2013 5:03 pm
โดย chatchai
ถ้าเราเป็นเจ้าของร้านขายสินค้าหรือบริการอยู่ดีๆ ทำเลติดถนนใหญ่ แล้วมีการสร้างสะพานลอยข้ามแยกบังหน้าร้าน หรือสร้างทางรถไฟฟ้าบังหน้าร้านของเรา เราจะทำอย่างไร
ถ้าเรามีกิจการที่เช่าที่ เมื่อหมดสัญญาเจ้าของที่ดินไม่ต่อสัญญาเช่าให้เราๆจะทำอย่างไร ถึงแม้จะมีการบอกกล่าวล่วงหน้านานพอสมควร หลายคนเลือกที่จะนิ่งเฉย เมื่อถึงวันต้องหมดสัญญาก็ออกมาประท้วง
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 27, 2013 2:36 pm
โดย kongkiti
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ "ทีเอ็มบี" แนะ 300 บาททั่วประเทศ มีทางออกถ้า “สมดุล”
updated: 25 ม.ค. 2556 เวลา 11:15:33 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0900
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics มองขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ SMEs ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือเจ็บสุด แต่ทางออกยังมีอยู่ที่ภาครัฐ ผู้ประกอบการและลูกจ้างต้องช่วยกัน
จากการประเมินต้นทุนในการดำเนินการต่อรายได้ผู้ประกอบการ SME ปี 55-56 รายภาคใน 70 จังหวัดที่เหลือจาก 7 จังหวัดนำร่อง ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือจะได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยมีต้นทุนเพิ่มขึ้นมากกว่าภาคอื่นๆ เกือบร้อยละ 3 ในขณะที่อัตรากำไรเฉลี่ยของสองภาคนี้ต่ำกว่าภาคอื่นๆ อยู่กว่าร้อยละ 2 (ดังภาพ)
สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่าจังหวัดพะเยา อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และน่านได้รับผลกระทบรุนแรง ส่วนภาคเหนือจังหวัดนครพนม บุรีรัมย์ มุกดาหาร และอุบลราชธานีน่าเป็นห่วง และถ้าเจาะลงในสองภาคที่น่าเป็นห่วง พบว่าธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ค้าปลีกอาหาร ของใช้ในครัวเรือน สินค้าทั่วไปและอู่ซ่อมรถ กระดาษและสิ่งพิมพ์ พืชไร่ วัสดุก่อสร้าง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นอันดับต้นๆ ส่วนภาคเหนือธุรกิจค้าปลีกอาหาร ของใช้ในครัวเรือน สินค้าทั่วไปและอู่ซ่อมรถ ปศุสัตว์ เสื้อผ้า รับเหมาก่อสร้าง พืชไร่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ กระดาษและสิ่งพิมพ์ โรงแรมและเกสท์เฮ้าส์ก็น่าจะจุก
เห็นได้ว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทำให้ผู้ประกอบการ SME ได้รับผลกระทบจริง รัฐบาลเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจออกมาตรการมาช่วยเยียวยา SME แม้หลายฝ่ายยังมองว่าไม่เพียงพอ โดยเฉพาะหลายๆ มาตรการที่เน้นทางด้านภาษี เนื่องจากธุรกิจ SME ส่วนใหญ่มีภาระภาษีน้อยอยู่แล้วเมื่อเทียบกับต้นทุนแรงงาน อาจทำให้ไม่ได้รับประโยชน์จากการเยียวยาอย่างเต็มที่ นอกจากนั้นสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่าอาหารและที่พัก ผู้ประกอบการ SME เองก็ไม่สามารถไปตัดออกไปได้ เพราะลักษณะธุรกิจของ SME ส่วนใหญ่ดูแลกันอย่างใกล้ชิด เมื่อปรับค่าแรงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องแบกภาระเพิ่มขึ้น และไม่สามารถปรับส่วนอื่นมาชดเชยได้
อย่างไรก็ดี ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบีมองว่าประเด็น 300 บาทควรถูกพิจารณาไปพร้อมกับทักษะของผู้ประกอบการและแรงงาน ถามตัวเองว่าพร้อมเดินหน้าหรือยัง แต่การที่ธุรกิจจะเดินหน้าได้อย่างราบเรียบภาครัฐเองก็มีบทบาทสำคัญ มองอย่างรูปธรรมก็คือ ทุกฝ่ายต้องมีการพัฒนาในทุกๆ ด้านพร้อมกัน ผู้ประกอบการคงต้องหันมาเน้นเรื่องคุณภาพและความคุ้มค่าของสินค้าต่อผู้บริโภคมากขึ้น โดยหันมาลดภาระต้นทุนที่เกิดขึ้น เช่น บริหารจัดการต้นทุนการผลิตพวกราคาพลังงาน วัตถุดิบ และระบบโลจิสติกส์ เป็นต้น อีกทั้งการเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือของรัฐเพื่อฝึกอบรมเพิ่มทักษะให้แรงงานและวิเคราะห์ภาวะการแข่งขัน ทดลองและพัฒนาตลอดเวลาเพื่อสามารถขยายตลาดหรือบุกตลาดใหม่ๆได้ แรงงานเองก็ต้องหันมาพัฒนาทักษะการทำงานของตัวเอง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อประโยนช์ต่อธุรกิจและสอดคล้องกับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น
