หน้า 4 จากทั้งหมด 5

news26/11/07

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 26, 2007 2:10 pm
โดย chartchai madman
บ.ประกันมีฮึด เจาะกลุ่มลูกค้า เรือ-อัคคีภัย

โพสต์ทูเดย์ ประกันภัยไม่หวั่น โอกาสขยายตลาดอีกมาก เพราะทั้งประเทศมีเบี้ยแค่ 1% ของจีดีพี เทียบกับเพื่อนบ้านที่สูงถึง 3%


นายถนัด จีรไชยไพศาล ประธานคณะอนุกรรมการประกันภัยเบ็ดเตล็ด สมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า การเติบโตของธุรกิจประกันในปี 2551 ยังมีอีกมาก เพราะเบี้ยประกันภัยทั้งระบบมีอยู่แค่ 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) หรือมูลค่าทางเศรษฐกิจ เมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซียที่มีสัดส่วน 3-4% เมื่อเทียบกับจีดีพี

อย่างไรก็ตาม ต้องขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจด้วย เพราะการประกันภัยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน และการส่งออก หากการส่งออกไม่ดี การประกันสินค้าทางทะเลก็จะลดลง โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เบี้ยประกันภัยขนส่งทางทะเลติดลบ 3% หรือหากยอดขายรถยนต์ไม่ดี ก็จะส่งผลให้เบี้ยประกันรถยนต์หดตัว

นายถนัด กล่าวว่า ประกันภัยที่ไม่ใช่รถยนต์ หรือนันมอเตอร์ มีโอกาสเติบโตอีกมาก โดยเฉพาะประกันอัคคีภัยที่ยังมีจำนวนต่ำ ดูจากตัวเลขในปี 2549 จำนวนครัวเรือนตามสำมะโนครัวมีบ้านประมาณ 10 ล้านหลัง แต่ทำประกันภัยเพียง 2 ล้านหลัง เท่านั้น

การที่จะให้ประชาชนหันมาเห็นความสำคัญของการประกันอัคคีภัย จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกองค์กรในการให้ความรู้ถึงความเสี่ยง และการสูญเสียที่จะตามมา นายถนัด กล่าว

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) รายงานว่า ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2550 มีกรมธรรม์ประกันภัยทุกชนิดรวม 17.87 ล้านฉบับ เพิ่มขึ้น 1.45 ล้านฉบับ หรือเพิ่มขึ้น 8.89% แยกเป็นกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย 1.16 ล้านฉบับ ลดลง 6.69 พันฉบับ ประกันภัยทางทะเล และขนส่ง 4 แสนฉบับ เพิ่มขึ้น 5.99% กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ 14 ล้านกรมธรรม์ เพิ่มขึ้น 7.62% ประกันภัยเบ็ดเตล็ด 25.05%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=205677

news28/11/07

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 28, 2007 1:11 pm
โดย chartchai madman
วิริยะบริการฟรี ตรวจสภาพรถ เปิดรับ18จุด

โพสต์ทูเดย์ วิริยะจับมือกรมการขนส่งทางบก บริการตรวจสภาพรถฟรีก่อนเดินทางปีใหม่


น.ส.กานดา วัฒนายิ่งสมสุข รองผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท วิริยะประกันภัย กล่าวว่า ได้ร่วมกับกรมการขนส่งทางบก จัดโครงการ ตรวจรถก่อนใช้ ปลอดภัยแน่นอน เพื่อเตรียมความพร้อมสภาพรถก่อนการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่

ทั้งนี้ ลูกค้าและประชาชนทั่วไปสามารถนำรถเข้ารับการตรวจเช็กสภาพความพร้อมเบื้องต้นของรถยนต์ได้ฟรี ที่ศูนย์ซ่อมมาตรฐานของวิริยะทั้ง 18 แห่ง ครอบคลุม 12 พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร

สำหรับพื้นที่พระราม 1 ได้แก่ บริษัท อู่วิกรม บริษัท อู่แม่กลอง และบริษัท เอ็น.เค.ซี.อินเตอร์ (นครชัย) พื้นที่พระราม 2 ได้แก่ บริษัท เฮงบอดี้คาร์ เซอร์วิส และบริษัท ธนบุรี ออโต้คาร์ พื้นที่ลุมพินี ได้แก่ บริษัท อ.พิพัฒน์ยนต์ (1989) และบริษัท ศัลยกรรมรถยนต์ พื้นที่บางพลัด ได้แก่ บริษัท ไทยรัตน์ยานยนต์ และบริษัท เจริญภัณฑ์ยนตรกิจ เซอร์วิส

พื้นที่รัตนาธิเบศร์ ได้แก่ หจก.งามวงศ์วาน คาร์แคร์ และบริษัท เอ็น.ซี อินเตอร์เนชั่นแนล พื้นที่ปากเกร็ด (345) บริษัท นำสมัยเซอร์วิส พื้นที่ดอนเมือง บริษัท พี.รุ่งเรืองบริการ พื้นที่สุขาภิบาล 3 อู่รามอินทราการาจ พื้นที่รัชดาภิเษก บริษัท อู่วิชัยยนต์ พื้นที่บางนา บริษัท รุ่งเจริญ บอดี้ คลินิก พื้นที่ปู่เจ้า สมิงพราย หจก.เป้งการาจ และ พื้นที่สุขสวัสดิ์ บริษัท โสฬสคาร์เซอร์วิส

สำหรับรายการตรวจสภาพความพร้อมเบื้องต้นของรถยนต์นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจพินิจด้วยสายตา โดยอาศัยความรู้ความ ชำนาญของช่าง อาทิ การตรวจสภาพยางและเติมลมยาง การตรวจสอบระบบเครื่องยนต์ การตรวจสอบระบบเบรก เป็นต้น

ทั้งนี้ รายการตรวจเช็กสภาพความพร้อมเบื้องต้นของรถยนต์นั้น จะขึ้นอยู่กับความพร้อมของศูนย์บริการแต่ละแห่งเป็นผู้กำหนดเอง
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=206084

news28/11/07

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 28, 2007 1:12 pm
โดย chartchai madman
เอไอเอคิดหนักขึ้นเบี้ย

โพสต์ทูเดย์ ต้นทุนค่าโรงหมอเพิ่ม เอไอเอ แบกไม่ไหว พิจารณาปรับเบี้ยประกันสุขภาพ รับสถานการณ์


นายสุทธิ รจิตรังสรรค์ รองประธานอาวุโสฝ่ายบริหาร บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ (เอไอเอ) กล่าวว่า ขณะนี้เอไอเออยู่ระหว่างพิจารณาว่ามีความจำเป็นต้องปรับขึ้นค่าเบี้ยประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นสัญญาเพิ่มเติมในส่วนของแบบประกันชีวิตหรือไม่ ซึ่งเป็นผลมาจากต้นทุนค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ

เรายังไม่รู้จะต้องมีการปรับขึ้นเบี้ยประกันสุขภาพหรือไม่ เพราะทางโรงพยาบาลเองก็ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคงต้องดูในภาพรวมก่อนอีกทีว่าค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลมีการเปลี่ยนแปลงอีกแค่ไหน เพราะที่ผ่านมาค่าใช้จ่ายโรงพยาบาลเองก็เพิ่มขึ้นไปแล้ว 10-20% คาดว่าคงใช้เวลาดูอีกประมาณหนึ่งไตรมาสจึงจะตัดสินใจได้ แต่ถ้าค่าใช้จ่ายโรงพยาบาลยังมีแนวโน้มขึ้นไปอีก ก็จะทำให้เราอยู่ลำบากเหมือนกัน เพราะที่ผ่านมาเราก็ไม่ได้ขึ้นเบี้ยมา 3-4 ปีแล้ว นายสุทธิ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโรงพยาบาลที่คิดค่ารักษาพยาบาลที่สูงเกินจริงนั้น ในส่วนของธุรกิจประกันชีวิตก็ต้องมีการหารือกับโรงพยาบาลว่าอะไรเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้น เพราะส่งผลกระทบทั้งในส่วนของโรงพยาบาลและผู้บริโภคด้วย โดยต้องยึดความเหมาะสมที่ทั้งโรงพยาบาลและผู้บริโภคอยู่ร่วมกันได้ ที่ไม่กระทบกระเทือนต่อกันมากเกินไป รวมถึงควรให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) รับทราบในเรื่องที่เกิดว่าจะมีความยืดหยุ่นได้อย่างไรบ้าง

นายสุทธิ กล่าวว่า สำหรับเบี้ยประกันชีวิตนั้น เรื่องของต้นทุนค่าครองชีพที่สูงขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อการพิจารณาปรับค่าเบี้ยมากเท่ากับผลกระทบจากการขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งถ้าในปีหน้าอัตราดอกเบี้ยในตลาดขึ้นเล็กน้อยก็คงไม่ส่งผลกระทบต่อการปรับค่าเบี้ยประกันชีวิต และเอไอเอจะมองเรื่องการขึ้นของอัตราดอกเบี้ยระยะยาว 3-5 ปีเป็นหลัก มากกว่าการมองดอกเบี้ยระยะสั้น 1 ปี ทั้งนี้หากลูกค้ามีค่าครองชีพที่สูงขึ้น กำลังซื้อก็คงต้องลดลง และคงส่งผลให้เอไอเอหาลูกค้าใหม่ได้ยากขึ้นด้วย ซึ่งคงต้องหาแบบประกันที่เหมาะสมมาเสนอให้ลูกค้าตามสถานการณ์ต่อไป

นายอนุชา เหล่าขวัญสถิตย์ รองประธานอาวุโสฝ่ายการลงทุน บริษัท เอไอเอ กล่าวว่า ในปีหน้าเอไอเอคงมีการพิจารณาขออนุมัติทาง คปภ. เพื่อนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นอีก จากปัจจุบันได้รับอนุมัติให้ลงทุนได้แล้ว 8.5% ของเงินลงทุนรวม 3.7 แสนล้านบาท แม้ว่าขณะนี้เอไอเอจะเหลือสัดส่วนการไปลงทุนในต่างประเทศอีก 2.5% ก็ตาม

ทั้งนี้ การลงทุนในต่างประเทศจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในประเทศ เช่น ผลตอบแทนในพันธบัตรไทยอายุ 20 ปี ให้ดอกเบี้ย 5.5% แต่ในต่างประเทศผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นอีก 1-1.1%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=206099

news30/11/07

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 30, 2007 12:47 pm
โดย chartchai madman
ประกันพาเหรดขึ้นเบี้ยชั้น1

โพสต์ทูเดย์ บริษัทประกันภัยพาเหรดขึ้นราคาเบี้ยประกันภัยรถยนต์ชั้น 1


นายนิค จันทรวิทุร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 กล่าวว่า ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2551 เป็นต้นไป บริษัทจะปรับเบี้ยประกันรถยนต์ชั้น 1 เพิ่มขึ้นอีก 10-15% หรือจากค่าเฉลี่ยเบี้ยประกันชั้น 1 จาก 1.4 หมื่นบาท เป็น 1.6 หมื่นบาท เพื่อแก้ไขปัญหาขาดทุนที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ บริษัทคำนวณแล้วพบว่าในภาวะปัจจุบันการที่ประกันชั้น 1 จะมีกำไรหรือเสมอตัวได้ก็ต้องมีเบี้ยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1.6 หมื่นบาท จึงจำเป็นต้องขึ้นเบี้ยตามต้นทุน

เบี้ยชั้น 1 ของเรา อัตราความเสียหายต่อเบี้ยประกันก็สูงถึง 68% บวกค่านายหน้าอีก 18% ค่าใช้จ่ายอีก 15% ก็เกิน 100% แล้ว ยังไม่รวมค่าการตลาดอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งหากยังคิดค่าเบี้ยเท่าเดิมก็คงอยู่ลำบาก เพราะรถชนต่อครั้งค่าซ่อมเฉลี่ยก็อยู่ที่ 1.3-1.4 หมื่นบาทเข้าไปแล้ว และความถี่ในการชนของชั้น 1 ก็สูงถึง 75% ขณะที่ชั้น 3 พิเศษอยู่ที่ 33% และชั้น 3 ปกติอยู่ที่ 20% เท่านั้น นายนิค กล่าว

อย่างไรก็ตาม บริษัทมีสัดส่วนเบี้ยรถยนต์ประกันชั้น 1 ประมาณ 20% เท่านั้น และมีเบี้ยชั้น 3 พิเศษมากที่สุดถึง 50% ส่วนที่เหลือเป็นเบี้ย พ.ร.บ. เบี้ยชั้น 3 ธรรมดาและเบี้ยที่ไม่ใช่รถยนต์หรือนันมอเตอร์ โดยคาดว่าในปีนี้เบี้ยทั้งปีจะได้ประมาณ 1 พันล้านบาท ซึ่งในปีหน้าบริษัทตั้งเป้าเติบโตไว้ที่ 1.5-2 พันล้านบาท หรือโตประมาณ 80%

นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท คูเนียประกันภัย กล่าวว่า ในต้นปีหน้าบริษัทจะมีการปรับราคาเบี้ยประกันรถยนต์ประเภท 1 ขึ้นเช่นกัน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะรถยนต์ขนาดเล็กหรือซิตีคาร์ที่ค่าซ่อมห้างจะปรับขึ้น 25% เพราะมีอัตราความเสียหายต่อเบี้ยประกันสูงถึง 70%

นอกจากนี้ จะปรับรถยนต์ขนาดใหญ่อีก 15% และกลุ่มรถทั่วไปอีก 10-15% เป็นการปรับขึ้นตามราคาตลาดที่กำลังมีการทยอยปรับขึ้นเบี้ยในขณะนี้ เป็นการปรับขึ้นต่อเนื่องจากปีนี้ที่ได้มีการปรับมาแล้ว 2 ครั้งรวม 15%

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าอาจทำให้ลูกค้าบ้างส่วนหายไป แต่จะมีการรุกตลาดนันมอเตอร์มากขึ้นเมื่อเทียบกับปัจจุบันที่มีสัดส่วนเบี้ยที่ 5% ของเบี้ยรับรวม เพื่อให้เป็น 10% ในปีหน้า รวมถึงการเสริมบริการด้านบริการรถยนต์ด้วยการนำระบบอีเคลมมาใช้ และนำระบบออนไลน์มาติดต่อกับตัวแทนและโบรกเกอร์ พัฒนาคุณภาพอู่ เพื่อใช้บริการดึงดูดลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเก่าไว้

