หน้า 4 จากทั้งหมด 8

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 4:49 pm
โดย imerlot
เมื่อวาน
aus คง ดบ นโนบาย 3%
http://www.rba.gov.au/media-releases/2013/mr-13-01.html
Statement by Glenn Stevens, Governor: Monetary Policy Decision

At its meeting today, the Board decided to leave the cash rate unchanged at 3.0 per cent.
...
During 2012, there was a significant easing in monetary policy. Though the full impact of this will still take further time to become apparent, there are signs that the easier conditions are having some of the expected effects: the demand for some categories of consumer durables has picked up; housing prices have moved higher; there are early indications of a pick-up in dwelling construction; and savers are starting to shift portfolios towards assets offering higher expected returns.
เลยลองดู อัตรา แลกเป,ี่ยน aus
เทียบกับ 5 ประเทศดู
http://finance.yahoo.com/q/bc?t=3m&s=AU ... d%3Dx&ql=1
รูปภาพ


...

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 5:03 pm
โดย imerlot
บ่ายนี้ ฟัง คนเก่งของไทย
ดร. กอบศักดิ์ ใน Hard Topic Money Channel ควรดู
ชอบมาก แต่หา link video ไม่เจอ
เลย อากู๋ google
เจอ
อันนี้..
ว่า จะทำแต่ link ไป เดี๋ยว ไม่อ่าน
แปะไว้ เลยดีกว่า
http://www.kobsak.com/
February 4, 2013
Posted by KOBSAK (ADMIN)
มาตรการตะกุยน้ำ รับมือเงินไหลเข้า

ช่วงนี้ ประเด็นเรื่องเงินไหลเข้ากำลังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ขอนำสิ่งที่ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อ 2 ปีที่แล้วมาฝากครับ

มาตรการ “ตะกุยน้ำ” จาก ประชาชาติธุรกิจ

ในมุมมองของ ดร.กอบศักดิ์ไม่มีใครฟันธงได้ว่า เงินบาทจะไปอยู่ตรงไหน แต่สามารถดูได้ว่าเงื่อนไขอื่น โดยเฉพาะจากเงินดอลลาร์ว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งตอนนี้ชัดเจนว่า ดอลลาร์อ่อนค่าแน่ เพราะปัญหาในสหรัฐยังไม่จบ และเมื่อเงินหยวนแข็งค่า เงินเอเชียแข็งค่า และเงินทุนก็ไหลเข้า รวมกันแล้วทิศทางที่บาทจะอ่อน ไม่ง่าย และตอนนี้ที่แข็งไปพร้อมกันทั้งภูมิภาคก็ยิ่งยากที่จะดูว่า บาทจะแข็งไปถึงระดับใด

“ถ้าเรารู้ว่าดอลลาร์ไปทางไหน ก็จะรู้ว่าบาทจะเป็นอย่างไร” ดร.กอบศักดิ์ตั้งข้อสังเกตไว้ แต่ขณะเดียวกันก็เตือนว่า อย่าไปกังวลเรื่องตัวเลข เพราะตอนนี้เห็นแล้วว่า ดอลลาร์จะอ่อน และจะส่งผลถึงประเทศไทย ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ในขณะนี้คือ ประวิงเวลาให้ ผู้ส่งออกปรับตัวได้

“คำถามว่าจะใช้กระสอบทรายไหนที่จะมาช่วยต้านกระแสเงินที่จะไหลเข้ามา จริง ๆ เรื่องนี้น่าสนใจ ผมว่าเราต้องกลับมานั่งคิดว่า ปัญหาครั้งนี้คือปัญหาอะไร ถ้ามันคือปัญหาน้ำท่วม ท่วมเยอะ หรือท่วม 1-2 วันลด วิธีการดีลกับปัญหามันจะแตกต่างกัน”

แต่รอบนี้มันท่วมเยอะและนาน ปัญหาที่ตามมามี 3 อย่าง คือ ปัญหาค่าเงิน ปัญหาฟองสบู่ และความเปราะบางที่จะเกิดขึ้นกับภาคธนาคาร ซึ่งเราต้องคิดว่าเราจะทำอะไรกับปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ได้บ้าง

สิ่งแรกที่เราจะต้องเข้าใจคือครั้งนี้มันคงยากที่จะฝืน ถ้าเข้าใจจุดนี้ผิด มาตรการก็จะผิด เหมือนติดกระดุมผิดมันก็ผิดทั้งหมด มันจะแก้ปัญหายาก ปัญหาครั้งนี้มันมาจากดอลลาร์เสื่อมค่า ต่อให้ทำยังไงเงินบาทก็ไม่กลับไปเหมือนเดิม ต้องเข้าใจตรงนี้ก่อน ไม่เช่นนั้นจะเรียกร้องผิดและใช้เวลากับสิ่งที่ผิด

ตะกุยน้ำให้อยู่รอด

ต่อจากนี้สิ่งที่ต้องทำต่อไปจึงไม่ใช่ตั้งกระสอบทราย แต่ต้องตะกุยน้ำ เรียนรู้ว่าน้ำมาแล้วท่วมแน่ แต่จะตะกุยให้ลอยคอให้อยู่ได้อีก 2 ปี ต่อจากนี้ได้อย่างไร ซึ่งมันมีทางออก 3-4 ประเด็น ที่เราทำได้

ประการแรก คือ ซื้อเวลา โดยมีมาตรการดูแลค่าเงิน แต่มาตรการที่จะออกมาคือดูแลให้อยู่ได้อย่างไรแม้เงินบาทจะแข็ง ผู้ส่งออก สภาอุตฯก็ต้องเรียกร้องลักษณะว่า เงินบาทแข็งได้นะ แต่อย่าเร็วเกินไป เมื่อตกลงกันได้แล้วก็ไปทำนโยบาย

“ส่วนที่มีเสียงเรียกร้องว่าฝืนได้ไหม ถ้าประเทศอื่นผมว่าเรียกร้องได้ แต่ประเทศไทยเราทำมาหมดแล้ว มาตรการสั่งให้อยู่เกิน 6 เดือนก็สั่งมาแล้ว สั่งห้ามฝากก็สั่งแล้ว สารพัดอย่าง แม้กระทั่งไปยึดเงินเขามา 30% ก็ทำมาแล้ว และบทเรียนคือทำแล้ว ค่าเงิน ก็ยังแข็งภายใต้มาตรการดังกล่าว เพราะปัญหามาจากดอลลาร์เสื่อมค่า”

นี่จึงเป็นที่มาว่า มาตรการเหล่านี้ช่วยชั่วคราวและจำกัด ทำไปอย่าไปหวังพึ่ง และอย่าไปฝืนตลาดมากนัก