ในขณะที่ภาครัฐต้องหามาตรการเยียวยาเร่งด่วนระยะสั้นเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการปรับตัวได้เร็วขึ้นโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการที่อาจไม่ได้รับการเยียวยาผ่านมาตรการทางภาษี พร้อมทั้งเข้ามาดูแลราคาพลังงาน วัตถุดิบ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดอีกหนึ่งปัจจัยคือเศรษฐกิจ เพราะเมื่อเศรษฐกิจดี ผู้บริโภคและนักลงทุนก็กล้าจับจ่ายกล้าลงทุน ผู้ประกอบการก็ผลิตและขายของได้ การจ้างงานก็ไม่ได้รับผลกระทบ เห็นได้ว่าเมื่อทุกอย่างสมดุลปัญหา 300 บาทก็คงไม่หนักจนเกินไป
-จบ-
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.พ. 02, 2013 10:56 am
โดย บูรพาไม่แพ้
chatchai เขียน:ประเทศไทยมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ไม่สมดุล คือ พึงพิงการส่งออกในสัดส่วนที่สูงมาก ทำให้มีความผันผวนและขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจโลกค่อนข้างมากเกินไป เมื่อประเทศใหญ่ๆของโลกมีปัญหา ก็จะกระทบต่อเศรษฐกิจของเรามาก เราต้องสร้างการบริโภคภายในประเทศให้สูงขึ้น เพื่อเป็นกันชนเมื่อสภาพเศรษฐกิจโลกมีปัญหา
ในขณะที่เราก็ต้องถามว่า ค่าแรงที่ต่ำนั้นเป็นรายได้ที่เพียงพอให้แรงงานใช้ดำเนินชีวิตที่เหมาะสมได้หรือไม่
เรายอมให้คนไทยทำงานหนัก แต่ได้รายได้น้อย คุณภาพชีวิตแย่ เพียงเพื่อจะได้มีต้นทุนในการผลิตสินค้าที่ต่ำ ขายสินค้าให้ต่างชาติในราคาถูกๆ ให้ชาวต่างชาติเอาเปรียบเราหรือ
ประเทศไทยมีทางเลือกมากมาย เราคงอุ้มทุกคนไม่ไหว อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานก็ควรที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีค่าแรงถูกอยู่
ผมถูกใจในความคิดเห็นของพี่ฉัตรชัยมากครับ บางที่เรามองที่เจ้าของธุรกิจมากเกินไปจนไม่มองคนในประเทศเลย เคยถามไหมว่าค่าแรงที่เขาได้รับทุกวันมันเพียงพอต่อค่าครองชีพของพวกเขาไหม สมัยนี้อาไรๆก็แพงไปหมด แต่เจ้าของธุรกิจจะให้ค่าแรงน้อยๆกับเขาเหมือนเดิม ค่าแรง 300 บาท ค่าเช่าบ้าน 3000 บาท ค่ากินวันละ 100 บาท ค่าผ่อนรถมอเตอร์ไซค์ 1500 บาท คิดง่ายๆแค่นี้ เดือนๆหนึ่งเขาเหลือเงินแค่ 1500 บาทเองครับ แล้วคุณภาพชีวิตเขาจะเป็นอย่างไรครับ
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 03, 2013 9:12 pm
โดย yuta2099
บางธุรกิจควรปรับตัวหรือพัฒนาตัวเอง มาต้ังแต่ 15 ปีที่แล้ว แต่ก็ไม่เคยทำ รับจ้างผลิตมาตลอด ค่าเงินแข็งก็แย่ ค่าแรงขึ้นก็ตาย มันก็ต้องเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นแหละ อยู่ไม่ได้ก็ต้องเลิก ยังไงก็ตามคนงานไม่อดตายแน่ วันนี้มีหลายอุตสาหกรรมต้องการแรงงาน ไม่หมือน 40 แม้คนงานขอค่าแรงครึ่งเดียวสุดท้ายบริษัทก็อยู่ไม่ได้ หลายคนชอบคิดว่าจะเกิดวิกฤตจากค่าแรง ผมเชื่อว่าไม่เกิดครับ วิกฤตจะเกิดกับนายทุนที่ไม่เคยพัฒนาต่างหาก
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 03, 2013 10:08 pm
โดย harikung
yuta2099 เขียน:บางธุรกิจควรปรับตัวหรือพัฒนาตัวเอง มาต้ังแต่ 15 ปีที่แล้ว แต่ก็ไม่เคยทำ รับจ้างผลิตมาตลอด ค่าเงินแข็งก็แย่ ค่าแรงขึ้นก็ตาย มันก็ต้องเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นแหละ อยู่ไม่ได้ก็ต้องเลิก ยังไงก็ตามคนงานไม่อดตายแน่ วันนี้มีหลายอุตสาหกรรมต้องการแรงงาน ไม่หมือน 40 แม้คนงานขอค่าแรงครึ่งเดียวสุดท้ายบริษัทก็อยู่ไม่ได้ หลายคนชอบคิดว่าจะเกิดวิกฤตจากค่าแรง ผมเชื่อว่าไม่เกิดครับ วิกฤตจะเกิดกับนายทุนที่ไม่เคยพัฒนาต่างหาก
ลองไปทำธุรกิจเองดูก่อนมั้ย
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 03, 2013 11:03 pm
โดย Plant
yuta2099 เขียน:บางธุรกิจควรปรับตัวหรือพัฒนาตัวเอง มาต้ังแต่ 15 ปีที่แล้ว แต่ก็ไม่เคยทำ รับจ้างผลิตมาตลอด ค่าเงินแข็งก็แย่ ค่าแรงขึ้นก็ตาย มันก็ต้องเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นแหละ อยู่ไม่ได้ก็ต้องเลิก ยังไงก็ตามคนงานไม่อดตายแน่ วันนี้มีหลายอุตสาหกรรมต้องการแรงงาน ไม่หมือน 40 แม้คนงานขอค่าแรงครึ่งเดียวสุดท้ายบริษัทก็อยู่ไม่ได้ หลายคนชอบคิดว่าจะเกิดวิกฤตจากค่าแรง ผมเชื่อว่าไม่เกิดครับ วิกฤตจะเกิดกับนายทุนที่ไม่เคยพัฒนาต่างหาก
ในมุมมองผม ผมมองว่าพวกนี้จะเกิดเป็นลูกโซ่ครับ เมื่อค่าแรงขึ้น ผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
ขึ้นแต่ไม่สามารถพัฒนาตัวบริษัทต่อได้เร็วพอกับค่าแรงที่ขึ้นมา ก็ต้องไปเพิ่มรายได้จากตัวสินค้า
หรือบริการแก่ลูกค้าแทนครับ แล้วถ้าเป็นบริษัทรับจ้างผลิตก็จะไปเพิ่มต้นทุนให้กับบริษัทที่ว่าจ้าง
