หน้า 29 จากทั้งหมด 30

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 05, 2010 12:53 am
โดย dome@perth
smart phone จะต้องมี พี่โครงข่ายการสื่อสาร จูงมือไปด้วยกัน หรือเปล่าครับพี่นริศ

ผมมองว่า อุปกรณ์กับโครงข่ายมัน ต้องไปด้วยกันเสมอใช่ไหมครับพี่

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 06, 2010 2:32 pm
โดย naris
dome@perth เขียน:smart phone จะต้องมี พี่โครงข่ายการสื่อสาร จูงมือไปด้วยกัน หรือเปล่าครับพี่นริศ

ผมมองว่า อุปกรณ์กับโครงข่ายมัน ต้องไปด้วยกันเสมอใช่ไหมครับพี่
ไม่ต้องมาชี้นำเลยนะลูกพี่. :lovl: ในห้องนี้ไม่โพสท์รายตัวครับ อยากเชียร์ให้ไปเชียร์100คน100หุ้นนะป๋าโดม
ปล.จะบอกสาให้เปลี่ยนตำแหน่งท่านจากผู้จัดการร้านเป็นพนักงานเชียร์แขกก็แล้วกันนะ. เชียร์เก่งดีนัก

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 02, 2011 10:08 pm
โดย Paul VI
สวัสดีปีใหม่นะ ชง

ขอให้ชง และครอบครัว มีความสุข สุขภาพดี แข็งแรง คิดประสงค์สิ่งใดขอให้ได้สมปรารถนา

และขอให้ทุกการตัดสินใจของชง เป็นสิ่งที่ดีและถูกต้อง

ปล.ขากลับ พี่จะแวะก็ไม่ทัน ขับรถห้อ ไปปากช่องยังแทบ check in ไม่ทันเลย :wink:

แต่ขาไปอุดร พี่เห็นหน้าหมู่บ้านของ ชง แล้ว ใหญ่ สมฐานะ :mrgreen:

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 03, 2011 11:23 am
โดย naris
Paul VI เขียน:สวัสดีปีใหม่นะ ชง

ขอให้ชง และครอบครัว มีความสุข สุขภาพดี แข็งแรง คิดประสงค์สิ่งใดขอให้ได้สมปรารถนา

และขอให้ทุกการตัดสินใจของชง เป็นสิ่งที่ดีและถูกต้อง

ปล.ขากลับ พี่จะแวะก็ไม่ทัน ขับรถห้อ ไปปากช่องยังแทบ check in ไม่ทันเลย :wink:

แต่ขาไปอุดร พี่เห็นหน้าหมู่บ้านของ ชง แล้ว ใหญ่ สมฐานะ :mrgreen:
สวัสดีปีใหม่เช่นกันครับพี่มุข ขอให้พี่คิดหวังสิ่งใดขอให้สมหวังดั่งใจคิดนะครับ
หมู่บ้านเขาดูดี แต่ที่ชงมีมันแวยูครับ ไม่แพงอย่าที่คิด :D
โชคดีปีใหม่ครับพี่

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 03, 2011 11:36 am
โดย peerasak_off
ถามพี่นริศครับ หุ้นอยู่ตัวหนึ่ง MTI เห็นจับมือกับห้างในการขายประกัน เวลากู้เงินกับกสิกรเหมือนจะได้ทำประกันกับ MTI ด้วย โฆษนาเยอะจนติดตาผมมาก อยากได้ข้อเสียของตัวนี้หน่อยครับ อนาคตจะไปได้เหมือน SCNYL ไหมครับในระยะยาวๆ

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 03, 2011 3:11 pm
โดย naris
peerasak_off เขียน:ถามพี่นริศครับ หุ้นอยู่ตัวหนึ่ง MTI เห็นจับมือกับห้างในการขายประกัน เวลากู้เงินกับกสิกรเหมือนจะได้ทำประกันกับ MTI ด้วย โฆษนาเยอะจนติดตาผมมาก อยากได้ข้อเสียของตัวนี้หน่อยครับ อนาคตจะไปได้เหมือน SCNYL ไหมครับในระยะยาวๆ
ธุรกิจประกันชีวิตจะต่างกับประกันภัยอยู่สองเรื่องครับ

1เรื่องของระยะเวลาของเงินที่ได้มาและ2เรื่องของความแน่นอนของค่าชดเชยประกัน

เรื่องของระยะเวลาของเงินที่ได้มา เบี้ยประกันชีวิตที่ดี จะมีการออกแบบการทำสัญญาระยะยาวๆ เช่นจ่ายเบี้ย21ปี คุ้มครอง42ปี เป็นต้น ทำให้มีการผูกมัดคนที่จะจ่ายเบี้ยให้อยู่นานๆ ทำให้รายได้ค่อนข้างจะสม่ำเสมอในรายเก่าและถ้าได้รายใหม่เพิ่มมาก็จะค่อนข้างเป็นสโนว์บอลที่ค่อนข้างใหญ่ในระยะยาว
แต่ในประกันภัยส่วนมากจะเป็นการทำประกันแบบต่อสัญญากันเกือบทุกปี ยกเว้นบางประเภทที่มีการผูกมัด เช่นทางแบงค์มีการผูกมัดผู้กู้ให้ทำประกันอัคคีภัยเท่ากับระยะเวลาในการขอกู้ แต่โดยภาพรวมทางประกันภัยก็ยังสู้ทางประกันชีวิตไม่ได้

ส่วนเรื่องความแน่นอนของการชดเชย ในส่วนของประกันชีวิตค่อนข้างมีสถิติที่สม่ำเสมอ ไม่แหวกแนวจากค่าในอดีตมากนัก ทำให้การคำนวนเบี้ยจ่ายในรูปแบบต่างๆมักจะมีกำไรและฐานลูกค้าจะกระจายไม่หนักไปข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไปที่จะทำให้มีความเสี่ยงในเรื่องค่าชดเชย ไม่เหมือนกับกลุ่มประกันภัย มักจะมีลูกค้ารายใหญ่ๆมากกว่า เวลาเกิดเหตุการณ์หลายๆครั้งจะเกิดพร้อมๆกัน เช่น น้ำท่วม จราจล สึนามิ เป็นต้น ทำให้การเคลมไม่สามารถคำนวณได้แม่นยำเท่ากับประกันชีวิต จึงมักจะมีการปรับเบี้ยเป็นระยะๆในเรื่องนั้นๆหลังความเสี่ยงได้เกิดขึ้นแล้ว ถึงแม้นบางบริษัทจะมีการส่งเบี้ยต่อเพื่อกระจายความเสี่ยงก็ตาม แต่นั้นก็หมายความว่าเขากระจายกำไรไปให้บุคคลอื่นด้วยเช่นกัน

