รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 811
IRPCถกปตท.ก่อนยื่นประมูลIPP
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Wednesday, January 02, 2013
ASTVผู้จัดการรายวัน - ไออาร์พีซีตั้งงบลงทุน 5 ปี วงเงินรวม 7 หมื่นล้านบาท ปีนี้ทุ่มงบ 1 หมื่นกว่าล้านเร่งลุยโปรเจกต์ UHV ยืนยันไม่ล้มโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์90 เมกะวัตต์ที่จะนะ จ.สงขลา แม้ว่า ปตท.เข้าไปร่วมทุนไทยโซล่าร์ฯ 40% ก็ตาม เผยหารือบริษัทแม่ก่อนยื่นประมูลไอพีพีรอบใหม่
นายอธิคม เติบศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)(IRPC)เปิดเผยงบการลงทุน 5 ปีนี้(2556-2560) ว่า บริษัทฯกำหนดเงินลงทุน 5 ปีนี้อยู่ที่ 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนโครงการต่อเนื่องภายใต้โครงการฟินิกซ์ รวมทั้งก่อสร้างโรงไฟฟ้าเอสพีพีด้วย โดยปีนี้จะใช้เงินลงทุนประมาณมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโครงการ Upstream Project for Hygiene and Value Added Products (UHV)ผลิตโพรพิลีนปีละ 3.2 แสนตันหลังจากได้ผู้รับเหมาก่อสร้างแล้วและอยู่ระหว่างการออกแบบโรงงาน คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนก.พ. 2558
ส่วนความคืบหน้าการลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับบมจ.ปตท. ในพื้นที่ของบริษัทฯที่อ.จะนะ จ.สงขลานั้นขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและมีศักยภาพดีในการลงทุนทำโซลาร์ ฟาร์มขนาดกำลังผลิต 90 เมกะวัตต์ใช้พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ แต่เนื่องจากบริษัทฯไม่มีใบอนุญาตในการซื้อขายไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์คงต้องรอนโยบายรัฐในการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มเติมหรือหาใบอนุญาตจากผู้ประกอบการรายอื่นที่ได้รับแล้วแต่ไม่ได้ดำเนินการ ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่มีข้อยุติ แต่ยืนยันว่าโครงการดังกล่าวเดินหน้าอย่างแน่นอน
แม้ว่าล่าสุด ปตท.ได้เข้าไปถือหุ้นในบริษัท บริษัท ไทย โซล่าร์ รีนิวเอเบิล จำกัดสัดส่วนหุ้น 40% คิดเป็นเงินลงทุน 1.45 พันล้านบาทก็ตาม เนื่องจากจำนวนเมกะวัตต์ยังไม่ถึงเป้าหมายที่ปตท.ตั้งใจไว้ในการเข้าสู่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ขณะที่ไออาร์พีซีมีนโยบายที่ต้องการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่มีอยู่ของบริษัทฯให้มากที่สุด โดยบริษัทฯมีที่ดินในจะนะประมาณ 2 พันไร่ซึ่งนอกเหนือจากการศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโซลาร์ฟาร์มแล้ว บริษัทฯยังร่วมกับจีอี ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตไฟฟ้าพลังลมด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลอง คาดว่ากลางปีหน้าจะแล้วเสร็จ
นายอธิคม กล่าวว่า บริษัทฯมีความพร้อมที่จะเข้าประมูลโรงไฟฟ้าไอพีพีรอบใหม่แต่ทั้งนี้ต้องหารือกับปตท.ในฐานะบริษัทแม่ก่อนว่าจะให้ไออาร์พีซีเป็นผู้ลงทุนประมูลเองหรือจะร่วมกับบริษัทในเครือปตท.เข้าร่วมทุนทั้งนี้ ไออาร์พีซีมีพื้นที่ดินที่ใกล้แนวท่อก๊าซฯขนาด 24 นิ้ว และมีสายส่งไฟฟ้าพร้อมอยู่แล้วทำให้สามารถสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 900-1,800 เมกะวัตต์ในพื้นที่ปลวกแดง จ.ระยอง คาดว่าจะมีความชัดเจนภายในเร็วๆนี้
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท. เปิดเผยว่าเมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการควบรวมบริษัทระหว่างบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) โดยตั้งบริษัทใหม่คือ โกบอล พาวเวอร์ ซินเนอจี้ (GPSC)โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ ปตท. ไทยออยล์และพีทีที โกลบอลฯ ซึ่งบริษัทฯใหม่นี้ไม่สามารถเข้ายื่นประมูลไอพีพีได้ เนื่องจากติดเงื่อนไขห้ามไม่ให้รัฐวิสาหกิจหรือบริษัทลูกที่รัฐวิสาหกิจถือหุ้นใหญ่เข้าร่วมประมูลได้ แต่บริษัทลูกปตท.มีเพียงไออาร์พีซี พีทีที โกลบอลฯและไทยออยล์ที่สามารถเข้าร่วมประมูลไอพีพีได้ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจ เพราะต้องศึกษาอย่างดีและการยื่นประมูลต้องมีความมั่นใจว่าจะชนะการประมูลไอพีพีรอบนี้ หลังจากก่อนหน้านี้บริษัทลูกปตท.ยื่นประมูลไอพีพีแต่ไม่ประสบความสำเร็จ
--จบ--
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Wednesday, January 02, 2013
ASTVผู้จัดการรายวัน - ไออาร์พีซีตั้งงบลงทุน 5 ปี วงเงินรวม 7 หมื่นล้านบาท ปีนี้ทุ่มงบ 1 หมื่นกว่าล้านเร่งลุยโปรเจกต์ UHV ยืนยันไม่ล้มโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์90 เมกะวัตต์ที่จะนะ จ.สงขลา แม้ว่า ปตท.เข้าไปร่วมทุนไทยโซล่าร์ฯ 40% ก็ตาม เผยหารือบริษัทแม่ก่อนยื่นประมูลไอพีพีรอบใหม่
นายอธิคม เติบศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)(IRPC)เปิดเผยงบการลงทุน 5 ปีนี้(2556-2560) ว่า บริษัทฯกำหนดเงินลงทุน 5 ปีนี้อยู่ที่ 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนโครงการต่อเนื่องภายใต้โครงการฟินิกซ์ รวมทั้งก่อสร้างโรงไฟฟ้าเอสพีพีด้วย โดยปีนี้จะใช้เงินลงทุนประมาณมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโครงการ Upstream Project for Hygiene and Value Added Products (UHV)ผลิตโพรพิลีนปีละ 3.2 แสนตันหลังจากได้ผู้รับเหมาก่อสร้างแล้วและอยู่ระหว่างการออกแบบโรงงาน คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนก.พ. 2558
ส่วนความคืบหน้าการลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับบมจ.ปตท. ในพื้นที่ของบริษัทฯที่อ.จะนะ จ.สงขลานั้นขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและมีศักยภาพดีในการลงทุนทำโซลาร์ ฟาร์มขนาดกำลังผลิต 90 เมกะวัตต์ใช้พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ แต่เนื่องจากบริษัทฯไม่มีใบอนุญาตในการซื้อขายไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์คงต้องรอนโยบายรัฐในการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มเติมหรือหาใบอนุญาตจากผู้ประกอบการรายอื่นที่ได้รับแล้วแต่ไม่ได้ดำเนินการ ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่มีข้อยุติ แต่ยืนยันว่าโครงการดังกล่าวเดินหน้าอย่างแน่นอน
แม้ว่าล่าสุด ปตท.ได้เข้าไปถือหุ้นในบริษัท บริษัท ไทย โซล่าร์ รีนิวเอเบิล จำกัดสัดส่วนหุ้น 40% คิดเป็นเงินลงทุน 1.45 พันล้านบาทก็ตาม เนื่องจากจำนวนเมกะวัตต์ยังไม่ถึงเป้าหมายที่ปตท.ตั้งใจไว้ในการเข้าสู่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ขณะที่ไออาร์พีซีมีนโยบายที่ต้องการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่มีอยู่ของบริษัทฯให้มากที่สุด โดยบริษัทฯมีที่ดินในจะนะประมาณ 2 พันไร่ซึ่งนอกเหนือจากการศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโซลาร์ฟาร์มแล้ว บริษัทฯยังร่วมกับจีอี ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตไฟฟ้าพลังลมด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลอง คาดว่ากลางปีหน้าจะแล้วเสร็จ
นายอธิคม กล่าวว่า บริษัทฯมีความพร้อมที่จะเข้าประมูลโรงไฟฟ้าไอพีพีรอบใหม่แต่ทั้งนี้ต้องหารือกับปตท.ในฐานะบริษัทแม่ก่อนว่าจะให้ไออาร์พีซีเป็นผู้ลงทุนประมูลเองหรือจะร่วมกับบริษัทในเครือปตท.เข้าร่วมทุนทั้งนี้ ไออาร์พีซีมีพื้นที่ดินที่ใกล้แนวท่อก๊าซฯขนาด 24 นิ้ว และมีสายส่งไฟฟ้าพร้อมอยู่แล้วทำให้สามารถสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 900-1,800 เมกะวัตต์ในพื้นที่ปลวกแดง จ.ระยอง คาดว่าจะมีความชัดเจนภายในเร็วๆนี้
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท. เปิดเผยว่าเมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการควบรวมบริษัทระหว่างบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) โดยตั้งบริษัทใหม่คือ โกบอล พาวเวอร์ ซินเนอจี้ (GPSC)โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ ปตท. ไทยออยล์และพีทีที โกลบอลฯ ซึ่งบริษัทฯใหม่นี้ไม่สามารถเข้ายื่นประมูลไอพีพีได้ เนื่องจากติดเงื่อนไขห้ามไม่ให้รัฐวิสาหกิจหรือบริษัทลูกที่รัฐวิสาหกิจถือหุ้นใหญ่เข้าร่วมประมูลได้ แต่บริษัทลูกปตท.มีเพียงไออาร์พีซี พีทีที โกลบอลฯและไทยออยล์ที่สามารถเข้าร่วมประมูลไอพีพีได้ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจ เพราะต้องศึกษาอย่างดีและการยื่นประมูลต้องมีความมั่นใจว่าจะชนะการประมูลไอพีพีรอบนี้ หลังจากก่อนหน้านี้บริษัทลูกปตท.ยื่นประมูลไอพีพีแต่ไม่ประสบความสำเร็จ
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 812
Ministry aims to attract bidders for oil exploration
Source - The Nation (Eng), Wednesday, January 02, 2013
Energy Minister Pongsak Ruktapongpisal has ordered the Department of Mineral Fuels to review the plan to open bidding |for the 21st round of petroleum exploration concessions to make it much more attractive to potential bidders.
He told the department to |examine the outcomes of the 18th, 19th and 20th rounds to see how many bid winners were successful with their exploration and went on to commercial production, and how many failed to do so.
The planned 21st round covers fields that already have conces-|sions in effect. Therefore, the department has to make this round much more attractive to potential bidders. It also has to create understanding with the communities near the fields before granting the concessions.
The 21st round encompasses 22 fields, of which 17 are onshore and five are offshore. Of the onshore fields, 11 are in the Northeast and six are in the Central region.
Pongsak said he would propose an amendment of the petroleum law to allow one more extension of the current concession terms. The existing law permits only one renewal of a concession.
The term of Chevron Thailand Exploration and Production’s |concession in Erawan field and |that of PTT Exploration and Production in Bongkot field, originally to expire last year, were extended to 2017 by the Energy Ministry in 2011.
Pongsak believes the state will benefit if extensions can be granted to the existing concession holders as new holders would have to spend heavily on installing facilities in the fields. However, the existing concessionaires would have to renegotiate revenue sharing with the government if their terms are to be extended a second time.
Source - The Nation (Eng), Wednesday, January 02, 2013
Energy Minister Pongsak Ruktapongpisal has ordered the Department of Mineral Fuels to review the plan to open bidding |for the 21st round of petroleum exploration concessions to make it much more attractive to potential bidders.
He told the department to |examine the outcomes of the 18th, 19th and 20th rounds to see how many bid winners were successful with their exploration and went on to commercial production, and how many failed to do so.
The planned 21st round covers fields that already have conces-|sions in effect. Therefore, the department has to make this round much more attractive to potential bidders. It also has to create understanding with the communities near the fields before granting the concessions.
The 21st round encompasses 22 fields, of which 17 are onshore and five are offshore. Of the onshore fields, 11 are in the Northeast and six are in the Central region.
Pongsak said he would propose an amendment of the petroleum law to allow one more extension of the current concession terms. The existing law permits only one renewal of a concession.
The term of Chevron Thailand Exploration and Production’s |concession in Erawan field and |that of PTT Exploration and Production in Bongkot field, originally to expire last year, were extended to 2017 by the Energy Ministry in 2011.
Pongsak believes the state will benefit if extensions can be granted to the existing concession holders as new holders would have to spend heavily on installing facilities in the fields. However, the existing concessionaires would have to renegotiate revenue sharing with the government if their terms are to be extended a second time.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 813
Energy's need for diversification
Source - Bangkok Post (Eng), Wednesday, January 02, 2013
Fast-growing power demand has led to a serious rethink of policy for long-term sustainability
Energy security and diversification of fuels used in power generation will be the major concerns for energy policymakers and operators in 2013.Since 2011, energy policymakers have been striving to increase the strategic petroleum reserve to 90 days, from 36 days at present, by asking oil traders and refineries to step up their reserves by another four days. They have responded that they are not ready yet.
A Southern land bridge linking the Gulf of Thailand with the Andaman Sea was again suggested to help with energy security. The land bridge scheme was initiated in 2003 by the Thaksin Shinawatra government, but shelved following the tsunami in 2004.
National oil companies from the Middle East may be invited to be strategic investment partners in the land bridge, as investors from Qatar were keen to take part in the development before the delay.
Analysts have said an oil reserve of 90 days might require an investment cost of over US$5 billion, based on a global crude price of $105 per barrel.
Another alternative for increasing the national petroleum reserve is an oil pipeline in the North and Northeast of Thailand,which policymakers assigned the national oil conglomerate, PTT Plc, to develop. The project could lower the transportation cost and reduce overland oil traffic.
"If there is a political conflict in crudeproducing countries that disrupts supply,the price of oil will rise. We have to prepare for such incidents by having more reserves,"said Kurujit Nakornthap, deputy permanent secretary for energy.
Thailand should also pursue talks about a regional oil strategic reserve as the regional economy will expand significantly over the next several years, driving oil demand,he added.
PTT recently conducted a feasibility study for a second receiving terminal of liquefied natural gas (LNG) in Map Ta Phut on the Eastern seaboard, with a capacity of 10 million tonnes per year.
Natural gas from the Gulf of Thailand is projected to last for only 12 to 15 years,while gas demand is at a peak level of 4.5 billion standard cubic feet per day.
Energy Minister Pongsak Raktapongpaisal said the Thai economy will expand considerably in the next several years driven by the government’s investments in large infrastructure projects, economic stimulus measures and rebounding private invest-ments. This should result in growing energy demand, especially in the industrial sector.
"Energy resources should not only be secured for the long term, but also at competitive prices," said Mr Pongsak.
The minister floated the idea of diversifying fuel types in power generation by increasing imports of electricity from neighbouring Laos and Myanmar.
He said if Thailand still depends heavily on gas for power generation, its power bill may double within the next decade.
Thailand previously signed a memorandum of understanding to buy 7,000 megawatts of electricity from Laos and another 1,500 MW from Myanmar. So far,only 2,000 MW have been brought in from Laos, with another 4,000 MW of capacity being developed, while Myanmar has yet to begin supplying power to Thailand.
The government now wants to increase imports to 10,000 MW each from Laos and Myanmar, mainly from hydroelectric and coal-fired power plants, which have cheaper tariffs than gas-based facilities.
The Energy Policy and Planning Office projects power demand in Thailand will more than double to 70,000 MW in 2030 from 31,500 MW at present, based on average gross domestic product growth of 3.7%per year.
The Electricity Generating Authority of Thailand (Egat) has expressed concerns about the competitiveness of the energy sector in terms of prices and high dependence on natural gas. Governor Sutat Patmasiriwat said many countries in Southeast Asia are diversifying their energy sources to lower costs and production risks.
For instance, Malaysia, the Philippines,Indonesia and Vietnam are targeting more balance between gas and coal in their power generation. Vietnam has even embarked on a nuclear power development programme with a scheduled operation date of 2020.
Thailand produces 67% of its electricity from gas,19% from coal and the rest from Laos, Malaysia and domestic hydroelectric projects.
Several non-governmental organisations are against coal-fired, nuclear and even renewable energies such as biogas and biomass, hampering development in the country, said Mr Sutat.
Mass-transit rail projects and high-speed trains being planned will also drive electricity demand in the years to come, said the governor.
Consequently, Egat has spent many years trying to educate Thais about clean coal technology, which is less harmful to the environment, he added.
Policymakers are expected to focus on enhanced energy efficiency in 2013 by providing grants, soft loans, tax holidays, consultancy and subsidy schemes for the issue.
The government has continued to publicly voice support for renewable energy the past five years. Thailand promoted bids for a 500-MW solar project and a 200-MW wind turbine in 2008-09.
Renewable energy makes up 8.5% of the country’s total energy production at 5,625 MW. The government hopes production will increase to 9,984 MW by 2017 and 25,000 MW by 2022 in its power development plan.
"Energy resources should not only be secured for the long term, but also at competitive prices
Source: Bangkok Post
Source - Bangkok Post (Eng), Wednesday, January 02, 2013
Fast-growing power demand has led to a serious rethink of policy for long-term sustainability
Energy security and diversification of fuels used in power generation will be the major concerns for energy policymakers and operators in 2013.Since 2011, energy policymakers have been striving to increase the strategic petroleum reserve to 90 days, from 36 days at present, by asking oil traders and refineries to step up their reserves by another four days. They have responded that they are not ready yet.
A Southern land bridge linking the Gulf of Thailand with the Andaman Sea was again suggested to help with energy security. The land bridge scheme was initiated in 2003 by the Thaksin Shinawatra government, but shelved following the tsunami in 2004.
National oil companies from the Middle East may be invited to be strategic investment partners in the land bridge, as investors from Qatar were keen to take part in the development before the delay.
Analysts have said an oil reserve of 90 days might require an investment cost of over US$5 billion, based on a global crude price of $105 per barrel.
Another alternative for increasing the national petroleum reserve is an oil pipeline in the North and Northeast of Thailand,which policymakers assigned the national oil conglomerate, PTT Plc, to develop. The project could lower the transportation cost and reduce overland oil traffic.
"If there is a political conflict in crudeproducing countries that disrupts supply,the price of oil will rise. We have to prepare for such incidents by having more reserves,"said Kurujit Nakornthap, deputy permanent secretary for energy.
Thailand should also pursue talks about a regional oil strategic reserve as the regional economy will expand significantly over the next several years, driving oil demand,he added.
PTT recently conducted a feasibility study for a second receiving terminal of liquefied natural gas (LNG) in Map Ta Phut on the Eastern seaboard, with a capacity of 10 million tonnes per year.
Natural gas from the Gulf of Thailand is projected to last for only 12 to 15 years,while gas demand is at a peak level of 4.5 billion standard cubic feet per day.
Energy Minister Pongsak Raktapongpaisal said the Thai economy will expand considerably in the next several years driven by the government’s investments in large infrastructure projects, economic stimulus measures and rebounding private invest-ments. This should result in growing energy demand, especially in the industrial sector.
"Energy resources should not only be secured for the long term, but also at competitive prices," said Mr Pongsak.
The minister floated the idea of diversifying fuel types in power generation by increasing imports of electricity from neighbouring Laos and Myanmar.
He said if Thailand still depends heavily on gas for power generation, its power bill may double within the next decade.
Thailand previously signed a memorandum of understanding to buy 7,000 megawatts of electricity from Laos and another 1,500 MW from Myanmar. So far,only 2,000 MW have been brought in from Laos, with another 4,000 MW of capacity being developed, while Myanmar has yet to begin supplying power to Thailand.
The government now wants to increase imports to 10,000 MW each from Laos and Myanmar, mainly from hydroelectric and coal-fired power plants, which have cheaper tariffs than gas-based facilities.
The Energy Policy and Planning Office projects power demand in Thailand will more than double to 70,000 MW in 2030 from 31,500 MW at present, based on average gross domestic product growth of 3.7%per year.
The Electricity Generating Authority of Thailand (Egat) has expressed concerns about the competitiveness of the energy sector in terms of prices and high dependence on natural gas. Governor Sutat Patmasiriwat said many countries in Southeast Asia are diversifying their energy sources to lower costs and production risks.
For instance, Malaysia, the Philippines,Indonesia and Vietnam are targeting more balance between gas and coal in their power generation. Vietnam has even embarked on a nuclear power development programme with a scheduled operation date of 2020.
Thailand produces 67% of its electricity from gas,19% from coal and the rest from Laos, Malaysia and domestic hydroelectric projects.
Several non-governmental organisations are against coal-fired, nuclear and even renewable energies such as biogas and biomass, hampering development in the country, said Mr Sutat.
Mass-transit rail projects and high-speed trains being planned will also drive electricity demand in the years to come, said the governor.
Consequently, Egat has spent many years trying to educate Thais about clean coal technology, which is less harmful to the environment, he added.
Policymakers are expected to focus on enhanced energy efficiency in 2013 by providing grants, soft loans, tax holidays, consultancy and subsidy schemes for the issue.
The government has continued to publicly voice support for renewable energy the past five years. Thailand promoted bids for a 500-MW solar project and a 200-MW wind turbine in 2008-09.
Renewable energy makes up 8.5% of the country’s total energy production at 5,625 MW. The government hopes production will increase to 9,984 MW by 2017 and 25,000 MW by 2022 in its power development plan.
"Energy resources should not only be secured for the long term, but also at competitive prices
Source: Bangkok Post
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 814
พีทีจี เอ็นเนอยีจะขายหุ้น IPO 420 ล้านหุ้น ใช้ขยายธุรกิจขายน้ำมัน
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 2 มกราคม 2556 10:22:29 น.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เปิดเผยว่า บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี(PTG) ได้ยื่น Filing version แรก เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.55 เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 420 ล้านหุ้น แบ่งเป็นเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป 386.60 ล้านหุ้น และเสนอขายต่อกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทและบริษัทย่อย จำนวน 33.40 ล้านหุ้น โดยมีบริษัท เซจแคปปิตอล จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
วัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้ในการลงทุนขยายธุรกิจจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจจำหน่ายน้ำมัน โดยลงทุนเพิ่มจำนวนสถานีบริการน้ำมัน PT ให้ครอบคลุมพื้นที่สำคัญ ๆ ในประเทศ ใช้เงินประมาณ 440 ล้านบาทช่วงปี 56, ใช้ลงทุนเพิ่มจำนวนรถบรรทุกน้ำมันเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ใช้เงินประมาณ 80 ล้านบาทช่วงปี 56, ใช้ลงทุนธุรกิจร้านกาแฟสดภายในสถานีบริการน้ำมัน PT ใช้เงินประมาณ 40 ล้านบาทในช่วงปี 56 และใช้ลงทุนเพิ่มจำนวนร้านสะดวกซื้อและปรับปรุงร้านสะดวกซื้อภายในสถานีบริการน้ำมัน PT ใช้เงินประมาณ 90 ล้านบาท ในช่วงปี 56
นอกจากนี้ ยังใช้ลงทุนปรับปรุงภาพลักษณ์ของสถานีบริการน้ำมัน PT ใช้เงินประมาณ 60 ล้านบาทในปี 56, ใช้ลงทุนปรับปรุงและพัฒนาซอฟท์แวร์และระบบสารสนเทศที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ใช้เงินประมาณ 60 ล้านบาท ในช่วงปี 56-57 รวมถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ
บมจ. พีทีจี เอ็นเนอยี(PTG) ประกอบธุรกิจจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับตัวแทนจำหน่ายน้ำมันของบริษัท, ผู้ค้าน้ำมันรายอื่น และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้บริษัทฯได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทย่อย 8 บริษัท ได้แก่ บริษัท พีระมิด ออยล์จำกัด(PMO). บริษัท แอลไพน์ ออยล์ จำกัด(APO), บริษัท เอ็มไพร์ ออยล์ จำกัด(EPO), บริษัท เอเวอร์เรสต์ ออยล์ จำกัด(EVO), บริษัท แอตลาส ออยล์ จำกัด(ALO). บริษัท แอนดีส ออยล์ จำกัด(ADO), บริษัท พิเรนิส ออยล์ จำกัด(PRN) และบริษัท โอลิมปัส ออยล์ จำกัด(OLP) อีกทั้งได้ตั้งบริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด ดำเนินธุรกิจร้านกาแฟภายในสถานีบริการน้ำมัน PT
ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน สิ้นสุด 30 ก.ย.55 มีรายได้จากการขายสินค้าและให้บริการ 30,505.08 ล้านบาท กำไรเบ็ดเสร็จรวม 249.11 ล้านบาท และมีสินทรัพย์รวม 3,358.26 ล้านบาท หนี้สินรวม 2,079.27 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น 1,278.99 ล้านบาท
ณ วันที่ 30 ก.ย.55 บริษัทฯมีทุนจดทะเบียน 1,670 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 1,670 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท และมีทุนเรียกชำระแล้ว 1,250 ล้านบาท หลังเสนอขายหุ้น IPO บริษัทจะมีทุนชำระแล้ว 1,670 ล้านบาท
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ณ วันที่ 30 ก.ย.55 คือ กลุ่มครอบครัวรัชกิจประการ ถือหุ้น 547,896,660 หุ้นหรือคิดเป็น 43.83% หลังเสนอขายหุ้น IPO จะถูกลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 32.85% รองลงมาคือ นายศักดิ์อนันต์ วิจิตรธนารักษ์ ถือหุ้น 335,040,000 หุ้นหรือคิดเป็น 26.80% หลังเสนอขายหุ้น IPO จะถูกลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 20.07%
ทั้งนี้ บริษัทฯมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิของบการเงินเฉพาะบริษัทหลังจากหักภาษีและเงินทุนสำรองตามกฎหมายและเงินสำรองอื่น
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 2 มกราคม 2556 10:22:29 น.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เปิดเผยว่า บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี(PTG) ได้ยื่น Filing version แรก เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.55 เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 420 ล้านหุ้น แบ่งเป็นเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป 386.60 ล้านหุ้น และเสนอขายต่อกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทและบริษัทย่อย จำนวน 33.40 ล้านหุ้น โดยมีบริษัท เซจแคปปิตอล จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
วัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้ในการลงทุนขยายธุรกิจจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจจำหน่ายน้ำมัน โดยลงทุนเพิ่มจำนวนสถานีบริการน้ำมัน PT ให้ครอบคลุมพื้นที่สำคัญ ๆ ในประเทศ ใช้เงินประมาณ 440 ล้านบาทช่วงปี 56, ใช้ลงทุนเพิ่มจำนวนรถบรรทุกน้ำมันเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ใช้เงินประมาณ 80 ล้านบาทช่วงปี 56, ใช้ลงทุนธุรกิจร้านกาแฟสดภายในสถานีบริการน้ำมัน PT ใช้เงินประมาณ 40 ล้านบาทในช่วงปี 56 และใช้ลงทุนเพิ่มจำนวนร้านสะดวกซื้อและปรับปรุงร้านสะดวกซื้อภายในสถานีบริการน้ำมัน PT ใช้เงินประมาณ 90 ล้านบาท ในช่วงปี 56
นอกจากนี้ ยังใช้ลงทุนปรับปรุงภาพลักษณ์ของสถานีบริการน้ำมัน PT ใช้เงินประมาณ 60 ล้านบาทในปี 56, ใช้ลงทุนปรับปรุงและพัฒนาซอฟท์แวร์และระบบสารสนเทศที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ใช้เงินประมาณ 60 ล้านบาท ในช่วงปี 56-57 รวมถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ
บมจ. พีทีจี เอ็นเนอยี(PTG) ประกอบธุรกิจจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับตัวแทนจำหน่ายน้ำมันของบริษัท, ผู้ค้าน้ำมันรายอื่น และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้บริษัทฯได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทย่อย 8 บริษัท ได้แก่ บริษัท พีระมิด ออยล์จำกัด(PMO). บริษัท แอลไพน์ ออยล์ จำกัด(APO), บริษัท เอ็มไพร์ ออยล์ จำกัด(EPO), บริษัท เอเวอร์เรสต์ ออยล์ จำกัด(EVO), บริษัท แอตลาส ออยล์ จำกัด(ALO). บริษัท แอนดีส ออยล์ จำกัด(ADO), บริษัท พิเรนิส ออยล์ จำกัด(PRN) และบริษัท โอลิมปัส ออยล์ จำกัด(OLP) อีกทั้งได้ตั้งบริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด ดำเนินธุรกิจร้านกาแฟภายในสถานีบริการน้ำมัน PT
ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน สิ้นสุด 30 ก.ย.55 มีรายได้จากการขายสินค้าและให้บริการ 30,505.08 ล้านบาท กำไรเบ็ดเสร็จรวม 249.11 ล้านบาท และมีสินทรัพย์รวม 3,358.26 ล้านบาท หนี้สินรวม 2,079.27 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น 1,278.99 ล้านบาท
ณ วันที่ 30 ก.ย.55 บริษัทฯมีทุนจดทะเบียน 1,670 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 1,670 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท และมีทุนเรียกชำระแล้ว 1,250 ล้านบาท หลังเสนอขายหุ้น IPO บริษัทจะมีทุนชำระแล้ว 1,670 ล้านบาท
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ณ วันที่ 30 ก.ย.55 คือ กลุ่มครอบครัวรัชกิจประการ ถือหุ้น 547,896,660 หุ้นหรือคิดเป็น 43.83% หลังเสนอขายหุ้น IPO จะถูกลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 32.85% รองลงมาคือ นายศักดิ์อนันต์ วิจิตรธนารักษ์ ถือหุ้น 335,040,000 หุ้นหรือคิดเป็น 26.80% หลังเสนอขายหุ้น IPO จะถูกลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ 20.07%
ทั้งนี้ บริษัทฯมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิของบการเงินเฉพาะบริษัทหลังจากหักภาษีและเงินทุนสำรองตามกฎหมายและเงินสำรองอื่น
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 815
EA ประเดิมเข้าตลาดหุ้นเจ้าแรก ม.ค.นี้-เคาะราคา IPO ที่ 5.50 บ./หุ้น
ข่าวหุ้น, วันพุธที่ 02 มกราคม 2556 เวลา 15:07:04 น.
นายสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA แจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่า บริษัทได้กำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ที่ 5.50 บาท/หุ้น โดยวันเสนอขาย และวันเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) จะกำหนดได้ชัดเจนภายในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ดี หุ้น EA พร้อมที่จะเสนอขาย และเข้าเทรดภายในเดือน ม.ค.นี้แน่นอน นับเป็นการเสนอขาย IPO บริษัทแรกของปีนี้
โดยขณะนี้บริษัทได้แกนนำในการจัดจำหน่าย และรับประกันการจำหน่ายหุ้นในครั้งนี้แล้ว 3 ราย คือ บล.ฟินันเซีย ไซรัส, บล. โนมูระ พัฒนสิน และบล.ไทยพาณิชย์ และยังมีผู้ร่วมจัดจำหน่ายอีกกว่า 10 ราย
ทั้งนี้ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อ บริษัท ซันเทคปาล์มออยล์ จำกัด ประกอบธุรกิจผลิต และจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล (B100) น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว กลีเซอรีนบริสุทธิ์ วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์พลอยได้ และธุรกิจผลิต และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
ขณะที่ วัตถุประสงค์ของการระดมทุนในครั้งนี้ เพื่อใช้ในการลงทุนก่อสร้างโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แห่งใหม่ ขนาดกำลังผลิต 90 เมกะวัตต์ในจังหวัดนครสวรรค์ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนภายในปี 56
ข่าวหุ้น, วันพุธที่ 02 มกราคม 2556 เวลา 15:07:04 น.
นายสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA แจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่า บริษัทได้กำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ที่ 5.50 บาท/หุ้น โดยวันเสนอขาย และวันเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) จะกำหนดได้ชัดเจนภายในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ดี หุ้น EA พร้อมที่จะเสนอขาย และเข้าเทรดภายในเดือน ม.ค.นี้แน่นอน นับเป็นการเสนอขาย IPO บริษัทแรกของปีนี้
โดยขณะนี้บริษัทได้แกนนำในการจัดจำหน่าย และรับประกันการจำหน่ายหุ้นในครั้งนี้แล้ว 3 ราย คือ บล.ฟินันเซีย ไซรัส, บล. โนมูระ พัฒนสิน และบล.ไทยพาณิชย์ และยังมีผู้ร่วมจัดจำหน่ายอีกกว่า 10 ราย
ทั้งนี้ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อ บริษัท ซันเทคปาล์มออยล์ จำกัด ประกอบธุรกิจผลิต และจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล (B100) น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว กลีเซอรีนบริสุทธิ์ วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์พลอยได้ และธุรกิจผลิต และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
ขณะที่ วัตถุประสงค์ของการระดมทุนในครั้งนี้ เพื่อใช้ในการลงทุนก่อสร้างโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แห่งใหม่ ขนาดกำลังผลิต 90 เมกะวัตต์ในจังหวัดนครสวรรค์ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนภายในปี 56
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 816
GEN ขยายเวลาการซื้อโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ เป็นภายใน 28 ก.พ.56
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 2 มกราคม 2556 17:34:24 น.
นายนันท์มนัส โพธิ์แดง ประธานกรรมการบริหาร บมจ.เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่ง (GEN) แจ้งว่า ตามที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 2/2555 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2555 มีนโยบายที่จะลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของบริษัทแห่งหนึ่ง โดยการซื้อหุ้นสามัญของบริษัทดังกล่าวจาก “ผู้จะขาย" ในสัดส่วนร้อยละ 24 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ในราคา 105 ล้านบาท และได้มีมติอนุมัติให้ตรวจสอบสถานะ (Due diligence) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าว โดยได้ทำสัญญาวางเงินประกันค่าเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้น จำนวน 20 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการชำระมูลค่าหุ้น โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงร่วมกันที่จะชำระค่าหุ้นส่วนที่เหลือจำนวน 85 ล้านบาท ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 นั้น
ปัจจุบันบริษัทรับทราบข้อมูลจากผู้จะขายว่า ผู้จะขายยังดำเนินการในขั้นตอนที่จำเป็นกับสถาบันการเงินไม่แล้วเสร็จ จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการส่งมอบหุ้นสามัญออกไปอีกระยะหนึ่ง ประกอบกับเงินที่บริษัทคาดว่าจะได้รับจากการชำระเงินค่าหุ้นของบริษัท ฉัตรเฉียบ จำกัด (บริษัทย่อย) ได้เลื่อนกำหนดออกไป ทั้งสองฝ่ายจึงได้หารือร่วมกันเพื่อขยายระยะเวลาการซื้อ/ขายหุ้นสามัญดังกล่าวออกไป อย่างไรก็ตามหากผู้จะขายมีเหตุขัดข้องจำเป็นต้องยกเลิกสัญญา ผู้จะขายตกลงจะคืนเงินประกันจำนวน 20 ล้านบาท ภายใน 5 วันทำการ นับจากวันที่ GEN แจ้งเป็นหนังสือให้คืนเงิน
ดังนั้น คณะกรรมการบริหารจึงมีมติอนุมัติลงนามในบันทึกต่อท้ายสัญญาเพื่อขยายกำหนดระยะเวลาการซื้อ/ขายหุ้นสามัญของโครงการนี้ออกไปเป็น ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 และจะแจ้งความคืบหน้าให้ตลาดหลักทรัพย์รับทราบต่อไป
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 2 มกราคม 2556 17:34:24 น.
นายนันท์มนัส โพธิ์แดง ประธานกรรมการบริหาร บมจ.เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่ง (GEN) แจ้งว่า ตามที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 2/2555 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2555 มีนโยบายที่จะลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของบริษัทแห่งหนึ่ง โดยการซื้อหุ้นสามัญของบริษัทดังกล่าวจาก “ผู้จะขาย" ในสัดส่วนร้อยละ 24 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ในราคา 105 ล้านบาท และได้มีมติอนุมัติให้ตรวจสอบสถานะ (Due diligence) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าว โดยได้ทำสัญญาวางเงินประกันค่าเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้น จำนวน 20 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการชำระมูลค่าหุ้น โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงร่วมกันที่จะชำระค่าหุ้นส่วนที่เหลือจำนวน 85 ล้านบาท ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 นั้น
ปัจจุบันบริษัทรับทราบข้อมูลจากผู้จะขายว่า ผู้จะขายยังดำเนินการในขั้นตอนที่จำเป็นกับสถาบันการเงินไม่แล้วเสร็จ จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการส่งมอบหุ้นสามัญออกไปอีกระยะหนึ่ง ประกอบกับเงินที่บริษัทคาดว่าจะได้รับจากการชำระเงินค่าหุ้นของบริษัท ฉัตรเฉียบ จำกัด (บริษัทย่อย) ได้เลื่อนกำหนดออกไป ทั้งสองฝ่ายจึงได้หารือร่วมกันเพื่อขยายระยะเวลาการซื้อ/ขายหุ้นสามัญดังกล่าวออกไป อย่างไรก็ตามหากผู้จะขายมีเหตุขัดข้องจำเป็นต้องยกเลิกสัญญา ผู้จะขายตกลงจะคืนเงินประกันจำนวน 20 ล้านบาท ภายใน 5 วันทำการ นับจากวันที่ GEN แจ้งเป็นหนังสือให้คืนเงิน
ดังนั้น คณะกรรมการบริหารจึงมีมติอนุมัติลงนามในบันทึกต่อท้ายสัญญาเพื่อขยายกำหนดระยะเวลาการซื้อ/ขายหุ้นสามัญของโครงการนี้ออกไปเป็น ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 และจะแจ้งความคืบหน้าให้ตลาดหลักทรัพย์รับทราบต่อไป
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 817
พลังงานปีงูเล็กยังสดใส
Source -ฐานเศรษฐกิจ (Th), Thursday, January 03, 2013
ในปี 2556 นี้จะเป็นปีที่เห็นการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานของประเทศไทยข้ามไปอีกขั้น โดยเฉพาะ "โครงสร้างราคาพลังงาน" ที่ดูเหมือนจะร้อนแรง หลังจากในปีที่ผ่านมารัฐบาลพยายามผลักดัน แต่ก็ต้องหยุดชะงักไป ซึ่งสิ่งที่จะตามมาหลังจากนี้ คือราคาพลังงานที่เริ่มขยับสูงขึ้น หลังภาครัฐเริ่มปลดผ่อนภาระที่ต้องอุดหนุนราคาพลังงานให้ย่ำอยู่กับที่มาเป็นระยะเวลานาน
+++ราคาพลังงานทยอยปรับตัวสูงขึ้น
โดยราคาก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีที่นับว่า เป็นภาระหนักของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ยังค้างจ่ายเงินชดเชยราคานำเข้าก๊าซแอลพีจีให้กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กว่า 5.1 พันล้านบาท และยังค้างจ่ายชดเชยราคาก๊าซแอลพีจีให้กับโรงกลั่นน้ำมันอีกกว่า 3.3 พันล้านบาท ส่งผลให้ภาพกองทุนมีฐานะติดลบกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท
ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงพยายามผลักดันให้การลอยตัวราคาก๊าซแอลพีจีได้ข้อยุติโดยเร็ว ซึ่งวางแผนทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2556 แม้ว่าจะยังต้องใช้เงินจากกองทุนช่วยอุดหนุนผู้มีรายได้น้อยกว่า 4 ล้านราย เพื่อให้ได้ใช้ราคาก๊าซแอลพีจีในอัตราเดิมที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เทียบกับราคาต้นทุนที่แท้จริงที่ควรจะเป็น 24.82 บาทต่อกิโลกรัม แต่ก็ยังดีกว่าหว่านแหอุดหนุนทุกภาคส่วน
เบื้องต้นจะทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีภาคครัวเรือนและภาคขนส่งเดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม ส่วนเอ็นจีวีก็จะทยอยปรับเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 10.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 13.28 บาทต่อกิโลกรัม แต่มีข้อแม้ว่า ปตท.จะต้องขยายสถานีบริการเอ็นจีวีให้ครอบคลุมต่อความต้องการ และกระจายให้ครบทุกจังหวัดด้วย
+++อัดพลังงานทดแทนเพิ่มเป็น 13%
ขณะที่การพัฒนาพลังงานทดแทน จะเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีการยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ค้าน้ำมันเกือบจะทุกรายหันมาจำหน่ายแก๊สโซฮอล์อี 20 และอี 85 เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันโรงกลั่นน้ำมันต้องปรับกระบวนการกลั่นน้ำมันใหม่ เพื่อรองรับน้ำมันพื้นฐานที่จะนำมาผสมเป็นแก๊สโซฮอล์ โดยจะส่งผลให้การผลิตเอทานอลที่ขณะนี้ใช้อยู่เพียง 1.4 ล้านลิตรต่อวัน จะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2 ล้านลิตรต่อวัน เป็นการขยายตลาดให้กับผู้ผลิตเอทานอลที่มีกำลังการผลิตล้นอยู่เวลานี้ 3-4 ล้านลิตรต่อวันได้ส่วนหนึ่ง
อีกทั้ง จะมีการพิจารณาเพื่อแยกกฎหมายเอทานอล ออกจาก พ.ร.บ.สุราสามทับ ทำให้สามารถบริหารจัดการเอทานอลได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันการส่งออกเอทานอลก็จะสะดวกขึ้นด้วย
นอกจากนี้ การที่กระทรวงพลังงานพยายามผลักดันเพิ่มสัดส่วนการพัฒนาพลังงานทดแทนให้เพิ่มขึ้นเป็น 25% ในปี 2564 โดย "นายอำนวย ทองสถิต" อธิบดีกรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เชื่อว่าสัดส่วนพลังงานทดแทนจะเป็นไปตามเป้ารวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะกระทรวงอยู่ระหว่างการร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมพลังงานทดแทน คาดว่าจะมีความชัดเจนภายในปี 2556
หาก พ.ร.บ.ส่งเสริมพลังงานทดแทนมีผลบังคับใช้ จะช่วยให้การลงทุนพลังงานทดแทนง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการผ่อนปรนข้อกฎหมาย และยังเอื้ออำนวยด้านการลงทุนให้อีกด้วย อาทิ โรงไฟฟ้าขยะที่เดิมจะติด พ.ร.บ.ผังเมือง ก็อาจผ่อนปรนให้ หรือการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานลม ซึ่งมีความเหมาะสมบางพื้นที่เท่านั้น ก็อาจผ่อนปรนกฎหมายเพื่อให้น่าสนใจลงทุนเพิ่มขึ้น โดยทิศทางพลังงานทดแทนในปีหน้า คาดว่าจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 12-13% จากปีนี้อยู่ที่ 10% ของปริมาณการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์(โซลาร์เซลล์) ที่เป็นดาวรุ่งอยู่เวลานี้ ภายหลังจากปิดรับซื้อไฟฟ้าไปเมื่อกลางปี 2553 ในปีนี้ คาดว่าจะมีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าใหม่ จากเดิมที่ให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า(แอดเดอร์) ที่ 6.50 บาทต่อหน่วย เป็นการรับซื้อไฟฟ้าตามต้นทุนจริง (ฟีดอินทาริฟ) ที่ 5.12 บาทต่อหน่วยแทน ซึ่งกรณีดังกล่าวยังคงเป็นข้อถกเถียงกันระหว่างกระทรวงพลังงานกับผู้ประกอบการ ที่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าต่ำเกินไป แต่น่าจะได้ข้อสรุปภายในต้นปี 2556 นี้
+++เปิดประมูลไอพีพีคึกคัก
สำหรับการลงทุนด้านพลังงานขนาดใหญ่ ที่ผู้ประกอบการรอคอยมานานกว่า 5 ปี ในปีนี้จะเห็นความคึกคักของการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี)ขนาดกำลังการผลิต 5.4 พันเมกะวัตต์ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงทั้งหมด ใช้เงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะมีการเปิดขายซองถึงวันที่ 21 มกราคมนี้ โดยทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สกพ.) มั่นใจว่าจะมีผู้ยื่นซองประมูลไม่ต่ำกว่า 60 ราย ซึ่งจะทราบผลผู้ชนะประมูลไตรมาสที่ 3 ของปีนี้
++++ปรับแผนพีดีพีรับมือราคาก๊าซพุ่ง
นอกจากนี้ การที่ประเทศพึ่งก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้ามากเกินไปถึง 70% ในปี 2556 นี้ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มีความกังวลต่อปริมาณก๊าซธรรมชาติที่จะไม่พอใช้ในอนาคตและต้นทุนไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้น จะมีการปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพีใหม่ (2556-2575) แทนพีดีพีเดิมที่เน้นการพึ่งโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก โดยจะเพิ่มสัดส่วนจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน และรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นที่มีแนวโน้มว่าจะปรับตัวสูงขึ้นถึงระดับ 5 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบันอยู่ที่ 3 บาทต่อหน่วย ส่วนจะดำเนินการได้แค่ไหน
+++แนวโน้มการใช้น้ำมันพุ่ง
ส่วนทิศทางแนวโน้มการใช้น้ำมันในปี 2556 นั้น นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ชี้ให้เห็นว่าการใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินในไตรมาสแรกของปี 2556 จะอยู่ที่ประมาณ 21.9 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ยอดใช้อยู่ที่ 20.8 ล้านลิตรต่อวัน โดยหลังจากมีการประกาศยกเลิกเบนซิน 91 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป จะส่งผลให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทน คาดว่าน่าจะมีการใช้แก๊สโซฮอล์กว่า 3 ใน 4 ของการใช้น้ำมันในกลุ่มเบนซินทั้งหมด โดยจะยังคงมีน้ำมันเบนซิน 95 เป็นทางเลือกอยู่ ซึ่งปตท.จะกลับมาจำหน่ายเบนซิน 95 ในบางปั๊มอีกครั้งหนึ่ง
ขณะที่แนวโน้มการใช้น้ำมันดีเซลในไตรมาสแรกปี 2556 คาดว่าจะอยู่ที่ 57.1 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอยู่ที่ 55.8 ล้านลิตรต่อวัน และหลังจากนั้นจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้คงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลให้อยู่ในระดับต่ำไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร
สำหรับการใช้ก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีในปี 2556 คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 6.56 แสนตันต่อเดือน ซึ่งเป็นการขยายตัวตามการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจ ประกอบกับความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะภาคครัวเรือนและขนส่ง ซึ่งจะทำให้การนำเข้าก๊าซแอลพีจีสูงขึ้นกว่าปี 2555 ที่อยู่ในระดับเฉลี่ย 1.44 แสนตันต่อเดือน เพิ่มเป็น 1.7 แสนตันต่อเดือน แต่ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะมีมาตรการปรับราคาขายปลีกแอลพีจีให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงหรือไม่
ส่วนการใช้ก๊าซเอ็นจีวี ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 คาดว่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงปลายปี 2555 ที่มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ประมาณ 7.9-8.1 พันตันต่อวัน และอาจจะเพิ่มสูงขึ้นหลังจากผ่านพ้นไตรมาสแรกไปแล้ว เนื่องจากราคาขายปลีกเอ็นจีวีที่ยังคงต่ำกว่าน้ำมัน ประกอบกับจำนวนสถานีบริการที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,806 วันที่ 3 - 5 มกราคม พ.ศ. 2556
Source -ฐานเศรษฐกิจ (Th), Thursday, January 03, 2013
ในปี 2556 นี้จะเป็นปีที่เห็นการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานของประเทศไทยข้ามไปอีกขั้น โดยเฉพาะ "โครงสร้างราคาพลังงาน" ที่ดูเหมือนจะร้อนแรง หลังจากในปีที่ผ่านมารัฐบาลพยายามผลักดัน แต่ก็ต้องหยุดชะงักไป ซึ่งสิ่งที่จะตามมาหลังจากนี้ คือราคาพลังงานที่เริ่มขยับสูงขึ้น หลังภาครัฐเริ่มปลดผ่อนภาระที่ต้องอุดหนุนราคาพลังงานให้ย่ำอยู่กับที่มาเป็นระยะเวลานาน
+++ราคาพลังงานทยอยปรับตัวสูงขึ้น
โดยราคาก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีที่นับว่า เป็นภาระหนักของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ยังค้างจ่ายเงินชดเชยราคานำเข้าก๊าซแอลพีจีให้กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กว่า 5.1 พันล้านบาท และยังค้างจ่ายชดเชยราคาก๊าซแอลพีจีให้กับโรงกลั่นน้ำมันอีกกว่า 3.3 พันล้านบาท ส่งผลให้ภาพกองทุนมีฐานะติดลบกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท
ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงพยายามผลักดันให้การลอยตัวราคาก๊าซแอลพีจีได้ข้อยุติโดยเร็ว ซึ่งวางแผนทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2556 แม้ว่าจะยังต้องใช้เงินจากกองทุนช่วยอุดหนุนผู้มีรายได้น้อยกว่า 4 ล้านราย เพื่อให้ได้ใช้ราคาก๊าซแอลพีจีในอัตราเดิมที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เทียบกับราคาต้นทุนที่แท้จริงที่ควรจะเป็น 24.82 บาทต่อกิโลกรัม แต่ก็ยังดีกว่าหว่านแหอุดหนุนทุกภาคส่วน
เบื้องต้นจะทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีภาคครัวเรือนและภาคขนส่งเดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม ส่วนเอ็นจีวีก็จะทยอยปรับเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 10.50 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 13.28 บาทต่อกิโลกรัม แต่มีข้อแม้ว่า ปตท.จะต้องขยายสถานีบริการเอ็นจีวีให้ครอบคลุมต่อความต้องการ และกระจายให้ครบทุกจังหวัดด้วย
+++อัดพลังงานทดแทนเพิ่มเป็น 13%
ขณะที่การพัฒนาพลังงานทดแทน จะเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีการยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ค้าน้ำมันเกือบจะทุกรายหันมาจำหน่ายแก๊สโซฮอล์อี 20 และอี 85 เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันโรงกลั่นน้ำมันต้องปรับกระบวนการกลั่นน้ำมันใหม่ เพื่อรองรับน้ำมันพื้นฐานที่จะนำมาผสมเป็นแก๊สโซฮอล์ โดยจะส่งผลให้การผลิตเอทานอลที่ขณะนี้ใช้อยู่เพียง 1.4 ล้านลิตรต่อวัน จะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2 ล้านลิตรต่อวัน เป็นการขยายตลาดให้กับผู้ผลิตเอทานอลที่มีกำลังการผลิตล้นอยู่เวลานี้ 3-4 ล้านลิตรต่อวันได้ส่วนหนึ่ง
อีกทั้ง จะมีการพิจารณาเพื่อแยกกฎหมายเอทานอล ออกจาก พ.ร.บ.สุราสามทับ ทำให้สามารถบริหารจัดการเอทานอลได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันการส่งออกเอทานอลก็จะสะดวกขึ้นด้วย
นอกจากนี้ การที่กระทรวงพลังงานพยายามผลักดันเพิ่มสัดส่วนการพัฒนาพลังงานทดแทนให้เพิ่มขึ้นเป็น 25% ในปี 2564 โดย "นายอำนวย ทองสถิต" อธิบดีกรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เชื่อว่าสัดส่วนพลังงานทดแทนจะเป็นไปตามเป้ารวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะกระทรวงอยู่ระหว่างการร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมพลังงานทดแทน คาดว่าจะมีความชัดเจนภายในปี 2556
หาก พ.ร.บ.ส่งเสริมพลังงานทดแทนมีผลบังคับใช้ จะช่วยให้การลงทุนพลังงานทดแทนง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการผ่อนปรนข้อกฎหมาย และยังเอื้ออำนวยด้านการลงทุนให้อีกด้วย อาทิ โรงไฟฟ้าขยะที่เดิมจะติด พ.ร.บ.ผังเมือง ก็อาจผ่อนปรนให้ หรือการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานลม ซึ่งมีความเหมาะสมบางพื้นที่เท่านั้น ก็อาจผ่อนปรนกฎหมายเพื่อให้น่าสนใจลงทุนเพิ่มขึ้น โดยทิศทางพลังงานทดแทนในปีหน้า คาดว่าจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 12-13% จากปีนี้อยู่ที่ 10% ของปริมาณการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์(โซลาร์เซลล์) ที่เป็นดาวรุ่งอยู่เวลานี้ ภายหลังจากปิดรับซื้อไฟฟ้าไปเมื่อกลางปี 2553 ในปีนี้ คาดว่าจะมีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าใหม่ จากเดิมที่ให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า(แอดเดอร์) ที่ 6.50 บาทต่อหน่วย เป็นการรับซื้อไฟฟ้าตามต้นทุนจริง (ฟีดอินทาริฟ) ที่ 5.12 บาทต่อหน่วยแทน ซึ่งกรณีดังกล่าวยังคงเป็นข้อถกเถียงกันระหว่างกระทรวงพลังงานกับผู้ประกอบการ ที่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าต่ำเกินไป แต่น่าจะได้ข้อสรุปภายในต้นปี 2556 นี้
+++เปิดประมูลไอพีพีคึกคัก
สำหรับการลงทุนด้านพลังงานขนาดใหญ่ ที่ผู้ประกอบการรอคอยมานานกว่า 5 ปี ในปีนี้จะเห็นความคึกคักของการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี)ขนาดกำลังการผลิต 5.4 พันเมกะวัตต์ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงทั้งหมด ใช้เงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะมีการเปิดขายซองถึงวันที่ 21 มกราคมนี้ โดยทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สกพ.) มั่นใจว่าจะมีผู้ยื่นซองประมูลไม่ต่ำกว่า 60 ราย ซึ่งจะทราบผลผู้ชนะประมูลไตรมาสที่ 3 ของปีนี้
++++ปรับแผนพีดีพีรับมือราคาก๊าซพุ่ง
นอกจากนี้ การที่ประเทศพึ่งก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้ามากเกินไปถึง 70% ในปี 2556 นี้ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มีความกังวลต่อปริมาณก๊าซธรรมชาติที่จะไม่พอใช้ในอนาคตและต้นทุนไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้น จะมีการปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพีใหม่ (2556-2575) แทนพีดีพีเดิมที่เน้นการพึ่งโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก โดยจะเพิ่มสัดส่วนจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน และรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นที่มีแนวโน้มว่าจะปรับตัวสูงขึ้นถึงระดับ 5 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบันอยู่ที่ 3 บาทต่อหน่วย ส่วนจะดำเนินการได้แค่ไหน
+++แนวโน้มการใช้น้ำมันพุ่ง
ส่วนทิศทางแนวโน้มการใช้น้ำมันในปี 2556 นั้น นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ชี้ให้เห็นว่าการใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินในไตรมาสแรกของปี 2556 จะอยู่ที่ประมาณ 21.9 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ยอดใช้อยู่ที่ 20.8 ล้านลิตรต่อวัน โดยหลังจากมีการประกาศยกเลิกเบนซิน 91 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป จะส่งผลให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทน คาดว่าน่าจะมีการใช้แก๊สโซฮอล์กว่า 3 ใน 4 ของการใช้น้ำมันในกลุ่มเบนซินทั้งหมด โดยจะยังคงมีน้ำมันเบนซิน 95 เป็นทางเลือกอยู่ ซึ่งปตท.จะกลับมาจำหน่ายเบนซิน 95 ในบางปั๊มอีกครั้งหนึ่ง
ขณะที่แนวโน้มการใช้น้ำมันดีเซลในไตรมาสแรกปี 2556 คาดว่าจะอยู่ที่ 57.1 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอยู่ที่ 55.8 ล้านลิตรต่อวัน และหลังจากนั้นจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้คงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลให้อยู่ในระดับต่ำไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร
สำหรับการใช้ก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีในปี 2556 คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 6.56 แสนตันต่อเดือน ซึ่งเป็นการขยายตัวตามการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจ ประกอบกับความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะภาคครัวเรือนและขนส่ง ซึ่งจะทำให้การนำเข้าก๊าซแอลพีจีสูงขึ้นกว่าปี 2555 ที่อยู่ในระดับเฉลี่ย 1.44 แสนตันต่อเดือน เพิ่มเป็น 1.7 แสนตันต่อเดือน แต่ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะมีมาตรการปรับราคาขายปลีกแอลพีจีให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงหรือไม่
ส่วนการใช้ก๊าซเอ็นจีวี ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 คาดว่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงปลายปี 2555 ที่มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ประมาณ 7.9-8.1 พันตันต่อวัน และอาจจะเพิ่มสูงขึ้นหลังจากผ่านพ้นไตรมาสแรกไปแล้ว เนื่องจากราคาขายปลีกเอ็นจีวีที่ยังคงต่ำกว่าน้ำมัน ประกอบกับจำนวนสถานีบริการที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,806 วันที่ 3 - 5 มกราคม พ.ศ. 2556
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 818
ตั้งเป้าเพิ่มปั๊มเอ็นจีวตีกรอบเวลา3ปีครอบคลุมทุกพื้นที่แก้ขาดแคลน-ลดปัญหาเข้าคิวยาว
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Thursday, January 03, 2013
โพสต์ทูเดย์- ปตท. ชงแผนแก้ปัญหาสถานีบริการเอ็นจีวีไม่เพียงพอ กำหนด 3 ปี ขยายปั๊มครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วไทย
บริษัท ปตท. เสนอแผนแก้ไขปัญหาการให้บริการเอ็นจีวีไม่เพียงพอต่อนายพงษ์ศักดิ์รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน ในการประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพลังงานโดยแยกเป็น 2 เรื่องหลักคือ ขยายปั๊มเอ็นจีวีให้ครอบคลุมทั่วประเทศใน 3 ปี (2556-2558) จะมีปั๊มเอ็นจีวีเพิ่มขึ้นจาก 485 แห่ง
ใน 54 จังหวัด เป็น 530 แห่ง ใน 77 จังหวัด เพิ่มปริมาณการจ่ายเอ็นจีวีจากวันละ 8,366 ตัน เป็น 1.2 หมื่นตัน/วัน
สำหรับแผนการเพิ่มปริมาณจ่ายเอ็นจีวี แยกเป็นเขต กทม.และปริมณฑล กับเขตภูมิภาค ปี 2556 จะเพิ่มปริมาณการจ่ายก๊าซของสถานีหลักและสถานีแนวท่อรวม525 ตัน/วัน และปี 2557 เพิ่มอีก 355 ตัน/วัน ส่วนเขตภูมิภาค ในปี 2556 เพิ่มการจ่ายก๊าซ 801 ตัน/วัน ปี 2557 เพิ่มอีก 350 ตัน/วัน และปี 2558 เพิ่มอีก 1,225 ตัน/วัน
ด้านการแก้ปัญหาคิวรอเติมก๊าซในพื้นที่ กทม.และปริมณฑลชั่วโมงเร่งด่วนจากการสำรวจพบว่ามีปั๊มเอ็นจีวีที่มปัญหารอคิวนาน 103 แห่ง จาก 224 แห่งเกิดจากปัญหาก๊าซขาด 54 แห่ง และคนใช้บริการมาก 49 แห่ง จึงจะเพิ่มการจัดส่งก๊าซและจัดจราจรภายในปั๊มให้คล่องตัว คาดจะใช้งบลงทุนปีแรก 780 ล้านบาท
การดำเนินงานวางแผนไว้ 3 แนวทางคือ 1.ระยะ 3 เดือนแรก เพิ่มปริมาณจ่ายก๊าซอีก วันละ 50 ตัน ให้ปั๊มที่ขาดแคลนและปั๊มที่มีผู้เข้ามาใช้บริการหนาแน่น 2.ระยะ 6-9 เดือน เพิ่มการจ่ายก๊าซให้กับปั๊มใกล้เคียงที่มีศักยภาพ 30 แห่ง อีก 46 ตัน/วัน ใช้งบลงทุน 336 ล้านบาท และ3.ระยะ 1 ปี เพิ่มปริมาณจ่ายก๊าซใหม่จากปั๊มเปิดใหม่ และโครงการเปลี่ยนสถานีลูกเป็นแนวท่อ อีก 20 ตัน/วัน ใช้งบลงทุน445 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังได้รายงานผลการศึกษาโครงสร้างราคาขายปลีกเอ็นจีวีของสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยระบุว่า ราคาเอ็นจีวีในปี 2556 เฉลี่ยอยู่ที่15.14 บาท/กก. ปี 2557 อยู่ที่ 15.43 บาท/กก. และปี 2558 อยู่ที่ 18.36 บาท/กก. ในขณะที่ผลการศึกษาราคาขายปลีกเอ็นจีวีปี 2554 อยู่ที่ 13.28 บาท/กก.
