จากการที่ SITHAI ซื้อหุ้นคืน 9.8ฺืฺ่่่้่่้่%
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 13, 2005 1:07 pm
ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 3/2548
เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2548
วาระที่ 4.1 ขออนุมัติซื้อหุ้นสามัญคืน
ที่มา
1. คณะกรรมการบริษัทในคราวประชุมครั้งที่ 3/2546 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม
2546 ได้มีมติเป็น เอกฉันท์อนุมัติในหลักการให้บริษัทฯซื้อหุ้นสามัญคืนได้ โดยให้หลักเกณฑ์และ
วิธีการเป็นไปตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ ให้มีการแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อทำหน้าที่เป็นคนกลางในการดำเนินการให้คำแนะนำ
เกี่ยวกับการซื้อหุ้นสามัญคืนด้วย ซึ่งการซื้อหุ้นสามัญคืนดังกล่าวเพื่อเป็นการกระตุ้นการซื้อขายหุ้น
ของบริษัทฯและเป็นการเพิ่มมูลค่าของบริษัทฯในตลาดหลักทรัพย์ฯ
2. ข้อบังคับของบริษัทฯข้อ 8 กำหนดให้บริษัทฯซื้อหุ้นคืนได้ไม่เกินกว่าร้อยละ
10 ของทุนชำระแล้ว โดยอำนาจการอนุมัติของคณะกรรมการของบริษัท
ข้อเท็จจริง
1. บริษัทฯได้แต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) "ที่ปรึกษา"
เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการดำเนินการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการซื้อหุ้นสามัญคืนและประเมิน
มูลค่าหุ้นสามัญของบริษัทฯ โดยผลจากการศึกษาข้อมูลของบริษัทฯและแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็น
ที่ปรึกษาได้ใช้วิธีการประเมินมูลค่าหุ้นที่เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากลทั่วไปและตามความ
เหมาะสมของบริษัทฯ
2. ผลสรุปจากการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทฯปรากฏว่า มูลค่าหุ้นของบริษัทฯ
ควรจะอยู่ในช่วงราคาประมาณ 11.75 - 14.95 บาทต่อหุ้น
3. ตามงบการเงินรวมที่ผ่านการสอบทานโดยผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ณ วันที่
31 มีนาคม 2548 บริษัทฯมีเงินสดและเงินฝากธนาคารเท่ากับ 441.20 ล้านบาท ยอดเงินกู้ระยะ
ยาวคคงเหลือ 642.16 ล้านบาท และกำไสะสมเท่ากับ 436.24 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ราคาตลาด
ของหุ้นสามัญของบริษัทฯ ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2548 เท่ากับ 8.60 บาทต่อหุ้น ซึ่งต่ำกว่ามูลค่า
ตามบัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548 ซึ่งเท่ากับ 16.27 บาทต่อหุ้น
ข้อพิจารณา
เนื่องจากบริษัทฯมีสภาพคล่องทางการเงินพอสมควร และภาระหนี้คงค้างน้อย
ประกอบกับราคาตลาดของหุ้นสามัญยังต่ำอยู่เมื่อเทียบกับมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นและราคา
ประเมินที่ที่ปรึกษาทางการเงินได้กำหนดไว้ บริษัทฯจึงได้พิจารณาเห็นสมควรขออนุมัติซื้อหุ้น
สามัญของบริษัทฯคืนส่วนหนึ่ง คือ ไม่เกิน 28 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 9.8 ของหุ้นที่จำหน่ายได้
แล้วทั้งหมด โดยมีรายละเอียดของโครงการซื้อหุ้นสามัญคืนเพื่อการบริหารทาง การเงินดังนี้
1). จำนวนหุ้นที่จะซื้อหุ้นคืน : ไม่เกิน 28,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท คิด
เป็นร้อยละ 9.8 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
2). วงเงินสูงสุดที่จะใช้ในการซื้อหุ้นคืน : 280 ล้านบาท
3). วิธีการในการซื้อหุ้นคืน : ซื้อในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
4). กำหนดระยะเวลาที่จะซื้อหุ้นคืน : ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2548 ถึงวันที่ 30
พฤศจิกายน 2548
5). หลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาหุ้นที่จะซื้อคืน : บริษัทฯได้พิจารณาราคาหุ้นเฉลี่ยย้อน