สำหรับ 10 เดือนที่ผ่านมาบริษัทมีเบี้ยประกันรับรวม 900 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% และคาดว่าทั้งปีจะทำได้ 1 พันล้านบาทตามเป้าหมาย เพิ่มขึ้นในอัตรา 13% เช่นเดียวกัน โดยบริษัทมีกรมธรรม์ที่อยู่ภายใต้การดูแลประมาณ 1.2 แสนฉบับ เป็นประกันภัยรถยนต์ 95%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=206502

news03/12/07

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 03, 2007 2:30 pm
โดย chartchai madman
ประกันภัยเต้นนัดสางปัญหาเลิกตัดค่าเบี้ย

โพสต์ทูเดย์ สมาคมวินาศภัย เดินแผนเจรจาบริษัทสมาชิก ขอความร่วมมือเลิกตัดราคาเบี้ยประกัน


นายนพดล เรืองจินดา ประธานคณะอนุกรรมการประกันภัยยาน ยนต์ สมาคมประกันวินาศภัย และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนชาตประกันภัย กล่าวว่า หลังจากทำเรื่องการลดอัตราเบี้ยประกัน พ.ร.บ.แล้ว เรื่องเร่งด่วนที่สมาคมจะต้องดำเนินการต่อไป คือ การเจรจากับบริษัทสมาชิก เพื่อให้ลดการแข่งขันตัดราคาเบี้ยประกันรถยนต์ เนื่องจากปัจจุบันเกือบทุกบริษัทไม่มีกำไรจากการรับประกันภัยรถยนต์ ขณะที่ภาวะด้านการลงทุนก็ไม่ได้เอื้อต่อการลงทุนมากนัก ซึ่งคิดว่าจะได้รับความร่วมมือจากบริษัทสมาชิก

ที่ผ่านมา ในส่วนของบริษัท ธนชาตประกันภัย พยายามที่จะ ปรับเบี้ยประกันรถใหม่ป้ายแดงขึ้น เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง แต่ก็มีบริษัทประกันภัยอีกหลายแห่งที่ใช้กลยุทธ์ลดราคาเบี้ยเพื่อมาดึงลูกค้าไป จึงไม่สามารถยืนราคาเบี้ยที่ปรับขึ้นใหม่ได้นาน จึงต้องมีการปรับขึ้น-ลงตามการแข่งขัน

นายนพดล กล่าวว่า ในปีนี้บริษัทคาดว่าจะมีกำไร 70 ล้านบาท โดยมาจากการลงทุนเป็นหลัก เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีกำไรประมาณ 40 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทมีต้นทุนการดำเนินงานต่ำ เนื่องจากประมาณ 90% ของเบี้ยรับรวม 1.7 พันล้านบาท ขายผ่านธุรกิจเช่าซื้อเป็นหลัก ส่วนที่เหลือก็มาจากกลุ่มบริษัทแม่ อย่างไรก็ตาม ในปีหน้าบริษัทจะเริ่มทำ ตลาดประกันรถมือสองมากขึ้น เนื่องจากมีโอกาสทำกำไร และมีการแข่งขันน้อย

นายชัย โสภณพนิช ประธานกรรมการ และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีแรกที่บริษัทขาดทุนจากการรับประกันภัยรถยนต์ในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ถึง 60 ล้านบาท โดยเบี้ยประกันที่ขาดทุนมากที่สุดมาจากรถซิตีคาร์ป้ายแดง ซึ่งแม้จะมีการปรับเบี้ยขึ้นมาแล้ว 15% ก็ยังมีการขาดทุนอยู่ ทำให้ในปีหน้าจำเป็นต้องปรับเบี้ยขึ้นอีก 10%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=206924

news05/12/07

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 05, 2007 10:22 pm
โดย chartchai madman
พลิกโฉมระบบประกันภัยไทย [/b
Posted on Tuesday, December 04, 2007
นส.ชำเลือง ชาติสุวรรณ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel ว่า ขณะนี้ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย และพ.ร.บ.คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว และอยู่ระหว่างรอการลงพระปรมาภิไธยจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยกฎหมายฉบับใหม่ได้มีการแก้ไขในหลายประเด็น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมก่อนที่จะเปิดเสรีธุรกิจประกันในปี 2563

สำหรับประเด็นที่มีการแก้ไขทั้งในร่าง พ.ร.บ.ประกันชีวิต และพ.ร.บ.ประกันวินาศภัย คือ สถานะของเงินกองทุนของบริษัท จากเดิมกำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยต้องดำรงเงินกองทุนไม่น้อยกว่า 10% ของเบี้ยประกันภัยสุทธิของปีก่อนหน้า แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท ส่วนพ.ร.บ.ประกันชีวิต ต้องดำรงเงินกองทุนไม่น้อยกว่า 2% ของเบี้ยประกัน แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท เปลี่ยนเป็นการดำรงเงินกองทุนตามขนาดและประเภทของความเสี่ยงของธุรกิจ เพื่อให้เงินกองทุนของบริษัทสอดคล้องกับสถานะของกิจการมากที่สุด โดย คปภ. จะเป็นผู้วิเคราะห์และกำหนดการดำรงเงินกองทุนให้กับธุรกิจประกัน

นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสำนักงาน คปภ. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่อยู่ในการดูแลของกระทรวงการคลัง โดยมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน คปภ. , เลขาธิการสำนักงาน คปภ. เป็นกรรมการและเลขานุการ นอกจากนี้ยังมีปลัดกระทรวงพาณิชย์ , เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) , ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) , เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ อีก 6 8 คน โดย คปภ. จะมีอำนาจในการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการกำกับดูแลและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย รวมทั้งยังสามารถเสนอความเห็นเกี่ยวกับสำคัญ เช่น การออกหรือเพิกถอนใบอนุญาต การออกกฎกระทรวง รวมถึงการอนุมัติแผนงานและงบประมาณของสำนักงาน คปภ. ได้ด้วย

ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ของธุรกิจประกันนั้น ก็มีประกาศกระทรวงเรื่องการลงทุนคอยดูแลเรื่องการลงทุนของธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย โดยประกาศกระทรวงอนุญาตให้ธุรกิจประกันสามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยง เช่น พันธบัตรรัฐบาล และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เช่น การให้กู้ยืม และการลงทุนในตลาดทุน จะมีการกำหนดเกณฑ์การลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงด้านการลงทุนให้กับบริษัทประกัน

นส.ชำเลืองเชื่อว่า การแก้ไขกฎหมายครั้งนี้จะไม่กระทบต่อบริษัทประกัน เพราะมีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้านานนับปี อย่างไรก็ตามถ้าบริษัทประกันใดคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากกฎหมายฉบับนี้ ก็อาจจะต้องรวมตัวกัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ ส่วน คปภ. ก็จะติดต่อกระทรวงการคลังให้ช่วยเหลือในด้านภาษีแก่บริษัทที่รวมตัวกันด้วย เพื่อให้บริษัทมีความเข้มแข็ง และสามารถดำรงเงินกองทุนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้

นส.ชำเลืองบอกว่า กฎหมายประกันฉบับใหม่ยังเป็นประโยชน์ต่อประชาชนด้วย เพราะนอกจากประชาชนจะได้รับความเป็นธรรมในการรับเบี้ยประกันแล้ว กฎหมายยังกำหนดให้จัดตั้งกองทุนคุ้มครองผู้เอาประกันภัยขึ้นมา ซึ่งถ้าหากบริษัทประกันใดบริหารงานผิดพลาดจนต้องถูกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการ ทางกองทุนฯ จะเป็นผู้จ่ายค่าสินไหมให้กับผู้เอาประกันรายละไม่เกิน 1 ล้านบาท นอกจากนี้กฎหมายยังกำหนดให้ผู้ทำประกันจะต้องทราบเงื่อนไขก่อนซื้อกรมธรรม์ ส่วนบริษัทประกันจะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวแทนไปก่อความเสียหายให้แก่ประชาชน รวมทั้งบริษัทประกันจะต้องเปิดเผยฐานะการเงินให้ประชาชนรับทราบ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจให้กับประชาชนด้วย

นายณัฐดนัย อินทรสุขศรี อุปนายกสมาคมประกันวินาศภัย เชื่อว่า การแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ จะทำให้ภาพรวมของธุรกิจประกันดีขึ้น อย่างไรก็ตามความเข้มงวดของกฎหมายใหม่ก็ทำให้บริษัทขนาดกลางและเล็กต้องหาวิธีให้บริษัทอยู่รอด โดยบริษัทใดที่มีเงินทุนมากพอ ก็ต้องเพิ่มทุน เพื่อดำรงเงินกองทุนให้เพิ่มสูงขึ้น แต่ถ้าบริษัทใดมีเงินทุนไม่มากพอ ก็ต้องหาพันธมิตรมาร่วมทุน หรือควบรวมกิจการ และถ้าไม่สามารถหาพันธมิตรมาร่วมทุนหรือควบรวมกิจการได้ ก็อาจจะต้องขายกิจการออกไป

นอกจากนี้บริษัทประกันขนาดกลางและขนาดเล็กก็อาจจะร่วมกันเปิดบริษัท Back Office เพื่อลดต้นทุนด้านการบริหารจัดการในระบบปฏิบัติการ เพราะปัจจุบันบริษัทขนาดเล็กมีต้นทุนมากกว่าบริษัทขนาดใหญ่ถึง 30%

นายณัฐดนัยเชื่อว่า กฎหมายประกันฉบับใหม่จะทำให้บริษัทประกันมีการกำกับดูแลที่ดี โปร่งใส และมีความมั่นคง ขณะที่ตัวแทนขายประกันก็จะมีคุณภาพ และในอนาคตธุรกิจประกันก็จะมีความแข็งแกร่งและตอบสนองความต้องการของสังคมได้มากขึ้นด้วย

ปัจจุบันบริษัทประกันวินาศภัยมีทั้งหมด 72 บริษัท ซึ่งถ้าแบ่งตามเบี้ยประกันรวมจะมีบริษัทขนาดใหญ่ 10% ของบริษัทประกันวินาศภัยทั้งหมด บริษัทขนาดกลาง 30% และบริษัทขนาดเล็ก 60% โดยปี 2549 ธุรกิจประกันวินาศภัยมีเบี้ยประกันรวม 95,000 ล้านบาท ส่วนปี 2550 คาดว่าจะมีเบี้ยประกันรวม 100,700 ล้านบาท
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Har ... fault.aspx

news06/12/07

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 06, 2007 12:44 pm
โดย chartchai madman
เบี้ยประกันพรบ.พุ่งหมื่นล.

โพสต์ทูเดย์ บริษัท กลางฯ คาดสิ้นปีมีรถทำประกัน พ.ร.บ. ทั้งระบบ 18 ล้านคัน เบี้ยทะลุ 1 หมื่นล้านบาท


นายสมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กล่าวว่า คาดว่าสิ้นปี 2550 นี้จะมีรถที่ทำประกันภัยภาคบังคับหรือประกันภัย พ.ร.บ.ทั้งสิ้น 18 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 7-8% จากปี 2549 คิดเป็นเบี้ยประกันประมาณ 1 หมื่นล้านบาท แยกเป็นรถจักรยานยนต์ 12 ล้านคัน คิดเป็นเบี้ยประกัน 2.3 พันล้านบาท เนื่องจากมีรถใหม่ที่เข้าสู่ท้องตลาด และรถที่ไม่เคยทำประกัน พ.ร.บ. ได้เข้ามาซื้อประกัน พ.ร.บ.

สำหรับค่าสินไหมทดแทนทั้งระบบคาดว่าจะต่ำกว่า 50% ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2549 แม้ว่าความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุในเดือนแรกที่ทำประกันลดลงจาก 12% เหลือ 10% แต่เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยสูงขึ้นจากครั้งละ 8.6 พันบาทต่อราย ในปี 2549 เพิ่มเป็น 9.5 พันบาทต่อราย และประชาชนมีการใช้สิทธิ พ.ร.บ.มากขึ้น รวมถึงโรงพยาบาลของรัฐมีการเรียกเก็บค่าแพทย์จากเดิมที่ไม่เรียกเก็บ

ทั้งนี้ จักรยานยนต์เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ค่าสินไหมจะอยู่ประมาณ 92% ในปีนี้ ลดลงจากปี 2549 ซึ่งอยู่ที่ 97% โดยเสียชีวิตปีละ 1.3-1.4 หมื่นราย เป็นผลมาจากทุกหน่วยงานช่วยกันรณรงค์เรื่องขับขี่ปลอดภัยร่วมใส่หมวกนิรภัย ส่วนประกันรถเก๋ง รถกระบะ รถบรรทุก รวมกันประมาณ 7.2 ล้านคัน ค่าสินไหมทดแทนต่ำอยู่ที่ 30% และเป็นกลุ่มที่เสียชีวิตมากที่สุดคิดเป็น 75% ของผู้ที่มีประกัน พ.ร.บ.