และในรายละเอียดในบางข้อที่ควรไปดูในกลุ่มนี้ก็คือ ต้นทุนการเงินเขาเท่าไหร่ และ เขาเอาเงินเราไปทำอะไร
บริษัทที่ดี การออกแบบเบี้ยจะสามารถมีกำไรจากการออกแบบ หมายความว่าได้กำไรจากการประกันด้วย และได้เงินเขามาหมุนล่วงหน้าด้วย (แต่ถ้าเป็นแบบสะสมทรัพย์ก็ต้องไปคำนวณว่าต้นทุนทางการเงินเขาเป็นอย่างไร) หรือประกันภัยต้นทุนทางการเงินเมื่อหักเบี้ยเคลมแล้วเป็นอย่างไร เพราะผมเจอหลายบริษัทที่ยอมขาดทุนในส่วนนี้ เพื่อที่จะไปหวังกำไรจากส่วนเอาเงินเขามาหมุน ซึ่งโดยส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะเป็นการดีกว่าที่ เราสามารถทำกำไรทั้งขึ้นและล่อง

ในส่วนที่สองเราควรดูว่าเขาเอาเงินไปทำอะไร บางบริษัทค่อนข้างอนุรักษ์นิยม จะซื้อพันธบัตรเป็นหลักกว่า95% แต่เจอบางบริษัทมีการลงทุนในหุ้น หุ้นกู้ ตราสารหนี้ ตราสารทุนหลายประเภท ทำให้กำไรค่อนข้างเหวี่ยงจากส่วนนี้ ถ้ากำไรมาจากส่วนนี้เป็นหลัก หน้าที่เราคือต้องไปตรวจสอบว่าเขาเอาเงินเราไปเสี่ยงกับทรัพย์สินส่วนใดมากน้อยเพียงใด จะได้เห็นทางหนีทีไล่ได้ทันครับ

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 04, 2011 8:11 pm
โดย peerasak_off
ขอบคุณพี่นริศมากครับ จะไปทำการบ้านดูตามที่พี่แนะนำ

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 15, 2011 7:41 pm
โดย เกล้า
ขออนุญาตก่อนนะครับพี่นริศที่ต้องพูดถึงชื่อตัวหุ้นแต่ไม่ได้มีการส่อถึงการเฃียร์หรือทุบหุ้นแต่
ประการใด..พี่นริศมีแนวความคิดเกี่ยวกับhtechอย่างไรในเมื่อรายได้หลักอย่างhddอนาคตก็
คงเติบโตน้อยลงไม่เหมือนที่ผ่านมาและเรื่องของเทคโนโลยีเป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงเร็วมากแต่
ทีนี้ทางบริษัทก็หาทางเพิ่มช่องทางไปยังอุตสาหกรรมอื่นเพื่อต่อยอดรายได้ของตัวเองถูกครับ
ที่ทีแรกคงไม่หอมหวานสักเท่าไหร่สำรับอุตสหกรรมของบริษัทที่ได้ขยายออกไป..แต่ทีนี้อยากเห็น
มุมมองของพี่นริศที่มองในความสามารถของตัวผู้บริหารเองจะสามารถทำได้สอดคล้องกันแค่ไหนกับ
สิ่งหนึ่งที่จะเติบโตน้อยลง..และการขยายช่องทางของตัวเองได้พอเหมาะพอเจาะกัน...
อีกข้อนะครับมีความเป็นไปได้มั้ยครับเมื่อ..ssdมาแทนส่วนhddแล้วทำให้บริษัทต้องเสียค่าใช้จ่ายใน
ส่วนSG&Aในส่วนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างมากมายจนทำให้เกิดการเพิ่มทุนในอนาคตข้างาหน้า

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 20, 2011 3:54 pm
โดย naris
tinithemandindang เขียน:ขออนุญาตก่อนนะครับพี่นริศที่ต้องพูดถึงชื่อตัวหุ้นแต่ไม่ได้มีการส่อถึงการเฃียร์หรือทุบหุ้นแต่
ประการใด..พี่นริศมีแนวความคิดเกี่ยวกับhtechอย่างไรในเมื่อรายได้หลักอย่างhddอนาคตก็
คงเติบโตน้อยลงไม่เหมือนที่ผ่านมาและเรื่องของเทคโนโลยีเป็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงเร็วมากแต่
ทีนี้ทางบริษัทก็หาทางเพิ่มช่องทางไปยังอุตสาหกรรมอื่นเพื่อต่อยอดรายได้ของตัวเองถูกครับ
ที่ทีแรกคงไม่หอมหวานสักเท่าไหร่สำรับอุตสหกรรมของบริษัทที่ได้ขยายออกไป..แต่ทีนี้อยากเห็น
มุมมองของพี่นริศที่มองในความสามารถของตัวผู้บริหารเองจะสามารถทำได้สอดคล้องกันแค่ไหนกับ
สิ่งหนึ่งที่จะเติบโตน้อยลง..และการขยายช่องทางของตัวเองได้พอเหมาะพอเจาะกัน...
อีกข้อนะครับมีความเป็นไปได้มั้ยครับเมื่อ..ssdมาแทนส่วนhddแล้วทำให้บริษัทต้องเสียค่าใช้จ่ายใน
ส่วนSG&Aในส่วนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างมากมายจนทำให้เกิดการเพิ่มทุนในอนาคตข้างาหน้า
ตามความเห็นของพี่เอง มองว่าตั้งแต่คุณจ๊อบได้อออกตัวกระดานฉนวนตัวใหม่ออกมา ได้สร้างความเคยตัวให้กับพฤติกรรมของผู้บริโภครุ่นใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของความเร็วในการเปิดปิดเครื่อง หรือการตอบสนองไลฟ์สไตล์โดยเฉพาะการเอนเตอร์เทนต์ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเน็ต ดูหนัง ฟังเพลง เก็บรูป หรือ อ่านหนังสือ ทำให้ยอดขายพีซี โน๊ตบุ๊ค เน็ตบุ๊ค(HDD)ในอนาคตจะถูกแชร์ด้วยแทปแล็ตและ
สมาร์ทโฟน(SSD) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ไม่ใช่หมายความว่าตลาดHDDจะตายในเร็ววัน เพียงแต่อัตราการเจริญเติบโต อาจจะไม่สูงเหมือนในอดีต และHDDอาจจะเริ่มถดถอยภายใน3-5ปีข้างหน้า ถ้ากลับไปพูดถึงHTECH ที่ผ่านมาจุดอ่อนของHTECHจุดหนึ่งคือการพึ่งพิงอุตสาหกรรมเดียว และการพึ่งพิงลูกค้าไม่กี่ราย(เพราะด้วยโครงสร้างของอุตสาหกรรมHDD) ทำให้ที่ผ่านมารายได้ กำไรของHTECHได้ผูกขาติดกับอุตสาหกรรมHDDมาโดยตลอด จนกระทั่งตัวคุณพีทเองเริ่มมองเห็นและพยายามกระจายไปอุตสาหกรรมรถยนต์และยานบินเมื่อกลางปีที่แล้ว และมีการตั้งเป้าหมายว่าปี54จะมีสัดส่วนในอุตสาหกรรมอื่นประมาณ25เปอร์เซนต์(ซึ่งผมคิดว่าน่าจะทำได้) แต่ด้วยโครงสร้างของธุรกิจที่ไม่ใช่ขายขนมที่ชิมแล้วตัดสินใจว่าใช่หรือไม่ใช่ การขยายตัวในอุตสาหกรรมใหม่ก็ต้องเริ่มจากการนับหนึ่งใหม่ และค่อยๆทำความรู้จักซึ่งกันและกันไปเรื่อยๆ ยอดขายในช่วงรอยต่ออาจจะมีสะดุดบ้างเป็นปกติ ส่วนค่าใช้จ่ายการวิจัยและพัฒนาส่วนตัวผมคิดว่าไม่มากสำหรับตัวเงินครับ แต่จะไปมากสำหรับการเสียโอกาสที่จะต้องเอาเครื่องจักรไปทำตัวอย่างอยู่เรื่อยๆ ทำให้ไม่สามารถทำเงินได้เต็มที่มากกว่าครับ

