วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 91
World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดสั่งซื้อในภาคอุตสาหกรรมและข้อมูลด้านการบริการที่อ่อนแอเกินคาด นอกจากนี้ การร่วงลงของราคาน้ำมันดิบได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงด้วย
โดยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดลบ 65.59 จุด หรือ 0.75% แตะที่ 8,675.28 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 12.98 จุด หรือ 1.37% แตะที่ 931.76 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดลบ 10.88 จุด หรือ 0.59% แตะ 1,825.92 จุด
-- สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) หลังจากกระทรวงพลังงานสหรัฐเปิดเผยว่าสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์พุ่งขึ้นเหนือความคาดหมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ฉุดดีมานด์พลังงานในสหรัฐร่วงลงด้วย ขณะที่นักวิเคราะห์บางคนมองว่าการพุ่งขึ้นอย่างร้อนแรงของราคาน้ำมันดิบในช่วงที่ผ่านมาอาจเป็นเพียงปรากฎการณ์ชั่วคราวเท่านั้น
โดยสัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 2.43 ดอลลาร์ หรือ 3.5% ปิดที่ 66.12 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 67.80-65.45 ดอลลาร์
-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากค่าเงินดอลลาร์ที่พุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและเงินปอนด์ นอกจากนี้ การร่วงลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดนิวยอร์กยังเป็นอีกปัจจัยที่ฉุดราคาทองคำดิ่งลงด้วย
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ปิดร่วงลง 18.80 ดอลลาร์ แตะที่ 965.60 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 962.30-992.10 ดอลลาร์
--ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและปอนด์ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอเกินคาดของสหรัฐทำให้นักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ขณะที่ค่าเงินยูโรและเงินปอนด์อ่อนตัวลงก่อนที่ธนาคารกลางยุโรและอังกฤษจะประชุมในวันพฤหัสบดีนี้
โดยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งแกร่งขึ้น 1.01% เมื่อเทียบกับยูโรที่ 1.4158 ดอลลาร์/ยูโร จากระดับของวันอังคารที่ 1.4303 ดอลลาร์/ยูโร และพุ่งขึ้น 1.65% เมื่อเทียบกับปอนด์ที่ 1.6302 ดอลลาร์/ปอนด์ จากระดับ 1.6575 ดอลลาร์/ปอนด์
นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐฟื้นตัวขึ้น 0.30% แตะที่ 95.940 เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 95.650 เยน/ดอลลาร์ และดีดตัวขึ้น 0.80% แตะที่ 1.0700 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0615 ฟรังค์/ดอลลาร์
-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของตลาดหุ้นนิวยอร์ก และการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเหมืองแร่และกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบและโลหะพื้นฐานในตลาดโลกร่วงลงอย่างหนัก
โดยดัชนี FTSE 100 ปิดร่วง 93.60 จุด แตะที่ 4,383.42 จุด หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 4,359.33-4,477.18 จุด
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดสั่งซื้อในภาคอุตสาหกรรมและข้อมูลด้านการบริการที่อ่อนแอเกินคาด นอกจากนี้ การร่วงลงของราคาน้ำมันดิบได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงด้วย
โดยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดลบ 65.59 จุด หรือ 0.75% แตะที่ 8,675.28 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 12.98 จุด หรือ 1.37% แตะที่ 931.76 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดลบ 10.88 จุด หรือ 0.59% แตะ 1,825.92 จุด
-- สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) หลังจากกระทรวงพลังงานสหรัฐเปิดเผยว่าสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์พุ่งขึ้นเหนือความคาดหมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ฉุดดีมานด์พลังงานในสหรัฐร่วงลงด้วย ขณะที่นักวิเคราะห์บางคนมองว่าการพุ่งขึ้นอย่างร้อนแรงของราคาน้ำมันดิบในช่วงที่ผ่านมาอาจเป็นเพียงปรากฎการณ์ชั่วคราวเท่านั้น
โดยสัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 2.43 ดอลลาร์ หรือ 3.5% ปิดที่ 66.12 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 67.80-65.45 ดอลลาร์
-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากค่าเงินดอลลาร์ที่พุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและเงินปอนด์ นอกจากนี้ การร่วงลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดนิวยอร์กยังเป็นอีกปัจจัยที่ฉุดราคาทองคำดิ่งลงด้วย
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ปิดร่วงลง 18.80 ดอลลาร์ แตะที่ 965.60 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 962.30-992.10 ดอลลาร์
--ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและปอนด์ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอเกินคาดของสหรัฐทำให้นักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ขณะที่ค่าเงินยูโรและเงินปอนด์อ่อนตัวลงก่อนที่ธนาคารกลางยุโรและอังกฤษจะประชุมในวันพฤหัสบดีนี้
โดยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งแกร่งขึ้น 1.01% เมื่อเทียบกับยูโรที่ 1.4158 ดอลลาร์/ยูโร จากระดับของวันอังคารที่ 1.4303 ดอลลาร์/ยูโร และพุ่งขึ้น 1.65% เมื่อเทียบกับปอนด์ที่ 1.6302 ดอลลาร์/ปอนด์ จากระดับ 1.6575 ดอลลาร์/ปอนด์
นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐฟื้นตัวขึ้น 0.30% แตะที่ 95.940 เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 95.650 เยน/ดอลลาร์ และดีดตัวขึ้น 0.80% แตะที่ 1.0700 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0615 ฟรังค์/ดอลลาร์
-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของตลาดหุ้นนิวยอร์ก และการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเหมืองแร่และกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบและโลหะพื้นฐานในตลาดโลกร่วงลงอย่างหนัก
โดยดัชนี FTSE 100 ปิดร่วง 93.60 จุด แตะที่ 4,383.42 จุด หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 4,359.33-4,477.18 จุด
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 92
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดลบ 65.59 จุด หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐอ่อนแอ
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดสั่งซื้อในภาคอุตสาหกรรมและข้อมูลด้านการบริการที่อ่อนแอเกินคาด นอกจากนี้ การร่วงลงของราคาน้ำมันดิบได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงด้วย
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดลบ 65.59 จุด หรือ 0.75% แตะที่ 8,675.28 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 12.98 จุด หรือ 1.37% แตะที่ 931.76 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดลบ 10.88 จุด หรือ 0.59% แตะ 1,825.92 จุด
ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่ราว 1.32 พันล้านหุ้น มีจำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกในอัตราส่วน 8 ต่อ 3 ส่วนปริมาณการซื้อขายในตลาด Nasdaq มีอยู่ราว 2.31 พันล้านหุ้น
อลัน เกล หัวหน้านักวิเคราะห์จากบริษัท RidgeWorth Capital Management กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ที่ดิ่งลงกว่า 2 ดอลลาร์ได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลง โดยหุ้นวาเลโร เอนเนอร์จี ปิดร่วง 17.8% หุ้นซูโนโค อิงค์ ปิดลบ 7.5% หุ้นเชฟรอนร่วงลง 1.6% และหุ้นเอ็กซอนโมบิลปิดลบ 1.2% ขณะที่ดัชนี S&P หุ้นกลุ่มพลังงานร่วง 3.3%
นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแอเกินคาดยังทำให้บรรยากาศการซื้อขายซบเซาลงด้วย โดยยอดสั่งซื้อในโรงงานอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 0.7% ในเดือนเม.ย.ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะพุ่งขึ้น 0.9% ขณะที่ภาคบริการของสหรัฐหดตัวลงเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันในเดือนพ.ค.และภาคเอกชนลดการจ้างงาน 532,000 ตำแหน่งในเดือนที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ว่าจะลดลงเพียง 525,500 ตำแหน่ง
"แม้ความเชื่อมั่นและความมีเสถียรภาพในตลาดอสังหาริมทรัพย์และภาคการผลิตที่ดีขึ้นเมื่อช่วงที่ผ่านมาทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำหนักสุดในรอบ 50 ปี จะสิ้นสุดลงในปีนี้ แต่อัตราว่างงานที่สูงขึ้นและข้อบังคับด้านการออกเงินกู้ที่เข้มงวดขึ้นจะมีผลกระทบต่อผู้บริโภคซึ่งจะเป็นอุปสรรคกีดขวางการขยายตัว" เกลกล่าว
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญๆของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยวันพฤหัสบดี กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยจำนวนชาวอเมริกันที่ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเปิดเผยข้อมูลประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนแรงงาน
ส่วนวันศุกร์กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยอัตราว่างงานและตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค. โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าอัตราว่างงานเดือนพ.ค.จะพุ่งขึ้นแตะระดับ 9.2% ซึ่งเป็นสถิติที่ปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 9% เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 25 ปี
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดสั่งซื้อในภาคอุตสาหกรรมและข้อมูลด้านการบริการที่อ่อนแอเกินคาด นอกจากนี้ การร่วงลงของราคาน้ำมันดิบได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงด้วย
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดลบ 65.59 จุด หรือ 0.75% แตะที่ 8,675.28 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 12.98 จุด หรือ 1.37% แตะที่ 931.76 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดลบ 10.88 จุด หรือ 0.59% แตะ 1,825.92 จุด
ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่ราว 1.32 พันล้านหุ้น มีจำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกในอัตราส่วน 8 ต่อ 3 ส่วนปริมาณการซื้อขายในตลาด Nasdaq มีอยู่ราว 2.31 พันล้านหุ้น
อลัน เกล หัวหน้านักวิเคราะห์จากบริษัท RidgeWorth Capital Management กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ที่ดิ่งลงกว่า 2 ดอลลาร์ได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลง โดยหุ้นวาเลโร เอนเนอร์จี ปิดร่วง 17.8% หุ้นซูโนโค อิงค์ ปิดลบ 7.5% หุ้นเชฟรอนร่วงลง 1.6% และหุ้นเอ็กซอนโมบิลปิดลบ 1.2% ขณะที่ดัชนี S&P หุ้นกลุ่มพลังงานร่วง 3.3%
นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแอเกินคาดยังทำให้บรรยากาศการซื้อขายซบเซาลงด้วย โดยยอดสั่งซื้อในโรงงานอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 0.7% ในเดือนเม.ย.ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะพุ่งขึ้น 0.9% ขณะที่ภาคบริการของสหรัฐหดตัวลงเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันในเดือนพ.ค.และภาคเอกชนลดการจ้างงาน 532,000 ตำแหน่งในเดือนที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ว่าจะลดลงเพียง 525,500 ตำแหน่ง
"แม้ความเชื่อมั่นและความมีเสถียรภาพในตลาดอสังหาริมทรัพย์และภาคการผลิตที่ดีขึ้นเมื่อช่วงที่ผ่านมาทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำหนักสุดในรอบ 50 ปี จะสิ้นสุดลงในปีนี้ แต่อัตราว่างงานที่สูงขึ้นและข้อบังคับด้านการออกเงินกู้ที่เข้มงวดขึ้นจะมีผลกระทบต่อผู้บริโภคซึ่งจะเป็นอุปสรรคกีดขวางการขยายตัว" เกลกล่าว
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญๆของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยวันพฤหัสบดี กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยจำนวนชาวอเมริกันที่ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเปิดเผยข้อมูลประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนแรงงาน
ส่วนวันศุกร์กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยอัตราว่างงานและตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค. โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าอัตราว่างงานเดือนพ.ค.จะพุ่งขึ้นแตะระดับ 9.2% ซึ่งเป็นสถิติที่ปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 9% เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 25 ปี
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 93
สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนัก หลังสต็อกน้ำมันดิบพุ่งเหนือความคาดหมาย
สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 2.43 ดอลลาร์ หรือ 3.5% ปิดที่ 66.12 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 67.80-65.45 ดอลลาร์
ขณะที่สัญญาน้ำมันเบนซินเดือนมิ.ย.ลดลง 2.36 เซนต์ ปิดที่ 1.9016 ดอลลาร์/แกลลอน และสัญญาน้ำมันฮีทติ้งออยล์เดือนมิ.ย.ลดลง 5.95 เซนต์ ปิดที่ 1.7384 ดอลลาร์/แกลลอน
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 2.29 ดอลลาร์ ปิดที่ 65.88 ดอลลาร์/บาร์เรล
จิม ริทเทอร์บุช หัวหน้านักวิเคราะห์จากบริษัท Ritterbusch and Associates กล่าวว่า นักลงทุนกระหน่ำขายสัญญาน้ำมันดิบอย่างหนักหลังจากกระทรวงพลังงานสหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 29 พ.ค.พุ่งขึ้น 2.9 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 366 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะร่วงลง 1.4 ล้านบาร์เรล
ขณะที่สต็อกน้ำมันกลั่นเพิ่มขึ้น1.6 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 150 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่คาดว่าจะขยับขึ้นเพียง 1 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 200,000 บาร์เรล แตะระดับ 203.2 ล้านบาร์เรล ตรงข้ามกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 400,000 บาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น 1.2% แตะระดับ 86.3%
"น้ำมันดิบในสต็อกที่พุ่งขึ้นเหนือความคาดหมายสะท้อนให้เห็นว่า ชาวอเมริกันยังไม่ค่อยกล้าออกมาจับจ่ายใช้สอยในช่วงที่ตลาดแรงงานตึงตัวและเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในภาวะถดถอย นอกจากนี้ สต็อกน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นจำนวนมากในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมายังทำให้นักลงทุนจำนวนมากย้ายฐานการลงทุนออกจากตลาดน้ำมันและเข้าเทรดในตลาดหุ้นและตลาดปริวรรตเงินตรา" ริทเทอร์บุชกล่าว
ตลาดน้ำมัน NYMEX ได้รับแรงกดดันหลังจากทางการสหรัฐเผยยอดสั่งซื้อในโรงงานอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 0.7% ในเดือนเม.ย.ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะพุ่งขึ้น 0.9% ขณะที่ภาคบริการของสหรัฐหดตัวลงเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันในเดือนพ.ค. นอกจากนี้ ภาคเอกชนลดการจ้างงาน 532,000 ตำแหน่งในเดือนที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ว่าจะลดลงเพียง 525,500 ตำแหน่ง
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลข้อมูลด้านแรงงานของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในคืนวันศุกร์ตามเวลาประเทศไทย โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าอัตราว่างงานเดือนพ.ค.จะพุ่งขึ้นแตะระดับ 9.2% ซึ่งเป็นสถิติที่ปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 9% เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 25 ปี
สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 2.43 ดอลลาร์ หรือ 3.5% ปิดที่ 66.12 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 67.80-65.45 ดอลลาร์
ขณะที่สัญญาน้ำมันเบนซินเดือนมิ.ย.ลดลง 2.36 เซนต์ ปิดที่ 1.9016 ดอลลาร์/แกลลอน และสัญญาน้ำมันฮีทติ้งออยล์เดือนมิ.ย.ลดลง 5.95 เซนต์ ปิดที่ 1.7384 ดอลลาร์/แกลลอน
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 2.29 ดอลลาร์ ปิดที่ 65.88 ดอลลาร์/บาร์เรล
จิม ริทเทอร์บุช หัวหน้านักวิเคราะห์จากบริษัท Ritterbusch and Associates กล่าวว่า นักลงทุนกระหน่ำขายสัญญาน้ำมันดิบอย่างหนักหลังจากกระทรวงพลังงานสหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 29 พ.ค.พุ่งขึ้น 2.9 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 366 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะร่วงลง 1.4 ล้านบาร์เรล
ขณะที่สต็อกน้ำมันกลั่นเพิ่มขึ้น1.6 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 150 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่คาดว่าจะขยับขึ้นเพียง 1 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 200,000 บาร์เรล แตะระดับ 203.2 ล้านบาร์เรล ตรงข้ามกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 400,000 บาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น 1.2% แตะระดับ 86.3%
"น้ำมันดิบในสต็อกที่พุ่งขึ้นเหนือความคาดหมายสะท้อนให้เห็นว่า ชาวอเมริกันยังไม่ค่อยกล้าออกมาจับจ่ายใช้สอยในช่วงที่ตลาดแรงงานตึงตัวและเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในภาวะถดถอย นอกจากนี้ สต็อกน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นจำนวนมากในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมายังทำให้นักลงทุนจำนวนมากย้ายฐานการลงทุนออกจากตลาดน้ำมันและเข้าเทรดในตลาดหุ้นและตลาดปริวรรตเงินตรา" ริทเทอร์บุชกล่าว
ตลาดน้ำมัน NYMEX ได้รับแรงกดดันหลังจากทางการสหรัฐเผยยอดสั่งซื้อในโรงงานอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 0.7% ในเดือนเม.ย.ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะพุ่งขึ้น 0.9% ขณะที่ภาคบริการของสหรัฐหดตัวลงเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันในเดือนพ.ค. นอกจากนี้ ภาคเอกชนลดการจ้างงาน 532,000 ตำแหน่งในเดือนที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ว่าจะลดลงเพียง 525,500 ตำแหน่ง
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลข้อมูลด้านแรงงานของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในคืนวันศุกร์ตามเวลาประเทศไทย โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าอัตราว่างงานเดือนพ.ค.จะพุ่งขึ้นแตะระดับ 9.2% ซึ่งเป็นสถิติที่ปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 9% เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 25 ปี
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 94
ฝรั่งเศสเผยอัตราว่างงานพุ่งแตะ 8.7% ในไตรมาสแรก
ฝรั่งเศสเผยอัตราว่างงานพุ่งสูงในช่วงไตรมาสแรกของปี หลังเศรษฐกิจประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยยาวนานสุดในรอบ 60 ปี อันเป็นผลมาจากภาคการผลิตและส่งออกที่ได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก
สำนักงานสถิติแห่งชาติของฝรั่งเศส (INSEE) รายงานว่า อัตราว่างงานในประเทศปรับตัวสูงขึ้นกว่า 1.1% แตะ 8.7% ในไตรมาสแรก จากระดับ 7.6% ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว
คริสติน ลาการ์ด รัฐมนตรีคลัง กล่าวว่าอัตราว่างงานพุ่งสูงจนน่ากลัว และให้เหตุผลว่าเป็นเพราะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ โดยเศรษฐกิจฝรั่งเศสหดตัวกว่า 1.2% ในช่วงไตรมาสแรก
"สภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาทำให้สภาพตลาดแรงงานอยู่ในภาวะย่ำแย่มาก" ลาการ์ดกล่าวผ่านสถานีวิทยุ Europe-1 ของฝรั่งเศส สำนักข่าวเอพีรายงาน
ฝรั่งเศสเผยอัตราว่างงานพุ่งสูงในช่วงไตรมาสแรกของปี หลังเศรษฐกิจประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยยาวนานสุดในรอบ 60 ปี อันเป็นผลมาจากภาคการผลิตและส่งออกที่ได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก
สำนักงานสถิติแห่งชาติของฝรั่งเศส (INSEE) รายงานว่า อัตราว่างงานในประเทศปรับตัวสูงขึ้นกว่า 1.1% แตะ 8.7% ในไตรมาสแรก จากระดับ 7.6% ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว
คริสติน ลาการ์ด รัฐมนตรีคลัง กล่าวว่าอัตราว่างงานพุ่งสูงจนน่ากลัว และให้เหตุผลว่าเป็นเพราะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ โดยเศรษฐกิจฝรั่งเศสหดตัวกว่า 1.2% ในช่วงไตรมาสแรก
"สภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาทำให้สภาพตลาดแรงงานอยู่ในภาวะย่ำแย่มาก" ลาการ์ดกล่าวผ่านสถานีวิทยุ Europe-1 ของฝรั่งเศส สำนักข่าวเอพีรายงาน
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 95
TMB มองเงินบาทสิ้นปีนี้มีสิทธิอ่อนค่าไปถึง 38.00-38.50 บาท/ดอลลาร์
นายเสถียร ตันธนะสฤษดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย(TMB)เปิดเผยว่า แนวโน้มค่าเงินบาทจะปรับตัวอ่อนค่าลงสู่ระดับ 38-38.50 บาท/ดอลลาร์ภายในสิ้นปีนี้ เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ยังไม่ดีขึ้น ประกอบกับการคาดการณ์ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัว เงินดอลลาร์ได้ปรับตัวอ่อนค่าอยู่ในจุดต่ำสุดแล้ว และจะเริ่มปรับตัวแข็งค่าขึ้น
นอกจากนี้จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังผันผวนทำให้นักลงทุนจะหันไปลงทุนในสินทรัพย์หรือเงินสกุลที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด
อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นเงินค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ยังมีโอกาสปรับตัวแข็งค่าขึ้น และเชื่อว่านับจากนี้ไปธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)คงต้องเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเร็วและแรงเกินไป ขณะเดียวกัน ก็เห็นว่าควรจะทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงกว่าค่าเงินประเทศคู่แข่ง เพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับผู้ส่งออก
"ตอนนี้แบงก์ชาติดูแลเงินบาทได้ดีอยู่แล้ว อยู่ใน In Line กับภูมิภาค แต่เห็นว่าบาทไม่ควรจะแข็งเวอร์เกินไป แต่แบงก์ชาติน่าจะเข้ามาซื้อดอลลาร์มากกว่านี้ เพื่อให้เงินบาทอ่อนค่ามากกว่าประเทศคู่แข็ง เช่น ให้อ่อนค่ากว่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียอย่างน้อย 2%" นายเสถียร กล่าว
นายเสถียร ยังกล่าวถึงข้อเสนอแนะของภาคเอกชนที่ขอให้ธปท.แยกตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเป็น 2 ตลาดว่า ไม่ได้เกิดประโยชน์กับฝ่ายใด แต่กลับจะเป็นการสนับสนุนให้มีผู้ได้-เสีย และหาผลประโยชน์จากแนวทางดังกล่าว เพราะไม่มีกลไกลตลาดในการจัดการดูแล
นายเสถียร ตันธนะสฤษดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย(TMB)เปิดเผยว่า แนวโน้มค่าเงินบาทจะปรับตัวอ่อนค่าลงสู่ระดับ 38-38.50 บาท/ดอลลาร์ภายในสิ้นปีนี้ เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ยังไม่ดีขึ้น ประกอบกับการคาดการณ์ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัว เงินดอลลาร์ได้ปรับตัวอ่อนค่าอยู่ในจุดต่ำสุดแล้ว และจะเริ่มปรับตัวแข็งค่าขึ้น
นอกจากนี้จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังผันผวนทำให้นักลงทุนจะหันไปลงทุนในสินทรัพย์หรือเงินสกุลที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด
อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นเงินค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ยังมีโอกาสปรับตัวแข็งค่าขึ้น และเชื่อว่านับจากนี้ไปธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)คงต้องเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเร็วและแรงเกินไป ขณะเดียวกัน ก็เห็นว่าควรจะทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงกว่าค่าเงินประเทศคู่แข่ง เพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับผู้ส่งออก
"ตอนนี้แบงก์ชาติดูแลเงินบาทได้ดีอยู่แล้ว อยู่ใน In Line กับภูมิภาค แต่เห็นว่าบาทไม่ควรจะแข็งเวอร์เกินไป แต่แบงก์ชาติน่าจะเข้ามาซื้อดอลลาร์มากกว่านี้ เพื่อให้เงินบาทอ่อนค่ามากกว่าประเทศคู่แข็ง เช่น ให้อ่อนค่ากว่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียอย่างน้อย 2%" นายเสถียร กล่าว
นายเสถียร ยังกล่าวถึงข้อเสนอแนะของภาคเอกชนที่ขอให้ธปท.แยกตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเป็น 2 ตลาดว่า ไม่ได้เกิดประโยชน์กับฝ่ายใด แต่กลับจะเป็นการสนับสนุนให้มีผู้ได้-เสีย และหาผลประโยชน์จากแนวทางดังกล่าว เพราะไม่มีกลไกลตลาดในการจัดการดูแล
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 96
โอเปคคาดราคาน้ำมันดิบพุ่งแตะ $75 ปลายปีนี้ เหตุได้แรงหนุนจากดอลล์อ่อนค่า
นายอับดุลเลาะห์ เอล-บาดรี เลขาธิการกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะพุ่งขึ้นสู่ระดับ 70-75 ดอลลาร์/บาร์เรลภายในปลายปีนี้ เนื่องจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวขึ้น และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง
"ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกใกล้จะถึงจุดสิ้นสุดแล้ว ทางโอเปคก็รู้สึกกังวลที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลงมาเคลื่อนไหวที่ระดับ 40 ดอลลาร์เมื่อช่วงต้นปี หลังจากพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 147 ดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม เราคาดว่า เศรษฐกิจโลกจะไม่ฟื้นตัวเร็วไปกว่าราคาน้ำมันอย่างแน่นอน" เอล-บาดรีกล่าวในที่ประชุมพลังงานซึ่งจัดขึ้นที่กรุงลอนดอน
เอล-บาดรีกล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบที่ฟื้นตัวขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาไม่ได้เปลี่ยนแปลงแผนการของโอเปคที่จะลดโครงการซัพพลายใหม่ๆลงราว 35 โครงการ จากทั้งหมด 120 โครงการไปจนถึงปีพ.ศ.2556 และระบุว่าต้นทุนด้านการผลิตและขุดเจาะน้ำมันของโอเปคปรับตัวลดลงไม่ถึง 8%
นอกจากนี้ เอล-บาดรีคาดว่า ปริมาณการผลิตของประเทศนอกกลุ่มโอเปค รวมถึงเม็กซิโก รัสเซีย และกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ จะไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอีก 5-10 ปีข้างน้า
การคาดการณ์ของเลขาธิการโอเปคเป็นไปในทิศทางเดียวกับที่โกลด์แมน แซคส์คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นอีก โดยโกลด์แมน แซคส์ ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาน้ำมันช่วงสิ้นปีพ.ศ.2552 โดยคาดว่าราคาน้ำมันอาจอยู่ที่ 85 ดอลลาร์/ บาร์เรล จากเดิมที่คาดว่าอยู่ที่ 65 ดอลลาร์ และโกลด์แมนยังคาดการณ์ด้วยว่าราคาน้ำมันช่วงสิ้นปีพ.ศ.2553 อาจอยู่ที่ 95 ดอลลาร์/บาร์เรล
ในการประชุมที่กรุงเวียนนาเมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา โอเปคซึ่งผลิตน้ำมันคิดเป็น 40% ของอุปทานน้ำมันดิบทั่วโลก ตัดสินใจคงเพดานการผลิตน้ำมันไว้ที่ 24.84 ล้านบาร์เรล/วัน เพราะเชื่อว่าแนวโน้มเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นจะช่วยหนุนอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกให้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่วนการประชุมโอเปคครั้งต่อไปจะมีขึ้นวันที่ และหลังจากนั้น จะจัดขึ้นในวันที่ 9 กันยายน และวันที่ 17 ธ.ค.ที่เมืองลอนดา ประเทศแองโกลา สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงาน
นายอับดุลเลาะห์ เอล-บาดรี เลขาธิการกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะพุ่งขึ้นสู่ระดับ 70-75 ดอลลาร์/บาร์เรลภายในปลายปีนี้ เนื่องจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวขึ้น และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง
"ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกใกล้จะถึงจุดสิ้นสุดแล้ว ทางโอเปคก็รู้สึกกังวลที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลงมาเคลื่อนไหวที่ระดับ 40 ดอลลาร์เมื่อช่วงต้นปี หลังจากพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 147 ดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม เราคาดว่า เศรษฐกิจโลกจะไม่ฟื้นตัวเร็วไปกว่าราคาน้ำมันอย่างแน่นอน" เอล-บาดรีกล่าวในที่ประชุมพลังงานซึ่งจัดขึ้นที่กรุงลอนดอน
เอล-บาดรีกล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบที่ฟื้นตัวขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาไม่ได้เปลี่ยนแปลงแผนการของโอเปคที่จะลดโครงการซัพพลายใหม่ๆลงราว 35 โครงการ จากทั้งหมด 120 โครงการไปจนถึงปีพ.ศ.2556 และระบุว่าต้นทุนด้านการผลิตและขุดเจาะน้ำมันของโอเปคปรับตัวลดลงไม่ถึง 8%
นอกจากนี้ เอล-บาดรีคาดว่า ปริมาณการผลิตของประเทศนอกกลุ่มโอเปค รวมถึงเม็กซิโก รัสเซีย และกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ จะไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอีก 5-10 ปีข้างน้า
การคาดการณ์ของเลขาธิการโอเปคเป็นไปในทิศทางเดียวกับที่โกลด์แมน แซคส์คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นอีก โดยโกลด์แมน แซคส์ ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาน้ำมันช่วงสิ้นปีพ.ศ.2552 โดยคาดว่าราคาน้ำมันอาจอยู่ที่ 85 ดอลลาร์/ บาร์เรล จากเดิมที่คาดว่าอยู่ที่ 65 ดอลลาร์ และโกลด์แมนยังคาดการณ์ด้วยว่าราคาน้ำมันช่วงสิ้นปีพ.ศ.2553 อาจอยู่ที่ 95 ดอลลาร์/บาร์เรล
ในการประชุมที่กรุงเวียนนาเมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา โอเปคซึ่งผลิตน้ำมันคิดเป็น 40% ของอุปทานน้ำมันดิบทั่วโลก ตัดสินใจคงเพดานการผลิตน้ำมันไว้ที่ 24.84 ล้านบาร์เรล/วัน เพราะเชื่อว่าแนวโน้มเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นจะช่วยหนุนอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกให้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่วนการประชุมโอเปคครั้งต่อไปจะมีขึ้นวันที่ และหลังจากนั้น จะจัดขึ้นในวันที่ 9 กันยายน และวันที่ 17 ธ.ค.ที่เมืองลอนดา ประเทศแองโกลา สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงาน
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 97
ธนาคารกลางเยอรมนีคาดการณ์ศก.ประเทศหดตัว 6.2% ปีนี้ ขณะปีหน้ายังคงซบเซา
ธนาคารกลางเยอรมนีคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศจะหดตัว 6.2% ในปี 2552 และจะหยุดนิ่งในปีหน้า ซึ่งถือเป็นการคาดการณ์เศรษฐกิจที่เลวร้ายกว่าที่รัฐบาลได้ประเมินไว้ก่อนหน้านี้
เมื่อช่วงปลายเดือนเม.ย. รัฐบาลเยอรมนีได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศจะหดตัว 6% ในปีนี้ ซึ่งเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เชื่อว่าจะสามารถกลับมาขยายตัวได้ในปี 2553 ที่ระดับ 0.5%
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าแบงก์ชาติเยอรมนีจะมองสภาพเศรษฐกิจในแง่ลบกว่านั้น โดยคาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2553 จะอยู่ที่ระดับ 0% หรือไม่ขยายตัวนั่นเอง
ทั้งนี้ เศรษฐกิจเยอรมนี ซึ่งนับว่ามีขนาดใหญ่สุดในยุโรป ขยายตัว 1.3% ในปี 2551 และเศรษฐกิจของประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกในไตรมาสสามปีที่แล้ว สำนักข่าวเอพีรายงาน
ธนาคารกลางเยอรมนีคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศจะหดตัว 6.2% ในปี 2552 และจะหยุดนิ่งในปีหน้า ซึ่งถือเป็นการคาดการณ์เศรษฐกิจที่เลวร้ายกว่าที่รัฐบาลได้ประเมินไว้ก่อนหน้านี้
เมื่อช่วงปลายเดือนเม.ย. รัฐบาลเยอรมนีได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศจะหดตัว 6% ในปีนี้ ซึ่งเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เชื่อว่าจะสามารถกลับมาขยายตัวได้ในปี 2553 ที่ระดับ 0.5%
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าแบงก์ชาติเยอรมนีจะมองสภาพเศรษฐกิจในแง่ลบกว่านั้น โดยคาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2553 จะอยู่ที่ระดับ 0% หรือไม่ขยายตัวนั่นเอง
ทั้งนี้ เศรษฐกิจเยอรมนี ซึ่งนับว่ามีขนาดใหญ่สุดในยุโรป ขยายตัว 1.3% ในปี 2551 และเศรษฐกิจของประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกในไตรมาสสามปีที่แล้ว สำนักข่าวเอพีรายงาน
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 98
World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคาร หลังจากนักวิเคราะห์ปรับเพิ่มน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นทั้งสองกลุ่ม นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากตัวเลขว่างงานประจำสัปดาห์ที่ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 20 สัปดาห์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 74.96 จุด หรือ 0.86% แตะที่ 8,750.24 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้น 10.70 จุด หรือ 1.15% แตะที่ 942.46 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดบวก 24.10 จุด หรือ 1.32% แตะ 1,850.02 จุด
--สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบปีเมื่อคืนนี้ (4 มิ.ย.) เพราะได้รับแรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลงและตัวเลขว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐที่ปรับตัวลงเกินคาด
สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนก.ค.พุ่งขึ้น 2.69 ดอลลาร์ หรือ 4.07% ปิดที่ 68.81 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดในรอบปี
-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 16 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (4 มิ.ย.) เนื่องจากการร่วงลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้กระตุ้นนักลงทุนให้เข้าซื้อสัญญาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างหนาแน่น รวมถึงสัญญาทองคำและน้ำมันดิบ
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ปิดพุ่งขึ้น 16.70 ดอลลาร์ แตะที่ 982.30 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 962.00-983.40 ดอลลาร์
-- ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (4 มิ.ย.) หลังจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อคืนนี้ นอกจากนี้ ตัวเลขว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐที่ลดลงเกินคาดทำให้ดีมานด์ดอลลาร์ลดน้อยลงด้วย
ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้น 0.22% แตะที่ 1.4182 ดอลลาร์/ยูโร จากระดับของวันพุธที่ 1.4151 ดอลลาร์/ยูโร แตะค่าเงินปอนด์อ่อนตัวลง 0.65% แตะที่ 1.6190 ดอลลาร์/ปอนด์ จากระดับ 1.6296 ดอลลาร์/ปอนด์
ค่าเงินดอลลาร์ร่วงลง 0.22% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0686 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 1.0710 ฟรังค์/ดอลลาร์ แต่ฟื้นตัวขึ้น 0.76% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 96.650 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 95.920 เยน/ดอลลาร์
-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (4 มิ.ย.) ขานรับธนาคารกลางอังกฤษที่ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยและเข้าซื้อสินทรัพย์กว่าแสนล้านปอนด์เพื่อเพิ่มเม็ดเงินในระบบ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงซื้อที่ส่งเข้าหนุนหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ หลังจากราคาบ้านในอังกฤษปรับตัวสูงขึ้นเหนือความคาดหมาย
ดัชนี FTSE 100 ปิดบวก 3.52 จุด แตะที่ 4,386.94 จุด หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 4,359.66-4,436.25 จุด
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคาร หลังจากนักวิเคราะห์ปรับเพิ่มน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นทั้งสองกลุ่ม นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากตัวเลขว่างงานประจำสัปดาห์ที่ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 20 สัปดาห์
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 74.96 จุด หรือ 0.86% แตะที่ 8,750.24 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้น 10.70 จุด หรือ 1.15% แตะที่ 942.46 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดบวก 24.10 จุด หรือ 1.32% แตะ 1,850.02 จุด
--สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบปีเมื่อคืนนี้ (4 มิ.ย.) เพราะได้รับแรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลงและตัวเลขว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐที่ปรับตัวลงเกินคาด
สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนก.ค.พุ่งขึ้น 2.69 ดอลลาร์ หรือ 4.07% ปิดที่ 68.81 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดสูงสุดในรอบปี
-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 16 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (4 มิ.ย.) เนื่องจากการร่วงลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้กระตุ้นนักลงทุนให้เข้าซื้อสัญญาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างหนาแน่น รวมถึงสัญญาทองคำและน้ำมันดิบ
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ปิดพุ่งขึ้น 16.70 ดอลลาร์ แตะที่ 982.30 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 962.00-983.40 ดอลลาร์
-- ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (4 มิ.ย.) หลังจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อคืนนี้ นอกจากนี้ ตัวเลขว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐที่ลดลงเกินคาดทำให้ดีมานด์ดอลลาร์ลดน้อยลงด้วย
ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้น 0.22% แตะที่ 1.4182 ดอลลาร์/ยูโร จากระดับของวันพุธที่ 1.4151 ดอลลาร์/ยูโร แตะค่าเงินปอนด์อ่อนตัวลง 0.65% แตะที่ 1.6190 ดอลลาร์/ปอนด์ จากระดับ 1.6296 ดอลลาร์/ปอนด์
ค่าเงินดอลลาร์ร่วงลง 0.22% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.0686 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับของวันพุธที่ 1.0710 ฟรังค์/ดอลลาร์ แต่ฟื้นตัวขึ้น 0.76% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 96.650 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 95.920 เยน/ดอลลาร์
-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (4 มิ.ย.) ขานรับธนาคารกลางอังกฤษที่ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยและเข้าซื้อสินทรัพย์กว่าแสนล้านปอนด์เพื่อเพิ่มเม็ดเงินในระบบ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงซื้อที่ส่งเข้าหนุนหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ หลังจากราคาบ้านในอังกฤษปรับตัวสูงขึ้นเหนือความคาดหมาย
ดัชนี FTSE 100 ปิดบวก 3.52 จุด แตะที่ 4,386.94 จุด หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 4,359.66-4,436.25 จุด
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 99
เตือนครึ่งปีหลังอำนาจซื้อทรุด ปรีดียาธร ระบุศก.ยังไม่ผ่านจุดต่ำสุด-กรณ์โต้ทิศทางศก.ฟื้น
ไอเอ็มเอฟคาดศก.ไทยปี 52 ลบ 3% แนะประเมินผลลดดอกเบี้ยหลังกลไกไม่ทำงานค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอี
"ปรีดิยาธร" ชี้เศรษฐกิจไทยยังไม่ผ่านจุดต่ำสุด ระบุ อำนาจซื้อประชาชนจะลดลงอีกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ คาดราคาข้าวในตลาดโลกจะตกต่ำลง เตือนรัฐบาลอย่าประมาท เหตุเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว ฟันธงรัฐบาลอยู่ต่อได้อีก 1 ปี ด้าน "กรณ์" ยันเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำและจะปรับตัวดีขึ้นในครึ่งหลัง ขณะที่ "โอฬาร" ชี้ 3 นโยบายฟื้นเศรษฐกิจ คือ นโยบายสินเชื่อ อัตราแลกเปลี่ยน และการคลัง
ไอเอ็มเอฟคาดศก.ไทยปี 52 ลบ 3% แนะประเมินผลลดดอกเบี้ยหลังกลไกไม่ทำงานค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอี
"ปรีดิยาธร" ชี้เศรษฐกิจไทยยังไม่ผ่านจุดต่ำสุด ระบุ อำนาจซื้อประชาชนจะลดลงอีกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ คาดราคาข้าวในตลาดโลกจะตกต่ำลง เตือนรัฐบาลอย่าประมาท เหตุเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว ฟันธงรัฐบาลอยู่ต่อได้อีก 1 ปี ด้าน "กรณ์" ยันเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำและจะปรับตัวดีขึ้นในครึ่งหลัง ขณะที่ "โอฬาร" ชี้ 3 นโยบายฟื้นเศรษฐกิจ คือ นโยบายสินเชื่อ อัตราแลกเปลี่ยน และการคลัง
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 100
อสังหาคืนชีพไตรมาส4ชี้ต่างชาติ กลับลำลงทุน
นายกิตติพล ปราโมช ณ อยุธยา นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯมั่นใจว่าปลายปีนี้นักลงทุนน่าจะเริ่มกลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ประกอบกับผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริม ทรัพย์จะออกมาทำกิจกรรมทางการตลาด ด้วยการเปิดตัวแคมเปญและจัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดขาย แม้ว่าขณะนี้ยังมีปัจจัยลบทางด้านเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่นิ่ง ส่งผลให้ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงชะลอการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากต้องการรอดูสถานการณ์ปัจจัยลบที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเศรษฐกิจโลก จึงส่งผลให้นักลงทุนยังคงระมัดระวังการลงทุน
นายกิตติพล ปราโมช ณ อยุธยา นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯมั่นใจว่าปลายปีนี้นักลงทุนน่าจะเริ่มกลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ประกอบกับผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริม ทรัพย์จะออกมาทำกิจกรรมทางการตลาด ด้วยการเปิดตัวแคมเปญและจัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดขาย แม้ว่าขณะนี้ยังมีปัจจัยลบทางด้านเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่นิ่ง ส่งผลให้ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงชะลอการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากต้องการรอดูสถานการณ์ปัจจัยลบที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเศรษฐกิจโลก จึงส่งผลให้นักลงทุนยังคงระมัดระวังการลงทุน
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 101
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์บวกแค่ 12.89 จุดเหตุวิตกตัวเลขว่างงานสหรัฐสูงขึ้น
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (5 มิ.ย.) หลังจากที่กระทรวงแรงงานสหรัฐได้รายงานอัตราว่างงานเดือนพ.ค.ที่พุ่งขึ้น 9.4% นับเป็นสถิติที่สูงสุดในรอบกว่า 25 ปี แม้ว่า การปลดพนักงานจะชะลอตัวลงกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ก็ตาม ส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจ
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 12.89 จุด หรือ 0.2% แตะที่ 8,763.13 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 2.3 จุด หรือ 0.3% แตะที่ 940.09 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดลบ 0.60 จุด หรือ 0.1% แตะ 1,849.42 จุด
แอนโทนี่ คอนรอย หัวหน้าเทรดเดอร์ของบีเอ็นวาย คอนเวิร์จเอ็กซ์ กรุ๊ป กล่าวว่า การที่ประชาชนในสัดส่วนถึงเกือบ 10% ยังว่างงานอยู่ ก็เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นบวกได้
นักลงทุนจับตาตัวเลขว่างงานอย่างใกล้ชิด นับตั้งแต่จำนวนผู้ว่างงานส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้และทำให้การใช้จ่ายหดตัวลงมากและยังเป็นปัจจัยที่เป็นปัญหาอย่างยิ่งในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐในขณะนี้
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า บริษัทเอกชนได้ลดพนักงานประจำเดือนพ.ค.อยู่ที่ 345,000 ราย นับเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 520,000 ราย นับเป็นสัญญาณที่สร้างความหวังในตลาดงาน แต่อัตราว่างงานเดือนพ.ค.ที่ทะยานขึ้น 9.4% จากสถิติเดือนเม.ย.ที่เพิ่มขึ้น 8.9% บ่งชี้ว่า บริษัทต่างๆยังคงลังเลที่จะจ้างพนักงาน
ดั๊ก โรเบิร์ตส์ หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์การลงทุนของ ChannelCapitalResearch.com กล่าวว่า ตอนนี้มีตัวเลขที่เป็นบวกออกมาบ่งชี้ว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ตกลงถึงจุดต่ำสุดไปแล้ว ตอนนี้ ทุกคนก็สงสัยว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวในรูปแบบใด เพราะการที่เศรษฐกิจหลุดพ้นจากจุดต่ำสุดแล้ว ไม่ได้หมายความว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นมาก
นักลงทุนเลือกที่จะเข้ามาขายทำกำไร หลังจากที่หุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ พลังงาน และเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นเมื่อเร็วๆนี้
หุ้นเจพี มอร์แกน อ่อนตัว 2.3 และหุ้นซิตี้กรุ๊ป ร่วง 3.1%
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (5 มิ.ย.) หลังจากที่กระทรวงแรงงานสหรัฐได้รายงานอัตราว่างงานเดือนพ.ค.ที่พุ่งขึ้น 9.4% นับเป็นสถิติที่สูงสุดในรอบกว่า 25 ปี แม้ว่า การปลดพนักงานจะชะลอตัวลงกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ก็ตาม ส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจ
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 12.89 จุด หรือ 0.2% แตะที่ 8,763.13 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 2.3 จุด หรือ 0.3% แตะที่ 940.09 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดลบ 0.60 จุด หรือ 0.1% แตะ 1,849.42 จุด
แอนโทนี่ คอนรอย หัวหน้าเทรดเดอร์ของบีเอ็นวาย คอนเวิร์จเอ็กซ์ กรุ๊ป กล่าวว่า การที่ประชาชนในสัดส่วนถึงเกือบ 10% ยังว่างงานอยู่ ก็เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นบวกได้
นักลงทุนจับตาตัวเลขว่างงานอย่างใกล้ชิด นับตั้งแต่จำนวนผู้ว่างงานส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้และทำให้การใช้จ่ายหดตัวลงมากและยังเป็นปัจจัยที่เป็นปัญหาอย่างยิ่งในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐในขณะนี้
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า บริษัทเอกชนได้ลดพนักงานประจำเดือนพ.ค.อยู่ที่ 345,000 ราย นับเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 520,000 ราย นับเป็นสัญญาณที่สร้างความหวังในตลาดงาน แต่อัตราว่างงานเดือนพ.ค.ที่ทะยานขึ้น 9.4% จากสถิติเดือนเม.ย.ที่เพิ่มขึ้น 8.9% บ่งชี้ว่า บริษัทต่างๆยังคงลังเลที่จะจ้างพนักงาน
ดั๊ก โรเบิร์ตส์ หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์การลงทุนของ ChannelCapitalResearch.com กล่าวว่า ตอนนี้มีตัวเลขที่เป็นบวกออกมาบ่งชี้ว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ตกลงถึงจุดต่ำสุดไปแล้ว ตอนนี้ ทุกคนก็สงสัยว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวในรูปแบบใด เพราะการที่เศรษฐกิจหลุดพ้นจากจุดต่ำสุดแล้ว ไม่ได้หมายความว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นมาก
นักลงทุนเลือกที่จะเข้ามาขายทำกำไร หลังจากที่หุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ พลังงาน และเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นเมื่อเร็วๆนี้
หุ้นเจพี มอร์แกน อ่อนตัว 2.3 และหุ้นซิตี้กรุ๊ป ร่วง 3.1%
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 102
ตกงานทะลุ7.8แสนหนี้พุ่งลดการใช้เงิน
สศช. เผยไตรมาสแรกตกงาน 7.8 แสนคน ผลจากเศรษฐกิจชะลอประชาชนระวัง ลดการบริโภค งดใช้จ่ายเกินตัว แต่ไม่ลดการซื้อหวย
นางสุวรรณี คำมั่น รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงภาวะสังคมในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 ว่า จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 7.8 แสนคน หรือ 2.1% สูงกว่าระยะเดียวกันปีที่แล้วที่อยู่ในระดับ 1.6%
สศช. เผยไตรมาสแรกตกงาน 7.8 แสนคน ผลจากเศรษฐกิจชะลอประชาชนระวัง ลดการบริโภค งดใช้จ่ายเกินตัว แต่ไม่ลดการซื้อหวย
นางสุวรรณี คำมั่น รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงภาวะสังคมในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 ว่า จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 7.8 แสนคน หรือ 2.1% สูงกว่าระยะเดียวกันปีที่แล้วที่อยู่ในระดับ 1.6%
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 103
การเลิกจ้างในสหรัฐฯเดือนพ.ค.ชะลอลงมาอยู่ที่ 345,000 ตำแหน่ง ส่งซิกศก.ใกล้ฟื้น
รายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอมระบุว่า กระทรวงแรงงานสหรัฐฯแถลงว่า การ
เลิกจ้างในสหรัฐฯเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ 345,000 ตำแหน่ง ชะลอลงจากที่ลดลง
504,000 ในเดือนเมษายน
โดยการเลิกจ้างในเดือนดังกล่าวนับเป็นตัวเลขที่ชะลอลงมากที่สุดในรอบ 8 เดือนสะท้อน
ภาวะตลาดแรงงานที่ใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว และเป็นปัจจัยบ่งชี้ว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ
ใกล้คลี่คลาย
ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า การเลิกจ้างในเดือนที่ผ่านมาจะสูงถึง 520,000
ตำแหน่ง
ขณะเดียวกันในสัปดาห์นี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯจะแถลงตัวเลขยอดค้าปลีกเดือน
พฤษภาคม ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่ทำสำรวจความเห็นโดยบลูมเบิร์กคาดว่าจะเพิ่มขึ้น
0.5%
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 08/06/09 เวลา 9:40:58
รายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอมระบุว่า กระทรวงแรงงานสหรัฐฯแถลงว่า การ
เลิกจ้างในสหรัฐฯเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ 345,000 ตำแหน่ง ชะลอลงจากที่ลดลง
504,000 ในเดือนเมษายน
โดยการเลิกจ้างในเดือนดังกล่าวนับเป็นตัวเลขที่ชะลอลงมากที่สุดในรอบ 8 เดือนสะท้อน
ภาวะตลาดแรงงานที่ใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว และเป็นปัจจัยบ่งชี้ว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ
ใกล้คลี่คลาย
ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า การเลิกจ้างในเดือนที่ผ่านมาจะสูงถึง 520,000
ตำแหน่ง
ขณะเดียวกันในสัปดาห์นี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯจะแถลงตัวเลขยอดค้าปลีกเดือน
พฤษภาคม ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่ทำสำรวจความเห็นโดยบลูมเบิร์กคาดว่าจะเพิ่มขึ้น
0.5%
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 08/06/09 เวลา 9:40:58
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 104
BIS เชื่อภาวะศก.โลกถดถอยรุนแรงผ่านพ้นไปแล้ว ชมรบ.ทั่วโลกร่วมใช้แผนฟื้นศก.
ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรงอาจผ่านพ้นไปแล้ว หลังจากธนาคารกลางและรัฐบาลทั่วโลกร่วมมือกันกอบกู้ความเชื่อมั่นของนักลงทุน
"นักลงทุนเริ่มมีความหวังมากขึ้นเพราะเชื่อว่าภาวะเลวร้ายที่สุดของวิกฤตการณ์การเงินและเศรษฐกิจถดถอยได้ผ่านพ้นไปแล้ว ทั้งนี้ก็เพราะรัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกพร้อมใจกันใช้นโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน นอกจากนี้ รัฐบาลในหลายประเทศยังใช้มาตรการช่วยเหลือธนาคารที่ประสบปัญหา และดำเนินการตามข้อตกลงในที่ประชุม G20 ที่กรุงลอนดอนเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา" BIS กล่าวในรายงานประจำไตรมาสแรกของปีพ.ศ.2552
BIS กล่าวถึงตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนพ.ค.ของสหรัฐที่ปรับตัวลดลงน้อยเกินคาด ว่า "ตัวเลขจ้างงานครั้งล่าสุดสะท้อนให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐไม่ได้เลวร้ายเหมือนกับที่หลายฝ่ายกังวล ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเยอรมนีก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สอง หลังจากดิ่งลงอย่างหนักในช่วงก่อนหน้านี้"
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงาน ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร (nonfarm payroll) ประจำเดือพ.ค.ปรับตัวลดลง 345,000 ตำแหน่ง ซึ่งน้อยกว่าที่คาดว่าจะร่วงลง 520,000 ตำแหน่ง สะท้อนให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐกำลังทุเลาลง สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงาน
ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรงอาจผ่านพ้นไปแล้ว หลังจากธนาคารกลางและรัฐบาลทั่วโลกร่วมมือกันกอบกู้ความเชื่อมั่นของนักลงทุน
"นักลงทุนเริ่มมีความหวังมากขึ้นเพราะเชื่อว่าภาวะเลวร้ายที่สุดของวิกฤตการณ์การเงินและเศรษฐกิจถดถอยได้ผ่านพ้นไปแล้ว ทั้งนี้ก็เพราะรัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกพร้อมใจกันใช้นโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน นอกจากนี้ รัฐบาลในหลายประเทศยังใช้มาตรการช่วยเหลือธนาคารที่ประสบปัญหา และดำเนินการตามข้อตกลงในที่ประชุม G20 ที่กรุงลอนดอนเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา" BIS กล่าวในรายงานประจำไตรมาสแรกของปีพ.ศ.2552
BIS กล่าวถึงตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนพ.ค.ของสหรัฐที่ปรับตัวลดลงน้อยเกินคาด ว่า "ตัวเลขจ้างงานครั้งล่าสุดสะท้อนให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐไม่ได้เลวร้ายเหมือนกับที่หลายฝ่ายกังวล ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเยอรมนีก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สอง หลังจากดิ่งลงอย่างหนักในช่วงก่อนหน้านี้"
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงาน ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร (nonfarm payroll) ประจำเดือพ.ค.ปรับตัวลดลง 345,000 ตำแหน่ง ซึ่งน้อยกว่าที่คาดว่าจะร่วงลง 520,000 ตำแหน่ง สะท้อนให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐกำลังทุเลาลง สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงาน
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 105
World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (5 มิ.ย.) หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานตัวเลขว่างงานนอกภาคการเกษตรที่ปรับตัวลงไม่มากเท่าที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม อัตราว่างงานเดือนพ.ค.ที่พุ่งขึ้น 9.4% ทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจ และสกัดช่วงบวกของตลาดเอาไว้
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 12.89 จุด หรือ 0.2% แตะที่ 8,763.13 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 2.3 จุด หรือ 0.3% แตะที่ 940.09 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดลบ 0.60 จุด หรือ 0.1% แตะ 1,849.42 จุด
สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดต่ำลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (5 มิ.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันจากอัตราว่างงานเดือนพ.ค.ในสหรัฐที่พุ่งขึ้นเกินคาด แต่ในระหว่างวันสัญญาน้ำมันดิบดีดตัวขึ้นสูงกว่า 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในระหว่างวัน หลังจากมีการคาดการณ์มากขึ้นว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวสูงขึ้น
สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนก.ค.อ่อนตัวลง 37 เซนต์ หรือ 0.54% ปิดที่ 68.44 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากที่ราคาได้พุ่งขึ้นสูงถึง 70.32 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงการซื้อขายระหว่างวัน นับเป็นสถิติที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.ปีที่แล้ว
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและสกุลเงินหลักๆในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (5 มิ.ย.) หลังจากที่สหรัฐได้เปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่ลดลงไม่มากเท่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้น
ค่าเงินยูโรร่วง 1.57% แตะที่ 1.3964 ดอลลาร์/ยูโร จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 1.4187 ดอลลาร์/ยูโร และค่าเงินปอนด์อ่อนตัวลง 1.22% แตะที่ 1.5981 ดอลลาร์/ปอนด์ จากระดับ 1.6178 ดอลลาร์/ปอนด์
ค่าเงินดอลลาร์พุ่งขึ้น 2.36% เมื่อเทียบกับเยนที่ 98.850 เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 96.570 เยน/ดอลลาร์ และเงินดอลลาร์ยังแข็งค่าขึ้น 1.69% เมื่อเทียบกับเงินฟรังค์สวิสที่ 1.0860 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0680 ฟรังค์สวิส/ดอลลาร์
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 19 ดอลลาร์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (5 มิ.ย.) หลังจากที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งทะยานขึ้นและตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนพ.ค.ที่ลดลงน้อยเกินคาด ซึ่งทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้นว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ปิดร่วงลง 19.70 ดอลลาร์ หรือ 2% แตะที่ 962.60 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 953.80 - 985 ดอลลาร์
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดเพิ่มขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (5 มิ.ย.) เนื่องจากหุ้นกลุ่มเหมืองดีดตัวขึ้นขานรับข่าวที่ว่าบริษัท ริโอ ทินโต กรุ๊ป ยกเลิกแผนการทำข้อตกลงด้านการลงทุนกับบริษัท อลูมินัม คอร์ป ออฟ ไชน่า หรือไชนาลโค และนายกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ปรับครม. เพื่อเอาตัวรอดในช่วงที่คะแนนนิยมตกต่ำ
โดยดัชนี FTSE 100 ปิดบวก 51.62 จุด หรือ 1.2% แตะที่ 4,438.56 จุด
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (5 มิ.ย.) หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานตัวเลขว่างงานนอกภาคการเกษตรที่ปรับตัวลงไม่มากเท่าที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม อัตราว่างงานเดือนพ.ค.ที่พุ่งขึ้น 9.4% ทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจ และสกัดช่วงบวกของตลาดเอาไว้
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 12.89 จุด หรือ 0.2% แตะที่ 8,763.13 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 2.3 จุด หรือ 0.3% แตะที่ 940.09 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดลบ 0.60 จุด หรือ 0.1% แตะ 1,849.42 จุด
สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดต่ำลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (5 มิ.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันจากอัตราว่างงานเดือนพ.ค.ในสหรัฐที่พุ่งขึ้นเกินคาด แต่ในระหว่างวันสัญญาน้ำมันดิบดีดตัวขึ้นสูงกว่า 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในระหว่างวัน หลังจากมีการคาดการณ์มากขึ้นว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวสูงขึ้น
สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนก.ค.อ่อนตัวลง 37 เซนต์ หรือ 0.54% ปิดที่ 68.44 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากที่ราคาได้พุ่งขึ้นสูงถึง 70.32 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงการซื้อขายระหว่างวัน นับเป็นสถิติที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.ปีที่แล้ว
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและสกุลเงินหลักๆในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (5 มิ.ย.) หลังจากที่สหรัฐได้เปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่ลดลงไม่มากเท่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้น
ค่าเงินยูโรร่วง 1.57% แตะที่ 1.3964 ดอลลาร์/ยูโร จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 1.4187 ดอลลาร์/ยูโร และค่าเงินปอนด์อ่อนตัวลง 1.22% แตะที่ 1.5981 ดอลลาร์/ปอนด์ จากระดับ 1.6178 ดอลลาร์/ปอนด์
ค่าเงินดอลลาร์พุ่งขึ้น 2.36% เมื่อเทียบกับเยนที่ 98.850 เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 96.570 เยน/ดอลลาร์ และเงินดอลลาร์ยังแข็งค่าขึ้น 1.69% เมื่อเทียบกับเงินฟรังค์สวิสที่ 1.0860 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.0680 ฟรังค์สวิส/ดอลลาร์
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 19 ดอลลาร์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (5 มิ.ย.) หลังจากที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งทะยานขึ้นและตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนพ.ค.ที่ลดลงน้อยเกินคาด ซึ่งทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้นว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ปิดร่วงลง 19.70 ดอลลาร์ หรือ 2% แตะที่ 962.60 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 953.80 - 985 ดอลลาร์
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดเพิ่มขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (5 มิ.ย.) เนื่องจากหุ้นกลุ่มเหมืองดีดตัวขึ้นขานรับข่าวที่ว่าบริษัท ริโอ ทินโต กรุ๊ป ยกเลิกแผนการทำข้อตกลงด้านการลงทุนกับบริษัท อลูมินัม คอร์ป ออฟ ไชน่า หรือไชนาลโค และนายกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ปรับครม. เพื่อเอาตัวรอดในช่วงที่คะแนนนิยมตกต่ำ
โดยดัชนี FTSE 100 ปิดบวก 51.62 จุด หรือ 1.2% แตะที่ 4,438.56 จุด
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 106
ญี่ปุ่นเผยยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนเม.ย.หดตัว 54.5% เหตุยอดส่งออกซบเซา
ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นในเดือนเม.ย.ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 3 เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยได้ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์สินค้าด้านการส่งออก
กระทรวงการคลังเผยว่า ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นหดตัว 54.5% แตะที่ 6.305 แสนล้านเยน (6.4 พันล้านดอลลาร์) จากปีก่อนหน้านี้ ขณะที่นักวิเคระห์คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะอยู่ที่ 8.50 แสนล้านเยน
การค้าที่ซบเซานั้นเป็นผลพวงจากวิกฤตการเงินโลกที่ทำให้ในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นมีตัวเลขขาดดุลบัญชีเป็นครั้งแรกในรอบ 13 ปี ขณะที่อุปสงค์เริ่มมีเสถียรภาพขึ้นนับจากนั้น
ซูซูมุ คาโต้ นักวิเคราะห์จากคาลียง ซีเคียวริตี้ในโตเกียวกล่าวว่า "แม้ดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นจะเกินดุลอยู่ แต่ตัวเลขดังกล่าวจะไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้จนกว่าการส่งออกจะดีขึ้น อุปสงค์จากต่างประเทศเริ่มส่งสัญญาณถึงการฟื้นตัวแล้ว แต่สถานการณ์ต่างๆก็ยังไม่มีความแน่นอน"
ทั้งนี้ ยอดส่งออกของญี่ปุ่นในเดือนเม.ย.ลดลง 40.6% หลังจากที่ดิ่งลง 46.5% ในเดือนมี.ค.และทรุดลงหนักเป็นประวัติการณ์ที่ 50.4% ในเดือนก.พ. ขณะที่ยอดนำเข้าร่วง 37.8% ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเดือนมี.ค.
รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีเมื่อเดือนที่ผ่านมา หลังมีสัญญาณบ่งชี้ว่า วิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้งรุนแรงที่สุดอาจถึงจุดจบแล้ว
"อุปสงค์ในเอเชียกำลังฟื้นตัวขึ้น แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าอุปสงค์ในสหรัฐและยุโรปจะดีดตัว" คาโต้กล่าว
ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นในเดือนเม.ย.ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 3 เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยได้ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์สินค้าด้านการส่งออก
กระทรวงการคลังเผยว่า ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นหดตัว 54.5% แตะที่ 6.305 แสนล้านเยน (6.4 พันล้านดอลลาร์) จากปีก่อนหน้านี้ ขณะที่นักวิเคระห์คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะอยู่ที่ 8.50 แสนล้านเยน
การค้าที่ซบเซานั้นเป็นผลพวงจากวิกฤตการเงินโลกที่ทำให้ในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นมีตัวเลขขาดดุลบัญชีเป็นครั้งแรกในรอบ 13 ปี ขณะที่อุปสงค์เริ่มมีเสถียรภาพขึ้นนับจากนั้น
ซูซูมุ คาโต้ นักวิเคราะห์จากคาลียง ซีเคียวริตี้ในโตเกียวกล่าวว่า "แม้ดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นจะเกินดุลอยู่ แต่ตัวเลขดังกล่าวจะไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้จนกว่าการส่งออกจะดีขึ้น อุปสงค์จากต่างประเทศเริ่มส่งสัญญาณถึงการฟื้นตัวแล้ว แต่สถานการณ์ต่างๆก็ยังไม่มีความแน่นอน"
ทั้งนี้ ยอดส่งออกของญี่ปุ่นในเดือนเม.ย.ลดลง 40.6% หลังจากที่ดิ่งลง 46.5% ในเดือนมี.ค.และทรุดลงหนักเป็นประวัติการณ์ที่ 50.4% ในเดือนก.พ. ขณะที่ยอดนำเข้าร่วง 37.8% ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเดือนมี.ค.
รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีเมื่อเดือนที่ผ่านมา หลังมีสัญญาณบ่งชี้ว่า วิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้งรุนแรงที่สุดอาจถึงจุดจบแล้ว
"อุปสงค์ในเอเชียกำลังฟื้นตัวขึ้น แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าอุปสงค์ในสหรัฐและยุโรปจะดีดตัว" คาโต้กล่าว
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 107
รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 1-5 มิถุนายน 2552
ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์และเหล็กในประเทศเดือน เม.ย. 52 หดตัวร้อยละ-11.0 และ -47.0 ต่อปี ตามลำดับ หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศถดถอยลง อันเนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล โดยเฉพาะการลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนประเภทที่อยู่อาศัย และอาคารพาณิชย์ที่ลดปริมาณลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์และเหล็กให้หดตัวลงตามภาวะดังกล่าว
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค. 52 อยู่ที่ร้อยละ -3.3 หดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.9 ต่อปี นับเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ห้า หากพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนนี้หดตัวร้อยละ -0.3 โดยมีปัจจัยสำคัญคือ ดัชนีในหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มหดตัวร้อยละ -0.5 โดยเฉพาะดัชนีหมวดการศึกษาลดลงกว่าร้อยละ-20.6 และหมวดเครื่องนุ่งห่มลดลงร้อยละ -3.6 เนื่องจากรัฐบาลดำเนินนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ส่งผลให้ภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาและเครื่องแบบนักเรียนลดลงนอกจากนี้ ดัชนีในหมวดผักและผลไม้ยังหดตัวร้อยละ -2.9 เนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลของผลไม้หลายชนิดเช่น เงาะ, ลิ้นจี่, ลองกอง ฯลฯ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน พ.ค. 52 หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปีที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ค. 52 หดตัวร้อยละ -21.1 ต่อปี ซึ่งหดตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศรวมทั้งความไม่แน่นอนทางการเมือง ทำให้การลงทุนโดยเฉพาะโครงการอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว ซึ่งส่งผลต่อความต้องการวัสดุก่อสร้างประเภทโครงสร้างหลักลดลง โดยดัชนีในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็กหดตัวร้อยละ -45.1 ต่อปี ซึ่งเป็นการลดลงในส่วนของเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กโครงสร้างรูปพรรณต่างๆ ที่ใช้ในการก่อสร้างขณะที่หมวดซีเมนต์หดตัวร้อยละ -4.2 ต่อปี ซึ่งเป็นการลดลงในส่วนของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากต้นทุนการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
สินเชื่อภาคเอกชนและเงินฝากของสถาบันรับฝากเงินในเดือน เม.ย. 52 ขยายตัวลดลง สินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงิน (ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนรวมตลาดเงิน) ในเดือน เม.ย. 52 ขยายตัวร้อยละ 5.8 ต่อปี ชะลอลงจากร้อยละ 6.4 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ จากความต้องการสินเชื่อที่ลดลงและสถาบันการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นทั้งนี้ สินเชื่อคงค้างอยู่ที่ระดับ 8,488.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่มีจำนวน 8,458.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่สินเชื่อภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากหดตัวติดต่อกันใน 3 เดือนก่อนหน้า อันเป็นผลจากการขยายตัวของสินเชื่อจากสถาบันการเงินของรัฐเป็นสำ คัญ ในด้านเงินฝากเดือน เม.ย. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี ชะลอลงจากร้อยละ 6.9 ต่อปี ในเดือนก่อน โดยในเดือน เม.ย. 52 มีเงินฝากจำนวน 9,516.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 9,496.8 พันล้านบาทในเดือนก่อนหน้า หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ทั้งนี้ หากนับรวมการออกตราสารหนี้ประเภทตั๋วแลกเงินแล้ว เงินฝากจะขยายตัวร้อยละ 8.7 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวใกล้เคียงกับช่วงที่ผ่านมาสะท้อนว่ามีการย้ายเงินฝากของผู้ฝากเงินไปสู่การลงทุนในตั๋วแลกเงินเพิ่มสูงขึ้น
Economic Indicators: Next Week
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน พ.ค. 52 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -1.5 ต่อปี ตามการผลิตที่เพิ่มขึ้นของผลผลิตสำ คัญ ได้แก่ ข้าวนาปรัง มันสำ ปะหลังและปาล์มน้ำ มันเนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม(CCI) เดือน พ.ค. 52 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 68.0 โดยสาเหตุมาจากปัจจัยทางการเมืองที่มีทิศทางดีขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า พรก. เงินกู้ 4 แสนล้านบาทไม่ขัดกฎหมาย ประกอบกับเศรษฐกิจโลกมีสัญญาณที่ปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐและจีน ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยบวกต่อภาคการผลิตและการส่งออกของไทย อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากนัก เนื่องจากการประกาศตัวเลข GDP ใน Q1/52 ของ สศช. ที่หดตัวลงมากประกอบกับสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคดังกล่าว
Foreign Exchange Review
ค่าเงินสกุลคู่ค้าหลักของไทยเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐยกเว้นค่าเงิน รูเปียห์อินโดนิเซีย และวอนเกาหลี ที่แข็งค่าขึ้นมาก ขณะที่ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง
ค่าเงินประเทศคู่ค้าของไทยส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐหลังจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของโลกที่ปรับตัวดีขึ้น เช่นตัวเลขเศรษฐกิจภาคการผลิต (ISM Manufacturing PMI) ของสหรัฐที่ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ระดับ 44.0 จุด ขณะที่ดัชนีการผลิตของยุโรปและจีนในเดือน พ.ค. ที่อยู่ที่ 40.7 และ 53.1 ปรับตัวสูงกว่าระดับอันตรายที่ 40 จุดเช่นเดียวกัน
นอกจากนั้น การที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 1 และส่งสัญญาณว่าคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับนี้อีกระยะหนึ่ง บ่งชี้ว่าภาวะการถดถอยของเศรษฐกิจแถบยุโรปน่าจะมีแนวโน้มบรรเทาลง ในส่งผลให้นักลงทุนเข้าถือเงินยูโรมากขึ้น ค่าเงินยูโรจึงแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินรูเปียห์อินโดนิเซียและค่าเงินวอนเกาหลีแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากทิศทางเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นทำให้การลงทุนในสินทรัพย์ของทั้งสองประเทศมีมากขึ้น โดยธนาคารกลางอินโดนิเซีย ได้ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ7.0 ตามตลาดคาด ขณะที่ดุลการค้าเกาหลีเกินดุลเล็กน้อย บ่งชี้ถึงสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ค่าเงินทั้งสองสกุลจึงแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
ด้านเงินเยนในช่วงสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น นักลงทุนจึงโยกย้ายเงินลงทุนจากญี่ปุ่นที่ถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ (Safe Haven Currency) ไปยังตลาดอื่น ๆ โดยเฉพาะสหรัฐและยุโรป ค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับสองสกุลหลักจึงอ่อนค่าลง
ในการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงค่าเงินภูมิภาคต่อดอลลาร์สหรัฐนับจากต้นสัปดาห์ต้นเดือน และต้นปีพบว่า เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.5, 3.3 และ 1.8 ตามลำดับ
อัตราการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการแข็งค่าขึ้นที่มากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคอาทิเช่น ค่าเงินริงกิตมาเลเซีย เปโซฟิลิปปินส์ หยวน ดอลลาร์สิงค์โปร์และดอลลาร์ฮ่องกง
สาเหตุของการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากในสัปดาห์นี้เนื่องจากกระแสการไหลเข้าของเงินทุนมาสู่ตลาดหลักทรัพย์ไทยในช่วงสัปดาห์นี้มีปริมาณสูงมากถึงประมาณ 6,500 ล้านบาท สอดคล้องกับดัชนี SET ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาถึงกว่า 40 จุด โดยปัจจัยดังกล่าวน่าจะเป็นผลจากความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยของตลาดที่มีมากขึ้นหลังจากที่ พรก.กู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้รับการอนุมัติแล้ว รวมถึงสัญญาณของเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท ทำให้ค่าเงินไม่ให้แข็งค่าขึ้นมากเกินไป
ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เมื่อเทียบกับคู่ค้าหลัก 12 สกุลเงิน (ดอลลาร์สหรัฐปอนด์สเตอร์ลิงค์ ยูโร เยน หยวน ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน วอนเกาหลีดอลลาร์สิงคโปร์ รูเปียห์อินโดนีเซีย ริงกิตมาเลเซีย และเปโซฟิลิปปินส์) ณ วันที่ 5 มิ.ย. 52 แข็งค่าขึ้นจากค่าเงิน ณ วันที่ 1 ม.ค. 52 ที่ร้อยละ 2.17 และแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วที่อยู่ที่ร้อยละ 1.88
เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน (ร้อยละ 8.3) ริงกิตมาเลเซีย (ร้อยละ 2.9) ดอลลาร์สิงคโปร์ (ร้อยละ 2.3) หยวน (ร้อยละ 1.9) ดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ 1.8) ดอลลาร์ฮ่องกง (ร้อยละ 1.8) เปโซฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 1.3) ดอลลาร์ไต้หวัน (ร้อยละ 1.2) วอนเกาหลี (ร้อยละ 0.6) ยูโร (ร้อยละ 0.3) แต่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับ ปอนด์สเตอลิงค์ (ร้อยละ -7.9) และรูเปียห์อินโดนิเซีย (ร้อยละ -5.5) ตามลำดับ
Foreign Exchange and Reserves
ในสัปดาห์ก่อน ณ วันที่ 29 พ.ค. 52 ทุนสำรองระหว่างประเทศ (Net Reserve) เพิ่มขึ้นสุทธิ 1.13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน
หน้ามาอยู่ที่ระดับ 127.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของ Gross Reserve จำนวน 0.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Forward Obligation จำนวน 0.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสาเหตุที่ทำให้ทุนสำรองเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่ธปท.เข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงินในสภาวะที่มีเงินลงทุนไหลเข้าอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีมูลค่าการซื้อสุทธิที่ประมาณ 0.04 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทในสัปดาห์ดังกล่าวสะท้อนว่า ผลจากการเข้าแทรกแซงของทางการมีมากกว่าความต้องซื้อเงินบาทของนักลงทุนต่างชาติ จึงทำให้ค่าเงินบาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า (29 พ.ค.52) 0.14 บาท จาก 34.29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็น 34.33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
Major Trading Partners Economies: This Week
สหรัฐฯประกาศปรับปรุงตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ปี 52 โดยหดตัวร้อยละ -5.7 ต่อปี เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (qoq annualized) หรือร้อยละ
-2.5 ต่อปี ซึ่งดีขึ้นกว่าการประกาศตัวเลขเบื้องต้นเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา
Revised GDP ของกลุ่มประเทศยูโรโซนไตรมาส 1 ปี 52 หดตัวลงร้อยละ -4.8 ต่อปี หดตัวเร่งขึ้นจากตัวเลข flash GDP ที่ประกาศก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ -4.6 ต่อปี และถือว่าเป็นการหดตัวครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์อันเป็นผลจากการหดตัวของการลงทุนภาคเอกชนและการส่งออก
GDP ออสเตรเลียไตรมาส 1 ปี 52 ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปี ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อปี อันเป็นผลมาจากการหดตัวของการนำเข้าสินค้าและบริการที่หดตัวรุนแรงถึงร้อยละ -10.3 ต่อปี ที่ส่งผลให้การส่งออกสินค้าและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ดี การลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐยังคงหดตัว ทั้งนี้ GDP ไตรมาส 1 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจออสเตรเลียรอดพ้นจากภาวะถดถอยทางเทคนิค
ISM Manufacturing Index ของสหรัฐฯเดือนพ.ค. 52 ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องที่ระดับ 42.8 สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 40.1 โดยยอดสั่งซื้อสินค้าใหม่และความเร็วของการส่งสินค้าจากผู้ผลิตมีการขยายตัวในขณะที่การผลิต การจ้างงาน และสินค้าคงคลังยังคงลดลง อย่างไรก็ตามดัชนีที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ยังเป็นสัญญาณว่าภาคอุตสาหกรรมยังคงหดตัว
ดัชนี PMI (Purchasing Manager Index) ภาคอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศยูโรโซนเดือน พ.ค. 52 อยู่ที่ระดับ 40.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 36.8 ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนว่าผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเริ่มมองว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยของกลุ่มประเทศยูโรโซนกำลังจะบรรเทาลงโดยมีสัญญาณจากการที่โรงงานเริ่มเตรียมตัวเพิ่มการผลิต และยอดคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะยังคงมีการปลดคนงานอยู่ก็ตาม
ดัชนีอุตสาหกรรมจีนเดือน พ.ค. 52 ที่รวบรวมโดยทางการจีนอยู่ที่ระดับ 53.1 ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ในขณะที่ดัชนีที่รวบรวมโดยบริษัท CLSA อยู่ที่ระดับ 51.2 สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย อนึ่งดัชนีที่เกินระดับ 50 สะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมจีน
สิงคโปร์เผยตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) ในเดือน พ.ค.52 ที่ระดับ 51.2 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.2 ผลจากการขยายตัวของภาคการผลิต ยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ตลอดจนการคงสินค้าคงคลัง ทั้งนี้ เดือนนี้เป็นเดือนแรกในรอบ 9 เดือนที่ค่าดัชนีสูงกว่า 50 สะท้อนการขยายตัวของภาคการผลิต
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) ของอินเดียในเดือน พ.ค. 52 ได้ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55.7 จาก 53.3 ในเดือนก่อนหน้า และถือเป็นการปรับตัวสูงขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ซึ่งสะท้อนว่าการผลิตเริ่มมีการปรับตัวดีขึ้นจากยอดคำสั่งซื้อใหม่ โดยดัชนียอดคำสั่งซื้อใหม่ในเดือนพ.ค.52 ปรับตัวดีชึ้นที่ระดับ 59.1 จาก 54.9 ในเดือนก่อนหน้า ตามอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น
มูลค่าการส่งออกสินค้าของมาเลเซียเดือนเม.ย. 52 หดตัวร้อยละ -26.3 ต่อปี หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ -15.7 ต่อปี โดยในแง่มิติสินค้า การส่งออกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นสินค้าส่งออกหลัก หดตัวร้อยละ -23.2 ต่อปี ส่วนการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้ารายใหญ่ ได้แก่ อาเซียน จีน และสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ -26.4 -9.4 และ -38.2 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าหดตัวร้อยละ -22.4 ต่อปี หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -29.0 ต่อปี และดุลการค้าเกินดุล 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าการส่งออกสินค้าของเวียดนามในเดือน พ.ค. 52 หดตัวลงมากขึ้นที่ร้อยละ -29.0 ต่อปี จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -11.6 ต่อปี โดยเป็นผลจากการหดตัวของสินค้าสำคัญ ได้แก่ สินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าว และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ที่หดตัวลงร้อยละ -24.4 และ -14.4 ต่อปี ตามลำ ดับในขณะที่หมวดสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวลงเช่นกัน โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และสิ่งทอ ที่หดตัวที่ร้อยละ -15.1 และ -13.4 ต่อปี ตามลำดับ
ธนาคารกลางยุโรปประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.00 ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำสุดในประวัติศาสตร์ โดยหันไปใช้นโยบายด้านการเข้าซื้อสินทรัพย์แทน นอกจากนี้ นักวิชาการบางส่วนยังมองว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยของกลุ่มประเทศยูโรโซนได้ผ่านพ้นไปแล้ว ในขณะที่ธนาคารกลางอินโดนีเซียเซียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือร้อยละ 7.00 จากร้อยละ 7.25 จากความกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลง เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวจากไตรมาสแรกที่หดตัวร้อยละ -6.2 ต่อปี
ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์และเหล็กในประเทศเดือน เม.ย. 52 หดตัวร้อยละ-11.0 และ -47.0 ต่อปี ตามลำดับ หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศถดถอยลง อันเนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล โดยเฉพาะการลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนประเภทที่อยู่อาศัย และอาคารพาณิชย์ที่ลดปริมาณลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์และเหล็กให้หดตัวลงตามภาวะดังกล่าว
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค. 52 อยู่ที่ร้อยละ -3.3 หดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.9 ต่อปี นับเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ห้า หากพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนนี้หดตัวร้อยละ -0.3 โดยมีปัจจัยสำคัญคือ ดัชนีในหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มหดตัวร้อยละ -0.5 โดยเฉพาะดัชนีหมวดการศึกษาลดลงกว่าร้อยละ-20.6 และหมวดเครื่องนุ่งห่มลดลงร้อยละ -3.6 เนื่องจากรัฐบาลดำเนินนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ส่งผลให้ภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาและเครื่องแบบนักเรียนลดลงนอกจากนี้ ดัชนีในหมวดผักและผลไม้ยังหดตัวร้อยละ -2.9 เนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลของผลไม้หลายชนิดเช่น เงาะ, ลิ้นจี่, ลองกอง ฯลฯ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน พ.ค. 52 หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปีที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ค. 52 หดตัวร้อยละ -21.1 ต่อปี ซึ่งหดตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศรวมทั้งความไม่แน่นอนทางการเมือง ทำให้การลงทุนโดยเฉพาะโครงการอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว ซึ่งส่งผลต่อความต้องการวัสดุก่อสร้างประเภทโครงสร้างหลักลดลง โดยดัชนีในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็กหดตัวร้อยละ -45.1 ต่อปี ซึ่งเป็นการลดลงในส่วนของเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กโครงสร้างรูปพรรณต่างๆ ที่ใช้ในการก่อสร้างขณะที่หมวดซีเมนต์หดตัวร้อยละ -4.2 ต่อปี ซึ่งเป็นการลดลงในส่วนของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากต้นทุนการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
สินเชื่อภาคเอกชนและเงินฝากของสถาบันรับฝากเงินในเดือน เม.ย. 52 ขยายตัวลดลง สินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงิน (ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนรวมตลาดเงิน) ในเดือน เม.ย. 52 ขยายตัวร้อยละ 5.8 ต่อปี ชะลอลงจากร้อยละ 6.4 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ จากความต้องการสินเชื่อที่ลดลงและสถาบันการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นทั้งนี้ สินเชื่อคงค้างอยู่ที่ระดับ 8,488.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่มีจำนวน 8,458.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่สินเชื่อภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากหดตัวติดต่อกันใน 3 เดือนก่อนหน้า อันเป็นผลจากการขยายตัวของสินเชื่อจากสถาบันการเงินของรัฐเป็นสำ คัญ ในด้านเงินฝากเดือน เม.ย. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี ชะลอลงจากร้อยละ 6.9 ต่อปี ในเดือนก่อน โดยในเดือน เม.ย. 52 มีเงินฝากจำนวน 9,516.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 9,496.8 พันล้านบาทในเดือนก่อนหน้า หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ทั้งนี้ หากนับรวมการออกตราสารหนี้ประเภทตั๋วแลกเงินแล้ว เงินฝากจะขยายตัวร้อยละ 8.7 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวใกล้เคียงกับช่วงที่ผ่านมาสะท้อนว่ามีการย้ายเงินฝากของผู้ฝากเงินไปสู่การลงทุนในตั๋วแลกเงินเพิ่มสูงขึ้น
Economic Indicators: Next Week
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน พ.ค. 52 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -1.5 ต่อปี ตามการผลิตที่เพิ่มขึ้นของผลผลิตสำ คัญ ได้แก่ ข้าวนาปรัง มันสำ ปะหลังและปาล์มน้ำ มันเนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม(CCI) เดือน พ.ค. 52 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 68.0 โดยสาเหตุมาจากปัจจัยทางการเมืองที่มีทิศทางดีขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า พรก. เงินกู้ 4 แสนล้านบาทไม่ขัดกฎหมาย ประกอบกับเศรษฐกิจโลกมีสัญญาณที่ปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐและจีน ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยบวกต่อภาคการผลิตและการส่งออกของไทย อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากนัก เนื่องจากการประกาศตัวเลข GDP ใน Q1/52 ของ สศช. ที่หดตัวลงมากประกอบกับสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคดังกล่าว
Foreign Exchange Review
ค่าเงินสกุลคู่ค้าหลักของไทยเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐยกเว้นค่าเงิน รูเปียห์อินโดนิเซีย และวอนเกาหลี ที่แข็งค่าขึ้นมาก ขณะที่ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง
ค่าเงินประเทศคู่ค้าของไทยส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐหลังจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของโลกที่ปรับตัวดีขึ้น เช่นตัวเลขเศรษฐกิจภาคการผลิต (ISM Manufacturing PMI) ของสหรัฐที่ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ระดับ 44.0 จุด ขณะที่ดัชนีการผลิตของยุโรปและจีนในเดือน พ.ค. ที่อยู่ที่ 40.7 และ 53.1 ปรับตัวสูงกว่าระดับอันตรายที่ 40 จุดเช่นเดียวกัน
นอกจากนั้น การที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 1 และส่งสัญญาณว่าคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับนี้อีกระยะหนึ่ง บ่งชี้ว่าภาวะการถดถอยของเศรษฐกิจแถบยุโรปน่าจะมีแนวโน้มบรรเทาลง ในส่งผลให้นักลงทุนเข้าถือเงินยูโรมากขึ้น ค่าเงินยูโรจึงแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินรูเปียห์อินโดนิเซียและค่าเงินวอนเกาหลีแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากทิศทางเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นทำให้การลงทุนในสินทรัพย์ของทั้งสองประเทศมีมากขึ้น โดยธนาคารกลางอินโดนิเซีย ได้ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ7.0 ตามตลาดคาด ขณะที่ดุลการค้าเกาหลีเกินดุลเล็กน้อย บ่งชี้ถึงสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ค่าเงินทั้งสองสกุลจึงแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
ด้านเงินเยนในช่วงสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น นักลงทุนจึงโยกย้ายเงินลงทุนจากญี่ปุ่นที่ถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ (Safe Haven Currency) ไปยังตลาดอื่น ๆ โดยเฉพาะสหรัฐและยุโรป ค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับสองสกุลหลักจึงอ่อนค่าลง
ในการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงค่าเงินภูมิภาคต่อดอลลาร์สหรัฐนับจากต้นสัปดาห์ต้นเดือน และต้นปีพบว่า เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.5, 3.3 และ 1.8 ตามลำดับ
อัตราการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการแข็งค่าขึ้นที่มากกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคอาทิเช่น ค่าเงินริงกิตมาเลเซีย เปโซฟิลิปปินส์ หยวน ดอลลาร์สิงค์โปร์และดอลลาร์ฮ่องกง
สาเหตุของการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากในสัปดาห์นี้เนื่องจากกระแสการไหลเข้าของเงินทุนมาสู่ตลาดหลักทรัพย์ไทยในช่วงสัปดาห์นี้มีปริมาณสูงมากถึงประมาณ 6,500 ล้านบาท สอดคล้องกับดัชนี SET ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาถึงกว่า 40 จุด โดยปัจจัยดังกล่าวน่าจะเป็นผลจากความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยของตลาดที่มีมากขึ้นหลังจากที่ พรก.กู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้รับการอนุมัติแล้ว รวมถึงสัญญาณของเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท ทำให้ค่าเงินไม่ให้แข็งค่าขึ้นมากเกินไป
ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เมื่อเทียบกับคู่ค้าหลัก 12 สกุลเงิน (ดอลลาร์สหรัฐปอนด์สเตอร์ลิงค์ ยูโร เยน หยวน ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน วอนเกาหลีดอลลาร์สิงคโปร์ รูเปียห์อินโดนีเซีย ริงกิตมาเลเซีย และเปโซฟิลิปปินส์) ณ วันที่ 5 มิ.ย. 52 แข็งค่าขึ้นจากค่าเงิน ณ วันที่ 1 ม.ค. 52 ที่ร้อยละ 2.17 และแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วที่อยู่ที่ร้อยละ 1.88
เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน (ร้อยละ 8.3) ริงกิตมาเลเซีย (ร้อยละ 2.9) ดอลลาร์สิงคโปร์ (ร้อยละ 2.3) หยวน (ร้อยละ 1.9) ดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ 1.8) ดอลลาร์ฮ่องกง (ร้อยละ 1.8) เปโซฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 1.3) ดอลลาร์ไต้หวัน (ร้อยละ 1.2) วอนเกาหลี (ร้อยละ 0.6) ยูโร (ร้อยละ 0.3) แต่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับ ปอนด์สเตอลิงค์ (ร้อยละ -7.9) และรูเปียห์อินโดนิเซีย (ร้อยละ -5.5) ตามลำดับ
Foreign Exchange and Reserves
ในสัปดาห์ก่อน ณ วันที่ 29 พ.ค. 52 ทุนสำรองระหว่างประเทศ (Net Reserve) เพิ่มขึ้นสุทธิ 1.13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน
หน้ามาอยู่ที่ระดับ 127.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของ Gross Reserve จำนวน 0.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Forward Obligation จำนวน 0.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสาเหตุที่ทำให้ทุนสำรองเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่ธปท.เข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงินในสภาวะที่มีเงินลงทุนไหลเข้าอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีมูลค่าการซื้อสุทธิที่ประมาณ 0.04 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทในสัปดาห์ดังกล่าวสะท้อนว่า ผลจากการเข้าแทรกแซงของทางการมีมากกว่าความต้องซื้อเงินบาทของนักลงทุนต่างชาติ จึงทำให้ค่าเงินบาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า (29 พ.ค.52) 0.14 บาท จาก 34.29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็น 34.33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
Major Trading Partners Economies: This Week
สหรัฐฯประกาศปรับปรุงตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ปี 52 โดยหดตัวร้อยละ -5.7 ต่อปี เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (qoq annualized) หรือร้อยละ
-2.5 ต่อปี ซึ่งดีขึ้นกว่าการประกาศตัวเลขเบื้องต้นเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา
Revised GDP ของกลุ่มประเทศยูโรโซนไตรมาส 1 ปี 52 หดตัวลงร้อยละ -4.8 ต่อปี หดตัวเร่งขึ้นจากตัวเลข flash GDP ที่ประกาศก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ -4.6 ต่อปี และถือว่าเป็นการหดตัวครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์อันเป็นผลจากการหดตัวของการลงทุนภาคเอกชนและการส่งออก
GDP ออสเตรเลียไตรมาส 1 ปี 52 ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปี ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อปี อันเป็นผลมาจากการหดตัวของการนำเข้าสินค้าและบริการที่หดตัวรุนแรงถึงร้อยละ -10.3 ต่อปี ที่ส่งผลให้การส่งออกสินค้าและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ดี การลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐยังคงหดตัว ทั้งนี้ GDP ไตรมาส 1 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจออสเตรเลียรอดพ้นจากภาวะถดถอยทางเทคนิค
ISM Manufacturing Index ของสหรัฐฯเดือนพ.ค. 52 ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องที่ระดับ 42.8 สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 40.1 โดยยอดสั่งซื้อสินค้าใหม่และความเร็วของการส่งสินค้าจากผู้ผลิตมีการขยายตัวในขณะที่การผลิต การจ้างงาน และสินค้าคงคลังยังคงลดลง อย่างไรก็ตามดัชนีที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ยังเป็นสัญญาณว่าภาคอุตสาหกรรมยังคงหดตัว
ดัชนี PMI (Purchasing Manager Index) ภาคอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศยูโรโซนเดือน พ.ค. 52 อยู่ที่ระดับ 40.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 36.8 ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนว่าผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเริ่มมองว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยของกลุ่มประเทศยูโรโซนกำลังจะบรรเทาลงโดยมีสัญญาณจากการที่โรงงานเริ่มเตรียมตัวเพิ่มการผลิต และยอดคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะยังคงมีการปลดคนงานอยู่ก็ตาม
ดัชนีอุตสาหกรรมจีนเดือน พ.ค. 52 ที่รวบรวมโดยทางการจีนอยู่ที่ระดับ 53.1 ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ในขณะที่ดัชนีที่รวบรวมโดยบริษัท CLSA อยู่ที่ระดับ 51.2 สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย อนึ่งดัชนีที่เกินระดับ 50 สะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมจีน
สิงคโปร์เผยตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) ในเดือน พ.ค.52 ที่ระดับ 51.2 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.2 ผลจากการขยายตัวของภาคการผลิต ยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ตลอดจนการคงสินค้าคงคลัง ทั้งนี้ เดือนนี้เป็นเดือนแรกในรอบ 9 เดือนที่ค่าดัชนีสูงกว่า 50 สะท้อนการขยายตัวของภาคการผลิต
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) ของอินเดียในเดือน พ.ค. 52 ได้ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55.7 จาก 53.3 ในเดือนก่อนหน้า และถือเป็นการปรับตัวสูงขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ซึ่งสะท้อนว่าการผลิตเริ่มมีการปรับตัวดีขึ้นจากยอดคำสั่งซื้อใหม่ โดยดัชนียอดคำสั่งซื้อใหม่ในเดือนพ.ค.52 ปรับตัวดีชึ้นที่ระดับ 59.1 จาก 54.9 ในเดือนก่อนหน้า ตามอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น
มูลค่าการส่งออกสินค้าของมาเลเซียเดือนเม.ย. 52 หดตัวร้อยละ -26.3 ต่อปี หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ -15.7 ต่อปี โดยในแง่มิติสินค้า การส่งออกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นสินค้าส่งออกหลัก หดตัวร้อยละ -23.2 ต่อปี ส่วนการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้ารายใหญ่ ได้แก่ อาเซียน จีน และสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ -26.4 -9.4 และ -38.2 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าหดตัวร้อยละ -22.4 ต่อปี หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -29.0 ต่อปี และดุลการค้าเกินดุล 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าการส่งออกสินค้าของเวียดนามในเดือน พ.ค. 52 หดตัวลงมากขึ้นที่ร้อยละ -29.0 ต่อปี จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -11.6 ต่อปี โดยเป็นผลจากการหดตัวของสินค้าสำคัญ ได้แก่ สินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าว และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ที่หดตัวลงร้อยละ -24.4 และ -14.4 ต่อปี ตามลำ ดับในขณะที่หมวดสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวลงเช่นกัน โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และสิ่งทอ ที่หดตัวที่ร้อยละ -15.1 และ -13.4 ต่อปี ตามลำดับ
ธนาคารกลางยุโรปประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.00 ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำสุดในประวัติศาสตร์ โดยหันไปใช้นโยบายด้านการเข้าซื้อสินทรัพย์แทน นอกจากนี้ นักวิชาการบางส่วนยังมองว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยของกลุ่มประเทศยูโรโซนได้ผ่านพ้นไปแล้ว ในขณะที่ธนาคารกลางอินโดนีเซียเซียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือร้อยละ 7.00 จากร้อยละ 7.25 จากความกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลง เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวจากไตรมาสแรกที่หดตัวร้อยละ -6.2 ต่อปี
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 108
...."ค่าเงินดอลลาร์"...by Dr.Supavut
ผมขอเขียนเกี่ยวกับเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนอีกครั้งหนึ่ง เพราะเชื่อว่าเรื่องนี้อาจจะเป็นปัญหาสำคัญได้ใน 3-6 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่รัฐมนตรีคลังสหรัฐ นาย Timothy Geithner เดินทางไปเยือนจีน และได้พูดคุยกับผู้นำจีนเกี่ยวกับนโยบายการเงินและการคลังของสหรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะส่งผลกระทบต่อทิศทางค่าเงินดอลลาร์
ประเด็นหลักของปัญหามีดังนี้
1.เศรษฐกิจสหรัฐถดถอยอย่างรุนแรง รัฐบาลจึงต้องกู้เงินเป็นจำนวนมากเพื่อกอบกู้เศรษฐกิจ เช่น เมื่อปี 2008 รัฐบาลสหรัฐขาดดุลงบประมาณเพียง 4 แสนล้านดอลลาร์ (3% ของจีดีพี) แต่ปีนี้รัฐบาลสหรัฐจะต้องขาดดุลงบประมาณ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ (13% ของจีดีพี) และจะขาดดุลต่อเนื่องอีกหลายปี ทำให้รัฐบาลสหรัฐต้องออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นหลายล้านล้านดอลลาร์ และยังจะต้องต่ออายุพันธบัตรเดิมที่หมดอายุ โดยประมาณว่า ในปีนี้อาจต้องออกพันธบัตรมากถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งตลาดอาจรับซื้อเอาไว้ไม่ได้หมด ธนาคารกลางสหรัฐจึงมีนโยบายจะเข้าไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล โดยตั้งงบในขั้นแรกเอาไว้ 3 แสนล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์จะพยุงราคาพันธบัตรให้ไม่ตกต่ำ หรืออีกนัยหนึ่งคือ กดดอกเบี้ยพันธบัตรให้รัฐบาลสหรัฐกู้เงินได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำนั่นเอง
2.การที่รัฐบาลสหรัฐจะต้องกู้เงินเป็นจำนวนมาก ทั้งๆ ที่มีหนี้สาธารณะสูงอยู่แล้ว (และในอนาคตยังมีพันธะที่จะต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมและประกันสุขภาพอีกมาก) ประกอบกับนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐที่จะพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ทำให้นักลงทุนแสดงความไม่มั่นใจในมูลค่าของพันธบัตร ยกตัวอย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปีนั้น ดอกเบี้ยเคยต่ำเพียง 2.5% ในวันที่ 18 มีนาคม แต่ปัจจุบันสูงถึง 3.7% (ณ วันที่ 1 มิ.ย.) ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ก็อ่อนตัวลงประมาณ 10% ในช่วงเดียวกัน กล่าวคือ ทุกคนที่ถือพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันหรือถือเงินดอลลาร์จะขาดทุน 10-14% ในช่วงเวลาดังกล่าว