นายสมพร กล่าวว่า ประเภทของรถที่สามารถลดราคาเบี้ยประกัน พ.ร.บ.ได้น่าจะเป็นกลุ่มรถเก๋ง รถ กระบะ และรถบรรทุก ส่วนรถจักรยานยนต์คงลดลงไม่ได้ และระดับที่มีความเป็นได้หลังจากบวกอัตราเงินเฟ้อและค่ารักษาพยาบาลที่จะเพิ่มสูงขึ้น น่าจะอยู่ประมาณ 10-15% ของราคาที่ขายอยู่ในปัจจุบัน

เบี้ยประกัน พ.ร.บ. 80% อยู่กับบริษัทประกันภัยที่รับประกันรถยนต์ 10 อันดับแรก ซึ่งกลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบจากการที่เบี้ยประกัน พ.ร.บ.หายไปประมาณ 1-1.5 พันล้านบาท แต่เป็นระดับตัวเลขที่ผมมองว่ามีความเป็นไปได้ ส่วนตัวเลขข้อเท็จจริงต้องรอคณะทำงานเขาสรุป นายสมพร กล่าว

นายสมพร กล่าวว่า การบริการจ่ายค่าสินไหมทดแทนลูกค้าประกัน พ.ร.บ.มีการพัฒนาที่ดีขึ้นมาก โดยมีโรงพยาบาลที่เข้าเซ็นสัญญากับบริษัท กลางฯ รวมทั้งสิ้น 1,109 แห่ง ทำให้ลูกค้าของบริษัท กลางฯ ไม่ต้องสำรองจ่ายเงินออกไปก่อนมีมากถึง 90% และบริษัทได้รับการว่าจ้างให้ดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ลูกค้าของบริษัทประกันภัย 8 แห่ง ประกอบด้วย บริษัท ส่งเสริมประกันภัย บริษัท เอราวัณประกันภัย บริษัท ไทยประกันภัย บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย บริษัท แอ็ดวานซ์อินชัวรันซ์ประกันภัย และบริษัท เทเวศประกันภัย โดยลูกค้าประกัน พ.ร.บ.ทั้ง 8 บริษัท สามารถยื่นเรื่องเพื่อขอรับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัท กลางฯ ได้ทั่วประเทศ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=207495

news06/12/07

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 06, 2007 9:02 pm
โดย chartchai madman
"แอกซ่า"งัดไม้เด็ดกวาดฮอนด้า "กรุงเทพ"โวยบ.ต่างชาติแย่งลูกค้า

กรุงเทพประกันภัยกระอัก ถูกต่างชาติดูดลูกค้า ล่าสุดเบี้ยประกันภัยรถยนต์ตกฮวบ โตโยต้าลดจาก 450 ล้านบาท เหลือ 150 ล้านบาท ฮอนด้าลดจาก 750 ล้านบาท เหลือ 250 ล้านบาท "ชัย" ปลอบใจไม่กระทบรายได้บริษัทเพราะมีรายได้จากการบริหารเงินลงทุนมาเสริม ด้านแอกซ่าฯ แจงละเอียดที่มาของการเข้าเป็นบริษัทประกันในเครือข่ายฮอนด้า ทุ่มงบฯดูแลบริการหลังการขายแทนบริษัทรถยนต์ ยืนยันบริษัทไม่มีนโยบายแข่งลดเบี้ยหรือเพิ่มค่าคอมมิสชั่น

นายชัย โสภณพนิช ประธานกรรมการและ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงสภาพการแข่งขันของธุรกิจประกันภัยรถยนต์ว่า ขณะนี้มีบริษัทประกันภัยต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจประกันภัยรถยนต์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทประกันภัยจากประเทศญี่ปุ่น อาทิ บริษัทไอโออิ ประกันภัย, บริษัทศรีเมืองประกันภัย, บริษัทแอกซ่า ประกันภัย และบริษัทมิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ เป็นต้น เนื่องจากทางบริษัทประกันภัยของประเทศญี่ปุ่นมองว่าตลาดรถยนต์ในประเทศไทยเป็นตลาดที่ใหญ่จึงต้องการขยายส่วนแบ่งทางการตลาดให้ได้มากที่สุด ซึ่งก็ยอมรับว่าได้รับผลกระทบบ้าง

ในช่วงปีที่ผ่านมาทางบริษัทกรุงเทพประกันภัยได้รับเบี้ยประกันภัยจากลูกค้าของบริษัทโตโยต้า ปีละประมาณ 450 ล้านบาท ปัจจุบันเหลือ 150 ล้านบาท ส่วนรถยนต์ฮอนด้าในอดีตเคยรับเบี้ยประกันภัยประมาณ 750 ล้านบาท ล่าสุดเหลือแค่ 250 ล้านบาทเท่านั้น โดยลูกค้าของบริษัทโตโยต้าส่วนหนึ่งจะย้ายไปทำประกันกับบริษัทไอโออิ ประกันภัย ส่วนลูกค้าของฮอนด้าก็จะย้ายไปทำประกันภัยกับบริษัทแอกซ่า ประกันภัย และบริษัทศรีเมืองประกันภัย

"สรุปผลประกอบการในปีนี้มีเบี้ยประกันภัย รับโดยรวมแล้วเท่าเดิม คือเบี้ยไม่เพิ่มแต่ก็มีกำไรจากการบริหารเงินลงทุนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติเพราะธุรกิจประกันภัยทั่วโลกส่วนใหญ่ก็จะมีรายได้จากการบริหารเงินลงทุนมากกว่ารายได้จากเบี้ยประกัน เพราะถ้าไปรับประกันภัยมากจนเกินไปก็อาจจะมีความเสี่ยงต่อการขาดทุนได้" นายชัยกล่าว

นายชัยกล่าวต่อไปอีกว่า ปกติในการทำธุรกิจประกันภัยรถยนต์จะมีอัตราความเสียหาย (loss ratio) สูงมากอยู่ที่ประมาณ 70-80% ของเบี้ยประกันภัยรับ แต่ธุรกิจประกันวินาศภัยประเภทอื่นๆ จะมีอัตราลอสเรโชต่ำมาก ดังนั้นเมื่อบริษัทประกันภัยต่างชาติเข้ามาดูดลูกค้าของบริษัทกรุงเทพประกันภัยไปได้ประมาณ 3 เดือนในที่สุดก็ต้องปรับขึ้นเบี้ยประกันภัยเพราะแบกรับภาระขาดทุนไม่ไหว ปัจจุบันบริษัทกรุงเทพประกันภัยมีอัตราความเสียหายประมาณ 56-57% ของเบี้ยประกันภัยรับทั้งหมด แต่ถ้าเป็นประกันภัยรถยนต์จะมีอัตราความเสียหายอยู่ที่ 70% ของเบี้ยประกันภัยรับ เช่นเดียวกับบริษัทประกันภัยอื่นๆ

ด้านนายกี่เดช อนันต์ศิริประภา กรรมการ ผู้อำนวยการ บริษัท แอกซ่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวชี้แจงกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในอดีตที่ผ่านมาทางบริษัท ฮอนด้าจะใช้บริการบริษัทประกันภัยในเครือข่ายอยู่ประมาณ 4 บริษัท ได้แก่ บริษัทไอโออิ ประกันภัย, บริษัทสมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย), บริษัทมิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์และบริษัทกรุงเทพประกันภัย ซึ่งตอนนั้นบริษัทแอกซ่าฯยังไม่ได้เข้าไปเป็นเครือข่ายของฮอนด้า ต่อมาทางบริษัทได้คิดค้นบริการใหม่ๆ เพื่อไปเสนอกับผู้บริหารของบริษัทฮอนด้า โดยบริษัทแอกซ่าฯจะรับเป็นผู้ดูแลและให้บริการลูกค้าที่บริษัทฮอนด้าส่งมาทำประกันภัยกับบริษัทแอกซ่าฯ ตลอด 24 ชั่วโมง เช่น บริการเปลี่ยนยาง แบตเตอรี่เสีย ลากรถเข้าอู่ซ่อมรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดนี้ทางบริษัทแอกซ่าฯจะเป็นผู้รับผิดชอบเอง

"นี่คือจุดที่เราแตกต่างจากบริษัทประกันภัยอื่นๆ เราจะไม่แข่งขันลดเบี้ยประกัน หรือเพิ่มค่าคอมมิสชั่นให้กับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ เพราะสุดท้ายแล้วก็ไปไม่รอด บริษัทแอกซ่าฯไม่แข่งให้ค่าคอมมิสชั่นเพื่อให้ได้ลูกค้าเข้ามาเป็นปริมาณที่มาก แต่เราแข่งเรื่องการเคลมและเน้นคุณภาพบริการมากกว่า"

นายกี่เดชกล่าวต่อไปอีกว่า ในช่วงแรกทางฮอนด้าได้ส่งลูกค้าที่ซื้อรถยนต์ฮอนด้า รุ่น ซีอาร์-วีมาทำประกันภัยกับแอกซ่า ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้มีความเสี่ยงในเรื่องของลอสเรโช จากนั้นทางบริษัท ฮอนด้าฯเห็นว่าแอกซ่าบริการดีจึงได้ทยอยส่งลูกค้าที่ซื้อรถยนต์ฮอนด้าทุกรุ่นแบ่งมาทำประกันกับบริษัทแอกซ่าฯ ทำให้อัตราลอสเรโชของบริษัทค่อยเพิ่มสูงขึ้นจนปัจจุบันมาอยู่ที่ 70% เพราะพฤติกรรมของลูกค้าที่ขับรถยนต์ฮอนด้ารุ่นอื่นๆ นอกเหนือจากลูกค้าที่ขับรุ่นซีอาร์-วีจะมีพฤติกรรมที่ค่อนข้างหวือหวากว่า จึงมีความเสี่ยงสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนของบริษัทแอกซ่าฯเพิ่มตาม และเมื่อนำไปรวมกับต้นทุนในการดูแลลูกค้าหลังการขายแทนบริษัทรถยนต์ ทางบริษัทจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นเบี้ยประกันภัย ซึ่งต่อมาทางบริษัทกรุงเทพประกันภัยก็ปรับขึ้นเบี้ยประกันภัยตามมาติดๆ แต่ถึงอย่างไรก็ตามทางบริษัทแอกซ่าฯมีโปรโมชั่นพิเศษให้กับลูกค้าโดยการมอบบัตรเติมน้ำมันหรือคูปองทางด่วนให้กับลูกค้าที่ซื้อกรมธรรม์กับบริษัท แอกซ่าฯ
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0206

news10/12/07

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 10, 2007 12:44 pm
โดย chartchai madman
ประกันภัยหาทางตีกันสปสช.ฮุบกองทุนพรบ.

โพสต์ทูเดย์ สมาคมประกันวินาศภัยตั้งคณะทำงานศึกษาเบิกจ่ายค่าสินไหมประกัน พ.ร.บ. หวังปัดกองทุน พ.ร.บ.พ้นมือ สปสช.


นายสมพร สืบถวิลกุล หนึ่งในคณะทำงานการศึกษาระบบประกันภัยภาคบังคับ สมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า ขณะนี้สมาคมได้จัดตั้งคณะกรรมการ 3 ชุด เพื่อศึกษาระบบการประกันภัยภาคบังคับ หรือประกัน พ.ร.บ. โดยชุดที่ 1 จะศึกษาข้ออ้างของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ว่าบริษัทประกันภัยมีกำไรมากถึง 18% ต่อปี เนื่องจากผู้ประสบภัยจากรถมีการเข้าไปใช้ระบบประกันสุขภาพทั่วหน้า ทำให้ สปสช.ต้องจ่ายค่ารักษาให้กลุ่มคนเหล่านี้ปีละกว่า 300 ล้านบาท

สำหรับกรรมการชุดที่ 2 จะศึกษาโครงสร้างระบบการบริหารจัดการประกันภัย พ.ร.บ.ของธุรกิจประกันวินาศภัยว่ามีปัญหาอะไรที่ต้องแก้ไข

กรรมการชุดที่ 3 จะศึกษาระบบประกันภัยภาคบังคับของประเทศต่างๆ ที่มีสวัสดิการดูแลประชาชน ซึ่งเบื้องต้นพบว่าประเทศในยุโรป มีสวัสดิการที่ดูแลประชาชนที่ดี มาก แต่รัฐก็ยังปล่อยให้ประกันภัยภาคบังคับ หรือประกัน พ.ร.บ. อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของภาคเอกชน

นายสมพร กล่าวว่า ปัจจุบันลูกค้าประกัน พ.ร.บ. ถูกจัดเป็นลูกค้าชั้น 1 ของโรงพยาบาล ได้รับการดูแลอย่างดี หากประสบอุบัติเหตุจะได้รับบริการนอนห้องพิเศษ หรือเพียงแต่ประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ล้ม หากไม่มีบาดแผลแพทย์จะแนะนำให้นอนโรงพยาบาลเพื่อรอดูอาการในวันรุ่งขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อประชาชน

โรงพยาบาลเขารู้ว่าสามารถเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยได้เบื้องต้น 1.5 หมื่นบาท แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยในโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า แม้จะได้งบค่ารักษาพยาบาลหัวละ 1.8 พันบาท แต่หลังจาก สปสช.หักค่าใช้จ่ายต่างๆ หมดแล้ว ทางโรงพยาบาลจะได้ค่ารักษาต่ำกว่าลูกค้าประกัน พ.ร.บ.ที่ ทำหน้าที่เพียงแสวงหางบประมาณอย่างเดียว นายสมพร กล่าว

ทั้งนี้ สปสช.พยายามเสนอให้ภาครัฐดึงระบบประกันภัยภาคบังคับไปบริหารจัดการเองมาตลอด 3 ปี เนื่องจากเป็นประกันที่กฎหมายบังคับให้ทุกคนต้องทำประกันภัย ทำให้ภาคธุรกิจมีกำไรสูง หากรัฐนำมาบริหารเองจะลดเบี้ยประกันภัยให้ประชาชนได้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=208141

news11/12/07

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 11, 2007 2:05 pm
โดย chartchai madman
ประกันชีวิตรุ่ง ลูกค้าใหม่เพิ่ม เบี้ย4.2หมื่นล.

โพสต์ทูเดย์ คาดสิ้นปี 2550 เบี้ยลูกค้ารายใหม่แตะ 4.26 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 31%


สมาคมประกันชีวิตไทย คาดว่าธุรกิจประกันชีวิตไทยปี 2550 จะมีเบี้ยประกันชีวิตรายใหม่ของธุรกิจจะสูงถึง 42,691 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป 141,731 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% เบี้ยประกันชีวิตประเภทชำระครั้งเดียว คาดว่าจะมียอดถึง 18,422 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 123% ส่งผลให้เบี้ยประกันชีวิตทั้งระบบ ในสิ้นปี 2550 จะมีจำนวนถึง 202,844 ล้านบาท และจะมีจำนวนกรมธรรม์ประกันชีวิตรายใหม่เกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 2,100,000 กรมธรรม์

ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี มีอัตราเติบโตของเบี้ยประกันชีวิตรายใหม่สูงถึง 31% นับว่าเป็นการเติบโตสูงที่สุดในรอบ 10 ปี

สมาคมประกันชีวิตไทย ระบุว่า การเติบโตของเบี้ยประกันชีวิตเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจปี 2550 อยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นจากปีก่อน ซึ่งดูจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีการเติบโตอยู่ที่ระดับ 5% เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่เติบโต 4.5% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินมีแนวโน้มลดลง อัตราดอกเบี้ยระยะปานกลางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น แต่จะอยู่ในระยะเวลาอันสั้นเพื่อรอการปรับตัวอีกครั้งเมื่อการเมืองคลี่คลายภายหลังการเลือกตั้งปลายปี

ด้าน บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) ได้ออกกรมธรรม์เจนแคช 6 มาทำตลาดช่วงปลายปี เป็นแบบชำระเบี้ยประกันภัยเพียง 6 ปี ระยะเวลาคุ้มครอง 12 ปี

กรมธรรม์ดังกล่าวลูกค้าจะได้รับความคุ้มครองการเสียชีวิตระหว่างปีที่ 1 ถึงปีที่ 4 จำนวน 100% ของทุนประกันภัย และเพิ่มขึ้นเป็น 150% ของทุนประกันภัย ตั้งแต่ปีที่ 5 ถึงปีที่ 12 พร้อมทั้งรับเงิน 7% ของทุนประกันภัยทุกปี ตั้งแต่สิ้นปี ที่ 1 ถึงสิ้นปีที่ 11 และเมื่อครบปี ที่ 12 จะได้รับเงิน100 % ของทุนประกันภัย และเงินปันผลตามผลประกอบการของบริษัท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=208273

news13/12/07

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 13, 2007 2:28 pm
โดย chartchai madman
สัมพันธ์ฯดิ้น แปลงหนี้อู่ซ่อม เป็นหุ้นบริษัท

