เกิดเหตุปฏิวัติ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกิดเหตุปฏิวัติ

โพสต์ที่ 61

โพสต์

ขอสังเกตครับ
อย่างแรก ก่อนหน้าที่เกิดเหตุการณ์ ปฏิวัติ มีปัญหาเรื่องเงินที่ใช้ในโครงการรับจำนำข้าว ไม่สามารถจัดหาได้ แต่ตอนนี้จัดหาได้แล้ว ด้วยการกู้เงินจำนวน 9หมื่นล้านบาท
อย่างที่สอง ต่อเนื่องจากโครงการจำนำข้าวคือ เงินไม่มา แถมมีการจัดการเลือกตั้งอีก มันเป็นการประกันเรื่องคะแนนเสียงหรือเปล่า

สิ่งที่ผมสังเกตเห็นคือ
เมื่อจัดหนักจัดเต็ม เอาใจประชาชน ด้วยการอัดเม็ดเงินลงมาในระบบทันที แบบไม่รอดช้า เนื่องจากปลดล็อคสิ่งต่างๆที่ล็อคไว้หลายต่อหลายชั้นออกเสียก่อน มาดูกัน

นโยบายที่กู้มา 9 หมื่นล้านบาท มาใช้ในโครงการจำนำข้าวนั้นเป็นนโยบายการคลัง กู้มาใช้ก่อน ทำให้เงินเกิดการไหลเวียนในระบบมากขึ้น จากเดิมที่เงินไม่ไหลเวียนในระบบเหมือนน้ำที่ขังไว้จนเน่า แต่หากมีการไหลเวียนของน้ำเกิดขึ้น น้ำไม่มีการเน่าเกิดขึ้นได้ นอกจากคนไปปล่อยมลพิษลงแหล่งน้ำเท่านั้น

เมื่อเงินไหลเข้าระบบ มีสูตรคำนวณของทางเศรษฐศาสตร์คือ Multiplier (ตัวทวีคูณ) เมื่ออัดเงินเข้าระบบแล้ว เงินนั้นไหลเวียนในระบบได้กี่รอบ นั้นคือ เงินมันขยายตัวจากที่ใส่ไป 9 หมื่นล้านบาทเริ่มต้น ขยายให้เกิดการซื้อสินค้า บริการ และอื่นๆ ทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าไปได้

อีกตัวที่มาพยุงคือ เงินจากภาษีสรรพาสามิต รถยนต์คันแรกอีก 6 พันล้านบาท อันนี้ กกต เพิ่งจะอนุมัติ จากมติคำขอของรัฐบาลรักษาก่อน ให้สามารถจ่ายโครงการนี้ได้ในเดือน มิย- กค 2557

ที่สังเกตเห็นอีกคือ
คำสั่งมาตอนละครมา แบบกลางๆเรื่องคือประมาณ 2100 น.
ส่วนตอนเย็น 1800 น. เป็นการแถลงการณ์

หวังว่า Mod ไม่หิ้วความเห็นนี้ละ
:)
:)
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 0

Re: เกิดเหตุปฏิวัติ

โพสต์ที่ 62

โพสต์

การเมืองไม่เอาครับ
ตอนนี้ผมอดดูข่าวทางทีวีจากตปทและจากมันนีชันแนล
เดี๋ยวผมอาจจะอดอ่านในไทยวีไออีก555
cobain_vi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 358
ผู้ติดตาม: 0

Re: เกิดเหตุปฏิวัติ

โพสต์ที่ 63

โพสต์

picatos เขียน:
SawScofield เขียน:...

เห็นพี่ picatos พูดถึงการลงทุนในต่างประเทศ ไม่ทราบว่ามีข้อแนะนำหรือข้อควรระวังกับการออกนอกพื้นที่ที่เราคุ้นเคยอย่างไรบ้างครับ รวมถึง structural change ที่พี่ได้พบมา พอจะมีกรณีตัวอย่างให้น้องๆศึกษาต่ออย่างไรบ้างครับ

ขอบคุณล่วงหน้านะครับพี่ ^/\^
สำหรับผม การลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ถ้าไม่ติดเรื่องกฎเกณฑ์ในการนำเงินเข้าออก และเรื่องภาษี ผมมองการลงทุนในกิจการต่างประเทศ เหมือนกับการลงทุนกิจการในไทยเลยครับ