ผลิตครับ แล้วผู้ที่นำสินค้าส่วนสุดท้ายของการผลิตออกขายสู่ประชาชนก็จะไปเพิ่มราคาสินค้าที่ขาย
สุดท้ายก็จะกลายเป็นค่าแรงไม่พอค่ากินเหมือนเดิมครับ!!! ก็ต้องขอขึ้นค่าแรงเป็นวงจรกันต่อไป...-_-)
ดังนั้นตามแนวทางของ vi จึงต้องมองปัจจัยขิงบริษัทเรื่องการขึ้นราคาสินค้าหรือบริการได้หากเกิดปัญหา
ค่าใช้จ่ายที่ควบคุมไม่ได้เกิดขึ้นมายังไงหละครับ...^^)
ใจเย็นๆครับ คุณ"harikung" ....^^)
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 03, 2013 11:29 pm
โดย chatchai
Plant เขียน:yuta2099 เขียน:บางธุรกิจควรปรับตัวหรือพัฒนาตัวเอง มาต้ังแต่ 15 ปีที่แล้ว แต่ก็ไม่เคยทำ รับจ้างผลิตมาตลอด ค่าเงินแข็งก็แย่ ค่าแรงขึ้นก็ตาย มันก็ต้องเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นแหละ อยู่ไม่ได้ก็ต้องเลิก ยังไงก็ตามคนงานไม่อดตายแน่ วันนี้มีหลายอุตสาหกรรมต้องการแรงงาน ไม่หมือน 40 แม้คนงานขอค่าแรงครึ่งเดียวสุดท้ายบริษัทก็อยู่ไม่ได้ หลายคนชอบคิดว่าจะเกิดวิกฤตจากค่าแรง ผมเชื่อว่าไม่เกิดครับ วิกฤตจะเกิดกับนายทุนที่ไม่เคยพัฒนาต่างหาก
ในมุมมองผม ผมมองว่าพวกนี้จะเกิดเป็นลูกโซ่ครับ เมื่อค่าแรงขึ้น ผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
ขึ้นแต่ไม่สามารถพัฒนาตัวบริษัทต่อได้เร็วพอกับค่าแรงที่ขึ้นมา ก็ต้องไปเพิ่มรายได้จากตัวสินค้า
หรือบริการแก่ลูกค้าแทนครับ แล้วถ้าเป็นบริษัทรับจ้างผลิตก็จะไปเพิ่มต้นทุนให้กับบริษัทที่ว่าจ้าง
ผลิตครับ แล้วผู้ที่นำสินค้าส่วนสุดท้ายของการผลิตออกขายสู่ประชาชนก็จะไปเพิ่มราคาสินค้าที่ขาย
สุดท้ายก็จะกลายเป็นค่าแรงไม่พอค่ากินเหมือนเดิมครับ!!! ก็ต้องขอขึ้นค่าแรงเป็นวงจรกันต่อไป...-_-)
ดังนั้นตามแนวทางของ vi จึงต้องมองปัจจัยขิงบริษัทเรื่องการขึ้นราคาสินค้าหรือบริการได้หากเกิดปัญหา
ค่าใช้จ่ายที่ควบคุมไม่ได้เกิดขึ้นมายังไงหละครับ...^^)
ใจเย็นๆครับ คุณ"harikung" ....^^)
ถ้ากิจการขึ้นราคาสินค้าและบริการได้ตามต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ก็แสดงว่ากิจการมีอำนาจเหนือลูกค้าพอสมควร ถึงได้ผลักภาระให้ลูกค้าได้ แต่คงไม่ง่ายแบบนั้น ถ้ามีกิจการอื่นที่สามารถผลิตสินค้าหรือบริการด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าได้ และยังคงเสนอขายในราคาเดิม
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 04, 2013 8:44 am
โดย Plant
chatchai เขียน:Plant เขียน:yuta2099 เขียน:บางธุรกิจควรปรับตัวหรือพัฒนาตัวเอง มาต้ังแต่ 15 ปีที่แล้ว แต่ก็ไม่เคยทำ รับจ้างผลิตมาตลอด ค่าเงินแข็งก็แย่ ค่าแรงขึ้นก็ตาย มันก็ต้องเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นแหละ อยู่ไม่ได้ก็ต้องเลิก ยังไงก็ตามคนงานไม่อดตายแน่ วันนี้มีหลายอุตสาหกรรมต้องการแรงงาน ไม่หมือน 40 แม้คนงานขอค่าแรงครึ่งเดียวสุดท้ายบริษัทก็อยู่ไม่ได้ หลายคนชอบคิดว่าจะเกิดวิกฤตจากค่าแรง ผมเชื่อว่าไม่เกิดครับ วิกฤตจะเกิดกับนายทุนที่ไม่เคยพัฒนาต่างหาก
ในมุมมองผม ผมมองว่าพวกนี้จะเกิดเป็นลูกโซ่ครับ เมื่อค่าแรงขึ้น ผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
ขึ้นแต่ไม่สามารถพัฒนาตัวบริษัทต่อได้เร็วพอกับค่าแรงที่ขึ้นมา ก็ต้องไปเพิ่มรายได้จากตัวสินค้า
หรือบริการแก่ลูกค้าแทนครับ แล้วถ้าเป็นบริษัทรับจ้างผลิตก็จะไปเพิ่มต้นทุนให้กับบริษัทที่ว่าจ้าง
ผลิตครับ แล้วผู้ที่นำสินค้าส่วนสุดท้ายของการผลิตออกขายสู่ประชาชนก็จะไปเพิ่มราคาสินค้าที่ขาย
สุดท้ายก็จะกลายเป็นค่าแรงไม่พอค่ากินเหมือนเดิมครับ!!! ก็ต้องขอขึ้นค่าแรงเป็นวงจรกันต่อไป...-_-)
ดังนั้นตามแนวทางของ vi จึงต้องมองปัจจัยขิงบริษัทเรื่องการขึ้นราคาสินค้าหรือบริการได้หากเกิดปัญหา
ค่าใช้จ่ายที่ควบคุมไม่ได้เกิดขึ้นมายังไงหละครับ...^^)
ใจเย็นๆครับ คุณ"harikung" ....^^)
ถ้ากิจการขึ้นราคาสินค้าและบริการได้ตามต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ก็แสดงว่ากิจการมีอำนาจเหนือลูกค้าพอสมควร ถึงได้ผลักภาระให้ลูกค้าได้ แต่คงไม่ง่ายแบบนั้น ถ้ามีกิจการอื่นที่สามารถผลิตสินค้าหรือบริการด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าได้ และยังคงเสนอขายในราคาเดิม
เรื่องนี้มีหลายประเด็น หลายแง่หลายมุมครับ คุณ "chatchai" เพราะเรื่องนี้มีส่วนเกี่ยวข้องถึง
ความสัมพันธ์กันของธุรกิจด้วยครับ ในประเด็นนี้พูดถึงในเรื่องรับจ้างผลิต ในงานที่ผมอยู่เป็นการ
