สถานการณ์รถยนต์
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 91
อุตสาหกรรมรถยนต์ซบเซาหนัก ส.อ.ท.เล็งลดเป้าผลิตลงเหลือ 2.3 ล้านคัน หั่นเป้าขายในประเทศลง 1 แสนคัน ชี้เหตุกำลังฟีบ ไร้รัฐบาล หมดโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ แถมจำนำข้าวไร้เงิน ฉุดยอดขายรถแผ่ว "ปิกอัพ" อาการหนักสุด
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากตัวเลขยอดผลิต ยอดขาย และส่งออกรถยนต์ในช่วง 2 เดือนแรกปีนี้พบว่า ลดลงจากช่วงเดียวกันจากปี 2556 ดังนั้น กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์จึงเตรียมปรับลดเป้าการผลิตรวมของปีนี้ที่ตั้งไว้ ประมาณ 2.4 ล้านคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออก 1.2 ล้านคัน และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 1.2 ล้านคัน เหลือประมาณ 2.3 ล้านคัน ในช่วงเดือนพฤษภาคม โดยเบื้องต้นเป็นการปรับลดยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลงเหลือ 1.1 ล้านคัน ขณะที่ส่งออกคงเดิม
"สาเหตุการปรับลดเป้าการผลิตครั้งนี้ เนื่องจากยอดขายปีนี้มีสัญญาณลดลงต่อเนื่อง ประกอบกับการเมืองยืดเยื้อ ไม่มีรัฐบาลใหม่ ทำให้ไม่มีโครงการรัฐช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม-6 เมษายน จะมีงานมหกรรมยานยนต์มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 35 และตั้งเป้าหมายยอดจอง 3 หมื่นคัน แต่หลังจากนี้ก็ไม่มีมาตรการกระตุ้นใดอีก ประกอบกับเดือนเมษายนมีวันหยุดเยอะ และต้นเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงเปิดเทอม มีภาระค่าใช้จ่ายที่ส่งผลต่อยอดจำหน่ายรถยนต์แน่นอน "นายสุรพงษ์กล่าว
นายสุรพงษ์กล่าวว่า ทั้งนี้ รถยนต์หลักที่ตลาดซบเซาชัดเจน คือประเภทกระบะ 1 ตัน ที่ผู้ผลิตหลายค่ายต่างออกแคมเปญกระตุ้นยอดขาย เน้นส่วนลดที่คิดเป็นเงินถึง 4 หมื่นบาท จากปกติส่วนลดจะเฉลี่ยระดับ 2.8 หมื่นบาท คาดว่าสาเหตุที่กำลังซื้อหดตัวลงมาจากผลกระทบจากปัญหาความล่าช้าจากโครงการ จำนำข้าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อยอดขายรถจักรยานยนต์ให้ลดลงด้วย นอกจากนี้พบว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นถึง 70-80% ทำให้สถาบันการเงิน (ไฟแนนซ์) เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้ปีนี้มีแคมเปญที่จูงใจมากที่สุดตั้งแต่ต้นปี อาทิ โตโยต้า ผ่อนเริ่มต้น 4,250 บาท ฟรีประกันภัยชั้น 1 ฟรีซัมซุงกาแลคซี่ โน้ต 3 พร้อมสมาร์ท เซต ฮอนด้า ดาวน์เริ่มต้น 2.99 หมื่นบาท ดอกเบี้ยต่ำสุด 0% ผ่อนเริ่มต้น 2,333 บาท ฟรีประกันภัยชั้น 1 เพิ่มประกันเป็น 5 ปี
สำหรับยอดการผลิตรถยนต์ 2 เดือน (มกราคม-กุมภาพันธ์) จำนวน 3.36 แสนคัน ลดลง 27.7% ผลิตรถยนต์นั่ง 1.34 แสนคัน ลดลง 33.24% รถกระบะ 1 ตัน ผลิต 1.97 แสนคัน ลดลง 20.47% และรถจักรยานยนต์ 3.82 แสนคัน ลดลง 18.67% โดยยอดขายรถยนต์เดือนกุมภาพันธ์ 7.1 หมื่นคัน ลดลง 44.8% รถจักรยานยนต์ 1.5 แสนคัน ลดลง 15.51% ช่วง 2 เดือน ยอดขายรถยนต์อยู่ที่ 1.4 แสนคัน ลดลง 45.2% รถจักรยานยนต์ 2.75 แสนคัน ลดลง 22.97%
รายงานข่าวจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ แจ้งว่าปี 2556 ยอดผลิตรถยนต์รวมอยู่ที่ 2.457 ล้านคัน ลดลงจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2.5 ล้านคัน สาเหตุมาจากยอดขายที่ชะลอตัวหลังจากโครงการรถยนต์คันแรกหมดลง ประกอบกับแต่ละค่ายลดยอดผลิตเพื่อระบายสต๊อกเก่าจากยอดทิ้งใบจองที่คิดเป็น ปริมาณรวมทั้งสิ้น 1.3 แสนคัน ขณะที่ปี 2557 ประมาณการยอดผลิตรวมอย่างเป็นทางการ 2.4 ล้านคัน หรือลดลงจากปี 2556 คิดเป็น 2.32%
ที่มา : นสพ.มติชน
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0000
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากตัวเลขยอดผลิต ยอดขาย และส่งออกรถยนต์ในช่วง 2 เดือนแรกปีนี้พบว่า ลดลงจากช่วงเดียวกันจากปี 2556 ดังนั้น กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์จึงเตรียมปรับลดเป้าการผลิตรวมของปีนี้ที่ตั้งไว้ ประมาณ 2.4 ล้านคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออก 1.2 ล้านคัน และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 1.2 ล้านคัน เหลือประมาณ 2.3 ล้านคัน ในช่วงเดือนพฤษภาคม โดยเบื้องต้นเป็นการปรับลดยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลงเหลือ 1.1 ล้านคัน ขณะที่ส่งออกคงเดิม
"สาเหตุการปรับลดเป้าการผลิตครั้งนี้ เนื่องจากยอดขายปีนี้มีสัญญาณลดลงต่อเนื่อง ประกอบกับการเมืองยืดเยื้อ ไม่มีรัฐบาลใหม่ ทำให้ไม่มีโครงการรัฐช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม-6 เมษายน จะมีงานมหกรรมยานยนต์มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 35 และตั้งเป้าหมายยอดจอง 3 หมื่นคัน แต่หลังจากนี้ก็ไม่มีมาตรการกระตุ้นใดอีก ประกอบกับเดือนเมษายนมีวันหยุดเยอะ และต้นเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงเปิดเทอม มีภาระค่าใช้จ่ายที่ส่งผลต่อยอดจำหน่ายรถยนต์แน่นอน "นายสุรพงษ์กล่าว
นายสุรพงษ์กล่าวว่า ทั้งนี้ รถยนต์หลักที่ตลาดซบเซาชัดเจน คือประเภทกระบะ 1 ตัน ที่ผู้ผลิตหลายค่ายต่างออกแคมเปญกระตุ้นยอดขาย เน้นส่วนลดที่คิดเป็นเงินถึง 4 หมื่นบาท จากปกติส่วนลดจะเฉลี่ยระดับ 2.8 หมื่นบาท คาดว่าสาเหตุที่กำลังซื้อหดตัวลงมาจากผลกระทบจากปัญหาความล่าช้าจากโครงการ จำนำข้าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อยอดขายรถจักรยานยนต์ให้ลดลงด้วย นอกจากนี้พบว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นถึง 70-80% ทำให้สถาบันการเงิน (ไฟแนนซ์) เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้ปีนี้มีแคมเปญที่จูงใจมากที่สุดตั้งแต่ต้นปี อาทิ โตโยต้า ผ่อนเริ่มต้น 4,250 บาท ฟรีประกันภัยชั้น 1 ฟรีซัมซุงกาแลคซี่ โน้ต 3 พร้อมสมาร์ท เซต ฮอนด้า ดาวน์เริ่มต้น 2.99 หมื่นบาท ดอกเบี้ยต่ำสุด 0% ผ่อนเริ่มต้น 2,333 บาท ฟรีประกันภัยชั้น 1 เพิ่มประกันเป็น 5 ปี
สำหรับยอดการผลิตรถยนต์ 2 เดือน (มกราคม-กุมภาพันธ์) จำนวน 3.36 แสนคัน ลดลง 27.7% ผลิตรถยนต์นั่ง 1.34 แสนคัน ลดลง 33.24% รถกระบะ 1 ตัน ผลิต 1.97 แสนคัน ลดลง 20.47% และรถจักรยานยนต์ 3.82 แสนคัน ลดลง 18.67% โดยยอดขายรถยนต์เดือนกุมภาพันธ์ 7.1 หมื่นคัน ลดลง 44.8% รถจักรยานยนต์ 1.5 แสนคัน ลดลง 15.51% ช่วง 2 เดือน ยอดขายรถยนต์อยู่ที่ 1.4 แสนคัน ลดลง 45.2% รถจักรยานยนต์ 2.75 แสนคัน ลดลง 22.97%
รายงานข่าวจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ แจ้งว่าปี 2556 ยอดผลิตรถยนต์รวมอยู่ที่ 2.457 ล้านคัน ลดลงจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2.5 ล้านคัน สาเหตุมาจากยอดขายที่ชะลอตัวหลังจากโครงการรถยนต์คันแรกหมดลง ประกอบกับแต่ละค่ายลดยอดผลิตเพื่อระบายสต๊อกเก่าจากยอดทิ้งใบจองที่คิดเป็น ปริมาณรวมทั้งสิ้น 1.3 แสนคัน ขณะที่ปี 2557 ประมาณการยอดผลิตรวมอย่างเป็นทางการ 2.4 ล้านคัน หรือลดลงจากปี 2556 คิดเป็น 2.32%
ที่มา : นสพ.มติชน
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0000
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 92
ส.อ.ท. เผยส่งออกรถยนต์ มี.ค.57 เพิ่มขึ้น 8.77% อยู่ที่ 113,313 คัน
นายองอาจ พงศ์กิจวรสิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงยอดการส่งออกรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2557 ส่งออกได้ 113,313 คัน เป็นอีกเดือนหนึ่งที่ส่งออกได้เกินหนึ่งแสนคัน สูงสุดในรอบ 6 เดือน (ในปี 2556 ส่งออกเกินหนึ่งแสนคัน 3 เดือน คือ เดือนมีนาคม 104,178 คัน เดือนสิงหาคม 104,215 คัน และเดือนกันยายน 118,253 คัน) เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2556 ร้อยละ 8.77 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ร้อยละ 16.61 โดยมีมูลค่าการส่งออก 52,843.89 ล้านบาท
ส่งผลให้ในช่วงไตรมาส 1 ปีนี้(มกราคม-มีนาคม 57) ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปได้แล้ว 291,509 คัน โดยส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2556 ในระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 1.25 มีมูลค่าการส่งออก 136,336.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2556 ร้อยละ 7.43
ส่วนยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนมีนาคม 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 83,983 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว ร้อยละ 46.7 เนื่องจากปีนี้ไม่มีโครงการรถคันแรกแล้ว แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ร้อยละ 17.16 ยอดขายปรับตัวดีขึ้นจากยอดสั่งจองรถยนต์ภายในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 35 ที่ผ่านมา
เป็นผลให้ในช่วงไตรมาส 1 ปีนี้ มียอดขายรถยนต์แล้ว 224,171 คัน ลดลงจากปี 2556 ในระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 45.8 ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 431,795 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - มีนาคม 2556 ร้อยละ 21.35
ขณะที่จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนมีนาคม 2557 มีทั้งสิ้น 181,334 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2556 ร้อยละ 29.24 เนื่องจากปีนี้ไม่ต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถคันแรกแล้ว แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ร้อยละ 4.51 ส่งผลให้ในไตรมาส 1 ปีนี้ มียอดการผลิตรถยนต์จำนวนทั้งสิ้น 517,492 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - มีนาคม 2556 ร้อยละ 28.28
นายองอาจ ยังกล่าวถึงประมาณการผลิตรถยนต์ในเดือนเมษายน-มิถุนายน 2557 คาดว่าจะมีจำนวน 499,900 คัน เปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนมกราคม-มีนาคม 2557 ซึ่งมีจำนวน 517,492 คัน ลดลง 17,592 คัน หรือร้อยละ 3.4 และเมื่อเปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2556 ซึ่งมีจำนวน 619,423 คันแล้ว ลดลง 119,523 คัน หรือร้อยละ 19.3 เนื่องจากปีที่แล้วต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถคันแรก
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ม8.77.html
นายองอาจ พงศ์กิจวรสิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงยอดการส่งออกรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2557 ส่งออกได้ 113,313 คัน เป็นอีกเดือนหนึ่งที่ส่งออกได้เกินหนึ่งแสนคัน สูงสุดในรอบ 6 เดือน (ในปี 2556 ส่งออกเกินหนึ่งแสนคัน 3 เดือน คือ เดือนมีนาคม 104,178 คัน เดือนสิงหาคม 104,215 คัน และเดือนกันยายน 118,253 คัน) เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2556 ร้อยละ 8.77 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ร้อยละ 16.61 โดยมีมูลค่าการส่งออก 52,843.89 ล้านบาท
ส่งผลให้ในช่วงไตรมาส 1 ปีนี้(มกราคม-มีนาคม 57) ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปได้แล้ว 291,509 คัน โดยส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2556 ในระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 1.25 มีมูลค่าการส่งออก 136,336.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2556 ร้อยละ 7.43
ส่วนยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนมีนาคม 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 83,983 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว ร้อยละ 46.7 เนื่องจากปีนี้ไม่มีโครงการรถคันแรกแล้ว แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ร้อยละ 17.16 ยอดขายปรับตัวดีขึ้นจากยอดสั่งจองรถยนต์ภายในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 35 ที่ผ่านมา
เป็นผลให้ในช่วงไตรมาส 1 ปีนี้ มียอดขายรถยนต์แล้ว 224,171 คัน ลดลงจากปี 2556 ในระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 45.8 ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 431,795 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - มีนาคม 2556 ร้อยละ 21.35
ขณะที่จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนมีนาคม 2557 มีทั้งสิ้น 181,334 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2556 ร้อยละ 29.24 เนื่องจากปีนี้ไม่ต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถคันแรกแล้ว แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ร้อยละ 4.51 ส่งผลให้ในไตรมาส 1 ปีนี้ มียอดการผลิตรถยนต์จำนวนทั้งสิ้น 517,492 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - มีนาคม 2556 ร้อยละ 28.28
นายองอาจ ยังกล่าวถึงประมาณการผลิตรถยนต์ในเดือนเมษายน-มิถุนายน 2557 คาดว่าจะมีจำนวน 499,900 คัน เปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนมกราคม-มีนาคม 2557 ซึ่งมีจำนวน 517,492 คัน ลดลง 17,592 คัน หรือร้อยละ 3.4 และเมื่อเปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2556 ซึ่งมีจำนวน 619,423 คันแล้ว ลดลง 119,523 คัน หรือร้อยละ 19.3 เนื่องจากปีที่แล้วต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถคันแรก
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ม8.77.html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 93
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯร่วมกับสมาคมและองค์กรในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย จัดงาน แสดงสินค้ายานยนต์ ชิ้นส่วน อะไหล่ยานยนต์ และอุปกรณ์ตกแต่ง 2557 หรือ TAPA 2014 เน้นการโชว์สุดยอดเทคโนโลยีสีเขียว ที่เน้นการผลิตที่ปลอดภัยและรักษ์สิ่งแวดล้อม จัดระหว่างวันที่ 28 เมษายน- 1 พฤษภาคม ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
โดยมีนักธุรกิจลงทะเบียนเข้าร่วมงานแล้วกว่า 400 ราย แม้ว่าขณะนี้จะมีปัญหาทางการเมือง แต่หลายฝ่ายเชื่อว่าจะไม่เกิดความรุนแรงเกิดขึ้น และในวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันค้าปลีก คาดว่าจะมียอดซื้อขายที่เป็นผลสืบเนื่องจากการจัดงานประมาณ 1,000 ล้านบาท
คาดปี 2557 ไทยผลิตรถยนต์ได้ 2.5 ล้านคัน เป็นผู้ผลิตรถยนต์มากสุดอันดับ 9 ของโลก และเอกชนวางเป้าจะผลิตถึง 3 ล้านคันในปี 2559 ทำให้ไทยขึ้นเป็นประเทศผู้ผลิตรถยนต์มากสุดอันดับ 5 ของโลก รองรับเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี)
โดยปี 2556 อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย นำรายได้เข้าประเทศกว่า 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 900,000 ล้านบาท ปี 2557 คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้นกว่า 10%
นางอัชฌา ลิมป์ไพฑูรย์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ กล่าวว่า ช่วง 2 เดือน ยอดส่งออกยานยนต์ได้ 1.8 แสนล้านบาท คาดว่าทั้งปีขยายตัว 5-10 %
http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... 3&catid=03
โดยมีนักธุรกิจลงทะเบียนเข้าร่วมงานแล้วกว่า 400 ราย แม้ว่าขณะนี้จะมีปัญหาทางการเมือง แต่หลายฝ่ายเชื่อว่าจะไม่เกิดความรุนแรงเกิดขึ้น และในวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันค้าปลีก คาดว่าจะมียอดซื้อขายที่เป็นผลสืบเนื่องจากการจัดงานประมาณ 1,000 ล้านบาท
คาดปี 2557 ไทยผลิตรถยนต์ได้ 2.5 ล้านคัน เป็นผู้ผลิตรถยนต์มากสุดอันดับ 9 ของโลก และเอกชนวางเป้าจะผลิตถึง 3 ล้านคันในปี 2559 ทำให้ไทยขึ้นเป็นประเทศผู้ผลิตรถยนต์มากสุดอันดับ 5 ของโลก รองรับเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี)
โดยปี 2556 อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย นำรายได้เข้าประเทศกว่า 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 900,000 ล้านบาท ปี 2557 คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้นกว่า 10%
นางอัชฌา ลิมป์ไพฑูรย์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ กล่าวว่า ช่วง 2 เดือน ยอดส่งออกยานยนต์ได้ 1.8 แสนล้านบาท คาดว่าทั้งปีขยายตัว 5-10 %
http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... 3&catid=03
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 94
ลีสซิ่งกสิกรไทย เผย เศรษฐกิจชะลอทำตลาดรถยนต์ซบเซา ไตรมาสแรกสินเชื่อคงค้าง 88,875 ล้านบาท สินเชื่อใหม่ 15,336 ล้านบาท ลดลง 27.35%
นายอัครนันท์ ฐิตสิริวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า จากการที่เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในช่วงชะลอตัวส่งผลให้การเติบโตของยอดคงค้างสินเชื่อเช่าซื้อรถในระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1 ขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 1 ขณะที่สถานการณ์ตลาดรถยนต์ในช่วงต้นปีนี้ที่ยังคงหดตัวจากยอดขายรถยนต์ในช่วง 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค.) รวม 224,171 คัน ลดลงร้อยละ 45.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ยอดขายจำนวน 413,256 คัน
ทั้งนี้ ลีสซิ่งกสิกรไทยต้องดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังหันมาเน้นคุณภาพของลูกค้ามากขึ้น ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ไตรมาส 1 ปี 2557 สามารถปล่อยลีสซิ่งรถยนต์ และสินเชื่อเช่าซื้อใหม่ได้รวม 15,336 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 27.35 แบ่งเป็นสินเชื่อเช่าซื้อและลีสซิ่งรถยนต์ใหม่ 8,488 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.49 และสินเชื่อผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ 6,849 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 43.08 ด้านยอดสินเชื่อคงค้างของบริษัทอยู่ที่ 88,875 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 5.39 และสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ที่ร้อยละ 0.91 มีกำไรสุทธิ 135.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนประมาณร้อยละ 0.45
ทั้งนี้ คาดว่าภาพรวมสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในระบบช่วงครึ่งปีแรกของปี 2557 จะยังชะลอตัว โดยการเติบโตของยอดคงค้างสินเชื่อในระบบฯ ยังอยู่ใต้แรงกดดันให้มีทิศทางชะลอตัวลงอยู่ในช่วงใกล้ร้อยละ 0 จากปัจจัยหลักเรื่องผลของฐานที่สูงในปีที่แล้ว จากการเร่งส่งมอบรถยนต์ในโครงการรถคันแรก ประกอบกับครึ่งแรกปีนี้ ปัญหาการเมืองยังไม่ยุติ ส่งผลให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบเชิงลบ รวมถึงความต้องการซื้อรถเพื่อการอุปโภคและเชิงพาณิชย์ลดลงอย่างชัดเจน
สำหรับตลาดรถยนต์น่าจะหดตัวต่อเนื่องเกือบตลอดทั้งปี โดยเฉพาะรถยนต์นั่งขนาดเล็กที่จะหดตัวสูงกว่ารถประเภทอื่นจากกำลังซื้อที่ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ในเชิงพาณิชย์ เช่น รถกระบะ 1 ตัน และรถบรรทุกต่าง ๆ จากการลงทุนที่ชะลอตัวลง และจากปัจจัยสถานการณ์ทางการเมือง ทั้งนี้ มีเพียงตลาดรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ที่มีโอกาสขยายตัว โดยช่วงไตรมาส 1 ปีนี้ มียอดจดทะเบียนเฉลี่ยกว่า 5,000 คันต่อเดือน จากปีที่แล้วมียอดจดทะเบียนเฉลี่ย 4,000 คันต่อเดือน
นายอัครนันท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์การเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจน ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและบรรยากาศการซื้อรถยนต์ใหม่ยังคงอยู่ในภาวะซบเซาเมื่อเทียบกับช่วงปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมรถยนต์ จึงอาจจะต้องรอช่วงครึ่งหลังของปี 2557 เพื่อดูสัญญาณการฟื้นตัวของตลาด หากสถานการณ์การเมืองเริ่มนิ่งมากขึ้นก็อาจจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยดึงตลาดให้ฟื้นตัวง่ายขึ้น เนื่องจากการดำเนินงานต่าง ๆ ของภาครัฐน่าจะเดินหน้าได้บ้าง ภาคเอกชนน่าจะมีความเชื่อมั่นในการลงทุน ซึ่งก็อาจจะส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนเริ่มฟื้นตัวได้ในระดับหนึ่ง ทำให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในช่วงไตรมาส 3-4 มีโอกาสจะกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ ทั้งยอดขายรถที่เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก และจากผลของฐานเปรียบเทียบกับครึ่งหลังปี 2556 ที่มียอดขายชะลอลง อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ตลาดโดยรวมปีนี้ที่มีปัจจัยเสี่ยงรอบด้านมาตั้งแต่ช่วงต้นปี ทำให้คาดว่าตลาดรถยนต์โดยรวมปี 2557 ยังคงหดตัวสูง โดยตลาดรถยนต์จะมียอดจำหน่ายรวมไม่เกิน 1 ล้านคัน