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 20, 2011 4:44 pm
โดย เกล้า
ขอบคุณมากครับพี่นริศ...

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 29, 2011 5:56 pm
โดย firewalker
[quote]ถ้าใครไม่รู้ว่ามูลค่ากิจการเหมาะสมอยู่ที่เท่าไหร่ เวลาหุ้นขึ้นหรือลง ก็จะตื่นเต้นหรือตกใจตามราคานั้นๆ
[B]วิธีแก้ปัญหาคือ เราเรียนรู้ศึกษาประเมินมูลค่าของกิจการให้ออก[/B]
จะได้ไม่ขายเร็วเกินไปเมื่อหุ้นขึ้น หรือ ติดยอดดอยถาวรเมื่อหุ้นลง
ผมอยากให้หลายๆท่านเลิกกล่าวถึงราคาหุ้นรายวัน แต่หันมาสนใจกับมูลค่าของกิจการดีกว่าครับ[/quote]

สงสัยมานานแล้ว อยากทราบว่าพี่นริศมีเทคนิคคร่าวๆ ในการประเมินมูลค่ากิจการของหุ้นยังไงครับ รบกวนขอถามเป็นความรู้หน่อยได้มั้ยครับ...

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2011 10:21 pm
โดย Nanotube
ที่ผ่านมาเหมือนกับว่าพี่นริศลงทุนตัวไหนก็ใช่ตลอด เรียกได้ว่ามีมุมมองและวิสัยทัศน์ที่เฉียบขาดมากๆ อยากทราบว่าเคยมีตัวไหนที่ผิดพลาดบ้างหรือเปล่าครับ หรือสิ่งที่พี่คิดว่าผิดพลาดที่สุดในการลงทุนอ่ะครับ อยากทราบไว้เป็นบทเรียนอ่ะครับ ขอบคุณครับ

Re:

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2011 10:24 pm
โดย Nanotube
[quote="naris"][quote="tinithemandindang"]สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวกับสื่อทีวีดาวเทียมพี่นริศมีความเห็นอย่างไรครับสำหรับการเติบโต2-3ปีนี้..ท่ามกลางความแข่งขันที่สูงขึ้นผมอยากขอความเห็นสำหรับมุมมองภาพยาวๆสำหรับอุตสาหกรรมนี้จากพี่นริศครับขอบคุณครับ :D[/quote]

[quote="เกล้า"]ขอบคุณครับพี่นริศสำหรับมุมมองของอุตสาหกรรมทีวีดาวเทียม.. :D :D :D[/quote]

อยากทราบมุมมองของพี่เหมือนกันครับ เหมือนว่าพี่เคยตอบแล้ว แต่ผมหาคำตอบพี่ไม่เจอครับ ขอบคุณครับ

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 21, 2011 11:30 pm
โดย Financeseed
ขอติดตามพี่ นริศ