โพสต์ทูเดย์ จันทรา เผยปัญหาการเงินสัมพันธ์ฯ ยังไม่ยุติ บริษัท เล็งใช้หนี้ 304 ล้าน เป็นหุ้น


นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า ผู้บริหารบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย ได้แจ้งให้ คปภ.ทราบว่า ขณะนี้บริษัทได้ตกลงกับอู่ซ่อมรถยนต์และร้านขายอะไหล่ว่าจะแปลงหนี้สินที่มีอยู่ 304 ล้านบาท เป็นทุนหรือหุ้นในบริษัท และหนี้สินไหมที่มีอยู่กับลูกค้าก็จ่ายคืนจนเหลือไม่ถึง 5% ของหนี้ทั้งหมดแล้ว ขณะเดียวกันก็คาดว่าจะได้ผู้ร่วมทุนใหม่ในเร็วๆ นี้ โดยอยู่ระหว่างขั้นตอนตรวจสอบทรัพย์สินและตกลงเรื่องราคาหุ้นระหว่างกัน คาดว่าจะได้ข้อสรุปในสัปดาห์หน้า

สำหรับบริษัท ธนสินประกันภัย จะมีการใส่เงินกองทุนให้ครบตามกำหนดในเดือน ธ.ค. นี้ ส่วนบริษัท แอดวานซ์ อินชัวรันส์ ก็มีนักลงทุนจากญี่ปุ่นสนใจเข้ามาร่วมลงทุน และอยู่ระหว่างขั้นตอนตรวจสอบทรัพย์สินเช่นกัน

นางจันทรา กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการแก้ไขกฎระเบียบใหม่ให้บริษัท สหประกันชีวิต มีผู้ถือหุ้นอื่นที่ไม่ใช่สหกรณ์เข้าร่วมประชุมได้ เพื่อเปิดโอกาสให้กับนักลงทุนที่สนใจเข้ามาร่วมทุนได้ ซึ่งขณะนี้มีนักลงทุนอยู่ 2 ราย ที่อยู่ระหว่างเจรจากับบริษัท เนื่องจากที่ผ่านมาได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเดิมอย่างสหกรณ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ

ขณะที่บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต ที่มีปัญหาเรื่องเงินกองทุนติดลบก็ได้มีการประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว และอยู่ระหว่างตกลงเรื่องราคาหุ้นกับนักลงทุนรายใหม่ รวมถึงขั้นตอนการโอนเงินจากต่างประเทศเข้ามาซื้อหุ้น

ตอนนี้เราใช้ระบบตรวจสอบแนวใหม่จากญี่ปุ่นมาวิเคราะห์ตรวจสอบฐานะการเงินประจำเดือนของแต่ละบริษัทประกัน ซึ่งต่อไปถ้าบริษัทไหนขาดส่งรายงาน 3 ครั้ง คปภ.จะสั่งให้บริษัทนั้นหยุดขายชั่วคราวทันที นางจันทรา กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=208714

news17/12/07

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 17, 2007 9:18 pm
โดย chartchai madman
ประกันพืชผลส่อแววรุ่งแน่ขยายพื้นที่อีก

โพสต์ทูเดย์ เล็งขยายพื้นที่ประกันพืชผลไปลพบุรี หลังประสบความสำเร็จโครงการนำร่องที่โคราช


นายถนัด จีรไชยไพศาล ประธานคณะอนุกรรมการประกันภัยเบ็ดเตล็ด สมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า สมาคมประกันวินาศภัย กำลังพิจารณาขยายพื้นที่โครงการประกันพืชผลจากภัยแล้ง ที่ใช้ดัชนีน้ำฝนเป็นตัววัด ไปยังพื้นที่ อ.ชัยบาดาล และ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ในปีหน้า หลังจากที่โครงการนำร่อง ซึ่งให้ความคุ้มครองข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่หมดอายุไปเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด และผลผลิตของเกษตรกรที่ทำประกันไว้ไม่ได้รับความเสียหาย

สำหรับโครงการดังกล่าว เกิดจากความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) สมาคมประกันวินาศภัย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งถือได้ว่าเป็นเป็นทางเลือกใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติของเกษตรกร และเป็นครั้งแรกในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนี้ ทางคณะอนุกรรม การฯ อยู่ระหว่างเตรียมข้อมูล เพื่อพิจารณาออกแบบกรมธรรม์มาตร ฐาน เพื่อรองรับกฎหมายความรับผิด ชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หากมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เนื่องจากแบบประกันความรับผิดชอบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ใช้ได้เป็นบางกรณีเท่านั้น

ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ จำเป็นต้องเอากรมธรรม์จากสหรัฐ หรือยุโรปมาพิจารณา เพราะถือว่ามีความเชี่ยวชาญด้านประกันประเภทนี้มากกว่า ซึ่งก่อนหน้านี้แบบประกันมาตรฐานเกี่ยวกับความรับผิดชอบตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง ก็ได้มีผลบังคับใช้ไปแล้ว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=209396

news20/12/07

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 20, 2007 8:32 pm
โดย chartchai madman
ธุรกิจประกันปีหน้าขยายตัว 8% - ข่าว 18.00 น.
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Thursday, December 20, 2007
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) บอกว่า แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจประกันภัยในปีหน้าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะชะลอตัว เนื่องจากประชาชนต่างหันมาตระหนักในการประกันภัยป้องกันความเสี่ยงมากขึ้น โดยคาดว่าเบี้ยประกันภัยรวมทั้งระบบจะมีการขยายตัวประมาณ 8% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 312,669 ล้านบาท แบ่งเป็นธุรกิจประกันชีวิต ขยายตัวประมาณ 7% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 199,700 ล้านบาท และธุรกิจประกันวินาศภัย ขยายตัวประมาณ 8% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 112,969 ล้านบาท

ทั้งนี้ คปภ.ตั้งเป้าที่จะผลักดันให้เบี้ยประกันภัยต่ออัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจให้มีสัดส่วน 3.55% จากปีนี้ที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 3.45% ส่วนอัตราการขยายตัวของจำนวนกรมธรรม์ประกันภัย คาดว่าจะขยายตัวประมาณ 12% หรือคิดเป็นจำนวน 51.25 ล้านฉบับ เพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่มีจำนวนกรมธรรม์ประกันภัย 45.7 ล้านฉบับ แบ่งเป็นธุรกิจประกันชีวิตจำนวน 33.75 ล้านฉบับ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 9% จากปีนี้ที่มีจำนวน 31 ล้านฉบับ และธุรกิจประกันวินาศภัยจำนวน 17.50 ล้านฉบับ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 12.5% เพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่มีจำนวน 15.56 ล้านฉบับ

สำหรับแผนยุทธศาสตร์ประกันภัยปีหน้า คปภ. มีแผนที่จะเร่งสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจประกันภัยด้านการสนับสนุนให้บริษัทส่งออกและบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ทำประกันภัยกับบริษัทภายในประเทศ เพื่อจ่ายเบี้ยเป็นเงินบาทแทน และจัดทำระบบการกำกับดูแลฐานะทางการเงินบริษัทให้มีประสิทธิภาพ โดยจะมีการจัดทำระบบการเตือนภัยล่วงหน้าของสำหรับบริษัทประกันภัยที่มีจะมีปัญหาทางการเงิน เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาการหยุดดำเนินกิจการ

ขณะที่นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย บอกว่า แนวโน้มการทำประกันชีวิตของประชาชนในปัจจุบัน มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากประชาชนมีความรู้และเข้าใจประโยชน์ของการทำประกันชีวิตมากขึ้น ประกอบกับปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ทำประกันชีวิตในทุกกลุ่ม ทั้งผู้มีรายได้สูง กลาง และต่ำ มีกรมธรรม์ประเภทที่ครอบคลุมทั้งการออมทรัพย์ การลงทุน จากเดิมที่จะเป็นเพียงกรมธรรม์เพื่อการประกันชีวิตเพียงอย่างเดียว รวมถึงมีช่องทางการขายที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งในรูปแบบของอินเตอร์เน็ต และโทรทัศน์ เป็นต้น

ด้านนายสุจินต์ หวั่งหลี นายกสมาคมประกันวินาศภัย บอกว่า แนวโน้มการทำประกันวินาศภัยในปีหน้าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี 20 ซึ่งจะทำให้มีการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้น และการซื้อประกันก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจะมีความไม่แน่นอนก็ตาม โดยคาดว่าในปีหน้าการขยายตัวของมูลค่ากรมธรรม์ประกันวินาศภัยจะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 10% ของมูลค่าประกันวินาศภัยทั้งหมด

ทั้งนี้ ในวันพรุ่งนี้จะมีการลงนามความร่วมมือระหว่าง คปภ.กับสมาคมประกันภัยต่าง ๆ เพื่อพัฒนาระบบประกันภัยอย่างครบวงจร  
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx

news28/12/07

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 28, 2007 1:29 pm
โดย chartchai madman
ขึ้นเบี้ยประกันรถ!!! ซิตี้คาร์โดนก่อน
โดย - ฉัตรชัย ธนจินดาเลิศ

ขณะที่ประชาชนคนไทยกำลังรอให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศ แต่ดูเหมือนว่าราคาสินค้าต่างๆ จะไม่ยอมหยุดรอรัฐบาลใหม่


ทั้งนี้ จากผลพวงต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งมีทั้งปัจจัยภายใน และภายนอก อย่างราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ไม่เพียงแต่ทำให้สินค้าอุปโภคบริโภคหลายรายการต้องประกาศปรับราคาสินค้าของตัวเองต้อนรับปีใหม่ 2551 แต่ยังส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่มาถึงธุรกิจประกันภัยรถยนต์ ทำให้ต้นทุนการดำเนินงาน โดยเฉพาะการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับลูกค้า ที่บริษัทประกันแต่ละแห่งต้องจ่ายสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นผลมาจากค่าแรงงานตามอู่ซ่อมรถ ค่าอะไหล่ หรือค่าสีที่ปรับตัวสูงขึ้น หากยังปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไปโดยไม่ทำอะไรเลย ก็เชื่อว่าอาจทำให้บริษัทประกันแต่ละแห่งขาดทุนจากการรับประกันรถยนต์เพิ่มขึ้น และส่งผลให้กำไรโดยรวมลดลง


ดังนั้น เมื่อต้นทุนต่างๆ เพิ่มขึ้นมา โอกาสที่จะลดลงก็คงจะยากพอๆ กับการงมเข็มในมหาสมุทร จึงทำให้บริษัทประกันภัยเกือบทุกแห่ง ต้องประกาศปรับขึ้นเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หรือประกันชั้น 1 ขึ้นไปอีก 10-20% ตามต้นทุนที่แบกรับไว้อย่างพร้อมเพรียงกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ทำประกันรถยนต์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าก่อนหน้านี้ ในแต่ละปีผู้ทำประกันอาจได้รับส่วนลดจากการขับขี่ที่มีประวัติดี 10-50%

ในปี 2551 หรือบางคนอาจได้รับผลกระทบมาแล้วตั้งแต่ช่วงปลายปี 2550 ส่วนลดประวัติดีดังกล่าว อาจจะไม่มีผลทำให้เบี้ยประกันรถยนต์ที่ต่ออายุปรับลดลงแต่อย่างใด เนื่องจากตัวเลขฐานที่ใช้คำนวณคิดค่าเบี้ยประกันได้ปรับเพิ่มขึ้นไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม รถยนต์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในการปรับเบี้ยประกัน ก็คงเป็นรถยนต์ขนาดเล็ก หรือซิตีคาร์ เพราะด้วยความที่ราคารถไม่สูงมากนัก จึงเป็นที่หมายปองของผู้ที่ต้องการมีรถป้ายแดงเป็นคันแรกในชีวิต ด้วยการ ขับขี่ที่ยังไม่ชำนาญพอ ทำให้การเกิดอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าสินไหมทดแทนที่แต่ละบริษัทประกันต้องจ่ายออกไปสูงเกินกว่า 100% รถซิตีคาร์ จึงเป็นเป้าหมายแรกของการปรับขึ้นเบี้ยประกันในครั้งนี้

นอกจากการประกาศปรับขึ้นเบี้ยประกันอย่างพร้อมเพรียงกันแล้ว สมาคมวินาศภัยยังได้เดินหน้าเจรจากับบริษัทสมาชิก เพื่อขอความร่วมมือให้เลิกการตัดราคาเบี้ยประกันแข่งขันกัน ซึ่งจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน หรือได้รับความร่วมมือจากสมาชิกมากน้อยเพียงใด ก็ต้องคอยติดตามกันต่อไป เพราะคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ก็ยังทำอะไรไม่ได้ ต้องปล่อยให้เป็นไปตามการแข่งขัน และกลไกการตลาด ตราบใดที่ราคาเบี้ยประกันที่ปรับขึ้นไป ยังอยู่ในกรอบเพดานที่ทาง คปภ.กำหนดไว้

อย่างไรก็ตาม หากใครเห็นว่าค่าเบี้ยประกันที่ปรับเพิ่มขึ้นสูงเกินไป และไม่อยากแบกรับกับภาระที่เพิ่มขึ้น ก็ลองใช้วิธีลดเบี้ยประกันด้วยตัวเองดูก่อน โดยสามารถรวมตัวกับญาติสนิทมิตรสหายเป็นประกันภัยกลุ่ม เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับตัวเอง และเจรจาขอส่วนลดประกันภัยกลุ่มกับนายหน้า หรือบริษัทประกันได้บ้างไม่มากก็น้อย

ถ้าคิดว่าไม่อยากเสียเบี้ยประกันแพง เพื่อทำประกันชั้น 1 ก็ลองเปลี่ยนมาทำประกันชั้น 2 หรือชั้น 3 พิเศษ ซึ่งให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับประกันชั้น 1 โดยเฉพาะเงื่อนไขหลักที่ผู้ใช้รถส่วนใหญ่ต้องการ คือ การซ่อมรถของผู้ทำประกัน ซึ่งขณะนี้ก็มีขายกันเกือบทุกบริษัท และมีราคาถูกกว่าประกันชั้น 1 ประมาณ 50% เพียงแต่มีเงื่อนไขว่า จะซ่อมรถให้ผู้ทำประกันในกรณีที่รถของผู้ทำประกันเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น หากเป็นฝ่าย ผิด ต้องเสียค่าเสียหายส่วนแรกให้บริษัทประกันครั้งละ 2 พันบาท