--จบ--
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Thursday, January 03, 2013
โพสต์ทูเดย์- ปตท. ชงแผนแก้ปัญหาสถานีบริการเอ็นจีวีไม่เพียงพอ กำหนด 3 ปี ขยายปั๊มครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วไทย
บริษัท ปตท. เสนอแผนแก้ไขปัญหาการให้บริการเอ็นจีวีไม่เพียงพอต่อนายพงษ์ศักดิ์รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน ในการประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพลังงานโดยแยกเป็น 2 เรื่องหลักคือ ขยายปั๊มเอ็นจีวีให้ครอบคลุมทั่วประเทศใน 3 ปี (2556-2558) จะมีปั๊มเอ็นจีวีเพิ่มขึ้นจาก 485 แห่ง
ใน 54 จังหวัด เป็น 530 แห่ง ใน 77 จังหวัด เพิ่มปริมาณการจ่ายเอ็นจีวีจากวันละ 8,366 ตัน เป็น 1.2 หมื่นตัน/วัน
สำหรับแผนการเพิ่มปริมาณจ่ายเอ็นจีวี แยกเป็นเขต กทม.และปริมณฑล กับเขตภูมิภาค ปี 2556 จะเพิ่มปริมาณการจ่ายก๊าซของสถานีหลักและสถานีแนวท่อรวม525 ตัน/วัน และปี 2557 เพิ่มอีก 355 ตัน/วัน ส่วนเขตภูมิภาค ในปี 2556 เพิ่มการจ่ายก๊าซ 801 ตัน/วัน ปี 2557 เพิ่มอีก 350 ตัน/วัน และปี 2558 เพิ่มอีก 1,225 ตัน/วัน
ด้านการแก้ปัญหาคิวรอเติมก๊าซในพื้นที่ กทม.และปริมณฑลชั่วโมงเร่งด่วนจากการสำรวจพบว่ามีปั๊มเอ็นจีวีที่มปัญหารอคิวนาน 103 แห่ง จาก 224 แห่งเกิดจากปัญหาก๊าซขาด 54 แห่ง และคนใช้บริการมาก 49 แห่ง จึงจะเพิ่มการจัดส่งก๊าซและจัดจราจรภายในปั๊มให้คล่องตัว คาดจะใช้งบลงทุนปีแรก 780 ล้านบาท
การดำเนินงานวางแผนไว้ 3 แนวทางคือ 1.ระยะ 3 เดือนแรก เพิ่มปริมาณจ่ายก๊าซอีก วันละ 50 ตัน ให้ปั๊มที่ขาดแคลนและปั๊มที่มีผู้เข้ามาใช้บริการหนาแน่น 2.ระยะ 6-9 เดือน เพิ่มการจ่ายก๊าซให้กับปั๊มใกล้เคียงที่มีศักยภาพ 30 แห่ง อีก 46 ตัน/วัน ใช้งบลงทุน 336 ล้านบาท และ3.ระยะ 1 ปี เพิ่มปริมาณจ่ายก๊าซใหม่จากปั๊มเปิดใหม่ และโครงการเปลี่ยนสถานีลูกเป็นแนวท่อ อีก 20 ตัน/วัน ใช้งบลงทุน445 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังได้รายงานผลการศึกษาโครงสร้างราคาขายปลีกเอ็นจีวีของสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยระบุว่า ราคาเอ็นจีวีในปี 2556 เฉลี่ยอยู่ที่15.14 บาท/กก. ปี 2557 อยู่ที่ 15.43 บาท/กก. และปี 2558 อยู่ที่ 18.36 บาท/กก. ในขณะที่ผลการศึกษาราคาขายปลีกเอ็นจีวีปี 2554 อยู่ที่ 13.28 บาท/กก.
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 819
2015 ต้นทุนไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ต่ำกว่า 1 เหรียญ แข่งน้ำมัน แก๊ส ถ่านหินได้
โอเคเนชั่น, ตุลาคม 2554
ที่ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=752181
โอเคเนชั่น, ตุลาคม 2554
ที่ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=752181
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 820
รัฐจ่อดึงเงินกองทุนฯ7.5พันล.สร้างท่อส่งน้ำมัน
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Saturday, January 05, 2013
พลังงานเร่งหาข้อสรุปด้านกฎหมาย ดึงเงินกองทุนอนุรักษ์ฯ 7.5 พันล้านบาท ผุดท่อส่งน้ำมันภาคอีสานและภาคเหนือ มูลค่า 2 หมื่นล้านบาท ชี้รัฐต้องการให้แทปไลน์ลงทุน แต่ผู้ถือหุ้นต่างชาติต้องการผลตอบแทนสูงกว่า 15%
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยถึงโครงการท่อส่งน้ำมันจากจ.สระบุรี-จ.นครราชสีมา-จ.ขอนแก่น และจ.สระบุรี-จ.นครสวรรค์-จ.พิษณุโลก ว่ากรมฯจะหารือกับสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.)ซึ่งดูแลกองทุนอนุรักษ์พลังงาน ในข้อกฎหมายว่าสามารถนำเงินกองทุน ประมาณ 7,500 ล้านบาท มาใช้ในการลงทุนโครงการได้หรือไม่ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องของการประหยัดพลังงาน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนอนุรักษ์ฯ
นอกจากนี้ กรมฯจะเจรจากับบริษัทท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด หรือแทปไลน์ ถึงความเป็นไปได้ที่แทปไลน์จะเข้าร่วมลงทุนในโครงการนี้ หรือการขายกิจการดังกล่าวคืนให้รัฐ เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการที่เกี่ยวกับความมั่นคงด้านพลังงาน คาดว่าจะนำข้อสรุปรายงานต่อนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ในเร็วๆนี้
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมธุรกิจพลังงานศึกษาโครงการลงทุนท่อส่งน้ำมัน มูลค่าประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาทหลายแนวทาง หากลงทุนเชื่อมต่อกับแนวท่อเดิมของแทปไลน์ ซึ่งวางท่อจากมาบตาพุดมายังลำลูกกา และจ.สระบุรี โดยแนวทางที่รัฐต้องการมากที่สุดคือการให้แทปไลน์เป็นผู้ลงทุน แต่การที่ภาครัฐกำหนดผลตอบแทนการลงทุนเพียง 11% ส่งผลให้ผู้ถือหุ้นแทปไลน์ โดยเฉพาะบริษัทน้ำมันต่างประเทศ เช่น เชฟรอน เชลล์ เอสโซ่ ไม่สนใจลงทุน เพราะต้องการได้ผลตอบแทนการลงทุนสูงกว่า 15% และหากรัฐต้องลงทุน จะเป็นการวางแนวท่อเส้นใหม่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดยอาจใช้เงินจากกองทุนอนุรักษ์ฯหรือซื้อคืนกิจการจากเอกชนเพื่อดำเนินการเอง
ส่วนแนวทางอื่น เช่น การให้บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ในฐานะผู้ถือหุ้นแทปไลน์ ซึ่งถือหุ้นร่วมกับบริษัท ไทยออยล์ จำกัด ในสัดส่วน 40% เจรจาซื้อหุ้นให้ได้มากกว่า 75% เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ แต่แนวทางทั้งหมดยังไม่มีข้อสรุป โดยรัฐพยายามรักษาท่าทีการเจรจา เพื่อไม่ให้เกิดภาพว่าบีบบังคับให้บริษัทน้ำมันต่างชาติถอนหุ้นจากกิจการดังกล่าว
สาเหตุที่ต้องลงทุนท่อส่งน้ำมันไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ เพราะต้องการให้ผู้บริโภคใช้น้ำมันราคาเดียวกันทั้งประเทศ ซึ่งกองทุนอนุรักษ์ฯ จะได้รับเงินคืนจากอัตราค่าผ่านท่อที่รัฐเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ โดยผลศึกษาเบื้องต้นพบว่าโครงการนี้จะช่วยลดค่าขนส่งน้ำมันโดยรถบรรทุกปีละประมาณ 2.5 พันล้านบาท และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของประเทศใน15 ปี คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6.2 หมื่นล้านบาท
กองทุนฯจะได้เงินคืนจากอัตราค่าผ่านท่อที่รัฐเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ
--จบ--
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Saturday, January 05, 2013
พลังงานเร่งหาข้อสรุปด้านกฎหมาย ดึงเงินกองทุนอนุรักษ์ฯ 7.5 พันล้านบาท ผุดท่อส่งน้ำมันภาคอีสานและภาคเหนือ มูลค่า 2 หมื่นล้านบาท ชี้รัฐต้องการให้แทปไลน์ลงทุน แต่ผู้ถือหุ้นต่างชาติต้องการผลตอบแทนสูงกว่า 15%
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยถึงโครงการท่อส่งน้ำมันจากจ.สระบุรี-จ.นครราชสีมา-จ.ขอนแก่น และจ.สระบุรี-จ.นครสวรรค์-จ.พิษณุโลก ว่ากรมฯจะหารือกับสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.)ซึ่งดูแลกองทุนอนุรักษ์พลังงาน ในข้อกฎหมายว่าสามารถนำเงินกองทุน ประมาณ 7,500 ล้านบาท มาใช้ในการลงทุนโครงการได้หรือไม่ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องของการประหยัดพลังงาน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนอนุรักษ์ฯ
นอกจากนี้ กรมฯจะเจรจากับบริษัทท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด หรือแทปไลน์ ถึงความเป็นไปได้ที่แทปไลน์จะเข้าร่วมลงทุนในโครงการนี้ หรือการขายกิจการดังกล่าวคืนให้รัฐ เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการที่เกี่ยวกับความมั่นคงด้านพลังงาน คาดว่าจะนำข้อสรุปรายงานต่อนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ในเร็วๆนี้
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมธุรกิจพลังงานศึกษาโครงการลงทุนท่อส่งน้ำมัน มูลค่าประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาทหลายแนวทาง หากลงทุนเชื่อมต่อกับแนวท่อเดิมของแทปไลน์ ซึ่งวางท่อจากมาบตาพุดมายังลำลูกกา และจ.สระบุรี โดยแนวทางที่รัฐต้องการมากที่สุดคือการให้แทปไลน์เป็นผู้ลงทุน แต่การที่ภาครัฐกำหนดผลตอบแทนการลงทุนเพียง 11% ส่งผลให้ผู้ถือหุ้นแทปไลน์ โดยเฉพาะบริษัทน้ำมันต่างประเทศ เช่น เชฟรอน เชลล์ เอสโซ่ ไม่สนใจลงทุน เพราะต้องการได้ผลตอบแทนการลงทุนสูงกว่า 15% และหากรัฐต้องลงทุน จะเป็นการวางแนวท่อเส้นใหม่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดยอาจใช้เงินจากกองทุนอนุรักษ์ฯหรือซื้อคืนกิจการจากเอกชนเพื่อดำเนินการเอง
ส่วนแนวทางอื่น เช่น การให้บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ในฐานะผู้ถือหุ้นแทปไลน์ ซึ่งถือหุ้นร่วมกับบริษัท ไทยออยล์ จำกัด ในสัดส่วน 40% เจรจาซื้อหุ้นให้ได้มากกว่า 75% เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ แต่แนวทางทั้งหมดยังไม่มีข้อสรุป โดยรัฐพยายามรักษาท่าทีการเจรจา เพื่อไม่ให้เกิดภาพว่าบีบบังคับให้บริษัทน้ำมันต่างชาติถอนหุ้นจากกิจการดังกล่าว
สาเหตุที่ต้องลงทุนท่อส่งน้ำมันไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ เพราะต้องการให้ผู้บริโภคใช้น้ำมันราคาเดียวกันทั้งประเทศ ซึ่งกองทุนอนุรักษ์ฯ จะได้รับเงินคืนจากอัตราค่าผ่านท่อที่รัฐเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ โดยผลศึกษาเบื้องต้นพบว่าโครงการนี้จะช่วยลดค่าขนส่งน้ำมันโดยรถบรรทุกปีละประมาณ 2.5 พันล้านบาท และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของประเทศใน15 ปี คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6.2 หมื่นล้านบาท
กองทุนฯจะได้เงินคืนจากอัตราค่าผ่านท่อที่รัฐเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 821
ใต้ระทึก-พายุ'โซนามุ'จ่ออ่าวไทย!นราอ่วมยังอพยพน้ำไม่ลด
Source - ข่าวสด (Th), Sunday, January 06, 2013
กรมอุตุฯ เตือนภัยพายุโซนามุเคลื่อนตัวใกล้ชายฝั่งมาเลเซียช่วง 7-8 ม.ค. ส่งผลภาคใต้ตั้งแต่จ.สุราษฎร์ฯ ลงไปมีฝนตกหนักลงมาอีก คลื่นอ่าวไทยสูง 2-3 เมตร และเตือนอากาศหนาวอีกรอบจากความกดอากาศสูงจากจีนระลอกใหม่ รวมภาคกลาง ภาคตะวันออกด้วย ด้านจ.นราธิวาส ฝนหยุดตกแล้ว แต่ระดับน้ำท่วมขังในชุมชนเขตเทศบาลยังทรงตัว เนื่องจากน้ำป่าบนภูเขายังไหลลงมารวมกับน้ำในแม่น้ำสุไหงโก-ลกที่ล้นตลิ่งอยู่แล้ว ชาวบ้านแห่จับปลาดุกปลาช่อนที่มากับกระแสน้ำขายหารายได้ หลังจากฝนตกน้ำท่วมทำให้กรีดยางพาราไม่ได้มาร่วมเดือนแล้ว
วันที่ 5 ม.ค. กรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่าในช่วงวันที่ 5-9 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าโดยทั่วไป และบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียสในบางพื้นที่ ส่วนบริเวณภูเขาสูงในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนเป็นแห่งๆ ส่วนอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 2-3 เมตร และส่วนในช่วงวันที่ 10-11 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศ ไทยตอนบน ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก มีอากาศหนาวเย็นลง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส
อนึ่งพายุโซนร้อน "โซนามุ" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง มีแนวโน้มเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศมาเลเซียในช่วงวันที่ 7-8 ม.ค. นี้ ทำให้ภาคใต้ตั้งแต่จ.สุราษฎร์ธานีลงไปมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 ม.
ข้อควรระวังในระยะนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็น ส่วนในช่วงวันที่ 7-11 ม.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตั้งแต่จ.สุราษฎร์ธานีลงไประวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและคลื่นลมแรงไว้ด้วย โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงดังกล่าว
วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่จ.นคร ศรีธรรมราช หลังจากกรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งเตือนถึงพายุโซนร้อน "โซนามุ" อาจมีแนวโน้มเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทยในระยะนี้ ส่งผลให้บริษัทเจ้าของแท่นขุดเจาะผลิตปิโตรเลียมกลางอ่าวไทย ทั้งบริษัทปตท.สผ. และบริษัทเชฟรอนสำรวจและผลิต ประเทศ ไทย จำกัด ได้แจ้งเตือนภัยบนแท่นขุดเจาะ และเตรียมใช้แผนการอพยพกำลังคนที่อยู่บนแท่นออกมาตามลำดับหากสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรง เพื่อเป็นการป้องกันภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระยะนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศูนย์การขนส่งทางอากาศของบริษัทเชฟรอนสำรวจและผลิตฯ ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของบริเวณท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ได้เริ่มแผนอพยพโดยการลำเลียงพนักงานส่วนหนึ่งกลับเข้าฝั่งด้วยเฮลิคอปเตอร์ มาขึ้นฝั่งทั้งในจ.นครศรีธรรมราช สงขลา และสัตหีบ จ.ชลบุรี ทั้งนี้ จะมีพนักงานที่ทำงานอยู่กลางทะเลอ่าวไทยทั้งหมดกว่า 1,200 คน อพยพมาพักบนแผ่นดินใหญ่ ในส่วนพนัก งานของปตท.สผ.จะขึ้นฝั่งที่อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ขณะที่ในแต่ละแท่นจะมีลำดับขั้นตอนของการอพยพอยู่แล้วตามมาตรฐานความปลอดภัยต่อกรณีการเกิดพายุและภัยธรรมชาติ ตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงสูงสุด คือการปิดแท่นขุดเจาะและอพยพกำลังคนขึ้นฝั่งมาทั้งหมดต่อไป
ด้านจ.นราธิวาส ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับสภาวะน้ำท่วมว่า ขณะนี้ฝนได้หยุดตกติดต่อกันเป็นเวลา 2 วันแล้ว แต่สภาวะน้ำท่วมขังบ้านเรือน พื้นที่ทางการเกษตรและที่ราบลุ่มยังคงอยู่ในระดับทรงตัว จุดที่วิกฤตที่สุดเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากอยู่ในพื้นที่ 6 ชุมชนของเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่ 54 ครัวเรือน จำนวน 224 คน โดยต่างต้องอพยพครัวเรือนไปอาศัยอยู่ที่ศูนย์อพยพโรงเรียนเทศบาล 4 เป็นการชั่วคราว เพราะมีระดับน้ำท่วมขังสูงเฉลี่ย 60-120 ซ.ม. จากอิทธิพลของน้ำป่าบนเทือกเขาในพื้นที่อ.สุคิริน ที่ไหลทะลักลงมาสมทบกับปริมาณน้ำในแม่น้ำสุไหงโก-ลกที่ล้นตลิ่งอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลพวงจากน้ำท่วมในครั้งนี้ ทำให้ชาวบ้านพากันออกจับปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน และปลาไหล ที่มากับกระแสน้ำไปขายเป็นรายได้เสริมตกแล้ววันละ 200-300 บาทต่อคน หลังจากที่ไม่สามารถประกอบอาชีพกรีดยางพาราได้เป็นเวลาเกือบ 1 เดือนแล้ว ส่วนเจ้าหน้าที่ทหารภายใต้การนำของ พ.ท.วุทธยา จันทมาศ ผบ.ฉก.นราธิวาส 36 ได้นำถุงยังชีพและแพทย์ทหารเดินทางไปที่ศูนย์อพยพโรงเรียนเทศบาล 4 เพื่อแจกจ่ายและรักษาชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้ชราที่เริ่มป่วยด้วยโรคน้ำกัดเท้าและไข้หวัด หลังจากต้องตรากตรำกับสภาวะน้ำท่วมถึง 2 ระลอก
Source - ข่าวสด (Th), Sunday, January 06, 2013
กรมอุตุฯ เตือนภัยพายุโซนามุเคลื่อนตัวใกล้ชายฝั่งมาเลเซียช่วง 7-8 ม.ค. ส่งผลภาคใต้ตั้งแต่จ.สุราษฎร์ฯ ลงไปมีฝนตกหนักลงมาอีก คลื่นอ่าวไทยสูง 2-3 เมตร และเตือนอากาศหนาวอีกรอบจากความกดอากาศสูงจากจีนระลอกใหม่ รวมภาคกลาง ภาคตะวันออกด้วย ด้านจ.นราธิวาส ฝนหยุดตกแล้ว แต่ระดับน้ำท่วมขังในชุมชนเขตเทศบาลยังทรงตัว เนื่องจากน้ำป่าบนภูเขายังไหลลงมารวมกับน้ำในแม่น้ำสุไหงโก-ลกที่ล้นตลิ่งอยู่แล้ว ชาวบ้านแห่จับปลาดุกปลาช่อนที่มากับกระแสน้ำขายหารายได้ หลังจากฝนตกน้ำท่วมทำให้กรีดยางพาราไม่ได้มาร่วมเดือนแล้ว
วันที่ 5 ม.ค. กรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่าในช่วงวันที่ 5-9 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าโดยทั่วไป และบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียสในบางพื้นที่ ส่วนบริเวณภูเขาสูงในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนเป็นแห่งๆ ส่วนอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 2-3 เมตร และส่วนในช่วงวันที่ 10-11 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศ ไทยตอนบน ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก มีอากาศหนาวเย็นลง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส
อนึ่งพายุโซนร้อน "โซนามุ" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง มีแนวโน้มเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศมาเลเซียในช่วงวันที่ 7-8 ม.ค. นี้ ทำให้ภาคใต้ตั้งแต่จ.สุราษฎร์ธานีลงไปมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 ม.
ข้อควรระวังในระยะนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็น ส่วนในช่วงวันที่ 7-11 ม.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตั้งแต่จ.สุราษฎร์ธานีลงไประวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและคลื่นลมแรงไว้ด้วย โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงดังกล่าว
วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่จ.นคร ศรีธรรมราช หลังจากกรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งเตือนถึงพายุโซนร้อน "โซนามุ" อาจมีแนวโน้มเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทยในระยะนี้ ส่งผลให้บริษัทเจ้าของแท่นขุดเจาะผลิตปิโตรเลียมกลางอ่าวไทย ทั้งบริษัทปตท.สผ. และบริษัทเชฟรอนสำรวจและผลิต ประเทศ ไทย จำกัด ได้แจ้งเตือนภัยบนแท่นขุดเจาะ และเตรียมใช้แผนการอพยพกำลังคนที่อยู่บนแท่นออกมาตามลำดับหากสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรง เพื่อเป็นการป้องกันภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระยะนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศูนย์การขนส่งทางอากาศของบริษัทเชฟรอนสำรวจและผลิตฯ ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของบริเวณท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ได้เริ่มแผนอพยพโดยการลำเลียงพนักงานส่วนหนึ่งกลับเข้าฝั่งด้วยเฮลิคอปเตอร์ มาขึ้นฝั่งทั้งในจ.นครศรีธรรมราช สงขลา และสัตหีบ จ.ชลบุรี ทั้งนี้ จะมีพนักงานที่ทำงานอยู่กลางทะเลอ่าวไทยทั้งหมดกว่า 1,200 คน อพยพมาพักบนแผ่นดินใหญ่ ในส่วนพนัก งานของปตท.สผ.จะขึ้นฝั่งที่อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ขณะที่ในแต่ละแท่นจะมีลำดับขั้นตอนของการอพยพอยู่แล้วตามมาตรฐานความปลอดภัยต่อกรณีการเกิดพายุและภัยธรรมชาติ ตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงสูงสุด คือการปิดแท่นขุดเจาะและอพยพกำลังคนขึ้นฝั่งมาทั้งหมดต่อไป
ด้านจ.นราธิวาส ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับสภาวะน้ำท่วมว่า ขณะนี้ฝนได้หยุดตกติดต่อกันเป็นเวลา 2 วันแล้ว แต่สภาวะน้ำท่วมขังบ้านเรือน พื้นที่ทางการเกษตรและที่ราบลุ่มยังคงอยู่ในระดับทรงตัว จุดที่วิกฤตที่สุดเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากอยู่ในพื้นที่ 6 ชุมชนของเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่ 54 ครัวเรือน จำนวน 224 คน โดยต่างต้องอพยพครัวเรือนไปอาศัยอยู่ที่ศูนย์อพยพโรงเรียนเทศบาล 4 เป็นการชั่วคราว เพราะมีระดับน้ำท่วมขังสูงเฉลี่ย 60-120 ซ.ม. จากอิทธิพลของน้ำป่าบนเทือกเขาในพื้นที่อ.สุคิริน ที่ไหลทะลักลงมาสมทบกับปริมาณน้ำในแม่น้ำสุไหงโก-ลกที่ล้นตลิ่งอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลพวงจากน้ำท่วมในครั้งนี้ ทำให้ชาวบ้านพากันออกจับปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน และปลาไหล ที่มากับกระแสน้ำไปขายเป็นรายได้เสริมตกแล้ววันละ 200-300 บาทต่อคน หลังจากที่ไม่สามารถประกอบอาชีพกรีดยางพาราได้เป็นเวลาเกือบ 1 เดือนแล้ว ส่วนเจ้าหน้าที่ทหารภายใต้การนำของ พ.ท.วุทธยา จันทมาศ ผบ.ฉก.นราธิวาส 36 ได้นำถุงยังชีพและแพทย์ทหารเดินทางไปที่ศูนย์อพยพโรงเรียนเทศบาล 4 เพื่อแจกจ่ายและรักษาชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้ชราที่เริ่มป่วยด้วยโรคน้ำกัดเท้าและไข้หวัด หลังจากต้องตรากตรำกับสภาวะน้ำท่วมถึง 2 ระลอก
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 822
IRPC วิ่งเข้าสู่เป้าหมายผู้นำเอเชียปี'57
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Monday, January 07, 2013
...ยินดี เรืองดิษฐ์
การทำธุรกิจในยุคที่มีความผันผวนจากปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ทั้งจากภายนอกประเทศและภายในประเทศ รวมถึงภาวะการแข่งขันที่จะรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะ"การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558" จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำธุรกิจของผู้ประกอบการในประเทศไทย โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและเล็กหรือเอสเอ็มอี ที่อาจจะต้องเผชิญกับปัญหาส่วนบริษัทขนาดใหญ่น่าจะปรับตัวและรับมือกับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับบริษัท ไออาร์พีซี (IRPC) ได้วางกลยุทธ์และตั้งเป้าหมายไว้อย่างชัดเจนว่า ในปี2557 บริษัทจะก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรของภูมิภาคเอเชียแต่ต้องยอมรับว่า IRPC ทำธุรกิจสินค้าโภคภัณฑ์ ราคามีวัฏจักรขาขึ้นและขาลงซึ่งเป้าหมายนี้จะยังคงอยู่และจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง!!!!