ทั้งนี้ทั้งนั้นช่วงหลังๆ ผมจะลงทุนในกิจการที่ผมเข้าใจ เป็นกิจการที่ทำสินค้าและบริการที่ผมใช้บริการอยู่แล้ว ถ้าเป็นกิจการที่ผมเข้าไม่ถึง ไม่ได้ใช้บริการ จำเป็นต้องศึกษาในเชิงลึก ต้องคุยกับผู้บริหาร Sensitive กับ กฎหมายหรือลูกค้ามากๆ นี่ผมจะผ่านเลยครับ เนื่องจากในช่วงหลังๆ Life Style ของผมจำเป็นต้องออกจากตลาดไปทีนึง 2-3 เดือน ดังนั้นจึงสามารถลงทุนได้แต่กิจการที่ภาพใหญ่แข็งแรงจริงๆ ถ้ากิจการที่ยังไม่แข็งแรง Sensitive กับข้อมูลในเชิงลึกมากๆ นี่หากทิ้งตลาดไป เกิดอะไรสักอย่างที่ผิดความคาดหมายขึ้นมา หายนะมาเยือนแน่นอน และผลของการลงทุนที่ภาพใหญ่จริงๆ เลยทำให้การเลือกกิจการลงทุนในไทยหรือต่างประเทศไม่ได้ต่างกันมากนัก

แต่ถ้าหาก Style การลงทุนของเราเป็นพวกเจาะลึก ต้องคุยกับผู้บริหารถึงโครงการใหม่ๆ Sensitive กับความสำเร็จล้มเหลวของโครงการมากๆ ขอบเขตการเข้าถึงข้อมูลในการลงทุนต่างประเทศคงจะทำได้ไม่ถึงกับระดับที่เราทำได้ในไทย

ดังนั้นสำหรับผม ผมไม่ได้รู้สึกว่าผมออกจากพื้นที่ๆ ผมคุ้นเคย แต่กลับรู้สึกว่าได้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ๆ ผมเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้นด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะโดยพื้นฐานการศึกษาของผมแล้ว ผมรัก หลงใหล และศึกษาคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่ ป.2 เรียนจบทางด้านวิศวฯ คอมฯ ดังนั้นการบริโภคข่าวสารข้อมูลทางด้านเทคโนโลยี หรือความเข้าใจในทางเทคโนโลยนีนี่น่าจะอยู่ในสายเลือดระดับหนึ่ง การได้ไปลงทุนในต่างประเทศที่มีบริษัททางด้านเทคโนโลยีทำให้เราได้ใช้องค์ความรู้ที่เรามีอยู่จริงๆ ในขณะที่เราไม่สามารถหากิจการแบบนี้ได้ในไทยเลย

การติดตามการลงทุน ผมก็ติดตามภาพใหญ่ ติดตามปัจจัยเชิงคุณภาพ และผลการดำเนินงานที่ออกมาสะท้อนปัจจัยเชิงคุณภาพที่เปลี่ยนแปลงไป แถมกิจการที่ผมลงทุนเป็นกิจการที่ผมใช้บริการอยู่ทุกวัน หรือเป็นระยะๆ (กิจการพวก Software ที่รายได้หลักมาจากโฆษณาและการท่องเที่ยว) ข่าวพัฒนาการทางด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของกิจการที่เราลงทุนก็มีมาให้อ่านวันหนึ่งมากมาย เรียกว่าข่าวที่มีให้อ่านมีมากกว่ากิจการในไทยเสียอีก ก็เลยทำให้ติดตามได้ไม่ยาก เวลาประกาศงบเค้าก็จะมี Conference Call ประชุมประจำปีก็มี WebCast ให้ดู นักวิเคราะห์และคนที่ทำบทความให้อ่านก็มีมากมาย ติดตามได้ไม่ยากเลยครับ

สำคัญคือ กิจการต่างประเทศที่เราลงทุน เราต้องเป็นกิจการที่เราเข้าใจ ได้สัมผัส และใช้บริการมัน ถ้าจะให้ผมไปลงทุนกิจการที่ผมไม่เคยใช้บริการ ผมก็ไม่รู้ว่าจะไปลงทุนอย่างไร เหมือนกับกิจการในไทยที่ทำโรงงานแปลกๆ ที่เราไม่รู้จักทั้งผลิตภัณฑ์ ลูกค้า กระบวนการผลิต ทำได้แค่เอาแผนที่ผู้บริหารมาขายฝันเรา มาทำ Financial Projection ได้แค่ 1-2 ปี แล้วเราก็ไม่รู้ว่าหลังจากนั้นจะเป็นอย่างไร อันนี้ผมก็ขอผ่าน ซึ่งภาพของการลงทุนในต่างประเทศ หากเป็นกิจการที่เราไม่เคยใช้ ไม่ได้ใช้ ถึงใครจะบอกว่าดีขนาดไหน ก็จำเป็นต้องผ่านเหมือนกัน