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ทำประกันอยากเห็น และคงทำใจได้กับค่าเบี้ยประกันที่ปรับสูงขึ้น คงเป็นเรื่องของการบริการ ที่บริษัทประกันภัยควรจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นตามไปด้วย เพื่อให้ผู้ทำประกันได้เห็น และรู้สึกว่าเงินที่เสียเพิ่มขึ้นได้รับการบริการที่ดีกลับคืนมา ไม่ใช่เวลามีเรื่อง หรือมีอุบัติเหตุอะไรเกิดขึ้น ก็มัวแต่ประวิงเวลาการจ่ายค่าสินไหม รถที่ซ่อมออกมาจากอู่ก็ไม่ได้มาตรฐาน ซ่อมเสร็จแล้วนำรถออกมาใช้ได้ไม่ถึงอาทิตย์สีก็แตกลายงาเสียแล้ว

เชื่อว่าหากผู้ทำประกันยอมเสียเงินค่าเบี้ยเพิ่มขึ้น และได้รับบริการที่ดี ค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น คงไม่ทำให้ผู้ทำประกันรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบจากบริษัทประกัน เพียงแต่บริษัทประกันจะทำได้อย่างที่ลูกค้าหวังไว้หรือไม่ คงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า สิ่งที่ลูกค้าต้องจ่ายเพิ่ม คุ้มค่ากับเงินที่เสียไปหรือไม่ หรือเป็นเพียงการมัดมือชกเท่านั้น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=211472

news04/01/08

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 04, 2008 2:05 pm
โดย chartchai madman
ประกันแข่งเดือดสู้ศก.ตก

โพสต์ทูเดย์ สาระ ฟันธงปีชวดประกันชีวิตแข่งเดือด เบี้ยรับรวมไล่บี้ มาเลย์ สิงคโปร์ โอกาสแซงสูง เหตุประชากรมากกว่าหลายเท่า ขณะที่คนไทยซื้อต่ำแค่ 17%


นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า ปี 2551 ธุรกิจประกันชีวิตจะมีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น เพราะตลาดประกันชีวิตไทยมีศักยภาพเติบโตสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย ซึ่งปัจจุบันเบี้ยประกันรับของไทยอยู่อันดับ 3 รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย ขณะที่ประชากรมีมากกว่า และอัตราการมีประกันชีวิตต่ำกว่าทั้ง 2 ประเทศ โดยมีแค่ 17% เท่านั้น จึงมั่นใจว่าในอนาคตไทยจะเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตดีมาก

เชื่อว่าในอนาคตเราจะเป็นเจ้าใหญ่ในเอเชีย หากนับกันที่เบี้ยประกันรับรวม เพราะคนไทยเรียนรู้เร็ว และคนเริ่มหันมามองประกันชีวิตเป็นทางเลือกในการออมมากขึ้น นายสาระ กล่าว

นายสาระ กล่าวว่า การแข่งขันที่รุนแรงจะมาจากทุกช่องทางการจำหน่าย ทุกขนาดของบริษัท โดย บริษัทขนาดเล็กและกลางที่ทำตลาดแบบเงียบๆ แต่มีศักยภาพในการเติบโต พร้อมที่จะกลับมารุกขยายตลาดอย่างเต็มที่ในปี 2551

ขณะที่การขายประกันชีวิตผ่านธนาคาร จะมีผู้เล่นรายใหม่ที่มีความเข้มข้นมากขึ้น จากเดิมที่มีเพียงธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคาร กสิกรไทย จะมีธนาคารทหารไทย ที่น่าจับตามองหลังจากกลุ่มไอเอ็นจีเข้ามาถือหุ้น ส่วนธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ที่จะถูกตลาดกระตุ้นให้เกิดการเข้ามาสู่ธุรกิจการขายประกันชีวิตมากขึ้น ขณะที่ การขายผ่านตัวแทนซึ่งเป็นช่องทางหลัก จะมีการต่อสู้กันในตลาดอย่างเข้มข้น

การขายผ่านเครือข่ายต่างๆ จะมีการพัฒนามากขึ้น เพราะถ้าไม่ทำก็จะล้าสมัย และปี 2551 นวัตกรรมเกี่ยวกับสินค้าการลงทุนจะมีมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าประกันชีวิตสามัญ หรือออมทรัพย์จะหายไป กลุ่มนี้ยังคงอยู่ แต่จะมีแบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้น นายสาระ กล่าว

สำหรับในปีที่ผ่านมาธุรกิจประกันชีวิตยังมีการโฆษณาทางโทรทัศน์ วิทยุ และสื่ออื่นๆ รวมถึงจัดกิจกรรมการตลาดอย่างคึกคัก มากเป็นอันดับสองรองจากอุตสาหกรรมเหล้า เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ประชาชน

ทั้งนี้ คาดว่าเบี้ยประกันชีวิตรับรวมปีนี้จะเพิ่มขึ้น 10% หรือประมาณ 2.23 แสนล้านบาท จากเบี้ยรับรวมปี 2550 ที่คาดว่าจะมีประมาณ 2.02 แสนล้านบาท

นายสาระ กล่าวในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต ว่า สำหรับบริษัทแล้วในช่วง 11 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา มีเบี้ยประกันรับปีแรกสูงถึง 5,164 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 73% และมีเบี้ยประกันต่ออายุสูงถึง 7,230 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% คิดเป็นเบี้ยรับรวมประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท และคาดว่าเมื่อรวมยอดขายตลอดปีที่ผ่านมาแล้ว จะเติบโตสูงกว่าเป้าที่วางไว้และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของธุรกิจ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=212559

news09/01/08

โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 09, 2008 1:29 pm
โดย chartchai madman
แอกซ่าจุดพลุ เก็บเบี้ยต้นปี ทุกกลุ่มลูกค้า

โพสต์ทูเดย์ กรุงไทย-แอกซ่า เร่งเครื่องต้นปี คลอดประกันใหม่ 3 แบบจับทุกกลุ่มลูกค้า


น.ส.สายฝน สัจจศิลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายการตลาด บริษัท กรุงไทยแอกซ่า ประกันชีวิต กล่าวว่า บริษัทได้เปิดตัวแบบประกันใหม่ 3 แบบ โดยขายผ่านช่องทางตัวแทนและที่ปรึกษาวางแผนทางการเงินในสาขาของธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศเป็นหลัก

ทั้งนี้ คาดว่าในปีนี้แบบประกันใหม่จะมียอดขายประมาณ 80% ของยอดขายรวมของบริษัท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองความต้องการให้ครบทุกด้านกับลูกค้าและเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้บริษัทก้าวขึ้นเป็นบริษัทอันดับ 1 ในใจของคนไทยได้ภายในปี 2555

สำหรับแบบประกันใหม่นี้ คือ แบบประกันอีซี่ โกล (25EG) จับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการออมเงินที่คุ้มค่า โดยเฉพาะเป้าหมายด้านการศึกษาของบุตรหลาน เริ่มรับประกันตั้งแต่อายุ 1 เดือน ถึง 65 ปี ระยะเวลาความคุ้มครอง 25 ปี

นอกจากนี้ ยังมีแบบประกันอีซี่ รีไทร์ (ER60) ที่จับกลุ่มลูกค้าหลังเกษียณอายุ ด้วยระยะเวลาคุ้มครองถึงอายุ 60 ปี อายุรับประกันตั้งแต่ 16 ถึง 50 ปี และแบบประกันอีซี่ แคช (10EC) ที่จับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการออมเงินระยะสั้นแต่ให้ผลตอบแทนสูง โดยชำระเบี้ยประกันเพียง 6 ปี แต่ได้รับความคุ้มครองนานถึง 10 ปี ทุนประกันขั้นต่ำ 1 แสนบาท อายุรับประกันตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 70 ปี ซึ่งทั้ง 3 แบบประกันนี้ จะได้รับเงินจ่ายคืนประจำในแต่ละปีตามแต่เงื่อนไขที่กำหนดไว้ รวมถึงเงินปันผลที่สามารถเปลี่ยนแปลง โดยขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของบริษัทอีกด้วย

แหล่งข่าวจากบริษัทประกันชีวิต กล่าวว่า การเพิ่มช่องทางขายที่หลากหลายถือว่าเป็นทิศทางที่แต่ละบริษัทต้องทำอยู่แล้ว อย่างเช่นบริษัทไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์จากเดิมเน้นขายผ่านช่องทางธนาคารเป็นหลัก ก็เริ่มหันมาพัฒนาช่องทางตัวแทนเพิ่มขึ้น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=213449

news09/01/08

โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 09, 2008 1:30 pm
โดย chartchai madman
ไอเอ็นจีฮึดกวาด6พันล้าน

โพสต์ทูเดย์ ไอเอ็นจี ตั้งเป้าปี 2551 เบี้ยรับรวมโต 25% มูลค่ากว่า 6 พันล้าน ขณะที่เบี้ยปีแรกพุ่ง 2.1 พันล้าน


นายราเจซ เศรษฐี ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต กล่าวว่า ปี 2551 บริษัทตั้งเป้าเบี้ยรับรวม 6.06 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% เมื่อเทียบกับปี 2550 แบ่งเป็นเบี้ยประกันลูกค้ารายใหม่หรือเบี้ยปีแรก 2.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 22% เบี้ยประกันที่ลูกค้าเก่าต่ออายุกรมธรรม์ 3.95 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 28%

ทั้งนี้ เบี้ยลูกค้ารายใหม่จะมา จากการขายผ่านตัวแทน 1.65 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% และการขายผ่านโทรศัพท์ 450 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38% ซึ่งจะหาพันธมิตรรายใหม่ไปสู่ธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารมากขึ้น

เป้าหมายเบี้ยรับรวม 6.06 พันล้านบาท ไม่รวมเบี้ยประกันชีวิตที่คาดว่าจะเกิดจากการขายผ่านธนาคารทหารไทย ที่น่าจะเริ่มโครงการนำร่องในสาขากรุงเทพฯ และปริมณฑล ในกลางปี 2551 นี้ นายราเจซ กล่าว

นายราเจซ กล่าวว่า ภายใน สิ้นปีนี้บริษัทจะมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดติดอันดับ 1 ใน 5 จากปัจจุบันที่มีส่วนแบ่งที่ 5% ซึ่งบริษัทแม่พร้อมจะสนับสนุนเงินลงทุนเพิ่มเติม หากบริษัทต้องการ และเมื่อเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา บริษัทแม่ได้สนับสนุนเงินลงทุนให้อีก 600 ล้านบาท

สำหรับกลยุทธ์การตลาดในปีนี้ บริษัทจะเพิ่มจำนวนตัวแทนใหม่ อีกกว่า 700 คน เป็น 8.5 พันคน จากปัจจุบันที่มีอยู่จำนวน 7,737 คน โดยเน้นดึงคนที่ไม่เคยเป็นตัวแทนเข้ามาเสริม และเพิ่มความเข้มข้น ในการฝึกอบรมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมากขึ้น ซึ่งได้ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรมเข้ามาเสริมทีม เพื่อให้ตัวแทนมีความรู้ในการไป ถ่ายทอดให้กับลูกค้าอย่างถูกต้องรองรับกฎเกณฑ์ใหม่ด้านการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตของ ภาครัฐ

นอกจากนี้ จะมีแบบประกันใหม่ๆ ออกมาเพื่อให้ตรงกับความต้องการทางการเงินของลูกค้า สร้างรายได้ที่ดีให้กับตัวแทน และบริษัทสามารถทำกำไรจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

นายสมโพชน์ เกียรติไกลวัล รองกรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายตัวแทน บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต กล่าวว่า ปี 2551 บริษัทจะเพิ่มแนวทางการขายแบบเก็บเบี้ยรายเดือน จากเดิม ที่ขายแบบเก็บเบี้ยรายปีเป็นหลัก เพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่ไม่ต้องการชำระเบี้ยประกันเป็นก้อน แต่ต้องการทยอยชำระเบี้ย หรือออมเงินเดือนละน้อยๆ โดยจะจับกลุ่มลูกค้าที่มีความสามารถในการออมเดือนละ 1 พันบาท ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ที่หลายสำนักวิจัยมองว่าไม่ค่อยดีนักในปีนี้

สำหรับปี 2550 บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต มีเบี้ยรับรวม 4,812 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36% แยกเป็น เบี้ยลูกค้าเก่าต่ออายุ 3,087 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 41% และเบี้ยลูกค้ารายใหม่ และสามารถขายประกันแก่ลูกค้ารายใหม่ 1,725 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=213450

news14/01/08

โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 14, 2008 1:39 pm
โดย chartchai madman
อาชีพขายประกันเฟื่อง

โพสต์ทูเดย์ สมาคมประกันชีวิตคาดปี 2551 มีผู้สมัครสอบตัวแทนประกัน 2 แสนคน ผลจากภาคเอกชนเร่งทำยอดขายใหม่


นางบุษรา อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการ สมาคมประกันชีวิต กล่าวว่า คาดว่าปี 2551 จะมีผู้สมัครสอบตัวแทนประกันชีวิตทั่วประเทศถึง 2 แสนคน จากปี 2550 ที่มีผู้สมัครสอบรวมทั้งสิ้น 187,110 คน เพิ่มขึ้น 12,890 คน

ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ จะทำการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่สนใจเข้าสู่อาชีพตัวแทน ด้วยการจัดทำกำหนดการสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคด้วยระบบคอมพิวเตอร์

นางบุษรา กล่าวว่า จากการแถลงนโยบายของบริษัทประกันชีวิตในช่วง 2 สัปดาห์แรก พบว่ามีการตั้งเป้าหมายเพิ่มตัวแทนรายใหม่อย่างหนัก เพื่อเพิ่มยอดขายลูกค้ารายใหม่ ซึ่งตามปกติตัวแทนรายใหม่จะเป็นลูกค้าคนแรก และจะนำญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงเข้ามาเป็นลูกค้าในลำดับต่อมา

นอกจากนี้ การสร้างค่านิยมในอาชีพอิสระที่มีเกียรติ จากการเป็นตัวแทนประกันก็มีผลต่อการสมัครเป็นตัวแทนขายประกันเช่นกัน