"อธิคม เติบศิริ"กรรมการผู้จัดการใหญ่ IRPC ให้สัมภาษณ์ถึงแนวโน้มการเติบโตในปี 2556 ว่า ธุรกิจปิโตรเลียมจะยังคงอยู่ในภาวะผันผวน จากความกังวล
ต่อวิกฤตหนี้ยุโรป และปัจจัยทางเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยทางสำนักงาน IEA คาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันดิบจะอยู่ที่ 90.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2556 ซึ่งมีประเทศนอกกลุ่มประเทศโอเปก (Non-OECD) ที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักในความต้องการใช้น้ำมัน โดยในอนาคตความต้องการใช้น้ำมันเบนซินจะลดลง แต่ความต้องการใช้น้ำมันดีเซลจะเพิ่มขึ้นจากการเติบโตของประเทศกำลังพัฒนา
อย่างไรก็ตามในแง่ของกำลังการผลิตนั้น คาดว่าในปี 2556 อยู่ที่ระดับ90.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน จึงยังมีความกังวล
ว่าอุปทานน้ำมันดิบโลกจะตึงตัวจากความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบ MENA และมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันอิหร่านของสหรัฐและยุโรป
สำหรับในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและตะวันออกกลางมี Additional Capacity ที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาค ส่งผลให้กำไรจากค่าการกลั่นทรงตัวอยู่ในระดับ8.9 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่ในปี 2558
กำลังการผลิตจะกลับมาสูงกว่าความต้องการ โดยมีการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในแต่ละปี
ทั้งนี้ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบแกว่งตัวในกรอบ 95-115 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล หรือมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 105 เหรียญสหรัฐ ในอนาคตมีแนวโน้มการผลิต Shale Gas จากภูมิภาคอเมริกาเหนือ เพิ่มสูงขึ้นเป็น 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในปี 2558 อีกทั้งมีเทคโนโลยีใหม่ที่จะมาทดแทนการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เช่น รถยนต์ไฟฟ้าหรือการพัฒนาแบตเตอรี่ รวมทั้งมาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำมันที่เข้มงวดในด้านสิ่งแวดล้อม
สำหรับแนวโน้มปิโตรเคมีนั้น คาดว่าจะเริ่มมีการฟื้นตัวในปี 2556-2557 โดยความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจากประเทศจีนและประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย ที่เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบการขนส่ง แต่ทั้งนี้ยังคงขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เปราะ
บางในประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมถึงการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันที่ส่งผลต่อราคาวัตถุดิบ คือ Naphtha
อย่างไรก็ตาม คาดว่าปัจจัยหนุนจากภายในประเทศ ได้แก่ การกลับมาดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมต่อเนื่องเช่นอุตสาหกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์อุตสาหกรรมพลาสติก ซึ่งสามารถผลิตได้เต็มประสิทธิภาพ หลังจากวิกฤตอุทกภัยที่ผ่านมาคาดว่าความต้องการวัตถุดิบเม็ดพลาสติกจะเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีดีขึ้น
ทางด้านปริมาณการผลิตนั้น การเพิ่มกำลังการผลิตใหม่ในประเทศจีน และนโยบายการผลิตและใช้ภายในประเทศ ส่งผลให้อัตราการนำเข้าของจีนจะลดลงใน
ระยะยาว ส่วนผู้ผลิตในตะวันออกกลางจะมีความได้เปรียบทางด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำ อีกทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตใหม่ของ Olefins ได้แก่ Coal To Olefin (CTO) และ Methane To Olefin (MTO)
ซึ่งส่งผลต่อปริมาณผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่จะถูกส่งออกมายังภูมิภาคเอเชียและยุโรปมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อบริษัทได้มองเห็นแนวโน้มและอุตสาหกรรมโดยภาพรวมของธุรกิจปิโตรเลียมและธุรกิจปิโตรเคมีแล้ว ทางบริษัทได้มีการทำแผนธุรกิจในช่วง 5 ปีข้างหน้าดังนี้ คือ
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม บริษัทมีเป้าหมายในการรักษาระดับสัดส่วนการขายภายในประเทศและการส่งออกปี 2559 ให้อยู่ในสัดส่วน 50% ต่อ 50% โดยขยายตลาดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมไปสู่ประเทศกลุ่มเออีซีให้มากขึ้น และในด้านการผลิตได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มีต้นทุนในการผลิตต่ำลง รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเลือก และพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี บริษัทมีแผนที่จะปรับสัดส่วนของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเกรดพิเศษ (Specialty) ให้สูงขึ้น โดยมีเป้าหมายอัตราส่วนเกรดพิเศษต่อเกรดปกติในปี 2559 ที่ 60:40 โดยมุ่งเน้นการขยายตัวของผลิตภัณฑ์เกรดพิเศษสายPropylene ที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภคบริโภค (Consumer Specialty) ที่เติบโตควบคู่กับการขยายตัวของชนชั้นกลางที่เป็นผลโดยตรงจากการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน (AEC)
ปี 2556 ตั้งเป้ารายได้โต 5-10%ขณะที่เป้าหมายในการทำธุรกิจในปี2556 นั้น คาดว่าในส่วนของรายได้นั้นจะมีอัตราการเติบโตในระดับประมาณ 5-10% โดยรายได้หลักของบริษัทนั้นจะมาจากผลิตภัณฑ์น้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 80% โดยมีปริมาณการขายภายในประเทศประมาณ 52% และส่วนที่เหลือส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียนเป็นส่วนใหญ่
ทั้งนี้ บริษัทมีความมั่นใจว่าจะสามารถสร้างรายได้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้เพราะบริษัทมีแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตPropylene 1 แสนตัน ที่แล้วเสร็จในปลายปี 2555 และปี 2556 มีโครงการร่วมลงทุนปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน Diesel EURO 4 กับบริษัท PTTGC ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือนก.พ. 2556
ขณะที่ด้านการดำเนินการผลิต บริษัทยังคงมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ โครงการปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อให้ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตทดแทนน้ำมันเตามากขึ้น รวมถึงการติดตั้งหน่วยกำจัดสารปรอทเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้วัตถุดิบได้หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันดิบในประเทศ
สำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ตามแผนการดำเนินงานของบริษัท ปี 2556 จะมีโครงการการขยายกำลังการผลิตแล้วเสร็จจำนวน 2 โครงการ คือ โครงการเพิ่มกำลังการผลิต Styrene Monomer จากปัจจุบัน2 แสนตัน เป็น 2.6 แสนตัน และโครงการขยายการผลิตผลิตภัณฑ์ ABS จาก 1.17 แสนตัน เป็น 1.77 แสนตัน ซึ่งโครงการดังกล่าวอยู่ในยุทธศาสตร์ Phoenix ที่ได้ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2554 ในปัจจุบันมีความก้าวหน้ามากกว่า 85%และคาดว่ารายได้จากปิโตรเคมีจะเติบโตประมาณ 8-12% โดยมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์เกรดพิเศษ (Specialty) จะเพิ่มขึ้นจาก30% ในปี 2555 เป็น 35% ในปี 2556
นอกจากนี้ บริษัทยังมีรายได้เสริมจากการให้เช่าถังเก็บผลิตภัณฑ์ การบริการท่าเรือ และธุรกิจไฟฟ้าในประเทศจะเพิ่มขึ้น 10% จากปี 2555 รวมถึงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ล่าช้าจากการพิจารณาของศาลปกครองในปี 2555 ก็จะสามารถเริ่มดำเนินการได้ตามแผนงานในปี 2556 หลังจากขั้นตอนต่างๆ ของการนิคมอุตสาหกรรมแล้วเสร็จ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มพัฒนาพื้นที่และการตลาดได้ในไตรมาส 2 ปี 2556
"แผนยุทธศาสตร์โครงการฟินิกซ์ หรือPhoenix ถือเป็นรากฐานในการเติบโตของบริษัท จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งผลักดันให้โครงการสำเร็จได้ตรงตามเวลา (On Time) ภายใต้งบประมาณที่กำหนด (On Budget) และสามารถสร้างรายได้ตามเป้า (Contribute Benefit) โดยมุ่งเน้นการเฝ้าระวัง ดูแล ส่งเสริมสุขภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชน
การสื่อสารผลการดำเนินงานของบริษัทเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และการบริหารอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพื่อความยั่งยืนอีกทั้งการพัฒนาผู้นำและระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลให้แข็งแกร่ง จะนำไปสู่การเสริมสร้างสมรรถนะของพนักงานให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มศักยภาพ"
การลงทุนของโครงการฟินิกซ์คืบหน้า 43%
แผนการดำเนินโครงการฟินิกซ์ หรือ"Phoenix Project" มีวัตถุประสงค์หลักใน
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และกระบวนการทำงาน เพื่อให้เกิดการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และการสร้าง
มูลค่าเพิ่มโดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนความคิดและทิศทางเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้บริษัทสามารถแข่งขันและเป็นผู้นำในธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี การสร้างวินัยและความแข็งแกร่งทางด้านการเงินการบริหารจัดการระดับสินค้าคงคลัง และการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความก้าวหน้าโครงการในปี 2555 อยู่ที่ระดับ 43% และมีประโยชน์ในรูปการลดค่าใช้จ่ายจากการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ประมาณ 2,400 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทประสบความสำเร็จในการดำเนินโครงการ และผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด ดังนี้
1.ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมการนำยางธรรมชาติใช้แทนยางสังเคราะห์ ในการผลิตเม็ดพลาสติก Green ABS เป็นรายแรกของโลก เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรและลดการนำเข้าตามโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด ถูกผลิตขึ้นเป็นต้นแบบตั้งแต่ปี 2554 และในปี 2556 โครงการขยายโรงผลิต ABS 60,000 KTA จะแล้วเสร็จ
2.สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในกลุ่มปตท. อาทิ ร่วมลงทุนในโครงการผลิตDiesel EURO 4 ซึ่งจะแล้วเสร็จในต้นปี2556
3.โครงการขยายกำลังการผลิต Propylene 100,000 KTA แล้วเสร็จเมื่อ
เดือน ต.ค. 2555 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตั้งต้นของเม็ดพลาสติก PP
4.โครงการผลิตภัณฑ์นวัตกรรมในกลุ่มน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานได้แก่ Treated Distillate Aromatic Extract (TDAE)น้ำมันยางที่ลดสารก่อมะเร็ง สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยางรถยนต์ ซึ่งดำเนินการผลิตเมื่อเดือนก.ย. 2555
5.High Density Polyethylene Pipe (HDPE Pipe) พลาสติกชนิดความหนาแน่นสูงที่ใช้ในการผลิตท่อใช้ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล หรือพื้นที่น้ำกร่อย ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2557
6.การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อใช้ในโรงผลิต Polypropylene (PP) และ High Density Polyethylene (HDPE)
7.โครงการปรับปรุงคุณภาพการผลิตสู่ผลิตภัณฑ์สะอาด (Upstream Project For Hygiene And Value Added Products (UHV Project)) ซึ่งใช้เงินลงทุนสูงที่สุดในโครงการ Phoenix กว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะนี้ได้ว่าจ้างผู้รับเหมาเพื่อดำเนินการออกแบบรายละเอียดด้านวิศวกรรมและก่อสร้างแล้ว โดยจะแล้วเสร็จพร้อมเดินเครื่องผลิตในไตรมาส2 ของปี 2558 โครงการดังกล่าวจะทำให้บริษัทสามารถใช้กำลังการผลิตของหน่วยกลั่นได้เต็มประสิทธิภาพ และเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และต่อยอดธุรกิจปิโตรเคมีเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ แผนกลยุทธ์ดังกล่าวจะสำเร็จได้ต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร การจัดการระบบทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กันไป โดยมุ่งให้พนักงาน "Aim High, Deliver, Work And Live Happily Together" ซึ่งหมายถึง เพื่อให้พนักงานและบริษัทตั้งเป้าหมายทางธุรกิจให้สูงและท้าทาย เสริมสร้างความเป็นเลิศในเชิงธุรกิจ มุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จถึงเป้าหมาย โดยอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของพนักงานภายในบริษัท ชุมชนรอบบริษัท และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปี 2558 กลั่นน้ำมันได้ 2.15 แสนบาร์เรล
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจยุโรปกำลังตกต่ำอย่าง
หนัก และยังไม่มีสัญญาณของการฟื้นตัวส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งคาดว่าในปี2555 จะขยายตัวได้ 5.3% และในปี 2556 เติบโต 4.6% ซึ่งต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้โดยเฉพาะภาคการส่งออกของไทยได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่อ่อนแอลงทั่วโลกอีกทั้งปัจจัยความผันผวนของราคาน้ำมันซึ่งส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจ
จากการประเมินและติดตามผลการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องรวมทั้งพลังของความร่วมแรงร่วมใจของพนักงานและคณะผู้บริหารทุกท่าน คาดว่าบริษัทสามารถประสบความสำเร็จ บรรลุเป้าหมายในปี 2558 ดังนี้
1.Fully Utilized And Optimized :สามารถเดินเครื่องโรงกลั่นน้ำมันได้เต็มกำลังการผลิตที่ 2.15 แสนบาร์เรลต่อวันในปี 2558 จากระดับเฉลี่ยปี 2553-2555 ที่กำลังผลิตน้ำมันอยู่ที่ 1.7 แสนบาร์เรลต่อวัน
2.Higher Level Of Plant Complexity : เป็นบริษัทปิโตรเลียมและปิโตรเคมีครบวงจรที่มีเทคโนโลยีทันสมัย สามารถเทียบเคียงกับบริษัทชั้นนำของโลกได้
3.Healthier Margins And Returns :การลงทุนต่างๆ ของบริษัทจะทำให้ความสามารถในการทำกำไรเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
4.Stabler Portfolio Of Income : การลงทุนในธุรกิจที่นอกเหนือจากธุรกิจหลักได้แก่ ธุรกิจไฟฟ้า ท่าเรือ การให้บริการสาธารณูปโภค
5.Unit Operating Expense Under Control :
บริษัทสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
6.Make Use Of Non-Productive Assets : การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ จากพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1.5 หมื่นไร่เพื่อรองรับการขยายการลงทุนในโครงการต่างๆ ของบริษัทและการประกอบธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
7.Green And Eco-Industrial Company : มุ่งเน้นพื้นที่อุตสาหกรรมสีเขียวและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่โรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ (Combine Heat And Power (CHP)) การเปลี่ยนเชื้อเพลิงไปใช้เชื้อเพลิงสะอาด ลดการปลูก Protection Strip พื้นที่ 300 ไร่เป็นต้น
นอกจากนี้ บริษัทได้เริ่มศึกษาและวางแผนการดำเนินการต่อยอดธุรกิจภายหลังปี 2558 โดยมุ่งเน้นธุรกิจที่สอดคล้องกับทิศทางและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต ทั้งนี้บริษัทจำเป็นต้องพัฒนาด้านเทคโนโลยี แสวงหาความรู้ด้านการวิจัย และการใช้ทรัพยากรของบริษัทให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Resource Based)เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งความรู้(Knowledge Based Organization) ในอนาคต โดยกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนอัตราการเติบโตของบริษัทในอนาคตนั้นจะมุ่งเน้นการขยายขอบเขตของการประสานความร่วมมือที่มีความเป็นไปได้และการลงทุนเพื่อการต่อยอดสายการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปสู่สินค้ามูลค่าสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องซึ่งบริษัทมีความได้เปรียบทางการแข่งขันและการขยายสายการผลิต Propylene โดยใช้ผลิตภัณฑ์ตั้งต้นจากโครงการ UHV รวมทั้งการดำเนินธุรกิจไฟฟ้า โดยเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer (SPP)) และพัฒนาไปเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ (Independent Power Producer (IPP)) เป็นต้น
นี่คือภารกิจและเป้าหมายของ IRPC ในยุคที่ อธิคม เติบศิริ เป็นแม่ทัพใหญ่ จะต้องสานต่อและดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Monday, January 07, 2013
...ยินดี เรืองดิษฐ์
การทำธุรกิจในยุคที่มีความผันผวนจากปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ทั้งจากภายนอกประเทศและภายในประเทศ รวมถึงภาวะการแข่งขันที่จะรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะ"การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558" จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำธุรกิจของผู้ประกอบการในประเทศไทย โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและเล็กหรือเอสเอ็มอี ที่อาจจะต้องเผชิญกับปัญหาส่วนบริษัทขนาดใหญ่น่าจะปรับตัวและรับมือกับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับบริษัท ไออาร์พีซี (IRPC) ได้วางกลยุทธ์และตั้งเป้าหมายไว้อย่างชัดเจนว่า ในปี2557 บริษัทจะก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรของภูมิภาคเอเชียแต่ต้องยอมรับว่า IRPC ทำธุรกิจสินค้าโภคภัณฑ์ ราคามีวัฏจักรขาขึ้นและขาลงซึ่งเป้าหมายนี้จะยังคงอยู่และจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง!!!!
"อธิคม เติบศิริ"กรรมการผู้จัดการใหญ่ IRPC ให้สัมภาษณ์ถึงแนวโน้มการเติบโตในปี 2556 ว่า ธุรกิจปิโตรเลียมจะยังคงอยู่ในภาวะผันผวน จากความกังวล
ต่อวิกฤตหนี้ยุโรป และปัจจัยทางเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยทางสำนักงาน IEA คาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันดิบจะอยู่ที่ 90.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2556 ซึ่งมีประเทศนอกกลุ่มประเทศโอเปก (Non-OECD) ที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักในความต้องการใช้น้ำมัน โดยในอนาคตความต้องการใช้น้ำมันเบนซินจะลดลง แต่ความต้องการใช้น้ำมันดีเซลจะเพิ่มขึ้นจากการเติบโตของประเทศกำลังพัฒนา
อย่างไรก็ตามในแง่ของกำลังการผลิตนั้น คาดว่าในปี 2556 อยู่ที่ระดับ90.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน จึงยังมีความกังวล
ว่าอุปทานน้ำมันดิบโลกจะตึงตัวจากความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบ MENA และมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันอิหร่านของสหรัฐและยุโรป
สำหรับในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและตะวันออกกลางมี Additional Capacity ที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาค ส่งผลให้กำไรจากค่าการกลั่นทรงตัวอยู่ในระดับ8.9 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่ในปี 2558
กำลังการผลิตจะกลับมาสูงกว่าความต้องการ โดยมีการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในแต่ละปี
ทั้งนี้ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบแกว่งตัวในกรอบ 95-115 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล หรือมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 105 เหรียญสหรัฐ ในอนาคตมีแนวโน้มการผลิต Shale Gas จากภูมิภาคอเมริกาเหนือ เพิ่มสูงขึ้นเป็น 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในปี 2558 อีกทั้งมีเทคโนโลยีใหม่ที่จะมาทดแทนการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เช่น รถยนต์ไฟฟ้าหรือการพัฒนาแบตเตอรี่ รวมทั้งมาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำมันที่เข้มงวดในด้านสิ่งแวดล้อม
สำหรับแนวโน้มปิโตรเคมีนั้น คาดว่าจะเริ่มมีการฟื้นตัวในปี 2556-2557 โดยความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจากประเทศจีนและประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย ที่เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบการขนส่ง แต่ทั้งนี้ยังคงขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เปราะ
บางในประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมถึงการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันที่ส่งผลต่อราคาวัตถุดิบ คือ Naphtha
อย่างไรก็ตาม คาดว่าปัจจัยหนุนจากภายในประเทศ ได้แก่ การกลับมาดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมต่อเนื่องเช่นอุตสาหกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์อุตสาหกรรมพลาสติก ซึ่งสามารถผลิตได้เต็มประสิทธิภาพ หลังจากวิกฤตอุทกภัยที่ผ่านมาคาดว่าความต้องการวัตถุดิบเม็ดพลาสติกจะเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีดีขึ้น
ทางด้านปริมาณการผลิตนั้น การเพิ่มกำลังการผลิตใหม่ในประเทศจีน และนโยบายการผลิตและใช้ภายในประเทศ ส่งผลให้อัตราการนำเข้าของจีนจะลดลงใน
ระยะยาว ส่วนผู้ผลิตในตะวันออกกลางจะมีความได้เปรียบทางด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำ อีกทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตใหม่ของ Olefins ได้แก่ Coal To Olefin (CTO) และ Methane To Olefin (MTO)
ซึ่งส่งผลต่อปริมาณผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่จะถูกส่งออกมายังภูมิภาคเอเชียและยุโรปมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อบริษัทได้มองเห็นแนวโน้มและอุตสาหกรรมโดยภาพรวมของธุรกิจปิโตรเลียมและธุรกิจปิโตรเคมีแล้ว ทางบริษัทได้มีการทำแผนธุรกิจในช่วง 5 ปีข้างหน้าดังนี้ คือ
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม บริษัทมีเป้าหมายในการรักษาระดับสัดส่วนการขายภายในประเทศและการส่งออกปี 2559 ให้อยู่ในสัดส่วน 50% ต่อ 50% โดยขยายตลาดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมไปสู่ประเทศกลุ่มเออีซีให้มากขึ้น และในด้านการผลิตได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มีต้นทุนในการผลิตต่ำลง รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเลือก และพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี บริษัทมีแผนที่จะปรับสัดส่วนของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเกรดพิเศษ (Specialty) ให้สูงขึ้น โดยมีเป้าหมายอัตราส่วนเกรดพิเศษต่อเกรดปกติในปี 2559 ที่ 60:40 โดยมุ่งเน้นการขยายตัวของผลิตภัณฑ์เกรดพิเศษสายPropylene ที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภคบริโภค (Consumer Specialty) ที่เติบโตควบคู่กับการขยายตัวของชนชั้นกลางที่เป็นผลโดยตรงจากการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน (AEC)
ปี 2556 ตั้งเป้ารายได้โต 5-10%ขณะที่เป้าหมายในการทำธุรกิจในปี2556 นั้น คาดว่าในส่วนของรายได้นั้นจะมีอัตราการเติบโตในระดับประมาณ 5-10% โดยรายได้หลักของบริษัทนั้นจะมาจากผลิตภัณฑ์น้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 80% โดยมีปริมาณการขายภายในประเทศประมาณ 52% และส่วนที่เหลือส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียนเป็นส่วนใหญ่
ทั้งนี้ บริษัทมีความมั่นใจว่าจะสามารถสร้างรายได้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้เพราะบริษัทมีแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตPropylene 1 แสนตัน ที่แล้วเสร็จในปลายปี 2555 และปี 2556 มีโครงการร่วมลงทุนปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน Diesel EURO 4 กับบริษัท PTTGC ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือนก.พ. 2556
ขณะที่ด้านการดำเนินการผลิต บริษัทยังคงมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ โครงการปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อให้ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตทดแทนน้ำมันเตามากขึ้น รวมถึงการติดตั้งหน่วยกำจัดสารปรอทเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้วัตถุดิบได้หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันดิบในประเทศ
สำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ตามแผนการดำเนินงานของบริษัท ปี 2556 จะมีโครงการการขยายกำลังการผลิตแล้วเสร็จจำนวน 2 โครงการ คือ โครงการเพิ่มกำลังการผลิต Styrene Monomer จากปัจจุบัน2 แสนตัน เป็น 2.6 แสนตัน และโครงการขยายการผลิตผลิตภัณฑ์ ABS จาก 1.17 แสนตัน เป็น 1.77 แสนตัน ซึ่งโครงการดังกล่าวอยู่ในยุทธศาสตร์ Phoenix ที่ได้ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2554 ในปัจจุบันมีความก้าวหน้ามากกว่า 85%และคาดว่ารายได้จากปิโตรเคมีจะเติบโตประมาณ 8-12% โดยมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์เกรดพิเศษ (Specialty) จะเพิ่มขึ้นจาก30% ในปี 2555 เป็น 35% ในปี 2556
นอกจากนี้ บริษัทยังมีรายได้เสริมจากการให้เช่าถังเก็บผลิตภัณฑ์ การบริการท่าเรือ และธุรกิจไฟฟ้าในประเทศจะเพิ่มขึ้น 10% จากปี 2555 รวมถึงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ล่าช้าจากการพิจารณาของศาลปกครองในปี 2555 ก็จะสามารถเริ่มดำเนินการได้ตามแผนงานในปี 2556 หลังจากขั้นตอนต่างๆ ของการนิคมอุตสาหกรรมแล้วเสร็จ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มพัฒนาพื้นที่และการตลาดได้ในไตรมาส 2 ปี 2556
"แผนยุทธศาสตร์โครงการฟินิกซ์ หรือPhoenix ถือเป็นรากฐานในการเติบโตของบริษัท จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งผลักดันให้โครงการสำเร็จได้ตรงตามเวลา (On Time) ภายใต้งบประมาณที่กำหนด (On Budget) และสามารถสร้างรายได้ตามเป้า (Contribute Benefit) โดยมุ่งเน้นการเฝ้าระวัง ดูแล ส่งเสริมสุขภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชน
การสื่อสารผลการดำเนินงานของบริษัทเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และการบริหารอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพื่อความยั่งยืนอีกทั้งการพัฒนาผู้นำและระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลให้แข็งแกร่ง จะนำไปสู่การเสริมสร้างสมรรถนะของพนักงานให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มศักยภาพ"
การลงทุนของโครงการฟินิกซ์คืบหน้า 43%
แผนการดำเนินโครงการฟินิกซ์ หรือ"Phoenix Project" มีวัตถุประสงค์หลักใน
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และกระบวนการทำงาน เพื่อให้เกิดการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และการสร้าง
มูลค่าเพิ่มโดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนความคิดและทิศทางเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้บริษัทสามารถแข่งขันและเป็นผู้นำในธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี การสร้างวินัยและความแข็งแกร่งทางด้านการเงินการบริหารจัดการระดับสินค้าคงคลัง และการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความก้าวหน้าโครงการในปี 2555 อยู่ที่ระดับ 43% และมีประโยชน์ในรูปการลดค่าใช้จ่ายจากการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ประมาณ 2,400 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทประสบความสำเร็จในการดำเนินโครงการ และผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด ดังนี้