รับจ้างผลิตเช่นกัน บางครั้งลูกค้าไม่ได้เลือกเราเพราะผลิตถูกกว่า แต่เกิดจากการบริการที่ดีกว่า
การผลิตของบางอย่างต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ การลองผิดลองถูกพอสมควรครับ
ผู้ว่าจ้างจึงไม่ค่อยอยากเปลี่ยนฐานการผลิตเพราะมีต้นทุนอื่นๆตามมา แต่ถามว่าโดยปกติแล้วผู้ว่าจ้าง
ก็มีการไปหาเจ้าอื่นๆที่ถูกกว่าหรือไม่ ก็ขอตอบว่ามีเป็นเรื่องธรรมดาครับ ยังไงคนก็ต้องหาของที่ถูกกว่า
อยู่แล้ว ดังนั้นการสู้กันจริงๆคือการพัฒนาจุดเด่นอื่นๆขิงบริษัทขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าอยู่กับเรา มากกว่าที่จะ
ขายสินค้าให้ราคาถูกกว่าเจ้าอื่นครับ
ปล.เป็นมุมมองของผม ที่ทำธุรกินรับจ้างผลิตครับ...^^)
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 04, 2013 8:50 am
โดย chatchai
Plant เขียน:chatchai เขียน:Plant เขียน:yuta2099 เขียน:บางธุรกิจควรปรับตัวหรือพัฒนาตัวเอง มาต้ังแต่ 15 ปีที่แล้ว แต่ก็ไม่เคยทำ รับจ้างผลิตมาตลอด ค่าเงินแข็งก็แย่ ค่าแรงขึ้นก็ตาย มันก็ต้องเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นแหละ อยู่ไม่ได้ก็ต้องเลิก ยังไงก็ตามคนงานไม่อดตายแน่ วันนี้มีหลายอุตสาหกรรมต้องการแรงงาน ไม่หมือน 40 แม้คนงานขอค่าแรงครึ่งเดียวสุดท้ายบริษัทก็อยู่ไม่ได้ หลายคนชอบคิดว่าจะเกิดวิกฤตจากค่าแรง ผมเชื่อว่าไม่เกิดครับ วิกฤตจะเกิดกับนายทุนที่ไม่เคยพัฒนาต่างหาก
ในมุมมองผม ผมมองว่าพวกนี้จะเกิดเป็นลูกโซ่ครับ เมื่อค่าแรงขึ้น ผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
ขึ้นแต่ไม่สามารถพัฒนาตัวบริษัทต่อได้เร็วพอกับค่าแรงที่ขึ้นมา ก็ต้องไปเพิ่มรายได้จากตัวสินค้า
หรือบริการแก่ลูกค้าแทนครับ แล้วถ้าเป็นบริษัทรับจ้างผลิตก็จะไปเพิ่มต้นทุนให้กับบริษัทที่ว่าจ้าง
ผลิตครับ แล้วผู้ที่นำสินค้าส่วนสุดท้ายของการผลิตออกขายสู่ประชาชนก็จะไปเพิ่มราคาสินค้าที่ขาย
สุดท้ายก็จะกลายเป็นค่าแรงไม่พอค่ากินเหมือนเดิมครับ!!! ก็ต้องขอขึ้นค่าแรงเป็นวงจรกันต่อไป...-_-)
ดังนั้นตามแนวทางของ vi จึงต้องมองปัจจัยขิงบริษัทเรื่องการขึ้นราคาสินค้าหรือบริการได้หากเกิดปัญหา
ค่าใช้จ่ายที่ควบคุมไม่ได้เกิดขึ้นมายังไงหละครับ...^^)
ใจเย็นๆครับ คุณ"harikung" ....^^)
ถ้ากิจการขึ้นราคาสินค้าและบริการได้ตามต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ก็แสดงว่ากิจการมีอำนาจเหนือลูกค้าพอสมควร ถึงได้ผลักภาระให้ลูกค้าได้ แต่คงไม่ง่ายแบบนั้น ถ้ามีกิจการอื่นที่สามารถผลิตสินค้าหรือบริการด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าได้ และยังคงเสนอขายในราคาเดิม
เรื่องนี้มีหลายประเด็น หลายแง่หลายมุมครับ คุณ "chatchai" เพราะเรื่องนี้มีส่วนเกี่ยวข้องถึง
ความสัมพันธ์กันของธุรกิจด้วยครับ ในประเด็นนี้พูดถึงในเรื่องรับจ้างผลิต ในงานที่ผมอยู่เป็นการ
รับจ้างผลิตเช่นกัน บางครั้งลูกค้าไม่ได้เลือกเราเพราะผลิตถูกกว่า แต่เกิดจากการบริการที่ดีกว่า
การผลิตของบางอย่างต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ การลองผิดลองถูกพอสมควรครับ
ผู้ว่าจ้างจึงไม่ค่อยอยากเปลี่ยนฐานการผลิตเพราะมีต้นทุนอื่นๆตามมา แต่ถามว่าโดยปกติแล้วผู้ว่าจ้าง
ก็มีการไปหาเจ้าอื่นๆที่ถูกกว่าหรือไม่ ก็ขอตอบว่ามีเป็นเรื่องธรรมดาครับ ยังไงคนก็ต้องหาของที่ถูกกว่า
อยู่แล้ว ดังนั้นการสู้กันจริงๆคือการพัฒนาจุดเด่นอื่นๆขิงบริษัทขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าอยู่กับเรา มากกว่าที่จะ
ขายสินค้าให้ราคาถูกกว่าเจ้าอื่นครับ
ปล.เป็นมุมมองของผม ที่ทำธุรกินรับจ้างผลิตครับ...^^)
นั่นแหละครับ เป็นสิ่งที่กิจการต่างๆควรจะพัฒนาไปถึงจุดนั้น ขอชื่นชมที่พัฒนาจนมาถึงจุดนี้ได้
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 04, 2013 12:01 pm
โดย Plant
ของผมยังไปไม่ถึงจุดนั้นครับ เพียงแต่ตอนนี้ค้นหาจุดแข็งของบริษัทเจอแล้ว แล้วกำลังจะทำให้มันเป็นจุดเด่นครับ
ขอบคุณครับ....^^)
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 04, 2013 2:21 pm
โดย syj
จับตา "เซรามิกลำปาง" รอวัน "เจ๊งจริง-ปิดจริง"
โดย อัศวิน วงค์หน่อแก้ว
นับตั้งแต่ปี 2549 ชาวอุตสาหกรรมเซรามิกใน จ.ลำปาง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาคู่เมืองลำปางมานานกว่า 100 ปี ต้องทนแบกรับภาระราคาก๊าซแอลพีจี (LPG) ที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการเผาเซรามิก เริ่มขยับปรับราคาสูงขึ้นมาโดยตลอด...