3.รัฐบาลอเมริกันจำต้องออกพันธบัตรเพิ่มทุกเดือนประมาณเดือนละ 2.5 แสนล้านดอลลาร์ และในจำนวนนี้จะต้องพึ่งพาการซื้อของนักลงทุนต่างชาติ (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธนาคารกลางของต่างชาติ) ประมาณ 1/3 ของมูลค่าประมูลทั้งหมด สาเหตุที่ต้องพึ่งพาต่างชาติก็เพราะประเทศสหรัฐใช้จ่ายเกินตัวตลอดมา แตกต่างจากบางประเทศเช่นญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลมีหนี้สินสูงมากจริง (หนี้สาธารณะประมาณ 170% ของจีดีพี) แต่ประเทศญี่ปุ่นโดยรวมนั้น ประชาชนมีเงินออมสูง จึงไม่ต้องพึ่งพาเงินจากต่างประเทศในการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นสามารถขายพันธบัตรได้ในราคาสูง (ดอกเบี้ยต่ำ) และไม่ส่งผลกระทบทำให้ค่าเงินเยนอ่อนตัวลง
4.ประเทศจีนเป็นผู้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและผู้ถือเงินดอลลาร์รายใหญ่ของโลก โดยจีนถือพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันประมาณ 760,000 ล้านดอลลาร์ และในส่วนของทุนสำรองทั้งหมดกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ ที่มีอยู่ในขณะนี้นั้น ประมาณ 60% จะอยู่ในรูปของเงินดอลลาร์ หรือสินทรัพย์ที่ตีมูลค่าเป็นดอลลาร์ ดังนั้นจีนจึงเป็นประเทศที่สามารถจะกำหนดทิศทางของดอกเบี้ยและค่าเงินของสหรัฐได้ กล่าวคือ หากจีนไม่ซื้อดอลลาร์เพิ่ม หรือไม่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันเพิ่ม (โดยไม่ต้องขายของเดิมที่มีอยู่ออกมา) ก็จะทำให้เงินดอลลาร์อ่อนตัวและดอกเบี้ยในอเมริกาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างฉับพลัน
ดังนั้น เมื่อรัฐมนตรีคลังสหรัฐกล่าวสุนทรพจน์ว่า เป็นนโยบายหลักของสหรัฐที่จะคงค่าเงินดอลลาร์ให้แข็งแกร่ง และให้คำมั่นว่า จะรักษาวินัยทางการคลัง โดยจะลดการขาดดุลงบประมาณลงจาก 13% มาเหลือเพียง 3% ของจีดีพีภายใน 3 ปี จึงถูกสอบถามจากผู้เข้าฟังเป็นจำนวนมาก เพราะการขาดดุลงบประมาณมหาศาลและพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาเป็นจำนวนมากจะให้ผลในทางตรงกันข้ามกับคำกล่าวของรัฐมนตรีคลัง กล่าวคือ เมื่อขาดดุลงบประมาณมากก็จะทำให้ต้องออกพันธบัตรเป็นจำนวนมาก ทำให้ดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นผลลบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ (ทำให้ในปีต่อๆ ไปรัฐบาลต้องขาดดุลงบประมาณต่อเนื่อง) แต่หากธนาคารกลางสหรัฐจะพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรดังกล่าวก็จะทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยลดลงในระยะสั้น แต่จะทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงและทำให้นักลงทุนขาดความมั่นใจในการถือสินทรัพย์ที่เป็นเงินดอลลาร์
กล่าวโดยสรุปคือสหรัฐอาจเผชิญกับปัญหาดอกเบี้ยระยะยาวปรับสูงขึ้นและค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยที่รัฐบาลและธนาคารกลางสหรัฐควบคุมสถานการณ์ได้ยากและอาจกลับกลายเป็นว่าผู้ที่จะกำหนดค่าเงินดอลลาร์และดอกเบี้ยสหรัฐคือผู้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและถือดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งรายสำคัญคือธนาคารกลางต่างประเทศโดยเฉพาะจีนนั่นเอง กล่าวคือสหรัฐเป็นประเทศลูกหนี้ที่จะต้องรับฟังเงื่อนไขของเจ้าหนี้ ซึ่งรัฐบาลจีนได้ตักเตือนว่าสหรัฐต้องเป็นลูกหนี้ที่ มีความรับผิดชอบ และอย่าพิมพ์เงินออกมามากมายจนทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่า ดังนั้นจีนจึงทำหน้าที่คล้ายกับไอเอ็มเอฟในการเข้าไปกำกับดูแลนโยบายการเงินการคลังของสหรัฐ
สำหรับประเทศไทยนั้นก็เป็นประเทศหนึ่งที่เป็นเจ้าหนี้สหรัฐกล่าวคือเรามีทุนสำรองระหว่างประเทศ 120,000 ล้านดอลลาร์ ประมาณ 2/3 น่าจะเป็นสินทรัพย์ที่ถือในรูปของเงินดอลลาร์และน่าจะถือพันธบัตรสหรัฐหลายหมื่นล้านดอลลาร์และประสบปัญหาขาดทุนมาโดยตลอดในปีนี้ ดังนั้นเมื่อมีการเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าแทรกแซงซื้อเงินดอลลาร์เพื่อกดไม่ให้เงินบาทแข็งค่า ก็ต้องเข้าใจว่าเป็นการทำให้ประเทศไทยต้องถือเงินดอลลาร์มากขึ้นและมักจะต้องถือพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้นด้วย บางคนอาจแย้งว่าเมื่อได้เงินดอลลาร์มาก็ให้รีบขายแล้วเก็บเงินเป็นสกุลอื่น แต่ก็จะเป็นการขายเงินดอลลาร์กลับเข้าไปในระบบ ทำให้มีเงินดอลลาร์ส่วนเกินไหลเวียนในระบบเหมือนเดิม ในที่สุดก็จะกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก
ดังนั้นการจะกดให้เงินบาทไม่แข็งค่าจึงเป็นการยอมรับการปล่อยกู้เพิ่มให้กับสหรัฐ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านโยบายการแทรกแซงค่าเงินที่นิยมทำกันในประเทศเอเชียนั้นแม้จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่เสี่ยงต่อการด้อยค่าของทุนสำรองระหว่างประเทศและการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยครับ
ผมขอเขียนเกี่ยวกับเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนอีกครั้งหนึ่ง เพราะเชื่อว่าเรื่องนี้อาจจะเป็นปัญหาสำคัญได้ใน 3-6 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่รัฐมนตรีคลังสหรัฐ นาย Timothy Geithner เดินทางไปเยือนจีน และได้พูดคุยกับผู้นำจีนเกี่ยวกับนโยบายการเงินและการคลังของสหรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะส่งผลกระทบต่อทิศทางค่าเงินดอลลาร์
ประเด็นหลักของปัญหามีดังนี้
1.เศรษฐกิจสหรัฐถดถอยอย่างรุนแรง รัฐบาลจึงต้องกู้เงินเป็นจำนวนมากเพื่อกอบกู้เศรษฐกิจ เช่น เมื่อปี 2008 รัฐบาลสหรัฐขาดดุลงบประมาณเพียง 4 แสนล้านดอลลาร์ (3% ของจีดีพี) แต่ปีนี้รัฐบาลสหรัฐจะต้องขาดดุลงบประมาณ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ (13% ของจีดีพี) และจะขาดดุลต่อเนื่องอีกหลายปี ทำให้รัฐบาลสหรัฐต้องออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นหลายล้านล้านดอลลาร์ และยังจะต้องต่ออายุพันธบัตรเดิมที่หมดอายุ โดยประมาณว่า ในปีนี้อาจต้องออกพันธบัตรมากถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งตลาดอาจรับซื้อเอาไว้ไม่ได้หมด ธนาคารกลางสหรัฐจึงมีนโยบายจะเข้าไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล โดยตั้งงบในขั้นแรกเอาไว้ 3 แสนล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์จะพยุงราคาพันธบัตรให้ไม่ตกต่ำ หรืออีกนัยหนึ่งคือ กดดอกเบี้ยพันธบัตรให้รัฐบาลสหรัฐกู้เงินได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำนั่นเอง
2.การที่รัฐบาลสหรัฐจะต้องกู้เงินเป็นจำนวนมาก ทั้งๆ ที่มีหนี้สาธารณะสูงอยู่แล้ว (และในอนาคตยังมีพันธะที่จะต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมและประกันสุขภาพอีกมาก) ประกอบกับนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐที่จะพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ทำให้นักลงทุนแสดงความไม่มั่นใจในมูลค่าของพันธบัตร ยกตัวอย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปีนั้น ดอกเบี้ยเคยต่ำเพียง 2.5% ในวันที่ 18 มีนาคม แต่ปัจจุบันสูงถึง 3.7% (ณ วันที่ 1 มิ.ย.) ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ก็อ่อนตัวลงประมาณ 10% ในช่วงเดียวกัน กล่าวคือ ทุกคนที่ถือพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันหรือถือเงินดอลลาร์จะขาดทุน 10-14% ในช่วงเวลาดังกล่าว
3.รัฐบาลอเมริกันจำต้องออกพันธบัตรเพิ่มทุกเดือนประมาณเดือนละ 2.5 แสนล้านดอลลาร์ และในจำนวนนี้จะต้องพึ่งพาการซื้อของนักลงทุนต่างชาติ (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธนาคารกลางของต่างชาติ) ประมาณ 1/3 ของมูลค่าประมูลทั้งหมด สาเหตุที่ต้องพึ่งพาต่างชาติก็เพราะประเทศสหรัฐใช้จ่ายเกินตัวตลอดมา แตกต่างจากบางประเทศเช่นญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลมีหนี้สินสูงมากจริง (หนี้สาธารณะประมาณ 170% ของจีดีพี) แต่ประเทศญี่ปุ่นโดยรวมนั้น ประชาชนมีเงินออมสูง จึงไม่ต้องพึ่งพาเงินจากต่างประเทศในการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นสามารถขายพันธบัตรได้ในราคาสูง (ดอกเบี้ยต่ำ) และไม่ส่งผลกระทบทำให้ค่าเงินเยนอ่อนตัวลง
4.ประเทศจีนเป็นผู้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและผู้ถือเงินดอลลาร์รายใหญ่ของโลก โดยจีนถือพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันประมาณ 760,000 ล้านดอลลาร์ และในส่วนของทุนสำรองทั้งหมดกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ ที่มีอยู่ในขณะนี้นั้น ประมาณ 60% จะอยู่ในรูปของเงินดอลลาร์ หรือสินทรัพย์ที่ตีมูลค่าเป็นดอลลาร์ ดังนั้นจีนจึงเป็นประเทศที่สามารถจะกำหนดทิศทางของดอกเบี้ยและค่าเงินของสหรัฐได้ กล่าวคือ หากจีนไม่ซื้อดอลลาร์เพิ่ม หรือไม่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันเพิ่ม (โดยไม่ต้องขายของเดิมที่มีอยู่ออกมา) ก็จะทำให้เงินดอลลาร์อ่อนตัวและดอกเบี้ยในอเมริกาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างฉับพลัน
ดังนั้น เมื่อรัฐมนตรีคลังสหรัฐกล่าวสุนทรพจน์ว่า เป็นนโยบายหลักของสหรัฐที่จะคงค่าเงินดอลลาร์ให้แข็งแกร่ง และให้คำมั่นว่า จะรักษาวินัยทางการคลัง โดยจะลดการขาดดุลงบประมาณลงจาก 13% มาเหลือเพียง 3% ของจีดีพีภายใน 3 ปี จึงถูกสอบถามจากผู้เข้าฟังเป็นจำนวนมาก เพราะการขาดดุลงบประมาณมหาศาลและพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาเป็นจำนวนมากจะให้ผลในทางตรงกันข้ามกับคำกล่าวของรัฐมนตรีคลัง กล่าวคือ เมื่อขาดดุลงบประมาณมากก็จะทำให้ต้องออกพันธบัตรเป็นจำนวนมาก ทำให้ดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นผลลบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ (ทำให้ในปีต่อๆ ไปรัฐบาลต้องขาดดุลงบประมาณต่อเนื่อง) แต่หากธนาคารกลางสหรัฐจะพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรดังกล่าวก็จะทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยลดลงในระยะสั้น แต่จะทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงและทำให้นักลงทุนขาดความมั่นใจในการถือสินทรัพย์ที่เป็นเงินดอลลาร์
กล่าวโดยสรุปคือสหรัฐอาจเผชิญกับปัญหาดอกเบี้ยระยะยาวปรับสูงขึ้นและค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยที่รัฐบาลและธนาคารกลางสหรัฐควบคุมสถานการณ์ได้ยากและอาจกลับกลายเป็นว่าผู้ที่จะกำหนดค่าเงินดอลลาร์และดอกเบี้ยสหรัฐคือผู้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและถือดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งรายสำคัญคือธนาคารกลางต่างประเทศโดยเฉพาะจีนนั่นเอง กล่าวคือสหรัฐเป็นประเทศลูกหนี้ที่จะต้องรับฟังเงื่อนไขของเจ้าหนี้ ซึ่งรัฐบาลจีนได้ตักเตือนว่าสหรัฐต้องเป็นลูกหนี้ที่ มีความรับผิดชอบ และอย่าพิมพ์เงินออกมามากมายจนทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่า ดังนั้นจีนจึงทำหน้าที่คล้ายกับไอเอ็มเอฟในการเข้าไปกำกับดูแลนโยบายการเงินการคลังของสหรัฐ
สำหรับประเทศไทยนั้นก็เป็นประเทศหนึ่งที่เป็นเจ้าหนี้สหรัฐกล่าวคือเรามีทุนสำรองระหว่างประเทศ 120,000 ล้านดอลลาร์ ประมาณ 2/3 น่าจะเป็นสินทรัพย์ที่ถือในรูปของเงินดอลลาร์และน่าจะถือพันธบัตรสหรัฐหลายหมื่นล้านดอลลาร์และประสบปัญหาขาดทุนมาโดยตลอดในปีนี้ ดังนั้นเมื่อมีการเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าแทรกแซงซื้อเงินดอลลาร์เพื่อกดไม่ให้เงินบาทแข็งค่า ก็ต้องเข้าใจว่าเป็นการทำให้ประเทศไทยต้องถือเงินดอลลาร์มากขึ้นและมักจะต้องถือพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้นด้วย บางคนอาจแย้งว่าเมื่อได้เงินดอลลาร์มาก็ให้รีบขายแล้วเก็บเงินเป็นสกุลอื่น แต่ก็จะเป็นการขายเงินดอลลาร์กลับเข้าไปในระบบ ทำให้มีเงินดอลลาร์ส่วนเกินไหลเวียนในระบบเหมือนเดิม ในที่สุดก็จะกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก
ดังนั้นการจะกดให้เงินบาทไม่แข็งค่าจึงเป็นการยอมรับการปล่อยกู้เพิ่มให้กับสหรัฐ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านโยบายการแทรกแซงค่าเงินที่นิยมทำกันในประเทศเอเชียนั้นแม้จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่เสี่ยงต่อการด้อยค่าของทุนสำรองระหว่างประเทศและการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยครับ
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 109
เงินบาทปิดตลาด 34.34/43 นักลงทุนซื้อดอลลาร์หลังคาดศก.สหรัฐดีขึ้น
นักบริหารเงิน ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 34.34/43 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้าที่อยู่ระดับ 34.23/25 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าตามค่าเงินสกุลภูมิภาคและค่าเงินสกุลหลัก เนิ่องจากเงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นหลังทางการสหรัฐประกาศตัวเลขการเลิกจ้างเดือน พ.ค. ชะลอลงมาอยู่ที่ 345,000 ราย ทำให้นักวิเคราะห์และเทรดเดอร์คาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐ อาจจะปรับตัวเร็วขึ้นกว่าที่คาด ซึ่งสะท้อนถึงเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มดีขึ้น
"ตอนนี้ยังเป็นการคาดการณ์เท่านั้นว่าเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มดีขึ้น แต่อาจไม่เร็วอย่างที่คิด โดยอาจสะท้อนว่าดอกเบี้ยสหรัฐอาจจะเริ่มเข้าสู่ขาขึ้นแล้ว ทำให้นักลงทุนหันมาซื้อดอลลาร์กันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเงินบาทช่วงนี้ เป็นไปตามตามข่าวจากต่างประเทศ ซึ่งต้องติดตามเป็นรายวัน"นักบริหารเงิน กล่าว
ส่วนค่าเงินสกุลต่างประเทศช่วงปิดตลาดเย็นวันนี้ เงินเยน อยู่ที่ 98.30/81 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าอยู่ที่ 98.56/58 เยน/ดอลลาร์ เงินยูโร อยู่ที่ 1.3770/3830 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าอยู่ที่ 1.3942/45 ดอลาร์/ยูโร
แนวโน้มเงินบาทวันพรุ่งนี้คาดว่าอยู่ในกรอบแคบๆ โดยมีแนวรับที่ 34.20 บาท/ดอลลาร์
นักบริหารเงิน ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 34.34/43 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้าที่อยู่ระดับ 34.23/25 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าตามค่าเงินสกุลภูมิภาคและค่าเงินสกุลหลัก เนิ่องจากเงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นหลังทางการสหรัฐประกาศตัวเลขการเลิกจ้างเดือน พ.ค. ชะลอลงมาอยู่ที่ 345,000 ราย ทำให้นักวิเคราะห์และเทรดเดอร์คาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐ อาจจะปรับตัวเร็วขึ้นกว่าที่คาด ซึ่งสะท้อนถึงเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มดีขึ้น
"ตอนนี้ยังเป็นการคาดการณ์เท่านั้นว่าเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มดีขึ้น แต่อาจไม่เร็วอย่างที่คิด โดยอาจสะท้อนว่าดอกเบี้ยสหรัฐอาจจะเริ่มเข้าสู่ขาขึ้นแล้ว ทำให้นักลงทุนหันมาซื้อดอลลาร์กันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเงินบาทช่วงนี้ เป็นไปตามตามข่าวจากต่างประเทศ ซึ่งต้องติดตามเป็นรายวัน"นักบริหารเงิน กล่าว
ส่วนค่าเงินสกุลต่างประเทศช่วงปิดตลาดเย็นวันนี้ เงินเยน อยู่ที่ 98.30/81 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าอยู่ที่ 98.56/58 เยน/ดอลลาร์ เงินยูโร อยู่ที่ 1.3770/3830 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าอยู่ที่ 1.3942/45 ดอลาร์/ยูโร
แนวโน้มเงินบาทวันพรุ่งนี้คาดว่าอยู่ในกรอบแคบๆ โดยมีแนวรับที่ 34.20 บาท/ดอลลาร์
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 110
PIMCO เผยศก.แย่ คาดธนาคารกลางหลายประเทศยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยตอนนี้
แปซิฟิก อินเวสท์เมนท์ แมเนจเมนท์ (PIMCO) กองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้รายใหญ่ที่สุดในโลก กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกดู "ย่ำแย่" และธนาคารกลางหลายประเทศจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยในตอนนี้
"คงต้องใช้เวลาพักใหญ่กว่าธนาคารกลางจะขึ้นดอกเบี้ย" แอนดรูว บอลส์ กรรมการผู้จัดการกองทุน ระบุในรายงานที่เปิดเผยผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท
บอลส์กล่าวว่า ธนาคารกลางอังกฤษจะยังตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำมาก ในขณะที่หนี้ในระยะสั้นมีแนวโน้มว่าจะเคลื่อนไหวตามอัตราดอกเบี้ย ส่วนหนี้ระยะยาวมีแนวโน้มว่าจะได้รับอิทธิพลจากอัตราเงินเฟ้อ
"ในระยะสั้นเราจะได้เห็นแรงกดดันจากอัตราเงินฝืด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรโซนก็อยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว ส่วนอัตราเงินเฟ้อในอังกฤษก็กำลังลดลงเรื่อยๆ" รายงานดังกล่าวระบุ
ทั้งนี้ บิล กรอส เป็นผู้บริหารร่วมของ PIMCO ซึ่งเป็นบริษัทในเครืออัลลิแอนซ์ เอสอี (Allianz SE) สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงาน
แปซิฟิก อินเวสท์เมนท์ แมเนจเมนท์ (PIMCO) กองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้รายใหญ่ที่สุดในโลก กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกดู "ย่ำแย่" และธนาคารกลางหลายประเทศจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยในตอนนี้
"คงต้องใช้เวลาพักใหญ่กว่าธนาคารกลางจะขึ้นดอกเบี้ย" แอนดรูว บอลส์ กรรมการผู้จัดการกองทุน ระบุในรายงานที่เปิดเผยผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท
บอลส์กล่าวว่า ธนาคารกลางอังกฤษจะยังตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำมาก ในขณะที่หนี้ในระยะสั้นมีแนวโน้มว่าจะเคลื่อนไหวตามอัตราดอกเบี้ย ส่วนหนี้ระยะยาวมีแนวโน้มว่าจะได้รับอิทธิพลจากอัตราเงินเฟ้อ
"ในระยะสั้นเราจะได้เห็นแรงกดดันจากอัตราเงินฝืด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรโซนก็อยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว ส่วนอัตราเงินเฟ้อในอังกฤษก็กำลังลดลงเรื่อยๆ" รายงานดังกล่าวระบุ
ทั้งนี้ บิล กรอส เป็นผู้บริหารร่วมของ PIMCO ซึ่งเป็นบริษัทในเครืออัลลิแอนซ์ เอสอี (Allianz SE) สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงาน
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 111
สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่1 (มกราคมมีนาคม) พ.ศ.2552 (เศรษฐกิจโลก)
ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 1 ปี 2552 เศรษฐกิจหลาย ๆ ประเทศยังคงอยู่ในภาวะถดถอยต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ปัญหาการว่างงานของประเทศต่าง ๆ ยังคงมีอยู่และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น
ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ 43.47 USD/Barrel ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ 91.03 USD/Barrel เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงหดตัว ทำให้ความต้องการน้ำมันลดลง นอกจากนี้ตลาดยังกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ระบาดอยู่ในขณะนี้อาจจะส่งผลต่อการใช้น้ำมัน โดยเฉพาะน้ำมันอากาศยาน จากการท่องเที่ยวและการเดินทางของสายการบินที่น่าจะลดลง สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวขึ้นลง โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนมิถุนายน ลดลง 2.50 USD/Barrel โดยมีราคาอยู่ที่ 56.34 USD/Barrel ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ และสต๊อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 ปี 2552 GDP หดตัวร้อยละ 2.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 1 ปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 0.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งขยายตัว ร้อยละ 4.6 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 1 ปี 2552 หดตัวร้อยละ 26.0 เป็นการหดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่หดตัวอยู่ร้อยละ 9.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 29.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 76.5 อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 70.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 80.1 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 97.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 112.0
การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 15.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.4 การส่งออกสินค้าโดยเฉพาะรถยนต์ลดลงอย่างมาก การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 19.0 เป็นการลดลงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ลดลงร้อยละ 1.6 เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ลดลง
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ -0.04 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.1 อันเนื่องมาจากราคาพลังงานและอาหารอยู่ในระดับต่ำ อัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 8.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.9 เป็นผลมาจากการลดลงของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม และภาคการเงิน
ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะถดถอย
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาส 1 ปี 2552 ยังอยู่ในภาวะถดถอย ปัญหาการว่างงานและระบบการเงินยังคงมีอยู่ แต่มีสัญญาณที่ชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัวในระดับหนึ่ง เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์ และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าภาวะตึงตัวในตลาดการเงินเริ่มบรรเทาลงบ้างแล้ว
เศรษฐกิจจีน
เศรษฐกิจประเทศจีนในไตรมาส 1 ปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 6.1 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.6 สาเหตุหลักมาจากการส่งออกที่หดตัวลงอย่างรุนแรง มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 1 ปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 14.9 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 20.6 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 86.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 94.8 ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 1 ปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 27.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 24.8 เนื่องมาจากรัฐบาลเพิ่มเงินลงทุนในโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ท่อน้ำมัน และโครงการที่อยู่อาศัยต้นทุนต่ำ ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 51.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 58.5
การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 20.12 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 21.21 การส่งออกที่หดตัวอย่างรุนแรงเนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหดตัวการนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 30.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 29.1 สะท้อนถึงเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว
ภาวะเงินเฟ้อของประเทศจีนในไตรมาส 1 ปี 2552 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ-0.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.6 เป็นผลมาจากราคาสินค้าในหมวดอาหาร และสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในระดับต่ำ อัตราการว่างงานในไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.0 อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นสืบเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจการค้าโลกที่ซบเซาทำให้แรงงานจีนต้องตกงานเป็นจำนวนหลายล้านคน นอกจากนี้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนยังอยู่ในระดับต่ำอีกด้วย
ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางจีน (Peoples Bank of China) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 5.31
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 1 ปี 2552 ยังคงขยายตัวแต่ในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากการส่งออกที่หดตัวอย่างรุนแรง ถึงแม้จีนจะมีปัญหาดังกล่าวแต่จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน ทำให้ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ปี 2552 ปรับตัวดีขึ้น เช่น การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 2551 GDP หดตัวร้อยละ 4.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 4 ปี 2551 หดตัวร้อยละ 0.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 28.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 36.1 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคครัวเรือนในไตรมาส 4 ปี 2551 หดตัวร้อยละ 0.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.6 เนื่องจากประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย โดยเฉพาะรายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์และสังคมที่ลดลง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกยังคงถดถอยอย่างต่อเนื่อง การลงทุนในภาคก่อสร้าง ไตรมาส 4 ปี 2551 หดตัวร้อยละ 12.8 เป็นการหดตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่หดตัวร้อยละ 21.4 ได้รับผลกระทบรุนแรงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยเนื่องจากขาดสภาพคล่อง ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 72.23 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 109.43
การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 46.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.9 เป็นการลดลงในตลาดส่งออกหลัก เช่น สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 37.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.5
ภาวะเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ปี 2552 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.0 เป็นผลมาจากราคาน้ำมัน heating oil และราคาสินค้าอาหารปรับตัวลดลง อัตราการว่างงานในไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.0 เป็นผลกระทบจากเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ภาคเอกชนลดกำลังการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็นอุตสาหกรรมหลักได้ลดกำลังการผลิตและระงับการผลิต
ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 และรอดูสถานการณ์หลังจากที่รัฐบาลได้ใช้มาตรการกระตุ้นทางการเงิน รวมถึงการเสริมสภาพคล่องและสนับสนุนด้านการเงินภาคบริษัทเอกชน
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ปี 2552 คาดว่ายังคงอยู่ในภาวะถดถอย โดยมีการส่งออกที่ลดลง อัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น การใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ยังคงลดลง ซึ่งตัวชี้วัดเหล่านี้ยังไม่ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นตัว
เศรษฐกิจสหภาพยุโรป
เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรปในไตรมาส 4 ปี 2551 GDP หดตัวร้อยละ 1.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.6 ในส่วนของ GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 4 ปี 2551 หดตัวร้อยละ 7.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 เนื่องจากการส่งออกที่หดตัวอย่างรุนแรง การบริโภคไตรมาส 4 ปี 2551 หดตัวร้อยละ 1.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 อุปสงค์ภายในประเทศในไตรมาส 4 ปี 2551 หดตัวร้อยละ 2.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 4 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 98.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 อยู่ที่ระดับ 109.3 และใน 2 เดือนแรกของปี 2552 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 93
การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2551 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 2.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 สำหรับมูลค่าการส่งออกใน 2 เดือนแรกของปี 2552 ลดลงร้อยละ 23.4 การส่งออกที่ลดลงอย่างรุนแรงเป็นผลมาจากความต้องการของโลกหดตัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ และเครื่องจักร การนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2551 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 1.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.8 สำหรับมูลค่าการนำเข้าใน 2 เดือนแรกของปี 2552 ลดลงร้อยละ 21.7
ภาวะเงินเฟ้อทั่วไปของกลุ่มประเทศยุโรปในไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.4 สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อลดลงเป็นผลจากราคาพลังงานและราคาอาหารที่อยู่ในระดับต่ำ อัตราการว่างงานในไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 8.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.8 เนื่องจากบริษัทหลาย ๆ บริษัท ลดกำลังการผลิตและปลดพนักงานเพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 1.25 เหลือร้อยละ 1.0 (เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2552)
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 1 ปี 2552 คาดว่ายังคงอยู่ในภาวะถดถอยที่รุนแรง จากตัวเลขการส่งออกที่หดตัวอย่างรุนแรง และอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น และยังไม่มีสัญญาณใดที่จะบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหภาพยุโรปจะฟื้นตัว
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมในเอเซีย
เศรษฐกิจฮ่องกง
ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 GDP หดตัวที่ร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เนื่องจากสภาวะวิกฤติทางตลาดการเงินทั่วโลกส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจฮ่องกงให้การลงทุนและอุปสงค์ภายในประเทศหดตัวลงมาก โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน ส่งผลให้ในปี 2551 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 2.5
การส่งออกของฮ่องกงในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 18.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 โดยมีมูลค่าการส่งออก 69,644 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกประเภท Electrical Machinery, ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 27,866 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ Machinery(Reactors, Boilers), Precious Stones, Toys and Sports และ Woven Apparel ตามลำดับ ซึ่งการส่งออกกว่าร้อยละ 45 ของการส่งออกทั้งหมด ส่งออกไปยังจีน โดยมีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 31,262 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่นและเยอรมัน ซึ่งตลาดส่งออกหลักส่วนใหญ่ลดลงมาก ในขณะที่การส่งออกของฮ่องกงไปยังอังกฤษในไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 57.78 ในขณะที่ฮ่องกงมีมูลค่าการนำเข้าจากทั่วโลกทั้งหมด 71,320 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 21.22 การนำเข้าของฮ่องกงส่วนใหญ่นำเข้าจากจีน 32,733 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่าร้อยละ 45.9 ของการนำเข้าทั้งหมด และการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าประเภท Electrical Machinery ที่มีมูลค่าการนำเข้าถึง 27,602 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 38.70 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมาคือ Machinery(Reactors, Boilers), Precious Stones และ Toys and Sports ตามลำดับ
ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 108.0 โดยทางการฮ่องกงได้ออกมาตรการอุดหนุนค่าไฟฟ้า ประกอบกับราคาพลังงานและค่าอาหารที่ลดลง
ด้านการเงินการคลัง เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2551 ธนาคารกลางฮ่องกงประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากร้อยละ 1.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.5 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากภาคการส่งออกได้รับความเสียหายอย่างมากจากความต้องการสินค้าทั่วโลกลดลง
เกาหลีใต้
เศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ในไตรมาส 4 ของปี 2551 GDP หดตัวร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เป็นการขยายตัวต่ำที่สุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 โดยการขยายตัวที่ลดลงในไตรมาสที่ 4 นี้เป็นผลกระทบมาจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนรวมทั้งการส่งออกที่หดตัวลงค่อนข้างมาก ส่งผลให้เศรษฐกิจของเกาหลีใต้ทั้งปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ซึ่งขยายตัวชะลอลงจากร้อยละ 5.0 ในปี 2550
ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 111.6 เป็นการปรับตัวลดลงตามราคาค่าขนส่งและคมนาคมที่ลดลง
การส่งออกของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 มูลค่าการส่งออกลดลงอยู่ที่ร้อยละ 24.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 โดยมีมูลค่าการส่งออก 74,712 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าประเภท Electrical Machinery ที่มีมูลค่าการส่งออก 17,811 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทนี้ลดลงร้อยละ 29.45 รองลงมาคือ อุตสาหกรรมประเภท Ships and Boats ที่มูลค่าการส่งออกในไตรมาสนี้ขยายตัวถึงร้อยละ 43.49 แต่สินค้าส่งออกหลักอื่นๆ ลดลงมากแทบทุกสินค้า เช่น สินค้าประเภท Machinery, Vehicles, Optical ที่มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 29.52, 45.86 และ 23.89 ตามลำดับ โดยตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นประเทศจีนกว่า 16,518 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 22.11 รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและฮ่องกง ที่มีการส่งออกร้อยละ 11.18, 6.21 และ 5.41 ตามลำดับ ซึ่งตลาดส่งออกหลักมีมูลค่าการส่งออกลดลงเช่นกัน เช่น จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและฮ่องกง โดยมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 25.07, 24.79, 33.74 และ 7.50 ตามลำดับ โดยรัฐบาลเกาหลีใต้ได้ปรับลดการคาดการณ์มูลค่าการส่งออกปี 2552 เป็นลดลงร้อยละ 13.5 ถือเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 51 ปี เนื่องจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างหนัก ขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 32.88 โดยมีมูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 ทั้งสิ้น 71,182 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการนำเข้าสินค้าประเภท Mineral Fuel, Oil ที่มีมูลค่าการนำเข้า 22,604 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 31.76 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมาคือสินค้าประเภท Electrical Machinery, Machinery(Reactors, Boilers) และ Iron and Steel ตามลำดับ ที่มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 15.51, 10.70 และ 6.58 ตามลำดับ ในขณะที่การนำเข้าส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศ จีน ร้อยละ 17.19, ญี่ปุ่น ร้อยละ 14.91 และ สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 8.01
ด้านการเงินการคลังของเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 2.5 มาเป็นร้อยละ 2.0 เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศชะลอลงอย่างรวดเร็ว โดยการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศชะลอลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภาวะการส่งออกที่หดตัวอย่างรุนแรง ในขณะที่อัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 3.8
สิงค์โปร์
เศรษฐกิจประเทศสิงค์โปร์ในไตรมาส 4 ของปี 2551 หดตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ทั้งนี้เป็นผลมาจากภาคการผลิตโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการหดตัวลงของภาคบริการที่เริ่มเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจสิงค์โปร์ในปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ซึ่งชะลอตัวลงจากปี 2550 โดยทางการสิงค์โปร์ได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2552 ลงเป็นหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ถึง 5.0
ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 110.6 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและที่พักอาศัยที่สูงขึ้นมาก รวมทั้งการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2550
การส่งออกของสิงค์โปร์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยมีมูลค่าการส่งออก 69,308 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าประเภท Electrical Machinery ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 23,030 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 33.23 รองลงมาคือ สินค้าประเภท Machinery (Reactors, Boilers) และ Mineral Fuel ที่มีมูลค่าการส่งออก 13,053 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 10,108 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย โดยมีมูลค่าการส่งออก 8,261 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 11.92 ของการส่งออกทั้งหมด โดยมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียลดลงร้อยละ 21.75 รองลงมาคือการส่งออกไปยังประเทศอินโดนีเซีย 7,469 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.57 รองลงมาคือ อินโดนีเซียและจีน ขณะที่การนำเข้าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ที่มูลค่าการนำเข้าลดลงที่ร้อยละ 9.19 โดยมีมูลค่าการนำเข้า 67,265 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าประเภท Electrical Machinery ที่มีมูลค่าการนำเข้า 17,641 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือสินค้าประเภท Mineral Fuel และ Machinery (Reactors, Boiler) ตามลำดับ
อินโดนีเซีย
เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ชะลอลง ประกอบกับภาคการส่งออกที่ชะลอลงในขณะที่การนำเข้าหดตัว ส่งผลให้เศรษฐกิจทั้งปี 2551 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 ลดลงจากร้อยละ 6.1 ในปี 2550
ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 114.0 โดยเป็นระดับที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นตามราคาของสินค้าไนทุกหมวดโดยเฉพาะราคาค่าอาหารและเสื้อผ้า
การส่งออกของอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 5.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยมีมูลค่าการส่งออก 29,352 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการส่งออกส่วนใหญ่ยังคงเป็นการส่งออกของอุตสาหกรรม Mineral Fuel, Fats and Oils, Electrical Machinery และ Machinery(Reactors, Boilers) โดยมีมูลค่าการส่งออก 7,834, 3,355, 2,221 และ 1,460 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกหลักคือ ญี่ปุ่น ที่มีมูลค่าการส่งออก 5,860 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา สิงค์โปร์ และ จีน ในขณะที่มูลค่าการนำเข้ายังคงเพิ่มขึ้นมาก โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.13 โดยมีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 27,556 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่นำเข้าสินค้าประเภท Machinery (Reactors, Boilers), Mineral Fuel, Electrical Machinery และ Iron and Steel ตามลำดับ และเป็นการนำเข้าจากประเทศ ญี่ปุ่น สิงค์โปร์ จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และประเทศไทย ตามลำดับ
ด้านการเงินการคลังของประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2552 ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย BI Rate ลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 8.75 มาเหลือร้อยละ 8.25 ซึ่งถือว่าเป็นการปรับลดเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดย BI ประเมินว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ด้านเงินเฟ้อก็มีแนวโน้มที่จะชะลอลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
มาเลเซีย
ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซียในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 0.07 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากร้อยละ 4.6 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 ซึ่งเป็นผลมาจากการภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดย Malaysian Institute of Economic Research (MIER) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยชั้นนำของมาเลเซียคาดการณ์เศรษฐกิจมาเลเซียในปี 2552 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.3 เนื่องจากการส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลักชะลอตัวลงจากปัญหาวิกฤติการเงินโลก โดยเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 รัฐบาลมาเลเซียประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 60 พันล้านริงกิต (ประมาณ 16.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 9 ของ GDP) ซึ่งมีแผนจะใช้จ่ายในช่วงปี 2552-2553 โดยจะส่งผลให้ยอดขาดดุลงบประมาณต่อ GDP ของมาเลเซียเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.8 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 7.6 ในปี 2552 ทั้งนี้ รัฐบาลมาเลเซียคาดว่าเศรษฐกิจมาเลเซียจะหดตัวร้อยละ 1 ในปี 2552 และคาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.7 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 4.5 ในปี 2552
ทางด้านการเงินการคลัง เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 2.5 เหลือร้อยละ 2.0 ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งที่ 3 ติดต่อกัน นอกจากนี้ ธนาคารกลางมาเลเซียยังได้ปรับลดอัตราส่วนการดำรงเงินสดสำรองทางการของธนาคารพาณิชย์ลงร้อยละ 1.0 จากร้อยละ 2.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.0 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ตกต่ำ
การส่งออกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 12.58 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 42,603 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในกลุ่มของ Electrical Machinery ที่มีมูลค่าการส่งออก 10,850 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 25.47 ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือสินค้าประเภท Mineral Fuel และ Machinery (Reactors, Boilers) โดยมีมูลค่าการส่งออก 8,252 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 6,944 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ โดยส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด ที่มีมูลค่าการส่งออก 6,015 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 14.12 ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา จีน และ ไทย ส่วนการนำเข้าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 17.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยใน ไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 33,413 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศจีน ร้อยละ 13.85 รองลงมาคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและสิงค์โปร์
ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 111.8 โดยเป็นระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 เป็นการเพิ่มขึ้นตามราคาค่าอาหารและการขนส่งที่เพิ่มขึ้น
ฟิลิปปินส์
เศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยเป็นขยายตัวในอัตราที่ลดลง ทั้งนี้เนื่องจากจากการเติบโตของการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและภาคเอกชนที่ชะลอตัวลง แต่ถือว่ายังคงขับเคลื่อนไปได้เนื่องจากราคาสินค้าที่ลดลงทำให้เกิดการซื้อเพิ่มขึ้น โดยส่งผลให้เศรษฐกิจทั้งปี ขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 ซึ่งลดลงจากร้อยละ 6.9 ในปีก่อน
ดัชนีราคาผู้บริโภคของฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 157.8 เป็นระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในทุกหมวด ยกเว้นราคาของพลังงานที่ลดลง
ด้านการเงินการคลัง ในเดือนมกราคม ปี 2552 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 5.0 เนื่องจากความเสี่ยงทางด้านราคาได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน อุปสงค์ภายในประเทศและอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ที่ลดลง
ทางด้านการส่งออกของฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 22.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 10,158 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสินค้าที่ส่งออกมาก ได้แก่สินค้าประเภท Special Classification Provisions, Nesoi ที่มีมูลค่าการส่งออก 3,021 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 29.75 รองลงมาคือสินค้าประเภท Electrical Machinery และ Machinery (Reactors, Boilers) โดยการส่งออก Special Classification Provisions, Nesoi มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 27.31 และการส่งออกส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา 1,866 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 18.37 ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และ จีน ส่วนทางด้านการนำเข้าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 25.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ซึ่งในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 11,359 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา 1,616 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 14.23 รองลงมาคือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีนและไต้หวัน ที่มีการนำเข้าร้อยละ 13.06, 9.12, 8.66 และ 6.52 ตามลำดับ โดยสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภท Mineral Fuel มีมูลค่าการนำเข้า 2,109 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 18.57 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมาคือสินค้าประเภท Special Classification Provisions, Nesoi และ Electrical Machinery ตามลำดับ
ด้านแรงงาน ประธานาธิบดี Gloria Arroyo เรียกร้องให้แรงงานฟิลิปปินส์ออกไปหางานทำนอกประเทศมากขึ้น เนื่องจากแรงงานในประเทศมีความเสี่ยงที่จะตกงานมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง โดยกระทรวงแรงงานฟิลิปปินส์ระบุว่าในช่วงเดือนธันวาคม 2551-มกราคม 2552 มีแรงงานฟิลิปปินส์ประมาณ 15,000 คน ถูกเลิกจ้าง และแรงงานอีกประมาณ 19,000 คน ถูกลดวันทำงานเหลือ 4 วันต่อสัปดาห์ พร้อมทั้งคาดว่าในปี 2552 จะมีแรงงานฟิลิปปินส์ตกงานถึง 800,000 คน ทั้งนี้ ปัจจุบันมีแรงงานฟิลิปปินส์กว่า 9 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ออกไปทำงานในต่างประเทศ โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2551 มีรายได้ส่งกลับจากแรงงานในต่างประเทศสูงถึง 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 10 ของ GDP
อินเดีย
เศรษฐกิจของประเทศอินเดียในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยภาคการผลิตหดตัวร้อยละ 0.2 และภาคเกษตรกรรมหดตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550
ดัชนีราคาผู้บริโภคของอินเดียในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 148.0 เป็นระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นมากของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และพลังงาน
ด้านการเงินการคลัง เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2552 ธนาคารกลางอินเดีย (Reserve Bank of India : RBI) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Repurchase Rate) จากร้อยละ 5.0 เหลือร้อยละ 4.75 พร้อมกับลด Reverse Repurchase Rate จากร้อยละ 3.5 เหลือร้อยละ 3.25 เพื่อเป็นแนวทางให้ธนาคารพาณิชย์ในอินเดียลดอัตราดอกเบี้ยและช่วยกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศ
ทางด้านการส่งออกของประเทศอินเดียในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 25.25 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 เป็นการขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 37.1 โดยไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 47,172 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าที่ส่งออกมาก ได้แก่สินค้าประเภท Mineral Fuel ที่มีมูลค่าการส่งออก 9,745 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 20.66 ซึ่งการส่งออกสินค้าประเภทนี้ขยายตัวร้อยละ 50.82 รองลงมาคือสินค้าประเภท Precious Stones และ Iron and Steel ที่การส่งออกขยายตัวร้อยละ 9.0 และ 82.04 ตามลำดับ โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 การส่งออกส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา 5,717 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 12.12 ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือ สหรัฐอาหรับฯ สิงค์โปร์ และ จีน ส่วนทางด้านการนำเข้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 52.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ซึ่งในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 84,632 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศจีน 8,161 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 25.73 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมาคือ ซาอุดิอาระเบีย และอิหร่าน ที่มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 9.08 และ 5.83 ของการนำเข้าทั้งหมด ตามลำดับ โดยสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภท Mineral Fuel มีมูลค่าการนำเข้า 36,825 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 43.51 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมาคือสินค้าประเภท Precious Stones และ Machinery(Reactors, Boilers) ตามลำดับ
สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศที่สำคัญ
ประเทศ ปี 2550 ------------------------ ปี 2551 ---------------------- ปี 2552
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ทั้งปี ไตรมาส 1
GDP (%yoy)
สหรัฐอเมริกา 2 2.5 2.1 0.7 -0.8 1.1 -2.6
สหภาพยุโรป 2.7 2.2 1.5 0.4 -1.7 0.6 n.a.