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 23, 2011 10:41 am
โดย naris
firewalker เขียน:
ถ้าใครไม่รู้ว่ามูลค่ากิจการเหมาะสมอยู่ที่เท่าไหร่ เวลาหุ้นขึ้นหรือลง ก็จะตื่นเต้นหรือตกใจตามราคานั้นๆ
วิธีแก้ปัญหาคือ เราเรียนรู้ศึกษาประเมินมูลค่าของกิจการให้ออก
จะได้ไม่ขายเร็วเกินไปเมื่อหุ้นขึ้น หรือ ติดยอดดอยถาวรเมื่อหุ้นลง
ผมอยากให้หลายๆท่านเลิกกล่าวถึงราคาหุ้นรายวัน แต่หันมาสนใจกับมูลค่าของกิจการดีกว่าครับ
สงสัยมานานแล้ว อยากทราบว่าพี่นริศมีเทคนิคคร่าวๆ ในการประเมินมูลค่ากิจการของหุ้นยังไงครับ รบกวนขอถามเป็นความรู้หน่อยได้มั้ยครับ...
ขอโทษนะครับที่ไม่ได้เข้ามาตอบ คนถามคงจะหมดอารมณ์ฟังแล้วกระมัง การประเมินมูลค่าของกิจการเอาแบบคร่าวๆนะ อย่างแรกเลย
1.เราต้องรู้ธรรมชาติของธุรกิจนั้นๆก่อนว่า นิสัยเขาเป็นอย่างไร พี่แนะนำแบบรูปธรรมง่ายๆที่พี่ใช้คือ แบ่งตามปีเตอร์ลินซ์6กลุ่ม
โตช้า โตเร็ว พื้นฐาน ทรัพย์สินมาก เทริ์นอะราวด์ และ วัฎจักร
2.เรียนรู้ตัวธุรกิจเขาระดับที่สามารถรู้จุดตายและตัวเร่งของตัวธุรกิจของเขาได้ และเฝ้าติดตามจุดตายของเขาจากข่าวและงบการเงินทุกๆไตรมาสว่ามีสัญญาณที่ไม่ดีหรือเปล่า และนำคำถามที่เราเกรงว่าจะเกิดถามผู้บริหารเพื่อที่จะเช็คว่าผู้บริหารคิดที่จะแก้ปัญหานั้นๆอย่างไร มองความเป็นไปได้ของตัวเร่งว่าจะเกิดเมื่อไหร่และถ้าเกิดจะทำให้พื้นฐานของรายได้กำไรเปลี่ยนมากน้อยเพียงใด ถ้าเรารู้ตัวธุรกิจมากๆ เราก็จะสามารถคำนวณความเป็นไปได้ของกำไรของเขาในอีก1-3ปีข้างหน้าได้ โดยเฉพาะหุ้นเมกะเทรนที่ชัดเจนบางตัวอาจจะกำหนดการโตได้อย่างคร่าวๆถึง5ปีทีเดียว
3.นำกำไรที่ได้ในอนาคตนำมากำหนดPEคร่าวๆของธุรกิจในอีก1-3ปีข้างหน้า(ไม่กล้ากำหนดไกลกว่านั้นมากเพราะมองไม่ขาด)
4.เมื่อได้กำไรในอนาคต เมื่อได้ราคาPEในใจที่คิดว่าเขาควรจะเป็น คูณกันออกมาก็จะได้ราคาเป้าหมาย และนำมาเปรียบเทียบกับราคาปัจจุบัน

ที่ยกตัวอย่างนั่นเป็นประเภทหุ้นเติบโต หุ้นพื้นฐาน หุ้นวัฎจักร และหุ้นเทริ์นอะราวด์ ถ้าเป็นหุ้นทรัพย์สินมากก็ต้องมองประเด็นที่เขาจะคายทรัพย์สินนั้นๆออกมามากกว่าประเด็นอื่น

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 23, 2011 11:17 am
โดย naris
Nanotube เขียน:ที่ผ่านมาเหมือนกับว่าพี่นริศลงทุนตัวไหนก็ใช่ตลอด เรียกได้ว่ามีมุมมองและวิสัยทัศน์ที่เฉียบขาดมากๆ อยากทราบว่าเคยมีตัวไหนที่ผิดพลาดบ้างหรือเปล่าครับ หรือสิ่งที่พี่คิดว่าผิดพลาดที่สุดในการลงทุนอ่ะครับ อยากทราบไว้เป็นบทเรียนอ่ะครับ ขอบคุณครับ
ตัวที่ผิดพลาดมีมากครับ ตามสถิติคร่าวๆสิบตัวผิดสักสามตัวถูกสักเจ็ดตัว แต่โชคดีว่าตัวที่ผิดนั้นมีระดับความรุนแรงที่ไม่มากสักเท่าไหร่ และตัวที่คิดว่าผิดมากที่สุดคือ7ครับ ที่ไปมองเขาในช่วงนั้นว่าเป็นหุ้นเจ้าสัว และไปมองในมุมการเก็งกำไรในเรื่องขายหรือไม่ขายโลตัส ทั้งๆที่รู้ว่าเขาเป็นบริษัทที่ดีที่สุดบริษัทหนึ่ง และมีการประเมินมูลค่าพื้นฐานคร่าวๆออกมาแล้วราคาถือว่าถูกมากในช่วง7-8บาท แต่ความผิดพลาดก็ง่ายๆอยู่ตรงที่มุมมองแค่นั้นเอง ถ้าพี่เปลี่ยนมุมมองจากการเก็งกำไรเรื่องขายโลตัสที่จีนไปเป็นการลงทุนในกิจการ โอกาสคราวนั้นก็คงไม่พลาดครับ

บทเรียนเรื่องหุ้นวัฎจักรที่เคยโดนไป1ตัว ตอนนั้นก็ลองทดลองลงทุนไปราวๆ10-20เปอร์เซนต์ของพอร์ต(จำไม่ค่อยได้)ด้วยที่ว่าเห็นว่ามันไม่แพง และเห็นโอกาสที่เขาจะโตตามดีมานต์ แต่ปรากฎว่าเจอวิกฤตแฮมเบอเกอร์ไปเสียก่อน และด้วยนิสัยพี่เองเป็นคนขี้กลัวขอปลอดภัยไว้ก่อนจึงขายไปเกลี้ยงพอร์ต สรุปว่ารอบของมันก็มา แต่เลื่อนมาอีกปีกว่า ประสบการณ์ในครั้งนี้สอนให้รู้ว่า ถ้าจะเล่นกับไฟคุณต้องมีใจที่กล้าพอ และควรมีทางหนีทีไล่ไว้ด้วย แต่ถ้าคนมีนิสัยขี้กลัวเป็นพื้น พี่ว่าถ้ายังพอหาหุ้นเจอ ให้หาหุ้นที่มีเวลาเป็นเพื่อนจะดีกว่าไปซื้อหุ้นที่มีระเบิดเวลาซ่อนไว้เป็นจุดๆดีกว่านะครับ

สุดท้ายที่จะเล่าแต่ไม่ท้ายสุด หุ้นให้เช่าโรงงานนิคมอุตสาหกรรมตัวหนึ่งที่อยากโตก้าวกระโดด ขยายกิจการไปทำนิคมขายที่ดินเอง มีการขยายสร้างเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์และทำคอนโดขาย โดยขยายกิจการหลายๆอย่างพร้อมกันแต่ความเสี่ยงตรงที่ไปใช้เงินกู้ ปัจจัยเสี่ยงในบริษัทนี้เห็นตั้งแต่ที่ลงทุน แต่ด้วยที่เพ้อฝันมองภาพในแง่ดีเกินไป(จริงๆคือโลภ)โดยไม่มองความเสี่ยงว่าถ้าโครงการต่างๆ ไม่ประสบความสำเร็จ ถ้ามีการเลื่อนรับรู้รายได้ไปอีก1-2ปีจะเสี่ยงมาก และสิ่งที่กลัวก็เกิดขึ้นจริงๆ ทั้งปิดสนามบิน ทั้งแฮมเบอร์เกอร์ได้มาเหมือนนัดกันไว้ โครงการต่างๆมีปัญหาจากการที่ไม่รู้จะไปขายให้กับใคร เพราะขนาดยักษ์ใหญ่ยังเอาตัวแทบไม่รอด แล้วบริษัทนี้เป็นมวยรอง คุณภาพของกิจการก็ด้อยกว่า ทำเลก็ด้อยกว่า สรุปตัวนี้สอนบทเรียน ควรมองความเสี่ยงให้มากพอกับความโลภ จริงๆอยากบอกว่ามองให้มากกว่าความโลภด้วยซ้ำไป เพราะคนเราเวลารักชอบพออะไรความรักมักจะบังตาครับ

