Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 21, 2013 10:47 am
คอลัมน์: สัมภาษณ์พิเศษ: 'โกลบอลฯ'แต่งตัวเกาะขบวนประมูลไอพีพี
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Saturday, January 19, 2013
ศรัญญา ทองทับ
การเปิดประมูลแข่งขันตามโครงการกรับซื้อจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ หรือไอพีพี ซึ่งกำหนดยื่นแบบฟอร์มลงทะเบียนซื้อเอกสารรายละเอียดการยื่นประมูล (RFP) ระหว่างวันที่ 20 ธ.ค. 2555 - 21 ม.คฟ. 2556 จะมีชื่อของ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด หรือ จีพีเอสซี ในเครือปตท.เข้าร่วมประมูลครั้งนี้ด้วย หลังจากบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ซุ่มแต่งตัว รวบรวมการลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าที่อยู่กระจัดกระจายในบริษัทต่างๆ ทั้งในและนอกเครือ กระทั่งควบรวมบริษัทที่ทำธุรกิจผลิตไฟฟ้า และสาธารณูปโภคพื้นฐานหลักในเครือ ระหว่างบริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด (ไอพีที) ที่มีการลงทุนโรงไฟฟ้า กำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ ตามโครงการไอพีพี ครั้งที่ 1 ระยะที่ 1 สำหรับพื้นที่ภาคตะวันออก เมื่อ 12 ปีก่อน มีฐานการลงทุนในศรีราชา จังหวัดชลบุรี และบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กตามโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก หรือ เอสพีพี ที่ลงทุนผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมในเขตมาบตาพุด
น้องใหม่ในเครือปตท. บริษัทนี้ เปิดตัวก่อนปิดระยะเวลาซื้อเอกสารการประมูล ไอพีพีเพียงไม่กี่วัน มีทุนจดทะเบียนถึง 8,630 ล้านบาท และประกาศตัวชัดเจนที่จะรุกธุรกิจผลิตไฟฟ้าทั้งใหญ่และเล็กทุกเชื้อเพลิง รวมถึงพลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบ พร้อมตั้งเป้าหมายเติบโต กว่า 6 เท่าตัวภายใน 10 ปี หรือภายในปี 2565 จะมีกำลังผลิตให้ถึงระดับ 6,000 เมกะวัตต์
นายจักรชัย บาลี ลูกหม้อปตท.ได้รับการแต่งตั้งเป็น กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลฯ กล่าวว่า สิ่งที่กำลังเร่งดำเนินการในขณะนี้ เป็นการศึกษาข้อกฎหมาย ว่าบริษัทโกลบอลฯ สามารถเข้าร่วมประมูล ไอพีพี ครั้งนี้ได้หรือไม่ โดยจะต้องให้ได้ข้อสรุปภายใน 1-2 วัน หรืออย่างช้าภายในวันที่ 20 ม.ค. นี้ ก่อนสิ้นสุดวันซื้อเอกสารรายละเอียดการประมูลวันที่ 21 ม.ค. นี้ ประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เป็นเรื่องเพดานสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐวิสาหกิจในบริษัทที่จะเข้าร่วมประมูล เนื่องจากบริษัทโกลบอลฯ มี ปตท. ถือหุ้น แม้จะไม่เกิน 50% แต่ต้องศึกษาในรายละเอียดว่า การถือหุ้นในสัดส่วน 30.10% ของ ปตท.นั้น ไม่ผิดเงื่อนไขข้อห้ามเข้าประมูล "หากไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้เอง มีแนวทางที่จะจับมือกับพันธมิตรเอกชน เพื่อร่วมประมูลต่อไป โดยมีพื้นที่พร้อมสำหรับการประมูลอย่างน้อย 1 โรง ขนาด 700- 900 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับโรงไฟฟ้าของไอพีทีที่เดินเครื่องในปัจจุบัน ขณะเดียวกันพื้นที่ของบริษัทพีทีทียูทิลิตี้ ในมาบตาพุดก็สามารถนำมาพัฒนาโรงไฟฟ้าได้บางส่วน ส่วนจะนำพื้นที่ใดเข้าประมูลไอพีพีครั้งนี้ ยังมีเวลาศึกษา เนื่องจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนดระยะเวลายื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและด้านราคาในวันที่ 29 เม.ย. 2556 " สำหรับโครงการลงทุนระยะยาวนั้น บริษัทอยู่ระหว่างทำแผนระยะ 10 ปี (2556- 2565) ตั้งเป้าเพิ่มกำลังผลิต 6 เท่าตัว เป็น 6,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2565 จากปัจจุบันที่มีกำลังผลิต 1,357 เมกะวัตต์ จากการควบรวมบริษัท ไอพีที ขนาด 700 เมกะวัตต์ และบริษัท พีทีทียูที กำลังผลิต 338 เมกะวัตต์ กำลังผลิตไอน้ำ 1,340 ตันต่อชั่วโมง รวม 657 เมกะวัตต์ โดยกำลังผลิตตามเป้าหมาย ดังกล่าว กำหนดให้เป็นพลังงานหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 5% และมาจากสัดส่วนการลงทุน โรงไฟฟ้าในต่างประเทศ 30% ในประเทศ 70% ส่วนของพลังงานหมุนเวียนนั้น ยอมรับว่าอาจพัฒนาไม่ได้มากนัก เนื่องจากต้นทุนสูง และต้องมีพื้นที่พัฒนาที่เหมาะสม นอกจากนี้รัฐยังต้องเข้ามาสนับสนุนค่าไฟฟ้าในรูปการให้อัตราส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (แอดเดอร์) ซึ่งตกเป็นภาระค่าไฟฟ้าของทั้งระบบ
ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้น จะมีหลายโมเดล แนวทางหลักๆ ประกอบด้วย 1.ลงทุนเอง หรือ 2.ร่วมลงทุนกับพันธมิตร แต่สำหรับการลงทุนนอกประเทศนั้น จะไม่ทิ้งหลักการสำคัญของปตท. คือ สร้างพลังร่วมกับกลุ่มปตท. อาทิ ในกรณีที่บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.เข้าไปสำรวจและผลิตแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสามารถเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าได้ ก็มีโอกาสที่บริษัทโกลบอลฯ จะเข้าไปลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าที่นั่น แต่ในระยะแรกจะเน้นการลงทุนในอาเซียนก่อน
"ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของบริษัท รวมถึงศักยภาพในการผนึกกำลังกับกลุ่มปตท. ที่มีธุรกิจหลากหลายตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จึงมั่นใจว่าจะสามารถแข่งขันกับผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่อื่นๆ ได้ เพราะอย่างน้อยก็มีโรงไฟฟ้าตามโครงการไอพีพี ครั้งที่ 1 ที่ทำให้มีประสบการณ์ในธุรกิจโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่มา 12 ปี"
ขั้นตอนต่อไปหลังจากควบรวมไอพีทีและพีทีทียูทิลิตี้แล้ว จะดึงสินทรัพย์ที่ ปตท.ไปลงทุนในบริษัทอื่นๆ นอกเครือมารวมอยู่ภายใต้บริษัทโกลบอล ฯ ด้วย โดยจะทยอยดำเนินการ เพราะการถือหุ้นของ ปตท.ในโรงไฟฟ้านอกเครือเป็นเพียงผู้ลงทุน ไม่ได้เข้าไปบริหารจัดการ
’กำลังเร่งศึกษา’ข้อกฎหมาย หากสามารถเข้าร่วมประมูลได้ จะดำเนินการทันที
--จบ--
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Saturday, January 19, 2013
ศรัญญา ทองทับ
การเปิดประมูลแข่งขันตามโครงการกรับซื้อจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ หรือไอพีพี ซึ่งกำหนดยื่นแบบฟอร์มลงทะเบียนซื้อเอกสารรายละเอียดการยื่นประมูล (RFP) ระหว่างวันที่ 20 ธ.ค. 2555 - 21 ม.คฟ. 2556 จะมีชื่อของ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด หรือ จีพีเอสซี ในเครือปตท.เข้าร่วมประมูลครั้งนี้ด้วย หลังจากบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ซุ่มแต่งตัว รวบรวมการลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าที่อยู่กระจัดกระจายในบริษัทต่างๆ ทั้งในและนอกเครือ กระทั่งควบรวมบริษัทที่ทำธุรกิจผลิตไฟฟ้า และสาธารณูปโภคพื้นฐานหลักในเครือ ระหว่างบริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด (ไอพีที) ที่มีการลงทุนโรงไฟฟ้า กำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ ตามโครงการไอพีพี ครั้งที่ 1 ระยะที่ 1 สำหรับพื้นที่ภาคตะวันออก เมื่อ 12 ปีก่อน มีฐานการลงทุนในศรีราชา จังหวัดชลบุรี และบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กตามโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก หรือ เอสพีพี ที่ลงทุนผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมในเขตมาบตาพุด
น้องใหม่ในเครือปตท. บริษัทนี้ เปิดตัวก่อนปิดระยะเวลาซื้อเอกสารการประมูล ไอพีพีเพียงไม่กี่วัน มีทุนจดทะเบียนถึง 8,630 ล้านบาท และประกาศตัวชัดเจนที่จะรุกธุรกิจผลิตไฟฟ้าทั้งใหญ่และเล็กทุกเชื้อเพลิง รวมถึงพลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบ พร้อมตั้งเป้าหมายเติบโต กว่า 6 เท่าตัวภายใน 10 ปี หรือภายในปี 2565 จะมีกำลังผลิตให้ถึงระดับ 6,000 เมกะวัตต์