ญี่ปุ่น 2.4 1.5 0.7 -0.2 -4.3 -0.6 n.a.
จีน 13.2 10.6 10.4 9.9 9 10 6.1
ฮ่องกง 6.2 7 4.2 1.7 -2.5 2.5 n.a.
เกาหลีใต้ 5 5.8 4.8 3.1 -3.5 2.5 -4.4
สิงค์โปร์ 7.5 6.5 2.5 0.04 -4.3 1.1 n.a.
อินโดนีเซีย 6.1 6.1 6.2 6.2 5.1 5.9 n.a.
มาเลเซีย 6.2 7.2 6.5 4.6 0.1 4.5 n.a.
ฟิลิปปินส์ 6.9 4.5 4.3 4.8 4.4 4.5 n.a.
อินเดีย 9.3 8.7 7.8 7.4 4.3 7.1 n.a.
MPI (YoY%) ปี 2550 ----------------------- ปี 2551 --------------------- ปี 2552
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ทั้งปี ไตรมาส 1
สหรัฐอเมริกา 1.5 1.4 -0.4 -3.2 -6.6 -2.2 -11.8
สหภาพยุโรป 3.7 2.8 0 -3.7 -9.8 -2.7 n.a.
ญี่ปุ่น 3 3.5 1.6 -3.3 -15 -3.3 -3.4
จีน 2 -1.2 -5.4 -13.7 -31.3 -13 -12.6
ฮ่องกง -1.5 -4.5 -4.3 -6.9 -6.8 -11 n.a.
เกาหลีใต้ 6.7 10.4 8.5 5.4 -12 3 -16.9
สิงค์โปร์ 5.7 11.6 -5.7 -11.6 -11.4 -4.2 -30.3
อินโดนีเซีย 5.4 5.7 3.2 1.6 1.5 2.9 0.2
มาเลเซีย 2.3 6.9 3.1 1.4 -9.5 0.5 -17.8
ฟิลิปปินส์ -3.4 -0.3 7.4 9.9 1.4 4.7 n.a.
อินเดีย 9.4 6.7 5.2 4.6 0.7 4.3 -0.9
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 1 ปี 2552 เศรษฐกิจหลาย ๆ ประเทศยังคงอยู่ในภาวะถดถอยต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ปัญหาการว่างงานของประเทศต่าง ๆ ยังคงมีอยู่และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น
ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ 43.47 USD/Barrel ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ 91.03 USD/Barrel เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงหดตัว ทำให้ความต้องการน้ำมันลดลง นอกจากนี้ตลาดยังกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ระบาดอยู่ในขณะนี้อาจจะส่งผลต่อการใช้น้ำมัน โดยเฉพาะน้ำมันอากาศยาน จากการท่องเที่ยวและการเดินทางของสายการบินที่น่าจะลดลง สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวขึ้นลง โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนมิถุนายน ลดลง 2.50 USD/Barrel โดยมีราคาอยู่ที่ 56.34 USD/Barrel ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ และสต๊อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 ปี 2552 GDP หดตัวร้อยละ 2.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 1 ปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 0.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งขยายตัว ร้อยละ 4.6 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 1 ปี 2552 หดตัวร้อยละ 26.0 เป็นการหดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่หดตัวอยู่ร้อยละ 9.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 29.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 76.5 อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 70.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส1 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 80.1 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 97.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 112.0
การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 15.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.4 การส่งออกสินค้าโดยเฉพาะรถยนต์ลดลงอย่างมาก การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 19.0 เป็นการลดลงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ลดลงร้อยละ 1.6 เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ลดลง
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ -0.04 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.1 อันเนื่องมาจากราคาพลังงานและอาหารอยู่ในระดับต่ำ อัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 8.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.9 เป็นผลมาจากการลดลงของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม และภาคการเงิน
ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะถดถอย
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาส 1 ปี 2552 ยังอยู่ในภาวะถดถอย ปัญหาการว่างงานและระบบการเงินยังคงมีอยู่ แต่มีสัญญาณที่ชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัวในระดับหนึ่ง เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์ และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าภาวะตึงตัวในตลาดการเงินเริ่มบรรเทาลงบ้างแล้ว
เศรษฐกิจจีน
เศรษฐกิจประเทศจีนในไตรมาส 1 ปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 6.1 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.6 สาเหตุหลักมาจากการส่งออกที่หดตัวลงอย่างรุนแรง มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 1 ปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 14.9 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 20.6 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 86.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 94.8 ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 1 ปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 27.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 24.8 เนื่องมาจากรัฐบาลเพิ่มเงินลงทุนในโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ท่อน้ำมัน และโครงการที่อยู่อาศัยต้นทุนต่ำ ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 51.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 58.5
การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 20.12 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 21.21 การส่งออกที่หดตัวอย่างรุนแรงเนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหดตัวการนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 30.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 29.1 สะท้อนถึงเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว
ภาวะเงินเฟ้อของประเทศจีนในไตรมาส 1 ปี 2552 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ-0.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.6 เป็นผลมาจากราคาสินค้าในหมวดอาหาร และสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในระดับต่ำ อัตราการว่างงานในไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.0 อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นสืบเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจการค้าโลกที่ซบเซาทำให้แรงงานจีนต้องตกงานเป็นจำนวนหลายล้านคน นอกจากนี้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนยังอยู่ในระดับต่ำอีกด้วย
ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางจีน (Peoples Bank of China) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 5.31
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 1 ปี 2552 ยังคงขยายตัวแต่ในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากการส่งออกที่หดตัวอย่างรุนแรง ถึงแม้จีนจะมีปัญหาดังกล่าวแต่จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน ทำให้ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ปี 2552 ปรับตัวดีขึ้น เช่น การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 2551 GDP หดตัวร้อยละ 4.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 4 ปี 2551 หดตัวร้อยละ 0.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 28.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 36.1 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคครัวเรือนในไตรมาส 4 ปี 2551 หดตัวร้อยละ 0.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.6 เนื่องจากประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย โดยเฉพาะรายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์และสังคมที่ลดลง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกยังคงถดถอยอย่างต่อเนื่อง การลงทุนในภาคก่อสร้าง ไตรมาส 4 ปี 2551 หดตัวร้อยละ 12.8 เป็นการหดตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่หดตัวร้อยละ 21.4 ได้รับผลกระทบรุนแรงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยเนื่องจากขาดสภาพคล่อง ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 72.23 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 109.43
การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 46.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.9 เป็นการลดลงในตลาดส่งออกหลัก เช่น สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 37.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.5
ภาวะเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ปี 2552 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.0 เป็นผลมาจากราคาน้ำมัน heating oil และราคาสินค้าอาหารปรับตัวลดลง อัตราการว่างงานในไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.0 เป็นผลกระทบจากเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ภาคเอกชนลดกำลังการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็นอุตสาหกรรมหลักได้ลดกำลังการผลิตและระงับการผลิต
ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 และรอดูสถานการณ์หลังจากที่รัฐบาลได้ใช้มาตรการกระตุ้นทางการเงิน รวมถึงการเสริมสภาพคล่องและสนับสนุนด้านการเงินภาคบริษัทเอกชน
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ปี 2552 คาดว่ายังคงอยู่ในภาวะถดถอย โดยมีการส่งออกที่ลดลง อัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น การใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ยังคงลดลง ซึ่งตัวชี้วัดเหล่านี้ยังไม่ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นตัว
เศรษฐกิจสหภาพยุโรป
เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรปในไตรมาส 4 ปี 2551 GDP หดตัวร้อยละ 1.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.6 ในส่วนของ GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 4 ปี 2551 หดตัวร้อยละ 7.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 เนื่องจากการส่งออกที่หดตัวอย่างรุนแรง การบริโภคไตรมาส 4 ปี 2551 หดตัวร้อยละ 1.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 อุปสงค์ภายในประเทศในไตรมาส 4 ปี 2551 หดตัวร้อยละ 2.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 4 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 98.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 อยู่ที่ระดับ 109.3 และใน 2 เดือนแรกของปี 2552 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 93
การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2551 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 2.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 สำหรับมูลค่าการส่งออกใน 2 เดือนแรกของปี 2552 ลดลงร้อยละ 23.4 การส่งออกที่ลดลงอย่างรุนแรงเป็นผลมาจากความต้องการของโลกหดตัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ และเครื่องจักร การนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2551 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 1.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.8 สำหรับมูลค่าการนำเข้าใน 2 เดือนแรกของปี 2552 ลดลงร้อยละ 21.7
ภาวะเงินเฟ้อทั่วไปของกลุ่มประเทศยุโรปในไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.4 สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อลดลงเป็นผลจากราคาพลังงานและราคาอาหารที่อยู่ในระดับต่ำ อัตราการว่างงานในไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 8.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.8 เนื่องจากบริษัทหลาย ๆ บริษัท ลดกำลังการผลิตและปลดพนักงานเพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 1.25 เหลือร้อยละ 1.0 (เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2552)
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 1 ปี 2552 คาดว่ายังคงอยู่ในภาวะถดถอยที่รุนแรง จากตัวเลขการส่งออกที่หดตัวอย่างรุนแรง และอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น และยังไม่มีสัญญาณใดที่จะบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหภาพยุโรปจะฟื้นตัว
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมในเอเซีย
เศรษฐกิจฮ่องกง
ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 GDP หดตัวที่ร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เนื่องจากสภาวะวิกฤติทางตลาดการเงินทั่วโลกส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจฮ่องกงให้การลงทุนและอุปสงค์ภายในประเทศหดตัวลงมาก โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน ส่งผลให้ในปี 2551 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 2.5
การส่งออกของฮ่องกงในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 18.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 โดยมีมูลค่าการส่งออก 69,644 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกประเภท Electrical Machinery, ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 27,866 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ Machinery(Reactors, Boilers), Precious Stones, Toys and Sports และ Woven Apparel ตามลำดับ ซึ่งการส่งออกกว่าร้อยละ 45 ของการส่งออกทั้งหมด ส่งออกไปยังจีน โดยมีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 31,262 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่นและเยอรมัน ซึ่งตลาดส่งออกหลักส่วนใหญ่ลดลงมาก ในขณะที่การส่งออกของฮ่องกงไปยังอังกฤษในไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 57.78 ในขณะที่ฮ่องกงมีมูลค่าการนำเข้าจากทั่วโลกทั้งหมด 71,320 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 21.22 การนำเข้าของฮ่องกงส่วนใหญ่นำเข้าจากจีน 32,733 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่าร้อยละ 45.9 ของการนำเข้าทั้งหมด และการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าประเภท Electrical Machinery ที่มีมูลค่าการนำเข้าถึง 27,602 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 38.70 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมาคือ Machinery(Reactors, Boilers), Precious Stones และ Toys and Sports ตามลำดับ
ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 108.0 โดยทางการฮ่องกงได้ออกมาตรการอุดหนุนค่าไฟฟ้า ประกอบกับราคาพลังงานและค่าอาหารที่ลดลง
ด้านการเงินการคลัง เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2551 ธนาคารกลางฮ่องกงประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากร้อยละ 1.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.5 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากภาคการส่งออกได้รับความเสียหายอย่างมากจากความต้องการสินค้าทั่วโลกลดลง
เกาหลีใต้
เศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ในไตรมาส 4 ของปี 2551 GDP หดตัวร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เป็นการขยายตัวต่ำที่สุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 โดยการขยายตัวที่ลดลงในไตรมาสที่ 4 นี้เป็นผลกระทบมาจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนรวมทั้งการส่งออกที่หดตัวลงค่อนข้างมาก ส่งผลให้เศรษฐกิจของเกาหลีใต้ทั้งปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ซึ่งขยายตัวชะลอลงจากร้อยละ 5.0 ในปี 2550
ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 111.6 เป็นการปรับตัวลดลงตามราคาค่าขนส่งและคมนาคมที่ลดลง
การส่งออกของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 มูลค่าการส่งออกลดลงอยู่ที่ร้อยละ 24.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 โดยมีมูลค่าการส่งออก 74,712 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าประเภท Electrical Machinery ที่มีมูลค่าการส่งออก 17,811 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทนี้ลดลงร้อยละ 29.45 รองลงมาคือ อุตสาหกรรมประเภท Ships and Boats ที่มูลค่าการส่งออกในไตรมาสนี้ขยายตัวถึงร้อยละ 43.49 แต่สินค้าส่งออกหลักอื่นๆ ลดลงมากแทบทุกสินค้า เช่น สินค้าประเภท Machinery, Vehicles, Optical ที่มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 29.52, 45.86 และ 23.89 ตามลำดับ โดยตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นประเทศจีนกว่า 16,518 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 22.11 รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและฮ่องกง ที่มีการส่งออกร้อยละ 11.18, 6.21 และ 5.41 ตามลำดับ ซึ่งตลาดส่งออกหลักมีมูลค่าการส่งออกลดลงเช่นกัน เช่น จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและฮ่องกง โดยมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 25.07, 24.79, 33.74 และ 7.50 ตามลำดับ โดยรัฐบาลเกาหลีใต้ได้ปรับลดการคาดการณ์มูลค่าการส่งออกปี 2552 เป็นลดลงร้อยละ 13.5 ถือเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 51 ปี เนื่องจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างหนัก ขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 32.88 โดยมีมูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 ทั้งสิ้น 71,182 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการนำเข้าสินค้าประเภท Mineral Fuel, Oil ที่มีมูลค่าการนำเข้า 22,604 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 31.76 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมาคือสินค้าประเภท Electrical Machinery, Machinery(Reactors, Boilers) และ Iron and Steel ตามลำดับ ที่มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 15.51, 10.70 และ 6.58 ตามลำดับ ในขณะที่การนำเข้าส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศ จีน ร้อยละ 17.19, ญี่ปุ่น ร้อยละ 14.91 และ สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 8.01
ด้านการเงินการคลังของเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 2.5 มาเป็นร้อยละ 2.0 เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศชะลอลงอย่างรวดเร็ว โดยการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศชะลอลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภาวะการส่งออกที่หดตัวอย่างรุนแรง ในขณะที่อัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 3.8
สิงค์โปร์
เศรษฐกิจประเทศสิงค์โปร์ในไตรมาส 4 ของปี 2551 หดตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ทั้งนี้เป็นผลมาจากภาคการผลิตโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการหดตัวลงของภาคบริการที่เริ่มเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจสิงค์โปร์ในปี 2551 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ซึ่งชะลอตัวลงจากปี 2550 โดยทางการสิงค์โปร์ได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2552 ลงเป็นหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ถึง 5.0
ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 110.6 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและที่พักอาศัยที่สูงขึ้นมาก รวมทั้งการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2550
การส่งออกของสิงค์โปร์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยมีมูลค่าการส่งออก 69,308 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าประเภท Electrical Machinery ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 23,030 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 33.23 รองลงมาคือ สินค้าประเภท Machinery (Reactors, Boilers) และ Mineral Fuel ที่มีมูลค่าการส่งออก 13,053 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 10,108 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย โดยมีมูลค่าการส่งออก 8,261 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 11.92 ของการส่งออกทั้งหมด โดยมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียลดลงร้อยละ 21.75 รองลงมาคือการส่งออกไปยังประเทศอินโดนีเซีย 7,469 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.57 รองลงมาคือ อินโดนีเซียและจีน ขณะที่การนำเข้าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ที่มูลค่าการนำเข้าลดลงที่ร้อยละ 9.19 โดยมีมูลค่าการนำเข้า 67,265 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าประเภท Electrical Machinery ที่มีมูลค่าการนำเข้า 17,641 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือสินค้าประเภท Mineral Fuel และ Machinery (Reactors, Boiler) ตามลำดับ
อินโดนีเซีย
เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ชะลอลง ประกอบกับภาคการส่งออกที่ชะลอลงในขณะที่การนำเข้าหดตัว ส่งผลให้เศรษฐกิจทั้งปี 2551 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 ลดลงจากร้อยละ 6.1 ในปี 2550
ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 114.0 โดยเป็นระดับที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นตามราคาของสินค้าไนทุกหมวดโดยเฉพาะราคาค่าอาหารและเสื้อผ้า
การส่งออกของอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 5.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยมีมูลค่าการส่งออก 29,352 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการส่งออกส่วนใหญ่ยังคงเป็นการส่งออกของอุตสาหกรรม Mineral Fuel, Fats and Oils, Electrical Machinery และ Machinery(Reactors, Boilers) โดยมีมูลค่าการส่งออก 7,834, 3,355, 2,221 และ 1,460 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกหลักคือ ญี่ปุ่น ที่มีมูลค่าการส่งออก 5,860 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา สิงค์โปร์ และ จีน ในขณะที่มูลค่าการนำเข้ายังคงเพิ่มขึ้นมาก โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.13 โดยมีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 27,556 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่นำเข้าสินค้าประเภท Machinery (Reactors, Boilers), Mineral Fuel, Electrical Machinery และ Iron and Steel ตามลำดับ และเป็นการนำเข้าจากประเทศ ญี่ปุ่น สิงค์โปร์ จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และประเทศไทย ตามลำดับ
ด้านการเงินการคลังของประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2552 ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย BI Rate ลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 8.75 มาเหลือร้อยละ 8.25 ซึ่งถือว่าเป็นการปรับลดเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดย BI ประเมินว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ด้านเงินเฟ้อก็มีแนวโน้มที่จะชะลอลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
มาเลเซีย
ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซียในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 0.07 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากร้อยละ 4.6 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 ซึ่งเป็นผลมาจากการภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดย Malaysian Institute of Economic Research (MIER) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยชั้นนำของมาเลเซียคาดการณ์เศรษฐกิจมาเลเซียในปี 2552 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.3 เนื่องจากการส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลักชะลอตัวลงจากปัญหาวิกฤติการเงินโลก โดยเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 รัฐบาลมาเลเซียประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 60 พันล้านริงกิต (ประมาณ 16.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 9 ของ GDP) ซึ่งมีแผนจะใช้จ่ายในช่วงปี 2552-2553 โดยจะส่งผลให้ยอดขาดดุลงบประมาณต่อ GDP ของมาเลเซียเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.8 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 7.6 ในปี 2552 ทั้งนี้ รัฐบาลมาเลเซียคาดว่าเศรษฐกิจมาเลเซียจะหดตัวร้อยละ 1 ในปี 2552 และคาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.7 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 4.5 ในปี 2552
ทางด้านการเงินการคลัง เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 2.5 เหลือร้อยละ 2.0 ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งที่ 3 ติดต่อกัน นอกจากนี้ ธนาคารกลางมาเลเซียยังได้ปรับลดอัตราส่วนการดำรงเงินสดสำรองทางการของธนาคารพาณิชย์ลงร้อยละ 1.0 จากร้อยละ 2.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.0 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ตกต่ำ
การส่งออกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 12.58 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 42,603 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในกลุ่มของ Electrical Machinery ที่มีมูลค่าการส่งออก 10,850 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 25.47 ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือสินค้าประเภท Mineral Fuel และ Machinery (Reactors, Boilers) โดยมีมูลค่าการส่งออก 8,252 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 6,944 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ โดยส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด ที่มีมูลค่าการส่งออก 6,015 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 14.12 ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา จีน และ ไทย ส่วนการนำเข้าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 17.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยใน ไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 33,413 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศจีน ร้อยละ 13.85 รองลงมาคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและสิงค์โปร์
ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 111.8 โดยเป็นระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 เป็นการเพิ่มขึ้นตามราคาค่าอาหารและการขนส่งที่เพิ่มขึ้น
ฟิลิปปินส์
เศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยเป็นขยายตัวในอัตราที่ลดลง ทั้งนี้เนื่องจากจากการเติบโตของการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและภาคเอกชนที่ชะลอตัวลง แต่ถือว่ายังคงขับเคลื่อนไปได้เนื่องจากราคาสินค้าที่ลดลงทำให้เกิดการซื้อเพิ่มขึ้น โดยส่งผลให้เศรษฐกิจทั้งปี ขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 ซึ่งลดลงจากร้อยละ 6.9 ในปีก่อน
ดัชนีราคาผู้บริโภคของฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 157.8 เป็นระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในทุกหมวด ยกเว้นราคาของพลังงานที่ลดลง
ด้านการเงินการคลัง ในเดือนมกราคม ปี 2552 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 5.0 เนื่องจากความเสี่ยงทางด้านราคาได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน อุปสงค์ภายในประเทศและอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ที่ลดลง
ทางด้านการส่งออกของฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 22.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 10,158 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสินค้าที่ส่งออกมาก ได้แก่สินค้าประเภท Special Classification Provisions, Nesoi ที่มีมูลค่าการส่งออก 3,021 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 29.75 รองลงมาคือสินค้าประเภท Electrical Machinery และ Machinery (Reactors, Boilers) โดยการส่งออก Special Classification Provisions, Nesoi มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 27.31 และการส่งออกส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา 1,866 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 18.37 ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และ จีน ส่วนทางด้านการนำเข้าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 25.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ซึ่งในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 11,359 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา 1,616 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 14.23 รองลงมาคือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีนและไต้หวัน ที่มีการนำเข้าร้อยละ 13.06, 9.12, 8.66 และ 6.52 ตามลำดับ โดยสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภท Mineral Fuel มีมูลค่าการนำเข้า 2,109 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 18.57 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมาคือสินค้าประเภท Special Classification Provisions, Nesoi และ Electrical Machinery ตามลำดับ
ด้านแรงงาน ประธานาธิบดี Gloria Arroyo เรียกร้องให้แรงงานฟิลิปปินส์ออกไปหางานทำนอกประเทศมากขึ้น เนื่องจากแรงงานในประเทศมีความเสี่ยงที่จะตกงานมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง โดยกระทรวงแรงงานฟิลิปปินส์ระบุว่าในช่วงเดือนธันวาคม 2551-มกราคม 2552 มีแรงงานฟิลิปปินส์ประมาณ 15,000 คน ถูกเลิกจ้าง และแรงงานอีกประมาณ 19,000 คน ถูกลดวันทำงานเหลือ 4 วันต่อสัปดาห์ พร้อมทั้งคาดว่าในปี 2552 จะมีแรงงานฟิลิปปินส์ตกงานถึง 800,000 คน ทั้งนี้ ปัจจุบันมีแรงงานฟิลิปปินส์กว่า 9 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ออกไปทำงานในต่างประเทศ โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2551 มีรายได้ส่งกลับจากแรงงานในต่างประเทศสูงถึง 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 10 ของ GDP
อินเดีย
เศรษฐกิจของประเทศอินเดียในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยภาคการผลิตหดตัวร้อยละ 0.2 และภาคเกษตรกรรมหดตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550
ดัชนีราคาผู้บริโภคของอินเดียในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 148.0 เป็นระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นมากของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และพลังงาน
ด้านการเงินการคลัง เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2552 ธนาคารกลางอินเดีย (Reserve Bank of India : RBI) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Repurchase Rate) จากร้อยละ 5.0 เหลือร้อยละ 4.75 พร้อมกับลด Reverse Repurchase Rate จากร้อยละ 3.5 เหลือร้อยละ 3.25 เพื่อเป็นแนวทางให้ธนาคารพาณิชย์ในอินเดียลดอัตราดอกเบี้ยและช่วยกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศ
ทางด้านการส่งออกของประเทศอินเดียในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 25.25 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 เป็นการขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 37.1 โดยไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 47,172 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าที่ส่งออกมาก ได้แก่สินค้าประเภท Mineral Fuel ที่มีมูลค่าการส่งออก 9,745 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 20.66 ซึ่งการส่งออกสินค้าประเภทนี้ขยายตัวร้อยละ 50.82 รองลงมาคือสินค้าประเภท Precious Stones และ Iron and Steel ที่การส่งออกขยายตัวร้อยละ 9.0 และ 82.04 ตามลำดับ โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 การส่งออกส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา 5,717 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 12.12 ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือ สหรัฐอาหรับฯ สิงค์โปร์ และ จีน ส่วนทางด้านการนำเข้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 52.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ซึ่งในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 84,632 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศจีน 8,161 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 25.73 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมาคือ ซาอุดิอาระเบีย และอิหร่าน ที่มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 9.08 และ 5.83 ของการนำเข้าทั้งหมด ตามลำดับ โดยสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภท Mineral Fuel มีมูลค่าการนำเข้า 36,825 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 43.51 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมาคือสินค้าประเภท Precious Stones และ Machinery(Reactors, Boilers) ตามลำดับ
สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศที่สำคัญ
ประเทศ ปี 2550 ------------------------ ปี 2551 ---------------------- ปี 2552
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ทั้งปี ไตรมาส 1
GDP (%yoy)
สหรัฐอเมริกา 2 2.5 2.1 0.7 -0.8 1.1 -2.6
สหภาพยุโรป 2.7 2.2 1.5 0.4 -1.7 0.6 n.a.
ญี่ปุ่น 2.4 1.5 0.7 -0.2 -4.3 -0.6 n.a.
จีน 13.2 10.6 10.4 9.9 9 10 6.1
ฮ่องกง 6.2 7 4.2 1.7 -2.5 2.5 n.a.
เกาหลีใต้ 5 5.8 4.8 3.1 -3.5 2.5 -4.4
สิงค์โปร์ 7.5 6.5 2.5 0.04 -4.3 1.1 n.a.
อินโดนีเซีย 6.1 6.1 6.2 6.2 5.1 5.9 n.a.
มาเลเซีย 6.2 7.2 6.5 4.6 0.1 4.5 n.a.
ฟิลิปปินส์ 6.9 4.5 4.3 4.8 4.4 4.5 n.a.
อินเดีย 9.3 8.7 7.8 7.4 4.3 7.1 n.a.
MPI (YoY%) ปี 2550 ----------------------- ปี 2551 --------------------- ปี 2552
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ทั้งปี ไตรมาส 1
สหรัฐอเมริกา 1.5 1.4 -0.4 -3.2 -6.6 -2.2 -11.8
สหภาพยุโรป 3.7 2.8 0 -3.7 -9.8 -2.7 n.a.
ญี่ปุ่น 3 3.5 1.6 -3.3 -15 -3.3 -3.4
จีน 2 -1.2 -5.4 -13.7 -31.3 -13 -12.6
ฮ่องกง -1.5 -4.5 -4.3 -6.9 -6.8 -11 n.a.
เกาหลีใต้ 6.7 10.4 8.5 5.4 -12 3 -16.9
สิงค์โปร์ 5.7 11.6 -5.7 -11.6 -11.4 -4.2 -30.3
อินโดนีเซีย 5.4 5.7 3.2 1.6 1.5 2.9 0.2
มาเลเซีย 2.3 6.9 3.1 1.4 -9.5 0.5 -17.8
ฟิลิปปินส์ -3.4 -0.3 7.4 9.9 1.4 4.7 n.a.