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 23, 2011 11:46 am
โดย PRO_BABY
ผมเจอปัญหาการขายหมูซ้ำซาก พี่นริศมีวิธีอะไรบ้างครับที่ไม่ขายหมูหรือ เข้าใจว่าพี่ไม่ค่อยดูกราฟด้วยซ้ำ(คิดเองครับ).
พอเราศึกษากิจการ ศึกษาธุรกิจ ประเมินกำไร กำหนดราคาเป้าหมาย ดูราคาตลาด มีmos เพียงพอกับความเสี่ยงที่เรารู้และรับได้ ตกลงซื้อ

ปัญหาคือตอนขายนี่แหละครับ เมื่อราคามาถึงจุดที่เราประเมินไว้ แต่พื้นฐานบางอย่างเปลี่ยนไประหว่างทาง เราต้องบวกเข้า หรือลบออก ถ้าเป็นผลดี ผลเสีย ใช่ไหมครับ. อีกอย่างตัวแปลเรื่องเวลาก็น่าจะมีผลเหมือนกัน ประเด็นพวกนี้พี่จัดการยังไงครับ

ขอบคุณครับ

Re: Re:

โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 23, 2011 12:01 pm
โดย naris
Nanotube เขียน:
naris เขียน:
tinithemandindang เขียน:สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวกับสื่อทีวีดาวเทียมพี่นริศมีความเห็นอย่างไรครับสำหรับการเติบโต2-3ปีนี้..ท่ามกลางความแข่งขันที่สูงขึ้นผมอยากขอความเห็นสำหรับมุมมองภาพยาวๆสำหรับอุตสาหกรรมนี้จากพี่นริศครับขอบคุณครับ :D
เกล้า เขียน:ขอบคุณครับพี่นริศสำหรับมุมมองของอุตสาหกรรมทีวีดาวเทียม.. :D :D :D
อยากทราบมุมมองของพี่เหมือนกันครับ เหมือนว่าพี่เคยตอบแล้ว แต่ผมหาคำตอบพี่ไม่เจอครับ ขอบคุณครับ
ตอนย้ายฐานข้อมูลจากเวปเก่ามาเวปใหม่ ข้อมูลหลายๆบทความที่มีการqouteไว้ได้หายไปหลายส่วนทีเดียว
ขอบอกก่อนนะครับว่าเป็นความเห็นส่วนตัวที่เดาทิศทางของอุตสาหกรรมดาวเทียมจากการเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมวิทยุในอดีต พี่ขอเล่าถึงอุตสาหกรรมวิทยุให้ฟังก่อนนะครับ ถ้าใครที่รู้และเห็นข้อมูลใดที่ผมเสนอไปนั้นผิดช่วยแย้งด้วยนะครับ
อุตสาหกรรมวิทยุในไทยสมัยก่อนจังหวัดหนึ่งๆมีอยู่ไม่กี่รายมีคลื่นไม่กี่ช่องจากสัมปทานที่ได้จากรัฐ เช่น ช่องกองทัพบท ช่องอสมท ช่องตำรวจ เป็นต้น

เจ้าของคลื่น(ช่อง)จะมีรูปแบบรายได้อยู่สองทางคือ 1.ปล่อยสัมปทานให้กับทีมดีเจค่ายต่างๆเข้ามาเหมาคลื่น เช่นช่วงวันนี้ถึงนี้เป็นของทีมนี้เก็บค่าเช่าเดือนละ100000บาทเป็นต้น โดยให้ทีมดีเจไปวิ่งหาสปอนเซอร์กันเอาเอง 2.จัดหาทีมงานดีเจมาพูดและวิ่งหาสปอนเซอร์เอง โดยส่วนมากจะมีการเหมาคลื่นไปให้ดีเจจัดการเองเสียมากกว่ายกเว้นทางอสมท.ซึ่งมีทั้งสองรูปแบบผสมกัน

เมื่อดีเจได้เช่าคลื่นช่องนั้นๆแล้ว จะจัดหาสปอนเซอร์โดยส่วนมากจะมีมากในสมัยก่อน เพราะสื่อช่องทางที่ชาวบ้านใช้ในสมัยก่อน วิทยุติดลำดับที่ต้นๆ เพราะไปไร่ไปนาทำงานตามโรงงานร้านค้าก็สามารถฟังได้ จำนวนช่องให้ฟังก็มีไม่มาก การขายโฆษณาในสมัยนั้นจึงได้ราคาค่อนข้างดี แต่ก็มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในเรื่องค่าเช่าคลื่น

ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนกฎหมายเรื่องคลื่นวิทยุ(จำชื่อไม่ได้)ที่ให้ใครก็ได้สามารถขอคลื่นและตั้งวิทยุชุมชนได้อย่างเสรี เท่าที่จำได้ในจ.เลยก่อนที่จะมีการเปิดเสรีนี้ น่าจะมีสถานีในตัวอ.เมืองอยู่สัก4ไม่เกิน5แห่ง แต่พอหนึ่งปีหลังจากการเปิดเสรี วิทยุชุมชนในจังหวัดเลยรวมๆน่าจะเกินสามสิบราย มีเข้ามาหาสปอนเซอร์ในร้านผมเดือนละหลายๆที่ ที่น่าตลกคือแม้กระทั่งพนักงานคนหนึ่งของผมก็ยังบอกว่าแฟนเขาเปิดวิทยุชุมชน ผมถามรายละเอียดได้ใจความว่า มีพนักงานคนเดียวคือแฟนเขานั่นแหล่ะ ตั้งเสาหนึ่งตัวกระจายคลื่นรอบๆหมู่บ้าน ผมฟังแล้วพอจะเดาออกว่าเกิดการเฟ้อของวิทยุแล้ว ราคาห้ำหั่นกันแน่นอน และรอนับเวลาถอยหลังที่จะสถานีต่างๆจะห้ำหั่นหาจุดยืนของตนเองให้เจอ