ประการที่ 2 สร้างดีมานด์ในประเทศ เพราะมาตรการดูแลค่าเงินต้นทุนแพงมาก ระหว่างซื้อเวลา ต้องเอาเวลาเหล่านั้นไปทำสิ่งต่าง ๆ ที่จะมาทดแทนให้เราอยู่รอดได้ เช่น กระตุ้นการลงทุนในประเทศมากขึ้น อาทิ ในโครงสร้างพื้นฐาน หรือตอนนี้เราก็ส่งออกในเอเชียประมาณ 60-70% ถ้าส่งออกมากขึ้น เราจะผ่าน 2-3 ปีข้างหน้าไปได้

ประการที่ 3 ที่ต้องทำหลังจากซื้อเวลาไปแล้วคือปรับตัว คือมาตรการตะกุยน้ำ นอกจากรัฐบาลแล้ว เอกชนก็ต้องตะกุย ช่วยตัวเอง ผมได้คุยกับประธานสภาอุตสาหกรรมฯ บอกว่า ตอนนี้กำลังหาสมาชิกที่ปรับตัวเก่ง ๆ แล้วจะเขียนคู่มือและส่งให้สมาชิกทุกคน ว่าตอนน้ำท่วมฉันจะตะกุยน้ำอย่างไร

ประการที่ 4 ปรับกรอบนโยบายเศรษฐกิจให้เอื้อกับการปรับตัวในยุคค่าเงินแข็ง ถ้าแนวคิดตั้งต้นยอมรับว่า ครั้งนี้จะเป็นความท้าทายที่ยาวนาน การคิดที่ถูกต้อง ผมว่าสำคัญมากเลย ถ้าคิดผิดตั้งแต่ต้นว่าฝืนได้ มาตรการก็ผิดไปด้วย

รัฐบาลก็ต้องมานั่งคิดในเรื่อง เช่น ให้เงินบาทไปลงทุนต่างประเทศได้ดีขึ้น คนไทยไปลงทุนต่างประเทศได้ดีขึ้น คิดเรื่องการปรับแรงงานให้ออกจากเซ็กเตอร์ที่ตกงานไปที่มีงานทำ นี่คือมาตรการปรับตัว ตะกุยน้ำ ตัวอย่างที่ดี ญี่ปุ่นเคยอยู่ 300 เยน/ ดอลลาร์ และมาอยู่ 124 เยน/ดอลลาร์ ในไม่กี่ปีให้หลัง ก็ยังอยู่ได้ หน้าที่เราคือไปเรียนรู้ว่าเขาอยู่รอดกันมากได้อย่างไร และนำมาตรการที่เขานำมาทำกับคนไทย

ประการสุดท้าย ที่สำคัญคือต้องดูแลภาคธนาคารให้ดี เช่น การทำ Macro Prudential ที่เงินไหลเข้าไปตรงไหนก็ให้ห้ามเป็น จุด ๆ เก็บกวาดตรงนั้น เพราะสุดท้ายโจทย์ทั้งหมดอยู่ที่ว่าเรา ทำภาคธนาคารให้เข้มแข็งอยู่ได้หรือไม่

นี่คือตัวอย่างว่า ไม่ใช่มีเงินไหลเข้ามาแล้วจะต้องเกิดวิกฤต แต่มันเป็นโจทย์ว่าเราจะบริหารเงินไหลเข้าอย่างไรไม่ให้สร้างความลำบาก ไม่ให้น้ำที่ขังอยู่ “เน่า” ถ้าทำได้จะดีตั้งแต่มาตรการแรก ซื้อเวลา ถัดมาซื้อห่วงยางให้ลอยคออยู่ได้ สุดท้ายคือทำอย่างไรที่ทำให้น้ำนั้นไม่นำไปสู่สิ่งเน่าเสียในระบบ นี่คือมาตการตะกุยน้ำ ถ้าเตรียมการดี เราจะผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้

…..

จึงเป็นโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้เราผ่านพ้นความผันผวนดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
:bow: :bow: :bow:

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 5:06 pm
โดย imerlot
มาตรการตะกุยน้ำ รับมือเงินไหลเข้า
http://www.kobsak.com/?p=5884

การดูแลเงินทุนไหลเข้าและอนาคตเศรษฐกิจไทย
http://www.kobsak.com/?p=4707


.

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 5:28 pm
โดย imerlot
อันนี้ เกี่ยวกับ supply chains ..

Yen Slide Against Baht a Boon for Thai Carmakers: Southeast Asia
Yumi Teso and Lilian KarununganFeb 04, 2013 10:50 pm ET
http://washpost.bloomberg.com/Story?doc ... G2QF005O32
“The depreciation of the yen definitely is a drag on the ability of other Asian currencies to appreciate,” Ramin Toloui, global co-head of emerging markets portfolio management at Pacific Investment Management Co., which oversees the world’s largest bond fund, said in a Jan. 30 interview in Singapore. “Certain countries that are part of the production chains into Japan may be in a more beneficial position than countries that are direct competitors.”
..

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 10:35 pm
โดย miracle
สิ่งที่รัฐออกมากดดันแต่บอกไม่หมดว่าทำไมลดดอกเบี้ย
ประกาศแรกคือเรื่อวขาดดุลงยประมาณ. กู้วันนี้คือ ใช้เงินล่วงหน้าในอนาคต
ประกาศที่สอง กู้เพื่อให้เกิดการขยายตัวของ GDP
ตามหลักการของแคนเซียน นั้นเอง
มีเจอวิกฤติ รัฐก็ออกโรงมาแก้ไข โดยการใช้จ่ายภาครัฐ
ประการที่สามคือ การลดภาษีของนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา
ทำให้เงินในมือประชาชนมากชึ้น เงินก็หมุนในระบบมากขึ้น
หากขึ้นดอกเบี้ยหรือยังคับให้ธนาคารที RR ที่สูงก็ทำให้ขบวนการสร้าฃเงินจากกลไกของธนาคารลดลงไป
ประการต่อมา รัฐบาลขาดดุลก็กู้เพิ่ม ยิ่งกู้เพิ่มก็เท่ากับแย่งเงินกับภาคเอกชนที่ค้องการกู้
มันจะเกิดงูกินหางหรือเปล่า
ลองคิดเป็นการบ้านดูครับ
:)

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2013 12:11 am
โดย nut776
http://www.moneychannel.co.th/0Live_0/p ... p?listid=5
เลือกวันที่
6/2/2013
อีกหนึ่งมุมมอง

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2013 2:08 am
โดย anubist
ถ้าธปท.ออกมาอธิบายให้ละเอียดแบบดร.กอบศักดิ์ตั้งแต่แรก
ผมว่าจะไม่เกิดกระแสแรงขนาดนี้


โดยส่วนตัวผมเชื่อถือดร.กอบศักดิ์มากๆครับ
เนื่องจากดร.กอบเป็นลูกหม้อธปท. ได้ทุนธปท.และเคยรับตำแหน่งในธปท.
ในขณะเดียวกันก็ทำงานในภาคเอกชนด้วย
ฉนั้นดร.กอบจะเข้าใจทั้งธปท.และภาคเอกชน
และจากการที่ติดตามดร.กอบมา
ดร.กอบมีความเป็นนักวิชาการสูงครับ
อธิบายเรื่องต่างๆตามหลักวิชาการ ไม่อิงการเมืองหรือเอนเอียงตามต้นสังกัด