1.ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมการนำยางธรรมชาติใช้แทนยางสังเคราะห์ ในการผลิตเม็ดพลาสติก Green ABS เป็นรายแรกของโลก เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรและลดการนำเข้าตามโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด ถูกผลิตขึ้นเป็นต้นแบบตั้งแต่ปี 2554 และในปี 2556 โครงการขยายโรงผลิต ABS 60,000 KTA จะแล้วเสร็จ
2.สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในกลุ่มปตท. อาทิ ร่วมลงทุนในโครงการผลิตDiesel EURO 4 ซึ่งจะแล้วเสร็จในต้นปี2556
3.โครงการขยายกำลังการผลิต Propylene 100,000 KTA แล้วเสร็จเมื่อ
เดือน ต.ค. 2555 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตั้งต้นของเม็ดพลาสติก PP
4.โครงการผลิตภัณฑ์นวัตกรรมในกลุ่มน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานได้แก่ Treated Distillate Aromatic Extract (TDAE)น้ำมันยางที่ลดสารก่อมะเร็ง สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยางรถยนต์ ซึ่งดำเนินการผลิตเมื่อเดือนก.ย. 2555
5.High Density Polyethylene Pipe (HDPE Pipe) พลาสติกชนิดความหนาแน่นสูงที่ใช้ในการผลิตท่อใช้ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล หรือพื้นที่น้ำกร่อย ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2557
6.การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อใช้ในโรงผลิต Polypropylene (PP) และ High Density Polyethylene (HDPE)
7.โครงการปรับปรุงคุณภาพการผลิตสู่ผลิตภัณฑ์สะอาด (Upstream Project For Hygiene And Value Added Products (UHV Project)) ซึ่งใช้เงินลงทุนสูงที่สุดในโครงการ Phoenix กว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะนี้ได้ว่าจ้างผู้รับเหมาเพื่อดำเนินการออกแบบรายละเอียดด้านวิศวกรรมและก่อสร้างแล้ว โดยจะแล้วเสร็จพร้อมเดินเครื่องผลิตในไตรมาส2 ของปี 2558 โครงการดังกล่าวจะทำให้บริษัทสามารถใช้กำลังการผลิตของหน่วยกลั่นได้เต็มประสิทธิภาพ และเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และต่อยอดธุรกิจปิโตรเคมีเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ แผนกลยุทธ์ดังกล่าวจะสำเร็จได้ต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร การจัดการระบบทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กันไป โดยมุ่งให้พนักงาน "Aim High, Deliver, Work And Live Happily Together" ซึ่งหมายถึง เพื่อให้พนักงานและบริษัทตั้งเป้าหมายทางธุรกิจให้สูงและท้าทาย เสริมสร้างความเป็นเลิศในเชิงธุรกิจ มุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จถึงเป้าหมาย โดยอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของพนักงานภายในบริษัท ชุมชนรอบบริษัท และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปี 2558 กลั่นน้ำมันได้ 2.15 แสนบาร์เรล
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจยุโรปกำลังตกต่ำอย่าง
หนัก และยังไม่มีสัญญาณของการฟื้นตัวส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งคาดว่าในปี2555 จะขยายตัวได้ 5.3% และในปี 2556 เติบโต 4.6% ซึ่งต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้โดยเฉพาะภาคการส่งออกของไทยได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่อ่อนแอลงทั่วโลกอีกทั้งปัจจัยความผันผวนของราคาน้ำมันซึ่งส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจ
จากการประเมินและติดตามผลการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องรวมทั้งพลังของความร่วมแรงร่วมใจของพนักงานและคณะผู้บริหารทุกท่าน คาดว่าบริษัทสามารถประสบความสำเร็จ บรรลุเป้าหมายในปี 2558 ดังนี้
1.Fully Utilized And Optimized :สามารถเดินเครื่องโรงกลั่นน้ำมันได้เต็มกำลังการผลิตที่ 2.15 แสนบาร์เรลต่อวันในปี 2558 จากระดับเฉลี่ยปี 2553-2555 ที่กำลังผลิตน้ำมันอยู่ที่ 1.7 แสนบาร์เรลต่อวัน
2.Higher Level Of Plant Complexity : เป็นบริษัทปิโตรเลียมและปิโตรเคมีครบวงจรที่มีเทคโนโลยีทันสมัย สามารถเทียบเคียงกับบริษัทชั้นนำของโลกได้
3.Healthier Margins And Returns :การลงทุนต่างๆ ของบริษัทจะทำให้ความสามารถในการทำกำไรเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
4.Stabler Portfolio Of Income : การลงทุนในธุรกิจที่นอกเหนือจากธุรกิจหลักได้แก่ ธุรกิจไฟฟ้า ท่าเรือ การให้บริการสาธารณูปโภค
5.Unit Operating Expense Under Control :
บริษัทสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
6.Make Use Of Non-Productive Assets : การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ จากพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1.5 หมื่นไร่เพื่อรองรับการขยายการลงทุนในโครงการต่างๆ ของบริษัทและการประกอบธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
7.Green And Eco-Industrial Company : มุ่งเน้นพื้นที่อุตสาหกรรมสีเขียวและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่โรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ (Combine Heat And Power (CHP)) การเปลี่ยนเชื้อเพลิงไปใช้เชื้อเพลิงสะอาด ลดการปลูก Protection Strip พื้นที่ 300 ไร่เป็นต้น
นอกจากนี้ บริษัทได้เริ่มศึกษาและวางแผนการดำเนินการต่อยอดธุรกิจภายหลังปี 2558 โดยมุ่งเน้นธุรกิจที่สอดคล้องกับทิศทางและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต ทั้งนี้บริษัทจำเป็นต้องพัฒนาด้านเทคโนโลยี แสวงหาความรู้ด้านการวิจัย และการใช้ทรัพยากรของบริษัทให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Resource Based)เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งความรู้(Knowledge Based Organization) ในอนาคต โดยกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนอัตราการเติบโตของบริษัทในอนาคตนั้นจะมุ่งเน้นการขยายขอบเขตของการประสานความร่วมมือที่มีความเป็นไปได้และการลงทุนเพื่อการต่อยอดสายการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปสู่สินค้ามูลค่าสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องซึ่งบริษัทมีความได้เปรียบทางการแข่งขันและการขยายสายการผลิต Propylene โดยใช้ผลิตภัณฑ์ตั้งต้นจากโครงการ UHV รวมทั้งการดำเนินธุรกิจไฟฟ้า โดยเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer (SPP)) และพัฒนาไปเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ (Independent Power Producer (IPP)) เป็นต้น
นี่คือภารกิจและเป้าหมายของ IRPC ในยุคที่ อธิคม เติบศิริ เป็นแม่ทัพใหญ่ จะต้องสานต่อและดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 823
จับตามองธุรกิจปลูกพืชพลังงานทดแทน
Source - พิมพ์ไทย (Th), Monday, January 07, 2013
ในปีนี้ นโยบายเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง คือนโยบายเรื่องการส่งเสริมประชาชนให้หันมาปลูกพืชพลังงานทดแทน ที่ใช้การผลิตกระแสไฟฟ้า และผลิตก๊าซ ทดแทน LPG และ NGV ได้ด้วย
พืชพลังงานทดแทนที่จะเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคตที่รัฐบาลเตรียมส่งเสริมคือหญ้าเลี้ยงช้าง หรือหญ้าเนเปียร์ ซึ่งจริงๆ แล้ว ในเมืองไทยมีการปลูกมา 30 กว่าปีแล้ว ส่วนใหญ่ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ พวกช้าง โคขุน เนื่องจากให้ผลผลิตสูงตั้งแต่ 35-80 ตันต่อไร่ และเป็นพืชที่โตเร็ว รอบการปลูก 45-60 วันก็ตัดได้แล้ว ราคาขายไม่ต่ำกว่า 300 บาทต่อตัน (ไร่ละ 1 หมื่นกว่าบาท) ทนแล้ง และเป็นพืชที่มีกลูโคส ใช้หมักเอาก๊าซชีวภาพได้ โดยไปผ่านกระบวนการอัดก๊าซให้ได้ค่าความเข้มข้นที่เหมาะสม ก็สามารถนำไปใช้ทดแทน NGV LPG ได้ จากการประเมินของกระทรวงพลังงานพบว่า หญ้าเนเปียร์ 800-1,000 ไร่ผลิตไฟฟ้าได้ 1 MW เงินลงทุนโรงไฟฟ้าประมาณ 100 ล้านบาท
ด้านอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน บอกว่ากระทรวงเตรียมผลักดัน "โครงการวิสาหกิจชุมชนสีเขียว หญ้าพลังงาน" ส่งเสริมทั้งกระบวนการการผลิตไฟฟ้าโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม ซึ่งจะร่วมกันทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่การวิจัย-ปรับปรุงพันธุ์หญ้าเลี้ยงช้างให้เกษตรกรหันมาปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ และทำเป็นรูปแบบในเชิงธุรกิจ มีการทำสัญญาซื้อขาย หรือที่เรียกว่า Contract Farming โดยเอกชนที่เข้ามาเป็นหุ้นส่วนโรงไฟฟ้านี้ เข้ามารับซื้อ ทั้งราคาและปริมาณมีการกำหนดไว้ล่วงหน้าจากเกษตรกร
คำถามคือ ถ้าเกษตรกรปลูกจะคุ้มหรือไม่??? จากข้อมูลของสถาบันผลิตผลเกษตรฯ ม.เกษตรฯ มีการศึกษาเปรียบเทียบรายได้สุทธิจากการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดต่างๆ ของเกษตรกร จะพบว่าเกษตรกรที่ปลูกหญ้าเนเปียร์ สร้างรายได้ ได้มากกว่าพืชชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอ้อย มันสำปะหลัง หรือแม้กระทั่งข้าวนาปี ด้วยซ้ำ
สัดส่วนเงินลงทุนโรงไฟฟ้านี้ ภาครัฐเตรียมใช้สูตร 60 : 40 คือเอกชนเป็นเจ้าของ 60% ชุมชนอีก 40 % โดยใน 40% นี้ รัฐสนับสนุนชุมชน 20 % และอีก 20%อาจจะมาจากกองทุนด้านพลังงาน เช่น Esco Fund เข้ามาสนับสนุน คาดว่าจะใช้เวลา 6 ปีจึงจะคุ้มทุน นั่นหมายความว่า ในปีที่ 7 ชุมชนจะเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้านี้ สัดส่วน 40%
ดังนั้นสิ่งที่เกษตรกรจะได้คือ 1. เงินปันผลที่ได้จากการขายไฟฟ้าของโรงงาน เพราะว่าชุมชนเป็นเจ้าของร่วมของโรงงานไฟฟ้า และ 2.ในพื้นที่ห่างไกล ยิ่งคุ้มมาก เพราะไม่ต้องเสียค่าขนส่งเชื้อเพลิง และสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ด้วย
ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนเริ่มเดินหน้าการผลิตไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์จากการใช้หญ้าเนเปียร์แล้ว เช่นโครงการที่เชียงใหม่ ของบริษัท ยูนิเวอร์แซลแอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ หรือUAC ซึ่งเราเคยนำเสนอไปแล้ว ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการนำน้ำเสียจากมูลสุกรมาหมักร่วมกับหญ้าเลี้ยงช้าง สามารถผลิตก๊าฐธรรมชาติอัด คือ CBG ส่งจำหน่ายให้กับปตท.ได้วันละประมาณ 6-7 ตันหรือประมาณ 2,000 ตันต่อปี
อีกที่นึงที่น่าสนใจไม่แพ้กัน โรงไฟฟ้าชีวมวล (BIOMASS) ขนาด 9.5 MW ขนาดเงินลงทุน 700 ล้านบาท ต่างจากที่เราพูดเมื่อสักครู่นี้คือโรงไฟฟ้าที่เกิดจากการหมักหญ้า โดยที่นี่เอาหญ้าเนเปียร์ สายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นเอง มาเผาให้พลังงานไฟฟ้า โรงไฟฟ้าชีวมวล ตั้งอยู่ที่อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี ซึ่งก็เป็นพื้นที่ห่างไกล และก็สร้างอาชีพขึ้นในชุมชนด้วย
นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาพลังงานทดแทน สามารถสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ควบคู่ไปกับการสร้างความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าในระยะยาวได้ด้วย
ปัจจุบัน ราคา NGV ในปัจจุบันอยู่ที่ 10.5 บาท ขณะที่ต้นทุนผลิตก๊าซชีวภาพอยู่ที่ 14-15 บาท ยังต่างกันเกือบ 5 บาทต่อกิโลกรัม รัฐอาจจะต้องเข้ามาชดเชยส่วนต่างนี้
เบื้องต้น ทางกรมกรมพัฒนาพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน ตั้งเป้าหมายโรงงานผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก 1 MW นี้ ในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ ให้ได้ถึง 10,000 ชุมชน ภายใน 10 ปี ถือว่าเป็นโปรเจคท์ที่ใหญ่มากของรัฐบาลเพื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25%ใน10ปี ตั้งแต่ปี 2555-2564
โดยในวันที่ 6 ม.ค. นี้จะมีการประชุมพรรคเพื่อไทย ที่เขาใหญ่จ.นครราชสีมา ประเด็นเรื่องการส่งเสริมสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวภาพจากหญ้าเลี้ยงช้าง ที่เราเล่าให้ฟังวันนี้ ก็จะเป็นประเด็น ที่ถูกหยิบหยกไปพูดคุยกันในที่ประชุมด้วย
--จบ--
Source - พิมพ์ไทย (Th), Monday, January 07, 2013
ในปีนี้ นโยบายเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง คือนโยบายเรื่องการส่งเสริมประชาชนให้หันมาปลูกพืชพลังงานทดแทน ที่ใช้การผลิตกระแสไฟฟ้า และผลิตก๊าซ ทดแทน LPG และ NGV ได้ด้วย
พืชพลังงานทดแทนที่จะเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคตที่รัฐบาลเตรียมส่งเสริมคือหญ้าเลี้ยงช้าง หรือหญ้าเนเปียร์ ซึ่งจริงๆ แล้ว ในเมืองไทยมีการปลูกมา 30 กว่าปีแล้ว ส่วนใหญ่ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ พวกช้าง โคขุน เนื่องจากให้ผลผลิตสูงตั้งแต่ 35-80 ตันต่อไร่ และเป็นพืชที่โตเร็ว รอบการปลูก 45-60 วันก็ตัดได้แล้ว ราคาขายไม่ต่ำกว่า 300 บาทต่อตัน (ไร่ละ 1 หมื่นกว่าบาท) ทนแล้ง และเป็นพืชที่มีกลูโคส ใช้หมักเอาก๊าซชีวภาพได้ โดยไปผ่านกระบวนการอัดก๊าซให้ได้ค่าความเข้มข้นที่เหมาะสม ก็สามารถนำไปใช้ทดแทน NGV LPG ได้ จากการประเมินของกระทรวงพลังงานพบว่า หญ้าเนเปียร์ 800-1,000 ไร่ผลิตไฟฟ้าได้ 1 MW เงินลงทุนโรงไฟฟ้าประมาณ 100 ล้านบาท
ด้านอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน บอกว่ากระทรวงเตรียมผลักดัน "โครงการวิสาหกิจชุมชนสีเขียว หญ้าพลังงาน" ส่งเสริมทั้งกระบวนการการผลิตไฟฟ้าโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม ซึ่งจะร่วมกันทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่การวิจัย-ปรับปรุงพันธุ์หญ้าเลี้ยงช้างให้เกษตรกรหันมาปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ และทำเป็นรูปแบบในเชิงธุรกิจ มีการทำสัญญาซื้อขาย หรือที่เรียกว่า Contract Farming โดยเอกชนที่เข้ามาเป็นหุ้นส่วนโรงไฟฟ้านี้ เข้ามารับซื้อ ทั้งราคาและปริมาณมีการกำหนดไว้ล่วงหน้าจากเกษตรกร
คำถามคือ ถ้าเกษตรกรปลูกจะคุ้มหรือไม่??? จากข้อมูลของสถาบันผลิตผลเกษตรฯ ม.เกษตรฯ มีการศึกษาเปรียบเทียบรายได้สุทธิจากการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดต่างๆ ของเกษตรกร จะพบว่าเกษตรกรที่ปลูกหญ้าเนเปียร์ สร้างรายได้ ได้มากกว่าพืชชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอ้อย มันสำปะหลัง หรือแม้กระทั่งข้าวนาปี ด้วยซ้ำ
สัดส่วนเงินลงทุนโรงไฟฟ้านี้ ภาครัฐเตรียมใช้สูตร 60 : 40 คือเอกชนเป็นเจ้าของ 60% ชุมชนอีก 40 % โดยใน 40% นี้ รัฐสนับสนุนชุมชน 20 % และอีก 20%อาจจะมาจากกองทุนด้านพลังงาน เช่น Esco Fund เข้ามาสนับสนุน คาดว่าจะใช้เวลา 6 ปีจึงจะคุ้มทุน นั่นหมายความว่า ในปีที่ 7 ชุมชนจะเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้านี้ สัดส่วน 40%
ดังนั้นสิ่งที่เกษตรกรจะได้คือ 1. เงินปันผลที่ได้จากการขายไฟฟ้าของโรงงาน เพราะว่าชุมชนเป็นเจ้าของร่วมของโรงงานไฟฟ้า และ 2.ในพื้นที่ห่างไกล ยิ่งคุ้มมาก เพราะไม่ต้องเสียค่าขนส่งเชื้อเพลิง และสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ด้วย
ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนเริ่มเดินหน้าการผลิตไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์จากการใช้หญ้าเนเปียร์แล้ว เช่นโครงการที่เชียงใหม่ ของบริษัท ยูนิเวอร์แซลแอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ หรือUAC ซึ่งเราเคยนำเสนอไปแล้ว ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการนำน้ำเสียจากมูลสุกรมาหมักร่วมกับหญ้าเลี้ยงช้าง สามารถผลิตก๊าฐธรรมชาติอัด คือ CBG ส่งจำหน่ายให้กับปตท.ได้วันละประมาณ 6-7 ตันหรือประมาณ 2,000 ตันต่อปี
อีกที่นึงที่น่าสนใจไม่แพ้กัน โรงไฟฟ้าชีวมวล (BIOMASS) ขนาด 9.5 MW ขนาดเงินลงทุน 700 ล้านบาท ต่างจากที่เราพูดเมื่อสักครู่นี้คือโรงไฟฟ้าที่เกิดจากการหมักหญ้า โดยที่นี่เอาหญ้าเนเปียร์ สายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นเอง มาเผาให้พลังงานไฟฟ้า โรงไฟฟ้าชีวมวล ตั้งอยู่ที่อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี ซึ่งก็เป็นพื้นที่ห่างไกล และก็สร้างอาชีพขึ้นในชุมชนด้วย
นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาพลังงานทดแทน สามารถสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ควบคู่ไปกับการสร้างความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าในระยะยาวได้ด้วย
ปัจจุบัน ราคา NGV ในปัจจุบันอยู่ที่ 10.5 บาท ขณะที่ต้นทุนผลิตก๊าซชีวภาพอยู่ที่ 14-15 บาท ยังต่างกันเกือบ 5 บาทต่อกิโลกรัม รัฐอาจจะต้องเข้ามาชดเชยส่วนต่างนี้
เบื้องต้น ทางกรมกรมพัฒนาพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน ตั้งเป้าหมายโรงงานผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก 1 MW นี้ ในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ ให้ได้ถึง 10,000 ชุมชน ภายใน 10 ปี ถือว่าเป็นโปรเจคท์ที่ใหญ่มากของรัฐบาลเพื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25%ใน10ปี ตั้งแต่ปี 2555-2564
โดยในวันที่ 6 ม.ค. นี้จะมีการประชุมพรรคเพื่อไทย ที่เขาใหญ่จ.นครราชสีมา ประเด็นเรื่องการส่งเสริมสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวภาพจากหญ้าเลี้ยงช้าง ที่เราเล่าให้ฟังวันนี้ ก็จะเป็นประเด็น ที่ถูกหยิบหยกไปพูดคุยกันในที่ประชุมด้วย
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 824
PTTEP ปรับลง แม้มีมุมมองบวกหลังทำข้อตกลงเบื้องต้นกับ Anardako
ข่าวหุ้น, วันศุกร์ที่ 04 มกราคม 2556 เวลา 11:32:57 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานราคาหุ้น บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP ณ เวลา 11.28 น. ลบ 1 บาท หรือ 0.59% มาที่ 168 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ 479.51 ล้านบาท ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยโดยรวมลบ 0.23% ทั้งนี้ ราคาหุ้น PTTEP ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากระดับราคา 153.50 บาท ในวันที่ 11 ธ.ค. มาแตะที่ระดับราคา 169 บาท วานนี้ (3 ม.ค.) ก่อนจะอ่อนตัวลงมาแตะที่ระดับราคา 167 บาท ในวันนี้ จากข้อมูล www.settrade.com ระบุว่า บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) 2 แห่ง แนะนำ “ซื้อ” PTTEP โดยให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 192.50 บาท
บล.กสิกรไทย ระบุในบทวิเคราะห์ว่า คงคำแนะนำ “ซื้อ” หุ้น PTTEP โดยให้มูลค่าพื้นฐานที่ 200 บาท เนื่องจากเรามีมุมมองเชิงบวกต่อการเข้าทำข้อตกลงเบื้องต้นของทาง Anardako บริษัทร่วมทุนของทาง ปตท.สผ. ในการพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ 1 กับทางบริษัท Eni ผู้พัฒนาแหล่งก๊าซที่ 4 เพื่อร่วมกันวางแผน และพัฒนาการก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวบนบก ทางตอนเหนือของประเทศโมซัมบิก
ขณะที่ทาง Anardako ได้จัดจ้างบริษัทรับเหมา เพื่อให้เข้าร่วมแข่งขันออกแบบทางวิศวกรรม (Front End Engineering Design: FEED) 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวบนบก (Liquefied Natural Gas: LNG) และด้านการติดตั้งอุปกรณ์การผลิต และท่อส่งก๊าซนอกชายฝั่งในแปลง Rovuma Offshore Area 1 ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ และมีปริมาณสำรองของก๊าซธรรมชาติมากกว่า 65 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ในประเทศโมซัมบิก
โดยบริษัทรับเหมาที่ได้รับการจัดจ้างให้เข้าร่วมการแข่งขันการออกแบบด้านการก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวบนบก ซึ่งจะมีกำลังการผลิต 5 ล้านตันต่อปี จำนวน 2 สายการผลิต และการออกแบบทางวิศวกรรมในครั้งนี้จะออกแบบผังโรงงานให้สามารถรองรับกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวได้ถึง 50 ล้านตันต่อปีในอนาคต และคาดว่าจะเริ่มมีการผลิตในปี 2561 ซึ่งเรามองว่าพัฒนาการดังกล่าวเป็นผลบวกต่อ PTTEP
ด้าน บล.ธนชาต ระบุในบทวิเคราะห์ว่า หุ้นพลังงานยังบวกนำตลาดต่อไป ด้วยแรงซื้อหุ้น PTTEP ที่แข็งแกร่ง ถืออยู่รอจังหวะทยอยขายที่แนวต้าน 2 จุด โดยมีเป้าหมายสูงสุดไม่เกิน 175 บาท ในขณะที่หุ้น PTT ระยะสั้นกลับมาเป็นบวกคาดว่าจะมีแรงซื้อตาม มีเป้าหมายสูงสุดไม่เกิน 347 บาท ถ้าถึงแนวต้านขายและไม่ซื้อกลับ รอดูสัญญาณการปรับตัวลงของตลาด เนื่องจากคาดว่าหุ้นในกลุ่มพลังงานจะเป็นกลุ่มหลักที่ปรับตัวลงตามหุ้นสื่อสารและธนาคาร
ข่าวหุ้น, วันศุกร์ที่ 04 มกราคม 2556 เวลา 11:32:57 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานราคาหุ้น บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP ณ เวลา 11.28 น. ลบ 1 บาท หรือ 0.59% มาที่ 168 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ 479.51 ล้านบาท ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยโดยรวมลบ 0.23% ทั้งนี้ ราคาหุ้น PTTEP ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากระดับราคา 153.50 บาท ในวันที่ 11 ธ.ค. มาแตะที่ระดับราคา 169 บาท วานนี้ (3 ม.ค.) ก่อนจะอ่อนตัวลงมาแตะที่ระดับราคา 167 บาท ในวันนี้ จากข้อมูล www.settrade.com ระบุว่า บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) 2 แห่ง แนะนำ “ซื้อ” PTTEP โดยให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 192.50 บาท
บล.กสิกรไทย ระบุในบทวิเคราะห์ว่า คงคำแนะนำ “ซื้อ” หุ้น PTTEP โดยให้มูลค่าพื้นฐานที่ 200 บาท เนื่องจากเรามีมุมมองเชิงบวกต่อการเข้าทำข้อตกลงเบื้องต้นของทาง Anardako บริษัทร่วมทุนของทาง ปตท.สผ. ในการพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ 1 กับทางบริษัท Eni ผู้พัฒนาแหล่งก๊าซที่ 4 เพื่อร่วมกันวางแผน และพัฒนาการก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวบนบก ทางตอนเหนือของประเทศโมซัมบิก
ขณะที่ทาง Anardako ได้จัดจ้างบริษัทรับเหมา เพื่อให้เข้าร่วมแข่งขันออกแบบทางวิศวกรรม (Front End Engineering Design: FEED) 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวบนบก (Liquefied Natural Gas: LNG) และด้านการติดตั้งอุปกรณ์การผลิต และท่อส่งก๊าซนอกชายฝั่งในแปลง Rovuma Offshore Area 1 ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ และมีปริมาณสำรองของก๊าซธรรมชาติมากกว่า 65 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ในประเทศโมซัมบิก
โดยบริษัทรับเหมาที่ได้รับการจัดจ้างให้เข้าร่วมการแข่งขันการออกแบบด้านการก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวบนบก ซึ่งจะมีกำลังการผลิต 5 ล้านตันต่อปี จำนวน 2 สายการผลิต และการออกแบบทางวิศวกรรมในครั้งนี้จะออกแบบผังโรงงานให้สามารถรองรับกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวได้ถึง 50 ล้านตันต่อปีในอนาคต และคาดว่าจะเริ่มมีการผลิตในปี 2561 ซึ่งเรามองว่าพัฒนาการดังกล่าวเป็นผลบวกต่อ PTTEP
ด้าน บล.ธนชาต ระบุในบทวิเคราะห์ว่า หุ้นพลังงานยังบวกนำตลาดต่อไป ด้วยแรงซื้อหุ้น PTTEP ที่แข็งแกร่ง ถืออยู่รอจังหวะทยอยขายที่แนวต้าน 2 จุด โดยมีเป้าหมายสูงสุดไม่เกิน 175 บาท ในขณะที่หุ้น PTT ระยะสั้นกลับมาเป็นบวกคาดว่าจะมีแรงซื้อตาม มีเป้าหมายสูงสุดไม่เกิน 347 บาท ถ้าถึงแนวต้านขายและไม่ซื้อกลับ รอดูสัญญาณการปรับตัวลงของตลาด เนื่องจากคาดว่าหุ้นในกลุ่มพลังงานจะเป็นกลุ่มหลักที่ปรับตัวลงตามหุ้นสื่อสารและธนาคาร
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 825
คาดปีนี้ใช้ก๊าซกระฉูด5พันล้านลบ.ฟุต/วัน
Source - ข่าวสด (Th), Tuesday, January 08, 2013
นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า คาดการณ์ว่าในปีนี้การใช้ก๊าซธรรมชาติ จะเพิ่มขึ้น 10% หรือมีการใช้รวมประมาณ 5,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน โดยจะเป็นก๊าซจากอ่าวไทยประมาณ 3,800 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และพม่า 1,200 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน โดยคาดว่าจะรักษาระดับการผลิตในอ่าวไทยในระดับนี้ได้เพียง 5 ปีเท่านั้น หลังจากนั้นอัตราการผลิตจะลดลง เนื่องจากไม่มีแหล่งก๊าซขนาดใหญ่ในอ่าวไทยเพิ่มเติมเข้ามา
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงพลังงานกำลังดูภาพรวมในเรื่องการเตรียมพร้อมสำหรับปริมาณก๊าซในอ่าวไทยที่จะลดลงไม่ให้เกิดปัญหาในการผลิตไฟฟ้าและปิโตรเคมี ซึ่งจะส่งผลต่อประชาชนทั้งประเทศ โดยแนวทางเบื้องต้นจะต้องมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) จากต่างประเทศมาทดแทน ซึ่งขณะนี้ บมจ.ปตท.กำลังขยายคลังรับจ่ายแอลเอ็นจี จาก 5 ล้านตัน เป็น 10 ล้านตัน/ปี
นอกจากนี้ กระทรวงได้ตั้งคณะทำงานแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมเพื่อให้สามารถพัฒนาสัมปทานแหล่งปิโตรเลียมแหล่งเดิมของกลุ่มเชฟรอน และ บมจ.ปตท.สผ. จากที่กฎหมายปัจจุบันได้ต่ออายุไป 2 รอบแล้ว และไม่สามารถต่ออายุได้อีก คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาประมาณ 6 เดือน
นายทรงภพกล่าวว่า กระทรวงพลังงานเตรียมที่จะเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ซึ่งนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน ได้ให้นโยบายไปทำความเข้าใจกับประชาชนทั้งส่วนกลาง และในพื้นที่ที่จะเปิดสัมปทานในต่างจังหวัด โดยสัมปทานรอบนี้จะมีทั้งหมด 22 แปลง คาดว่าจะมีสำรองก๊าซ ประมาณ 3-5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต น้ำมันดิบ ประมาณ 20-30 ล้านบาร์เรล
--จบ--
Source - ข่าวสด (Th), Tuesday, January 08, 2013
นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า คาดการณ์ว่าในปีนี้การใช้ก๊าซธรรมชาติ จะเพิ่มขึ้น 10% หรือมีการใช้รวมประมาณ 5,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน โดยจะเป็นก๊าซจากอ่าวไทยประมาณ 3,800 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และพม่า 1,200 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน โดยคาดว่าจะรักษาระดับการผลิตในอ่าวไทยในระดับนี้ได้เพียง 5 ปีเท่านั้น หลังจากนั้นอัตราการผลิตจะลดลง เนื่องจากไม่มีแหล่งก๊าซขนาดใหญ่ในอ่าวไทยเพิ่มเติมเข้ามา
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงพลังงานกำลังดูภาพรวมในเรื่องการเตรียมพร้อมสำหรับปริมาณก๊าซในอ่าวไทยที่จะลดลงไม่ให้เกิดปัญหาในการผลิตไฟฟ้าและปิโตรเคมี ซึ่งจะส่งผลต่อประชาชนทั้งประเทศ โดยแนวทางเบื้องต้นจะต้องมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) จากต่างประเทศมาทดแทน ซึ่งขณะนี้ บมจ.ปตท.กำลังขยายคลังรับจ่ายแอลเอ็นจี จาก 5 ล้านตัน เป็น 10 ล้านตัน/ปี
นอกจากนี้ กระทรวงได้ตั้งคณะทำงานแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมเพื่อให้สามารถพัฒนาสัมปทานแหล่งปิโตรเลียมแหล่งเดิมของกลุ่มเชฟรอน และ บมจ.ปตท.สผ. จากที่กฎหมายปัจจุบันได้ต่ออายุไป 2 รอบแล้ว และไม่สามารถต่ออายุได้อีก คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาประมาณ 6 เดือน
นายทรงภพกล่าวว่า กระทรวงพลังงานเตรียมที่จะเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ซึ่งนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน ได้ให้นโยบายไปทำความเข้าใจกับประชาชนทั้งส่วนกลาง และในพื้นที่ที่จะเปิดสัมปทานในต่างจังหวัด โดยสัมปทานรอบนี้จะมีทั้งหมด 22 แปลง คาดว่าจะมีสำรองก๊าซ ประมาณ 3-5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต น้ำมันดิบ ประมาณ 20-30 ล้านบาร์เรล
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 826
มองอนาคตประชากร
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Tuesday, January 08,
โชคชัย สุวรรณาภรณ์
[email protected]
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.