การปรับตัวได้เกิดขึ้นหลายรูปแบบ เช่น คลื่นเดิมของภาครัฐได้มีการลดราคาลงมาสู้ไม่งั้นดีเจเดิมๆจะเอาตัวไม่รอด และเห็นบางทีมมีการย้ายคลื่นหนีเพราะคงตกลงราคากับเจ้าของคลื่นเดิมไม่ได้ คลื่นใหม่ๆเริ่มวิ่งหาพันธมิตรจนอำนาจการต่อรองเริ่มเปลี่ยน จากผู้จัดมากเกินไป เจ้าของสินค้าหลายๆที่กลายมาเป็นหุ้นส่วนกิจการในการตั้งเสายิงคลื่นในครั้งนี้

เมื่อสงครามเริ่มสงบ สี่ห้าปีที่เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมนี้ สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ
1.ราคาค่าโฆษณาได้ลดลง ดีเจทีมงานที่เคยได้รายได้สูงๆ มีรายได้ที่ลดลง ต้องหาช่องทางอื่นในการสร้างรายได้ให้เท่าเดิมเช่นออกงานต่างๆเป็นต้น และผู้ที่อยู่รอดจะเหลือแต่มืออาชีพ หรือถ้าไม่มืออาชีพก็จะมีจุดยืนพิเศษในข้อสามและสี่
2.จำนวนช่องมีมากกว่ายุคแรก แต่ถ้านับจากจุดสูงสุดของจำนวนสถานี คงจะหายไปเกือบครึ่งเช่นเดียวกัน
3.ได้กลายเป็นช่องทางสื่อสารของนักการเมืองท้องถิ่นไปเสียแล้ว
4.ได้สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ขึ้นมารูปแบบหนึ่งคือ เจ้าของสินค้ากลายเป็นเจ้าของสถานี

เมื่อกลับมาโยงถึงทีวีดาวเทียมซึ่งผมเชื่อว่าน่าจะมีรูปแบบคล้ายๆกับวิทยุชุมชนคือ
-มีจุดแข็งในเรื่องต้นทุนที่ต่ำกว่า
-ทำให้เกิดรายใหม่ๆเข้ามาเปิดช่องทีวีดาวเทียมมากขึ้นเรื่อยๆ
-เม็ดเงินค่าโฆษณาจะแชร์จากเจ้าของสัมปทานสี่รายเดิมมากระจายสู่ทีวีดาวเทียมมากขึ้นเรื่อยๆ
-เจ้าของคอนเทนต์ที่ดีๆจะหันมาตั้งทีวีดาวเทียมของตนเอง
-เจ้าของบริษัทใหญ่ๆที่มีเพาเวอร์พอจะสร้างช่องทางการโฆษณาทีวีดาวเทียมของตนเอง

สุดท้ายคนที่อยู่ได้ในวงการนี้คือ
-ช่องที่มีคอนเทนต์ฟรีที่มีคุณภาพ
-ช่องที่มีผู้จัดรายการที่เก่ง
-ช่องที่มีแบ็คที่หนาจากสองช่องทางคือ.....นกม.....หรือบริษัทใหญ่ๆ

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 23, 2011 12:05 pm
โดย naris
PRO_BABY เขียน:ผมเจอปัญหาการขายหมูซ้ำซาก พี่นริศมีวิธีอะไรบ้างครับที่ไม่ขายหมูหรือ เข้าใจว่าพี่ไม่ค่อยดูกราฟด้วยซ้ำ(คิดเองครับ).
พอเราศึกษากิจการ ศึกษาธุรกิจ ประเมินกำไร กำหนดราคาเป้าหมาย ดูราคาตลาด มีmos เพียงพอกับความเสี่ยงที่เรารู้และรับได้ ตกลงซื้อ

ปัญหาคือตอนขายนี่แหละครับ เมื่อราคามาถึงจุดที่เราประเมินไว้ แต่พื้นฐานบางอย่างเปลี่ยนไประหว่างทาง เราต้องบวกเข้า หรือลบออก ถ้าเป็นผลดี ผลเสีย ใช่ไหมครับ. อีกอย่างตัวแปลเรื่องเวลาก็น่าจะมีผลเหมือนกัน ประเด็นพวกนี้พี่จัดการยังไงครับ

ขอบคุณครับ
ธุรกิจที่ดี มีเวลาเป็นเพื่อน เติบโตไปเรือยๆ ถ้าเราขายไม่ใช่ราคาที่แพงมากๆ อย่างไรเราก็ขายหมูครับ เพียงแต่เราขายหมูแล้วไปซื้อควายเข้ามาหรือเปล่านั่นอีกเรื่อง เรื่องขายหมูนี่พี่ก็หมูหลายตัว ถ้าจะนับนิ้วทั้งยี่สิบของพี่ยังไม่พอเลย555 เพราะฉะนั้นคงแนะนำไม่ได้ครับ เพียงแต่พี่จะมีราคาในใจอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเรามีปัจจัยใหม่ๆเข้ามาเกี่ยวข้องกับบริษัทนั้นๆ และพี่จะเปรียบเทียบกับหุ้นตัวอื่นๆที่อยู่ในรายการว่าควรจะสวิทย์หรือเปล่า ถ้าเห็นชัดเจนว่าเห็นตัวหนึ่งดีกว่าตัวหนึ่งชัดเจนก็สวิทย์ครับ ไม่มีหลักการที่ตายตัว

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 23, 2011 1:17 pm
โดย PRO_BABY
ขอบคุณครับพี่

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 23, 2011 10:17 pm
โดย Nanotube
ขอบคุณมากๆ ครับพี่ ยกตัวอย่างได้เห็นภาพมากครับ ผมขออนุญาตแชร์ความเห็นของผมบ้างเกี่ยวกับทีวีดาวเทียมนะครับ ถ้าพี่พบว่าจุดไหนไม่ถูกต้อง หรือมองโลกแง่ดี เข้าข้างธุรกิจนี้มากเกินไปช่วยชี้แนะด้วยนะครับ เพราะผมก็กลัวว่าความโลภจะบังตาครับ เนื่องจากกำลังติดตามหุ้นตัวนึงอยู่ซึ่งราคามันถูกมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันครับ

ผมเห็นด้วยกับพี่ 100% เลยว่าช่วงนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมทีวี ทั้งฟรีทีวีและทีวีดาวเทียม เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมวิทยุที่พี่ได้ให้ความเห็นไว้ แต่จุดที่ผมมองต่างมีดังนี้ครับ