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2013 6:57 am
โดย pakhakorn
อ่านตามมาตราการตระกุยน้ำ ที่ดร.กอบศักดิ์

เราต้องการการลงทุนจากภายในประเทศให้เป็นตัวขับเคลื่อน ให้สัดส่วนส่งออกและภานในต่างกันน้อยลง
การลดต้นทุนทางการเงินของประเทศผมจึงเห็นยิ่งเป็นตัวเสรมในระยะยาวเสียด้วย
ผลดีไม่ใช่แค่โครงการใหญ่ๆที่รัฐบาลกำลังจะทำ แต่รวมถึงเอกชนทั้งหมดภายในประเทศด้วย ให้ถึงระดับSMEเล็กๆในระยะยาวเลย ซึ่งลดดอกเบี้ยนโยบายต้องพยายามทำให้มากๆ

แล้วในจังหวะต่อมาเมื่อดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น มันก็ต้องขึ้นตามธรรมชาติของมันอยู่แล้ว
แล้วถ้าจุดกลับตัวอยู่ที่ระดับ 2.75% กับต่ำกว่านี้อีกสัก 1% หรือมากกว่า
ผมว่ากรณีหลังช่วยต่ออายุ หรือถ่วงเวลา ให้ธุรกิจภายในประเทศมีเวลาปรับได้มากขึ้น
เมื่อต้นทุนการเงินที่ลดลง มันก็เหมือนที่ว่า คุณต้องตระกุยน้ำลอยคออยู่ให้ได้ 2 ปี

ถามว่า ตระกุยน้ำลอยคออยู่เป็นเวลานาน คุณยังต้องแบกหินอยู่ด้วย(ต้นทุนทางการเงินของประเทศ)
โอกาสความอยู่รอดหรือลอยคอคุณยิ่งลดลง เมื่อคุณต้องลอยคอ คุณก็ควรลดสิ่งที่แบกแล้วไม่ก่อประโยชน์ให้ลดลง

ธปท. ไม่ลดลงดอกเบี้ย ก็ไม่ต่างอะไรกับให้ลอยคอตระกุยน้ำแล้วยังให้แบกหินก้อนใหญ่อีก
ฉะนั้นโอกาสของจำนวนผู้อยู่รอดหลังลอยคอตระกุยน้ำยิ่งลดลง คราวเคราะห์พวกตายก็ระดับSMEอีก

การลดต้นทุนทางการเงินประเทศ จึงมีความสำคัญและเป็นจังหวะเหมาะที่ทำได้ในภาวะเงินท่วมโลก
หากอยู่ในภาวะปกติ อยากทำก็ทำได้ยากมาก ใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์ ปละประโยชน์ในระยะยาวด้วย
ช่วยเสริมความสามารถระดับในการแข่งขันของประเทศด้วย

กลัวฟองสบู่ มันจะเป็นฟองสบู่ ก็ต่อเมื่อมันเติบโตเกินไป ในจุดที่เราไม่ต้องการแล้ว
สิ่งที่ควรทำ ใกล้จุดนั้นก็ออกมาตราการที่จุดนั้นเพิ่ม หรืออื่นๆอีกได้

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2013 11:17 am
โดย pakhakorn
ประเทศผมทำไม? ต้องแบกต้นทุนทางเงินที่คงสูงไว้
ทั้งที่มีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยและส่งเสริมให้ลดลงได้

ธปท. จ่ายดอกเี้บี้ยพันธบัตร ส่วนต่าง เช่น อาจจะ 1% ของยอดจำนวนล้านล้านบาท มันก้อนโตมาก นะ ครับ
ถ้าเราลดได้ทำไม? ไม่ลดลง
แล้วส่วนที่จ่ายเพิ่มมากกว่าที่ควรจะเป็น ใครผู้ได้ประโยชน์?

ผมอยู่ในประเทศ ต้องมีต้นทุนทางการเงินสูงคงเดิม ทั้งที่อยู่ในสภาพที่ควรจะลดลงได้
แล้ว ธปท.ของประเทศผม ยังไปจ่ายดอกมากกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งที่ควรลดได้ แต่ไม่ยอมลด (จ่ายมากกว่าควรที่จะเป็น ถ้าในงานประมูลงานรัฐทั่วๆไป ต้องถูกสงสัยว่า มีการทุจริตเกิดขึ้นหรือเปล่า) เงิน ธปท. ที่จ่ายมากเกิน ความจำเป็น มันก็สมบัติของชาติ หรือเงินของประชาชนทุกคนที่ต้องเฉลี่ยรับผิดชอบด้วย

อยากให้ ธปท. หรือ ผู้ที่พออธิบายได้ มาช่วยให้คำอธิบาย เปิดมุมมอง ความคิด ให้ผมเห็นทีว่า

1. ทำไมประเทศผมยังต้องมีต้นทุนการเงินที่สูง ทั้งที่ควรจะลดลงได้
2. ทำไมต้องยอมให้ ธปท.จ่ายดอกมากกว่า ที่ควรเป็น ทั้งควรจะลดลงได้
3. แล้วจาก ข้อ 1. และ ข้อ 2. ใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์มากสุด ประชาชนทั่วไป และ SME อยู่ลำดับที่เท่าไร

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2013 11:24 pm
โดย miracle
pakhakorn เขียน:
อยากให้ ธปท. หรือ ผู้ที่พออธิบายได้ มาช่วยให้คำอธิบาย เปิดมุมมอง ความคิด ให้ผมเห็นทีว่า

1. ทำไมประเทศผมยังต้องมีต้นทุนการเงินที่สูง ทั้งที่ควรจะลดลงได้
2. ทำไมต้องยอมให้ ธปท.จ่ายดอกมากกว่า ที่ควรเป็น ทั้งควรจะลดลงได้
3. แล้วจาก ข้อ 1. และ ข้อ 2. ใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์มากสุด ประชาชนทั่วไป และ SME อยู่ลำดับที่เท่าไร
จริงหรือครับ คำถามหน่อยนี้
ถามหน่อยว่า ถ้าหากไม่ย้ายหนี้สาธารณะของกองทุนฟื้นฟูให้ ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแล
หนี้สาธารณะเป็นเท่าไรครับ (เหมือนการซุกหนี้จากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา ซึ่งอันนี้บริษัทจัดเครดิตระดับโลกก็ไม่ยอมเพิ่มเครดิตให้เพราะประเด็นนี้แถมตอกหน้าหงายกลับอีกต่างหากว่า ยูซุกจากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา)
คำถามต่อเนื่องว่า ถ้าหากลดดอกเบี้ยลง แล้วเงินไหลเข้าอยู่ดีหรือไม่
ตอบเลยว่า ก็ไหลเข้า เพราะต่างชาติ ส่วนหนึ่งผมเป็นภาพใหญ่ ภูิมิภาคเอเชียสามารถยืนด้วยลำแข้งตัวเองได้
GDP ก็โต ไม่มีปัญหาเรื่องหนี้สินภาครัฐ เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของโลก ดังนั้นไม่มาลงทุนก็บ้าแล้ว
ถ้าหากลดดอกเบี้ยในตอนนี้ โครงการที่เป็นไปไม่ได้ก็เกิดขึ้น แต่เมื่อใดที่ขึ้นดอกเบี้ยเมื่อนั้น ก็จะทำให้ตอที่อยู่ใต้น้ำผุดขึ้นมา