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ขายรถ.html
นายอัครนันท์ ฐิตสิริวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า จากการที่เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในช่วงชะลอตัวส่งผลให้การเติบโตของยอดคงค้างสินเชื่อเช่าซื้อรถในระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1 ขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 1 ขณะที่สถานการณ์ตลาดรถยนต์ในช่วงต้นปีนี้ที่ยังคงหดตัวจากยอดขายรถยนต์ในช่วง 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค.) รวม 224,171 คัน ลดลงร้อยละ 45.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ยอดขายจำนวน 413,256 คัน
ทั้งนี้ ลีสซิ่งกสิกรไทยต้องดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังหันมาเน้นคุณภาพของลูกค้ามากขึ้น ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ไตรมาส 1 ปี 2557 สามารถปล่อยลีสซิ่งรถยนต์ และสินเชื่อเช่าซื้อใหม่ได้รวม 15,336 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 27.35 แบ่งเป็นสินเชื่อเช่าซื้อและลีสซิ่งรถยนต์ใหม่ 8,488 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.49 และสินเชื่อผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ 6,849 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 43.08 ด้านยอดสินเชื่อคงค้างของบริษัทอยู่ที่ 88,875 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 5.39 และสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ที่ร้อยละ 0.91 มีกำไรสุทธิ 135.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนประมาณร้อยละ 0.45
ทั้งนี้ คาดว่าภาพรวมสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในระบบช่วงครึ่งปีแรกของปี 2557 จะยังชะลอตัว โดยการเติบโตของยอดคงค้างสินเชื่อในระบบฯ ยังอยู่ใต้แรงกดดันให้มีทิศทางชะลอตัวลงอยู่ในช่วงใกล้ร้อยละ 0 จากปัจจัยหลักเรื่องผลของฐานที่สูงในปีที่แล้ว จากการเร่งส่งมอบรถยนต์ในโครงการรถคันแรก ประกอบกับครึ่งแรกปีนี้ ปัญหาการเมืองยังไม่ยุติ ส่งผลให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบเชิงลบ รวมถึงความต้องการซื้อรถเพื่อการอุปโภคและเชิงพาณิชย์ลดลงอย่างชัดเจน
สำหรับตลาดรถยนต์น่าจะหดตัวต่อเนื่องเกือบตลอดทั้งปี โดยเฉพาะรถยนต์นั่งขนาดเล็กที่จะหดตัวสูงกว่ารถประเภทอื่นจากกำลังซื้อที่ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ในเชิงพาณิชย์ เช่น รถกระบะ 1 ตัน และรถบรรทุกต่าง ๆ จากการลงทุนที่ชะลอตัวลง และจากปัจจัยสถานการณ์ทางการเมือง ทั้งนี้ มีเพียงตลาดรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ที่มีโอกาสขยายตัว โดยช่วงไตรมาส 1 ปีนี้ มียอดจดทะเบียนเฉลี่ยกว่า 5,000 คันต่อเดือน จากปีที่แล้วมียอดจดทะเบียนเฉลี่ย 4,000 คันต่อเดือน
นายอัครนันท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์การเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจน ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและบรรยากาศการซื้อรถยนต์ใหม่ยังคงอยู่ในภาวะซบเซาเมื่อเทียบกับช่วงปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมรถยนต์ จึงอาจจะต้องรอช่วงครึ่งหลังของปี 2557 เพื่อดูสัญญาณการฟื้นตัวของตลาด หากสถานการณ์การเมืองเริ่มนิ่งมากขึ้นก็อาจจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยดึงตลาดให้ฟื้นตัวง่ายขึ้น เนื่องจากการดำเนินงานต่าง ๆ ของภาครัฐน่าจะเดินหน้าได้บ้าง ภาคเอกชนน่าจะมีความเชื่อมั่นในการลงทุน ซึ่งก็อาจจะส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนเริ่มฟื้นตัวได้ในระดับหนึ่ง ทำให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในช่วงไตรมาส 3-4 มีโอกาสจะกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ ทั้งยอดขายรถที่เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก และจากผลของฐานเปรียบเทียบกับครึ่งหลังปี 2556 ที่มียอดขายชะลอลง อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ตลาดโดยรวมปีนี้ที่มีปัจจัยเสี่ยงรอบด้านมาตั้งแต่ช่วงต้นปี ทำให้คาดว่าตลาดรถยนต์โดยรวมปี 2557 ยังคงหดตัวสูง โดยตลาดรถยนต์จะมียอดจำหน่ายรวมไม่เกิน 1 ล้านคัน
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ขายรถ.html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 95
ตลาดรถยนต์ไตรมาสแรกร่วงหนัก "ลดกะทำงาน-โอที" ระบุยังไม่วิกฤติถึงขั้น "ปลดแรงงาน" เหตุส่วนใหญ่เป็นแรงงานฝีมือ เชื่อเป็นปัญหาระยะสั้น
อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ในวันที่ยอดผลิตและยอดขายปรับตัวแรงจากปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศ ส่งผลให้ต้องปรับลดเวลาการทำงานของแรงงานลง
นายปราโมทย์ พงษ์ทอง ประธาน บริษัท วิเชียรไดนามิคอินดัสตรี จำกัด ในฐานะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA) กล่าวถึงสถานการณ์แรงงานภาคชิ้นส่วนยานยนต์ และแรงงานรับจ้างผลิต หรือโออีเอ็มว่า ขณะนี้ภาคยานยนต์ไทยและชิ้นส่วนฯ ยังไม่มีข่าวเรื่องของการลดคนงาน แม้ตลาดรถยนต์จะทรุดตัวลงมากในไตรมาสแรก เนื่องจากแรงงานมีฝีมือหายาก ดังนั้นโรงงานยานยนต์และชิ้นส่วนต่างๆ จึงพยายามจะรักษาแรงงานเหล่านี้ไว้ ลดกะทำงาน-ลดโอที ไม่ลดคน
โดยประเมินว่า กำลังการผลิตที่ลดลงช่วงที่ผ่านมา ไม่ได้ทำให้จำนวนแรงงานลดลง แต่ยอมรับมีการลดกะการทำงาน และลดการทำงานล่วงเวลา (Over Time) ที่เคยทำเต็มที่ลง เมื่อเทียบกับในอดีตที่มีการเร่งการผลิตเต็มพิกัด คือ การทำงาน 2 กะ (1 กะ 8 ชั่วโมงทำงาน) ทำงานล่วงเวลาเต็มที่ (Full Over Time) และรับช่วงการผลิตเต็มที่ (Full Sub Contract) นอกจากนี้กำลังการผลิตที่ลดลงส่วนใหญ่ ยังเป็นในส่วนของการรับช่วงการผลิต
ดังนั้น คนงานในโรงงานผลิตขณะนี้มีอยู่ราว 1 แสนคน ยังไม่มีผลกระทบ เพราะเป็นการลดโอทีจากทำเต็มที่ เหลือเพียงโอทีปกติ และหากต้องการลดผลผลิตลงอีกจะลดกะการทำงาน ถือว่าในการจัดการแรงงาน ของภาคยานยนต์ไทยมีความยืดหยุ่นในระดับหนึ่ง
ยานยนต์ชะลอการผลิต "ปีเศษ"
ด้านแหล่งข่าวจากสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย (TAW) เปิดเผยว่า การชะลอการผลิตของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้ดำเนินมาปีเศษ โดยได้ลดกะการทำงานและลดโอทีลง
ก่อนหน้านี้ โรงงานบางแห่ง ได้เร่งการผลิตจำนวนมาก ทำให้มีการจ้างงาน แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในไลน์การผลิต โดยเฉพาะโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง แต่ปัจจุบันโรงงานเหล่านั้น ได้ยกเลิกการจ้างงานชาวต่างชาติทั้งหมดแล้ว
"ขณะนี้สหพันธ์ฯกำลังศึกษาว่า ช่วงที่แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในภาคยานยนต์เพิ่มขึ้นแล้ว แรงงานคนไทยเหล่านั้นย้ายหรือหายไปจากระบบได้อย่างไร เมื่อความต้องการแรงงานของภาคยานยนต์ยังคงมีอยู่สูง ซึ่งการปรับตัวของตสาหกรรมในแง่หนึ่ง มีผลดีเพราะก่อนหน้านี้อุตสาหกรรมยานยนต์ มีความวิตกเรื่องการขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก"
ระบุความต้องการแรงงานไม่ลดลง
แหล่งข่าวยังกล่าวว่า ภาคแรงงานยานยนต์ เป็นภาคที่มีผลการตอบแทนที่ดีและเชื่อว่า เป็นการชะลอของตลาดในประเทศช่วงสั้นๆ ประเมินจากโครงการใหญ่ๆ ของบริษัทรถยนต์ ขณะนี้มีโรงงานใหม่ เกิดขึ้นทำให้ต้องเตรียมคนงานเข้าสู่ระบบ เช่น โรงงานฮอนด้า ออโตโมบิล ที่จังหวัดปราจีนบุรี โรงงาน นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) ถนนบางนา -ตราด กม.21 ขณะที่อุตสาหกรรมสนับสนุนอีกหลายสายงาน มีการลงทุนเพื่อรองรับการผลิตรวมถึงการย้ายฐานการผลิตของบริษัทชิ้นส่วนจากจีน ออสเตรเลีย ที่เข้ามาตั้งโรงงานในไทย
“ไทยยังถือเป็นประเทศเป้าหมายในแง่ของการลงทุนภาคยานยนต์ในภูมิภาคอาเซียน ออสเตรเลียนั้น อุตสาหกรรมยานยนต์ ได้ทยอยปิดตัวลง และมองหาแหล่งลงทุนใหม่ๆ หลังจากปี 2555 ไทยได้เฉลิมฉลองยอดการผลิตมากกว่า 2 ล้านคันทั่วประเทศ และปี 2556 ไทยก็มียอดการผลิตราวๆ 2 ล้านคัน ซึ่ง 2 ล้านคันเป็นจุดคุ้มทุน ที่จะดึงดูดผู้สนใจลงทุนทางด้านนี้มากขึ้น"
ส่วนปีนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย คาดว่า จะผลิตได้ 2 ล้านคัน (แบ่งเป็น ในประเทศ 50:50 ส่งออก) ประกอบกับ อีโค คาร์ เฟส 2 จะเริ่มได้อีก 2 ปีข้างหน้า ทำให้กำลังการผลิตรถยนต์จะเพิ่มอีกในอนาคต
ด้าน ศาสตราภิชาน รศ. แล ดิลกวิทยรัตน์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงาน เสวนาพิเศษ เรื่อง ยานยนต์ผลกระทบจากสถานการณ์ปัจจุบัน ปัจจัยเสี่ยงด้านแรงงานมีผลหรือไม่ จัดโดย สหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย เมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่า แม้อุตสาหกรรมยานยนต์จะลดโอที ลดการผลิต แต่ผู้ผลิตก็ยังกังวลเรื่องของการขาดแคลนแรงงาน และกังวลเรื่องผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ระดับค่าแรงของปริญญาตรีจะต้องปรับโครงสร้างตามขึ้นด้วยแจงข้อพิพาทแรงงานยังมีอยู่
รายงานข่าว เปิดเผยว่า ข้อพิพาทแรงงานของอุตสาหกรรมยานยนต์ ในพื้นที่ผลิต เช่น นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ยังคงมีอยู่ แต่สามารถเจรจาตกลงกันได้ ล่าสุดเมื่อ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยผลการเจรจาหาข้อยุติข้อพิพาทแรงงาน ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง บริษัทสยามมิชลิน จำกัด จังหวัดชลบุรีว่า สามารถหาข้อยุติได้แล้ว โดยลูกจ้างยอมรับเงินตอบแทนพิเศษประจำปี และเตรียมกลับไปรายงานตัวที่บริษัท หลังประท้วงหยุดงานมาเป็นเวลา 50 วัน
สำหรับปริมาณคนงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ปัจจุบันจากข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย พบว่า ส่วนโรงงานผลิตมีคนงาน 1 แสนคน ขณะที่ภาคชิ้นส่วนยานยนต์ มีคนงาน 4.5 แสนคน และ แรงงานในอุตสาหกรรมสนับสนุน (ซัพพอร์ต) มีประมาณ 1 แสนคน เมื่อรวมในภาคบริการขายอีก 2 แสนคน เท่ากับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีคนงานรวม 8.5 แสนคน
ผลิตรถยนต์ไตรมาสแรกลด 28.28%
ก่อนหน้านี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตรถยนต์ไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ว่า มีจำนวน 517,492 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 28.28% เพราะไม่ต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถยนต์คันแรก และจากกำลังซื้อลดลง
ขณะที่การผลิตเพื่อส่งออกไตรมาสแรกรวม 287,795 คัน เท่ากับ 55.61% ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.63%
ส่วนการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ผลิตได้ 78,615 คัน เท่ากับ 43.35% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมี.ค. ของปีก่อน 50.99% และเดือนม.ค.-มี.ค. ที่ผ่านมา ผลิตได้ 229,697 คัน เท่ากับ 44.39% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนม.ค.-มี.ค. ของปีก่อน 47.26% เพราะไม่ต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถคันแรกแล้ว และภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่หดตัว
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมายอดขายในประเทศต่ำกว่าที่คาดไว้ 30% ทำให้ยากที่จะไปถึงเป้าหมาย 1.2 ล้านคัน ส่วนการส่งออกมั่นใจจะเป็นไปตามเป้า 1.2 ล้านคัน โดยเฉพาะยอดการส่งออกรถยนต์อีโคคาร์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก
โรงแรมโยกพนง.ไปทำงานตจว.
ด้านนางกมลวรรณ วิปุลากร กรรมการผู้จัดการใหญ่ ดิ เอราวัณ กรุ๊ป กล่าวว่า ช่วงที่โรงแรมในกรุงเทพฯ ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมือง ทำให้อัตราเข้าพักเฉลี่ยลดลง มีการเสนอให้พนักงานไปทำงานที่โรงแรมในต่างจังหวัดที่อยู่ในเครือข่ายของเอราวัณ กรุ๊ป ชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยงการปลดคนงาน เพราะที่ผ่านมาโรงแรม 8 แห่งที่มี อยู่ในจุดหมายท่องเที่ยวอื่นๆ ยังมีอัตราเข้าพักเฉลี่ยที่ดี ทั้ง ภูเก็ต สมุย กระบี่ และหัวหิน นอกจากนั้นส่วนหนึ่งยังสามารถใช้เครือข่ายเชนโรงแรมที่บริษัทเลือกเข้ามารับบริหาร ส่งพนักงานไปทำงานต่างประเทศ ขณะที่ไทยยังมีปัญหาการเมืองด้วย
ทั้งนี้ โรงแรม 8 แห่งในกรุงเทพฯ ก็ไม่ได้รับผลกระทบทุกที่ สังเกตจากโซนที่ตั้งห่างออกไปจากย่านชุมนุม เช่น ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ยังคงมีลูกค้านักท่องเที่ยวหนาแน่นเช่นเดิม ทำให้ยังคงอัตราจ้างประจำไว้ตามปกติ ยกเว้นบางแห่งอาจงดจ้างงานพนักงานชั่วคราวไปก่อน
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... งหนัก.html
อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ในวันที่ยอดผลิตและยอดขายปรับตัวแรงจากปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศ ส่งผลให้ต้องปรับลดเวลาการทำงานของแรงงานลง
นายปราโมทย์ พงษ์ทอง ประธาน บริษัท วิเชียรไดนามิคอินดัสตรี จำกัด ในฐานะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA) กล่าวถึงสถานการณ์แรงงานภาคชิ้นส่วนยานยนต์ และแรงงานรับจ้างผลิต หรือโออีเอ็มว่า ขณะนี้ภาคยานยนต์ไทยและชิ้นส่วนฯ ยังไม่มีข่าวเรื่องของการลดคนงาน แม้ตลาดรถยนต์จะทรุดตัวลงมากในไตรมาสแรก เนื่องจากแรงงานมีฝีมือหายาก ดังนั้นโรงงานยานยนต์และชิ้นส่วนต่างๆ จึงพยายามจะรักษาแรงงานเหล่านี้ไว้ ลดกะทำงาน-ลดโอที ไม่ลดคน
โดยประเมินว่า กำลังการผลิตที่ลดลงช่วงที่ผ่านมา ไม่ได้ทำให้จำนวนแรงงานลดลง แต่ยอมรับมีการลดกะการทำงาน และลดการทำงานล่วงเวลา (Over Time) ที่เคยทำเต็มที่ลง เมื่อเทียบกับในอดีตที่มีการเร่งการผลิตเต็มพิกัด คือ การทำงาน 2 กะ (1 กะ 8 ชั่วโมงทำงาน) ทำงานล่วงเวลาเต็มที่ (Full Over Time) และรับช่วงการผลิตเต็มที่ (Full Sub Contract) นอกจากนี้กำลังการผลิตที่ลดลงส่วนใหญ่ ยังเป็นในส่วนของการรับช่วงการผลิต
ดังนั้น คนงานในโรงงานผลิตขณะนี้มีอยู่ราว 1 แสนคน ยังไม่มีผลกระทบ เพราะเป็นการลดโอทีจากทำเต็มที่ เหลือเพียงโอทีปกติ และหากต้องการลดผลผลิตลงอีกจะลดกะการทำงาน ถือว่าในการจัดการแรงงาน ของภาคยานยนต์ไทยมีความยืดหยุ่นในระดับหนึ่ง
ยานยนต์ชะลอการผลิต "ปีเศษ"
ด้านแหล่งข่าวจากสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย (TAW) เปิดเผยว่า การชะลอการผลิตของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้ดำเนินมาปีเศษ โดยได้ลดกะการทำงานและลดโอทีลง
ก่อนหน้านี้ โรงงานบางแห่ง ได้เร่งการผลิตจำนวนมาก ทำให้มีการจ้างงาน แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในไลน์การผลิต โดยเฉพาะโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง แต่ปัจจุบันโรงงานเหล่านั้น ได้ยกเลิกการจ้างงานชาวต่างชาติทั้งหมดแล้ว
"ขณะนี้สหพันธ์ฯกำลังศึกษาว่า ช่วงที่แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในภาคยานยนต์เพิ่มขึ้นแล้ว แรงงานคนไทยเหล่านั้นย้ายหรือหายไปจากระบบได้อย่างไร เมื่อความต้องการแรงงานของภาคยานยนต์ยังคงมีอยู่สูง ซึ่งการปรับตัวของตสาหกรรมในแง่หนึ่ง มีผลดีเพราะก่อนหน้านี้อุตสาหกรรมยานยนต์ มีความวิตกเรื่องการขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก"
ระบุความต้องการแรงงานไม่ลดลง
แหล่งข่าวยังกล่าวว่า ภาคแรงงานยานยนต์ เป็นภาคที่มีผลการตอบแทนที่ดีและเชื่อว่า เป็นการชะลอของตลาดในประเทศช่วงสั้นๆ ประเมินจากโครงการใหญ่ๆ ของบริษัทรถยนต์ ขณะนี้มีโรงงานใหม่ เกิดขึ้นทำให้ต้องเตรียมคนงานเข้าสู่ระบบ เช่น โรงงานฮอนด้า ออโตโมบิล ที่จังหวัดปราจีนบุรี โรงงาน นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) ถนนบางนา -ตราด กม.21 ขณะที่อุตสาหกรรมสนับสนุนอีกหลายสายงาน มีการลงทุนเพื่อรองรับการผลิตรวมถึงการย้ายฐานการผลิตของบริษัทชิ้นส่วนจากจีน ออสเตรเลีย ที่เข้ามาตั้งโรงงานในไทย
“ไทยยังถือเป็นประเทศเป้าหมายในแง่ของการลงทุนภาคยานยนต์ในภูมิภาคอาเซียน ออสเตรเลียนั้น อุตสาหกรรมยานยนต์ ได้ทยอยปิดตัวลง และมองหาแหล่งลงทุนใหม่ๆ หลังจากปี 2555 ไทยได้เฉลิมฉลองยอดการผลิตมากกว่า 2 ล้านคันทั่วประเทศ และปี 2556 ไทยก็มียอดการผลิตราวๆ 2 ล้านคัน ซึ่ง 2 ล้านคันเป็นจุดคุ้มทุน ที่จะดึงดูดผู้สนใจลงทุนทางด้านนี้มากขึ้น"
ส่วนปีนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย คาดว่า จะผลิตได้ 2 ล้านคัน (แบ่งเป็น ในประเทศ 50:50 ส่งออก) ประกอบกับ อีโค คาร์ เฟส 2 จะเริ่มได้อีก 2 ปีข้างหน้า ทำให้กำลังการผลิตรถยนต์จะเพิ่มอีกในอนาคต
ด้าน ศาสตราภิชาน รศ. แล ดิลกวิทยรัตน์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงาน เสวนาพิเศษ เรื่อง ยานยนต์ผลกระทบจากสถานการณ์ปัจจุบัน ปัจจัยเสี่ยงด้านแรงงานมีผลหรือไม่ จัดโดย สหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย เมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่า แม้อุตสาหกรรมยานยนต์จะลดโอที ลดการผลิต แต่ผู้ผลิตก็ยังกังวลเรื่องของการขาดแคลนแรงงาน และกังวลเรื่องผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ระดับค่าแรงของปริญญาตรีจะต้องปรับโครงสร้างตามขึ้นด้วยแจงข้อพิพาทแรงงานยังมีอยู่
รายงานข่าว เปิดเผยว่า ข้อพิพาทแรงงานของอุตสาหกรรมยานยนต์ ในพื้นที่ผลิต เช่น นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ยังคงมีอยู่ แต่สามารถเจรจาตกลงกันได้ ล่าสุดเมื่อ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยผลการเจรจาหาข้อยุติข้อพิพาทแรงงาน ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง บริษัทสยามมิชลิน จำกัด จังหวัดชลบุรีว่า สามารถหาข้อยุติได้แล้ว โดยลูกจ้างยอมรับเงินตอบแทนพิเศษประจำปี และเตรียมกลับไปรายงานตัวที่บริษัท หลังประท้วงหยุดงานมาเป็นเวลา 50 วัน
สำหรับปริมาณคนงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ปัจจุบันจากข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย พบว่า ส่วนโรงงานผลิตมีคนงาน 1 แสนคน ขณะที่ภาคชิ้นส่วนยานยนต์ มีคนงาน 4.5 แสนคน และ แรงงานในอุตสาหกรรมสนับสนุน (ซัพพอร์ต) มีประมาณ 1 แสนคน เมื่อรวมในภาคบริการขายอีก 2 แสนคน เท่ากับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีคนงานรวม 8.5 แสนคน
ผลิตรถยนต์ไตรมาสแรกลด 28.28%
ก่อนหน้านี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตรถยนต์ไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ว่า มีจำนวน 517,492 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 28.28% เพราะไม่ต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถยนต์คันแรก และจากกำลังซื้อลดลง
ขณะที่การผลิตเพื่อส่งออกไตรมาสแรกรวม 287,795 คัน เท่ากับ 55.61% ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.63%
ส่วนการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ผลิตได้ 78,615 คัน เท่ากับ 43.35% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมี.ค. ของปีก่อน 50.99% และเดือนม.ค.-มี.ค. ที่ผ่านมา ผลิตได้ 229,697 คัน เท่ากับ 44.39% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนม.ค.-มี.ค. ของปีก่อน 47.26% เพราะไม่ต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถคันแรกแล้ว และภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่หดตัว
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมายอดขายในประเทศต่ำกว่าที่คาดไว้ 30% ทำให้ยากที่จะไปถึงเป้าหมาย 1.2 ล้านคัน ส่วนการส่งออกมั่นใจจะเป็นไปตามเป้า 1.2 ล้านคัน โดยเฉพาะยอดการส่งออกรถยนต์อีโคคาร์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก
โรงแรมโยกพนง.ไปทำงานตจว.