สำหรับปี 2551 นี้ บริษัท ไทยประกันชีวิตมีแผนที่จะเพิ่มตัวแทนใหม่ไม่น้อยกว่า 2 หมื่นคน ผ่านโครงการไทยประกันชีวิตสัมพันธ์ที่จะเข้าไปขายอาชีพและกรมธรรม์ตามหมู่บ้าน 4 พันแห่ง และจะ ชักจูงผู้นำในแต่ละท้องถิ่นเข้ามาเป็นตัวแทนขาย รวมถึงโครงการวันสดใสกับไทยประกันชีวิตที่มุ่งหาตัวแทนรุ่นใหม่ในวัยนิสิต นักศึกษา ซึ่งปีนี้จะเน้นการให้ความรู้มากขึ้น ลดกิจกรรมด้านบันเทิงลง รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกด้านจริยธรรมอย่างเข้มข้น

ด้านบริษัท ไอเอ็นจี ประกันชีวิต มีนโยบายที่เพิ่มตัวแทนรายใหม่อีก กว่า 700 คน โดยปีนี้มีเป้าหมายที่จะออกไปสรรหาตัวแทนใหม่ตามต่างจังหวัดมากขึ้น เพื่อขยายฐานลูกค้าออกสู่ตลาดภูมิภาค ด้วยเน้นขายประกันชีวิตที่ชำระเบี้ยรายเดือนจูงใจ และเพิ่มความเข้มข้นในการอบรมให้ความรู้ให้แก่ตัวแทนอย่างหนักเพื่อให้เสนอขายอย่างถูกต้อง รองรับกฎหมายใหม่ที่มีบทลงโทษบริษัทประกันชีวิตและตัวแทนรุนแรงกว่าเดิม เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

ขณะที่บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต ตั้งเป้าหมายเพิ่มตัวแทนใหม่อีก 20% จากปัจจุบันมีทั้งหมด 1.5 หมื่นคน เนื่องจากตัวแทนเป็นช่องทางขายที่สำคัญ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย

สมาคมประกันชีวิตรายงานว่า ปี 2550 มีผู้สมัครสอบตัวแทนทั่วประเทศ 187,110 คน เพิ่มขึ้น 15,444 คน หรือ 9% เมื่อเทียบกับปี 2549 จากผู้สมัครสอบทั้งหมดมีผู้เข้าสอบ 141,901 คน มีผู้สอบได้ 79,410 คน หรือ 55.96% ของผู้เข้าสอบ โดยปี 2550 อัตราการสอบผ่านน่าพอใจ เพราะสูงกว่าปี 2549 ที่มีอัตราผู้สอบผ่านเพียง 48.52%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=214450

news15/01/08

โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 15, 2008 1:17 pm
โดย chartchai madman
เบิกค่ารักษาเกินแสนเจอดี

โพสต์ทูเดย์ ประกันเตือนลูกค้า เบิกค่ารักษาประกันสุขภาพเกินปีละแสนบาท จะถูกยกเลิกสัญญา


นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า บริษัทประกันชีวิตจะไม่ต่ออายุสัญญากรมธรรม์ของลูกค้าประกันสุขภาพ ที่มีการเบิกค่ารักษาพยาบาลเกินปีละ 1 แสนบาท เนื่องจากถือว่าได้ใช้สิทธิจากการประกันสุขภาพที่มากเพียงพอแล้ว แม้ว่าที่ผ่านมาจะไม่เคยเจ็บป่วยเลยก็ตาม

ทั้งนี้ บริษัทเห็นว่านโยบายนี้จะสร้างความยุติธรรมกับลูกค้าที่ไม่เคยใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล ที่จะต้องมารับภาระจ่ายค่าเบี้ยประกันสูงเกินไป หากยังคงรับประกันสุขภาพของลูกค้าที่เจ็บป่วยหนักหรือมีโรคร้ายแรงต่อไป จะต้องไปขึ้นเบี้ยประกันสุขภาพกับลูกค้าที่ไม่เคยเบิกค่ารักษาพยาบาลเลย

ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว บริษัทประกันชีวิตจึงมีกรมธรรม์เฉพาะออกมา ที่ลูกค้าสามารถซื้อประกันโรคร้ายแรงเพิ่มเติมได้ นอกเหนือจากประกันสุขภาพทั่วไป

โดยปกติถ้าค่าสินไหมเกินเบี้ยประกันที่จ่าย ตามหลักบริหารจัดการความเสี่ยงไม่ควรรับประกันลูกค้ารายดังกล่าวในปีต่อไป แต่ถ้าเป็นประกันสุขภาพกลุ่มอาจจะต่อสัญญาหรือรับประกันต่อไป ในกรณีที่บริษัทต้องการสภาพคล่อง นายสาระ กล่าว

นายสาระ กล่าวว่า แนวโน้มการไม่ต่อสัญญาประกันสุขภาพในปี 2551 ไม่สูงมากนัก เนื่องจากบริษัทประกันชีวิตได้ใช้ความระมัดระวังสูงขึ้นในการพิจารณารับประกันตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาภายหลัง ที่ลูกค้ามีความรู้และมีบทบาทมากขึ้นในการเรียกร้องสิทธิประโยชน์ รวมถึงกฎหมายจะมีบทลงโทษธุรกิจที่ค่อนข้างรุนแรง ดังนั้นก่อนที่จะรับประกันลูกค้ารายใด บริษัทจะใช้ความละเอียดถี่ถ้วน พร้อมทั้งนำหลักจิตสำนึกเข้ามาบริหารจัดการมากขึ้นกว่าเดิม จากที่ผ่านมายึดถือหลักสถิติในการบริหารเพียงอย่างเดียว เพื่อให้เกิดความ พอใจด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย

จิตสำนึกที่นำมาใช้ในครั้งนี้ไม่ถึงกับเปิดช่องให้มิจฉาชีพเข้ามาเล่นงานได้ เช่น รู้ว่าเป็นมะเร็งมาก่อน แล้วมาทำประกันโดยไม่แจ้งข้อเท็จจริง ซึ่งจริงๆ แล้วทางการแพทย์สามารถตรวจสอบได้ว่าโรคนี้เป็นมากี่ปีแล้ว ทางบริษัทก็ปฏิเสธจ่ายค่าสินไหม ก็หาว่าบริษัทเอาเปรียบ ซึ่งบริษัทไม่ได้มีแนวคิดจ้องเอาเปรียบผู้บริโภค จะยึดหลักเหตุและผล นายสาระ กล่าว

นายสาระ กล่าวว่า ในยุคนี้ลูกค้าได้รับการดูแลอย่างมากจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ประกอบกับกฎหมายประกันชีวิตฉบับใหม่ที่ออกมา ให้ความสำคัญในการปกป้องสิทธิประโยชน์ของลูกค้าอย่างมาก ลูกค้าน่าจะวางใจได้ว่าได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และควรจะแถลงประวัติด้านสุขภาพตามความเป็นจริงเพื่อประโยชน์ของตัวเอง
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=214646

news21/01/08

โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 21, 2008 1:56 pm
โดย chartchai madman
คปภ.ฟื้นประกันเอื้ออาทร

โพสต์ทูเดย์ คปภ. ลุยฟื้นประกันอุบัติเหตุวันละ 1 บาท เตรียมเปลี่ยนชื่อใหม่


นายสุรชัย ศิริวัลลภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ หรือไทยรี กล่าวว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) มีแผนที่จะเปลี่ยนชื่อโครงการประกันอุบัติเหตุ (พีเอ) เอื้ออาทรวันละ 1 บาทใหม่ พร้อมกับทำตลาดให้โครงการพีเอเอื้ออาทรฟื้นตัวและเดินหน้าโครงการต่อไปได้อีกครั้ง

นายสุรชัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาโครงการนี้ไม่ได้รับความนิยมจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้ากลุ่มรากหญ้ามากนัก เนื่องจากไม่มีการทำการตลาดและการประชาสัมพันธ์เป็นที่รับรู้อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ทาง คปภ.จะมีการประชุมร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในวันที่ 24 ม.ค. นี้ แต่จะไม่มีการพิจารณาเรื่องการปรับเพิ่มเบี้ยประกันแต่อย่างใด เพราะเพิ่งมีการปรับเงื่อนไขการคุ้มครองใหม่ไปเมื่อไม่นานที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม นายสุรชัย ยอมรับว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ทำกำไรได้ยาก เนื่องจากเป็นแบบประกันที่ไม่สามารถคิดเบี้ยประกันที่แพงได้ แต่ตัวโครงการเองก็ไม่ได้หวังกำไรมาตั้งแต่ต้น ทำให้บริษัทประกันที่เข้าร่วมโครงการต้องยอมรับผลการขาดทุนบางส่วนด้วย

ที่ผ่านมา แม้โครงการนี้จะล้มลุกคลุกคลานมาโดยตลอด แต่ในแง่ดีคือเป็นโครงการที่ทำให้คนที่ไม่เคยเข้าถึงการทำประกันภัยได้มีโอกาสเข้าถึง และมีโอกาสเข้าถึง และมีความรู้เกี่ยวกับประกันภัยบ้าง นายสุรชัย กล่าว

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไทยรี กล่าวว่า คนระดับล่างที่มักเข้าถึงประกันภัยได้ยากมากจึงต้องเอาโครงการประกันอุบัติเหตุเอื้ออาทรนี้เป็นตัวเสริมให้ความรู้ และเชื่อว่าในวันข้างหน้าถ้าคนกลุ่มนี้มีรายได้ดีขึ้น ก็จะหันไปซื้อประกันประเภทอื่นต่อไป เพราะรู้ว่าความเดือดร้อนประกันภัยจะช่วยได้ ซึ่งคนกลุ่มนี้มีมากถึง 80% ของประเทศ นายสุรชัย กล่าว

นายสุรชัย กล่าวว่า ปัญหาหลักที่สำคัญอีกอย่างของโครงการนี้คือ บริษัทประกันที่เคยเข้าร่วมโครงการนี้ถอนตัวออกไปมากขึ้น โดยปัจจุบันประมาณ 27 บริษัท จากเดิมเมื่อเริ่มโครงการมีจำนวนมากกว่า 50 บริษัท ทำให้บริษัทไทยรีต้องรับภาระเบี้ยประกันเอื้ออาทรเข้ามาไว้มากขึ้นถึง 24% จากเบี้ยทั้งหมด 100%

ในขณะที่เมื่อเริ่มโครงการ ไทยรีกำหนดรับเบี้ยโครงการนี้ไว้เพียงแค่ 2% เท่านั้น แต่บริษัทก็ยังพร้อมให้บริการสนับสนุนโครงการนี้ต่อไป เพราะเชื่อว่าในระยะยาวแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจประกันภัยทั้งระบบ สำหรับเบี้ยประกันภัยในปีที่ผ่านมาขายได้ประมาณ 70 ล้านบาท โดยมียอดขาดทุนสะสมประมาณ 200 ล้านบาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=215910

news04/01/08

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 04, 2008 6:24 pm
โดย chartchai madman
ไพบูลย์สั่งปิด10สาขารวดลดค่าใช้จ่าย

โพสต์ทูเดย์ ไพบูลย์ประกันภัยในเครือไทยประกัน ปิดเกลี้ยง 10 สาขา เหตุงานผ่านแบงก์ทหารไทยลดหลังเปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหม่ ผู้บริหารยันไม่กระทบบริการลูกค้า


แหล่งข่าวจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมาบริษัท ไพบูลย์ประกันภัย ปิดสาขาทั้งหมดที่มีอยู่ทั่วประเทศทั้ง 10 แห่ง อาจเป็นผลมาจากธนาคารทหารไทย มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น ทำให้นโยบายการขายประกันภัยผ่านธนาคารเปลี่ยนไป จากเดิมลูกค้าของธนาคารจะใช้บริการประกันภัยกับบริษัทไพบูลย์เป็นหลัก

นายปรีดี ขวัญงาม รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไพบูลย์ประกันภัย กล่าวว่า การปิดสาขาทั้งหมดไม่กระทบต่อการให้บริการลูกค้าทั่วไปของบริษัท ที่ปกติการบริการจะผ่านสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพฯ ส่วนลูกค้าประกันภัยรถยนต์ที่อยู่ต่างจังหวัดจะยังคงได้รับบริการตามปกติ เพราะบริษัทมีการว่าจ้างบริษัทภายนอกไว้ให้บริการมานานแล้ว

นอกจากนี้ เห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีสาขา ลดภาระค่าใช้จ่ายซึ่งเฉลี่ยเดือนละ 2-3 แสนบาทต่อสาขา สำหรับลูกค้าประกันภัยรถยนต์ในกรุงเทพฯ ทางบริษัทมีทีมงานคอยให้บริการตามปกติ

ทั้งนี้ ในปี 2550 บริษัทประกันวินาศภัยทั้งระบบมีสาขาใหม่เพิ่มขึ้น 37 แห่ง รวมเป็น 927 สาขา จากปี 2549 ที่มีสาขารวมทั้งสิ้น 890 สาขา

นายไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต กล่าวว่า เพื่อให้สามารถดูแล ผู้เอาประกันได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง บริษัทจึงได้ขยายการดูแลอย่างครบรอบด้าน ผ่านการจัด ตั้งเครือข่ายศูนย์ดูแลสิทธิประโยชน์ ผู้เอาประกัน ณ สาขาทั่วประเทศจำนวน 254 แห่ง จะเริ่มให้ บริการได้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2551 เป็นต้นไป
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=218702

news05/02/08

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 05, 2008 12:40 pm
โดย chartchai madman
ชี้ประกันไซส์เล็กรอดยาก

โพสต์ทูเดย์ ไทยรีฟันธงบริษัทขนาดกลางและเล็ก หากไม่ปรับตัวมีสิทธิสูญพันธ์ ตั้งบริษัทลูกช่วย ลดต้นทุนเพื่อความอยู่รอด


นายสุรชัย ศิริวัลลภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ หรือไทยรี กล่าวว่า แนวโน้มการแข่งขันของธุรกิจประกันภัยในอนาคตยังคงรุนแรง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริษัทประกันวินาศภัยขนาดกลางและขนาดเล็กหากไม่มีการปรับตัวจะอยู่ในตลาดได้ลำบาก เนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่ ไม่เพียงพอ โดยเห็นว่าบริษัทประกันวินาศภัยในไทยหากจะแข่งขันได้อย่างน้อยต้องมีเบี้ยไม่ต่ำกว่า 2.5 พันล้านบาท

ทั้งนี้ หากแยกบริษัทประกันวินาศภัยที่มีอยู่ 76 แห่ง แบ่งออก ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่มีเบี้ยประกัน 5 พันล้านบาทขึ้นไป โดยมีอัตราความเสียหายต่อเบี้ยประกันภัยต่อค่าใช้จ่ายต่อเบี้ยไม่เกิน 10% ซึ่งปัจจุบันกลุ่มนี้มีอยู่ไม่ถึง 10 บริษัท 2.กลุ่มที่มีเบี้ยประกัน 2.5-5 พัน ล้านบาท โดยมีอัตราความเสียหายต่อเบี้ยประกันภัยต่อค่าใช้จ่ายต่อ เบี้ย 15-25% และ 3.กลุ่มที่มีเบี้ย ประกัน ต่ำกว่า 2.5 พันล้านบาท โดยมีอัตราความเสียหายต่อเบี้ยประกัน ภัยต่อค่าใช้จ่ายต่อเบี้ย 30-35%