อีกอย่างประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแบบระบบปิด คือ Export - Import ประมาณ 60-80% ของ GDP รวม เมื่อใดที่ยอดการส่งออกลดลง เมื่อนั้น GDP ของเราลดลง
แก้ไขอย่างก็ เพิ่มการใช้จ่ายในประเทศ มากขึ้น แต่ระวังว่าทำอย่างไงให้เกิดดุลยภาพเพิ่มค่าใช้จ่ายในประเทศของคนในประเทศ กับดุลยภาพภาพนอกคือ Balance of Payment (Balance of Payment คือเส้น BP ในเศรษฐกิจระบบเปิด) เมื่ออะไรที่ลดลง หรือ เพิ่มขึ้นก็เข้าสู่ดุลยภาพใหม่เกิดขึ้น แต่เมื่อมันเกิดการบิดเบือนมันก็ทำให้ระบบเดินเป้ได้เหมือนกัน

กลับไปมองย้อนในอดีต ไม่ใช่ว่าเหตุการณ์แบบนี้ไม่เคยเกิด เรียกร้องให้ ปธท ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
จำได้ว่าเกิดเป็นช่วง แต่เหตุผลที่ไม่ได้ลดอัตราดอกเบี้ย คือ เงินเฟ้อภายในประเทศ
ซึ่งธปท นั้นมีเป้าหมายอยู่สามระดับ แต่ละระดับใช้เครื่องมือควบคุมแตกต่างกัน และเป้าหมายแตกต่างกันด้วย
แต่ภาพเล็กจะสะท้อนภาพใหญ่เสมอ

มองในมุมมองนักการเมือง ขอให้ตอนที่ฉันอยู่ GDP โต และเศรษฐกิจดีก็พอ อนาคตเป็นไงก็ช่าง แต่สมัยของฉันเป็นต้องเติบโต เศรษฐกิจดีเท่านั้นพอ แต่ธปท ไม่ใช่แบบนั้น ธปท ให้ประเทศเดินไปได้ ไม่ใช่แค่สมัยของฉันเท่านั้น แต่ทุกๆสมัย

ดังนั้น คำถามที่ถามว่า ควรย้อนกลับไปว่า คำถามของฝ่ายกระทรวงการคลังก็ดี หรือ ธปท ตอบก็ดีนั้น
คำถามนั้นถามหมดสิ้นกระบวนความหรือยัง และตอบทุกกระบวนความและทุกด้านหรือยัง

เล่นไล่แค่ด้านของแรงงานที่เพิ่มขึ้นทำให้อุตสาหกรรมอยู่ไม่ได้
ค่าเงินบาทแข็งทำให้ส่งออกไม่ได้
ดอกเบี้ยสูงทำให้ต้นทุนสูง
แล้วมองบ้างไหมว่า มองกลับไปว่า
ค่าแรงที่ผู้ใช้แรงงานได้เหมาะสมหรือ
กำไรของกิจการเหล่านั้นยังคงดีหรือไม่
กิจการเหล่านั้นแข่งขันได้หรือไม่

มีอยู่คำคือ
"ถ้าอุตสาหกรรมใดแข็งแกร่ง จงทำให้มันอ่อนแอ
อุตสาหกรรมใดที่แข็งแรง จงเก็บภาษี
แต่เมื่อใดที่อ่อนแอสู้คนอื่นๆไม่ได้ จงช่วยมัน"

เฝ้าให้คิดครับ ให้อ่านมากๆ มองอะไรมองให้ขาด ว่าเรื่องเหล่านี้คือ มีผลประโยชน์อะไรซ่อนอยู่
อาจจะมีคนที่ short อัตราดอกเบี้ยล่วงหน้าไว้ก็ได้ว่ามันจะลง ก็เป็นไปได้
เหมือนเมื่อก่อนที่ทุกคนเจ็บตัวจากอัตราแลกเปลี่ยนแต่มีคนกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์ไปเต็มๆ จากการลงค่าเงิน
จนถึงปัจจุบันคำตอบเรื่องนี้ก็ยังไม่กระจ่างว่ารอดได้ไง
:)

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 12:11 am
โดย ayethebing
สารภาพว่าแรกๆ ฟังคุณ miracle ไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่ post ล่าสุดนี้โดนใจมากครับ

อีกประเด็นคือมุมมองของ BOT (ผู้ร้ายในสายตาของหลายๆ คน) คือไม่ได้มองกำไรของตัวเอง แต่มองเศรษฐกิจภาพรวมมากกว่า ยอมออกพันธบัตรดูดซับสภาพคล่องและซื้อเงินดอลลาร์ด้วยเงินบาทเพื่อพยุงค่าเงินไม่ให้การส่งออกแย่เพราะ GDP ของไทยขึ้นอยู่กับส่งออกสูง แน่นอนการสู้กับการแข็งค่าของเงินบาท ไม่สามารถทำได้นาน เพราะทำได้นานก็จะเป็นเหมือนต้มยำกุ้ง ดังนั้น แบงก์ชาติได้แต่พยุงไว้ ด้วยแนวคิดอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการบริหารจัดการ ครั้นจะลดดอกเบี้ย ตามตำราของแบงก์ชาติทุกประเทศทั่วโลกไม่ว่าสมัยไหน ก็กลัวเรื่องเงินเฟ้อ ขณะที่กระทรวงการคลังกับรัฐบาล ไม่ทำอะไรในนโยบายการคลังที่เป็นการลดเงินเฟ้อเลย มีแต่จะทำให้เพิ่ม (อันนั้นแรก อันโน้นแรก งบขาดดุลมหาศาล กู้เงินจำนวนมาก)

ดร. โกร่งบอกแบงก์ชาติทำงานแบบโบราณ สมัยใหม่ของดร.โกร่งคือลดดอกเบี้ยโลด เงินบาทกำลังมีเสถียรภาพ (เสถียรภาพยังไงเนี่ย!!!!) เพราะฉะนั้นแบงก์ชาติต้องลดขาดทุนสะสม (ซึ่งส่วนนึงมากจากสมัยต้มยำกุ้ง) ซึ่งผมเห็นด้วยกับการลดขาดทุนสะสม แต่แบงก์ชาติก็ไม่อาจละเลยในเรื่องการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนให้เหมาะสมได้เช่นกัน (ยกเว้นถ้าดร.โกร่งจะมีคาถาเสกให้ export ดีขึ้นเมื่อค่าเงินแข็งค่า)