นายจักรชัย บาลี ลูกหม้อปตท.ได้รับการแต่งตั้งเป็น กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลฯ กล่าวว่า สิ่งที่กำลังเร่งดำเนินการในขณะนี้ เป็นการศึกษาข้อกฎหมาย ว่าบริษัทโกลบอลฯ สามารถเข้าร่วมประมูล ไอพีพี ครั้งนี้ได้หรือไม่ โดยจะต้องให้ได้ข้อสรุปภายใน 1-2 วัน หรืออย่างช้าภายในวันที่ 20 ม.ค. นี้ ก่อนสิ้นสุดวันซื้อเอกสารรายละเอียดการประมูลวันที่ 21 ม.ค. นี้ ประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เป็นเรื่องเพดานสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐวิสาหกิจในบริษัทที่จะเข้าร่วมประมูล เนื่องจากบริษัทโกลบอลฯ มี ปตท. ถือหุ้น แม้จะไม่เกิน 50% แต่ต้องศึกษาในรายละเอียดว่า การถือหุ้นในสัดส่วน 30.10% ของ ปตท.นั้น ไม่ผิดเงื่อนไขข้อห้ามเข้าประมูล "หากไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้เอง มีแนวทางที่จะจับมือกับพันธมิตรเอกชน เพื่อร่วมประมูลต่อไป โดยมีพื้นที่พร้อมสำหรับการประมูลอย่างน้อย 1 โรง ขนาด 700- 900 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับโรงไฟฟ้าของไอพีทีที่เดินเครื่องในปัจจุบัน ขณะเดียวกันพื้นที่ของบริษัทพีทีทียูทิลิตี้ ในมาบตาพุดก็สามารถนำมาพัฒนาโรงไฟฟ้าได้บางส่วน ส่วนจะนำพื้นที่ใดเข้าประมูลไอพีพีครั้งนี้ ยังมีเวลาศึกษา เนื่องจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนดระยะเวลายื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและด้านราคาในวันที่ 29 เม.ย. 2556 " สำหรับโครงการลงทุนระยะยาวนั้น บริษัทอยู่ระหว่างทำแผนระยะ 10 ปี (2556- 2565) ตั้งเป้าเพิ่มกำลังผลิต 6 เท่าตัว เป็น 6,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2565 จากปัจจุบันที่มีกำลังผลิต 1,357 เมกะวัตต์ จากการควบรวมบริษัท ไอพีที ขนาด 700 เมกะวัตต์ และบริษัท พีทีทียูที กำลังผลิต 338 เมกะวัตต์ กำลังผลิตไอน้ำ 1,340 ตันต่อชั่วโมง รวม 657 เมกะวัตต์ โดยกำลังผลิตตามเป้าหมาย ดังกล่าว กำหนดให้เป็นพลังงานหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 5% และมาจากสัดส่วนการลงทุน โรงไฟฟ้าในต่างประเทศ 30% ในประเทศ 70% ส่วนของพลังงานหมุนเวียนนั้น ยอมรับว่าอาจพัฒนาไม่ได้มากนัก เนื่องจากต้นทุนสูง และต้องมีพื้นที่พัฒนาที่เหมาะสม นอกจากนี้รัฐยังต้องเข้ามาสนับสนุนค่าไฟฟ้าในรูปการให้อัตราส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (แอดเดอร์) ซึ่งตกเป็นภาระค่าไฟฟ้าของทั้งระบบ
ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้น จะมีหลายโมเดล แนวทางหลักๆ ประกอบด้วย 1.ลงทุนเอง หรือ 2.ร่วมลงทุนกับพันธมิตร แต่สำหรับการลงทุนนอกประเทศนั้น จะไม่ทิ้งหลักการสำคัญของปตท. คือ สร้างพลังร่วมกับกลุ่มปตท. อาทิ ในกรณีที่บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.เข้าไปสำรวจและผลิตแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสามารถเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าได้ ก็มีโอกาสที่บริษัทโกลบอลฯ จะเข้าไปลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าที่นั่น แต่ในระยะแรกจะเน้นการลงทุนในอาเซียนก่อน
"ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของบริษัท รวมถึงศักยภาพในการผนึกกำลังกับกลุ่มปตท. ที่มีธุรกิจหลากหลายตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จึงมั่นใจว่าจะสามารถแข่งขันกับผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่อื่นๆ ได้ เพราะอย่างน้อยก็มีโรงไฟฟ้าตามโครงการไอพีพี ครั้งที่ 1 ที่ทำให้มีประสบการณ์ในธุรกิจโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่มา 12 ปี"
ขั้นตอนต่อไปหลังจากควบรวมไอพีทีและพีทีทียูทิลิตี้แล้ว จะดึงสินทรัพย์ที่ ปตท.ไปลงทุนในบริษัทอื่นๆ นอกเครือมารวมอยู่ภายใต้บริษัทโกลบอล ฯ ด้วย โดยจะทยอยดำเนินการ เพราะการถือหุ้นของ ปตท.ในโรงไฟฟ้านอกเครือเป็นเพียงผู้ลงทุน ไม่ได้เข้าไปบริหารจัดการ
’กำลังเร่งศึกษา’ข้อกฎหมาย หากสามารถเข้าร่วมประมูลได้ จะดำเนินการทันที
--จบ--