กระทั่งในปี 2555 ที่ผ่านมา แม้ชาวเซรามิกที่ต้องกล้ำกลืนฝืนทนกับความฝืดเคืองของธุรกิจที่ทำอยู่ ได้พากันออกมาชุมนุมเรียกร้องหน้าศูนย์ราชการจังหวัด หรือชุมนุมปิดถนนมาแล้ว แต่เมื่อภาครัฐไม่ให้ความสนใจ ประกาศลอยตัวราคาก๊าซ จึงทำให้โรงงานเซรามิกหลายแห่งทยอยปิดตัวลงไป!
"ธนโชติ วนาวัฒน์" นายกสมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปาง ระบุว่า เซรามิกสร้างรายได้สู่ จ.ลำปาง ปีละกว่า 2,000 ล้านบาท จากโรงงานเซรามิกที่ตั้งอยู่กว่า 200 แห่ง นับเป็นเมืองเซรามิกที่ขึ้นชื่อของประเทศไทยและในต่างแดน เพราะมีโรงงานหลายแห่งส่งสินค้าไปจำหน่ายแถบกลุ่มประเทศยุโรปและโซนอเมริกา เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้าเข้ามา ผลดีส่วนหนึ่งก็ตกอยู่กับพื้นที่ ถือว่าสร้างภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยเฉพาะแรงงานในอุตสาหกรรมเซรามิกที่มีมากกว่า 50,000 คน ทุกคนมีอาชีพเป็นหลักแหล่ง และมีรายได้ที่มั่นคง แต่ทว่าเมื่อเกิดการโยนภาระมายังเจ้าของโรงงานเซรามิก ในเรื่องราคาก๊าซ LPG จึงทำให้หลายโรงงานอยู่ไม่ได้
"นอกจากปัญหาราคาก๊าซแล้ว อุตสาหกรรมเซรามิกของลำปางยังเจอมรสุมชีวิต ทั้งปัญหาเศรษฐกิจด้านการเงินในประเทศแถบยุโรป และอเมริกา ทำให้ยอดสั่งซื้อสินค้าลดลง แต่ราคาก๊าซภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยกลับขยับเพิ่มสูงขึ้นมาเรื่อยๆ ผมเคยนำชาวเซรามิกออกมาชุมนุมเพื่อคัดค้าน แต่ก็ไม่เป็นผลภาครัฐไม่เคยออกมาเยียวยา หรือช่วยเหลือผู้ประกอบการให้เซรามิกลำปางอยู่รอดต่อไป ปัญหาอุตสาหกรรมคู่ท้องถิ่นจึงถูกลอยแพมาโดยตลอด ซึ่งเงื่อนไขที่เคยเสนอไปก็ถูกดองเงียบ เมื่อราคาก๊าซขยับขึ้นเรื่อยๆ โรงงานก็ทยอยปิดตัวลงไป จนถึงวันนี้ผลกระทบจากราคาก๊าซและภาวะเศรษฐกิจ ทำให้โรงงานเซรามิกปิดตัวไปแล้ว 5 แห่ง และต้องจับตาดูอีกว่า จากนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่ปรับขึ้นค่าแรงแบบก้าวกระโดดจะซ้ำเติมโรงงานให้ปิดตัวลงอีกกี่แห่ง"
ด้าน "อิทธิภูมิ กำธรวรรินทร์" กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และเจ้าของโรงงานเซรามิกใน ต.สบตุ๋ย อ.เมือง จ.ลำปาง เผยว่า ถึงแม้แต่ละโรงงานเซรามิกจะปรับตัวจ้างแรงงาน จากรายวันเป็นรายชิ้นแล้ว หรือรายจ้างเหมาเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไปได้แล้ว แต่ยังหนีไม่พ้นความเสี่ยงของการปิดตัว เพราะต้นทุนทั้งหมดในกระบวนการผลิตอยู่ในระดับเพดานที่สูงมาก โดยเฉพาะราคาก๊าซ LPG ที่ชาวเซรามิกซื้อมาใช้เผาเซรามิกกันทุกวัน นับเป็นราคาที่สูงเป็นประวัติการณ์
"บวกกับค่าแรงแบบก้าวกระโดดของจังหวัดลำปาง จากปกติ 165 บาทต่อวัน เป็น 300 บาทต่อวัน ตัวเลขที่เห็นกันชัดๆ ที่คิดคำนวณกำไร ต้นทุน และค่าใช้จ่ายต่างๆ รู้เลยว่าไม่มีผู้ประกอบการคนใดรับไหว เพราะนั่นหมายถึงทุนหาย-กำไรหมด จะขึ้นราคาสินค้าให้มีกำไรก็ทำได้ยาก ฉะนั้นสิ่งไหนที่ลดต้นทุนได้ก็ต้องทำ ด้วยการปรับทุกรูปแบบ เพื่อให้อุตสาหกรรมเซรามิกสินค้าขึ้นชื่อของลำปางอยู่รอดต่อไปได้ ไม่ล่มสลายลงไป"