ตอนนี้ทางเลือกของประเทศนี้มีอย่างเดียวคือการลดดอกเบี้ยนโยบายจริงๆ หรือ ถ้าเราเพิ่ม transaction tax ในการที่เงินจะเข้ามาลงทุนในตราสารเงิน เพิ่ม capital gain tax สำหรับตลาดหุ้น เข้มงวดกับการซื้ออนุพันธ์อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าที่ไม่ได้ขึ้นรายการจริง จะได้ผลตรงโรคกับ hot money มากกว่ามั้ยครับ

กล้ามั้ยครับ รัฐบาล

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 2:46 am
โดย miracle
ถ้าประเด็นแก้ไข hot money โดยไม่บดอัตราดอกเบี้ย
ธปท เคยงัดนโยบาย แยกตลาด onshore กับ offshore ออกจากกัน
หรือมาตราการ 30%
พอประกาศปุ๊บวันรุ่งขึ้น หุ้นร่วงเทกระจาด ทำ เซอร์กิต เบรกเกอร์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ลงไปสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ภายใน 1 วัน
หรือมาตราการ หม่อมอุ๋ย แอฟแฟ็ก (เรียกตามพี่คนหนึ่ง)
อันนี้ที่ทำอ้างว่าช่วย ส่งออก แต่เบื้องหลังที่ไม่บอกคือ
ก่อนหน้านั้น ถ้าใครไปดู Yield curve ที่ www.thaibma.or.th
มีเงินไหลเข้าไปซื้อ bond ระยะเวลา 1-2 ปี จนกดผลตอบแทนลดลงต่ำมากๆ
ซึ่งตามธรรมชาติดอกเบี้ยให้ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น เมื่อระยะเวลาเพิ่มขึ้น (อันนี้นานเกิดที)
จึงเกิดกาีเกร็งกำไรในตลาดตราสารหนี้ ประกอบกับค่าเงินบาทแข็งแตะ 30 บาทจะลงต่อที่ 29 บาทต่อดอลล่าร์
เลยออกมาตราการขั้นต้นออกมา

ผลคือ ตลาดตราสารทุนเทกระจาด จึงต้องลดมาตราการลง

ดังนั้น เครื่องมือเขามีอยู่ แต่ออกมากดดันแบบเปิดเผย แบบนี้ เพื่ออะไร

ถ้าหากมองเหตุการณ์ย้อนไปถึงกรณีของทองของหลวงตาบัว
กองทุนทองคำช่วยชาติ. คนที่ออกมากดดันก็เป็นหัวหอกในการเรียกร้องเอาทองคำส่วนนี้ไปลงทุน
แทนที่เก็บไว้เสริมกำลังตอนวิกฤติเกิดขึ้น. จนเกิดการต่อต้านในแวดวงสังคม

นักลงทุน จึงควรที่ ศึกษาอดีต. เพื่อเอาอดีตมาเทียบกับปัจจุบันที่เกิด
เพราะปัจจุบันมันย้อนรอยอดีตเสมอมา
:)

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 5:28 am
โดย pakhakorn
ขอบคุณ คุณ miracle และ คุณ ayethebing ที่ตามตอบคำถาม
และขอบอกก่อนว่า ผมไม่ใช่ผู้ที่เรียนจบด้านเศรษฐศาสตร์ บัญชี หรือการเงินการธนาคาร
การเขียนการถามอาจบ้านๆ ไม่รู้ว่า จะเป็นคนไม่รู้ ยังกล้ามาสอบถาม มากเกินไปหรือเปล่า?
แต่เชื่อว่า ระดับผมอาจใกล้ชาวบ้านทั่วไป ที่อยากรู้ ครับ

ผมขอสารภาพก่อนว่าที่คุณ miracle ตอบผมยังไม่ค่อยเข้าใจอยู่หลายๆเรื่อง แต่รับรู้จากการตอบ น่าจะรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ดี อาจเป็นเพราะผมพื้นฐานไม่พอแบบที่ว่าจริง ๆ ขอบคุณ ครับที่แนะนำ และหากไม่ว่าอะไรก็ขอสนทนาต่อ แบบว่า ด้านได้อายอด(ความรู้)

เรื่องดอกเบี้ยนโยบายผมเห็นด้วยอยู่แล้ว สองเรื่องคือไม่มีความแน่นอนในการหวังผล เพื่อแก้ปัญหาเงินเงินไหลเข้าจากเงินท่วมโลกและกรณีค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่า และเพิ่มอีกเรื่องคือ กรณี ธปท. ผมไม่ว่าและไม่คิดว่าเป็นผู้ร้าย ส่วนตัวชอบ ท่านผู้ว่า อยู่ นะ ครับ แต่ความคิดบางเรื่องอาจเห็นต่างอยู่ ดูจากที่ที่ผมเขียนไว้ก่อนหน้าได้

เพื่อให้เข้าใจในเบื้องหลังคำถามผม สรุปง่ายว่า หากวันนี้ สมมติ ผมกำหนดให้ดอกเบี้ยนโยบาย อยู่ที่ 1.5% หรือ 2% ก็ได้ แล้วให้ ธปท.บริหารต่อตามกลไกและเครื่องมือที่เคยใช้อยู่ ผมอยากรู้ ธปท. จะสามารถบริหารต่อไปได้หรือเปล่า ( หรือ ลืมเรื่อง 2.75%ไป แล้วคิดเสียว่า มันคือ 1.5% หรือ 2% ) ส่วนที่ว่า มันมาตัวเลขนี้ได้อย่างไร ไม่ต้องคิด คิดแค่ว่าวันนี้เข้ามาดูแลและรับผิดชอบก็เจอตัวเลขนี้แล้ว จะยังทำงานต่อไปได้ ไหวไหม?

เป้าหมายผมคือ ต้องการย้ายฐานตัวเลขให้มันต่ำลงๆ แล้วเมื่อตัวเลขไปที่ฐานที่ต้องการแล้ว ก็ใช้กลไกเดิมหรือหลักการเดิมบริหารต่อ ซึ่งขั้นตอน วิธีการ จังหวะ การเปลี่ยนฐาน งดถกเถียงก่อน ถ้าเห็นตรงกันว่า ย้ายได้ เราค่อยคุยหรือถกเถียงกันเรื่องขั้นตอนหรือความยุ่งยากระหว่างเปลี่ยนผ่านจะต้องทำอย่างไร?