อินเดีย 9.4 6.7 5.2 4.6 0.7 4.3 -0.9
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 112
"การฟื้นฟูเศรษฐกิจสหรัฐด้วยนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง"...ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ จาก กรุงเทพธุรกิจ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา ว่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0-0.25% เช่นเดิม และเมื่อแถลงการณ์ถูกนำออกมาเผยแพร่ ก็ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐและราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับลดลงเล็กน้อย จึงมีคำถามที่น่าสนใจว่า หากตลาดไม่ได้คิดว่าธนาคารกลางสหรัฐจะปรับลดหรือปรับขึ้น ดอกเบี้ยนโยบาย และผลก็เป็นไปตามคาด แล้วทำไมราคาหุ้นและพันธบัตรจึงปรับลดลง? จริงอยู่ ดอกเบี้ยนโยบายคงปรับลดลงไม่ได้ เพราะอยู่ที่ศูนย์อยู่แล้ว และการปรับขึ้น ก็คงจะไม่เหมาะสม เพราะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น คนยังตกงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และราคาบ้านก็ยังปรับลดลงไปเรื่อยๆ
ผมเชื่อว่า สิ่งที่นักลงทุนต่างประเทศให้ความสำคัญ คือ ความสามารถของทางการของสหรัฐ (หมายความถึงรัฐบาลและธนาคารกลาง) ในการรักษา ความสมดุลของนโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง สำหรับท่านผู้อ่านที่ยังไม่คุ้นเคยกับคำศัพท์ทั้งสอง นโยบายการเงิน คือ การควบคุมปริมาณเงินในระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งระดับดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจ เช่น เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำก็ควรเพิ่มปริมาณเงินให้มีมาก อันจะทำให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับต่ำ ซึ่งจะช่วยบรรเทาความรุนแรงของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ โดยลดภาระทางการเงินของบริษัท ผู้บริโภค และรัฐบาล ในขณะเดียวกัน นโยบายการคลัง คือ การกำหนดการใช้จ่าย และการเก็บภาษีของรัฐบาล กล่าวคือ ในกรณีที่เศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลมักจะลดการเก็บภาษี เพื่อลดภาระของประชาชน และเพิ่มการใช้จ่าย เช่น การลงทุน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น หากเห็นว่า ประเทศต้องพัฒนาระบบขนส่ง ก็จะลงทุนสร้างรถไฟฟ้า หรือหากเห็นว่า ควรส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร ก็จะลงทุนพัฒนาระบบชลประทาน เป็นต้น แต่เมื่อรายจ่ายสูงกว่ารายได้เป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้รัฐบาลต้องออกพันธบัตรเพื่อกู้ยืมเงินจากประชาชน (ทั้งในและต่างประเทศ ตามความเหมาะสม) สรุปคือ นโยบายการคลัง คือ การยืมเอากำลังซื้อในอนาคตของประชาชนมาใช้ในปัจจุบัน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะที่ภาคเอกชนไม่มีความต้องการ หรือขาดความมั่นใจในการใช้จ่าย และลงทุนในขณะนี้
ในกรณีของสหรัฐนั้น ถือได้ว่า ทางการกระตือรือร้น อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ในการต้องการใช้นโยบายการเงินการคลังอย่างแทบจะไม่มีขอบเขตจำกัด เพื่อให้มั่นใจว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวโดยเร็ว ที่กล่าวเช่นนี้ ก็เพราะว่า รัฐบาลโอบามา ตั้งใจที่จะขาดดุลงบประมาณ (ยืมเงินประชาชน มากถึง 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้ หรือเท่ากับ 12% ของจีดีพี ปกติการขาดดุลงบประมาณจะเท่ากับ 2-3% ของจีดีพี เว้นแต่ในสภาวะสงคราม) และมีแผนที่จะขาดดุลงบประมาณต่อเนื่องอีกเป็นสิบปี โดยอาจสร้างหนี้สาธารณะเพิ่มถึง 7-9 ล้านล้านดอลลาร์ (30-40% ของจีดีพี) ขึ้นอยู่ว่าจะใช้การคาดการณ์ของรัฐบาลหรือของรัฐสภา ในขณะเดียวกันธนาคารกลางสหรัฐก็ได้ทุ่มสุดตัวเหมือนกัน เห็นได้จากขนาดของงบดุลของธนาคารกลางที่เพิ่มจาก 8 แสนล้านดอลลาร์ในสภาวะปกติ เมื่อไตรมาส 3 ปีที่แล้ว (ก่อนการล้มละลายของเลแมน บราเดอร์ส) มาเป็น 2.1 ล้านล้านดอลลาร์ในขณะนี้ ส่วนของงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐที่เพิ่มขึ้น 1.3 ล้านล้านดอลลาร์นั้น เป็นการเพิ่มสภาพคล่อง (เสมือนกับการพิมพ์เงิน) เข้าไปช่วยเหลือสถาบันการเงินต่างๆ และซื้อพันธบัตรประเภทต่างๆ เพื่อให้ตลาดพันธบัตรดังกล่าว มีสภาพคล่องและขับเคลื่อนตัวได้ เป็นต้นว่า ธนาคารกลางสหรัฐประกาศว่าจะซื้อตราสารหนี้ของสถาบันรัฐ (เช่น แฟนนี เม และเฟรดดี แมค) ที่ปล่อยกู้ให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ มูลค่ารวมทั้งสิ้น 1.25 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยให้สถาบันดังกล่าวปล่อยกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์ได้ต่อไป ทั้งนี้ได้ซื้อตราสารดังกล่าวไปแล้ว 456,000 ล้านดอลลาร์ นอกจากนั้น ก็ได้ประกาศว่า จะซื้อพันธบัตรรัฐบาล 300,000 ล้านดอลลาร์ระหว่างมีนาคม-สิงหาคม โดยได้ซื้อไปแล้ว 177,500 ล้านดอลลาร์
คำถามคือ เมื่อรัฐบาลจะ ใส่เงิน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐได้ ใส่เงิน เพิ่มไปแล้ว 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ และจะใส่เงินอีกเกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งทั้งสิ้น คิดเป็นมูลค่ารวม 4 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 30% ของจีดีพี แล้วทำไมเศรษฐกิจสหรัฐจึงไม่ฟื้นตัวอย่างฉับพลันและตลาดหุ้นไม่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง? คำตอบส่วนหนึ่ง คงเป็นเพราะปัญหาของสหรัฐมีขนาดที่ใหญ่ และมีความสลับซับซ้อนมาก ความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นแล้วและจะเกิดขึ้นอีกในสถาบันการเงินในรูปแบบต่างๆ น่าจะเป็น 3 เท่าของเงิน 4 ล้านล้านดอลลาร์ สหรัฐที่กล่าวถึงข้างต้น แต่ผมเชื่อว่า มีอีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญ แต่อาจเข้าใจยาก คือ การที่ตลาด (นักลงทุน) กำลังส่งสัญญาณให้ทางการสหรัฐทราบว่า จะทำอะไรตามอำเภอใจไม่ได้ และได้ตั้งข้อจำกัดหรือขอบเขตให้กับการดำเนินนโยบายการเงินการคลังของสหรัฐขึ้นมาแล้ว
เดิมทีนั้น รัฐบาลสหรัฐมีแผนว่านอกจากจะขาดดุลงบประมาณมากๆ เพื่อเอาเงินดังกล่าวมากอบกู้เศรษฐกิจแล้วก็ยังจะผลักดันนโยบายที่เคยนำเสนอเอาไว้ เช่น การเพิ่มสวัสดิการด้านสาธารณสุข ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐตอบสนองอย่างดี โดยบอกว่า เมื่อรัฐบาลสหรัฐจะออกพันธบัตรมาเป็นจำนวนมาก ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีใครซื้อ เพราะธนาคารกลางสหรัฐจะช่วยรับซื้อเอง (ในมูลค่า 300,000 ล้าน แต่หากจำเป็นจะเพิ่มอีกก็ได้) เพื่อให้รัฐบาลขยายพันธบัตรได้ในราคาสูงๆ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ จ่ายดอกเบี้ยที่ระดับต่ำๆ วันแรกที่แถลงนโยบายดังกล่าว ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ลดลงเหลือ 2.5% แต่ต่อมาดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นไปเรื่อย และสูงถึง 4% ในต้นเดือนมิถุนายน ทั้งๆ ที่ธนาคารกลางสหรัฐ ก็ค่อยๆ ซื้อเก็บพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมาโดยตลอด เป็นมูลค่าที่ซื้อรวมทั้งสิ้น 177,500 ล้านดอลลาร์
บางคนอาจเข้าใจว่า แนวทางที่จะทำให้ดอกเบี้ยพันธบัตรลดลง คือ การที่ธนาคารกลางสหรัฐจะต้องออกมาประกาศเพิ่มการแทรกแซงเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้น เช่น ถ้ารัฐบาลจะออกพันธบัตรอีก 3.5 ล้านล้านดอลลาร์ (เพราะมีพันธบัตรเก่าต้องต่ออายุอีกด้วย) ก็ต้องให้ธนาคารกลางสหรัฐ ประกาศว่าพร้อมจะซื้อสัก 2 ล้านล้านดอลลาร์ (ไม่ใช่แค่ 3 แสนดอลลาร์) แต่หากทำเช่นนั้น ก็อาจได้ผลตอบรับในทางตรงกันข้าม คือ ดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาว จะยิ่งปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากก็เป็นไปได้ เพราะตลาดจะตีความว่า ธนาคารกลางสหรัฐจะต้องพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลเป็นจำนวนมาก ทำให้ควบคุมเงินเฟ้อไม่ได้ และทำให้เงินดอลลาร์ไร้ค่าไปในที่สุด ดังนั้น ในระยะหลังนี้ นายเบน เบอร์นันเก้ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ จึงต้องออกมาให้ความมั่นใจว่า เขามีกลยุทธ์ในการถอย (Exit strategy) เอาสภาพคล่องออกได้อย่างทันท่วงที หากมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อในอนาคต การต้องออกมาพูดถึง การถอนสภาพคล่องออกจากระบบ ในขณะที่อัตราการว่างงานกำลังเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ (และน่าจะสูงกว่า 10% ในเร็ววันนี้) เศรษฐกิจยังไม่ขยายตัว และเงินเฟ้อยังไม่เกิดขึ้นนั้น เป็นการสะท้อนความกลัวปัญหาวินัยทางการเงิน เพราะธนาคารกลางสหรัฐได้ถลำตัวเข้าไปอย่างมาก แม้จะยังไม่เห็นวี่แววของเงินเฟ้อแต่อย่างใด
การดำเนินนโยบายการเงินของนายเบอร์นันเก้ ครั้งนี้ ถือว่าแหวกแนวและนอกตำราเศรษฐศาสตร์ ดังนั้น จึงต้องติดตามดูว่า ในที่สุดแล้ว จะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดในระยะยาว ซึ่งผลจะออกมาเป็นเช่นใด อาจเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตัดสินว่าประธานาธิบดีโอบามาจะต่ออายุการดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางให้กับนายเบอร์นันเก้หรือไม่ เมื่อวาระการดำรงตำแหน่งของนายเบอร์นันเก้หมดลงในเดือนมกราคมหน้านี้ครับ
http://newsroom.bangkokbiznews.com/comm ... er=supavut
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา ว่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0-0.25% เช่นเดิม และเมื่อแถลงการณ์ถูกนำออกมาเผยแพร่ ก็ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐและราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับลดลงเล็กน้อย จึงมีคำถามที่น่าสนใจว่า หากตลาดไม่ได้คิดว่าธนาคารกลางสหรัฐจะปรับลดหรือปรับขึ้น ดอกเบี้ยนโยบาย และผลก็เป็นไปตามคาด แล้วทำไมราคาหุ้นและพันธบัตรจึงปรับลดลง? จริงอยู่ ดอกเบี้ยนโยบายคงปรับลดลงไม่ได้ เพราะอยู่ที่ศูนย์อยู่แล้ว และการปรับขึ้น ก็คงจะไม่เหมาะสม เพราะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น คนยังตกงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และราคาบ้านก็ยังปรับลดลงไปเรื่อยๆ
ผมเชื่อว่า สิ่งที่นักลงทุนต่างประเทศให้ความสำคัญ คือ ความสามารถของทางการของสหรัฐ (หมายความถึงรัฐบาลและธนาคารกลาง) ในการรักษา ความสมดุลของนโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง สำหรับท่านผู้อ่านที่ยังไม่คุ้นเคยกับคำศัพท์ทั้งสอง นโยบายการเงิน คือ การควบคุมปริมาณเงินในระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งระดับดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจ เช่น เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำก็ควรเพิ่มปริมาณเงินให้มีมาก อันจะทำให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับต่ำ ซึ่งจะช่วยบรรเทาความรุนแรงของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ โดยลดภาระทางการเงินของบริษัท ผู้บริโภค และรัฐบาล ในขณะเดียวกัน นโยบายการคลัง คือ การกำหนดการใช้จ่าย และการเก็บภาษีของรัฐบาล กล่าวคือ ในกรณีที่เศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลมักจะลดการเก็บภาษี เพื่อลดภาระของประชาชน และเพิ่มการใช้จ่าย เช่น การลงทุน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น หากเห็นว่า ประเทศต้องพัฒนาระบบขนส่ง ก็จะลงทุนสร้างรถไฟฟ้า หรือหากเห็นว่า ควรส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร ก็จะลงทุนพัฒนาระบบชลประทาน เป็นต้น แต่เมื่อรายจ่ายสูงกว่ารายได้เป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้รัฐบาลต้องออกพันธบัตรเพื่อกู้ยืมเงินจากประชาชน (ทั้งในและต่างประเทศ ตามความเหมาะสม) สรุปคือ นโยบายการคลัง คือ การยืมเอากำลังซื้อในอนาคตของประชาชนมาใช้ในปัจจุบัน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะที่ภาคเอกชนไม่มีความต้องการ หรือขาดความมั่นใจในการใช้จ่าย และลงทุนในขณะนี้
ในกรณีของสหรัฐนั้น ถือได้ว่า ทางการกระตือรือร้น อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ในการต้องการใช้นโยบายการเงินการคลังอย่างแทบจะไม่มีขอบเขตจำกัด เพื่อให้มั่นใจว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวโดยเร็ว ที่กล่าวเช่นนี้ ก็เพราะว่า รัฐบาลโอบามา ตั้งใจที่จะขาดดุลงบประมาณ (ยืมเงินประชาชน มากถึง 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้ หรือเท่ากับ 12% ของจีดีพี ปกติการขาดดุลงบประมาณจะเท่ากับ 2-3% ของจีดีพี เว้นแต่ในสภาวะสงคราม) และมีแผนที่จะขาดดุลงบประมาณต่อเนื่องอีกเป็นสิบปี โดยอาจสร้างหนี้สาธารณะเพิ่มถึง 7-9 ล้านล้านดอลลาร์ (30-40% ของจีดีพี) ขึ้นอยู่ว่าจะใช้การคาดการณ์ของรัฐบาลหรือของรัฐสภา ในขณะเดียวกันธนาคารกลางสหรัฐก็ได้ทุ่มสุดตัวเหมือนกัน เห็นได้จากขนาดของงบดุลของธนาคารกลางที่เพิ่มจาก 8 แสนล้านดอลลาร์ในสภาวะปกติ เมื่อไตรมาส 3 ปีที่แล้ว (ก่อนการล้มละลายของเลแมน บราเดอร์ส) มาเป็น 2.1 ล้านล้านดอลลาร์ในขณะนี้ ส่วนของงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐที่เพิ่มขึ้น 1.3 ล้านล้านดอลลาร์นั้น เป็นการเพิ่มสภาพคล่อง (เสมือนกับการพิมพ์เงิน) เข้าไปช่วยเหลือสถาบันการเงินต่างๆ และซื้อพันธบัตรประเภทต่างๆ เพื่อให้ตลาดพันธบัตรดังกล่าว มีสภาพคล่องและขับเคลื่อนตัวได้ เป็นต้นว่า ธนาคารกลางสหรัฐประกาศว่าจะซื้อตราสารหนี้ของสถาบันรัฐ (เช่น แฟนนี เม และเฟรดดี แมค) ที่ปล่อยกู้ให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ มูลค่ารวมทั้งสิ้น 1.25 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยให้สถาบันดังกล่าวปล่อยกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์ได้ต่อไป ทั้งนี้ได้ซื้อตราสารดังกล่าวไปแล้ว 456,000 ล้านดอลลาร์ นอกจากนั้น ก็ได้ประกาศว่า จะซื้อพันธบัตรรัฐบาล 300,000 ล้านดอลลาร์ระหว่างมีนาคม-สิงหาคม โดยได้ซื้อไปแล้ว 177,500 ล้านดอลลาร์
คำถามคือ เมื่อรัฐบาลจะ ใส่เงิน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐได้ ใส่เงิน เพิ่มไปแล้ว 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ และจะใส่เงินอีกเกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งทั้งสิ้น คิดเป็นมูลค่ารวม 4 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 30% ของจีดีพี แล้วทำไมเศรษฐกิจสหรัฐจึงไม่ฟื้นตัวอย่างฉับพลันและตลาดหุ้นไม่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง? คำตอบส่วนหนึ่ง คงเป็นเพราะปัญหาของสหรัฐมีขนาดที่ใหญ่ และมีความสลับซับซ้อนมาก ความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นแล้วและจะเกิดขึ้นอีกในสถาบันการเงินในรูปแบบต่างๆ น่าจะเป็น 3 เท่าของเงิน 4 ล้านล้านดอลลาร์ สหรัฐที่กล่าวถึงข้างต้น แต่ผมเชื่อว่า มีอีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญ แต่อาจเข้าใจยาก คือ การที่ตลาด (นักลงทุน) กำลังส่งสัญญาณให้ทางการสหรัฐทราบว่า จะทำอะไรตามอำเภอใจไม่ได้ และได้ตั้งข้อจำกัดหรือขอบเขตให้กับการดำเนินนโยบายการเงินการคลังของสหรัฐขึ้นมาแล้ว
เดิมทีนั้น รัฐบาลสหรัฐมีแผนว่านอกจากจะขาดดุลงบประมาณมากๆ เพื่อเอาเงินดังกล่าวมากอบกู้เศรษฐกิจแล้วก็ยังจะผลักดันนโยบายที่เคยนำเสนอเอาไว้ เช่น การเพิ่มสวัสดิการด้านสาธารณสุข ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐตอบสนองอย่างดี โดยบอกว่า เมื่อรัฐบาลสหรัฐจะออกพันธบัตรมาเป็นจำนวนมาก ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีใครซื้อ เพราะธนาคารกลางสหรัฐจะช่วยรับซื้อเอง (ในมูลค่า 300,000 ล้าน แต่หากจำเป็นจะเพิ่มอีกก็ได้) เพื่อให้รัฐบาลขยายพันธบัตรได้ในราคาสูงๆ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ จ่ายดอกเบี้ยที่ระดับต่ำๆ วันแรกที่แถลงนโยบายดังกล่าว ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ลดลงเหลือ 2.5% แต่ต่อมาดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นไปเรื่อย และสูงถึง 4% ในต้นเดือนมิถุนายน ทั้งๆ ที่ธนาคารกลางสหรัฐ ก็ค่อยๆ ซื้อเก็บพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมาโดยตลอด เป็นมูลค่าที่ซื้อรวมทั้งสิ้น 177,500 ล้านดอลลาร์
บางคนอาจเข้าใจว่า แนวทางที่จะทำให้ดอกเบี้ยพันธบัตรลดลง คือ การที่ธนาคารกลางสหรัฐจะต้องออกมาประกาศเพิ่มการแทรกแซงเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้น เช่น ถ้ารัฐบาลจะออกพันธบัตรอีก 3.5 ล้านล้านดอลลาร์ (เพราะมีพันธบัตรเก่าต้องต่ออายุอีกด้วย) ก็ต้องให้ธนาคารกลางสหรัฐ ประกาศว่าพร้อมจะซื้อสัก 2 ล้านล้านดอลลาร์ (ไม่ใช่แค่ 3 แสนดอลลาร์) แต่หากทำเช่นนั้น ก็อาจได้ผลตอบรับในทางตรงกันข้าม คือ ดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาว จะยิ่งปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากก็เป็นไปได้ เพราะตลาดจะตีความว่า ธนาคารกลางสหรัฐจะต้องพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลเป็นจำนวนมาก ทำให้ควบคุมเงินเฟ้อไม่ได้ และทำให้เงินดอลลาร์ไร้ค่าไปในที่สุด ดังนั้น ในระยะหลังนี้ นายเบน เบอร์นันเก้ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ จึงต้องออกมาให้ความมั่นใจว่า เขามีกลยุทธ์ในการถอย (Exit strategy) เอาสภาพคล่องออกได้อย่างทันท่วงที หากมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อในอนาคต การต้องออกมาพูดถึง การถอนสภาพคล่องออกจากระบบ ในขณะที่อัตราการว่างงานกำลังเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ (และน่าจะสูงกว่า 10% ในเร็ววันนี้) เศรษฐกิจยังไม่ขยายตัว และเงินเฟ้อยังไม่เกิดขึ้นนั้น เป็นการสะท้อนความกลัวปัญหาวินัยทางการเงิน เพราะธนาคารกลางสหรัฐได้ถลำตัวเข้าไปอย่างมาก แม้จะยังไม่เห็นวี่แววของเงินเฟ้อแต่อย่างใด
การดำเนินนโยบายการเงินของนายเบอร์นันเก้ ครั้งนี้ ถือว่าแหวกแนวและนอกตำราเศรษฐศาสตร์ ดังนั้น จึงต้องติดตามดูว่า ในที่สุดแล้ว จะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดในระยะยาว ซึ่งผลจะออกมาเป็นเช่นใด อาจเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตัดสินว่าประธานาธิบดีโอบามาจะต่ออายุการดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางให้กับนายเบอร์นันเก้หรือไม่ เมื่อวาระการดำรงตำแหน่งของนายเบอร์นันเก้หมดลงในเดือนมกราคมหน้านี้ครับ
http://newsroom.bangkokbiznews.com/comm ... er=supavut
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 113
บริษัทเอกชนในสหรัฐฯ ปลดแรงงานออกอีกกว่า 4 แสนราย สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้
Posted on Thursday, July 02, 2009
- นิว GM สามารถเปิดขาย IPO ได้ภายในปี 2553 หาก GM ชนะการตัดสินของศาลในการขายทอดทรัพย์สิน (โดยผลการตัดสินของศาลจะออกมาในสัปดาห์นี้ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกล่าวว่า หากการขายทอดทรัพย์สินของ GM ยังไม่สามารถทำตามเส้นตายของรัฐบาลในวันที่ 10 ก.ค. รัฐบาลจะถอนเงินให้ความช่วยเหลือ 33,000 ล้านคัน
- ดิอาจีโอ ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายใหญ่ เลย์ออฟพนักงาน 900คน พร้อมปิดโรงกลั่น โดยเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานในสกอตแลนด์ การปรับโครงสร้าง ซึ่งรวมถึงการปิดโรงกลั่นเก่าแก่ของบริษัทหลายแห่ง จะช่วยลดต้นทุนได้ราว 40 ล้านปอนด์ (66 ล้านดอลลาร์) ในปี 2555
- รองผู้ว่าแบงก์ชาติอังกฤษแนะธนาคารพาณิชย์ปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อพยุงกิจการ รวมทั้งเพิ่มการให้ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนที่ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ขณะเดียวกันก็ยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างไม่ใช่เรื่องง่ายและจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล
ภาคการผลิตสหรัฐฯ หดตัวน้อยลง นับจากส.ค.ปีก่อน
สภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังสดใสต้อนรับวันแรกของไตรมาส 3/52 หลังตัวเลขภาคอุตสาหกรรมออกมามีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ และยอดการขายบ้านมือ 2 (Home Resale) ก็ปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 4 แล้ว ส่วนราคาน้ำมันก็ปรับตัวลงมาอยู่ที่ 69.32 เหรียญ และราคาทองบวกขึ้น 1.2% ซึ่งเป็นอัตราเพิ่มที่มากที่สุดในรอบสัปดาห์ ดันราคาขึ้นมาอยู่ที่ 938.8 เหรียญ ขณะที่เงินดอลลาร์อ่อนค่า
สถานการณ์ในภาคอุตสาหกรรมแสดงถึงแนวโน้มที่ดีขึ้น แม้ในอีกด้านจะมีเรื่องปัญหาการว่างงานที่ยังสูงอยู่ ดัชนีการผลิตภาคโรงงาน ISM หดตัวในอัตราที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2008 เนื่องจากตัวชี้วัดปริมาณการผลิตขยายตัวได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม และยอดคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่เกือบจะขยายตัวได้เช่นกัน ทางด้านผู้จัดทำรายงานผลสำรวจภาคการผลิตของ ISM ก็บอกว่า สถานการณ์กำลังเริ่มดีขึ้น ถ้าดูจากในหลายๆ ดัชนีชี้วัดที่เคลื่อนไหวไปในทิศทางบวกและน่าจะกลับมาขยายตัวได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ยกเว้นตัวเลขที่แสดงถึงระดับสต็อกสินค้าที่เพิ่งแสดงอาการแตะจุดต่ำสุดเท่านั้น และที่น่าผิดหวังก็จะเป็นในส่วนของยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่กลับมาหดตัวลงในเดือนมิถุนายน หลังจากที่ทำให้ดีใจได้เพียงแค่เดือนเดียว คือในเดือนพฤษภาคม ที่ยอดบุ๊คกิ้งขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบมากกว่าหนึ่งปีปัจจัยการล้มละลายของทั้งบริษัท General Motors และ Chrysler ส่งผลต่อทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งทำให้ซัพพลายเออร์บางเจ้าต้องยื่นขอความคุ้มครองจากเจ้าหนี้ไปตามๆ กัน ผู้บริหารในส่วนจัดซื้อของบริษัท Ford Motor บอกว่า ในช่วง 3 เดือนจากนี้จะถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่ง ภายใต้สภาวะแรงกดดันในเรื่องกระแสเงินสดที่จะมีต่อฐานการผลิตทั้งหลาย
ทางด้านรัฐบาลประธานาธิบดี บารัค โอบามา ก็กำลังใช้ความพยายามอย่างหนักในการกอบกู้ยอดขายรถเพื่อกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจในไตรมาสสาม รวมถึงมาตรการที่ได้ผ่านสภาคองเกรสไปแล้วในเดือนก่อน ที่ให้ผู้บริโภคได้รับส่วนลดถึง 4,500 เหรียญในการนำรถเก่ามาแลกเป็นรถประหยัดพลังงาน
เอกชนสหรัฐฯ ปลดแรงงาน 4.73 แสนคนในเดือนมิ.ย.
ADP Employer Services รายงานว่า บริษัทเอกชนในสหรัฐฯ ปลดแรงงานออกอีก 473,000 รายในเดือนมิถุนายน ซึ่งมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะมีการลดจำนวนแรงงานลง 395,000 ราย อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ก็ถือว่าลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคมที่มีการปลดแรงงาน 485,000 ราย
ภาวะตลาดแรงงานของสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญกับสภาพความย่ำแย่อยู่ต่อไป หลังการล้มละลายของบริษัท General Motors และ Chrysler ที่ส่งผลต่อภาคการผลิต และที่สำคัญก็คือ ยิ่งแรงงานถูกปลดออกมากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้กำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจอ่อนแรงต่อไปเรื่อยๆ แม้เศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกนี้จะเริ่มมีตัวเลขอื่นๆ ที่ส่งสัญญาณการทรงตัวได้แล้วก็ตาม และถ้าจะดูตัวเลขจากทางการ ในวันพฤหัสฯ กระทรวงแรงงานก็จะรายงานตัวเลขการว่างงาน ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าบรรดานายจ้างจะยังแห่ลดการจ้างงานลงอีก 363,000 ตำแหน่งในเดือนมิถุนายน ทำให้อัตราการว่างงานพุ่งทำสถิตินิวไฮในรอบ 26 ปี ที่ระดับ 9.6% เร่งตัวขึ้นจาก 9.4% ในเดือนก่อน แม้อัตราการเพิ่มขึ้น 0.2% นี้จะเป็นอัตราที่ชะลอลงก็ตาม
รายงานของ ADP ออกมาสอดคล้องกับตัวเลขของบริษัทที่ปรึกษา Challenger, Gray & Christmas ที่เปิดเผยออกมาก่อนหน้านี้ โดยรายงานแสดงแนวโน้มของแผนการปลดแรงงานที่ลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันในเดือนมิถุนายน ลงมาแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว และสร้างความหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เกือบจะดิ้นหลุดสภาวะความถดถอยที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษได้แล้ว รายงานของ Challenger ชี้ว่า การจ้างงานภาครัฐและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรเป็นภาคส่วนที่มีการปลดแรงงานมากที่สุดในเดือนมิถุนายน ด้วยตัวเลข 19,438 คน ตามมาด้วยอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ลดการจ้างงาน 7,882 คน และในภาคการขนส่งอีก 5,587 คน บริษัทที่ปรึกษารายนี้ยังให้ความเห็นว่า ภาครัฐบาลมีแนวโน้มที่จะลดการจ้างงานอย่างหนักต่อไปในช่วงที่เหลือของปีนี้ แม้ว่าจะมีเงินอัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจเข้ามาอย่างมากก็ตาม โดยตัวเลขมีโอกาสที่จะออกมาเป็นตัวแดงในหลายรัฐเท่าที่มีรายงานเข้ามาในตอนนี้
GM เผยยอดขายรถยนต์ในจีนทะยาน 38% ในช่วงครึ่งแรกของปี
เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ป ( GM ) เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ GM ในจีนทะยานกว่า 38% ในช่วงครึ่งแรกของปี หลังอุปสงค์รถมินิแวนและรถยนต์ขนาดเล็กพุ่งสูงอย่างแข็งแกร่ง โดย GM ขายรถยนต์ในจีนได้กว่า 814,442 คันในช่วงเดือนม.ค.-มิ.ย.ที่ผ่านมา หรือตกเดือนละกว่า 100,000 คัน ซึ่งมากเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนๆ และมากกว่าทั้งปีที่แล้วซึ่งขายได้เพียง 1,094,561 คันในจีน
การขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของจีนและตลาดเกิดใหม่อื่นๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ GM ฟื้นตัวจากการล้มละลายในสหรัฐ ซึ่งส่งผลให้บริษัทต้องปลดพนักงานจำนวนมากและปิดโรงงานหลายแห่ง เควิน เวล ประธานและกรรมการผู้จัดการ GM ในจีน กล่าวว่า "ตลาดยานยนต์ในจีนยังคงขยายตัวเกินคาด" "รถยนต์ของเรายังเป็นที่ต้องการอย่างมากในจีน"
ในขณะเดียวกัน ยอดขายรถยนต์โดยสารในจีนทะยาน 21% ในช่วงเดือนม.ค.-พ.ค. แตะ 3.36 ล้านคัน ส่วนยอดขายยานพาหนะทุกชนิดเพิ่มขึ้น 14.3% แตะ 4.96 ล้านคัน หลายฝ่ายคาดการณ์ว่ายอดขายรถทุกยี่ห้อในจีนจะอยู่ที่ระดับ 10 ล้านคันในปีนี้ โดยเมื่อปีที่แล้วยอดขายรถในจีนขยายตัว 6.7% แตะ 9.38 ล้านคัน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปีที่ยอดขายรถขยายตัวไม่ถึง 10% SAIC-GM-Wuling บริษัทผลิตรถมินิแวนซึ่งเกิดจากการร่วมทุนระหว่าง GM กับบริษัทจีน ขายรถได้ถึง 524,598 คันในช่วงเดือนม.ค.-มิ.ย. หรือเพิ่มขึ้นกว่า 50% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรถยอดนิยมอย่าง Wuling Sunshine มียอดขาย 295,789 คัน, Wuling Rong Guang เกือบ 100,000 คัน และ Chevrolet Spark จำนวน 32,056 คัน ทั้งนี้ แม้ GM กำลังประสบปัญหาหนักในสหรัฐ แต่บริษัทร่วมทุน 8 แห่งในจีนยังคงตั้งเป้าขายรถให้ได้มากกว่าปีที่แล้ว 2 เท่า เป็น 2 ล้านคันภายใน 5 ปีข้างหน้า
โตโยต้าเตรียมยุติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอฟวันที่ญี่ปุ่น
แหล่งข่าวใกล้ชิดระบุว่า ฟูจิ อินเตอร์เนชั่นแนล สปีดเวย์ ซึ่งเป็นสนามแข่งรถในเครือของโตโยต้า มอเตอร์ มีแผนที่จะยุติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรถสูตรหนึ่งชิงแชมป์โลก รายการเจแปนนีส กรังด์ปรีซ์ เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ภายหลังประเมินแล้วว่าการจัดการแข่งขันทำกำไรให้บริษัทได้ไม่มากเท่าที่ควร โดยบริษัทจะประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนนี้
สายการบิน ANA เตรียมระดมทุนเพิ่ม 1.82 แสนล้านเยน
สายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์ส (ANA) จะระดมทุนเพิ่ม 1.82 แสนล้านเยน ผ่านการขายหุ้น เพื่อรับมือกับการเดินทางที่หดตัวลงในช่วงเศรษฐกิจโลกถดถอย และเพื่อเป็นการเตรียมหาเงินสดสำหรับซื้อเครื่องบินลำใหม่ ANA จะขายหุ้น 537.5 ล้านหุ้นในเดือนก.ค. ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1.50 แสนล้านเยน แต่จะมีการขายหุ้นมากกว่านี้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด
เวียดนามเผยรายได้ส่งออกกาแฟครึ่งปีแรกกว่า 1 พันล้านดอลลาร์
กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของเวียดนามเปิดเผยยอดการส่งออกกาแฟของเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ว่า อยู่ที่ 741,000 ตัน คิดเป็นรายได้จากการส่งออกประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์ ก่อนหน้านี้ กลุ่มผู้ส่งออกของเวียดนามขาดทุนอย่างหนัก เนื่องจากราคาส่งออกกาแฟในตลาดต่างประเทศร่วงลงสวนทางคาดการณ์
ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯที่ประกาศออกมาเมื่อวานนี้ (พุธที่ 1 ก.ค. 2552)
ตัวเลขสต็อกน้ำมันสำรองประจำสัปดาห์ ลดลง 3.7 ล้านบาร์เรล
ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง (พ.ค.) ลดลง 0.9% จากเดือนก่อนหน้า
ดัชนียอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย (พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 90.7 จุด
ดัชนีภาคการผลิต (มิ.ย.) อยูที่ระดับ 44.8 จุด
ตัวเลขการจ้างงานทั่วประเทศ (มิ.ย.) ลดลง 473,000 รายจากเดือนก่อนหน้า
ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯที่จะประกาศออกมาวันนี้ (พฤหัสบดีที่ 2 ก.ค. 2552)
ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ
การจ้างงานนอกภาคเกษตร (มิ.ย.) โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ
ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงาน (พ.ค.) โดยกระทรวงพาณิชย์
Posted on Thursday, July 02, 2009
- นิว GM สามารถเปิดขาย IPO ได้ภายในปี 2553 หาก GM ชนะการตัดสินของศาลในการขายทอดทรัพย์สิน (โดยผลการตัดสินของศาลจะออกมาในสัปดาห์นี้ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกล่าวว่า หากการขายทอดทรัพย์สินของ GM ยังไม่สามารถทำตามเส้นตายของรัฐบาลในวันที่ 10 ก.ค. รัฐบาลจะถอนเงินให้ความช่วยเหลือ 33,000 ล้านคัน
- ดิอาจีโอ ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายใหญ่ เลย์ออฟพนักงาน 900คน พร้อมปิดโรงกลั่น โดยเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานในสกอตแลนด์ การปรับโครงสร้าง ซึ่งรวมถึงการปิดโรงกลั่นเก่าแก่ของบริษัทหลายแห่ง จะช่วยลดต้นทุนได้ราว 40 ล้านปอนด์ (66 ล้านดอลลาร์) ในปี 2555
- รองผู้ว่าแบงก์ชาติอังกฤษแนะธนาคารพาณิชย์ปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อพยุงกิจการ รวมทั้งเพิ่มการให้ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนที่ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ขณะเดียวกันก็ยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างไม่ใช่เรื่องง่ายและจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล
ภาคการผลิตสหรัฐฯ หดตัวน้อยลง นับจากส.ค.ปีก่อน
สภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังสดใสต้อนรับวันแรกของไตรมาส 3/52 หลังตัวเลขภาคอุตสาหกรรมออกมามีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ และยอดการขายบ้านมือ 2 (Home Resale) ก็ปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 4 แล้ว ส่วนราคาน้ำมันก็ปรับตัวลงมาอยู่ที่ 69.32 เหรียญ และราคาทองบวกขึ้น 1.2% ซึ่งเป็นอัตราเพิ่มที่มากที่สุดในรอบสัปดาห์ ดันราคาขึ้นมาอยู่ที่ 938.8 เหรียญ ขณะที่เงินดอลลาร์อ่อนค่า
สถานการณ์ในภาคอุตสาหกรรมแสดงถึงแนวโน้มที่ดีขึ้น แม้ในอีกด้านจะมีเรื่องปัญหาการว่างงานที่ยังสูงอยู่ ดัชนีการผลิตภาคโรงงาน ISM หดตัวในอัตราที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2008 เนื่องจากตัวชี้วัดปริมาณการผลิตขยายตัวได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม และยอดคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่เกือบจะขยายตัวได้เช่นกัน ทางด้านผู้จัดทำรายงานผลสำรวจภาคการผลิตของ ISM ก็บอกว่า สถานการณ์กำลังเริ่มดีขึ้น ถ้าดูจากในหลายๆ ดัชนีชี้วัดที่เคลื่อนไหวไปในทิศทางบวกและน่าจะกลับมาขยายตัวได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ยกเว้นตัวเลขที่แสดงถึงระดับสต็อกสินค้าที่เพิ่งแสดงอาการแตะจุดต่ำสุดเท่านั้น และที่น่าผิดหวังก็จะเป็นในส่วนของยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่กลับมาหดตัวลงในเดือนมิถุนายน หลังจากที่ทำให้ดีใจได้เพียงแค่เดือนเดียว คือในเดือนพฤษภาคม ที่ยอดบุ๊คกิ้งขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบมากกว่าหนึ่งปีปัจจัยการล้มละลายของทั้งบริษัท General Motors และ Chrysler ส่งผลต่อทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งทำให้ซัพพลายเออร์บางเจ้าต้องยื่นขอความคุ้มครองจากเจ้าหนี้ไปตามๆ กัน ผู้บริหารในส่วนจัดซื้อของบริษัท Ford Motor บอกว่า ในช่วง 3 เดือนจากนี้จะถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่ง ภายใต้สภาวะแรงกดดันในเรื่องกระแสเงินสดที่จะมีต่อฐานการผลิตทั้งหลาย
ทางด้านรัฐบาลประธานาธิบดี บารัค โอบามา ก็กำลังใช้ความพยายามอย่างหนักในการกอบกู้ยอดขายรถเพื่อกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจในไตรมาสสาม รวมถึงมาตรการที่ได้ผ่านสภาคองเกรสไปแล้วในเดือนก่อน ที่ให้ผู้บริโภคได้รับส่วนลดถึง 4,500 เหรียญในการนำรถเก่ามาแลกเป็นรถประหยัดพลังงาน
เอกชนสหรัฐฯ ปลดแรงงาน 4.73 แสนคนในเดือนมิ.ย.
ADP Employer Services รายงานว่า บริษัทเอกชนในสหรัฐฯ ปลดแรงงานออกอีก 473,000 รายในเดือนมิถุนายน ซึ่งมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะมีการลดจำนวนแรงงานลง 395,000 ราย อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ก็ถือว่าลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคมที่มีการปลดแรงงาน 485,000 ราย
ภาวะตลาดแรงงานของสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญกับสภาพความย่ำแย่อยู่ต่อไป หลังการล้มละลายของบริษัท General Motors และ Chrysler ที่ส่งผลต่อภาคการผลิต และที่สำคัญก็คือ ยิ่งแรงงานถูกปลดออกมากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้กำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจอ่อนแรงต่อไปเรื่อยๆ แม้เศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกนี้จะเริ่มมีตัวเลขอื่นๆ ที่ส่งสัญญาณการทรงตัวได้แล้วก็ตาม และถ้าจะดูตัวเลขจากทางการ ในวันพฤหัสฯ กระทรวงแรงงานก็จะรายงานตัวเลขการว่างงาน ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าบรรดานายจ้างจะยังแห่ลดการจ้างงานลงอีก 363,000 ตำแหน่งในเดือนมิถุนายน ทำให้อัตราการว่างงานพุ่งทำสถิตินิวไฮในรอบ 26 ปี ที่ระดับ 9.6% เร่งตัวขึ้นจาก 9.4% ในเดือนก่อน แม้อัตราการเพิ่มขึ้น 0.2% นี้จะเป็นอัตราที่ชะลอลงก็ตาม
รายงานของ ADP ออกมาสอดคล้องกับตัวเลขของบริษัทที่ปรึกษา Challenger, Gray & Christmas ที่เปิดเผยออกมาก่อนหน้านี้ โดยรายงานแสดงแนวโน้มของแผนการปลดแรงงานที่ลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันในเดือนมิถุนายน ลงมาแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว และสร้างความหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เกือบจะดิ้นหลุดสภาวะความถดถอยที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษได้แล้ว รายงานของ Challenger ชี้ว่า การจ้างงานภาครัฐและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรเป็นภาคส่วนที่มีการปลดแรงงานมากที่สุดในเดือนมิถุนายน ด้วยตัวเลข 19,438 คน ตามมาด้วยอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ลดการจ้างงาน 7,882 คน และในภาคการขนส่งอีก 5,587 คน บริษัทที่ปรึกษารายนี้ยังให้ความเห็นว่า ภาครัฐบาลมีแนวโน้มที่จะลดการจ้างงานอย่างหนักต่อไปในช่วงที่เหลือของปีนี้ แม้ว่าจะมีเงินอัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจเข้ามาอย่างมากก็ตาม โดยตัวเลขมีโอกาสที่จะออกมาเป็นตัวแดงในหลายรัฐเท่าที่มีรายงานเข้ามาในตอนนี้
GM เผยยอดขายรถยนต์ในจีนทะยาน 38% ในช่วงครึ่งแรกของปี
เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ป ( GM ) เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ GM ในจีนทะยานกว่า 38% ในช่วงครึ่งแรกของปี หลังอุปสงค์รถมินิแวนและรถยนต์ขนาดเล็กพุ่งสูงอย่างแข็งแกร่ง โดย GM ขายรถยนต์ในจีนได้กว่า 814,442 คันในช่วงเดือนม.ค.-มิ.ย.ที่ผ่านมา หรือตกเดือนละกว่า 100,000 คัน ซึ่งมากเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนๆ และมากกว่าทั้งปีที่แล้วซึ่งขายได้เพียง 1,094,561 คันในจีน
การขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของจีนและตลาดเกิดใหม่อื่นๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ GM ฟื้นตัวจากการล้มละลายในสหรัฐ ซึ่งส่งผลให้บริษัทต้องปลดพนักงานจำนวนมากและปิดโรงงานหลายแห่ง เควิน เวล ประธานและกรรมการผู้จัดการ GM ในจีน กล่าวว่า "ตลาดยานยนต์ในจีนยังคงขยายตัวเกินคาด" "รถยนต์ของเรายังเป็นที่ต้องการอย่างมากในจีน"
ในขณะเดียวกัน ยอดขายรถยนต์โดยสารในจีนทะยาน 21% ในช่วงเดือนม.ค.-พ.ค. แตะ 3.36 ล้านคัน ส่วนยอดขายยานพาหนะทุกชนิดเพิ่มขึ้น 14.3% แตะ 4.96 ล้านคัน หลายฝ่ายคาดการณ์ว่ายอดขายรถทุกยี่ห้อในจีนจะอยู่ที่ระดับ 10 ล้านคันในปีนี้ โดยเมื่อปีที่แล้วยอดขายรถในจีนขยายตัว 6.7% แตะ 9.38 ล้านคัน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปีที่ยอดขายรถขยายตัวไม่ถึง 10% SAIC-GM-Wuling บริษัทผลิตรถมินิแวนซึ่งเกิดจากการร่วมทุนระหว่าง GM กับบริษัทจีน ขายรถได้ถึง 524,598 คันในช่วงเดือนม.ค.-มิ.ย. หรือเพิ่มขึ้นกว่า 50% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรถยอดนิยมอย่าง Wuling Sunshine มียอดขาย 295,789 คัน, Wuling Rong Guang เกือบ 100,000 คัน และ Chevrolet Spark จำนวน 32,056 คัน ทั้งนี้ แม้ GM กำลังประสบปัญหาหนักในสหรัฐ แต่บริษัทร่วมทุน 8 แห่งในจีนยังคงตั้งเป้าขายรถให้ได้มากกว่าปีที่แล้ว 2 เท่า เป็น 2 ล้านคันภายใน 5 ปีข้างหน้า
โตโยต้าเตรียมยุติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอฟวันที่ญี่ปุ่น
แหล่งข่าวใกล้ชิดระบุว่า ฟูจิ อินเตอร์เนชั่นแนล สปีดเวย์ ซึ่งเป็นสนามแข่งรถในเครือของโตโยต้า มอเตอร์ มีแผนที่จะยุติการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรถสูตรหนึ่งชิงแชมป์โลก รายการเจแปนนีส กรังด์ปรีซ์ เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ภายหลังประเมินแล้วว่าการจัดการแข่งขันทำกำไรให้บริษัทได้ไม่มากเท่าที่ควร โดยบริษัทจะประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนนี้
สายการบิน ANA เตรียมระดมทุนเพิ่ม 1.82 แสนล้านเยน
สายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์ส (ANA) จะระดมทุนเพิ่ม 1.82 แสนล้านเยน ผ่านการขายหุ้น เพื่อรับมือกับการเดินทางที่หดตัวลงในช่วงเศรษฐกิจโลกถดถอย และเพื่อเป็นการเตรียมหาเงินสดสำหรับซื้อเครื่องบินลำใหม่ ANA จะขายหุ้น 537.5 ล้านหุ้นในเดือนก.ค. ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1.50 แสนล้านเยน แต่จะมีการขายหุ้นมากกว่านี้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด
เวียดนามเผยรายได้ส่งออกกาแฟครึ่งปีแรกกว่า 1 พันล้านดอลลาร์
กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของเวียดนามเปิดเผยยอดการส่งออกกาแฟของเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ว่า อยู่ที่ 741,000 ตัน คิดเป็นรายได้จากการส่งออกประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์ ก่อนหน้านี้ กลุ่มผู้ส่งออกของเวียดนามขาดทุนอย่างหนัก เนื่องจากราคาส่งออกกาแฟในตลาดต่างประเทศร่วงลงสวนทางคาดการณ์
ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯที่ประกาศออกมาเมื่อวานนี้ (พุธที่ 1 ก.ค. 2552)
ตัวเลขสต็อกน้ำมันสำรองประจำสัปดาห์ ลดลง 3.7 ล้านบาร์เรล
ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง (พ.ค.) ลดลง 0.9% จากเดือนก่อนหน้า
ดัชนียอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย (พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 90.7 จุด
ดัชนีภาคการผลิต (มิ.ย.) อยูที่ระดับ 44.8 จุด
ตัวเลขการจ้างงานทั่วประเทศ (มิ.ย.) ลดลง 473,000 รายจากเดือนก่อนหน้า
ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯที่จะประกาศออกมาวันนี้ (พฤหัสบดีที่ 2 ก.ค. 2552)
ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ
การจ้างงานนอกภาคเกษตร (มิ.ย.) โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ
ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงาน (พ.ค.) โดยกระทรวงพาณิชย์
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 114
แนวโน้มเงินบาทครึ่งหลังปี 2552
แนวโน้มเงินบาทครึ่งหลังปี 2552...อาจได้รับแรงหนุนจาก
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย
โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
หลังจากที่เงินบาทปรับตัวอย่างผันผวนในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 โดยเงินบาทได้อ่อนค่าลงประมาณ 3.7% ในช่วง 2 เดือนแรกของปี ก่อนที่จะหักล้างช่วงติดลบทั้งหมดลง และฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ในช่วงเดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นมา โดยการเคลื่อนไหวของเงินบาทค่อนข้างมีเสถียรภาพและยังคงเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาค แม้ว่าจะมีอัตราการแข็งค่าที่มากกว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชียโดยเปรียบเทียบก็ตาม ทั้งนี้ เงินบาท ณ ระดับปัจจุบัน (3 ก.ค. 2552) แข็งค่าขึ้นประมาณ 2.1% จากระดับปิดตลาดปลายปี 2551 ซึ่งนับว่าเป็นอัตราการแข็งค่ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาค รองจากเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม สัญญาณเชิงบวกของเศรษฐกิจโลกที่ทยอยปรากฏขึ้นในช่วงที่ผ่านมา และอาจต่อเนื่องในระยะถัดไป อาจกลายมาเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อสถานการณ์ของภาคส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปี 2552 ดังนั้น การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทจึงอาจเป็นประเด็นที่ยังคงต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองต่อแนวโน้มเงินบาทในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 ดังนี้ :-
การเคลื่อนไหวของเงินบาทครึ่งแรกของปี 2552...ขึ้นกับทิศทางของเงินดอลลาร์ฯ ผนวกแรงหนุนจากการเกินดุลการค้าของไทย
การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 เป็นไปอย่างผันผวน โดยเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วง 2 เดือนแรกของปี สะท้อนแนวโน้มที่อ่อนแอของเศรษฐกิจไทย ซึ่งมีความสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินและแนวโน้มของเศรษฐกิจอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ตาม เงินบาทฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งตั้งแต่ในช่วงเดือนมีนาคม 2552 ตามกระแสการกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงของนักลงทุน ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากสัญญาณเชิงบวกของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาในภาคการเงินของสหรัฐฯ ที่ทยอยลดความรุนแรงลง นอกจากนี้ เงินบาทยังได้รับแรงหนุนสำคัญจากยอดเกินดุลการค้าของไทยถึง 1.08 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 ที่ผ่านมา อีกด้วย ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยทำการแยกพิจารณาปัจจัยกำหนดการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเป็น 3 ช่วงเวลาดังนี้ :-
ช่วงเวลา ทิศทางเงินบาท ทิศทางเงินเอเชีย* หมายเหตุ
มกราคม-กุมภาพันธ์
2552 เงินบาท
อ่อนค่าลง 3.7% เงินเอเชีย
อ่อนค่าลง 5.3% - เงินดอลลาร์ฯ** แข็งค่าขึ้น 8.6%
- ดัชนีหุ้นไทยปรับลง 4.1% นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 7.695 พันล้านบาท
มีนาคม-เมษายน
2552 เงินบาท
แข็งค่าขึ้น 2.5% เงินเอเชีย
แข็งค่าขึ้น 4.6% - เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลง 3.8%
- ดัชนีหุ้นไทยปรับขึ้น 13.9% นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 5.964 พันล้านบาท
พฤษภาคม-มิถุนายน
2552 เงินบาท
แข็งค่าขึ้น 3.6% เงินเอเชีย
แข็งค่าขึ้น 1.1% - เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลง 5.5%
- ดัชนีหุ้นไทยปรับขึ้น 21.5% นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 21.926 พันล้านบาท
ครึ่งแรกของปี 2552 เงินบาท
แข็งค่าขึ้น 2.3% เงินเอเชีย
แข็งค่าขึ้น 0.2% - เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลง 1.2%
- ดัชนีหุ้นไทยปรับขึ้น 32.8% นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 20.196 พันล้านบาท
เงินเอเชีย* พิจารณาจากดัชนีสกุลเงินในภูมิภาคเอเชีย (Bloomberg-JP Morgan Asia Dollar Index ) ซึ่งคำนวณ
ขึ้นจากค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย 10 สกุล
เงินดอลลาร์ฯ** พิจารณาจากดัชนีเงินดอลลาร์ฯ ที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของเงินดอลลาร์ฯ เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก
6 สกุล ประกอบด้วย เงินยูโร เยน ปอนด์สเตอร์ลิงก์ ดอลลาร์แคนาดา โครนาสวีเดน และสวิสฟรังก์
เมื่อพิจารณาภาพรวมของความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 จะพบว่า เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับสกุลเงินเอเชียอื่นๆ แต่เงินบาทจะมีอัตราการแข็งค่าที่มากกว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชียโดยเปรียบเทียบ โดยเงินบาทซึ่งแข็งค่าขึ้นประมาณ 2.3% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 นับเป็นสกุลเงินที่แข็งค่ามากสุดเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชีย รองจากเงินรูเปียห์อินโดนีเซียที่แข็งค่าประมาณ 6.4% ในช่วงเวลาเดียวกัน
แนวโน้มเงินบาทครึ่งหลังของปี 2552
เงินบาทเปิดไตรมาสที่ 3/2552 ด้วยการปรับตัวอ่อนค่ากว่าระดับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดสิ้นไตรมาสที่ 2/2552 โดยตัวเลขการปรับลดตำแหน่งงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ ที่มากเกินคาด ขณะที่ อัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 26 ปีในเดือนมิถุนายน 2552 ได้บั่นทอนกระแสการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อเงินดอลลาร์ฯ ในฐานะที่เป็นสกุลเงินที่มีความปลอดภัยท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเงินภายใต้สภาวะวิกฤตในรอบนี้ อย่างไรก็ตาม หากมองไปในระยะข้างหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองต่อแนวโน้มค่าเงินบาทในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 ดังนี้:-
ในกรณีฐาน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจของไทยและเศรษฐกิจโลก อาจทยอยสะท้อนสัญญาณเชิงบวกออกมามากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 (พัฒนาการทางเศรษฐกิจสะท้อนออกมาในลักษณะใกล้เคียงกับ U-Shaped) ซึ่งน่าที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนกระแสการกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเพื่อแสวงหาแหล่งลงทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนที่ดีกว่าโดยเปรียบเทียบ ทั้งนี้ ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว เมื่อประกอบเข้ากับแนวโน้มการทยอยฟื้นตัวขึ้นของเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในเอเชีย รวมทั้งเศรษฐกิจไทย แล้ว ก็อาจทำให้เงินบาทมีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นได้ตามกระแสความแข็งแกร่งของเงินหยวนและสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ในขณะที่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจยังคงอยู่ในช่วงแรกเริ่มของการฟื้นตัวเท่านั้น
ด้วยการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และมาตรการผ่อนปรนด้านอื่นๆ ทำให้จีนถูกประเมินว่า ได้แตะจุดต่ำสุดของภาวะการชะลอตัวไปแล้วในช่วงไตรมาส 1/2552 และอาจขยายตัวได้ในอัตราที่สูงกว่านั้นตั้งแต่ในช่วงไตรมาส 2/2552 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีนอาจเป็นธนาคารกลางแห่งแรกๆ ที่ต้องคุมเข้มนโยบายการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของจีนจะเกิดขึ้นก่อนทางฝั่งเศรษฐกิจแกนหลักของโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ G-3 ทั้งนี้ แนวโน้มที่แข็งแกร่งมากขึ้นของเศรษฐกิจจีนในช่วงที่เหลือของปี 2552 ได้ถูกประเมินเข้าไว้ในการคาดการณ์แนวโน้มค่าเงินหยวน ที่สะท้อนจากสัญญาล่วงหน้าที่ไม่มีการส่งมอบสกุลดอลลาร์ฯ/หยวนประเภท 1 ปี ในตลาดต่างประเทศ ซึ่งได้พลิกมุมมองที่มีต่อการคาดการณ์เงินหยวนตั้งแต่ในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นมาว่า เงินหยวนอาจมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในระยะ 1 ปีข้างหน้า หลังจากที่ปรับตัวสะท้อนการคาดการณ์การอ่อนค่าของเงินหยวนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกันยายน 2551
ในทิศทางที่สอดคล้องกัน สัญญาณเชิงบวกของเศรษฐกิจโลกที่ทยอยเริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 เมื่อประกอบเข้ากับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางหลายๆ แห่งในเอเชีย ทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งไทย กำลังปรับตัวไปในทิศทางที่สดใสมากขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 2552 นี้ สำหรับแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยได้หลุดพ้นจากนิยามภาวะถดถอยทางเทคนิคของวงจรการทรุดตัวที่รุนแรงที่สุดในรอบนี้มาแล้วตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2/2552 โดยอัตราการเติบโตของ GDP ของไทยอาจปรับตัวในทิศทางที่สะท้อนการฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงหนุนที่สำคัญจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายของธปท.