"อิทธิภูมิ" ระบุว่า ส่วนโรงงานไหนที่ยอมจ่ายและทนกับพิษค่าแรง 300 บาท ตามนโยบายรัฐบาล ก็จะเห็นผลของพิษในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าว่าจะอยู่หรือจะไป แต่หลายโรงงานที่ได้มีโอกาสพูดคุยกัน ทำให้ทราบว่าจะทยอยไปมากกว่าร้อยละ 20 นั่นหมายถึงแรงงานในระบบซึ่งเป็นชาวลำปางจะต้องตกงานกว่า 2,000 คน ทุกวันนี้ภาครัฐไม่ฟังเสียงของผู้ประกอบการเซรามิก ว่าได้รับผลกระทบจริง จะปิดตัวลงจริง ทำให้โรงงานบางแห่งที่หมดหวังแนวทางในการเยียวยาช่วยเหลือ ต้องปิดตัวลงไปแบบเงียบๆ ถึงแม้รัฐบาลจะประกาศออกมาว่า ไม่มีโรงงานเซรามิกปิดตัวลงจากนโยบายค่าแรง แต่แท้ที่จริงแล้วมีแน่นอน
"ยกตัวอย่างโรงงานแรกที่ในอดีตคนลำปางเป็นเจ้าของ เมื่อทำไม่ไหวก็ขายให้ชาวไต้หวัน ลงทุนทำอุตสาหกรรมต่อ เมื่อคนต่างแดนเห็นว่าแบกรับภาระไม่ไหว ก็ต้องเปลี่ยนมือขึ้นป้ายประกาศขายโรงงานทิ้ง ส่วนโรงงานกระเบื้องเซรามิก ที่ขณะนี้ยังคงเปิดกิจการอยู่ ยังมีสินค้าที่ต้องทำและส่งให้กับลูกค้า แต่ได้มีการประกาศขายที่ดิน นั่นหมายถึงตัวโรงงานด้วย ขอยืนยันว่าโรงงานนี้ไม่ไหวอีกเช่นกันที่ต้องทนจ่ายค่าแรงที่สูง แต่ที่ยังไม่ปิดตัวลงไปเพราะต้องดูแลลูกค้าและรักษาเครดิตของโรงงาน ที่ยังคงค้ำคอให้ฝืนทำต่อไป แบบไม่สามารถแจ้งให้ภาครัฐได้ทราบถึงการปิดตัวอย่างแท้จริง เพราะชื่อของโรงงานจะต้องเสียออกไป หากมีการประกาศว่าจะปิดตัวลง
"ในพื้นที่ จ.ลำปางนั้น มีโรงงานเซรามิกทุกขนาดได้ปิดตัวลงจากปัญหาทุกเรื่อง ที่แบกรับต้นทุนไม่ไหว จนถึงปัญหาค่าแรง 300 บาท ไปเป็นจำนวนหลายแห่ง แต่เจ้าของโรงงานเซรามิกทั้งหมด จะไม่ประกาศให้สังคมได้รับรู้โดยทั่วไป เพราะหากประกาศให้เห็นเด่นชัด จะเกิดปัญหาตามมา ในเรื่องการตรวจสอบภาษีย้อนหลังของกรมสรรพากร ฉะนั้นแต่ละโรงงานที่ไม่ไหว จึงต้องปิดตัวลงอย่างเงียบๆ พวกเราชาวเซรามิกรู้ตัวกันดีว่า มรสุมชีวิตและสัญญาณเจ๊งได้คืบคลานเข้ามา ตั้งแต่ราคาก๊าซ LPG ในภาคอุตสาหกรรม ได้ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี และทุกคนก็รอวันระเบิดเวลา จากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทอีกเช่นกัน"
"อิทธิภูมิ" ทิ้งท้ายว่า ที่ผ่านมาเสียงคัดค้านของชาวเซรามิกใน จ.ลำปาง เชื่อมั่นว่าถึงหูของรัฐบาลอย่างแน่นอน แต่ไม่มีสิ่งใดที่จะยับยั้งนโยบายประชานิยมนี้ได้ จึงส่งผลพ่นพิษอย่างหนักหน่วงให้กับผู้ประกอบการและแรงงานเซรามิกอยู่ไม่ได้ ก็ต้องปิดหนังชีวิตเรื่องนี้ลงไปแบบไม่สวยงามมากนัก โดยที่ยังมีโรงงานเซรามิกทั้งที่ขึ้นทะเบียนและไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมธุรกิจการค้า รอวันปิดตัวลงกับหนังชีวิตเรื่องนี้ อย่างที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น
"ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล อนุรักษ์ช้างไทยให้ลือโลก" นี่คือคำขวัญจังหวัดลำปาง เมืองล้านนาใจกลางภาคเหนือ ซึ่งเป็นเมืองดินขาวผลิตเซรามิกชั้นดีที่สุดในประเทศ สร้างชื่อเสียงก้องไกลไปถึงต่างแดน
"เซรามิก" หรือเครื่องปั้น ถูกระบุอยู่ในอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของคำขวัญที่ว่า "เครื่องปั้นลือนาม" แต่เมื่อมรสุมชีวิตหนักขึ้น โรงงานเซรามิกจะทยอยปิดลง เหลือเป็นเพียงตำนานในเร็ววันนี้หรือไม่!?!
ต้องจับตาติดตามกันต่อไป...