ด้านนางกมลวรรณ วิปุลากร กรรมการผู้จัดการใหญ่ ดิ เอราวัณ กรุ๊ป กล่าวว่า ช่วงที่โรงแรมในกรุงเทพฯ ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมือง ทำให้อัตราเข้าพักเฉลี่ยลดลง มีการเสนอให้พนักงานไปทำงานที่โรงแรมในต่างจังหวัดที่อยู่ในเครือข่ายของเอราวัณ กรุ๊ป ชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยงการปลดคนงาน เพราะที่ผ่านมาโรงแรม 8 แห่งที่มี อยู่ในจุดหมายท่องเที่ยวอื่นๆ ยังมีอัตราเข้าพักเฉลี่ยที่ดี ทั้ง ภูเก็ต สมุย กระบี่ และหัวหิน นอกจากนั้นส่วนหนึ่งยังสามารถใช้เครือข่ายเชนโรงแรมที่บริษัทเลือกเข้ามารับบริหาร ส่งพนักงานไปทำงานต่างประเทศ ขณะที่ไทยยังมีปัญหาการเมืองด้วย
ทั้งนี้ โรงแรม 8 แห่งในกรุงเทพฯ ก็ไม่ได้รับผลกระทบทุกที่ สังเกตจากโซนที่ตั้งห่างออกไปจากย่านชุมนุม เช่น ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ยังคงมีลูกค้านักท่องเที่ยวหนาแน่นเช่นเดิม ทำให้ยังคงอัตราจ้างประจำไว้ตามปกติ ยกเว้นบางแห่งอาจงดจ้างงานพนักงานชั่วคราวไปก่อน
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... งหนัก.html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 96
ปัญหาคือ ตัวเลขการส่งออกรถยนต์
หาข้อมูลมิได้ว่า ตัวเลขมีกี่คัน ประเภทไหนกี่คันบ้าง
ต้องหวังพึ่งพาข้อมูลจาก NYT อย่างเดียวเลย
แต่ในประเทศ มีข้อมูลทั้งยอดจดทะเบียนรถยนต์(รวมยอดต่อทะเบียน)
และ ยอดการขายรถยนต์(จากค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นรายใหญ่ของประเทศเป็นผู้เก็บข้อมูลไว้)
จุดนี้แหละที่ทำให้ยากต่อการประเมิน ว่าตกลงแ้ล้ว อุตสาหกรรมรถยนต์นั้นดีหรือแย่ลงอย่างไง
ซึ่งส่วนใหญ่อุตสาหกรรมรถยนต์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นในส่วนของการผลิตรถยนต์ แบบ OEM เป็นหลัก มิใช่ตลาดที่ผลิตเพื่อซ่อมแซมอุปกรณ์ภายในรถยนต์
ดังนั้นเกี่ยวข้องการผลิตและการจำหน่ายเป็นหลัก ดังนั้นไม่ใช่แค่ตัวเลขในประเทศเท่านั้น
มันต้องตามตัวเลขการส่งออกด้วย
หาข้อมูลมิได้ว่า ตัวเลขมีกี่คัน ประเภทไหนกี่คันบ้าง
ต้องหวังพึ่งพาข้อมูลจาก NYT อย่างเดียวเลย
แต่ในประเทศ มีข้อมูลทั้งยอดจดทะเบียนรถยนต์(รวมยอดต่อทะเบียน)
และ ยอดการขายรถยนต์(จากค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นรายใหญ่ของประเทศเป็นผู้เก็บข้อมูลไว้)
จุดนี้แหละที่ทำให้ยากต่อการประเมิน ว่าตกลงแ้ล้ว อุตสาหกรรมรถยนต์นั้นดีหรือแย่ลงอย่างไง
ซึ่งส่วนใหญ่อุตสาหกรรมรถยนต์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นในส่วนของการผลิตรถยนต์ แบบ OEM เป็นหลัก มิใช่ตลาดที่ผลิตเพื่อซ่อมแซมอุปกรณ์ภายในรถยนต์
ดังนั้นเกี่ยวข้องการผลิตและการจำหน่ายเป็นหลัก ดังนั้นไม่ใช่แค่ตัวเลขในประเทศเท่านั้น
มันต้องตามตัวเลขการส่งออกด้วย
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 98
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 97
สงสัยเรื่องส่งออกเหมือนกัน ดูเหมือนว่าดีขึ้น แต่ว่า ถ้าส่งออกยังดีอยู่ ทำไมบริษัทรถยนต์ถึงได้ลดโอทีลงเยอะมาก ๆmiracle เขียน:ปัญหาคือ ตัวเลขการส่งออกรถยนต์
หาข้อมูลมิได้ว่า ตัวเลขมีกี่คัน ประเภทไหนกี่คันบ้าง
ต้องหวังพึ่งพาข้อมูลจาก NYT อย่างเดียวเลย
แต่ในประเทศ มีข้อมูลทั้งยอดจดทะเบียนรถยนต์(รวมยอดต่อทะเบียน)
และ ยอดการขายรถยนต์(จากค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นรายใหญ่ของประเทศเป็นผู้เก็บข้อมูลไว้)
จุดนี้แหละที่ทำให้ยากต่อการประเมิน ว่าตกลงแ้ล้ว อุตสาหกรรมรถยนต์นั้นดีหรือแย่ลงอย่างไง
ซึ่งส่วนใหญ่อุตสาหกรรมรถยนต์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นในส่วนของการผลิตรถยนต์ แบบ OEM เป็นหลัก มิใช่ตลาดที่ผลิตเพื่อซ่อมแซมอุปกรณ์ภายในรถยนต์
ดังนั้นเกี่ยวข้องการผลิตและการจำหน่ายเป็นหลัก ดังนั้นไม่ใช่แค่ตัวเลขในประเทศเท่านั้น
มันต้องตามตัวเลขการส่งออกด้วย
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 972
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 98
ข่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วครับ
ยอดส่งออกรถยนต์มี.ค.ทุบสถิติ
ส่งออกรถยนต์ เดือนมีนาคมสูงสุดในรอบ 6 เดือนทะลุ 1.13 แสนคัน เพิ่มขึ้น 8.77 % ชี้ไตรมาสแรก ส่งรถสำเร็จรูปขายทั่วโลกโกยเงินกว่า 1.36 แสนล้านบาทแล้ว เพิ่มขึ้นกว่า 7 % แต่ภาคการผลิตลดลงกว่าปีก่อน 28 %
นายองอาจ พงศ์กิจวรสิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การส่งออก รถยนต์สำเร็จรูปในเดือนมีนาคม 2557 ส่งออกได้ 113,313 คัน เป็นอีกเดือนหนึ่งที่ส่งออกได้เกิน1แสนคัน สูงสุดในรอบ 6เดือน (ในปี 2556 ส่งออกเกิน 1 แสนคัน 3 เดือน คือ เดือนมีนาคม 104,178 คัน เดือนสิงหาคม 104,215 คัน และเดือนกันยายน 118,253 คัน) เพิ่มขึ้น 8.77 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีมูลค่าการส่งออก 52,843.89 ล้านบาท เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,982.45 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.78 %
ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 20,499.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.93 % อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,000.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.71 % รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์ เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่เดือนมีนาคม 2557 มีมูลค่า 78,325.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.11 %
อย่างไรก็ดีตั้งแต่เดือนมกราคม - มีนาคม 2557 มีการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 291,509 คัน เพิ่มขึ้น 1.25 % มีมูลค่าการส่งออก 136,336.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.43 % เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 7,984.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.97 % ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 52,303.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.08 % อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 5,148.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.61 % รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์ เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ เดือนมกราคม - มีนาคม 2557 มีมูลค่า 201,773.58 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.14 %
เช่นเดียวกับรถจักรยานยนต์ ที่พบว่าในเดือนมีนาคม 2557 มีจำนวนส่งออก 74,857 คัน (รวม CBU + CKD) ลดลง 6.14 % โดยมีมูลค่า 4,044.94 ล้านบาท ลดลง 6.44 % ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 598.59 ล้านบาท ลดลง 15.72 % อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 100.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.94 % รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนมีนาคม 2557 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ 4,744.09 ล้านบาท ลดลง 7.48 %
โดยในเดือนมกราคม - มีนาคม 2557 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 220,598 คัน (รวม CBU + CKD) ลดลง0.69 %โดยมีมูลค่า 11,971.02 ล้านบาท ลดลง 0.81 % ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,447.72 ล้านบาท ลดลง 31.93 % อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 240.19 ล้านบาท ลดลง 0.02 % รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์เดือนมกราคม - มีนาคม 2557 มีทั้งสิ้น 13,658.93 ล้านบาท ลดลง 5.38 %
รวม มูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์เดือนมกราคม - มีนาคม 2557 รวม มีทั้งสิ้น 215,432.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9 %
รายงานจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุว่า จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนมีนาคม 2557 มีทั้งสิ้น 181,334 คัน ลดลง 29.24 % เนื่องจากปีนี้ไม่ต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถคันแรกแล้ว รถยนต์นั่ง ผลิตได้ 70,097 คัน ลดลง 40.34 % รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ผลิตได้ 45 คัน ลดลง40 % รถกระบะขนาด 1 ตัน ผลิตได้ทั้งหมด 109,204 คัน ลดลง 18.48 %รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน - มากกว่า 10 ตัน ผลิตได้ 1,988 คัน ลดลง 58.07 % เป็นเดือนที่ 6 ที่ผลิตลดลงติดต่อกัน
สำหรับจำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม - มีนาคม 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 517,492 คัน ลดลง 28.28 %ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง มีจำนวน 205,041 คัน เท่ากับ 39.62 % ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลง 37.08 %รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ผลิตได้ 149 คัน ลดลง38.68 % รถกระบะขนาด 1 ตัน ผลิตได้ทั้งสิ้น 306,432 คัน เท่ากับ 59.21 % ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลง 19.77 % รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 - มากกว่า 10 ตัน ผลิตได้ 5,870 คัน ลดลง56.3 %เนื่องจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐที่ล่าช้าออกไป
ขณะที่การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมีนาคม 2557 พบว่าผลิตได้ทั้งสิ้น 225,405 คัน ลดลง13.05 %แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 174,580 คัน ลดลง 16.02 % และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 50,825 คัน ลดลง 1.01 % ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม - มีนาคม 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 608,051 คัน ลดลง 16.67 % แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 462,218 คัน ลดลง 21.36 % และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 145,833 คัน เพิ่มขึ้น 2.74 %
ยอดส่งออกรถยนต์มี.ค.ทุบสถิติ
ส่งออกรถยนต์ เดือนมีนาคมสูงสุดในรอบ 6 เดือนทะลุ 1.13 แสนคัน เพิ่มขึ้น 8.77 % ชี้ไตรมาสแรก ส่งรถสำเร็จรูปขายทั่วโลกโกยเงินกว่า 1.36 แสนล้านบาทแล้ว เพิ่มขึ้นกว่า 7 % แต่ภาคการผลิตลดลงกว่าปีก่อน 28 %
นายองอาจ พงศ์กิจวรสิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การส่งออก รถยนต์สำเร็จรูปในเดือนมีนาคม 2557 ส่งออกได้ 113,313 คัน เป็นอีกเดือนหนึ่งที่ส่งออกได้เกิน1แสนคัน สูงสุดในรอบ 6เดือน (ในปี 2556 ส่งออกเกิน 1 แสนคัน 3 เดือน คือ เดือนมีนาคม 104,178 คัน เดือนสิงหาคม 104,215 คัน และเดือนกันยายน 118,253 คัน) เพิ่มขึ้น 8.77 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีมูลค่าการส่งออก 52,843.89 ล้านบาท เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,982.45 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.78 %
ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 20,499.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.93 % อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,000.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.71 % รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์ เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่เดือนมีนาคม 2557 มีมูลค่า 78,325.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.11 %
อย่างไรก็ดีตั้งแต่เดือนมกราคม - มีนาคม 2557 มีการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 291,509 คัน เพิ่มขึ้น 1.25 % มีมูลค่าการส่งออก 136,336.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.43 % เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 7,984.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.97 % ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 52,303.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.08 % อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 5,148.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.61 % รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์ เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ เดือนมกราคม - มีนาคม 2557 มีมูลค่า 201,773.58 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.14 %
เช่นเดียวกับรถจักรยานยนต์ ที่พบว่าในเดือนมีนาคม 2557 มีจำนวนส่งออก 74,857 คัน (รวม CBU + CKD) ลดลง 6.14 % โดยมีมูลค่า 4,044.94 ล้านบาท ลดลง 6.44 % ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 598.59 ล้านบาท ลดลง 15.72 % อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 100.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.94 % รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนมีนาคม 2557 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ 4,744.09 ล้านบาท ลดลง 7.48 %
โดยในเดือนมกราคม - มีนาคม 2557 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 220,598 คัน (รวม CBU + CKD) ลดลง0.69 %โดยมีมูลค่า 11,971.02 ล้านบาท ลดลง 0.81 % ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,447.72 ล้านบาท ลดลง 31.93 % อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 240.19 ล้านบาท ลดลง 0.02 % รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์เดือนมกราคม - มีนาคม 2557 มีทั้งสิ้น 13,658.93 ล้านบาท ลดลง 5.38 %
รวม มูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์เดือนมกราคม - มีนาคม 2557 รวม มีทั้งสิ้น 215,432.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9 %
รายงานจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุว่า จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนมีนาคม 2557 มีทั้งสิ้น 181,334 คัน ลดลง 29.24 % เนื่องจากปีนี้ไม่ต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถคันแรกแล้ว รถยนต์นั่ง ผลิตได้ 70,097 คัน ลดลง 40.34 % รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ผลิตได้ 45 คัน ลดลง40 % รถกระบะขนาด 1 ตัน ผลิตได้ทั้งหมด 109,204 คัน ลดลง 18.48 %รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน - มากกว่า 10 ตัน ผลิตได้ 1,988 คัน ลดลง 58.07 % เป็นเดือนที่ 6 ที่ผลิตลดลงติดต่อกัน
สำหรับจำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม - มีนาคม 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 517,492 คัน ลดลง 28.28 %ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง มีจำนวน 205,041 คัน เท่ากับ 39.62 % ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลง 37.08 %รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ผลิตได้ 149 คัน ลดลง38.68 % รถกระบะขนาด 1 ตัน ผลิตได้ทั้งสิ้น 306,432 คัน เท่ากับ 59.21 % ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลง 19.77 % รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 - มากกว่า 10 ตัน ผลิตได้ 5,870 คัน ลดลง56.3 %เนื่องจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐที่ล่าช้าออกไป
ขณะที่การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนมีนาคม 2557 พบว่าผลิตได้ทั้งสิ้น 225,405 คัน ลดลง13.05 %แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 174,580 คัน ลดลง 16.02 % และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 50,825 คัน ลดลง 1.01 % ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม - มีนาคม 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 608,051 คัน ลดลง 16.67 % แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 462,218 คัน ลดลง 21.36 % และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 145,833 คัน เพิ่มขึ้น 2.74 %
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 972
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 99
อันนี้มีชาร์ตอยู่ในเว็บด้วยครับ
ยอดขายรถ3เดือนแรกร่วง47%
ผลกระทบการเมือง ฉุดลงทุนภาครัฐ-เชื่อมั่นผู้บริโภค ยอดขายรถ3เดือนแรกร่วง47% คาดยอดผลิตชะลอถึงไตรมาส 2 ขณะส่งออกยังโตจากเศรษฐกิจโลกฟื้น
ส.อ.ท.ยอดผลิตรถยนต์ไตรมาสแรก 5.17 แสนคัน ลดลง 28%
ค่ายรถทรุดหนัก ความเชื่อมั่นลด-ไร้รัฐบาล กระทบยอดขายในประเทศไตรมาสแรก ร่วงหนัก 47.26% ส.อ.ท.คาดต่อเนื่องถึงไตรมาส 2 รับยอดขายในประเทศปีนี้หลุดเป้า 1.2 ล้านคัน ด้านส่งออกยังโตได้ ขณะที่กลุ่มชิ้นส่วนรถ รับอานิสงส์ตลาดต่างประเทศฟื้น-ค่าบาทอ่อน คาดยอดส่งออกโต 20% พาณิชย์ผนึกเอกชนจัดงาน 'ทาปา 2014' เตรียมความพร้อมเอกชนรับเออีซี
ยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศลดลงอย่างหนัก จากผลกระทบทางการเมือง โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐชะลอ เนื่องจากยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการจัดซื้อจัดจ้างและกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
นายองอาจ พงศ์กิจวรสิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ยอดผลิตรถยนต์ในไตรมาสแรก มีจำนวน 517,492 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 28.28% เนื่องจากไม่ต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถยนต์คันแรกและจากกำลังซื้อลดลง
ยอดผลิตรถยนต์นั่งในไตรมาสแรก มีจำนวน 205,041 คัน มีสัดส่วน 39.62% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากไตรมาส 1 ของปีก่อน 37.08% รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตันขึ้นไป ในไตรมาส 1 ผลิตได้ 149 คัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 38.68% รถยนต์บรรทุกและรถกระบะขนาด 1 ตัน ไตรมาส 1 ผลิตได้ทั้งสิ้น 312,302 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 21.01%
การผลิตเพื่อส่งออกในไตรมาสแรก รวม 287,795 คัน เท่ากับ 55.61% ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.63%
ยอดผลิตรถเดือนมี.ค. ลดลงกว่า 50%
ขณะที่การผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ เดือนมี.ค. 2557 ผลิตได้ 78,615 คัน เท่ากับ 43.35% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมี.ค. ของปีก่อน 50.99% และเดือนม.ค.-มี.ค. 2557 ผลิตได้ 229,697 คัน เท่ากับ 44.39% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนม.ค.-มี.ค. ของปีก่อน 47.26% เนื่องจากไม่ต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถคันแรกแล้วและภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่หดตัว
สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ ในเดือนมี.ค. 2557 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 225,405 คัน ลดลงจากเดือนมี.ค. ของปีก่อน 13.05% แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป 174,580 คัน ลดลงจากปีก่อน 16.02% และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ 50,825 คัน ลดลงจากปีก่อน 1.01% ส่วนยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนม.ค. - มี.ค. 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 608,051 คัน ลดลงจากปีก่อน 16.67% แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป 462,218 คัน ลดลงจากปีก่อน 21.36% และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ 145,833 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.74%
คาดผลิตรถยนต์ลดลงถึงกลางปีนี้
สำหรับไตรมาสสอง (เม.ย.- มิ.ย. 2557) คาดว่าจะสามารถผลิตได้ 499,900 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนเม.ย.-มิ.ย. 2556 มีจำนวน 619,423 คัน ลดลง 119,523 คัน หรือ 19.3% เนื่องจากปีที่แล้วต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถคันแรก
ส่วนประมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนเม.ย.-มิ.ย. 2557 มีจำนวน 575,007 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มียอดผลิต 606,840 คัน ลดลง 31,833 คัน หรือ 5.25%
ยอดขายภายในลด30%ยากทำได้1.2ล้านคัน
ด้าน นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ยอดขายในประเทศต่ำกว่าที่คาดไว้ประมาณ 30% ทำให้ยากที่จะไปถึงเป้าหมาย 1.2 ล้านคัน ส่วนการส่งออกมั่นใจว่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย 1.2 ล้านคัน โดยเฉพาะยอดการส่งออกรถยนต์อีโคคาร์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก
"กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ยังไม่ปรับเป้าหมายการผลิตปีนี้ เพราะว่าต้องดูตัวเลขการส่งออกครึ่งปีก่อน จึงจะประเมินทั้งปี"
นายศุภรัตน์ กล่าวว่ายอดขายในประเทศลดลงมาก เนื่องจากงบการลงทุนภาครัฐเป็นเครื่องจักรใหญ่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหายไปจากระบบ ทำให้ยอดขายรถยนต์ทุกชนิดลดลง โดยเฉพาะยอดขายรถบรรทุกขนาดใหญ่ลดลงมาก เพราะโครงการก่อสร้างภาครัฐลดลง หากสามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ และเร่งอนุมัติงบโครงการลงทุนภาครัฐ ทำให้การบริโภคภายในประเทศฟื้นตัวได้เร็ว
บาทอ่อนดันส่งออกชิ้นส่วนพุ่ง
นางอัชณา ลิมป์ไพฑูรย์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA) กล่าวว่า ภาวะของชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมต่อเนื่องการผลิตชิ้นส่วน ได้รับผลกระทบจากตลาดในประเทศที่ชะลอตัว ซึ่งข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมระบุว่า ภาคการผลิตชะลอตัว 30% ส่วนภาคการขายลดลง 45%
อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าภาคการส่งออกไปต่างประเทศเป็นไปด้วยดีจากปัจจัยส่งเสริม 2 ประการ คือ การฟื้นตัวของตลาดรถยนต์ทั่วโลกเช่น ยุโรป อเมริกา ซึ่งเคยเป็นตลาดที่ซบเซาได้ช่วยให้การส่งออกชิ้นส่วนเติบโตขึ้นประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทในขณะนี้อยู่ในภาวะอ่อนตัว ทำให้รายได้และยอดขายเพิ่มขึ้น ส่วนผลกระทบกับผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ทำตลาดอาร์อี นั้นถือว่า ยังมีไม่มากนักเพราะว่าตลาด อุปกรณ์ตกแต่งและตลาดอะไหล่ยังมีการเติบโตที่ดี
"2 เดือนที่ผ่านมาตัวเลขการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย ยังเติบโตได้ในระดับ 20% ตลาดต่างประเทศดีขึ้นทุกอย่าง สำหรับในส่วนของการส่งออกสินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ในเดือนม.ค มีมูลค่า 971.95 ล้านดอลลาร์ มีอัตราขยายตัว 3.05% จากช่วงเดียวกันของปี 2556 คิดเป็นสัดส่วน 5.40% มีแนวโน้มการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยจะเพิ่มมากขึ้นจากการที่ตลาดรถยนต์ในประเทศเริ่มชะลอตัวและการส่งออกรถมีสัดส่วนสูงขึ้น ในขณะที่ข้อดีเนื่องค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ซึ่งสัดส่วนของการผลิตเพื่อจำหน่าย ในปัจจุบัน ยานยนต์ไทย มีการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ 40% และผลิตเพื่อใช้ในประเทศในสัดส่วน 60%
ทั้งนี้ ในแต่ละปีมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์จากไทย อยู่ที่ประมาณ 3-4 แสนบ้านบาท ซึ่งในปีนี้คาดว่าหากภาวะยังเป็นเช่นนี้อยู่ ตลาดรวมจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นราว 10%" นางอัชณา กล่าวและว่า ในขณะที่มูลค่าตลาดรวมชิ้นส่วนจากยอดการจำหน่ายในประเทศในเดือนม.ค.-ก.พ. 57 เฉลี่ยที่เดือนละ 8 หมื่นคัน โดยส่งออกอยู่ที่ราว 9 หมื่นคัน
"เรามั่นใจว่ามูลค่าตลาดรวมของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 6 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการคิดจากยอดผลิตรถยนต์รวมประมาณ 2.4 ล้านคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 1.2-1.3 ล้านคัน และยอดขายในประเทศ 1.2 ล้านคัน"
ชิ้นส่วนหวังโรงงานรถขยายส่งออก
นายปราโมทย์ พงษ์ทอง นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย กล่าวว่า ตลาดชิ้นส่วนแบ่งออกเป็น 3 ตลาด คือ ผู้ผลิตเพื่อเข้าโรงงานประกอบ (OEM : Origianl Equipment Manufacturer) ผู้ผลิตสินค้าเป็นอะไหล่ทดแทน (REM : Replacement Equipment Manufacturer) และผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นอุปกรณ์ตกแต่ง
สำหรับผู้ผลิตที่เข้าโรงงานประกอบ กำลังรอความหวังว่า โรงงานประกอบ ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์จะเร่งหาตลาดเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่ชะลอตัว ซึ่งจะทำให้ชิ้นส่วนในตลาดนี้ฟื้นตัว สำหรับภาคการผลิตรถยนต์ที่จะเพิ่มประเทศที่ส่งออกนั้น กลุ่มชิ้นส่วนคงจะไปทำอะไรได้ไม่มาก แต่ขณะนี้ทิศทางเชื่อว่าเจ้าของแบรนด์หลายรายต่างก็มองการส่งออกทดแทนตลาดในประเทศ
"ขณะนี้ภาวะการค้าขายรถในตลาดโลกคลี่คลาย ตลาดหลายๆ แห่งฟื้นตัวขึ้น นอกจากนี้อัตราแลกเปลี่ยนก็เกื้อหนุนขึ้นอยู่ว่าแบรนด์เหล่านั้นจะขยายตลาดสินค้าที่ผลิตจากไทยได้ดีแค่ไหน ซึ่งที่ผ่านมาไทยผลิตรถยนต์คิดเป็นจำนวน 2 ล้านคัน และมีการส่งออก 1 ล้านคัน หรือ 50% ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่สูงพอสมควร"
นายปราโมทย์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาตลาดในประเทศลดลง การแก้ไขปัญหาในส่วนของกำลังการผลิตล้น คือ การลดซับคอนแทรคเตอร์ และ การลดโอที จากสิ่งที่ทำเกินตัว ลง เช่น จากเดิมทำงาน สองกะ บวกโอที เหลือ 1 กะ (1 กะ =8 ชั่วโมงทำงานปกติ) บวกโอที ส่วนตลาดอาร์ดี นั้น ไทยยังคงแข่งขันได้ดี ตลาดมีอัตราการเติบโต 10-20%
แต่ตลาดนี้อาจจะได้รับผลกระทบจากแรงซื้อภายในประเทศ จากความไม่มั่นใจอันเนื่องมาจากปัญหาการเมือง ทำให้ผู้บริโภคจ่ายน้อยลง
"เราอาจจะได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว คนหันมาบำรุงรักษารถเก่ามากขึ้นเพราะไม่สามารถซื้อรถใหม่ ตลาดก็รับแรงซื้อส่วนนี้ แต่ก็สูญเสียส่วนที่เคยใช้จ่ายปกติเมื่อมีรายได้ เช่น การซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อทำให้รถดีขึ้น คนแต่งรถน้อยลง นอกจากนี้แม้จะต้องจ่ายเงินเพื่อบำรุงรักษารถเก่าแต่ก็จ่ายน้อย จ่ายเท่าที่จำเป็น"
หวัง'ทาปา 2014'ดันยอดชิ้นส่วน
วานนี้ (28 เม.ย.) ที่ไบเทค บางนา นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA) และ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดพิธีเปิด “งานแสดงสินค้ายานยนต์ ชิ้นส่วน อะไหล่ยานยนต์ และอุปกรณ์ตกแต่ง 2557 หรือ Thailand Auto Parts & Accessories 2014 (ทาปา 2014)” โดยมีค่ายรถยนต์และบริษัทชั้นนำจากทั่วโลก 468 บริษัท 863 คูหา เข้าร่วมงาน
งานนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 เม. ย. -1 พ. ค. 2557 โดยวันที่ 28-30 เม. ย. 2557 เป็นวันเจรจาธุรกิจ และวันที่ 1 พ.ค. 2557 เป็นวันค้าปลีก สำหรับประชาชนทั่วไป
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าในงานนี้มีค่ายรถยนต์ และผู้ประกอบการทั้งจากไทยและต่างประเทศร่วมงาน ได้แก่ จีน ไต้หวัน มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง อินเดีย สิงคโปร์ เป็นต้น
ชี้เปิดเออีซีเป็นโอกาสยานยนต์ไทย
"ในปีได้จัดอย่างยิ่งใหญ่เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี พร้อมผลักดันในการใช้ประโยชน์จากการเปิดตลาดทั้งด้านการค้าและการลงทุน อันจะส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสขยายการค้าระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากตลาดภูมิภาคอาเซียนเป็นตลาดขนาดใหญ่ และที่มีความสำคัญมากขึ้นในโลกการค้าขณะนี้"
คาดว่าตลอดการจัดงานทั้ง 4 วัน จะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1.6 หมื่นราย และมีเงินสะพัดประมาณ 800 ล้านบาท และคาดว่าจะมีการทำธุรกิจหลังจบงานมูลค่าเงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 5,000-6,500 ล้านบาท
สำหรับงาน ทาปา 2014 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 เป็นการจัดปีเว้นปี ซึ่งในการจัดครั้งแรกตรงกับช่วงที่ไทยฉลองการผลิตครบ 1 ล้านคัน ในปี 2005 ในช่วงแรกของการจัดงานจะเน้นส่งเสริมให้มีการส่งออกชิ้นส่วนไทยให้มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเอสเอ็มอี ( SME) ที่ไม่ค่อยทำการส่งออก ทั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ให้เติบโตยิ่งขึ้น และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา การส่งออกชิ้นส่วนไทยเติบโต 8-10% และมีมูลค่าอยู่ที่กว่า 3-4 แสนล้านบาทต่อปี
สำหรับประเทศที่ไทยส่งออกให้มากเป็นลำดับต้นๆ คือ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย บราซิล แอฟริกาใต้ อินเดีย และ สหรัฐอเมริกา กล่าวได้ว่าในอาเซียนไทยเป็นผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของการผลิตทั้งหมด
ทั้งนี้ ในปี 2013 กลุ่มประเทศอาเซียน สามารถผลิตได้รวม 4.3 ล้านคัน และไทยผลิตได้ 2.47 ล้านคัน ดังนั้นไทยจึงเป็นฐานที่สำคัญในภูมิภาคนี้ และมีการผลิตรถยนต์จัดว่าอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลกและอาเซียน โดยตั้งเป้าจะผลิตรวมกันเป็นที่ 6 ของโลก และตั้งเป้าประเทศไทยจะผลิตได้ปีละ 3 ล้านคัน ในปี 2017
"โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ระยะที่ 2 หรือ อีโคคาร์ 2 จะเป็นตัวผลักดันที่สำคัญยิ่งในอนาคตอันใกล้"
ยอดขายรถ3เดือนแรกร่วง47%
ผลกระทบการเมือง ฉุดลงทุนภาครัฐ-เชื่อมั่นผู้บริโภค ยอดขายรถ3เดือนแรกร่วง47% คาดยอดผลิตชะลอถึงไตรมาส 2 ขณะส่งออกยังโตจากเศรษฐกิจโลกฟื้น
ส.อ.ท.ยอดผลิตรถยนต์ไตรมาสแรก 5.17 แสนคัน ลดลง 28%
ค่ายรถทรุดหนัก ความเชื่อมั่นลด-ไร้รัฐบาล กระทบยอดขายในประเทศไตรมาสแรก ร่วงหนัก 47.26% ส.อ.ท.คาดต่อเนื่องถึงไตรมาส 2 รับยอดขายในประเทศปีนี้หลุดเป้า 1.2 ล้านคัน ด้านส่งออกยังโตได้ ขณะที่กลุ่มชิ้นส่วนรถ รับอานิสงส์ตลาดต่างประเทศฟื้น-ค่าบาทอ่อน คาดยอดส่งออกโต 20% พาณิชย์ผนึกเอกชนจัดงาน 'ทาปา 2014' เตรียมความพร้อมเอกชนรับเออีซี
ยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศลดลงอย่างหนัก จากผลกระทบทางการเมือง โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐชะลอ เนื่องจากยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการจัดซื้อจัดจ้างและกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
นายองอาจ พงศ์กิจวรสิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ยอดผลิตรถยนต์ในไตรมาสแรก มีจำนวน 517,492 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 28.28% เนื่องจากไม่ต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถยนต์คันแรกและจากกำลังซื้อลดลง
ยอดผลิตรถยนต์นั่งในไตรมาสแรก มีจำนวน 205,041 คัน มีสัดส่วน 39.62% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากไตรมาส 1 ของปีก่อน 37.08% รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตันขึ้นไป ในไตรมาส 1 ผลิตได้ 149 คัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 38.68% รถยนต์บรรทุกและรถกระบะขนาด 1 ตัน ไตรมาส 1 ผลิตได้ทั้งสิ้น 312,302 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 21.01%
การผลิตเพื่อส่งออกในไตรมาสแรก รวม 287,795 คัน เท่ากับ 55.61% ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.63%
ยอดผลิตรถเดือนมี.ค. ลดลงกว่า 50%
ขณะที่การผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ เดือนมี.ค. 2557 ผลิตได้ 78,615 คัน เท่ากับ 43.35% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมี.ค. ของปีก่อน 50.99% และเดือนม.ค.-มี.ค. 2557 ผลิตได้ 229,697 คัน เท่ากับ 44.39% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนม.ค.-มี.ค. ของปีก่อน 47.26% เนื่องจากไม่ต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถคันแรกแล้วและภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่หดตัว
สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ ในเดือนมี.ค. 2557 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 225,405 คัน ลดลงจากเดือนมี.ค. ของปีก่อน 13.05% แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป 174,580 คัน ลดลงจากปีก่อน 16.02% และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ 50,825 คัน ลดลงจากปีก่อน 1.01% ส่วนยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนม.ค. - มี.ค. 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 608,051 คัน ลดลงจากปีก่อน 16.67% แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป 462,218 คัน ลดลงจากปีก่อน 21.36% และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ 145,833 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.74%
คาดผลิตรถยนต์ลดลงถึงกลางปีนี้
สำหรับไตรมาสสอง (เม.ย.- มิ.ย. 2557) คาดว่าจะสามารถผลิตได้ 499,900 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนเม.ย.-มิ.ย. 2556 มีจำนวน 619,423 คัน ลดลง 119,523 คัน หรือ 19.3% เนื่องจากปีที่แล้วต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถคันแรก
ส่วนประมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนเม.ย.-มิ.ย. 2557 มีจำนวน 575,007 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มียอดผลิต 606,840 คัน ลดลง 31,833 คัน หรือ 5.25%
ยอดขายภายในลด30%ยากทำได้1.2ล้านคัน
ด้าน นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ยอดขายในประเทศต่ำกว่าที่คาดไว้ประมาณ 30% ทำให้ยากที่จะไปถึงเป้าหมาย 1.2 ล้านคัน ส่วนการส่งออกมั่นใจว่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย 1.2 ล้านคัน โดยเฉพาะยอดการส่งออกรถยนต์อีโคคาร์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก
"กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ยังไม่ปรับเป้าหมายการผลิตปีนี้ เพราะว่าต้องดูตัวเลขการส่งออกครึ่งปีก่อน จึงจะประเมินทั้งปี"
นายศุภรัตน์ กล่าวว่ายอดขายในประเทศลดลงมาก เนื่องจากงบการลงทุนภาครัฐเป็นเครื่องจักรใหญ่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหายไปจากระบบ ทำให้ยอดขายรถยนต์ทุกชนิดลดลง โดยเฉพาะยอดขายรถบรรทุกขนาดใหญ่ลดลงมาก เพราะโครงการก่อสร้างภาครัฐลดลง หากสามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ และเร่งอนุมัติงบโครงการลงทุนภาครัฐ ทำให้การบริโภคภายในประเทศฟื้นตัวได้เร็ว
บาทอ่อนดันส่งออกชิ้นส่วนพุ่ง
นางอัชณา ลิมป์ไพฑูรย์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA) กล่าวว่า ภาวะของชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมต่อเนื่องการผลิตชิ้นส่วน ได้รับผลกระทบจากตลาดในประเทศที่ชะลอตัว ซึ่งข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมระบุว่า ภาคการผลิตชะลอตัว 30% ส่วนภาคการขายลดลง 45%
อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าภาคการส่งออกไปต่างประเทศเป็นไปด้วยดีจากปัจจัยส่งเสริม 2 ประการ คือ การฟื้นตัวของตลาดรถยนต์ทั่วโลกเช่น ยุโรป อเมริกา ซึ่งเคยเป็นตลาดที่ซบเซาได้ช่วยให้การส่งออกชิ้นส่วนเติบโตขึ้นประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทในขณะนี้อยู่ในภาวะอ่อนตัว ทำให้รายได้และยอดขายเพิ่มขึ้น ส่วนผลกระทบกับผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ทำตลาดอาร์อี นั้นถือว่า ยังมีไม่มากนักเพราะว่าตลาด อุปกรณ์ตกแต่งและตลาดอะไหล่ยังมีการเติบโตที่ดี
"2 เดือนที่ผ่านมาตัวเลขการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย ยังเติบโตได้ในระดับ 20% ตลาดต่างประเทศดีขึ้นทุกอย่าง สำหรับในส่วนของการส่งออกสินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ในเดือนม.ค มีมูลค่า 971.95 ล้านดอลลาร์ มีอัตราขยายตัว 3.05% จากช่วงเดียวกันของปี 2556 คิดเป็นสัดส่วน 5.40% มีแนวโน้มการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยจะเพิ่มมากขึ้นจากการที่ตลาดรถยนต์ในประเทศเริ่มชะลอตัวและการส่งออกรถมีสัดส่วนสูงขึ้น ในขณะที่ข้อดีเนื่องค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ซึ่งสัดส่วนของการผลิตเพื่อจำหน่าย ในปัจจุบัน ยานยนต์ไทย มีการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ 40% และผลิตเพื่อใช้ในประเทศในสัดส่วน 60%
ทั้งนี้ ในแต่ละปีมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์จากไทย อยู่ที่ประมาณ 3-4 แสนบ้านบาท ซึ่งในปีนี้คาดว่าหากภาวะยังเป็นเช่นนี้อยู่ ตลาดรวมจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นราว 10%" นางอัชณา กล่าวและว่า ในขณะที่มูลค่าตลาดรวมชิ้นส่วนจากยอดการจำหน่ายในประเทศในเดือนม.ค.-ก.พ. 57 เฉลี่ยที่เดือนละ 8 หมื่นคัน โดยส่งออกอยู่ที่ราว 9 หมื่นคัน
"เรามั่นใจว่ามูลค่าตลาดรวมของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 6 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการคิดจากยอดผลิตรถยนต์รวมประมาณ 2.4 ล้านคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 1.2-1.3 ล้านคัน และยอดขายในประเทศ 1.2 ล้านคัน"
ชิ้นส่วนหวังโรงงานรถขยายส่งออก
นายปราโมทย์ พงษ์ทอง นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย กล่าวว่า ตลาดชิ้นส่วนแบ่งออกเป็น 3 ตลาด คือ ผู้ผลิตเพื่อเข้าโรงงานประกอบ (OEM : Origianl Equipment Manufacturer) ผู้ผลิตสินค้าเป็นอะไหล่ทดแทน (REM : Replacement Equipment Manufacturer) และผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นอุปกรณ์ตกแต่ง
สำหรับผู้ผลิตที่เข้าโรงงานประกอบ กำลังรอความหวังว่า โรงงานประกอบ ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์จะเร่งหาตลาดเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่ชะลอตัว ซึ่งจะทำให้ชิ้นส่วนในตลาดนี้ฟื้นตัว สำหรับภาคการผลิตรถยนต์ที่จะเพิ่มประเทศที่ส่งออกนั้น กลุ่มชิ้นส่วนคงจะไปทำอะไรได้ไม่มาก แต่ขณะนี้ทิศทางเชื่อว่าเจ้าของแบรนด์หลายรายต่างก็มองการส่งออกทดแทนตลาดในประเทศ
"ขณะนี้ภาวะการค้าขายรถในตลาดโลกคลี่คลาย ตลาดหลายๆ แห่งฟื้นตัวขึ้น นอกจากนี้อัตราแลกเปลี่ยนก็เกื้อหนุนขึ้นอยู่ว่าแบรนด์เหล่านั้นจะขยายตลาดสินค้าที่ผลิตจากไทยได้ดีแค่ไหน ซึ่งที่ผ่านมาไทยผลิตรถยนต์คิดเป็นจำนวน 2 ล้านคัน และมีการส่งออก 1 ล้านคัน หรือ 50% ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่สูงพอสมควร"
นายปราโมทย์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาตลาดในประเทศลดลง การแก้ไขปัญหาในส่วนของกำลังการผลิตล้น คือ การลดซับคอนแทรคเตอร์ และ การลดโอที จากสิ่งที่ทำเกินตัว ลง เช่น จากเดิมทำงาน สองกะ บวกโอที เหลือ 1 กะ (1 กะ =8 ชั่วโมงทำงานปกติ) บวกโอที ส่วนตลาดอาร์ดี นั้น ไทยยังคงแข่งขันได้ดี ตลาดมีอัตราการเติบโต 10-20%
แต่ตลาดนี้อาจจะได้รับผลกระทบจากแรงซื้อภายในประเทศ จากความไม่มั่นใจอันเนื่องมาจากปัญหาการเมือง ทำให้ผู้บริโภคจ่ายน้อยลง
"เราอาจจะได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว คนหันมาบำรุงรักษารถเก่ามากขึ้นเพราะไม่สามารถซื้อรถใหม่ ตลาดก็รับแรงซื้อส่วนนี้ แต่ก็สูญเสียส่วนที่เคยใช้จ่ายปกติเมื่อมีรายได้ เช่น การซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อทำให้รถดีขึ้น คนแต่งรถน้อยลง นอกจากนี้แม้จะต้องจ่ายเงินเพื่อบำรุงรักษารถเก่าแต่ก็จ่ายน้อย จ่ายเท่าที่จำเป็น"
หวัง'ทาปา 2014'ดันยอดชิ้นส่วน
วานนี้ (28 เม.ย.) ที่ไบเทค บางนา นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA) และ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดพิธีเปิด “งานแสดงสินค้ายานยนต์ ชิ้นส่วน อะไหล่ยานยนต์ และอุปกรณ์ตกแต่ง 2557 หรือ Thailand Auto Parts & Accessories 2014 (ทาปา 2014)” โดยมีค่ายรถยนต์และบริษัทชั้นนำจากทั่วโลก 468 บริษัท 863 คูหา เข้าร่วมงาน
งานนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 เม. ย. -1 พ. ค. 2557 โดยวันที่ 28-30 เม. ย. 2557 เป็นวันเจรจาธุรกิจ และวันที่ 1 พ.ค. 2557 เป็นวันค้าปลีก สำหรับประชาชนทั่วไป
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าในงานนี้มีค่ายรถยนต์ และผู้ประกอบการทั้งจากไทยและต่างประเทศร่วมงาน ได้แก่ จีน ไต้หวัน มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง อินเดีย สิงคโปร์ เป็นต้น
ชี้เปิดเออีซีเป็นโอกาสยานยนต์ไทย
"ในปีได้จัดอย่างยิ่งใหญ่เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี พร้อมผลักดันในการใช้ประโยชน์จากการเปิดตลาดทั้งด้านการค้าและการลงทุน อันจะส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสขยายการค้าระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากตลาดภูมิภาคอาเซียนเป็นตลาดขนาดใหญ่ และที่มีความสำคัญมากขึ้นในโลกการค้าขณะนี้"
คาดว่าตลอดการจัดงานทั้ง 4 วัน จะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1.6 หมื่นราย และมีเงินสะพัดประมาณ 800 ล้านบาท และคาดว่าจะมีการทำธุรกิจหลังจบงานมูลค่าเงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 5,000-6,500 ล้านบาท
สำหรับงาน ทาปา 2014 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 เป็นการจัดปีเว้นปี ซึ่งในการจัดครั้งแรกตรงกับช่วงที่ไทยฉลองการผลิตครบ 1 ล้านคัน ในปี 2005 ในช่วงแรกของการจัดงานจะเน้นส่งเสริมให้มีการส่งออกชิ้นส่วนไทยให้มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเอสเอ็มอี ( SME) ที่ไม่ค่อยทำการส่งออก ทั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ให้เติบโตยิ่งขึ้น และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา การส่งออกชิ้นส่วนไทยเติบโต 8-10% และมีมูลค่าอยู่ที่กว่า 3-4 แสนล้านบาทต่อปี
สำหรับประเทศที่ไทยส่งออกให้มากเป็นลำดับต้นๆ คือ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย บราซิล แอฟริกาใต้ อินเดีย และ สหรัฐอเมริกา กล่าวได้ว่าในอาเซียนไทยเป็นผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของการผลิตทั้งหมด
ทั้งนี้ ในปี 2013 กลุ่มประเทศอาเซียน สามารถผลิตได้รวม 4.3 ล้านคัน และไทยผลิตได้ 2.47 ล้านคัน ดังนั้นไทยจึงเป็นฐานที่สำคัญในภูมิภาคนี้ และมีการผลิตรถยนต์จัดว่าอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลกและอาเซียน โดยตั้งเป้าจะผลิตรวมกันเป็นที่ 6 ของโลก และตั้งเป้าประเทศไทยจะผลิตได้ปีละ 3 ล้านคัน ในปี 2017
"โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ระยะที่ 2 หรือ อีโคคาร์ 2 จะเป็นตัวผลักดันที่สำคัญยิ่งในอนาคตอันใกล้"
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 100
ตลาด รถยนต์ยังทรุดต่อเนื่อง ประธานหอการค้าญี่ปุ่นฟันธงทั้งปีขายได้แค่ 9 แสนคัน เผยตัวเลขผลิตรถยนต์ 4 เดือนแรกลดฮวบเกือบ 50% หลังค่ายรถเบรกกำลังผลิต โตโยต้า-มิตซูบิชิ-นิสสัน-ฮอนด้า โอดต่ำสุดในรอบหลายปี
แหล่งข่าวจากที่ประชุมหอการค้าญี่ปุ่น หรือเจซีซี เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในการประชุมสมาชิกหอการค้าญี่ปุ่นครั้งล่าสุด ได้มีการหารือถึงยอดผลิตและยอดขายรถยนต์ในประเทศไทย ซึ่งนายเคียวอิจิ ทานาดะ ในฐานะประธานหอการค้าญี่ปุ่น และกรรมการผู้จัดการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ยอดขายรวมรถยนต์ปี 2557 น่าจะเหลือแค่ 9 แสนคัน จากเดิมที่ประเมินกันว่าจะมีมากกว่าล้านคัน
แหล่งข่าวกล่าว อีกว่า ประธานในที่ประชุมยังแนะนำให้แต่ละค่ายเร่งมือกระตุ้นตลาด เนื่องจากมองว่ากำลังซื้อในตลาดยังมี เพียงแต่ผู้บริโภคขาดมู้ดในการจับจ่ายเท่านั้น