ดังนั้น นอกเหนือไปจากประเด็นการคาดการณ์การแข็งค่าของค่าเงินหยวนแล้ว ประเด็นที่เกี่ยวกับการคาดการณ์ที่มีต่อแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายๆ แห่งในเอเชีย ตลอดจนพื้นฐานทางเศรษฐกิจของเอเชียที่แข็งแกร่งกว่ากลุ่มเศรษฐกิจ G-3 โดยเปรียบเทียบในช่วงเวลานั้น ก็อาจกลายเป็นปัจจัยแวดล้อมที่ช่วยหนุนการปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นของสกุลเงินในเอเชีย และเงินบาท ในช่วงที่เหลือของปี 2552 ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม แม้เงินบาทอาจปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นได้ตามทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การแข็งค่าของเงินบาทจะทยอยเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย (ซึ่งอาจทำให้มีความต้องการเงินดอลลาร์ฯ เพื่อนำเข้าสินค้าเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ แรงหนุนที่เงินบาทจะได้รับจากฐานะการเกินดุลการค้าก็น่าจะลดลงเมื่อเทียบกับในช่วงครึ่งแรกของปี 2552) ในขณะที่ ธปท.ก็น่าที่จะยังคงจุดยืนของการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่เน้นเสถียรภาพของค่าเงินบาท ลดความผันผวนของค่าเงิน และเป็นไปตามกลไกตลาด โดยในกรณีฐาน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า เงินบาทอาจปรับตัวโน้มไปในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นเช่นเดียวกับสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ท่ามกลางสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก โดยที่เงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นทดสอบระดับ 33.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ และหากแรงหนุนยังคงมีความต่อเนื่อง เงินบาทก็อาจแข็งค่าขึ้นไปที่ระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ได้ในช่วงปลายปี 2552
แม้ว่าเงินบาทน่าที่จะแข็งค่าขึ้นตามการวิเคราะห์ดังกล่าว แต่สำหรับกรณีเลวร้าย ยังคงมีความเป็นไปได้ว่า สัญญาณเชิงบวกของเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่ปรากฏขึ้นนั้น อาจไม่มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าจะผ่านพ้นจุดเลวร้ายที่สุดของวิกฤตมาแล้วก็ตาม (พัฒนาการทางเศรษฐกิจมีลักษณะใกล้เคียงกับ L-Shaped ซึ่งช่วงเวลาของการฟื้นตัวยังไม่ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน) โดยในกรณีเลวร้ายนี้ อาจทำให้เศรษฐกิจอื่นๆ ในเอเชีย รวมทั้งไทย ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการฟื้นตัว ซึ่งภายใต้สถานการณ์นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ค่าเงินเอเชียบางสกุล ซึ่งอาจหมายความรวมถึงค่าเงินบาท อาจไม่สามารถขยับแข็งค่าได้มากนักเนื่องจากความอ่อนแอของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยสำหรับในกรณีเลวร้าย ก็มีโอกาสที่เงินบาทจะปรับตัวในกรอบที่อ่อนค่ากว่าระดับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ
ภายใต้สภาวการณ์ที่เลวร้ายดังกล่าว ข่าวร้ายทางเศรษฐกิจและภาคการเงินที่ทยอยถูกเปิดเผยออกมาในระยะข้างหน้า น่าที่จะทำให้นักลงทุนปรับลดสถานะการลงทุนที่มีความเสี่ยง และเข้าซื้อเงินดอลลาร์ฯ ในฐานะที่เป็นสกุลเงินที่ปลอดภัยต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยประเด็นเรื่องอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ และความกังขาเกี่ยวกับบทบาทของเงินดอลลาร์ฯ ในฐานะที่เป็นสกุลเงินสำรองของโลก ก็คงจะเบาบางลงไปภายใต้สถานการณ์นี้ เมื่อนักลงทุนยังคงต้องหมุนเวียนเงินลงทุนกลับเข้าไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีความเสี่ยงต่ำในท้ายที่สุด ดังนั้น แนวโน้มการเคลื่อนไหวของค่าเงินในภูมิภาคบางสกุล และอาจรวมถึงค่าเงินบาท ก็อาจไม่มีทิศทางที่ชัดเจน โดยจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ โดยมีความเป็นไปได้ว่า จะมีสกุลเงินบางสกุลในเอเชียต้องปรับตัวในทิศทางที่อ่อนค่าลงอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงตามพื้นฐานเศรษฐกิจที่เปราะบางมากกว่า เนื่องจากผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้น อาจต้องรักษาวินัยทางการคลัง และอาจต้องเผชิญกับข้อจำกัดอื่นๆ ในการดำเนินมาตรการและ/หรือนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
โดยสรุป การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 เป็นไปอย่างผันผวน โดยเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วง 2 เดือนแรกของปี สะท้อนแนวโน้มที่อ่อนแอของเศรษฐกิจไทย ซึ่งมีความสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินและแนวโน้มของเศรษฐกิจอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนในฐานะที่เป็นสกุลเงินที่มีความปลอดภัย มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี 2551 ท่ามกลางกระแสการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของนักลงทุนภายใต้สภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กระจายไปทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เงินบาทฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งตั้งแต่ในช่วงเดือนมีนาคม 2552 ตามกระแสการกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงของนักลงทุน ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากสัญญาณเชิงบวกของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาในภาคการเงินของสหรัฐฯ ที่ทยอยลดความรุนแรงลง นอกจากนี้ เงินบาทยังได้รับแรงหนุนสำคัญจากยอดเกินดุลการค้าของไทยถึง 1.08 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 ที่ผ่านมา อีกด้วย ทั้งนี้ เงินบาทในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางที่สอดคล้องกับสกุลเงินเอเชียอื่นๆ แต่เงินบาทจะมีอัตราการแข็งค่าที่มากกว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชียโดยเปรียบเทียบ โดยเงินบาทซึ่งแข็งค่าขึ้นประมาณ 2.3% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 นับเป็นสกุลเงินที่แข็งค่ามากสุดเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชีย รองจากเงินรูเปียห์อินโดนีเซียที่แข็งค่าประมาณ 6.4% ในช่วงเวลาเดียวกัน
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในกรณีฐาน ซึ่งสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจของไทยและเศรษฐกิจโลก อาจทยอยสะท้อนสัญญาณเชิงบวกออกมามากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 (พัฒนาการทางเศรษฐกิจมีลักษณะใกล้เคียงกับ U-Shaped) น่าที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนกระแสการกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเพื่อแสวงหาแหล่งลงทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนที่ดีกว่าโดยเปรียบเทียบ ทั้งนี้ ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว เมื่อประกอบเข้ากับแนวโน้มการทยอยฟื้นตัวขึ้นของเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในเอเชีย รวมทั้งเศรษฐกิจไทย แล้ว ก็อาจทำให้เงินบาทมีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นได้ตามกระแสความแข็งแกร่งของเงินหยวนและสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ในขณะที่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจยังคงอยู่ในช่วงแรกเริ่มของการฟื้นตัวเท่านั้น นอกจากนี้ แนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียโดยรวม ที่อาจทยอยเกิดขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ อาจมาพร้อมๆ กับแนวโน้มขาขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในช่วงปลายปี 2552 ซึ่งก็อาจทำให้มีความเป็นได้ว่า ธนาคารกลางของหลายๆ ประเทศในเอเชีย นำโดย ธนาคารกลางจีน จะเป็นธนาคารกลางแห่งแรกๆ ที่ต้องดำเนินการคุมเข้มนโยบายการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งกระแสการคาดการณ์ต่อแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวอาจเกิดขึ้นก่อนทางฝั่งเศรษฐกิจแกนหลักของโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ G-3 ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐฯ ยูโรโซน และญี่ปุ่น โดยภายใต้กรณีฐาน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เงินบาทอาจปรับตัวโน้มไปในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นเช่นเดียวกับสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ท่ามกลางสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก โดยที่เงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นทดสอบระดับ 33.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ และหากแรงหนุนยังคงมีความต่อเนื่อง เงินบาทก็อาจแข็งค่าขึ้นไปที่ระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ได้ในช่วงปลายปี 2552
แม้ว่าเงินบาทน่าที่จะแข็งค่าขึ้นตามการวิเคราะห์ดังกล่าว แต่สำหรับกรณีเลวร้าย ยังคงมีความเป็นไปได้ว่า สัญญาณเชิงบวกของเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่ปรากฏขึ้นนั้น อาจไม่มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าจะผ่านพ้นจุดเลวร้ายที่สุดของวิกฤตมาแล้วก็ตาม (พัฒนาการทางเศรษฐกิจสะท้อนออกมาในลักษณะใกล้เคียงกับ L-Shaped ซึ่งช่วงเวลาของการฟื้นตัวยังไม่ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน) โดยในกรณีเลวร้ายนี้ อาจทำให้เศรษฐกิจอื่นๆ ในเอเชีย รวมทั้งไทย ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการฟื้นตัว หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ช่วงเวลาของการฟื้นตัวสำหรับเศรษฐกิจเอเชีย ต้องลากยาวออกไปเช่นเดียวกับแนวโน้มที่ซบเซายาวนานของเศรษฐกิจโลก ซึ่งภายใต้สถานการณ์นี้ ค่าเงินเอเชียบางสกุล ซึ่งอาจหมายความรวมถึงค่าเงินบาท อาจไม่สามารถขยับแข็งค่าได้มากนักเนื่องจากความอ่อนแอของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยสำหรับในกรณีเลวร้ายนี้ ก็มีโอกาสที่เงินบาทจะปรับตัวในกรอบที่อ่อนค่ากว่าระดับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ
ดังนั้น สัญญาณเชิงบวกของเศรษฐกิจโลกในระยะถัดไป ยังคงต้องถูกประเมินอย่างรอบคอบ เนื่องจากเครื่องชี้เศรษฐกิจเหล่านั้น ไม่เพียงจะบ่งชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการและลักษณะของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเท่านั้น แต่ยังคงสะท้อนถึงแนวโน้มกระแสการไหลเวียนเงินลงทุนในตลาดเงิน-ตลาดทุนโลก ซึ่งก็อาจส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทด้วยเช่นกัน ดังนั้น เสถียรภาพและศักยภาพในการแข่งขันของค่าเงินบาท ก็อาจเป็นประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากความแข็งแกร่งของพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย ที่อาจทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่เศรษฐกิจไทยได้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่เลวร้ายของวิกฤตในรอบนี้ไปแล้ว
แนวโน้มเงินบาทครึ่งหลังปี 2552...อาจได้รับแรงหนุนจาก
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย
โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
หลังจากที่เงินบาทปรับตัวอย่างผันผวนในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 โดยเงินบาทได้อ่อนค่าลงประมาณ 3.7% ในช่วง 2 เดือนแรกของปี ก่อนที่จะหักล้างช่วงติดลบทั้งหมดลง และฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ในช่วงเดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นมา โดยการเคลื่อนไหวของเงินบาทค่อนข้างมีเสถียรภาพและยังคงเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาค แม้ว่าจะมีอัตราการแข็งค่าที่มากกว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชียโดยเปรียบเทียบก็ตาม ทั้งนี้ เงินบาท ณ ระดับปัจจุบัน (3 ก.ค. 2552) แข็งค่าขึ้นประมาณ 2.1% จากระดับปิดตลาดปลายปี 2551 ซึ่งนับว่าเป็นอัตราการแข็งค่ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาค รองจากเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม สัญญาณเชิงบวกของเศรษฐกิจโลกที่ทยอยปรากฏขึ้นในช่วงที่ผ่านมา และอาจต่อเนื่องในระยะถัดไป อาจกลายมาเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อสถานการณ์ของภาคส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปี 2552 ดังนั้น การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทจึงอาจเป็นประเด็นที่ยังคงต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองต่อแนวโน้มเงินบาทในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 ดังนี้ :-
การเคลื่อนไหวของเงินบาทครึ่งแรกของปี 2552...ขึ้นกับทิศทางของเงินดอลลาร์ฯ ผนวกแรงหนุนจากการเกินดุลการค้าของไทย
การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 เป็นไปอย่างผันผวน โดยเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วง 2 เดือนแรกของปี สะท้อนแนวโน้มที่อ่อนแอของเศรษฐกิจไทย ซึ่งมีความสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินและแนวโน้มของเศรษฐกิจอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ตาม เงินบาทฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งตั้งแต่ในช่วงเดือนมีนาคม 2552 ตามกระแสการกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงของนักลงทุน ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากสัญญาณเชิงบวกของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาในภาคการเงินของสหรัฐฯ ที่ทยอยลดความรุนแรงลง นอกจากนี้ เงินบาทยังได้รับแรงหนุนสำคัญจากยอดเกินดุลการค้าของไทยถึง 1.08 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 ที่ผ่านมา อีกด้วย ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยทำการแยกพิจารณาปัจจัยกำหนดการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเป็น 3 ช่วงเวลาดังนี้ :-
ช่วงเวลา ทิศทางเงินบาท ทิศทางเงินเอเชีย* หมายเหตุ
มกราคม-กุมภาพันธ์
2552 เงินบาท
อ่อนค่าลง 3.7% เงินเอเชีย
อ่อนค่าลง 5.3% - เงินดอลลาร์ฯ** แข็งค่าขึ้น 8.6%
- ดัชนีหุ้นไทยปรับลง 4.1% นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 7.695 พันล้านบาท
มีนาคม-เมษายน
2552 เงินบาท
แข็งค่าขึ้น 2.5% เงินเอเชีย
แข็งค่าขึ้น 4.6% - เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลง 3.8%
- ดัชนีหุ้นไทยปรับขึ้น 13.9% นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 5.964 พันล้านบาท
พฤษภาคม-มิถุนายน
2552 เงินบาท
แข็งค่าขึ้น 3.6% เงินเอเชีย
แข็งค่าขึ้น 1.1% - เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลง 5.5%
- ดัชนีหุ้นไทยปรับขึ้น 21.5% นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 21.926 พันล้านบาท
ครึ่งแรกของปี 2552 เงินบาท
แข็งค่าขึ้น 2.3% เงินเอเชีย
แข็งค่าขึ้น 0.2% - เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลง 1.2%
- ดัชนีหุ้นไทยปรับขึ้น 32.8% นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 20.196 พันล้านบาท
เงินเอเชีย* พิจารณาจากดัชนีสกุลเงินในภูมิภาคเอเชีย (Bloomberg-JP Morgan Asia Dollar Index ) ซึ่งคำนวณ
ขึ้นจากค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย 10 สกุล
เงินดอลลาร์ฯ** พิจารณาจากดัชนีเงินดอลลาร์ฯ ที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของเงินดอลลาร์ฯ เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก
6 สกุล ประกอบด้วย เงินยูโร เยน ปอนด์สเตอร์ลิงก์ ดอลลาร์แคนาดา โครนาสวีเดน และสวิสฟรังก์
เมื่อพิจารณาภาพรวมของความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 จะพบว่า เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับสกุลเงินเอเชียอื่นๆ แต่เงินบาทจะมีอัตราการแข็งค่าที่มากกว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชียโดยเปรียบเทียบ โดยเงินบาทซึ่งแข็งค่าขึ้นประมาณ 2.3% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 นับเป็นสกุลเงินที่แข็งค่ามากสุดเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชีย รองจากเงินรูเปียห์อินโดนีเซียที่แข็งค่าประมาณ 6.4% ในช่วงเวลาเดียวกัน
แนวโน้มเงินบาทครึ่งหลังของปี 2552
เงินบาทเปิดไตรมาสที่ 3/2552 ด้วยการปรับตัวอ่อนค่ากว่าระดับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดสิ้นไตรมาสที่ 2/2552 โดยตัวเลขการปรับลดตำแหน่งงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ ที่มากเกินคาด ขณะที่ อัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 26 ปีในเดือนมิถุนายน 2552 ได้บั่นทอนกระแสการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อเงินดอลลาร์ฯ ในฐานะที่เป็นสกุลเงินที่มีความปลอดภัยท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเงินภายใต้สภาวะวิกฤตในรอบนี้ อย่างไรก็ตาม หากมองไปในระยะข้างหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองต่อแนวโน้มค่าเงินบาทในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 ดังนี้:-
ในกรณีฐาน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจของไทยและเศรษฐกิจโลก อาจทยอยสะท้อนสัญญาณเชิงบวกออกมามากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 (พัฒนาการทางเศรษฐกิจสะท้อนออกมาในลักษณะใกล้เคียงกับ U-Shaped) ซึ่งน่าที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนกระแสการกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเพื่อแสวงหาแหล่งลงทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนที่ดีกว่าโดยเปรียบเทียบ ทั้งนี้ ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว เมื่อประกอบเข้ากับแนวโน้มการทยอยฟื้นตัวขึ้นของเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในเอเชีย รวมทั้งเศรษฐกิจไทย แล้ว ก็อาจทำให้เงินบาทมีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นได้ตามกระแสความแข็งแกร่งของเงินหยวนและสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ในขณะที่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจยังคงอยู่ในช่วงแรกเริ่มของการฟื้นตัวเท่านั้น
ด้วยการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และมาตรการผ่อนปรนด้านอื่นๆ ทำให้จีนถูกประเมินว่า ได้แตะจุดต่ำสุดของภาวะการชะลอตัวไปแล้วในช่วงไตรมาส 1/2552 และอาจขยายตัวได้ในอัตราที่สูงกว่านั้นตั้งแต่ในช่วงไตรมาส 2/2552 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีนอาจเป็นธนาคารกลางแห่งแรกๆ ที่ต้องคุมเข้มนโยบายการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของจีนจะเกิดขึ้นก่อนทางฝั่งเศรษฐกิจแกนหลักของโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ G-3 ทั้งนี้ แนวโน้มที่แข็งแกร่งมากขึ้นของเศรษฐกิจจีนในช่วงที่เหลือของปี 2552 ได้ถูกประเมินเข้าไว้ในการคาดการณ์แนวโน้มค่าเงินหยวน ที่สะท้อนจากสัญญาล่วงหน้าที่ไม่มีการส่งมอบสกุลดอลลาร์ฯ/หยวนประเภท 1 ปี ในตลาดต่างประเทศ ซึ่งได้พลิกมุมมองที่มีต่อการคาดการณ์เงินหยวนตั้งแต่ในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2552 เป็นต้นมาว่า เงินหยวนอาจมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในระยะ 1 ปีข้างหน้า หลังจากที่ปรับตัวสะท้อนการคาดการณ์การอ่อนค่าของเงินหยวนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกันยายน 2551
ในทิศทางที่สอดคล้องกัน สัญญาณเชิงบวกของเศรษฐกิจโลกที่ทยอยเริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 เมื่อประกอบเข้ากับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางหลายๆ แห่งในเอเชีย ทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งไทย กำลังปรับตัวไปในทิศทางที่สดใสมากขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 2552 นี้ สำหรับแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยได้หลุดพ้นจากนิยามภาวะถดถอยทางเทคนิคของวงจรการทรุดตัวที่รุนแรงที่สุดในรอบนี้มาแล้วตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2/2552 โดยอัตราการเติบโตของ GDP ของไทยอาจปรับตัวในทิศทางที่สะท้อนการฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงหนุนที่สำคัญจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายของธปท.
ดังนั้น นอกเหนือไปจากประเด็นการคาดการณ์การแข็งค่าของค่าเงินหยวนแล้ว ประเด็นที่เกี่ยวกับการคาดการณ์ที่มีต่อแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายๆ แห่งในเอเชีย ตลอดจนพื้นฐานทางเศรษฐกิจของเอเชียที่แข็งแกร่งกว่ากลุ่มเศรษฐกิจ G-3 โดยเปรียบเทียบในช่วงเวลานั้น ก็อาจกลายเป็นปัจจัยแวดล้อมที่ช่วยหนุนการปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นของสกุลเงินในเอเชีย และเงินบาท ในช่วงที่เหลือของปี 2552 ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม แม้เงินบาทอาจปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นได้ตามทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การแข็งค่าของเงินบาทจะทยอยเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย (ซึ่งอาจทำให้มีความต้องการเงินดอลลาร์ฯ เพื่อนำเข้าสินค้าเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ แรงหนุนที่เงินบาทจะได้รับจากฐานะการเกินดุลการค้าก็น่าจะลดลงเมื่อเทียบกับในช่วงครึ่งแรกของปี 2552) ในขณะที่ ธปท.ก็น่าที่จะยังคงจุดยืนของการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่เน้นเสถียรภาพของค่าเงินบาท ลดความผันผวนของค่าเงิน และเป็นไปตามกลไกตลาด โดยในกรณีฐาน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า เงินบาทอาจปรับตัวโน้มไปในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นเช่นเดียวกับสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ท่ามกลางสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก โดยที่เงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นทดสอบระดับ 33.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ และหากแรงหนุนยังคงมีความต่อเนื่อง เงินบาทก็อาจแข็งค่าขึ้นไปที่ระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ได้ในช่วงปลายปี 2552
แม้ว่าเงินบาทน่าที่จะแข็งค่าขึ้นตามการวิเคราะห์ดังกล่าว แต่สำหรับกรณีเลวร้าย ยังคงมีความเป็นไปได้ว่า สัญญาณเชิงบวกของเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่ปรากฏขึ้นนั้น อาจไม่มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าจะผ่านพ้นจุดเลวร้ายที่สุดของวิกฤตมาแล้วก็ตาม (พัฒนาการทางเศรษฐกิจมีลักษณะใกล้เคียงกับ L-Shaped ซึ่งช่วงเวลาของการฟื้นตัวยังไม่ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน) โดยในกรณีเลวร้ายนี้ อาจทำให้เศรษฐกิจอื่นๆ ในเอเชีย รวมทั้งไทย ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการฟื้นตัว ซึ่งภายใต้สถานการณ์นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ค่าเงินเอเชียบางสกุล ซึ่งอาจหมายความรวมถึงค่าเงินบาท อาจไม่สามารถขยับแข็งค่าได้มากนักเนื่องจากความอ่อนแอของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยสำหรับในกรณีเลวร้าย ก็มีโอกาสที่เงินบาทจะปรับตัวในกรอบที่อ่อนค่ากว่าระดับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ
ภายใต้สภาวการณ์ที่เลวร้ายดังกล่าว ข่าวร้ายทางเศรษฐกิจและภาคการเงินที่ทยอยถูกเปิดเผยออกมาในระยะข้างหน้า น่าที่จะทำให้นักลงทุนปรับลดสถานะการลงทุนที่มีความเสี่ยง และเข้าซื้อเงินดอลลาร์ฯ ในฐานะที่เป็นสกุลเงินที่ปลอดภัยต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยประเด็นเรื่องอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ และความกังขาเกี่ยวกับบทบาทของเงินดอลลาร์ฯ ในฐานะที่เป็นสกุลเงินสำรองของโลก ก็คงจะเบาบางลงไปภายใต้สถานการณ์นี้ เมื่อนักลงทุนยังคงต้องหมุนเวียนเงินลงทุนกลับเข้าไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีความเสี่ยงต่ำในท้ายที่สุด ดังนั้น แนวโน้มการเคลื่อนไหวของค่าเงินในภูมิภาคบางสกุล และอาจรวมถึงค่าเงินบาท ก็อาจไม่มีทิศทางที่ชัดเจน โดยจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ โดยมีความเป็นไปได้ว่า จะมีสกุลเงินบางสกุลในเอเชียต้องปรับตัวในทิศทางที่อ่อนค่าลงอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงตามพื้นฐานเศรษฐกิจที่เปราะบางมากกว่า เนื่องจากผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้น อาจต้องรักษาวินัยทางการคลัง และอาจต้องเผชิญกับข้อจำกัดอื่นๆ ในการดำเนินมาตรการและ/หรือนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
โดยสรุป การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 เป็นไปอย่างผันผวน โดยเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วง 2 เดือนแรกของปี สะท้อนแนวโน้มที่อ่อนแอของเศรษฐกิจไทย ซึ่งมีความสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินและแนวโน้มของเศรษฐกิจอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนในฐานะที่เป็นสกุลเงินที่มีความปลอดภัย มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี 2551 ท่ามกลางกระแสการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของนักลงทุนภายใต้สภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กระจายไปทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เงินบาทฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งตั้งแต่ในช่วงเดือนมีนาคม 2552 ตามกระแสการกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงของนักลงทุน ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากสัญญาณเชิงบวกของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาในภาคการเงินของสหรัฐฯ ที่ทยอยลดความรุนแรงลง นอกจากนี้ เงินบาทยังได้รับแรงหนุนสำคัญจากยอดเกินดุลการค้าของไทยถึง 1.08 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 ที่ผ่านมา อีกด้วย ทั้งนี้ เงินบาทในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางที่สอดคล้องกับสกุลเงินเอเชียอื่นๆ แต่เงินบาทจะมีอัตราการแข็งค่าที่มากกว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชียโดยเปรียบเทียบ โดยเงินบาทซึ่งแข็งค่าขึ้นประมาณ 2.3% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 นับเป็นสกุลเงินที่แข็งค่ามากสุดเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชีย รองจากเงินรูเปียห์อินโดนีเซียที่แข็งค่าประมาณ 6.4% ในช่วงเวลาเดียวกัน
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในกรณีฐาน ซึ่งสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจของไทยและเศรษฐกิจโลก อาจทยอยสะท้อนสัญญาณเชิงบวกออกมามากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 (พัฒนาการทางเศรษฐกิจมีลักษณะใกล้เคียงกับ U-Shaped) น่าที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนกระแสการกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเพื่อแสวงหาแหล่งลงทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนที่ดีกว่าโดยเปรียบเทียบ ทั้งนี้ ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว เมื่อประกอบเข้ากับแนวโน้มการทยอยฟื้นตัวขึ้นของเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในเอเชีย รวมทั้งเศรษฐกิจไทย แล้ว ก็อาจทำให้เงินบาทมีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นได้ตามกระแสความแข็งแกร่งของเงินหยวนและสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ในขณะที่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจยังคงอยู่ในช่วงแรกเริ่มของการฟื้นตัวเท่านั้น นอกจากนี้ แนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียโดยรวม ที่อาจทยอยเกิดขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ อาจมาพร้อมๆ กับแนวโน้มขาขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในช่วงปลายปี 2552 ซึ่งก็อาจทำให้มีความเป็นได้ว่า ธนาคารกลางของหลายๆ ประเทศในเอเชีย นำโดย ธนาคารกลางจีน จะเป็นธนาคารกลางแห่งแรกๆ ที่ต้องดำเนินการคุมเข้มนโยบายการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งกระแสการคาดการณ์ต่อแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวอาจเกิดขึ้นก่อนทางฝั่งเศรษฐกิจแกนหลักของโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ G-3 ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐฯ ยูโรโซน และญี่ปุ่น โดยภายใต้กรณีฐาน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เงินบาทอาจปรับตัวโน้มไปในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นเช่นเดียวกับสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ท่ามกลางสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก โดยที่เงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นทดสอบระดับ 33.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ และหากแรงหนุนยังคงมีความต่อเนื่อง เงินบาทก็อาจแข็งค่าขึ้นไปที่ระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ได้ในช่วงปลายปี 2552
แม้ว่าเงินบาทน่าที่จะแข็งค่าขึ้นตามการวิเคราะห์ดังกล่าว แต่สำหรับกรณีเลวร้าย ยังคงมีความเป็นไปได้ว่า สัญญาณเชิงบวกของเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่ปรากฏขึ้นนั้น อาจไม่มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าจะผ่านพ้นจุดเลวร้ายที่สุดของวิกฤตมาแล้วก็ตาม (พัฒนาการทางเศรษฐกิจสะท้อนออกมาในลักษณะใกล้เคียงกับ L-Shaped ซึ่งช่วงเวลาของการฟื้นตัวยังไม่ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน) โดยในกรณีเลวร้ายนี้ อาจทำให้เศรษฐกิจอื่นๆ ในเอเชีย รวมทั้งไทย ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการฟื้นตัว หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ช่วงเวลาของการฟื้นตัวสำหรับเศรษฐกิจเอเชีย ต้องลากยาวออกไปเช่นเดียวกับแนวโน้มที่ซบเซายาวนานของเศรษฐกิจโลก ซึ่งภายใต้สถานการณ์นี้ ค่าเงินเอเชียบางสกุล ซึ่งอาจหมายความรวมถึงค่าเงินบาท อาจไม่สามารถขยับแข็งค่าได้มากนักเนื่องจากความอ่อนแอของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยสำหรับในกรณีเลวร้ายนี้ ก็มีโอกาสที่เงินบาทจะปรับตัวในกรอบที่อ่อนค่ากว่าระดับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ
ดังนั้น สัญญาณเชิงบวกของเศรษฐกิจโลกในระยะถัดไป ยังคงต้องถูกประเมินอย่างรอบคอบ เนื่องจากเครื่องชี้เศรษฐกิจเหล่านั้น ไม่เพียงจะบ่งชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการและลักษณะของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเท่านั้น แต่ยังคงสะท้อนถึงแนวโน้มกระแสการไหลเวียนเงินลงทุนในตลาดเงิน-ตลาดทุนโลก ซึ่งก็อาจส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทด้วยเช่นกัน ดังนั้น เสถียรภาพและศักยภาพในการแข่งขันของค่าเงินบาท ก็อาจเป็นประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากความแข็งแกร่งของพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย ที่อาจทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่เศรษฐกิจไทยได้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่เลวร้ายของวิกฤตในรอบนี้ไปแล้ว
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 115
วันที่ 05 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เวลา 07:08:05 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ [อ่านล่าสุด 313 คน]
"ดร.โกร่ง"คนเดินตรอกฟันธง เศรษฐกิจอเมริกายังจะลงต่อไป ทำไม..และทำไม !!
ขณะที่หลายสำนักทั้งไทยและเทศประเมินว่าศก.สหรัฐอเมริกาน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว และเตรียมที่จะผงกหัวขึ้น แต่"ดร.โกร่ง" คนเดินตรอก ฟันธงว่า เศรษฐกิจของอเมริกาคงประสบกับปัญหาหนักอยู่ต่อไป ค่าเงินดอลลาร์ยังจะคงมีค่าอ่อนตัวลงไปอีก ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
ดร.โกร่ง คนเดินตรอก
เศรษฐกิจอเมริกายังจะลงต่อไป
คำถามดังกล่าวเป็นคำถามยอดนิยมอยู่ในปัจจุบัน ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมพวกเราจึงให้น้ำหนักกับเศรษฐกิจอเมริกากันมากมาย ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจของอเมริกาแม้ว่าจะมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของโลกอย่างมาก ในฐานะที่เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับทวีปเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนและญี่ปุ่นก็ตาม
แต่ทุกวันนี้ประเทศอื่นๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นผู้ซื้อสินค้าที่ประเทศต่างๆ ในเอเชียผลิตมากขึ้น ถ้าหากจีน ญี่ปุ่น อินเดีย รัสเซีย และตะวันออกกลาง คือบรรดาประเทศผู้ส่งออกน้ำมันทั้งหลายมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้น ก็อาจจะชดเชยการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของอเมริกาได้ อีกอย่างหนึ่งทุกวันนี้การเคลื่อนย้ายของเงินทุนไปมาซึ่งเป็นเหตุให้ราคาสินทรัพย์ทั้งที่เป็นสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น ราคาหุ้น ตราสารทางการเงิน และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในเอเชียก็อาจจะฟื้นก่อนเศรษฐกิจของอเมริกาก็ได้ ไม่จำเป็นต้องรออเมริกาฟื้นก่อน
เท่าที่ตามดูเงินทุนไหลกลับมาที่ตลาดเอเชียตั้งแต่เริ่มไตรมาส 2 อาจจะด้วยเหตุผล 2 ประการ
ประการแรก การที่อเมริกาหลังจากรัฐสภาสหรัฐได้ผ่านกฎหมายให้อำนาจรัฐบาลกู้เงินมากระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ความจริงแล้วเงินส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างที่บอก เพราะรัฐบาลออกพันธบัตรแล้วให้ธนาคารกลางเป็นผู้ซื้อพันธบัตร พูดง่ายๆ ก็คือ ใช้วิธีพิมพ์เงินออกมาใช้แล้วรัฐบาลอเมริกันก็ใช้เงินที่ธนาคารกลางซื้อพันธบัตรเอามาอุ้มสถาบันการเงิน และบริษัทใหญ่ๆ เช่น บริษัทผลิตรถยนต์บ้าง บริษัทน้ำมันบ้าง โดยการเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทเหล่านี้ ขณะนี้สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารได้รวมเอาบริษัทวาณิชธนกิจเข้าไปแล้ว รวมทั้งบริษัทใหญ่ๆ ต่างก็กลายเป็นรัฐวิสาหกิจไปแล้ว เพราะรัฐบาลไปพยุงโดยการแปลงหนี้ธนาคารเป็นหุ้น แล้วรัฐบาลก็เข้าไปซื้อซึ่งขัดกับหลักการและปรัชญาเศรษฐกิจของคนอเมริกันอย่างสิ้นเชิง เมื่อเพิ่มทุน ตัดบัญชีหนี้สูญต่างๆ มากมายแล้วเงินดอลลาร์ก็หยุดไหลกลับไปอเมริกา แต่กลับจะไหลมาที่เอเชีย ค่าเงินสหรัฐในเอเชียอ่อนลง เงินตราของประเทศเอเชียมีแนวโน้มจะแข็งขึ้น
ประการที่ 2 วิกฤตการณ์คราวนี้ไม่สู้จะกระทบจีนและอินเดีย ดังจะเห็นว่าประเทศยักษ์ใหญ่ของประเทศนี้ยังรักษาการขยายตัวทางเศรษฐกิจไว้ได้ แม้ว่าอัตราการขยายตัวของการส่งออกจะขยายตัวในอัตราที่ลดลงแต่ก็ยังขยายตัวอยู่ และยังถูกชดเชยโดยการเร่งการลงทุนในประเทศอย่างมโหฬาร
ขณะเดียวกัน ก็ลดการนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์ที่เป็นวัตถุดิบ เช่น น้ำมันดิบ พลังงาน สินแร่ต่างๆ เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง และอื่นๆ ทำให้ราคาสินค้าเหล่านี้ราคาตกอย่างฮวบฮาบหมด เข้าใจว่าจีนน่าจะมีบทบาทอย่างสำคัญต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ของโลก รวมทั้งราคาทองคำ อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์สหรัฐกับเงินตราสกุลสำคัญๆ ของโลก และเนื่องจากจีนยังคงเป็นสมาชิกกองทุนการเงินระหว่างประเทศตามมาตรา 14 ไม่ใช่ตามมาตรา 8 จึงยังไม่ต้องเปิดตลาดการเงิน รวมทั้งยังไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลหลายอย่าง
ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของจีนและอินเดียยังคงเกินดุลอย่างต่อเนื่อง โดยเงินไม่แข็งขึ้นจึงทำให้สามารถรักษาอัตราการขยายตัวไว้ในอัตราที่สูงได้
จีนเป็นประเทศที่จัดการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม หรือ "macroeconomic management" ที่ดีที่สุดในโลกขณะนี้โดยไม่เคยเชื่อไอเอ็มเอฟและแข็งข้อกับข้อเรียกร้องของอเมริกามาโดยตลอด เป็นตัวของตัวเองและเข้าใจเศรษฐกิจของตัวเองดีกว่าประเทศอื่นๆ ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดทั้งหมด อาจจะเป็นเพราะปรัชญาความเชื่อที่ยังมีความคิดทางสังคมนิยมติดอยู่ เพราะยังคงสำนักงานคณะกรรมการวางแผนแห่งชาติ ที่มีการวางแผนจากส่วนกลางที่กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจยังต้องปฏิบัติตามไม่ได้ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดทั้งหมด พร้อมๆ กันก็เอาจริงเอาจังกับการฉ้อราษฎร์บังหลวงและลงโทษอย่างรุนแรง ด้วยเหตุนี้จีนจึงยังคงรักษาอัตราการขยายตัวในอัตราสูงไว้ได้
เมื่อค่าเงินในเอเชียเริ่มแข็งขึ้น พร้อมๆ กับราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้นมาใหม่ จีนก็เริ่มสะสมสต๊อกวัตถุดิบ จึงทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกก็เริ่มฟื้นตัวขึ้น ในสถานการณ์เช่นนี้ประเทศที่ได้ประโยชน์ไม่น่าจะเป็นอเมริกา สหรัฐอเมริกา น่าจะเป็นประเทศที่เสียประโยชน์ ส่วนภูมิภาคที่จะได้ประโยชน์จึงน่าจะเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง
การค้าและการลงทุนของโลกจึงจะยังหันมาทางเอเชียและตะวันออกกลาง ส่วนเศรษฐกิจของอเมริกาก็จะคงประสบกับปัญหาหนักอยู่ต่อไป และน่าจะยังคงหดตัวต่อไป ค่าเงินดอลลาร์ก็ยังจะคงมีค่าอ่อนตัวลงไปอีก
สื่อมวลชนในอเมริกาพยายามให้ข่าวว่า เศรษฐกิจของอเมริกาน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้วด้วยอัตราดอกเบี้ยระยะยาว หรือผลตอบแทนของตราสารระยะยาวเกินกว่า 1 เดือนขึ้นไปเริ่มผงกหัวขึ้น น่าจะเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจอเมริกาน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว และเตรียมที่จะผงกหัวขึ้น
ความจริงไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น เท่าที่ดูยังไม่เห็นมีสัญญาณอันใดที่ว่าเศรษฐกิจของอเมริกาถึงจุดต่ำสุดที่จะฟื้นตัวแล้ว ด้วยเหตุผลหลายอย่างเช่น
ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในสหรัฐอเมริกายังไม่ฟื้น ขณะเดียวกันราคาน้ำมันมีราคาแพงขึ้น ซึ่งจะยิ่งทำให้การบริโภคในสหรัฐอเมริกายังคงต่ำลง
ที่ดอกเบี้ยระยะยาวดูเหมือนจะขยับตัวสูงขึ้น น่าจะเป็นเพราะการคาดการณ์ของตลาดที่คิดว่าค่าเงินดอลลาร์ของสหรัฐคงจะยังอ่อนต่อไป เพื่อสะท้อนพื้นฐานทางเศรษฐกิจของอเมริกา
เงินที่รัฐบาลสหรัฐได้รับอนุมัติจากรัฐสภาก็มิได้นำมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจแต่อย่างใด เพียงแต่นำมาพยุงสถาบันการเงินและบริษัทใหญ่ๆ ต่างๆ ไม่ให้ล้ม ความต้องการทุนก็ยังไม่เกิด ธนาคารและสถาบันการเงินได้เพิ่มทุนมาแล้วก็ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อได้ หรือไม่ก็ไม่กล้าปล่อย ในที่สุดสถาบันการเงินก็นำกลับเข้าไปฝากไว้กับธนาคารกลางตามเดิม ไม่มีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ถ้าหากสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐยังเป็นเช่นนี้ต่อไป โอกาสที่จะเกิดวิกฤตการณ์รอบที่ 2 ในสหรัฐก็อาจจะเกิดขึ้นได้อีก ถ้าหากเงินดอลลาร์ไม่อ่อนอย่างรวดเร็วเพียงพอที่จะยับยั้งการนำเข้า กระตุ้นการส่งออกและสร้างความต้องการการลงทุนให้เกิดขึ้นด้วย
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาจึงยังคงเปราะบาง โอกาสที่สหรัฐจะต้องขอเงินเพื่อนำมาพยุงสถานการณ์การล้มละลายจากรัฐสภาอีกก็ยังมีอยู่สูง ที่สถานการณ์ยังประคองอยู่ ก็เพราะเงินที่รัฐบาลยืมมาจากธนาคารกลางแล้วเงินก็ไหลกลับมาที่ธนาคารกลางตามเดิม ไม่ได้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจแต่อย่างใด แต่ขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาก็ร่วมมือกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศออกประกาศชักชวนให้ประเทศต่างๆ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของตนโดยการกู้ยืมจากตลาด ผลก็คงออกมาอย่างเดียวกัน กล่าวคือ ไม่มีผลอะไรที่จะทำให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เงินเมื่อไหลออกจากธนาคารเพราะปกติผู้ที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลก็ฝากเงินอยู่ที่ธนาคาร เมื่อรัฐบาลจ่ายออกไปเงินก็กลับสู่ธนาคารตามเดิม ธนาคารก็ไม่ปล่อยสินเชื่อ เงินก็กลับไปฝากธนาคารกลางแห่งเดิม ไม่ทำให้เกิดการจ้างงาน หรือการใช้จ่ายของผู้คน ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็เป็น "กับดักสภาพคล่องตามเดิม ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากตัวเลขยอดหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นเท่านั้นเอง ปริมาณเงินก็ไม่เพิ่มขึ้นเพราะเงินเพิ่มมาเท่าใดก็ไหลกลับไปที่ธนาคารกลางตามเดิม"
ที่น่าห่วงก็คือ ปฏิกิริยาตอบโต้จากประเทศที่ถือเงินดอลลาร์ไว้เป็นทุนสำรองที่มีจำนวนมาก เช่น จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป อาหรับ เมื่อก่อนญี่ปุ่นและอาหรับเมื่อมีทุนสำรองมากขึ้นก็นำกลับไปซื้อพันธบัตรของรัฐบาลอเมริกันหรือสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ ในสหรัฐ เท่ากับเป็นการพยุงค่าเงินดอลลาร์ไว้
แต่คราวนี้จีนและอาหรับจะไม่เหมือนญี่ปุ่นและยุโรปที่ทำตัวเป็นลูกไล่ของอเมริกา จีนเริ่มเขย่าฐานะของเงินดอลลาร์โดยออกมาประกาศร่วมกับรัสเซียว่า เงินดอลลาร์ไม่ควรจะเป็นเงินตราที่ใช้ชำระหนี้ระหว่างประเทศต่อไปแล้ว โลกควรจะสร้างเงินตราชนิดใหม่ที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ แต่เป็นขององค์กรการเงินระหว่างประเทศ เช่น ไอเอ็มเอฟ โดยมีการรื้อฟื้นเงิน "สิทธิถอนเงินพิเศษ" หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า "SDR" มาใช้อีก แม้ว่าในระยะใกล้ๆ นี้คงทำไม่ได้เพราะเคยคิดจะทำแต่ก็ล้มเหลวมาแล้วเมื่อเกือบ 50 ปีก่อน
มาเที่ยวนี้จีนเขย่าเงินดอลลาร์โดยประกาศว่าจีนจะปรับสัดส่วนการถือเงินดอลลาร์และเงินตราสกุลอื่นๆ ซึ่งทันทีที่จีนประกาศออกไปค่าเงินดอลลาร์ก็อ่อนลงทันที เมื่อค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงเมื่อเทียบเงินยูโร เงินยุโรปสกุลอื่นๆ รวมทั้งเงินเยน เงินหยวน การวิพากษ์วิจารณ์ฐานะทางเศรษฐกิจของอเมริกาที่เป็นฐานรองรับค่าเงินดอลลาร์จึงเดินไปในทิศทางที่ทำให้เงินไหลออกจากอเมริกามากยิ่งขึ้น
หลายคนวิตกว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินอาจจะเกิดขึ้นอีกในสหรัฐ ถ้าจีนร่วมมือกับญี่ปุ่น กับอาหรับ และกับรัสเซีย เขย่าแรงๆ อีกที
วิธีเขย่าก็อาจจะเริ่มประกาศว่า ต่อไปนี้การซื้อขายน้ำมันจะไม่รับเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่จะรับเงินที่มีเสถียรภาพหรือ SDR แทน และในไม่กี่อึดใจค่าเงินดอลลาร์ก็จะอ่อนลงไปอีก
การที่จีนออกมาหาแนวร่วมเขย่าเงินดอลลาร์ในยามที่เศรษฐกิจของอเมริกายังอยู่ในสถานการณ์วิกฤต สถานการณ์การเงินยังอยู่ใน "กับดักสภาพคล่อง" อย่างนี้น่าจะเป็นการซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจของอเมริกาที่ย่ำแย่อยู่แล้ว แทนที่จะช่วยพยุงประคับประคองเพื่อมิให้มูลค่าของทรัพย์สินที่อยู่ในรูปของเงินดอลลาร์ให้ตกต่ำลง เป็นเรื่องที่น่าคิดว่า "จีนกำลังคิดอย่างไร" ทั้งในแง่เศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ ในฐานะที่จีนถือทรัพย์สินในรูปของดอลลาร์มากที่สุด หากค่าเงินดอลลาร์อ่อนลงจีนน่าจะเป็นประเทศที่เสียหายมากที่สุด แต่จีนก็ทำ
การติดต่อสัมพันธ์กับจีนนั้นต้องระมัดระวัง เพราะจีนเป็นประเทศใหญ่ต่อไปคงจะเป็นมหาอำนาจแทนรัสเซีย ถ่วงดุลอเมริกาในภูมิภาคนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอเมริกาในตอนนี้จึงน่าคิด น่าติดตามมาก
"ดร.โกร่ง"คนเดินตรอกฟันธง เศรษฐกิจอเมริกายังจะลงต่อไป ทำไม..และทำไม !!