คาดการณ์ว่าในปี 2643 (ค.ศ. 2100)อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้น 1.4-5.8 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมบางแห่งเนื่องจากน้ำทะเลจะสูงขึ้นประมาณ0.9 เมตร และจะเกิดฝนแล้งในบางประเทศIPCC
คาดว่าในอนาคตไม่ถึง 20 ปีข้างหน้าพื้นที่เกษตรกรรม 70% ในจีน อินเดียเอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และอเมริกาจะกลายเป็นพื้นที่แห้งแล้ง ประเทศริมฝั่งทะเลอาจจะประสบปัญหาน้ำท่วมเกษตรกรรายย่อยในภูมิภาคเอเชียซึ่งมีมากถึง 87% ของเกษตรกรรายย่อยทั่วโลก จะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเนื่องจากต้องพึ่งพาฝนตามฤดูกาล
สุดท้ายราคาอาหารจะเพิ่มสูงขึ้น องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO) พยากรณ์ว่าในช่วง 10 ปีข้างหน้าราคาอาหารโลกโดยเฉลี่ยอาจจะสูงกว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยสาเหตุที่ทำให้ราคาอาหารสูงขึ้นเนื่องจากความต้องการอาหาร และต้นทุนอาหารที่สูงขึ้น เช่นราคาน้ำมันที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในทุกกระบวนการผลิต ตั้งแต่การใช้เครื่องยนต์ในการทำไร่ไถนา การใช้ปุ๋ยเคมีที่ได้จากปิโตรเลียม การขนส่ง การปรุงอาหาร
ในขณะที่ในอนาคต โลกต้องเผชิญกับราคาพลังงานที่สูงขึ้น นอกจากนี้ "น้ำ" ก็เป็นต้นทุนที่สำคัญในการผลิตอาหาร ในหลายประเทศวางแผนระบบชลประทานเพื่อรองรับกับการทำการเกษตร แต่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าการเกษตรเพิ่มขึ้น อีกทั้งราคาอาหารในทศวรรษหน้าจะมีความผันผวนมากขึ้นจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งทั่วโลก
ในกรณีประเทศไทย การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันทำให้ต้นทุนการผลิตทางการเกษตรสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะเกษตรกรต้องอาศัยปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันเช่น ปุ๋ยเคมีและสารเคมีการเกษตร จากการสำรวจของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)พบว่าต้นทุนค่าปุ๋ยและสารเคมีการเกษตรนั้นสูงขึ้นมากกว่า 2 เท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2551 เช่น ปุ๋ยเคมีสูตร16-16-0 ราคาเพิ่มขึ้นจากกระสอบละ700-800 บาท เป็น 1,500 บาท
ดังนั้น ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต จะเป็นเหตุให้ราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับนโยบายของภาครัฐที่จะต้องปรับเปลี่ยนประเทศไทยให้สามารถรองรับต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปครับ.
"ในอนาคต โลกต้องเผชิญกับราคาพลังงานที่สูงขึ้นนอกจากนี้ "น้ำ" ก็เป็นต้นทุนที่สำคัญในการผลิตอาหาร ในหลายประเทศวางแผนระบบชลประทานเพื่อรองรับกับการทำการเกษตร แต่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าการเกษตรเพิ่มขึ้น อีกทั้งราคาอาหารในทศวรรษหน้าจะมีความผันผวนมากขึ้นจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน"
--จบ--
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Tuesday, January 08,
โชคชัย สุวรรณาภรณ์
[email protected]
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.
คาดการณ์ว่าในปี 2643 (ค.ศ. 2100)อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้น 1.4-5.8 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมบางแห่งเนื่องจากน้ำทะเลจะสูงขึ้นประมาณ0.9 เมตร และจะเกิดฝนแล้งในบางประเทศIPCC
คาดว่าในอนาคตไม่ถึง 20 ปีข้างหน้าพื้นที่เกษตรกรรม 70% ในจีน อินเดียเอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และอเมริกาจะกลายเป็นพื้นที่แห้งแล้ง ประเทศริมฝั่งทะเลอาจจะประสบปัญหาน้ำท่วมเกษตรกรรายย่อยในภูมิภาคเอเชียซึ่งมีมากถึง 87% ของเกษตรกรรายย่อยทั่วโลก จะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเนื่องจากต้องพึ่งพาฝนตามฤดูกาล
สุดท้ายราคาอาหารจะเพิ่มสูงขึ้น องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO) พยากรณ์ว่าในช่วง 10 ปีข้างหน้าราคาอาหารโลกโดยเฉลี่ยอาจจะสูงกว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยสาเหตุที่ทำให้ราคาอาหารสูงขึ้นเนื่องจากความต้องการอาหาร และต้นทุนอาหารที่สูงขึ้น เช่นราคาน้ำมันที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในทุกกระบวนการผลิต ตั้งแต่การใช้เครื่องยนต์ในการทำไร่ไถนา การใช้ปุ๋ยเคมีที่ได้จากปิโตรเลียม การขนส่ง การปรุงอาหาร
ในขณะที่ในอนาคต โลกต้องเผชิญกับราคาพลังงานที่สูงขึ้น นอกจากนี้ "น้ำ" ก็เป็นต้นทุนที่สำคัญในการผลิตอาหาร ในหลายประเทศวางแผนระบบชลประทานเพื่อรองรับกับการทำการเกษตร แต่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าการเกษตรเพิ่มขึ้น อีกทั้งราคาอาหารในทศวรรษหน้าจะมีความผันผวนมากขึ้นจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งทั่วโลก
ในกรณีประเทศไทย การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันทำให้ต้นทุนการผลิตทางการเกษตรสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะเกษตรกรต้องอาศัยปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันเช่น ปุ๋ยเคมีและสารเคมีการเกษตร จากการสำรวจของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)พบว่าต้นทุนค่าปุ๋ยและสารเคมีการเกษตรนั้นสูงขึ้นมากกว่า 2 เท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2551 เช่น ปุ๋ยเคมีสูตร16-16-0 ราคาเพิ่มขึ้นจากกระสอบละ700-800 บาท เป็น 1,500 บาท
ดังนั้น ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต จะเป็นเหตุให้ราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับนโยบายของภาครัฐที่จะต้องปรับเปลี่ยนประเทศไทยให้สามารถรองรับต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปครับ.
"ในอนาคต โลกต้องเผชิญกับราคาพลังงานที่สูงขึ้นนอกจากนี้ "น้ำ" ก็เป็นต้นทุนที่สำคัญในการผลิตอาหาร ในหลายประเทศวางแผนระบบชลประทานเพื่อรองรับกับการทำการเกษตร แต่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าการเกษตรเพิ่มขึ้น อีกทั้งราคาอาหารในทศวรรษหน้าจะมีความผันผวนมากขึ้นจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน"
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 827
TTCL รับงานสร้างโรงงานแปลงน้ำทะเลเป็นน้ำจืดในกาต้าร์ 6.4 พันลบ.
อินโฟเควสท์, 8 ม.ค. 56
นายกอบชัย ธนสุกาญจน์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการเงิน และนักลงทุนสัมพันธ์ บมจ.โตโย-ไทย คอร์ปอเรชั่น (TTCL) แจ้งว่า บริษัทได้ลงนามในสัญญาใหม่ในประเทศกาตาร์ เป็นการก่อสร้างโรงงานแปลงน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืด ชื่อ โครงการ Ras Abu Fontas A2 Desalination Project เจ้าของโครงการ คือ QATAR ELECTRICITY & WATER COMPANY มูลค่าโครงการประมาณ 210 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 6,400 ล้านบาท (เฉพาะส่วนของ TTCL) เป็นการออกแบบวิศวกรรม, จัดซื้อเครื่องจักรวัสดุอุปกรณ์ และก่อสร้างครบวงจร ระยะเวลาการก่อสร้าง มกราคม 2556 — มิถุนายน 2558
อินโฟเควสท์, 8 ม.ค. 56
นายกอบชัย ธนสุกาญจน์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการเงิน และนักลงทุนสัมพันธ์ บมจ.โตโย-ไทย คอร์ปอเรชั่น (TTCL) แจ้งว่า บริษัทได้ลงนามในสัญญาใหม่ในประเทศกาตาร์ เป็นการก่อสร้างโรงงานแปลงน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืด ชื่อ โครงการ Ras Abu Fontas A2 Desalination Project เจ้าของโครงการ คือ QATAR ELECTRICITY & WATER COMPANY มูลค่าโครงการประมาณ 210 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 6,400 ล้านบาท (เฉพาะส่วนของ TTCL) เป็นการออกแบบวิศวกรรม, จัดซื้อเครื่องจักรวัสดุอุปกรณ์ และก่อสร้างครบวงจร ระยะเวลาการก่อสร้าง มกราคม 2556 — มิถุนายน 2558
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 828
'ปตท.' ลุยเพิ่มซัพพลายขยายเครือข่ายสถานีตามแนวท่อ
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, January 09, 2013
นายนภดล ปิ่นสุภา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ ปตท.กำลังเร่งขยายกำลังการผลิตก๊าซเอ็นจีวี และการขยายเครือข่ายสถานีบริการตามแนวท่อตามภูมิภาคมากขึ้น เพื่อให้มีปริมาณรองรับผู้ใช้บริการได้เพียงพอภายในปี 2556 เพื่อไม่ให้มีปัญหาหากมีการปรับขึ้นราคาเพราะหากล่าช้าออกไปทาง ปตท.ต้องแบกรับภาระขาดทุนที่ไม่สะท้อนต้นทุนราคาที่แท้จริง ประมาณ 60,000 ล้านบาทแล้ว
ขณะเดียวกันจะเปิดกว้างให้เอกชนเข้ามาลงทุนตั้งสถานีบริการก๊าซ เอ็นจีวีครบวงจร ตั้งแต่ต้นแนวท่อไปจนถึงปลายท่อ โดยมี ปตท.จัดหาก๊าซให้และวางโครงข่ายท่อให้ครอบคลุม เอกชนสามารถมาซื้อก๊าซจากแนวท่อในราคาที่ ปตท.ไม่ต้องแบกรับภาระ แล้วจัดตั้งสถานีแม่เพื่อส่งให้สถานีลูก หรือตั้งสถานีตามแนวท่อบริการอัดก๊าซให้กับรถยนต์ การเปิดให้เอกชนมาลงทุนกระจายความเสี่ยงและความคล่องตัวในการบริหารจัดการทั้งหมด
"สำหรับแผนงานในอนาคตสำหรับการเพิ่มสถานีทาง ปตท.จะไม่ลงทุนเพิ่มตัวสถานีมากนัก แต่จะเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาลงทุนในการซื้อก๊าซจากแนวท่อจะช่วยสร้างซัพพลายให้ระบบมากขึ้น
ปัจจุบันมีภาคเอกชนให้ความสนใจแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ราย เพื่อนำไปใช้ในกิจการด้านการขนส่งของบริษัท เนื่องจากจะสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ด้วยตัวเอง และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เมื่อเทียบกับการรอเติมก๊าซในสถานีบริการ และคาดว่าโมเดลธุรกิจนี้จะมีความชัดเจนมากขึ้นภายในปี 2556" นายนภดลกล่าว
--จบ--
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, January 09, 2013
นายนภดล ปิ่นสุภา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ ปตท.กำลังเร่งขยายกำลังการผลิตก๊าซเอ็นจีวี และการขยายเครือข่ายสถานีบริการตามแนวท่อตามภูมิภาคมากขึ้น เพื่อให้มีปริมาณรองรับผู้ใช้บริการได้เพียงพอภายในปี 2556 เพื่อไม่ให้มีปัญหาหากมีการปรับขึ้นราคาเพราะหากล่าช้าออกไปทาง ปตท.ต้องแบกรับภาระขาดทุนที่ไม่สะท้อนต้นทุนราคาที่แท้จริง ประมาณ 60,000 ล้านบาทแล้ว
ขณะเดียวกันจะเปิดกว้างให้เอกชนเข้ามาลงทุนตั้งสถานีบริการก๊าซ เอ็นจีวีครบวงจร ตั้งแต่ต้นแนวท่อไปจนถึงปลายท่อ โดยมี ปตท.จัดหาก๊าซให้และวางโครงข่ายท่อให้ครอบคลุม เอกชนสามารถมาซื้อก๊าซจากแนวท่อในราคาที่ ปตท.ไม่ต้องแบกรับภาระ แล้วจัดตั้งสถานีแม่เพื่อส่งให้สถานีลูก หรือตั้งสถานีตามแนวท่อบริการอัดก๊าซให้กับรถยนต์ การเปิดให้เอกชนมาลงทุนกระจายความเสี่ยงและความคล่องตัวในการบริหารจัดการทั้งหมด
"สำหรับแผนงานในอนาคตสำหรับการเพิ่มสถานีทาง ปตท.จะไม่ลงทุนเพิ่มตัวสถานีมากนัก แต่จะเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาลงทุนในการซื้อก๊าซจากแนวท่อจะช่วยสร้างซัพพลายให้ระบบมากขึ้น
ปัจจุบันมีภาคเอกชนให้ความสนใจแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ราย เพื่อนำไปใช้ในกิจการด้านการขนส่งของบริษัท เนื่องจากจะสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ด้วยตัวเอง และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เมื่อเทียบกับการรอเติมก๊าซในสถานีบริการ และคาดว่าโมเดลธุรกิจนี้จะมีความชัดเจนมากขึ้นภายในปี 2556" นายนภดลกล่าว
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 829
เปิดภารกิจ 'สนพ.' สางปม LPG-ปรับPDP-ประมูลโรงไฟฟ้าสางปม LPG-ปรับPDP-ประมูลโรงไฟฟ้า
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, January 09, 2013
การปรับราคาพลังงานในปี’56 ของกระทรวงพลังงานเป็นที่จับตามอง รวมถึงนโยบายพลังงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ถือเป็นหน่วยงานสำคัญที่จะต้องวางรากฐานนโยบายและการขับเคลื่อนนายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญผอ.สนพ.ได้กล่าวถึงภารกิจด้านพลังงานสำคัญ ๆ ในปีนี้คือ 1) เตรียมที่จะทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) ฉบับใหม่ 2013 เนื่องจากมีการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG ค่อนข้าง มากถึง 20 ล้านตัน ซึ่งอาจจะส่งผล กระทบต่อราคาค่าไฟฟ้าที่ต้องปรับ เพิ่มขึ้น เพราะนอกจากต้นทุนราคาเนื้อก๊าซแล้ว ยังต้องมีค่าขนส่งทางเรือ และหากเกิดภาวะสงครามอาจจะกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ จึงต้องมองหาทางเลือก เชื้อเพลิงอื่น ๆ เช่น ถ่านหินสะอาด รวมถึงพลังงานจากนิวเคลียร์
พลังงานไฟฟ้าจากทั้ง 2 ประเภทนี้ กระทรวงพลังงานจะต้องเร่งทำความเข้าใจกับประชาชน พร้อมกับทำประชาพิจารณ์ควบคู่กันไป โดยเฉพาะพลังงานนิวเคลียร์แม้จะยังอยู่ในระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ แต่ยังไม่มีแผนก่อสร้าง หากติดตามประเทศเพื่อนบ้านจะพบว่า ในประเทศเวียดนามมีแผนที่จะก่อสร้าง และมีโอกาสก่อสร้างที่ประเทศกัมพูชา รวมไปจนถึงอาจมี โรงไฟฟ้าทั้งถ่านหิน หรือนิวเคลียร์ เกิดขึ้นที่นิคมอุตสาหกรรมทวายใน ประเทศพม่าด้วย
2) การประมูลโรงไฟฟ้าใหม่ หรือ IPP ที่รอบนี้จะมีเพียงโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเท่านั้น และจะเดินหน้าตามแผนที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนดไว้ และ 3) ปรับโครงสร้างราคาพลังงานก่อนเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
สำหรับการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือ LPG ทั้งในภาค ครัวเรือนและภาคขนส่งเพื่อให้ราคา สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ตามที่วางเป้าหมายไว้ที่ราคาท้ายสุดจะอยู่ที่ 24.82 บาท/กิโลกรัม จากปัจจุบันที่ราคา LPG ใน ภาคครัวเรือนอยู่ที่ 18.13 บาท/กิโลกรัม และภาคขนส่งอยู่ที่ 21.38 บาท/กิโลกรัม แต่กว่าที่จะปรับราคา LPG ได้นั้น กระบวนการที่กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญมากที่สุดคือ การทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะที่ผ่านมากระแสสังคมค่อนข้างต่อต้านการปรับราคาพลังงาน โดยนายสุเทพกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ต้องยอมรับว่าจุดอ่อนของการปรับราคาพลังงานในขณะนี้คือ ความเชื่อมั่นที่มีต่อนโยบายรัฐของประชาชนยังไม่ดีพอ
ประเด็นที่ สนพ.ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนคือ การกล่าวหาว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซื้อก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเพื่อป้อนสู่การผลิตปิโตรเคมี ในราคาต่ำกว่าภาคครัวเรือน ซึ่งในความเป็นจริงนั้น การเปรียบเทียบดังกล่าว อยู่บนพื้นฐานที่ต่างกัน ปัจจุบันราคา LPG ครัวเรือนอยู่ที่ 18.13 บาท/กิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาที่ได้บวกรวมค่าการตลาด ภาษี และอื่น ๆ แล้ว ในขณะที่ ภาคปิโตรเคมีใช้ LPG ที่ราคา 16.20 บาท/กิโลกรัม ที่ราคาถูกกว่าเพราะยังไม่บวกรวม ภาษีเข้าไป เพราะว่าภาคปิโตรเคมีใช้ก๊าซ LPG เป็นวัตถุดิบตั้งต้น และจะบวกรวมภาษีก็ต่อเมื่อเข้าสู่กระบวนการผลิต ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปแล้ว อย่างเช่น เม็ดพลาสติก เมื่อนำราคา LPG ที่ 16.20 บาท มารวมภาษีต่าง ๆ แล้วจะ อยู่ที่ 24 บาท/กิโลกรัม จะเห็นว่ามีราคาสูงกว่าก๊าซ LPG ที่จำหน่ายใน ครัวเรือน
ประเด็นถัดมาคือ ภาคปิโตรเคมี แย่งการใช้ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจนต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ต้องทำความเข้าใจว่าสัญญาซื้อขายก๊าซ LPG ในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ 1) สัญญาซื้อขาย ระยะสั้น มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 800-1,000 เหรียญสหรัฐ/ตัน และ 2) สัญญาซื้อขายระยะยาว ราคาเฉลี่ยต่ำกว่าปกติเล็กน้อย แต่ยังคงมีราคาสูงกว่าราคาในอ่าวไทย ที่หน้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 500-700 เหรียญสหรัฐ/ตัน
เพื่ออธิบายประเด็นนี้ ต้องย้อนกลับไปในช่วงปี 2522-2523 ที่มีการค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และเป็นก๊าซที่เหมาะกับการใช้เป็นเชื้อเพลิงและวัตถุดิบตั้งต้นในโรงงานปิโตรเคมี ฉะนั้นรัฐบาลในขณะนั้นจึงให้สร้างโรงแยกก๊าซ และโรงงานปิโตรเคมี เพื่อให้ใช้ทรัพยากรดังกล่าวอย่างคุ้มค่า และโรงงานที่ก่อสร้างในช่วงนั้นต้องใช้เวลาคืนทุนถึง 30 ปี ดังนั้นจะให้ภาคปิโตรเคมีเปลี่ยนไปใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นก็อาจจะ "ขัดต่อสัญญา" ซื้อขายก๊าซธรรมชาติได้ และในระยะยาวอาจจะส่งผลต่อความ เชื่อมั่นที่ลดลงของนักลงทุนต่างชาติ ที่เข้ามาลงทุนสำรวจและผลิตก๊าซ ในประเทศได้
ปัญหาที่แท้จริงที่ต้องนำเข้าก๊าซ LPG มารองรับการใช้ในภาคครัวเรือนและการขนส่งนั้น เพราะความต้องการใช้ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก ส่วนหนึ่งเพราะราคา LPG ทั้ง 2 กลุ่ม ภาครัฐได้ชดเชยราคา โดยใช้กลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้ใช้จึงไม่เกิดการประหยัด ดังนั้น การแก้ปัญหาคือ จะต้องปรับราคาก๊าซ LPG ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
นอกเหนือจากนี้ สนพ.ยังต้องเดินหน้าแผนสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ 90 วัน เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ และให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิก หากเกิดภาวะฉุกเฉินทางพลังงาน ซึ่ง สนพ.จะนำแผนสำรองน้ำมันดังกล่าวมา เชื่อมโยงกับการศึกษาในโครงการ Energy Bridge โดยนำเฉพาะส่วนของการวางท่อส่งน้ำมันในโครงการสะพานเชื่อมเศรษฐกิจ หรือ Landbridge นำมาปรับใช้พร้อมศึกษาใหม่เพิ่มเติม ด้วยการวางท่อน้ำมันผ่านอ่าวไทยออกไปกลางทะเลประมาณ 30 กิโลเมตร ใช้เรือน้ำมันมารับได้ทั้ง 2 ฝั่งที่มีคลังอยู่ ซึ่งจะกลายเป็นยุทธศาสตร์สำรองน้ำมัน
สนพ.ได้วางพื้นที่ศึกษาไว้ 4 แห่งคือ ทวาย, ขนอม, พังงา และปากบารา แต่ที่ดูจะมีความเป็นไปได้สูงคือ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปจนถึงจังหวัดพังงา เพราะมีถนน 4 เลนตัดผ่าน สามารถเชื่อมเส้นทางไปยังทะเลอันดามันด้วยระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร วิธีการคือวางแนวท่อตรงกลางระหว่างถนน เพื่อไม่ต้องมีการเวนคืนที่ดินและ ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม ที่จะมีแค่ตัวคลังลอยน้ำออกไปจากฝั่ง และอีกทางเลือกที่ศึกษาไว้คือ จากท่าเรือน้ำลึกทวาย เชื่อมต่อมายังอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
การศึกษาในโครงการดังกล่าวนี้ เริ่มมีนักลงทุนจากประเทศจีน ญี่ปุ่น ให้ความสนใจร่วมลงทุนและกำลังอยู่ในระหว่างเจรจาความเป็นไปได้แบบรัฐต่อรัฐ อาจจะ มีการตั้งบริษัทกลางที่เกิดจากการร่วมทุนกันมาบริหาร สิ่งที่ประเทศจะได้คือ รายได้จากการขนส่งน้ำมันผ่านท่อมหาศาล เมื่อประเมินแล้วพบว่าแม้ว่าจะไม่มีการต่อยอดลงทุนอื่น ๆ เพิ่มเติม โครงการนี้ยังถือว่าคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, January 09, 2013
การปรับราคาพลังงานในปี’56 ของกระทรวงพลังงานเป็นที่จับตามอง รวมถึงนโยบายพลังงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ถือเป็นหน่วยงานสำคัญที่จะต้องวางรากฐานนโยบายและการขับเคลื่อนนายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญผอ.สนพ.ได้กล่าวถึงภารกิจด้านพลังงานสำคัญ ๆ ในปีนี้คือ 1) เตรียมที่จะทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) ฉบับใหม่ 2013 เนื่องจากมีการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG ค่อนข้าง มากถึง 20 ล้านตัน ซึ่งอาจจะส่งผล กระทบต่อราคาค่าไฟฟ้าที่ต้องปรับ เพิ่มขึ้น เพราะนอกจากต้นทุนราคาเนื้อก๊าซแล้ว ยังต้องมีค่าขนส่งทางเรือ และหากเกิดภาวะสงครามอาจจะกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ จึงต้องมองหาทางเลือก เชื้อเพลิงอื่น ๆ เช่น ถ่านหินสะอาด รวมถึงพลังงานจากนิวเคลียร์
พลังงานไฟฟ้าจากทั้ง 2 ประเภทนี้ กระทรวงพลังงานจะต้องเร่งทำความเข้าใจกับประชาชน พร้อมกับทำประชาพิจารณ์ควบคู่กันไป โดยเฉพาะพลังงานนิวเคลียร์แม้จะยังอยู่ในระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ แต่ยังไม่มีแผนก่อสร้าง หากติดตามประเทศเพื่อนบ้านจะพบว่า ในประเทศเวียดนามมีแผนที่จะก่อสร้าง และมีโอกาสก่อสร้างที่ประเทศกัมพูชา รวมไปจนถึงอาจมี โรงไฟฟ้าทั้งถ่านหิน หรือนิวเคลียร์ เกิดขึ้นที่นิคมอุตสาหกรรมทวายใน ประเทศพม่าด้วย
2) การประมูลโรงไฟฟ้าใหม่ หรือ IPP ที่รอบนี้จะมีเพียงโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเท่านั้น และจะเดินหน้าตามแผนที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนดไว้ และ 3) ปรับโครงสร้างราคาพลังงานก่อนเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
สำหรับการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือ LPG ทั้งในภาค ครัวเรือนและภาคขนส่งเพื่อให้ราคา สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ตามที่วางเป้าหมายไว้ที่ราคาท้ายสุดจะอยู่ที่ 24.82 บาท/กิโลกรัม จากปัจจุบันที่ราคา LPG ใน ภาคครัวเรือนอยู่ที่ 18.13 บาท/กิโลกรัม และภาคขนส่งอยู่ที่ 21.38 บาท/กิโลกรัม แต่กว่าที่จะปรับราคา LPG ได้นั้น กระบวนการที่กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญมากที่สุดคือ การทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะที่ผ่านมากระแสสังคมค่อนข้างต่อต้านการปรับราคาพลังงาน โดยนายสุเทพกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ต้องยอมรับว่าจุดอ่อนของการปรับราคาพลังงานในขณะนี้คือ ความเชื่อมั่นที่มีต่อนโยบายรัฐของประชาชนยังไม่ดีพอ