ขอบคุณ ครับ

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 9:12 am
โดย miracle
ผมเองก็ไม่เก่งอะไรครับ
แต่ผมขยันจดจำสิ่งที่เป็นอดีต แล้วรอคนที่มีความรู้มาตอบคำถามเหล่านี้
ผมเองจำได้ว่า เป้าหมายของ ธปท มีสามข้อแต่ผมจำได้สองคือ
1 เงินเฟ้อ 2 อัตราแลกเปลี่ยน 3 อันนี้ผมลืม
ทั้ง3 ตัว นี้อย่างเก่งสุดทำได้แค่ 2 อีกอันทำไม่ได้ เพราะ ทั้งสามเป้าหมาย
ทันทีกลไกที่ส่งผ่านเกิดการขัดแย้งกันอยู่ในตัว ทำให้ทั้งสามเป้าหมายไม่บรรลุพร้อมกัน
อย่างเก่งก็ 2 แบบพอรับได้คือ 1 ตัว

คำถามที่ว่า ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย. เป็นคำถามกดดันกนง
แต่ส่งมาทาง ธปท เพราะเสียง ของกนง มาจากแบงค์ชาติ 3 เสียงถ้าหากจำไม่ผิด
คำถามดังกล่าวเป็นการโยนหินถามทางเลยว่า ใครมีตวามคิดอย่างไง
สิ่งที่ กนง ทำคือ สิ่งที่คาดเดาไม่ได้ ถ้าคาดเดาได้ คนที่เดาถูกกำไรมหาศาล
:)

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 9:48 am
โดย yoko
เพราะที่นี่คือปรเทศสารขันธ์ การทำวานจึงเป็นแบบไปคนละทาง
ตร โกร่งเป็นประธานบอร์ด วางแนวนโยบาย
ดร ประสารเป็นผู้ว่าธปท นำไปบริหารและดำเนินการ
ถ้าเขาทั้งสองมีความเห็นไม่ตรงกัน เขาต้องพูดคุยกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน
ถ้ายังมีความเห็นแย้งและไม่ยอมกัน
คนใดคนหนึ่งต้องออก556 556

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 9:50 am
โดย anubist
อยากทราบครับว่าดอกเบี้ยที่ลดลงมีผลให้มีการ"ปล่อยกู้"มากขึ้นจริงหรือ???
แน่นอนว่าดอกเบี้ยลด ใครก็อยากกู้ แต่ใช่ว่าทุกคนมีสิทธิ์กู้
คนที่กู้ผ่านต้องมีเครดิตดีในระดับหนึ่ง
ในขณะเดียวกัน คนที่จะกู้ก็ต้องรู้ว่าจะเอาเงินกู้ไปทำอะไร
มีผลกำไรคุ้มค่าพอกับความเสี่ยงรึเปล่า คงไม่มีใครกู้แล้วเอาเงินไปฝากออมทรัพย์เล่นๆ
และแม้ว่าธนาคารจะอยากปล่อยกู้ แต่ก็ติดที่การพิจารณาเครดิต
คงไม่มีการลดความเข้มในการพิจารณาเครดิตเพื่อให้ปล่อยกู้ได้มากๆหรอกมั้ง
หลังจากมีประสบการณ์กับวิกฤติ40แล้ว แม้ว่าอาจมีเคสหยวนๆบ้าง
แต่ไม่น่าจะมากจนเป็นนัยสำคัญ เพราะส่วนกลางเป็นคนพิจารณา
เกณฑ์ทั่วประเทศย่อมเหมือนๆกัน
ดอกเบี้ยถูกก็ใช้ว่าแบงค์จะปล่อยกู้ง่ายๆ ดูอย่างมะกัน
มีแต่carry trade แต่ไม่ค่อยมีการปล่อยกู้ลงทุนในreal sector

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 10:40 am
โดย imerlot
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น .. ในกระทู้นี้
เป็น ต.ย. หนึ่ง ของ Megatrends ที่กำลังเกิดขึ้นใน โลก ทุกๆประเทศ
เรียกว่า
Narrowing Knowledge Gap
and
Narrowing Information Gap

แปลไทยว่า
ความเหลื่อมล้ำของ การเข้าถึง ความรู้ และ ข้อมูล น้อยลง

ขยายความ แบบย่อๆ
ในสมัยก่อน คนมีความรู้มีน้อย ปัจจุบัน ความมีความรู้มีมากขึ้นมาก
สมัยก่อน ถ้า พูด ดบ. นโยบาย คนอาจจะ บอกว่า มันเกี่ยวอะไร กับเรา?

ในสมัยก่อนการเข้าถึงข้อมูล ทำได้โดย สื่ิอ ต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์(ไม่กี่ฉบับ) และ TV (ไม่กี่ช่อง)
ข้อมูลที่ เข้าถึง จึง ค่อนข้าง narrowband ไม่ใช่ broadband
แบบ โลก 3G ในปัจจุบัน

การเข้าถึงข้อมูลใน ปัจจุบันนั้น
1.ง่าย
2.เร็ว
3.ถูก
4.ตรวจสอบได้ง่าย

ทำให้ โลกเปลี่ยนไป ในทางดีขึ้น ครับ..

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 10:47 am
โดย imerlot
...
พอดี จะ แปะให้ ดู Trade Balance ของ 5 ประเทศ เทียบ กับ Exchange Rate
...
แต่ เผื่อ ...ความเข้าใจ
เลยขอ
ไปหา ข้อมูล พื้น มา share ก่อน
6 Factors That Influence Exchange Rates
http://www.investopedia.com/articles/ba ... z2KH5u68lZ
Determinants of Exchange Rates
Numerous factors determine exchange rates, and all are related to the trading relationship between two countries. Remember, exchange rates are relative, and are expressed as a comparison of the currencies of two countries. The following are some of the principal determinants of the exchange rate between two countries. Note that these factors are in no particular order; like many aspects of economics, the relative importance of these factors is subject to much debate.

1. Differentials in Inflation
As a general rule, a country with a consistently lower inflation rate exhibits a rising currency value, as its purchasing power increases relative to other currencies. During the last half of the twentieth century, the countries with low inflation included Japan, Germany and Switzerland, while the U.S. and Canada achieved low inflation only later. Those countries with higher inflation typically see depreciation in their currency in relation to the currencies of their trading partners. This is also usually accompanied by higher interest rates. (To learn more, see Cost-Push Inflation Versus Demand-Pull Inflation.)

2. Differentials in Interest Rates
Interest rates, inflation and exchange rates are all highly correlated. By manipulating interest rates, central banks exert influence over both inflation and exchange rates, and changing interest rates impact inflation and currency values. Higher interest rates offer lenders in an economy a higher return relative to other countries. Therefore, higher interest rates attract foreign capital and cause the exchange rate to rise. The impact of higher interest rates is mitigated, however, if inflation in the country is much higher than in others, or if additional factors serve to drive the currency down. The opposite relationship exists for decreasing interest rates - that is, lower interest rates tend to decrease exchange rates. (For further reading, see What Is Fiscal Policy?)

3. Current-Account Deficits
The current account is the balance of trade between a country and its trading partners, reflecting all payments between countries for goods, services, interest and dividends. A deficit in the current account shows the country is spending more on foreign trade than it is earning, and that it is borrowing capital from foreign sources to make up the deficit. In other words, the country requires more foreign currency than it receives through sales of exports, and it supplies more of its own currency than foreigners demand for its products. The excess demand for foreign currency lowers the country's exchange rate until domestic goods and services are cheap enough for foreigners, and foreign assets are too expensive to generate sales for domestic interests. (For more, see Understanding The Current Account In The Balance Of Payments.)