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานเพิ่มเติมว่า สอดคล้องกับสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ซึ่งประเมินตลาดในระดับใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เนื่องจากมีสัญญาณการลดกำลังผลิตจากค่ายรถยนต์ส่งมายังผู้ผลิตชิ้น ส่วนอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ช่วงต้นปีเป็นต้นมา คำสั่งซื้อชิ้นส่วนเพื่อนำไปประกอบรถยนต์ของค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ลดลงจากเดิมมาก ทั้งนี้เป็นผลเนื่องจากค่ายรถยนต์พยายามบริหารจัดการสต๊อกรถยนต์ที่มีอยู่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
"ค่ายรถยนต์ใหญ่ ๆ ลดกำลังผลิตลงไปกว่า 50% แล้ว โตโยต้า มิตซูบิชิก็ลดเยอะ ส่วนบางค่ายซึ่งเป็นรายเล็ก ๆ ก็อาจจะขยับลดลงไปถึง 70%"
นาย พิทักษ์ พฤทธิสาริกร ประธานเจ้าหน้าปฏิบัติการ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า สภาพตลาดรถยนต์ในประเทศไทยหดตัวเยอะ ฮอนด้าประเมินยอดรวมน่าจะอยู่แค่ล้านคันหรือต่ำกว่า ทั้งนี้เป็นผลกระทบต่อเนื่องมาจากการดึงดีมานด์ไปใช้ล่วงหน้าถึง 2 ครั้งจากโครงการนโยบายรถยนต์คันแรก และการทำแคมเปญกระตุ้นของทุกค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมาประกอบ กับความไม่ชัดเจนทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางการเมือง ยังได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจซื้อรถยนต์คันใหม่ของ ผู้บริโภค
สำหรับฮอนด้าเองนั้น ตั้งเป้ายอดขายปีนี้ไว้แค่ 160,000 คัน ซึ่งยังคงมีความมั่นใจว่าจะทำได้ตามเป้าที่ตั้งเป้าไว้ เนื่องจากบริษัทเตรียมส่งรถยนต์รุ่นใหม่และรุ่นไมเนอร์เชนจ์ออกสู่ตลาด เชื่อว่าจะเป็นการช่วยกระตุ้นตลาดได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ ฮอนด้าได้ปรับลดกำลังการผลิตมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับดีมานด์ของ ตลาด โดยคาดว่าปีทั้งปีนี้ฮอนด้าจะมีการใช้กำลังผลิตรถยนต์เพียงแค่ 60% ของกำลังผลิตทั้งหมดที่ 300,000 คันต่อปี
ด้านความคืบหน้าของโรงงาน ผลิตรถยนต์ฮอนด้าแห่งที่ 2 จังหวัดปราจีนบุรี ขณะนี้การดำเนินการก่อสร้างและการลงทุนต่าง ๆ ยังคงเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ เพียงแต่ในส่วนของแผนการเปิดไลน์ผลิต เดิมฮอนด้าคาดว่าจะเปิดราวเดือนเมษายน 2558 ตอนนี้ตัดสินใจเลื่อนแผนงานดังกล่าวออกไปอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี เพื่อรอดูสถานการณ์และประเมินความพร้อมของตลาดรถยนต์โดยรวม
พร้อม กันนี้นายพิทักษ์ยืนยันว่า โรงงานผลิตรถยนต์แห่งที่ 2 ของฮอนด้า ไม่มีผลต่อการเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์เฟส 2 แต่อย่างใด เนื่องจากเป็นการลงทุนคนละส่วน
เช่นเดียวกับนายประพัฒน์ เชยชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสการตลาดและการขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวยอมรับกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สภาพตลาดรถยนต์โดยรวมในขณะนี้ ถือเป็นช่วงของการปรับฐานที่ควรจะเป็น ตั้งแต่ช่วงต้นปีเป็นต้นมาจะเห็นภาพของการระบายสต๊อกของค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ทั้งความพยายามที่จะรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด ทำให้เกิดการแข่งขันค่อนข้างรุนแรง
สำหรับนิสสัน ไตรมาสแรกที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของ ตลาดไปพอสมควร ลดสต๊อกให้สมดุล ประกอบกับขณะนี้โรงงานอยู่ระหว่างการปรับปรุง เตรียมความพร้อม และปรับย้ายไลน์ผลิต ทั้งบุคลากร เครื่องจักรสำหรับโรงงานแห่งใหม่ที่ขณะนี้เริ่มทดลองประกอบรถยนต์รุ่นใหม่ไป บ้างแล้ว ซึ่งถือเป็นจังหวะดีของนิสสัน
สำหรับสถานการณ์ของตลาดโดย รวม นายประพัฒน์ยังยืนยันเช่นเดิมตั้งแต่ต้นปีว่า นิสสันเชื่อยอดขายรถยนต์โดยรวมปีนี้จะอยู่ระดับ 1 ล้านคัน และนิสสันเองจะต้องทำยอดขายไม่ต่ำกว่า 100,000 คัน
ด้านนายวิชัย จิราธิยุต ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า จากปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการเมืองทำให้ตลาดรถยนต์ชะลอตัว ประเมินว่าในกรณีที่แย่ที่สุดนั้นจะทำให้ยอดการผลิตน่าจะหดตัวลง 5-10% จากปีที่ผ่านมาที่ประเทศไทยมีกำลังการผลิตรวม 2.45 ล้านคัน
สำหรับ สถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น คาดว่าน่าจะได้ข้อยุติภายในไตรมาสที่สองนี้ ทำให้ในช่วงครึ่งปีหลังผู้ผลิตรถยนต์แต่ละค่ายต้องเร่งสปีดเพิ่มยอดขายและ ยอดผลิตมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้รับผลกระทบทั้งปีน้อยที่สุดและจากการสอบถามไปยังผู้ประกอบการใน อุตสาหกรรมยานยนต์หลายรายยังมองว่า แม้จะมีปัจจัยลบในปีนี้ แต่ก็น่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้น เพราะภาพรวมตลาดในระยะ 3-5 ปี ประเทศไทยยังมีศักยภาพแข็งแกร่งในอาเซียน และมองว่าตลาดอาเซียนถือเป็นตลาดเดียวกันที่ความต้องการรถยนต์ยังมีสูง นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) รายงานยอดการผลิตรถยนต์ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามียอดผลิตทั้งสิ้น 2.97 แสนคัน ลดลง 43.1%
ขณะ ที่เดือนเมษายนมีการผลิต 73,242 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 33.2% เป็นผลจากการสิ้นสุดการส่งมอบรถยนต์คันแรก ภาวะเศรษฐกิจ และการเมือง
ขณะ ที่หอการค้าญี่ปุ่น (เจซีซี) รายงานยอดขายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นประจำเดือนเมษายน 2557 ว่า มียอด 71,516 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 34% จาก 108,336 คัน แบ่งเป็นปิกอัพ 30,214 คัน จากปีก่อนขายได้ 48,052 คัน, ซีคาร์ 6,112 คัน จากปีก่อนขายได้ 10,593 คัน, บีคาร์ (รวมอีโคคาร์) 20,443 คัน จากปีก่อนขายได้ 31,336 คัน และอื่น ๆ 14,747 คัน เพิ่มขึ้นจากเมษายนปีก่อนที่ทำได้ 11,168 คัน
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1401168514
แหล่งข่าวจากที่ประชุมหอการค้าญี่ปุ่น หรือเจซีซี เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในการประชุมสมาชิกหอการค้าญี่ปุ่นครั้งล่าสุด ได้มีการหารือถึงยอดผลิตและยอดขายรถยนต์ในประเทศไทย ซึ่งนายเคียวอิจิ ทานาดะ ในฐานะประธานหอการค้าญี่ปุ่น และกรรมการผู้จัดการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ยอดขายรวมรถยนต์ปี 2557 น่าจะเหลือแค่ 9 แสนคัน จากเดิมที่ประเมินกันว่าจะมีมากกว่าล้านคัน
แหล่งข่าวกล่าว อีกว่า ประธานในที่ประชุมยังแนะนำให้แต่ละค่ายเร่งมือกระตุ้นตลาด เนื่องจากมองว่ากำลังซื้อในตลาดยังมี เพียงแต่ผู้บริโภคขาดมู้ดในการจับจ่ายเท่านั้น
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานเพิ่มเติมว่า สอดคล้องกับสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ซึ่งประเมินตลาดในระดับใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เนื่องจากมีสัญญาณการลดกำลังผลิตจากค่ายรถยนต์ส่งมายังผู้ผลิตชิ้น ส่วนอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ช่วงต้นปีเป็นต้นมา คำสั่งซื้อชิ้นส่วนเพื่อนำไปประกอบรถยนต์ของค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ลดลงจากเดิมมาก ทั้งนี้เป็นผลเนื่องจากค่ายรถยนต์พยายามบริหารจัดการสต๊อกรถยนต์ที่มีอยู่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
"ค่ายรถยนต์ใหญ่ ๆ ลดกำลังผลิตลงไปกว่า 50% แล้ว โตโยต้า มิตซูบิชิก็ลดเยอะ ส่วนบางค่ายซึ่งเป็นรายเล็ก ๆ ก็อาจจะขยับลดลงไปถึง 70%"
นาย พิทักษ์ พฤทธิสาริกร ประธานเจ้าหน้าปฏิบัติการ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า สภาพตลาดรถยนต์ในประเทศไทยหดตัวเยอะ ฮอนด้าประเมินยอดรวมน่าจะอยู่แค่ล้านคันหรือต่ำกว่า ทั้งนี้เป็นผลกระทบต่อเนื่องมาจากการดึงดีมานด์ไปใช้ล่วงหน้าถึง 2 ครั้งจากโครงการนโยบายรถยนต์คันแรก และการทำแคมเปญกระตุ้นของทุกค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมาประกอบ กับความไม่ชัดเจนทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางการเมือง ยังได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจซื้อรถยนต์คันใหม่ของ ผู้บริโภค
สำหรับฮอนด้าเองนั้น ตั้งเป้ายอดขายปีนี้ไว้แค่ 160,000 คัน ซึ่งยังคงมีความมั่นใจว่าจะทำได้ตามเป้าที่ตั้งเป้าไว้ เนื่องจากบริษัทเตรียมส่งรถยนต์รุ่นใหม่และรุ่นไมเนอร์เชนจ์ออกสู่ตลาด เชื่อว่าจะเป็นการช่วยกระตุ้นตลาดได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ ฮอนด้าได้ปรับลดกำลังการผลิตมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับดีมานด์ของ ตลาด โดยคาดว่าปีทั้งปีนี้ฮอนด้าจะมีการใช้กำลังผลิตรถยนต์เพียงแค่ 60% ของกำลังผลิตทั้งหมดที่ 300,000 คันต่อปี
ด้านความคืบหน้าของโรงงาน ผลิตรถยนต์ฮอนด้าแห่งที่ 2 จังหวัดปราจีนบุรี ขณะนี้การดำเนินการก่อสร้างและการลงทุนต่าง ๆ ยังคงเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ เพียงแต่ในส่วนของแผนการเปิดไลน์ผลิต เดิมฮอนด้าคาดว่าจะเปิดราวเดือนเมษายน 2558 ตอนนี้ตัดสินใจเลื่อนแผนงานดังกล่าวออกไปอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี เพื่อรอดูสถานการณ์และประเมินความพร้อมของตลาดรถยนต์โดยรวม
พร้อม กันนี้นายพิทักษ์ยืนยันว่า โรงงานผลิตรถยนต์แห่งที่ 2 ของฮอนด้า ไม่มีผลต่อการเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์เฟส 2 แต่อย่างใด เนื่องจากเป็นการลงทุนคนละส่วน
เช่นเดียวกับนายประพัฒน์ เชยชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสการตลาดและการขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวยอมรับกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สภาพตลาดรถยนต์โดยรวมในขณะนี้ ถือเป็นช่วงของการปรับฐานที่ควรจะเป็น ตั้งแต่ช่วงต้นปีเป็นต้นมาจะเห็นภาพของการระบายสต๊อกของค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ทั้งความพยายามที่จะรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด ทำให้เกิดการแข่งขันค่อนข้างรุนแรง
สำหรับนิสสัน ไตรมาสแรกที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของ ตลาดไปพอสมควร ลดสต๊อกให้สมดุล ประกอบกับขณะนี้โรงงานอยู่ระหว่างการปรับปรุง เตรียมความพร้อม และปรับย้ายไลน์ผลิต ทั้งบุคลากร เครื่องจักรสำหรับโรงงานแห่งใหม่ที่ขณะนี้เริ่มทดลองประกอบรถยนต์รุ่นใหม่ไป บ้างแล้ว ซึ่งถือเป็นจังหวะดีของนิสสัน
สำหรับสถานการณ์ของตลาดโดย รวม นายประพัฒน์ยังยืนยันเช่นเดิมตั้งแต่ต้นปีว่า นิสสันเชื่อยอดขายรถยนต์โดยรวมปีนี้จะอยู่ระดับ 1 ล้านคัน และนิสสันเองจะต้องทำยอดขายไม่ต่ำกว่า 100,000 คัน
ด้านนายวิชัย จิราธิยุต ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า จากปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการเมืองทำให้ตลาดรถยนต์ชะลอตัว ประเมินว่าในกรณีที่แย่ที่สุดนั้นจะทำให้ยอดการผลิตน่าจะหดตัวลง 5-10% จากปีที่ผ่านมาที่ประเทศไทยมีกำลังการผลิตรวม 2.45 ล้านคัน
สำหรับ สถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น คาดว่าน่าจะได้ข้อยุติภายในไตรมาสที่สองนี้ ทำให้ในช่วงครึ่งปีหลังผู้ผลิตรถยนต์แต่ละค่ายต้องเร่งสปีดเพิ่มยอดขายและ ยอดผลิตมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้รับผลกระทบทั้งปีน้อยที่สุดและจากการสอบถามไปยังผู้ประกอบการใน อุตสาหกรรมยานยนต์หลายรายยังมองว่า แม้จะมีปัจจัยลบในปีนี้ แต่ก็น่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้น เพราะภาพรวมตลาดในระยะ 3-5 ปี ประเทศไทยยังมีศักยภาพแข็งแกร่งในอาเซียน และมองว่าตลาดอาเซียนถือเป็นตลาดเดียวกันที่ความต้องการรถยนต์ยังมีสูง นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) รายงานยอดการผลิตรถยนต์ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามียอดผลิตทั้งสิ้น 2.97 แสนคัน ลดลง 43.1%
ขณะ ที่เดือนเมษายนมีการผลิต 73,242 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 33.2% เป็นผลจากการสิ้นสุดการส่งมอบรถยนต์คันแรก ภาวะเศรษฐกิจ และการเมือง
ขณะ ที่หอการค้าญี่ปุ่น (เจซีซี) รายงานยอดขายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นประจำเดือนเมษายน 2557 ว่า มียอด 71,516 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 34% จาก 108,336 คัน แบ่งเป็นปิกอัพ 30,214 คัน จากปีก่อนขายได้ 48,052 คัน, ซีคาร์ 6,112 คัน จากปีก่อนขายได้ 10,593 คัน, บีคาร์ (รวมอีโคคาร์) 20,443 คัน จากปีก่อนขายได้ 31,336 คัน และอื่น ๆ 14,747 คัน เพิ่มขึ้นจากเมษายนปีก่อนที่ทำได้ 11,168 คัน
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1401168514
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 1154
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 102
ผมรวบรวมข้อมูลยอดประกอบรถยนต์ที่คาดว่าจะประกอบภายในปีนี้นะครับ
แหล่งที่มาขอไม่เปิดเผยครับ เพราะว่าข้อมูลยอดประกอบของแต่ละค่าย ค่อนข้างถือเป็นความลับนะครับ และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามสถานการณ์ ยกเว้นส่วนที่เป็น actual แล้ว ซึ่งสามารถหาได้จากสภาอุตสาหกรรมนะครับ
ผมจะมา update กราฟให้เดือนละครั้งนะครับ
ข้อมูลสำหรับการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ในปีนี้
- 11 มิถุนายน Nissan เปิดตัว New Navara
- สิงหาคม Mazda เริ่มผลิต New Mazda2 แต่สำหรับตลาดส่งออก ในไทยจะเริ่มผลิตเดือนตุลาคม น่าจะเริ่มขายในเดือนพฤศจิกายน
- ตุลาคม Mitsu เริ่มผลิต New Triton
ส่วนรูปร่างหน้าตารถแต่ละรุ่นสามารถหาได้ตามในเนตนะครับ
แหล่งที่มาขอไม่เปิดเผยครับ เพราะว่าข้อมูลยอดประกอบของแต่ละค่าย ค่อนข้างถือเป็นความลับนะครับ และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามสถานการณ์ ยกเว้นส่วนที่เป็น actual แล้ว ซึ่งสามารถหาได้จากสภาอุตสาหกรรมนะครับ
ผมจะมา update กราฟให้เดือนละครั้งนะครับ
ข้อมูลสำหรับการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ในปีนี้
- 11 มิถุนายน Nissan เปิดตัว New Navara
- สิงหาคม Mazda เริ่มผลิต New Mazda2 แต่สำหรับตลาดส่งออก ในไทยจะเริ่มผลิตเดือนตุลาคม น่าจะเริ่มขายในเดือนพฤศจิกายน
- ตุลาคม Mitsu เริ่มผลิต New Triton
ส่วนรูปร่างหน้าตารถแต่ละรุ่นสามารถหาได้ตามในเนตนะครับ
แนบไฟล์
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 103
ค่ายรถยนต์ทยอยหั่นเป้าขาย หลังยอดขาย 5 เดือนแรกยังทรุดหนัก หายกว่า 4 หมื่นคัน ทุกค่ายตกระนาว โตโยต้า-ฮอนด้า-อีซูซุ-ซูซูกิ-มิตซูบิชิ พร้อมใจรับสภาพความเป็นจริงของตลาด ลุ้นทั้งปีขายถึงล้านคัน
หอการค้าญี่ปุ่น (เจซีซี) รายงานยอดขายรถยนต์ประจำเดือนพฤษภาคม 2557 พบว่า ในกลุ่มรถญี่ปุ่นมียอดขายแค่ 66,259 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ขายได้ 107,056 คัน หายไป 38,700 คัน แบ่งรายยี่ห้อ โตโยต้า มียอดขาย 25,556 คัน อีซูซุ 13,649 คัน ฮอนด้า 8,641 คัน มิตซูบิชิ 4,740 คัน นิสสัน 4,303 คัน ฟอร์ด 3,378 คัน มาสด้า 2,727 คัน เชฟโรเลต 2,026 คัน และซูซูกิ 1,239 คัน โดยค่ายรถยนต์ทุกค่ายต่างมียอดขายลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ตัวเลขรวม 5 เดือน ทำได้แค่ 3.5 แสนคัน
จากยอดขายรถยนต์ข้างต้น บวกกับสภาพตลาดรถยนต์โดยรวมในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ เริ่มส่งสัญญาณปรับเป้าหมายการขายและยอดการผลิตรถยนต์สำหรับปีนี้ลงจากเดิมที่หลายคนประเมินว่า ยอดขายปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 1.1-1.2 ล้านคันนั้นเริ่มมีความเป็นไปได้น้อย ขณะนี้ทุกค่ายเริ่มกลับมามองตัวเลขยอดขายที่ 9 แสนถึง 1 ล้านคัน
โดยก่อนหน้านี้ แหล่งข่าวจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปรับลดเป้าหมายปีนี้ที่เดิมตั้งเป้าไว้ 400,000 คัน ลดลง 70,000 คัน โดยคาดว่าทั้งปีจะมียอดขายอยู่ในระดับ 340,000 คัน เพื่อให้สอดรับกับความเป็นจริงของตลาด
เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ นายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปฏิบัติการ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวยอมรับว่า เดิมฮอนด้าตั้งเป้ายอดขายรถยนต์ปีนี้ไว้ที่ 1.6 แสนคัน ก่อนที่จะตัดสินใจปรับลดเป้าหมายยอดขายของปีลงเหลือ 1.4 แสนคัน
และล่าสุดบริษัทได้ประเมินทิศทางสถานการณ์ของตลาดโดยรวมแล้ว ต้องยอมรับว่าเป้าหมายที่ 1.4 แสนคัน ก็อาจจะยังไม่สามารถไปถึงเป้าหมาย และบริษัทก็พยายามปรับกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยรวม
นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้บริษัทได้ตัดสินใจปรับลดเป้าหมายยอดขายรถยนต์ซูซูกิ จากเดิมที่ตั้งเป้ายอดขายสำหรับปีนี้ไว้ 50,000 คัน เหลือเพียง 40,000 คัน โดยประเมินว่าปีนี้ยอดขายรวมน่าจะทำได้แค่ 900,000 คัน
ด้านนายมาซะฮิโกะ อูเอะกิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มที่บริษัทจะตัดสินใจปรับเป้าหมายการขายของปี 2557 หรือไม่นั้น ยังอยู่ระหว่างการศึกษาและพิจารณารายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งคงต้องดูตัวเลขครึ่งปีแรกของปี 2557 ก่อน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาร่วมกับบริษัทแม่ (MCC) แต่มีความเป็นไปได้ว่าปรับ แต่ยังไม่สามารถบอกจำนวน หรือเปอร์เซ็นต์ได้ในตอนนี้
ขณะที่นายประพัฒน์ เชยชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสการตลาดและการขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เคยกล่าวว่า ตลาดรวมน่าจะขายได้แค่ 900,000 กว่าคันไปจนถึง 1 ล้านคัน ซึ่งน่าจะเป็นตัวเลขที่ดีที่สุดสำหรับปีนี้ นิสสันเองจะพยายามรักษายอดขายให้ได้ในระดับ 100,000 คัน
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1402466465
หอการค้าญี่ปุ่น (เจซีซี) รายงานยอดขายรถยนต์ประจำเดือนพฤษภาคม 2557 พบว่า ในกลุ่มรถญี่ปุ่นมียอดขายแค่ 66,259 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ขายได้ 107,056 คัน หายไป 38,700 คัน แบ่งรายยี่ห้อ โตโยต้า มียอดขาย 25,556 คัน อีซูซุ 13,649 คัน ฮอนด้า 8,641 คัน มิตซูบิชิ 4,740 คัน นิสสัน 4,303 คัน ฟอร์ด 3,378 คัน มาสด้า 2,727 คัน เชฟโรเลต 2,026 คัน และซูซูกิ 1,239 คัน โดยค่ายรถยนต์ทุกค่ายต่างมียอดขายลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ตัวเลขรวม 5 เดือน ทำได้แค่ 3.5 แสนคัน
จากยอดขายรถยนต์ข้างต้น บวกกับสภาพตลาดรถยนต์โดยรวมในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ เริ่มส่งสัญญาณปรับเป้าหมายการขายและยอดการผลิตรถยนต์สำหรับปีนี้ลงจากเดิมที่หลายคนประเมินว่า ยอดขายปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 1.1-1.2 ล้านคันนั้นเริ่มมีความเป็นไปได้น้อย ขณะนี้ทุกค่ายเริ่มกลับมามองตัวเลขยอดขายที่ 9 แสนถึง 1 ล้านคัน
โดยก่อนหน้านี้ แหล่งข่าวจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปรับลดเป้าหมายปีนี้ที่เดิมตั้งเป้าไว้ 400,000 คัน ลดลง 70,000 คัน โดยคาดว่าทั้งปีจะมียอดขายอยู่ในระดับ 340,000 คัน เพื่อให้สอดรับกับความเป็นจริงของตลาด
เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ นายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปฏิบัติการ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวยอมรับว่า เดิมฮอนด้าตั้งเป้ายอดขายรถยนต์ปีนี้ไว้ที่ 1.6 แสนคัน ก่อนที่จะตัดสินใจปรับลดเป้าหมายยอดขายของปีลงเหลือ 1.4 แสนคัน
และล่าสุดบริษัทได้ประเมินทิศทางสถานการณ์ของตลาดโดยรวมแล้ว ต้องยอมรับว่าเป้าหมายที่ 1.4 แสนคัน ก็อาจจะยังไม่สามารถไปถึงเป้าหมาย และบริษัทก็พยายามปรับกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยรวม
นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้บริษัทได้ตัดสินใจปรับลดเป้าหมายยอดขายรถยนต์ซูซูกิ จากเดิมที่ตั้งเป้ายอดขายสำหรับปีนี้ไว้ 50,000 คัน เหลือเพียง 40,000 คัน โดยประเมินว่าปีนี้ยอดขายรวมน่าจะทำได้แค่ 900,000 คัน
ด้านนายมาซะฮิโกะ อูเอะกิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มที่บริษัทจะตัดสินใจปรับเป้าหมายการขายของปี 2557 หรือไม่นั้น ยังอยู่ระหว่างการศึกษาและพิจารณารายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งคงต้องดูตัวเลขครึ่งปีแรกของปี 2557 ก่อน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาร่วมกับบริษัทแม่ (MCC) แต่มีความเป็นไปได้ว่าปรับ แต่ยังไม่สามารถบอกจำนวน หรือเปอร์เซ็นต์ได้ในตอนนี้
ขณะที่นายประพัฒน์ เชยชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสการตลาดและการขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เคยกล่าวว่า ตลาดรวมน่าจะขายได้แค่ 900,000 กว่าคันไปจนถึง 1 ล้านคัน ซึ่งน่าจะเป็นตัวเลขที่ดีที่สุดสำหรับปีนี้ นิสสันเองจะพยายามรักษายอดขายให้ได้ในระดับ 100,000 คัน
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1402466465
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 972
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 105
ขายรถครึ่งปีแรกเก๋งวูบ49% ดีลเลอร์อ่วมเฉือนเนื้ออุตลุด
updated: 14 ก.ค. 2557 เวลา 16:24:42 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"หอการค้าญี่ปุ่น" รายงานยอดขายรถยนต์ครึ่งปีแรกยังทรุดต่อเนื่อง ทำได้แค่ 4.2 แสนคัน ร่วง 40% พบเก๋งวืดหนัก 49% มากกว่าตลาดร่วม ด้าน "ดีลเลอร์" ยอมรับการแข่งขันระหว่างดีลเลอร์ในพื้นที่สาหัสกว่าแคมเปญของบริษัทแม่หลายเท่า