นายสุรชัย กล่าวว่า ดังนั้นเมื่อบริษัทขนาดใหญ่แข่งประมูลงานกับบริษัทขนาดเล็ก บริษัทขนาดใหญ่ก็ยังสามารถเสนอราคาได้ต่ำกว่า 20% ขณะที่บริษัทขนาดเล็กเองก็ต้องลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้อยู่ในระดับ 20% ถึงจะแข่งขันได้ ซึ่งกรณีนี้ที่ญี่ปุ่นตัวเลขระหว่างบริษัทขนาดใหญ่และกลางห่างกันถึง 3 จุด และจากเดิมที่ญี่ปุ่นมีบริษัทประกันวินาศภัยอยู่ประมาณ 30 แห่ง ปัจจุบันเหลือเพียง 1 ส่วน 3 เท่านั้น เพื่อให้สามารถแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่ที่มาจากต่างชาติได้

อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวทางออกของบริษัทประกันขนาดกลางและขนาดเล็กหาก ต้องการแข่งขันต่อไปได้ คือต้องลดต้นทุนลงมาให้ได้ เช่น ให้เหลือเฉพาะงานฝ่ายขายและงานบริการไว้เท่านั้น ส่วนงานอื่นไม่ว่าจะเป็นบัญชี คอมพิวเตอร์ หรืองานภายในสำนักงานก็ให้ไปจ้างบริษัทภายนอก รับผิดชอบแทน

นอกจากนี้ การรวมบริษัทให้มีขนาดใหญ่ขึ้นก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง แต่การรวมกิจการสำหรับประเทศไทยหรือในเอเชียแล้วค่อนข้างเป็นเรื่องยาก เพราะเจ้าของเดิมก็ยังอยากเป็นเจ้าของและไม่มีใครยอมใคร ดังนั้นหากจะดำเนินกิจการต่อไปก็ต้องลดต้นทุนให้ได้ หรือไม่สุดท้ายก็ต้องปิดกิจการไป

เรามองดูแล้วว่า บริษัททั้งกลางและเล็กของไทยยังไม่มีศักยภาพ ที่แข่งขันได้ โดยเฉพาะเมื่อเปิดเสรีในอนาคต เพราะขนาดยังใหญ่ ไม่พอ การลดต้นทุนจึงน่าจะเป็น ทางรอดได้ ซึ่งไทยรีเองก็มองเห็นตรงนี้และตั้งบริษัทลูกขึ้นมารองรับงานแล้ว เช่น งานประเมินความ เสียหาย หรืองานออกแบบกรมธรรม์ นายสุรชัย กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=218903

news06/02/08

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2008 3:04 pm
โดย chartchai madman
บริษัทประกันเล็งถกคลัง ระดมทุนเมกะโปรเจกต์

โพสต์ทูเดย์ ธุรกิจประกันสนอินชัวรันส์บอนด์ 5 แสนล้าน หากได้ผลตอบแทน 5%


นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า จะเรียกประชุมคณะกรรมการสมาคม เพื่อสำรวจความต้องการลงทุนพันธบัตรระดมทุนจากธุรกิจประกันของกระทรวงการคลัง และจะมอบให้คณะอนุกรรมการลงทุนไปหารือถึงรายละเอียดกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)

นายสาระ กล่าวว่า บริษัทประกันจะต้องพิจารณาความเสี่ยงของโครงการเมกะโปรเจกต์ ระยะเวลาถือพันธบัตร และต้นทุนทางการเงิน ว่าสอดคล้องกับกรมธรรม์ประกันภัยที่ส่วนใหญ่อายุ 20-30 ปีหรือไม่

นางวรางค์ เสริฐภักดี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการลงทุนและส่วนสินเชื่อและอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ไทยประกันชีวิต กล่าวว่า บริษัทสนใจที่จะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่จะเสนอผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 5% เพราะแนวโน้มดอกเบี้ยในปีนี้คงยังไม่มีการปรับสูงขึ้น และการที่จะลงทุนให้ได้ผลตอบแทนถึง 5% นั้นก็เป็นเรื่องยาก เพียงแต่ที่ผ่านมารัฐบาลไทยยังไม่เคยออกพันธบัตรอายุ 30 ปี จึงต้องดูรายละเอียดอีกครั้งว่ารูปแบบหรือวิธีการที่ชัดเจนเป็นอย่างไร

นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า กองทุนประกันสังคมยังไม่ตัดสินใจลงทุนซื้อพันธบัตรรถไฟฟ้า ซึ่งต้องวิเคราะห์ว่าผลตอบแทน 5% ระยะเวลา 30 ปี นั้นคุ้มค่าหรือไม่ เมื่อเทียบกับการลงทุนอื่น

ปัจจุบันกองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนประมาณ 4.99 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่กว่า 82% หรือ 4.2 แสนล้านบาท จะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจอยู่แล้ว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=219073

news08/02/08

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2008 12:42 pm
โดย chartchai madman
ประกันภัยไม่ตระหนกกม.ใหม่

โพสต์ทูเดย์ ประกันภัยไม่ตื่นกฎหมายใหม่ ระบุมีเวลาปรับตัว 3-8 ปี


นายสุจินต์ หวั่งหลี นายกสมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า ผลจาก พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ. 2551 ไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัทประกันวินาศภัยในทันที เนื่องจากในกฎหมายได้ให้เวลาธุรกิจในการปรับตัว 3 - 8 ปี

ทั้งนี้ สาระสำคัญประกอบด้วย การดำรงเงินกองทุนตามความเสี่ยงของการรับประกันภัยแต่ละประเภท หรืออาร์บีซี ที่จะบังคับใช้ 100% ในอีก 3 ปีข้างหน้านับจากกฎหมายฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จึงยังไม่ต้องปฏิบัติตามทันที

นอกจากนี้ การที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีนักคณิตศาสตร์ประกันภัยทุกบริษัท ที่ปัจจุบันมีเพียงส่วนน้อยนั้น ก็ไม่กระทบต่อธุรกิจเช่นเดียวกัน เพราะกฎหมายให้เวลาถึง 8 ปี และการแปลงเป็นบริษัทมหาชน กฎหมายให้เวลาถึง 5 ปี จึงจะบังคับใช้ 100%

อะไรที่ทำไม่ได้เราก็แก้ไขก่อนที่จะมีการเสนอเข้า สนช.มาหลายรอบ นายสุจินต์ กล่าว

นายสุจินต์ กล่าวว่า สำหรับการต้องส่งเงินสมทบเข้าคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ไม่มีปัญหาการจ่าย แม้ต้นทุนคงที่จะเพิ่มขึ้น

นายพุทธิพงษ์ ด่านบุญสุต ผู้ช่วยผู้จัดการ บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย (TSI) กล่าวว่า จำเป็นจะต้องเร่งดำเนินการเพื่อปฏิบัติให้ได้ตามกฎหมายให้ เร็วที่สุด ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ 100% เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับฐานะ การเงิน ซึ่งจะทำให้สามารถแข่งขันกับตลาดได้ โดยเฉพาะการดำรงเงินกองทุนตามความเสี่ยงของการรับประกันภัยแต่ละประเภท หรืออาร์บีซี และการต้องมีนักคณิตศาสตร์ในการคำนวณความเสี่ยงทุกบริษัท เป็นเรื่องเดียวกันที่จะต้องเร่งดำเนินการ มิฉะนั้นจะแข่งขันไม่ได้ และอาจต้องปิดกิจการ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=219581

news20/02/08

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 21, 2008 5:27 pm
โดย chartchai madman
ขีดเส้นตายประกันบักโกรก

โพสต์ทูเดย์ คปภ. ขีดเส้นตาย 3 บริษัทประกันมีปัญหา จี้แก้ไขฐานะภายในสิ้นเดือนนี้


นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า ได้แจ้งให้บริษัทที่ขาดสภาพคล่องทุกบริษัท ดำเนินการแก้ไขสภาพคล่องตามแผนฟื้นฟูที่แจ้งไว้กับ คปภ.ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 29 ก.พ.นี้ ซึ่งจะไม่มีการผ่อนปรนใดๆ อีก โดยเฉพาะบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย และบริษัท ธนสินประกันภัย

ทั้งนี้ เตรียมเสนอบอร์ด คปภ. ที่จะประชุมในต้นเดือน มี.ค.นี้ ให้ดำเนินการขั้นเด็ดขาด พิจารณาใช้มาตรการสูงสุดถอนใบอนุญาตประกอบการธุรกิจ และสั่งปิดกิจการอย่างถาวร

หลังจากที่ คปภ.ผ่อนปรนมาระยะหนึ่งแล้ว และพบว่าบริษัทไม่ได้ดำเนินการตามที่แจ้งไว้กับ คปภ. โดยเฉพาะการไม่จ่ายชำระหนี้ค้างกับผู้เอาประกัน และเอาเงินเข้ากองทุนตามกฎหมายตามเวลาที่กำหนดไว้ นางจันทรา กล่าว

ปัจจุบันมีบริษัทประกัน 2 แห่ง ที่มีปัญหาฐานะการเงิน แต่ยังดำเนินธุรกิจตามปกติ โดย คปภ.ได้เร่งให้บริษัทแก้ปัญหา คือ บริษัท แอดวานซ์ประกันภัย และบริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต ซึ่งทาง คปภ.ได้เตือนให้เร่งหาเงินทุนเข้ามาเสริมให้ครบตามเงื่อนไข หากไม่แล้วเสร็จก็จะต้องดำเนินการตามกฎหมาย และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาให้หยุดกิจการชั่วคราว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=222098

news03/03/08

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 03, 2008 7:51 pm
โดย chartchai madman
AACP ชี้ ธุรกิจประกันชีวิตโตต่อเนื่อง - ข่าว 18.00 น.

Posted on Monday, March 03, 2008
นายวิลฟ์ แบล็คเบิร์น กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.อยุธยา อลิอันซ์ ซีพี ประกันชีวิต (AACP) บอกว่า ภาพรวมตลาดประกันชีวิตขณะนี้ ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยขยายตัวถึง 30% ในปี 2550  เนื่องจากประชาชนมีความรู้และความเข้าใจในการทำประกันชีวิตมากขึ้น ขณะที่บริษัทประกันชีวิตก็ได้พัฒนาศักยภาพในการขาย รวมทั้งพัฒนารูปแบบของกรมธรรม์แบบใหม่สู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง

นายวิลฟ์บอกด้วยว่า  บริษัทมีกำไรสุทธิในปี 2550 2.032 พันล้านบาท มีเบี้ยประกันภัยปีแรก 6.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 67% เมื่อเทียบกับปี 2549 และมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 2 ในตลาดประกันชีวิตโดยรวมที่ 14%

ส่วนการดำเนินงานในปีนี้ AACP ได้ตั้งเป้าขึ้นเป็นบริษัทประกันชีวิตอันดับหนึ่งในประเทศไทย ด้วยเป้าเบี้ยประกันภัยปีแรกที่ 1.2 หมื่นล้านบาท เติบโตขึ้นประมาณ 2 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยจะเน้นกลยุทธ์การเพิ่มช่องทางจำหน่ายที่หลากหลาย จากการขายประกันชีวิตผ่านสื่อสาธารณะ และการขายผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต รวมทั้งเตรียมเพิ่มจำนวนตัวแทน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งอีก 1.5 หมื่นราย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ในหลายช่วงชีวิต
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx

news06/03/08

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 06, 2008 2:56 pm
โดย chartchai madman
ประกันชีวิตยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย

โพสต์ทูเดย์ ธุรกิจประกันชีวิต ยันไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยตามกรมธรรม์


นายสุทธิ รจิตรังสรรค์ กรรมการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า ภาคธุรกิจประกันชีวิต ยังไม่มีแผนการปรับอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณผลตอบแทนตามกรมธรรม์ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง เนื่องจากปัจจุบันบริษัทประกันชีวิตให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่แล้ว

ทั้งนี้ ปัจจุบันผลตอบแทนจากกรมธรรม์ประกันชีวิตเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 4-5% สำหรับกรมธรรม์ระยะยาวเกิน 10 ปี ส่วนกรมธรรม์ระยะสั้นจะเฉลี่ยประมาณ 2-3%

นายสุทธิ กล่าวว่า ส่วนผลจากการที่ภาครัฐเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันจาก 5 หมื่นบาท เป็น 1 แสนบาท นั้น จะทำให้ธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันรับเพิ่มขึ้น จากการที่กลุ่มผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ระดับ 10-30% เข้ามาซื้อประกันมากขึ้น โดยผู้ที่จะได้ประโยชน์ อย่างเต็มที่คือผู้ที่เสียภาษีอยู่ที่ระดับสูงสุด 37%

ฐานลูกค้าจะมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ไม่ทำให้ต้นทุนของบริษัทประกันชีวิตลดลงตรงที่ค่านายหน้าจ่ายอัตราคงที่คือ 40% ไม่ว่าตัวแทนจะขายประกันได้ 1 แสนบาท หรือ 1 ล้านบาท เราก็ยังจ่ายค่านายหน้า 40% เหมือนเดิม ฉะนั้น ต้นทุนไม่ลดจึงไม่สามารถที่จะลดเบี้ยประกันลงได้ นายสุทธิ กล่าว

นายสุทธิ กล่าวว่า รายได้เบี้ยประกันภัยที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เป็นปัญหาในการสรรหาแหล่งลงทุนของบริษัทประกันชีวิต เพราะธุรกิจประกันชีวิตมีเงินลงทุนไม่มาก เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ

นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการเพิ่มลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตไม่ได้มีเฉพาะบริษัทประกันชีวิต ตัวแทน และผู้มีรายได้สูงเท่านั้น แต่จะกระจายถึงรากหญ้าด้วย ผ่านการลงทุนระยะยาวและการสร้างงานให้กับรากหญ้าผ่านอาชีพตัวแทนประกันชีวิต

สำหรับปี 2551 คาดว่าธุรกิจประกันชีวิตทั้งระบบจะมีสินทรัพย์ลงทุนประมาณ 9.27 แสนล้านบาท ที่ส่วนใหญ่จะลงทุนในพันธบัตรระยะยาว 25-30 ปี