ที่มา มติชนรายวัน
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=1900
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.พ. 09, 2013 10:20 pm
โดย Little Duck
ผมว่าค่าแรงขั้นต่ำก่อนปรับต่ำจริง แต่ฝีืมือแรงงานก็ต่ำด้วยใช่หรือไม่
การขึ้นค่าแรง 300 บาทสมควร แต่การขึ้นแบบหักดิบและไม่มีแนวทางในการปรับโครงสร้างฝีมือแรงงานสมควรหรือไม่
แนวทางที่รัฐบาลทำ ผมว่่าเราก็รู้กันอยู่นะครับว่าวัตถุประสงค์จริง ๆ แล้วเพื่ออะไร
แล้วที่ผมได้ลองถามกับแรงงานรายวันว่ารายได้เป็นอย่างไร หลาย ๆ คนกลับบอกว่ารายได้ลดลง (ลด OT) และผมเชื่อว่าคนเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่อยู่ในสถานภาพจะพัฒนาได้ด้วยตนเอง ต้องได้รับการสนับสนุนจากองค์กรหรือรัฐ
ถ้าปรับค่าแรง แต่ก็ต้องพัฒนาฝืมือขึ้นไปรองรับค่าแรงที่สูงขึ้น ก็แสดงว่าค่าแรงที่ผ่านมาไม่ได้ต่ำเกินไปจริง ๆ
ดังนั้นเหตุผลน่าจะเป็นว่าอุตสาหกรรมของไทยต้องปรับเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมแรงงานไปเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเพราะอนาคตเราจะแข่งขันเรื่องต้นทุนไม่ได้ น่าจะถูกต้องมากกว่านะครับ
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 13, 2013 8:37 am
โดย syj
นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ที.เค.การ์เมนต์ จำกัด ผู้ผลิตเสื้อผ้ายี่ห้อดังของต่างประเทศ เปิดเผยว่า กลุ่ม ที.เค.การ์เมนต์ ได้เข้าร่วมทุนกับนักธุรกิจชาวกัมพูชาวงเงิน 500-600 ล้านบาท เพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมศรีโสภณ อินดัสทรี ที่ จ.ศรีโสภณ ประเทศกัมพูชา พื้นที่ 400 ไร่ รองรับการย้ายฐานการผลิตของผู้ประกอบการไทยที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ที่ต้องการหลีกเลี่ยงค่าแรง 300 บาทต่อวันในไทย เพราะค่าแรงในกัมพูชาเฉลี่ย 80-90 บาทต่อวันเท่านั้น โดยพื้นที่ทั้งหมดสามารถรองรับโรงงานได้ 20-30 แห่ง หากพื้นที่เต็มสามารถขยายพื้นที่ได้อีก
"ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการรายใหญ่และเอสเอ็มอีหลายรายติดต่อตั้งโรงงานในนิคมศรีโสภณแล้ว อาทิ ผู้ผลิตรองเท้าของกลุ่มสหพัฒน์กลุ่มเฟอร์นิเจอร์จาก จ.พระนครศรีอยุธยา โรงสีข้าว จ.นครสวรรค์ กลุ่มโลจิสติกส์ และกลุ่มเครื่องนุ่งห่มอีกหลายแห่ง" นายทวีกิจกล่าว
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0000
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 13, 2013 9:48 am
โดย Sumotin
Little Duck เขียน:ผมว่าค่าแรงขั้นต่ำก่อนปรับต่ำจริง แต่ฝีืมือแรงงานก็ต่ำด้วยใช่หรือไม่
การขึ้นค่าแรง 300 บาทสมควร แต่การขึ้นแบบหักดิบและไม่มีแนวทางในการปรับโครงสร้างฝีมือแรงงานสมควรหรือไม่
แนวทางที่รัฐบาลทำ ผมว่่าเราก็รู้กันอยู่นะครับว่าวัตถุประสงค์จริง ๆ แล้วเพื่ออะไร
แล้วที่ผมได้ลองถามกับแรงงานรายวันว่ารายได้เป็นอย่างไร หลาย ๆ คนกลับบอกว่ารายได้ลดลง (ลด OT) และผมเชื่อว่าคนเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่อยู่ในสถานภาพจะพัฒนาได้ด้วยตนเอง ต้องได้รับการสนับสนุนจากองค์กรหรือรัฐ
ถ้าปรับค่าแรง แต่ก็ต้องพัฒนาฝืมือขึ้นไปรองรับค่าแรงที่สูงขึ้น ก็แสดงว่าค่าแรงที่ผ่านมาไม่ได้ต่ำเกินไปจริง ๆ
ดังนั้นเหตุผลน่าจะเป็นว่าอุตสาหกรรมของไทยต้องปรับเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมแรงงานไปเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเพราะอนาคตเราจะแข่งขันเรื่องต้นทุนไม่ได้ น่าจะถูกต้องมากกว่านะครับ
ผมว่าอันนี้ก็มองมุมเดียวไปนะครับ ที่บอกแรงงานไม่มีฝีมือผมว่าไม่จริง แรงงานกับงานมันต้อง match กัน ธุรกิจที่ค่าแรงต่ำปกติก็เป็นธุรกิจที่ไม่ได้ใช้ฝีมือแรงงานอะไรอยู่แล้ว เมื่อเป็นธุรกิจที่ขึ้นกับแรงงานอย่างเดียว ผู้ประกอบการก็พยายามไม่ขึ้นค่าแรงอยู่แล้วเป็นธรรมดา แต่ต้องถามย้อนกลับไปว่าผู้ประกอบการอยากพัฒนาหรือเปล่า หรือขายอย่างที่เป็นๆมาก็พอ ถ้าเป็นเช่นนั้นไม่นานประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่าก็ต้องมาแทนที่อยู่ดี