ขณะที่หลายสำนักทั้งไทยและเทศประเมินว่าศก.สหรัฐอเมริกาน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว และเตรียมที่จะผงกหัวขึ้น แต่"ดร.โกร่ง" คนเดินตรอก ฟันธงว่า เศรษฐกิจของอเมริกาคงประสบกับปัญหาหนักอยู่ต่อไป ค่าเงินดอลลาร์ยังจะคงมีค่าอ่อนตัวลงไปอีก ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
ดร.โกร่ง คนเดินตรอก
เศรษฐกิจอเมริกายังจะลงต่อไป
คำถามดังกล่าวเป็นคำถามยอดนิยมอยู่ในปัจจุบัน ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมพวกเราจึงให้น้ำหนักกับเศรษฐกิจอเมริกากันมากมาย ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจของอเมริกาแม้ว่าจะมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของโลกอย่างมาก ในฐานะที่เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับทวีปเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนและญี่ปุ่นก็ตาม
แต่ทุกวันนี้ประเทศอื่นๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นผู้ซื้อสินค้าที่ประเทศต่างๆ ในเอเชียผลิตมากขึ้น ถ้าหากจีน ญี่ปุ่น อินเดีย รัสเซีย และตะวันออกกลาง คือบรรดาประเทศผู้ส่งออกน้ำมันทั้งหลายมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้น ก็อาจจะชดเชยการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของอเมริกาได้ อีกอย่างหนึ่งทุกวันนี้การเคลื่อนย้ายของเงินทุนไปมาซึ่งเป็นเหตุให้ราคาสินทรัพย์ทั้งที่เป็นสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น ราคาหุ้น ตราสารทางการเงิน และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในเอเชียก็อาจจะฟื้นก่อนเศรษฐกิจของอเมริกาก็ได้ ไม่จำเป็นต้องรออเมริกาฟื้นก่อน
เท่าที่ตามดูเงินทุนไหลกลับมาที่ตลาดเอเชียตั้งแต่เริ่มไตรมาส 2 อาจจะด้วยเหตุผล 2 ประการ
ประการแรก การที่อเมริกาหลังจากรัฐสภาสหรัฐได้ผ่านกฎหมายให้อำนาจรัฐบาลกู้เงินมากระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ความจริงแล้วเงินส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างที่บอก เพราะรัฐบาลออกพันธบัตรแล้วให้ธนาคารกลางเป็นผู้ซื้อพันธบัตร พูดง่ายๆ ก็คือ ใช้วิธีพิมพ์เงินออกมาใช้แล้วรัฐบาลอเมริกันก็ใช้เงินที่ธนาคารกลางซื้อพันธบัตรเอามาอุ้มสถาบันการเงิน และบริษัทใหญ่ๆ เช่น บริษัทผลิตรถยนต์บ้าง บริษัทน้ำมันบ้าง โดยการเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทเหล่านี้ ขณะนี้สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารได้รวมเอาบริษัทวาณิชธนกิจเข้าไปแล้ว รวมทั้งบริษัทใหญ่ๆ ต่างก็กลายเป็นรัฐวิสาหกิจไปแล้ว เพราะรัฐบาลไปพยุงโดยการแปลงหนี้ธนาคารเป็นหุ้น แล้วรัฐบาลก็เข้าไปซื้อซึ่งขัดกับหลักการและปรัชญาเศรษฐกิจของคนอเมริกันอย่างสิ้นเชิง เมื่อเพิ่มทุน ตัดบัญชีหนี้สูญต่างๆ มากมายแล้วเงินดอลลาร์ก็หยุดไหลกลับไปอเมริกา แต่กลับจะไหลมาที่เอเชีย ค่าเงินสหรัฐในเอเชียอ่อนลง เงินตราของประเทศเอเชียมีแนวโน้มจะแข็งขึ้น
ประการที่ 2 วิกฤตการณ์คราวนี้ไม่สู้จะกระทบจีนและอินเดีย ดังจะเห็นว่าประเทศยักษ์ใหญ่ของประเทศนี้ยังรักษาการขยายตัวทางเศรษฐกิจไว้ได้ แม้ว่าอัตราการขยายตัวของการส่งออกจะขยายตัวในอัตราที่ลดลงแต่ก็ยังขยายตัวอยู่ และยังถูกชดเชยโดยการเร่งการลงทุนในประเทศอย่างมโหฬาร
ขณะเดียวกัน ก็ลดการนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์ที่เป็นวัตถุดิบ เช่น น้ำมันดิบ พลังงาน สินแร่ต่างๆ เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง และอื่นๆ ทำให้ราคาสินค้าเหล่านี้ราคาตกอย่างฮวบฮาบหมด เข้าใจว่าจีนน่าจะมีบทบาทอย่างสำคัญต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ของโลก รวมทั้งราคาทองคำ อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์สหรัฐกับเงินตราสกุลสำคัญๆ ของโลก และเนื่องจากจีนยังคงเป็นสมาชิกกองทุนการเงินระหว่างประเทศตามมาตรา 14 ไม่ใช่ตามมาตรา 8 จึงยังไม่ต้องเปิดตลาดการเงิน รวมทั้งยังไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลหลายอย่าง
ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของจีนและอินเดียยังคงเกินดุลอย่างต่อเนื่อง โดยเงินไม่แข็งขึ้นจึงทำให้สามารถรักษาอัตราการขยายตัวไว้ในอัตราที่สูงได้
จีนเป็นประเทศที่จัดการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม หรือ "macroeconomic management" ที่ดีที่สุดในโลกขณะนี้โดยไม่เคยเชื่อไอเอ็มเอฟและแข็งข้อกับข้อเรียกร้องของอเมริกามาโดยตลอด เป็นตัวของตัวเองและเข้าใจเศรษฐกิจของตัวเองดีกว่าประเทศอื่นๆ ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดทั้งหมด อาจจะเป็นเพราะปรัชญาความเชื่อที่ยังมีความคิดทางสังคมนิยมติดอยู่ เพราะยังคงสำนักงานคณะกรรมการวางแผนแห่งชาติ ที่มีการวางแผนจากส่วนกลางที่กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจยังต้องปฏิบัติตามไม่ได้ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดทั้งหมด พร้อมๆ กันก็เอาจริงเอาจังกับการฉ้อราษฎร์บังหลวงและลงโทษอย่างรุนแรง ด้วยเหตุนี้จีนจึงยังคงรักษาอัตราการขยายตัวในอัตราสูงไว้ได้
เมื่อค่าเงินในเอเชียเริ่มแข็งขึ้น พร้อมๆ กับราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้นมาใหม่ จีนก็เริ่มสะสมสต๊อกวัตถุดิบ จึงทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกก็เริ่มฟื้นตัวขึ้น ในสถานการณ์เช่นนี้ประเทศที่ได้ประโยชน์ไม่น่าจะเป็นอเมริกา สหรัฐอเมริกา น่าจะเป็นประเทศที่เสียประโยชน์ ส่วนภูมิภาคที่จะได้ประโยชน์จึงน่าจะเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง
การค้าและการลงทุนของโลกจึงจะยังหันมาทางเอเชียและตะวันออกกลาง ส่วนเศรษฐกิจของอเมริกาก็จะคงประสบกับปัญหาหนักอยู่ต่อไป และน่าจะยังคงหดตัวต่อไป ค่าเงินดอลลาร์ก็ยังจะคงมีค่าอ่อนตัวลงไปอีก
สื่อมวลชนในอเมริกาพยายามให้ข่าวว่า เศรษฐกิจของอเมริกาน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้วด้วยอัตราดอกเบี้ยระยะยาว หรือผลตอบแทนของตราสารระยะยาวเกินกว่า 1 เดือนขึ้นไปเริ่มผงกหัวขึ้น น่าจะเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจอเมริกาน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว และเตรียมที่จะผงกหัวขึ้น
ความจริงไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น เท่าที่ดูยังไม่เห็นมีสัญญาณอันใดที่ว่าเศรษฐกิจของอเมริกาถึงจุดต่ำสุดที่จะฟื้นตัวแล้ว ด้วยเหตุผลหลายอย่างเช่น
ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในสหรัฐอเมริกายังไม่ฟื้น ขณะเดียวกันราคาน้ำมันมีราคาแพงขึ้น ซึ่งจะยิ่งทำให้การบริโภคในสหรัฐอเมริกายังคงต่ำลง
ที่ดอกเบี้ยระยะยาวดูเหมือนจะขยับตัวสูงขึ้น น่าจะเป็นเพราะการคาดการณ์ของตลาดที่คิดว่าค่าเงินดอลลาร์ของสหรัฐคงจะยังอ่อนต่อไป เพื่อสะท้อนพื้นฐานทางเศรษฐกิจของอเมริกา
เงินที่รัฐบาลสหรัฐได้รับอนุมัติจากรัฐสภาก็มิได้นำมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจแต่อย่างใด เพียงแต่นำมาพยุงสถาบันการเงินและบริษัทใหญ่ๆ ต่างๆ ไม่ให้ล้ม ความต้องการทุนก็ยังไม่เกิด ธนาคารและสถาบันการเงินได้เพิ่มทุนมาแล้วก็ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อได้ หรือไม่ก็ไม่กล้าปล่อย ในที่สุดสถาบันการเงินก็นำกลับเข้าไปฝากไว้กับธนาคารกลางตามเดิม ไม่มีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ถ้าหากสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐยังเป็นเช่นนี้ต่อไป โอกาสที่จะเกิดวิกฤตการณ์รอบที่ 2 ในสหรัฐก็อาจจะเกิดขึ้นได้อีก ถ้าหากเงินดอลลาร์ไม่อ่อนอย่างรวดเร็วเพียงพอที่จะยับยั้งการนำเข้า กระตุ้นการส่งออกและสร้างความต้องการการลงทุนให้เกิดขึ้นด้วย
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาจึงยังคงเปราะบาง โอกาสที่สหรัฐจะต้องขอเงินเพื่อนำมาพยุงสถานการณ์การล้มละลายจากรัฐสภาอีกก็ยังมีอยู่สูง ที่สถานการณ์ยังประคองอยู่ ก็เพราะเงินที่รัฐบาลยืมมาจากธนาคารกลางแล้วเงินก็ไหลกลับมาที่ธนาคารกลางตามเดิม ไม่ได้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจแต่อย่างใด แต่ขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาก็ร่วมมือกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศออกประกาศชักชวนให้ประเทศต่างๆ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของตนโดยการกู้ยืมจากตลาด ผลก็คงออกมาอย่างเดียวกัน กล่าวคือ ไม่มีผลอะไรที่จะทำให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เงินเมื่อไหลออกจากธนาคารเพราะปกติผู้ที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลก็ฝากเงินอยู่ที่ธนาคาร เมื่อรัฐบาลจ่ายออกไปเงินก็กลับสู่ธนาคารตามเดิม ธนาคารก็ไม่ปล่อยสินเชื่อ เงินก็กลับไปฝากธนาคารกลางแห่งเดิม ไม่ทำให้เกิดการจ้างงาน หรือการใช้จ่ายของผู้คน ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็เป็น "กับดักสภาพคล่องตามเดิม ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากตัวเลขยอดหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นเท่านั้นเอง ปริมาณเงินก็ไม่เพิ่มขึ้นเพราะเงินเพิ่มมาเท่าใดก็ไหลกลับไปที่ธนาคารกลางตามเดิม"
ที่น่าห่วงก็คือ ปฏิกิริยาตอบโต้จากประเทศที่ถือเงินดอลลาร์ไว้เป็นทุนสำรองที่มีจำนวนมาก เช่น จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป อาหรับ เมื่อก่อนญี่ปุ่นและอาหรับเมื่อมีทุนสำรองมากขึ้นก็นำกลับไปซื้อพันธบัตรของรัฐบาลอเมริกันหรือสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ ในสหรัฐ เท่ากับเป็นการพยุงค่าเงินดอลลาร์ไว้
แต่คราวนี้จีนและอาหรับจะไม่เหมือนญี่ปุ่นและยุโรปที่ทำตัวเป็นลูกไล่ของอเมริกา จีนเริ่มเขย่าฐานะของเงินดอลลาร์โดยออกมาประกาศร่วมกับรัสเซียว่า เงินดอลลาร์ไม่ควรจะเป็นเงินตราที่ใช้ชำระหนี้ระหว่างประเทศต่อไปแล้ว โลกควรจะสร้างเงินตราชนิดใหม่ที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ แต่เป็นขององค์กรการเงินระหว่างประเทศ เช่น ไอเอ็มเอฟ โดยมีการรื้อฟื้นเงิน "สิทธิถอนเงินพิเศษ" หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า "SDR" มาใช้อีก แม้ว่าในระยะใกล้ๆ นี้คงทำไม่ได้เพราะเคยคิดจะทำแต่ก็ล้มเหลวมาแล้วเมื่อเกือบ 50 ปีก่อน
มาเที่ยวนี้จีนเขย่าเงินดอลลาร์โดยประกาศว่าจีนจะปรับสัดส่วนการถือเงินดอลลาร์และเงินตราสกุลอื่นๆ ซึ่งทันทีที่จีนประกาศออกไปค่าเงินดอลลาร์ก็อ่อนลงทันที เมื่อค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงเมื่อเทียบเงินยูโร เงินยุโรปสกุลอื่นๆ รวมทั้งเงินเยน เงินหยวน การวิพากษ์วิจารณ์ฐานะทางเศรษฐกิจของอเมริกาที่เป็นฐานรองรับค่าเงินดอลลาร์จึงเดินไปในทิศทางที่ทำให้เงินไหลออกจากอเมริกามากยิ่งขึ้น
หลายคนวิตกว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินอาจจะเกิดขึ้นอีกในสหรัฐ ถ้าจีนร่วมมือกับญี่ปุ่น กับอาหรับ และกับรัสเซีย เขย่าแรงๆ อีกที
วิธีเขย่าก็อาจจะเริ่มประกาศว่า ต่อไปนี้การซื้อขายน้ำมันจะไม่รับเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่จะรับเงินที่มีเสถียรภาพหรือ SDR แทน และในไม่กี่อึดใจค่าเงินดอลลาร์ก็จะอ่อนลงไปอีก
การที่จีนออกมาหาแนวร่วมเขย่าเงินดอลลาร์ในยามที่เศรษฐกิจของอเมริกายังอยู่ในสถานการณ์วิกฤต สถานการณ์การเงินยังอยู่ใน "กับดักสภาพคล่อง" อย่างนี้น่าจะเป็นการซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจของอเมริกาที่ย่ำแย่อยู่แล้ว แทนที่จะช่วยพยุงประคับประคองเพื่อมิให้มูลค่าของทรัพย์สินที่อยู่ในรูปของเงินดอลลาร์ให้ตกต่ำลง เป็นเรื่องที่น่าคิดว่า "จีนกำลังคิดอย่างไร" ทั้งในแง่เศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ ในฐานะที่จีนถือทรัพย์สินในรูปของดอลลาร์มากที่สุด หากค่าเงินดอลลาร์อ่อนลงจีนน่าจะเป็นประเทศที่เสียหายมากที่สุด แต่จีนก็ทำ
การติดต่อสัมพันธ์กับจีนนั้นต้องระมัดระวัง เพราะจีนเป็นประเทศใหญ่ต่อไปคงจะเป็นมหาอำนาจแทนรัสเซีย ถ่วงดุลอเมริกาในภูมิภาคนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอเมริกาในตอนนี้จึงน่าคิด น่าติดตามมาก
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 116
"ประชากรโลกที่แก่ตัวลง"...ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ จากกรุงเพทธุรกิจ
ขอนำเอาบทวิเคราะห์ของนิตยสาร Economist เกี่ยวกับการแก่ตัวลงของประชากรโลก และผลกระทบทางเศรษฐกิจมาแปรรูปให้อ่านกันในครั้งนี้ เพราะผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งนักการเมืองในประเทศพัฒนาแล้ว ยังไม่ยอมรับและหาทางแก้ปัญหา ทั้งนี้ เพราะความเป็นจริงจะบีบบังคับให้มีทางออก 2 ทาง คือ
1. ชะลอการเกษียณอายุทำให้คนวัยสูงอายุต้องทำงานนานขึ้นอีกหลายปี และ/หรือ
2. ลดผลประโยชน์ด้านประกันสุขภาพและสวัสดิการต่างๆ ของผู้สูงอายุลง
แต่ทางออกดังกล่าวย่อมไม่เป็นที่ยอมรับของผู้สูงอายุ ซึ่งมีอำนาจทางการเมืองสูง เพราะสามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่มทางการเมืองที่มีอานุภาพ (ในสหรัฐนั้นนักการเมืองกลัวสมาคมผู้สูงอายุและสมาคมแพทย์พอกับสหภาพแรงงาน)
Economist เริ่มต้นว่ากองทุนบำนาญถูกจัดตั้งขึ้นครั้งแรกโดยนายกรัฐมนตรี Bismarck แห่งประเทศเยอรมนีในปี 1889 ซึ่งเป็นช่วงที่ Bismarck สามารถรวมเยอรมนีเป็นประเทศเกิดใหม่ ขณะนั้นรัฐบาลเยอรมนีจ่ายเงินบำนาญให้กับคนทำงานตั้งแต่อายุ 70 ปีขึ้นไป ในขณะที่ชาว Prussia (ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของเยอรมนี) มีอายุยืนเฉลี่ยเพียง 45 ปี จึงหมายความว่ากองทุนบำนาญมีภาระทางการเงินน้อยมาก เพราะมีน้อยคนที่จะอายุยืนเกิน 70 ปี ต่อมาในปี 1908 อังกฤษก็ได้จัดตั้งกองทุนบำนาญขึ้นในลักษณะเดียวกัน คือ จ่าย 1 ปอนด์ต่อเดือนให้กับผู้ชายที่อายุเกิน 70 ปี ในขณะที่ประชาชนอังกฤษมีอายุยืนเฉลี่ย 50 ปี แม้แต่สหรัฐอเมริกาที่จัดตั้งกองทุนสวัสดิการให้กับคนสหรัฐตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไปในขณะที่ประชาชนสหรัฐมีอายุยืนเฉลี่ย 62 ปี
แต่ในขณะนี้ ประชาชนโดยเฉลี่ยอายุยืนขึ้นมาก คือ ประมาณ 75-80 ปี ในสหรัฐคนอเมริกันเกษียณอายุเฉลี่ยที่อายุ 64 ปีและมีอายุยืนถึง 80 ปี ดังนั้น จึงจะมีชีวิตอยู่เพื่อใช้เงินสวัสดิการสังคมและเงินช่วยเหลือด้านสาธารณสุขยาวนานถึง 16 ปีต่อคน ประเทศยุโรปก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ภาระทางการเงินของภาครัฐในการจ่ายบำนาญให้กับประชาชนกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (OECD) จึงสูงถึง 7% ของจีดีพี ในขณะนี้ เมื่อเทียบกับ 0.2% ขอจีดีพีสำหรับสหรัฐเมื่อ ปี 1935 ทั้งนี้ Economist ประเมินว่าภาระดังกล่าวสำหรับบางประเทศจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 14% ของจีดีพีตั้งแต่ปี 2050 (อีก 40 ปี) เป็นต้นไป ทั้งนี้ ไม่รวมภาระด้านการรักษาพยาบาลและภาระของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของภาคเอกชน กล่าวคือ หากไม่มีการแก้ไขอะไรเลยในขณะนี้รัฐบาลก็จะเผชิญกับปัญหาภาระของเงินบำนาญและการรักษาพยาบาลที่มีสัดส่วนสูงมากเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของจีดีพี จึงจะเป็นภาระอันใหญ่หลวงสำหรับชนรุ่นหลังที่รัฐบาลต้องเก็บภาษีเพิ่มขึ้น
Economist สรุปว่ารัฐบาลควรเตรียมตัวประชาชนให้ยอมรับสภาวะความเป็นจริงในอนาคตว่าประชาชนจะต้องกลับไปใช้ชีวิตเหมือนเมื่อ 100 ปีก่อนหน้า คือ การทำงานต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 70 ปีหรือมากกว่านั้น เพราะวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีได้ทำให้คนอายุยืนมากขึ้น 2-3 ปี ในทุกๆ 10 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นไปได้ว่าในปลายศตวรรษนี้การมีอายุยืนถึง 100 ปี อาจเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น การเกษียณอายุจึงอาจต้องปรับเพิ่มตามการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ทั้งนี้ ปัญหาคนสูงอายุนั้นยังมีปัจจัยอีก 2 ปัจจัยที่ทำให้ปัญหามีความรุนแรงขึ้นไปอีก คือ
1. สตรีในประเทศพัฒนาแล้วในปัจจุบันไม่ยอมมีลูกมาก ทำให้มีคนทำงานในอนาคตน้อยลงกว่าสมัยก่อนมาก เช่นในปี 1970 ผู้หญิงมีลูกเฉลี่ย 4.3 คน แต่ในขณะนี้ ลดลงเหลือเพียง 2.6 คน และในประเทศพัฒนาแล้วลดลงเหลือ 1.6 คน
2. การที่กลุ่มประชากรโลกที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (กลุ่ม baby boom ซึ่งเกิดระหว่างปี 1947-1962) กำลังเข้าวัยเกษียณอายุและกำลังจะเกษียณอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไปจนกระทั่งปี 2050
ดังนั้น สัดส่วนของผู้สูงอายุต่อคนทำงานจึงจะเพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหาย เช่นในปี 1950 ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะมีคนอายุ 20-64 ปี จำนวน 7 คนต่อคนอายุ 65 ปีหรือมากกว่านั้น 1 คน กล่าวคือ 7 คนทำงานต่อ 1 คนสูงอายุ แต่ปัจจุบันสัดส่วนนี้ลดลงเหลือ 4 : 1 และจะลดลงเป็น 2 : 1 ในปี 2050 ดังนั้น โครงสร้างกองทุนบำนาญของประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่ซึ่งลักษณะ "จ่ายไปใช้ไป" (pay-as-you-go) (ซึ่งทำได้ง่ายในต้นศตวรรษที่แล้ว) กำลังจะสร้างปัญหาอย่างมากในอนาคต ทั้งนี้เพราะปัจจุบันจากประชากรโลกทั้งสิ้น 6,900 ล้านคนนั้นมีเพียง 11% ที่อายุเกิน 60 ปี (759 ล้านคน) แต่สัดส่วนคนอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นเป็น 22% ในปี 2050 ที่คาดการณ์ว่าโลกจะมีประชากร 9,000 ล้านคน หรือจะมีผู้สูงอายุมากถึง 2,000 ล้านคน ทั้งนี้ แนวโน้มที่กล่าวข้างต้นนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วเว้นแต่จะมีสงครามหรือโรคภัยที่ทำลายชีวิตมนุษย์เป็นจำนวนมาก เพราะคนสูงอายุ 2,000 ล้านคน ที่กล่าวถึงข้างต้นได้เกิดมามีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้แล้ว
ตัวเลขที่ไอเอ็มเอฟประเมินในเชิงของงบประมาณที่จะต้องนำมาใช้จ่ายในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุในประเทศพัฒนาแล้วจนถึงปี 2050 เป็นตัวเลขที่สูงจนไม่น่าเชื่อ เช่นสำหรับประเทศสหรัฐนั้นประมาณ 5 เท่าของจีดีพี (ปัจจุบันจีดีพีเท่ากับ 13 ล้านล้านดอลลาร์) และประมาณ 3 เท่าของจีดีพีสำหรับประเทศอังกฤษ สำหรับประเทศพัฒนาแล้วที่มีภาระต่ำที่สุด คือ อิตาลีและญี่ปุ่น (ในกรณีของญี่ปุ่นก็เพราะว่าได้รับภาระมากมานานหลายปีก่อนหน้าแล้ว) แต่ก็ยังคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 2 เท่าของจีดีพี อย่างไรก็ดี ในยุโรปนั้นประชาชนกำลังแก่ตัวลงอย่างรวดเร็วในประเทศเยอรมนี อิตาลีและสเปน (เพราะมีลูกลดลงมาก) แต่ประเทศฝรั่งเศส อังกฤษและกลุ่มนอรดิคนั้นครอบครัวยังมีลูกลดลงไม่มาก เช่นเดียวกับสหรัฐซึ่งมีการเสริมประชากรโดยการเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศอีกด้วย
แต่อย่าเข้าใจว่าปัญหาผู้สูงอายุเป็นปัญหาของประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศตะวันตกเท่านั้น เพราะประชากรของญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวันและจีนก็กำลังแก่ตัวอย่างรวดเร็ว ในกรณีของจีนนั้นได้มีนโยบายควบคุมจำนวนประชากรอย่างต่อเนื่องมา 30 ปี ทำให้ประเมินได้ว่าประชากรของจีนจะถึงจุดสูงสุดประมาณ 1,460 ล้านคนในปี 2030 ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่าจากจำนวนผู้สูงอายุเกือบ 2,000 ล้านคนในปี 2050 ที่กล่าวถึงข้างต้นนั้นเป็นผู้สูงอายุในประเทศพัฒนาแล้วประมาณ 400 ล้านคน และเป็นผู้สูงอายุในประเทศกำลังพัฒนาเกือบ 1,600 ล้านคนครับ
ขอนำเอาบทวิเคราะห์ของนิตยสาร Economist เกี่ยวกับการแก่ตัวลงของประชากรโลก และผลกระทบทางเศรษฐกิจมาแปรรูปให้อ่านกันในครั้งนี้ เพราะผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งนักการเมืองในประเทศพัฒนาแล้ว ยังไม่ยอมรับและหาทางแก้ปัญหา ทั้งนี้ เพราะความเป็นจริงจะบีบบังคับให้มีทางออก 2 ทาง คือ
1. ชะลอการเกษียณอายุทำให้คนวัยสูงอายุต้องทำงานนานขึ้นอีกหลายปี และ/หรือ
2. ลดผลประโยชน์ด้านประกันสุขภาพและสวัสดิการต่างๆ ของผู้สูงอายุลง
แต่ทางออกดังกล่าวย่อมไม่เป็นที่ยอมรับของผู้สูงอายุ ซึ่งมีอำนาจทางการเมืองสูง เพราะสามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่มทางการเมืองที่มีอานุภาพ (ในสหรัฐนั้นนักการเมืองกลัวสมาคมผู้สูงอายุและสมาคมแพทย์พอกับสหภาพแรงงาน)
Economist เริ่มต้นว่ากองทุนบำนาญถูกจัดตั้งขึ้นครั้งแรกโดยนายกรัฐมนตรี Bismarck แห่งประเทศเยอรมนีในปี 1889 ซึ่งเป็นช่วงที่ Bismarck สามารถรวมเยอรมนีเป็นประเทศเกิดใหม่ ขณะนั้นรัฐบาลเยอรมนีจ่ายเงินบำนาญให้กับคนทำงานตั้งแต่อายุ 70 ปีขึ้นไป ในขณะที่ชาว Prussia (ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของเยอรมนี) มีอายุยืนเฉลี่ยเพียง 45 ปี จึงหมายความว่ากองทุนบำนาญมีภาระทางการเงินน้อยมาก เพราะมีน้อยคนที่จะอายุยืนเกิน 70 ปี ต่อมาในปี 1908 อังกฤษก็ได้จัดตั้งกองทุนบำนาญขึ้นในลักษณะเดียวกัน คือ จ่าย 1 ปอนด์ต่อเดือนให้กับผู้ชายที่อายุเกิน 70 ปี ในขณะที่ประชาชนอังกฤษมีอายุยืนเฉลี่ย 50 ปี แม้แต่สหรัฐอเมริกาที่จัดตั้งกองทุนสวัสดิการให้กับคนสหรัฐตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไปในขณะที่ประชาชนสหรัฐมีอายุยืนเฉลี่ย 62 ปี
แต่ในขณะนี้ ประชาชนโดยเฉลี่ยอายุยืนขึ้นมาก คือ ประมาณ 75-80 ปี ในสหรัฐคนอเมริกันเกษียณอายุเฉลี่ยที่อายุ 64 ปีและมีอายุยืนถึง 80 ปี ดังนั้น จึงจะมีชีวิตอยู่เพื่อใช้เงินสวัสดิการสังคมและเงินช่วยเหลือด้านสาธารณสุขยาวนานถึง 16 ปีต่อคน ประเทศยุโรปก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ภาระทางการเงินของภาครัฐในการจ่ายบำนาญให้กับประชาชนกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (OECD) จึงสูงถึง 7% ของจีดีพี ในขณะนี้ เมื่อเทียบกับ 0.2% ขอจีดีพีสำหรับสหรัฐเมื่อ ปี 1935 ทั้งนี้ Economist ประเมินว่าภาระดังกล่าวสำหรับบางประเทศจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 14% ของจีดีพีตั้งแต่ปี 2050 (อีก 40 ปี) เป็นต้นไป ทั้งนี้ ไม่รวมภาระด้านการรักษาพยาบาลและภาระของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของภาคเอกชน กล่าวคือ หากไม่มีการแก้ไขอะไรเลยในขณะนี้รัฐบาลก็จะเผชิญกับปัญหาภาระของเงินบำนาญและการรักษาพยาบาลที่มีสัดส่วนสูงมากเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของจีดีพี จึงจะเป็นภาระอันใหญ่หลวงสำหรับชนรุ่นหลังที่รัฐบาลต้องเก็บภาษีเพิ่มขึ้น
Economist สรุปว่ารัฐบาลควรเตรียมตัวประชาชนให้ยอมรับสภาวะความเป็นจริงในอนาคตว่าประชาชนจะต้องกลับไปใช้ชีวิตเหมือนเมื่อ 100 ปีก่อนหน้า คือ การทำงานต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 70 ปีหรือมากกว่านั้น เพราะวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีได้ทำให้คนอายุยืนมากขึ้น 2-3 ปี ในทุกๆ 10 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นไปได้ว่าในปลายศตวรรษนี้การมีอายุยืนถึง 100 ปี อาจเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น การเกษียณอายุจึงอาจต้องปรับเพิ่มตามการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ทั้งนี้ ปัญหาคนสูงอายุนั้นยังมีปัจจัยอีก 2 ปัจจัยที่ทำให้ปัญหามีความรุนแรงขึ้นไปอีก คือ
1. สตรีในประเทศพัฒนาแล้วในปัจจุบันไม่ยอมมีลูกมาก ทำให้มีคนทำงานในอนาคตน้อยลงกว่าสมัยก่อนมาก เช่นในปี 1970 ผู้หญิงมีลูกเฉลี่ย 4.3 คน แต่ในขณะนี้ ลดลงเหลือเพียง 2.6 คน และในประเทศพัฒนาแล้วลดลงเหลือ 1.6 คน
2. การที่กลุ่มประชากรโลกที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (กลุ่ม baby boom ซึ่งเกิดระหว่างปี 1947-1962) กำลังเข้าวัยเกษียณอายุและกำลังจะเกษียณอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไปจนกระทั่งปี 2050
ดังนั้น สัดส่วนของผู้สูงอายุต่อคนทำงานจึงจะเพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหาย เช่นในปี 1950 ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะมีคนอายุ 20-64 ปี จำนวน 7 คนต่อคนอายุ 65 ปีหรือมากกว่านั้น 1 คน กล่าวคือ 7 คนทำงานต่อ 1 คนสูงอายุ แต่ปัจจุบันสัดส่วนนี้ลดลงเหลือ 4 : 1 และจะลดลงเป็น 2 : 1 ในปี 2050 ดังนั้น โครงสร้างกองทุนบำนาญของประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่ซึ่งลักษณะ "จ่ายไปใช้ไป" (pay-as-you-go) (ซึ่งทำได้ง่ายในต้นศตวรรษที่แล้ว) กำลังจะสร้างปัญหาอย่างมากในอนาคต ทั้งนี้เพราะปัจจุบันจากประชากรโลกทั้งสิ้น 6,900 ล้านคนนั้นมีเพียง 11% ที่อายุเกิน 60 ปี (759 ล้านคน) แต่สัดส่วนคนอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นเป็น 22% ในปี 2050 ที่คาดการณ์ว่าโลกจะมีประชากร 9,000 ล้านคน หรือจะมีผู้สูงอายุมากถึง 2,000 ล้านคน ทั้งนี้ แนวโน้มที่กล่าวข้างต้นนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วเว้นแต่จะมีสงครามหรือโรคภัยที่ทำลายชีวิตมนุษย์เป็นจำนวนมาก เพราะคนสูงอายุ 2,000 ล้านคน ที่กล่าวถึงข้างต้นได้เกิดมามีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้แล้ว
ตัวเลขที่ไอเอ็มเอฟประเมินในเชิงของงบประมาณที่จะต้องนำมาใช้จ่ายในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุในประเทศพัฒนาแล้วจนถึงปี 2050 เป็นตัวเลขที่สูงจนไม่น่าเชื่อ เช่นสำหรับประเทศสหรัฐนั้นประมาณ 5 เท่าของจีดีพี (ปัจจุบันจีดีพีเท่ากับ 13 ล้านล้านดอลลาร์) และประมาณ 3 เท่าของจีดีพีสำหรับประเทศอังกฤษ สำหรับประเทศพัฒนาแล้วที่มีภาระต่ำที่สุด คือ อิตาลีและญี่ปุ่น (ในกรณีของญี่ปุ่นก็เพราะว่าได้รับภาระมากมานานหลายปีก่อนหน้าแล้ว) แต่ก็ยังคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 2 เท่าของจีดีพี อย่างไรก็ดี ในยุโรปนั้นประชาชนกำลังแก่ตัวลงอย่างรวดเร็วในประเทศเยอรมนี อิตาลีและสเปน (เพราะมีลูกลดลงมาก) แต่ประเทศฝรั่งเศส อังกฤษและกลุ่มนอรดิคนั้นครอบครัวยังมีลูกลดลงไม่มาก เช่นเดียวกับสหรัฐซึ่งมีการเสริมประชากรโดยการเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศอีกด้วย
แต่อย่าเข้าใจว่าปัญหาผู้สูงอายุเป็นปัญหาของประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศตะวันตกเท่านั้น เพราะประชากรของญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวันและจีนก็กำลังแก่ตัวอย่างรวดเร็ว ในกรณีของจีนนั้นได้มีนโยบายควบคุมจำนวนประชากรอย่างต่อเนื่องมา 30 ปี ทำให้ประเมินได้ว่าประชากรของจีนจะถึงจุดสูงสุดประมาณ 1,460 ล้านคนในปี 2030 ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่าจากจำนวนผู้สูงอายุเกือบ 2,000 ล้านคนในปี 2050 ที่กล่าวถึงข้างต้นนั้นเป็นผู้สูงอายุในประเทศพัฒนาแล้วประมาณ 400 ล้านคน และเป็นผู้สูงอายุในประเทศกำลังพัฒนาเกือบ 1,600 ล้านคนครับ
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 117
Value Way ฉบับวันที่ 13 กรกฏาคม 2552
โดยวิบูลย์ พึงประเสริฐ
คำเตือนจากกรีนสแปน
อลัน กรีนสแปน อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาได้เขียนบทความเกี่ยวกับมุมมองของเขาต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน เรามาดูว่ากรีนสแปนคิดอย่างไรบ้างในชั่วโมงนี้
เขามองว่าการเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นทั่วโลกอย่างไม่คาดคิดในช่วงไตรมาศสองที่ผ่านมา ทำให้มุมมองต่อเศรษฐกิจของคนทั่วไปดีขึ้น ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นทำให้สถาบันการเงินและบริษัทต่างๆมีความสามารถในการหาทุนมาจ่ายหนี้ได้มากขึ้น ความกลัวสถาบันการเงินจะล้มละลายเพิ่มเติมได้ลดน้อยลงไปมาก
ส่วนคำถามที่ว่าการฟื้นของตลาดหุ้นรอบนี้จะเป็นการฟื้นของเศรษฐกิจจริงหรือไม่ กรีนสแปนบอกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ก็ต่อเมื่อราคาบ้านในอเมริกาเริ่มคงที่ เพราะราคาบ้านในอเมริกาเป็นหลักประกันของตราสารต่างๆที่กระจายอยู่ทั่วโลก ตอนนี้ราคาบ้านยังไม่ถึงจุดต่ำสุด การขายทอดตลาดยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาบ้านอาจลดลงได้อีกและมีโอกาสที่จะเริ่มทรงตัวในอีกหลายเดือนข้างหน้า
เขามองว่าราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมาจนคิดไม่ออกว่าตลาดหุ้นจะไปได้ไกลกว่านี้ได้อย่างไร ถึงอย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นทำให้สถาบันการเงินมีงบการเงินที่ดีขึ้นและหาเงินเพิ่มทุนได้ เมืื่อแบงค์สามารถเพิ่มทุนสำเร็จจึงจะเริ่มปล่อยกู้ตามปกติ ราคาหุ้นสูงยังช่วยเพิ่มความมั่งคงของครอบครัวรวมทั้งเพิ่มการใช้จ่ายของครัวเรือนอีกด้วย นอกเหนือจากนั้นยังทำให้บริษัทต่างๆมีทรัพย์สินมากขึ้นจากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นสามารถนำเงินมาลงทุนในกิจการเพิ่มเติมได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้ช่วยขจัดภาวะเงินฝืดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
กรีสแปนมองว่าตลาดหุ้นเป็นตัวชี้นำเศรษฐกิจที่ดีและตลาดหุ้นเองเป็นตัวช่วยเศรษฐกิจไปด้วยในคราวเดียวกัน ถ้าตลาดหุ้นกลับฟุบไปอีกครั้ง โอกาสที่จะเกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะยากขึ้น
เขากล่าวว่าสิ่งที่น่ากังวลในอนาคตคือภาวะเงินเฟ้อ ถ้าภาวะทางการเมืองบีบให้ธนาคารกลางของสหรัฐใช้เครื่องมือทางการเงินต่อไปไม่หยุด เราอาจจะเห็นภาวะเงินเฟ้อในปี 2012 หรืออาจจะก่อนหน้านั้นถ้าตลาดมองเห็นการเติบโตของกระแสเงิน (Money Supply) ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติในอดีตพบว่าอัตราเงินเฟ้อมีส่วนแปรผันโดยตรงกับกระแสเงินหมุนเวียนในระบบโดยมีระยะเวลาเหลื่อมกันประมาณสามปีครึ่ง
ภาวะเงินเฟ้อเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงในช่วงทศวรรษข้างหน้า เพราะรัฐบาลสหรัฐก่อหนี้มากเกินไปในการช่วยเหลือสถาบันการเงินในรอบนี้ การแก้ไขภาวะขาดดุลงบประมาณอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐต้องพิมพ์เงินดอลล่าร์ออกมาเป็นจำนวนมาก นอกเหนือจากนั้นถ้าภาวะการว่างงานลดลง ธนาคารกลางอาจตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยกลางระยะสั้น (Fed Fund Rate) ทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้ภาวะขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น
ตามปกติแล้วภาวะเงินเฟ้อจะถูกควบคุมโดยส่วนต่างระหว่างหนี้สาธารณะของรัฐบาลและความสามารถในการก่อหนี้ แต่จากการประเมิน ภาระหนี้ของรัฐบาลอเมริกาจะถึงจุดเพดานสูงสุดของการก่อหนี้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อถึงเวลานั้นภาวะเงินเฟ้อคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก
ถึงอย่างไรก็ตาม กรีนสแปนยังคงให้ทางออกต่อปัญหาที่อาจเกิดขึ้นโดยแนะนำให้รัฐบาลสหรัฐลดการขาดดุลงบประมาณลง รวมทั้งธนาคารกลางสหรัฐลดกระแสงเินหมุนเวียนในระบบเมื่อเศรษฐกิจผ่านพ้นจากความเสี่ยงของปัญหาเงินฝืด ถ้าไม่ทำอะไรเลย โลกอาจเผชิญกับวิกฤตเงินเฟ้อรอบใหม่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าอย่างแน่นอน
โดยวิบูลย์ พึงประเสริฐ
คำเตือนจากกรีนสแปน
อลัน กรีนสแปน อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาได้เขียนบทความเกี่ยวกับมุมมองของเขาต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน เรามาดูว่ากรีนสแปนคิดอย่างไรบ้างในชั่วโมงนี้
เขามองว่าการเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นทั่วโลกอย่างไม่คาดคิดในช่วงไตรมาศสองที่ผ่านมา ทำให้มุมมองต่อเศรษฐกิจของคนทั่วไปดีขึ้น ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นทำให้สถาบันการเงินและบริษัทต่างๆมีความสามารถในการหาทุนมาจ่ายหนี้ได้มากขึ้น ความกลัวสถาบันการเงินจะล้มละลายเพิ่มเติมได้ลดน้อยลงไปมาก
ส่วนคำถามที่ว่าการฟื้นของตลาดหุ้นรอบนี้จะเป็นการฟื้นของเศรษฐกิจจริงหรือไม่ กรีนสแปนบอกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ก็ต่อเมื่อราคาบ้านในอเมริกาเริ่มคงที่ เพราะราคาบ้านในอเมริกาเป็นหลักประกันของตราสารต่างๆที่กระจายอยู่ทั่วโลก ตอนนี้ราคาบ้านยังไม่ถึงจุดต่ำสุด การขายทอดตลาดยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาบ้านอาจลดลงได้อีกและมีโอกาสที่จะเริ่มทรงตัวในอีกหลายเดือนข้างหน้า
เขามองว่าราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมาจนคิดไม่ออกว่าตลาดหุ้นจะไปได้ไกลกว่านี้ได้อย่างไร ถึงอย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นทำให้สถาบันการเงินมีงบการเงินที่ดีขึ้นและหาเงินเพิ่มทุนได้ เมืื่อแบงค์สามารถเพิ่มทุนสำเร็จจึงจะเริ่มปล่อยกู้ตามปกติ ราคาหุ้นสูงยังช่วยเพิ่มความมั่งคงของครอบครัวรวมทั้งเพิ่มการใช้จ่ายของครัวเรือนอีกด้วย นอกเหนือจากนั้นยังทำให้บริษัทต่างๆมีทรัพย์สินมากขึ้นจากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นสามารถนำเงินมาลงทุนในกิจการเพิ่มเติมได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้ช่วยขจัดภาวะเงินฝืดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