แหล่งข่าวจากที่ประชุมหอการค้าญี่ปุ่น หรือเจซีซี เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ยอดขายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2557 พบว่ามียอดทั้งสิ้น 420,503 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนถึง 40.6% จากที่เคยทำได้ 708,014 คัน แบ่งรายยี่ห้อ โตโยต้ามียอดขายสูงสุด 163,997 คัน ลดลง 30.9% จากปีก่อนที่ขายได้ 237,318 คัน รองลงมาคืออีซูซุ 77,237 คัน ลดลง 28% จาก 107,445 คัน, ฮอนด้า 47,283 คัน ลดลง 64% จาก 131,458 คัน, มิตซูบิชิ 31,801 คัน ลดลง 45% จาก 57,160 คัน, นิสสัน 30,670 คัน ลดลง 45% จาก 55,172 คัน ฟอร์ด 20,122 คัน ลดลง 26% จาก 27,422 คัน, มาสด้า 17,144 คัน ลดลง 44% จาก 30,441 คัน, เชฟโรเลต 14,434 คัน ลดลง 53% จาก 30,896 คัน, ซูซูกิ 11,225 คัน ลดลง 49% จาก 21,929 คัน และอื่น ๆ 6,590 คัน ลดลง 25% จาก 8,773 คัน
จากยอดขายที่ 420,503 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 168,694 คัน ลดลง 49% จาก 332,155 คัน รถปิกอัพ 189,215 คัน ลดลง 38% จาก 301,433 คัน รถพีพีวี, เอ็มพีวี และเอสยูวี 62,579 คัน ลดลง 16% จาก 74,426 คัน
ส่วนยอดขายรถยนต์ในเดือนมิถุนายนที่ผ่าน มานั้น พบว่ามียอดขายทั้งสิ้น 70,423 คัน ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 30% จาก 100,027 คัน
เมื่อแบ่งรายยี่ห้อ พบว่าโตโยต้ายังขายสูงสุด 27,543 คัน รองลงมาคือ อีซูซุ 12,377 คัน, ฮอนด้า 9,087 คัน, มิตซูบิชิ 4,940 คัน, นิสสัน 4,228 คัน, ฟอร์ด 3,301 คัน, มาสด้า 3,127 คัน, ซูซูกิ 2,361 คัน และเชฟโรเลต 2,284 คัน อื่น ๆ อีก 1,175 คัน โดยในจำนวน 70,423 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 30,722 คัน รถปิกอัพ 30,380 คัน, รถเอ็มพีวี พีพีวี เอสยูวี 9,306 คัน
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานเพิ่มเติมว่า ขณะนี้แม้ว่าสถานการณ์โดยรวมโดยเฉพาะปัจจัยลบด้านการเมืองเริ่มมีความชัดเจน มากขึ้น ประกอบกับเริ่มมีการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบแล้ว แต่เชื่อว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจจะไปอยู่ในกลุ่มของสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นส่วนใหญ่
ส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์นั้น ตลาดเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจน เริ่มมีให้เห็นในส่วนของรถบรรทุก รถจักรยานยนต์ และรถปิกอัพบ้างแล้ว แต่ทั้งนี้การแข่งขันระหว่างตัวแทนจำหน่ายด้วยกันเองในแต่ละพื้นที่ก็ยังคง มีความรุนแรงต่อเนื่อง ทั้งจากการแข่งขันระหว่างแบรนด์ แล้วยังพบว่าการแข่งขันของดีลเลอร์แบรนด์เดียวกันมีความรุนแรงไม่แพ้กัน
"ตั้งแต่ช่วงต้นปีเป็นต้นมา บริษัทแม่และดีลเลอร์ทำงานกันหนักมาก เพราะนอกจากลูกค้าชะลอการตัดสินใจไม่เดินเข้าโชว์รูมแล้ว ยังต้องบริหารจัดการรถในสต๊อกเพื่อลดภาระต้นทุน เพราะที่ผ่านมามีผู้ประกอบการบางค่ายรถแจ้งตัวเลขสูงกว่าความเป็นจริง ทำให้ประเมินตลาดค่อนข้างลำบาก"
ดังจะเห็นได้จากความพยายามนำเสนอ แพ็กเกจการขาย แคมเปญส่งเสริมการขายของค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา รวมถึงการแข่งขันกันเองในพื้นที่ของตัวแทนค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ทำให้เชื่อว่ายอดขายรถยนต์โดยรวมภายในประเทศทั้งปีน่าจะอยู่ที่ระดับ 9.5 แสน-1 ล้านคัน
updated: 14 ก.ค. 2557 เวลา 16:24:42 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"หอการค้าญี่ปุ่น" รายงานยอดขายรถยนต์ครึ่งปีแรกยังทรุดต่อเนื่อง ทำได้แค่ 4.2 แสนคัน ร่วง 40% พบเก๋งวืดหนัก 49% มากกว่าตลาดร่วม ด้าน "ดีลเลอร์" ยอมรับการแข่งขันระหว่างดีลเลอร์ในพื้นที่สาหัสกว่าแคมเปญของบริษัทแม่หลายเท่า
แหล่งข่าวจากที่ประชุมหอการค้าญี่ปุ่น หรือเจซีซี เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ยอดขายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2557 พบว่ามียอดทั้งสิ้น 420,503 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนถึง 40.6% จากที่เคยทำได้ 708,014 คัน แบ่งรายยี่ห้อ โตโยต้ามียอดขายสูงสุด 163,997 คัน ลดลง 30.9% จากปีก่อนที่ขายได้ 237,318 คัน รองลงมาคืออีซูซุ 77,237 คัน ลดลง 28% จาก 107,445 คัน, ฮอนด้า 47,283 คัน ลดลง 64% จาก 131,458 คัน, มิตซูบิชิ 31,801 คัน ลดลง 45% จาก 57,160 คัน, นิสสัน 30,670 คัน ลดลง 45% จาก 55,172 คัน ฟอร์ด 20,122 คัน ลดลง 26% จาก 27,422 คัน, มาสด้า 17,144 คัน ลดลง 44% จาก 30,441 คัน, เชฟโรเลต 14,434 คัน ลดลง 53% จาก 30,896 คัน, ซูซูกิ 11,225 คัน ลดลง 49% จาก 21,929 คัน และอื่น ๆ 6,590 คัน ลดลง 25% จาก 8,773 คัน
จากยอดขายที่ 420,503 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 168,694 คัน ลดลง 49% จาก 332,155 คัน รถปิกอัพ 189,215 คัน ลดลง 38% จาก 301,433 คัน รถพีพีวี, เอ็มพีวี และเอสยูวี 62,579 คัน ลดลง 16% จาก 74,426 คัน
ส่วนยอดขายรถยนต์ในเดือนมิถุนายนที่ผ่าน มานั้น พบว่ามียอดขายทั้งสิ้น 70,423 คัน ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 30% จาก 100,027 คัน
เมื่อแบ่งรายยี่ห้อ พบว่าโตโยต้ายังขายสูงสุด 27,543 คัน รองลงมาคือ อีซูซุ 12,377 คัน, ฮอนด้า 9,087 คัน, มิตซูบิชิ 4,940 คัน, นิสสัน 4,228 คัน, ฟอร์ด 3,301 คัน, มาสด้า 3,127 คัน, ซูซูกิ 2,361 คัน และเชฟโรเลต 2,284 คัน อื่น ๆ อีก 1,175 คัน โดยในจำนวน 70,423 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 30,722 คัน รถปิกอัพ 30,380 คัน, รถเอ็มพีวี พีพีวี เอสยูวี 9,306 คัน
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานเพิ่มเติมว่า ขณะนี้แม้ว่าสถานการณ์โดยรวมโดยเฉพาะปัจจัยลบด้านการเมืองเริ่มมีความชัดเจน มากขึ้น ประกอบกับเริ่มมีการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบแล้ว แต่เชื่อว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจจะไปอยู่ในกลุ่มของสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นส่วนใหญ่
ส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์นั้น ตลาดเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจน เริ่มมีให้เห็นในส่วนของรถบรรทุก รถจักรยานยนต์ และรถปิกอัพบ้างแล้ว แต่ทั้งนี้การแข่งขันระหว่างตัวแทนจำหน่ายด้วยกันเองในแต่ละพื้นที่ก็ยังคง มีความรุนแรงต่อเนื่อง ทั้งจากการแข่งขันระหว่างแบรนด์ แล้วยังพบว่าการแข่งขันของดีลเลอร์แบรนด์เดียวกันมีความรุนแรงไม่แพ้กัน
"ตั้งแต่ช่วงต้นปีเป็นต้นมา บริษัทแม่และดีลเลอร์ทำงานกันหนักมาก เพราะนอกจากลูกค้าชะลอการตัดสินใจไม่เดินเข้าโชว์รูมแล้ว ยังต้องบริหารจัดการรถในสต๊อกเพื่อลดภาระต้นทุน เพราะที่ผ่านมามีผู้ประกอบการบางค่ายรถแจ้งตัวเลขสูงกว่าความเป็นจริง ทำให้ประเมินตลาดค่อนข้างลำบาก"
ดังจะเห็นได้จากความพยายามนำเสนอ แพ็กเกจการขาย แคมเปญส่งเสริมการขายของค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา รวมถึงการแข่งขันกันเองในพื้นที่ของตัวแทนค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ทำให้เชื่อว่ายอดขายรถยนต์โดยรวมภายในประเทศทั้งปีน่าจะอยู่ที่ระดับ 9.5 แสน-1 ล้านคัน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 972
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 106
กลุ่มยานยนต์ ส.อ.ท. ปรับเป้าผลิตรถยนต์ในประเทศวูบเหลือ 1 ล้านคัน
updated: 23 ก.ค. 2557 เวลา 16:15:11 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ประมาณการผลิตรถยนต์ในประเทศ จาก 1.2 ล้านคัน เหลือ 1 ล้านคัน ลดลงจากปีที่แล้วที่ผลิตได้ 1,335,754 คัน หรือลดลงกว่า 25.14% ซึ่งเป็นผลมาจากปีนี้ไม่มีโครงการกระตุ้นการซื้อรถ ลดภาษีรถยนต์คันแรกเหมือนเช่นปีก่อน ทำให้ความต้องการในอนาคตถูกใช้ไปแล้วตั้งแต่ปีก่อน
สำหรับยอดรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือน มิ.ย.2557 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง 8.41% มาอยู่ที่ 160,452 คัน เนื่องจากการผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น แต่ยอดผลิตรถยนต์ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย. กลับมีจำนวนเพียง 952,685 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 28.95% โดยรถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน และมากกว่า 10 ตัน มียอดการผลิตลดลงมากที่สุดถึง 68.44% เนื่องจากความล่าช้าในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ส.อ.ท. ตั้งเป้าว่าการส่งออกรถยนต์ปีนี้จะขยายตัวได้ 7% คิดเป็นจำนวนรถยนต์ส่งออกอยู่ที่ 1.2 ล้านคัน ซึ่งน่าจะช่วยสนับสนุนให้ภาพรวมการส่งออกของประเทศขยายตัวได้ 5% ตามเป้าที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้
สำหรับการประมาณการการผลิตรถยนต์และจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 3 คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์จำนวน 509,171 คัน เพิ่มขึ้น 17% จากไตรมาสที่ 2 และมีการผลิตรถจักรยานยนต์ 433,086 คัน ลดลงประมาณ 7.78% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า
updated: 23 ก.ค. 2557 เวลา 16:15:11 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ประมาณการผลิตรถยนต์ในประเทศ จาก 1.2 ล้านคัน เหลือ 1 ล้านคัน ลดลงจากปีที่แล้วที่ผลิตได้ 1,335,754 คัน หรือลดลงกว่า 25.14% ซึ่งเป็นผลมาจากปีนี้ไม่มีโครงการกระตุ้นการซื้อรถ ลดภาษีรถยนต์คันแรกเหมือนเช่นปีก่อน ทำให้ความต้องการในอนาคตถูกใช้ไปแล้วตั้งแต่ปีก่อน
สำหรับยอดรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือน มิ.ย.2557 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง 8.41% มาอยู่ที่ 160,452 คัน เนื่องจากการผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น แต่ยอดผลิตรถยนต์ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย. กลับมีจำนวนเพียง 952,685 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 28.95% โดยรถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน และมากกว่า 10 ตัน มียอดการผลิตลดลงมากที่สุดถึง 68.44% เนื่องจากความล่าช้าในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ส.อ.ท. ตั้งเป้าว่าการส่งออกรถยนต์ปีนี้จะขยายตัวได้ 7% คิดเป็นจำนวนรถยนต์ส่งออกอยู่ที่ 1.2 ล้านคัน ซึ่งน่าจะช่วยสนับสนุนให้ภาพรวมการส่งออกของประเทศขยายตัวได้ 5% ตามเป้าที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้
สำหรับการประมาณการการผลิตรถยนต์และจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 3 คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์จำนวน 509,171 คัน เพิ่มขึ้น 17% จากไตรมาสที่ 2 และมีการผลิตรถจักรยานยนต์ 433,086 คัน ลดลงประมาณ 7.78% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 972
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 107
ตลาดรถยนต์ ปรับสมดุลคืน"หลักล้าน"ปี 58
ตัวเลขอย่างเป็นทางการสำหรับยอดขายรถยนต์ช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา คือ 440,911 คัน ลดลง 40.5%
ซึ่งถือว่าเป็นการปรับตัวลงค่อนข้างแรงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ด้วยเหตุผลที่พูดกันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ก็คือ ภาวะเศรษฐกิจที่จะชะลอตัวลง สถานการณ์ทางการเมืองตั้งแต่งปลายปีที่แล้ว และที่ขาดไม่ได้ก็คือ ผลพวงจากโครงการรถคันแรกที่ดึงกำลังซื้อลูกค้าไปจำนวนมาก และยังทำให้เกิดภาวะชะงักงัน จากปัญหาหนี้ครัวเรือน หรือหนี้เสียที่ตามมา ซึ่งล่าสุดแม้จะยังไม่มีตัวเลขที่น่ากลัว แต่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ก็สั่งเฝ้าจับตาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเริ่มเห็นสัญญาณที่ผิดปกติเกิดขึ้น
อุตสาหกรรมรถยนต์เป็นอุตสาหกรรมใหญ่ และเกี่ยวเนื่องกับหลายอุตสาหกรรม หลายธุรกิจ มีมูลค่าสูง และยังเป็นความหวังของภาครัฐอีกด้วย
ปี 2556 ที่ผ่านมา การส่งออกของไทยโดยรวมย่ำแย่ สินค้าหลายอย่างหดตัวอย่างรุนแรง โดยเฉพาะสินค้าเกษตร แน่นอน ข้าวคือหนึ่งในนั้น แต่ไทยก็ยังสามารถประคองตัวด้านการส่งออกจากสินค้ายานยนต์ที่ยังคงเติบโต
และในปีนี้ไม่เพียงแต่ภาครัฐเท่านั้นที่คาดหวังการส่งออก แต่ในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์เองก็คาดหวังเช่นกัน เพื่อชดเชยตลาดในประเทศที่หดตัวลงค่อนข้างแรง และโดยรวมก็ถือว่ายังอยู่ในสถานการณ์ที่ดี โดยช่วงครึ่งปีแรก มีการส่งออกรถยนต์รวม 5.6 แสนคัน เพิ่มขึ้น 3% มูลค่า 2.64 แสนล้านบาทเพิ่มขึ้น 8% และเมื่อรวมการส่งออกอื่นๆ ทั้งเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนประกอบ และอะไหล่ มีมูลค่ารวม 3.92 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% ซึ่งทางกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เชื่อว่ารวมทั้งปี การส่งออกจะเป็นไปตามเป้าหมาย 1.2 ล้านคัน สูงกว่าปีที่แล้วที่ทำได้ 1.1 ล้านคัน
อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยก็ถือว่ามีความเสี่ยงเช่นกัน เนื่องจากตลาดหลักคือตะวันออกกลางที่มีสัดส่วน 27% ของการส่งออกทั้งหมด มีความอ่อนไหวจากสถานการณ์การเมือง หากเกิดเหตุรุนแรงบานปลาย อาจจะกระทบกับตลาดส่งออกของไทยได้เช่นกัน
ตลาดตะวันออกกลางนั้นมีบทบาทสำคัญที่สุด หลังจากที่สามารถสร้างยอดเติบโตที่โดดเด่นจากปีที่แล้ว 31% แซงหน้าแชมป์เก่าคือเอเชียที่ตกลงไปอยู่อันดับ 2 มีสัดส่วน 25% หลังจากตลาดหดตัวลง 10% ขณะที่ตลาดใหญ่อีกแห่งคือ ออสเตรเลียก็ลดลงเช่นกัน 20% ทำให้สัดส่วนลงไปอยู่ที่ 20% เนื่องจากเศรษฐกิจหดตัวลง และทำให้ตลาดรถยนต์หดตัวลง อีกทั้งตลาดเริ่มอิ่มตัว ทำให้ก่อนหน้านี้ไม่นาน จึงได้ยินข่าวการประกาศถอนตัวของโรงงานผลิตรถยนต์หลายแห่งในออสเตรเลีย รวมถึงฟอร์ด และยักษ์ใหญ่อย่างโตโยต้า
อย่างไรก็ตามส่งออกรถยนต์ไทย ก็พยายามที่จะบุกเบิกตลาดใหม่ และขยายตลาดที่ยังมีช่องทางเติบโต เช่น ยุโรป ที่ช่วงนี้ไปได้ดีหลังจากภูมิภาคฟื้นตัวจากปัญหาเศรษฐกิจในหลายๆประเทศก่อนหน้านี้ และล่าสุด เดือน มิ.ย.สามารถสร้างยอดส่งออกทะลุหลัก 1 หมื่นคันได้เป็นครั้งแรก
นอกจากนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ยังเป็นความหวังในการสร้างรายได้ให้กับหน่วยงานรัฐ เช่น กรมสรรพสามิต ซึ่งล่าสุด สมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดี ออกมาบอกว่า 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2557 กรมฯ พลาดเป้าการจัดเก็บภาษีรถยนต์ถึง 3 หมื่นล้านบาท โดยเก็บได้แค่ 8 หมื่นล้านบาท จากเป้า 1.11 แสนล้านบาท
แต่ปัญหาคือ ปัจจุบัน รายได้จากภาษีสรรพสามิตรถยนต์มีสัดส่วนที่สูง คือ 25% ของการจัดเก็บภาษีทั้งหมด ซึ่งเมื่อพลาดไป 3 หมื่นล้านบาท ทำให้มีผลต่อการจัดเก็บโดยรวม
ดังนั้นหลายฝ่าย ทั้งรัฐ และเอกชน ต่างก็คาดหวังว่าตลาดในช่วงเวลาที่เหลือของปีจะปรับตัวดีขึ้น เพื่อพยุงตลาด และอุตสาหกรรม โดยหลายคนก็เชื่อว่าเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เพราะทำให้ปัญหาความขัดแย้งนิ่งขึ้น ความมั่นใจของผู้บริโภคเริ่มกลับคืนมา และแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็ทำให้ทิศทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้นด้วยเช่นกัน
และอย่างน้อย เดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ยอดขายก็กลับขึ้นมาสูงกว่า 7 หมื่นคัน/เดือน ได้อีกครั้ง หลังจากตกไปอยู่ต่ำกว่า 7 หมื่นคันก่อนหน้านี้
แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับที่ผู้บริหารค่ายรถเคยคาดการณ์โดยมีสมมติฐานคือยกเอาสิ่งที่บิดเบือนตลาดออกไป เช่น โครงการรถคันแรกที่ทำให้ยอดขายรถยนต์รายเดือน สูงกว่า 1 แสนคันว่า ตัวเลขที่เหมาะสมกับตลาดเมืองไทยคือเดือนละ 9 หมื่นคัน ซึ่งหากคำนวณออกมาทั้งปีก็คือ 1.08 ล้านคัน ซึ่งปีนี้คาดว่าจะไม่ถึงตัวเลขดังกล่าว
โดยล่าสุด ยักษ์ใหญ่ โตโยต้า บอกว่า น่าจะอยูที่ 9.2 แสนคัน
แต่หากมองถึงพัฒนาการของตลาดก็ถือว่ายังมีความหวัง เพราะอัตราถดถอยที่ลดลง โดยเชื่อว่าช่วงครึ่งปีหลังจะถดถอยแค่ 20% ดีกว่าครึ่งปีแรกที่หดตัว 40% เป็นการส่งสัญญาณว่าตลาดเริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุลหลังจากมีสิ่งบิดเบือนตลาดมายาวนาน ซึ่งจะทำให้ค่าเฉลี่ยทั้งปีติดลบ 30% ดังนั้นปีหน้าจึงเชื่อว่าตัวเลขระดับ 1 ล้านคัน จะกลับมาอีกครั้ง
ตัวเลขอย่างเป็นทางการสำหรับยอดขายรถยนต์ช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา คือ 440,911 คัน ลดลง 40.5%
ซึ่งถือว่าเป็นการปรับตัวลงค่อนข้างแรงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ด้วยเหตุผลที่พูดกันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ก็คือ ภาวะเศรษฐกิจที่จะชะลอตัวลง สถานการณ์ทางการเมืองตั้งแต่งปลายปีที่แล้ว และที่ขาดไม่ได้ก็คือ ผลพวงจากโครงการรถคันแรกที่ดึงกำลังซื้อลูกค้าไปจำนวนมาก และยังทำให้เกิดภาวะชะงักงัน จากปัญหาหนี้ครัวเรือน หรือหนี้เสียที่ตามมา ซึ่งล่าสุดแม้จะยังไม่มีตัวเลขที่น่ากลัว แต่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ก็สั่งเฝ้าจับตาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเริ่มเห็นสัญญาณที่ผิดปกติเกิดขึ้น
อุตสาหกรรมรถยนต์เป็นอุตสาหกรรมใหญ่ และเกี่ยวเนื่องกับหลายอุตสาหกรรม หลายธุรกิจ มีมูลค่าสูง และยังเป็นความหวังของภาครัฐอีกด้วย
ปี 2556 ที่ผ่านมา การส่งออกของไทยโดยรวมย่ำแย่ สินค้าหลายอย่างหดตัวอย่างรุนแรง โดยเฉพาะสินค้าเกษตร แน่นอน ข้าวคือหนึ่งในนั้น แต่ไทยก็ยังสามารถประคองตัวด้านการส่งออกจากสินค้ายานยนต์ที่ยังคงเติบโต
และในปีนี้ไม่เพียงแต่ภาครัฐเท่านั้นที่คาดหวังการส่งออก แต่ในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์เองก็คาดหวังเช่นกัน เพื่อชดเชยตลาดในประเทศที่หดตัวลงค่อนข้างแรง และโดยรวมก็ถือว่ายังอยู่ในสถานการณ์ที่ดี โดยช่วงครึ่งปีแรก มีการส่งออกรถยนต์รวม 5.6 แสนคัน เพิ่มขึ้น 3% มูลค่า 2.64 แสนล้านบาทเพิ่มขึ้น 8% และเมื่อรวมการส่งออกอื่นๆ ทั้งเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนประกอบ และอะไหล่ มีมูลค่ารวม 3.92 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% ซึ่งทางกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เชื่อว่ารวมทั้งปี การส่งออกจะเป็นไปตามเป้าหมาย 1.2 ล้านคัน สูงกว่าปีที่แล้วที่ทำได้ 1.1 ล้านคัน
อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยก็ถือว่ามีความเสี่ยงเช่นกัน เนื่องจากตลาดหลักคือตะวันออกกลางที่มีสัดส่วน 27% ของการส่งออกทั้งหมด มีความอ่อนไหวจากสถานการณ์การเมือง หากเกิดเหตุรุนแรงบานปลาย อาจจะกระทบกับตลาดส่งออกของไทยได้เช่นกัน
ตลาดตะวันออกกลางนั้นมีบทบาทสำคัญที่สุด หลังจากที่สามารถสร้างยอดเติบโตที่โดดเด่นจากปีที่แล้ว 31% แซงหน้าแชมป์เก่าคือเอเชียที่ตกลงไปอยู่อันดับ 2 มีสัดส่วน 25% หลังจากตลาดหดตัวลง 10% ขณะที่ตลาดใหญ่อีกแห่งคือ ออสเตรเลียก็ลดลงเช่นกัน 20% ทำให้สัดส่วนลงไปอยู่ที่ 20% เนื่องจากเศรษฐกิจหดตัวลง และทำให้ตลาดรถยนต์หดตัวลง อีกทั้งตลาดเริ่มอิ่มตัว ทำให้ก่อนหน้านี้ไม่นาน จึงได้ยินข่าวการประกาศถอนตัวของโรงงานผลิตรถยนต์หลายแห่งในออสเตรเลีย รวมถึงฟอร์ด และยักษ์ใหญ่อย่างโตโยต้า
อย่างไรก็ตามส่งออกรถยนต์ไทย ก็พยายามที่จะบุกเบิกตลาดใหม่ และขยายตลาดที่ยังมีช่องทางเติบโต เช่น ยุโรป ที่ช่วงนี้ไปได้ดีหลังจากภูมิภาคฟื้นตัวจากปัญหาเศรษฐกิจในหลายๆประเทศก่อนหน้านี้ และล่าสุด เดือน มิ.ย.สามารถสร้างยอดส่งออกทะลุหลัก 1 หมื่นคันได้เป็นครั้งแรก
นอกจากนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ยังเป็นความหวังในการสร้างรายได้ให้กับหน่วยงานรัฐ เช่น กรมสรรพสามิต ซึ่งล่าสุด สมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดี ออกมาบอกว่า 10 เดือนแรกปีงบประมาณ 2557 กรมฯ พลาดเป้าการจัดเก็บภาษีรถยนต์ถึง 3 หมื่นล้านบาท โดยเก็บได้แค่ 8 หมื่นล้านบาท จากเป้า 1.11 แสนล้านบาท
แต่ปัญหาคือ ปัจจุบัน รายได้จากภาษีสรรพสามิตรถยนต์มีสัดส่วนที่สูง คือ 25% ของการจัดเก็บภาษีทั้งหมด ซึ่งเมื่อพลาดไป 3 หมื่นล้านบาท ทำให้มีผลต่อการจัดเก็บโดยรวม
ดังนั้นหลายฝ่าย ทั้งรัฐ และเอกชน ต่างก็คาดหวังว่าตลาดในช่วงเวลาที่เหลือของปีจะปรับตัวดีขึ้น เพื่อพยุงตลาด และอุตสาหกรรม โดยหลายคนก็เชื่อว่าเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เพราะทำให้ปัญหาความขัดแย้งนิ่งขึ้น ความมั่นใจของผู้บริโภคเริ่มกลับคืนมา และแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็ทำให้ทิศทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้นด้วยเช่นกัน
และอย่างน้อย เดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ยอดขายก็กลับขึ้นมาสูงกว่า 7 หมื่นคัน/เดือน ได้อีกครั้ง หลังจากตกไปอยู่ต่ำกว่า 7 หมื่นคันก่อนหน้านี้
แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับที่ผู้บริหารค่ายรถเคยคาดการณ์โดยมีสมมติฐานคือยกเอาสิ่งที่บิดเบือนตลาดออกไป เช่น โครงการรถคันแรกที่ทำให้ยอดขายรถยนต์รายเดือน สูงกว่า 1 แสนคันว่า ตัวเลขที่เหมาะสมกับตลาดเมืองไทยคือเดือนละ 9 หมื่นคัน ซึ่งหากคำนวณออกมาทั้งปีก็คือ 1.08 ล้านคัน ซึ่งปีนี้คาดว่าจะไม่ถึงตัวเลขดังกล่าว
โดยล่าสุด ยักษ์ใหญ่ โตโยต้า บอกว่า น่าจะอยูที่ 9.2 แสนคัน
แต่หากมองถึงพัฒนาการของตลาดก็ถือว่ายังมีความหวัง เพราะอัตราถดถอยที่ลดลง โดยเชื่อว่าช่วงครึ่งปีหลังจะถดถอยแค่ 20% ดีกว่าครึ่งปีแรกที่หดตัว 40% เป็นการส่งสัญญาณว่าตลาดเริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุลหลังจากมีสิ่งบิดเบือนตลาดมายาวนาน ซึ่งจะทำให้ค่าเฉลี่ยทั้งปีติดลบ 30% ดังนั้นปีหน้าจึงเชื่อว่าตัวเลขระดับ 1 ล้านคัน จะกลับมาอีกครั้ง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 957
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 109
ส.อ.ท.เผย ยอดผลิตรถยนต์ ก.ค.ลดลง 24.89% แต่ส่งออกโต 8.92% ขณะที่ยอดขายใน ปท.ทรุด29.5% จากงวดเดียวกันปีก่อน
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -20 ส.ค. 57 12:09 น.