4. Public Debt
Countries will engage in large-scale deficit financing to pay for public sector projects and governmental funding. While such activity stimulates the domestic economy, nations with large public deficits and debts are less attractive to foreign investors. The reason? A large debt encourages inflation, and if inflation is high, the debt will be serviced and ultimately paid off with cheaper real dollars in the future.

In the worst case scenario, a government may print money to pay part of a large debt, but increasing the money supply inevitably causes inflation. Moreover, if a government is not able to service its deficit through domestic means (selling domestic bonds, increasing the money supply), then it must increase the supply of securities for sale to foreigners, thereby lowering their prices. Finally, a large debt may prove worrisome to foreigners if they believe the country risks defaulting on its obligations. Foreigners will be less willing to own securities denominated in that currency if the risk of default is great. For this reason, the country's debt rating (as determined by Moody's or Standard & Poor's, for example) is a crucial determinant of its exchange rate.

5. Terms of Trade
A ratio comparing export prices to import prices, the terms of trade is related to current accounts and the balance of payments. If the price of a country's exports rises by a greater rate than that of its imports, its terms of trade have favorably improved. Increasing terms of trade shows greater demand for the country's exports. This, in turn, results in rising revenues from exports, which provides increased demand for the country's currency (and an increase in the currency's value). If the price of exports rises by a smaller rate than that of its imports, the currency's value will decrease in relation to its trading partners.

6. Political Stability and Economic Performance
Foreign investors inevitably seek out stable countries with strong economic performance in which to invest their capital. A country with such positive attributes will draw investment funds away from other countries perceived to have more political and economic risk. Political turmoil, for example, can cause a loss of confidence in a currency and a movement of capital to the currencies of more stable countries.


Read more: http://www.investopedia.com/articles/ba ... z2KHARWB1q
:|

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 10:54 am
โดย imerlot
เอา 2 ประเทศ แรก ที่ ไป คนละ ด้าน ก่อน
ณ Jan2011-Feb2013

1. Japan
http://www.tradingeconomics.com/japan/balance-of-trade

รูปภาพ

..
2. German
http://www.tradingeconomics.com/germany ... e-of-trade
รูปภาพ


..
Exchange Rate (link ก่อนหน้า)
รูปภาพ
..

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 11:04 am
โดย imerlot
3. Korea
รูปภาพ

4. Aus
รูปภาพ

5. Thailand
รูปภาพ

อ้อ
german เอา euro area ไปด้วย
Euro Area
รูปภาพ

:|

ไม่แปลก ว่า เงิน Won Korea แข็งค่า ก่อน เพื่อน ใน ภูมิภาคนี้

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 11:16 am
โดย imerlot
ลอง อ่าน ดู ว่า Korea เกิด อะไร ขึ้น
และ ตอบรับ ยังไง

Korea becomes the red flag for Asia's currency war
http://in.reuters.com/article/2013/02/0 ... 3520130201
By Vidya Ranganathan

SINGAPORE | Fri Feb 1, 2013 10:59am IST
(Reuters) - South Korea's threat to impose a broad tax on financial transactions is the first sign of deepening concern in Asia that speculation of competitive currency devaluations is prompting investors to head for the exit.

Until then, and because investors had not shown any big signs of concern, Asia's reaction to the tensions centring on the yen had been passive, comprising an asymmetric mix of jawboning and light currency intervention.

The selloff in Seoul markets this week turned into a warning sign. Foreign investors posted their biggest daily stock selloff in 16 months in South Korea and pushing the won, a currency that best serves as a proxy for Asia, to a three-month low.

The risk is that the threat of policy action will prompt more market selling, pushing currencies down yet further and raising investor fears of the competitive devaluations that policymakers are trying to avoid.

"Korea is going to be the first domino, and it's that domino effect that the yen's depreciation clearly risks," said Rob Ryan, currency and rates strategist at RBS, referring to the increasing likelihood that Korea announces some form of currency control measure soon.

"The real trigger has been the equity market reaction and the outflows from Korea. I think the concerns over intervention are a little overdone just yet, but clearly it is a big risk if the yen continues to weaken."

Concerns about competitive currency devaluations are the result of easy monetary policies in advanced economies, including the United States.

The latest focus of attention is the yen, which has weakened nearly 12 percent against the dollar since mid-November as the government and the Bank of Japan ramped up efforts to lift the country out of a recession and years of deflation. The Bank of Japan last week doubled its inflation target to 2 percent and agreed to an "open ended" commitment to buy assets.

South Korea has understandably been the most vocal of Asian policymakers on the subject of the yen.

Heavyweight Korean exporters such as Samsung Electronics Co (005930.KS) and Hyundai Motor Co (005380.KS), which compete directly with Japanese electronics and auto companies, have seen their competitiveness eroded as the won increased in value from as low as 15 per yen to near 11.8 over the past six months.

Foreigners have sold a net 1.8 trillion won Korean stocks this month. The stock market .KS11 is down 3 percent so far this year. Foreigners have been buying Taiwanese stocks, but those volumes are far lower than they were in 2012.

"The recent wave of quantitative easing policies has created an unprecedented situation and makes it necessary (for affected countries) to adopt a paradigm shift in response," South Korea's Deputy Finance Minister Choi Jong-ku said in Seoul this week.

The Korean government will tell state-controlled firms to refrain from borrowing abroad and will further tighten rules on banks' currency derivatives trading to ease volatility in foreign exchange markets, Choi said.

Seoul was opposed to imposing an outright levy on financial transactions, such as the Tobin tax being debated in Europe. But it would consider similar measures should speculation in the won intensify over time, he said.
ดูเหมือน ระยะสั้น
แค่ ธ. กลาง ออก มาขู่
ฝูงหมาป่า Hedge Fund ที่ คอยจ้องเก้งกำไร ในค่า เงิน และ อัตรา ดอกเบี้ย ได้ ผล
หวังว่า
ประเทศ เรา มี คนเก่งๆ
และ ไม่ แทง กัน เอง ให้เป็น ลูกแกะ บาดเจ็บ ให้ ฝูง หมาป่า มาจ้อง รุมทึ้ง เหมือนใน อดีต
จริง ผมๆ ก็ ไม่ เคย เห็น ข่าว timothy geithner สง จ.ม ให้ ลุงเบน
หรือ ออกมา ให้ ข่าว ว่า ลุงเบน ควร จะต้อง ทำอะไร เลย
..หรือ ผม คง ตกข่าว..