หลัง 30 วันก่อนวันที่บริษัทจะทำการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งเท่ากับ 9.24 บาทต่อหุ้น ประกอบ
กับวิธีประเมินมูลค่าหุ้นที่เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากลทั่วไปและตามความเหมาะสม
ของบริษัท แต่ไม่เกิน 115% ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการซื้อขายล่าสุด
6). จำนวนผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อย (Free Float) : ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น
เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2548 เท่ากับร้อยละ 54.60 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ซึ่งหลังการซื้อหุ้นคืนเต็มตามอัตราร้อยละ 9.8 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ยัง
คงเหลือสัดส่วนการกระจายการถือหุ้นรายย่อยมากกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ตลาดหลักทรัพย์
กำหนดไว้ที่ 15%
7). ผลกระทบภายหลังซื้อหุ้นคืน :
7.1) ผลต่อผู้ถือหุ้น โดยที่บริษัทฯมีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง
เมื่อบริษัทฯมีผลกำไรและไม่มีความจำเป็นอื่นใดหรือสาเหตุใดๆ ซึ่งทำให้
บริษัทฯต้องงดการจ่ายเงินปันผลดังนั้นภายหลังการซื้อหุ้นคืน บริษัทจะจ่ายเงิน
ปันผลแก่ผู้ถือหุ้นจำนวนรายน้อยลง ทำให้อัตราเงินปันผลต่อหุ้นสูงขึ้น ผู้ถือหุ้น
จะได้รับผลตอบแทนมากขึ้น
7.2) ผลต่อบริษัท การซื้อหุ้นคืนจะกระทบต่อบริษัทฯ โดยเงินสดคงเหลือหรือ
มูลค่าทางบัญชีจะลดลงซึ่งหากบริษัทฯดำเนินการซื้อหุ้นคืนตามวงเงินที่กันไว้
สำหรับโครงการนี้ทั้งหมดจำนวน 280 ล้านบาทนั้น
เมื่อสิ้นสุดโครงการซื้อหุ้นคืนจะทำให้บริษัทฯมีสินทรัพย์สภาพคล่องลดลงเป็น
จำนวน 280 ล้านบาท แต่บริษัทฯก็ยังมีสภาพคล่องคงเหลือเพียงพอสำหรับการ
ชำระหนี้เงินกู้ยืมระยะยาวที่จะถึง กำหนดชำระคืนภายใน 6 เดือน นับจากวันที่
1 มิถุนายน 2548 ซึ่งเป็นจำนวนเงินรวม 108.95 ล้านบาท โดยสามารถใช้แหล่ง
เงินทุนจากเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯในการชำระหนี้คืน
8). การจำหน่าย และการตัดหุ้นที่ซื้อคืน :
8.1) จำหน่ายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ
8.2) ระยะเวลาจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนภายใน 3 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2549 ถึง
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2551 (เริ่มขายหุ้นที่ซื้อคืนได้เมื่อครบ 6 เดือน นับจากวันที่
ซื้อหุ้นคืนเสร็จ และต้องขายคืนออกไปให้หมดภายใน 3 ปี นับจากวันที่ซื้อหุ้นคืน
เสร็จ)
8.3) หลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาที่จะจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน ในราคาไม่ต่ำกว่า
85% ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการซื้อขายล่าสุด
มติคณะกรรมการ
คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัทฯซื้อหุ้นสามัญคืนของบริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์
จำกัด (มหาชน) เพื่อการบริหารทางการเงิน จำนวนไม่เกิน 28 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 9.8 ของ
หุ้นที่จำหน่ายได้แล้ว ทั้งหมด ในวงเงินซื้อคืนสูงสุดไม่เกิน 280 ล้านบาท ตามรายละเอียดของโครง
การซื้อหุ้นสามัญคืนที่บริษัทฯเสนอ และอนุมัติให้บริษัทฯเปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์
เกียรตินาคิน จำกัด เพื่อดำเนินการซื้อขายหุ้นสามัญของบริษัทฯ โดยมอบอำนาจให้นายปริญช์
ผลนิวาศ เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อ สั่งขาย แทนบริษัทฯ กับบริษัทหลักทรัพย์
เกียรตินาคิน จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) ซึ่งบริษัทฯได้
เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นไว้แล้ว
เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2548
วาระที่ 4.1 ขออนุมัติซื้อหุ้นสามัญคืน
ที่มา
1. คณะกรรมการบริษัทในคราวประชุมครั้งที่ 3/2546 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม
2546 ได้มีมติเป็น เอกฉันท์อนุมัติในหลักการให้บริษัทฯซื้อหุ้นสามัญคืนได้ โดยให้หลักเกณฑ์และ
วิธีการเป็นไปตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ ให้มีการแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อทำหน้าที่เป็นคนกลางในการดำเนินการให้คำแนะนำ
เกี่ยวกับการซื้อหุ้นสามัญคืนด้วย ซึ่งการซื้อหุ้นสามัญคืนดังกล่าวเพื่อเป็นการกระตุ้นการซื้อขายหุ้น
ของบริษัทฯและเป็นการเพิ่มมูลค่าของบริษัทฯในตลาดหลักทรัพย์ฯ
2. ข้อบังคับของบริษัทฯข้อ 8 กำหนดให้บริษัทฯซื้อหุ้นคืนได้ไม่เกินกว่าร้อยละ
10 ของทุนชำระแล้ว โดยอำนาจการอนุมัติของคณะกรรมการของบริษัท
ข้อเท็จจริง
1. บริษัทฯได้แต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) "ที่ปรึกษา"
เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการดำเนินการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการซื้อหุ้นสามัญคืนและประเมิน
มูลค่าหุ้นสามัญของบริษัทฯ โดยผลจากการศึกษาข้อมูลของบริษัทฯและแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็น
ที่ปรึกษาได้ใช้วิธีการประเมินมูลค่าหุ้นที่เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากลทั่วไปและตามความ
เหมาะสมของบริษัทฯ
2. ผลสรุปจากการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทฯปรากฏว่า มูลค่าหุ้นของบริษัทฯ
ควรจะอยู่ในช่วงราคาประมาณ 11.75 - 14.95 บาทต่อหุ้น
3. ตามงบการเงินรวมที่ผ่านการสอบทานโดยผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ณ วันที่
31 มีนาคม 2548 บริษัทฯมีเงินสดและเงินฝากธนาคารเท่ากับ 441.20 ล้านบาท ยอดเงินกู้ระยะ
ยาวคคงเหลือ 642.16 ล้านบาท และกำไสะสมเท่ากับ 436.24 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ราคาตลาด
ของหุ้นสามัญของบริษัทฯ ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2548 เท่ากับ 8.60 บาทต่อหุ้น ซึ่งต่ำกว่ามูลค่า
ตามบัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548 ซึ่งเท่ากับ 16.27 บาทต่อหุ้น
ข้อพิจารณา
เนื่องจากบริษัทฯมีสภาพคล่องทางการเงินพอสมควร และภาระหนี้คงค้างน้อย
ประกอบกับราคาตลาดของหุ้นสามัญยังต่ำอยู่เมื่อเทียบกับมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นและราคา
ประเมินที่ที่ปรึกษาทางการเงินได้กำหนดไว้ บริษัทฯจึงได้พิจารณาเห็นสมควรขออนุมัติซื้อหุ้น
สามัญของบริษัทฯคืนส่วนหนึ่ง คือ ไม่เกิน 28 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 9.8 ของหุ้นที่จำหน่ายได้
แล้วทั้งหมด โดยมีรายละเอียดของโครงการซื้อหุ้นสามัญคืนเพื่อการบริหารทาง การเงินดังนี้
1). จำนวนหุ้นที่จะซื้อหุ้นคืน : ไม่เกิน 28,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท คิด
เป็นร้อยละ 9.8 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
2). วงเงินสูงสุดที่จะใช้ในการซื้อหุ้นคืน : 280 ล้านบาท
3). วิธีการในการซื้อหุ้นคืน : ซื้อในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
4). กำหนดระยะเวลาที่จะซื้อหุ้นคืน : ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2548 ถึงวันที่ 30
พฤศจิกายน 2548
5). หลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาหุ้นที่จะซื้อคืน : บริษัทฯได้พิจารณาราคาหุ้นเฉลี่ยย้อน
หลัง 30 วันก่อนวันที่บริษัทจะทำการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งเท่ากับ 9.24 บาทต่อหุ้น ประกอบ