ส.อ.ท.เผยยอดผลิตรถยนต์ ก.ค.ลดลง24.89% จากงวดปีก่อน เหตุปีนี้ไม่ต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถคันแรกแล้ว ส่วนส่งออกรถยนต์โต 8.92% ยอดขายรถยนต์ในประเทศลดลง29.5% จากงวดเดียวกันปีก่อน เนื่องจากปีนี้ไม่ต้องส่งมอบรถยนต์ในโครงการรถคันแรกแล้ว ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลง พร้อมคาด ส.ค.-ต.ค.2557ยอดผลิตรถยนต์อยู่ที่ 538,602 คัน ลดลง 5.99% จากช่วงเดียวกันปีก่อน
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)เปิดเผยว่า จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนกรกฎาคม 2557 มีทั้งสิ้น 151,339 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ 24.89% และลดลงจากเดือนมิถุนายน 2557ที่ 5.33% เนื่องจากปีนี้ไม่ต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถคันแรกแล้ว และจากยอดขายรถยนต์ภายในประเทศที่ลดลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลง
ส่วนจำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ช่วง 7 เดือนแรก (เดือนมกราคม - กรกฎาคม 2557)มีจำนวนทั้งสิ้น 1,103,444 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - กรกฎาคม 2556ที่ 28.46%
ด้านการส่งออกรถยนต์ ในเดือนกรกฎาคม 2557 ไทยส่งออกรถยนต์ได้ 91,785 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ 8.92% คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 43,767.33 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2556ที่ 9.37%
หากรวม 7 เดือนแรกของปีนี้ (เดือนมกราคม - กรกฎาคม 2557 )ไทยมียอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 651,832 คัน เท่ากับ 99.58%ของยอดการผลิตเพื่อส่งออก โดยส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2556 ในระยะเวลาเดียวกัน 4.31% มีมูลค่าการส่งออก 308,387.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นช่วงเดียวกันปีก่อน 9.01%
ด้านยอดขายรถยนต์ภายในประเทศ ของเดือนกรกฎาคม 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 69,267 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 29.5% และลดลงจากเดือนมิถุนายน 2557ที่ 6.14% เนื่องจากปีนี้ไม่ต้องส่งมอบรถยนต์ในโครงการรถคันแรกแล้ว ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลง
หากรวม 7 เดือนแรกของปีนี้ (เดือนมกราคม - กรกฎาคม 2557)รถยนต์มียอดขาย 510,178 คัน ลดลงจากปี 2556 ในระยะเวลาเดียวกัน 39.2% ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 1,038,551 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 18.53%
ส่วนยอดขายรถจักรยานยนต์ ในเดือน กรกฎาคม 2557 มียอดขาย 160,805 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ 9.07 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2557 ที่ 1.14% เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในประเทศที่เริ่มคลี่คลาย อีกทั้ง ชาวนาบางส่วนได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าวไปบ้างแล้ว
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ส.อ.ท.ได้ประมาณการการผลิตรถยนต์ในเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2557 มีจำนวน 538,602 คัน เปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2557 ซึ่งมีจำนวน 650,470 คัน ลดลง 111,868 คัน หรือ 17.2% และเมื่อเปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2556 ซึ่งมีจำนวน 572,935 คันแล้ว ลดลง 34,333 คัน หรือ 5.99%
ประมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2557 มีจำนวน 443,111 คัน เปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2557 ซึ่งมีจำนวน 461,297 คัน ลดลง 18,186 คัน หรือร้อยละ 3.94 และเมื่อเปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2556 ซึ่งมีจำนวน 519,450 คันแล้ว ลดลง 76,339 คัน หรือ 14.7%
เรียบเรียง โดย ชัชชญา อังคุลี อีเมล์. [email protected]
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -20 ส.ค. 57 12:09 น.
ส.อ.ท.เผยยอดผลิตรถยนต์ ก.ค.ลดลง24.89% จากงวดปีก่อน เหตุปีนี้ไม่ต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถคันแรกแล้ว ส่วนส่งออกรถยนต์โต 8.92% ยอดขายรถยนต์ในประเทศลดลง29.5% จากงวดเดียวกันปีก่อน เนื่องจากปีนี้ไม่ต้องส่งมอบรถยนต์ในโครงการรถคันแรกแล้ว ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลง พร้อมคาด ส.ค.-ต.ค.2557ยอดผลิตรถยนต์อยู่ที่ 538,602 คัน ลดลง 5.99% จากช่วงเดียวกันปีก่อน
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)เปิดเผยว่า จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนกรกฎาคม 2557 มีทั้งสิ้น 151,339 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ 24.89% และลดลงจากเดือนมิถุนายน 2557ที่ 5.33% เนื่องจากปีนี้ไม่ต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถคันแรกแล้ว และจากยอดขายรถยนต์ภายในประเทศที่ลดลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลง
ส่วนจำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ช่วง 7 เดือนแรก (เดือนมกราคม - กรกฎาคม 2557)มีจำนวนทั้งสิ้น 1,103,444 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - กรกฎาคม 2556ที่ 28.46%
ด้านการส่งออกรถยนต์ ในเดือนกรกฎาคม 2557 ไทยส่งออกรถยนต์ได้ 91,785 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ 8.92% คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 43,767.33 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2556ที่ 9.37%
หากรวม 7 เดือนแรกของปีนี้ (เดือนมกราคม - กรกฎาคม 2557 )ไทยมียอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 651,832 คัน เท่ากับ 99.58%ของยอดการผลิตเพื่อส่งออก โดยส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2556 ในระยะเวลาเดียวกัน 4.31% มีมูลค่าการส่งออก 308,387.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นช่วงเดียวกันปีก่อน 9.01%
ด้านยอดขายรถยนต์ภายในประเทศ ของเดือนกรกฎาคม 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 69,267 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 29.5% และลดลงจากเดือนมิถุนายน 2557ที่ 6.14% เนื่องจากปีนี้ไม่ต้องส่งมอบรถยนต์ในโครงการรถคันแรกแล้ว ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลง
หากรวม 7 เดือนแรกของปีนี้ (เดือนมกราคม - กรกฎาคม 2557)รถยนต์มียอดขาย 510,178 คัน ลดลงจากปี 2556 ในระยะเวลาเดียวกัน 39.2% ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 1,038,551 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 18.53%
ส่วนยอดขายรถจักรยานยนต์ ในเดือน กรกฎาคม 2557 มียอดขาย 160,805 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ 9.07 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2557 ที่ 1.14% เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในประเทศที่เริ่มคลี่คลาย อีกทั้ง ชาวนาบางส่วนได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าวไปบ้างแล้ว
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ส.อ.ท.ได้ประมาณการการผลิตรถยนต์ในเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2557 มีจำนวน 538,602 คัน เปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2557 ซึ่งมีจำนวน 650,470 คัน ลดลง 111,868 คัน หรือ 17.2% และเมื่อเปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2556 ซึ่งมีจำนวน 572,935 คันแล้ว ลดลง 34,333 คัน หรือ 5.99%
ประมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2557 มีจำนวน 443,111 คัน เปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2557 ซึ่งมีจำนวน 461,297 คัน ลดลง 18,186 คัน หรือร้อยละ 3.94 และเมื่อเปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2556 ซึ่งมีจำนวน 519,450 คันแล้ว ลดลง 76,339 คัน หรือ 14.7%
เรียบเรียง โดย ชัชชญา อังคุลี อีเมล์. [email protected]
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
-
- Verified User
- โพสต์: 297
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 110
ค่ายรถ ชะลอตัวลง
ฮอนด้ายอดหายไปครึ่งนึง YoY ครับ
ฮอนด้ายอดหายไปครึ่งนึง YoY ครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 111
ตลาดรถยนต์เดือนกรกฎาคม
Sat, 23 Aug 2014 14:16:40 +0700
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ตลาดรถยนต์เดือนกรกฎาคม ขาย 69,527 คัน ลดลง 29.2% สะสม 7 เดือนขาย 510,438 คัน ลดลง 39.2%
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกรกฎาคม 2557 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 69,527 คัน ลดลง 29.2% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 29,677 คัน ลดลง 37.5% รถเพื่อการพาณิชย์ 39,850 คัน ลดลง 21.5% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 32,899 คัน ลดลง 20.7%
ประเด็นสำคัญ 1.) ตลาดรถยนต์เดือนกรกฎาคม มีปริมาณการขาย 69,527 คัน ลดลง 29.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 37.5% และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 21.5% สืบเนื่องมาจากผลกระทบในช่วงต้นปีจากเหตุการณ์ทางการเมืองและภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในประเทศที่ส่งผลทางด้านจิตวิทยาต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งมีผลถึงตลาดรถยนต์
2.) ตลาดรถยนต์สะสม 7 เดือน มีปริมาณการขาย 510,438 คัน ลดลง 39.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 46.6% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 32.4% เป็นผลจากการปรับเข้าสู่สมดุลของตลาดรถยนต์หลังสิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรก ประกอบกับการชะลอตัวของภาคการบริโภค และการลงทุน ในช่วงต้นปี
3.) ตลาดรถยนต์ในเดือน สิงหาคม แนวโน้มทรงตัว จากเสถียรภาพทางการเมืองที่มีแนวโน้มดีขึ้นควบคู่ไปกับสภาพเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว สร้างความมั่นใจกับลูกค้าให้ดีขึ้นตามลำดับ ประกอบกับการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ จากค่ายรถยนต์ต่างๆ ตลอดจนการจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล แกรนด์ มอเตอร์ เซลส์ ในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ล้วนเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญในการกระตุ้นการเติบโตของตลาดรถยนต์ แต่อย่างไรก็ดีสภาพเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศที่ชะลอตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี คงต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวทั้งจากมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ และความเชื่อมั่นจากภาคเอกชน
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1408778243
Sat, 23 Aug 2014 14:16:40 +0700
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ตลาดรถยนต์เดือนกรกฎาคม ขาย 69,527 คัน ลดลง 29.2% สะสม 7 เดือนขาย 510,438 คัน ลดลง 39.2%
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกรกฎาคม 2557 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 69,527 คัน ลดลง 29.2% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 29,677 คัน ลดลง 37.5% รถเพื่อการพาณิชย์ 39,850 คัน ลดลง 21.5% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 32,899 คัน ลดลง 20.7%
ประเด็นสำคัญ 1.) ตลาดรถยนต์เดือนกรกฎาคม มีปริมาณการขาย 69,527 คัน ลดลง 29.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 37.5% และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 21.5% สืบเนื่องมาจากผลกระทบในช่วงต้นปีจากเหตุการณ์ทางการเมืองและภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในประเทศที่ส่งผลทางด้านจิตวิทยาต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งมีผลถึงตลาดรถยนต์
2.) ตลาดรถยนต์สะสม 7 เดือน มีปริมาณการขาย 510,438 คัน ลดลง 39.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 46.6% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 32.4% เป็นผลจากการปรับเข้าสู่สมดุลของตลาดรถยนต์หลังสิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรก ประกอบกับการชะลอตัวของภาคการบริโภค และการลงทุน ในช่วงต้นปี
3.) ตลาดรถยนต์ในเดือน สิงหาคม แนวโน้มทรงตัว จากเสถียรภาพทางการเมืองที่มีแนวโน้มดีขึ้นควบคู่ไปกับสภาพเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว สร้างความมั่นใจกับลูกค้าให้ดีขึ้นตามลำดับ ประกอบกับการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ จากค่ายรถยนต์ต่างๆ ตลอดจนการจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล แกรนด์ มอเตอร์ เซลส์ ในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ล้วนเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญในการกระตุ้นการเติบโตของตลาดรถยนต์ แต่อย่างไรก็ดีสภาพเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศที่ชะลอตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี คงต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวทั้งจากมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ และความเชื่อมั่นจากภาคเอกชน
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1408778243
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 113
ค่ายรถมองตลาดปี2558 ฟื้นตัวเล็กน้อยหลังปรับฐานตลาด เคลียร์สต็อก รัฐกำหนดทิศทางเศรษฐกิจ มั่นใจเห็นภาพชัดปลายปี
หลังผู้บริโภครู้อนาคตรายได้ โบนัส ชี้ปีนี้แคมเปญแรงไร้ผล เร่งปรับแผนสร้างกิจกรรมเจาะตรงลูกค้า ร่วมมือไฟแนนซ์เพิ่มความยืดหยุ่นเงื่อนไขซื้อขาย ด้านรถบรรทุกขยับราคา เร่งการซื้อ
ตลาดรถยนต์ปีนี้ หดตัวอย่างรุนแรง ม.ค.-ส.ค.มียอดขายรวม 579,273 คัน ลดลง 38% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว แต่หลังจากสถานการณ์ต่างๆ ในประเทศดีขึ้น ทั้งการเมือง แนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจ การเข้าสู่ช่วงฤดูกาลขายปลายปี และงาน มหกรรมยานยนต์ ซึ่งคาดว่าจะกระตุ้นได้ส่วนหนึ่ง คาดว่าจะช่วยให้ตัวเลขการถดถอยทั้งปีอยู่ที่ 30% แต่ทำให้ค่ายรถต่างๆพลาดเป้าจำนวนมาก และต้องปรับแผนการตลาด
ทำใจรับปี57แคมเปญไม่ช่วย
ล่าสุดนายเคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ผู้นำตลาด ระบุว่าตลาดน่าจะทำได้เพียงแค่ 900,000 คัน ขณะที่การผลิตอยู่ที่ 2,100,000 คัน น้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นปี 2,400,000 คัน เนื่องจากได้รับปัจจัยลบหลายอย่าง และต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ ในการหามาตรการกระตุ้นตลาด
ทั้งนี้ในด้านยอดขายในประเทศ ช่วงต้นปีทุกค่ายตั้งเป้ารวมกัน 1,200,000 คัน แต่ได้มีการปรับลดลงมาเป็นระยะๆ ตามสถานการณ์ยอดขายที่เกิดขึ้น เหลือ 1,100,000 คัน และ 1,000,000 ล้านคัน
นายสฤษฎร์พร สกลรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารการตลาดและวางแผนผลิตภัณฑ์ บริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า ค่ายรถต่างๆ ได้ทยอยปรับเป้าลงให้สอดคล้องกับตลาดรวม เนื่องจากมีปัจจัยลบเข้ามากระทบหลายเรื่อง ทำให้ผู้บริโภคไม่ให้ความสำคัญกับสินค้ารถยนต์ แม้จะมีแคมเปญส่งเสริมการขายที่รุนแรงตลอดทั้งปีก็ตาม
"การที่มีการปรับลดเป้าผลิต เป้าจำหน่าย ก็คงเป็นเพราะมีการประเมินตัวเลขเป็นระยะๆ และหากพูดกันถึงการผลิต 2.1 ล้านคันในปีนี้ แม่ว่าช่วงปลายปีเชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น แต่ตัวเลขก็คงไม่สามารถปรับขึ้นได้ เพราะวางแผนใหม่กันไปแล้ว ทำให้ขยับตัวได้ยาก"
นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของปีนี้คือมีปัจจัยลบตั้งแต่ต้นปี แม้จะพยายามกระตุ้นตลาด แต่จะเห็นได้ว่าแม้จะมีแคมเปญที่รุนแรงในช่วง 6-7 เดือนที่ผ่านมา แต่ยอดจำหน่ายก็ลดลงมาโดยตลอด ดังนั้นเชื่อว่าช่วงเวลาที่เหลือในปีนี้ จะไม่มีแคมเปญที่แตกต่างหรือรุนแรงไปกว่าปัจจุบัน แต่จะรอให้กำลังซื้อฟื้นตัวจึงเริ่มกิจกรรมการตลาดจริงจังอีกครั้ง
เชื่อปี58ดีขึ้น แต่ไม่มาก
นายวัลลภกล่าวว่า ตลาดรถยนต์จะเริ่มปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปีนี้ หลังจากที่ปัจจัยรอบด้านเข้าสู่ภาวะปกติ เศรษฐกิจและความเชื่อมั่นมีแนวโน้มดีขึ้น ขณะที่ปัจจัยภายใน ค่ายรถต่างๆ เริ่มปรับสมดุลสต็อกได้แล้ว รวมกับปัจจัยเบี่ยงเบนอย่างกำลังซื้อเทียม หายไป ทำให้มองเห็นกำลังซื้อที่แท้จริงได้ชัดเจน
นอกจากนี้ช่วงปลายปี ผู้บริโภคจะมีกำลังซื้อเพิ่มเติมจากโบนัสปลายปี นอกจากนี้ยังรู้ถึงทิศทางรายได้ในปีหน้าว่าเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถและส่งผลดีต่อตลาดที่จะปรับตัวดีขึ้น แต่ไม่มากนัก โดยคาดว่าจะทำได้ประมาณ 900,000-1,000,000 คัน จากปีนี้ที่เชื่อว่าจะทำได้ 880,000 คัน
"ปีหน้าปัจจัยลบไม่มี ต่างจากปีนี้ที่มีปัจจัยลบมาตั้งแต่ต้นปี ทำให้ฉุดกำลังซื้อลงไปมาก"
ด้านการกระตุ้นตลาด เมื่อกำลังซื้อฟื้นตัว ค่ายรถก็จะจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างจริงจังอีกครั้ง แต่จะไม่เน้นรูปแบบแคมเปญแรงเหมือนปีนี้ โดยเน้นกิจกรรมที่เข้าถึงตัวลูกค้า สร้างความสัมพันธ์ หรือสร้างความพึงพอใจในด้านบริการหลังการขายเป็นหลัก เช่น การจัดงานเลี้ยง กิจกรรมด้าน ซีอาร์เอ็ม เป็นต้น
"แคมเปญเป็นสิ่งคู่กับตลาดรถ แต่รูปแบบที่รุนแรงจะลดลง โดยขณะนี้ก็เริ่มลดลงแล้ว เพราะนอกจากไม่ได้ผลเท่าที่ควรแล้ว ยังเป็นเพราะหลายค่ายเริ่มเคลียร์สต็อกได้แล้ว หลังจากกำหนดเป้าหมายผิดพลาด ทำให้มีรถล้นสต็อกจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา"
ร่วมสถาบันการปรับความยืดหยุ่นแคมเปญ
นายสฤษฎร์พรกล่าวว่า รูปแบบการจัดแคมเปญจะต้องมีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับผู้บริโภคยุคใหม่ ที่มีความต้องการแตกต่างหลากหลาย เช่น บางครั้งลูกค้าไม่ได้สนใจที่ส่วนลดเท่ากับเงื่อนไขการซื้อรถ เช่น อัตราเงินดาวน์ ดอกเบี้ย หรือ ออพชั่นที่แตกต่างออกไป ซึ่งจุดนี้มีปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องซึ่งผู้ประกอบการต้องทำให้ได้ คือการสร้างความมั่นใจกับพันธมิตรสถาบันการเงิน
รวมไปถึงการสร้างความมั่นใจด้านการบริการหลังการขาย ซึ่งเชื่อว่าหากทำได้จะเป็นโอกาสที่ดีเนื่องจากตลาดจะเติบโตขึ้น โดยจะเริ่มเห็นสัญญาณตั้งแต่ช่วง พ.ย.-ธ.ค.และจะชัดขึ้นหลังจากต้นปีหน้า เมื่อทั้งผู้บริโภค และองค์กรธุรกิจมีการกำหนดแผนงานปี 2558 ที่ชัดเจน ทำให้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมได้