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 12:13 pm
โดย ดำ

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 1:08 pm
โดย anubist
ถามอีกข้อ จากที่ดร.กอบบอกว่าเงินไหลเข้าไม่ใช่ตัวการทำบาทแข็ง
งั้นอะไรเป็นตัวการหรือครับ
แล้วอัตราแลกเปลี่ยนมันสัมพันธ์กับอะไรที่สุด
ใช่ดุลบัญชีเดินสะพัดรึเปล่า ถ้าดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นบวก แม้ว่าจะขาดดุลการค้าและบริการ
ค่าเงินบาทก็ยังแข็งค่าขึ้นรึเปล่า

ที่ถามเพราะไปคิดดูแล้ว การอธิบายเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนของดร.กอบ
มันแปลกๆอยู่บ้างในสามัญสำนึก
เพราะมันขัดๆกับหลักdemand supply

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 1:10 pm
โดย imerlot
Developing countries will grow
nearly 7 times faster then
developed countries.

Developing countries will grow
by 24%, while developed
countries will grow by only
3.6% between 2010 and 2030.
รูปภาพ
http://www.tceb.or.th/images/pdf/statis ... trends.pdf

ถ้า
Trade Balance เทียบว่า เป็น earning
Exchange Rate ก็ อาจจะ เทียบ เป็น ราคาหุ้น
แล้ว ถ้า จะดู Long Term earning Growth
โอโห้ ตั้ง 7 เท่าตัว
ค่าเงิน ของ Developing countries ก็มีแนวว่าต้อง แข็งขึ้น ประมาณเท่านั้น..หรือทิศทางนั้น
นี้ ยังไม่ รวม การ เสื่อมค่า ของ เงิน จาก การ QE หรือ พิมพ์ เงิน เพิ่ม..
น่าคิด..

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 1:14 pm
โดย imerlot
ขอโทษ
ผมดู ผิด..??
มัน เป็น pop growth ไม่ใช่ GDP..???

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 1:20 pm
โดย imerlot
roughly right เอา chart นี้ แทน
The 10 Largest Economies in 2030
รูปภาพ
http://www.ilookforwardto.com/2010/10/t ... -2030.html

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 2:19 pm
โดย yut2504
เอาตัวเลขทั้งหมดมาดูก็วิเคราะห์กันไปได้หลายๆทาง ทุกทางก็มีเหตุผลว่าถูกต้อง

ในกรณีนี้ผมให้ความสำคัญกับตัวบุคคลมากกว่า ดร.ประสารเป็นคนเก่ง เคยอยู่ทั้งราชการแบงค์ใหญ่เอกชนคุณภาพคับแก้ว ผมว่าธปท.คงดูตัวเลขทั้งหมดแล้ว การตัดสินใจภายใต้ความกดดันทางการเมืองน่าเหนื่อยใจ ถ้าเป็นคนอื่นอาจตัดสินใจเอาใจฝ่ายการเมืองดีกว่า ผิดก็ไม่ต้องรัยผิดชอบ

ถ้าผมมีธุรกิจและมีตัวเลือกอย่างผู้ว่า ประธานและรมต. ผมเลือกผู้ว่าครับ

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 4:21 pm
โดย CARPENTER
ถ้าผมเลือกได้ ผมจะไม่เอาคนในวงการธนาคารมาเป็น ผู้ว่า BOT
ลูบหน้าปะจมูกตลอด คนนั้นก็เจ้านายเก่า คนนี้ก็รู้จักกัน
สิ่งที่สังคมไทย ขาดมากที่สุดคือความยุติธรรม
คนไทยส่วนมาก มีอคติ เพราะ ความชอบและความเกียด เป็นหลักใหญ่

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 5:46 pm
โดย yut2504
ถ้าไม่เอาคนในวงการธ.มาแล้วจะหาใครมาทำงานครับ

ที่พังมาไม่เป็นท่าก็ฝีมือคนใน เดินเกมตามฝ่ายการเมือง
ถ้าไม่มีจุดยืนก็ต้องอิงผู้มีอำนาจ ถ้าไม่รู้จริงก็ไม่สามารถยืนหยัดนำองค์กรได้
.เรื่องตัวเลขตีความได้ทุกแง่ตามใจผู้ตี เถียงกัน3วันก็ไม่จบ ต้องให้เครดิตกับผู้ตัดสินใจ
โบนัสของธ.เอกชนอาจจะมากกว่าเงินเดือนผู้ว่าด้วยซ้ำ
ลองหาบทความเรื่องการด้อยค่าของเงินus.และ บทความของดร.กอบศักดิ์อ่านครับ

กนง.คงเห็นว่าการลดดบ.ดีระยะสั้นแต่เสียระยะยาว เงินเฟ้อ ฟองสบู่น่ากลัวกว่า
ที่ตลาดหุ้นเราน่าสนใจต่างชาติซื้อต่อเนื่องเพราะการมีวินัยและวิสัยทัศน์ของธปท.

ผมเป็นอีกคนที่ไม่เชื่อว่าถ้าลดดบ.ค่าเงินจะอ่อนเศรษฐกิจจะดีขึ้น ค่าเงินบาทอยู่ที่ตัวUSเองมากกว่า YENดบ.แทบไม่มีเวลาแข็งค่ายังไปไม่หยุด ญี่ปุ่นดบ.เบี้ยถูกเศรษฐกิจใช่ว่าจะดี

Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 8:07 pm
โดย blueplanet
เมื่อ ผวก BOT มากจาก ธนาคารพาณิชย์
ผวก ก็จะมองธนาคารพาณิชย์เป็นหลัก
BOT แทนที่จะปกป้องผลประโยชน์ของคนส่วนมาก
แค่เรื่อง อันตราดอกเบี้ยเงินกู-อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
8.5%-2.5%=6% เรื่องนี้เรื่องเดียวก็แสดงถึงความเอารัดเอาเปรียบ
ยังไม่รวมถึงค่าธรรมเนียมมหาโหดของธนาคารพาณิชย์
ผมต้องการใช้บัตรเอทีเอมธรรมดา Kbank ไม่มี
มีแต่บัตรที่ทำได้สารพัดรวมทั้งทำประกันให้ผมด้วย
ผมต้องยืนยันว่าผมไม่ทำประกัน นี่คือการหากินของธนาคารพาณิชย์
ที่ซึ่ง ผวก คนนี้ เป็น CEO มาก่อน คุณชมว่าเป็นคนดี
ลืมตาให้กว้างอ่านหนังสือให้มาก ใช้สามัญสำนึกอย่างไม่อคติ
เราก็จะรู้ว่า คนดีที่แท้จริงควรจะเป็นคนอย่างไร
เหตุที่ BOT ปล่อยให้ธนาคารพาณิชย์เอาเปรียบลูกค้า
ก็เพราะ ผวก มาจาก ธนาคารพาณิชย์ เป็นพวกเดียวกัน
คนที่มีความรู้ ทางด้าน เศรษฐศาสตรมีเยอะแยะ
ที่ไม่ใช่มาจากธนาคารพาณิชย์
มาจากภาคการผลิตก็ได้ พวกนี้ น่าจะเห็นใจและเข้าใจ เรียลเซคเตอร์มากกว่า