ถ้าอยากให้ภาคแรงงานมีฝีมือมากขึ้น ธุรกิจก็ต้องพัฒนาเหมือนกันไม่งั้นถึงมีฝีมือก็ไม่ได้งานที่ทำคุ้มกับความสามารถอยู่ดี ก็จะเกิดการสมองไหลไปทำงานเมืองนอกแทน การที่รัฐขึ้นค่าแรงทันทีก็เป็นการปรับฐานของคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ (อย่ามองแค่ตัวเรานะครับ เราอาจจะมีโอกาส มีความรู้เยอะกว่าคนอื่น แต่คนอื่นๆที่ไม่มีโอกาสเขาก็ควรได้รับบ้างเหมือนกัน) ทั้งที่ผ่านมาค่าครองชีพขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีเงินมีอะไรมากขึ้นความกังวลเกี่ยวกับฐาน หรือการส่งเสริมลูกหลายให้ได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นมันก็จะตามมาเองครับ ให้ปากกัดตีนถีบไปวันๆ ไม่มีเวลาคิดอะไรแล้วครับ
ผมยกตัวอย่างเพื่อนผมเป็นผู้รับเหมา โทรมาบ่นกับผมเรื่องค่าแรงขึ้นต้องหารายได้เพิ่มอีกเท่านั้นเท่านี้ แต่ผมดูมันเองก็ขับเบนซ์ กินดีอยู่ดี ไปเที่ยวต่างประเทศ ผมจึงเห็นว่าเหตุมันเกินจากการได้ลดลง หรือไม่พยายามหารายได้มาเพิ่มเอง (ขี้เกียจ)
ส่วนประเด็นเรื่องการเปลี่ยนอุตสาหกรรมไปเป็นเทคโนโลยี ผมมองกลับอีกมุมของคุณ Little Duck ครับ ผมมองว่างานต้องมาก่อนแล้วแรงงานจะตามมาเองถ้าผลตอบแทนสูงพอ ถ้ารอให้แรงงานมีแต่ไม่มีงานทำก็ไม่มีใครอยากฝึกตัวเองไปในสาขานั้นๆหรอกครับ เพราะผลตอบแทนมันเป็น negative หรือไปอีกทางหนึ่งคือไปทำที่เมืองนอกแทน
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 15, 2013 12:02 am
โดย Little Duck
ผมเห็นด้วยกับที่คุณ sumotin แย้งมานะครับ ผมอาจจะเขียนแค่ด้านเดียวเกินไปไม่ได้สื่อในด้านนั้น
เรื่องนี้ถือว่ามี 2 ด้านคือ ค่าแรง กับ ฝีืมือแรงงาน
สิ่งที่ผมอยากจะสื่อคือ ค่าแรงเราปรับทันทีแล้วเกิดอะไรขึ้น
ของแพง ค่าครองชีพขึ้นไปก่อนค่าแรงอีก
ธุรกิจบางอย่าง ต้นทุนเพิ่มหาทางลด คชจ ไม่รับคนเพิ่ม ลดคน ลดค่าแรง (ไม่มี ot รายไ้ด้รวมลดลง, รวมสวัสดิการอื่นไปเป็นค่าแรง)
ธุรกิจบางอย่าง ต้นทุนเพิ่มทำต่อไม่ไหวย้านฐาน, เลิกธุรกิจ ลอยแพ
กลายเป็นแรงงานที่เราหวังดี เป็นผู้เดือดร้อนเอง
ประมาณว่า 300 นะ แต่ไม่ใช่ได้ทุกคน
ค่าแรงควรขึ้นครับ แต่น่าจะมีวิธีที่ดีกว่านี้
(จริง ๆ อยากโยงไปนโยบายอื่น แต่เดี๋ยวจะการเมืองเกินไป)
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 15, 2013 8:00 pm
โดย Pun08
Little Duck เขียน:ผมเห็นด้วยกับที่คุณ sumotin แย้งมานะครับ ผมอาจจะเขียนแค่ด้านเดียวเกินไปไม่ได้สื่อในด้านนั้น
เรื่องนี้ถือว่ามี 2 ด้านคือ ค่าแรง กับ ฝีืมือแรงงาน
สิ่งที่ผมอยากจะสื่อคือ ค่าแรงเราปรับทันทีแล้วเกิดอะไรขึ้น
ของแพง ค่าครองชีพขึ้นไปก่อนค่าแรงอีก
ธุรกิจบางอย่าง ต้นทุนเพิ่มหาทางลด คชจ ไม่รับคนเพิ่ม ลดคน ลดค่าแรง (ไม่มี ot รายไ้ด้รวมลดลง, รวมสวัสดิการอื่นไปเป็นค่าแรง)
ธุรกิจบางอย่าง ต้นทุนเพิ่มทำต่อไม่ไหวย้านฐาน, เลิกธุรกิจ ลอยแพ
กลายเป็นแรงงานที่เราหวังดี เป็นผู้เดือดร้อนเอง
ประมาณว่า 300 นะ แต่ไม่ใช่ได้ทุกคน
ค่าแรงควรขึ้นครับ แต่น่าจะมีวิธีที่ดีกว่านี้
(จริง ๆ อยากโยงไปนโยบายอื่น แต่เดี๋ยวจะการเมืองเกินไป)
อันนี้เห็นด้วยเลย ค่าแรงปรับขึ้นประมาณ 17% ปัญหาตามมาคือ
บ. ลดคน ลดโอที ลดสวัสดิการ เช่นรถรับส่ง รปภ แม่บ้าน อื่นๆ อันใหนลดได้ลดหมด ปรับเป็น 300 มันไม่ใช่แค่ปรับคนที่ยังไม่ถึง 300 มันต้องดูแลคนเก่าๆ ที่ทำงานมานาน 4-5 ปี ค่าแรง 300 กว่าๆ คนมาใหม่ได้ ทันที 300 จะไม่ดูแลกลุ่มนี้ก็ไม่ได้เพราะเป็นแรงงานมีประสบการณ์ ก็ต้องปรับให้มี gap ห่างกัน
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 15, 2013 10:16 pm
โดย noname
บางทีพวกเราคงชอบเลือกมองเหรียญเพียงด้านเดียว เพราะมันทำให้ฝ่ายตรงข้ามเสียหาย เเต่ฝ่ายเราดูดีหรือถูกต้อง เเต่ถ้าเรามองอีกด้านของเหรียญโดยปราศจากอคติ เราจะเห็นว่ามันก็อาจมีข้อดีบ้าง หรืออาจจะดีกว่าอีกด้านเสียอีก
ผมเชื่อว่าทุกอย่างต้องมีการเปลี่ยนเเปลงไป ไม่เร็วก็ช้า เเล้วเราจะเปลี่ยนมัน หรือให้คนอื่นมาเปลี่ยนเราหละ....ครับ