กับวิธีประเมินมูลค่าหุ้นที่เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากลทั่วไปและตามความเหมาะสม
ของบริษัท แต่ไม่เกิน 115% ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการซื้อขายล่าสุด
6). จำนวนผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อย (Free Float) : ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น
เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2548 เท่ากับร้อยละ 54.60 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ซึ่งหลังการซื้อหุ้นคืนเต็มตามอัตราร้อยละ 9.8 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ยัง
คงเหลือสัดส่วนการกระจายการถือหุ้นรายย่อยมากกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ตลาดหลักทรัพย์
กำหนดไว้ที่ 15%
7). ผลกระทบภายหลังซื้อหุ้นคืน :
7.1) ผลต่อผู้ถือหุ้น โดยที่บริษัทฯมีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง
เมื่อบริษัทฯมีผลกำไรและไม่มีความจำเป็นอื่นใดหรือสาเหตุใดๆ ซึ่งทำให้
บริษัทฯต้องงดการจ่ายเงินปันผลดังนั้นภายหลังการซื้อหุ้นคืน บริษัทจะจ่ายเงิน
ปันผลแก่ผู้ถือหุ้นจำนวนรายน้อยลง ทำให้อัตราเงินปันผลต่อหุ้นสูงขึ้น ผู้ถือหุ้น
จะได้รับผลตอบแทนมากขึ้น
7.2) ผลต่อบริษัท การซื้อหุ้นคืนจะกระทบต่อบริษัทฯ โดยเงินสดคงเหลือหรือ
มูลค่าทางบัญชีจะลดลงซึ่งหากบริษัทฯดำเนินการซื้อหุ้นคืนตามวงเงินที่กันไว้
สำหรับโครงการนี้ทั้งหมดจำนวน 280 ล้านบาทนั้น
เมื่อสิ้นสุดโครงการซื้อหุ้นคืนจะทำให้บริษัทฯมีสินทรัพย์สภาพคล่องลดลงเป็น
จำนวน 280 ล้านบาท แต่บริษัทฯก็ยังมีสภาพคล่องคงเหลือเพียงพอสำหรับการ
ชำระหนี้เงินกู้ยืมระยะยาวที่จะถึง กำหนดชำระคืนภายใน 6 เดือน นับจากวันที่
1 มิถุนายน 2548 ซึ่งเป็นจำนวนเงินรวม 108.95 ล้านบาท โดยสามารถใช้แหล่ง
เงินทุนจากเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯในการชำระหนี้คืน
8). การจำหน่าย และการตัดหุ้นที่ซื้อคืน :
8.1) จำหน่ายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ
8.2) ระยะเวลาจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนภายใน 3 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2549 ถึง
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2551 (เริ่มขายหุ้นที่ซื้อคืนได้เมื่อครบ 6 เดือน นับจากวันที่
ซื้อหุ้นคืนเสร็จ และต้องขายคืนออกไปให้หมดภายใน 3 ปี นับจากวันที่ซื้อหุ้นคืน
เสร็จ)
8.3) หลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาที่จะจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน ในราคาไม่ต่ำกว่า
85% ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการซื้อขายล่าสุด
มติคณะกรรมการ
คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัทฯซื้อหุ้นสามัญคืนของบริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์
จำกัด (มหาชน) เพื่อการบริหารทางการเงิน จำนวนไม่เกิน 28 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 9.8 ของ
หุ้นที่จำหน่ายได้แล้ว ทั้งหมด ในวงเงินซื้อคืนสูงสุดไม่เกิน 280 ล้านบาท ตามรายละเอียดของโครง
การซื้อหุ้นสามัญคืนที่บริษัทฯเสนอ และอนุมัติให้บริษัทฯเปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์
เกียรตินาคิน จำกัด เพื่อดำเนินการซื้อขายหุ้นสามัญของบริษัทฯ โดยมอบอำนาจให้นายปริญช์
ผลนิวาศ เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อ สั่งขาย แทนบริษัทฯ กับบริษัทหลักทรัพย์
เกียรตินาคิน จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) ซึ่งบริษัทฯได้
เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นไว้แล้ว