นายประพัฒน์ เชยชม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายการตลาดและขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ค่ายรถยนต์มีการปรับตัวมาโดยตลอด ทั้งกลยุทธ์และการจัดการ เนื่องจากคาดเดาภาวะตลาดได้ยาก ส่วนในปีหน้าตลาดน่าจะดีขึ้น แต่รูปแบบการแข่งขันยังคงรุนแรงเหมือนเดิม และเชื่อว่าอาจจะยังไม่เห็นปัจจัยที่จะมาเปลี่ยนแปลงสภาพวะตลาดไปจากเดิมมากนัก
นางสาวอาภัสรา ประทีปะเสน ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เยอรมัน มอเตอร์ เวิร์ค จำกัด ผู้จำหน่ายรถยนต์ออดี้ กล่าวว่าบริษัทจะให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆ ให้มีความสอดคล้องกับตลาด เช่น การนำเสนอผลิตภัณฑ์ครบทุกเซกเมนต์ การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านราคาโดย การกำหนดกลยุทธ์ด้านราคาให้สามารถแข่งขันได้ และทำการจัดกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่องในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้และสร้างภาพลักษณ์ อีกทั้งยังเป็นการสร้าง แบรนด์ ออดี้เพื่อเข้าถึงลูกค้าให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย
รถใหม่ดันตลาดปี 58
นอกจากนี้ในปีหน้า ตัวสินค้าจะเข้ามาเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นตลาดเช่นกัน โดยแหล่งข่าวจากโตโยต้ากล่าวว่าสถานการณ์ที่มีแต่ปัจจัยลบในขณะนี้ ทำให้ค่ายรถต้องมองไปยังปีหน้า โดยกลยุทธ์ของโตโยต้า จะเร่งส่งรถใหม่ ด้วยโคโรลล่า อัลติส ตามมาด้วยรุ่นตกแต่งพิเศษ และไฮลักซ์ วีโก้ใหม่
ฮอนด้า คาดหวังกับรถที่เปิดตัวในปีนี้จะส่งผลต่อเนื่องถึงปีหน้า ไม่ว่าจะเป็น ซิตี้, แจ๊ซ, โมบิลิโอ และคาดว่าปีหน้าจะเสริมตลาดด้วยรถเอสยูวี คนเมือง คือ วีเซล ที่มีกำหนดเปิดตัวไตรมาสสุดท้าย
แหล่งข่าวจากมาสด้ากล่าวว่า สินค้าจะมีความสำคัญกับมาสด้ามาก หลังจากที่เทคโนโลยีใหม่ สกายแอคทีฟ ได้รับการยอมรับมากขึ้น ทำให้ขณะนี้ทั้งซีเอ็กซ์-5 และ มาสด้า 3 มียอดค้างส่งมอบ 1-2 เดือน ทำให้เชื่อว่าปีหน้าจะยังคงเป็นรถที่มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นตลาด นอกจากนี้ก็จะเสริมเทคโนโลยีนี้อีก 1 รุ่น คือ มาสด้า 2 ใหม่
"เราเชื่อว่านี่คือการเดินมาถูกทางแล้ว และเทคโนโลยีสกายแอคทีฟจะกลายเป็นสินค้าหลักที่ใช้ทำตลาดอย่างต่อเนื่องทั้งปี ไม่เน้นการอัดแคมเปญให้กับสินค้ากลุ่มเหล่านี้"
แหล่งข่าวระบุว่า นอกจากนี้มาสด้ามีโจทย์สำคัญอีกข้อหนึ่ง คือ การเข้าโครงการ อีโค คาร์ 2 ทันหรือไม่ ถ้ามาสด้า 2 เข้าได้ จะทำให้มีศักยภาพการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น
แหล่งข่าวจากมิตซูบิชิระบุว่า ปีหน้าสิ่งที่เป็นความหวังใหญ่คือ รถปิกอัพ ไทรทันใหม่ ที่จะเปิดตัวช่วงปลายปีนี้ ขณะที่เชฟโรเล็ต เตรียมเปลี่ยนโฉมรถยนต์นั่ง เชฟโรเลต ครูซ เพื่อสร้างความสดใหม่ให้กับตลาด
รถใหญ่ปรับราคาสอดคล้องตลาด
นายสุขสมเกียรติ เสือกลิ่นศักดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอส.เอส. เค.กรุ๊ป เซลส์แอนด์เซอร์วิส จำกัด ผู้จำหน่ายรถบรรทุกไอวีโก้ กล่าวว่า แม้ปีนี้ตลาดจะหดตัว แต่เชื่อการที่ไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ รวมถึงมีแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุนภาครัฐ จะทำให้มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปข้างหน้า ทำให้ช่วงปลายปีนี้ตลาดจะเริ่มฟื้นตัวมากขึ้น
ส่วนแนวทางกระตุ้นตลาดรถบรรทุกซึ่งลูกค้ามองเรื่องต้นทุนเป็นปัจจัยหลัก ก็คือจะต้องนำเสนอสินค้าที่มีราคาเหมาะสม ไม่เป็นภาระมากเกินไป ซึ่งในส่วนของไอวีโก้ได้กำหนดราคาพิเศษสำหรับจากอิตาลีในระดับเดียวกับรถญี่ปุ่นเป็นเวลา 3 ปี และให้บริการดูแลรักษาฟรี 3 ปี เปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นฟรี 2 ปี
นายภูริวัทน์ รักอินทร์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด กล่าวว่า บริษัทจะต้องหาสินค้าที่ตอบสนอง แต่จะไม่ใช้วิธีลดราคา เพราะจะทำให้โครงสร้างเสียหาย แต่จะใช้วิธีปรับรายละเอียดของรถ ลดสิ่งที่ไม่จำเป็น ซึ่งช่วยลดราคาได้มาก เช่น รุ่น 360 แรงม้า ปรับลดอุปกรณ์บางอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางเทคนิค ทำให้สามารถลดราคาได้ประมาณ 8%
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ไร้ผล.html
หลังผู้บริโภครู้อนาคตรายได้ โบนัส ชี้ปีนี้แคมเปญแรงไร้ผล เร่งปรับแผนสร้างกิจกรรมเจาะตรงลูกค้า ร่วมมือไฟแนนซ์เพิ่มความยืดหยุ่นเงื่อนไขซื้อขาย ด้านรถบรรทุกขยับราคา เร่งการซื้อ
ตลาดรถยนต์ปีนี้ หดตัวอย่างรุนแรง ม.ค.-ส.ค.มียอดขายรวม 579,273 คัน ลดลง 38% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว แต่หลังจากสถานการณ์ต่างๆ ในประเทศดีขึ้น ทั้งการเมือง แนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจ การเข้าสู่ช่วงฤดูกาลขายปลายปี และงาน มหกรรมยานยนต์ ซึ่งคาดว่าจะกระตุ้นได้ส่วนหนึ่ง คาดว่าจะช่วยให้ตัวเลขการถดถอยทั้งปีอยู่ที่ 30% แต่ทำให้ค่ายรถต่างๆพลาดเป้าจำนวนมาก และต้องปรับแผนการตลาด
ทำใจรับปี57แคมเปญไม่ช่วย
ล่าสุดนายเคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ผู้นำตลาด ระบุว่าตลาดน่าจะทำได้เพียงแค่ 900,000 คัน ขณะที่การผลิตอยู่ที่ 2,100,000 คัน น้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นปี 2,400,000 คัน เนื่องจากได้รับปัจจัยลบหลายอย่าง และต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ ในการหามาตรการกระตุ้นตลาด
ทั้งนี้ในด้านยอดขายในประเทศ ช่วงต้นปีทุกค่ายตั้งเป้ารวมกัน 1,200,000 คัน แต่ได้มีการปรับลดลงมาเป็นระยะๆ ตามสถานการณ์ยอดขายที่เกิดขึ้น เหลือ 1,100,000 คัน และ 1,000,000 ล้านคัน
นายสฤษฎร์พร สกลรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารการตลาดและวางแผนผลิตภัณฑ์ บริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า ค่ายรถต่างๆ ได้ทยอยปรับเป้าลงให้สอดคล้องกับตลาดรวม เนื่องจากมีปัจจัยลบเข้ามากระทบหลายเรื่อง ทำให้ผู้บริโภคไม่ให้ความสำคัญกับสินค้ารถยนต์ แม้จะมีแคมเปญส่งเสริมการขายที่รุนแรงตลอดทั้งปีก็ตาม
"การที่มีการปรับลดเป้าผลิต เป้าจำหน่าย ก็คงเป็นเพราะมีการประเมินตัวเลขเป็นระยะๆ และหากพูดกันถึงการผลิต 2.1 ล้านคันในปีนี้ แม่ว่าช่วงปลายปีเชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น แต่ตัวเลขก็คงไม่สามารถปรับขึ้นได้ เพราะวางแผนใหม่กันไปแล้ว ทำให้ขยับตัวได้ยาก"
นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของปีนี้คือมีปัจจัยลบตั้งแต่ต้นปี แม้จะพยายามกระตุ้นตลาด แต่จะเห็นได้ว่าแม้จะมีแคมเปญที่รุนแรงในช่วง 6-7 เดือนที่ผ่านมา แต่ยอดจำหน่ายก็ลดลงมาโดยตลอด ดังนั้นเชื่อว่าช่วงเวลาที่เหลือในปีนี้ จะไม่มีแคมเปญที่แตกต่างหรือรุนแรงไปกว่าปัจจุบัน แต่จะรอให้กำลังซื้อฟื้นตัวจึงเริ่มกิจกรรมการตลาดจริงจังอีกครั้ง
เชื่อปี58ดีขึ้น แต่ไม่มาก
นายวัลลภกล่าวว่า ตลาดรถยนต์จะเริ่มปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปีนี้ หลังจากที่ปัจจัยรอบด้านเข้าสู่ภาวะปกติ เศรษฐกิจและความเชื่อมั่นมีแนวโน้มดีขึ้น ขณะที่ปัจจัยภายใน ค่ายรถต่างๆ เริ่มปรับสมดุลสต็อกได้แล้ว รวมกับปัจจัยเบี่ยงเบนอย่างกำลังซื้อเทียม หายไป ทำให้มองเห็นกำลังซื้อที่แท้จริงได้ชัดเจน
นอกจากนี้ช่วงปลายปี ผู้บริโภคจะมีกำลังซื้อเพิ่มเติมจากโบนัสปลายปี นอกจากนี้ยังรู้ถึงทิศทางรายได้ในปีหน้าว่าเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถและส่งผลดีต่อตลาดที่จะปรับตัวดีขึ้น แต่ไม่มากนัก โดยคาดว่าจะทำได้ประมาณ 900,000-1,000,000 คัน จากปีนี้ที่เชื่อว่าจะทำได้ 880,000 คัน
"ปีหน้าปัจจัยลบไม่มี ต่างจากปีนี้ที่มีปัจจัยลบมาตั้งแต่ต้นปี ทำให้ฉุดกำลังซื้อลงไปมาก"
ด้านการกระตุ้นตลาด เมื่อกำลังซื้อฟื้นตัว ค่ายรถก็จะจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างจริงจังอีกครั้ง แต่จะไม่เน้นรูปแบบแคมเปญแรงเหมือนปีนี้ โดยเน้นกิจกรรมที่เข้าถึงตัวลูกค้า สร้างความสัมพันธ์ หรือสร้างความพึงพอใจในด้านบริการหลังการขายเป็นหลัก เช่น การจัดงานเลี้ยง กิจกรรมด้าน ซีอาร์เอ็ม เป็นต้น
"แคมเปญเป็นสิ่งคู่กับตลาดรถ แต่รูปแบบที่รุนแรงจะลดลง โดยขณะนี้ก็เริ่มลดลงแล้ว เพราะนอกจากไม่ได้ผลเท่าที่ควรแล้ว ยังเป็นเพราะหลายค่ายเริ่มเคลียร์สต็อกได้แล้ว หลังจากกำหนดเป้าหมายผิดพลาด ทำให้มีรถล้นสต็อกจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา"
ร่วมสถาบันการปรับความยืดหยุ่นแคมเปญ
นายสฤษฎร์พรกล่าวว่า รูปแบบการจัดแคมเปญจะต้องมีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับผู้บริโภคยุคใหม่ ที่มีความต้องการแตกต่างหลากหลาย เช่น บางครั้งลูกค้าไม่ได้สนใจที่ส่วนลดเท่ากับเงื่อนไขการซื้อรถ เช่น อัตราเงินดาวน์ ดอกเบี้ย หรือ ออพชั่นที่แตกต่างออกไป ซึ่งจุดนี้มีปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องซึ่งผู้ประกอบการต้องทำให้ได้ คือการสร้างความมั่นใจกับพันธมิตรสถาบันการเงิน
รวมไปถึงการสร้างความมั่นใจด้านการบริการหลังการขาย ซึ่งเชื่อว่าหากทำได้จะเป็นโอกาสที่ดีเนื่องจากตลาดจะเติบโตขึ้น โดยจะเริ่มเห็นสัญญาณตั้งแต่ช่วง พ.ย.-ธ.ค.และจะชัดขึ้นหลังจากต้นปีหน้า เมื่อทั้งผู้บริโภค และองค์กรธุรกิจมีการกำหนดแผนงานปี 2558 ที่ชัดเจน ทำให้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมได้
นายประพัฒน์ เชยชม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายการตลาดและขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ค่ายรถยนต์มีการปรับตัวมาโดยตลอด ทั้งกลยุทธ์และการจัดการ เนื่องจากคาดเดาภาวะตลาดได้ยาก ส่วนในปีหน้าตลาดน่าจะดีขึ้น แต่รูปแบบการแข่งขันยังคงรุนแรงเหมือนเดิม และเชื่อว่าอาจจะยังไม่เห็นปัจจัยที่จะมาเปลี่ยนแปลงสภาพวะตลาดไปจากเดิมมากนัก
นางสาวอาภัสรา ประทีปะเสน ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เยอรมัน มอเตอร์ เวิร์ค จำกัด ผู้จำหน่ายรถยนต์ออดี้ กล่าวว่าบริษัทจะให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆ ให้มีความสอดคล้องกับตลาด เช่น การนำเสนอผลิตภัณฑ์ครบทุกเซกเมนต์ การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านราคาโดย การกำหนดกลยุทธ์ด้านราคาให้สามารถแข่งขันได้ และทำการจัดกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่องในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้และสร้างภาพลักษณ์ อีกทั้งยังเป็นการสร้าง แบรนด์ ออดี้เพื่อเข้าถึงลูกค้าให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย
รถใหม่ดันตลาดปี 58
นอกจากนี้ในปีหน้า ตัวสินค้าจะเข้ามาเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นตลาดเช่นกัน โดยแหล่งข่าวจากโตโยต้ากล่าวว่าสถานการณ์ที่มีแต่ปัจจัยลบในขณะนี้ ทำให้ค่ายรถต้องมองไปยังปีหน้า โดยกลยุทธ์ของโตโยต้า จะเร่งส่งรถใหม่ ด้วยโคโรลล่า อัลติส ตามมาด้วยรุ่นตกแต่งพิเศษ และไฮลักซ์ วีโก้ใหม่
ฮอนด้า คาดหวังกับรถที่เปิดตัวในปีนี้จะส่งผลต่อเนื่องถึงปีหน้า ไม่ว่าจะเป็น ซิตี้, แจ๊ซ, โมบิลิโอ และคาดว่าปีหน้าจะเสริมตลาดด้วยรถเอสยูวี คนเมือง คือ วีเซล ที่มีกำหนดเปิดตัวไตรมาสสุดท้าย
แหล่งข่าวจากมาสด้ากล่าวว่า สินค้าจะมีความสำคัญกับมาสด้ามาก หลังจากที่เทคโนโลยีใหม่ สกายแอคทีฟ ได้รับการยอมรับมากขึ้น ทำให้ขณะนี้ทั้งซีเอ็กซ์-5 และ มาสด้า 3 มียอดค้างส่งมอบ 1-2 เดือน ทำให้เชื่อว่าปีหน้าจะยังคงเป็นรถที่มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นตลาด นอกจากนี้ก็จะเสริมเทคโนโลยีนี้อีก 1 รุ่น คือ มาสด้า 2 ใหม่
"เราเชื่อว่านี่คือการเดินมาถูกทางแล้ว และเทคโนโลยีสกายแอคทีฟจะกลายเป็นสินค้าหลักที่ใช้ทำตลาดอย่างต่อเนื่องทั้งปี ไม่เน้นการอัดแคมเปญให้กับสินค้ากลุ่มเหล่านี้"
แหล่งข่าวระบุว่า นอกจากนี้มาสด้ามีโจทย์สำคัญอีกข้อหนึ่ง คือ การเข้าโครงการ อีโค คาร์ 2 ทันหรือไม่ ถ้ามาสด้า 2 เข้าได้ จะทำให้มีศักยภาพการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น
แหล่งข่าวจากมิตซูบิชิระบุว่า ปีหน้าสิ่งที่เป็นความหวังใหญ่คือ รถปิกอัพ ไทรทันใหม่ ที่จะเปิดตัวช่วงปลายปีนี้ ขณะที่เชฟโรเล็ต เตรียมเปลี่ยนโฉมรถยนต์นั่ง เชฟโรเลต ครูซ เพื่อสร้างความสดใหม่ให้กับตลาด
รถใหญ่ปรับราคาสอดคล้องตลาด
นายสุขสมเกียรติ เสือกลิ่นศักดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอส.เอส. เค.กรุ๊ป เซลส์แอนด์เซอร์วิส จำกัด ผู้จำหน่ายรถบรรทุกไอวีโก้ กล่าวว่า แม้ปีนี้ตลาดจะหดตัว แต่เชื่อการที่ไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ รวมถึงมีแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุนภาครัฐ จะทำให้มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปข้างหน้า ทำให้ช่วงปลายปีนี้ตลาดจะเริ่มฟื้นตัวมากขึ้น
ส่วนแนวทางกระตุ้นตลาดรถบรรทุกซึ่งลูกค้ามองเรื่องต้นทุนเป็นปัจจัยหลัก ก็คือจะต้องนำเสนอสินค้าที่มีราคาเหมาะสม ไม่เป็นภาระมากเกินไป ซึ่งในส่วนของไอวีโก้ได้กำหนดราคาพิเศษสำหรับจากอิตาลีในระดับเดียวกับรถญี่ปุ่นเป็นเวลา 3 ปี และให้บริการดูแลรักษาฟรี 3 ปี เปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นฟรี 2 ปี
นายภูริวัทน์ รักอินทร์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด กล่าวว่า บริษัทจะต้องหาสินค้าที่ตอบสนอง แต่จะไม่ใช้วิธีลดราคา เพราะจะทำให้โครงสร้างเสียหาย แต่จะใช้วิธีปรับรายละเอียดของรถ ลดสิ่งที่ไม่จำเป็น ซึ่งช่วยลดราคาได้มาก เช่น รุ่น 360 แรงม้า ปรับลดอุปกรณ์บางอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางเทคนิค ทำให้สามารถลดราคาได้ประมาณ 8%
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ไร้ผล.html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 114
สถานการณ์ตอนนี้ รถยนต์ต่ำกว่า 1600 cc คือตลาด 1500cc ,1200cc ซึ่งผู้ครอบครองตลาดมี
โตโยต้า วีออส และ ฮอนด้า ซิติ้ นั้นเอง อาการแย่โดนดูจากโฆษณาผ่านทางสื่อโทรทัศน์ล่าสุด
คือผ่อนดอกบเี้บี้ย 0% ยาว 4% (ไม่เห็นรายละเอียดแต่คาดว่า ผ่อนกับ โตโยต้า ลีสซิ่ง)
เรียกได้ว่า ดันยอดกันสุดๆๆ
น่าตลาดที่น่าแปลกใจคือ ตลาดรถ ตระกูล BMW ,Benz เติบโตดีกว่าปีก่อนหน้าเสียอีก
จุดนี้เองน่าคิดว่า ถ้าหากมองภาพใหญ่แล้ว ภาพเล็กๆมันจะบิดเบือนหรือเปล่า
ถ้าหากมอง อุตสาหกรรมรถยนต์เป็น Supply Chain ทั้งระบบ
1-2 ปีที่รถยนต์นั้น จำหน่ายออกมานั้น
ปีที่ 3 เริ่มมีการเปลี่ยนยาง เปลี่ยนแบตเตอรี่ เริ่มใช้บริการในการบำรุงรักษานอกศูนย์บริการของยี่ห้อนั้นๆ (ความคุ้มครองของรถยนต์คือ 100,000 กิโลเมตร หรือ 3 ปี ยกเว้นยี่ห้อของเชฟที่ให้ 5 ปีเพราะปัญหาของ ครูส เลยให้ยาวเลย
ไม่ขอเท้าความในเรื่องของเชฟ)
ดังนั้น เราไม่ควรมองแต่ตลาดแรก แต่เรามองตลาดเป็นห่วงโซ่
แต่สิ่งหนึ่งที่น่าเสียดายคืออะไร คือ
เมืองไทยที่ผมค้นหาคือ ไม่เจอะเจอโรงงานทำลายรถยนต์ แยกชิ้นส่วน อัดก๊อปปี้เป็นก้อนเหล็ก
อุตสาหกรรมนี้ ได้ครบถ้วนวงจรซักที
โตโยต้า วีออส และ ฮอนด้า ซิติ้ นั้นเอง อาการแย่โดนดูจากโฆษณาผ่านทางสื่อโทรทัศน์ล่าสุด
คือผ่อนดอกบเี้บี้ย 0% ยาว 4% (ไม่เห็นรายละเอียดแต่คาดว่า ผ่อนกับ โตโยต้า ลีสซิ่ง)
เรียกได้ว่า ดันยอดกันสุดๆๆ
น่าตลาดที่น่าแปลกใจคือ ตลาดรถ ตระกูล BMW ,Benz เติบโตดีกว่าปีก่อนหน้าเสียอีก
จุดนี้เองน่าคิดว่า ถ้าหากมองภาพใหญ่แล้ว ภาพเล็กๆมันจะบิดเบือนหรือเปล่า
ถ้าหากมอง อุตสาหกรรมรถยนต์เป็น Supply Chain ทั้งระบบ
1-2 ปีที่รถยนต์นั้น จำหน่ายออกมานั้น
ปีที่ 3 เริ่มมีการเปลี่ยนยาง เปลี่ยนแบตเตอรี่ เริ่มใช้บริการในการบำรุงรักษานอกศูนย์บริการของยี่ห้อนั้นๆ (ความคุ้มครองของรถยนต์คือ 100,000 กิโลเมตร หรือ 3 ปี ยกเว้นยี่ห้อของเชฟที่ให้ 5 ปีเพราะปัญหาของ ครูส เลยให้ยาวเลย
ไม่ขอเท้าความในเรื่องของเชฟ)
ดังนั้น เราไม่ควรมองแต่ตลาดแรก แต่เรามองตลาดเป็นห่วงโซ่
แต่สิ่งหนึ่งที่น่าเสียดายคืออะไร คือ
เมืองไทยที่ผมค้นหาคือ ไม่เจอะเจอโรงงานทำลายรถยนต์ แยกชิ้นส่วน อัดก๊อปปี้เป็นก้อนเหล็ก
อุตสาหกรรมนี้ ได้ครบถ้วนวงจรซักที
- gappom
- Verified User
- โพสต์: 147
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 115
ยอดขายรถยนต์ น่าจะซึมยาวจนถึงกลางปีหน้า
ครึ่งปีหลัง 2558 จึงน่าจะกลับมา
จากการเปิดตัว all new model ของหลายๆ ค่าย
บวกกับ Eco car phase 2
ถ้าจะซื้อกลุ่มนี้ รอดูช่วงที่เป็น cycle ที่ยอดขายตกเยอะๆ
ถึงจะมีหุ้นที่มี MOS พอที่จะลงทุนได้ แต่ตอนนี้ผมคิดว่ายังไม่มี
ครึ่งปีหลัง 2558 จึงน่าจะกลับมา
จากการเปิดตัว all new model ของหลายๆ ค่าย
บวกกับ Eco car phase 2
ถ้าจะซื้อกลุ่มนี้ รอดูช่วงที่เป็น cycle ที่ยอดขายตกเยอะๆ
ถึงจะมีหุ้นที่มี MOS พอที่จะลงทุนได้ แต่ตอนนี้ผมคิดว่ายังไม่มี
- Pyrostrikes
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1000
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 116
โดนดึง demand ในอนาคตไปเยอะ จนถึงปัจจุบันแม้แต่ขาใหญ่อย่าง Toyota ก็ยังต้องออก Campaign ดอกเบี้ย 0% 4 ปี
Nothing comes for free...
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 957
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 117
ขาใหญ่รายนี้ ฟังข่าวว่า กำลังลดพนักงานที่โรงงานอยู่ ครับPyrostrikes เขียน:โดนดึง demand ในอนาคตไปเยอะ จนถึงปัจจุบันแม้แต่ขาใหญ่อย่าง Toyota ก็ยังต้องออก Campaign ดอกเบี้ย 0% 4 ปี
ไม่แน่ใจ ครั้งที่เท่าไรแล้ว ในปีนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 119
มันไม่ใช่แต่รถยนต์อย่างเดียวละครับ
รถแมงกะไซด์ ยอดจดทะเบียนก็ลดลงแบบหัวทิ่มหัวตำไปด้วย
แต่ยังไม่ลงไปดู ว่ายอดจดทะเบียนรถแมงกะไซด์นี้ แบ่งตลาดอย่างไร
ที่บอกว่ายอดตกคือ ตกมากกว่าปี 2553 ด้วยซ้ำไป
เหตุที่ยอดตก น่ามาจากตลาดของต่างจังหวัดที่ได้ผลกระทบจากสินค้าการเกษตร หรือเปล่า
อีกอย่างตลาดแมงกะไซด์ ดอกเบี้ยโหดร้ายกว่ารถยนต์มากมาย และที่สำคัญคือ 0 บาทก็ออกรถแมงกะไซด์ได้ +ไม่ต้องมีคนค้ำประกันอีกต่างหาก
น่าคิดต่อว่า บริษัทที่จดทะเบียนในตลาด(ห)ลักทรัพย์ สะท้อนภาพออกมาทั้งหมดหรือยัง
รถแมงกะไซด์ ยอดจดทะเบียนก็ลดลงแบบหัวทิ่มหัวตำไปด้วย
แต่ยังไม่ลงไปดู ว่ายอดจดทะเบียนรถแมงกะไซด์นี้ แบ่งตลาดอย่างไร
ที่บอกว่ายอดตกคือ ตกมากกว่าปี 2553 ด้วยซ้ำไป
เหตุที่ยอดตก น่ามาจากตลาดของต่างจังหวัดที่ได้ผลกระทบจากสินค้าการเกษตร หรือเปล่า
อีกอย่างตลาดแมงกะไซด์ ดอกเบี้ยโหดร้ายกว่ารถยนต์มากมาย และที่สำคัญคือ 0 บาทก็ออกรถแมงกะไซด์ได้ +ไม่ต้องมีคนค้ำประกันอีกต่างหาก
น่าคิดต่อว่า บริษัทที่จดทะเบียนในตลาด(ห)ลักทรัพย์ สะท้อนภาพออกมาทั้งหมดหรือยัง
- Hisoka
- Verified User
- โพสต์: 175
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 120
บ้านเราเจ๋งกว่านั้นครับ เพราะเรามีเชียงกง ขายซาก แยกชิ้นส่วน วางกองให้ลูกค้าเดินเลือกเลย รถรุ่นเก่ามาก 20-30ปี ยังพอหาอะไหล่ใช้ได้อยู่เลยครับ(ที่ผมรู้จักส่วนใหญ่จะเป็นรถบรรทุกน่ะครับ) ชิ้นส่วนที่ใช้ไม่ได้จริงๆ ซ่อมไม่ได้แล้ว ถึงจะขายเป็นเศษเหล็กmiracle เขียน: แต่สิ่งหนึ่งที่น่าเสียดายคืออะไร คือ
เมืองไทยที่ผมค้นหาคือ ไม่เจอะเจอโรงงานทำลายรถยนต์ แยกชิ้นส่วน อัดก๊อปปี้เป็นก้อนเหล็ก
อุตสาหกรรมนี้ ได้ครบถ้วนวงจรซักที