ประเด็นที่ สนพ.ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนคือ การกล่าวหาว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซื้อก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเพื่อป้อนสู่การผลิตปิโตรเคมี ในราคาต่ำกว่าภาคครัวเรือน ซึ่งในความเป็นจริงนั้น การเปรียบเทียบดังกล่าว อยู่บนพื้นฐานที่ต่างกัน ปัจจุบันราคา LPG ครัวเรือนอยู่ที่ 18.13 บาท/กิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาที่ได้บวกรวมค่าการตลาด ภาษี และอื่น ๆ แล้ว ในขณะที่ ภาคปิโตรเคมีใช้ LPG ที่ราคา 16.20 บาท/กิโลกรัม ที่ราคาถูกกว่าเพราะยังไม่บวกรวม ภาษีเข้าไป เพราะว่าภาคปิโตรเคมีใช้ก๊าซ LPG เป็นวัตถุดิบตั้งต้น และจะบวกรวมภาษีก็ต่อเมื่อเข้าสู่กระบวนการผลิต ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปแล้ว อย่างเช่น เม็ดพลาสติก เมื่อนำราคา LPG ที่ 16.20 บาท มารวมภาษีต่าง ๆ แล้วจะ อยู่ที่ 24 บาท/กิโลกรัม จะเห็นว่ามีราคาสูงกว่าก๊าซ LPG ที่จำหน่ายใน ครัวเรือน
ประเด็นถัดมาคือ ภาคปิโตรเคมี แย่งการใช้ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจนต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ต้องทำความเข้าใจว่าสัญญาซื้อขายก๊าซ LPG ในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ 1) สัญญาซื้อขาย ระยะสั้น มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 800-1,000 เหรียญสหรัฐ/ตัน และ 2) สัญญาซื้อขายระยะยาว ราคาเฉลี่ยต่ำกว่าปกติเล็กน้อย แต่ยังคงมีราคาสูงกว่าราคาในอ่าวไทย ที่หน้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 500-700 เหรียญสหรัฐ/ตัน
เพื่ออธิบายประเด็นนี้ ต้องย้อนกลับไปในช่วงปี 2522-2523 ที่มีการค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และเป็นก๊าซที่เหมาะกับการใช้เป็นเชื้อเพลิงและวัตถุดิบตั้งต้นในโรงงานปิโตรเคมี ฉะนั้นรัฐบาลในขณะนั้นจึงให้สร้างโรงแยกก๊าซ และโรงงานปิโตรเคมี เพื่อให้ใช้ทรัพยากรดังกล่าวอย่างคุ้มค่า และโรงงานที่ก่อสร้างในช่วงนั้นต้องใช้เวลาคืนทุนถึง 30 ปี ดังนั้นจะให้ภาคปิโตรเคมีเปลี่ยนไปใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นก็อาจจะ "ขัดต่อสัญญา" ซื้อขายก๊าซธรรมชาติได้ และในระยะยาวอาจจะส่งผลต่อความ เชื่อมั่นที่ลดลงของนักลงทุนต่างชาติ ที่เข้ามาลงทุนสำรวจและผลิตก๊าซ ในประเทศได้
ปัญหาที่แท้จริงที่ต้องนำเข้าก๊าซ LPG มารองรับการใช้ในภาคครัวเรือนและการขนส่งนั้น เพราะความต้องการใช้ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก ส่วนหนึ่งเพราะราคา LPG ทั้ง 2 กลุ่ม ภาครัฐได้ชดเชยราคา โดยใช้กลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้ใช้จึงไม่เกิดการประหยัด ดังนั้น การแก้ปัญหาคือ จะต้องปรับราคาก๊าซ LPG ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
นอกเหนือจากนี้ สนพ.ยังต้องเดินหน้าแผนสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ 90 วัน เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ และให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิก หากเกิดภาวะฉุกเฉินทางพลังงาน ซึ่ง สนพ.จะนำแผนสำรองน้ำมันดังกล่าวมา เชื่อมโยงกับการศึกษาในโครงการ Energy Bridge โดยนำเฉพาะส่วนของการวางท่อส่งน้ำมันในโครงการสะพานเชื่อมเศรษฐกิจ หรือ Landbridge นำมาปรับใช้พร้อมศึกษาใหม่เพิ่มเติม ด้วยการวางท่อน้ำมันผ่านอ่าวไทยออกไปกลางทะเลประมาณ 30 กิโลเมตร ใช้เรือน้ำมันมารับได้ทั้ง 2 ฝั่งที่มีคลังอยู่ ซึ่งจะกลายเป็นยุทธศาสตร์สำรองน้ำมัน
สนพ.ได้วางพื้นที่ศึกษาไว้ 4 แห่งคือ ทวาย, ขนอม, พังงา และปากบารา แต่ที่ดูจะมีความเป็นไปได้สูงคือ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปจนถึงจังหวัดพังงา เพราะมีถนน 4 เลนตัดผ่าน สามารถเชื่อมเส้นทางไปยังทะเลอันดามันด้วยระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร วิธีการคือวางแนวท่อตรงกลางระหว่างถนน เพื่อไม่ต้องมีการเวนคืนที่ดินและ ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม ที่จะมีแค่ตัวคลังลอยน้ำออกไปจากฝั่ง และอีกทางเลือกที่ศึกษาไว้คือ จากท่าเรือน้ำลึกทวาย เชื่อมต่อมายังอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
การศึกษาในโครงการดังกล่าวนี้ เริ่มมีนักลงทุนจากประเทศจีน ญี่ปุ่น ให้ความสนใจร่วมลงทุนและกำลังอยู่ในระหว่างเจรจาความเป็นไปได้แบบรัฐต่อรัฐ อาจจะ มีการตั้งบริษัทกลางที่เกิดจากการร่วมทุนกันมาบริหาร สิ่งที่ประเทศจะได้คือ รายได้จากการขนส่งน้ำมันผ่านท่อมหาศาล เมื่อประเมินแล้วพบว่าแม้ว่าจะไม่มีการต่อยอดลงทุนอื่น ๆ เพิ่มเติม โครงการนี้ยังถือว่าคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 830
ทันหุ้น, 9 ม.ค. 56
'PTTGC'สดใสรับปิโตรขาขึ้นเร่งแผนขยายกำลังผลิตเต็มสูบ
PTTGC สดใสรับปิโตรเคมีขาขึ้น หลังน้ำมันอ่อนตัว ด้านผู้บริหาร "อนนต์ สิริแสงทักษิณ" ปิ๊งแผน
ขยายกำลังผลิตอะโรเมติกส์ และโอเอฟินส์เพิ่ม 10-20% ส่วนโบรกประเมินปีนี้กำไร 3.38 หมื่นล้านบาท
เชื่อความต้องการกลุ่มปิโตรเคมียังดี พร้อมปรับราคาใหม่เป็น 82 บาท จาก 73 บาท
'SGP'ปี56กำไรแตะ1.38พันล.ลุย LPG จีน-มาเลซีย-เวียดนาม
SGP ธุรกิจสัญญาณฟื้นตัวหลังการลงทุนธุรกิจแก๊สในมาเลเซียและธุรกิจโรงบรรจุก๊าซในเวียดนามเริ่ม
ทยอยรับรู้รายได้ไตรมาส 1/2556 และธุรกิจ LPG ในจีน คาดกำไรสุทธิปี 2556 ที่ระดับ 1,380 ล้านบาท
จับตาแผนขายในโครงการซื้อคืนครบกำหนดกุมภาพันธ์นี้ จำนวน 31.06 ล้านหุ้น ต้นทุนเฉลี่ย 8.78 บาท
จังหวะเหมาะสอยรับธุรกิจฟื้นตัว เป้า 16.50 บาท
'PTTGC'สดใสรับปิโตรขาขึ้นเร่งแผนขยายกำลังผลิตเต็มสูบ
PTTGC สดใสรับปิโตรเคมีขาขึ้น หลังน้ำมันอ่อนตัว ด้านผู้บริหาร "อนนต์ สิริแสงทักษิณ" ปิ๊งแผน
ขยายกำลังผลิตอะโรเมติกส์ และโอเอฟินส์เพิ่ม 10-20% ส่วนโบรกประเมินปีนี้กำไร 3.38 หมื่นล้านบาท
เชื่อความต้องการกลุ่มปิโตรเคมียังดี พร้อมปรับราคาใหม่เป็น 82 บาท จาก 73 บาท
'SGP'ปี56กำไรแตะ1.38พันล.ลุย LPG จีน-มาเลซีย-เวียดนาม
SGP ธุรกิจสัญญาณฟื้นตัวหลังการลงทุนธุรกิจแก๊สในมาเลเซียและธุรกิจโรงบรรจุก๊าซในเวียดนามเริ่ม
ทยอยรับรู้รายได้ไตรมาส 1/2556 และธุรกิจ LPG ในจีน คาดกำไรสุทธิปี 2556 ที่ระดับ 1,380 ล้านบาท
จับตาแผนขายในโครงการซื้อคืนครบกำหนดกุมภาพันธ์นี้ จำนวน 31.06 ล้านหุ้น ต้นทุนเฉลี่ย 8.78 บาท
จังหวะเหมาะสอยรับธุรกิจฟื้นตัว เป้า 16.50 บาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 831
ข่าวหุ้น, 9 ม.ค. 56
SRICHA รับงานกว่า 1 พันล.
ศรีราชาคอนสตรัคชั่น หรือ SRICHA ประเดิมงานใหม่รับปีงูเล็ก ทำโครงสร้างเหล็กในต่างประเทศ
มูลค่าหลักพันล้าน ที่เหลืออีก 1 หมื่นล้านทยอยรับเข้าแบ็กล็อก หลังได้งานไทยออยล์ 1.6 พันล้าน เมื่อ
ปลายปีที่ผ่านมา เล็งจ่ายปันผลปีนี้สูงกว่าปีก่อนเร็ว ๆ นี้
UAC เพิ่มทุนฉลุยเปิดขาย 10 ม.ค. รายได้ทะลุ 15%
UAC มั่นใจขายหุ้นเพิ่มทุน 24.3 ล้านหุ้นหมดเกลี้ยง เปิดจองซื้อในวันที่ 10-11 ม.ค.นี้ เล็งนำเงิน
ลงทุนขยายธุรกิจ ฟากผู้บริหารลั่นปี 56 รายได้โตเกิน 15% จากปี 55 หลังตุนแบ็กล็อกเพียบ 300 ล้านบาท
บันทึกรายได้โครงการ CBG เต็มปี
EGCO ลุ้นกำไรปี 55 พุ่ง 116% IPP-เคซอนดันราคาหุ้นเพิ่ม รับยีลด์ปันผล 3.7%
EGCO มีลุ้นชนะประมูลโรงไฟฟ้า IPP อย่างน้อย 1 แห่ง คาดเพิ่มมูลค่าพื้นฐานอีก 12.9 บาท ส่วน
ขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าเคซอนในฟิลิปปินส์ จะหนุนเพิ่มมูลค่าอีก 2.6 บาท รวมดันมูลค่าเพิ่มเป็น
151.50 บาท/หุ้น ด้านกำไรปี 55 คาดทำได้ 10,800 ล้านบาท พุ่ง 116% โบรกฯ แนะถือรอรับเงินปัน
ผลในระยะยาว อัตราผลตอบแทน 3.7% ต่อปี
SRICHA รับงานกว่า 1 พันล.
ศรีราชาคอนสตรัคชั่น หรือ SRICHA ประเดิมงานใหม่รับปีงูเล็ก ทำโครงสร้างเหล็กในต่างประเทศ
มูลค่าหลักพันล้าน ที่เหลืออีก 1 หมื่นล้านทยอยรับเข้าแบ็กล็อก หลังได้งานไทยออยล์ 1.6 พันล้าน เมื่อ
ปลายปีที่ผ่านมา เล็งจ่ายปันผลปีนี้สูงกว่าปีก่อนเร็ว ๆ นี้
UAC เพิ่มทุนฉลุยเปิดขาย 10 ม.ค. รายได้ทะลุ 15%
UAC มั่นใจขายหุ้นเพิ่มทุน 24.3 ล้านหุ้นหมดเกลี้ยง เปิดจองซื้อในวันที่ 10-11 ม.ค.นี้ เล็งนำเงิน
ลงทุนขยายธุรกิจ ฟากผู้บริหารลั่นปี 56 รายได้โตเกิน 15% จากปี 55 หลังตุนแบ็กล็อกเพียบ 300 ล้านบาท
บันทึกรายได้โครงการ CBG เต็มปี
EGCO ลุ้นกำไรปี 55 พุ่ง 116% IPP-เคซอนดันราคาหุ้นเพิ่ม รับยีลด์ปันผล 3.7%
EGCO มีลุ้นชนะประมูลโรงไฟฟ้า IPP อย่างน้อย 1 แห่ง คาดเพิ่มมูลค่าพื้นฐานอีก 12.9 บาท ส่วน
ขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าเคซอนในฟิลิปปินส์ จะหนุนเพิ่มมูลค่าอีก 2.6 บาท รวมดันมูลค่าเพิ่มเป็น
151.50 บาท/หุ้น ด้านกำไรปี 55 คาดทำได้ 10,800 ล้านบาท พุ่ง 116% โบรกฯ แนะถือรอรับเงินปัน
ผลในระยะยาว อัตราผลตอบแทน 3.7% ต่อปี
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 832
PTTลุยพลาสติกชีวภาพPBS
Source - ข่าวหุ้น (Th), Thursday, January 10, 2013
ปีนี้เริ่มก่อสร้าง-กำหนดเสร็จภายใน 2 ปี
PTT ลั่นโครงการผลิตพลาสติกชีวภาพ PBS มูลค่า 230 ล้านเหรียญสหรัฐ เริ่มก่อสร้างได้ภายในปีนี้ สร้างเสร็จภายใน 2 ปี ผุดเป้าหมายใหญ่ภายใน 5 ปีข้างหน้า มีกำลังการผลิตไบโอพลาสติกถึง 700,000 ตันต่อปี
นายชวลิต ทิพพาวนิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แผนและบริหารบริษัทในเครือ หน่วยธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า สำหรับแผนลงทุนโครงการผลิตพลาสติกชีวภาพ PBS มูลค่าการลงทุน 230 ล้านเหรียญสหรัฐ จะสามารถดำเนินการก่อสร้างภายในช่วงปีนี้
โดยปัจจุบันทางบริษัทอยู่ในระหว่างการจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการดังกล่าว และน่าจะดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในช่วง 2 ปี มีขนาดกำลังการผลิต 20,000 ตันต่อปี ซึ่งวงเงินการลงทุนดังกล่าวได้ถูกบรรจุอยู่ในแผนลงทุน 5 ปีไปแล้ว ส่วนการก่อสร้างโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพ PLA ยังคงอยู่ในระหว่างการเจรจากับพันธมิตรร่วมลงทุนบริษัท เนเจอร์เวิร์คส์ จากประเทศสหรัฐอเมริกา
อีกทั้ง ภายในช่วง 5 ปีข้างหน้าทางกลุ่ม PTT ยังตั้งเป้าหมายจะมีกำลังการผลิตพลาสติกชีวภาพสูงถึงระดับ 7 แสนตันต่อปี ซึ่งปัจจุบันทางบริษัทมีกำลังผลิตพลาสติกชีวภาพจากการร่วมมือกับ เนเจอร์เวิร์คส์ อยู่ที่ระดับ 1.4 แสนตัน และยังมีแผนลงทุนสร้างโรงงาน PLA อีก 7 หมื่นตัน (เฟสแรก) และการผลิต PBS อีก 2 หมื่นตัน
ดังนั้น การที่สร้างกำลังการผลิตให้ได้ถึงระดับ 7 แสนตัน จึงถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย โดยทางกลุ่ม PTT จะต้องมีการลงทุนในโครงการพลาสติกชีวภาพเพิ่มเติมมากขึ้น การหาพันธมิตรเข้ามาร่วมลงทุน รวมถึงให้บริษัทลูกในเครือเดินหน้าโครงการพลาสติกชีวภาพควบคู่ไปด้วยกัน เช่น PTTGC และ IRPC ที่มีการผลิตกรีน ABS
อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทยังไม่สามารถระบุในขณะนี้ได้ว่า ผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) และการมีกำลังผลิตระดับ 7 แสนตัน จะต้องใช้เม็ดเงินลงทุนประมาณเท่าไหร่ เพราะพลาสติกชีวภาพ ถือเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังอยู่ในเริ่มต้น และยังมีท้าทายอยู่จำนวนมาก
อาทิเช่น ราคาผลิตภัณฑ์จาก PBS จะมีต้นทุนในปัจจุบันตกประมาณ 5.4 พันเหรียญสหรัฐต่อตัน สูงกว่าหลายเท่าตัวเมื่อเทียบโปรดักซ์ที่มีจากปิโตรเลียมในระดับ 1.4 พันเหรียญสหรัฐต่อตัน รวมถึงการจูงใจให้ตลาดหันมาใช้สินค้าดังกล่าว โดยเบื้องต้นประเมินจุดเกิดการประหยัดต่อขนาด หรือ ECONOMY OF SCALE ไว้ประมาณ 5-10 ปี
อย่างไรก็ตาม ทาง PTT ยังมั่นใจว่า พลาสติกชีวภาพถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีโอกาสเติบโตระดับสูงในระยะยาว และยังมีปัจจัยเอื้ออำนวยหลายด้านด้วยเช่นกัน เช่น วัตถุดิบที่นำมาผลิตส่วนใหญ่จะใช้พืชผลทางเกษตรที่ไทยมีอยู่แล้ว และส่งผลให้ชาวเกษตรกรรับประโยชน์ควบคู่ไปด้วยกัน อีกทั้ง ถือเป็นการต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มแบบก้าวกระโดดหลายเท่าตัวเมื่อเทียบกับการขายสินค้าเกษตรแบบโดยตรง รวมถึงกระแสความต้องการใช้สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงขึ้นมากว่าอดีต
ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีศักยภาพเพียงพอต่อการเป็นไบโอฮับของเชียได้ เนื่องจากมีแผนการลงทุนที่ชัดเจน มีเทคโนโลยีการผลิตระดับสูง พร้อมกับสอดคล้องต่อแผนธุรกิจ PTT ที่ขณะนี้พยายามเพิ่มโปรดักซ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนกรณีที่จะดึงดูดให้ผู้ประกอบการต่างชาติเข้ามาลงทุน ทางภาครัฐเข้ามาควรมีมาตรการสนับสนุนเพื่อสร้างแรงจูงใจด้วยเช่นกัน
“พลาสติกชีวภาพถือเป็นอุตสาหกรรมที่ยังมีความท้าทายอยู่มาก แต่ในอีกด้านก็มีหลายปัจจัยที่เกื้อหนุนด้วยเช่นกัน โดยมีการประเมินกันว่า หากภายในช่วงปี 2012 มีการผลิตพลาสติกชีวภาพได้ถึงระดับ 9 แสนตันต่อปี จะใช้เงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ” นายชวลิต กล่าว
--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th), Thursday, January 10, 2013
ปีนี้เริ่มก่อสร้าง-กำหนดเสร็จภายใน 2 ปี
PTT ลั่นโครงการผลิตพลาสติกชีวภาพ PBS มูลค่า 230 ล้านเหรียญสหรัฐ เริ่มก่อสร้างได้ภายในปีนี้ สร้างเสร็จภายใน 2 ปี ผุดเป้าหมายใหญ่ภายใน 5 ปีข้างหน้า มีกำลังการผลิตไบโอพลาสติกถึง 700,000 ตันต่อปี
นายชวลิต ทิพพาวนิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แผนและบริหารบริษัทในเครือ หน่วยธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า สำหรับแผนลงทุนโครงการผลิตพลาสติกชีวภาพ PBS มูลค่าการลงทุน 230 ล้านเหรียญสหรัฐ จะสามารถดำเนินการก่อสร้างภายในช่วงปีนี้
โดยปัจจุบันทางบริษัทอยู่ในระหว่างการจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการดังกล่าว และน่าจะดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในช่วง 2 ปี มีขนาดกำลังการผลิต 20,000 ตันต่อปี ซึ่งวงเงินการลงทุนดังกล่าวได้ถูกบรรจุอยู่ในแผนลงทุน 5 ปีไปแล้ว ส่วนการก่อสร้างโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพ PLA ยังคงอยู่ในระหว่างการเจรจากับพันธมิตรร่วมลงทุนบริษัท เนเจอร์เวิร์คส์ จากประเทศสหรัฐอเมริกา
อีกทั้ง ภายในช่วง 5 ปีข้างหน้าทางกลุ่ม PTT ยังตั้งเป้าหมายจะมีกำลังการผลิตพลาสติกชีวภาพสูงถึงระดับ 7 แสนตันต่อปี ซึ่งปัจจุบันทางบริษัทมีกำลังผลิตพลาสติกชีวภาพจากการร่วมมือกับ เนเจอร์เวิร์คส์ อยู่ที่ระดับ 1.4 แสนตัน และยังมีแผนลงทุนสร้างโรงงาน PLA อีก 7 หมื่นตัน (เฟสแรก) และการผลิต PBS อีก 2 หมื่นตัน
ดังนั้น การที่สร้างกำลังการผลิตให้ได้ถึงระดับ 7 แสนตัน จึงถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย โดยทางกลุ่ม PTT จะต้องมีการลงทุนในโครงการพลาสติกชีวภาพเพิ่มเติมมากขึ้น การหาพันธมิตรเข้ามาร่วมลงทุน รวมถึงให้บริษัทลูกในเครือเดินหน้าโครงการพลาสติกชีวภาพควบคู่ไปด้วยกัน เช่น PTTGC และ IRPC ที่มีการผลิตกรีน ABS
อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทยังไม่สามารถระบุในขณะนี้ได้ว่า ผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) และการมีกำลังผลิตระดับ 7 แสนตัน จะต้องใช้เม็ดเงินลงทุนประมาณเท่าไหร่ เพราะพลาสติกชีวภาพ ถือเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังอยู่ในเริ่มต้น และยังมีท้าทายอยู่จำนวนมาก
อาทิเช่น ราคาผลิตภัณฑ์จาก PBS จะมีต้นทุนในปัจจุบันตกประมาณ 5.4 พันเหรียญสหรัฐต่อตัน สูงกว่าหลายเท่าตัวเมื่อเทียบโปรดักซ์ที่มีจากปิโตรเลียมในระดับ 1.4 พันเหรียญสหรัฐต่อตัน รวมถึงการจูงใจให้ตลาดหันมาใช้สินค้าดังกล่าว โดยเบื้องต้นประเมินจุดเกิดการประหยัดต่อขนาด หรือ ECONOMY OF SCALE ไว้ประมาณ 5-10 ปี
อย่างไรก็ตาม ทาง PTT ยังมั่นใจว่า พลาสติกชีวภาพถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีโอกาสเติบโตระดับสูงในระยะยาว และยังมีปัจจัยเอื้ออำนวยหลายด้านด้วยเช่นกัน เช่น วัตถุดิบที่นำมาผลิตส่วนใหญ่จะใช้พืชผลทางเกษตรที่ไทยมีอยู่แล้ว และส่งผลให้ชาวเกษตรกรรับประโยชน์ควบคู่ไปด้วยกัน อีกทั้ง ถือเป็นการต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มแบบก้าวกระโดดหลายเท่าตัวเมื่อเทียบกับการขายสินค้าเกษตรแบบโดยตรง รวมถึงกระแสความต้องการใช้สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงขึ้นมากว่าอดีต
ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีศักยภาพเพียงพอต่อการเป็นไบโอฮับของเชียได้ เนื่องจากมีแผนการลงทุนที่ชัดเจน มีเทคโนโลยีการผลิตระดับสูง พร้อมกับสอดคล้องต่อแผนธุรกิจ PTT ที่ขณะนี้พยายามเพิ่มโปรดักซ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนกรณีที่จะดึงดูดให้ผู้ประกอบการต่างชาติเข้ามาลงทุน ทางภาครัฐเข้ามาควรมีมาตรการสนับสนุนเพื่อสร้างแรงจูงใจด้วยเช่นกัน
“พลาสติกชีวภาพถือเป็นอุตสาหกรรมที่ยังมีความท้าทายอยู่มาก แต่ในอีกด้านก็มีหลายปัจจัยที่เกื้อหนุนด้วยเช่นกัน โดยมีการประเมินกันว่า หากภายในช่วงปี 2012 มีการผลิตพลาสติกชีวภาพได้ถึงระดับ 9 แสนตันต่อปี จะใช้เงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ” นายชวลิต กล่าว
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 833
อุ้มดีเซลลดเงินเข้ากองทุน40สต.หวังตรึงราคาขายปลีก-ปตท.เลิกเบนซิน91กลางม.ค.นี้
Source -คมชัดลึก (Th), Thursday, January 10, 2013
กบง ปรับลดเงินนำส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลลง 40 สตางค์ต่อลิตร หวังคุมราคาขายปลีกไม่ขยับ ฉุดเม็ดเงินเข้ากองทุนวูบจาก 118 ล้านบาท เหลือ 95 ล้านบาทต่อวัน พร้อมรับยังไม่ได้ประเมินยกเลิกเบนซิน 91 กระทบแค่ไหน ด้าน ปตท.คาดขายหมดสต็อกกลางเดือนมกราคมนี้
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงานเปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ว่าที่ประชุมเห็นชอบการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื่อเพลิงของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร มีผลให้อัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลลดเหลือ 1.10 บาทต่อลิตร จากเดิม 1.50 บาทลิตร ซึ่งการจัดเก็บเงินเข้ากองทุน้ำมันฯ ครั้งนี้ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลเท่าเดิม ส่วนน้ำมันชนิดอื่นไม่มีการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ แต่อย่างใด
ทั้งนี้ จะมีผลตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2556 เป็นต้นไป โดยการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ครั้งนี้จะส่งผผลให้กองทุนมีรายรับลดลงจากเดิมวันละ 118 ล้านบาทเหลือวันละประมาณ 95 ล้านบาท ล่าสุดวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 16,479 ล้านบาท
สำหรับสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกพบว่ามีการปรับตัวขึ้น โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 7 มกราคม 2556 น้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 106.60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เบล เพิ่มขึ้น 2.03 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เมื่อเทียบกับการประชุม กบง. ครั้งก่อนที่ใช้ราคาปิดตลาดวันที่ 10 ธันวาคม 2555 ส่วนน้ำมันเบนซิน 95 ราคาอยู่ที่ 112.01 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 4.56 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 4.56 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และดีเซลอยู่ที่ 125.47 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.76 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ส่วนการแก้ปัญหาเงินไหลเข้ากองทุนน้ำมันที่จะลดลงมากหลังจากยกเลิกการจำหน่ายเบนซิน 91 นั้นขณะนี้ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน เพราะต้องรอดูพฤติกรรมผู้บริโภคว่าหลังจากยกเลิกแล้ว จะหันไปใช้น้ำมันเบนซินชนิดใด ซึ่งจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีตัวเลยว่าน้ำมันเบนซินชนิดต่างมีทิศทางปรับเปลี่ยนไปทางใด เพราะยังเหลือน้ำมันเบนซิน 91 นั้นขณะนี้ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน เพราะต้องรอดูพฤติกรรมผู้บริโภคว่าหลังจากยกเลิกแล้ว จะหันไปใช้น้ำมันเบนซินชนิดใด ซึ่งจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีตัวเลขว่าน้ำมันเบนซินชนิดต่าง ๆ มีทิศทางปรับเปลี่ยนไปทางใด เพราะยังเหลือน้ำมันเบนซิน 91 ค้างสต็อกอยู่คาดว่าจะขายหมดภายในเดือนนี้
สำหรับราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง คงอัตราอยู่ที่ 30.13 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นเพดานสูงสุดเนื่องจากราคาแอลพีจีตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง 955 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือคิดเป็น 33.70 บาทต่อกิโลกรัม เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูหนาวที่มีการใช้พลังงานมาก อย่างไรก็ตามราคาแอลพีจีในปัจจุบันยังต่ำกว่าปีที่ฝ่านมา ที่มีราคาขึ้นไปสูงถึง 1,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า จากนโยบายยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 ที่รัฐบาลให้เวลาในการล้างสต็อกจนถึงเดือน มีนาคมนี้ ทางสถานีบริการของปตท. ทั่วประเทศน่าจะจำหน่ายน้ำมันค้างสต็อกที่เหลือจากปลายปีก่อนประมาณ 35 ล้านลิตร ได้หมดภายในกลางเดือนมกราคมนี้และตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไปก็จะเปลี่ยนมาให้บริการ อี20 แทน หากปั๊มใดมีน้ำมันเบนซิน 95 เพื่อให้ผู้บริโภคที่ยังต้องใช้เบนซิน 91 มีทางเลือกในการปรับใช้เชื้อเพลิงและปรับแต่งสภาพรถยนต์