ทีนี้ในส่วนของ Structural Change ตัวอย่างที่พอจะเห็นภาพ ก็อย่างเช่น
- Modern Trade ที่เข้ามาแทนที่ Traditional Trade
- การทำธุรกรรมทางออนไลน์ต่างๆ ที่เข้ามาแทนที่ Physical
- โฆษณาทาง Digital ที่เข้ามาแทนที่ Physical
- Technology, Robot, AI ที่เข้ามาแทนที่พนักงานที่ทำงานเป็น Routine ทำให้ตำแหน่งงานหลายๆ อย่างหายไป
- การศึกษา การเข้าถึงข้อมูล ทางออนไลน์ ที่เข้ามาแทนที่ห้องสมุดและโรงเรียน

โดยสรุปก็คือ กิจการที่มี Disruptive Innovation ทั้งหลาย รวมไปถึง Economy of Scale ที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงกว่า Technology เก่า ผู้เล่นเดิม เลยทำให้เขมือบตลาดเดิมได้ เขี่ยผู้เล่นรายเดิมออกจากตลาด กิจการเหล่านี้จะมีอัตราการเติบโตเหนือธรรมดาได้จากการกินผู้เล่นรายเก่า ซึ่งหากเราเจอกิจการที่กำลังเขมือบผู้เล่นรายเก่าด้วยอะไรบางอย่างที่เหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัด กิจการเหล่านี้ซื้อที่ราคาที่ดูเหมือนแพงแล้วก็ยังให้อัตราผลตอบแทนที่ดีได้

ในขณะที่การเติบโตจากการขยายกำลังการผลิต การได้ลูกค้าใหม่ การได้โปรเจ็คใหม่ หรือการได้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ลดภาษี เหล่านี้จะเป็นแค่ One-Time Gain ซึ่งผลประกอบการอาจจะ Jump แค่ครั้งเดียว และก็ทรงๆ ไปเรื่อยๆ หรือดีไม่ดี อาจจะเป็นแค่กำไรพิเศษที่โผล่มางวด 2 งวด ซึ่งคุณค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดกับกิจการระยะยาวมีไม่มาก แต่กิจการแบบนี้เก็งกำไรสนุกกว่ากันมาก เพราะ กำไรโต 100% คงจะฟังดูน่าตื่นเต้นกว่ากำไรโต 20%


พอดีพี่ sorawitch พูดถึง reference ของตัวเลขอ้างอิงที่ผมใช้... จริงๆ ผมก็นั่งเทียนเอาจากโมเดลที่ผมใช้ Valuation นั่นแหละครับ 555...

เอาจริงๆ นะครับพี่ sorawitch การทำ Valuation มันก็คือการนั่งเทียนส่วนหนึ่ง เพราะ มันเป็นอนาคตที่ยังมาไม่ถึง โอเค เราอาจจะพอเดาอนาคต 1-2 ปีได้ แต่ไกลกว่านั้นออกไปนี่นั่งเทียนอย่างเดียว ซึ่งโมเดลที่ผมใช้นี่จะเป็น DCF Model ที่จำเป็นต้องเดาอนาคตออกไป 10 ปี

อย่างไรก็ตาม DCF นี่ผมว่ามันยากไปหน่อย ผมเลยเอา DCF มา Adjust ปรับให้เป็นแบบของผมเอง กลับเข้าไปสู่ Earnings Model เพื่อเอาไปใช้คำนวณหา P/E จากอัตราผลตอบแทนคาดหวังที่เราต้องการ โดยสามารถใส่ Assumption ของ Growth ออกไปได้ 10 ปี แล้วที่ Terminal Value ก็ให้เป็น Perpetual Cashflow ที่ Terminal Growth ที่ค่าเฉลี่ยของ GDP ระยะยาวสักประมาณ 3%

อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยนี่ใช้เป็นค่าเฉลี่ยเลขคณิตถ่วงน้ำหนัก จาก Implied Expected Return โดยใช้ราคาปัจจุบันของหุ้นแต่ละตัวใส่เข้าไปในโมเดลของแต่ละกิจการ แล้วถ่วงน้ำหนักตามมูลค่าหุ้นที่ถือ โดยแบ่งส่วนของไทย กับ เทศ

แต่เนื่องจากว่าโมเดลเหล่านี้เป็นเรื่องที่นั่งเทียนเยอะอยู่มาก แม้ว่าจะพยายามนั่งเทียนด้วยความอนุรักษ์นิยมแล้วก็ตาม ก็ยังมีจุดอ่อนอยู่อีกเยอะจากอคติของเราเอง จึงต้องดูปัจจัยเชิงคุณภาพ และทิศทางรวมไปถึงพัฒนาการของปัจจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย จึงทำให้เวลาผมบอกว่า อัตราผลตอบแทนเท่านี้เท่านั้น ประกอบกับ ภาพของคุณภาพกิจการที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในช่วงที่ผ่านมา รวมไปถึงคุณภาพของการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา

คร่าวๆ ที่มาที่ไปก็ประมาณนี้... จะว่านั่งเทียน แต่งตัวเลขก็ไม่ผิดอะไรครับ...​ ผมรู้ว่าผมนั่งเทียนเอา และก็พร้อมที่จะรับกรรมจากการคำนวณของตัวเองครับ
รบกวนพี่picatos แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการdcfได้ไหมครับ
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: เกิดเหตุปฏิวัติ

โพสต์ที่ 64

โพสต์

cobain_vi เขียน:...