กรีสแปนมองว่าตลาดหุ้นเป็นตัวชี้นำเศรษฐกิจที่ดีและตลาดหุ้นเองเป็นตัวช่วยเศรษฐกิจไปด้วยในคราวเดียวกัน ถ้าตลาดหุ้นกลับฟุบไปอีกครั้ง โอกาสที่จะเกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะยากขึ้น
เขากล่าวว่าสิ่งที่น่ากังวลในอนาคตคือภาวะเงินเฟ้อ ถ้าภาวะทางการเมืองบีบให้ธนาคารกลางของสหรัฐใช้เครื่องมือทางการเงินต่อไปไม่หยุด เราอาจจะเห็นภาวะเงินเฟ้อในปี 2012 หรืออาจจะก่อนหน้านั้นถ้าตลาดมองเห็นการเติบโตของกระแสเงิน (Money Supply) ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติในอดีตพบว่าอัตราเงินเฟ้อมีส่วนแปรผันโดยตรงกับกระแสเงินหมุนเวียนในระบบโดยมีระยะเวลาเหลื่อมกันประมาณสามปีครึ่ง
ภาวะเงินเฟ้อเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงในช่วงทศวรรษข้างหน้า เพราะรัฐบาลสหรัฐก่อหนี้มากเกินไปในการช่วยเหลือสถาบันการเงินในรอบนี้ การแก้ไขภาวะขาดดุลงบประมาณอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐต้องพิมพ์เงินดอลล่าร์ออกมาเป็นจำนวนมาก นอกเหนือจากนั้นถ้าภาวะการว่างงานลดลง ธนาคารกลางอาจตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยกลางระยะสั้น (Fed Fund Rate) ทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้ภาวะขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น
ตามปกติแล้วภาวะเงินเฟ้อจะถูกควบคุมโดยส่วนต่างระหว่างหนี้สาธารณะของรัฐบาลและความสามารถในการก่อหนี้ แต่จากการประเมิน ภาระหนี้ของรัฐบาลอเมริกาจะถึงจุดเพดานสูงสุดของการก่อหนี้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อถึงเวลานั้นภาวะเงินเฟ้อคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก
ถึงอย่างไรก็ตาม กรีนสแปนยังคงให้ทางออกต่อปัญหาที่อาจเกิดขึ้นโดยแนะนำให้รัฐบาลสหรัฐลดการขาดดุลงบประมาณลง รวมทั้งธนาคารกลางสหรัฐลดกระแสงเินหมุนเวียนในระบบเมื่อเศรษฐกิจผ่านพ้นจากความเสี่ยงของปัญหาเงินฝืด ถ้าไม่ทำอะไรเลย โลกอาจเผชิญกับวิกฤตเงินเฟ้อรอบใหม่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าอย่างแน่นอน
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 118
ฉบับที่ 1001 ประจำวันที่ 30-5-2009 ถึง 2-6-2009
อนาคตเศรษฐกิจโลกส่อเค้าป่วนหนัก
สัญญาณการฟื้นฟุบสับสนอลหม่าน
ปรากฏการณ์ความซึมเซาเศร้าหมองของเศรษฐกิจที่ปกคลุมทั่วทั้งโลกเรื้อรังต่อเนื่องกันมากว่า 2 ปี กำลังคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น และแสงสว่าง เริ่มทอประกายรำไรให้ได้ชื่นใจที่ปลายอุโมงค์แล้ว
เจ.พี.มอร์แกน สำนักเศรษฐกิจแถวหน้าของโลกทำนายทายทักแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นทั้งในสหรัฐอเมริกา และเอเชียใน รอบปีนี้ว่าน่าจะสวยใสซาบ ซ่ากว่าปีที่แล้ว
ในทรรศนะของเจ.พี. มอร์แกน วาดหวังว่าในรอบ ปีนี้ดัชนีดาวโจนส์ ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก มีแนวโน้มที่จะ เบิกบานขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 20
ทำนองเดียวกัน ดัชนีราคาซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้น ทั่วเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นที่จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินเดีย หรือแม้กระทั่งเมืองไทย มีแนวโน้มที่จะผงกหัวชูคอเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 25
เหตุผลสำคัญที่ดลบันดาลให้เจ.พี.มอร์แกน มองโลกในแง่ดี สืบเนื่อง มาจากเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้ม ที่จะฟื้นตัวดีขึ้น และเหนี่ยว นำให้เศรษฐกิจทั้งโลกค่อยๆ หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติ
ความคิด ความเชื่อมั่น ของเจ.พี.มอร์แกน ที่มีต่อพลังอำนาจของเศรษฐกิจจีน เป็นผลมาจากความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจจีนเป็นไป ในทิศทางที่ดีวันดีคืนอย่างต่อเนื่อง นับจากเดือนมีนาคมเรื่อยมา และมีความโน้ม เอียงสูงมากที่อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 น่าจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงถึงประมาณร้อยละ 10
ปัจจัยที่ส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน คือกำลังซื้อของประชากรในประเทศที่กระเตื้องตัวดีขึ้น และมีความกล้าจับจ่ายซื้อหาสินค้า มูลค่าสูงๆ อย่างบ้าน หรือรถยนต์มากขึ้น ขณะที่ประชากรในประเทศอื่นๆ อีกหลาย ต่อหลายประเทศยัง กลัวๆ กล้าๆ
แนวโน้มเศรษฐกิจที่ส่อเค้าดีขึ้นของ ญี่ปุ่น ก็เป็นแรงเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอีกส่วนหนึ่ง
ฮิโรชิ วาตานาเบ้ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส สถาบันวิจัยเศรษฐกิจไดวา เชื่อว่าแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงไตรมาสที่ 2 และไตรมาสต่อๆ ไปของปีนี้ น่าจะกระเตื้องตัวดีขึ้น เนื่องจากได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของรัฐบาล
พลังหนุนที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งสะท้อนผ่านบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้น ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนเท่านั้น แต่ยังได้รับอานิสงส์ใหญ่หลวงจากอัตราดอกเบี้ย ในตลาดเงินสำคัญทั่วโลก ที่มีการอ่อนตัวต่ำลงอย่างต่อเนื่อง กระทั่งอัตราดอกเบี้ย ในตลาดเงินของหลายประเทศมีการลดลง จนถึงจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
ตอนนี้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินที่สำคัญอย่างญี่ปุ่น อยู่ที่ร้อยละ 0.1 สหรัฐ อเมริกา อยู่ที่ร้อยละ 0.25 อังกฤษ แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ และฮ่องกง อยู่ที่ร้อยละ 0.5 สวีเดน อยู่ที่ร้อยละ 1.0 สหภาพยุโรป อยู่ที่ร้อยละ 1.5 เกาหลีใต้อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ออสเตรเลีย อยู่ที่ร้อยละ 3.25 นิวซีแลนด์ อยู่ที่ร้อยละ 3.5 จีน อยู่ที่ร้อยละ 5.31 อินเดีย อยู่ที่ร้อยละ 5.5 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานในตลาดเงินของเมืองไทยอยู่ ที่ร้อยละ 1.25
น่าสังเกตว่าภายใต้การอ่อนตัวของ อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินสำคัญของโลก กลับพบว่าที่อียิปต์ และไอซ์แลนด์ มีอัตรา ดอกเบี้ยที่สูงเกินกว่าร้อยละ 10 โดยอัตรา ดอกเบี้ยในตลาดเงินอียิปต์อยู่ที่ร้อยละ 10.5 และอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินไอซ์แลนด์ อยู่ที่ร้อยละ 18
อย่างไรก็ตาม ในทรรศนะของ จิม โรเจอร์ส ประธานโรเจอร์โฮลดิ้ง กลับเห็น เป็นตรงกันข้ามว่า เศรษฐกิจโลกกำลังก้าว เข้าสู่ภาวะวิกฤติระลอกใหม่อย่างช้าๆ
วิกฤติเศรษฐกิจระลอกใหม่ที่รอจังหวะ เขย่าระบบเศรษฐกิจโลกในมุมมองของ จิม โรเจอร์ส คือวิกฤตการณ์อัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดความผันผวนรุนแรง อย่างมาก
เหตุผลที่ จิม โรเจอร์ส เชื่อเช่นนั้น เป็นเพราะว่าในช่วง 2 ปีที่โลกเผชิญวิกฤติ เศรษฐกิจ บรรดาธนาคารกลางทั่วโลกต่าง ประสานแรงกันอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจอย่างมากมายมหาศาล
ถ้าทรรศนะของจิม โรเจอร์ส เป็นจริง อีกไม่ช้าไม่นานจะได้เห็นปรากฏการณ์หายนะครั้งใหญ่อุบัติขึ้นทั้งในตลาดหุ้น และตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
อนาคตเศรษฐกิจโลกส่อเค้าป่วนหนัก
สัญญาณการฟื้นฟุบสับสนอลหม่าน
ปรากฏการณ์ความซึมเซาเศร้าหมองของเศรษฐกิจที่ปกคลุมทั่วทั้งโลกเรื้อรังต่อเนื่องกันมากว่า 2 ปี กำลังคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น และแสงสว่าง เริ่มทอประกายรำไรให้ได้ชื่นใจที่ปลายอุโมงค์แล้ว
เจ.พี.มอร์แกน สำนักเศรษฐกิจแถวหน้าของโลกทำนายทายทักแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นทั้งในสหรัฐอเมริกา และเอเชียใน รอบปีนี้ว่าน่าจะสวยใสซาบ ซ่ากว่าปีที่แล้ว
ในทรรศนะของเจ.พี. มอร์แกน วาดหวังว่าในรอบ ปีนี้ดัชนีดาวโจนส์ ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก มีแนวโน้มที่จะ เบิกบานขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 20
ทำนองเดียวกัน ดัชนีราคาซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้น ทั่วเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นที่จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินเดีย หรือแม้กระทั่งเมืองไทย มีแนวโน้มที่จะผงกหัวชูคอเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 25
เหตุผลสำคัญที่ดลบันดาลให้เจ.พี.มอร์แกน มองโลกในแง่ดี สืบเนื่อง มาจากเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้ม ที่จะฟื้นตัวดีขึ้น และเหนี่ยว นำให้เศรษฐกิจทั้งโลกค่อยๆ หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติ
ความคิด ความเชื่อมั่น ของเจ.พี.มอร์แกน ที่มีต่อพลังอำนาจของเศรษฐกิจจีน เป็นผลมาจากความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจจีนเป็นไป ในทิศทางที่ดีวันดีคืนอย่างต่อเนื่อง นับจากเดือนมีนาคมเรื่อยมา และมีความโน้ม เอียงสูงมากที่อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 น่าจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงถึงประมาณร้อยละ 10
ปัจจัยที่ส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน คือกำลังซื้อของประชากรในประเทศที่กระเตื้องตัวดีขึ้น และมีความกล้าจับจ่ายซื้อหาสินค้า มูลค่าสูงๆ อย่างบ้าน หรือรถยนต์มากขึ้น ขณะที่ประชากรในประเทศอื่นๆ อีกหลาย ต่อหลายประเทศยัง กลัวๆ กล้าๆ
แนวโน้มเศรษฐกิจที่ส่อเค้าดีขึ้นของ ญี่ปุ่น ก็เป็นแรงเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอีกส่วนหนึ่ง
ฮิโรชิ วาตานาเบ้ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส สถาบันวิจัยเศรษฐกิจไดวา เชื่อว่าแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงไตรมาสที่ 2 และไตรมาสต่อๆ ไปของปีนี้ น่าจะกระเตื้องตัวดีขึ้น เนื่องจากได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของรัฐบาล
พลังหนุนที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งสะท้อนผ่านบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้น ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนเท่านั้น แต่ยังได้รับอานิสงส์ใหญ่หลวงจากอัตราดอกเบี้ย ในตลาดเงินสำคัญทั่วโลก ที่มีการอ่อนตัวต่ำลงอย่างต่อเนื่อง กระทั่งอัตราดอกเบี้ย ในตลาดเงินของหลายประเทศมีการลดลง จนถึงจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
ตอนนี้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินที่สำคัญอย่างญี่ปุ่น อยู่ที่ร้อยละ 0.1 สหรัฐ อเมริกา อยู่ที่ร้อยละ 0.25 อังกฤษ แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ และฮ่องกง อยู่ที่ร้อยละ 0.5 สวีเดน อยู่ที่ร้อยละ 1.0 สหภาพยุโรป อยู่ที่ร้อยละ 1.5 เกาหลีใต้อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ออสเตรเลีย อยู่ที่ร้อยละ 3.25 นิวซีแลนด์ อยู่ที่ร้อยละ 3.5 จีน อยู่ที่ร้อยละ 5.31 อินเดีย อยู่ที่ร้อยละ 5.5 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานในตลาดเงินของเมืองไทยอยู่ ที่ร้อยละ 1.25
น่าสังเกตว่าภายใต้การอ่อนตัวของ อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินสำคัญของโลก กลับพบว่าที่อียิปต์ และไอซ์แลนด์ มีอัตรา ดอกเบี้ยที่สูงเกินกว่าร้อยละ 10 โดยอัตรา ดอกเบี้ยในตลาดเงินอียิปต์อยู่ที่ร้อยละ 10.5 และอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินไอซ์แลนด์ อยู่ที่ร้อยละ 18
อย่างไรก็ตาม ในทรรศนะของ จิม โรเจอร์ส ประธานโรเจอร์โฮลดิ้ง กลับเห็น เป็นตรงกันข้ามว่า เศรษฐกิจโลกกำลังก้าว เข้าสู่ภาวะวิกฤติระลอกใหม่อย่างช้าๆ
วิกฤติเศรษฐกิจระลอกใหม่ที่รอจังหวะ เขย่าระบบเศรษฐกิจโลกในมุมมองของ จิม โรเจอร์ส คือวิกฤตการณ์อัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดความผันผวนรุนแรง อย่างมาก
เหตุผลที่ จิม โรเจอร์ส เชื่อเช่นนั้น เป็นเพราะว่าในช่วง 2 ปีที่โลกเผชิญวิกฤติ เศรษฐกิจ บรรดาธนาคารกลางทั่วโลกต่าง ประสานแรงกันอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจอย่างมากมายมหาศาล
ถ้าทรรศนะของจิม โรเจอร์ส เป็นจริง อีกไม่ช้าไม่นานจะได้เห็นปรากฏการณ์หายนะครั้งใหญ่อุบัติขึ้นทั้งในตลาดหุ้น และตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 119
เศรษฐกิจโลกครึ่งปีหลังปี2552
ช่วงนี้ คนสับสนว่า ตกลงเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้เร็วหรือไม่ ยังมีความเสี่ยงอะไรที่น่ากังวลใจอีก
ที่สับสน เพราะมีนักวิเคราะห์หลาย สำนักออกมาพูดแย้งกันเอง บางสำนักบอกว่า ฟื้นแน่ บางสำนักบอกว่า อีกนาน สุดท้ายไม่รู้จะเชื่อใครดี วันนี้ก็เลยขอมาสรุปและฟันธง ให้ฟัง
พวกที่บอกว่าฟื้น มีอยู่ 3 กลุ่มย่อย ๆ เริ่มจาก (1) ผู้ว่าการธนาคารกลาง รัฐมนตรีคลัง และประธานาธิบดีของสหรัฐ ที่ช่วยกันออกมาพูดให้ความหวัง ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาว่า มีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาอย่างน่าพอใจ เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีและแสงสว่างอยู่รำไร (2) พวกผู้เชี่ยวชาญเรื่องหุ้นที่ออกมาวิเคราะห์ หลังดัชนีหุ้นประเทศต่าง ๆ ปรับขึ้นว่า เศรษฐกิจไปได้ดีแน่ ยิ่งหุ้นขึ้นมาก ความหวังก็มากขึ้นเท่านั้น ท้ายสุดทุกคนก็อดเชื่อตามไม่ได้ว่า เศรษฐกิจฟื้นแน่ ท้ายสุดคือ (3) พวกสื่อที่ช่วยกันโหมข่าวเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ทุกคนมั่นใจมากขึ้น
พวกที่ 2 ซึ่งมองต่างไป พวกนี้พอมีความหวังและรู้สึกพอใจกับความคืบหน้าในการคลี่คลายปัญหาอยู่บ้าง แต่ยังมองว่า ยากที่การฟื้นตัวซึ่งทุกคนกำลังพูดถึงจะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะหุ้นคงไม่สามารถขึ้นได้ต่อเนื่องเป็นระยะ เวลานาน หากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า Economic Fundamentals ยังไม่ดี
ที่ว่าพื้นฐานไม่ดีนั้น เป็นเพราะในสหรัฐและยุโรป แบงก์ยังมีหนี้เสียอีกมาก ยังไม่สามารถปล่อยสินเชื่ออีกนาน ผู้บริโภคก็ต้องปรับตัว ชำระหนี้คืนกันอีกมาก บริษัทจำนวนมากยังต้องล้มลคนงานยังต้องตกงานอีกมาก ถ้าเป็นเช่นนี้ คำถามหลัก คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะมาจากไหน
ตอนแรก ๆ ช่วงที่หุ้นขึ้น คนส่วนมากจะไม่เชื่อและไม่อยากฟังพวกที่ 2 นี้ แต่หลังจากหุ้นตกในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายคนกลับมาเริ่มคิดได้ ยิ่งตกมากก็ยิ่งเห็นความจริงว่า ที่ว่าจะฟื้นแน่ ฟื้นเร็วนั้น อาจจะไม่ใช่ก็ได้
โดยเฉพาะเมื่อคุณ Geithner รัฐมนตรีคลังสหรัฐออกมาบอกเมื่อกลางเดือนมิถุนายนว่า เราอยู่ในช่วงต้นของการฟื้นตัว ยังมีหนทางอีกยาวไกล ซึ่งการฟื้นตัวที่จะเกิดขึ้น จะฟื้นใน อัตราที่ช้ากว่าปกติ และยังจะใช้เวลาอีกมาก ภาค ธุรกิจจะลำบากและต้องต่อสู้กับความท้าทายอีกหลายด้าน และปัญหาการว่างงานจะยังคงเพิ่มขึ้นอีกระยะหนึ่ง
สอดคล้องกับคุณ Trichet ผู้ว่าการธนาคารกลางของสหภาพยุโรป ที่ออกมาเตือนว่า อย่าตายใจ อย่าประมาท เรือยังอยู่ในน่านน้ำที่ยังไม่เคยมีการสำรวจมาก่อน แม้จะมีสัญญาณที่ดีบ้าง คือ เศรษฐกิจไม่ดิ่งเหวแล้ว และเริ่มหดตัวในอัตราที่ช้าลง แต่ยังต้องระวัง ยังมีหินโสโครกซ่อนอยู่ ยังมีความเสี่ยงในปัญหาระบบการเงินอาจปะทุขึ้นมาใหม่ได้
ระเบิดเวลาสำคัญอยู่ที่ (1) ยุโรป ที่ยังคงตกลงใจในการแก้ไขปัญหาทั้งเรื่องสถาบันการเงินและการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้ เนื่องจากมีกันหลายประเทศ ที่สำคัญไปกว่านั้น คือ (2) ยุโรปตะวันออก ที่อาการยังน่ากังวลใจอย่างยิ่ง เพราะมีบางประเทศ เช่น ลัตเวีย กำลังโดนโจมตีค่าเงินอยู่ โดยคนเก็งกำไรกันว่า ท้ายสุดลัตเวียจะต้องลดค่าเงินหรือปล่อยให้ค่าเงินยตัว ซึ่งจะทำให้ประเทศอื่น ๆ ในแถบนั้น เช่น เอสโตเนีย ลิทัวเนีย บัลแกเรีย ที่ยังพยายามยึดระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่อยู่ ต้องลดค่าเงินหรือปล่อยให้ลอยตัวตามไปด้วย ตรงนี้อาจจะเป็นจุดพลิกผัน และเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติต้มยำกุ้งในภูมิภาคยุโรปตะวันออก และวกกลับมาส่งผลกระทบ ต่อสถาบันการเงินยุโรปที่ปล่อยกู้ให้ยุโรปตะวันออกรวมกันกว่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ อีกรอบหนึ่งได้
แม้กระทั่ง (3) เอเชีย คนก็มองว่าการฟื้นตัวของการส่งออกก็ไม่น่าจะขยายตัวได้เต็มที่จนกระทั่งปลายปี 2553 ไปแล้ว และการฟื้นตัวของจีนและญี่ปุ่นยังเป็นสิ่งที่หลายคนยังข้องใจอยู่
ด้วยเหตุนี้ หลายคนก็เลยเริ่มคิด เริ่มฟันธงกันมากขึ้นว่า การฟื้นตัวครั้งนี้ดูท่าว่าจะยืดเยื้อกว่าที่คาดไว้ โดยคำถามหลักสำคัญในใจของหลายคนตอนนี้ ก็คือ จะมีหลุมบ่อรออยู่อีกมากมายแค่ไหนในช่วง 6 เดือนข้างหน้า และเมื่อผ่านหลุมบ่อเหล่านี้ไปได้แล้ว เศรษฐกิจจะฟื้นได้ดีแค่ไหน ตรงนี้ก็คงได้แต่หวังครับว่า ทุกอย่างจะคลี่คลายไปในทางที่ดี และพยายามเตรียมการว่าเราจะอยู่อย่างไร หากปัญหาลุกลามขึ้นเป็นระลอกขนาดกลาง ๆ อีกรอบ ก็ขอเอาใจช่วยทุกคนครับ.
ช่วงนี้ คนสับสนว่า ตกลงเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้เร็วหรือไม่ ยังมีความเสี่ยงอะไรที่น่ากังวลใจอีก
ที่สับสน เพราะมีนักวิเคราะห์หลาย สำนักออกมาพูดแย้งกันเอง บางสำนักบอกว่า ฟื้นแน่ บางสำนักบอกว่า อีกนาน สุดท้ายไม่รู้จะเชื่อใครดี วันนี้ก็เลยขอมาสรุปและฟันธง ให้ฟัง
พวกที่บอกว่าฟื้น มีอยู่ 3 กลุ่มย่อย ๆ เริ่มจาก (1) ผู้ว่าการธนาคารกลาง รัฐมนตรีคลัง และประธานาธิบดีของสหรัฐ ที่ช่วยกันออกมาพูดให้ความหวัง ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาว่า มีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาอย่างน่าพอใจ เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีและแสงสว่างอยู่รำไร (2) พวกผู้เชี่ยวชาญเรื่องหุ้นที่ออกมาวิเคราะห์ หลังดัชนีหุ้นประเทศต่าง ๆ ปรับขึ้นว่า เศรษฐกิจไปได้ดีแน่ ยิ่งหุ้นขึ้นมาก ความหวังก็มากขึ้นเท่านั้น ท้ายสุดทุกคนก็อดเชื่อตามไม่ได้ว่า เศรษฐกิจฟื้นแน่ ท้ายสุดคือ (3) พวกสื่อที่ช่วยกันโหมข่าวเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ทุกคนมั่นใจมากขึ้น
พวกที่ 2 ซึ่งมองต่างไป พวกนี้พอมีความหวังและรู้สึกพอใจกับความคืบหน้าในการคลี่คลายปัญหาอยู่บ้าง แต่ยังมองว่า ยากที่การฟื้นตัวซึ่งทุกคนกำลังพูดถึงจะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะหุ้นคงไม่สามารถขึ้นได้ต่อเนื่องเป็นระยะ เวลานาน หากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า Economic Fundamentals ยังไม่ดี
ที่ว่าพื้นฐานไม่ดีนั้น เป็นเพราะในสหรัฐและยุโรป แบงก์ยังมีหนี้เสียอีกมาก ยังไม่สามารถปล่อยสินเชื่ออีกนาน ผู้บริโภคก็ต้องปรับตัว ชำระหนี้คืนกันอีกมาก บริษัทจำนวนมากยังต้องล้มลคนงานยังต้องตกงานอีกมาก ถ้าเป็นเช่นนี้ คำถามหลัก คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะมาจากไหน
ตอนแรก ๆ ช่วงที่หุ้นขึ้น คนส่วนมากจะไม่เชื่อและไม่อยากฟังพวกที่ 2 นี้ แต่หลังจากหุ้นตกในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายคนกลับมาเริ่มคิดได้ ยิ่งตกมากก็ยิ่งเห็นความจริงว่า ที่ว่าจะฟื้นแน่ ฟื้นเร็วนั้น อาจจะไม่ใช่ก็ได้
โดยเฉพาะเมื่อคุณ Geithner รัฐมนตรีคลังสหรัฐออกมาบอกเมื่อกลางเดือนมิถุนายนว่า เราอยู่ในช่วงต้นของการฟื้นตัว ยังมีหนทางอีกยาวไกล ซึ่งการฟื้นตัวที่จะเกิดขึ้น จะฟื้นใน อัตราที่ช้ากว่าปกติ และยังจะใช้เวลาอีกมาก ภาค ธุรกิจจะลำบากและต้องต่อสู้กับความท้าทายอีกหลายด้าน และปัญหาการว่างงานจะยังคงเพิ่มขึ้นอีกระยะหนึ่ง
สอดคล้องกับคุณ Trichet ผู้ว่าการธนาคารกลางของสหภาพยุโรป ที่ออกมาเตือนว่า อย่าตายใจ อย่าประมาท เรือยังอยู่ในน่านน้ำที่ยังไม่เคยมีการสำรวจมาก่อน แม้จะมีสัญญาณที่ดีบ้าง คือ เศรษฐกิจไม่ดิ่งเหวแล้ว และเริ่มหดตัวในอัตราที่ช้าลง แต่ยังต้องระวัง ยังมีหินโสโครกซ่อนอยู่ ยังมีความเสี่ยงในปัญหาระบบการเงินอาจปะทุขึ้นมาใหม่ได้
ระเบิดเวลาสำคัญอยู่ที่ (1) ยุโรป ที่ยังคงตกลงใจในการแก้ไขปัญหาทั้งเรื่องสถาบันการเงินและการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้ เนื่องจากมีกันหลายประเทศ ที่สำคัญไปกว่านั้น คือ (2) ยุโรปตะวันออก ที่อาการยังน่ากังวลใจอย่างยิ่ง เพราะมีบางประเทศ เช่น ลัตเวีย กำลังโดนโจมตีค่าเงินอยู่ โดยคนเก็งกำไรกันว่า ท้ายสุดลัตเวียจะต้องลดค่าเงินหรือปล่อยให้ค่าเงินยตัว ซึ่งจะทำให้ประเทศอื่น ๆ ในแถบนั้น เช่น เอสโตเนีย ลิทัวเนีย บัลแกเรีย ที่ยังพยายามยึดระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่อยู่ ต้องลดค่าเงินหรือปล่อยให้ลอยตัวตามไปด้วย ตรงนี้อาจจะเป็นจุดพลิกผัน และเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติต้มยำกุ้งในภูมิภาคยุโรปตะวันออก และวกกลับมาส่งผลกระทบ ต่อสถาบันการเงินยุโรปที่ปล่อยกู้ให้ยุโรปตะวันออกรวมกันกว่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ อีกรอบหนึ่งได้
แม้กระทั่ง (3) เอเชีย คนก็มองว่าการฟื้นตัวของการส่งออกก็ไม่น่าจะขยายตัวได้เต็มที่จนกระทั่งปลายปี 2553 ไปแล้ว และการฟื้นตัวของจีนและญี่ปุ่นยังเป็นสิ่งที่หลายคนยังข้องใจอยู่
ด้วยเหตุนี้ หลายคนก็เลยเริ่มคิด เริ่มฟันธงกันมากขึ้นว่า การฟื้นตัวครั้งนี้ดูท่าว่าจะยืดเยื้อกว่าที่คาดไว้ โดยคำถามหลักสำคัญในใจของหลายคนตอนนี้ ก็คือ จะมีหลุมบ่อรออยู่อีกมากมายแค่ไหนในช่วง 6 เดือนข้างหน้า และเมื่อผ่านหลุมบ่อเหล่านี้ไปได้แล้ว เศรษฐกิจจะฟื้นได้ดีแค่ไหน ตรงนี้ก็คงได้แต่หวังครับว่า ทุกอย่างจะคลี่คลายไปในทางที่ดี และพยายามเตรียมการว่าเราจะอยู่อย่างไร หากปัญหาลุกลามขึ้นเป็นระลอกขนาดกลาง ๆ อีกรอบ ก็ขอเอาใจช่วยทุกคนครับ.
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 120
การฟื้นตัวที่อาจจะยืดเยื้อของสหรัฐ ...
โดย ดร. ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ความเห็นส่วนใหญ่คาดหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังถึงจุดต่ำสุดแล้ว โดยคาดว่าจีดีพีสหรัฐในไตรมาส 4 ปีที่แล้วจะหดตัวประมาณ 5-6% และหดตัวอีกเล็กน้อยในครึ่งแรกของปีนี้ ในทำนองเดียวกันเศรษฐกิจยุโรปก็จะเริ่มฟื้นตัวในครึ่งหลังของปีนี้ ทำให้เศรษฐกิจโลกโดยรวมสามารถพลิกฟื้นไปด้วยกัน
แต่นิตยสาร Economist รายงานว่าการประชุมประจำปีของสมาคมเศรษฐศาสตร์อเมริกัน (American Economic Association) ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3-5 มกราคมนั้นบรรยากาศหดหู่เป็นพิเศษกว่าปีอื่นๆ โดยเฉพาะเมื่อได้รับทราบผลการวิจัยร่วมของ Kenneth Rogoff แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (และอดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟ) และ Carmen Reinhart แห่งมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ผู้เชี่ยวชาญวิกฤติเศรษฐกิจการเงิน ซึ่งนำข้อมูลวิกฤติสถาบันการเงิน 14 ครั้งในอดีตมาวิเคราะห์ โดยแบ่งเป็นวิกฤติสถาบันการเงินในประเทศตลาดเกิดใหม่ 7 ครั้งและวิกฤติสถาบันการเงินในประเทศพัฒนาแล้วตั้งแต่ปี 1929 ถึง 1990 ทั้งนี้โดยมีข้อสรุปที่น่าสนใจดังนี้
1. วิกฤติสถาบันการเงินนั้นเกิดขึ้นบ่อยครั้งกับประเทศพัฒนาแล้ว ไม่แตกต่างจากประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมักจะเชื่อกันว่ามีระบบควบคุมและจัดการความเสี่ยงที่ด้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว
2. ความตกต่ำทางเศรษฐกิจซึ่งเกิดขึ้นหลังจากวิกฤติสถาบันการเงินนั้นมักจะมีความรุนแรงและยืดเยื้อ
3. วิกฤติสถาบันการเงินนั้นจะส่งผลที่รุนแรงต่อราคาหุ้นและราคาบ้านในระดับที่ใกล้เคียงกันในหลายกรณี แต่ผลกระทบต่อรายได้ต่อหัวและต่ออัตราการว่างงานนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละกรณี
4. การตกต่ำของเศรษฐกิจสหรัฐครั้งนี้อาจไม่รุนแรงเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีอื่นๆ ที่เคยศึกษามาในอดีต (เพราะได้มีการออกมาตรการมาอย่างมากมาย) แต่ความถดถอยทางเศรษฐกิจอาจยืดเยื้อมากกว่ากรณีอื่นๆ ในอดีต
ผลการวิจัยของนาย Rogoff และนาง Reinhart นั้นพบว่า ผลกระทบที่ตามมาหลังจากวิกฤติสถาบันการเงินนั้นค่อนข้างจะรุนแรงและยืดเยื้อกว่าที่มักจะคิดกัน เช่น ราคาบ้านนั้นปรับตัวลดลงมากถึง 36% จากจุดสูงสุดและใช้เวลานานถึง 5 ปีกว่าจะถึงจุดต่ำสุด ในกรณีของวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐครั้งนี้นั้นราคาบ้านปรับตัวถึงจุดสูงสุดประมาณปลายปี 2006 ดังนั้นกว่าราคาบ้านตกต่ำถึงจุดต่ำสุดจึงอาจต้องรอถึงปี 2011 ในส่วนของราคานั้นได้ปรับลดลงแล้วประมาณ 20% จึงมีโอกาสปรับลดลงอีก 16% หากนำเอาสถิติในอดีตมาใช้คาดการณ์อนาคต
สำหรับตลาดหุ้นนั้นจะปรับตัวลดลงมากกว่า (เฉลี่ยประมาณ 56%) แต่จะใช้เวลาปรับตัวที่เร็วกว่าคือ 3.4 ปี ในกรณีของสหรัฐนั้นตลาดหุ้นวัดจากดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวถึงจุดสูงสุดที่ 1565 จุดเมื่อ ต.ค.2007 ดังนั้นจึงน่าจะถึงจุดต่ำสุดภายในปี 2010 แต่ที่น่าเป็นห่วงคือการว่างงานที่เพิ่มขึ้นถึง 7.0% และตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 4.8 ปีจึงจะเริ่มฟื้นตัว ในกรณีของสหรัฐนั้นก่อนวิกฤติเศรษฐกิจอัตราว่างงานปรับลดลงไปจุดต่ำสุดประมาณ 4% ดังนั้นหากปัญหาของสหรัฐคล้ายคลึงกับปัญหาในอดีตที่นักวิชาการทั้งสองนำเสนอ ก็เป็นไปได้ว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นไปถึง 11% มิใช่ 7-8% ที่กำลังคาดการณ์กันในขณะนี้ ทีมเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโอบามาประเมินว่าอัตราการว่างงานจะขยับขึ้นไปที่ 8.8% ในปลายปี 2010 แต่เนื่องจากรัฐบาลนายโอบามาจะผลักดันนโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ (โดยมีรายจ่ายทั้งสิ้น 770,000 ล้านเหรียญ) ซึ่งจะสามารถทำให้อัตราการว่างงานขยับลงเหลือ 7.0% ในช่วงดังกล่าว
ประเด็นที่สำคัญอีก 2 ประเด็นคือ การที่นักวิจัยทั้งสองพบว่าวิกฤติสถาบันการเงินนั้นมีความยืดเยื้ออย่างมาก แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว เมื่อเผชิญกับวิกฤติสถาบันการเงินก็จะต้องใช้เวลานานถึง 7 ปี กว่าจะแก้ไขสถานการณ์และกลับสู่สภาวะปกติ ในกรณีของประเทศกำลังพัฒนานั้น ปัญหาอาจยืดเยื้อได้นานถึง 8-10 ปี ในกรณีของประเทศไทยนั้นกว่าธนาคารจะจัดการกับปัญหาหนี้เสีย ควบรวมกิจการและเพิ่มทุนอย่างเพียงพอได้ทั้งระบบ ก็ต้องใช้เวลา 8-9 ปี โดยในระหว่างนั้นเศรษฐกิจโดยรวมก็ต้องเผชิญกับปัญหาที่สถาบันการเงินไม่ขยายสินเชื่อ ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า
ประเด็นที่สองคือผลกระทบที่รุนแรงต่อภาครัฐ เพราะในประเทศที่ต้องเผชิญกับวิกฤติสถาบันการเงินนั้น หนี้ของรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยถึง 86% ทั้งนี้ภาวะส่วนใหญ่มิได้เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือสถาบันการเงิน แต่เป็นผลมาจากการหดตัวอย่างรุนแรงของรายได้ของภาครัฐ กล่าวคือภาษีลดลงอย่างมากเมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะถดถอยพร้อมไปกับความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มรายจ่ายของภาครัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ดีการเร่งนโยบายการคลังของภาครัฐดังกล่าวข้างต้นก็ยังไม่สามารถบรรเทาปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจได้มากนัก
ที่มาของบทความ :: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552
โดย ดร. ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ความเห็นส่วนใหญ่คาดหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังถึงจุดต่ำสุดแล้ว โดยคาดว่าจีดีพีสหรัฐในไตรมาส 4 ปีที่แล้วจะหดตัวประมาณ 5-6% และหดตัวอีกเล็กน้อยในครึ่งแรกของปีนี้ ในทำนองเดียวกันเศรษฐกิจยุโรปก็จะเริ่มฟื้นตัวในครึ่งหลังของปีนี้ ทำให้เศรษฐกิจโลกโดยรวมสามารถพลิกฟื้นไปด้วยกัน
แต่นิตยสาร Economist รายงานว่าการประชุมประจำปีของสมาคมเศรษฐศาสตร์อเมริกัน (American Economic Association) ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3-5 มกราคมนั้นบรรยากาศหดหู่เป็นพิเศษกว่าปีอื่นๆ โดยเฉพาะเมื่อได้รับทราบผลการวิจัยร่วมของ Kenneth Rogoff แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (และอดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟ) และ Carmen Reinhart แห่งมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ผู้เชี่ยวชาญวิกฤติเศรษฐกิจการเงิน ซึ่งนำข้อมูลวิกฤติสถาบันการเงิน 14 ครั้งในอดีตมาวิเคราะห์ โดยแบ่งเป็นวิกฤติสถาบันการเงินในประเทศตลาดเกิดใหม่ 7 ครั้งและวิกฤติสถาบันการเงินในประเทศพัฒนาแล้วตั้งแต่ปี 1929 ถึง 1990 ทั้งนี้โดยมีข้อสรุปที่น่าสนใจดังนี้
1. วิกฤติสถาบันการเงินนั้นเกิดขึ้นบ่อยครั้งกับประเทศพัฒนาแล้ว ไม่แตกต่างจากประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมักจะเชื่อกันว่ามีระบบควบคุมและจัดการความเสี่ยงที่ด้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว
2. ความตกต่ำทางเศรษฐกิจซึ่งเกิดขึ้นหลังจากวิกฤติสถาบันการเงินนั้นมักจะมีความรุนแรงและยืดเยื้อ
3. วิกฤติสถาบันการเงินนั้นจะส่งผลที่รุนแรงต่อราคาหุ้นและราคาบ้านในระดับที่ใกล้เคียงกันในหลายกรณี แต่ผลกระทบต่อรายได้ต่อหัวและต่ออัตราการว่างงานนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละกรณี
4. การตกต่ำของเศรษฐกิจสหรัฐครั้งนี้อาจไม่รุนแรงเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีอื่นๆ ที่เคยศึกษามาในอดีต (เพราะได้มีการออกมาตรการมาอย่างมากมาย) แต่ความถดถอยทางเศรษฐกิจอาจยืดเยื้อมากกว่ากรณีอื่นๆ ในอดีต
ผลการวิจัยของนาย Rogoff และนาง Reinhart นั้นพบว่า ผลกระทบที่ตามมาหลังจากวิกฤติสถาบันการเงินนั้นค่อนข้างจะรุนแรงและยืดเยื้อกว่าที่มักจะคิดกัน เช่น ราคาบ้านนั้นปรับตัวลดลงมากถึง 36% จากจุดสูงสุดและใช้เวลานานถึง 5 ปีกว่าจะถึงจุดต่ำสุด ในกรณีของวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐครั้งนี้นั้นราคาบ้านปรับตัวถึงจุดสูงสุดประมาณปลายปี 2006 ดังนั้นกว่าราคาบ้านตกต่ำถึงจุดต่ำสุดจึงอาจต้องรอถึงปี 2011 ในส่วนของราคานั้นได้ปรับลดลงแล้วประมาณ 20% จึงมีโอกาสปรับลดลงอีก 16% หากนำเอาสถิติในอดีตมาใช้คาดการณ์อนาคต
สำหรับตลาดหุ้นนั้นจะปรับตัวลดลงมากกว่า (เฉลี่ยประมาณ 56%) แต่จะใช้เวลาปรับตัวที่เร็วกว่าคือ 3.4 ปี ในกรณีของสหรัฐนั้นตลาดหุ้นวัดจากดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวถึงจุดสูงสุดที่ 1565 จุดเมื่อ ต.ค.2007 ดังนั้นจึงน่าจะถึงจุดต่ำสุดภายในปี 2010 แต่ที่น่าเป็นห่วงคือการว่างงานที่เพิ่มขึ้นถึง 7.0% และตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 4.8 ปีจึงจะเริ่มฟื้นตัว ในกรณีของสหรัฐนั้นก่อนวิกฤติเศรษฐกิจอัตราว่างงานปรับลดลงไปจุดต่ำสุดประมาณ 4% ดังนั้นหากปัญหาของสหรัฐคล้ายคลึงกับปัญหาในอดีตที่นักวิชาการทั้งสองนำเสนอ ก็เป็นไปได้ว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นไปถึง 11% มิใช่ 7-8% ที่กำลังคาดการณ์กันในขณะนี้ ทีมเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโอบามาประเมินว่าอัตราการว่างงานจะขยับขึ้นไปที่ 8.8% ในปลายปี 2010 แต่เนื่องจากรัฐบาลนายโอบามาจะผลักดันนโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ (โดยมีรายจ่ายทั้งสิ้น 770,000 ล้านเหรียญ) ซึ่งจะสามารถทำให้อัตราการว่างงานขยับลงเหลือ 7.0% ในช่วงดังกล่าว
ประเด็นที่สำคัญอีก 2 ประเด็นคือ การที่นักวิจัยทั้งสองพบว่าวิกฤติสถาบันการเงินนั้นมีความยืดเยื้ออย่างมาก แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว เมื่อเผชิญกับวิกฤติสถาบันการเงินก็จะต้องใช้เวลานานถึง 7 ปี กว่าจะแก้ไขสถานการณ์และกลับสู่สภาวะปกติ ในกรณีของประเทศกำลังพัฒนานั้น ปัญหาอาจยืดเยื้อได้นานถึง 8-10 ปี ในกรณีของประเทศไทยนั้นกว่าธนาคารจะจัดการกับปัญหาหนี้เสีย ควบรวมกิจการและเพิ่มทุนอย่างเพียงพอได้ทั้งระบบ ก็ต้องใช้เวลา 8-9 ปี โดยในระหว่างนั้นเศรษฐกิจโดยรวมก็ต้องเผชิญกับปัญหาที่สถาบันการเงินไม่ขยายสินเชื่อ ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า
ประเด็นที่สองคือผลกระทบที่รุนแรงต่อภาครัฐ เพราะในประเทศที่ต้องเผชิญกับวิกฤติสถาบันการเงินนั้น หนี้ของรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยถึง 86% ทั้งนี้ภาวะส่วนใหญ่มิได้เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือสถาบันการเงิน แต่เป็นผลมาจากการหดตัวอย่างรุนแรงของรายได้ของภาครัฐ กล่าวคือภาษีลดลงอย่างมากเมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะถดถอยพร้อมไปกับความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มรายจ่ายของภาครัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ดีการเร่งนโยบายการคลังของภาครัฐดังกล่าวข้างต้นก็ยังไม่สามารถบรรเทาปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจได้มากนัก
ที่มาของบทความ :: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552