สำหรับเดือน ม.ค. 2551 ธุรกิจประกันชีวิตทั้งระบบมีเบี้ยรับรวม 1.7 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.3% แยกเป็นเบี้ยประกันจากกรมธรรม์รายสามัญที่คุ้มครองเกิน 10 ปี จำนวน 2.66 พันล้านบาท เบี้ยประกันชำระครั้งเดียว 1.18 พันล้านบาทเบี้ยประกันลูกค้าเก่าต่ออายุกรมธรรม์ 1.29 หมื่นล้านบาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=224863

news12/03/08

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 12, 2008 9:20 pm
โดย chartchai madman
ซื้อประกันรถแถมพีเอ-อัคคี

โพสต์ทูเดย์ ประกันรถแข่งกันแรง ลิเบอร์ตี้คลอดประกันชั้น 5 แถมประกันไฟไหม้บ้าน-พีเอ


นายวรศักดิ์ เกรียงโกมล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลิเบอร์ตี้ ประกันภัย กล่าวว่า บริษัทได้ออกแบบประกันรถชั้น 5 ใหม่ ซึ่งจะมีความแตกต่างจากสินค้าในตลาดทั่วไป โดยมีให้ลูกค้าเลือก 2 แบบ คือ ประกันแบบพิเศษที่มีรถทดแทนระหว่างซ่อมให้ลูกค้าใช้ฟรี หรือรับเงินชดเชยวันละ 300 บาท กับประกันแบบธรรมดาที่จะแถมประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) และประกันอัคคีภัยให้กับลูกค้าด้วย

เชื่อว่าจะได้การตอบรับจากลูกค้า เนื่องจากมีเบี้ยประมาณ 6,700-8,800 บาท สอดคล้องกับยุคที่ค่าครองชีพสูง ลูกค้าระมัดระวัง ในการใช้จ่าย ทำให้ต้องยกเลิกการซื้อประกันภัยชั้น 1 และหันมาทำประกันภัยที่มีราคาต่ำกว่า แต่ให้ความคุ้มครองพอสมควร โดยบริษัทตั้งเป้ายอดขายไว้เดือนละ 20 ล้านบาท นายวรศักดิ์ กล่าว

นายวรศักดิ์ ชี้แจงว่า ที่ผ่านการแข่งขันประกันชั้น 1 รุนแรงมาก ทำให้โอกาสทำกำไรลดน้อยลง และยังมีปัญหาเรื่องทุจริตและการเคลมที่ไม่มีคู่กรณีจำนวนมาก จึงทำให้ความเสียหายต่อเบี้ยประกันสูงขึ้น 65% ขณะที่แบบประกันชั้น 5 อัตราความเสียหายต่อเบี้ยประกันจะต่ำกว่าชั้น 1 ถึง 40-60% จึงมีแนวโน้มมีกำไรมากกว่า
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=226029

news21/03/08

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 21, 2008 5:51 pm
โดย chartchai madman
ดึงรายได้ต่ำ2หมื่นซื้อประกัน

โพสต์ทูเดย์ ประกันชีวิตเตรียมดึงมนุษย์เงินเดือนซื้อกรมธรรม์เพิ่ม รองรับ กม.ให้คนเงินเดือนต่ำกว่า 2 หมื่นบาท ไม่ต้องเสียภาษี


นายสัตยา เทพบรรเทิง รองประธานอาวุโสและรองผู้จัดการทั่วไป บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ (เอไอเอ) สาขาประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างเตรียมแผนการตลาด เพื่อดึงกลุ่มที่มีรายได้ประจำต่ำกว่า 2 หมื่นบาทต่อเดือน มาซื้อประกันชีวิตเพิ่ม โดยจะทำตลาดทันทีที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ผู้มีรายได้ประจำต่ำกว่า 2 แสนบาท ไม่ต้องเสียภาษี จากปัจจุบันที่ให้สิทธิผู้มีรายได้ประจำปีต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาท ไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งจะทำให้รายได้ในกระเป๋าของคนทำงานเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ 5,000 บาทต่อปี

รายได้ที่เพิ่มขึ้น 5,000 บาท สามารถซื้อประกันชีวิตของเราได้ในวงเงินทุนประกัน 2 แสนบาท หรือถ้าจะซื้อประกันสุขภาพ ก็จะได้ค่าห้องคืนละ 1,600 บาท ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของประชาชนในการที่จะจัดสรรรายได้ที่เพิ่มขึ้นนี้ มาสร้างหลักประกันให้ครอบครัว จากเดิมที่มักจะอ้างว่าไม่มีเงินออม หรือไม่มีเงินซื้อประกันสุขภาพ นายสัตยา กล่าว

นายสัตยา กล่าวว่า นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตจำนวน 5,000 บาทต่อไป ไปหักลดหย่อนภาษีได้อีก เช่น ถ้าเสียภาษีอยู่ที่ระดับ 10% ก็จะได้คืนภาษี 1,000 บาท ซึ่งเป็นมาตรการที่ภาครัฐต้องการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนผ่านมาตรการทางภาษี และเป็นโอกาสของบริษัทประกันชีวิตทุกแห่งในการที่จะนำเรื่องภาษีมาใช้ในการขยายฐานลูกค้ากลุ่มมนุษย์เงินเดือนให้มีการซื้อประกันเพิ่มขึ้น

มาตรการภาษีนี้บริษัทประกันชีวิตทุกแห่งได้ประโยชน์ในแง่ของการทำตลาด และประชาชนก็ได้ประโยชน์ในด้านที่มีรายได้ที่จะมาออมผ่านประกันชีวิตได้ คาดว่าจะทำให้อัตราการมีประกันชีวิตของประชากรไทยจะสูงขึ้นจากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 18% นายสัตยา กล่าว

นายสัตยา กล่าวว่า สำหรับบริษัทนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2550 ถึงเดือน ก.พ. 2551 สามารถขายประกันให้ลูกค้ารายใหม่ได้จำนวน 2,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.8% และปี 2551 นี้ตั้งเป้าหมายเบี้ยลูกค้ารายใหม่เพิ่มขึ้น 15% หรือกว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยอัตราดังกล่าวยังไม่นำปัจจัยการเพิ่มค่าหักลดหย่อนภาษีของรัฐบาลมาประกอบการกำหนดเป้าหมาย

ตอนนี้เรารอรัฐประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาก่อน เพราะเพิ่งผ่านขั้นตอนการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ประกาศเมื่อไหร่เราออกมาทำตลาดทันที คาดว่าไม่เกินไตรมาส 2 จะสามารถเปิดแผนการตลาด เพื่อจับกลุ่มมนุษย์เงินเดือนได้ นายสัตยา กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=227864

news11/04/08

โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 11, 2008 7:19 pm
โดย chartchai madman
แบงก์แอสชัวรันส์บานสะพรั่ง

> ปี50ปั๊มเบี้ยได้กว่า 2.4 หมื่นล.

แบงก์แอสชัวรันส์โกยเบี้ยไม่ยั้ง เผยปี 50 แบงก์พาณิชย์ช่วยปั๊มเบี้ยให้ธุรกิจประกันถึง 24,177 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 8% ของเบี้ยทั้งระบบ 302,713 ล้านบาท แบงก์ไทยพาณิชย์ ครองแชมป์กวาดเบี้ยรวม 9,735 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งไปถึง 40.3% หนุนส่ง ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ คว้าแชมป์แบงก์แอสชัวรันส์ประกันชีวิตกุมมาร์เก็ตแชร์ 42.8% ส่วนวินาศภัย แอกซ่า ประกันภัย ได้ ทิสโก้ ช่วยขึ้นแท่นเบอร์หนึ่งครองแชร์ 37.54%

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ระบุว่า ในปี 2550 ที่ผ่านมา มีธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตเป็นนายหน้าขายประกันให้กับธุรกิจประกันภัยมากถึง 14 แห่ง ได้แก่

บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ. ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.ธนาคารทิสโก้, บมจ.กรุงไทย, บมจ. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, บมจ.ธนาคารทหาร ไทย, บมจ.ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย), บมจ.ธนาคารยูโอบี, บมจ.ไทยธนาคาร, บมจ.ธนาคารเกียรตินาคิน, บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.ธนาคารธนชาต และบมจ.ธนาคารแลนด์ แอนด์เฮ้าส์ เพื่อราย ย่อย สามารถสร้างผลงานเบี้ยประกันให้กับบริษัทประกันภัย ผ่านช่องทางแบงก์แอสชัว รันส์ได้ถึง 24,177 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 8% ของเบี้ยรับตรงทั้งหมดของธุรกิจประกันภัยในปี 2550 ที่ประมาณการว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 302,713 ล้านบาท

ทั้งนี้ ธนาคารที่มีเบี้ยผ่านช่องทางแบงก์แอสชัวรันส์มากที่สุด คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ด้วยจำนวน 9,735 ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 3.21% ของเบี้ยรับตรงทั้งระบบ หรือมีส่วนแบ่งตลาด 40.3% ในช่องทางแบงก์แอสชัวรันส์โดยรวม ซึ่งธนาคาร ไทยพาณิชย์มีบริษัทประกันในเครือ 2 บริษัท คือ บมจ.ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต และบมจ.ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย

รองลงมา อันดับ 2 ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย ซึ่งมีบริษัทประกันในเครือถึง 3 บริษัทด้วยกัน คือ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด และบมจ.ภัทรประกันภัย สามารถสร้างผลงานเบี้ยประกันได้ 3,567 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.18% ของเบี้ยรับตรงทั้งระบบ หรือมีส่วนแบ่งในตลาดแบงก์แอสชัวรันส์ 14.8%,

อันดับ 3 ได้แก่ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งขายประกันให้กับทั้งบมจ. กรุงเทพประกันภัย และบริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด มีเบี้ยจำนวน 2,327 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.77% ของเบี้ยรับตรงทั้งระบบ หรือมีส่วนแบ่งตลาดแบงก์แอสชัวรันส์ 9.6%

อันดับ 4 ได้แก่ ธนาคารทิสโก้ ซึ่งแม้จะไม่มีบริษัทประกันในเครือ แต่ก็มีพันธมิตรถึง 2 ราย คือ บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด หรือเอไอเอ และบมจ.อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต หรือเอเอซีพี สามารถ สร้างเบี้ยได้ 2,076 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.69% ของเบี้ยรับตรงทั้งระบบ หรือมีส่วนแบ่งตลาดแบงก์แอสชัวรันส์ 8.6% และ

อันดับ 5 ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ซึ่งมีบริษัทประกันในเครือ คือ บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด และมีพันธมิตรบริษัทประกันวินาศภัยในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ บมจ. ทิพยประกันภัย สามารถสร้างเบี้ยได้รวม 1,909 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.63% ของเบี้ยรับตรงทั้งระบบ หรือมีส่วนแบ่งตลาดแบงก์แอส ชัวรันส์ 7.9% ตามลำดับ

หากแยกพิจารณาเฉพาะในส่วนของธุรกิจ ประกันชีวิต พบว่า ในปี 2550 ที่ผ่านมา มีเบี้ยจากช่องทางแบงก์แอสชัวรันส์ประมาณ 19,294 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นเบี้ยจากธนาคารไทยพาณิชย์มากที่สุด ด้วยจำนวนถึง 8,258 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งตลาดถึง 42.8% ในหมู่แบงก์แอสชัวรันส์ของธุรกิจประกันชีวิต ซึ่งต้องยอมรับว่าช่องทางแบงก์แอสชัวรันส์ถือเป็นช่องทางหลักในการสร้างเบี้ยให้กับไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ฯ ขณะเดียวกันก็สร้างรายได้ค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ ได้มากถึง 2,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา รองลงมาอันดับ2 ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย สามารถ สร้างเบี้ยให้กับเมืองไทยประกันชีวิตได้ถึง 3,344 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งตลาดไป 17.33% และอันดับ 3 ได้แก่ธนาคารกรุงเทพ สามารถสร้างเบี้ยให้กับกรุงเทพประกันชีวิตได้ 2,235 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งตลาด 11.58%,

อันดับ 4 ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย สามารถ สร้างเบี้ยให้กับกรุงไทยแอกซ่าฯ ได้ 1,529 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งไป 7.92% และอันดับ 5 ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งนอกเหนือจากมีเอเอซีพีเป็นบริษัทประกันชีวิตในเครือแล้ว ยังมีเอไอเอร่วมเป็นพันธมิตรวางขายสินค้าประเภทสะสมทรัพย์ 5/10 และสัญญาแนบท้ายกรุงศรีคุ้มครองสุขภาพอีกด้วย สามารถสร้างเบี้ยได้รวม 1,279 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งตลาด 6.63% ตามลำดับ

ส่วนธุรกิจประกันวินาศภัย ในปี 2550 ที่ผ่านมา มีเบี้ยจากช่องทางแบงก์แอสชัวรันส์เพียง 4,883 ล้านบาท โดยธนาคารทิสโก้ครองแชมป์มีเบี้ยมากที่สุด ซึ่งเป็นการขายสินค้าให้กับบริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด สามารถสร้างเบี้ยได้ถึง 1,833 ล้านบาท ครอง ส่วนแบ่งตลาดแบงก์แอสชัวรันส์ในหมู่ประกันวินาศภัยถึง 37.54% รองลงมา

อันดับ 2 ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สร้างเบี้ยให้กับไทยพาณิชย์สามัคคีฯ ได้ถึง 1,477 ล้านบาท ครอง ส่วนแบ่งตลาด 30.25%,

อันดับ 3 เป็นของธนาคารทหารไทย มีพันธมิตร คือ บมจ.ไทยประกันภัย สามารถสร้างเบี้ยได้ 480 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งตลาด 9.83%,

อันดับ 4 เป็นของธนาคารกรุงไทย ที่มีพันธมิตร คือ ทิพยประกันภัย สามารถสร้างเบี้ยได้ 380 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งตลาด 7.78% และอันดับ 5 ธนาคารกสิกรไทย สามารถ ขายประกันให้กับภัทรประกันภัย และเมืองไทย ประกันภัยไปได้ 223 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งตลาดไป 4.57% ตามลำดับ

อย่างไรก็ดี คาดว่าในปี 2551 นี้ ผลงาน แบงก์แอสชัวรันส์ของแต่ละธนาคารจะยิ่งเติบโต เพิ่มขึ้น เพราะธนาคารหลายๆ แห่งเริ่มมองหาพันธมิตรเพิ่มขึ้นจากเดิม ไม่ได้จำกัดขั้วเฉพาะธนาคารในเครือเท่านั้น อีกทั้งยังมีสถาบันการเงินอื่นๆ อีกหลายแห่งที่เริ่มเข้ามาขายสินค้าประกัน
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... _id=413106