รบกวนพี่picatos แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการdcfได้ไหมครับ
ไม่รู้จะแนะนำหนังสือเล่มไหน เพราะ ผมก็ไม่ได้อ่านเป็นเล่มเป็นเรื่องเป็นราวเหมือนกัน อาศัยศึกษาหาอ่านเอาในอินเตอร์เน็ต... ลองอ่าน "วัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเอง" ของพี่โจ๊ก สุมาอี้ ดูไหมครับ เป็นการปูพื้น... แล้วก็ลอง Search อ่านเพิ่มเติมในอินเตอร์เน็ต แล้วก็ลองเอา Case Study ที่มีในเน็ตมากมายมหาศาล มาลองศึกษาต่อดูก็น่าจะได้ครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
otakung
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 972
ผู้ติดตาม: 0

Re: เกิดเหตุปฏิวัติ

โพสต์ที่ 65

โพสต์

picatos เขียน:
cobain_vi เขียน:...

รบกวนพี่picatos แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการdcfได้ไหมครับ
ไม่รู้จะแนะนำหนังสือเล่มไหน เพราะ ผมก็ไม่ได้อ่านเป็นเล่มเป็นเรื่องเป็นราวเหมือนกัน อาศัยศึกษาหาอ่านเอาในอินเตอร์เน็ต... ลองอ่าน "วัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเอง" ของพี่โจ๊ก สุมาอี้ ดูไหมครับ เป็นการปูพื้น... แล้วก็ลอง Search อ่านเพิ่มเติมในอินเตอร์เน็ต แล้วก็ลองเอา Case Study ที่มีในเน็ตมากมายมหาศาล มาลองศึกษาต่อดูก็น่าจะได้ครับ
เว็บของคุณ Reiter ก็เขียนดีนะครับ

DCF made easy ( 1 )
DCF made easy ( 2 )
cobain_vi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 358
ผู้ติดตาม: 0

Re: เกิดเหตุปฏิวัติ

โพสต์ที่ 66

โพสต์

otakung เขียน:
picatos เขียน:
cobain_vi เขียน:...

รบกวนพี่picatos แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการdcfได้ไหมครับ
ไม่รู้จะแนะนำหนังสือเล่มไหน เพราะ ผมก็ไม่ได้อ่านเป็นเล่มเป็นเรื่องเป็นราวเหมือนกัน อาศัยศึกษาหาอ่านเอาในอินเตอร์เน็ต... ลองอ่าน "วัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเอง" ของพี่โจ๊ก สุมาอี้ ดูไหมครับ เป็นการปูพื้น... แล้วก็ลอง Search อ่านเพิ่มเติมในอินเตอร์เน็ต แล้วก็ลองเอา Case Study ที่มีในเน็ตมากมายมหาศาล มาลองศึกษาต่อดูก็น่าจะได้ครับ
เว็บของคุณ Reiter ก็เขียนดีนะครับ

DCF made easy ( 1 )
DCF made easy ( 2 )
ขอบคุณครับ. แล้วมีแนะนำเวปอื่นอีกไหมครับ :B
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 0

Re: เกิดเหตุปฏิวัติ

โพสต์ที่ 67

โพสต์

cobain_vi เขียน:
otakung เขียน:
picatos เขียน:
cobain_vi เขียน:...

รบกวนพี่picatos แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการdcfได้ไหมครับ
ไม่รู้จะแนะนำหนังสือเล่มไหน เพราะ ผมก็ไม่ได้อ่านเป็นเล่มเป็นเรื่องเป็นราวเหมือนกัน อาศัยศึกษาหาอ่านเอาในอินเตอร์เน็ต... ลองอ่าน "วัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเอง" ของพี่โจ๊ก สุมาอี้ ดูไหมครับ เป็นการปูพื้น... แล้วก็ลอง Search อ่านเพิ่มเติมในอินเตอร์เน็ต แล้วก็ลองเอา Case Study ที่มีในเน็ตมากมายมหาศาล มาลองศึกษาต่อดูก็น่าจะได้ครับ
เว็บของคุณ Reiter ก็เขียนดีนะครับ

DCF made easy ( 1 )
DCF made easy ( 2 )
ขอบคุณครับ. แล้วมีแนะนำเวปอื่นอีกไหมครับ :B
เว็บนี้ครบเครื่องครับ
http://www.investopedia.com/university/dcf/
Vi IMrovised