1. จากการที่มีผู้เล่นรายใหม่เกิดขึ้นมากมายในอุตสาหกรรมทีวีดาวเทียม เพื่อความอยู่รอดน่าจะเกิดการจับมือร่วมกันของผู้สร้าง Content เพื่อให้ Content มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่นปัจจุบันที่ Exact จับมือกับ Grammy ทำทีวีดาวเทียมช่อง Acts เพื่อรีรันละครของ Exact เป็นต้น ซึ่งความชัดเจนนี้น่าจะเห็นได้ในอีก 3 - 5 ปี ข้างหน้า และจุดนี้เอง ผู้ที่เข้ามาในอุตสาหกรรมทีวีดาวเทียมและเริ่มประสบความสำเร็จก่อน จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดเจ้าของ content ค่ายอื่นๆ ให้เข้ามาร่วมมือกัน ซึ่งจุดนี้เองที่ผมมองว่า Grammy และ RS ได้เปรียบเจ้าของ Content รายอื่นๆ อย่างมาก เพราะธุรกิจทีวีที่จะดึงดูดคนดูได้ Content ต้องสด ใหม่ ไม่ใช่ของแห้งที่เอามารีรันซ้ำ ซึ่ง Grammy กับ RS ได้เปรียบ เพราะธุรกิจหลักคือทำ Content เพลงอยู่แล้ว การนำ Content เหล่านั้นมา On Air จึงมีต้นทุนที่ต่ำกว่าเจ้าของ Content อื่นๆ อย่างเกมส์โชว์ หรือ ละคร ซึ่งไม่สามารถทำแบบสดๆ ใหม่ๆ ได้ เนื่องจากรายได้จากทีวีดาวเทียมที่ยังต่ำอยู่ทำให้ไม่คุ้มที่จะผลิตรายการ First Run ลงในทีวีดาวเทียม ดังนั้นช่วงนี้จึงเป็นโอกาสทองของทั้งสองค่ายเพลง ในการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ และสร้าง Brand Awareness ในช่องของตนเอง

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 23, 2011 10:18 pm
โดย Nanotube
2. สื่อวิทยุถือเป็นอุตสาหกรรม sun set ไม่ใช่เพราะการเปิดเสรีที่พี่ให้ความเห็นไว้เพียงอย่างเดียว แต่ผมมองว่าเกิดจากกลุ่มผู้ฟังที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ (รวมถึงผมเองด้วย) ไม่ได้ฟังวิทยุเลย ยกเว้นตอนขับรถตอนเช้าเพื่อฟังรายการคุณสรยุทธ หรือฟังรายการบอลตอนขับรถ ซึ่งตรงนี้ต่างจากอุตสาหกรรมทีวี ที่ไม่ว่าจะเจนเนอเรชั้นไหนก็ยังคงต้องดูทีวี ยกเว้นเด็กรุ่นใหม่มากๆ ที่จะดูผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งจุดนี้ผมไม่ค่อยห่วงเท่าไหร่เพราะ
2.1 โครงข่ายอินเตอร์เน็ตบ้านเรา ที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ และยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ
2.2 กว่าที่ Trend การดูผ่านอินเตอร์เน็ต จะแซงหน้าการดูผ่านทีวี คงต้องใช้เวลาอย่างต่ำ 10 - 15 ปี เพื่อให้เจนเนอเรชั้นนั้นโตขึ้นจนมีอิทธิพลกับการตัดสินใจซื้อก่อน (ตอนเด็กต้องอ้อนพ่อแม่ และถ้าพ่อแม่ไม่เคยเห็นโฆษณาบนอินเตอร์เน็ตอันนั้น ก็คงไม่กล้าซื้อให้แน่ๆ กลัวลูกโดนหลอก)
2.3 แม้ Trend การดูผ่านอินเตอร์เน็ตจะเกิดขึ้นจริง แต่ด้วยเทคโนโลยี Streaming ก็สามารถ On air บนอินเตอร์เน็ตได้แบบ Real Time ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มที่ต้องการดูผ่านอินเตอร์เน็ตได้เช่นกัน (ปัจจุบันก็ On air บนอินเตอร์เน็ตอยู่)
2.4 ในอเมริกาที่ผมเคยอยู่ ซึ่งระบบอินเตอร์เน็ตครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ อุตสาหกรรมทีวีก็ยังไม่ตาย โดยเจ้าของช่องดังๆ กลับใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางในการโปรโมตช่องของเค้าเองด้วย เช่น Fox กับ NBC ที่ให้ดูซีรี่ย์ดังๆ ด้วยความคมชัดระดับ HD แบบ Online ได้ฟรี และสามารถดูย้อนหลังได้อีกด้วย (ผมชอบมากๆ เลย เอาสายต่อเข้ากับ TV คมชัดสุดยอด แต่น่าเสียดายที่เค้า Block สัญญาณให้ดูได้เฉพาะอเมริกาเท่านั้น)
2.5 ที่อเมริกานั้น 100% ต้องดูผ่านเคเบิ้ลครับ ไม่มีแบบเสาก้างปลา เนื่องจากรัฐบาลที่โน่นส่งเสริมให้ประชาชนของประเทศเค้าต้องมาดูทีวีผ่านเคเบิ้ล โดยการออกกฏหมายยกเลิกระบบฟรีทีวีครับ (อะไรจะเอาใจเจ้าของเคเบิ้ลขนาดนั้น) ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมทีวีนั้น การดูผ่านเสาก้างปลาน่าจะลดน้อยลง และความแตกต่างระหว่างฟรีทีวีที่ดูผ่านเสาก้างปลา กับฟรีทีวีที่ดูผ่านเคเบิ้ลหรือทีวีดาวเทียมจะหมดไปในระยะยาว (ในอเมริกาผมเข้าใจว่าระบบทีวีดาวเทียมไม่น่าจะ work เพราะมีแต่ตึกสูง การรับสัญญาณดาวเทียมน่าจะไม่ดี จึงต้องเป็นระบบเคเบิ้ล แต่ไม่แน่ใจว่าตามเมืองชนบทๆ ใช้ระบบทีวีดาวเทียมได้มั้ย)

ดังนั้นส่วนตัวผมจึงมองว่า ทีวีดาวเทียม น่าจะเป็น Megatrend เช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ตครับ รบกวนขอความเห็นพี่อีกครั้งครับ ว่ามุมมองผมมีจุดบกพร่องตรงไหน หรือมีจุดไหนที่ความโลภมันบังตาผมทำให้ผมมองข้ามไปครับ ขอบคุณพี่อีกครับครับ