--จบ--
Source -คมชัดลึก (Th), Thursday, January 10, 2013
กบง ปรับลดเงินนำส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลลง 40 สตางค์ต่อลิตร หวังคุมราคาขายปลีกไม่ขยับ ฉุดเม็ดเงินเข้ากองทุนวูบจาก 118 ล้านบาท เหลือ 95 ล้านบาทต่อวัน พร้อมรับยังไม่ได้ประเมินยกเลิกเบนซิน 91 กระทบแค่ไหน ด้าน ปตท.คาดขายหมดสต็อกกลางเดือนมกราคมนี้
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงานเปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ว่าที่ประชุมเห็นชอบการปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื่อเพลิงของน้ำมันดีเซลลง 0.40 บาทต่อลิตร มีผลให้อัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลลดเหลือ 1.10 บาทต่อลิตร จากเดิม 1.50 บาทลิตร ซึ่งการจัดเก็บเงินเข้ากองทุน้ำมันฯ ครั้งนี้ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลเท่าเดิม ส่วนน้ำมันชนิดอื่นไม่มีการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ แต่อย่างใด
ทั้งนี้ จะมีผลตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2556 เป็นต้นไป โดยการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ครั้งนี้จะส่งผผลให้กองทุนมีรายรับลดลงจากเดิมวันละ 118 ล้านบาทเหลือวันละประมาณ 95 ล้านบาท ล่าสุดวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิติดลบ 16,479 ล้านบาท
สำหรับสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกพบว่ามีการปรับตัวขึ้น โดยราคาปิดตลาด ณ วันที่ 7 มกราคม 2556 น้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 106.60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เบล เพิ่มขึ้น 2.03 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เมื่อเทียบกับการประชุม กบง. ครั้งก่อนที่ใช้ราคาปิดตลาดวันที่ 10 ธันวาคม 2555 ส่วนน้ำมันเบนซิน 95 ราคาอยู่ที่ 112.01 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 4.56 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 4.56 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และดีเซลอยู่ที่ 125.47 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.76 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ส่วนการแก้ปัญหาเงินไหลเข้ากองทุนน้ำมันที่จะลดลงมากหลังจากยกเลิกการจำหน่ายเบนซิน 91 นั้นขณะนี้ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน เพราะต้องรอดูพฤติกรรมผู้บริโภคว่าหลังจากยกเลิกแล้ว จะหันไปใช้น้ำมันเบนซินชนิดใด ซึ่งจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีตัวเลยว่าน้ำมันเบนซินชนิดต่างมีทิศทางปรับเปลี่ยนไปทางใด เพราะยังเหลือน้ำมันเบนซิน 91 นั้นขณะนี้ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน เพราะต้องรอดูพฤติกรรมผู้บริโภคว่าหลังจากยกเลิกแล้ว จะหันไปใช้น้ำมันเบนซินชนิดใด ซึ่งจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีตัวเลขว่าน้ำมันเบนซินชนิดต่าง ๆ มีทิศทางปรับเปลี่ยนไปทางใด เพราะยังเหลือน้ำมันเบนซิน 91 ค้างสต็อกอยู่คาดว่าจะขายหมดภายในเดือนนี้
สำหรับราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง คงอัตราอยู่ที่ 30.13 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นเพดานสูงสุดเนื่องจากราคาแอลพีจีตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง 955 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือคิดเป็น 33.70 บาทต่อกิโลกรัม เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูหนาวที่มีการใช้พลังงานมาก อย่างไรก็ตามราคาแอลพีจีในปัจจุบันยังต่ำกว่าปีที่ฝ่านมา ที่มีราคาขึ้นไปสูงถึง 1,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า จากนโยบายยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 ที่รัฐบาลให้เวลาในการล้างสต็อกจนถึงเดือน มีนาคมนี้ ทางสถานีบริการของปตท. ทั่วประเทศน่าจะจำหน่ายน้ำมันค้างสต็อกที่เหลือจากปลายปีก่อนประมาณ 35 ล้านลิตร ได้หมดภายในกลางเดือนมกราคมนี้และตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไปก็จะเปลี่ยนมาให้บริการ อี20 แทน หากปั๊มใดมีน้ำมันเบนซิน 95 เพื่อให้ผู้บริโภคที่ยังต้องใช้เบนซิน 91 มีทางเลือกในการปรับใช้เชื้อเพลิงและปรับแต่งสภาพรถยนต์
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 834
ไทยใช้พลังงานพุ่งคาดปี56เพิ่มขึ้น5.4%
ไทยโพสต์, 10 ม.ค. 56
"เพ้ง" คาดปี 2556 ไทยซดพลังงานเพิ่มอีก 5.4% เหตุเศรษฐกิจขยายตัวรับอานิสงส์มาตรการรถยนต์คันแรกและการ ปรับค่าแรง 300 บาท ทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่ม ด้านราคาน้ำมันเฉลี่ยยังสูง 113 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะยอดใช้ไฟฟ้าเพิ่มตามอีกกว่า 1,500 เมกะวัตต์ ระบุพร้อมช่วยแก้ปัญหาปาล์มล้นตลาด แนะพาณิชย์สร้างคลังกลางเก็บปาล์มน้ำมันป้องกันปัญหาราคาผันผวน
ไทยโพสต์, 10 ม.ค. 56
"เพ้ง" คาดปี 2556 ไทยซดพลังงานเพิ่มอีก 5.4% เหตุเศรษฐกิจขยายตัวรับอานิสงส์มาตรการรถยนต์คันแรกและการ ปรับค่าแรง 300 บาท ทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่ม ด้านราคาน้ำมันเฉลี่ยยังสูง 113 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะยอดใช้ไฟฟ้าเพิ่มตามอีกกว่า 1,500 เมกะวัตต์ ระบุพร้อมช่วยแก้ปัญหาปาล์มล้นตลาด แนะพาณิชย์สร้างคลังกลางเก็บปาล์มน้ำมันป้องกันปัญหาราคาผันผวน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 835
PTTGC ขยายธุรกิจข้ามชาติร่วมทุนสร้างปิโตรฯ คอมเพล็กซ์
สยามธุรกิจฉบับวันที่ 9 - 11 ม.ค. 2556
PTTGC เร่งเครื่องสรุปแผนร่วมทุนสร้างปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ในอินโดฯ มาเลเซีย และจีน คาดได้ข้อสรุปกลางปีนี้ ด้านผลงานปีนี้มั่นใจทั้งรายได้และกำไรโตกว่าปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการควบรวมกิจการ ทำให้ใช้งบลงทุนน้อยลง ตั้งเป้ารายได้ช่วง 10 ปีนับจากนี้ โตเฉลี่ย 5% ต่อปี ทั้งมีแผนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจของบริษัท ทั้งในส่วน ของโรงกลั่น อะโรเมติกส์ โอเลฟินส์ พร้อมรุกธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง ด้านโบรกฯ เตรียมปรับเพิ่มประมาณการมูลค่าหุ้น หลังพบแนวโน้มผลงานโตต่อเนื่อง
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาโครงการร่วมทุนก่อสร้างปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ในประเทศอินโดนีเซีย จีน และมาเลเซีย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีประชากรมาก และมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสูงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่กำลังการผลิตในประเทศไม่เพียงพอ โดยในส่วนของประเทศอินโดนีเซียได้มีแผนเข้าไปร่วมทุนกับเปอร์ตามีนา ทั้งนี้ คาดว่าแผนศึกษาโครงการร่วมทุนก่อสร้าง ปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ทั้ง 3 ประเทศจะมีความชัดเจนเกี่ยวข้อสรุปต่างๆ ในช่วงกลางปี 2556
“แผนงานในปี 56 บริษัทจะเน้นเพิ่ม อัตราการเติบโตของกำไรให้มากขึ้น โดยการพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากการควบรวมบริษัทไปก่อนหน้านี้ และก็ยังมีแผนก่อสร้างปิโตรฯ คอมเพล็กซ์ ใน 3 ประเทศ โดยจะเป็นการพัฒนาผลิต ภัณฑ์ปลายน้ำ คาดว่าจะมีความชัดเจน ได้ช่วงกลางปีนี้” นายอนนต์ กล่าว
ส่วนผลการดำเนินงานของบริษัทในปีนี้ คาดว่ารายได้และกำไรในปี 2556 จะเติบโตมากกว่าปี 2555 ซึ่งในเบื้องต้นจะมุ่งเน้นการเติบโตของกำไรให้มากขึ้น โดยจะพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าในโครงการด้านต่างๆ จากการควบรวมบริษัทในช่วงที่ผ่านมา เพราะเป็นสร้างการเติบโตของบริษัทโดยใช้เงินลงทุนไม่มาก
สำหรับแนวโน้มผลประกอบการโดยรวมในช่วงไตรมาส 4/55 ยังเติบโตต่อเนื่องใกล้เคียงกับในช่วงไตรมาส 3/55 ที่มีกำไรประมาณ 1.29 หมื่นล้านบาท เนื่องจากระดับราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมียังคงอยู่ในระดับสูง ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยประเมินว่า หากราคาน้ำมันดิบดูไบยังสามารถยืนเหนือระดับ 100 เหรียญต่อบาร์เรล ผลประกอบการของบริษัทจะยังเติบโตได้ดี ทั้งนี้ ในช่วงไตราส 4/55 ราคาน้ำมันดิบดูไบยังเคลื่อนไหวเฉลี่ย อยู่ที่ 107 เหรียญต่อบาร์เรล และความต้องการใน ตลาดก็มีระดับที่เพิ่มขึ้น ตามฤดูกาลของธุรกิจที่ในช่วงปลายปี ความต้องการของตลาดจะฟื้นตัวตามปกติอยู่แล้ว ทั้งนี้ คาดว่ากำไรในปี 2555 จะเติบโตมากกว่าปี 54 ที่มีกำไรอยู่ที่ 2.11 พันล้านบาท และรายได้ในปี 2555 ก็ยังคงคาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาท
“ผลประกอบการในไตรมาส 4/55 คงไม่ต่างกับไตรมาส 3/55 มากนัก เพราะ ความต้องการของตลาดมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจอยู่แล้ว และระดับราคาผลิตภัณฑ์ รวมถึงราคาน้ำมันก็ยังทรงตัวอยู่ในระดับเกิน 100 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นทิศทางที่เป็นบวกต่อผลประกอบการบริษัท” นายอนนต์ กล่าว
ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้ารายได้ในช่วง 10 ปีข้างหน้านับตั้งแต่ปี 2556-2566 ไว้โตเฉลี่ย 5% ต่อปี และมีแผนที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจของบริษัท ทั้งในส่วนของโรงกลั่นอะโรเมติกส์ โอเลฟินส์ ให้มากขึ้น พร้อมรุกธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง ทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์ ก่อสร้าง และอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาแผนที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศจีนและในภูมิภาคอาเซียน อาทิ อินโดนีเซีย เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมาก และมีอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่สูง
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน ระบุว่า ยังคงประมาณ การกำไรสุทธิปี 2555 ของ PTTGC ไว้ที่ 30,705 ล้านบาท เพิ่ม 3% จากปีก่อน และเบื้องต้นคาดว่าบริษัทจะมีกำไรปกติในงวดไตรมาส 4/55 ไม่น้อยกว่า 7,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อการเติบโตของกำไรสุทธิปี 2556 โดยคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2556 ไว้ที่ 33,830 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% จากปีก่อน ซึ่งนอกจากบริษัทจะมีกำลังการผลิตเพิ่มจากแผนการหยุดซ่อมโรงงานที่ลดลง แต่มองว่า Demand ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นกลาง (PTA) ฟื้นตัวจากกำลังการผลิต ใหม่ในประเทศจีน อีกทั้งแนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใช้ก๊าซในภาคการผลิตเพิ่มขึ้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตจากน้ำมันยังอยู่ในระดับสูง จะทำให้เกิดภาวะ ขาดแคลนวัตถุดิบในอนาคต จากการทยอยปิดตัวของโรงงานผลิตต้นทุนสูง ซึ่งประเด็นดังกล่าวถือเป็นจุดแข็งของ PTTGC
นอกจากมุมมองเชิงบวกที่มีต่อแนวโน้มผลประกอบการในสไตรมาส 4/55 ถึง 2556 แล้ว เชื่อว่า PTTGC จะเป็นบริษัทที่มีโอกาสปรับประมาณการเพิ่มในอนาคต โดยเฉพาะจากโครงการขยายกำลังการผลิต PTTPE ประมาณ 10-30% จากเดิม 1 ล้านตันต่อปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษา คาดได้ข้อสรุปต้นปี 2556 โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะเพิ่มมูลค่าเหมาะสมให้กับราคาหุ้น PTTGC อีก 9-12 บาท ซึ่งจะทำให้มูลค่าเหมาะสมใหม่เพิ่มขึ้นเป็นหุ้นละ 77-80 บาท ดังนั้น การลงทุนในหุ้น PTTGC จึงยังคงแนะนำซื้อ
--จบ--
สยามธุรกิจฉบับวันที่ 9 - 11 ม.ค. 2556
PTTGC เร่งเครื่องสรุปแผนร่วมทุนสร้างปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ในอินโดฯ มาเลเซีย และจีน คาดได้ข้อสรุปกลางปีนี้ ด้านผลงานปีนี้มั่นใจทั้งรายได้และกำไรโตกว่าปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการควบรวมกิจการ ทำให้ใช้งบลงทุนน้อยลง ตั้งเป้ารายได้ช่วง 10 ปีนับจากนี้ โตเฉลี่ย 5% ต่อปี ทั้งมีแผนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจของบริษัท ทั้งในส่วน ของโรงกลั่น อะโรเมติกส์ โอเลฟินส์ พร้อมรุกธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง ด้านโบรกฯ เตรียมปรับเพิ่มประมาณการมูลค่าหุ้น หลังพบแนวโน้มผลงานโตต่อเนื่อง
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาโครงการร่วมทุนก่อสร้างปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ในประเทศอินโดนีเซีย จีน และมาเลเซีย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีประชากรมาก และมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสูงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่กำลังการผลิตในประเทศไม่เพียงพอ โดยในส่วนของประเทศอินโดนีเซียได้มีแผนเข้าไปร่วมทุนกับเปอร์ตามีนา ทั้งนี้ คาดว่าแผนศึกษาโครงการร่วมทุนก่อสร้าง ปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ทั้ง 3 ประเทศจะมีความชัดเจนเกี่ยวข้อสรุปต่างๆ ในช่วงกลางปี 2556
“แผนงานในปี 56 บริษัทจะเน้นเพิ่ม อัตราการเติบโตของกำไรให้มากขึ้น โดยการพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากการควบรวมบริษัทไปก่อนหน้านี้ และก็ยังมีแผนก่อสร้างปิโตรฯ คอมเพล็กซ์ ใน 3 ประเทศ โดยจะเป็นการพัฒนาผลิต ภัณฑ์ปลายน้ำ คาดว่าจะมีความชัดเจน ได้ช่วงกลางปีนี้” นายอนนต์ กล่าว
ส่วนผลการดำเนินงานของบริษัทในปีนี้ คาดว่ารายได้และกำไรในปี 2556 จะเติบโตมากกว่าปี 2555 ซึ่งในเบื้องต้นจะมุ่งเน้นการเติบโตของกำไรให้มากขึ้น โดยจะพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าในโครงการด้านต่างๆ จากการควบรวมบริษัทในช่วงที่ผ่านมา เพราะเป็นสร้างการเติบโตของบริษัทโดยใช้เงินลงทุนไม่มาก
สำหรับแนวโน้มผลประกอบการโดยรวมในช่วงไตรมาส 4/55 ยังเติบโตต่อเนื่องใกล้เคียงกับในช่วงไตรมาส 3/55 ที่มีกำไรประมาณ 1.29 หมื่นล้านบาท เนื่องจากระดับราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมียังคงอยู่ในระดับสูง ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยประเมินว่า หากราคาน้ำมันดิบดูไบยังสามารถยืนเหนือระดับ 100 เหรียญต่อบาร์เรล ผลประกอบการของบริษัทจะยังเติบโตได้ดี ทั้งนี้ ในช่วงไตราส 4/55 ราคาน้ำมันดิบดูไบยังเคลื่อนไหวเฉลี่ย อยู่ที่ 107 เหรียญต่อบาร์เรล และความต้องการใน ตลาดก็มีระดับที่เพิ่มขึ้น ตามฤดูกาลของธุรกิจที่ในช่วงปลายปี ความต้องการของตลาดจะฟื้นตัวตามปกติอยู่แล้ว ทั้งนี้ คาดว่ากำไรในปี 2555 จะเติบโตมากกว่าปี 54 ที่มีกำไรอยู่ที่ 2.11 พันล้านบาท และรายได้ในปี 2555 ก็ยังคงคาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาท
“ผลประกอบการในไตรมาส 4/55 คงไม่ต่างกับไตรมาส 3/55 มากนัก เพราะ ความต้องการของตลาดมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจอยู่แล้ว และระดับราคาผลิตภัณฑ์ รวมถึงราคาน้ำมันก็ยังทรงตัวอยู่ในระดับเกิน 100 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นทิศทางที่เป็นบวกต่อผลประกอบการบริษัท” นายอนนต์ กล่าว
ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้ารายได้ในช่วง 10 ปีข้างหน้านับตั้งแต่ปี 2556-2566 ไว้โตเฉลี่ย 5% ต่อปี และมีแผนที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจของบริษัท ทั้งในส่วนของโรงกลั่นอะโรเมติกส์ โอเลฟินส์ ให้มากขึ้น พร้อมรุกธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง ทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์ ก่อสร้าง และอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาแผนที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศจีนและในภูมิภาคอาเซียน อาทิ อินโดนีเซีย เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมาก และมีอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่สูง
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน ระบุว่า ยังคงประมาณ การกำไรสุทธิปี 2555 ของ PTTGC ไว้ที่ 30,705 ล้านบาท เพิ่ม 3% จากปีก่อน และเบื้องต้นคาดว่าบริษัทจะมีกำไรปกติในงวดไตรมาส 4/55 ไม่น้อยกว่า 7,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อการเติบโตของกำไรสุทธิปี 2556 โดยคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2556 ไว้ที่ 33,830 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% จากปีก่อน ซึ่งนอกจากบริษัทจะมีกำลังการผลิตเพิ่มจากแผนการหยุดซ่อมโรงงานที่ลดลง แต่มองว่า Demand ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นกลาง (PTA) ฟื้นตัวจากกำลังการผลิต ใหม่ในประเทศจีน อีกทั้งแนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใช้ก๊าซในภาคการผลิตเพิ่มขึ้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตจากน้ำมันยังอยู่ในระดับสูง จะทำให้เกิดภาวะ ขาดแคลนวัตถุดิบในอนาคต จากการทยอยปิดตัวของโรงงานผลิตต้นทุนสูง ซึ่งประเด็นดังกล่าวถือเป็นจุดแข็งของ PTTGC
นอกจากมุมมองเชิงบวกที่มีต่อแนวโน้มผลประกอบการในสไตรมาส 4/55 ถึง 2556 แล้ว เชื่อว่า PTTGC จะเป็นบริษัทที่มีโอกาสปรับประมาณการเพิ่มในอนาคต โดยเฉพาะจากโครงการขยายกำลังการผลิต PTTPE ประมาณ 10-30% จากเดิม 1 ล้านตันต่อปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษา คาดได้ข้อสรุปต้นปี 2556 โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะเพิ่มมูลค่าเหมาะสมให้กับราคาหุ้น PTTGC อีก 9-12 บาท ซึ่งจะทำให้มูลค่าเหมาะสมใหม่เพิ่มขึ้นเป็นหุ้นละ 77-80 บาท ดังนั้น การลงทุนในหุ้น PTTGC จึงยังคงแนะนำซื้อ
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 836
วันที่/เวลา 11 ม.ค. 2556 08:49:26
หัวข้อข่าว รายงานความสำเร็จของการควบบริษัทระหว่าง PTTUT และ IPT
หลักทรัพย์ PTT
แหล่งข่าว PTT
รายละเอียดแบบเต็ม ที่ http://www.set.or.th/set/newsdetails.do ... country=TH
หัวข้อข่าว รายงานความสำเร็จของการควบบริษัทระหว่าง PTTUT และ IPT
หลักทรัพย์ PTT
แหล่งข่าว PTT
รายละเอียดแบบเต็ม ที่ http://www.set.or.th/set/newsdetails.do ... country=TH
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 837
SPCGจับมือพม่าสร้างโรงไฟฟ้าผลงานพุ่ง1,000%-เป้าใหม่25บ.
บอสใหญ่ SPCG "วันดี กุญชรยาคง" จับมือพาร์ตเนอร์ร่วมทุนผุดโรงไฟฟ้าพม่า หลังเห็นโอกาสลงทุนแค่เอื้อม เบื้องต้นคาดใช้งบลงทุน 150 ล้านบาท ขณะที่เตรียมยื่นไฟลิ่งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5 พันล้านบาท ต่อ ก.ล.ต.ปลายเดือนนี้ พร้อมตั้งเป้ารายได้ปี 2556 โต 50% ฟากโบรกปรับประมาณการเพิ่ม ชี้
เป็นหุ้นเทิร์นอะราวนด์ผลงานพุ่ง 1,000% ให้เป้าใหม่ 25.00 บาท
บอสใหญ่ SPCG "วันดี กุญชรยาคง" จับมือพาร์ตเนอร์ร่วมทุนผุดโรงไฟฟ้าพม่า หลังเห็นโอกาสลงทุนแค่เอื้อม เบื้องต้นคาดใช้งบลงทุน 150 ล้านบาท ขณะที่เตรียมยื่นไฟลิ่งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5 พันล้านบาท ต่อ ก.ล.ต.ปลายเดือนนี้ พร้อมตั้งเป้ารายได้ปี 2556 โต 50% ฟากโบรกปรับประมาณการเพิ่ม ชี้
เป็นหุ้นเทิร์นอะราวนด์ผลงานพุ่ง 1,000% ให้เป้าใหม่ 25.00 บาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 838
'SOLAR' ปี56ผลงานสดใสเพิ่มกำลังผลิต70เมกะวัตต์
SOLAR ส่งซิก Q4/2555 ผลงานเด่นสุดของปี ผู้บริหาร "ปัทมา วงษ์ถ้วยทอง" ลุ้นปลายเดือนนี้
หรือต้นเดือนกุมภาพันธ์รัฐคลอดนโยบายสนับสนุนพลังงานทดแทน หนุนผลงานปี 2556 สดใสโค้งแรกบุ๊กงาน
บางจาก 500 ล้านบาท เตรียมขยายกำลังผลิตเพิ่ม 70 เมกะวัตต์รับตลาด AEC ส่วนเทคนิคลุ้นแตะ 3.56 บาท
SOLAR ส่งซิก Q4/2555 ผลงานเด่นสุดของปี ผู้บริหาร "ปัทมา วงษ์ถ้วยทอง" ลุ้นปลายเดือนนี้
หรือต้นเดือนกุมภาพันธ์รัฐคลอดนโยบายสนับสนุนพลังงานทดแทน หนุนผลงานปี 2556 สดใสโค้งแรกบุ๊กงาน
บางจาก 500 ล้านบาท เตรียมขยายกำลังผลิตเพิ่ม 70 เมกะวัตต์รับตลาด AEC ส่วนเทคนิคลุ้นแตะ 3.56 บาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 839
GUNKUL(TP29)
หุ้น Beta Port 2013 กลุ่ม Solar Farm ที่คาดว่ากำไร 4Q12 จะยังทรงตัวในระดับสูง ขณะที่ 1Q13 Solar Farm จะทยอยแล้วเสร็จ 57เมกะวัตต์ รวมถึงโครงการนำร่องพลังงานลมที่ทยอยแล้วเสร็จอีก 10เมกะวัตต์(ห้วยบง1-2) เป็น Key Driver Growth ในปีนี้ แนวโน้มกำไรปี 12 เติบโต 4เท่า และอีก 46% ในปี 2013 ขณะที่ราคายัง Laggard SET ในปี 2012 บวกกับ Momentum เชิงบวกในปัจจุบัน มีโอกาสทะลุแนวต้าน 23.9 บาทได้
ที่มา : Nomura Direct
หุ้น Beta Port 2013 กลุ่ม Solar Farm ที่คาดว่ากำไร 4Q12 จะยังทรงตัวในระดับสูง ขณะที่ 1Q13 Solar Farm จะทยอยแล้วเสร็จ 57เมกะวัตต์ รวมถึงโครงการนำร่องพลังงานลมที่ทยอยแล้วเสร็จอีก 10เมกะวัตต์(ห้วยบง1-2) เป็น Key Driver Growth ในปีนี้ แนวโน้มกำไรปี 12 เติบโต 4เท่า และอีก 46% ในปี 2013 ขณะที่ราคายัง Laggard SET ในปี 2012 บวกกับ Momentum เชิงบวกในปัจจุบัน มีโอกาสทะลุแนวต้าน 23.9 บาทได้
ที่มา : Nomura Direct
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 840
จับตาไทย “ผู้นำ” พลังงานทดแทนในอาเซียน “วิชัย ทองแตง” โดดเข้าลงทุน- ชี้ “4 หุ้น” เด่นรับเทรนด์โลก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 มกราคม 2556 15:07 น.
ที่ http://manager.co.th/Home/ViewNews.aspx ... 0000004329
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 มกราคม 2556 15:07 น.
ที่ http://manager.co.th/Home/ViewNews.aspx ... 0000004329
แนบไฟล์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."