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 24, 2011 10:07 am
โดย naris
พี่เห็นด้วยครับว่าทีวีดาวเทียมน่าจะเป็นเมกะเทรนที่โตไปได้อีก5ปีเป็นอย่างน้อย แต่ตอนนี้ถ้าพูดถึงผู้นำอย่างชัดเจนยังไม่มี เพราะทีวีดาวเทียมยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมใหม่ที่ยังต้องหาจุดลงตัวให้พอดีกันระหว่างเจ้าของสถานีกับกลุ่มลูกค้า ถ้าช่องไหนสามารถหาจุดยืนที่โดดเด่นเพียงพอต่อตลาดแมส และมีคอนเทนต์ที่ถูก ช่องนั้นก็จะกลายเป็นผู้นำที่ชัดเจนที่มากกว่านี้ครับ

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 24, 2011 1:01 pm
โดย Nanotube
ของคุณมากๆ ครับพี่ ถ้ามีข้อมูลอัพเดตอะไร ผมจะมาขอความเห็นพี่อีก เป็นระยะๆ นะครับ

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 13, 2011 1:10 pm
โดย eternity
ขอบคุณทุกๆ ท่านสำหรับความรู้นะครับ ผมก็มือใหม่และสมาชิกใหม่ที่กำลังศึกษาหาความรู้ ยังไงก็ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ


ปล. คารวะพี่นริศ ศิษย์พี่ มข. ด้วยครับ ^^

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 19, 2011 9:07 am
โดย firewalker
naris เขียน:
firewalker เขียน:
ถ้าใครไม่รู้ว่ามูลค่ากิจการเหมาะสมอยู่ที่เท่าไหร่ เวลาหุ้นขึ้นหรือลง ก็จะตื่นเต้นหรือตกใจตามราคานั้นๆ
วิธีแก้ปัญหาคือ เราเรียนรู้ศึกษาประเมินมูลค่าของกิจการให้ออก
จะได้ไม่ขายเร็วเกินไปเมื่อหุ้นขึ้น หรือ ติดยอดดอยถาวรเมื่อหุ้นลง
ผมอยากให้หลายๆท่านเลิกกล่าวถึงราคาหุ้นรายวัน แต่หันมาสนใจกับมูลค่าของกิจการดีกว่าครับ
สงสัยมานานแล้ว อยากทราบว่าพี่นริศมีเทคนิคคร่าวๆ ในการประเมินมูลค่ากิจการของหุ้นยังไงครับ รบกวนขอถามเป็นความรู้หน่อยได้มั้ยครับ...
ขอโทษนะครับที่ไม่ได้เข้ามาตอบ คนถามคงจะหมดอารมณ์ฟังแล้วกระมัง การประเมินมูลค่าของกิจการเอาแบบคร่าวๆนะ อย่างแรกเลย
1.เราต้องรู้ธรรมชาติของธุรกิจนั้นๆก่อนว่า นิสัยเขาเป็นอย่างไร พี่แนะนำแบบรูปธรรมง่ายๆที่พี่ใช้คือ แบ่งตามปีเตอร์ลินซ์6กลุ่ม
โตช้า โตเร็ว พื้นฐาน ทรัพย์สินมาก เทริ์นอะราวด์ และ วัฎจักร
2.เรียนรู้ตัวธุรกิจเขาระดับที่สามารถรู้จุดตายและตัวเร่งของตัวธุรกิจของเขาได้ และเฝ้าติดตามจุดตายของเขาจากข่าวและงบการเงินทุกๆไตรมาสว่ามีสัญญาณที่ไม่ดีหรือเปล่า และนำคำถามที่เราเกรงว่าจะเกิดถามผู้บริหารเพื่อที่จะเช็คว่าผู้บริหารคิดที่จะแก้ปัญหานั้นๆอย่างไร มองความเป็นไปได้ของตัวเร่งว่าจะเกิดเมื่อไหร่และถ้าเกิดจะทำให้พื้นฐานของรายได้กำไรเปลี่ยนมากน้อยเพียงใด ถ้าเรารู้ตัวธุรกิจมากๆ เราก็จะสามารถคำนวณความเป็นไปได้ของกำไรของเขาในอีก1-3ปีข้างหน้าได้ โดยเฉพาะหุ้นเมกะเทรนที่ชัดเจนบางตัวอาจจะกำหนดการโตได้อย่างคร่าวๆถึง5ปีทีเดียว
3.นำกำไรที่ได้ในอนาคตนำมากำหนดPEคร่าวๆของธุรกิจในอีก1-3ปีข้างหน้า(ไม่กล้ากำหนดไกลกว่านั้นมากเพราะมองไม่ขาด)
4.เมื่อได้กำไรในอนาคต เมื่อได้ราคาPEในใจที่คิดว่าเขาควรจะเป็น คูณกันออกมาก็จะได้ราคาเป้าหมาย และนำมาเปรียบเทียบกับราคาปัจจุบัน

ที่ยกตัวอย่างนั่นเป็นประเภทหุ้นเติบโต หุ้นพื้นฐาน หุ้นวัฎจักร และหุ้นเทริ์นอะราวด์ ถ้าเป็นหุ้นทรัพย์สินมากก็ต้องมองประเด็นที่เขาจะคายทรัพย์สินนั้นๆออกมามากกว่าประเด็นอื่น
ขอบคุณมากครับ พี่นริศ เพิ่งได้มีโอกาสเข้ามาอ่าน นึกว่าพี่จะไม่ตอบซะแล้ว...

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 25, 2011 10:37 pm
โดย jumper_mai
Ktc ยังดูดีอยู่รึป่าวครับ...

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 30, 2011 12:04 pm
โดย panda_power
ถึงพี่นิริศครับ ร้านพี่อยู่แห่งหนไหนของเลยครับ
จะได้ไปอุดหนุน เพราะว่าปัจจุบันทำงานที่เลยครับ(ไม่ใช่คนเลยครับ)
หรือว่าพี่ย้ายไปอุดร

หากแม้มีวาสนาคงได้เจอกันครับ

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 30, 2011 8:48 pm
โดย naraku48
พี่อยู่ที่ไหนของเลยครับ ผมคนเมืองเลยอะครับ

Re: นริศสอนน้อง

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 03, 2011 8:16 pm
โดย viim
ชงเขาไม่ได้มาบอร์ดอีกแล้วครับ